Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Educational Administration and Supervision

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 193

Full-Text Articles in Education

นวัตกรรมการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะนักการศึกษาปฐมวัยมืออาชีพ, รุ่งทิพย์ มานะกิจ Jan 2023

นวัตกรรมการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะนักการศึกษาปฐมวัยมืออาชีพ, รุ่งทิพย์ มานะกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษากรอบแนวคิดของการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียน และสมรรถนะนักการศึกษาปฐมวัยมืออาชีพ 2. ศึกษาระดับสมรรถนะนักการศึกษาปฐมวัยมืออาชีพของผู้บริหารโรงเรียน 3. ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะนักการศึกษาปฐมวัยมืออาชีพ และ 4. พัฒนานวัตกรรมการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะนักการศึกษาปฐมวัยมืออาชีพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ แบ่งเป็น 4 ระยะ กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนที่มีการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 394 โรงเรียน จากประชากรทั้งหมดจำนวน 25,893 โรงเรียน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลในการตอบแบบประเมินและแบบสอบถาม คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 330 คน และ 320 คน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า 1. กรอบแนวคิดของการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 2 รูปแบบการพัฒนาคือ 1) การพัฒนาระหว่างเวลาการปฏิบัติงาน ได้แก่ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การมอบหมายงาน การหมุนเวียนงาน การทำงานร่วมกับองค์กรหรือชุมชนอื่น ๆ การสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยง และ 2) การพัฒนานอกเวลาการปฏิบัติงาน ได้แก่ การเรียนในชั้นเรียนหรือคอร์สเรียนต่าง ๆ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเข้าร่วมประชุม/ฝึกอบรม/สัมมนา สถานการณ์จำลอง/บทบาทสมมติ การทัศนศึกษา/การเยี่ยมชม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากชุมชนแห่งการปฏิบัติ กรอบแนวคิดสมรรถนะนักการศึกษาปฐมวัยมืออาชีพ ประกอบด้วย 1) ความสามารถด้านการส่งเสริมการดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัย 2) ความสามารถด้านการพัฒนาหลักสูตรและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 3) ความสามารถด้านการจัดการระบบการสังเกต คัดกรอง การวัดและประเมินผล และการจัดทำสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย 4) ความสามารถด้านการส่งเสริมสุขภาพ ความปลอดภัย และโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย 5) ความสามารถด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ ปฏิสัมพันธ์ และการแนะแนวเด็กปฐมวัยและครอบครัว 6) ความสามารถด้านการสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการพัฒนาเด็กปฐมวัย 7) ความสามารถด้านการมีภาวะผู้นำทางการศึกษาปฐมวัย 8) ความสามารถด้านการพัฒนาทางวิชาชีพปฐมวัย 9) …


การออกแบบแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดพื้นที่นักประดิษฐ์, วีรวีร สุขสันตินันท์ Jan 2023

การออกแบบแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดพื้นที่นักประดิษฐ์, วีรวีร สุขสันตินันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดพื้นที่นักประดิษฐ์ 2.เพื่อออกแบบแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดพื้นที่นักประดิษฐ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงออกแบบ แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพที่พึงประสงค์ของแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดพื้นที่นักประดิษฐ์ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ 3 ด้าน ได้แก่ ผู้เรียนรู้ ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมและพลเมืองที่เข้มแข็ง ประกอบด้วย 1) พื้นที่ มีลักษณะที่ส่งเสริมพัฒนาการครบทั้งสี่ด้าน ได้แก่ สติปัญญา ร่างกาย อารมณ์และสังคม เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกตามจินตนาการด้วยการลงมือปฏิบัติอย่างอิสระเสรี รู้จักการแบ่งปัน ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ปฏิบัติตามกฎกติกาและข้อตกลงที่วางไว้ สามารถรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ที่ได้รับจนบรรลุเป้าหมายได้สำเร็จ 2) เครื่องมือ เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก มีความหลากหลายและมีจำนวนที่เพียงพอ จัดแบ่งตามหมวดหมู่ ให้ใช้ตามวัตถุประสงค์ และ 3) วัสดุ เป็นวัสดุที่มีความปลอดภัยปลอดสารพิษสำหรับเด็ก หาได้ง่ายรอบตัวตามธรรมชาติหรือเป็นวัสดุเหลือใช้ มีความหลากหลายในด้านรูปทรง รูปร่าง ผิวสัมผัสและสีสัน 2. ผลการออกแบบแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดพื้นที่นักประดิษฐ์ ประกอบด้วยพื้นที่ เครื่องมือและวัสดุ ในภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด


นวัตกรรมการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพสำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรมตามแนวคิดการบริการที่ฉับไว, ยุทธศักดิ์ พูลทรัพย์ Jan 2023

นวัตกรรมการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพสำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรมตามแนวคิดการบริการที่ฉับไว, ยุทธศักดิ์ พูลทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรม และแนวคิดการบริการที่ฉับไว 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพสำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรม ตามแนวคิดการบริการที่ฉับไว 3) พัฒนานวัตกรรมการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพสำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรมตามแนวคิดการบริการที่ฉับไว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Design) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยมาจากมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในหลักสูตรการท่องเที่ยวและการโรงแรม และโรงแรมที่ร่วมจัดประสบการณ์วิชาชีพ โดยผู้ให้ข้อมูลได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว, ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยวในสถาบันอุดมศึกษา, ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ รวม 168 คน และผู้ปฏิบัติงานในสายงานบริการในอุตสาหกรรมจำนวน จำนวน 12 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินกรอบแนวคิดการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพสำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรมและแนวคิดการบริการที่ฉับไว แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพสำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรมตามแนวคิดการบริการที่ฉับไว แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างนวัตกรรมการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพสำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรมตามแนวคิดการบริการที่ฉับไว แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างนวัตกรรมฯ ฉบับที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์ความต้องการจําเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพสำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรมตามแนวคิดการบริการที่ฉับไวประกอบด้วย 3 ด้าน การวางแผนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การดำเนินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กรอบแนวคิดการบริการที่ฉับไว ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ (1) ยินดีตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของผู้ใช้บริการมากกว่าทำตามแผน (2) เข้าใจความต้องการของผู้ใช้บริการและสามารถแก้ไขปัญหาการบริการโดยการมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง (3) ส่งมอบการบริการด้วยความฉับไวและมีประสิทธิภาพสูงสุดและทบทวนวิธีการทำงานที่ผ่านมาอย่างสม่ำเสมอ (4) ทำงานเป็นทีมที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีแรงจูงใจและความสัมพันธ์ที่ดี และปรับปรุงวิธีการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง (5) ใช้ซอฟต์แวร์สนับสนุนการให้บริการและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลในการบริการ กรอบภาระงานด้านบริการในอุตสาหกรรมโรงแรม ได้แก่ งานบริการส่วนหน้า งานบริการห้องพัก งานบริการอาหารและเครื่องดื่ม งานบริการการขายและการตลาด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนา พบว่า ค่าลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ การประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ต่ำสุดคือการวางแผนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เมื่อพิจารณาด้านภาระงานบริการพบว่างานบริการอาหารและเครื่องดื่มมีค่าลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด ส่วนงานบริการส่วนหน้ามีค่าลำดับความต้องการจำเป็นต่ำสุด เมื่อพิจารณาด้านการบริการที่ฉับไว การใช้ซอฟต์แวร์สนับสนุนการให้บริการและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลในการบริการ มีค่าลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุดและลำดับต่ำสุดคือ เข้าใจความต้องการของผู้ใช้บริการและสามารถแก้ไขปัญหาการบริการโดยการมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง 3) นวัตกรรมการบริหารการจัดประสบการณ์วิชาชีพสำหรับหลักสูตรการศึกษาก่อนประจำการในอุตสาหกรรมโรงแรมตามแนวคิดการบริการที่ฉับไว มีชื่อว่า “นวัตกรรมการบริหารการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ใช้ซอฟต์แวร์สนับสนุนการบริการที่ฉับไว ในงานอุตสาหกรรมโรงแรม” ประกอบด้วย 1) นวัตกรรมการบริหารการวัดและการประเมินผลการอบรมทฤษฎีเชิงปฏิบัติในสถานประกอบการ โดยการใช้ซอฟต์แวร์สนับสนุนการบริการที่ฉับไว ในงานอุตสาหกรรมโรงแรม …


นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดทักษะของนวัตกร, เบญญาภา วิไลวรรณ Jan 2023

นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดทักษะของนวัตกร, เบญญาภา วิไลวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลและกรอบแนวคิดทักษะของนวัตกร 2) ศึกษาระดับทักษะนวัตกรของนักเรียนอนุบาล 3) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดทักษะของนวัตกร 4) พัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดทักษะของนวัตกร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ แบ่งเป็น 4 ระยะ ประชากร คือ โรงเรียนอนุบาลในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กที่มีอายุอายุระหว่าง 3–6 ปี จำนวน 5,706 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คือ โรงเรียนอนุบาล จำนวน 374 โรงเรียน โดยใช้สูตรของ Yamane ที่ความเชื่อมั่น 95% ในการคำนวณกลุ่มตัวอย่างและใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหาร หัวหน้าวิชาการระดับปฐมวัย และครูผู้สอนระดับปฐมวัย จำนวน 748 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การประเมินพัฒนาการ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดสภาพแวดล้อม สื่อ และแหล่งเรียนรู้ กรอบแนวคิดทักษะของนวัตกร ประกอบด้วยทักษะ 5 ด้าน ได้แก่ ทักษะการคิดเชื่อมโยง ทักษะการตั้งคำถาม ทักษะการสังเกต ทักษะเครือข่าย และทักษะการทดลอง 2) ระดับทักษะนวัตกรของนักเรียนอนุบาล ทักษะเครือข่าย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการทดลอง ทักษะการตั้งคำถาม และทักษะการคิดเชื่อมโยง ตามลำดับ 3) สภาพปัจจุบัน การจัดสภาพแวดล้อมสื่อ และแหล่งเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การประเมินพัฒนาการ และด้านการพัฒนาหลักสูตร ตามลำดับ สภาพที่พึงประสงค์ …


แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตามแนวคิดทักษะผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะ, นพวิชญ์ ชื่นบุญชู Jan 2023

แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตามแนวคิดทักษะผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะ, นพวิชญ์ ชื่นบุญชู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตามแนวคิดทักษะผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตามแนวคิดทักษะผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive) ประชากร ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มีจำนวน 47 วิทยาลัย ในประเทศไทย โดยมีผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูหรือรองผู้อำนวยการผู้ปฏิบัติหน้าที่กลุ่มบริหารวิชาการ จำนวน 94 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตามแนวคิดทักษะผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะ และแบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตามแนวคิดทักษะผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตามแนวทางทักษะผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะ เมื่อพิจารณาตามขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ พบว่า ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา มีความต้องการจำเป็นสูงสุด (PNImodified = 0.267) รองลงมาเป็นด้านการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ (PNImodified = 0.243) ส่วนด้านการวัดและประเมินผล มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด (PNImodified = 0.234) 2) แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตามแนวคิดทักษะผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะ ประกอบด้วย 1) พัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ผ่านการบูรณาการ สอดแทรกเนื้อหาแนวคิดทักษะผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะ มี 1 แนวทางย่อย 2) พัฒนาการนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีแนวคิดทักษะผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะ มี 3 แนวทางย่อย 3) การพัฒนาการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีแนวคิดทักษะผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะ มี 2 แนวทางย่อย 4) ส่งเสริมให้มีการออกแบบสื่อการสอนที่มีความทันสมัย จัดให้มีการประกวดสื่อ และนวัตกรรมที่มุ่งเน้นแนวคิดทักษะผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะผ่านการลงมือปฏิบัติจริง มี 3 แนวทางย่อย และ 5) การพัฒนาแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านสมรรถนะแนวคิดทักษะผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะ มี 2 แนวทางย่อย


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน, ปิยนัฐ ธนะบุตร Jan 2023

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน, ปิยนัฐ ธนะบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดสมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียนและการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ ตัวอย่างคือโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 292 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน รวมจำนวน 876 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น การทดสอบความแปรปรวน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดสมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียนและการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 2 กรอบแนวคิด ได้แก่ 1.1) กรอบแนวคิดสมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1.1.1) ด้านการสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ 1.1.2) ด้านการรับมือกับความตึงเครียดและภาวะวิกฤต และ 1.1.3) ด้านการแสดงความรับผิดชอบ 1.2) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1.2.1) ด้านการออกแบบหลักสูตร 1.2.2) ด้านการจัดการเรียนรู้ 1.2.3) ด้านการวัดและประเมินผล และ 1.2.4) ด้านสนับสนุนสื่อ เทคโนโลยี นวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้ 2) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน ประกอบด้วย 2 ประเด็น ได้แก่ 2.1) สมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน 2.1.1) จุดแข็งรายด้านคือ ด้านการแสดงความรับผิดชอบ 2.1.2) …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนที่เสริมสร้างทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม, ศิรเมศร์ ศิริศักดิ์ธนากุล Jan 2023

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนที่เสริมสร้างทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม, ศิรเมศร์ ศิริศักดิ์ธนากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารวิชาการและกรอบแนวคิดทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนที่เสริมสร้างทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนที่เสริมสร้างทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multi-Phase Mixed Method) ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) และข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 262 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการหรือหัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอนชั้นมัธยมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน ประกอบด้วย 3 งาน คือ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนรู้ และ (3) การวัดและประเมินผล กรอบแนวคิดทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม ประกอบด้วย 6 ทักษะ คือ (1) ทักษะการค้นหาและสร้างคุณค่า (2) ทักษะดิจิทัล (3) ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล (4) ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม (5) ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ และ (6) ทักษะระหว่างบุคคล 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนที่เสริมสร้างทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านการจัดการเรียนรู้ในทักษะดิจิทัลมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการพัฒนาหลักสูตรในทักษะดิจิทัล และการจัดการเรียนรู้ในทักษะการค้นหาและสร้างคุณค่ามีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากัน ทั้งนี้ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนที่เสริมสร้างทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรมสูงที่สุด คือ ด้านการวัดและประเมินผลในทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนที่เสริมสร้างทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ดังนี้ (1) พลิกโฉมการพัฒนาหลักสูตรที่เสริมสร้างทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์รอง (2) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์รอง และ (3) ปรับเปลี่ยนการวัดและประเมินผลที่เสริมสร้างทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม ประกอบด้วย 1 กลยุทธ์รอง


นวัตกรรมการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดนวัตกรพลิกผัน, วุฒิชัย ไกรวิเศษ Jan 2023

นวัตกรรมการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดนวัตกรพลิกผัน, วุฒิชัย ไกรวิเศษ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาและกรอบแนวคิดนวัตกรพลิกผัน 2) ศึกษาระดับความเป็นนวัตกรพลิกผันของผู้เรียน 3) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดนวัตกรพลิกผัน และ 4) พัฒนานวัตกรรมการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดนวัตกรพลิกผัน โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมพหุระยะ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 2,358 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 336 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 2,013 คน แบ่งเป็น 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 333 คน 2) ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน และหัวหน้ากลุ่มบริหารงาน รวมทั้งสิ้น 1,665 คน และ 3) ผู้ให้ข้อมูลของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีวิสัยทัศน์หรือนโยบายในการสร้างนวัตกรตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา จำนวน 3 โรงเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน และหัวหน้ากลุ่มบริหารงาน รวมทั้งสิ้น 15 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบประเมินระดับความเป็นนวัตกรพลิกผันของผู้เรียน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 1.1) การบริหารองค์ประกอบสิ่งมีชีวิต 1.2) การบริหารองค์ประกอบสิ่งไม่มีชีวิต และ 1.3) การบริหารองค์ประกอบปรัชญาองค์กร 2) กรอบแนวคิดนวัตกรพลิกผัน ประกอบด้วย 2.1) คุณลักษณะการคิดนอกกรอบ 2.2) ความเชี่ยวชาญข้ามศาสตร์ 2.3) ทักษะการค้นหา และ 2.4) ค่านิยมความยั่งยืน 3) ระดับความเป็นนวัตกรพลิกผันของผู้เรียน พบว่า 3.1) ด้านค่านิยมความยั่งยืน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก …


แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม, พิภัทร์อนันต์ เทพพิทักษ์ Jan 2022

แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม, พิภัทร์อนันต์ เทพพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับทักษะอารมณ์และสังคมนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม (2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม (3) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 1 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือ หัวฝ่ายกิจการนักเรียน และครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 82 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือ หัวฝ่ายกิจการนักเรียน จำนวน 82 คน ครูผู้สอน จำนวน 164 คน รวมจำนวน 328 คน ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 2 ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครจำนวน 410 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 3 ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามระดับทักษะอารมณ์และสังคมนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์ลและสังคม แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์ลและสังคมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ การหา ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะอารมณ์และสังคมของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม ภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมี ด้านการจัดการตนเอง มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคมด้านการส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา คือ การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก และ การวางแผนงานกิจการนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 3) แนวทางพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม นำเสนอไว้ 3 แนวทางดังนี้ (1) พัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนที่เน้นการประเมินผลการดำเนินงานกิจการนักเรียนการนำผลการประเมินไปใช้ส่งเสริมทักษะอารมณ์และสังคมด้านการตระหนักรู้ทางสังคมและการสร้างสัมพันธภาพ (2) พัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนที่เน้นการดำเนินงานกิจการนักเรียนทักษะอารมณ์และสังคมด้านการตระหนักรู้ทางสังคมและการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ (3) พัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนเน้นการวางแผนงานกิจการนักเรียนทักษะอารมณ์และสังคมด้านการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ


กลยุทธ์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยตามแนวคิดความเป็นนานาชาติ, ธันวิตา สิริวรภัทร พุทธพงษ์ศิริพร Jan 2022

กลยุทธ์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยตามแนวคิดความเป็นนานาชาติ, ธันวิตา สิริวรภัทร พุทธพงษ์ศิริพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารสถาบันอุดมศึกษาและความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยตามแนวคิดความเป็นนานาชาติ 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยตามแนวคิดความเป็นนานาชาติ และ 4) พัฒนากลยุทธ์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยตามแนวคิดความเป็นนานาชาติ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ โดยดำเนินการวิจัยทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรในการวิจัย ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาในกำกับดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จำนวน 155 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ อธิการบดี และผู้บริหารที่มีหน้าที่รับผิดชอบหลักงานด้านความเป็นนานาชาติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการใช้สถิติเชิงบรรยาย คือ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิดการบริหารสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเป็นนานาชาติในประเทศไทยประกอบด้วยการบริหารหลักสูตร และการบริหารการบริการวิชาการ กรอบแนวคิดความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วยความเป็นนานาชาติในที่ตั้ง และการศึกษาข้ามพรมแดน 2. สภาพปัจจุบันของการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยตามแนวคิดความเป็นนานาชาติในภาพรวมการปฏิบัติอยู่ที่ระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก 3. จุดแข็งของการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยตามแนวคิดความเป็นนานาชาติ ได้แก่ การบริหารหลักสูตร จุดอ่อน ได้แก่ การบริหารการบริการวิชาการ โอกาส ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านเทคโนโลยี ส่วนภาวะคุกคาม ได้แก่ ปัจจัยด้านการเมืองและนโยบายของรัฐ และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ 4. กลยุทธ์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยตามแนวคิดความเป็นนานาชาติประกอบด้วยกลยุทธ์หลัก 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) เน้นคุณค่าการพัฒนาหลักสูตรสู่สมรรถนะระดับโลก 2) ยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่มีมาตรฐานระดับโลก 3) ผลักดันการประกันการเรียนรู้ที่ทันสมัยก้าวทันโลก 4) เพิ่มขีดความสามารถการให้คำปรึกษาทางวิชาการเสริมศักยภาพการแข่งขันระดับโลก 5) มุ่งเป็นเลิศในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ระดับโลก โดยทั้ง 5 กลยุทธ์หลักเน้นตามแนวคิดความเป็นนานาชาติแบบการศึกษาข้ามพรมแดน


Academic Management Strategies Of Secondary Schools Based On The Concept Of Intercultural Competence, Muanfan Korattana Jan 2022

Academic Management Strategies Of Secondary Schools Based On The Concept Of Intercultural Competence, Muanfan Korattana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The research objectives were to 1) study conceptual frameworks of academic management of secondary schools and intercultural competence, 2) study students’ intercultural competence levels, 3) analyze strengths, weaknesses, opportunities, and threats (SWOT) of academic management of secondary schools based on the concept of intercultural competence, and 4) develop academic management strategies based on the concept of intercultural competence, using a multiphase mixed-methods design methodology. The study population was 19 schools, with 307 respondents, including school administrators, head teachers, and teachers. Research instruments included questionnaires and evaluation forms. Data analysis included frequencies, percentages, arithmetic mean, standard deviations, modified priority needs index …


Academic Management Strategies Of Secondary Schools In Cambodia Based On The Concept Of Innovation Leadership Skills, Nguon Siek Jan 2022

Academic Management Strategies Of Secondary Schools In Cambodia Based On The Concept Of Innovation Leadership Skills, Nguon Siek

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to 1) study conceptual frameworks of academic management of secondary schools in Cambodia and innovation leadership skills, 2) study students’ innovation leadership skills levels, 3) analyze strengths, weaknesses, opportunities, and threats of academic management based on the concept of innovation leadership skills, and 4) develop academic management strategies based on the concept of innovation leadership skills. Multiphase mixed-methods design were employed. Samples included 2,662 students as respondents in Phase II and 94 public secondary schools in Phase III. Respondents included school administrators and teachers. Research instruments included evaluation forms and questionnaires. Data were analyzed using frequency, percentage, …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย, ณฐภาส์ รัชตะกุลธำรง Jan 2022

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย, ณฐภาส์ รัชตะกุลธำรง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารวิชาการของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบบรรยาย ประชากรในการวิจัยคือ โรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารหรือครู โรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน รวมทั้งสิ้น 212 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และใช้ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็นผลวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 4.358, SD = 0.549) และสภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.589, SD = 0.509) เมื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นรายด้าน พบว่าด้านการประเมินพัฒนาการมีความต้องการจำมากที่สุด (PNImodified = 0.058) รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ( PNImodified = 0.056) ด้านการจัดสภาพแวดล้อม สื่อและแหล่งเรียนรู้ (PNImodified = 0.054) และด้านการจัดประสบการณ์มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด (PNImodified = 0.044) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย รายข้อย่อยที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดเหมือนกันทั้ง 4 ด้านคือทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัยทักษะด้านความปลอดภัย 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย มีทั้งสิ้น 4 แนวทางหลัก 8 แนวทางย่อย และ 16 วิธีดำเนินการ ซึ่งเรียงลำดับความต้องการจำเป็นดังนี้ แนวทางหลักที่ 1 พัฒนาเครื่องมือในการวัดประเมินพัฒนาการของผู้เรียนที่เน้นเกี่ยวกับทักษะการดูแลตนเองของเด็กปฐมวัย …


นวัตกรรมการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต, วิทวัช กุยแก้ว Jan 2022

นวัตกรรมการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต, วิทวัช กุยแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และกรอบแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) เพื่อศึกษาระดับความเชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียนศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 3) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบวิจัยผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Design) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.อำเภอ/เขต)สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ใช้กลุ่มตัวอย่าง 280 แห่ง โดยผู้ให้ข้อมูลคือผู้เรียนของ กศน.อำเภอ/เขต แห่งละ 15 คน รวม 4,200 คน สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสิ้น 3,045 คน และผู้อำนวยการ กศน.อำเภอ/เขต ข้าราชการครู และครู กศน.ตำบล รวม 840 คน สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสิ้น 621 คน และ กศน.อำเภอ/เขตที่มีแนวทางปฏิบัติที่น่าสนใจ จำนวน 5 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบประเมินระดับความเชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แบบสัมภาษณ์การบริหารวิชาการตามอัธยาศัยตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบกึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างนวัตกรรมฯ ฉบับที่ 1 และแบบประเมินร่างนวัตกรรมฯ ฉบับที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และกรอบผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต 5 คุณลักษณะ ประกอบด้วย ผู้เรียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย ผู้เรียนที่รอบรู้และมีไหวพริบ ผู้เรียนรู้อย่างมีกลยุทธ์ ผู้เรียนอย่างไตร่ตรอง ผู้เรียนที่พึ่งตนเอง 2) ระดับความเชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียนศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยรวมอยู่ในระดับอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายคุณลักษณะ พบว่า ด้านผู้เรียนอย่างมีจุดมุ่งหมายมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านผู้เรียนอย่างไตร่ตรอง มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตร มีค่าความต้องการจำเป็นสูงสุด และด้านการจัดการเรียนรู้ มีค่าความจำเป็นต่ำสุด 3) …


นวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา, ปรเมศวร์ ชรอยนุช Jan 2022

นวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา, ปรเมศวร์ ชรอยนุช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการและวิเคราะห์องค์ประกอบกรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา 2) ศึกษาระดับกรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา 3) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา 4) พัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ แบ่งเป็น 4 ระยะ ประชากร คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 2,360 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 400 โรงเรียน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 973 คน ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานหลักสูตร และครู จำนวน 1,031 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย (1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร (2) ด้านการจัดการเรียนการสอนและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และ (3) ด้านการวัดประเมินผล 2) องค์ประกอบกรอบความคิดผู้ประกอบการนักเรียนมัธยมศึกษา มี 8 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย (1) มีความมุ่งมั่นตั้งใจ (2) มีแรงบันดาลใจสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์และความสำเร็จ (3) มีความกล้าเสี่ยง (4) มีภาวะผู้นำตนเอง (5) มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาโอกาส (6) มีความอดทนต่อความไม่ชัดเจน (7) มีความยืดหยุ่นและฟื้นคืนพลัง และ (8) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรม 2) ระดับกรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา พบว่า มีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และมีความกล้าเสี่ยง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3) ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา พบว่า การจัดการเรียนการสอนและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด รองลงมาคือ การวัดประเมินผล และการพัฒนาหลักสูตร 4) แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารวิชาการประกอบด้วย 23 …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชน ตามแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์, มงคล ตีระดิเรก Jan 2022

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชน ตามแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์, มงคล ตีระดิเรก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนและแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนตามแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ และ3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนตามแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Methods Research) ประชากรได้แก่ โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในระบบ ที่มีชั้นอนุบาล จำนวน 3,329 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 357 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายปฐมวัย/วิชาการ และครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNImodified) และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย (1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (2) การจัดประสบการณ์เรียนรู้ และ (3) การประเมินพัฒนาการ กรอบแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ ประกอบด้วย (1) การกำกับตนเอง และ (2) ความรู้และทักษะระหว่างบุคคล 2) สภาพปัจจุบัน พบว่าอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ทั้งสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลเอกชนตามแนวคิดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ 1) เพิ่มคุณค่าหลักสูตรสถานศึกษาในการเสริมสร้างพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ มี 2 กลยุทธ์รอง 2) พลิกโฉมคุณภาพการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ มี 2 กลยุทธ์รอง 3) เพิ่มมิติในการประเมินพัฒนาการ เพื่อพัฒนาพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของผู้ใหญ่รุ่นเยาว์ มี 2 กลยุทธ์รอง


นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของนักเรียน, สุนีย์ บันโนะ Jan 2022

นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของนักเรียน, สุนีย์ บันโนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของนักเรียนและกรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ 2) ศึกษาระดับสมรรถนะภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของนักเรียน และ 4) พัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของนักเรียน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะประกอบด้วยสามระยะ ระยะที่ 1 เป็นการทำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่หนึ่ง ระยะที่ 2 เป็นการทำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งและการกำหนดความต้องการจำเป็นเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่สองและสาม ประชากรคือโรงเรียนประถมศึกษาสังกัด กทม. จำนวน 431 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยครูชั้น ป.1-6 และผู้บริหารโรงเรียน (ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้) จำนวน 1,113 คนจากโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง 206 โรงเรียน ส่วนระยะที่ 3 เป็นการใช้แนวคิดจากมุมมองหลายด้านมาสร้างสรรค์สิ่งใหม่เป็นต้นแบบและทำการทดสอบเพื่อสรุปเป็นนวัตกรรมการบริหารวิชาการฯ เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่สี่ ผลการวิจัยพบว่า (1) กรอบแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของนักเรียนประกอบด้วย 5 สมรรถนะหลัก ได้แก่ 1) ความฉลาดรู้ด้านความยั่งยืน 2) ค่านิยมเชิงรุก 3) การคิดเชิงระบบ 4) การร่วมมือกับภายนอก และ 5) การสร้างนวัตกรรมทางสังคม ส่วนกรอบแนวคิดการบริหารวิชาการประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) นโยบายการศึกษา 2) หลักสูตรและตำราเรียน 3) การเรียนการสอน และ 4) การประเมินผล (2) ระดับสมรรถนะภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครโดยรวมอยู่ในระดับ “นักเรียนทำได้บ้าง” เมื่อพิจารณาในรายด้านของนักเรียน ชั้น ป.3 พบว่า มีสมรรถนะภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของนักเรียนที่อยู่ในระดับ “นักเรียนทำได้ดี” อยู่ 2 ด้านคือ 1) ความฉลาดรู้ด้านความยั่งยืน และ 2) ค่านิยมเชิงรุก ส่วนอีก 3 ด้านอยู่ในระดับ “นักเรียนทำได้บ้าง” ส่วนนักเรียนชั้น ป.6 พบว่า มีสมรรถนะภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของนักเรียนที่อยู่ในระดับ “นักเรียนทำได้ดี” อยู่ 1 ด้านคือ ค่านิยมเชิงรุก ส่วนอีก 4 ด้านอยู่ในระดับ “นักเรียนทำได้บ้าง” …


แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแนวคิดสุขภาวะทางจิต, ลัดดาพร สิมะรักษ์อำไพ Jan 2022

แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแนวคิดสุขภาวะทางจิต, ลัดดาพร สิมะรักษ์อำไพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแนวคิดผู้มีสุขภาวะทางจิตและ เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแนวคิดผู้มีสุขภาวะทางจิต โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 58 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ดูแลงานวิชาการหรือคณะกรรมการวิชาการ และครูหรือจิตอาสาสอน ผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 174 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแนวคิดผู้มีสุขภาวะทางจิต ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวคิดสุขภาวะทางจิต คือ ด้านการวัดประเมินผล (PNImodified = 0.1111) มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด และด้านการจัดการเรียนการสอน มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด (PNImodified = 0.0851) เมื่อพิจารณารายด้านของสุขภาวะทางจิต พบว่า ด้านความเป็นตัวของตัวเองหรือการมีอิสระแห่งตน (PNImodified = 0.1267) มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด และด้านที่มีค่าความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ ด้านการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น (PNImodified = 0.0802) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวคิดสุขภาวะทางจิต ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก 6 แนวทางย่อย และ 24 วิธีดำเนินการ ได้แก่ แนวทางที่ 1)พัฒนาการวัดและประเมินผล เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุทางด้านความเป็นตัวของตัวเองหรือการมีอิสระแห่งตน การยอมรับในตนเองและการมีความงอกงามในตน ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย คือ 1) กำหนดแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุด้านความเป็นตัวของตัวเองหรือการมีอิสระแห่งตน และการยอมรับในตนเองและการมีความงอกงามในตนและ2) จัดทำเครื่องมือในการวัดและประเมินผล เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุด้านความเป็นตัวของตัวเองหรือการมีอิสระแห่งตน การยอมรับในตนเองและการมีความงอกงามในตน แนวทางที่ 2) พัฒนาหลักสูตรที่เน้นสุขภาวะทางจิตด้านการมีเป้าหมายในชีวิต การมีความสามารถจัดการกับสิ่งแวดล้อมและการยอมรับในตัวเอง ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย คือ 1) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุด้านการมีเป้าหมายในชีวิต การมีความสามารถจัดการกับสิ่งแวดล้อมและการยอมรับในตัวเองและ2) กำหนดจุดมุ่งหมายหรือโครงสร้างของหลักสูตร สถานศึกษาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุด้านการมีเป้าหมายในชีวิต การมีความสามารถจัดการกับสิ่งแวดล้อมและการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น แนวทางที่ 3) ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนด้านความเป็นตัวของตัวเองหรือการมีอิสระแห่งตน การมีเป้าหมายในชีวิตและการยอมรับในตนเอง …


แนวทางการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี ตามแนวคิดผู้ประกอบการอัจฉริยะ, จิรวรรณ จอมศิลป์ Jan 2021

แนวทางการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี ตามแนวคิดผู้ประกอบการอัจฉริยะ, จิรวรรณ จอมศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะผู้ประกอบการอัจฉริยะ 2) นำเนอแนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะผู้ประกอบการอัจฉริยะ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดลพบุรีจำนวน 6 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล เลือกโดยกำหนดคุณสมบัติประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู ผู้เรียน และเจ้าของสถานประกอบการ จำนวน 96 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ (ร่าง) แนวทางฯสถิติที่ใช้วิเคราะห์ ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็น ฐานนิยมและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี ตามแนวคิดผู้ประกอบการอัจฉริยะที่มีค่าสูงสุด คือด้านผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (PNI [modified] =0.513) รองลงมา ได้แก่ ด้านผู้ปฏิบัติงาน (PNI [modified] =0.484) ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการบริหารจัดการความรู้ (PNI [modified] =0.482) ด้านกลยุทธ์ (PNI [modified] =0.416) ด้านการนำองค์กร (PNI [modified] =0.412) ด้านผลลัพธ์ (PNI [modified] =0.403) และด้านการปฏิบัติการ (PNI [modified] =0.391) ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี ประกอบด้วย 6 แนวทาง12 แนวทางย่อย 45 วิธีการดำเนินการ เรียงตามลำดับดัชนีความต้องการจำเป็น ดังนี้ (1) พัฒนาผู้ให้มีสมรรถนะผู้ประกอบการอัจฉริยะ ด้านการคำนึงถึงผลกระทบของธุรกิจ และการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยยึดโยงกับความต้องการของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (2) เสริมสร้างศักยภาพครู และวิทยากรจากสถานประกอบการ ในการส่งเสริมผู้เรียนให้มีสมรรถนะผู้ประกอบการอัจฉริยะ ด้านการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเทคโนโลยี ดิจิทัล และนวัตกรรม และการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (3) พลิกโฉมระบบการวัด การวิเคราะห์ …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ตามแนวคิดทักษะการคิดขั้นสูง, อัชปาณี ชนะผล Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ตามแนวคิดทักษะการคิดขั้นสูง, อัชปาณี ชนะผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ตามแนวคิดทักษะการคิดขั้นสูง 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ตามแนวคิดทักษะการคิดชั้นสูง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบบรรยายประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ และผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ รวมทั้งสิ้น 173 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเรื่องสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงคของการบริหารวิชาการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ตามแนวคิดทักษะการคิดขั้นสูงและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม และใช้เทคนิคดัชนี ความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การประเมินผล รองลงมา คือ การจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาหลักสูตร ตามลำดับ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ตามแนวคิดทักษะการคิดขั้นสูง โดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น 3 ลำดับ ดังนี้ แนวทางที่ 1 พัฒนาการประเมินผลหลักสูตรที่มุ่งเน้นทักษะการคิดขั้นสูงด้านการประเมินค่า แนวทางที่ 2 พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นทักษะการคิดขั้นสูงด้านการประเมินค่า


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร ตามแนวคิดจรณะทักษะ, ศิริพร ศรีวงษ์ญาติดี Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร ตามแนวคิดจรณะทักษะ, ศิริพร ศรีวงษ์ญาติดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร ตามแนวคิดจรณทักษะ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร ตามแนวคิดจรณทักษะ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบแบบบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร และผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครู โรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร รวมทั้งสิ้นจำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยมและใช้เทคนิคดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) การพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักรตามแนวคิดจรณทักษะ ที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ รองลงมา คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร และ การวัดและประเมินผล ตามลำดับ ซึ่งองค์ประกอบจรณทักษะที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การคิดขั้นสูง 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร ตามแนวคิดจรณทักษะ โดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น 4 อันดับ มีทั้งหมด 4 แนวทาง ดังนี้ (1) พัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา โดยวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มุ่งเน้นส่งเสริมจรณทักษะ ด้านการคิดขั้นสูง ภาวะผู้นำ และการสื่อสาร (2) พัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำแผนการเรียนรู้ โดยบูรณาการแนวคิดจรณทักษะ ด้านการคิดขั้นสูง ภาวะผู้นำ และ การสื่อสาร ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (3) ยกระดับการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยการเพิ่มพื้นที่นักประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจรณทักษะด้านการคิดขั้นสูง ภาวะผู้นำ และการจัดการเวลา และ (4) ปรับปรุงการดำเนินการวัดและประเมินผลของสถานศึกษาให้เป็นไปตามสภาพจริง มุ่งเน้นการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ตามแนวคิดจรณทักษะ ด้านการคิดขั้นสูง ภาวะผู้นำ และการจัดการเวลา


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม, ภานุวัฒน์ ตุ้มสังข์ทอง Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม, ภานุวัฒน์ ตุ้มสังข์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 13 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) การบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคมที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [modified] = 0.278) รองลงมา คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNI [modified] = 0.260) และ (PNI [modified] = 0.258) ด้านการวัดและประเมินผล ตามลำดับ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก 6แนวทางย่อย และ 16 วิธีดำเนินการ โดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น 3 อันดับ ได้แก่ (1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นการตระหนักรู้ทางสังคมด้านความไวต่อการรับรู้ทางสังคม (2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้ทางสังคมด้านการเห็นคุณค่าของความหลากหลาย (3) การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการตระหนักรู้ทางสังคมด้านความไวต่อการรับรู้ทางสังคม


แนวทางการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครู โรงเรียนสังกัดสหวิทยาศึกษาแก่งคอยร่วมใจ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2, สุชานันท์ พันทวี Jan 2021

แนวทางการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครู โรงเรียนสังกัดสหวิทยาศึกษาแก่งคอยร่วมใจ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2, สุชานันท์ พันทวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นและวิธีการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครูโรงเรียนสังกัดสหวิทยาศึกษาแก่งคอยร่วมใจ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครูโรงเรียนสังกัดสหวิทยาศึกษาแก่งคอยร่วมใจ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการ หัวหน้างานฝ่ายบุคคลและครู จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นและแบบประเมินร่างแนวทางแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) ฐานนิยม (Mode) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ ความอดทนและด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ความเพียร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ความสามารถในการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความอดทนและความเพียร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ความสามารถในการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุความต้องการจำเป็นของการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค พบว่า ด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ความสามารถในการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ (PNI [modified] = 0.294) รองลงมาคือ ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์และแก้ไขปัญหา (PNI [modified] = 0.274) ความรับผิดชอบต่อปัญหาและอุปสรรคพร้อมทั้งสามารถรับมือกับผลกระทบ (PNI [modified] = 0.249) และด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำสุด คือ ความอดทนและความเพียร (PNI [modified] = 0.261) 2) แนวทางการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครูโรงเรียนสหวิทยาศึกษาแก่งคอยร่วมใจ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 มี 4 แนวทางหลัก 8 แนวทางย่อย 33 วิธีดำเนินการ คือ (1) ยกระดับความสามารถของครูในการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ โดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (2) ยกระดับความสามารถของครูในการควบคุมสถานการณ์และแก้ไขปัญหา โดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (3) สร้างขวัญและกำลังใจให้ครูมีความรับผิดชอบต่อปัญหาและอุปสรรคพร้อมทั้งสามารถรับมือกับผลกระทบ โดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน …


แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของครูโรงเรียนไทยคริสเตียน, เบญจวรรณ สุขพิทักษ์ Jan 2021

แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของครูโรงเรียนไทยคริสเตียน, เบญจวรรณ สุขพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับความฉลาดทางจิตวิญญาณของครูโรงเรียนไทยคริสเตียน 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของครูโรงเรียนไทยคริสเตียน และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของครูโรงเรียนไทยคริสเตียน ใช้วิธีวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ โรงเรียนไทยคริสเตียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูปฐมวัย ครูประถมศึกษา ครูมัธยมศึกษาตอนต้น และครูมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของครูโรงเรียนไทยคริสเตียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index : PNI [Modified]) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความฉลาดทางจิตวิญญาณของครูโรงเรียนไทยคริสเตียน ภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณาทั้ง 4 ด้าน พบว่า ด้านการตระหนักรู้ความจริงมีระดับความฉลาดทางจิตวิญญาณสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการเปิดกว้างจิตสำนึก ด้านการเข้าใจความหมายบุคคล และด้านการคิด อย่างมีวิจารณญาณ มีระดับความฉลาดทางจิตวิญญาณน้อยสุด 2) ลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของครูโรงเรียนไทยคริสเตียน เมื่อพิจารณาทั้ง 4 ด้าน พบว่า ด้านการเข้าใจความหมายบุคคลมีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการตระหนักรู้ความจริง ด้านการเปิดกว้างจิตสำนึก และด้านการคิดวิจารณญาณมีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด 3) แนวทางพัฒนาครูมี 4 แนวทางหลัก 8 แนวทางย่อย 28 วิธีการดำเนินการ ดังนี้ 1. พัฒนาให้ครูเข้าใจความหมายบุคคลโดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน ร่วมกับการสอนงานและการสร้างเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2. แนะแนวให้ครูตระหนักรู้ความจริงโดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน ร่วมกับการฝึกอบรมสัมมนา การสอนงานและการสร้างเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. พัฒนาให้ครูเปิดกว้างจิตสำนึกโดยการเรียนรู้การปฏิบัติงาน ร่วมกับการสร้างเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการสอนงาน 4. แนะแนวให้ครูคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน ร่วมกับการฝึกอบรมสัมมนา การเสร้างเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการประชุมปฏิบัติการ


Approaches For Developing Academic Management Of Secondary Schools In Cambodia Based On The Concept Of Exemplary Leadership, Soksamnang Pheach Jan 2021

Approaches For Developing Academic Management Of Secondary Schools In Cambodia Based On The Concept Of Exemplary Leadership, Soksamnang Pheach

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this study were 1. to examine the exemplary leadership level of Cambodian secondary school students in Battambang Province and to study the priority needs of academic management development of secondary schools in Cambodia based on the concept of exemplary leadership, 2. to develop the approaches for developing the academic management of secondary schools in Cambodia based on the concept of exemplary leadership. The data were collected from 12 sample schools, choosing one school to represent one district. The study informants included school principals, vice-principal, teachers, and students in Battambang province accounting for 169. The research instrument used …


การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพท์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว, ช่อม่วง ม่วงทอง Jan 2021

การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพท์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว, ช่อม่วง ม่วงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วและกรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ โรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ศึกษา (สพฐ.) ในจังหวัดสระแก้ว รวม 161 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิดวิจัย 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว 3) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) กลยุทธ์ฯการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว ประกอบด้วย ด้านการส่งเสริมการค้าและการลงทุน ด้านการเป็นแหล่งผลิตสินค้าการเกษตรที่สำคัญของประเทศ และด้านการเป็นเมืองท่องเที่ยวเชื่อมโยงอารยธรรมขอม กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การแนะแนว และการประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับองค์กรอื่น 2) จุดแข็งของการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว คือ การแนะแนว (PNImodified =0.4535) และการวัดและประเมินผล (PNImodified =0.4715) ตามลำดับ จุดอ่อน คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNImodified =0.5035) การประสานความร่วมมือกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น (PNImodified =0.4848) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ (PNImodified =0.4837) และการจัดการเรียนการสอน (PNImodified =0.4823) ตามลำดับ โอกาสของการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว คือ สภาพนโยบายของรัฐ (PNImodified =0.4740) และสังคม (PNImodified =0.4780) ภาวะคุกคามคือสภาพเทคโนโลยี (PNImodified =0.4861) และเศรษฐกิจ (PNImodified =0.4832) ตามลำดับ 3) …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี ตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน, มนัสนันท์ เทียนชัยทัศน์ Jan 2021

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี ตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน, มนัสนันท์ เทียนชัยทัศน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรีตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน และ 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรีตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน โดยใช้วิธีการวิจัย เชิงบรรยาย ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูระดับประถมศึกษา และครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 และเขต 2 ที่เปิดสอนในระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รวมทั้งสิ้น 224 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรีตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในลำดับแรก คือ การวัดและประเมินผล รองลงมา คือ การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาหลักสูตร ตามลำดับ สมรรถนะการเสริมสร้าง ขีดความสามารถชุมชนที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในลำดับแรก คือ สมรรถนะด้านการเป็นผู้ประกอบการ 2) จุดแข็งของ การบริหารวิชาการ คือ การพัฒนาหลักสูตร จุดอ่อนของการบริหารวิชาการ คือ การจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล สมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชนที่เป็นจุดแข็งมากที่สุด คือ สมรรถนะด้านการสร้างความรู้ สมรรถนะที่เป็นจุดอ่อนมากที่สุด คือ สมรรถนะด้านการเป็นผู้ประกอบการ โอกาส คือ ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย สังคมและวัฒนธรรม และเทคโนโลยี ภาวะคุกคาม คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรีตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ (1) ขับเคลื่อนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะด้านความเป็นผู้นำ การเป็นผู้ประกอบการ และการระดมทรัพยากรของผู้เรียน มี 2 กลยุทธ์รอง 16 วิธีดำเนินการ (2) พลิกโฉมการจัดการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายในชุมชน การเป็นผู้ประกอบการ และการระดมทรัพยากรของผู้เรียน มี 2 กลยุทธ์รอง 10 วิธีดำเนินการ และ (3) พลิกโฉมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายในชุมชน …


การพัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา, ชุณวัฒน์ ปุงบางกระดี่ Jan 2021

การพัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา, ชุณวัฒน์ ปุงบางกระดี่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ การประเมินแบบร่วมมือ และเป้าหมายของสะเต็มศึกษา 2) ศึกษาความต้องการจำเป็น และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา 3) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา และ 4) พัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ ศึกษาในประชากรโรงเรียนประถมศึกษาเครือข่ายสะเต็มศึกษาจำนวน 26 โรง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหาจับประเด็น ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย การกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการประเมินผล กรอบแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือ ประกอบด้วย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจัดทำข้อตกลงร่วมในหลักการเกี่ยวกับวิธีดำเนินการประเมิน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจัดทำข้อตกลงร่วมในเรื่องข้อมูลที่จะต้องเก็บรวบรวม วิธีการ และเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน จัดทำรายงานการประเมินและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน และจัดส่งข้อมูลย้อนกลับให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนด้วยการประชุมปฏิบัติการเชิงปฏิสัมพันธ์ พร้อมทั้งวางแผนการประเมินระยะต่อไป และกรอบแนวคิดเป้าหมายของสะเต็มศึกษา ประกอบด้วย การบูรณาการความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน พัฒนาการประกอบอาชีพ และสร้างนวัตกรรม 2) การบริหารวิชาการด้านที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือด้านการประเมินผล และด้านที่มีสภาพที่พึงประสงค์มากที่สุดคือด้านการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ 3) แนวปฏิบัติที่ดีประกอบด้วย การกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ 16 แนวปฏิบัติ การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 12 แนวปฏิบัติ และการประเมินผล 20 แนวปฏิบัติ และ 4) นวัตกรรมการบริหารวิชาการ คือ “นวัตกรรมนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลแบบร่วมมือสู่เป้าหมายของสะเต็มศึกษา สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา” ประกอบด้วย 3 นวัตกรรมย่อย คือ นวัตกรรมนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ นวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และนวัตกรรมการประเมินผล


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม, ศศิกิติยา เทพเสนา Jan 2021

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม, ศศิกิติยา เทพเสนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาและทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase mixed methods design) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 341 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ และการประชุมกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล การใช้สื่อเทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้ ส่วนกรอบแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม ประกอบด้วย 5 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์ ทักษะการสังเกต ทักษะการสร้างเครือข่ายทางความคิด ทักษะการทดลอง และทักษะการคิดเชื่อมโยง 2) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล และการใช้สื่อเทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ส่วนความต้องการจำเป็นสูงที่สุดในการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม คือ การสร้างเครือข่ายทางความคิด รองลงมาคือ การคิดเชื่อมโยง การตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์ การสังเกต และการทดลอง ตามลำดับ และ 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมมี 4 กลยุทธ์หลัก กลยุทธ์หลักที่ 1 เร่งรัดการพัฒนาหลักสูตรเน้นทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม กลยุทธ์หลักที่ 2 ยกระดับพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม กลยุทธ์หลักที่ 3 ยกระดับพัฒนาประสิทธิภาพการวัดและประเมินผลที่เน้นทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม และกลยุทธ์หลักที่ 4 ยกระดับพัฒนาประสิทธิภาพการใช้สื่อเทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม


แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม, สุปัญญา ปักสังคะเณย์ Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม, สุปัญญา ปักสังคะเณย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับทักษะทางพฤติกรรมของนักเรียนโรงเรียนประจำ (2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม (3) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม ผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 1 ได้แก่ ผู้อำนวยการ 1 คน รองผู้อำนวยการหรือหัวหน้าฝ่ายกิจการนักเรียน 1 คน หัวหน้างานหอพักหรือครูผู้ดูแลนักเรียนประจำ 2 คน ครูผู้สอน 2 คน รวมจำนวน 114 คน ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 2 ได้แก่ นักเรียนของโรงเรียนประจำ โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 รวมจำนวน 228 คน และผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 3 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามระดับทักษะทางพฤติกรรมของนักเรียนโรงเรียนประจำ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ การหา ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะทางพฤติกรรมของนักเรียนโรงเรียนประจำ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการมีความมั่นคงทางอารมณ์ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม คือ งานควบคุม กำกับดูแลระเบียบวินัย รองลงมา คือ งานบริการและสวัสดิการ และงานกิจกรรเสริมหลักสูตร ตามลำดับ ซึ่งองค์ประกอบทักษะทางพฤติกรรมที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การเปิดใจ 3) แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม นำเสนอไว้ 3 แนวทาง ดังนี้ (1) พัฒนางานควบคุม กำกับดูแลระเบียบวินัย ด้วยการใช้ข้อมูลต่างๆ ของนักเรียน ในการเสริมสร้างทักษะทางพฤติกรรมด้านการเปิดใจ (2) พัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยมุ่งเน้นนักเรียน ด้านการมีความมั่นคงทางอารมณ์ โดยการจัดกิจกรรมที่นอกเหนือจากงานสอนปกติ เพื่อพัฒนาการด้านสติ …