Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 144

Full-Text Articles in Education

กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0, พันธวิชญ์ เลี้ยงชีพชอบ Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0, พันธวิชญ์ เลี้ยงชีพชอบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา และคนไทย 4.0 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0 โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีพหุระยะ (Multi - phase mixed method research) ที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมจำนวน 589 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีแบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนรู้ (3) การวัดผลประเมินผล (4) การพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา กรอบแนวคิดคนไทย 4.0 มี 9 คุณลักษณะ ได้แก่ (1) พฤติกรรมเชิงรุก (2) ความคิดสร้างสรรค์ (3) ความคิดวิจารณญาณ (4) จิตสาธารณะ (5) ความร่วมมือร่วมใจ (6) พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรม (7) ความฉลาดทางอารมณ์ (8) พฤติกรรมแสวงหาสารสนเทศ (9) ความเป็นผู้ประกอบการดิจิทัล 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา 3) จุดแข็ง คือ การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ จุดอ่อน …


Development Of An International Curriculum Model In Education Management For Vietnam Higher Education Institutions, Thi My Ngoc Nguyen Jan 2018

Development Of An International Curriculum Model In Education Management For Vietnam Higher Education Institutions, Thi My Ngoc Nguyen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this research are (1) to investigate the current state and the need for internationalization of curriculum of Master Degree in Education Management for Vietnam higher education institutions (2) to analyze good practices for the internationalization of curriculum of Master Degree in Education Management in international universities, (3) to develop an international curriculum management model for Vietnam higher education institutions. The samples include (1) seven policy makers at national and institutional level (2) five administrators at faculty level (3) 67 faculty members, and (4) 217 students from five Vietnamese higher education institutions offering Master Degree in Education Management. …


การพัฒนารูปแบบคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้การเรียนรู้ด้วยปัญหาเป็นฐานและเทคนิคซินเนคติกส์เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางนวัตกรรมของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, โกศวัต รัตโนทยานนท์ Jan 2018

การพัฒนารูปแบบคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้การเรียนรู้ด้วยปัญหาเป็นฐานและเทคนิคซินเนคติกส์เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางนวัตกรรมของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, โกศวัต รัตโนทยานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพของนิสิต นักศึกษาด้านความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต สภาพการเรียนการสอนในปัจจุบันและสภาพที่มุ่งหวัง 2) เพื่อสร้างรูปแบบคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้การเรียนรู้ด้วยปัญหาเป็นฐานและเทคนิคซินเนคติกส์เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางนวัตกรรมของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบ 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบ ตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน นิสิต นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตจากสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐบาลและเอกชนจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นของนิสิต/นักศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตและสภาพการเรียนการสอนในปัจจุบัน 2) แบบประเมินโดยใช้เกณฑ์ประเมินความสามารถทางนวัตกรรมแบบรูบริค 3) แบบประเมินรับรองรูปแบบ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนจากรูปแบบ โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันฯ และ 2) เกณฑ์วัดและประเมินความสามารถทางนวัตกรรมแบบรูบริค ใช้ระยะเวลาทดลอง 8 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การวิเคราะห์ค่า ANOVA รูปแบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures Designs) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. รูปแบบคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้การเรียนรู้ด้วยปัญหาเป็นฐานและเทคนิคซินเนคติกส์เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางนวัตกรรมของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วิธีการเรียนการสอน 2) เนื้อหา 3) แหล่งทรัพยากรเรียนรู้ 4) การวัดและประเมิน 5) ผู้อำนวยความสะดวก 6) เครื่องมือคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันและสื่อ โดยมี 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การรับรู้และให้คำนิยามของปัญหา 2) การวิเคราะห์ 3) การอภิปราย 4) การกำหนดแนวทางแก้ปัญหา 5) การค้นคว้าและเก็บรวบรวมข้อมูล 6) การแก้ปัญหา 7) การแบ่งปัน และ 8) การวัดและประเมินผล 2. …


การพัฒนารูปแบบการจัดการค่ายโดยใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่มด้วยเทคนิคการคิดนอกกรอบและ Pmi เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา, ขจรพงษ์ พูลสวัสดิ์ Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการจัดการค่ายโดยใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่มด้วยเทคนิคการคิดนอกกรอบและ Pmi เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา, ขจรพงษ์ พูลสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและประเมินความต้องการจำเป็น ในการจัดการกิจกรรมค่ายของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการค่ายโดยใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่มด้วยเทคนิคการคิดนอกกรอบและ PMI เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา ตัวอย่างในการวิจัยได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน คือ นิสิต นักศึกษา ระดับอุดมศึกษา ผู้ที่เคยมีประสบการณ์เข้าร่วมค่าย จำนวน 480 คน นิสิต นักศึกษา ระดับอุดมศึกษา ผู้ที่เคยมีประสบการณ์จัดค่าย จำนวน 54 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และรูปแบบการจัดการค่ายฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. นิสิต นักศึกษา ระดับอุดมศึกษามีความต้องการจำเป็นในระบบสื่อสารกันในทีมเพื่อการประชุมตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาและวางแผนล่วงหน้า ในลำดับความต้องการมากที่สุด รองลงมาคือ ระบบช่วยดำเนินการจัดค่ายเป็นขั้นตอน ระบบเตือนความจำ บันทึกรายงาน แจกจ่ายงาน และตามงาน และ ระบบวางแผนและแสดงผลแบบ Timeline 2. รูปแบบการจัดการค่ายฯ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กลยุทธ์การจัดการค่าย 2) คุณลักษณะผู้จัดค่าย 3) บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาค่าย 4) ระบบเว็บสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม และ 5) ประเมินผล ขั้นตอนรูปแบบการจัดการค่าย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เตรียมความพร้อม 2) ศึกษากระบวนการ 3) วางแผนจัดค่าย 4) เตรียมค่าย 5) ดำเนินการจัดค่าย และ 6) สรุปและประเมินผลการจัดค่าย 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่า นิสิตกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการจัดการค่ายฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด


การพัฒนาระบบปรับเหมาะการเรียนแบบจำลองขั้นตอน ตามหลักการออกแบบการเรียนการสอนสี่องค์ประกอบเพื่อพัฒนาความตระหนักด้านความปลอดภัยสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ, ชาญเกียรติ มหันตคุณ Jan 2018

การพัฒนาระบบปรับเหมาะการเรียนแบบจำลองขั้นตอน ตามหลักการออกแบบการเรียนการสอนสี่องค์ประกอบเพื่อพัฒนาความตระหนักด้านความปลอดภัยสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ, ชาญเกียรติ มหันตคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา สภาพ ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบฯ 2) พัฒนาระบบฯ 3) ศึกษาผลการใช้ระบบฯ 4) นำเสนอระบบฯ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพและความต้องการ คือ นิสิตนักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ จำนวน 335 คน ตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ความคิดเห็นและรับรองรูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 27 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา 8 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตเครื่องประดับอัญมณี 16 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการศึกษา 3 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักศึกษาวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา เครื่องโลหะและรูปพรรณอัญมณี2 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรับรองร่างระบบการเรียน แบบประเมินความเหมาะสมของตัวชี้วัด แบบประเมินความเหมาะสมของสื่อ บทเรียนคอมพิวเตอร์ปรับเหมาะแบบจำลองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความตระหนักด้านความปลอดภัยในกาทำงาน แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อระบบการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ one-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ระบบการเรียนฯ ที่พัฒนาขึ้น มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) การเรียนการสอนแบบปรับเหมาะ 2) การเรียนการสอนสี่องค์ประกอบ 3) เครื่องมือทางเทคโนโลยีการศึกษา 4) การวัดและการประเมินผล 5) บทบาทผู้เกี่ยวข้อง กระบวนการเรียนการสอนในระบบ มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) นำเข้าสู่บทเรียน 2) ทดสอบก่อนเรียนด้วยการปฏิบัติการจำลองขั้นตอน 3) ปฏิบัติการจำลองขั้นตอนแบบปรับเหมาะตามการชี้นำ 4) บันทึกการเรียนรู้ 5) ทดสอบหลังเรียนด้วยการปฏิบัติการจำลองขั้นตอน 6) นำเสนอผลประเมินและสรุปบทเรียน ผลการทดลองใช้ระบบการเรียนฯ พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความตระหนักด้านความปลอดภัยในการทำงานหลังทดลองสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนารูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเทคนิคการคิดนอกกรอบบนโลกเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, พีรภัทร ฉัตรสุวรรณ Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเทคนิคการคิดนอกกรอบบนโลกเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, พีรภัทร ฉัตรสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบฯ 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบฯ และ 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบ โลกเสมือนจริง แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และแบบสอบถามความคิดเห็นในการเรียนด้วยรูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และ One-Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเทคนิคการคิดนอกกรอบบนโลกเสมือนจริง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ผู้เรียน และผู้สอนในฐานะผู้อำนวยการเรียนรู้ 2) โลกเสมือนจริง 3) การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบ และ 4) การประเมินการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของผู้เรียน ขั้นตอนการเรียนมี 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเข้าสู่โลกเสมือนจริงและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในกลุ่ม 2) การนำเสนอประเด็นปัญหาภายในกลุ่ม 3) การค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา 4) การพิจารณาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกันภายในกลุ่ม 5) การสร้างผลงานสร้างสรรค์ร่วมกันบนโลกเสมือนจริง 6) การทบทวนและนำเสนอผลงานแบบออนไลน์ และ 7) การประเมินการเรียนรู้ วิธีการแก้ปัญหา และผลงาน จากการศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนฯ พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ จากการทดลองในครั้งที่ 1 3 และ 5 สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนารูปแบบการสนทนาในคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันตามแนวคิดสุนทรียสนทนาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมสำหรับภาคีเครือข่ายสุขภาพ, รติกร เพมบริดจ์ Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการสนทนาในคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันตามแนวคิดสุนทรียสนทนาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมสำหรับภาคีเครือข่ายสุขภาพ, รติกร เพมบริดจ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสนทนาในคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันตามแนวคิดสุนทรียสนทนาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมสำหรับภาคีเครือข่ายสุขภาพ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบฯ และ 3) นำเสนอรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนผู้ใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ ภาคีเครือข่ายสุขภาพในโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาขีดความสามารถในการควบคุมยาสูบของประเทศไทย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบฯ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดพฤติกรรมเชิงนวัตกรรม แบบสอบถามความคิดเห็นการเรียนด้วยรูปแบบฯ และวิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างเฉลี่ยของพฤติกรรมด้านนวัตกรรมของผู้เรียนก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน ด้วยสถิติ Repeated Measured Anova โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสนทนาในคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันตามแนวคิดสุนทรียสนทนาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมสำหรับภาคีเครือข่ายสุขาภาพที่พัฒนาขึ้น ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) องค์ประกอบด้านสมาชิกและผู้ประสาน (2) องค์ประกอบด้านโปรแกรมการสนทนาออนไลน์ (3) องค์ประกอบด้านเครือข่ายสังคมออนไลน์พัฒนาศักยภาพ (4) องค์ประกอบด้านการเก็บข้อมูลออนไลน์ ผลการทดลองใช้รูปแบบการสนทนาในคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันตามแนวคิดสุนทรียสนทนาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมสำหรับภาคีเครือข่ายสุขภาพพบว่า ภาคีเครือข่ายสุขภาพมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถด้านพฤติกรรมเชิงนวัตกรรรมหลังเรียนด้วยรูปแบบการสนทนาในคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันฯ สูงกว่าก่อนเรียนและระหว่างเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05­


รูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, วรรนิสา หนูช่วย Jan 2018

รูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, วรรนิสา หนูช่วย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพและความต้องการคือ ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 154 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบคือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่าน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามสภาพและความต้องการในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และแบบประเมินรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบวัดความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม แบบวัดเจตคติด้านสิ่งแวดล้อม แบบวัดพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อม และแบบประเมินความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) สื่อสังคมออไลน์ที่ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายใช้งานมากที่สุดสามอับดับได้แก่ Youtube (X = 2.71, S.D = 0.56) Facebook Messenger (X = 2.69, S.D. = 0.57) และ Facebook (X = 2.62, S.D. = 0.62) 2) องค์ประกอบของรูปแบบฯ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน กิจกรรมการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน สื่อสังคมออนไลน์ และ การประเมินผล 3) ขั้นตอนของรูปแบบฯ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมการ การอภิปรายประเด็นสิ่งแวดล้อมในชุมชนบริเวณรอบโรงเรียน การวางแผนดำเนินโครงงาน การดำเนินโครงงาน และ การประเมินผล 4) ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ารูปแบบฯ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (X= 4.77, SD.=0.33) 5) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยเจตคติด้านสิ่งแวดล้อม หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7) ผลการศึกษาพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับดีมาก (X = 2.76, …


การพัฒนาแบบวัดอภิปัญญาโดยใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียสำหรับนักศึกษาพยาบาล : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ, ปาริชาติ ทาโน Jan 2018

การพัฒนาแบบวัดอภิปัญญาโดยใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียสำหรับนักศึกษาพยาบาล : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ, ปาริชาติ ทาโน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากรอบแนวคิด และโมเดลการวัดอภิปัญญาสำหรับนักศึกษาพยาบาล 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดอภิปัญญาโดยใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียสำหรับนักศึกษาพยาบาล และ 3) กำหนดคะแนนจุดตัดของแบบวัดอภิปัญญาสำหรับนักศึกษาพยาบาล ตัวอย่างการวิจัยเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 จำนวน 862 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ และความโด่ง ใช้สถิติตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าพารามิเตอร์ , INFIT MNSQ, OUTFIT MNSQ, AIC, G2 และ Chi-Square ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลการวัดอภิปัญญาสำหรับนักศึกษาพยาบาลมี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความรู้เกี่ยวกับการรู้คิด ประกอบด้วย การรู้ตน การรู้งาน และการรู้กลวิธี 2) การควบคุมการรู้คิด ประกอบด้วย การวางแผนการกำกับติดตาม และการประเมินผล ซึ่งในการวัดอภิปัญญาของนักศึกษาพยาบาลจะครอบคลุมการบริการทางสุขภาพทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ 2) แบบวัดอภิปัญญาที่พัฒนาขึ้นมีค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน เท่ากับ 0.54 และความเที่ยง Marginal Reliability for Response Pattern Scores เท่ากับ 0.65 การตรวจสอบคุณภาพรายข้อตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CTT) พบว่า อำนาจจำแนก (r) มีค่าระหว่าง 0.13-0.33 ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบตรวจให้คะแนนมากกว่า 2 ค่า (polytomous IRT) พบว่า ค่าพารามิเตอร์ความชันร่วมของข้อคำถาม (α) อยู่ระหว่าง 0.15 ถึง 1.49 ค่าพารามิเตอร์ Treshold β1 มีค่าระหว่าง -33.69 …


การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลในห้องคลอดสำหรับนักศึกษาพยาบาล: การประยุกต์ใช้ศูนย์การประเมิน, พุทธิราภรณ์ หังสวนัส Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลในห้องคลอดสำหรับนักศึกษาพยาบาล: การประยุกต์ใช้ศูนย์การประเมิน, พุทธิราภรณ์ หังสวนัส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลในห้องคลอดสำหรับนักศึกษาพยาบาล โดยการประยุกต์ใช้ศูนย์การประเมิน (2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบ และคู่มือการประเมินสมรรถนะที่พัฒนาขึ้น (3) เพื่อประเมินคุณภาพของรูปแบบการประเมินสมรรถนะภายหลังการทดลองใช้ ตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย อาจารย์ และนักศึกษาพยาบาล ได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองสถาบันจากคณะกรรมการสภาการพยาบาลเป็นระยะเวลา 5 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ รูปแบบการประเมินสมรรถนะ คู่มือการใช้รูปแบบการประเมินสมรรถนะ สถานการณ์จำลอง ใบบันทึกทางการพยาบาล แบบประเมินสมรรถนะ และแบบสอบความรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติบรรยาย และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงจากทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบการประเมินสมรรถนะที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ขั้นตอน (ขั้นเตรียม ขั้นดำเนินการ และขั้นสรุปผล) (1) ขั้นเตรียม ประกอบด้วยการเตรียม 1) บุคลากร (ผู้ประเมิน, ผู้รับการประเมิน, และผู้คลอดจำลอง) 2) สถานที่เสมือนห้องคลอดจริง (4 ฐานการประเมิน) และ 3) วัสดุ/อุปกรณ์ (2) ขั้นดำเนินการ ประเมินสมรรถนะด้านทักษะ และพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาลในฐานที่ 1-3 (การพยาบาลในระยะต่างๆ ของการคลอด) และประเมินสมรรถนะด้านความรู้ในฐานที่ 4 และ (3) ขั้นสรุปผล เป็นการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้รับการประเมิน 2) ผลการใช้รูปแบบการประเมินสมรรถนะ พบว่า ในฐานที่ 1-3 (PxRxI) เมื่อจำนวนผู้ประเมิน และจำนวนข้อของรายการประเมินเพิ่มขึ้นส่งผลต่อค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงสำหรับการตัดสินใจเชิงสัมพัทธ์ และค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงสำหรับการตัดสินใจเชิงสัมบูรณ์ที่สูงขึ้น และ ในฐานที่ 4 (PxI) เมื่อจำนวนข้อของรายการประเมินเพิ่มขึ้นส่งผลต่อค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงสำหรับการตัดสินใจเชิงสัมพัทธ์ และค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงสำหรับการตัดสินใจเชิงสัมบูรณ์ที่สูงขึ้น 3) การประเมินคุณภาพของรูปแบบการประเมินสมรรถนะตามมาตรฐานการประเมินของ Stufflebeam 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเป็นประโยชน์ และด้านความถูกต้อง พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


การเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยพุทธิปัญญาโดยใช้แผนที่ตัวแปรเชิงทฤษฎีและแบบทดสอบวินิจฉัยสามระดับในกระบวนการพยาบาลพื้นฐาน, ศุภามณ จันทร์สกุล Jan 2018

การเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยพุทธิปัญญาโดยใช้แผนที่ตัวแปรเชิงทฤษฎีและแบบทดสอบวินิจฉัยสามระดับในกระบวนการพยาบาลพื้นฐาน, ศุภามณ จันทร์สกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาวิธีการวินิจฉัยพุทธิปัญญาและรายงานการให้ผลย้อนกลับการวินิจฉัยในการพัฒนาความก้าวหน้าทางการเรียนของผู้เรียนตามวิธีของแผนที่ตัวแปรเชิงทฤษฎีและแบบทดสอบวินิจฉัยสามระดับ 2) ตรวจสอบคุณภาพของวิธีการวินิจฉัยพุทธิปัญญาทั้งสองวิธี เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเกณฑ์คือเทคนิคการคิดออกเสียง และ 3) เปรียบเทียบผลการวินิจฉัยมโนทัศน์และมโนทัศน์คลาดเคลื่อนที่ได้จากทั้งสองวิธี ตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปี 2 หรือ 3 ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ขนาดของตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 1,329 คน เป็นตัวอย่างในตอนที่ 1 จำนวน 233 คน ตัวอย่างในตอนที่ 3 จำนวน 305 คน ตัวอย่างในตอนที่ 5 จำนวน 102 คน และตัวอย่างในตอนที่ 6 จำนวน 689 คน การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 6 ตอนดังนี้ ตอนที่ 1 การสำรวจกระบวนการคิดของนักศึกษาพยาบาล ตอนที่ 2 การพัฒนาวิธีการวินิจฉัยพุทธิปัญญาทั้งสองวิธี ตอนที่ 3 การทดลองใช้และปรับปรุงวิธีการวินิจฉัยพุทธิปัญญาทั้งสองวิธี ตอนที่ 4 การสร้างรายงานการให้ผลย้อนกลับการวินิจฉัยของวิธีการทั้งสอง ตอนที่ 5 การตรวจสอบคุณภาพความตรงเชิงวินิจฉัยโดยเปรียบเทียบวิธีการทั้งสองกับวิธีเกณฑ์คือเทคนิคการคิดออกเสียง และตอนที่ 6 การเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยพุทธิปัญญาจากวิธีการทั้งสองวิธี เครื่องมือวิจัยในตอนที่ 1 เป็นแบบทดสอบอัตนัยตอบโจทย์สถานการณ์ผู้ป่วย และในตอนที่ 3, 5, 6 เป็นแบบทดสอบวินิจฉัย 2 ชุด ประกอบด้วย ชุดที่ 1 แบบทดสอบวินิจฉัยที่พัฒนาจากแผนที่ตัวแปรเชิงทฤษฎี และชุดที่ 2 แบบทดสอบวินิจฉัยสามระดับ สถิติวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบพิจารณาจากค่าสถิติความเหมาะสมรายข้อ ได้แก่ INFIT MNSQ, OUTFIT MNSQ, t-statistic, SE และค่าความเที่ยงแบบ EAP เปรียบเทียบวิธีวินิจฉัยแต่ละวิธีกับเทคนิคการคิดออกเสียงด้วย Wilcoxon signed-rank test และเปรียบเทียบสัดส่วนการจำแนกกลุ่มมโนทัศน์และมโนทัศน์คลาดเคลื่อนด้วย McNemar–Bowker test ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาวิธีการวินิจฉัยพุทธิปัญญาและรายงานการให้ผลย้อนกลับตามแผนที่ตัวแปรเชิงทฤษฎีและแบบทดสอบวินิจฉัยสามระดับมีดังนี้ การพัฒนาวิธีการวินิจฉัยพุทธิปัญญาตามแผนที่ตัวแปรโดยนำข้อมูลสำรวจกระบวนการคิดมาสร้างแผนที่ตัวแปร ออกแบบข้อสอบปรนัยหลายตัวเลือกแบบเรียงอันดับท้ายตัวเลือกให้เลือกมั่นใจ/ไม่มั่นใจ ให้คะแนน 3 ค่าคือ …


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์ที่มีต่อความรู้และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, ทรรศมน วินัยโกศล Jan 2018

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์ที่มีต่อความรู้และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, ทรรศมน วินัยโกศล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ตามโมเดลของสไตน์เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 2) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์ และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความรู้ทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์มีความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดกระบวนการการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นฐานที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชน, จุฑาเทพ จิตวิลัย Jan 2018

ผลการจัดกระบวนการการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นฐานที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชน, จุฑาเทพ จิตวิลัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจัดกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดย ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นฐานที่มีต่อความความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชน 2) เพื่อศึกษา ผลของกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นฐานที่มีต่อ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชน ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ จำนวน 3 คน และเยาวชนจำนวน 10 คน ในอำเภอ ชนบท จังหวัด ขอนแก่น ที่สนใจภูมิปัญญา พื้นบ้านการทำผ้าไหมมัดหมี่ร่วมกันโดยใช้กระบวนการ Andragogy ของ Knowles (1980) แบ่ง ออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสร้างบรรยากาศการจัดสภาพแวดล้อมระหว่างผู้สูงอายุและ เยาวชน ระยะที่ 2 การหาความต้องการและเป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชน ระยะ ที่ 3 การวางแผนดำเนินกิจกรรมและการประเมินผลภูมิปัญญาพื้นบ้าน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ รวบรวมข้อมูลคือแบบบันทึกกิจกรรมแบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้สูงอายุและเยาวชนได้ทำ กิจกรรมภูมิปัญญาพื้นบ้านการทำผ้าไหมมัดหมี่ร่วมกัน ตั้งแต่การสร้างบรรยากาศและการจัด สภาพแวดล้อมทางกายภาพในการเรียนรู้ระหว่างกัน อีกทั้งได้ร่วมกันหาเป้าหมายวางแผนออกแบบ ดำเนินกิจกรรมและวัดประเมินผลการทำผ้าไหมร่วมกัน 2. หลังจากผู้สูงอายุและเยาวชนได้ทำ กิจกรรมภูมิปัญญาพื้นบ้านการทำผ้าไหมมัดหมี่ร่วมกันได้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและ เยาวชนซึ่งประกอบไปด้วย 1) การสื่อสารเพื่อรับฟังความคิดเห็นระหว่างกัน 2) การช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน 3) การให้โอกาสเชื่อใจในการทำงานระหว่างกัน 4) การแสดงความจริงใจและชื่นชนยินดี ระหว่างกัน 5) การยอมรับลักษณะเฉพาะบุคคลระหว่างกัน


การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์, ลาวัลย์ เวชอภิกุล Jan 2018

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์, ลาวัลย์ เวชอภิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์บริบทการปฏิบัติงานและความต้องการเสริมสร้างศักยภาพของอาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์ 2) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์ และ 3) จัดทำข้อเสนอแนะในการนำโปรแกรมไปสู่การปฏิบัติและขยายผลไปสู่พื้นที่อื่น ทำการศึกษากับกลุ่มอาสาสมัครของมูลนิธิโอโซนจังหวัดสงขลา จำนวน 10 คน และเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลอาสาสมัคร รวมถึงกลุ่มผู้บุกเบิกการทำงานในประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก แบบสังเกต และประเด็นการสนทนากลุ่ม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลศึกษา พบว่า 1) ศักยภาพที่อาสาสมัครต้องการได้รับการส่งเสริม แบ่งเป็น 4 ด้าน (1) บุคลิกภาพและการจัดการตนเอง (2) ความรู้ (3) ทักษะ และ (4) ทัศนคติ 2) โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์ ได้โปรแกรมที่ประกอบด้วย กิจกรรมการเรียนรู้ 8 กิจกรรม ได้แก่ (1) การสร้างบรรยากาศและความไว้วางใจซึ่งกันและกันภายในทีม (2) การทำความเข้าใจหลักการและกำหนดกติกาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกัน (3) การทบทวนและประเมินศักยภาพที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร (4) การออกแบบและวางแผนการเรียนรู้ของตนเอง (5) การแลกเปลี่ยนเทคนิคและประสบการณ์ในการจัดการตนเอง (6) การทบทวนความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน (7) การฝึกทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานผ่านการลงมือปฏิบัติจริง และ (8) การสรุปทบทวนและสะท้อนคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และพัฒนา 3) ข้อเสนอแนะในการนำโปรแกรมไปปฏิบัติและขยายผล โดยแบ่งเป็นข้อเสนอแนะต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องระดับผู้บริหารองค์กรและฝ่ายพัฒนาศักยภาพขององค์กร ซึ่งเป็นผู้กำหนดแนวทางการนำโปรแกรมไปปฏิบัติและขยายผลโดยทำหน้าที่กำหนดผู้รับผิดชอบและสนับสนุนการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ทำหน้าที่ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่อาสาสมัคร (2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องระดับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นผู้นำโปรแกรมไปปฏิบัติโดยตรงจึงต้องทำความเข้าใจหลักการของการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนและเปิดใจยอมรับซึ่งกันและกันจึงจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ และ (3) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในหน่วยงานสนับสนุนระดับนโยบาย


แนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมเยาวชนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต, ประกายดาว แก้วชัยเถร Jan 2018

แนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมเยาวชนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต, ประกายดาว แก้วชัยเถร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการบริการของแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของเยาวชน และเพื่อนำเสนอแนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมเยาวชนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม กับเยาวชน จำนวน 400 คน ที่เข้าใช้แหล่งเรียนรู้ในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หอศิลป์ ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ และสวนสาธารณะ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลและจัดทำเป็นร่างแนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมเยาวชนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตนำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดแหล่งการเรียนรู้จำนวน 10 ท่าน พร้อมทั้งร่างแผนที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำเสนอต่อเยาวชนในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 187 คน เพื่อพัฒนาเป็นแนวทางการจัดแหล่งเรียนรู้และแผนที่การเรียนรู้ที่สมบูรณ์ โดยใช้แบบประเมินแนวทางและแบบประเมินแผนที่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า (1) เยาวชนเลือกใช้วิธีการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด และเลือกใช้แหล่งเรียนรู้ที่ตรงตามความต้องการและความสนใจของตนเองในการส่งเสริมการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตมากที่สุดในทุกแหล่งเรียนรู้ เยาวชนมีปัญหาในเรื่องอุปกรณ์ใช้สอยไม่เพียงพอต่อผู้ใช้บริการในการใช้แหล่งเรียนรู้ และเยาวชนมีความต้องการในเรื่องการจัดเตรียมสถานที่ให้บริการของแหล่งการเรียนรู้อยู่ในระดับมากเป็นอันดับแรก (2) แนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ เนื้อหากิจกรรม ทรัพยากรการเรียนรู้ สถานที่ และการบริหารจัดการ ในส่วนของแผนที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นเว็บไซต์แนะนำแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เยาวชนนิยมเลือกใช้ จำนวน 20 แหล่งเรียนรู้ ซึ่งในเว็บไซต์บอกข้อมูลเบื้องต้นของแหล่งเรียนรู้ที่เยาวชนต้องการทราบ ได้แก่ เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับแหล่งเรียนรู้ วันเวลาที่เปิดให้บริการ ค่าบริการ สถานีรถไฟฟ้า รูปภาพแหล่งเรียนรู้ การเดินทางทั้งนี้ได้เชื่อมโยงกับ google map เพื่อให้ทำทางไปยังแหล่งเรียนรู้ และเชื่อมโยงกับเว็บไซต์หลักของแหล่งเรียนรู้เพื่อให้สามารถข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามความต้องการ


การส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชนด้วยโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนในการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ, อมรทิพย์ สันตวิริยะพันธุ์ Jan 2018

การส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชนด้วยโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนในการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ, อมรทิพย์ สันตวิริยะพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชนในการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชนด้วยโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนในการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้แทนจากครอบครัว องค์กร และชุมชน จำนวน 30 คน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชนในการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ร่วมกันทบทวนและเรียนรู้บทบาท 2) ร่วมกันเรียนรู้และประเมินเบื้องต้น 3) ร่วมกันเรียนรู้และประเมินสถานประกอบการ 4) ร่วมกันกำหนดอาชีพที่เหมาะสม 5) ร่วมกันประสานความร่วมมือจากภายนอก 6) ร่วมกันประเมินผล 7) ร่วมกันสะท้อนคิดและบทเรียนที่ได้รับ และ 8) ร่วมกันถ่ายทอดการเรียนรู้ 2. แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชนด้วยโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนในการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ มีจำนวนทั้งสิ้น 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านที่ 1 ด้านกายภาพ ได้แก่ เปิดพื้นที่ในการสร้างโอกาสอย่างอิสระในการเลือกสถานที่ และเวลาในการเข้ามาพบปะเรียนรู้ร่วมกันด้วยความสมัครใจทั้งจากครอบครัว องค์กร และชุมชน ด้านที่ 2 จิตใจ ได้แก่ ตระหนักในบทบาทหน้าที่ ยอมรับฟังความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่นบนพื้นฐานของความเข้าใจและให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ด้านที่ 3 ด้านเทคนิค ได้แก่ มีความรู้ ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ ทักษะ กระบวนการ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และตรงกับความต้องการ และด้านที่ 4 ด้านเครือข่าย ได้แก่ การประสานความร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆ เพื่อสนับสนุนทรัพยากร และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน


สภาพและปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กวัยอนุบาล, ปรียาภรณ์ คงแก้ว Jan 2018

สภาพและปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กวัยอนุบาล, ปรียาภรณ์ คงแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กอนุบาลใน 3 ด้าน ได้แก่ การวางแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือครูอนุบาลในโรงเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการการ ศึกษานิเทศก์ และครูแกนนำระดับปฐมวัย หลักสูตรการจัดกิจกรรมการบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาในระดับปฐมวัย จำนวน 278 คน จาก 4 ภูมิภาค เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการปฏิบัติของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กอนุบาล มีระดับการปฏิบัติในระดับมาก (X ̅ = 4.00) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติสูงที่สุด คือด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ (X ̅ = 4.09) รองลงมาคือ ด้านการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ (X ̅ = 4.00) และด้านการจัดการเรียนรู้ (X ̅ = 3.92) ตามลำดับ ปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กอนุบาล ที่พบมากที่สุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ ในประเด็นการสนับสนุนให้เด็กมีส่วนร่วมในการออกแบบและแก้ไขปัญหาที่มีลักษณะแปลกใหม่ รองลงมาคือ ด้านการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ในประเด็นการประเมินวิธีการทำงานเกี่ยวกับการใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายในการนำเสนอชิ้นงาน และด้าน การวางแผนการจัดการเรียนรู้ในประเด็นการคัดเลือกสาระการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก


การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนกลางเป็นภาษาต่างประเทศ โดยใช้แนวคิดการสอนแบบบอกเล่าและวิธีสอนแบบฟัง-พูดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง-พูด สำหรับเด็กอนุบาล, พรนภา อำนวยไพศาล Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนกลางเป็นภาษาต่างประเทศ โดยใช้แนวคิดการสอนแบบบอกเล่าและวิธีสอนแบบฟัง-พูดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง-พูด สำหรับเด็กอนุบาล, พรนภา อำนวยไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนกลางเป็นภาษาต่างประเทศโดยใช้แนวคิดการสอนแบบบอกเล่าและวิธีสอนแบบฟัง-พูด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง-พูดสำหรับเด็กอนุบาลและ 2) ศึกษาผลของรูปแบบฯ ที่มีต่อความสามารถในการฟัง-พูดสำหรับเด็กอนุบาล ตัวอย่างคือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 19 คน โรงเรียนอนุบาลธีรานุรักษ์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบฯ ระยะที่ 2 การนำร่อง รูปแบบฯ ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความสามารถในการฟัง-พูด และแบบบันทึกความสามารถในการฟัง-พูด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบฯ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ วัตถุประสงค์ เนื้อหา ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ระยะเวลาในการใช้รูปแบบฯ และ การประเมินผล โดยรูปแบบฯ มีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนิทานเปิดประสบการณ์ 2) ขั้นฝึกเล่าและขยายประสบการณ์ และ 3) ขั้นทบทวนความเข้าใจ เนื้อหาของ รูปแบบฯ ประกอบด้วย คำศัพท์ภาษาจีนจำนวน 84 คำ และประโยคเบื้องต้น 12 ประโยค ใช้เวลาดำเนินการทั้งสิ้น 36 ชั่วโมง 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการฟัง-พูดของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนด้านการแสดงพฤติกรรมการฟังสูงกว่าด้านการแสดงพฤติกรรมการพูด


การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับการสอนและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการปฏิบัติการสอนของนิสิตครูวิทยาศาสตร์, วิชญาดา นวนิจบำรุง Jan 2018

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับการสอนและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการปฏิบัติการสอนของนิสิตครูวิทยาศาสตร์, วิชญาดา นวนิจบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความเชื่อเกี่ยวกับการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งครอบคลุม 5 ด้าน ได้แก่ เป้าหมายของการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ บทบาทของผู้สอนวิทยาศาสตร์ บทบาทของผู้เรียนวิทยาศาสตร์ แนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ และแนวทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ 2) สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียน และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่มีต่อความเชื่อเกี่ยวกับการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนิสิตครูวิทยาศาสตร์สาขาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 74 คน ซึ่งกำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยหาค่าความถี่ และค่าร้อยละ ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียน และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มีต่อความเชื่อเกี่ยวกับการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ 3) ศึกษาความสอดคล้องระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับการปฏิบัติการสอน โดยใช้การศึกษารายกรณี ผู้วิจัยเลือกกลุ่มที่ศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการสังเกตการจัดการเรียนรู้ร่วมกับวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


การส่งเสริมความสุขในการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับในวิชาเคมี, อาทิตยา สีหราช Jan 2018

การส่งเสริมความสุขในการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับในวิชาเคมี, อาทิตยา สีหราช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับ ที่มีต่อความสุขในการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นการวิจัยทดลองเบื้องต้น ตัวอย่างวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับ 2) แบบวัดความสุขในการเรียนรู้ 3) แบบสัมภาษณ์ความสุขในการเรียนรู้ 4) แบบสังเกตความสุขในการเรียนรู้ และ 5) แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง สมดุลเคมี การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยายประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละพัฒนาการ สถิติสรุปอ้างอิงประกอบด้วย การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิต โดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์และการสังเกต ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับ มีคะแนนของความสุขในการเรียนรู้ก่อนการจัดการเรียนรู้และหลังการจัดการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีพัฒนาการของความสุขในการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลง และ 2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี มากกว่าร้อยละ 60 ในขณะเดียวกัน ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์และการสังเกตบ่งชี้ว่านักเรียนเกิดความสุขในการเรียนรู้


การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, ฉัตรพันธ์ ดุสิตกุล Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, ฉัตรพันธ์ ดุสิตกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมที่ได้พัฒนาขึ้นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และเป็นนิสิตนักศึกษาที่มีความสมัครใจในการเข้าร่วมกิจกรรมและผ่านเกณฑ์การคัดเข้า ทำการเก็บข้อมูล 3 ครั้ง คือ ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ และระยะติดตามผลหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนด้วยค่า "ที" วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้ LSD ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ หลักการและแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วัตถุประสงค์ การจัดกิจกรรมจำนวน 10 กิจกรรม และการประเมินผลด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความถี่ของพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ การจัดกิจกรรมจำนวน 10 กิจกรรม มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้น คือ ขั้นสร้างความตระหนักรู้ ขั้นเตรียมตัวสู่การปฏิบัติ ขั้นปฏิบัติและสะท้อนผลการปฏิบัติ ประกอบด้วย กิจกรรมรู้เอาไว้พิษภัยแอลกอฮอล์ กิจกรรมมารู้จักตัวเอง กิจกรรมพี่เล่าเรื่องเหล้า กิจกรรมบุคลิกพิชิตแอลกอฮอล์ กิจกรรมแนะนำฉันทีเพื่อหนีแอลกอฮอล์ กิจกรรมประกาศตนผ่านพ้นแอลกอฮอล์ กิจกรรมบัดดี้ที่รัก กิจกรรมนันทนาการสร้างสุข กิจกรรมรายงานตนประกาศผลคนเก่งกล้า และกิจกรรมหนีภัยห่างไกลแอลกอฮอล์ ทั้งนี้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นได้ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ (IOC = 0.9) 2) การหาประสิทธิผลของรูปแบบสามารถสรุปได้ ดังนี้ 2.1 ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยการลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความถี่ของกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างงมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยการลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความถี่ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลร่วมกับพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ธชาทัช ไชยมุทา Jan 2018

ผลของโปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลร่วมกับพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ธชาทัช ไชยมุทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลร่วมกับพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครฯ จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน ที่ได้รับการฝึกโปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลร่วมกับพิลาทิส และ กลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน ที่ได้รับการฝึกโปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลร่วมกับพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 80 นาที แบบประเมินความสามารถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอลประกอบด้วย 1) แบบประเมินท่าทางการเสิร์ฟ 2) แบบวัดความแม่นยำการเสิร์ฟวอลเลย์บอลโดยใช้แบบทดสอบของสมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการแห่งสหรัฐอเมริกา (AAHPER Serving Accuracy Test) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยผลการทดสอบคะแนนความสามารถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอลนักเรียนกลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยผลการทดสอบคะแนนความสามารถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอล นักเรียนกลุ่มควบคุมหลังการทดลองทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยผลการทดสอบคะแนนความสามารถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอลหลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา, พงศธร ไพจิตร Jan 2018

การพัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา, พงศธร ไพจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา โดยมีกระบวนการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการสร้างเสริมสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ อาจารย์นิเทศก์การศึกษา อาจารย์นิเทศก์วิชาพลศึกษา อาจารย์พี่เลี้ยง และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาพลศึกษา จำนวน 125 คน ที่ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 2) การพัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรจำนวน 5 คน และใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำหลักสูตรไปใช้ 3) ทดลองใช้และประเมินผลหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครู สาขาวิชาพลศึกษา จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยวิธีจับสลากแบบไม่ใส่คืน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นในการสร้างเสริมสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา พบว่า มี 4 ด้านที่มีความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะให้กับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาคือ การวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ทางพลศึกษา การวัดและประเมินผลทางพลศึกษา การจัดการเรียนรู้พลศึกษาและการจัดการชั้นเรียน และ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางพลศึกษา 2. ผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครู สาขาวิชาพลศึกษาในภาพรวมโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.47, SD = 0.53) 3. ผลการทดลองใช้และประเมินผลหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา พบว่า 1) ประสิทธิภาพของหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษามีค่าประสิทธิภาพเชิงกระบวนการและประสิทธิภาพเชิงผลลัพธ์ (E1/E2) โดยเฉลี่ยเท่ากับ 83.81/82.50 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และ 2) หลังการเข้าร่วมหลักสูตร นักศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีเจตคติอยู่ในระดับดี มีทักษะปฏิบัติทุกหน่วยการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมาก และมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก


ผลการใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเองเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วันวิสา ป้อมประสิทธิ์ Jan 2018

ผลการใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเองเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วันวิสา ป้อมประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองที่ใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเองเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าว 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้ใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเอง กับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสระแก้ว จำนวน 50 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือนักเรียนกลุ่มทดลองจำนวน 25 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมจำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเอง จำนวน 14 แผน แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวตามสถานการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของกลุ่มทดลองหลังได้รับการใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของกลุ่มทดลองหลังได้รับการใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเองเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวสูงขึ้นกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทยเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัย, วรรณนิศา พงษ์จิรังกาล Jan 2018

การจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทยเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัย, วรรณนิศา พงษ์จิรังกาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถภาพทางกาย ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทย และของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามปกติ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถภาพทางกาย ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทย กับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามปกติ ตัวอย่างคือ นักเรียนปฐมวัยชั้นปีที่ 2 อายุ 5-6 ปี โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครแห่งหนึ่ง จำนวน 46 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 23 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทย จำนวน 16 แผน แบบทดสอบมรรถภาพทางกาย และแบบวัดความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถภาพทางกาย ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถภาพทางกาย ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษากีฬายิมนาสติกโดยใช้หลักการจัดการความปลอดภัยที่มีต่อการป้องกันการบาดเจ็บของนักเรียนประถมศึกษา, มนัสชนก กองนักวงษ์ Jan 2018

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษากีฬายิมนาสติกโดยใช้หลักการจัดการความปลอดภัยที่มีต่อการป้องกันการบาดเจ็บของนักเรียนประถมศึกษา, มนัสชนก กองนักวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษากีฬายิมนาสติกโดยใช้หลักการจัดการความปลอดภัยที่มีต่อการป้องกันการบาดเจ็บของนักเรียนประถมศึกษา โดย 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการป้องกันการบาดเจ็บในกีฬายิมนาสติกก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการป้องกันการบาดเจ็บในกีฬายิมนาสติกหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 64 คน แบ่งออกเป็นสองกลุ่มๆ ละ 32 คน กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษากีฬายิมนาสติกโดยใช้หลักการจัดการความปลอดภัยที่มีต่อการป้องกันการบาดเจ็บ และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษากีฬายิมนาสติกแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษากีฬายิมนาสติกโดยใช้หลักการจัดการความปลอดภัยที่มีต่อการป้องกันการบาดเจ็บ จำนวน 8 แผน แบบวัดพฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า"ที" ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการป้องกันการบาดเจ็บในกีฬายิมนาสติกของนักเรียนกลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการป้องกันการบาดเจ็บในกีฬายิมนาสติกของนักเรียนหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


การพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของบุคลากรกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา, สุตาภัทร ประดับแก้ว Jan 2018

การพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของบุคลากรกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา, สุตาภัทร ประดับแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของบุคลากรกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 1) พัฒนาโปรแกรมโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ และตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น โดยการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง 2) ประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมโดยใช้กลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง เป็นบุคลากรในสถานศึกษาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 40 คน ดำเนินการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ทำการเก็บข้อมูล 3 ครั้ง คือ ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ และติดตามผลหลังสิ้นสุดการทดลอง 4 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรแบบวัดซ้ำที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 10 กิจกรรม คือ สร้างสัมพันธ์ เสริมพลังบวก ความหวัง สุขภาพองค์รวม ทบทวนตนเอง เป้าหมายมีไว้พุ่งชน โยคะคลายเครียด Let's relax โภชนาการต้องรู้ เมนูที่รัก และMy Idol โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.88 2) ประสิทธิผลของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้พฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด และค่าความดันโลหิตของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล และบุคลากรกลุ่มทดลองมีระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด และค่าความดันโลหิตลดลง


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการสอนอ่านแบบเน้นมโนทัศน์และแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, เพ็ญวิษา วัฒนปรีชานนท์ Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการสอนอ่านแบบเน้นมโนทัศน์และแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, เพ็ญวิษา วัฒนปรีชานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการสอนอ่านแบบเน้นมโนทัศน์และแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตปริญญาบัณฑิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 45 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและจับสลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 21 คน และกลุ่มควบคุม 24 คน ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีหลักการ 4 ประการ คือ 1) ผู้เรียนสำรวจความต้องการอ่านของตนเองผ่านการกระตุ้นของผู้สอน เพื่อกำหนดเป้าหมายการอ่านและเลือกบทอ่านตรงตามเป้าหมาย โดยให้ผู้เรียนวางแผนกลยุทธ์การอ่านได้เหมาะสมกับประเภทของบทอ่าน 2) ผู้เรียนเลือกใช้กลยุทธ์การอ่านที่เหมาะสมกับประสบการณ์การอ่านและองค์ประกอบของบทอ่านแต่ละประเภท ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณได้ 3) ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลจากประเด็นที่น่าสนใจ เพื่อนำมาตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล เชื่อมโยงข้อมูลประกอบความรู้และประสบการณ์เดิม ทำให้ได้ข้อสรุป สามารถพัฒนาการอ่านวิเคราะห์ ประเมินค่าบทอ่าน และนำไปประยุกต์ใช้ตามเป้าหมายการอ่าน และ 4) ผู้เรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากการอภิปราย โดยใช้ความรู้เดิมและเชื่อมโยงประสบการณ์จริง เพื่อตรวจสอบ สะท้อนความคิด สร้างความเข้าใจเชิงลึกกว้างขวาง เพื่อให้ได้ข้อมูลและข้อสรุปที่ได้จากการอ่านที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นสำรวจ 2) ขั้นเรียนรู้และฝึกอ่านโดยใช้กลยุทธ์ 3) ขั้นตามติดสืบค้น 4) ขั้นลงข้อสรุป และ 5) ขั้นตรวจสอบแลกเปลี่ยน 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า 2.1) ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถใน การอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2.3) ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณปรากฏอย่างเด่นชัดทุกองค์ประกอบในบทอ่านประเภทสารคดี


การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยประยุกต์ใช้การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบเสริมศักยภาพ, อัสรี สะอีดี Jan 2018

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยประยุกต์ใช้การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบเสริมศักยภาพ, อัสรี สะอีดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ประเมินความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะสำหรับการเป็น ครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยประยุกต์ใช้การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบเสริมศักยภาพ และ 3) ประเมินประสิทธิผลหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาความต้องการจำเป็น คือ ครูพลศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 395 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประสิทธิผลหลักสูตรฝึกอบรม คือ ครูพลศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 30 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง และผ่านเกณฑ์คัดเข้า ทำการเก็บข้อมูล 2 ครั้ง คือ ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นด้วยการใช้เทคนิคใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index ในการจัดลำดับความสำคัญของ ความต้องการจำเป็น และทดสอบด้วยสถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยสมรรถนะ 6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านความรู้วิชาการ การจัดการเรียนการสอน ทักษะทางการกีฬาและการออกกำลังกาย (2) ด้านการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (3) ด้านการสื่อสารและการมีมนุษยสัมพันธ์ทั้งกับนักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อนครู และ ผู้บริหาร (4) ด้านการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (5) ด้านการพัฒนาตนเองในความเป็นครูพลศึกษา และ (6) ด้านการปรับตัวให้เข้ากับนักเรียนและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงที่มี โดยพบว่า ค่าความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล มีค่า PNI modified เท่ากับ .470 2) หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นมี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการและความเป็นมา (2) วัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม (3) หน่วยการเรียนรู้ของหลักสูตรฝึกอบรม จำนวน 5 หน่วย (4) ระยะเวลาของการฝึกอบรม (5) …


แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน, คัทลียา สิงห์วี Jan 2018

แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน, คัทลียา สิงห์วี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยที่มีผลต่อค่าขนาดอิทธิพลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) เพื่อสรุปองค์ความรู้จากการวิเคราะห์อภิมานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้วิจัยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ (1) ระยะการวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) การคัดเลือกและวิเคราะห์ตัวแปรคุณลักษณะของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ (3) ระยะการสังเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ วิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวนทั้งสิ้น 11 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัยและแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าขนาดอิทธิพลตามแนวคิดของ Glass ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวพบว่าตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยทั้งหมด 22 ตัวแปรส่งผลต่อขนาดอิทธิพลไม่แตกต่างกัน มีการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 10 รูปแบบที่ส่งผลต่อขนาดอิทธิพลในระดับสูง 2. องค์ความรู้จากการวิเคราะห์อภิมานพบว่ารูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ การจัดเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบจำลอง พฤติกรรมของครูมีทั้งหมด 10 พฤติกรรม และพฤติกรรมของนักเรียนมีทั้งหมด 7 พฤติกรรม 3. แนวทางที่ได้ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) กิจกรรมการเรียนการสอนควรอยู่ในรูปแบบที่เน้นทักษะกระบวนการ การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองมีค่าขนาดอิทธิพลต่อการส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสูงสุด เทคนิคที่ควรใช้คือเทคนิคการใช้คำถาม 2) สื่อการสอนควรใช้ของจริง ใบกิจกรรม และการจัดนิทรรศการ 3) การวัดและประเมินผลของคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ต้องครอบคลุมทั้ง 3 องค์ประกอบ คือ ข้อกล่าวอ้าง หลักฐานเชิงประจักษ์ และการให้เหตุผล