Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 950

Full-Text Articles in Education

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย, ณฐภาส์ รัชตะกุลธำรง Jan 2022

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย, ณฐภาส์ รัชตะกุลธำรง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารวิชาการของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบบรรยาย ประชากรในการวิจัยคือ โรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารหรือครู โรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน รวมทั้งสิ้น 212 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และใช้ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็นผลวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 4.358, SD = 0.549) และสภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.589, SD = 0.509) เมื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นรายด้าน พบว่าด้านการประเมินพัฒนาการมีความต้องการจำมากที่สุด (PNImodified = 0.058) รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ( PNImodified = 0.056) ด้านการจัดสภาพแวดล้อม สื่อและแหล่งเรียนรู้ (PNImodified = 0.054) และด้านการจัดประสบการณ์มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด (PNImodified = 0.044) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย รายข้อย่อยที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดเหมือนกันทั้ง 4 ด้านคือทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัยทักษะด้านความปลอดภัย 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย มีทั้งสิ้น 4 แนวทางหลัก 8 แนวทางย่อย และ 16 วิธีดำเนินการ ซึ่งเรียงลำดับความต้องการจำเป็นดังนี้ แนวทางหลักที่ 1 พัฒนาเครื่องมือในการวัดประเมินพัฒนาการของผู้เรียนที่เน้นเกี่ยวกับทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย …


แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม, พิภัทร์อนันต์ เทพพิทักษ์ Jan 2022

แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม, พิภัทร์อนันต์ เทพพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับทักษะอารมณ์และสังคมนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม (2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม (3) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 1 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือ หัวฝ่ายกิจการนักเรียน และครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 82 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือ หัวฝ่ายกิจการนักเรียน จำนวน 82 คน ครูผู้สอน จำนวน 164 คน รวมจำนวน 328 คน ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 2 ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครจำนวน 410 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 3 ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามระดับทักษะอารมณ์และสังคมนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์ลและสังคม แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์ลและสังคมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ การหา ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะอารมณ์และสังคมของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม ภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมี ด้านการจัดการตนเอง มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคมด้านการส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา คือ การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก และ การวางแผนงานกิจการนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 3) แนวทางพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม นำเสนอไว้ 3 แนวทางดังนี้ (1) พัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนที่เน้นการประเมินผลการดำเนินงานกิจการนักเรียนการนำผลการประเมินไปใช้ส่งเสริมทักษะอารมณ์และสังคมด้านการตระหนักรู้ทางสังคมและการสร้างสัมพันธภาพ (2) พัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนที่เน้นการดำเนินงานกิจการนักเรียนทักษะอารมณ์และสังคมด้านการตระหนักรู้ทางสังคมและการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ (3) พัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนเน้นการวางแผนงานกิจการนักเรียนทักษะอารมณ์และสังคมด้านการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ


นวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา, ปรเมศวร์ ชรอยนุช Jan 2022

นวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา, ปรเมศวร์ ชรอยนุช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการและวิเคราะห์องค์ประกอบกรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา 2) ศึกษาระดับกรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา 3) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา 4) พัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ แบ่งเป็น 4 ระยะ ประชากร คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 2,360 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 400 โรงเรียน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 973 คน ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานหลักสูตร และครู จำนวน 1,031 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย (1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร (2) ด้านการจัดการเรียนการสอนและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และ (3) ด้านการวัดประเมินผล 2) องค์ประกอบกรอบความคิดผู้ประกอบการนักเรียนมัธยมศึกษา มี 8 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย (1) มีความมุ่งมั่นตั้งใจ (2) มีแรงบันดาลใจสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์และความสำเร็จ (3) มีความกล้าเสี่ยง (4) มีภาวะผู้นำตนเอง (5) มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาโอกาส (6) มีความอดทนต่อความไม่ชัดเจน (7) มีความยืดหยุ่นและฟื้นคืนพลัง และ (8) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรม 2) ระดับกรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา พบว่า มีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และมีความกล้าเสี่ยง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3) ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา พบว่า การจัดการเรียนการสอนและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด รองลงมาคือ การวัดประเมินผล และการพัฒนาหลักสูตร 4) แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารวิชาการประกอบด้วย 23 …


กลยุทธ์การจัดการศึกษาก่อนประจำการเพื่อพัฒนาสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง, สกุลกาญจน์ นิยมพลอย Jan 2022

กลยุทธ์การจัดการศึกษาก่อนประจำการเพื่อพัฒนาสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง, สกุลกาญจน์ นิยมพลอย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากรอบแนวคิดความมั่นคง ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง (2) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมของการจัดการศึกษาก่อนประจำการเพื่อพัฒนาสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และ (3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การจัดการศึกษาก่อนประจำการเพื่อพัฒนาสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ครูอาจารย์ นักเรียนนายร้อย และผู้ใช้ผลผลิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าดัชนี PNImodified และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกประกอบด้วย 5 สมรรถนะ ได้แก่ ความเป็นผู้นำทางทหาร ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติภารกิจ ความรู้ความสามารถทั่วไป การพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และการใช้ภาษา 2) สภาพแวดล้อมของการจัดการศึกษาก่อนประจำการเพื่อพัฒนาสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง (1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของคุณภาพกำลังพลในภาพรวม ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สมรรถนะความเป็นผู้นำทาง (2) สภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาภาพรวม ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านครูอาจารย์ สภาพที่พึงประสงค์ ฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านครูอาจารย์ และด้านเป้าหมายของการจัดการศึกษา (3) จุดแข็ง คือ ครูอาจารย์ หลักสูตร เป้าหมายของการจัดการศึกษา การวัดและประเมินผล การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และผู้เรียน จุดอ่อน คือ งบประมาณ และสื่ออุปกรณ์การศึกษา (4) โอกาส คือ เศรษฐกิจ และด้านสังคม ภาวะคุกคาม คือ การเมืองและนโยบายรัฐ และ เทคโนโลยี และ 3) กลยุทธ์การจัดการศึกษาก่อนประจำการเพื่อพัฒนาสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ประกอบด้วย 8 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ (1) ยกระดับการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับการพัฒนาสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบก (2) ปฏิรูปสื่ออุปกรณ์ทางการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบก (3) พัฒนานักเรียนนายร้อยให้มีสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบก (4) …


การพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนผ่านการรู้จำคำพูดโดยใช้การเรียนรู้เชิงลึก, จิระเมศร์ รุจิกรหิรัณย์ Jan 2022

การพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนผ่านการรู้จำคำพูดโดยใช้การเรียนรู้เชิงลึก, จิระเมศร์ รุจิกรหิรัณย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนผ่านการรู้จำคำพูดด้วยการเรียนรู้เชิงลึกมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนจากการวิเคราะห์ความรู้สึกผ่านทางข้อความที่ได้จากกระบวนการรู้จำคำพูดโดยใช้การเรียนรู้ของเครื่องและการเรียนรู้เชิงลึก และ (2) เพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมของโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนที่ได้พัฒนาขึ้น ข้อความที่ใช้ในการพัฒนาโมเดลมีจำนวนทั้งสิ้น 23,974 ข้อความ เก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูล 2 แหล่ง ได้แก่ วีดิทัศน์การสอนของครูในชั้นเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 11 วีดิทัศน์ที่ได้รับการแปลงเป็นข้อความผ่านกระบวนรู้จำคำพูด และฐานข้อมูล Wisesight Sentiment Analysis ในการพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียน ผู้วิจัยใช้โมเดลการเรียนรู้ของเครื่อง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 โมเดลกลุ่มที่มีการจัดกระทำข้อมูลก่อนการวิเคราะห์และทำการวิเคราะห์จำแนกอารมณ์ครูด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง จำนวน 4 โมเดล กลุ่มที่ 2 โมเดลที่มีการสกัดคุณลักษณะจากข้อความด้วยการเรียนรู้เชิงลึกโดยใช้ autoencoder และมีการวิเคราะห์จำแนกอารมณ์ครูด้วยการเรียนรู้ของเครื่องจำนวน 4 โมเดล และกลุ่มที่ 3 โมเดลกลุ่มที่มีการจัดกระทำข้อมูลก่อนการวิเคราะห์และทำการวิเคราะห์จำแนกอารมณ์ครูด้วยการเรียนรู้เชิงลึก จำนวน 2 โมเดล ผู้วิจัยดำเนินการจัดเตรียมข้อความให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมสำหรับการนำไปวิเคราะห์ด้วยการสกัดคุณลักษณะจากข้อความด้วยวิธี TF-IDF และมีการลดจำนวนคุณลักษณะด้วยกระบวนการ Principle Component Analysis (PCA) แก้ไขปัญหาความไม่สมดุลกันของจำนวนข้อมูลในตัวแปรตามจึงใช้เทคนิค SMOTE และโมเดลทั้งสามกลุ่มมีการปรับแต่งไฮเพอร์พารามิเตอร์ของโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนด้วยวิธีการตรวจสอบไขว้ (Cross validation) การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโมเดลพิจารณาจากค่าดัชนี ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความไวในการจำแนกกลุ่ม ผลการวิจัยที่ได้ พบว่า 1. จากทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า โมเดล LSTM ที่มีการปรับไฮเพอร์พารามิเตอร์มีค่าความถูกต้องของโมเดลที่ใช้ในการจำแนกอารมณ์สูงที่สุด ร้อยละ 71 โดยมีความแม่นยำและความไวในการจำแนกกลุ่มทั้งสามประเภทโดยภาพรวมได้ดีที่สุด 2. โมเดลกลุ่มที่ 1 โมเดล Support Vector Machine ที่มีการกำหนดไฮเพอร์พารามิเตอร์ มีค่าความถูกต้องในการจำแนกอยู่ที่ 66% สำหรับโมเดลกลุ่มที่ 2 ที่ใช้โมเดล Multilingual Universal Sentence Encoder ในการสกัดคุณลักษณะควบคู่กับการจำแนกด้วยการเรียนรู้ของเครื่องของโมเดล Support Vector Machine และ โมเดล …


การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินและแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงาน เขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน, ณัฏฐริญา ชินะพัฒนวงศ์ Jan 2022

การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินและแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงาน เขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน, ณัฏฐริญา ชินะพัฒนวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของครูมีส่วนในการพัฒนาคุณภาพและทักษะในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิสิตฝึกสอนที่กำลังจะเป็นครูในอนาคต จึงจำเป็นต้องฝึกทักษะการตรวจงานให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินและแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงานเขียนของนิสิตฝึกสอนภาษาอังกฤษ จากการวิเคราะห์วิธีการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษจากมุมมองของครูภาษาอังกฤษ ตัวอย่างวิจัยเป็นครูผู้ให้ข้อมูลสำคัญ นิสิตฝึกสอน และนักเรียนโดยจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวคำถามสัมภาษณ์ปลายเปิดแบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความต้องการจำเป็นด้านทักษะการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน และเครื่องมือประเมินการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ครูใช้วิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงแก้ไขโดยตรงและวิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงแก้ไขโดยอ้อมต่อข้อผิดพลาดในงานเขียนของนักเรียนที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ครูยังให้ข้อมูลย้อนกลับ คำแนะนำ และคำติชมให้แก่นักเรียนในงานเขียน นอกจากนี้ ผลจากการประเมินความต้องการจำเป็นด้านวิธีการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษพบว่า นิสิตฝึกสอนมีความจำเป็นในเรื่องการเขียนข้อเสนอแนะลงไปในงานเขียนของนักเรียน ส่วนนักเรียนมีความจำเป็นในเรื่องการให้อาจารย์นิสิตเขียนคำอธิบายแก้ไขข้อผิดพลาดให้ชัดเจนมากที่สุด ในขณะที่อาจารย์นิเทศก์มีความจำเป็นเรื่องการให้นักเรียนแก้ไขงานเขียนด้วยตนเองมากที่สุด ผลการวิจัยทั้งหมดนำไปสู่แบบประเมินในรูปแบบข้อคำถามและตัวเลือกพร้อมภาพประกอบโดยประเมินระดับของทักษะการตรวจงานเขียนด้วยเกณฑ์การให้คะแนนรูบริกแบบแยกองค์ประกอบ และแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอนในลักษณะข้อควรปฏิบัติ ที่ให้นิสิตฝึกสอนพิจารณา 1) ข้อผิดพลาดที่นักเรียนสามารถแก้ไขเองได้ 2) ข้อผิดพลาดที่นักเรียนไม่สามารถแก้ไขเองได้ 3) การสร้างแรงจูงใจในการเขียนของนักเรียน และ 4) การให้ข้อมูลย้อนกลับในงานเขียน แนวทางการพัฒนาที่ได้จากงานวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาทักษะการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอนต่อไป


การพัฒนาโปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟ เพื่อส่งเสริมการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัล สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, ธนวินท์ สุริวงศ์ Jan 2022

การพัฒนาโปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟ เพื่อส่งเสริมการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัล สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, ธนวินท์ สุริวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์สถานการณ์การรู้ดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย 2. ออกแบบต้นแบบโปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟในการส่งเสริมการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัลและ 3. วิเคราะห์ผลการใช้โปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟ ในการส่งเสริมการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัล สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย และเปรียบเทียบคะแนนการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และ 4. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัล ผู้วิจัยแบ่งขั้นตอนการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะเพื่อตอบวัตถุประสงค์แต่ละข้อ ดังนี้ ระยะที่ 1 เป็นการทำความเข้าใจและวิเคราะห์สถานการณ์ กับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 69 คนและครูผู้สอนจำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ครูประจำชั้นและครูผู้สอน สอดแทรกในการสอนและการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการยืดหยุ่นทางความคิด บางส่วน โดยส่วนใหญ่เป็นการฝึกความคิดสร้างสรรค์ให้กับนักเรียน รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมการรู้ดิจิทัลของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง (M=6.25, SD=2.63) หมายถึง มีปัญหาพฤติกรรมการรู้ดิจิทัลบางรายการ แบ่งตามองค์ประกอบรายย่อยคือ ด้านการใช้งาน และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับปานกลาง หมายถึง มีปัญหาการรู้ดิจิทัลบางรายการ ควรได้รับการส่งเสริม และด้านการตระหนักรู้ อยู่ในระดับน้อย หมายถึง มีปัญหาการรู้ดิจิทัล ควรได้รับการปรับปรุง ระยะที่ 2 เป็นการออกแบบต้นแบบโปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนานักเรียน จำนวน 5 คน ร่วมอภิปรายกลุ่ม รูปแบบชุดกิจกรรมประกอบด้วย แผนกิจกรรมทั้งหมด 10 ครั้ง ๆ ละ 60 นาที ผู้วิจัยพัฒนาจากกรอบแนวคิด ได้แก่ ข้อมูลการศึกษาระยะที่ 1 รวมถึงข้อมูลผลการระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาต้นแบบ และข้อมูลการสังเคราะห์ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะสมองอีเอฟในกลุ่มทักษะพื้นฐาน ประกอบด้วย (1) การจำเพื่อใช้งาน (2) การยั้งคิดไตร่ตรอง และ (3) การยืดหยุ่นทางความคิด ระยะที่ 3 เป็นการทดลองใช้ต้นแบบ โดยดำเนินการทดลองกับตัวอย่างวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 69 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน …


การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อน เพื่อส่งเสริมการยอมรับจากเพื่อนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, นัทรียา สุคม Jan 2022

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อน เพื่อส่งเสริมการยอมรับจากเพื่อนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, นัทรียา สุคม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อนที่ช่วยส่งเสริมการยอมรับจากเพื่อน ดำเนินการตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) เริ่มจากการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของนักเรียน กำหนดประเด็นปัญหา ศึกษาและออกแบบแผนกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อน โดยการสัมภาษณ์ครูที่ปรึกษา 5 คน ครูผู้สอน 3 คน อาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา 2 คน ตัวแทนนักเรียน 5 คน จากนั้นนำกิจกรรมการเรียนรู้ที่ออกแบบไปทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 31 คน และใช้เทคนิคสังคมมิติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการยอมรับจากเพื่อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย ค่าร้อยละ และสถานภาพทางสังคมมิติ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อนเป็นการจัดกิจกรรมที่เอื้อให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม โดยใช้รูปแบบจิ๊กซอว์ (Jigsaw) และการสอนแบบเป็นกลุ่มย่อย (Small-Group Teaching) และการใช้รายงานจากเพื่อนเพื่อให้นักเรียนสังเกตและแจ้งพฤติกรรมเชิงบวกของเพื่อนขณะปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม 2) หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อนพบว่าสถานภาพทางสังคมมิติของนักเรียนทั้งห้องเรียนได้รับการยอมรับจากเพื่อนเพิ่มขึ้น 7 คน และลดลง 2 คน ส่วนสถานภาพของนักเรียนในกลุ่มถูกทอดทิ้งหรือถูกปฏิเสธได้รับการยอมรับจากเพื่อนเพิ่มขึ้น 5 คน


การส่งเสริมความฉลาดในการรับมือกับปัญหาผ่านหนังสือและสื่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 : การวิเคราะห์วาทกรรมพหุรูปแบบ, รวิวรรณ นิ้มคธาวุธ Jan 2022

การส่งเสริมความฉลาดในการรับมือกับปัญหาผ่านหนังสือและสื่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 : การวิเคราะห์วาทกรรมพหุรูปแบบ, รวิวรรณ นิ้มคธาวุธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความฉลาดในการรับมือกับปัญหาของผู้เรียนระดับ ป. 1 ในประเทศไทยมักอยู่ในรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งเป็นข้อมูลพหุรูปแบบที่มีความซับซ้อน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจรูปแบบและลักษณะของหนังสือและสื่อการเรียนรู้ วิเคราะห์ประเภทของสื่อพหุรูปแบบ วิเคราะห์วาทกรรมในสื่อพหุรูปแบบ และพัฒนาฐานข้อมูลหนังสือและสื่อการเรียนรู้ ตัวอย่างวิจัย คือ หนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่ผ่านเกณฑ์และได้รับการสุ่ม ครูผู้สอนและผู้ปกครองชั้น ป. 1 ที่อาสาสมัครเข้าทดลองใช้ฐานข้อมูลฯ ซึ่งดำเนินการวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะของสื่อ โดยสุ่มจากหนังสือที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 221 เล่ม และสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 110 เรื่อง จากนั้นนำมาวิเคราะห์ประเภทของสื่อพหุรูปแบบและวิเคราะห์วาทกรรมพหุรูปแบบในสื่อ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดของ O’Halloran, Tan & Wignell (2019) ผลการวิจัย พบว่า 1. หนังสือและสื่อฯ อยู่ในรูปแบบที่หลากหลายผสมผสานกัน อันเป็นข้อมูลพหุรูปแบบ ที่มีการสอดแทรกความรู้และทักษะที่ผู้เขียน/ผู้แต่งต้องการส่งเสริมให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนชั้น ป. 1 และมีเรื่องราวที่ใกล้เคียงกับประสบการณ์ของผู้อ่าน 2. ประเภทของสื่อพหุรูปแบบปรากฏในหนังสือและสื่อฯ สามารถจำแนกได้ 6 ประเภท คือ ข้อความ สัญลักษณ์ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและการเคลื่อนไหว 3. จากการวิเคราะห์วาทกรรมพหุรูปแบบสะท้อนการผลิตหนังสือและสื่อฯ ที่สอดแทรกการส่งเสริมความฉลาดใน การรับมือกับปัญหาทั้งมิติของการควบคุม สาเหตุและความรับผิดชอบ การกระจายตัวของปัญหาและความอดทนต่อความยืดเยื้อของปัญหา โดยพบการส่งเสริมความฉลาดในการรับมือกับปัญหาในมิติของการควบคุมสูงที่สุด 4. ฐานข้อมูลหนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมและพัฒนาความฉลาดในการรับมือกับปัญหาของผู้เรียนชั้น ป. 1 ที่พัฒนาขึ้นจากโปรแกรม AppSheet ได้รับความพึงพอใจในมาตรฐานด้านการใช้ประโยชน์ ความเหมาะสม ความถูกต้อง และความเป็นไปได้ในเชิงบวกทั้งหมดทั้งระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งและเห็นด้วย


การพัฒนาการแนะแนวการศึกษาต่อและประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์, ณหทัย อริยวัฒน์วงศ์ Jan 2022

การพัฒนาการแนะแนวการศึกษาต่อและประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์, ณหทัย อริยวัฒน์วงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาแนวทางการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ โดยได้จากการศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรม ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญที่ประกอบอาชีพทางศิลปะ จำนวน 24 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านเกมมิฟิเคชัน 1 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการแนะแนวการศึกษา 1 คน จากการเลือกแบบเจาะจง และทำการเก็บรวมรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้นวัตกรรม ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนศิลปกรรม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (มัธยมศึกษา) จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และทำการเก็บรวมรวมข้อมูลหลังจากการใช้นวัตกรรม ด้วยแบบประเมินความเข้าใจในตนเอง แบบประเมินความพึงพอใจต่อนวัตกรรม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการพัฒนานวัตกรรมสรุปได้ว่า นวัตกรรมการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ควรประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ดังนี้ 1) Find Myself การใช้แบบประเมิน เพื่อให้ผู้เรียนได้ประเมินความเหมาะสมของตนเองกับสาขาทางศิลปะ โดยใช้กลไกของเกมมิฟิเคชันในการขับเคลื่อนกิจกรรม 2) Based on True Stories การให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพทางด้านศิลปะแขนงต่าง ๆ 3) My Way in Art Careers การให้ข้อมูลสถาบันการศึกษาศิลปะในระดับมหาวิทยาลัย 4) Design your Life in Art Careers การตัดสินใจเลือกอาชีพและวางแผนการศึกษาในอนาคต ผลการทดลองสรุปได้ว่า 1) หลังการใช้นวัตกรรมกับกลุ่มตัวอย่าง พบว่านักเรียนมีความเข้าใจในตนเองรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.32, …


การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย, ณัฐณิชา มณีพฤกษ์ Jan 2022

การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย, ณัฐณิชา มณีพฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยและเพื่อพัฒนารูปแบบชุดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะศึกษาข้อมูล โดยการเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสังเกตการสอนในชั้นเรียนปฐมวัยที่มีการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัล จำนวน 3 โรงเรียน และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 ท่าน ประกอบด้วย ครูปฐมวัย 2 ท่าน ครูผู้สอนวิทยาการคำนวณ (คอมพิวเตอร์) ที่สอนในระดับปฐมวัย 2 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนศิลปะเด็ก 2 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัย 2 ท่าน 5) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 2 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปศึกษา 2 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสังเกตการสอน และแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และ 2) ระยะทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นอนุบาล 3 จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 28 คน และครูปฐมวัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัล แบบสังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมศิลปะ แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจสำหรับนักเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับครูผู้สอน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยประกอบไปด้วย 4 หลักการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ประสบการณ์สุนทรียะ (Aesthetic Experiences) 2) ประสบการณ์การสร้างงานศิลปะ (Art making Experiences) 3) การเข้าสู่โลกศิลปะ (Encounters with art) และ 4) การเสริมแรง (Reinforcement) โดยมีกระบวนการ 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นสร้างแรงจูงใจและเชื่อมโยงประสบการณ์ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสที่หลากหลาย ด้วยการใช้สื่อของจริงร่วมกับสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 2) ขั้นสร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นการนำกิจกรรมศิลปะปฏิบัติแบบดั้งเดิมมาผสมผสานกับเทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างสรรค์งานศิลปะ และ …


รูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ธนวรรณ เจริญภัทราวุฒิ Jan 2022

รูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ธนวรรณ เจริญภัทราวุฒิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศที่เหมาะสมกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ผู้เชี่ยวชาญด้านสันติวัฒนธรรม จำนวน 3 คน 2. ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้ความรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศ จำนวน 3 คน 3. ผู้เชี่ยวชาญด้านกิจกรรมศิลปศึกษา จำนวน 3 คน 4. ครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 3 คน และ 4. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2. แบบวัดความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศ 3. แบบสังเกตพฤติกรรม และ 4. แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 หลักการ (ERES) ดังนี้1) การสร้างความรู้ซึ้งถึงความรู้สึก (E: Empathy) ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ 2) การสร้างบทบาทสมมติ (R: Role Acting) โดยการสวมบทบาทสมมติผ่านหุ่นละคร 3) การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (E: Exchanging) เป็นการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหลังเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้กับเพื่อนร่วมชั้น และ4) การแบ่งปัน และมีส่วนร่วมในความสำเร็จ (S: Sharing) โดยการนำผลงานศิลปะมาจัดแสดงร่วมกับเพื่อนร่วมชั้น เมื่อนำกิจกรรมฯไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ค่าเฉลี่ยของความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศด้านที่มีความเปลี่ยนแปลงด้านความเข้าใจมากที่สุดคือ ด้านความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศอยู่ในระดับ มาก ( x̄ = 3.63) ผลการสำรวจความพึงพอใจต่อกิจกรรมหลังการทดลอง พบว่า ความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.10, S.D. …


การพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้อัตลักษณ์จิตรกรรมฝาผนัง“ฮูปแต้มอีสาน” สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, พชร วงชัยวรรณ์ Jan 2022

การพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้อัตลักษณ์จิตรกรรมฝาผนัง“ฮูปแต้มอีสาน” สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, พชร วงชัยวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของอัตลักษณ์งานจิตรกรรมฮูปแต้มในจังหวัดขอนแก่น และเพื่อพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้อัตลักษณ์ฮูปแต้มอีสาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบบเจาะจง (purposive sampling) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอน 4) ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตรกรรมฮูปแต้มอีสาน และ 5) นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนจากศิลปะพื้นบ้านอีสาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และแบบบันทึกข้อมูลและรูปภาพลักษณะของอัตลักษณ์ฮูปแต้ม ระยะที่ 2 ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ แบบวัดความพึงพอใจผู้เรียน โดยการพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนครั้งนี้มีการตรวจสอบรับรองนวัตกรรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการสอนและออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ฮูปแต้มในจังหวัดขอนแก่นในแต่ละชุมชนมีการสร้างก่อนปี พ.ศ. 2500 เป็นฮูปแต้มที่จัดอยู่ในกลุ่มพื้นบ้าน เน้นเขียนภาพอย่างอิสระและเรียบง่าย ไม่เคร่งครัดในการจัดองค์ประกอบ ทำให้ฮูปแต้มในแต่ละสถานที่มีรูปแบบการเขียนที่หลากหลายเป็นเอกลักษณ์สะท้อนถึงความเป็นท้องถิ่น สามารถจัดกลุ่มเนื้อหาวรรณกรรมที่ปรากฏออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มเรื่องราวทางศาสนา ได้แก่ พุทธประวัติ ไตรภูมิ พระเวสสันดรชาดก 2) กลุ่มวรรณกรรมท้องถิ่น ได้แก่ สังข์ศิลป์ชัย พระลัก-พระรามชาดก และ 3) กลุ่มภาพกาก ซึ่งเป็นภาพที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวอีสานในอดีต และในด้านการพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับฮูปแต้มและสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนจากทุนทางวัฒนธรรมได้ 2. เนื้อหา สอนอย่างบูรณาการให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ฮูปแต้ม กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างยั่งยืน และหลักการตลาดเบื้องต้น 3. กระบวนการสอน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นสร้างแรงบันดาลใจ ขั้นศึกษาอัตลักษณ์ชุมชน ขั้นถอดรหัสอัตลักษณ์ ขั้นพัฒนาร่วมกับปราชญ์ ขั้นผลิตต้นแบบ และขั้นนำเสนอ 4. สื่อการเรียนรู้ ที่มีลักษณะผสมผสานทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ 5. …


การพัฒนากิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี, สุภาพรรณ วงศ์ศักดิ์ศิริกุล Jan 2022

การพัฒนากิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี, สุภาพรรณ วงศ์ศักดิ์ศิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี และ 3) ศึกษาการสร้างสรรค์ศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก งานวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 ระยะศึกษารูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กรณีศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) จำนวน 3 แห่ง โดยใช้วิธีเลือกเฉพาะเจาะจง ได้แก่ กรณีศึกษา: ครูผู้สอนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดกิจกรรมศิลปะทั้งวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ จำนวน 3 ท่าน และกรณีศึกษา: ผู้เรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดกิจกรรมศิลปะ จำนวน 3 คน แบบพหุเทศะกรณี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เรียนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี 3) แบบสังเกตการจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ระยะที่ 2 ระยะพัฒนากิจกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในในการวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 ท่าน โดยใช้วิธีเลือกเฉพาะเจาะจงได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนศิลปศึกษา และด้านการสอนระดับประถมศึกษา ในระยะที่ 3 ขั้นทดสอบประสทิธิภาพของกิจกรรม นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 20 คน เป็นอาสาสมัครเข้าร่วมและยินดีให้ข้อมูลในการทดลองกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2) แบบสังเกตพฤติกรรมผู้ร่วมกิจกรรม 3) แบบประเมินการสร้างสรรค์ศิลปะ และ 4) แบบบันทึกการสะท้อนการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติ t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี มีองค์ประกอบ 4 ด้านได้แก่ แนวคิดและหลักการจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก การจัดการเรียนรู้กิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก เนื้อหาสาระสำคัญของกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก และการประเมินการสร้างสรรค์ตามแนวคิดการจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก นำมาซึ่ง …


ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน, อริสรา วิโรจน์ Jan 2022

ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน, อริสรา วิโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อนำเสนอรูปแบบกิจกรรมศิลปะที่สร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะที่สร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรก ใช้แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาข้อมูลรูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) แพทย์ และ พยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพาร์กินสัน จำนวน 3 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน จำนวน 3 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมศิลปะ จำนวน 3 คน 4) ผู้สูงวัยโรคพาร์กินสันที่ผ่านการเป็นโรคพาร์กินสันระยะแรกถึงระยะที่ 2.5 จำนวน 3 คน โดยได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ส่วนระยะที่สอง ใช้เครื่องมือจำนวน 6 ชุด ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน 2) แบบสะท้อนคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ต่อการทำกิจกรรมศิลปะ 3) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน 4) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตสำหรับโรคพาร์กินสัน (PDQ - 39) 5) แบบประเมินผลการจัดกิจกรรมศิลปะ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสันต่อรูปแบบกิจกรรมศิลปะ โดยเก็บข้อมูลจากผู้สูงวัยโรคพาร์กินสันระยะแรกถึงระยะที่ 2.5 จำนวน 28 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 14 คน กลุ่มควบคุม 14 คนแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x̄) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าสถิติ (t-test) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน คือ “พาร์สร้างงานศิลป์” ซึ่งเป็นรูปแบบกิจกรรมที่ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) ศิลปะการเคลื่อนไหว (Activation) ที่สร้างเสริมด้านร่างกาย 2) ร่วมใจสร้างงานศิลป์ (Participation) สร้างเสริมด้านสังคม 3) จินตนาการสู่งานสร้างสรรค์ (Creation) สร้างเสริมด้านปัญญา 4) ประสานสัมพันธ์งานศิลป์ (Co-ordination) …


การพัฒนานิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน, วนาลี ชาฌรังศรี Jan 2022

การพัฒนานิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน, วนาลี ชาฌรังศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนานิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มคือ กลุ่มตัวอย่างที่ 1 ใช้ในการศึกษาข้อมูลเพื่อพัฒนารูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะไทย 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนศิลปะไทย 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมศิลปะไทยนอกระบบโรงเรียน 4) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดนิทรรศการ 5) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมประยุกต์ใช้ศิลปะไทย จำนวนด้านละ 3 คน โดยได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และเก็บข้อมูลจากการสังเกตการณ์การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปะไทย จำนวน 3 กิจกรรม และการสังเกตการจัดนิทรรศการแบบมีส่วนร่วม จำนวน 3 นิทรรศการ กลุ่มตัวอย่างที่ 2 ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ เยาวชนอายุ 18-25 ปี ที่เข้าชมนิทรรศการ จำนวน 53 คน และเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบอาสาสมัคร (Voluntary Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับพื้นที่การเรียนรู้นิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วม แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน แบบประเมินความสามารถในการประยุกต์ใช้ศิลปะไทยจากผลงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน จัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT คือ 1) ขั้นทบทวน สร้างประสบการณ์ความรู้ความเข้าใจ 2) ขั้นออกแบบ พัฒนาประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอดและออกแบบผลงาน 3) ขั้นปฏิบัติ ลงมือสร้างสรรค์ผลงาน 4) ขั้นสรุป แสดงความคิดเห็นและวิเคราะห์แนวทางการนำไปใช้ โดยนิทรรศการมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 พื้นที่การเรียนรู้นิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วม เนื้อหาของนิทรรศการแบ่งเป็น 3 ประเด็น คือ 1) ศิลปะไทยประเพณี 2) ศิลปะไทยร่วมสมัย 3) การประยุกต์ใช้ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน ประกอบไปด้วยกิจกรรมการมีส่วนร่วม 5 …


การพัฒนาระบบการทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการประเมินสมรรถนะการประเมินชั้นเรียนของครู : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ, ถิรายุ อินทร์แปลง Jan 2022

การพัฒนาระบบการทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการประเมินสมรรถนะการประเมินชั้นเรียนของครู : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ, ถิรายุ อินทร์แปลง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาระบบการทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประเมินสมรรถนะการประเมินชั้นเรียนของครูโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การพัฒนากรอบและคำบรรยายสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพโดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่าน ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนาระบบการทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประเมินสมรรถนะ ผู้วิจัยสร้างออกแบบระบบประเมินสมรรถนะที่อาศัยระบบอินเทอร์เน็ตเว็ปเพจและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดคือ ความตรงเชิงเนื้อหา อำนาจจำแนก ความเที่ยง ความตรงเชิงโครงสร้าง ความตรงเชิงสภาพ ดัชนีความเหมาะสมรายข้อ ความเป็นพหุมิติและสัมประสิทธิความเที่ยงตามทฤษฎีตอบสนองข้อสอบ ระยะที่ 3 การประเมินสมรรถนะของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและประเมินประสิทธิภาพของระบบการทดสอบโดยทดลองใช้กับตัวอย่างการวิจัยจำนวน 1,786 คนเพื่อนำผลการทดสอบมาใช้ในการกำหนดจุดตัดคะแนนโดยอาศัยการกำหนดคะแนนจุดตัดบนแผนที่สภาวะสันนิษฐานและนำผลการวัดมาจำแนกกลุ่มตามระดับสมรรถนะและจำแนกเปรียบเทียบกับข้อมูลพื้นฐาน ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1) กรอบและคำบรรยายสมรรถนะมีคุณภาพผ่านเกณฑ์การประเมิน (Mdn=3.50-5.00, IQR=0.00-1.50) 2) คุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดสมรรถนะเป็นไปตามเกณฑ์ที่ยอมรับได้ มีความเที่ยงระดับสูง (rtt=.80-.82) ความตรงเชิงสภาพ (rxy=.73) โมเดลการวัดสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square=39.461, df=30, p= .116 , AGFI=.988, CFI=.989, TLI=.979, SRMR=.019, RMSEA=.016, AIC=60062.182, BIC=60247.748) ค่าสถิติ OUTFIT MNSQ มีค่าระหว่าง .764-.1.199 ค่าสถิติ INFIT MNSQ มีค่าระหว่าง .787-1.137 และ3) ประสิทธิภาพของระบบการทดสอบสมรรถนะอยู่ในระดับดีและผ่านเกณฑ์การประเมิน (Mdn=5.00, IQR=1.00, M=4.45, SD=0.73)


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับการใช้คำถามเชิงการรู้คิดที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, ธิปัตย์ สุขเกิด Jan 2022

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับการใช้คำถามเชิงการรู้คิดที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, ธิปัตย์ สุขเกิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองเกี่ยวกับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้แนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับการใช้คำถามเชิงการรู้คิด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม 3. ศึกษาพัฒนาการด้านความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับการใช้คำถามเชิงการรู้คิด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชุมพร จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับการใช้คำถามเชิงการรู้คิด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ก่อนทดลองและหลังทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับการใช้คำถามเชิงการรู้คิดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับการใช้คำถามเชิงการรู้คิดสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) พัฒนาการความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับการใช้คำถามเชิงการรู้คิดดีขึ้น


ผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันที่มีต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียน, จิราพัชร์ กิตติคุณวัฒนะ Jan 2022

ผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันที่มีต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียน, จิราพัชร์ กิตติคุณวัฒนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระดับการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันที่มีต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจง โดยการสุ่มแจกแบบสอบถามกับเขตที่มีจำนวนนักศึกษาชาวต่างชาติจำนวนมาก ทั้งสี่เขต คือ เขตบางบอน เขตบางขุนเทียน เขตห้วยขวาง และเขตสาทร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาจำนวน 183 คน จากนั้นนำระดับการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมมาวิเคราะห์เพื่อต่อยอดไปสร้างแผนและจัดกิจกรรมต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยระดับการยอมรับความหลากหลายรวมทั้ง 3 ด้าน (ความตระหนัก,ความรู้,ทักษะทางวัฒนธรรม) เขตสาทรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x̄=4.23; S.D.=0.20) ตามมาด้วยเขตบางขุนเทียน (x̄=4.13; S.D.=0.37) เขตบางบอน (x̄=4.12; S.D.=0.23) และเขตห้วยขวาง (x̄=3.60; S.D.=0.28 )ตามลำดับ ผู้วิจัยจึงเลือกเขตห้วยขวางในการจัดกิจกรรมในระยะที่ 2 และระยะที่ 2 มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน โดยกิจกรรมที่จัดเป็นกิจกรรมที่ผสม 3 แนวคิด ประกอบด้วย แนวคิดการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผลการจัดกิจกรรมพบว่าก่อนจัดกิจกรรมนักศึกษาเขตห้วยขวาง ระดับชั้นประถมศึกษา มีระดับการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ (x̄=3.61; S.D.=0.19) หลังจัดกิจกรรมที่ (x̄=4.33; S.D.=0.15) โดยค่าเฉลี่ยหลังเข้าร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม ที่ 0.72 คะแนน ผลการเปรียบค่า (t-test) มีค่า -26.40 แสดงว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปได้ว่ากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันมีผลต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียน


กระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ : กรณีศึกษานายอนันท์ ฐิตาคม, ธนกร จงทอง Jan 2022

กระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ : กรณีศึกษานายอนันท์ ฐิตาคม, ธนกร จงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์เส้นทางและกระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพของนายอนันท์ ฐิตาคม 2) เพื่อจัดทำแนวทางพัฒนานักเขียนการ์ตูนมืออาชีพโดยใช้กระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยจากกรณีศึกษานายอนันท์ ฐิตาคม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือนาย อนันท์ ฐิตาคม และบุคคลใกล้ชิดที่เป็นเพื่อนร่วมงาน ลูกศิษย์ ผู้ช่วยในสถาบันการสอน The zero one ที่มีความเกี่ยวข้องกับนายอนันท์ ฐิตาคมมากกว่า 5 ปี และยินดีให้ข้อมูลจำนวน 3 ท่าน ดำเนินการวิจัยด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมจากการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) เส้นทางและกระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพของนายอนันท์ ฐิตาคม ประกอบไปด้วย 1) เรื่องราว เหตุการณ์ และปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ไปถึงเป้าหมายการเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ ได้แก่ เหตุการณ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจการเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ และปัจจัยสำคัญที่พัฒนาตนเองสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ 2) ด้านกระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน ประกอบไปด้วยกระบวนการที่สำคัญได้แก่ แนวคิดการเรียนรู้จากการปรับเปลี่ยนโมทัศน์ แนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ แนวคิดคิดเป็น แนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เป็นต้น 3) ด้านกระบวนการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ประกอบไปด้วยกระบวนการที่สำคัญได้แก่ กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นต้น (2) แนวทางพัฒนานักเขียนการ์ตูนมืออาชีพโดยใช้กระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัย ประกอบด้วยแนวทางทางปฏิบัติที่วางไว้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือขั้นตอนที่นำพาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของการเป็นนักเขียนการ์ตูน 10 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 จุดเริ่มต้นของการเป็นนักเขียนการ์ตูนเกิดจากการที่ผู้เรียนรักการอ่านการ์ตูน ชอบดูการ์ตูน ขั้นตอนที่ 2 การเริ่มฝึกฝนเพื่อสร้างพื้นฐานในการเขียนการ์ตูน ขั้นตอนที่ 3 การแสวงหาความรู้เพื่อเพิ่มโอกาสและทักษะของตนเอง ขั้นตอนที่ 4 การนำความรู้ที่ได้รับมาปฏิบัติ ฝึกฝน พัฒนาเรียนรู้ ปรับปรุงแก้ไข ขั้นตอนที่ 5 การสร้างสรรค์ผลงาน ขั้นตอนที่ 6 การตรวจสอบผลงานที่สร้างสรรค์ ขั้นตอนที่ 7 การปรับปรุงผลงาน ขั้นตอนที่ 8 การหาที่เผยแพร่ผลงาน ขั้นตอนที่ 9 ผลงานได้รับการยอม/ไม่ได้รับการยอมรับ ขั้นตอนที่ 10 นักเขียนการ์ตูนที่ประสบความสำเร็จ


การวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง, ปรวรรณ ดวงรัตน์ Jan 2022

การวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง, ปรวรรณ ดวงรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งวางอยู่บนกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่สังเคราะห์มาจากวาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นมาในอดีต เพื่อตอบคำถามงานวิจัยที่ว่า 1) วาทกรรมใหม่ที่ควรจะสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุจะมีคุณลักษณะเป็นอย่างไรและจะสามารถนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมืองได้อย่างไร 2) รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุไทยในสังคมเมือง ควรมีลักษณะเป็นอย่างไร 3) ผลของการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุไทยในสังคมเมืองจะเป็นอย่างไรและมีเงื่อนไขใดบ้างในการใช้ และ 4) ผลที่ได้จากการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุไทยในสังคมเมืองจะสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางของการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในสังคมเมืองต่อไปได้หรือไม่อย่างไร วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ 1) เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยออกเป็น 3 ระยะตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ ระยะที่ 1 ใช้วิธีการศึกษาศึกษาเอกสารและสื่อสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่อยู่ในช่วงปี พ.ศ.2544-2555 โดยใช้หลักการวิเคราะห์วาทกรรมตามแนวทางของฟูโกต์และแฟร์คลาฟ และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ เพื่อใช้เป็นแนวคิดสำหรับการดำเนินงานวิจัยในระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมาการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง โดยใช้พื้นฐานของแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุนำมาพัฒนาร่วมกับองค์ประกอบของรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย โดยศึกษาเฉพาะเจาะจงผู้สูงอายุในสังคมเมือง ด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในสังคมใน 6 ภูมิภาคของไทย จำนวนตัวอย่าง 112 คน นอกจากนี้ยังได้สัมภาษณ์ผู้ที่ทำงานด้านส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมทีเป็นกลุ่มตัวอย่างด้วยเช่นกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การร่างรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง และนำเสนอต่อคณะผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจความเหมาะสมและความเป็นได้ที่จะนำไปใช้ สำหรับในระยะที่ 3 เป็นการศึกษาข้อเสนอแนวทางการนำรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมืองดังกล่าวไปใช้ โดยใช้การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้ต่อไป ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า คุณลักษณะของวาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในอดีตแบ่งได้เป็น 2 ช่วงเวลา คือ การเรียนรู้เป็นไปตามธรรมดาโลก จะมุ่งเน้นอำนาจของสถาบันศาสนาที่ระบุให้ผู้สูงอายุเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ในช่วงเวลาที่ 2 เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า การเรียนรู้ให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นช่วงเวลาที่ผู้สูงอายุต้องเรียนรู้การปรับตัวเพื่อตั้งรับกับความเปลี่ยนของสังคมที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยทั้ง 2 ช่วงเวลาแสดงให้เห็นถึงความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่แตกต่างกันออกไป ข้อค้นพบดังกล่าวได้นำมาพัฒนาเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง นำเสนอประเด็นการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 6 ประเด็น คือ 1) ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ 2) แหล่งเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 3) วิธีการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 4) เป้าหมายของการเรียนรู้ 5) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ และ 6) เนื้อหาที่จำเป็นต้องรู้ จากตัวบทที่พบในแต่ละประเด็น ผู้วิจัยได้นำมาพัฒนาร่วมกับองค์ประกอบของรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ซึ่งจากการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ พบว่า ประกอบด้วย หลักการของการส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้อำนวยความสะดวกทางการเรียนรู้ พื้นที่การเรียนรู้ ปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้ ทรัพยากรส่งเสริมการเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ …


ข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก, ศิริพร ทองแก้ว Jan 2022

ข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก, ศิริพร ทองแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันด้านการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเด็ก ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเด็ก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต และความต้องการด้านการจัดศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก 2) เพื่อพัฒนาข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ 1) เด็กอายุ 8-12 ปี จาก 39 จังหวัดทั่วประเทศซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละภูมิภาค จำนวน 9,604 คน 2) พ่อแม่ผู้ปกครอง และครู 3) ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามสถานการณ์ ปัญหา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของผู้เรียน แบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อทางเลือกนโยบาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีโทรศัพท์ หรือแทบเลตที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เป็นของตนเอง กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างทำขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ การเล่นเกม รองลงมาคือการดูยูทูบ ช่วงเวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต คือช่วงหลังเลิกเรียน ส่วนสถานที่ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ ที่บ้าน 2) ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าปัญหาจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตของกลุ่มตัวอย่างที่มีมากที่สุดคือการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาคือการได้รับคำแนะนำจากครูและการชักชวนของเพื่อน 3) กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการที่จะเรียนรู้วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตจากพ่อแม่ผู้ปกครองมากที่สุด โดยการเรียนรู้จากที่บ้านผ่านการดูคลิปจากยูทูบและการค้นหาข้อมูลด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ 4) ข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก ประกอบด้วย 9 ทางเลือกที่พัฒนาจากข้อมูลที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างผสมผสานกับแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ แบ่งเป็นทางเลือกการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน 3 ทางเลือก ทางเลือกการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย 5 ทางเลือก และทางเลือกสนับสนุนอีก 1 ทางเลือก


การวิจัยเชิงปฎิบัติการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการของชุมชนผ้าทอมือ, อรวิภา มงคลดาว Jan 2022

การวิจัยเชิงปฎิบัติการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการของชุมชนผ้าทอมือ, อรวิภา มงคลดาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์สมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการของชุมชนผ้าทอมือ และนำเสนอแนวปฏิบัติการส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการสำหรับชุมชนทอผ้าทอมือ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นวางแผน ประกอบด้วย 3 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 เป็นการสังเคราะห์สมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน และใช้แบบสอบถามสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือ กับผู้ประกอบการผ้าทอมือในประเทศไทย จำนวน 1,029 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์โปรแกรมสถิติทางคอมพิวเตอร์ และโปรแกรม LESREL กิจกรรมที่ 2 เป็นการระบุสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือที่ต้องการพัฒนาของกลุ่มทอผ้าซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย เป็นการกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือของชุมชนขุนอมแฮดใน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกภาคสนามและแบบสังเกตการณ์เข้าร่วมการเรียนรู้ วิเคราะห์ผลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา กิจกรรมที่ 3 การวางแผนพัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการตามที่กลุ่มเป้าหมายระบุ เป็นการดำเนินการร่วมกันกับสมาชิกกลุ่มผ้าทอมือในชุมชนขุนอมแฮดใน ที่ยินดีเข้าร่วมการเรียนรู้จำนวน 55 คน ขั้นตอนที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ เป็นการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่ผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กำหนดไว้ ขั้นตอนที่ 3 ขั้นสังเกตผล เป็นการร่วมกันตรวจสอบการบรรลุผลตามแผนปฏิบัติการ และขั้นตอนที่ 4 ขั้นสะท้อนคิด ประกอบด้วย 2 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1.กิจกรรมร่วมสรุปและถอดบทเรียนจากประสบการณ์ที่ได้รับจากกระบวนการ และกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสังเคราะห์เป็นแนวปฏิบัติการส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือของชุมชน โดยปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ที่เกี่ยวข้องสำคัญ จำนวน 9 คน ได้แก่ 1.นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ รักษาการแทนพัฒนาการอำเภออำก๋อย 2.พัฒนาชุมชน อบต.สบโขง 3.ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภออมก๋อย 4.หัวหน้าศูนย์เรียนรู้การพัฒนาอมก๋อยฯ 5.หัวหน้าฝ่ายเผยแพร่และขยายผล ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาอมก๋อยฯ 6.ครู.กศน อำก๋อย ผู้ทำหน้าที่ส่งเสริมกิจกรรมอาชีพผ้าทอมือ 3 ท่าน และ 9.ผู้ใหญ่บ้านชุมชนขุนอมแฮดใน ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือ ประกอบด้วย สมรรถนะหลัก (core competency) มี 4 องค์ประกอบ และสมรรถนะทางวิชาชีพ (functional competency) มี 3 องค์ประกอบ 2. …


การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านเพื่อความเข้าใจตามแนวสมดุลภาษาสำหรับนักเรียนประถมศึกษา, สุวกาญจน์ ทาวี Jan 2022

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านเพื่อความเข้าใจตามแนวสมดุลภาษาสำหรับนักเรียนประถมศึกษา, สุวกาญจน์ ทาวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านเพื่อความเข้าใจตามแนวสมดุลภาษาสำหรับนักเรียนประถมศึกษา และ 2) ศึกษาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมฯ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 28 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการอ่านเพื่อความเข้าใจตามแนวสมดุลภาษาสำหรับนักเรียนประถมศึกษา 2) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการอ่านของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านเพื่อความเข้าใจตามแนวสมดุลภาษาสำหรับนักเรียนประถมศึกษา มีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ (1) คู่มือการใช้ชุดกิจกรรม (2) แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย (2.1) จุดประสงค์การเรียนรู้ (2.2) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม (2.3) บทอ่าน (2.4) แบบประเมินผล 2) ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านเพื่อความเข้าใจตามแนวสมดุลภาษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การศึกษากลยุทธ์ของครูในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทย, แคทรียา ชูสังข์ Jan 2022

การศึกษากลยุทธ์ของครูในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทย, แคทรียา ชูสังข์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบและรายละเอียดของรายการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทยในปีพ.ศ. 2561 – 2565 และ 2) ศึกษากลยุทธ์ของครูในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเปียโนจัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่มีลักษณะสำคัญในการวิจัยโดยเน้นการวิเคราะห์เอกสาร (Content Analysis) และการสัมภาษณ์ (Interview) เป็นหลัก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการบรรยายและตาราง โดยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในเรื่องเดียวกันจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ผู้วิจัยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ครูที่มีนักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศหรือรองชนะเลิศอันดับที่ 1 และ 2 จากรายการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทยในช่วงปีพ.ศ. 2561 – 2565 ตามเกณฑ์การคัดเลือกรายการแข่งขันเปียโนจำนวน 11 ท่าน กลุ่มที่ 2 นักเรียนของครูกลุ่มที่ 1 ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศหรือรองชนะเลิศอันดับที่ 1 และ 2 จากรายการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทยในช่วงปีพ.ศ. 2561 – 2565 ตามเกณฑ์การคัดเลือกรายการแข่งขันเปียโนจำนวน 10 คน กลุ่มที่ 3 ผู้ปกครองของบุตรหลานในกลุ่มที่ 2 จำนวน 6 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1) รายการแข่งขันเปียโนในประเทศไทยที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทยในปีพ.ศ. 2561 – 2565 มีทั้งหมด 16 รายการ โดยมีทั้งรายการแข่งขันเปียโนระดับนานาชาติ รายการแข่งขันเปียโนระดับชาติ และรายการแข่งขันเปียโนเฉพาะสังกัด ซึ่งรายการแข่งขันเปียโนแต่ละรายการจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปตามระเบียบการแข่งขันของรายการนั้น ๆ ทั้งในส่วนของช่วงอายุของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน การกำหนดรุ่นการแข่งขัน การจัดหมวดหมู่ของการแข่งขัน รูปแบบบทเพลงที่ใช้ในการแข่งขัน การกำหนดระยะเวลาในการแข่งขัน ประเภทการแข่งขัน รวมถึงรางวัลที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับ 2) กลยุทธ์ของครูในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประการ ได้แก่ การวางแผนภาพรวมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเปียโน การเตรียมความพร้อมด้านทักษะการบรรเลงเปียโน การเตรียมความพร้อมด้านการฝึกซ้อม การเตรียมความพร้อมด้านการแสดงดนตรี การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง


แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแบบเน้นความสำคัญของวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา, ธีรวิทย์ กลิ่นจุ้ย Jan 2022

แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแบบเน้นความสำคัญของวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา, ธีรวิทย์ กลิ่นจุ้ย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพของการจัดการเรียนรู้ และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับดนตรีเชิงวัฒนธรรมในหลักสูตรดนตรีศึกษาระดับปริญญาตรีประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยผสมวิธี (Mixed Methods) กลุ่มตัวอย่างวิจัยทั้งหมดคัดเลือกเป้าหมายตามเป้าหมายแนวคิดทฤษฎี (Theory and concept-focused Sampling) มีขั้นตอนการวิจัยดังนี้ คือ a) ประกอบไปด้วยวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสาร 37 หลักสูตร และศึกษาเชิงปริมาณด้วยการสำรวจความคิดเห็นอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ประจำหลักสูตร (N=20) จากนั้น b) สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และทำการวิเคราะห์ผลร่วมกันจากทั้งสองขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรดนตรีศึกษาทั้ง 37 หลักสูตร มีรายวิชาดนตรีเชิงวัฒนธรรมทั้งที่เป็นรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือก สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทได้แก่ a) แนวเน้นทฤษฎี b) เน้นทักษะปฏิบัติ และ c) แนวเน้นการบูรณาการกับศาสตร์อื่น และผลจากการสำรวจความคิดเห็นอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ประจำหลักสูตร (N=20) และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ (N=5) สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1) ด้านจำนวนรายวิชา: รายวิชาดนตรีเชิงวัฒนธรรมในหลักสูตรมีจำนวนมากเหมาะสม (M=4.25) และเพียงพอต่อความรู้ที่ควรได้รับตลอดหลักสูตร (M=3.95) และรายวิชาดนตรีเชิงวัฒนธรรมเหมาะสมจะเป็นรายวิชาเลือก (M=4.00) มากกว่าเป็นวิชาบังคับ (M=3.70) 2) ด้านสถานภาพของรายวิชา: รายวิชาดนตรีเชิงวัฒนธรรมในหลักสูตรมีความจำเป็นต่อการเตรียมความพร้อมผู้เรียนสู่การเป็นครูดนตรี (M=4.65) และเหมาะสมกับการที่มีสถานภาพเป็นรายวิชาแนวผสมผสานบูรณาการกับศาสตร์อื่น (M=4.45) มากที่สุด ถัดมาเป็นแนวการบรรยายทฤษฎี (M=4.10) และแนวปฏิบัติทักษะดนตรี (M=3.90) ตามลำดับ 3) ด้านขอบเขตการจัดการเรียนรู้: ควรมุ่งเน้นเนื้อหาทางวัฒนธรรมดนตรีที่เชื่อมโยงกับชุมชนหรือท้องถิ่น (M=4.40) และมีการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงภูมิหลังทางวัฒนธรรมดนตรีของผู้เรียน (M=4.15) จากนั้นอาจมีการเพิ่มเนื้อหาที่มีความเชื่อมโยงกับนานาชาติ (M=4.25) และในประเทศ (M=4.20) ตามลำดับ การจัดการเรียนรู้ควรเป็นเนื้อหาที่กว้างและมีความหลากหลาย (M=4.35) มากกว่ากำหนดประเด็นที่ลงลึกและจำเพาะเจาะจงเพียงประเด็นเดียว (M=3.70) สำหรับแนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับดนตรีเชิงวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นความสำคัญของวัฒนธรรมมีหลักสำคัญใน 4 ประเด็นได้แก่ 1)กำหนดมโนทัศน์หลัก 2)เนื้อหาการเรียนรู้ 3)ผู้สอนและการจัดการเรียนรู้ 4)บริบทพื้นที่การเรียนรู้


การพัฒนาหนังสือนิทานเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านจังหวะสำหรับนักเรียนเปียโนระดับต้น, สุทัตตา จรัสกำจรกูล Jan 2022

การพัฒนาหนังสือนิทานเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านจังหวะสำหรับนักเรียนเปียโนระดับต้น, สุทัตตา จรัสกำจรกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหนังสือนิทานเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านจังหวะสำหรับนักเรียนเปียโนระดับต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์นำร่อง 2) แบบประเมินคุณภาพหนังสือนิทาน และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนระหว่างการทำกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการศึกษานำร่อง จำนวน 4 ท่าน 2) กลุ่มผู้ประเมินคุณภาพหนังสือนิทาน จำนวน 5 ท่าน และ 3) นักเรียนเปียโนระดับต้นที่ผู้วิจัยสอนจำนวน 3 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์นำร่อง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาเป็นหนังสือนิทาน จากนั้นนำหนังสือนิทานไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน และนำไปทดลองใช้ วิเคราะห์ผลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์เชิงสถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยคือ หนังสือนิทานที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยเนื้อหาด้านจังหวะ 4 หัวข้อ คือ 1) อัตราความเร็วและจังหวะตบ 2) อัตราจังหวะ 3) รูปแบบจังหวะ และ 4) เครื่องหมายโยงเสียง ใช้กิจกรรมดนตรีทั้งหมด 4 แบบ คือ 1) การฟังและเคลื่อนไหว 2) การพูด อ่าน ประกอบการใช้ร่างกายสร้างจังหวะ โดยการใช้กลวิธีหลักการใช้คำแทนจังหวะ (Rhythm Syllables) เข้ามาประกอบ 3) การเล่นบนเปียโน และ 4) การสร้างสรรค์จังหวะ ผลการประเมินคุณภาพหนังสือนิทานอยู่ในเกณฑ์ดีมาก และจากการทดลองใช้ พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถด้านจังหวะทั้งการฟังและเคลื่อนไหว พูด อ่าน เล่น และสร้างสรรค์ในภาพรวมที่ดี


การวิเคราะห์รูปแบบการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการที่ส่งผลต่อความสำเร็จตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร International Baccalaureate ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย, ณัฐฐิรา นันทศิริรัตน์ Jan 2022

การวิเคราะห์รูปแบบการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการที่ส่งผลต่อความสำเร็จตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร International Baccalaureate ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย, ณัฐฐิรา นันทศิริรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย 2) ศึกษาระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย และ 3) วิเคราะห์รูปแบบการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ โรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ที่เปิดสอนระดับชั้น Diploma Programme จำนวน 23 โรงเรียนทั่วประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูลคือ ครูผู้สอนในระดับชั้น Diploma Programme รวมทั้งสิ้น 418 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Multiple Regression Analysis) เพื่อศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การอธิบาย (R2) และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ (β) ของตัวแปรทำนายแต่ละตัว ผลการวิจัยพบว่า การนิเทศการสอนที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ การนิเทศแบบพึ่งตนเอง การปฏิบัติงานตามมาตรฐานหลักสูตรมากที่สุดมี 2 ด้านคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดประเมินผล และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างรูปแบบการนิเทศการสอนกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทยพบว่า รูปแบบการนิเทศแบบพึ่งตนเองเป็นตัวแปรทำนายที่สำคัญที่สุด (β =.338, P=<.001) รองลงมาคือ รูปแบบการนิเทศโดยผู้บริหาร (β =.126, P=.024)


การวิเคราะห์องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา, นัทท์ฐาอร สมเดช Jan 2022

การวิเคราะห์องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา, นัทท์ฐาอร สมเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานขององค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษา 3) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษา เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ โรงเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับเหรียญทอง และรางวัลรองชนะเลิศระดับเหรียญทอง สถานศึกษายอดเยี่ยม ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ส่งเสริมการใช้นวัตกรรม PLC ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ในการแข่งขันระดับชาติ ปีการศึกษา 2560-2562 จำนวน 11 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ครูผู้สอนในโรงเรียน จำนวน 665 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ เพื่อศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณของตัวแปรทำนายแต่ละองค์ประกอบ และวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณเป็นขั้นตอน เพื่อคัดเลือกตัวแปรทำนายที่ร่วมกันส่งผลได้ดีที่สุดต่อการปฏิบัติงานของครู และอธิบายความสามารถในการทำนายของแต่ละสมการ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่มีระดับการดำเนินงานมากที่สุด คือ องค์ประกอบที่ 5 ชุมชนกัลยาณมิตร โดยข้อที่มีระดับการดำเนินงานขององค์ประกอบชุมชนกัลยาณมิตรมากที่สุดคือ สมาชิกในกลุ่มมีการชื่นชมและสนทนาเชิงบวกเพื่อเสริมกำลังใจกันในการทำงาน ร่วมกันสร้างขวัญและกำลังใจต่อกัน เพื่อให้การดำเนินงาน PLC เป็นไปด้วยความสุขความเข้าใจ การปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่มีระดับการปฏิบัติงานมากที่สุด คือ ด้านที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ โดยข้อที่มีระดับการปฏิบัติงานของด้านการปฏิบัติหน้าที่ครูมากที่สุดคือ การยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ทางด้านเพศ เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และระดับการเรียนรู้ และองค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูมากที่สุด คือ องค์ประกอบที่ 6 โครงสร้างสนับสนุนชุมชน โดยข้อที่มีการดำเนินงานตามองค์ประกอบ โครงสร้างสนับสนุนชุมชนมากที่สุดคือ มีการกำหนดการหรือช่วงเวลาที่นอกเวลาสอนเพื่ออำนวยความสะดวกให้สมาชิกกลุ่มได้พบปะพูดคุยร่วมกัน รองลงมาคือองค์ประกอบที่ 5 ชุมชนกัลยาณมิตร ซึ่งสอดคล้องกับผลวิจัยที่กล่าวข้างต้น


ทักษะการนิเทศของผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา, พัฒนพงศ์ ทองศรี Jan 2022

ทักษะการนิเทศของผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา, พัฒนพงศ์ ทองศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะการนิเทศของผู้บริหารโรงเรียนที่ได้รับรางวัลโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานด้านผลลัพธ์ของโรงเรียนที่ได้รับรางวัลโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา 3) เพื่อศึกษาทักษะการนิเทศของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 280 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างาน โรงเรียนละ 5 คน คือ งานหลักสูตร งานระดับชั้น งานบุคลากร งานนโยบายและแผน และงานบริหารการเงิน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น จำนวน 810 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับทักษะการนิเทศของผู้บริหารในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.04 อยู่ในระดับมาก 2. ระดับการปฏิบัติงานด้านผลลัพธ์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลมีค่าเฉลี่ย 4.89 อยู่ในระดับมากที่สุด 3. ทักษะการนิเทศของผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา มี 2 ทักษะ คือ ทักษะด้านการบริหารงานบุคคล และทักษะด้านการประเมินผล ทักษะด้านการบริหารงานบุคคลส่งผลต่อผลลัพธ์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลทั้งในภาพรวมและทุกด้าน และทักษะด้านการประเมินผลส่งผลต่อผลลัพธ์ของโรงเรียนมาตรฐานสากล 3 ซึ่งด้าน คือ ด้านหลักสูตรและกระบวนการ ด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วยเสีย และด้านบุคลากร