Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 106

Full-Text Articles in Education

ผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันที่มีต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียน, จิราพัชร์ กิตติคุณวัฒนะ Jan 2022

ผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันที่มีต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียน, จิราพัชร์ กิตติคุณวัฒนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระดับการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันที่มีต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจง โดยการสุ่มแจกแบบสอบถามกับเขตที่มีจำนวนนักศึกษาชาวต่างชาติจำนวนมาก ทั้งสี่เขต คือ เขตบางบอน เขตบางขุนเทียน เขตห้วยขวาง และเขตสาทร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาจำนวน 183 คน จากนั้นนำระดับการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมมาวิเคราะห์เพื่อต่อยอดไปสร้างแผนและจัดกิจกรรมต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยระดับการยอมรับความหลากหลายรวมทั้ง 3 ด้าน (ความตระหนัก,ความรู้,ทักษะทางวัฒนธรรม) เขตสาทรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x̄=4.23; S.D.=0.20) ตามมาด้วยเขตบางขุนเทียน (x̄=4.13; S.D.=0.37) เขตบางบอน (x̄=4.12; S.D.=0.23) และเขตห้วยขวาง (x̄=3.60; S.D.=0.28 )ตามลำดับ ผู้วิจัยจึงเลือกเขตห้วยขวางในการจัดกิจกรรมในระยะที่ 2 และระยะที่ 2 มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน โดยกิจกรรมที่จัดเป็นกิจกรรมที่ผสม 3 แนวคิด ประกอบด้วย แนวคิดการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผลการจัดกิจกรรมพบว่าก่อนจัดกิจกรรมนักศึกษาเขตห้วยขวาง ระดับชั้นประถมศึกษา มีระดับการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ (x̄=3.61; S.D.=0.19) หลังจัดกิจกรรมที่ (x̄=4.33; S.D.=0.15) โดยค่าเฉลี่ยหลังเข้าร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม ที่ 0.72 คะแนน ผลการเปรียบค่า (t-test) มีค่า -26.40 แสดงว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปได้ว่ากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันมีผลต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียน


ข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก, ศิริพร ทองแก้ว Jan 2022

ข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก, ศิริพร ทองแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันด้านการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเด็ก ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเด็ก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต และความต้องการด้านการจัดศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก 2) เพื่อพัฒนาข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ 1) เด็กอายุ 8-12 ปี จาก 39 จังหวัดทั่วประเทศซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละภูมิภาค จำนวน 9,604 คน 2) พ่อแม่ผู้ปกครอง และครู 3) ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามสถานการณ์ ปัญหา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของผู้เรียน แบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อทางเลือกนโยบาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีโทรศัพท์ หรือแทบเลตที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เป็นของตนเอง กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างทำขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ การเล่นเกม รองลงมาคือการดูยูทูบ ช่วงเวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต คือช่วงหลังเลิกเรียน ส่วนสถานที่ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ ที่บ้าน 2) ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าปัญหาจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตของกลุ่มตัวอย่างที่มีมากที่สุดคือการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาคือการได้รับคำแนะนำจากครูและการชักชวนของเพื่อน 3) กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการที่จะเรียนรู้วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตจากพ่อแม่ผู้ปกครองมากที่สุด โดยการเรียนรู้จากที่บ้านผ่านการดูคลิปจากยูทูบและการค้นหาข้อมูลด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ 4) ข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก ประกอบด้วย 9 ทางเลือกที่พัฒนาจากข้อมูลที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างผสมผสานกับแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ แบ่งเป็นทางเลือกการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน 3 ทางเลือก ทางเลือกการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย 5 ทางเลือก และทางเลือกสนับสนุนอีก 1 ทางเลือก


การวิเคราะห์รูปแบบการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการที่ส่งผลต่อความสำเร็จตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร International Baccalaureate ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย, ณัฐฐิรา นันทศิริรัตน์ Jan 2022

การวิเคราะห์รูปแบบการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการที่ส่งผลต่อความสำเร็จตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร International Baccalaureate ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย, ณัฐฐิรา นันทศิริรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย 2) ศึกษาระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย และ 3) วิเคราะห์รูปแบบการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ โรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ที่เปิดสอนระดับชั้น Diploma Programme จำนวน 23 โรงเรียนทั่วประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูลคือ ครูผู้สอนในระดับชั้น Diploma Programme รวมทั้งสิ้น 418 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Multiple Regression Analysis) เพื่อศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การอธิบาย (R2) และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ (β) ของตัวแปรทำนายแต่ละตัว ผลการวิจัยพบว่า การนิเทศการสอนที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ การนิเทศแบบพึ่งตนเอง การปฏิบัติงานตามมาตรฐานหลักสูตรมากที่สุดมี 2 ด้านคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดประเมินผล และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างรูปแบบการนิเทศการสอนกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทยพบว่า รูปแบบการนิเทศแบบพึ่งตนเองเป็นตัวแปรทำนายที่สำคัญที่สุด (β =.338, P=<.001) รองลงมาคือ รูปแบบการนิเทศโดยผู้บริหาร (β =.126, P=.024)


แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม, พิภัทร์อนันต์ เทพพิทักษ์ Jan 2022

แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม, พิภัทร์อนันต์ เทพพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับทักษะอารมณ์และสังคมนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม (2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม (3) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 1 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือ หัวฝ่ายกิจการนักเรียน และครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 82 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือ หัวฝ่ายกิจการนักเรียน จำนวน 82 คน ครูผู้สอน จำนวน 164 คน รวมจำนวน 328 คน ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 2 ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครจำนวน 410 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 3 ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามระดับทักษะอารมณ์และสังคมนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์ลและสังคม แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์ลและสังคมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ การหา ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะอารมณ์และสังคมของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม ภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมี ด้านการจัดการตนเอง มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคมด้านการส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา คือ การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก และ การวางแผนงานกิจการนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 3) แนวทางพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม นำเสนอไว้ 3 แนวทางดังนี้ (1) พัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนที่เน้นการประเมินผลการดำเนินงานกิจการนักเรียนการนำผลการประเมินไปใช้ส่งเสริมทักษะอารมณ์และสังคมด้านการตระหนักรู้ทางสังคมและการสร้างสัมพันธภาพ (2) พัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนที่เน้นการดำเนินงานกิจการนักเรียนทักษะอารมณ์และสังคมด้านการตระหนักรู้ทางสังคมและการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ (3) พัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนเน้นการวางแผนงานกิจการนักเรียนทักษะอารมณ์และสังคมด้านการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ


การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินและแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงาน เขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน, ณัฏฐริญา ชินะพัฒนวงศ์ Jan 2022

การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินและแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงาน เขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน, ณัฏฐริญา ชินะพัฒนวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของครูมีส่วนในการพัฒนาคุณภาพและทักษะในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิสิตฝึกสอนที่กำลังจะเป็นครูในอนาคต จึงจำเป็นต้องฝึกทักษะการตรวจงานให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินและแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงานเขียนของนิสิตฝึกสอนภาษาอังกฤษ จากการวิเคราะห์วิธีการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษจากมุมมองของครูภาษาอังกฤษ ตัวอย่างวิจัยเป็นครูผู้ให้ข้อมูลสำคัญ นิสิตฝึกสอน และนักเรียนโดยจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวคำถามสัมภาษณ์ปลายเปิดแบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความต้องการจำเป็นด้านทักษะการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน และเครื่องมือประเมินการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ครูใช้วิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงแก้ไขโดยตรงและวิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงแก้ไขโดยอ้อมต่อข้อผิดพลาดในงานเขียนของนักเรียนที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ครูยังให้ข้อมูลย้อนกลับ คำแนะนำ และคำติชมให้แก่นักเรียนในงานเขียน นอกจากนี้ ผลจากการประเมินความต้องการจำเป็นด้านวิธีการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษพบว่า นิสิตฝึกสอนมีความจำเป็นในเรื่องการเขียนข้อเสนอแนะลงไปในงานเขียนของนักเรียน ส่วนนักเรียนมีความจำเป็นในเรื่องการให้อาจารย์นิสิตเขียนคำอธิบายแก้ไขข้อผิดพลาดให้ชัดเจนมากที่สุด ในขณะที่อาจารย์นิเทศก์มีความจำเป็นเรื่องการให้นักเรียนแก้ไขงานเขียนด้วยตนเองมากที่สุด ผลการวิจัยทั้งหมดนำไปสู่แบบประเมินในรูปแบบข้อคำถามและตัวเลือกพร้อมภาพประกอบโดยประเมินระดับของทักษะการตรวจงานเขียนด้วยเกณฑ์การให้คะแนนรูบริกแบบแยกองค์ประกอบ และแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอนในลักษณะข้อควรปฏิบัติ ที่ให้นิสิตฝึกสอนพิจารณา 1) ข้อผิดพลาดที่นักเรียนสามารถแก้ไขเองได้ 2) ข้อผิดพลาดที่นักเรียนไม่สามารถแก้ไขเองได้ 3) การสร้างแรงจูงใจในการเขียนของนักเรียน และ 4) การให้ข้อมูลย้อนกลับในงานเขียน แนวทางการพัฒนาที่ได้จากงานวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาทักษะการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอนต่อไป


การพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้อัตลักษณ์จิตรกรรมฝาผนัง“ฮูปแต้มอีสาน” สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, พชร วงชัยวรรณ์ Jan 2022

การพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้อัตลักษณ์จิตรกรรมฝาผนัง“ฮูปแต้มอีสาน” สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, พชร วงชัยวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของอัตลักษณ์งานจิตรกรรมฮูปแต้มในจังหวัดขอนแก่น และเพื่อพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้อัตลักษณ์ฮูปแต้มอีสาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบบเจาะจง (purposive sampling) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอน 4) ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตรกรรมฮูปแต้มอีสาน และ 5) นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนจากศิลปะพื้นบ้านอีสาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และแบบบันทึกข้อมูลและรูปภาพลักษณะของอัตลักษณ์ฮูปแต้ม ระยะที่ 2 ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ แบบวัดความพึงพอใจผู้เรียน โดยการพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนครั้งนี้มีการตรวจสอบรับรองนวัตกรรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการสอนและออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ฮูปแต้มในจังหวัดขอนแก่นในแต่ละชุมชนมีการสร้างก่อนปี พ.ศ. 2500 เป็นฮูปแต้มที่จัดอยู่ในกลุ่มพื้นบ้าน เน้นเขียนภาพอย่างอิสระและเรียบง่าย ไม่เคร่งครัดในการจัดองค์ประกอบ ทำให้ฮูปแต้มในแต่ละสถานที่มีรูปแบบการเขียนที่หลากหลายเป็นเอกลักษณ์สะท้อนถึงความเป็นท้องถิ่น สามารถจัดกลุ่มเนื้อหาวรรณกรรมที่ปรากฏออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มเรื่องราวทางศาสนา ได้แก่ พุทธประวัติ ไตรภูมิ พระเวสสันดรชาดก 2) กลุ่มวรรณกรรมท้องถิ่น ได้แก่ สังข์ศิลป์ชัย พระลัก-พระรามชาดก และ 3) กลุ่มภาพกาก ซึ่งเป็นภาพที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวอีสานในอดีต และในด้านการพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับฮูปแต้มและสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนจากทุนทางวัฒนธรรมได้ 2. เนื้อหา สอนอย่างบูรณาการให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ฮูปแต้ม กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างยั่งยืน และหลักการตลาดเบื้องต้น 3. กระบวนการสอน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นสร้างแรงบันดาลใจ ขั้นศึกษาอัตลักษณ์ชุมชน ขั้นถอดรหัสอัตลักษณ์ ขั้นพัฒนาร่วมกับปราชญ์ ขั้นผลิตต้นแบบ และขั้นนำเสนอ 4. สื่อการเรียนรู้ ที่มีลักษณะผสมผสานทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ 5. …


การพัฒนาหลักสูตรกรีฑาตามหลักการเสริมสร้างแรงจูงใจและเจตคติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ณัฐสุชน บัวมีธูป Jan 2022

การพัฒนาหลักสูตรกรีฑาตามหลักการเสริมสร้างแรงจูงใจและเจตคติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ณัฐสุชน บัวมีธูป

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของหลักสูตรกรีฑาตามหลักการเสริมสร้างแรงจูงใจและเจตคติของนักเรียนมัธยมตอนต้น 2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรกรีฑาตามหลักการเสริมสร้างแรงจูงใจและเจตคติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 3. เพื่อตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรกรีฑาตามหลักการเสริมสร้างแรงจูงใจและเจตคติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 484 คน คือ ผู้บริหาร ครูพลศึกษา และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรกรีฑาตามหลักการเสริมสร้างแรงจูงใจและเจตคติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สำหรับผู้บริหารและครูพลศึกษา มีค่าความสอดคล้องอยู่ในช่วง 0.60 – 1.00 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ และสำหรับนักเรียน มีค่าความสอดคล้องอยู่ในช่วง 0.90 – 1.00 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ และแบบตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรพัฒนาหลักสูตรกรีฑาตามหลักการเสริมสร้างแรงจูงใจและเจตคติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารประเมินให้มีระดับสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลางและความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับมากที่สุด ครูพลศึกษาประเมินให้มีสภาพปัญหาอยู่ระดับปานกลางและความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับมาก และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นประเมินให้มีสภาพปัญหาอยู่ระดับปานกลางและความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับมาก 2. การนำเสนอร่างหลักสูตรกรีฑาตามหลักการเสริมสร้างแรงจูงใจและเจตคติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย หลักการและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ วิสัยทัศน์ของโรงเรียน การกำหนดโครงการสอน/คำอธิบายรายวิชา ตารางโครงสร้างรายวิชา และแผนการวัดและประเมินผล และตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร พบว่า มีค่าความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบของหลักสูตรและเนื้อหาของหลักสูตรอยู่ในช่วง 0.70 – 1.00 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้


ผลของการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การเรียนรู้แบบนำตนเองและเทคนิคการใช้คำถามขั้นสูงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสมรรถนะการจัดการตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษา, ศดานันท์ เทพจันตา Jan 2022

ผลของการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การเรียนรู้แบบนำตนเองและเทคนิคการใช้คำถามขั้นสูงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสมรรถนะการจัดการตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษา, ศดานันท์ เทพจันตา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาและสมรรถนะการจัดการตนเองก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาและสมรรถนะการจัดการตนเองหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 50 คน ผู้วิจัยทำการสุ่มห้องเรียนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบนำตนเองและเทคนิคการใช้คำถามขั้นสูงจำนวน 25 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติจำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองและเทคนิคการใช้คำถามขั้นสูง จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวม 0.95 และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และสมรรถนะการจัดการตนเอง มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.85, 0.84, 0.97, และ 0.98 ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และสมรรถนะการจัดการตนเองด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และสมรรถนะการจัดการตนเองหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และสมรรถนะการจัดการตนเองของกลุ่มควบคุมหลังการทดลองไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และสมรรถนะการจัดการตนเองหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการใช้รูปแบบการฝึกฝนกระบวนการสืบสอบ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมอดทนรอคอยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษา, อรภิชา กองพนันพล Jan 2022

ผลการใช้รูปแบบการฝึกฝนกระบวนการสืบสอบ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมอดทนรอคอยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษา, อรภิชา กองพนันพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมอดทนรอคอยก่อน ระหว่าง และหลังการใช้รูปแบบการฝึกฝนกระบวนการสืบสอบ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งอยู่ในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษา ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จำนวน 14 คน โดยมาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) แผนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมอดทนรอคอยโดยใช้รูปแบบการฝึกฝนกระบวนการสืบสอบ จำนวน 30 นาที/ครั้ง และ (2) ชุดการวัดพฤติกรรมอดทนรอคอย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติการทดสอบค่าที (t-test dependent) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า การใช้รูปแบบการฝึกฝนกระบวนการสืบสอบ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมอดทนรอคอยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษา พบว่า ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรม นักเรียนมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนพฤติกรรมอดทนรอคอยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการฝึกฝนกระบวนการสืบสอบ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมอดทนรอคอยแบบค่อยเป็นค่อยไป นักเรียนมีแนวโน้มมีพฤติกรรมอดทนรอคอยได้เพิ่มมากขึ้น


การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของการระรานทางไซเบอร์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, กฤฏฐิพนธ์ คันธโกวิท Jan 2022

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของการระรานทางไซเบอร์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, กฤฏฐิพนธ์ คันธโกวิท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของการระรานทางไซเบอร์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการระรานทางไซเบอร์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต และ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของการระรานทางไซเบอร์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาปริญญาบัณฑิตจำนวน 466 คน (เพศหญิง 60.7%) อายุเฉลี่ย 19.75 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = ± 1.064, ช่วงอายุ = 18-22 ปี) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดการระรานทางไซเบอร์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิตที่มีลักษณะเป็นมาตรวัดประมาณค่าแบบ 5 ระดับ จำนวน 45 ข้อ ที่ทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ (IOC = 0.80-1.00) และทดสอบความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในด้วยค่าสัมประสิทธิ์ของอัลฟ่าครอนบาค (.947) โดยวิเคราะห์คุณภาพขนาดความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยค่า Bartlett’s test of Sphericity พบว่ามีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (χ2 = 23413.326, df = 946, p = .00) วิเคราะห์คุณภาพของขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยค่า Kaiser Meyer Olkin (KMO) ได้ค่า KMO เท่ากับ .971 และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม (Common factor analysis) แบบวิธีแกนหลัก (Principal axis factoring: PAF) และทำการหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมแหลม (Oblique rotation) แบบอ๊อบลิมินตรง (Direct oblimin) ด้วยโปรแกรม SPSS for windows ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของการระรานทางไซเบอร์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิตจากการศึกษาสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านผู้ระรานทางไซเบอร์ (Cyber-Perpetrators) สามารถวัดได้จากการใช้ภาษาหยาบคาย การยุยงให้เพื่อนทะเลาะกัน การปล่อยข่าวลือเพื่อทำลายชื่อเสียง การแอบอ้างตัวตนด้วยข้อมูลส่วนตัวของเพื่อน การกีดกั้นเพื่อนจากกลุ่มทางออนไลน์ การเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของเพื่อน การข่มขู่เพื่อน การดูถูกเพื่อนผ่านช่องทางการสื่อสารออนไลน์ การใช้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของเพื่อนโดยไม่ได้รับอนุญาต การส่งไวรัสคอมพิวเตอร์เพื่อทำให้เพื่อนเดือดร้อน การทำให้เพื่อนอับอาย การส่งสิ่งที่มีเนื้อหาทางเพศ …


Learning Model For Improving Quality Of Life Of Cambodian Migrant Workers Working And Living In Thailand, Chanrasmey Lay Jan 2022

Learning Model For Improving Quality Of Life Of Cambodian Migrant Workers Working And Living In Thailand, Chanrasmey Lay

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this research study were 1) to study the current living situation of Cambodian migrant workers working and living in Thailand, 2) to study how all stakeholders and those Cambodian migrant workers could work together to improve the quality of life of those Cambodian migrant workers living and working in Thailand, and 3) to propose a learning model for improving the quality of life of Cambodian migrant workers working and living in Thailand. The data was collected quantitatively and qualitatively from the survey and in-depth interview. The sample for the survey was 100 Cambodian migrant workers who were …


An Analysis On Trends Of Research Topics In Civic Education Using Dynamic Topic Model, Poon Thongsai Jan 2022

An Analysis On Trends Of Research Topics In Civic Education Using Dynamic Topic Model, Poon Thongsai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aim of this thesis is to study the trend of civic and citizenship education research from 2000 to 2020 and the influence the regional background of researches has on the research discussion. Relevant data is collected from ERIC and SCOPUS database. This includes abstracts, published year, regional background of researchers, and author h-index. The keywords used are “civic education” or “citizenship education” or “civics”. There are 4917 papers extracted in total. Upon doing further preparation, 4854 articles are prepared for analysis. We apply Structural Topic model (STM) technique to the abstracts with covariates including the published year and the …


Academic Management Strategies Of Secondary Schools Based On The Concept Of Intercultural Competence, Muanfan Korattana Jan 2022

Academic Management Strategies Of Secondary Schools Based On The Concept Of Intercultural Competence, Muanfan Korattana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The research objectives were to 1) study conceptual frameworks of academic management of secondary schools and intercultural competence, 2) study students’ intercultural competence levels, 3) analyze strengths, weaknesses, opportunities, and threats (SWOT) of academic management of secondary schools based on the concept of intercultural competence, and 4) develop academic management strategies based on the concept of intercultural competence, using a multiphase mixed-methods design methodology. The study population was 19 schools, with 307 respondents, including school administrators, head teachers, and teachers. Research instruments included questionnaires and evaluation forms. Data analysis included frequencies, percentages, arithmetic mean, standard deviations, modified priority needs index …


Academic Management Strategies Of Secondary Schools In Cambodia Based On The Concept Of Innovation Leadership Skills, Nguon Siek Jan 2022

Academic Management Strategies Of Secondary Schools In Cambodia Based On The Concept Of Innovation Leadership Skills, Nguon Siek

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to 1) study conceptual frameworks of academic management of secondary schools in Cambodia and innovation leadership skills, 2) study students’ innovation leadership skills levels, 3) analyze strengths, weaknesses, opportunities, and threats of academic management based on the concept of innovation leadership skills, and 4) develop academic management strategies based on the concept of innovation leadership skills. Multiphase mixed-methods design were employed. Samples included 2,662 students as respondents in Phase II and 94 public secondary schools in Phase III. Respondents included school administrators and teachers. Research instruments included evaluation forms and questionnaires. Data were analyzed using frequency, percentage, …


นวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา, ปรเมศวร์ ชรอยนุช Jan 2022

นวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา, ปรเมศวร์ ชรอยนุช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการและวิเคราะห์องค์ประกอบกรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา 2) ศึกษาระดับกรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา 3) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา 4) พัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ แบ่งเป็น 4 ระยะ ประชากร คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 2,360 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 400 โรงเรียน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 973 คน ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานหลักสูตร และครู จำนวน 1,031 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย (1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร (2) ด้านการจัดการเรียนการสอนและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และ (3) ด้านการวัดประเมินผล 2) องค์ประกอบกรอบความคิดผู้ประกอบการนักเรียนมัธยมศึกษา มี 8 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย (1) มีความมุ่งมั่นตั้งใจ (2) มีแรงบันดาลใจสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์และความสำเร็จ (3) มีความกล้าเสี่ยง (4) มีภาวะผู้นำตนเอง (5) มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาโอกาส (6) มีความอดทนต่อความไม่ชัดเจน (7) มีความยืดหยุ่นและฟื้นคืนพลัง และ (8) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรม 2) ระดับกรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา พบว่า มีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และมีความกล้าเสี่ยง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3) ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา พบว่า การจัดการเรียนการสอนและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด รองลงมาคือ การวัดประเมินผล และการพัฒนาหลักสูตร 4) แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารวิชาการประกอบด้วย 23 …


นวัตกรรมการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต, วิทวัช กุยแก้ว Jan 2022

นวัตกรรมการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต, วิทวัช กุยแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และกรอบแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) เพื่อศึกษาระดับความเชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียนศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 3) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบวิจัยผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Design) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.อำเภอ/เขต)สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ใช้กลุ่มตัวอย่าง 280 แห่ง โดยผู้ให้ข้อมูลคือผู้เรียนของ กศน.อำเภอ/เขต แห่งละ 15 คน รวม 4,200 คน สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสิ้น 3,045 คน และผู้อำนวยการ กศน.อำเภอ/เขต ข้าราชการครู และครู กศน.ตำบล รวม 840 คน สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสิ้น 621 คน และ กศน.อำเภอ/เขตที่มีแนวทางปฏิบัติที่น่าสนใจ จำนวน 5 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบประเมินระดับความเชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แบบสัมภาษณ์การบริหารวิชาการตามอัธยาศัยตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบกึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างนวัตกรรมฯ ฉบับที่ 1 และแบบประเมินร่างนวัตกรรมฯ ฉบับที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และกรอบผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต 5 คุณลักษณะ ประกอบด้วย ผู้เรียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย ผู้เรียนที่รอบรู้และมีไหวพริบ ผู้เรียนรู้อย่างมีกลยุทธ์ ผู้เรียนอย่างไตร่ตรอง ผู้เรียนที่พึ่งตนเอง 2) ระดับความเชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียนศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยรวมอยู่ในระดับอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายคุณลักษณะ พบว่า ด้านผู้เรียนอย่างมีจุดมุ่งหมายมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านผู้เรียนอย่างไตร่ตรอง มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตร มีค่าความต้องการจำเป็นสูงสุด และด้านการจัดการเรียนรู้ มีค่าความจำเป็นต่ำสุด 3) …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชน ตามแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์, มงคล ตีระดิเรก Jan 2022

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชน ตามแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์, มงคล ตีระดิเรก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนและแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนตามแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ และ3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนตามแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Methods Research) ประชากรได้แก่ โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในระบบ ที่มีชั้นอนุบาล จำนวน 3,329 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 357 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายปฐมวัย/วิชาการ และครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNImodified) และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย (1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (2) การจัดประสบการณ์เรียนรู้ และ (3) การประเมินพัฒนาการ กรอบแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ ประกอบด้วย (1) การกำกับตนเอง และ (2) ความรู้และทักษะระหว่างบุคคล 2) สภาพปัจจุบัน พบว่าอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ทั้งสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนตามแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ 1) เพิ่มคุณค่าหลักสูตรสถานศึกษาในการเสริมสร้างพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ มี 2 กลยุทธ์รอง 2) พลิกโฉมคุณภาพการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ มี 2 กลยุทธ์รอง 3) เพิ่มมิติในการประเมินพัฒนาการ เพื่อพัฒนาพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ มี 2 กลยุทธ์รอง


ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาการคิดเชิงประยุกต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา, พิมพ์ผกา ศิริหล้า Jan 2022

ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาการคิดเชิงประยุกต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา, พิมพ์ผกา ศิริหล้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม รูปแบบการวิจัยเป็นการทดลอง ใช้แนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่งในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 60 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบวัดความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ 2) แบบประเมินเชิงพฤติกรรมเพื่อวัดความสามารถการคิดเชิงประยุกต์ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สูตร t-test for Independent และเปรียบเทียบสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มทดลอง โดยใช้สูตร t-test for Dependent วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ผลการวิจัยนี้อาจเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปได้ และจะช่วยในการพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงประยุกต์เพื่อตอบสนองนโยบายประเทศไทยในการเตรียมพลเมืองสู่ศตวรรษที่ 21


กลยุทธ์การจัดการศึกษาก่อนประจำการเพื่อพัฒนาสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง, สกุลกาญจน์ นิยมพลอย Jan 2022

กลยุทธ์การจัดการศึกษาก่อนประจำการเพื่อพัฒนาสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง, สกุลกาญจน์ นิยมพลอย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากรอบแนวคิดความมั่นคง ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง (2) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมของการจัดการศึกษาก่อนประจำการเพื่อพัฒนาสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และ (3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การจัดการศึกษาก่อนประจำการเพื่อพัฒนาสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ครูอาจารย์ นักเรียนนายร้อย และผู้ใช้ผลผลิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าดัชนี PNImodified และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกประกอบด้วย 5 สมรรถนะ ได้แก่ ความเป็นผู้นำทางทหาร ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติภารกิจ ความรู้ความสามารถทั่วไป การพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และการใช้ภาษา 2) สภาพแวดล้อมของการจัดการศึกษาก่อนประจำการเพื่อพัฒนาสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง (1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของคุณภาพกำลังพลในภาพรวม ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สมรรถนะความเป็นผู้นำทาง (2) สภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาภาพรวม ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านครูอาจารย์ สภาพที่พึงประสงค์ ฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านครูอาจารย์ และด้านเป้าหมายของการจัดการศึกษา (3) จุดแข็ง คือ ครูอาจารย์ หลักสูตร เป้าหมายของการจัดการศึกษา การวัดและประเมินผล การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และผู้เรียน จุดอ่อน คือ งบประมาณ และสื่ออุปกรณ์การศึกษา (4) โอกาส คือ เศรษฐกิจ และด้านสังคม ภาวะคุกคาม คือ การเมืองและนโยบายรัฐ และ เทคโนโลยี และ 3) กลยุทธ์การจัดการศึกษาก่อนประจำการเพื่อพัฒนาสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ประกอบด้วย 8 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ (1) ยกระดับการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับการพัฒนาสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบก (2) ปฏิรูปสื่ออุปกรณ์ทางการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบก (3) พัฒนานักเรียนนายร้อยให้มีสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบก (4) …


ผลของการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้แนวคิดการชี้แนะทางปัญญาและการระดมสมองที่มีต่อความฉลาดรู้ทางอาหารของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ, ไกรศักดิ์ กาญจนศร Jan 2022

ผลของการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้แนวคิดการชี้แนะทางปัญญาและการระดมสมองที่มีต่อความฉลาดรู้ทางอาหารของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ, ไกรศักดิ์ กาญจนศร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ด้านอาหารก่อน กับหลังการทดลองของนักศึกษากลุ่มทดลองและนักศึกษากลุ่มควบคุม และ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ด้านอาหารหลังการทดลองระหว่างนักศึกษากลุ่มทดลองกับนักศึกษากลุ่มควบคุม ตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร ปีที่ 1 ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากเพื่อกำหนดห้องเรียนตัวอย่าง 2 ห้อง เข้าเป็นห้องกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้แนวคิดการชี้แนะทางปัญญาและการระดมสมอง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบปกติ ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 คาบเรียน คาบเรียนละ 50 นาที ในวันพฤหัสบดี รวม 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบความรู้ด้านอาหาร 3) แบบทดสอบความตระหนักด้านอาหาร และ 4) แบบสอบถามทักษะด้านอาหาร มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.73, 0.88, และ 0.89 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงได้เท่ากับ 0.81, 0.82, และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ทางอาหารด้านความรู้ ความตระหนัก และทักษะด้านอาหารหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ทางอาหารด้านความรู้ ความตระหนัก และทักษะด้านอาหารหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้แนวคิดการชี้แนะทางปัญญาและการระดมสมองส่งผลต่อความฉลาดรู้ทางอาหารของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพสูง


การพัฒนาหลักสูตรป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของพนักงานโดยใช้การขัดจังหวะการนั่ง กิจกรรมประกอบดนตรี และสื่อสังคมออนไลน์, ชวพัส โตเจริญบดี Jan 2022

การพัฒนาหลักสูตรป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของพนักงานโดยใช้การขัดจังหวะการนั่ง กิจกรรมประกอบดนตรี และสื่อสังคมออนไลน์, ชวพัส โตเจริญบดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของพนักงานในสำนักงานระหว่างทำงานโดยใช้การขัดจังหวะการนั่ง กิจกรรมประกอบดนตรี และสื่อสังคมออนไลน์ 2) ประเมินประสิทธิผลหลักสูตรพัฒนาขึ้น มีวิธีการดำเนินการวิจัย 2 ระยะ ได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตรป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของพนักงานในสำนักงานระหว่างทำงานโดยใช้การขัดจังหวะการนั่ง กิจกรรมประกอบดนตรี และสื่อสังคมออนไลน์ 2) การประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในสำนักงานจำนวน 45 คนที่สมัครใจและผ่านเกณฑ์คัดเข้า ระยะเวลาดำเนินการ 21 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2 ชุด มีค่าดัชนีความสอดคล้องชุดที่ 1 และชุดที่ 2 เท่ากับ 0.95 และ 1.00 ตามลำดับ และ 2) แบบประเมินการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.86 ทำการเก็บข้อมูล 2 ครั้ง คือ ระยะก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบด้วยสถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1) หลักการและความเป็นมาของหลักสูตร 2) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 3) หน่วยการเรียนรู้ของหลักสูตร 4) กิจกรรมที่ใช้ในหลักสูตร ประกอบด้วย 3 กิจกรรม (1) กิจกรรมการขัดจังหวะการนั่ง (2) กิจกรรมประกอบดนตรี (3) กิจกรรมการอบรมผ่านสื่อออนไลน์ 5) สื่อที่ใช้ในหลักสูตรอบรม 6) ระยะเวลาของหลักสูตรอบรม 21 วัน 7) การประเมินผลตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และ 8) แผนการอบรมแต่ละหน่วยของการอบรม หลักสูตรอบรมผ่านการประเมินคุณภาพโดยมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมเท่ากับ 4.44 อยู่ในระดับมีความเหมาะสมมาก มีค่าความสอดคล้องของหลักสูตรเท่ากับ 0.82 ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ได้ 2) ผลการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ และค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลังเข้ารับการอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมพิลาทิสร่วมกับการบริหารสมองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดหลากหลายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ธัญญารัตน์ สีน้ำคำ Jan 2022

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมพิลาทิสร่วมกับการบริหารสมองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดหลากหลายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ธัญญารัตน์ สีน้ำคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษา โดยใช้กิจกรรม พิลาทิสร่วมกับ การบริหารสมองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดหลากหลายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมพิลาทิสร่วมกับการบริหารสมอง และกลุ่มควบคุมที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 40 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ดำเนินการทดลองระยะเวลา 8 สัปดาห์ ๆ 1 วัน วันละ 50 นาที เครื่องมือในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรม พิลาทิสร่วมกับการบริหารสมอง จำนวน 8 แผน แบบทดสอบก่อนและหลังการเรียนรู้ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางพลศึกษา และแบบทดสอบทักษะการคิดหลากหลาย ทำการทดสอบโดยวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ คุณธรรม เจตคติ ทักษะกีฬา และสมรรถภาพทางกาย และแบบทดสอบทักษะการคิดหลากหลาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ ความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดหลากหลายหลังการทดลองของกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมพิลาทิสร่วมกับการบริหารสมองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดหลากหลายสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดหลากหลายหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมพิลาทิสร่วมกับการบริหารสมองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ ที่มีต่อพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกายของนักเรียนมัธยมศึกษา, ปิยวิทย์ จันดี Jan 2022

ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ ที่มีต่อพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกายของนักเรียนมัธยมศึกษา, ปิยวิทย์ จันดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกายก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกายหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างใช้การสุ่มอย่างง่ายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจำนวน 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวม 0.93 และแบบประเมินพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกาย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) แบบประเมินพฤติกรรมโภชนาการ 2) แบบประเมินพฤติกรรมการออกกำลังกาย โดยแต่ละส่วนประกอบด้วยแบบวัดเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) และแบบวัดเชิงสถานการณ์ ค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบวัดพฤติกรรมโภชนการ 0.93 และ 0.95 มีค่าความเที่ยง 0.94 และ 0.81 และค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบวัดพฤติกรรมการออกกำลังกาย 0.98 และ 0.90 มีค่าความเที่ยง 0.99 และ 0.78 ระยะเวลาในการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกายของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกายหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


โปรแกรมการฝึกกรีฑาลู่ตามการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับการฝึกแบบสถานีเพื่อเสริมสร้างความสนุกสนานและสมรรถภาพทางกายของนักกรีฑาโรงเรียนกีฬา, ปิยะศิริ อินทะประสงค์ Jan 2022

โปรแกรมการฝึกกรีฑาลู่ตามการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับการฝึกแบบสถานีเพื่อเสริมสร้างความสนุกสนานและสมรรถภาพทางกายของนักกรีฑาโรงเรียนกีฬา, ปิยะศิริ อินทะประสงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลคะแนนความสนุกสนานและสมรรมถภาพทางกาย ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลคะแนนความสนุกสนานและสมรรถภาพทางกาย หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักกรีฑาในโรงเรียนกีฬา โดยการเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนกีฬาแห่งหนึ่ง ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 60 คน เป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ดำเนินการทดลองระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) โปรแกรมการฝึกกรีฑาลู่ตามการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับการฝึกแบบสถานี (IOC= 0.90) 2) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย (IOC= 1.00) 3) แบบสอบถามวัดความสนุกสนาน (IOC= 0.91) วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า: 1) ค่าเฉลี่ยความสนุกสนานและสมรรถภาพทางกายของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ค่าเฉลี่ยความสนุกสนานและสมรรถภาพทางกายระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการทดลองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่าโปรแกรมการฝึกกรีฑาลู่ตามการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับการฝึกแบบสถานีเพื่อเสริมสร้างความสนุกสนานและสมรรถภาพทางกายของนักกรีฑาโรงเรียนกีฬา ทำให้ความสนุกสนานเพิ่มมากขึ้นและสมรรถภาพทางกายดีขึ้น


ผลการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การสะท้อนคิดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะทางพฤติกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา, วชิราภรณ์ นาทันใจ Jan 2022

ผลการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การสะท้อนคิดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะทางพฤติกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา, วชิราภรณ์ นาทันใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาและทักษะทางพฤติกรรมก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและของนักเรียนกลุ่มควบคุม และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาและทักษะทางพฤติกรรมหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 50 คน สุ่มแบบแบ่งกลุ่มโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน กลุ่มควบคุม 25 คน ใช้เครื่องมือ แผนการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การสะท้อนคิด จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวม 0.78 และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และทักษะทางพฤติกรรม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80, 0.85, 0.91 และ 0.95 มีค่าความเที่ยง 0.73, 0.80, 0.80 และ 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และทักษะทางพฤติกรรมด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า การจัดเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การสะท้อนคิด ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะทางพฤติกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา


การพัฒนาหลักสูตรอบรมครูพลศึกษาระดับประถมศึกษาโดยใช้แนวคิดแอนดราโกจีเพื่อสร้างเสริมการสอนทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน, ศุภกร โกมาสถิตย์ Jan 2022

การพัฒนาหลักสูตรอบรมครูพลศึกษาระดับประถมศึกษาโดยใช้แนวคิดแอนดราโกจีเพื่อสร้างเสริมการสอนทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน, ศุภกร โกมาสถิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการฝึกอบรมการสอนทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานของครูประถมศึกษา2)เพื่อพัฒนาหลักสูตรอบรมครูพลศึกษาระดับประถมศึกษาโดยใช้แนวคิดแอนดราโกจีเพื่อสร้างเสริมการสอนทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน3)เพื่อประเมินประสิทธิผลหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาความต้องการจำเป็น คือ ครูพลศึกษาในระดับประถมศึกษาที่ไม่มีวุฒิทางพลศึกษา จำนวน 201 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Sampling) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประสิทธิผลหลักสูตรอบรมคือ ครูพลศึกษาระดับประถมศึกษาที่ไม่มีวุฒิทางพลศึกษา จำนวน 30 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง และผ่านเกณฑ์คัดเข้า ทำการเก็บข้อมูลก่อนการทดลองและหลังการทดลอง นำข้อมูลมาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยสถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาของการสอนพลศึกษาในระดับประถมศึกษา คือครูผู้สอนในโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นครูที่ไม่คุณวุฒิทางพลศึกษา ส่งผลให้ขาดทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานอันนำไปสู่การสาธิตหรือไม่สามารถอธิบายการปฏิบัติที่ถูกต้องแก่นักเรียนได้ รวมทั้งในด้านสื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอนยังขาดแคลนและไม่เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน และครูไม่ทราบถึงหลักการวัดและประเมินผลทางพลศึกษา โดยพบว่า ด้านการสอนทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน มีความต้องการฝึกอบรมมากที่สุด มีค่าค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 2)หลักสูตรอบรมที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1)หลักการและเหตุผล (2)วัตถุประสงค์ของหลักสูตรอบรม (3)เนื้อหาสาระและระยะเวลา (5 หน่วย, 15 ชั่วโมง) (4) กิจกรรม(5) สื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ (6) การวัดและประเมินผล 3) ประสิทธิผลของหลักสูตรอบรมที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้กลุ่มทดลองมีการสร้างเสริมทักษะการสอน ความรู้ เจตคติ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและกลไกเข้าสู่ระบบปริญญาผ่านระบบธนาคารหน่วยกิตและการเทียบโอน, ลภัสรดา ธนพันธ์ Jan 2022

การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและกลไกเข้าสู่ระบบปริญญาผ่านระบบธนาคารหน่วยกิตและการเทียบโอน, ลภัสรดา ธนพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันของหลักสูตรระยะสั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของสถาบันอุดมศึกษา 2) วิเคราะห์กลไกการเชื่อมต่อการศึกษาผ่านระบบธนาคารหน่วยกิตและการเทียบโอน และ 3) พัฒนาหลักสูตรระยะสั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและกลไกในการเข้าสู่ระบบปริญญาผ่านระบบธนาคารหน่วยกิตและการเทียบโอน กลุ่มตัวอย่าง 1) ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยที่มีการเปิดสอนหลักสูตรผู้สูงอายุในประเทศ จำนวน 9 แห่ง 2) ผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้สูงวัยและเกี่ยวข้องกับกลไกการเชื่อมต่อการศึกษาการเข้าสู่ระบบปริญญาผ่านระบบธนาคารหน่วยกิตและการเทียบโอน จำนวน 4 แห่ง 3) ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มาช่วยในการวิพากษ์หลักสูตร จำนวน 15 ท่าน 4) ผู้สูงอายุและผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการนำความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพหรือดูแลผู้สูงอายุจำนวน 1,604 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจาก 6 ภาคของประเทศไทย ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลแบบสอบถามมี 2 วิธี แบ่งเป็น 50:50 ได้แก่ การจัดเก็บข้อมูลด้วยตนเองจำนวน 802 คนและการเก็บแบบสอบถามแบบออนไลน์ จำนวน 802 คน ซึ่งทางผู้วิจัยติดต่อตัวแทนจากระดับ อบต.และ อบจ. เป็นการส่วนตัว เพื่อขอความร่วมมือในการช่วยเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างแบบออนไลน์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และค่าสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและt-test ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของหลักสูตรระยะสั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของสถาบันอุดมศึกษา พบว่า หลักสูตรส่วนใหญ่อยู่ภายใต้คณะคณะพยาบาลศาสตร์/วิทยาลัยการพยาบาล และเป็นหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ รายวิชาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการดูแลผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ไม่มีหน่วยกิต กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เรียน : ส่วนใหญ่ คือ ผู้สนใจทั่วไป จำนวนที่รับต่อหลักสูตรไม่เกิน 50 คนและส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่าย ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความต้องการในหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย พบว่า ค่าเฉลี่ยความต้องการมีความแตกต่างกันตามอายุ ภูมิภาคที่พำนักอาศัย ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพปัจจุบัน และปัญหาสุขภาพ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 แสดงให้เห็นว่า หลักสูตรผู้สูงอายุในมหาวิทยาลัยของรัฐไม่ได้เป็นหลักสูตรเฉพาะที่จะไปเตรียมความพร้อมและส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ดังนั้นควรมีหลักสูตรเฉพาะที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุอย่างแท้จริงและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง 2) ผลการวิเคราะห์กลไกการเชื่อมต่อการศึกษาผ่านระบบธนาคารหน่วยกิตและการเทียบโอน จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยของ 5 กลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งหมด 1,604 คน จาก 6 ภาคของประเทศไทย พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการเรียนเพื่อแสวงหาความรู้เพิ่มเติม …


อนาคตภาพระบบการกํากับคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2573, วุฒิภูมิ จุฬางกูร Jan 2022

อนาคตภาพระบบการกํากับคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2573, วุฒิภูมิ จุฬางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องอนาคตภาพระบบการกำกับคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2573 นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยและต่างประเทศ 2) เพื่อวิเคราะห์ระบบการรับรองคุณวุฒิและระบบการรับรองวิทยฐานะของสถาบันอุดมศึกษาไทยและต่างประเทศ และ 3) เพื่อนำเสนออนาคตภาพระบบการกำกับคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2573 งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 6 คน และ 2) ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับระบบการกำกับคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 4 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แนวคำถามเพื่อการประชุมกลุ่มย่อย (FDG) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1.ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยและต่างประเทศ พบว่า ลักษณะระบบประกันคุณภาพประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) องค์ประกอบ 4) มาตรฐานและเครื่องมือ 5) ระเบียบวิธีการ 6) บริบท และ 7) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2.ระบบการรับรองคุณวุฒิและระบบการรับรองวิทยฐานะของสถาบันอุดมศึกษาไทยและต่างประเทศพบว่าลักษณะระบบการรับรองคุณวุฒิและระบบการรับรองวิทยฐานะของสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย) 3) องค์ประกอบ 4) มาตรฐานและเครื่องมือ 5) ระเบียบวิธีการ 6) บริบทและ 7) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 3. อนาคตภาพระบบการกำกับคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2573 พบว่า รูปแบบของระบบกำกับคุณภาพประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านหลักการ (หลักการ, มโนทัศน์, ขอบข่าย, จุดมุ่งหมาย) 2) ด้านองค์ประกอบ 3) ด้านมาตรฐานและเครื่องมือ 4) ด้านการดำเนินการ 5) …


การวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง, ปรวรรณ ดวงรัตน์ Jan 2022

การวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง, ปรวรรณ ดวงรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งวางอยู่บนกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่สังเคราะห์มาจากวาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นมาในอดีต เพื่อตอบคำถามงานวิจัยที่ว่า 1) วาทกรรมใหม่ที่ควรจะสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุจะมีคุณลักษณะเป็นอย่างไรและจะสามารถนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมืองได้อย่างไร 2) รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุไทยในสังคมเมือง ควรมีลักษณะเป็นอย่างไร 3) ผลของการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุไทยในสังคมเมืองจะเป็นอย่างไรและมีเงื่อนไขใดบ้างในการใช้ และ 4) ผลที่ได้จากการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุไทยในสังคมเมืองจะสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางของการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในสังคมเมืองต่อไปได้หรือไม่อย่างไร วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ 1) เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยออกเป็น 3 ระยะตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ ระยะที่ 1 ใช้วิธีการศึกษาศึกษาเอกสารและสื่อสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่อยู่ในช่วงปี พ.ศ.2544-2555 โดยใช้หลักการวิเคราะห์วาทกรรมตามแนวทางของฟูโกต์และแฟร์คลาฟ และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ เพื่อใช้เป็นแนวคิดสำหรับการดำเนินงานวิจัยในระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมาการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง โดยใช้พื้นฐานของแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุนำมาพัฒนาร่วมกับองค์ประกอบของรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย โดยศึกษาเฉพาะเจาะจงผู้สูงอายุในสังคมเมือง ด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในสังคมใน 6 ภูมิภาคของไทย จำนวนตัวอย่าง 112 คน นอกจากนี้ยังได้สัมภาษณ์ผู้ที่ทำงานด้านส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมทีเป็นกลุ่มตัวอย่างด้วยเช่นกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การร่างรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง และนำเสนอต่อคณะผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจความเหมาะสมและความเป็นได้ที่จะนำไปใช้ สำหรับในระยะที่ 3 เป็นการศึกษาข้อเสนอแนวทางการนำรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมืองดังกล่าวไปใช้ โดยใช้การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้ต่อไป ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า คุณลักษณะของวาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในอดีตแบ่งได้เป็น 2 ช่วงเวลา คือ การเรียนรู้เป็นไปตามธรรมดาโลก จะมุ่งเน้นอำนาจของสถาบันศาสนาที่ระบุให้ผู้สูงอายุเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ในช่วงเวลาที่ 2 เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า การเรียนรู้ให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นช่วงเวลาที่ผู้สูงอายุต้องเรียนรู้การปรับตัวเพื่อตั้งรับกับความเปลี่ยนของสังคมที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยทั้ง 2 ช่วงเวลาแสดงให้เห็นถึงความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่แตกต่างกันออกไป ข้อค้นพบดังกล่าวได้นำมาพัฒนาเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง นำเสนอประเด็นการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 6 ประเด็น คือ 1) ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ 2) แหล่งเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 3) วิธีการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 4) เป้าหมายของการเรียนรู้ 5) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ และ 6) เนื้อหาที่จำเป็นต้องรู้ จากตัวบทที่พบในแต่ละประเด็น ผู้วิจัยได้นำมาพัฒนาร่วมกับองค์ประกอบของรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ซึ่งจากการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ พบว่า ประกอบด้วย หลักการของการส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้อำนวยความสะดวกทางการเรียนรู้ พื้นที่การเรียนรู้ ปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้ ทรัพยากรส่งเสริมการเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ …


การศึกษากลยุทธ์ของครูในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทย, แคทรียา ชูสังข์ Jan 2022

การศึกษากลยุทธ์ของครูในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทย, แคทรียา ชูสังข์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบและรายละเอียดของรายการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทยในปีพ.ศ. 2561 – 2565 และ 2) ศึกษากลยุทธ์ของครูในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเปียโนจัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่มีลักษณะสำคัญในการวิจัยโดยเน้นการวิเคราะห์เอกสาร (Content Analysis) และการสัมภาษณ์ (Interview) เป็นหลัก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการบรรยายและตาราง โดยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในเรื่องเดียวกันจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ผู้วิจัยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ครูที่มีนักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศหรือรองชนะเลิศอันดับที่ 1 และ 2 จากรายการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทยในช่วงปีพ.ศ. 2561 – 2565 ตามเกณฑ์การคัดเลือกรายการแข่งขันเปียโนจำนวน 11 ท่าน กลุ่มที่ 2 นักเรียนของครูกลุ่มที่ 1 ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศหรือรองชนะเลิศอันดับที่ 1 และ 2 จากรายการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทยในช่วงปีพ.ศ. 2561 – 2565 ตามเกณฑ์การคัดเลือกรายการแข่งขันเปียโนจำนวน 10 คน กลุ่มที่ 3 ผู้ปกครองของบุตรหลานในกลุ่มที่ 2 จำนวน 6 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1) รายการแข่งขันเปียโนในประเทศไทยที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทยในปีพ.ศ. 2561 – 2565 มีทั้งหมด 16 รายการ โดยมีทั้งรายการแข่งขันเปียโนระดับนานาชาติ รายการแข่งขันเปียโนระดับชาติ และรายการแข่งขันเปียโนเฉพาะสังกัด ซึ่งรายการแข่งขันเปียโนแต่ละรายการจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปตามระเบียบการแข่งขันของรายการนั้น ๆ ทั้งในส่วนของช่วงอายุของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน การกำหนดรุ่นการแข่งขัน การจัดหมวดหมู่ของการแข่งขัน รูปแบบบทเพลงที่ใช้ในการแข่งขัน การกำหนดระยะเวลาในการแข่งขัน ประเภทการแข่งขัน รวมถึงรางวัลที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับ 2) กลยุทธ์ของครูในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประการ ได้แก่ การวางแผนภาพรวมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเปียโน การเตรียมความพร้อมด้านทักษะการบรรเลงเปียโน การเตรียมความพร้อมด้านการฝึกซ้อม การเตรียมความพร้อมด้านการแสดงดนตรี การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง