Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Educational Technology

Chulalongkorn University

2020

Articles 1 - 11 of 11

Full-Text Articles in Education

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้หุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคมที่ส่งผลต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนประถมศึกษา, ทิพาพร อินทร์ตลาดชุม Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้หุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคมที่ส่งผลต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนประถมศึกษา, ทิพาพร อินทร์ตลาดชุม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้หุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคมที่ส่งผลต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้หุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคมที่พัฒนาขึ้นส่งผลต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2 ห้องเรียน รวมจำนวนเป็น 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบ และแผนการจัดการเรียนการสอนหุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาหุ่นยนต์ แบบวัดทักษะทางสังคม ใบกิจกรรมรายวิชาหุ่นยนต์ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้หุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคม ที่พัฒนาขึ้น มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) สื่อการเรียนการสอนสำหรับการสร้างทักษะทางสังคม 2) หุ่นยนต์ Lego 3) ใบงาน-ใบความรู้ 4) กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่ม 5) สภาพแวดล้อมสำหรับการเรียนหุ่นยนต์ และ 6) การสื่อสาร แลกเปลี่ยน และนำเสนอ โดนมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 9 ขั้นตอน คือ 1) เกริ่นนำโดยการดึงดูดความสนใจ 2) ทบทวนความรู้เดิม 3) ชี้ให้เห็นข้อความสำคัญ 4) นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบของอุปกรณ์ 5) แสดงให้เห็นถึงวิธีการจัดหมวดข้อมูล6) สร้างความเข้าใจในแต่ละหมวดหมู่ 7) แสดงให้เห็นถึงวิธีการใช้รหัสเพื่อจดจำรายการ 8) จัดเตรียมเรียนรู้ซ้ำและ 9) สร้างความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานและทักษะเบื้องต้น ผลการทดลองการใช้รูปแบบการเรียนรู้หุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคมที่ส่งผลต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะทางสังคมหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00


การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ของนักศึกษาแพทย์ในระดับชั้นคลินิก, อดิศักดิ์ นารถธนะรุ่ง Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ของนักศึกษาแพทย์ในระดับชั้นคลินิก, อดิศักดิ์ นารถธนะรุ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยมีความมุ่งหมายที่จะพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาสภาพการณ์ของการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ 3) ศึกษาผลและเปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ 4) นำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาแพทย์โครงการร่วมผลิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีการศึกษา 2563 ที่กำลังศึกษาอยู่ในศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิกของโรงพยาบาลจังหวัด จำนวน 45 คน มีระยะเวลาการทดลองทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่ม คือกลุ่มเรียนแบบปกติและกลุ่มเรียนแบบผสมผสาน โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือแบบวัดทักษะการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ ซึ่งจะประเมินทักษะในกระบวนการวินิจฉัย 4 ทักษะ คือ การเลือกข้อมูลสำคัญ การกำหนดปัญหาสำคัญ การวินิจฉัยแยกโรค และการวินิจฉัยโรค ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบผสมผสานมีคะแนนเฉลี่ยของการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์หลังเรียนมากกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และมีคะแนนเฉลี่ยของการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์สูงกว่ากลุ่มที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, เจษฎากร เพิ่มพรทวีสุข Jan 2020

ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, เจษฎากร เพิ่มพรทวีสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลฯ ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยได้พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, 5 และ 6 จำนวน 919 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์อิทธิพลด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยรวมอยู่ในระดับสูง (M = 30.86, SD = 4.83) 2. โมเดลเชิงสาเหตุของการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพ ได้แก่ ปัจจัยด้านทักษะเฉพาะบุคคล (β = 0.59, p < .001) ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงที่สุด รองลงมา คือ ปัจจัยด้านอินเทอร์เน็ตและสื่อ (β = 0.24, p < .01) และปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพ ได้แก่ ปัจจัยด้านอินเทอร์เน็ตและสื่อ (β = 0.59, p < .001) โดยส่งผ่านปัจจัยทักษะเฉพาะบุคคล ซึ่งโมเดลเชิงสาเหตุของการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 137.762, df = 50, p = 0.00, GFI = 0.97, AGFI = 0.95, RMR = 0.029, RMSEA = 0.043)


การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันผู้ช่วยสอนส่วนบุคคลตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้ประกอบการและสร้างสรรค์แนวคิดธุรกิจใหม่ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา, นฤบดี วรรธนาคม Jan 2020

การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันผู้ช่วยสอนส่วนบุคคลตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้ประกอบการและสร้างสรรค์แนวคิดธุรกิจใหม่ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา, นฤบดี วรรธนาคม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันของคุณลักษณะและสมรรถนะผู้ประกอบการและศึกษาสภาพความต้องการจำเป็น 2) เพื่อพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันผู้ช่วยสอนส่วนบุคคลตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้และนำเสนอโมบายแอปพลิเคชันฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันฯ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 22 ท่าน นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในกรุงเทพมหานคร จำนวน 330 คน นิสิตนักศึกษาจำนวน 689 คน ทั่วประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินคุณภาพแอปพลิเคชันฯ กลุ่มทดลองใช้โมบายแอพลิเคชันฯได้แก่ นิสิตนักศึกษาจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินรับรองโมบายแอปพลิเคชันฯ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น การจัดลำดับความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค การวัดความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่าสมรรถนะผู้ประกอบการประกอบด้วย 6 ด้าน โมบายแอปพลิเคชันฯที่พัฒนาขึ้นมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เนื้อหาการเรียนรู้ 2) ซอฟต์แวร์ประมวลผล 3) การสื่อสารกับผู้ช่วยสอนส่วนบุคคล 4) กิจกรรมและสื่อการสอน 5) แบบประเมินผลผู้เรียน และผลการทดลองใช้โมบายแอปพลิเคชันฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะผู้ประกอบการและความคิดสร้างสรรค์แนวคิดธุรกิจใหม่หลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะผู้ประกอบการก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01


การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่เสมือนร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในความเป็นพลเมืองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รติมา สิงหโชติสุขแพทย์ Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่เสมือนร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในความเป็นพลเมืองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รติมา สิงหโชติสุขแพทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษานอกสถานที่เสมือนร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในความเป็นพลเมือง 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการศึกษานอกสถานที่เสมือนร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในความเป็นพลเมือง 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่เสมือนร่วมกับจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ส่งเสริมความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในความเป็นพลเมือง ตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนสังคมศึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาผู้เชี่ยวชาญ ในชุมชนและผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 111 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ 3) เว็บไซต์การเรียนรู้ตามรูปแบบฯ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในความเป็นพลเมือง และแบบวัดความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้รูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมี 3 องค์ประกอบ คือ 1) ผู้เรียน 2) ผู้สอน และ 3) บุคลากรในชุมชน โดยมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สำรวจข้อมูล 2) เพิ่มพูนประสบการณ์ 3) วิเคราะห์งานแก้ปัญหา 4) สร้างนวัตกรรมจากปัญญา และ 5) นำพาความรู้สู่ชุมชน ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษานอกสถานที่เสมือนร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อ ส่งเสริมความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในความเป็นพลเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า นักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่เสมือนร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05


การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันและกรณีศึกษาตามหลักการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล, นวลลออ ทวิชศรี Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันและกรณีศึกษาตามหลักการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล, นวลลออ ทวิชศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ 2) พัฒนารูปแบบการสอน 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอน และ 4) นำเสนอรูปแบบการสอน การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบและพัฒนารูปแบบการสอนโดยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการสอน ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอน และ ระยะที่ 4 รับรองและนำเสนอรูปแบบการสอน โดยระยะการศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนเป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการเรียน ตัวอย่างการวิจัยได้จากการเลือกอย่างเจาะจง คือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันและกรณีศึกษาตามหลักการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล 2) แบบทดสอบความรู้ เรื่อง การสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาล และ 3) แบบประเมินทักษะการสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพปัญหาการสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล คือ ไม่กล้า ไม่มั่นใจ ไม่รู้หลักการและเทคนิคที่ดีและเหมาะสมในการสื่อสารขณะปฏิบัติงาน สาเหตุเนื่องจากไม่มีความรู้และประสบการณ์ มีโอกาสน้อยในการพัฒนาและฝึกทักษะการสื่อสาร ขาดตัวแบบที่ดี และอาจารย์หรือพยาบาลพี่เลี้ยงดูแลในการฝึกปฏิบัติไม่ทั่วถึง และการส่งเสริมพัฒนาความสามารถสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาลมีความสำคัญและจำเป็น เนื่องด้วยการสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพจะช่วยลดช่องว่างระหว่างบุคลากรทีมดูแลสุขภาพ ช่วยลดและป้องกันข้อผิดพลาดหรืออันตรายจากการสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาลที่ไม่มีประสิทธิภาพ 2. รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) กิจกรรมการเรียนรู้และการประเมินผล 2) ระบบจัดการเรียนรู้ (LMS) 3) ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในการเรียน 4) กรณีศึกษา และ 5) ผู้เรียนและผู้สอน และมี 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 การเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนย่อย คือ ขั้นสร้างประสบการณ์ ขั้นสะท้อนการเรียนรู้ ขั้นสรุปองค์ความรู้ ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ และขั้นที่ 3 …


การพัฒนารูปแบบการสอนโดยบูรณาการเว็บเควสต์ร่วมกับการใช้ 5 คำถามหลัก ของการรู้เท่าทันสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และการเขียนให้เหตุผลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา, ภาษิตา ชัยศิลปิน Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการสอนโดยบูรณาการเว็บเควสต์ร่วมกับการใช้ 5 คำถามหลัก ของการรู้เท่าทันสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และการเขียนให้เหตุผลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา, ภาษิตา ชัยศิลปิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนโดยบูรณาการเว็บเควสต์ร่วมกับการใช้ 5 คำถามหลักของการรู้เท่าทันสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการเขียนให้เหตุผลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนโดยบูรณาการเว็บเควสต์ร่วมกับการใช้ 5 คำถามหลักของการรู้เท่าทันสื่อสังคมฯ ใน 2 ประเด็น คือ 2.1) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น และ 2.2) เพื่อศึกษาพัฒนาการด้านการเขียนให้เหตุผลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น ตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ 1) ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยจำนวน 10 คน 2) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 404 คน และ 3) ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินรูปแบบการสอนฯ 2) เว็บเควสต์ตามรูปแบบการสอนฯ และ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสัมภาษณ์ฯ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย 2) แบบสอบถามฯ ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการเขียนให้เหตุผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ค่าที (t-test) การวัดความเปลี่ยนแปลงสัมพัทธ์และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. รูปแบบการสอนโดยบูรณาการเว็บเควสต์ร่วมกับการใช้ 5 คำถามหลักของการรู้เท่าทันสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการเขียนให้เหตุผลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ 2) แหล่งเรียนรู้และสื่อสังคม 3) กระบวนการฝึกแสวงหาความรู้ด้วยเว็บเควสต์ 4) กระบวนการกลุ่ม และ 5) การประเมินผล มีขั้นตอนการสอน 6 ขั้น ได้แก่ 1) สงสัยใฝ่รู้ 2) สำรวจดูภารกิจ 3) …


การพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีเสียงในห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมทักษะและความมั่นใจในการฟัง-พูดภาษาจีนของนักเรียน, กาญจนาภา วัฒนธรรม Jan 2020

การพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีเสียงในห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมทักษะและความมั่นใจในการฟัง-พูดภาษาจีนของนักเรียน, กาญจนาภา วัฒนธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิหลัง ประสบการณ์ และความต้องการจำเป็นของผู้ใช้ เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีเสียงในห้องเรียนกลับด้านฯ 2) พัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีเสียงในห้องเรียนกลับด้านฯ ให้มีคุณภาพเหมาะสม 3) ศึกษาผลการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีเสียงในห้องเรียนกลับด้านฯ ซึ่งแบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ในการเข้าถึงสารสนเทศต่างๆ มากที่สุด ด้านความต้องการจำเป็นพบว่าการรู้คำศัพท์ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร และการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร มีดัชนีลําดับความสําคัญของความต้องการจําเป็นสูงสุด ด้านปัจจัยที่มีผลต่อการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะฟัง-พูดภาษาจีน พบว่า การใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน เป็นปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาจีน จำนวน 6 ท่าน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาจำนวน 20 คน เครื่องมือวิจัยคือต้นแบบโมไบล์แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีเสียงในห้องเรียนกลับด้านฯ ผลการวิจัยพบว่าเครื่องมือดังกล่าวได้รับการประเมินคุณภาพระดับดีมาก ระยะที่ 3 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาจำนวน 40 คน เครื่องมือวิจัยคือ รูปแบบโมไบล์แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีเสียงในห้องเรียนกลับด้านฯ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ใช้โมไบล์แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีเสียงในห้องเรียนกลับด้านฯ มีทักษะและความมั่นใจในการฟัง-พูดภาษาจีนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทักษะและความมั่นใจในการฟัง-พูดภาษาจีนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคลร่วมกับผู้ช่วยเสมือนที่มีต่อความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณและความยึดมั่นผูกพันในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, เบญจวรรณ งามอุไรรัตน์ Jan 2020

ผลการออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคลร่วมกับผู้ช่วยเสมือนที่มีต่อความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณและความยึดมั่นผูกพันในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, เบญจวรรณ งามอุไรรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณและความยึดมั่นผูกพันในการอ่านของนักเรียนจากการออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคลร่วมกับผู้ช่วยเสมือน 2) เปรียบเทียบผลความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ และความยึดมั่นผูกพันในการอ่านก่อน และหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลอง 3) เปรียบเทียบผลความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ และความยึดมั่นผูกพันในการอ่านระหว่างนักเรียนกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง และ 4) วิเคราะห์ความสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ และความยึดมั่นผูกพันในการอ่าน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่เรียนในในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคลจำนวน 35 คน และกลุ่มทดลองที่เรียนในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคลร่วมกับผู้ช่วยเสมือนจำนวน 35 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบประเมินตนเอง แบบประเมินผลงานนักเรียน และแบบประเมินนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบค่าทีแบบDependent และIndependent และค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอล ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ และความยึดมั่นผูกพันในการอ่าน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2) กลุ่มทดลองมีความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่นักเรียนทั้งสองกลุ่มมีความยึดมั่นผูกพันในการอ่านไม่แตกต่างกัน และ 3) ความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณและความยึดมั่นผูกพันในการอ่านมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในสภาพแวดล้อมเสมือนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะเชิงคำนวณและการสร้างคุณค่าร่วมกันสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีระดับความสามารถต่างกัน, นพดล รุ่งเรืองธนาผล Jan 2020

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในสภาพแวดล้อมเสมือนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะเชิงคำนวณและการสร้างคุณค่าร่วมกันสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีระดับความสามารถต่างกัน, นพดล รุ่งเรืองธนาผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบรูปแบบฯ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบฯ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในสภาพแวดล้อมเสมือนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะเชิงคำนวณและการสร้างคุณค่าร่วมกันสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีระดับความสามารถต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ด้านการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ และด้านเทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษา โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเพื่องานวิจัย แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนฯ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดสมรรถนะเชิงคำนวณ แบบประเมินตนเอง ทั้งนี้ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อศึกษาพัฒนาด้านสมรรถนะเชิงคำนวณ และการสร้างคุณค่าร่วมกันโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเปรียบเทียบคะแนนแบบ Paired-samples T-Test และการวิเคราะห์แบบ One-Way ANOVA เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างกลุ่ม และภายในกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบสำคัญ 5 ด้าน คือ 1) ด้านแนวคิดเชิงคำนวณ 2) ด้านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 3) ด้านสภาพแวดล้อมเสมือน 4) ด้านวิทยาการคำนวณ และ 5) ด้านการสร้างคุณค่าร่วมกัน ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีพัฒนาการด้านสมรรถนะเชิงคำนวณ และการสร้างคุณค่าร่วมกันหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Virtual Learning Prototype In Flipped Classroom For Developing English Listening And Reading Skills Of Undergraduates In Thai Higher Education Institutions, Hambalee Jehma Jan 2020

Virtual Learning Prototype In Flipped Classroom For Developing English Listening And Reading Skills Of Undergraduates In Thai Higher Education Institutions, Hambalee Jehma

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this research and development study was (1) to explore and analyze the level of English receptive skills of undergraduates studying in Thai higher education institutions, (2) to develop the prototype of virtual learning as implemented in flipped classrooms in improving Thai undergraduates' English receptive skills, and (3) to evaluate the effectiveness of the developed prototype of virtual learning as a tool implemented in flipped classrooms in developing Thai undergraduates' English receptive skills. The research methodology was explained as follows: the samples of this study were 160 undergraduate students, and 40 students from four regions of Thailand, namely …