Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

2019

Discipline
Institution
Keyword
Publication
File Type

Articles 901 - 930 of 3270

Full-Text Articles in Education

Gaining Access To The Language Of Science: A Research Partnership For Disciplined, Discursive Ways To Select And Assess Vocabulary Knowledge, H. Emily Hayden, Anupma Singh, Michelle Eades Baird Oct 2019

Gaining Access To The Language Of Science: A Research Partnership For Disciplined, Discursive Ways To Select And Assess Vocabulary Knowledge, H. Emily Hayden, Anupma Singh, Michelle Eades Baird

Reading Horizons: A Journal of Literacy and Language Arts

To equalize access to science learning across genders and demographic groups, access to the disciplinary language of science is one place to start. The language of science is highly challenging and specialized, and difficulties acquiring this language contribute to disparities in science achievement across diverse student groups. This study used a pre-post design to analyze effectiveness of a brief classroom science vocabulary assessment designed to assess receptive and productive vocabulary knowledge across multiple sections of one 7th grade science teacher’s class. Vocabulary was selected and analysis conducted by an interdisciplinary research partnership including the science teacher, a literacy specialist, …


Preschool For All: Plyler V. Doe In The Context Of Early Childhood Education, Shiva Kooragayala Oct 2019

Preschool For All: Plyler V. Doe In The Context Of Early Childhood Education, Shiva Kooragayala

Northwestern Journal of Law & Social Policy

In its 1982 opinion in Plyler v. Doe, the Supreme Court held that a state could not deny undocumented children living within its borders a public and free K-12 education. This Note argues that Plyler’s protections extend to publicly-funded early childhood education programs that serve children between the ages of three and five. Due to the broad support of researchers, educators, and the general public, early childhood education programs funded by local, state, and the federal governments have become an integral part of a comprehensive public education today. While these early childhood education programs are nominally open to all students …


การพัฒนากระบวนการผลิตครูในเขตภาคตะวันออกโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะ, หฤทัย อนุสสรราชกิจ, ญาณิศา บุญพิมพ์ Oct 2019

การพัฒนากระบวนการผลิตครูในเขตภาคตะวันออกโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะ, หฤทัย อนุสสรราชกิจ, ญาณิศา บุญพิมพ์

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการผลิตครูในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทยโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะ 2) ศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาครู ในด้านคุณลักษณะความเป็นครู และสมรรถนะการสอน ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ นักศึกษาครูที่กำลังศึกษาในคณะครุศาสตร์ชั้นปีที่ 5 จำนวน 50 คน การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาโดยใช้วิธีการวิจัยแบบปฏิบัติการประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ (1) การศึกษาข้อมูลแนวคิดที่เกี่ยวข้อง (2) การพัฒนาต้นแบบกระบวนการผลิตครู (3) การนำกระบวนการไปใช้ปฏิบัติการ (4) การวิเคราะห์ ปรับปรุงและประเมินผลกระบวนการและ (5) การสรุปและนำเสนอผลการพัฒนา
ผลการวิจัย มีดังนี้
1. กระบวนการผลิตครูในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก คือ แนวคิดและหลักการ วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ขั้นตอน และการประเมินผล ขั้นตอนหลักที่สำคัญในการดำเนินการ คือ (1) การพัฒนาความเข้าใจผ่านการจัดการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาครูและครูพี่เลี้ยง (2) การเรียนรู้ร่วมกันในสถานศึกษาของนักศึกษาครูและครูพี่เลี้ยง และ (3) การสะท้อนการเรียนรู้ร่วมกัน
2. ด้านผลการเรียนรู้พบว่า นักศึกษาครูเกิดการพัฒนาตนเองในด้าน (1) คุณลักษณะความเป็นครู และ (2) สมรรถนะการสอน รวมถึงความเข้าใจตนเอง ความเข้าใจผู้อื่น ทัศนะเกี่ยวกับความเป็นครู และกระบวนการจัดการเรียนรู้


รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ, ชัยพร พันธุ์น้อย, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ Oct 2019

รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ, ชัยพร พันธุ์น้อย, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ กำหนด และประเมินรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลสำหรับการบริหารงานของสถานศึกษาในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหาร และตัวแทนบุคลากรของสถานศึกษาที่อยู่ในความดูแลของสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 172 แห่ง แห่งละ 3 คน รวมทั้งหมด 516 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลของศนูย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้แก่ บุคลากร กระบวนการบริหาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ(2) รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงฯ ที่พัฒนาขึ้นเป็นชุดการเปลี่ยนแปลงจุดเน้น วัตถุประสงค์กระบวนการ วิธีการ ซึ่งเป็นวงจรการปฏิบัติที่ต่อเนื่องของการวางแผน การนำไปใช้ การตรวจสอบ และการประเมิน และ (3) รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงฯ ที่พัฒนาขึ้นมีความถูกต้อง เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีการกระจายตัวของข้อมูลน้อย


การศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษระหว่างนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน: กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม, พิสันธนีย์ ศรีดุรงฤทธิ์ Oct 2019

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษระหว่างนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน: กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม, พิสันธนีย์ ศรีดุรงฤทธิ์

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน และ(2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน ได้แก่ (1) การเรียนภาษาอังกฤษกับครูชาวไทย และ(2) การเรียนภาษาอังกฤษกับครูเจ้าของภาษา ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 32 คนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษกับครูชาวไทยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษคิดเป็นค่าเฉลี่ย 89.10 คะแนน ขณะที่นักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษกับครูเจ้าของภาษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษคิดเป็นค่าเฉลี่ย 87.68 คะแนน และ (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันทั้ง 2 รูปแบบ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = .368, p = 0.695)


แนวคิดการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัฒน์, จินดารัตน์ แย้มวงษ์, ชญาพิมพ์ อุสาโห, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Oct 2019

แนวคิดการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัฒน์, จินดารัตน์ แย้มวงษ์, ชญาพิมพ์ อุสาโห, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดในการวิจัยกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิมี 5 ท่าน เครื่องมือ คือ แบบประเมินความตรงของแนวคิดและดัชนี IOC ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวคิดการพัฒนา ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์ มี 2 องค์ประกอบ (2) แนวคิดภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์ใช้แนวคิดรูปแบบพีรามิดของภาวะผู้นำแบบ โลกาภิวัตน์ที่ประกอบด้วย ความรู้โลกาภิวัตน์ ลักษณะสำคัญ ทัศนคติและการปรับแนวคิด ทักษะ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และทักษะระบบ และ (3) แนวคิดการพัฒนาภาวะผู้นำใช้แนวทางการพัฒนา ภาวะผู้นำที่ประกอบด้วย การพัฒนาส่วนบุคคล การเข้าใจความคิดรวบยอด การให้ข้อติชม และการพัฒนาทักษะ ผลการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า ทั้งสองแนวคิดมีความตรงต่อการพัฒนาภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์


กลยุทธ์การพัฒนาครูประถมศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการศึกษาไปสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน, ธารารัตน์ มาลัยเถาว์, นันทรัตน์ เจริญกุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Oct 2019

กลยุทธ์การพัฒนาครูประถมศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการศึกษาไปสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน, ธารารัตน์ มาลัยเถาว์, นันทรัตน์ เจริญกุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

ตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการศึกษาไปสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาการอบรมครูประถมศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการศึกษาไปสู่ การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน และกลยุทธ์ที่ 4 การส่งเสริมการนิเทศครูประถมศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วย การนำตนเองและการจัดการศึกษาไปสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน


ความเสมอภาคในการลงทุนทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, พงศ์พันธุ์ คำพรรณ์ Oct 2019

ความเสมอภาคในการลงทุนทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, พงศ์พันธุ์ คำพรรณ์

Journal of Education Studies

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพและความเสมอภาคในการลงทุนทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจงบประมาณด้านการศึกษาประจำปี2562 จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 128 แห่ง ผลการวิเคราะห์สภาพการลงทุนทางการศึกษาพบแรงตึงตัวด้านการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งพิงเงินอุดหนุนจากรัฐบาลในสัดส่วนที่สูง ผลการวิเคราะห์ความเสมอภาคในการลงทุนทางการศึกษาโดยใช้ดัชนีความไม่เสมอภาค 4 แบบ ได้แก่ สัมประสิทธิ์ความแปรผัน สัมประสิทธิ์จินี สัมประสิทธิ์ไทล์ และความความแปรปรวนที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยโมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่น พบว่าการลงทุนทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาพรวมยังคงความเสมอภาคโดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนทั่วไปแต่การจัดสรรงบประมาณหมวดเงินรายได้กลับพบความไม่เสมอภาคค่อนข้างสูงโดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อเสนอแนะที่ได้จากแบบสำรวจและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ (1) ผลักดันแผนการกระจายอำนาจและงบประมาณสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างจริงจัง (2) จัดสรรเงินอุดหนุนพิเศษเพื่อลดความไม่เสมอภาคโดยเน้นการให้เงินโอนตามผลผลิต (3) สร้างมาตรการเพื่อสนับสนุนและจูงใจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดมทรัพยากรจากแหล่งทุนต่าง ๆ และ (4) สร้างระบบและกลไกการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาผ่านภาษีท้องถิ่นเพื่อการศึกษา


การวิเคราะห์ทักษะชีวิตที่จำเป็นของเด็กด้อยโอกาสสำหรับการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม, ภูริวรรษ คำอ้ายกาวิน, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร Oct 2019

การวิเคราะห์ทักษะชีวิตที่จำเป็นของเด็กด้อยโอกาสสำหรับการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม, ภูริวรรษ คำอ้ายกาวิน, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพและความต้องการในการพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็กด้อยโอกาสและการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม และเพื่อวิเคราะห์ทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็กด้อยโอกาสในการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม จำนวน 2,046 คน ในพื้นที่ 3 จังหวัดกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆประกอบด้วยกลุ่มที่ 1 เป็นเด็กด้อยโอกาสประเภทยากจนที่อาศัยอยู่ในบริบทสังคมเมืองที่มีความเสี่ยงและครู กลุ่มที่ 2 เป็นเด็กปกติทั่วไปที่มีพื้นฐานและบริบทสังคมใกล้เคียงกัน จำนวนทั้งหมด 2,046 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหาร นักวิชาการ ผู้ปกครองและเด็กด้อยโอกาสที่ประสบความสำเร็จ จำนวน 13 คน วิเคราะห์มูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณและการหาค่า PNImodified
ผลการวิจัยพบว่า เด็กด้อยโอกาสได้รับการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคมในระดับปานกลางค่อนข้างตํ่ากว่าเด็กทั่วไป รวมทั้งมีระดับทักษะชีวิตอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างตํ่าเช่นเดียวกับเด็กทั่วไปและแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติของทั้งสองกลุ่ม ในภาพรวมเด็กทั่วไปถูกคาดหวังให้มีทักษะชีวิตที่สูงกว่าเด็กด้อยโอกาส ซึ่งความคาดหวัดการมีทักษะชีวิตของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าที (t) เท่ากับ 2.50 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 สำหรับทักษะชีวิตที่จำเป็นของเด็กด้อยโอกาสที่ควรได้รับการพัฒนาในการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม มีจำนวน 8 ทักษะ ประกอบด้วย 1) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) ทักษะการคิดสร้างสรรค์ 3) ทักษะการแก้ปัญหา 4) ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 5) ทักษะการตัดสินใจ 6) ทักษะการตระหนักรู้ในตน 7) ทักษะการจัดการกับอารมณ์ และ 8) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล


การประเมินตามสภาพจริงของผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาศึกษาศาสตร์, ฤตินันท์ สมุทร์ทัย, วีณา วโรตมะวิชญ, เสาวนิตย์ เจริญชัย Oct 2019

การประเมินตามสภาพจริงของผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาศึกษาศาสตร์, ฤตินันท์ สมุทร์ทัย, วีณา วโรตมะวิชญ, เสาวนิตย์ เจริญชัย

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและพัฒนากรอบการประเมินผลตามสภาพจริงตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาฯ (2) สร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ และเกณฑ์ และ (3) ศึกษาผลของการใช้กรอบการประเมินผลตามสภาพจริงฯ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1-4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยงตรงของกรอบการประเมินผลตามสภาพจริงฯ เครื่องมือ และเกณฑ์การประเมินผลตามกรอบการประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยได้กรอบการประเมินผลการเรียนรู้ฯ ที่แสดงถึงแนวทางการประเมินตามสภาพจริงของอาจารย์ที่มีความสอดคล้องกันระหว่างวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในการจัดการเรียนการสอนกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ในรายละเอียดของกระบวนวิชา (มคอ.3) หลักฐานการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมิน ได้เครื่องมือ และเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ที่ออกแบบและสร้างตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในกรอบการประเมินผลตามสภาพจริงฯ ผลการใช้กรอบการประเมินผลตามสภาพจริงฯ พบว่าทุกกระบวนวิชาสามารถประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาได้ครอบคลุมมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายละเอียดของกระบวนวิชาทุกด้าน โดยนักศึกษาส่วนใหญ่มีผลการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมากถึงดีเยี่ยม


A Study Of Out-Of-Class English Language Listening Activities Of Lower Secondary School Students, Kanyanee Phuangsua, Ruedeerath Chusanachoti Oct 2019

A Study Of Out-Of-Class English Language Listening Activities Of Lower Secondary School Students, Kanyanee Phuangsua, Ruedeerath Chusanachoti

Journal of Education Studies

This study aimed to explore out-of-class English language listening activities and to study the process of out-of-class English language listening activities of lower secondary students. The samples of this study were 140 ninth-grade students obtained from a calculation using the formula of Raosoft (2004). Two out of five schools under the office of secondary education area 42 and were selected by convenience sampling method. The research instruments were the questionnaires and the interview. The findings revealed that three out-of-class English language listening activities, including listening to English songs, watching English movies, and watching English TV programs, were mostly used in …


การใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ปลูกปั้นเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21, อัครพล ไชยโชค Oct 2019

การใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ปลูกปั้นเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21, อัครพล ไชยโชค

Journal of Education Studies

การใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์เป็นแนวการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการเทคโนโลยีที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งให้เด็กมีทักษะการคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ท่ามกลางความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม ซึ่งเด็กจะได้ใช้เทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือกล้องถ่ายภาพอย่างสร้างสรรค์ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน เน้นให้เด็กปฐมวัยได้ฝึกคิด สนทนาโต้ตอบอย่างมีเหตุผล และร่วมกิจกรรมกับเพื่อนอย่างมีความสุข นำไปสู่การพัฒนาความรู้ให้กับตนเอง กล่าวได้ว่าการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์สามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยแบบองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญา พร้อมทั้งทักษะในศตวรรษที่ 21 อันเป็นรากฐานสำคัญที่จะพัฒนาให้เด็กเป็นบุคคลที่คิดเป็น เรียนรู้เป็น และรู้จักใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้


การขายภาพออนไลน์กับการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนนักปฏิบัติออนไลน์, นรินธน์ นนทมาลย์ Oct 2019

การขายภาพออนไลน์กับการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนนักปฏิบัติออนไลน์, นรินธน์ นนทมาลย์

Journal of Education Studies

การขายภาพออนไลน์เป็นการหารายได้อีกรูปแบบหนึ่งในยุคดิจิทัล ซึ่งมีหลายสิ่งที่ต้องเตรียมตัวและสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อออนไลน์ต่าง ๆ หรือจากการรวมกลุ่มกันของคนขายภาพ ที่ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ นำเสนอแนวคิดต่าง ๆ รวมถึงการช่วยกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการขายภาพออนไลน์ โดยมีจุดประสงค์เดียวกัน จนเกิดเป็นชุมชนนักปฏิบัติออนไลน์ ผ่านการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือต่าง ๆ ในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างคนขายภาพทั่วโลก และทำให้คนขายภาพที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนักปฏิบัติออนไลน์ในการขายภาพได้เรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็น การเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนนักปฏิบัติออนไลน์ของคนขายภาพ เนื่องจากความต้องการของการใช้ภาพมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปตามยุคสมัย รวมถึงอุปกรณ์และเทคนิคในการถ่ายภาพที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
รูปแบบของการขายภาพออนไลน์จะขึ้นอยู่กับแต่ละตัวแทนของการขายภาพว่ามีแนวทางอย่างไรแต่โดยสรุปแล้ว องค์ประกอบของการขายภาพออนไลน์มี 6 องค์ประกอบ คือ (1) คนขายภาพ (2) อุปกรณ์ถ่ายภาพ (3) ภาพถ่าย (4) เอกสารยืนยันตัวตน (5) อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (6) บัญชีธนาคารและมีขั้นตอนในการขายภาพออนไลน์ 7 ขั้นตอน ดังนี้ (1) สมัคร (2) อัพโหลดรูปภาพ (3) ใส่คำอธิบายและคำสำคัญของภาพ (4) รอการตรวจสอบภาพ (5) ยืนยันตัวตน (6) กรอกภาษี และ (7) ระบุข้อมูลการจ่ายเงิน


การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ระหว่างผู้สอบที่มีความสามารถแตกต่างกันในการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์: การประยุกต์ใช้ Rise Model, จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ, โชติกา ภาษีผล, กมลวรรณ ตังธนกานนท์ Oct 2019

การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ระหว่างผู้สอบที่มีความสามารถแตกต่างกันในการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์: การประยุกต์ใช้ Rise Model, จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ, โชติกา ภาษีผล, กมลวรรณ ตังธนกานนท์

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ของผู้สอบจำแนกตามระดับความสามารถของผู้สอบและรูปแบบของข้อมูลย้อนกลับที่แตกต่างกัน 2) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับความสามารถของผู้สอบและรูปแบบข้อมูลย้อนกลับที่มีผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จากโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร ในประเทศไทย 7 โรงเรียน คิดเป็นนักเรียน 786 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้สอบในกลุ่มสูงมีค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฯ สูงที่สุด (M = 6.80, SD = 1.054) รองลงมา คือ กลุ่มปานกลางมีค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาในระดับปานกลาง (M = 5.43, SD = 1.258) และกลุ่มตํ่าที่มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาตํ่าที่สุด (M = 2.35, SD = 2.033) 2) ความสามารถของผู้เรียน (Group)และรูปแบบข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฯหลังการได้รับข้อมูลย้อนกลับ (F = 5.891, Sig. = 0.000) โดย ผู้สอบที่มีระดับความสามารถแตกต่างกันทั้ง 3 กลุ่ม (สูง ปานกลาง และตํ่า) ที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแตกต่างกันทั้ง 5 รูปแบบ มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฯแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


กลยุทธ์การดำเนินงานทางการตลาดที่ส่งเสริมการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนที่มีประสิทธิผลในเขตกรุงเทพมหานคร, อนงค์นาฏ รัตน์ศิริจันทร์, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ Oct 2019

กลยุทธ์การดำเนินงานทางการตลาดที่ส่งเสริมการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนที่มีประสิทธิผลในเขตกรุงเทพมหานคร, อนงค์นาฏ รัตน์ศิริจันทร์, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ กำหนดกลยุทธ์ และประเมินกลยุทธ์การดำเนินงานทางการตลาดที่ส่งเสริมการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนที่มีประสิทธิผล ประชากรได้แก่ผู้บริหาร และตัวแทนครูโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร โรงเรียนละ 2 คน จาก 750 โรง รวม 1,500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินกลยุทธ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอย และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบการดำเนินงานทางการตลาดที่ส่งเสริมการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ (1) ความสัมพันธ์กับลูกค้า ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อย (2) การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อยและ (3) การส่งเสริมการขาย ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย 2) กลยุทธ์การดำเนินงานทางการตลาดฯ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) การบริหารความสัมพันธ์ (2) การสร้างนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบในการจัดการศึกษา และ (3) การส่งเสริมจุดขาย และ 3) ในภาพรวม กลยุทธ์การดำเนินงานทางการตลาดฯที่พัฒนาขึ้น มีความถูกต้อง เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด และข้อมูลมีการกระจายตัวน้อย


ผลของการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์ต่อการพัฒนาแรงจูงใจใฝ่ความเป็นเลิศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี, วรางคณา โสมะนันทน์, ไพศาล แย้มวงษ์ Oct 2019

ผลของการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์ต่อการพัฒนาแรงจูงใจใฝ่ความเป็นเลิศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี, วรางคณา โสมะนันทน์, ไพศาล แย้มวงษ์

Journal of Education Studies

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแรงจูงใจใฝ่ความเป็นเลิศของนักศึกษาด้วยการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์ และเพื่อศึกษาประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์ กลุ่มทดลอง คือ นักศึกษาปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งจำนวน 8 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์ (2) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่ความเป็นเลิศตามแนวพุทธศาสตร์ และ (3) คำถามแบบมีโครงสร้างในการศึกษาประสบการณ์การปรึกษาแบบกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ Wilcoxon signed rank test และการวิเคราะห์จำแนกชนิดข้อมูลผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มทดลองสะท้อนความคิดว่า สามารถแยกความแตกต่างระหว่างแรงจูงใจเทียม (มานะ) และแรงจูงใจแท้ (ฉันทะ) ได้ นอกจากนี้ กลุ่มทดลองเกิดความตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการมีแรงจูงใจใฝ่ความเป็นเลิศอย่างแท้จริง


A Study Of Creating Personal Learning Environments By Students Of The Faculty Of Education Majoring In Computer Education, Chayakarn Keereerat, Jaitip Na-Songkhla, Siridej Sujiva Oct 2019

A Study Of Creating Personal Learning Environments By Students Of The Faculty Of Education Majoring In Computer Education, Chayakarn Keereerat, Jaitip Na-Songkhla, Siridej Sujiva

Journal of Education Studies

This study aims at exploring the components and learning processes of personal learning environments shaped by students of the Faculty of Education majoring in computer education. The participants of the study were 37 students of the Faculty of Education at Chulalongkorn University who took computer programming courses selected using the purposive sampling technique. The research instruments were a questionnaire and an observation form about making use of personal learning environments. The data were collected during and after the semester, analyzed using standard statistics, namely percentage, average, and standard deviation, and examined as concept maps. The results showed that there were …


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, กุลนิดา ปลื้มปิติวิริยะเวช, อัมพร ม้าคนอง Oct 2019

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, กุลนิดา ปลื้มปิติวิริยะเวช, อัมพร ม้าคนอง

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างแบบจำลอง ทางคณิตศาสตร์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ และ 2) ศึกษาคุณภาพกระบวนการเรียนการสอน ที่พัฒนาขึ้นกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 32 คนและกลุ่มควบคุม 32 คนใช้เวลาในการทดลอง 24 คาบ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ชั้นตอนการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ชั้นตอน คือ 1) การพัฒนากระบวนการเรียน การสอนตามแนวคิดการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ 2) การทดลอง ใช้กระบวนการเรียนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที


ปัจจัยเชิงสาเหตุของการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูที่สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโครงการโรงเรียนประชารัฐ, มารุต ทรรศนากรกุล, จุไรรัตน์ สุดรุ่ง Oct 2019

ปัจจัยเชิงสาเหตุของการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูที่สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโครงการโรงเรียนประชารัฐ, มารุต ทรรศนากรกุล, จุไรรัตน์ สุดรุ่ง

Journal of Education Studies

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยด้านการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครู (2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (3) วิเคราะห์ความหลากหลายของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครู ประชากร คือครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในโครงการโรงเรียนประชารัฐ 21,812 คน ตัวอย่าง 1,040 คนใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติอนุมานและสถิติเชิงสรุปอ้างอิงโดยวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและโมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม SPSS for Window Version 21 และ R
ผลการวิจัย (1) โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยด้านการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครู คือ รูปแบบการนิเทศ พฤติกรรมการนิเทศ กิจกรรมการนิเทศ (2) โมเดลเชิงสาเหตุ 4 รูปแบบ คือ แบบคลินิก (X2 = 489.3)แบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ (X2 = 450.93) แบบพัฒนาตนเอง (X2 = 497.684) และแบบการนิเทศโดยผู้บริหาร(X2 = 480.243) มีความสอดคล้องเชิงประจักษ์ โดยมีค่า p-value = .000 ทุกรูปแบบ (3) ความหลากหลายของโมเดลเชิงสาเหตุของการนิเทศมี 4 โมเดล คือ โมเดลเชิงสาเหตุแบบคลินิก มีรูปแบบการนิเทศเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะครูสูงสุด (β = 0.44) 2. โมเดลเชิงสาเหตุแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ มีพฤติกรรมการนิเทศเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด (β = 0.42) 3. โมเดลเชิงสาเหตุแบบพัฒนาตนเองมีรูปแบบการนิเทศเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด (β = 0.79) 4. โมเดลเชิงสาเหตุแบบการนิเทศโดยผู้บริหาร มีรูปแบบการนิเทศเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด (β = 0 .36)


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงและการคิดเชิงระบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, กฤษฎา วรพิน Oct 2019

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงและการคิดเชิงระบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, กฤษฎา วรพิน

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเรียนการสอน ตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงและการคิดเชิงระบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา การดำเนิน การวิจัยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิด การเรียนรู้ตามสภาพจริงและการคิดเชิงระบบ และระยะที่ 2 เป็นการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 6 ชั้นตอน ได้แก่ ชั้นกำหนด ปัญหาหรือสถานการณ์ในชีวิตจริง ชั้นศึกษาข้อมูลของสถานการณ์หรือปัญหากำหนดให้ ชั้นลงมือปฏิบัติ และแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ชั้นอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชั้นหาข้อสรุปทั่วไปที่เป็นแบบแผน และชั้นประยุกต์และขยายองค์ความรู้ 2) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์ หลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องอสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, อัครพล พรมตรุษ, อุเทน ปุ่มสันเทียะ Oct 2019

มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องอสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, อัครพล พรมตรุษ, อุเทน ปุ่มสันเทียะ

Journal of Education Studies

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ และ (2) หาสาเหตุของการเกิดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางการเรียนเรื่อง อสมการ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนในจังหวัดพิษณุโลกจำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาด และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางการเรียน 2 รูปแบบได้แก่ มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางด้านภาษา และมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางด้านทฤษฎีบท กฎ สูตร บทนิยาม หรือสมบัติ และ (2) สาเหตุของการเกิดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน ได้แก่การแปลความหมายของศัพท์เฉพาะผิด การไม่เข้าใจความหมายของประโยคข้อความ การเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้สมบัติการบวกของการไม่เท่ากัน การเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้สมบัติการคูณของการไม่เท่ากัน และพื้นฐานทางการคำนวณอยู่ในระดับตํ่า


การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้าของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา, ศรสวรรค์ เรืองวิจิตร, เหม ทองชัย, ดวงเนตร ธรรมกุล Oct 2019

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้าของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา, ศรสวรรค์ เรืองวิจิตร, เหม ทองชัย, ดวงเนตร ธรรมกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงสำรวจของภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้า กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจำนวน 375 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้าที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายฉบับเท่ากับ 0.88 โดยเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ หมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้าของผู้บริหารสถานศึกษา ทำให้ได้ตัวแปร 37 ตัวบ่งชี้ที่ไม่เป็นเมทริกซ์เอกลักษณ์ (Bartlett’s test: χ2 = 28487.57, df = 666, p = .00) มีค่า KMO = 0.89ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเมื่อหมุนแกนโดยวิธีแวริแมกซ์แล้ว พบว่าได้ 10 องค์ประกอบ ได้แก่1) การทำงานเป็นทีม 2) ความเป็นผู้นำของผู้นำ 3) ความไว้วางใจ 4) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 5) ทรัพยากรมนุษย์6) การให้บริการ 7) การสื่อสาร 8) มนุษยสัมพันธ์ 9) การกระจายอำนาจ และ 10) การบริหารการเปลี่ยนแปลงซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 95.23 โดยองค์ประกอบการทำงานเป็นทีมมีร้อยละความแปรปรวนมากที่สุด (ร้อยละ 44.85) และองค์ประกอบการบริหารการเปลี่ยนแปลง มีร้อยละความแปรปรวนน้อยที่สุด (ร้อยละ 2.71) ดังนั้นการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้า ควรคำนึงถึงองค์ประกอบทั้ง 10 นี้ เพื่อพัฒนาให้เกิดคุณลักษณะเหล่านี้ต่อไป


การพัฒนาทักษะประชาธิปไตยสำหรับเด็กปฐมวัย: การวิจัยเชิงสำรวจ, จีระพันธุ์ พูลพัฒน์, จิราพร รอดพ่วง Oct 2019

การพัฒนาทักษะประชาธิปไตยสำหรับเด็กปฐมวัย: การวิจัยเชิงสำรวจ, จีระพันธุ์ พูลพัฒน์, จิราพร รอดพ่วง

Journal of Education Studies

งานวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของเด็กปฐมวัยที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะประชาธิปไตย และ 2) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาทักษะประชาธิปไตยของสถานศึกษาปฐมวัย ตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครูประจำชั้นระดับอนุบาล อาจารย์และนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 207 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) คุณลักษณะของเด็กปฐมวัยที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะประชาธิปไตยแต่ละข้อมีความสำคัญอยู่ในระดับมากและมากที่สุด คุณลักษณะที่มีความสำคัญอันดับแรก คือ เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น รองลงมา คือ เคารพข้อตกลง กฎ กติกา และมีส่วนร่วมในการทำงานกับกลุ่มและเรียนรู้จากกลุ่ม 2) แนวทางในการพัฒนาทักษะประชาธิปไตยให้แก่เด็กปฐมวัยในสถานศึกษามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้ออันดับแรก คือ บูรณาการผ่านการเล่นและลงมือกระทำจากประสบการณ์ตรงให้เกิดความเข้าใจและได้ซึมซับทักษะประชาธิปไตย รองลงมา คือ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึก และวินัยในตนเองในทุกกิจกรรมประจำวันตามโอกาสและเหมาะกับวัย และให้เด็กร่วมกันคิด ใช้เหตุผลตามวัยในการกำหนดข้อตกลงในห้องเรียน และการเคารพข้อตกลง กฎ กติกา


Breaking Through The Noise: Literacy Teachers In The Face Of Accountability, Evaluation, And Reform, Catherine M. Kelly, Sara E. Miller, Karen Kleppe Graham, Chelsey M. Bahlmann Bollinger, Sherry Sanden, Michael Mcmanus Oct 2019

Breaking Through The Noise: Literacy Teachers In The Face Of Accountability, Evaluation, And Reform, Catherine M. Kelly, Sara E. Miller, Karen Kleppe Graham, Chelsey M. Bahlmann Bollinger, Sherry Sanden, Michael Mcmanus

Reading Horizons: A Journal of Literacy and Language Arts

In an era of increased accountability, it is important to understand how exemplary teachers navigate the demands placed on them by their schools, districts, and states in order to support student learning aligned with their beliefs of effective instruction. To understand these negotiations, tensions facing exemplary literacy teachers were examined through a qualitative interview study. Participants included nineteen experienced PK-6th grade teachers from across the U.S. Results of the study indicate that teachers experience discrepancies between their beliefs and state and local mandates, and they discuss a variety of strategies for negotiating these discrepancies. Findings suggest that schools can support …


The Impact Of External Audience On Second Graders' Writing Quality, Meghan K. Block, Stephanie L. Strachan Oct 2019

The Impact Of External Audience On Second Graders' Writing Quality, Meghan K. Block, Stephanie L. Strachan

Reading Horizons: A Journal of Literacy and Language Arts

The overarching purpose of writing is to communicate; as such, the intended audience is a critical consideration for writers. However, elementary school writing instruction commonly neglects the role of the audience. Typically, children are asked to compose a piece of text without a specific audience that is usually evaluated by the classroom teacher. Previous studies have found a relationship between audience specification and higher quality writing among older children; this study examines the impact of audience specification on young children’s writing. Using a within-subjects design, the study compared writing quality when second-grade students wrote for internal versus external audiences and …


Special Education In Catholic Schools Viewed From A Liberatory Hermeneutic, Mary Carlson, Jeffrey Labelle Oct 2019

Special Education In Catholic Schools Viewed From A Liberatory Hermeneutic, Mary Carlson, Jeffrey Labelle

Journal of Catholic Education

This study explores anew the issue of providing special education in Catholic schools by viewing the ethical implications from a liberatory hermeneutic. By utilizing an interdisciplinary perspective, the research draws upon liberation theology, liberation psychology, liberation pedagogy, and liberation ethics to support the moral mandate for providing education for all God’s children, including those persons with disabilities. The study challenges Catholic educational leaders to reimagine their positions on how schools might promote a more inclusive, liberatory approach to serving the special needs of children with disabilities. Finally, this research provides a Catholic, liberatory, ethical framework for inclusive Catholic education to …


Beauty, Bees, And God: The Fibonacci Sequence As A Theological Springboard In Secondary Mathematics, John D. Brahier Oct 2019

Beauty, Bees, And God: The Fibonacci Sequence As A Theological Springboard In Secondary Mathematics, John D. Brahier

Journal of Catholic Education

Catholic schools primarily should be in the business of making saints. This article identifies and explores a meaningful, engaging point of contact between mathematics and theology for high school math classes, the Fibonacci Sequence. This sequence serves as an engaging introduction to sequences and series; more importantly, the topic can be used as a springboard to theological discussions. The paper will provide a brief historical background to the Fibonacci Sequence, an explanation of how it can be used in a high school math classroom, and an exploration of three different theological touchpoints that the Fibonacci Sequence offers.


Defining Catholic Higher Education In Positive Terms, Michael Rizzi Oct 2019

Defining Catholic Higher Education In Positive Terms, Michael Rizzi

Journal of Catholic Education

Debates about Catholic higher education in the United States sometimes focus too much on what Catholic colleges and universities should not do, rather than what they should do. This article attempts to reframe those debates away from the negative expressions of Catholic identity (i.e., denying guests a right to speak on campus based on their stance on abortion) and toward more positive expressions, like promoting scholarship on Catholic history, culture, and theology. It reviews some key academic literature that approaches Catholic identity from this positive, proactive perspective, and attempts to categorize that literature into common, identifiable themes.


Remembrance Of A Christian Brothers’ Education, James R. Valadez Oct 2019

Remembrance Of A Christian Brothers’ Education, James R. Valadez

Journal of Catholic Education

This study describes the experiences of a group of individuals who attended a southern California Catholic boys’ high school, and the men who taught them. The goal of this study was to relate a narrative that explained how an education, steeped in the Christian Brothers’ mission provided a quality education for the poor, and shaped the lives, perspectives, and values of the graduates. The narrative, reported through a social perspective inspired by Catholic Social Teaching (CST), the philosophical writings of Jacques Maritain and Alisdair MacIntyre, showed how the graduates received a quality education from the Brothers, and absorbed a strong …


Book Review: Into Silence And Servitude: How American Girls Became Nuns, 1945-1965, John White Oct 2019

Book Review: Into Silence And Servitude: How American Girls Became Nuns, 1945-1965, John White

Journal of Catholic Education

Book review of Titley (2014), Into Silence and Servitude: How American Girls Became Nuns, 1945-1965