Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Early Childhood Education

PDF

Theses/Dissertations

2017

Institution
Keyword
Publication

Articles 151 - 167 of 167

Full-Text Articles in Education

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล, กัญจนา ศิลปกิจยาน Jan 2017

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล, กัญจนา ศิลปกิจยาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษา และการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล และ 2) ศึกษาผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล ตัวอย่าง คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 32 คน การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนฯ ระยะที่ 2 การนำร่องกระบวนการเรียนการสอนฯ ที่พัฒนาขึ้น และระยะที่ 3 การทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการสื่อสาร และแบบบันทึกพฤติกรรมการสื่อสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการเรียนการสอนฯ มีองค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ระยะเวลาการใช้กระบวนการ และการประเมินผล โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน คือ ขั้นเสนอปัญหา ขั้นสืบสอบ ขั้นเชื่อมโยงความรู้ และขั้นประมวลผลการเรียนรู้ 2. ผลการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนฯ สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการสื่อสารหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และระหว่างการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านที่สูงที่สุด คือ การเล่าเรื่องหรือเหตุการณ์ รองลงมา คือ การสร้างสัญลักษณ์ และสุดท้าย คือ การสนทนาโต้ตอบ ในส่วนของข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า การใช้สื่อที่เป็นรูปธรรม การใช้เทคนิคต่าง ๆ และการใช้กิจกรรมกลุ่ม ทำให้เด็กมีความกระตือรือร้นในการสนทนาโต้ตอบ การลงมือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอช่วยให้เด็กสามารถเก็บรายละเอียดของเหตุการณ์เพื่อใช้ต่อเติมในการเล่าเรื่องได้ดีขึ้น นอกจากนี้เด็กใช้สัญลักษณ์ได้ดีขึ้น โดยช่วงแรกเป็นการวาดภาพที่สะท้อนถึงสิ่งที่เรียนรู้ ต่อมามีการเพิ่มเติมรายละเอียดและบริบทของภาพ รวมทั้งมีการนำเสนอสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้


การวิเคราะห์แนวปฏิบัติของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อจากบ้านสู่โรงเรียนอนุบาล, พนิตกานต์ อรรถสุขวัฒนา Jan 2017

การวิเคราะห์แนวปฏิบัติของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อจากบ้านสู่โรงเรียนอนุบาล, พนิตกานต์ อรรถสุขวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ วิเคราะห์แนวปฏิบัติของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อจากบ้านสู่โรงเรียนอนุบาลใน 2 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ และ การสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก ครอบครัว และชุมชน ตัวอย่าง ได้แก่ ครูอนุบาลที่สอนเด็กวัย 3 ปี จำนวน 315 คน จากจำนวน 3 สังกัด ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1) การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ พบว่า ในด้านการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนอนุบาลมีนโยบายการวางแผนกิจกรรมหรือจัดหลักสูตรในประเด็นการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เด็กปรับตัวมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70.7 มีการกำหนดเวลาที่ชัดเจนในการจัดการเรียนรู้โดยมีแผนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมรอยเชื่อมต่อตลอดปีการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 58.6 ครูอนุบาลเปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมอย่างเหมาะสมตามเวลา คิดเป็นร้อยละ 87.6 และใช้การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้โดยศึกษาเด็กเป็นรายบุคคลด้วยวิธีการสังเกตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.9 ในด้านการเสริมสร้างทักษะการปรับตัว ครูอนุบาลสร้างทัศนคติที่ดีต่อการมาโรงเรียน โดยจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและคล้ายบ้านมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 75.2 ครูอนุบาลจัดกิจกรรมส่งเสริมความพร้อม โดยส่งเสริมให้เด็กมีอิสระในการทำกิจกรรมผ่านการเล่น คิดเป็นร้อยละ 87 โดยส่งเสริมความพร้อมด้านร่างกายในเรื่อง การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.5 ด้านอารมณ์และสังคม ในเรื่องการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการทำกิจกรรมต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ 91.2 ด้านสติปัญญา ในเรื่องการจัดกิจกรรมให้เด็กได้สังเกตและสำรวจสิ่งต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 91.2 ด้านภาษาในเรื่องการพูดและการสื่อสารผ่านการเล่านิทาน คิดเป็นร้อยละ 91.9 และในด้านการจัดสภาพแวดล้อมทำให้เด็กมีส่วนร่วมและสนใจ ครูอนุบาลจัดสภาพแวดล้อมและเตรียมอุปกรณ์เพื่อให้เด็กช่วยเหลือตนเองมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 83.4 2) การสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก ครอบครัวและชุมชน พบว่า ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก ครูอนุบาลสร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคงและสร้างความคุ้นเคยกับเด็กเป็นรายบุคคล คิดเป็นร้อยละ 86.6 ในประเด็นการรับมือกับความรู้สึกแยกจากของเด็ก ครูอนุบาลใช้การรับมือกับเด็กเป็นรายบุคคล คิดเป็นร้อยละ 84 ส่วนในประเด็นการสื่อสารที่หลากหลายร่วมกันในทางบวก ครูอนุบาลใช้การสนทนารายกลุ่มในการพูดคุยสื่อสารกับเด็กมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 77.2 และในด้านความสัมพันธ์ระหว่างครูกับครอบครัวเด็ก ครูอนุบาลใช้การประชุมผู้ปกครองในการแลกเปลี่ยนและส่งต่อข้อมูลเด็กมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 86.6 การสร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างครูกับผู้ปกครองใช้การพูดคุย คิดเป็นร้อยละ 89.3 …


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล, ดุษฎี อุปการ Jan 2017

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล, ดุษฎี อุปการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล และ 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีฯ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีฯ 2) การนำร่องกระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีฯ และ 3) การศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำพี้มิตรภาพที่ 214 จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 35 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 18 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 17 คน ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 16 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินหัวใจและดอกไม้ 2) แบบประเมินเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 และ 3) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และขนาดอิทธิพล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ แนวคิดพื้นฐาน หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน และการประเมิน โดยมีหลักการ 5 ประการ ได้แก่ 1) พัฒนาการและการเรียนรู้เกิดขึ้นในบริบทของการอยู่ร่วมกันในสังคม 2) อารมณ์และความสนใจจากภายในที่มีความหมายต่อตัวเด็กส่งผลต่อการเรียนรู้ 3) การเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายและการทำงานของสมองผ่านการลงมือปฏิบัติเกิดเป็นพัฒนาการ 4) กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นโดยความสนใจจากภายใน มุ่งจุดสนใจ รับรู้ ลงมือปฏิบัติ จดจำ แล้วนำมาจัดระบบสร้างรูปแบบของตนเอง และ 5) ภาษาเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนประสบการณ์ภายนอกสู่ความเข้าใจที่เกิดขึ้นภายใน ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นสมอง 2) ขั้นหยุดคิดก่อนเล่น 3) ขั้นเล่นร่วมกัน และ …


บทบาทของผู้ปกครองในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษา, พัชรัตน์ ลออปักษา Jan 2017

บทบาทของผู้ปกครองในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษา, พัชรัตน์ ลออปักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทของผู้ปกครองในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษาใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการส่งเสริมความพร้อมของเด็ก ด้านการสร้างความร่วมมือกับโรงเรียน และด้านการเตรียมความพร้อมของครอบครัว ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปกครองของเด็กประถมศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1 ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 416 คน จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองมีบทบาทในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติระดับมาก (X̄=3.93) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติสูงที่สุด คือ ด้านการเตรียมความพร้อมของครอบครัว (X̄=4.06) รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมความพร้อมของเด็ก (X̄=4.04) และ ด้านการสร้างความร่วมมือกับโรงเรียน (X̄=3.69) ตามลำดับ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ปกครองจำนวน 16 คน สรุปได้ ดังนี้ 1) ด้านการส่งเสริมความพร้อมของเด็ก พบว่า องค์ประกอบการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ผู้ปกครองส่งเสริมเด็กด้านทักษะการพึ่งพาตนเองด้วยการฝึกเด็กให้ช่วยเหลือตนเอง โดยอธิบายถึงความสำคัญให้เด็กเห็นความสำคัญก่อน (14 คน) และ องค์ประกอบการเรียนรู้ ผู้ปกครองส่งเสริมให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับสังคมและสิ่งรอบตัวผ่านการพาเด็กไปเที่ยว หรือทำกิจกรรมในช่วงวันหยุด (15 คน) 2) ด้านการสร้างความร่วมมือกับโรงเรียน พบว่า องค์ประกอบการมีส่วนร่วมกับโรงเรียน ผู้ปกครองสร้างเครือข่ายความร่วมมือ โดยการขอช่องทางการติดต่อกับเพื่อนผู้ปกครอง และพบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน โดยใช้เวลาในช่วงเช้าที่ไปส่งเด็ก หรือรับเด็กตอนเย็นหลังเลิกเรียน (11คน) ผู้ปกครองคุยกับครูเกี่ยวกับพัฒนาการและวิธีการสอนเด็กในช่วงเช้าที่ไปส่งเด็ก หรือรับเด็กตอนเย็นหลังเลิกเรียน และแลกเปลี่ยนช่องทางการติดต่อกับครูประจำชั้น ติดตามข้อมูลของโรงเรียนผ่านทางแอพพลิเคชั่นไลน์ สมุดจดการบ้าน และจดหมายของโรงเรียน (11 คน) และองค์ประกอบการสนับสนุนการเรียนรู้ ผู้ปกครองสนับสนุนการเรียนรู้ที่บ้านผ่านการจัดพื้นที่ให้เด็กทำงานตามความเหมาะสมของแต่ละครอบครัว (16 คน) 3) ด้านการเตรียมความพร้อมของครอบครัว พบว่า องค์ประกอบการเตรียมพร้อมก่อนเข้าโรงเรียน ผู้ปกครองหาข้อมูลของโรงเรียนประถมศึกษาตั้งแต่เด็กอยู่ชั้นอนุบาล 2 ผ่านอินเตอร์เน็ต สอบถามจากคนใกล้ตัว และไปสำรวจโรงเรียนด้วยตนเองพร้อมกับเด็ก (13 คน) และองค์ประกอบการให้ความช่วยเหลือเมื่อเด็กเข้าโรงเรียน ผู้ปกครองสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ซักถามเด็กช่วงเย็น และให้คำแนะนำแก่เด็ก …


บทบาทของผู้ปกครองในการเสริมสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาที่ราบรื่นจากบ้านสู่โรงเรียนอนุบาล, สิริธิดา ชินแสงทิพย์ Jan 2017

บทบาทของผู้ปกครองในการเสริมสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาที่ราบรื่นจากบ้านสู่โรงเรียนอนุบาล, สิริธิดา ชินแสงทิพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์บทบาทของผู้ปกครองในการเสริมสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาที่ราบรื่นจากบ้านสู่โรงเรียนอนุบาล ใน 2 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมความพร้อมและการปรับตัวของเด็ก และการมีส่วนร่วมกับโรงเรียน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองของเด็กอายุ 3 ปี จำนวน 352 คน ในโรงเรียนเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 สังกัด ได้แก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 322 คน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 20 คน และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผู้ปกครองมีบทบาทในการเสริมสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาที่ราบรื่นจากบ้านสู่โรงเรียนอนุบาล อยู่ในระดับมาก โดยด้านการส่งเสริมความพร้อมและการปรับตัวของเด็กมีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมกับโรงเรียน ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พบว่า ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการเลือกโรงเรียนใกล้บ้าน มีสถานที่ร่มรื่น และมีแนวคิดทางการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับธรรมชาติและวัยของเด็ก ในด้านส่งเสริมความพร้อมและการปรับตัวของเด็ก ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมเด็กก่อนเข้าโรงเรียนอนุบาล ในเรื่องการปรับตัวเข้ากับเพื่อน การควบคุมอารมณ์ การช่วยเหลือตนเอง โดยเตรียมเด็กให้มีความพร้อมในด้านร่างกายผ่านการเล่นและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน มีการปรับตารางกิจวัตรประจำวันให้สอดคล้องกับโรงเรียนก่อนเปิดภาคเรียนเป็นเวลา 2 สัปดาห์ พาเด็กไปเยี่ยมชมโรงเรียน เล่านิทานและพูดคุยเกี่ยวกับโรงเรียนให้เด็กฟัง ส่วนด้านการมีส่วนร่วมกับโรงเรียน เมื่อเด็กเข้าโรงเรียน ผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน ทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย มั่นใจ และไว้วางใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในห้องเรียน


The Home Environment And Parenting Practices: Associations With Physical Activity And Sedentary Time In Preschool-Age Children, Emily C. Huber Jan 2017

The Home Environment And Parenting Practices: Associations With Physical Activity And Sedentary Time In Preschool-Age Children, Emily C. Huber

Electronic Theses and Dissertations

Preschool-age children have the potential to be influenced by their physical home environment and their parents’ physical activity (PA) practices more than older children as preschool-age children are more reliant on parents for PA opportunities. Previous research with this focus has relied predominantly on various subjective assessments of child activity, often resulting in overestimation of PA and underestimation of sedentary time (ST). Collectively, this dissertation project explored the associations among home environment factors, parent PA practices, parent satisfaction of children’s body size and children’s PA and ST by utilizing objective measures of activity and the full range of PA intensities …


A Case For Theatre-Based Programming In Early-Childhood And Elementary Education, Tina M. La Plant Jan 2017

A Case For Theatre-Based Programming In Early-Childhood And Elementary Education, Tina M. La Plant

Graduate Student Theses, Dissertations, & Professional Papers

This paper seeks to answer the question, How can I use my professional experience developing a theatre-based curriculum for early-childhood and elementary students as a platform to advocate for the importance of theatre-based curricula in early and elementary education? The subject of this research project is a Pre-Kindergarten through Fifth Grade theatre-based education program founded by the author. The program was developed over the past 20 years at the Bertschi School, an independent PK-Fifth elementary school located in Seattle, Washington. For the purposes of this paper, the program itself will serve as a proving ground to explore and define primary …


Mom, Dad, Help Please: The Home Environment’S Influences On A Child’S Math Ability, Nicole Kerkhof Jan 2017

Mom, Dad, Help Please: The Home Environment’S Influences On A Child’S Math Ability, Nicole Kerkhof

CMC Senior Theses

Recently, there has been a big surge of research and public interest in increasing the math capabilities and skills of American children. This paper serves as a literature review examining how the home environment, specifically parents, can help with that. This meta-analysis delves into the factors of maternal math talk, a parent’s own math anxiety, and the relationship between a parent and child in the context of a parent’s gender stereotypes and a parent’s perception on his or her child’s math abilities. Interventions, suggestions, and future implications are also discussed. This paper will hopefully bring needed awareness to parents about …


Treble In The Environment: Incorporating Music Into Environmental Education, Shinara Sunderlal Jan 2017

Treble In The Environment: Incorporating Music Into Environmental Education, Shinara Sunderlal

Pitzer Senior Theses

In this era where global sustainability is challenged, environmental education plays a vital role in building environmental awareness. Other roles of environmental education include the promotion of responsible citizenship and the fostering of environmental advocacy in children. As a way to strengthen these goals of environmental education, this thesis explores the dynamic uses of music to compound on the fields impact. I argue that the benefits of music outlined suggest music’s power to heighten environmental sensitivity from a young age. I use narratives from the environmental education, music, education, and psychology discourses to demonstrate the theoretical advantages of music in …


Effects Of A Coaching Intervention On Teacher’S Implementation Of Naturalistic Strategies To Promote Communication In Children, Kaitlin J. Dick Jan 2017

Effects Of A Coaching Intervention On Teacher’S Implementation Of Naturalistic Strategies To Promote Communication In Children, Kaitlin J. Dick

Theses and Dissertations--Early Childhood, Special Education, and Counselor Education

With accountability on the rise, educators are changing their focus to optimizing instructional strategies in the classroom. Their job performance depends upon their ability to show progress on child outcomes. One way teachers advance this process is by executing more evidence-based practices in their classroom. There is a lack of research in early childhood that report treatment integrity of the treatment package. This study utilized a multicomponent coaching intervention to increasing treatment fidelity of teacher implementation of naturalistic teaching strategies in an early childhood classroom. This coaching intervention could prove to be more efficient and practical for educators. This study …


Evidence-Based Assessment In Adapted Physical Education-Cognitive Outcomes: A Meta-Analysis, James Robert Kunkel Jan 2017

Evidence-Based Assessment In Adapted Physical Education-Cognitive Outcomes: A Meta-Analysis, James Robert Kunkel

Cal Poly Humboldt theses and projects

There is little data to show evidence-based practices in adapted physical education and whether or not such practices are successful. Currently there is a lack of information on the frequency of which assessments are being administered, on the disabilities that are being assessed or should be assessed during each test, and on the uses for which assessments are being conducted. The aim of this paper is to assess and synthesize all evidence-based practices on cognitive outcomes in adapted physical education using a meta-analysis. Data was sourced from computerized searches using the following databases: SPORT Discus, PsycINFO, PsycARTICLES, Pub Med (Medline), …


Assessing Written Narratives: Current Versus Theoretical Practices, Megan Chamberlin, Michelle Tatko, Marissa Mcelligott, Savannah Lovitt Jan 2017

Assessing Written Narratives: Current Versus Theoretical Practices, Megan Chamberlin, Michelle Tatko, Marissa Mcelligott, Savannah Lovitt

Undergraduate Theses, Professional Papers, and Capstone Artifacts

Language sample analysis (LSA) provides a non-standardized, culturally sensitive method of language assessment and is considered a best practice by the American Speech-Language and Hearing Association (ASHA). One type of LSA is the elicitation and analysis of children’s written narratives. Narratives, one type of language discourse, either fictional or personal, can be thought of as stories.

Across the literature, there are differences in the types and clinical implications of the individual types of discourse and narratives. For example, eliciting conversational discourse for LSA is less demanding for the student than eliciting narrative discourse. Additionally, research shows that students with a …


An Examination Into The Instruction Of The Alphabet During Preschool Years, Amanda Titus Jan 2017

An Examination Into The Instruction Of The Alphabet During Preschool Years, Amanda Titus

Masters Theses

Instruction of the letters of the alphabet is a controversial topic among early childhood educators. Not only is it debated whether letter instruction is developmentally appropriate but there is then the discussion concerning how the letters are best taught once a program deems it is developmentally appropriate. In this study, 87 children were assessed at two separate times during the school year to determine a method of instruction that proved most effective. The study took place over three consecutive school years. The first year, 27 students were exposed to alphabetic instruction through a combination of music and mnemonic device assisted …


The Socioeconomic Effect Of The Third Grade Reading Guarantee, Savannah R. Shoaff Jan 2017

The Socioeconomic Effect Of The Third Grade Reading Guarantee, Savannah R. Shoaff

Williams Honors College, Honors Research Projects

In the state of Ohio, the Ohio Department of Education issues a requirement to all third grade classrooms in the state that they must administer a reading diagnostic to every third grade student; they have entitled this movement as the “Third Grade Reading Guarantee”. This style of testing requires every third grader in the state of Ohio to achieve a “Promotion Score” in order to then progress to their next grade the following year. If students fail to pass their reading diagnostic, they are not considered nor labeled “On Track”, and, thus, cannot move on to the fourth grade. This …


Infants, Toddlers And Mobile Technology: Examining Parental Choices And The Impact Of Early Technology Introduction On Cognitive And Motor Development, Karin Archer Jan 2017

Infants, Toddlers And Mobile Technology: Examining Parental Choices And The Impact Of Early Technology Introduction On Cognitive And Motor Development, Karin Archer

Theses and Dissertations (Comprehensive)

Despite recommendations of no screen time for children under the age of 2, parents are introducing mobile technology to their children at very young ages (Rideout, 2013). While research on television use has found negative impacts in all areas of development (Barr, Lauricella, Zack & Clavert, 2010), research has yet to investigate the impact of mobile technology use with very young children. The current set of 3 studies included interviews, a survey, and direct observations of parents using mobile technology with children 1 to 2 years of age. The main finding across all studies was that parents introduce mobile technology …


Foundation For Analysis Of Early Childhood Intervention For Hearing Loss: Birth To Three, Katherine E. Fike Jan 2017

Foundation For Analysis Of Early Childhood Intervention For Hearing Loss: Birth To Three, Katherine E. Fike

Williams Honors College, Honors Research Projects

The purpose of this study is to create a foundation for the analysis of early intervention programs for children ages birth to three, with hearing loss. By providing a guide into intervention currently available in the state of Ohio following the public law requirements, parents of children with hearing loss will be better informed and more capable of providing tools to help their children excel. This paper will simplify the language of Ohio public laws regarding services for hearing impaired individuals, explain the benefits of early intervention, and present information on how to locate resources in each county. The paper …


Predictors Of Bullying Role Behavior In Preschool, Kristen Kocher Jan 2017

Predictors Of Bullying Role Behavior In Preschool, Kristen Kocher

Masters Theses

No abstract provided.