Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Human Resources Management Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

2021

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Human Resources Management

ผลกระทบและการปรับตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในกลุ่มอาชีพนักดนตรี, ธิดาพร สันดี Jan 2021

ผลกระทบและการปรับตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในกลุ่มอาชีพนักดนตรี, ธิดาพร สันดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลกระทบเชิงลบจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ต่ออาชีพต่างๆ ล้วนสร้างปัญหาต่อแต่ละกลุ่มอาชีพต่างกัน กลุ่มอาชีพนักดนตรีเป็นกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงานของนักดนตรีในภาวะโควิด 19 2) เพื่อศึกษาผลกระทบและการปรับตัวของนักดนตรีในภาวะโควิด 19 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับตัวที่เหมาะสมของนักดนตรีในภาวะวิกฤติ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือนักดนตรีที่ทำงานในช่วงเวลากลางคืนตามสถานบันเทิง ประกอบด้วยผับบาร์ ร้านอาหารกึ่งผับบาร์ สวนอาหาร เพื่ออธิบายถึงชีวิตความเป็นอยู่และผลกระทบที่ได้รับของนักดนตรีในช่วงโควิด 19 เลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกนักดนตรีจำนวน 7 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักดนตรีมีสภาพการจ้างงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่มีสัญญาจ้าง ขาดความมั่นคงทางรายได้ 2) ผลกระทบหลักจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 คือด้านการทำงาน โดยเฉพาะการมีรายได้ที่ลดลง จากการปิดสถานบันเทิงหรือปิดกิจการสถานที่ที่นักดนตรีไปทำงาน และรูปแบบการจัดงานดนตรีเปลี่ยนไป ทำให้นักดนตรีถูกลดงานหรือเกิดการเลิกจ้าง ผลกระทบด้านสุขภาพจิต เกิดความเครียดจากภาวะว่างงาน และผลกระทบด้านการดำรงชีวิตความเป็นอยู่โดยเฉพาะภาระค่าใช้จ่ายที่ยังเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้องปรับตัวในวิถีชีวิตแบบใหม่ และ 3) การว่างงานของนักดนตรีที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอในการดำรงชีวิต เกิดแนวทางการปรับตัวด้วยการหาอาชีพที่สอง เช่น อาชีพขนส่งอาหารเดลิเวอรี่ ครูสอนดนตรี ผู้ช่วยผู้จัดการร้านอาหาร และเกิดการเปลี่ยนเวลาการทำงานจากกลางคืนเป็นกลางวันเป็นการทำงานที่บ้าน (Work From Home) เช่นการทำงานลงเสียงดนตรี แต่งเพลง การแสดงดนตรีผ่านทางสื่อออนไลน์เช่นเฟชบุ๊ค (facebook) การฝึกฝนทักษะใหม่ๆเพิ่ม และการประหยัดร่วมกับการลดค่าใช้จ่าย ซึ่งนักดนตรีไม่มีความแตกต่างจากอาชีพอื่น เช่น รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป เกิดการประหยัด และ วางแผนอนาคตมากขึ้น


ผลกระทบของความเหลื่อมล้ำต่อการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนไทย, ธนกร วรพิทักษานนท์ Jan 2021

ผลกระทบของความเหลื่อมล้ำต่อการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนไทย, ธนกร วรพิทักษานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาระดับอุดมศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สามารถเข้าถึงโอกาสในการประกอบอาชีพและการเลื่อนชั้นทางสังคมได้ อย่างไรก็ตามการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมทางโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียน ซึ่งเป็นผลกระทบของความเหลื่อมล้ำในมิติปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้กระทำการต่อปัจเจกนักเรียน ส่งผลให้ไม่สามารถเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาได้และนำไปสู่ผลกระทบตามมา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการคัดเลือกเข้าอุดมศึกษาและปัจจัยหลักที่มีส่วนต่อการเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย 2) ศึกษาความเหลื่อมล้ำในปัจจัยหลักที่มีส่วนต่อการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนไทย และ 3) ศึกษาผลกระทบของความเหลื่อมล้ำต่อการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกรณีศึกษาที่มีความเป็นตัวแทนจำนวน 16 คนประกอบด้วย กรณีศึกษานักเรียนในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดจำนวน 12 คน และกรณีศึกษาอาจารย์แนะแนวจากสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชนจำนวน 4 คน และทำการวิเคราะห์ผ่านทฤษฎีความเหลื่อมล้ำในสำนักคิดแนวสมรรถภาพมนุษย์และแนวคิดการจัดการศึกษาในแนวปรัชญาพิพัฒนาการนิยม ผลการศึกษา พบว่า ความเหลื่อมล้ำในการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนไทยประกอบด้วยปัจจัยหลักความเหลื่อมล้ำที่เกี่ยวข้อง 3 ปัจจัยหลักคือ 1) ปัจจัยทุนทางเศรษฐกิจและทุนทางสังคม 2) ปัจจัยสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐหรือเอกชน และ 3) ปัจจัยระบบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา โดยความเหลื่อมล้ำจากปัจจัยหลักทั้งสามและความเหลื่อมล้ำในโครงสร้างทางสังคมได้ส่งผลกระทบต่อการศึกษาต่อของนักเรียนในสองส่วน ได้แก่ 1) ผลกระทบของความเหลื่อมล้ำภายใต้แนวคิดและปรากฎการณ์ โดยพบว่า ภายใต้แนวคิดและปรากฎการณ์นี้ความเหลื่อมล้ำได้ส่งผลกระทบผ่านปัจจัยหลักทั้งสามที่ได้กระทำการต่อนักเรียนโดยได้ลิดรอนสมรรถภาพและลดทอนโอกาสในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาจนนำไปสู่ผลกระทบในการขาดอิสรภาพทางโอกาสของนักเรียน และ 2) ผลกระทบของความเหลื่อมล้ำในมิติเชิงลึก โดยพบว่า ภายใต้โครงสร้างทางสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำได้สร้างผลกระทบในมิติเชิงลึก ได้แก่ มิติภายในครอบครัว มิติทางสุขภาพ มิติทางเพศ รวมถึงค่านิยม การพึ่งพาและการลงทุนในการศึกษาต่อ ทั้งนี้รัฐได้พยายามลดความเหลื่อมล้ำด้วยการปรับระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษาและผ่านระบบกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาแม้ยังคงพบปัญหาและข้อจำกัดก็ตามแต่นักเรียนก็ควรมีส่วนต่อการรับผิดชอบตนเองในการวางแผนกลยุทธ์และการต่อรองภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่ให้สามารถผ่านการคัดเลือกของระบบคัดเลือกเพื่อให้เข้าศึกษาต่ออุดมศึกษาได้ตามที่ต้องการ


การรับรู้และพฤติกรรมการตอบสนองต่อฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (Pm2.5) : กรณีศึกษากลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร, ศรัณณ์พักตร์ แก้วเพชร Jan 2021

การรับรู้และพฤติกรรมการตอบสนองต่อฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (Pm2.5) : กรณีศึกษากลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร, ศรัณณ์พักตร์ แก้วเพชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ต่อปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5) กลุ่มผู้ประกอบอาชีพขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะต่อการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกต่อปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ดำเนินการศึกษาโดยใช้เทคนิควิจัยเชิงปริมาณ มีขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 312 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ดังต่อไปนี้ ผลการศึกษาการรับรู้ของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพกลุ่มผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร มีระดับการรับรู้มาก และรับรู้ว่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่มีค่าเกินมาตรฐานที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ซึ่งรู้ว่าตนเองเป็นทั้งผู้รับและผู้ปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5) โดยผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ รู้ว่าพื้นที่ดินแดงมีค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน ส่งผลต่อการตรวจเช็คค่าฝุ่นก่อนออกจากบ้านมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 แต่ไม่มีการใส่หน้ากาก N95 โดยผลการศึกษาด้านความรู้ทำให้ทราบว่ากลุ่มผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างยังขาดความรู้ได้เรื่อง 1) การใส่หน้ากากอนามัย 2 ชิ้นไม่สามารถจะช่วยป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้ 2) การตรวจเช็คค่าฝุ่นผ่านแอพพลิเคชั่น 3) ความหมายของค่า AQI (ประเทศไทย) 4) เรื่องดำเนินชีวิตประจำวันสามารถช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 สำหรับผลการศึกษาผลกระทบและการสนองทั้ง 4 ด้าน สูงที่สุดคือ 1) ด้านเศรษฐกิจในกลุ่มผู้ที่รับรู้ต่อฝุ่นละอองมีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการตรวจเช็คสุขภาพในกลุ่มผู้ที่รับรู้ต่อฝุ่นละออง รองลงมาคือ 2) ด้านสุขภาพมีผลกระทบทางด้านสุขภาพมีอาการ เจ็บคอ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล และอาการผื่นคันตามผิวหนัง และอาการตาแดง และ 3) ด้านสังคมมีการดำเนินชีวิตของประชาชนยุ่งยากมากขึ้นในระดับมาก สุดท้ายคือ 4) ด้านการป้อนกันมีเช็คค่าฝุ่นก่อนออกจากบ้าน และข้อเสนอแนะต่อการสร้างพฤติกรรมเชิงบวก มาตรการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ ที่กลุ่มผู้ขับขี่ต้องการให้ส่งเสริมมากที่สุดคือ การช่วยลดค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องยนต์ (รัฐช่วยออกคนละครึ่ง) รองลงมา ควรมีการให้ความรู้ที่เกี่ยวของกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในเรื่อง 1)การให้ความรู้ในการใส่หน้ากาก 2) การเช็คค่าฝุ่นผ่านแอพพลิเคชั่น 3) ความรู้เรื่อง ค่า AQI โดยกลุ่มที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุดจากการศึกษาพบว่ามี 4 กลุ่มที่ไม่มีการรับรู้เรื่องของฝุ่นได้แก่ 1.กลุ่มผู้มีรายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 2. …


แนวทางการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยตามหลักการของมูฮัมหมัด ยูนุส, ศราวุธ นาควิทยานนท์ Jan 2021

แนวทางการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยตามหลักการของมูฮัมหมัด ยูนุส, ศราวุธ นาควิทยานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดธุรกิจเพื่อสังคมของมูฮัมหมัด ยูนุส 2) เพื่อศึกษาการดำเนินงานและความเป็นไปได้ของการนำแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคมมาใช้ในธุรกิจเพื่อสังคมของประเทศไทย 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยตามหลักการของศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนุส โดยมีวิธีการดำเนินงานวิจัยในรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการดำเนินการ 2 ส่วน คือ 1) การวิจัยเอกสาร และ 2) วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิโดยใช้รูปแบบเทคนิคเดลฟาย ซึ่งจะใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิแบ่งออกเป็นกลุ่ม ดังนี้ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากหน่วยงานภาครัฐบาล 2) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากหน่วยงานภาคเอกชน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากนักวิชาการที่มีประสบการณ์การทำงาน 4) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือ ธุรกิจเพื่อสังคมที่สังกัดสมาชิกของสมาคมธุรกิจเพื่อสังคมแห่งประเทศไทย ผลการวิจัยค้นพบว่า สถานการณ์การดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมตามแนวทางของยูนุสในประเทศไทย ในแง่มุมทางกฎหมายถือว่าเป็นเรื่องล่าช้า แต่ภาครัฐเริ่มมีการให้ความสําคัญด้วยการเพิ่มโอกาสในการลงทุน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคมและธุรกิจเพื่อสังคม ในด้านกฎหมาย องค์กรส่วนใหญ่ได้นิยามตามกฎหมายเพื่อเป็นประโยชน์ในการระบุกิจการที่เข้าเกณฑ์ในการได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาล ประกอบกับระบบการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมตามกฎหมาย การจดทะเบียนดังกล่าวไม่ได้ให้สถานะความเป็นนิติบุคคลกับผู้จดทะเบียน ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจเพื่อสังคมทั้งที่จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมและไม่ได้จดทะเบียนจึงมีรูปแบบองค์กรที่หลากหลาย