Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Insurance Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2017

Chulalongkorn University

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Insurance

ตัวแบบการกำหนดราคาของการประกันภัยโรคร้ายแรงโดยใช้อัตราความชุกในประเทศไทย, รติกร แย้มสรวล Jan 2017

ตัวแบบการกำหนดราคาของการประกันภัยโรคร้ายแรงโดยใช้อัตราความชุกในประเทศไทย, รติกร แย้มสรวล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าความรุนแรงของการเปลี่ยนสถานะสำหรับการประกันภัยโรคร้ายแรงและคำนวณหาอัตราเบี้ยประกันภัยสุทธิสำหรับการประกันภัยโรคร้ายแรงที่คุ้มครอง 6 โรค ได้แก่ โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด โรคหลอดเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน โรคไตวายเรื้อรัง โรคตับวายและโรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง โดยใช้อัตราความชุกในการประมาณค่าอัตราอุบัติการณ์ของโรคร้ายแรงที่ไม่ทราบค่า ซึ่งใช้ตัวแบบหลายสถานะ(multiple state model) และฟังก์ชันคงตัวเป็นช่วง (piecewise constant function) ในการประมาณค่าความรุนแรงของการเปลี่ยนสถานะจากสถานะสุขภาพดีไปยังสถานะเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงและสมมติให้ความรุนแรงของเสียชีวิตของทั้งคนสุขภาพดีและผู้ป่วยด้วยโรคร้ายแรงเป็นไปตามตัวแบบ Gompertz-Makeham (GM) ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยคือ 1) จำนวนประชากรกลางปี 2) จำนวนการตายของประชากรไทย จำแนกตามกลุ่มอายุและเพศ 3) จำนวนการตาย และ 4) จำนวนการป่วย จำแนกตามกลุ่มอายุ เพศและสาเหตุการตายและการป่วยตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับแก้ไขครั้งที่ 10 (ICD-10) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554-2558 จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ผลการศึกษาพบว่าความรุนแรงของการเปลี่ยนสถานะจากสถานะเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงไปยังสถานะเสียชีวิตเนื่องจากโรคร้ายแรงประมาณได้ด้วยตัวแบบ GM(4,0) ทั้งเพศชายและเพศหญิง และจากสถานะเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงไปยังสถานะเสียชีวิตเนื่องจากสาเหตุอื่น ๆ นอกเหนือจากโรคร้ายแรง สามารถประมาณได้ด้วยตัวแบบ GM(1,2) และ GM(2,2) สำหรับเพศชายและหญิงตามลำดับ เบี้ยประกันภัยสุทธิจ่ายครั้งเดียวสำหรับการประกันภัยโรคร้ายแรงแผนกำหนดผลประโยชน์ไม่ครอบคลุมการเสียชีวิต (Stand-alone benefit) และแผนกำหนดผลประโยชน์ครอบคลุมการเสียชีวิต (Acceleration benefit) มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นและเบี้ยประกันภัยสำหรับเพศชายมีค่าสูงกว่าเพศหญิงทุกกลุ่มอายุ


การคำนวณเบี้ยประกันชีวิตของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบอิควิตี้ลิ้งระยะยาวภายใต้อัตรามรณะไทย, ปฏิญญา มากระจัน Jan 2017

การคำนวณเบี้ยประกันชีวิตของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบอิควิตี้ลิ้งระยะยาวภายใต้อัตรามรณะไทย, ปฏิญญา มากระจัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อคำนวณเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบอิควิตี้ลิ้งระยะยาวที่มีเวลาครบกำหนดกรมธรรม์ 10 ปี ถึง 30 ปี ของผู้เอาประกันภัยอายุ 50 ปี 55 ปี และ 60 ปี ส่วนแรกเป็นการประมาณค่าอัตรามรณะของผู้สูงอายุไทยด้วยตัวแบบอินเวอร์สเมคแฮมร่วมกับวิธีโคล-กิสเกอร์ และพยากรณ์อัตรามรณะด้วยตัวแบบลี-คาร์เตอร์ ส่วนที่สองเป็นการประมาณโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยจากตัวแบบ Cox-Ingersoll-Ross (CIR) และในส่วนสุดท้ายเป็นการประมาณค่าคอลออปชั่นแบบยูโรเปี่ยนออปชั่น โดยตัวแบบแบล็คโชลส์ ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วยข้อมูลจำนวนประชากรปลายปี และจำนวนประชากรตายระหว่างปี พ.ศ.2545 - 2559 แยกตามเพศและอายุ จากกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข ตามลำดับ ข้อมูลพันธบัตรรัฐบาลไทยระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 ถึง วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จากสมาคมตราสารหนี้ไทย และข้อมูลราคาปิดของหุ้น SET50 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2541 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2559 ผลการศึกษาพบว่าเบี้ยประกันภัยมีค่าลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อวันครบกำหนดสัญญามีค่าเพิ่มขึ้น โดยเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกันภัยที่มีอายุมากมีค่าน้อยกว่าเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกันภัยอายุน้อย เนื่องจากกรมธรรม์นี้ให้ผลประโยชน์เมื่อครบกำหนดสัญญา เบี้ยประกันภัยของเพศหญิงมีค่ามากกว่าของเพศชายเมื่อเปรียบเทียบในช่วงอายุเดียวกันและวันครบกำหนดสัญญาเดียวกัน ดังนั้นการประกันชีวิตแบบอิควิตี้ลิ้งจึงเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ และเหมาะกับสัญญาประกันภัยแบบระยะยาว ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป


การคำนวณหาเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาแนบท้ายการประกันภัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงโดยใช้ตัวแบบหลายสถานะ, วิริยะ เก้าเอี้ยน Jan 2017

การคำนวณหาเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาแนบท้ายการประกันภัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงโดยใช้ตัวแบบหลายสถานะ, วิริยะ เก้าเอี้ยน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณหาเบี้ยประกันภัยสุทธิสำหรับสัญญาแนบท้ายการประกันภัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่จ่ายผลประโยชน์ตามระยะของโรค 4 ระยะหลัก โดยใช้ข้อมูลจากอัตราอุบัติการณ์การวินิจฉัยพบมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงจากสถาบันวิจัยมะเร็งแห่งประเทศไทยและงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่เป็นประชากรไทย ซึ่งได้มีการระบุอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีและอัตราส่วนของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงในแต่ละระยะ สำหรับอัตราการเสียชีวิตรวมทุกสาเหตุจะใช้อัตรามรณะตามตารางมรณะไทยประจำปีพ.ศ. 2560 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) วิธีการหาความน่าจะเป็นที่เกี่ยวข้องจะใช้ตัวแบบหลายสถานะและกระบวนการลูกโซ่มาร์คอฟ เพื่อให้สอดคล้องกับการแบ่งระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง การคำนวณเบี้ยประกันภัยสุทธิใช้หลักการของการเท่ากันของมูลค่าปัจจุบันทางประกันภัย โดยผลประโยชน์ของสัญญาแนบท้ายการประกันภัยตัวอย่างกำหนดไว้แบ่งเป็น 2 กรณีคือกรณีที่ 1 ให้ผลประโยชน์ 1,000,000 บาทจ่ายเมื่อวินิจฉัยพบว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงสำหรับทุกระยะของโรคหรือเสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าว และกรณีที่ 2 ที่กำหนดให้ผลประโยชน์สำหรับแต่ะละระยะของมะเร็งไม่เท่ากัน โดยผลประโยชน์จ่ายเมื่อวินิจฉัยพบหรือเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงระยะที่ 1 เท่ากับ 1,000,000 บาท ส่วนระยะที่ 2,3, และ 4 จะมีค่าเป็น 2,3 และ 4 เท่าของระยะที่ 1 ในขณะที่ระยะเวลาคุ้มครองและจ่ายเบี้ยประกันภัยของสัญญาแนบท้าย 5 ปี และ กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดการคุ้มครองเท่ากับร้อยละ 4 ต่อปี ผลการศึกษาพบว่าเบี้ยประกันภัยสุทธิมีค่าเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัย เมื่อกำหนดผลประโยชน์ในกรณีที่ 1 เบี้ยประกันภัยสุทธิมีค่าอยู่ระหว่าง 56.28 บาทถึง 1451.45 บาทสำหรับเพศชายและมีค่าระหว่าง 33.11 บาทถึง 1027.95 บาทสำหรับเพศหญิง และเมื่อกำหนดผลประโยชน์ในกรณีที่ 2 เบี้ยประกันภัยสุทธิมีค่าอยู่ระหว่าง 173.02 บาทถึง 4487.95 บาทสำหรับเพศชายและมีค่าระหว่าง 101.85 บาทถึง 3175.32 บาทสำหรับเพศหญิง เบี้ยประกันภัยสุทธิของเพศชายมีค่าสูงกว่าของเพศหญิง โดยมีความแตกต่างไม่สม่ำเสมอในแต่ละอายุทั้งสองกรณี ในขณะที่เบี้ยประกันภัยสุทธิเมื่อกำหนดผลประโยชน์แบบกรณีที่ 2 มีค่าสูงกว่าแบบกรณีที่ 1 ทุกอายุและเพศ เมื่อเปรียบเทียบกับเบี้ยประกันภัยสุทธิของการประกันชีวิตที่มีระยะเวลาการคุ้มครองและจ่ายเบี้ยประกันภัย 5 ปีที่ใช้อัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 4 ต่อปี โดยให้ผลประโยชน์คุ้มครองการเสียชีวิตทุกสาเหตุเท่ากับ 1,000,000 บาทพบว่าเบี้ยประกันภัยสุทธิของกรณีที่ 1 คิดเป็นประมาณร้อยละ 3.48-7.37 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิของการประกันชีวิตชั่วระยะเวลา 5 ปีสำหรับเพศชายและประมาณร้อยละ 4.09-12.83 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิของการประกันชีวิตชั่วระยะเวลา 5 ปีสำหรับเพศหญิง ส่วนในกรณีที่ 2 คิดเป็นประมาณร้อยละ 10.71-22.70 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิของการประกันชีวิตชั่วระยะเวลา 5 …