Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Educational Assessment, Evaluation, and Research

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

Articles 121 - 128 of 128

Full-Text Articles in Education

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกระบวนการปรับเทียบคะแนนสังเกตได้ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ สำหรับแบบสอบรูปแบบผสม ภายใต้ผู้สอบกลุ่มไม่เท่าเทียมกันโดยใช้ข้อสอบร่วม, พนิดา พานิชวัฒนะ Jan 2017

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกระบวนการปรับเทียบคะแนนสังเกตได้ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ สำหรับแบบสอบรูปแบบผสม ภายใต้ผู้สอบกลุ่มไม่เท่าเทียมกันโดยใช้ข้อสอบร่วม, พนิดา พานิชวัฒนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกระบวนการปรับเทียบคะแนนสังเกตได้ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติเต็มรูป (MOSE) 2 แบบ ได้แก่ กระบวนการ MOSE ที่ประมาณค่าพารามิเตอร์พร้อมกัน (CMOSE) และกระบวนการ MOSE ที่ประมาณค่าพารามิเตอร์แยกกันและใช้การเชื่อมโยงสเกลด้วยวิธี TCF (SMOSE) ด้วยการจำลองแบบมอนติคาร์โล สำหรับแบบสอบรูปแบบผสม ภายใต้รูปแบบผู้สอบกลุ่มไม่เท่าเทียมกันโดยใช้ข้อสอบร่วม (NEAT) เมื่อโครงสร้างมิติความสามารถ สัดส่วนคะแนนข้อสอบร่วม และอัตราส่วนคะแนนข้อสอบร่วมที่ตรวจให้คะแนนสองค่า แตกต่างกัน ประสิทธิภาพของกระบวนการปรับเทียบคะแนนวัดจากตัวบ่งชี้ 3 ตัว ได้แก่ ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสอง (RMSE) ค่าความลำเอียงสัมพัทธ์ (RB) และสัมประสิทธิ์การแปรผันของค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (CVSE) ผลการวิจัยด้านประสิทธิภาพโดยรวม (RMSE) พบว่า มีปฏิสัมพันธ์อิทธิพลของสัดส่วนคะแนนข้อสอบร่วมกับอัตราส่วนคะแนนข้อสอบร่วมที่ตรวจให้คะแนนสองค่าต่อค่า RMSE อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อวิเคราะห์อิทธิพลอย่างง่ายในเงื่อนไขสัดส่วนคะแนนข้อสอบร่วม (1) กรณีอัตราส่วนฯ คือ 60:40 และ 50:50 พบว่า กระบวนการ MOSE มีประสิทธิภาพโดยรวมมากขึ้น เมื่อสัดส่วนคะแนนข้อสอบร่วมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) กรณีอัตราส่วนฯ คือ 70:30 และ 40:60 พบว่า ประสิทธิภาพโดยรวมมากที่สุด เมื่อสัดส่วนคะแนนข้อสอบร่วม คือ 20%, 30% และ 10% ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์อิทธิพลอย่างง่ายในเงื่อนไขอัตราส่วนคะแนนข้อสอบร่วมที่ตรวจให้คะแนนสองค่า พบว่า (1) สัดส่วนคะแนนข้อสอบร่วม 30% พบว่า มีประสิทธิภาพโดยรวมมากที่สุด เมื่ออัตราส่วนฯ คือ 60:40, 50:50, 40:60 และ 70:30 ตามลำดับ (2) สัดส่วนคะแนนข้อสอบร่วม 20% พบว่า มีประสิทธิภาพโดยรวมมากที่สุด เมื่ออัตราส่วนฯ คือ 40:60, 70:30, 50:50 และ 60:40 ตามลำดับ และ (3) สัดส่วนคะแนนข้อสอบร่วม คือ …


การเปรียบเทียบดัชนีความเป็นคู่ขนานของข้อสอบและแบบสอบที่ได้จากการคัดเลือกข้อสอบโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีลักษณะแตกต่างกัน: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีฉันทามติทางวัฒนธรรมแบบมีรูปแบบ, อนุพงษ์ กันธิวงค์ Jan 2017

การเปรียบเทียบดัชนีความเป็นคู่ขนานของข้อสอบและแบบสอบที่ได้จากการคัดเลือกข้อสอบโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีลักษณะแตกต่างกัน: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีฉันทามติทางวัฒนธรรมแบบมีรูปแบบ, อนุพงษ์ กันธิวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบของผู้เชี่ยวชาญ 2) เพื่อเปรียบเทียบดัชนีความเป็นคู่ขนานของแบบสอบที่ได้จากการคัดเลือกโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีลักษณะแตกต่างกันและ3) เพื่อเปรียบเทียบดัชนีความเป็นคู่ขนานของข้อสอบที่ได้จากการคัดเลือกโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีลักษณะแตกต่างกัน ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สอนนักศึกษาแพทย์วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าจากการเลือกแบบเจาะจง 100 คน โดยจัดกลุ่มเพื่อคัดเลือกข้อสอบสำหรับสร้างแบบสอบคู่ขนานตามระดับความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดระดับความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบและข้อสอบสำหรับคัดเลือกเพื่อสร้างแบบสอบคู่ขนานสำหรับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สอนน้อยกว่า 10 ปี ส่วนใหญ่มีระดับความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบในช่วง 0.40-0.59, 0.60-0.79 และ 0.80-1.00 ตามลำดับ แตกต่างจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สอนตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปที่ 0.60-0.79, 0.40-0.59 และ 0.80-1.00 ตามลำดับ 2) แบบสอบคู่ขนานที่สร้างขึ้นจากการคัดเลือกข้อสอบโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีระดับความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบระดับ 0.80-1.00 และมีประสบการณ์สอนตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปมีความเป็นคู่ขนานของแบบสอบสูงกว่ากลุ่มที่อยู่ในระดับต่ำกว่า (RMSD = 0.283 [MSG = 0.020] และ MRD = 0.042 [MRIG = 0.003]) และ3) ในทุกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของการตรวจสอบความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบเป็นโดยอาศัยทฤษฎีฉันทามติทางวัฒนธรรมแบบมีรูปแบบมีค่าเฉลี่ยของ RMSD ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (F=0.582, p=0.755)


แนวทางการส่งเสริมความซื่อสัตย์ทางวิชาการและความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา: การประยุกต์วิธีวิทยาคิวแบบปรับเหมาะ, ลภัสพิชชา สุรวาทกุล Jan 2017

แนวทางการส่งเสริมความซื่อสัตย์ทางวิชาการและความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา: การประยุกต์วิธีวิทยาคิวแบบปรับเหมาะ, ลภัสพิชชา สุรวาทกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการ โดยทั่วไปมีความหมายในเชิงลบ นั่นคือ นักศึกษาคาดหวังถึงผลลัพธ์เชิงบวกทางวิชาการ โดยไม่คำนึงถึงความพยายามหรือความสามารถที่แท้จริงของตน ในการวิจัยครั้งนี้ได้ขยายขอบเขตการศึกษา โดยแบ่งเป็นการรับรู้เชิงบวกและเชิงลบ การรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวกและเชิงลบนี้มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของนักศึกษา ซึ่งหากอาจารย์ผู้สอนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานักศึกษาต่อไป การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับและโปรไฟล์การรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการ โดยวิธีวิทยาคิวแบบปรับเหมาะและแบบสอบถามมาตรประมาณค่า และเปรียบเทียบผลลัพธ์และความเหมาะสมระหว่างสองวิธี 2) วิเคราะห์ระดับและโปรไฟล์สภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย ความซื่อสัตย์ทางวิชาการ และความตั้งใจทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ 3) พัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการ สภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย ความซื่อสัตย์ทางวิชาการและความตั้งใจทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ 4) ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโปรไฟล์ของนักศึกษา ด้านสิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการ ความซื่อสัตย์ทางวิชาการ และความตั้งใจทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ กับสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย 5) จัดทำแนวทางการให้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ทางวิชาการ และความตั้งใจทำงานวิจัยที่มีคุณภาพของนักศึกษา ตัวอย่างวิจัย คือ นักศึกษาบัณฑิตศึกษา สาขาทางศึกษาศาสตร์ ที่กำลังศึกษาในหลักสูตรที่ต้องทำวิทยานิพนธ์ก่อนจบการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามวิธีวิทยาคิวแบบปรับเหมาะและแบบสอบถามมาตรประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์องค์ประกอบ การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (MANOVA) ด้วยโปรแกรม SPSS 23 การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ด้วยโปรแกรม Mplus 7.0 และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบ ระดับ และโปรไฟล์ของการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการที่วัดด้วยวิธีวิทยาคิวแบบปรับเหมาะมีระดับค่าเฉลี่ยรายองค์ประกอบที่แตกต่างกันชัดเจนกว่าที่วัดด้วยแบบสอบถามมาตรประมาณค่า อย่างไรก็ตามในภาพรวมพบว่า นักศึกษามีการรับรู้เชิงบวกในระดับมาก และมีการรับรู้เชิงลบในระดับปานกลาง 2. นักศึกษามีสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย ความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพในระดับมาก และมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการในระดับปานกลาง นักศึกษามีการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวก ความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพ และความซื่อสัตย์ทางวิชาการแตกต่างกันตามเกรดเฉลี่ยและมหาวิทยาลัย มีการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงลบแตกต่างกันตามสาขาวิชาและการร่วมงานวิชาการ มีความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพแตกต่างกันตามเกรดเฉลี่ยและสาขาวิชา และมีการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวกแตกต่างกันตามสาขาวิชาและมหาวิทยาลัย 3. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความซื่อสัตย์ทางวิชาการสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ไค-สแควร์ (44, N = 136) = 53.41,p = 0.16; CFI = .99, RMSEA = .04) โดยได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย การรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวกและเชิงลบ สำหรับความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย และการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักศึกษาในกลุ่มมหาวิทยาลัยรัฐบาลและเรียนสาขาการวิจัย มหาวิทยาลัยรัฐบาลและเรียนสาขาที่ไม่ใช่การวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏและเรียนสาขาการวิจัย มีความสอดคล้องระหว่างระดับสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัยกับการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวกและเชิงลบความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพ และความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ในรูปแบบที่เหมาะสม ในขณะที่นักศึกษาในกลุ่มที่เรียนสาขาที่ไม่ใช่ด้านการวิจัย ทั้งในมหาวิทยาลัยเอกชนและมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีความสอดคล้องระหว่างระดับของตัวแปรวิจัยดังกล่าวในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม …


การพัฒนาเครื่องมือวัดและส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียนเพื่อสุขภาวะและความยึดมั่นผูกพันกับงานของครู: การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้, วัชรศักดิ์ สุดหล้า Jan 2017

การพัฒนาเครื่องมือวัดและส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียนเพื่อสุขภาวะและความยึดมั่นผูกพันกับงานของครู: การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้, วัชรศักดิ์ สุดหล้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บรรยากาศโรงเรียนทางบวกเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ต้องส่งเสริมให้กับทุกสมาชิกในโรงเรียน การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดบรรยากาศโรงเรียน โดยใช้การศึกษาเอกสารและการวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้ 2) เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างบรรยากาศโรงเรียน สุขภาวะและความยึดมั่นผูกพันกับงานของครู โดยใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และ 3) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสมของเครื่องมือส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียนในมุมมองของผู้ใช้ การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะแรกเป็นการศึกษาเอกสารและการวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาเครื่องมือวัดบรรยากาศโรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลเป็นครู นักเรียนและผู้บริหาร จำนวน 18 คน ระยะที่ 2 การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุจากตัวอย่างวิจัยที่เป็นครูในโรงเรียนจำนวน 301 คน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลซึ่งใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน และระยะที่ 3 การพัฒนาเครื่องมือส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียนและตรวจสอบความเหมาะสมของเครื่องมือจากมุมมองของผู้ใช้ซึ่งเป็นผู้บริหาร ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. โมเดลการวัดบรรยากาศโรงเรียนประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความปลอดภัย วิชาการ ประชาคมโรงเรียน และสภาพแวดล้อมของสถาบัน เครื่องมือวัดบรรยากาศโรงเรียนเป็นแบบสอบถามมาตรประเมินค่า 5 ระดับ มีความตรงเชิงเนื้อหาจากการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าความเที่ยงระหว่าง .679 - .905 และมีความตรงเชิงโครงสร้างจากผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดบรรยากาศโรงเรียนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ไค-สแควร์(35, N=220) = 46.519, p = .092, CFI = .990, TLI = .984, RMSEA = .039, SRMR = .053) 2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ไค-สแควร์(29, N=301) = 39.958, p = .085, CFI = .991, TLI = .986, RMSEA = .035, SRMR = .027) โดยบรรยากาศโรงเรียนมีอิทธิพลทางบวกต่อสุขภาวะและความยึดมั่นผูกพันกับงานของครู และสุขภาวะมีอิทธิพลทางบวกต่อความยึดมั่นผูกพันกับงานของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ บรรยากาศโรงเรียนยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความยึดมั่นผูกพันกับงานผ่านสุขภาวะของครู 3. เครื่องมือส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียนเป็นชุดเครื่องมือประกอบด้วย แบบประเมินบรรยากาศโรงเรียนสำหรับครู แบบประเมินการส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียนสำหรับผู้บริหาร และคู่มือการส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียนซึ่งมีเนื้อหาสาระ 3 …


การพัฒนาแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย, ภัทรสุดา แก้วโวหาร Jan 2017

การพัฒนาแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย, ภัทรสุดา แก้วโวหาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการพัฒนาแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อวิเคราะห์คุณภาพแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อเปรียบเทียบการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตฯ กับ นักเรียนในโรงเรียนสังกัด สพฐ. กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2560 โดยการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 797 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดการรู้ทางการเมือง เป็นแบบวัดหลายตัวเลือก ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ค่าความเที่ยง การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ตัวประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย พบว่า มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้ทางการเมือง ทักษะทางการเมือง และเจตคติทางการเมือง 2. ผลการวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย พบว่ามีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.82 ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลพบว่าโมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square = 108.24, df =83, p = .53, GFI = .98, AGFI = .96 RMR = .03, และ RMSEA = .02 3. ผลจากการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนการรู้ทางการเมือง ของนักเรียนของโรงเรียนสาธิตฯ มีค่าเฉลี่ยการรู้ทางการเมืองด้านทักษะสูงที่สุด 5.93 ค่าเฉลี่ยด้านความรู้ 5.65 และค่าเฉลี่ยด้านเจตคติ 5.61 นักเรียนของโรงเรียนในสังกัด สพฐ. มีค่าเฉลี่ยการรู้ทางการเมืองด้านทักษะสูงที่สุด 4.75 ค่าเฉลี่ยด้านเจตคติ 4.34 และค่าเฉลี่ยด้านความรู้ 4.18 พบว่า นักเรียนของโรงเรียนสาธิตฯ มีค่าเฉลี่ยการรู้ทางการเมืองทุกด้านสูงกว่านักเรียนโรงเรียนในสังกัด สพฐ. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างข้อสอบในการประเมินระดับชาติ กับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์: การประยุกต์ใช้โมเดลหลายองค์ประกอบของราส์ช และทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด, บุษยารัตน์ จันทร์ประเสริฐ Jan 2017

ความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างข้อสอบในการประเมินระดับชาติ กับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์: การประยุกต์ใช้โมเดลหลายองค์ประกอบของราส์ช และทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด, บุษยารัตน์ จันทร์ประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบอิทธิพลของผู้ประเมิน ในการประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างมาตรฐานและตัวชี้วัด กับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เปรียบเทียบผลการประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างมาตรฐานและตัวชี้วัด กับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน ก่อนและหลังควบคุมอิทธิพลการกดหรือปล่อยคะแนน 3) ศึกษาและเปรียบเทียบผลการประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันตามแนวคิดของ Porter ระหว่างข้อสอบในการประเมินระดับชาติ กับข้อสอบในประเมินระดับชั้นเรียน ของโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน และ 4) ประมาณค่าและเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงของผลการประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างมาตรฐานและตัวชี้วัด กับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน เมื่อจำนวนผู้ประเมินและรูปแบบการออกแบบการประเมินต่างกัน ตัวอย่างในการศึกษา ประกอบด้วย ข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,089 ข้อ และผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกัน จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างมาตรฐานและตัวชี้วัด กับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยประยุกต์ใช้ MFRM การทดสอบสถิติที (paired-samples t-test) การวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง (alignment index) และการใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เกิดอิทธิพลการกดหรือปล่อยคะแนนของผู้ประเมินในการประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างมาตรฐานและตัวชี้วัด กับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน โดยผู้ประเมินมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะของการกดคะแนนมากกว่าปล่อยคะแนน (คะแนนโลจิทอยู่ระหว่าง -3.24 ถึง 1.83) ผู้ประเมินส่วนใหญ่แสดงรูปแบบของความแม่นยำในการให้คะแนน จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 ไม่มีผู้ประเมินที่แสดงอิทธิพลแนวโน้มการให้คะแนนค่ากลาง อิทธิพลการจำกัดช่วง และอิทธิพลของความไม่มีแบบแผน และมีผู้ประเมิน จำนวน 4 คนที่แสดงรูปแบบอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 20.00 2. ผลการประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างมาตรฐานและตัวชี้วัด กับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระหว่างก่อนและหลังควบคุมอิทธิพลการกดหรือปล่อยคะแนน (t = 17.044, p = .00) และเมื่อมีการควบคุมอิทธิพลการกดหรือปล่อยคะแนน มีข้อสอบจำนวน 21 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 1.93 ที่มีการเปลี่ยนแปลงผลการประเมิน และมีข้อสอบที่มีความสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัด และสอดคล้องกับโมเดล จำนวน 902 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 82.33 (Fair-M Average อยู่ระหว่าง …


การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลัง, วรวรรณ สังสัพพันธ์ Jan 2017

การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลัง, วรวรรณ สังสัพพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการประเมินคุณภาพภายในและการใช้ผลการประเมินคุณภาพภายในพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลัง 3) ทดลองใช้และประเมินคุณภาพของระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลัง ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 55 คน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและศึกษานิเทศก์ จำนวน 5 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนาทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความต้องการจำเป็น แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม แบบประเมินคุณภาพของระบบ แบบประเมินคุณภาพของหลักสูตรอบรม แบบทดสอบความรู้และมโนทัศน์ในการประเมิน และแบบสำรวจรายการพฤติกรรมตามหลักการประเมินแบบเสริมพลัง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบทีและใช้เทคนิค PNImodified ในการจัดอันดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพการประเมินคุณภาพภายในและใช้ผลการประเมิน พบว่าการประเมินคุณภาพภายในเป็นหน้าที่หลักของผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิชาการหรือครูผู้รับผิดชอบหลักงานประกันคุณภาพภายใน โดยมีคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล และจัดทำรายงานประเมินตนเอง (SAR) ทุกปี สถานศึกษามุ่งเน้นใช้ผลการประเมินมาตรฐานที่ 1 ประเด็นพิจารณาพัฒนาการจากผลการสอบระดับชาติ และมีความต้องการจำเป็นที่จะพัฒนาเรื่องการจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพภายในที่อำนวยความสะดวกในการใช้ผลและการสร้างความเข้าใจความตระหนักในการใช้ผลการประเมินคุณภาพภายใน สภาพปัญหาที่สำคัญ คือ การประเมินคุณภาพภายในต้องใช้เวลามากเนื่องจากผู้เกี่ยวข้องให้ข้อมูลล่าช้า 2. ระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษามีองค์ประกอบที่สัมพันธ์กันคือ วัตถุประสงค์ หลักการ การดำเนินการประเมินแบบเสริมพลังโดยทีมนิเทศ และกลไกการทำงานของระบบ ซึ่งประกอบด้วย 1) ปัจจัยนำเข้า 2) กระบวนการ 3) ผลผลิต และ 4) ข้อมูลป้อนกลับ และผลการตรวจสอบคุณภาพของระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ระบบการประเมินคุณภาพภายในมีคุณภาพด้านความมีประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเหมาะสมในระดับมาก ส่วนด้านความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการทดลองใช้ระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความรู้ในการประเมินหลังการอบรมสัมมนาสูงกว่าก่อนอบรม มีมโนทัศน์สูงกว่าคะแนนเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความพึงพอใจในการอบรมอยู่ในระดับมาก มีพฤติกรรม 10 หลักการตามแนวทางการประเมินแบบเสริมพลังสูงขึ้น และผลการปฏิบัติการใช้ผลการประเมินคุณภาพภายในอยู่ในระดับมาก และสถานศึกษามีผลการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับดีเยี่ยม มีบางประเด็นพิจารณาอยู่ในระดับดี 4. ผลการประเมินคุณภาพของระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยผู้ทดลองใช้ระบบดังนี้ โดยทีมนิเทศ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนขนาดกลาง และขนาดใหญ่ แสดงให้เห็นว่า ระบบมีคุณภาพด้านความมีประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด และโดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนขนาดเล็ก …


การเปรียบเทียบพัฒนาการทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และพัฒนาการการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ใช้วิธีการประเมินตนเองต่างกัน:วิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์และแบบสอบถามปลายเปิด, อารยา ยุวนะเตมีย์ Jan 2017

การเปรียบเทียบพัฒนาการทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และพัฒนาการการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ใช้วิธีการประเมินตนเองต่างกัน:วิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์และแบบสอบถามปลายเปิด, อารยา ยุวนะเตมีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการทางทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และพัฒนาการการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์สูง ปานกลางและต่ำที่ประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองโดยใช้วิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์และแบบสอบถามปลายเปิด และ 2) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองกับระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อพัฒนาการทางทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และพัฒนาการการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น การออกแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบมีการทดสอบก่อนและหลัง การจัดกระทำและมีกลุ่มควบคุม โดยมีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้าสู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 90 คน แบ่งเป็นนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ระดับสูง ปานกลาง และต่ำ ระดับละ 30 คน โดยผู้เรียนในแต่ละระดับความสามารถจะประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองด้วยวิธีการ 3 วิธี ได้แก่ วิธีการใช้รูบริกแอนโนเทตประยุกต์ วิธีการใช้แบบสอบถามปลายเปิดและวิธีการไม่ใช้เครื่องมือใดๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2) แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ 3) แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์ 4) แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีการประเมินตนเองโดยใช้แบบสอบถามปลายเปิด ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์สูง ปานกลาง และต่ำที่ประเมินทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองโดยใช้วิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์มีพัฒนาการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และพัฒนาการ การรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ใช้แบบสอบถามปลายเปิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 2. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองกับระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ต่อคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ทางทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองกับระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ ต่อคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์การรับรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05