Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 211 - 220 of 220

Full-Text Articles in Education

ผลการสอนด้วยการสร้างแบบจําลองเป็นฐานที่มีต่อสมรรถนะการสร้าง แบบจําลองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, วรกมล ปล้องมาก Jan 2018

ผลการสอนด้วยการสร้างแบบจําลองเป็นฐานที่มีต่อสมรรถนะการสร้าง แบบจําลองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, วรกมล ปล้องมาก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบสมรรถนะการสร้างแบบจําลองของนักเรียนระหว่าง ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนการสอนด้วยการสร้างแบบจําลองเป็นฐาน และ (2) ศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนการสอนด้วยการสร้างแบบจําลองเป็น ฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จํานวน 43 คน ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น มี รูปแบบการวิจัยแบบศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง มีการเก็บข้อมูลสมรรถนะการสร้างแบบจําลองก่อนเรียนและ หลังเรียน และเก็บข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบวัดสมรรถนะการสร้างแบบจําลอง และ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี เรื่อง เคมีอินทรีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ และสถิติ Wilcoxon Signed Ranks test ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนด้วยการสร้างแบบจําลองเป็นฐานมีสมรรถนะการ สร้างแบบจําลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนด้วยการสร้างแบบจําลองเป็นฐานมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเคมีหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 69.21 จัดอยู่ในระดับพอใช้


Effects Of Autonomy-Supportive English Language Instruction On Students' Motivation In English Language Classrooms, Mintra Phithakmethakun Jan 2018

Effects Of Autonomy-Supportive English Language Instruction On Students' Motivation In English Language Classrooms, Mintra Phithakmethakun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The present study aimed at exploring the effects of Autonomy-Supportive English Language Instruction on students' motivation in English language classrooms, and aimed at investigating students' opinions toward Autonomy-Supportive English Language Instruction. The participants were 25 eleventh grade students who were studying in a public school in the second semester of the academic year 2018, which were selected by purposive sampling. The research instruments were students' self-report motivation in English language classrooms questionnaire, and students' opinions toward autonomy-supportive English language instruction interview questions. The data were analyzed using descriptive statistics, paired-sample t-test and content analysis. The results revealed that students' motivation …


การศึกษาความสามารถในการอ่านทางคณิตศาสตร์ การรู้เรื่องการอ่าน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ดวงดาว ทรัพย์คณารักษ์ Jan 2018

การศึกษาความสามารถในการอ่านทางคณิตศาสตร์ การรู้เรื่องการอ่าน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ดวงดาว ทรัพย์คณารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการอ่านทางคณิตศาสตร์ และการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการอ่านทางคณิตศาสตร์ การรู้เรื่องการอ่าน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 3) สร้างสมการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 423 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดความสามารถในการอ่านทางคณิตศาสตร์ 2) แบบวัดการรู้เรื่องการอ่าน 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และสร้างสมการทำนายด้วยวิธีถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นลำดับขั้น ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านทางคณิตศาสตร์และการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ 2) ความสามารถในการอ่านทางคณิตศาสตร์กับการรู้เรื่องการอ่าน ความสามารถในการอ่านทางคณิตศาสตร์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และการรู้เรื่องการอ่านกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีความสัมพันธ์กันทางบวกเป็นคู่ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัยที่เป็นตัวทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ (X'[subscript achieve] ) คือ ความสามารถในการอ่านทางคณิตศาสตร์ (x) โดยสามารถทำนายได้ร้อยละ 20.2 และได้สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน คือ (X'[subscript achieve] ) = 7.609 + 0.197x และ (Y'[subscript achieve] ) = 0.450x ตามลำดับ


แนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมเยาวชนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต, ประกายดาว แก้วชัยเถร Jan 2018

แนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมเยาวชนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต, ประกายดาว แก้วชัยเถร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการบริการของแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของเยาวชน และเพื่อนำเสนอแนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมเยาวชนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม กับเยาวชน จำนวน 400 คน ที่เข้าใช้แหล่งเรียนรู้ในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หอศิลป์ ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ และสวนสาธารณะ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลและจัดทำเป็นร่างแนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมเยาวชนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตนำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดแหล่งการเรียนรู้จำนวน 10 ท่าน พร้อมทั้งร่างแผนที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำเสนอต่อเยาวชนในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 187 คน เพื่อพัฒนาเป็นแนวทางการจัดแหล่งเรียนรู้และแผนที่การเรียนรู้ที่สมบูรณ์ โดยใช้แบบประเมินแนวทางและแบบประเมินแผนที่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า (1) เยาวชนเลือกใช้วิธีการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด และเลือกใช้แหล่งเรียนรู้ที่ตรงตามความต้องการและความสนใจของตนเองในการส่งเสริมการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตมากที่สุดในทุกแหล่งเรียนรู้ เยาวชนมีปัญหาในเรื่องอุปกรณ์ใช้สอยไม่เพียงพอต่อผู้ใช้บริการในการใช้แหล่งเรียนรู้ และเยาวชนมีความต้องการในเรื่องการจัดเตรียมสถานที่ให้บริการของแหล่งการเรียนรู้อยู่ในระดับมากเป็นอันดับแรก (2) แนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ เนื้อหากิจกรรม ทรัพยากรการเรียนรู้ สถานที่ และการบริหารจัดการ ในส่วนของแผนที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นเว็บไซต์แนะนำแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เยาวชนนิยมเลือกใช้ จำนวน 20 แหล่งเรียนรู้ ซึ่งในเว็บไซต์บอกข้อมูลเบื้องต้นของแหล่งเรียนรู้ที่เยาวชนต้องการทราบ ได้แก่ เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับแหล่งเรียนรู้ วันเวลาที่เปิดให้บริการ ค่าบริการ สถานีรถไฟฟ้า รูปภาพแหล่งเรียนรู้ การเดินทางทั้งนี้ได้เชื่อมโยงกับ google map เพื่อให้ทำทางไปยังแหล่งเรียนรู้ และเชื่อมโยงกับเว็บไซต์หลักของแหล่งเรียนรู้เพื่อให้สามารถข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามความต้องการ


ผลการใช้โจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้อง และโจทย์ปัญหาแบบอัตนัยที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเทศกัมพูชา, ฮกเฬง เสียง Jan 2018

ผลการใช้โจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้อง และโจทย์ปัญหาแบบอัตนัยที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเทศกัมพูชา, ฮกเฬง เสียง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ระดับความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์หลังเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเทศกัมพูชากลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้องและกลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาแบบอัตนัย และ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์หลังเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเทศกัมพูชาระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้องกับกลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาแบบอัตนัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนเกรด 10 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560-2561 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง จังหวัดกำปงธม ประเทศกัมพูชา จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้อง มีนักเรียนจำนวน 44 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ คือ กลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาแบบอัตนัย มีนักเรียนจำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ เรื่อง กลศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากร สถิติทดสอบผลต่างค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และสถิติทดสอบไคสแควร์
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) ระดับความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์หลังเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเทศกัมพูชากลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้องและกลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาแบบอัตนัยอยู่ในระดับไม่ผ่าน และมีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ระดับดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์หลังเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเทศกัมพูชาระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้องกับกลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาแบบอัตนัยไม่แตกต่างกัน


ผลการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้เกมจำลองสถานการณ์ที่มีต่อการรู้เรื่องการเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ปรินทร์ ทองเผือก Jan 2018

ผลการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้เกมจำลองสถานการณ์ที่มีต่อการรู้เรื่องการเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ปรินทร์ ทองเผือก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้เกมจำลองสถานการณ์ที่มีต่อการรู้เรื่องการเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ คือ แบบวัดการรู้เรื่องการเงิน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ แบบบันทึกประเด็นการอภิปรายหลังเล่นเกม และบันทึกการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้เกมจำลองสถานการณ์ ใช้เวลาในการทดลองจำนวน 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2 คาบ คาบละ 50 นาที รวมทั้งสิ้น 16 คาบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้เกมจำลองสถานการณ์มีค่าเฉลี่ยของคะแนนการรู้เรื่องการเงินหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการรู้เรื่องการเงินในทุกองค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความรู้และความสามารถทางการเงิน 2) เจตคติทางการเงิน และ 3) แนวโน้มของพฤติกรรมทางการเงิน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้เกมจำลองสถานการณ์มีผลการเปลี่ยนแปลงของการรู้เรื่องการเงินเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) ความรู้และความสามารถทางการเงิน 2) แนวโน้มของพฤติกรรมทางการเงิน และ 3) เจตคติทางการเงิน โดยมีผลการเปลี่ยนแปลงการรู้เรื่องการเงินในแต่ละองค์ประกอบ ดังนี้ 2.1 ความรู้และความสามารถทางการเงิน มีผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในด้าน 1) ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลตามบริบททางการเงิน และ 2) ความสามารถในการประเมินประเด็นทางการเงิน 2.2 เจตคติทางการเงิน มีผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในด้าน 1) ความพึงพอใจในการใช้จ่ายและเก็บออมในระยะยาว และ 2) ความพึงพอใจที่มีต่อฐานะทางการเงินในปัจจุบันและอนาคต 2.3 แนวโน้มของพฤติกรรมทางการเงิน มีผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในด้าน 1) การดูแลการเงินส่วนบุคคลอย่างรอบคอบ 2) …


การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและแนวคิดการสืบสอบแบบร่วมมือ, วิชญา ผิวคำ Jan 2018

การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและแนวคิดการสืบสอบแบบร่วมมือ, วิชญา ผิวคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและแนวคิดการสืบสอบแบบร่วมมือ 2) ศึกษาผลการใช้กระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและแนวคิดการสืบสอบแบบร่วมมือที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครู การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้กรณีศึกษา ได้แก่ นักศึกษาครูสาขาวิชาประถมศึกษารวม 14 คน ซึ่งการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาและสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้พัฒนากระบวนการสร้างเสริมภาวะครูผู้นำ ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและแนวคิดสืบสอบแบบร่วมมือ ระยะที่ 3 การทดลองใช้กระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูที่พัฒนาขึ้น และระยะที่ 4 การนำเสนอกระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและแนวคิดสืบสอบแบบร่วมมือแบบสมบูรณ์ โดยใช้เวลาในการนำกระบวนการไปใช้ 1 ปีการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนของกระบวนการ ระยะเวลาของกระบวนการ และการประเมินผล มีหลักการคือ 1)การเรียนรู้ของนักศึกษาครูเกิดขึ้นโดยการรวมกลุ่มเพื่อการแสวงหาคำตอบหรือความรู้ จากการตั้งเป้าหมายให้สมาชิกนักศึกษาครูเกิดความสนใจในการปรับเปลี่ยนกรอบความคิดที่เคยยึดมั่นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกรอบแนวคิดใหม่ 2) การให้นักศึกษาครูตระหนักถึงปัญหา ด้วยการใช้คำถามเพื่อการวิเคราะห์ การตีความ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ นำไปสู่การทบทวนกรอบความคิดและความเชื่อ 3) การใช้คำถามและการสนทนาเชิงเหตุผลให้นักศึกษาครูใคร่ครวญร่วมกัน เพื่อตรวจสอบและทบทวนสถานการณ์ที่เป็นปัญหานำไปสู่การวางแผน การออกแบบ ค้นหาข้อสรุปเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติใหม่ต่อไป 4) การให้นักศึกษาครูสะท้อนการเรียนรู้และประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติที่เกิดขึ้นเป็นวงจรซ้ำๆ ผ่านการใคร่ครวญและการสานเสวนานำไปสู่การปรับกรอบความคิด และมีขั้นตอนของกระบวนการ 9 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ก่อเกิดกลุ่ม ขั้นที่ 2 ตรวจสอบเพื่อรับรู้ ขั้นที่ 3 ทำความเข้าใจประสบการณ์ ขั้นที่ 4 ค้นหาแนวทางปฏิบัติ ขั้นที่ 5 หาความรู้เพื่อวางแผน ขั้นที่ 6 ทดลองลงมือปฏิบัติ ขั้นที่ 7 ตรวจสอบประเมินผล ขั้นที่ 8 ออกแบบตัวตน และขั้นที่ 9 ตัดสินใจเพื่อยืนยัน 2) การศึกษาผลการใช้กระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษา พบว่า หลังใช้กระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูที่พัฒนาขึ้น นักศึกษาครูทั้ง 14 กรณีศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงภาวะครูผู้นำด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลทั้งการร่วมมือและการพัฒนาตนเอง และด้านทักษะทั้งการสื่อสารและการปฏิบัติการสอน และมีระดับภาวะครูผู้นำในระดับมาก เป็นจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50 และเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับภาวะผู้นำมาสู่ระดับมากเป็นจำนวนมากที่สุด …


กลยุทธ์การบริหารห้องสมุดกองทัพบกตามแนวคิดการพัฒนากำลังพลที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์กองทัพบก พ.ศ. 2560-2579, กฤษฎา สว่างงาม Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารห้องสมุดกองทัพบกตามแนวคิดการพัฒนากำลังพลที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์กองทัพบก พ.ศ. 2560-2579, กฤษฎา สว่างงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารห้องสมุดกองทัพบก และการพัฒนากำลังพลตามยุทธศาสตร์กองทัพบก พ.ศ. 2560-2579 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารห้องสมุดกองทัพบก 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารห้องสมุดกองทัพบก และ 4) พัฒนากลยุทธ์การบริหารห้องสมุดกองทัพบกตามแนวคิดการพัฒนากำลังพลที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์กองทัพบก พ.ศ. 2560-2579 โดยใช้การวิจัยแบบผสมวีพหุระยะ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร/หัวหน้าห้องสมุด บรรณารักษ์ และผู้ใช้บริการห้องสมุดจากห้องสมุดในสังกัดของกองทัพบก จำนวน 28 แห่ง รวมจำนวน 356 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน กรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI [subscript modified] และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารห้องสมุดกองทัพบก ประกอบด้วย 4 งาน คือ (1) งานบริหาร (2) งานเทคนิค (3) งานบริการ และ (4) งานประชาสัมพันธ์ สำหรับกรอบแนวคิดการพัฒนากำลังพลตามยุทธศาสตร์กองทัพบก พ.ศ. 2560-2579 ประกอบไปด้วย 6 ยุทธศาสตร์ 2) สภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ งานบริหาร ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ งานประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้ เมื่อจำแนกตามยุทธศาสตร์กองทัพบก พ.ศ. 2560-2579 พบว่า ยุทธศาสตร์ที่มีค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมสูงที่สุด คือ การพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนยุทธศาสตร์ที่มีค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ฯ ในภาพรวมน้อยที่สุด คือ การเสริมสร้างความร่วมมือด้านการทหารกับต่างประเทศ 3) จุดแข็ง คือ งานบริหาร จุดอ่อน คือ งานบริการ โอกาส คือ ด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี …


กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูทหารของโรงเรียนเหล่าตามแนวคิดการเสริมสร้างขีดความสามารถกำลังพลของกองทัพบก, ปัณฑารีย์ เมฆมณี Jan 2018

กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูทหารของโรงเรียนเหล่าตามแนวคิดการเสริมสร้างขีดความสามารถกำลังพลของกองทัพบก, ปัณฑารีย์ เมฆมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดขีดความสามารถกำลังพลของกองทัพบก สมรรถนะครูทหาร และการพัฒนาสมรรถนะ 2) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะครูทหารของโรงเรียนเหล่าตามแนวคิดการเสริมสร้างขีดความสามารถกำลังพลของกองทัพบก 3) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการพัฒนาสมรรถนะครูทหารของโรงเรียนเหล่าตามแนวคิดการเสริมสร้างขีดความสามารถกำลังพลของกองทัพบก 4) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูทหารของโรงเรียนเหล่าตามแนวคิดการเสริมสร้างขีดความสามารถกำลังพลของกองทัพบก ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้บริหารโรงเรียนเหล่า ครู-อาจารย์โรงเรียนเหล่า และผู้ใช้ผลผลิตของโรงเรียนเหล่าจากกองทัพภาคที่ 1-4 รวมกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้นจำนวน 484 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบสังเคราะห์ข้อมูล แบบประเมินกรอบแนวคิด และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า (1) กรอบแนวคิดประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ 1. ขีดความสามารถกำลังพลของกองทัพบก ประกอบด้วย ขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจในสงคราม (War) และขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากสงคราม (MOOTW) 2. สมรรถนะครูทหาร ประกอบด้วย สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน สมรรถนะด้านความเป็นครูทหาร สมรรถนะด้านคุณลักษณะทางทหาร สมรรถนะด้านความรู้เทคนิคเฉพาะเหล่า 3. การพัฒนาสมรรถนะ ประกอบด้วย การฝึกอบรมขณะทำงาน ได้แก่ การมอบหมายงาน การสอนงาน การฝึกงาน และการฝึกอบรมนอกงาน ได้แก่ การอบรมสัมมนา และการอบรมผ่านสื่อออนไลน์ (2) สภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้เทคนิคเฉพาะเหล่า และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การพัฒนาสมรรถนะด้านความเป็นครูทหาร สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้เทคนิคเฉพาะเหล่า และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การพัฒนาสมรรถนะด้านความเป็นครูทหาร (3) จุดแข็ง คือ การพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้เทคนิคเฉพาะเหล่า จุดอ่อน คือ การพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน โอกาส คือ ด้านสภาพสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมืองและนโยบายของรัฐ ภาวะคุกคาม คือ ด้านเทคโนโลยี (4) …


กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์, ชัยเทพ ชัยภักดี Jan 2018

กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์, ชัยเทพ ชัยภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ชีวประวัติของครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์ 2) ศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์ วิธีดำเนินการวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย นำเสนอผลการวิจัยเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1) ชีวประวัติของครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์ ประกอบด้วย 4 ด้าน (1) ข้อมูลทั่วไป เป็นบุตรของครูเพชร จรรย์นาฏย์ กับนางปริก จรรย์นาฏย์ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2460 สมรสกับนางสังวาลย์ จรรย์นาฏย์ และนางทองหยด จรรย์นาฏย์ มีบุตรธิดารวม 15 คน (2) การศึกษา ศึกษาวิชาสามัญจากวังบูรพาภิรมย์ ศึกษาวิชาดนตรีกับครูเพชร จรรย์นาฏย์ และครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) (3) การทำงาน รับราชการเป็นมหาดเล็กนักดนตรีไทยของวังบางคอแหลมและวังลดาวัลย์ และจัดตั้งสำนักปี่พาทย์ครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์ รับงานบรรเลงดนตรีไทย และสอนดนตรีไทย (4) ผลงาน ประกอบด้วย ผลงานการประพันธ์เพลงทั่วไปและเพลงเดี่ยว การบรรเลงในโอกาสสำคัญ ผลงานการประชันปี่พาทย์ และผลงานการปรับวงปี่พาทย์ 2) กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอก ประกอบด้วย 4 ด้าน (1) ครู เป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกศิษย์ มีจิตวิทยาในการสอน และมีคุณธรรมจริยธรรม (2) ผู้เรียน มีคุณสมบัติของนักดนตรีที่ดี มีทักษะในการบรรเลงระนาดเอกขั้นสูง (3) เนื้อหาสาระ มีการเรียงลำดับบทเพลงในการสอนเป็นหมวดหมู่ ทางเพลงที่ใช้สอนคือทางครูเพชร จรรย์นาฏย์ ทางครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์ และทางครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) (4) การจัดการเรียนการสอน ยึดหลักการสอนตามความสามารถของผู้เรียน ใช้วิธีการสอนทางตรง การสอนทางอ้อม และการสอนให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ เทคนิคการสอนคือการเสริมแรง ระยะเวลาในการสอนยืดหยุ่นตามบริบทของผู้เรียน สถานที่ในการสอนคือสำนักปี่พาทย์ครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์ วัดและประเมินผลโดยวิธีการสังเกต