Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2018

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Teacher Education and Professional Development

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Education

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับหลักการสอนแบบทริซ เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมของนิสิตนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต, พัชรา วงค์ตาผา Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับหลักการสอนแบบทริซ เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมของนิสิตนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต, พัชรา วงค์ตาผา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับหลักการสอนแบบทริซ เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานการคิดเชิงออกแบบร่วมกับหลักการสอนแบบทริซ เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมของนิสิตนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต จำนวน 35 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา การออกแบบและสร้างชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งได้มาจากด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบสมมุติฐานด้วย t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับหลักการสอนแบบทริซ มีองค์ประกอบได้ แก่ 1) กลุ่มบุคคล ผู้เรียนและผู้สอน 2) การเรียนแบบเผชิญหน้า 3) การเรียนแบบออนไลน์ 4) การติดต่อสื่อสาร 5) ระบบจัดการเรียนรู้ และหลักการสอนแบบทริซ ทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น ขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นการเตรียมสมองการเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 ขั้นการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย บริบทของผู้ใช้ ขั้นที่ 3 ขั้นการสร้างไอเดีย พัฒนาแนวความคิด และเลือกแนวคิดในการออกแบบ ขั้นที่ 4. ขั้นสร้างต้นแบบ รับฟังคำติชมจากผู้ใช้ ปรับปรุง และขั้นที่ 5 ขั้นนำมาทดสอบและใช้งานจริง 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับหลักการสอนแบบทริซ เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต ผู้เรียน มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาในหลักสูตรโครงการโรงเรียนสองภาษา (ไทย-อังกฤษ) ของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, ปิยะณัฐ จริงจิตร Jan 2018

การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาในหลักสูตรโครงการโรงเรียนสองภาษา (ไทย-อังกฤษ) ของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, ปิยะณัฐ จริงจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาในหลักสูตรโครงการโรงเรียนสองภาษา (ไทย-อังกฤษ) ของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนและผู้ปกครองที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 297 คู่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาในหลักสูตรโรงเรียนสองภาษา (ไทย-อังกฤษ) ของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยด้านรายได้ต่อเดือนของผู้ปกครองที่มากกว่า 15,000 บาท และ ปัจจัยด้านการประสัมพันธ์หลักสูตร (PR) มีความน่าจะเป็นที่ส่งผลให้เลือกศึกษาต่อในหลักสูตรโครงการสองภาษา (ไทย-อังกฤษ) ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ


การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงโดยใช้การฝึกหัดทางปัญญาจากต้นแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, ภาวพรรณ ขำทับ Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงโดยใช้การฝึกหัดทางปัญญาจากต้นแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, ภาวพรรณ ขำทับ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงโดยใช้การฝึกหัดทางปัญญาจากต้นแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาปริญญาบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จำนวน 25 คน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) สาระสำคัญ 2) ลำดับขั้นตอน 3) สังคมวิทยา 4) ผู้สอน 5) ผู้เรียน 6) สื่อและเทคโนโลยี และ 7) เครื่องมือประเมิน ขั้นตอนการเรียนรู้ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมการ ประกอบด้วย วิเคราะห์จุดมุ่งหมาย กำหนดจุดประสงค์ และกระตุ้นผู้เรียน 2) ขั้นดำเนินการ ประกอบด้วย การสอนโดยนำเสนอด้วยวาจา การสาธิตและฝึกปฏิบัติอย่างง่าย การสาธิตและฝึกปฏิบัติที่ซับซ้อน การแก้ปัญหาผ่านภารกิจที่ได้รับ และการอภิปราย 3) ขั้นประเมินผล ประกอบด้วย การประเมินผลก่อนเรียน การประเมินผลระหว่างเรียน และการประเมินผลหลังเรียน ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงโดยใช้การฝึกหัดทางปัญญาจากต้นแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ พบว่า คะแนนเฉลี่ยและพฤติกรรมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์หลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินความสามารถในการเรียนรู้จากแบบประเมินผลการออกแบบบรรจุภัณฑ์ พบว่า ผู้เรียนมีความสามารถผ่านเกณฑ์การประเมินผลการออกแบบบรรจุภัณฑ์อยู่ในระดับดี