Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Fine Arts Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Articles 1 - 30 of 152

Full-Text Articles in Fine Arts

การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ : เพลงตับเรื่อง "วิถีชีวี นทีสยาม", สุวิวรรธ์น ลิมปชัย Jan 2022

การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ : เพลงตับเรื่อง "วิถีชีวี นทีสยาม", สุวิวรรธ์น ลิมปชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องการสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์: เพลงตับเรื่อง “วิถีชีวี นทีสยาม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของแหล่งน้ำที่ใช้ผลิตน้ำประปานครหลวงและมูลบทที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างองค์ความรู้และสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์: เพลงตับเรื่อง “วิถีชีวี นทีสยาม” ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาข้อมูลเอกสารและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า แหล่งน้ำดิบที่การประปานครหลวงนำมาเป็นน้ำต้นทุนมาจากแม่น้ำ 2 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำแม่กลอง โดยการลำเลียงน้ำเข้าสู่คลองประปาเพื่อทำการบำบัด และนำจ่ายให้กับประชาชนใน 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ วิธีการประพันธ์ ศึกษาองค์ความรู้จากการค้นคว้าเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิอีกทั้ง ศึกษาเพลงที่เกี่ยวข้องกับน้ำเพื่อดูกระบวนการในการสร้างสรรค์เพลง และออกแบบทำนองที่มีทั้งลักษณะของอาการและลักษณะทางกายภาพของสิ่งที่เกี่ยวข้องกับน้ำทั้งหมด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประพันธ์เพลง แบ่งการประพันธ์ไว้ 2 ส่วน ส่วนแรก ประพันธ์บทกลอน มีทั้งสิ้น 3 บทกลอน โดยบทกลอนที่ 1 กล่าวถึงวัฏจักรของน้ำและการก่อกำเนิดชีวิต บทกลอนที่ 2 กล่าวถึงแหล่งน้ำที่นำมาผลิตน้ำประปานครหลวง และบทกลอนที่ 3 กล่าวถึงขั้นตอนในการผลิตน้ำประปา การลำเลียงน้ำเข้าสู่ครัวเรือน และความสุขที่คนไทยได้มีน้ำสะอาดใช้ ประพันธ์บทกลอนชนิดกลอนสุภาพ (กลอนแปด) ส่วนที่ 2 ประพันธ์ทำนองเพลง แบ่งเป็น 3 ช่วง 9 บทเพลง ได้แก่ ช่วงที่หนึ่ง สายน้ำแห่งชีวิต: ต้นกำเนิดของแหล่งน้ำที่นำมาผลิตน้ำประปา มี 3 เพลง คือ เพลงมูรธาธาร เพลงเอกโอฬารเจ้าพระยา และเพลงวหาแม่กลองสุขสวัสดิ์ ช่วงที่สอง ผลผลิตทรงคุณภาพ: การตรวจจับสารพิษและการบำบัดน้ำ มี 4 เพลง ได้แก่ เพลงมัศยาคงคาลัย เพลงพลาดิศัยบูรณาสินธุ์ เพลงนฤมลทินธารวิสุทธิ์ และเพลงศรีอัมพุชชโลทร และช่วงที่สาม ตราบนทีเขษม: การลำเลียงน้ำเข้าสู่ครัวเรือนเพื่อความผาสุกของประชาชน มี 2 เพลง ได้แก่ เพลงสืบสายนาครสาคเรศ และเพลงสมเจตนามหานที โดยบทเพลงทั้ง 9 เพลง ใช้วิธีการประพันธ์แบบอัตโนมัติ และประพันธ์จากทำนองต้นราก วงดนตรีที่ใช้บรรเลง ได้แก่ วงดนตรีพิเศษ โดยรูปแบบของวงดนตรีจะเป็นวงที่ใช้วงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เครื่องตี …


ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: บทเพลงมหานครสำหรับวงขับร้องประสานเสียงและออร์เคสตรา, เกื้อกูล เดชมี Jan 2022

ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: บทเพลงมหานครสำหรับวงขับร้องประสานเสียงและออร์เคสตรา, เกื้อกูล เดชมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: บทเพลงมหานครสำหรับวงขับร้องประสานเสียงและออร์เคสตรา ประพันธ์ขึ้นจากแรงบันดาลใจที่มีต่อกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นมหานครและเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย ซึ่งเป็นเมืองที่มีความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง และเป็นศูนย์กลางความเจริญของประเทศไทย สำหรับบทประพันธ์นี้ ผู้วิจัยได้เลือกที่จะประพันธ์โดยนำเสนอย่านเมืองต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครที่ผู้วิจัยสนใจ หรือได้รับแรงบันดาลใจ โดยนำเสนอในมุมมองที่แตกต่างกัน เช่นในแง่ของประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตในอดีตและปัจจุบัน ปัญหาสังคม เหตุการณ์ทางการเมือง รวมไปถึงตำนานของสถานที่นั้น ๆ จนสร้างสรรค์ออกมาเป็นบทประพันธ์ 7 กระบวน ได้แก่ เจริญกรุง ดาวคะนอง สาทร พาหุรัด ข้าวสาร ท่าเตียน และราชดำเนิน โดยผู้วิจัยเป็นผู้ประพันธ์ทั้งดนตรีและคำร้องทั้งหมด โดยใช้องค์ความรู้ดนตรีที่มีอยู่เดิม และจากการศึกษาบทประพันธ์อื่นเพิ่มเติม ทั้ง 7 กระบวนนี้นำเสนอกรุงเทพมหานครในมุมมองที่แตกต่างกัน โดยเจริญกรุงนั้นนำเสนอในด้านประวัติศาสตร์ของถนนสายนี้ ดาวคะนองนำเสนอมุมมองด้านการคมนาคมในกรุงเทพมหานคร สาทรนำเสนอถึงวิถีชีวิตผู้คนในเมือง พาหุรัดนั้นนำเสนอความสนุกสนานในย่านนั้น และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในขณะที่ข้าวสารนั้น ผู้วิจัยได้นำเสนอปัญหาทางสังคมที่มีอยู่ ท่าเตียนผู้วิจัยได้นำเสนอตำนานพื้นบ้านของท่าเตียน และราชดำเนินนั้นได้นำเสนอเรื่องราวทางการเมืองของกรุงเทพมหานครและประเทศไทย


ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง : แสงนิรันดร์อนันตาสำหรับซินธิไซเซอร์และวงวินด์ออร์เคสตรา, อนันท์พร เอี่ยมชาญบรรจง Jan 2022

ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง : แสงนิรันดร์อนันตาสำหรับซินธิไซเซอร์และวงวินด์ออร์เคสตรา, อนันท์พร เอี่ยมชาญบรรจง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสร้างสรรค์ผลงานของวงวินด์ออร์เคสตราที่ผสมผสานกับการใช้เสียงสังเคราะห์ของซินธิไซเซอร์ร่วมกันนั้นยังไม่มีมากมายแพร่หลายมากนักในปัจจุบันซึ่งต่างกับการใช้วงซิมโฟนีออร์เคสตราผสมผสานกับซินธิไซเซอร์ตามที่ได้ยินทั่วไปเช่นบทเพลงประกอบภาพยนตร์ต่าง ๆ โดยดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลงแสงนิรันดร์อนันตาสำหรับซินธิไซเซอร์และวงวินด์ออร์เคสตรานี้จึงถือได้ว่าเป็นการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ให้กับวงการดนตรีประเภทวงวินด์ออร์เคสตรา และวงการวิชาการดนตรี สามารถเป็นต้นแบบทางดนตรีที่ผสมผสานกันได้อย่างลงตัว โดยบทประพันธ์เพลงเป็นการบรรยายจินตนาการของการเดินทางตั้งแต่โลกสู่ห้วงอวกาศ รวมถึงการสร้างสรรค์นวัตกรรมการผสมเสียงและสีสันของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม เครื่องกระทบ และองค์ประกอบของเสียงดนตรีประเภทซินธิไซเซอร์ ให้มีความกลมกลืนกันอย่างลงตัว โดยใช้หลักการทางทฤษฎีและแนวคิดปรัชญาของดนตรีตะวันตกเพื่อพัฒนารูปแบบในการประพันธ์เพลง และสามารถเผยแพร่เป็นองค์ความรู้ใหม่ในศาสตร์ด้านการประพันธ์เพลงและการสร้างสีสันในมิติใหม่ให้กับวงวินด์ออร์เคสตรา ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลงแสงนิรันดร์อนันตาสำหรับซินธิไซเซอร์และวงวินด์ออร์เคสตราประกอบด้วย 4 ท่อน คือ ท่อนที่ 1. เอกโซสเฟียร์ (Exosphere) ท่อนที่ 2. เส้นขอบฟ้าคาร์มัน (Beyond Karman Line) ท่อนที่ 3. หมู่ดาวแห่งกาแล็กซี (Constellations of the Galaxy) และท่อนที่ 4. อนันตาดารานิรันดร์ (Ananta Dara Eternity) มีความยาวประมาณ 30 นาทีและให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันในแต่ละท่อนเพลง


ดุษฎีนิพนธ์ดนตรีสร้างสรรค์ : "ราชมงคลอีสาน ซิมโฟนีออร์เคสตรา" จิตวิญญาณแห่งวัฒนธรรมอุดรบูรพา, ดารณี เปลื้องสันเทียะ Jan 2022

ดุษฎีนิพนธ์ดนตรีสร้างสรรค์ : "ราชมงคลอีสาน ซิมโฟนีออร์เคสตรา" จิตวิญญาณแห่งวัฒนธรรมอุดรบูรพา, ดารณี เปลื้องสันเทียะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดุษฎีนิพนธ์ดนตรีสร้างสรรค์: “ราชมงคลอีสานซิมโฟนีออร์เคสตรา” จิตวิญญาณแห่งวัฒนธรรมอุดรบูรพา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์รูปแบบแนวความคิดเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอีสาน ให้กับวงราชมงคลอีสานซิมโฟนีออร์เคสตรา และสร้างสรรค์บทเพลงที่มีการการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมดนตรีพื้นถิ่นอีสานและดนตรีตะวันตกได้อย่างเหมาะสม ในรูปแบบดนตรีร่วมสมัย โดยใช้หลักทฤษฎีและเทคนิคดนตรีตะวันตกเป็นหลัก ในการเรียบเรียงเสียงประสาน การเคลื่อนที่ของคอร์ดได้เหมาะสม และการใช้เทคนิคการด้นสด เพื่อเพิ่มอรรถรสให้กับบทเพลงและความน่าสนใจให้กับเครื่องดนตรีพื้นถิ่นอีสาน เป็นต้น การสร้างสรรค์ผลงานนำเสนอให้รูปแบบ จำนวน 7 บทเพลง ได้แก่ 1.เพลงโคราชต้อนรับ 2. เพลงเดือนหงายที่ริมโขง 3. เพลงตามรักที่ธาตุหลวง 4. เพลงพี่เกี้ยวไม่เป็น 5. เพลงส้มตำ 6. เพลงสาวอีสานรอรัก 7.เพลงเต้ยโขง ความยาวประมาณ 40 นาที บรรเลงโดยวงออร์เคสตราผสมผสานการเดี่ยวเครื่องดนตรีพื้นถิ่นอีสาน


การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ : พระธาตุดอยตุง, ตั้งปณิธาน อารีย์ Jan 2022

การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ : พระธาตุดอยตุง, ตั้งปณิธาน อารีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์: พระธาตุดอยตุง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาตำนานและรูปแบบการสร้างพระธาตุดอยตุงและนำมาเป็นแรงบันดาลใจและแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์: พระธาตุดอยตุง ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลทางด้านเอกสาร ลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม ข้อมูลสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดโครงสร้างของบทเพลงและสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดในการประพันธ์มี 5 แนวคิด 1) ฐานและองค์เจดีย์ 2) กระสวนทำนองบูชาพระธาตุ 3) การสร้างสำเนียงลาวจก 4) การสร้างพระธาตุคู่กันสององค์ 5) พิธีกรรมทางศาสนา สิ่งเหล่านี้จึงเป็นแรงบันดาลใจนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์แบ่งเป็น 4 ช่วง คือ ช่วงที่ 1) ปฐมศรัทธาสมโภช ประกอบด้วย เกริ่นพระธาตุดอยตุงปฐมบทต่อด้วยจ๊อยตำนานพระธาตุดอยตุง เพลงปรากฏนาคพัน เพลงศุทธิ์สรรค์ศรัทธา ช่วงที่ 2) เรืองโรจน์รังสฤษฎ์ ประกอบด้วยเพลงอชุตราชสถาปนา เพลงลาวจกบริบาล เพลงศานต์จิตบูชาพระรากขวัญ เพลงรังสรรค์เคียงสถาพร ช่วงที่ 3) เพริศพิศบูชา ประกอบด้วยเพลงแห่น้อยดอยตุง ช่วงที่ 4) เทวารักษ์พระธาตุดอยตุง ประกอบด้วยเพลงเทวาประชารักษ์นิรันดร์ โดยการประพันธ์ใช้ลักษณะการสร้างสำเนียงเพลงและใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างทำนองเพลงขึ้นใหม่ อาศัยเพลงต้นรากและการประพันธ์โดยอัตโนมัติ สร้างสรรค์หน้าทับขึ้นใหม่ บทเพลงใช้โครงสร้างเสียงกลุ่มเสียงปัญจมูล บันไดเสียงเพียงออบน บันไดเสียงเพียงออล่าง บันไดเสียงชวา มีการสร้างสรรค์รูปแบบการประสมวงกลองชาติพันธุ์ที่พบบริเวณพระธาตุดอยตุงคือ กลองตึ่งนง กลองตะลดปด กลองเต่งถิ้ง กลองมองเซิง กลองยาวลาหู่ วงสะล้อซอซึง วงป้าดก๊อง เพื่อดำเนินทำนองสร้างสำเนียงเสียงให้เกิดอรรถรสของบทเพลงและเติมเต็มจินตภาพของพระธาตุดอยตุงให้สมบูรณ์


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากคำพังเพยที่สะท้อนถึงสังคมไทยในปัจจุบัน, มนทิรา มโนรินทร์ Jan 2022

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากคำพังเพยที่สะท้อนถึงสังคมไทยในปัจจุบัน, มนทิรา มโนรินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากคำพังเพยที่สะท้อนถึงสังคมไทยในปัจจุบัน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ สื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์ สัมมนา ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย และเกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์ นำข้อมูลมาตรวจสอบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ตามกระบวนการที่กำหนดไว้ ผลการวิจัยพบว่าการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากคำพังเพยที่สะท้อนถึงสังคมไทยในปัจจุบัน มีรูปแบบในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ทั้งสิ้น 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บทการแสดง ออกแบบบทการแสดงโดยวิเคราะห์จากคำพังเพย แบ่งออกเป็น 42 ฉากการแสดง 2) นักแสดง ใช้การคัดเลือกนักแสดงที่มีทักษะในการแสดงที่หลากหลายรวมทั้งรูปร่าง สัดส่วน สีผิว และ เพศ ที่หลากหลายในการแสดง 3) ลีลานาฏยศิลป์ ใช้ลีลาการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน การด้นสดตามหลักของนาฏยศิลป์สมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ รวมทั้งลีลาการเคลื่อนไหวเชิงละคร 4) เครื่องแต่งกาย ใช้เครื่องแต่งกายที่มีความหลากหลายของเชื้อชาติ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย เป็นต้น และเครื่องแต่งกายที่สามารถสวมใส่ได้ชีวิตประจำวัน 5) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดงที่พบเห็นได้ง่ายในชีวิตประจำวัน 6) เสียงและดนตรีประกอบการแสดง เสียงดนตรีรูปแบบบรรเลงในการใช้ประกอบการแสดง 7) ฉากและพื้นที่การแสดง ใช้สถานที่จริงให้มีความสอดคล้องกับบทการแสดง 8) แสง ใช้แสงธรรมชาติให้มีความสอดคล้องกับบทการแสดง นอกจากนี้พบว่ามีแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากคำพังเพย 6 ประการ ได้แก่ 1) คำพังเพย 2) สังคมไทย 3) ความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม 4) ความหลากหลายในงานนาฏยศิลป์ 5) การใช้สัญลักษณ์ในผลงานสร้างสรรค์ 6) แนวคิดทางด้านทัศนศิลป์ นาฏยศิลป์และดุริยางคศิลป์ ซึ่งผลการวิจัยทั้งหมดนี้มีความสอดคล้องและตรงตามวัตถุประสงค์ ของการวิจัยทุกประการ


การออกแบบเรขศิลป์ในสิ่งแวดล้อมพื้นที่สำนักงานร่วมแบ่งปัน จากแนวคิดไบโอฟิลเลีย สำหรับเจเนอเรชั่นวาย, ศศิกาญจน์ นารถโคษา Jan 2022

การออกแบบเรขศิลป์ในสิ่งแวดล้อมพื้นที่สำนักงานร่วมแบ่งปัน จากแนวคิดไบโอฟิลเลีย สำหรับเจเนอเรชั่นวาย, ศศิกาญจน์ นารถโคษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบเรขศิลป์ในสิ่งแวดล้อมพื้นที่สำนักงานร่วมแบ่งปันจาก แนวคิดไบโอฟิลเลีย สำหรับเจเนอเรชั่นวาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวคิดไบโอฟิลเลียและพฤติกรรมของเจเนอเรชั่นวาย พัฒนาสู่องค์ประกอบทางการออกแบบเรขศิลป์สำหรับพื้นที่สำนักงานร่วมแบ่งปัน ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Methods Research) ระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีการศึกษาแนวคิดไบโอฟิลเลีย ในเชิงการออกแบบเรียกว่า การออกแบบไบโอฟิลลิค เป็นการเอาธรรมชาติมาเป็นศูนย์กลางของการออกแบบ หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างเจเนอเรชั่นวาย จำนวน 411 ชุด และแบบสัมภาษณ์กลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ที่เป็นสมาชิกของสำนักงานร่วมแบ่งปัน ในขอบเขตของโครงการจำนวน 10 คน เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่สำนักงานร่วมแบ่งปันในแต่ละโซน สรุปได้ว่า 1) ส่วนต้อนรับ ต้องการกระตือรือร้น จากบรรยากาศน้ำตกมากที่สุด ร้อยละ 56.84 2) สำนักงานร่วมแบ่งปัน ต้องการให้เป็นพื้นที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ จากบรรยากาศชายหาดมากที่สุด ร้อยละ 62.77 3) สำนักงานส่วนตัว ต้องการความเป็นส่วนตัว จากบรรยากาศภูเขามากที่สุด ร้อยละ 70.75 4) ห้องประชุม ต้องการให้เป็นพื้นที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ จากบรรยากาศชายหาดมากที่สุด ร้อยละ 64.57 5) พื้นที่ทานอาหาร ต้องการการกระตุ้นความอยากอาหาร จากบรรยากาศชายหาดมากที่สุด ร้อยละ 68.52 6) คาเฟ่ ต้องการความผ่อนคลาย จากบรรยากาศชายหาดมากที่สุด ร้อยละ 70.12 7) ส่วนพักผ่อน ต้องการความผ่อนคลาย จากบรรยากาศชายหาดมากที่สุด ร้อยละ 65.21 8) ห้องสมุด ต้องการความสงบ จากบรรยากาศภูเขามากที่สุด ร้อยละ 72.90 9) ห้องปริ้นเตอร์และห้องโทรศัพท์ ต้องการบรรยากาศสะดวกสบายจากภูเขามากที่สุด ร้อยละ 76.59 สรุปผลการวิจัยด้าน การพัฒนาแนวคิดไบฟิลเลียสู่องค์ประกอบทางเรขศิลป์ สำหรับสำนักงานร่วมแบ่งปัน โดยองค์ประกอบทางเรขศิลป์ ดังนี้ 1) ความกระตือรือร้น ใช้เส้นประแนวเฉียง รูปทรงธรรมชาติ และ พื้นผิวขรุขระไม่สม่ำเสมอ 2) ความกระฉับกระเฉง ใช้เส้นนำสายตา จุดหลายขนาด และรูปร่างอิสระ 3) ความสะดวกสบาย ใช้เส้นคลื่นรูปร่างโค้งวงกว้าง และจุดค่อยๆกระจายตัว 4) …


การประพันธ์บทเพลงชุดพระพุทธบาทปูชิตชลบุรี, กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ Jan 2022

การประพันธ์บทเพลงชุดพระพุทธบาทปูชิตชลบุรี, กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่องการประพันธ์บทเพลงชุดพระพุทธบาทปูชิตชลบุรี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทในจังหวัดชลบุรี และประพันธ์บทเพลงชุดพระพุทธบาทปูชิตชลบุรี ผลการศึกษาปรากฏพบรอยพระพุทธบาทในวัดพระอารามหลวงจำนวน 6 วัด ได้แก่ วัดเขาบางทราย พระอารามหลวง วัดใหญ่อินทาราม พระอารามหลวง วัดบางพระวรวิหาร วัดจุฑาทิศธรรมสภารามวรวิหาร วัดชัยมงคล พระอารามหลวง และวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร รอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดคือรอยพระพุทธบาทที่อัญเชิญมาจากเมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย เชื่อว่าสร้างขึ้นมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.500 การประพันธ์บทเพลงชุดพระพุทธบาทปูชิตชลบุรีได้รับแรงบันดาลใจจากประวัติศาสตร์ ลักษณะเฉพาะ ประเพณี เอกลักษณ์ชาติพันธุ์และศิลปวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ประพันธ์ขึ้นตามหลักดุริยางคศิลป์ไทยด้วยวิธีการยืดยุบทำนอง ทำนองเพลงต้นราก และประพันธ์แบบอัตโนมัติ เพลงแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงแรก ทิ้กท้อบ่วงหุกส่วย ประกอบด้วย เพลงโล้เตี่ยจิว เพลงรัวจีน เพลงขึ้นฝั่ง และเพลงดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ช่วงที่สอง เพลงไป่โล่วโก้ และช่วงที่สาม พระพุทธบาทปูชิต ประกอบด้วยเพลงศรีสมุทรสมโภช เพลงรุ่งโรจน์ศรีพโล เพลงธเรศนครอินทร์ เพลงฉิ่งนิมิตบางพระ เพลงพุทธชัยมงคล เพลงภูมิพลเฉลิมชัย และจบด้วยทำนองเพลงรัวพระพุทธบาทปูชิต เป็นการบูรณาการความรู้ด้านดุริยางคศิลป์ไทยกับประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น ความเชื่อทางพระพุทธศาสนาและเผยแพร่เป็นอนุสรณ์ถึงสถานที่สำคัญ ช่วยน้อมนำจิตให้เกิดกุศลเป็นมิ่งมงคลตามคติความเชื่อของรอยพระพุทธบาท


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากพฤติกรรมหิวแสง, กนกโฉม สุนทรสีมะ Jan 2022

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากพฤติกรรมหิวแสง, กนกโฉม สุนทรสีมะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาพฤติกรรม “หิวแสง” และนำข้อมูลมาสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบและแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากพฤติกรรม “หิวแสง” โดยใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงคุณภาพและงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ที่มีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การสัมมนา สื่อสารสนเทศ เกณฑ์การสร้างมาตรฐานการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย มาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์สังเคราะห์และสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บทการแสดง โดยแบ่งออกเป็น 3 องก์ ได้แก่ องก์ 1 จุดเริ่มต้นของการ “หิวแสง” องก์ 2 การได้รับแสง และองก์ 3 การรักษาแสง 2) ลีลานาฏยศิลป์ ใช้ลีลาแบบการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน (Everyday Movement) ตามหลักนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ ลีลานาฏยศิลป์ไทยตามแบบแผน การด้นสนและการทำซ้ำ 3) การคัดเลือกนักแสดง ไม่จำกัดเพศ ใช้นักแสดงที่มีความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ไทย และความสามารถที่หลากหลาย 4) อุปกรณ์การแสดง ใช้อุปกรณ์ที่สอดคล้องกับบทการแสดง มีความเหมาะสม และเน้นการสื่อความหมาย 5) เสียงและดนตรีประกอบการแสดง ประพันธ์ขึ้นใหม่โดยใช้ดนตรีไทย สลับกับเสียงที่มีบรรยากาศในการนำเสนอการตัดต่อข่าว 6) เครื่องแต่งกาย ออกแบบเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมตามบทการแสดงโดยใช้สัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมาย และการแต่งกายตามบทบาทของตัวละคร 7) พื้นที่แสดง ออกแบบโดยใช้พื้นที่ห้องโล่งสี่เหลี่ยมเป็นพื้นที่การแสดง 8) แสง ใช้แสงที่สื่อความหมายและสะท้อนอารมณ์ตามบทการแสดง นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้คำนึงถึงแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์ผลงาน โดยคำนึงถึงแนวคิดที่สำคัญ 6 ประการ ได้แก่ 1) การคำนึงถึงพฤติกรรม “หิวแสง” 2) การคำนึงถึงการสะท้อนปัญหาสังคม 3) การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ในงานนาฏยศิลป์ 4) การคำนึงถึงการสื่อสารกับผู้ชม 5) การคำนึงถึงการใช้สัญลักษณ์ในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ และ 6) การคำนึงถึงทฤษฎีทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ ซึ่งผลการวิจัยทั้งหมดนี้มีความสอดคล้องและตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกประการ


การออกแบบเรขศิลป์ สื่อคำสอนหลวงปู่โต พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม, จักรกริศน์ บัวแก้ว Jan 2022

การออกแบบเรขศิลป์ สื่อคำสอนหลวงปู่โต พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม, จักรกริศน์ บัวแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์สื่อคำสอนหลวงปู่โต พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งมีการดำเนินงานวิจัย คือ 1. ศึกษาข้อมูลจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในเรื่องคำสอนของหลวงปู่โต จากผู้เชี่ยวชาญด้านคำสอน 2. ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องในเรื่องของสื่อนิยายภาพที่ได้รับรางวัล 3. วิเคราะห์คำสอนของหลวงปู่โต ร่วมกับสื่อกลุ่มตัวอย่างนิยายภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านคำสอน ผู้เชี่ยวชาญด้านเรขศิลป์ และด้านภาพประกอบเรื่อง เป็นจำนวน 2 ระยะ 4. คัดกรองกลุ่มตัวอย่างนิยายภาพจากเกณฑ์ของ Krejcie & Morgan และวิเคราะห์ร่วมกับแนวคิดในการออกแบบ 4 แนวคิด โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการนิเทศศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านเรขศิลป์ และด้านภาพประกอบ 5. เรียบเรียงเนื้อเรื่องเพื่อสร้างสรรค์ผลงานต้นแบบ และตรวจสอบโดยกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ได้แนวทางการออกแบบเรขศิลป์ที่เหมาะสม ผลสรุปงานวิจัยพบว่าสามารถระบุคำสอนหลักของหลวงปู่โต พรหมรังสีได้ 4 เรื่อง คือ 1.เรื่อง “ธรรม”, 2. เรื่อง “การดับทุกข์”, 3. เรื่อง “อุปทาน” และ 4 . เรื่อง “ทางสายกลาง” โดยสามารถใช้เป็นแนวทางการออกแบบเรขศิลป์ร่วมกับข้อสรุปจาก 4 แนวคิดได้ ประกอบด้วย 1. ทฤษฎีการเล่าเรื่อง (Storytelling) จำนวน 6 แนวทาง, 2. ทฤษฎีภาพประกอบเรื่อง (Illustration) จำนวน 6 แนวทาง, 3. ทฤษฎีการจัดองค์ประกอบภาพ (Composition) จำนวน 6 แนวทาง และ 4. ทฤษฎีการออกแบบตัวละคร (Character Design) จำนวน 6 แนวทาง ซึ่งสามารถสร้างความน่าสนใจ และสามารถดึงดูด จากการทดสอบกลุ่มเป้าหมายกลุ่ม Digital Native ได้เป็นอย่างดี


ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง : อนุภาพสีสันเสียงสังเคราะห์แห่งยูโทเปียสำหรับอิเล็กทริกเบสและนิทรรศน์เสียงอะคูสติกอองซอมเบิล, กานต์ บุณยเกียรติ Jan 2022

ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง : อนุภาพสีสันเสียงสังเคราะห์แห่งยูโทเปียสำหรับอิเล็กทริกเบสและนิทรรศน์เสียงอะคูสติกอองซอมเบิล, กานต์ บุณยเกียรติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: อนุภาพสีสันเสียงสังเคราะห์แห่งยูโทเปียสำหรับอิเล็กทริกเบส และนิทรรศน์เสียงอะคูสติกอองซอมเบิล เป็นบทประพันธ์เพลงที่ได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือยูโทเปีย สัดส่วนทองคำ ลำดับเลขฟีโบนัชชี ผสมผสานแนวคิดทฤษฎีดนตรีตะวันตก พร้อมทั้งการนำความซาบซึ้งในศิลปะคิวบิสม์ของผู้ประพันธ์มาสนับสนุน ส่งเสริม และสร้างมิติสีสันเสียงให้กับบทประพันธ์ อีกทั้งการนำลักษณะเฉพาะของอิเล็กทริกเบสในด้านเทคนิคมาเป็นองค์ประกอบในแนวทำนอง และจังหวะ เพื่อสร้างความโดดเด่น ผู้ประพันธ์กำหนดให้อิเล็กทริกเบสบรรเลงร่วมกับวงอะคูสติกอองซอมเบิล บทประพันธ์แบ่งออกเป็น 4 ท่อนได้แก่ The Paradoxical One, The Fibonacci Sequence, The Iconic และ Cubism ซึ่งในท่อนที่ 1 และ 2 ผู้ประพันธ์ตีความ และสังเคราะห์จากบริบทในหนังสือยูโทเปีย สัดส่วนทองคำ และลำดับเลขฟีโบนัชชี ผสมผสานกับความซาบซึ้งในศิลปะคิวบิสม์มาสร้างสรรค์โดยการใช้รูปโครงหน้าของผู้ประพันธ์เพื่อสร้างลักษณะเฉพาะตัว ท่อนที่ 3 ผู้ประพันธ์นำเสนอทฤษฎีดนตรีตะวันตก ผสมผสานกับแนวทำนองเพลงพื้นบ้านไทย สุดท้ายในท่อนที่ 4 ผู้ประพันธ์ได้นำแนวความคิดจากท่อนที่ 1 และ 2 กลับมาใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ประพันธ์ในท่อนจบ บทประพันธ์เพลงชุดนี้มีผู้บรรเลง 7 คนประกอบด้วยกลอง เปียโน ทรอมโบน อัลโตแซกโซโฟน โซปราโนแซกโซโฟน และทรัมเป็ต มีการบันทึกโน้ตด้วยโปรแกรม Sebelius มีความยาว 30 นาทีโดยประมาณ จากนั้นได้นำผลงานออกแสดงสู่สาธารณะ สื่อออนไลน์ และระดับนานาชาติ


การออกแบบโฆษณายั่วยุสำหรับการรณรงค์เพื่อสังคม, ณวัฒน์ อินทอง Jan 2022

การออกแบบโฆษณายั่วยุสำหรับการรณรงค์เพื่อสังคม, ณวัฒน์ อินทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อหาแนวทางในการออกแบบโฆษณายั่วยุสำหรับการรณรงค์เพื่อสังคม 2) เพื่อหาวิธีประยุกต์ใช้แนวทางการออกแบบโฆษณายั่วยุสำหรับการรณรงค์เพื่อสังคม โดยมีวิธีวิจัยคือ 1.ทำการรวบรวมชิ้นงานโฆษณาแนวทางปฎิบัติอันเป็นเลิศจาก2สถาบันคือ D&AD และ The One Show ปี พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 203 ชิ้น ทำการตรวจสอบคุณสมบัติชิ้นงานที่ใช้ศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญโดยการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม จากนั้น 2.ผู้วิจัยศึกษาและรวบรวมข้อมูลแนวคิดการยั่วยุอารมณ์เพื่อกำหนดคำสำคัญจากร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อสร้างเครื่องมือที่1 สำหรับคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างภาพโฆษณาที่มีลักษณะยั่วยุอารมณ์ 3. ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา และ ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อประชาสัมพันธ์ จากนั้น 4. ผู้วิจัยนำกลุ่มตัวอย่างจำนวน 63 ชิ้นมาวิเคราะห์ร่วมกับแนวคิดการออกแบบโฆษณา 6 แนวคิดได้แก่ 1) กลยุทธ์การสร้างสรรค์สารโฆษณา 2) แนวคิดจุดจับใจในงานโฆษณา 3) การนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ 4) แนวคิดด้านการออกแบบเรขศิลป์ 5) แนวคิดรูปแบบการสร้างสรรค์ภาพ 6) แนวคิดวิธีการเล่าเรื่อง 5. นำผลวิเคราะห์ไปตรวจสอบความถูกต้องของการวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม และสัมภาษณ์เชิงลึก ผลสรุปงานวิจัยพบว่าคำสำคัญของการยั่วยุอารมณ์มีทั้งหมด 12 คำ การใช้กลยุทธ์การสร้างสรรค์สารโฆษณา คือ 1) สารประเภทอารมณ์ 2) สารประเภทการอ้างเหตุผลสนับสนุน 3) สารประเภทการใช้ข้อมูล แนวคิดจุดจับใจในงานโฆษณา คือ 1) จุดจับใจความกลัว 2) จุดจับใจอารมณ์ 3) จุดจับใจทางเพศ แนวคิดการนำเสนอแนวความคิดสร้างสรรค์คือ 1) รูปแบบการสร้างอารมณ์ร่วมให้รู้สึกตื้นตัน เศร้าใจ 2) รูปแบบการอุปมาอุปไมย 3) คำให้การและคำรับรอง แนวคิดวิธีการเล่าเรื่องคือ 1) รูปแบบการเริ่มต้นด้วยความผิดพลาด 2) รูปแบบการเริ่มต้นด้วยประโยคที่สร้างความสนใจและแรงบันดาลใจ 3) รูปแบบการเล่าเปิดประเด็นไว้แล้วนำเสนอเรื่องอื่น แนวคิดการนำเสนอแนวความคิดสร้างสรรค์ และ แนวคิดวิธีเล่าเรื่อง แนวคิดด้านการออกแบบเรขศิลป์ คือ 1) รูปแบบการก้าวเข้าสู่สีเอกรงค์ 2) รูปแบบการใช้ภาพถ่ายและภาพวาดร่วมกัน 3) รูปแบบและพื้นผิว แนวทางการใช้แนวคิดรูปแบบการสร้างสรรค์ภาพ คือ 1) รูปแบบภาพการใช้รูปแบบ …


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากภาวะการเรียนรู้ถดถอย, ณัฐนิช ธรณธรรมกุล Jan 2022

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากภาวะการเรียนรู้ถดถอย, ณัฐนิช ธรณธรรมกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้วิจัย ได้ศึกษาสาเหตุและผลกระทบของการเกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอยและนำข้อมูลดังกล่าวมาสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบและแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากภาวะการเรียนรู้ถดถอย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและการทดลองและวิจัยสร้างสรรค์ผลงานการแสดงทางด้านศิลปะ ที่มีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การสัมมนา สื่อสารสนเทศ เกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย มาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสร้างสรรค์ในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บทการแสดง ได้มาจากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุและผลกระทบของภาวะการเรียนรู้ถดถอย โดยแบ่งการแสดงออกเป็น 4 องก์ ได้แก่ องก์ที่ 1 บทนำ องก์ที่ 2 สาเหตุของภาวะการเรียนรู้ถดถอย องก์ที่ 3 ผลกระทบของภาวะการเรียนรู้ถดถอย และองก์ที่ 4 บทสรุป 2) ลีลานาฏยศิลป์ มีการใช้ลีลานาฏยศิลป์ตะวันตกในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ นาฏยศิลป์รูปแบบบัลเลต์คลาสสิก นาฏยศิลป์รูปแบบแจ๊สสมัยใหม่ นาฏยศิลป์สมัยใหม่ นาฏยศิลป์ร่วมสมัย นาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ ที่ใช้การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน และการเคลื่อนไหวลีลาท่าทางแบบทำซ้ำ การด้นสดและการใช้ศิลปะการแสดง 3) คัดเลือกนักแสดง คัดเลือกจากทักษะความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ตะวันตก การด้นสดและศิลปะการละคร ประสบการณ์ของผู้แสดง และมีคุณลักษณะของผู้แสดงอันพึงประสงค์ โดยไม่คำนึงถึงเรื่องเพศและรูปร่าง จำนวนทั้งสิ้น 7 คน 4) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ใช้แนวคิดการใช้สัญลักษณ์ในการสื่อความหมายทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งการคำนึงถึงความเหมาะสมในการเลือกใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดง ได้แก่ เก้าอี้ สมุด ชั้นวางของ ขนม หมอน กระเป๋า 5) เสียงและดนตรีประกอบการแสดง ใช้เสียงระฆังโรงเรียน เสียงเข็มนาฬิกา เสียงข่าวที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านการเรียนรู้ถดถอย และปัญหาทางด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้อง และเสียงดนตรีบรรเลง 6) เครื่องแต่งกาย ใช้แนวคิดการใช้สัญลักษณ์ในการออกแบบเครื่องแต่งกายตามบทบาทของตัวละคร โดยการเลือกใช้เครื่องแต่งกายในชีวิตประจำวันและเครื่องแบบนักเรียน 7) พื้นที่การแสดง ใช้พื้นที่ห้องสตูดิโอ ในการถ่ายทำการแสดง 8) แสง ใช้ทฤษฎีทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ ในการออกแบบแสงที่สื่อถึงบรรยากาศและอารมณ์ของการแสดง นอกจากนี้ผู้วิจัยได้คำนึงถึงแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ โดยคำนึงถึงแนวคิดสำคัญ 6 ประการ ได้แก่ 1) การคำนึงถึงแนวคิดภาวะการเรียนรู้ถดถอย 2) การคำนึงถึงแนวคิดการสะท้อนปัญหาสังคมไทย 3) การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ …


ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง : “อู่ฮั่น” ตำนานชัยชนะแห่งมนุษยชาติสำหรับวงแจ๊สอองซอมเบลอร่วมสมัย, พุทธพร ลี้วิเศษ Jan 2022

ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง : “อู่ฮั่น” ตำนานชัยชนะแห่งมนุษยชาติสำหรับวงแจ๊สอองซอมเบลอร่วมสมัย, พุทธพร ลี้วิเศษ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์: “อู่ฮั่น” ตำนานชัยชนะแห่งมนุษยชาติสำหรับวงแจ๊สอองซอมเบลอร่วมสมัย ประพันธ์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมบทประพันธ์เพลงบทใหม่ ซึ่งตีความจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ในประเทศไทย โดยเป็นการนำเรื่องราวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในช่วงต่างๆ ของประเทศไทยมาถอดความเพื่อนำมาสร้างสรรค์เป็นบทประพันธ์ที่มีสำเนียง ลีลาสีสัน และถ่ายทอดความรู้สึกในรูปแบบดนตรีแจ๊สร่วมสมัย โดยบูรณาการแนวคิดของดนตรีแจ๊ส ดนตรีคลาสสิก และดนตรีร่วมสมัย รวมถึงใช้เทคนิคการประพันธ์ต่างๆ และการถอดสัญญะของบทเพลง ได้แก่ เพลง ช้าง แสดงถึง ประเทศไทย เพลง ธรณีกรรแสง เป็นตัวแทนความโศกเศร้า มาเป็นวัตถุดิบในการประพันธ์ บทประพันธ์เพลงนี้มีความยาวโดยรวมประมาณ 40 นาที ประกอบด้วย 5 บทเพลง ได้แก่ บทประพันธ์เพลงที่ 1 The Attack: BKK 3/26/2020 แสดงถึงจุดเริ่มต้นสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โคโรนา 2019 ในประเทศไทย ประพันธ์เพลงที่ 2 The Chaos แสดงถึงความแตกตื่นของผู้คน บทประพันธ์เพลงที่ 3 The Sacrificing แสดงถึงความเสียสละและความสูญเสียที่เกิดขึ้น บทประพันธ์เพลงที่ 4 Time of the Black Shadow สะท้อนถึงความมืดมนของประเทศจากการระบาดแพร่ของไวรัสโคโรนา 2019 หลายระลอก และ บทประพันธ์เพลงที่ 5 Rising of the Heroes แสดงถึงความยืนหยัดต่อสู้และสุดท้ายเราได้ผ่านพ้นไป การนำเสนอบทประพันธ์เพลงประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดอย่างสมบูรณ์ เป็นผลงานวิชาการทางด้านการประพันธ์เพลงที่ผสมผสานระหว่างองค์ความรู้ทางดนตรีร่วมกับการเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน


ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง : อานุภาพเสียงแห่งอุปราคาสำหรับซินธิไซเซอร์และวงเครื่องกระทบ, พนัส ต้องการพานิช Jan 2022

ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง : อานุภาพเสียงแห่งอุปราคาสำหรับซินธิไซเซอร์และวงเครื่องกระทบ, พนัส ต้องการพานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: อานุภาพเสียงแห่งอุปราคาสำหรับซินธิไซเซอร์และวงเครื่องกระทบ เป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ของศาสตร์ดนตรีตะวันตก ที่ประพันธ์เกี่ยวข้องกับการเกิดสุริยุปราคาและการเกิดจันทรุปราคา ที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการหมุนของโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ จนเกิดปรากฏการณ์เป็นแสงเงาในรูปแบบต่าง ๆ อีกทั้งยังรวมถึงความเชื่อของชาวไทยในสมัยโบราณที่มักจะเข้าใจว่าปรากฏการณ์ทั้งสองนี้คือการเกิดลางร้าย เกิดภัยพิบัติ เกิดเหตุโศกนาฏกรรม จากที่เทพองค์หนึ่งชื่อว่า “ราหู” มีความโกรธแค้นพระอาทิตย์และพระจันทร์ จึงไล่อมพระอาทิตย์และพระจันทร์ส่งผลให้เกิดเป็นปรากฏการณ์ดังกล่าว โดยผู้วิจัยได้ดึงลักษณะความสำคัญของปรากฏการณ์นี้ออกมาเป็น สี่ประเด็นเพื่อใช้ในการสร้างสรรค์บทเพลง ได้แก่ ดาร์กเนสแอทนูน: ตำนานของดวงอาทิตย์, ภีนัมบา: เงามัว, บลัดมูน: แสงจันทร์สีเลือด และ ราหู: เทพแห่งเงา


การออกแบบเรขศิลป์เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์สำหรับนิเวศวัฒนธรรมด้านงานหัตถกรรม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ปราง ศิลปกิจ Jan 2022

การออกแบบเรขศิลป์เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์สำหรับนิเวศวัฒนธรรมด้านงานหัตถกรรม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ปราง ศิลปกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยการออกแบบเรขศิลป์เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์สำหรับนิเวศวัฒนธรรมด้านงานหัตถกรรม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์เพื่อการสื่อสารอัตลักษณ์สำหรับนิเวศวัฒนธรรมด้านงานหัตถกรรม 2.) เพื่อหาแนวทางการนำอัตลักษณ์รูปแบบกระบวนการสร้างสรรค์งานหัตถกรรมมาใช้ในงานออกแบบเรขศิลป์ และ 3.) เพื่อสร้างสรรค์ต้นแบบการออกแบบเรขศิลป์เพื่อการสื่อสารอัตลักษณ์นิเวศวัฒนธรรมด้านงานหัตถกรรม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่ ขอบเขตพื้นที่ศึกษา นิเวศวัฒนธรรมด้านงานหัตถกรรมจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม(Mixed Methods Research) ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ร่วมกับการออกแบบทางศิลปกรรม โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลแบบการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศวัฒนธรรมงานหัตถกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญางานหัตถกรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์และเรขศิลป์เคลื่อนไหว และการประเมินความพึงพอใจของต้นแบบผ่านแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มเป้าหมายทางการออกแบบ ในด้านการออกแบบเรขศิลป์พบว่า การศึกษาองค์ความรู้และแนวทางการนำอัตลักษณ์ของงานหัตถกรรมทั้งในด้านอัตลักษณ์และกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสื่อสารผ่านงานออกแบบเรขศิลป์นั้นยังขาดรูปแบบมาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการนำอัตลักษณ์งานหัตถกรรมมาใช้ ทำให้รูปแบบงานออกแบบเรขศิลป์สำหรับนิเวศวัฒนธรรมด้านงานหัตถกรรมมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน มีการสื่อสารแบบตรงไปตรงมา และไม่สามารถดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวได้ จึงนำมาสู่คำถามงานวิจัยคือแนวทางการออกแบบเรขศิลป์เพื่อการสื่อสารอัตลักษณ์สำหรับนิเวศวัฒนธรรมด้านงานหัตถกรรม จากอัตลักษณ์และรูปแบบการเคลื่อนไหวภายใต้กระบวนการการสร้างสรรค์ผลงานหัตถกรรมสำหรับนิเวศวัฒนธรรมด้านงานหัตถกรรมควรเป็นอย่างไร ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าอัตลักษณ์งานหัตถกรรมแต่ละประเภทสามารถสื่อสารผ่านองค์ประกอบทางการออกแบบเรขศิลป์ และสามารถนำผลคำตอบมาประยุกต์ใช้ในงานออกแบบเรขศิลป์เพื่อสร้างสรรค์สื่อด้านการออกแบบสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้ โดยหากนำอัตลักษณ์เด่นของแต่ละพื้นที่นิเวศวัฒนธรรมตามองค์ประกอบทางการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Placemaking) คือ ทรัพยากรทางวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และเรื่องราวของชุมชน จะทำให้การออกแบบเรขศิลป์เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์งานหัตถกรรมสามารถสร้างความแตกต่างและนำเสนออัตลักษณ์ของพื้นที่นิเวศวัฒนธรรมเฉพาะได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น


การสร้างสรรค์บทเพลงเทิดพระเกียรติชุด พระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน, อนันท์สิทธิ์ การหนองใหญ่ Jan 2022

การสร้างสรรค์บทเพลงเทิดพระเกียรติชุด พระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน, อนันท์สิทธิ์ การหนองใหญ่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์บทเพลงเทิดพระเกียรติชุด พระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการประพันธ์เพลงชุดพระแม่อยู่หัวของแผ่นดินและเพื่อสร้างสรรค์ผลงานด้านดุริยางคศิลป์ไทยในบทเพลงชุด พระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาข้อมูลเอกสารและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านดุริยางศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า พระราชประวัติของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ จำแนก 6 ด้านได้แก่ ด้านความมั่นคงของชาติ ด้านการอนามัยและสังคมสงเคราะห์ ด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านศิลปาชีพ ด้านการศึกษา และด้านศิลปวัฒนธรรม วิธีการประพันธ์ยึดหลักการประพันธ์เพลงไทยอันสื่อถึงบทเพลงแห่งความมงคล สื่อพระราชประวัติช่วงต่าง ๆ ใช้กลวิธีบรรเลงลักษณะบรรยายเรื่องราว แบ่งทำนองออกเป็น 4 ช่วง รวม 9 บทเพลง ได้แก่ เพลงแรกแย้ม เพลงพระราชประวัติ 3 ท่อน (ท่อน 1 เสียงของแม่ ท่อน 2 แผ่ไทยผอง ท่อน 3 ชนซาบซึ้ง) เพลงพระราชกรณียกิจ 6 เพลงได้แก่ เพลงแดนดิน เพลงแพทย์หลวง เพลงอนุรักษ์ เพลงสืบศิลป์ เพลงดินสอ เพลงมรดก และส่วนสุดท้ายเป็นช่วงเพลงสรรเสริญ ได้แก่ เพลงพระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน โดยมีวิธีการประพันธ์ทำนองเพลง 3 รูปแบบ รูปแบบแรก การนำทำนองต้นรากส่วนหนึ่งของบางเพลง นำมาเป็นทำนองสัญลักษณ์ในการประพันธ์เพลงใหม่ ได้แก่ เพลงกราวรำ สองชั้น เพลงลาวดวงเดือน เพลงเต่ากินผักบุ้ง เพลงเต่าเห่ ประพันธ์ทำนองเพลงใหม่ได้แก่ เพลงแรกแย้ม (เพลงกราวรำ สองชั้น) เพลงพระราชประวัติ ท่อน 1 เพลงเสียงของแม่ (เพลงใกล้รุ่ง) เพลงพระราชประวัติ ท่อน 2 เพลงชนซาบซึ้ง (เพลงเต่าเห่) เพลงขับไม้บัณเฑาะว์ (เพลงดินแดน) เพลงมรดก (เพลงลาวดวงเดือน) และเพลงพระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน (เพลงเต่ากินผักบุ้งและเพลงเต่าเห่) รูปแบบที่สอง การอัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 9 ได้แก่ เพลงใกล้รุ่งและเพลงสายฝน มาเป็นต้นรากในการประพันธ์ ได้แก่ เพลงพระราชประวัติ เพลงที่ 1 คือเพลงเสียงของแม่ (เพลงใกล้รุ่ง) และเพลงแพทย์หลวง (เพลงสายฝน) …


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการแสดงเฉพาะที่ ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย, อุบลวรรณ โตอวยพร Jan 2022

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการแสดงเฉพาะที่ ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย, อุบลวรรณ โตอวยพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการแสดงเฉพาะที่ ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย วัดช้างล้อม โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ สื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์ การสัมมนา ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย และเกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์ นำข้อมูลมาตรวจสอบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ตามกระบวนการที่กำหนดไว้ ผลการวิจัยพบว่าการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการแสดงฉพาะที่ ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีรูปแบบในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ทั้งสิ้น 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การเลือกพื้นที่ที่ใช้ในการนำเสนอ คือ วัดช้างล้อมณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ประกอบไปด้วย ระเบียงคด เจดีย์ และวิหาร 2) บทการแสดง แบ่งออกเป็น 5 องก์ ได้แก่ องก์ที่ 1 อารัมภบท (Overture) องก์ที่ 2 สำรวจ (Explore) องก์ที่ 3 ประทับใจ (Impress) องก์ที่ 4 แสดงออก (Express) และองก์ที่ 5 สรุป (Conclusion) 3) ลีลานาฏยศิลป์แสดงออกผ่านลีลาการเคลื่อนไหวที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (Everyday Movement) และการด้นสด (Improvisation) 4) ผู้วิจัยคัดเลือกนักแสดงที่มีทักษะนาฏยศิลป์ไทยและนาฏยศิลป์ร่วมสมัย 5) เครื่องแต่งกายให้ความสำคัญกับรูปแบบที่เรียบง่าย มีความกลมกลืนกับพื้นที่ ออกแบบในรูปแบบที่ไม่เจาะจงเพศ 6) เสียงและดนตรีประกอบการแสดงได้แก่ เสียงธรรมชาติ และดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ และ 7) แสงที่ใช้ประกอบการแสดง ใช้แสงธรรมชาติ เรียงตามลำดับจากองก์ 2-5 เป็นแสงในช่วงเวลา บ่าย เย็น เช้า สาย นอกจากนี้ผู้วิจัยยังหาแนวคิดที่ได้หลังการแสดงที่ต้องคำนึงถึง 5 ประการ ได้แก่ 1) สถานที่และโบราณสถาน ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) ความคิดสร้างสรรค์ในงานนาฏยศิลป์ 3) การออกแบบพื้นที่ 4) …


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากนิทรรศการผลงานทางนาฏยศิลป์ของ นราพงษ์ จรัสศรี, ภัคคพร พิมสาร Jan 2022

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากนิทรรศการผลงานทางนาฏยศิลป์ของ นราพงษ์ จรัสศรี, ภัคคพร พิมสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากนิทรรศการผลงานทางนาฏยศิลป์ของนราพงษ์ จรัสศรี มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบและแนวคิดที่ได้หลังการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ ด้วยรูปแบบการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และเชิงคุณภาพ ที่มีกระบวนการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ สื่อสารสนเทศ การสัมมนาประสบการณ์ของผู้วิจัย เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์มีองค์ประกอบ 8 ประการ ได้แก่ 1) การออกแบบบทการแสดง จากแก่นเรื่อง “การเดินทางสู่ความสำเร็จ” ด้วยวิธีการเล่าเรื่อง (Storytelling) และการใช้เทคนิคแบบปะติด (Collage) นำไปสู่ความเป็นเลิศทั้ง 3 ประการของนราพงษ์ จรัสศรี ประกอบด้วย ในฐานะนักแสดง นักออกแบบสร้างสรรค์และนักวิชาการ โดยแบ่งออกเป็น 2 องก์การแสดง ประกอบด้วย องก์ 1 มี 5 ฉาก และองก์ 2 มี 5 ฉาก 2) การคัดเลือกนักแสดง เป็นผู้ที่มีทักษะทางด้านศิลปะการละครเป็นหลัก ประกอบทักษะทางด้านนาฏยศิลป์ 3) การออกแบบลีลานาฏยศิลป์ มีการใช้ลีลานาฏยศิลป์ไทย บัลเลต์ การเต้นแจ๊ส นาฏยศิลป์ร่วมสมัย นาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ด้วยการใช้ลีลาท่าทางในกิจวัตรประจำวัน (Everyday Movement) ลีลาการด้นสด (Improvisation) และการเต้นแบบสมัยนิยม อาทิ การเต้นป๊อปปิ้ง (Popping) และการเต้นฮิปฮอป (Hiphop) ในรูปแบบนาฏยการแสดง (Dance Theatre) มาบูรณาการกับเส้นทางการสัญจรในการชมนิทรรศการด้วยการจัดวางแบบรูป (Pattern) ทิศทางการเคลื่อนที่ของนักแสดง 4) การออกแบบเสียงและดนตรีที่ใช้ในการแสดง เป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมไทยด้วยเสียงขลุ่ย และวัฒนธรรมตะวันตกด้วยแซ็กโซโฟน ประกอบกับเพลงตามยุคสมัยในช่วงชีวิตของนราพงษ์ จรัสศรี และการแต่งเพลงแร็พ (Rap) ขึ้นมาใหม่ที่สามารถสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ได้5) การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง แบ่งออกเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดงขนาดใหญ่ที่เคลื่อนย้ายได้ (Set Props) ได้แก่ รองเท้าบัลเลต์ และหนังสือขนาดใหญ่ และอุปกรณ์ประกอบการแสดง (Prop) ได้แก่ รูปภาพ กระเป๋าเดินทาง เก้าอี้ โหลแก้วทรงกระบอก ชิงช้า 6) การออกแบบเครื่องแต่งกายที่เน้นความเรียบง่าย (Simplicity) นำลักษณะเด่นของเครื่องแต่งกายแต่ละประเภทมาสื่อความหมายแทน 7) …


ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง : จิตวิญญาณ ลีลา อารมณ์ “ขนมสงขลา” สวีทสำหรับวงวินด์ออนซอมเบิล, ดรุณี อนุกูล Jan 2021

ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง : จิตวิญญาณ ลีลา อารมณ์ “ขนมสงขลา” สวีทสำหรับวงวินด์ออนซอมเบิล, ดรุณี อนุกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: จิตวิญญาณ ลีลา อารมณ์ “ขนมสงขลา” สวีทสำหรับวงวินด์ออนซอมเบิล เป็นบทประพันธ์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากรสชาติและสีสันที่หลากหลายของขนมพื้นบ้านสงขลาจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ขนมการอจี้ ขนมม่อฉี่ ขนมบอก ขนมดู และขนมเดือนสิบ เทคนิคและวิธีการสร้างสรรค์ใช้การผสมผสานวัฒนธรรมระหว่างดนตรีตะวันตกและตะวันออก ซึ่งนำเอาเอกลักษณ์อันโดดเด่นของท่วงทำนอง ลีลาจังหวะ ของรองเง็งศิลปะการแสดงพื้นเมืองของชาวไทยมุสลิมมาประยุกต์พัฒนาสร้างสรรค์ในมิติทางดนตรี เช่น การสร้างพื้นผิวของบทเพลง การดำเนินแนวประสาน การเรียบเรียงเสียงวงดนตรี เป็นต้น บทประพันธ์ประกอบไปด้วย 7 ท่อนที่มีเอกภาพโดดเด่น ได้แก่ ท่อนที่ 1 อารัมภบท ท่อนที่ 2 ทองงาม ท่อนที่ 3 ขาวละมุน ท่อนที่ 4 หอมไม้ ท่อนที่ 5 นิลกาฬ ท่อนที่ 6 บุญบูชา และ ท่อนที่ 7 บทส่งท้าย แต่ละท่อนมีความยาว 3-6 นาที ทั้งสวีทมีความยาวรวม 30 นาที


ศิลปะภาพถ่าย: อัตลักษณ์บนเรือนร่าง, เอกอมร ภัทรกิจพงศ์ Jan 2021

ศิลปะภาพถ่าย: อัตลักษณ์บนเรือนร่าง, เอกอมร ภัทรกิจพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเชิงสร้างสรรค์หัวข้อ ศิลปะภาพถ่าย: อัตลักษณ์บนเรือนร่าง มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะผ่านการหยิบยืมภาษาและวิธีการแสดงออกจากผลงานศิลปะป๊อป อาร์ต (Pop Art) และกระแสเคลื่อนไหวทางศิลปะกลุ่ม เดอะ พิคเจอร์ส เจเนอเรชั่น (The Pictures Generation) และ2. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่นำอัตลักษณ์ของแบรนด์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกจากสินค้าบนเรือนร่าง มาใช้ในการสำรวจและทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบความหมายและคุณค่าเชิงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของแบรนด์ ที่มีบทบาทความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมบริโภคร่วมสมัย การสร้างสรรค์ผลงานมีกรอบคิดมาจากการทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมบริโภคแบรนด์ และวัฒนธรรมทางสายตา นำมาสู่แนวความคิดในการใช้อัตลักษณ์ที่มองเห็นได้ (graphical identity) ของแบรนด์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกมาแสดงออกทางศิลปะ ภายใต้เนื้อหาที่กำหนดขึ้นจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับที่ผู้วิจัยพบเห็นในชีวิตประจำวัน และการลงพื้นที่สำรวจตลาดนัดกลางคืนเซฟวัน จังหวัดนครราชสีมา แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานเป็นรูปแบบการหยิบยืม (Appropriation) ภาษาและวิธีการแสดงออกทางศิลปะจากป๊อป อาร์ต (Pop Art) และกระแสเคลื่อนไหวทางศิลปะกลุ่ม เดอะ พิคเจอร์ส เจเนอเรชั่น (The Pictures Generation) ซึ่งมีส่วนช่วยในการสื่อสารเนื้อหาและถ่ายทอดแนวคิด จากกระบวนการสร้างสรรค์ทำให้ได้ผลงานศิลปะจากสื่อภาพถ่ายและโปรแกรมตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์ จำนวน 4 ชุด โดยผลงานได้สะท้อนและเน้นย้ำให้เห็นถึงสาระสำคัญเกี่ยวกับกลิ่นอาย (aura) ของแบรนด์ที่ปรากฏขึ้นในการรับรู้ผ่านการทำงานของ รูปร่าง รูปทรง สี ตัวอักษร ตลอดจนลวดลายบางอย่าง เผยให้เห็นแง่มุมความสัมพันธ์กับรูปแบบการใช้เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับที่มีรูปลักษณ์ให้การสื่อสารถึงแบรนด์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกในบริบทของสังคมไทยที่คุ้นชิน นอกจากนี้ จากกระบวนการสร้างสรรค์ทำให้ได้ข้อค้นพบจากการนำสีอัตลักษณ์ของแบรนด์มาแสดงออก ซึ่งให้ผลทางการรับรู้แตกต่างไปจากรูปแบบผลงานศิลปะแนวนามธรรมที่มักอิงอยู่กับการรับรู้ตามหลักทฤษฎีสีหรือจิตวิทยาสี แสดงให้เห็นถึงการขยายขอบเขตการแสดงออกด้วยสีในงานศิลปะที่เชื่อมโยงอยู่กับวัฒนธรรมบริโภคและการรับรู้ต่ออัตลักษณ์ของแบรนด์


การออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์จากกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่ดอยตุงโดยใช้ทฤษฎีความยั่งยืนเพื่อการส่งออกประเทศญี่ปุ่น, โศภิษฐ์ คงคากุล Jan 2021

การออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์จากกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่ดอยตุงโดยใช้ทฤษฎีความยั่งยืนเพื่อการส่งออกประเทศญี่ปุ่น, โศภิษฐ์ คงคากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากกระแสอุตสาหกรรมแฟชั่นที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อผลิตเส้นใยธรรมชาติเกินความพอดีจนก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมตามมา ส่งผลให้ทั่วโลกตื่นตัวกับการใช้ทรัพยากรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อรีไซเคิลทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้เกิดเป็นทรัพยากรใหม่ด้วยหลักการหมุนเวียนเพื่อบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันขยะจากพลาสติกประเภทโพลีเอทธิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate : PET) ก็เป็นขยะที่ส่งผลกระทบอย่างมากในปัจจุบัน โดยขวดพลาสติกประเภทโพลีเอทธิลีนเทเรฟทาเลตเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลและสามารถขึ้นรูปได้หลากหลายโดยไม่สูญเสียคุณสมบัติรวมทั้งยังสามารถลดพลังงานในการผลิตและต่ออายุให้กับวัสดุได้อีกด้วย อย่างไรก็ดีเส้นใยจากโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในกลุ่มสินค้าหัตถกรรมเนื่องจากส่วนใหญ่นิยมใช้วัสดุจากธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการผลิตยิ่งกว่า ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นโอกาสและช่องว่างทางการตลาดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืนควบคู่กับการผสมผสานทุนวัฒนธรรมให้เกิดเป็นสินค้าหัตถกรรมที่รักษ์สิ่งแวดล้อมโดยมีการใช้ทุนวัฒนธรรมจากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่ดอยตุงเนื่องจากมีความสอดคล้องด้านวิถีชีวิตที่มีแนวคิดของการอนุรักษ์วัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืนโดยการนำโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลมาใช้กระบวนการทอมือด้วยภูมิปัญญาชาติพันธุ์เกิดเป็นอัตลักษณ์จำเพาะใหม่ของผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ ขณะเดียวกันประเทศญี่ปุ่นก็เป็นตลาดส่งออกที่มีแนวคิดสอดคล้องกันเนื่องจากเป็นประเทศที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและยังคงสามารถปลูกฝังแนวคิดการอนุรักษ์วัฒนธรรมเอาไว้ได้ ดังนั้น การออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้ทฤษฎีความยั่งยืนและกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่ดอยตุงจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของสินค้าที่จะตอบสนองช่องว่างและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในประเทศญี่ปุ่น


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์งานของศิลปินทางด้านนาฏยศิลป์ในสังคมอุดมคติ, ภูวนัย กาฬวงศ์ Jan 2021

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์งานของศิลปินทางด้านนาฏยศิลป์ในสังคมอุดมคติ, ภูวนัย กาฬวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาปัจจัยที่สร้างขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์งานของศิลปินทางด้านนาฏยศิลป์ในสังคมอุดมคติ และนำข้อมูลมาสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบและแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์งานของศิลปินทางด้านนาฏยศิลป์ในสังคมอุดมคติ โดยใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงคุณภาพและงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ที่มีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การสัมมนา สื่อสารสนเทศเกณฑ์การสร้างมาตรฐานการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์ และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย มาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บทการแสดง ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปัจจัยที่สร้างขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยนำปัจจัยตรงกันข้ามกับปัจจัยที่สร้างขวัญกำลังใจมาสร้างสรรค์เป็นบทการแสดง แบ่งออกเป็น 6 องก์ ได้แก่ องก์ 1 การสนับสนุน องก์ 2 อิจฉาริษยา องก์ 3 ใส่ร้ายป้ายสี องก์ 4 คัดลอกผลงาน องก์ 5 ดองงาน และองก์ 6 ขัดแข้งขัดขา 2) นักแสดง ไม่จำกัดเพศ มีทักษะทางด้านนาฏยศิลป์ไทย นาฏยศิลป์ตะวันตกและศิลปะการละคร จำนวน 16 คน 3) ลีลานาฏยศิลป์ ใช้ลีลานาฏยศิลป์ไทย การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน การเคลื่อนไหวแบบมินิมอลลิสม์ (minimalism) การเคลื่อนไหวร่างกายแบบด้นสด และการทำซ้ำ 4) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ออกแบบโดยคำนึงถึงความเหมาะสมตามบทการแสดงเป็นหลัก เน้นการสื่อความหมายทั้งทางตรงและทางอ้อม 5) เสียงและดนตรีประกอบการแสดง ออกแบบเสียงโดยคำนึงถึงความเรียบง่ายและความหลากหลาย 6) เครื่องแต่งกาย ออกแบบเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมตามบทการแสดงโดยใช้สัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมาย และการแต่งกายตามบทบาทของตัวละคร 7) พื้นที่การแสดง ออกแบบโดยใช้แนวคิด แบบ มินิมอลลิสม์ (minimalism) โดยเลือกใช้พื้นที่ห้องโล่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นพื้นที่การแสดง 8) แสง ใช้แสงที่สื่อถึงอารมณ์และบรรยากาศของการแสดง นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้คำนึงถึงแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์ผลงาน โดยคำนึงถึงแนวคิดที่สำคัญ 7 ประการ ได้แก่ 1) การคำนึงถึงการสร้างขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงาน 2) การคำนึงถึงการสะท้อนภาพของสังคมโดยใช้นาฏยศิลป์ 3) การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ในงานนาฏยศิลป์ 4) การคำนึงถึงการใช้สัญลักษณ์ในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ 5) การคำนึงถึงทฤษฎีด้านนาฏยศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และทัศนศิลป์ …


การออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าชุมชน โดยใช้ข้อมูลภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา จังหวัดนครราชสีมา, อุษณิษา พลศิลป Jan 2021

การออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าชุมชน โดยใช้ข้อมูลภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา จังหวัดนครราชสีมา, อุษณิษา พลศิลป

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัย เรื่อง การออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าชุมชน โดยใช้ข้อมูลภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา จังหวัดนครราชสีมานี้ ใช้อำเภอสูงเนิน เป็นพื้นที่กรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อหากลยุทธ์การนำเสนอที่เหมาะสมและหาแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าชุมชน โดยใช้ข้อมูลภูมิศาสตร์ การดำเนินงานวิจัยเป็นการศึกษาวรรณกรรม สังเคราะห์ข้อมูลและการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลภูมิศาสตร์ที่เป็นกลยุทธ์ในการนำเสนอได้มีสองมิติ คือ ภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์มนุษย์ จากข้อมูลทั้งสองมิตินำไปแปรเปลี่ยนเป็นองค์ประกอบหลักทางเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ สร้างเครื่องมือสัมภาษณ์และเกณฑ์การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ ประกอบด้วย หลักการใช้สี ตัวอักษร รูปภาพ และลวดลายที่มีความเหมาะสม จากการวิเคราะห์ข้อมูลภูมิศาสตร์ที่ปรากฏ จึงได้ผลของงานวิจัยออกมาเป็นองค์ประกอบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับการประยุกต์ข้อมูลภูมิศาสตร์ของอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา สามารถนำไปใช้ในการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าชุมชนได้ต่อไป


การออกแบบเรขศิลป์เพื่อเปลี่ยนสภาพนอน-เพลสโดยใช้แนวคิดพลเมืองโลกร่วมกับทุนทางวัฒนธรรมไทย กรณีศึกษาเมืองพิมาย, จนัธ เที่ยงสุรินทร์ Jan 2021

การออกแบบเรขศิลป์เพื่อเปลี่ยนสภาพนอน-เพลสโดยใช้แนวคิดพลเมืองโลกร่วมกับทุนทางวัฒนธรรมไทย กรณีศึกษาเมืองพิมาย, จนัธ เที่ยงสุรินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งใช้ระเบียบวิธีการวิจัยที่ใช้การปฏิบัติเป็นฐาน ก่อนการลงมือปฏิบัติผู้วิจัยได้ทบทวรรณกรรม ทฤษฎีนอน-เพลส (สถานที่ไม่มีตัวตน) ทุนทางวัฒนธรรม พลเมืองโลก และการออกแบบเรขศิลป์ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงปริมาณอันจะช่่วยต่อยอดการวิพากษ์ผลงานออกแบบในขั้นต่อไปได้ดียิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงทำการวิเคราะห์เนื้อหาภาพโดยใช้ผลงานที่ได้รับรางวัลสาขาการสร้างสถานที่และอัตลักษณ์ของ SEGD (2020-2016) ปฏิบัติการทำงานสร้างสรรค์ประกอบไปด้วย (1) การออกแบบร่างและการสัมภาษณ์นักออกแบบเรขศิลป์มืออาชีพจำนวน 3 ท่าน (2) โปรเจกชันแมปปิง ณ สถานที่จริงในเมืองพิมายจำนวน 3 จุดพร้อมการสัมภาษณ์ (N=21) (3) ต้นแบบองค์ประกอบเรขศิลป์พร้อมแบบสอบถามออนไลน์ (N=99) (4) อัตลักษณ์เชิงภาพสำหรับแบรนด์เพื่อสถานที่พร้อมการเวิร์กชอปการออกแบบร่วมกันกับผู้เข้าร่วมจำนวน 2 กลุ่ม (N=7 และ N=8) การลงมือปฏิบัติสิ้นสุดลงในขั้นตอนการออกแบบขั้นสุดท้ายเพื่อจัดทำแบรนด์เมืองพิมาย ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่า (1) เนื้อหาเชิงพลเมืองโลกควรมุ่งความสนใจไปที่การที่อดทนต่อคนเชื้อชาติอื่นอย่างผู้ดี และ/หรือ การตอบสนองต่อภัยคุกคามโลกแบบเอาจริงเอาจัง (2) สไตล์ซอฟต์ป๊อปได้รับคะแนนนิยมสูงอย่างมีนัยสำคัญจากผู้ถูกสัมภาษณ์ (3) คนที่เป็นพลเมืองโลกก็เป็นคนช่างเลือกเช่นกัน ดังนั้นนักออกแบบควรเผื่อทางเลือกไว้เสมอเพื่อให้เขาเหล่านั้นไปผสมเอาเองตามชอบใจ (4) งานเรขศิลป์ที่ผสมผสานกับนิทรรศการและเฟอร์นิเจอร์มีแนวโน้มสูงที่จะแก้ภาวะนอน-เพลส (5) การสร้างความเป็นสถานที่ด้วยสื่อดิจิทัลเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ไปเสียแล้ว ผู้จัยมีข้อโต้แย้งว่าแนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ในทฤษฎีนอน-เพลสของมาร์ก ออเชนั้นมีปัญหา ในบทสุดท้ายจะเป็นการอภิปรายเรื่องการนำแนวคิดรื้อสร้างมาใช้กับการสร้างความเป็นสถานที่


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการตีความ "บาป 7 ประการ" ในบริบทของสังคมไทย, ขนิษฐา บุตรเจริญ Jan 2021

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการตีความ "บาป 7 ประการ" ในบริบทของสังคมไทย, ขนิษฐา บุตรเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการตีความ “บาป 7 ประการ” ในบริบทของสังคมไทยใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบและแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบริบทของสังคมไทยในปัจจุบันที่สืบเนื่องจากการกระทำบาปทั้ง 7 ประการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ สื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์ การสัมมนา เกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางนาฏยศิลป์ และประสบการณ์ส่วนตัวผู้วิจัย มาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ และสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำบาปทั้ง 7 ประการที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ในบริบทของสังคมไทยในปัจจุบันมาตีแผ่ให้คนรุ่นใหม่และคนที่สนใจได้หันกลับมามองพฤติกรรมและการกระทำของตนเองที่ส่งผลทำให้สังคมไทยในปัจจุบันเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อทั้งรายบุคคลและต่อส่วนรวม อีกทั้งยังส่งผลต่อเนื่องให้เกิดเหตุการณ์อันไม่สงบสุขในสังคม รูปแบบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์สามารถจำแนกตามองค์ประกอบของการแสดงได้ 8 ประการ ได้แก่ 1) บทการแสดง สร้างสรรค์ขึ้นจาก บาป 7 ประการ ที่เกิดขึ้นในบริบทของสังคมไทยในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 องก์ ประกอบด้วย 7 ฉากการแสดง ได้แก่ องก์ 1 พยศชั่ว ประกอบด้วย ฉาก 1 อัตตา ฉาก 2 ริษยา ฉาก 3 เกียจคร้าน ฉาก 4 ตะกละและละโมบ ฉาก 5 ราคะ และฉาก 6 โทสะ องก์ 2 ประกอบด้วย ฉาก 1 พรจากพระผู้เป็นเจ้า 2) นักแสดง คัดเลือกจากความสามารถและผู้ที่มีองค์ความรู้ทางด้านนาฏยศิลป์ตะวันตก อีกทั้งมีความสามารถทางด้านการสื่อสารอารมณ์ 3) ลีลานาฏยศิลป์ นำเสนอลีลานาฏยศิลป์ในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ นาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ บัลเลต์คลาสสิค ระบำสเปน นาฏยศิลป์ร่วมสมัย นาฏยศิลป์สมัยใหม่ การเต้นแจ๊ส การด้นสด การเคลื่อนไหวในลักษณะชีวิตประจำวัน และศิลปะการแสดง 4) อุปกรณ์การแสดง นำเสนอให้สอดคล้องกับบทการแสดงทั้งด้านการสื่อสัญญะ และการสื่อความหมายแบบตรงไปตรงมา โดยเน้นความเรียบง่ายเป็นหลัก 5) เสียงและดนตรีประกอบการแสดง ผู้วิจัยได้สร้างสรรค์ประพันธ์เพลงขึ้นใหม่ และเลือกใช้การบรรเลงดนตรีสด 6) เครื่องแต่งกาย ใช้แนวคิดศิลปะมินิมอลลิสม์ …


ศิลปะสื่อการแสดง : ปรารถนาไร้ตัวตน, ณัฐวัฒน์ สิทธิ Jan 2021

ศิลปะสื่อการแสดง : ปรารถนาไร้ตัวตน, ณัฐวัฒน์ สิทธิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ศิลปนิพนธ์ฉบับนี้เป็นงานวิจัยสร้างสรรค์จากการตั้งคำถามต่อการดำรงอยู่ของผู้วิจัย ด้วยการระลึกถึงความตายอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์การสูญเสีย “แม่” ซึ่งมีกลไกการทำงานทางจิตวิทยา อยู่เบื้องหลัง โดยวิธีดำเนินงานประกอบด้วยการศึกษาการทำงานของ “บทรำพึง” ที่สร้างส่วนเชื่อมประสานให้เห็นถึง การมีอยู่ของตัวตนภายในอย่างเป็นรูปธรรมผ่านรูปรอยของภาษา ซึ่งสัมพันธ์กับสุนทรียะของงานศิลปนิพนธ์ว่าด้วย “ความไร้หมาย” ผ่านกรอบทฤษฎีอันมีส่วนเชื่อมโยงกับแนวคิดของ ลากอง (Lacanian Anthropology) ชาร์ตร์ (L’existence précède l’essence) กามูส์ (Absurdity) และผลงานสร้างสรรค์ที่เป็นกรณีศึกษา ชี้ให้เห็นว่า “ปรารถนาไร้ตัวตน” คือสัมฤทธิ์ผลของการผสานคุณสมบัติดังกล่าว ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการบูรณาการองค์ความรู้ที่ได้มา ในระหว่างการดำเนินงานโครงการศิลปนิพนธ์ ส่งผลให้เกิดแนวทางการนำเสนอภาพแทนของตัวตนนามธรรม (Inner Self Portrait) ที่หลอมรวมบนเส้นแกนเวลาอันเป็นชั่วขณะสร้างสัมพันธ์กันในมิติ ที่แตกต่าง จากกรณีศึกษางานของอาร์ม ซาโรยัน, โจนาธาน เซฟาน ฟลอร์ และจอห์น เคจ โดยเชื่อมประสานกับมโนทัศน์อัตถิภาวะที่มีความเกี่ยวข้องกับการตีความถึงการมีอยู่ของตัวตนมนุษย์ เป็นกรอบในการร้อยเรียงโครงสร้างทางความคิดจากกรณีศึกษาและกลายเป็นปฏิบัติการทางศิลปะซึ่งซับแทรกอยู่ในนิเวศของการสร้างสรรค์อันเป็นสัมพันธบท ทั้งนี้ผลจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้ถูกนำไปพัฒนาให้ปรากฏเป็นผลสัมฤทธิ์ในรูปแบบผลงานศิลปะสื่อการแสดง “Video Performance” จากการเปลี่ยนรูปของภาษาระหว่างกระบวนการแทนค่ารูปสัญญะ ก่อให้เกิดการย้อนมองวรรณกรรม และภาษาในเชิงจินตภาพ (visualize) ทำให้ตัวบทที่ปรากฏในงานกลายเป็น “สิ่งรองรับสภาวะไร้หมาย” ด้วยไวยากรณ์ทางศิลปะ องค์ความรู้ที่ปรากฏจากกระบวนการวิจัยคือการเลือกใช้วิธีแอบเสิร์ดเป็นส่วนต่อขยายในการสร้างสภาวะเชิงสัมพันธ์ของการกลายสภาพสู่การถ่ายโอนรูปแบบปฏิสัมพันธ์เชิงคิด (Relational Spirituality and Transformation) ซึ่งศิลปะนิพนธ์ฉบับนี้สามารถเผยให้เห็นถึง “นัยแห่งการไม่แสดงออก” ที่นำไปสู่ความไร้หมายอันพ้นไปจากภววิสัย ผ่านอุปมานิทัศน์ของตัวตนทางจิตวิญญาณ


บทเพลงซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับวงทรอมโบน: หิมพานต์, ฐิตินันท์ เจริญสลุง Jan 2021

บทเพลงซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับวงทรอมโบน: หิมพานต์, ฐิตินันท์ เจริญสลุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทเพลงซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับวงทรอมโบน: หิมพานต์ เป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์เพื่อประพันธ์บทเพลงประเภทซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับวงทรอมโบน โดยมีแรงบันดาลใจจากข้อความที่บรรยายถึงป่าหิมพานต์ซึ่งเป็นป่าในวรรณกรรม มีความเชื่อว่าป่าหิมพานต์ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ชมพูทวีป ซึ่งเป็นที่อยู่ของสรรพสัตว์หิมพานต์ที่มีการเวียนว่ายตายเกิด สำหรับบทประพันธ์เพลงสำหรับวงทรอมโบนที่เกี่ยวข้องกับวรรณกรรมไทยที่ประพันธ์โดยนักประพันธ์ชาวไทยยังไม่มีปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบการประพันธ์เพลง โดยการนำเนื้อความของวรรณกรรมไตรภูมิกถาในช่วงของการบรรยายถึงป่าหิมพานต์มาตีความและสร้างสรรค์ออกมาเป็นบทเพลงซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับวงทรอมโบน: หิมพานต์ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์และตีความเนื้อหาหิมพานต์ จนทำให้ได้โครงสร้างและแนวคิดสำหรับบทเพลงซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับวงทรอมโบน โดยสร้างสรรค์เป็นบทประพันธ์ 8 กระบวน ได้แก่ วัฏจักร มนุษย์ ครุฑ วารีกุญชร ฉัททันต์ ไกรสรปักษา เงือก และหิมพานต์ จากการสร้างสรรค์บทประพันธ์ซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับวงทรอมโบน: หิมพานต์ ผู้วิจัยได้ประพันธ์ในลักษณะดนตรีพรรณนาที่มีการแสดงออกถึงเอกลักษณ์เฉพาะของสัตว์หิมพานต์และบรรยากาศภายในป่าหิมพานต์ บทประพันธ์เป็นดนตรีตะวันตกร่วมสมัยซึ่งเกิดจากการใช้เทคนิคการประพันธ์ร่วมสมัยและเทคนิคพิเศษสำหรับทรอมโบน


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงคุณสมบัติของกรรมการในอุดมคติที่ใช้พิจารณาผลงานด้านนาฏยศิลป์, จินตนา อนุวัฒน์ Jan 2021

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงคุณสมบัติของกรรมการในอุดมคติที่ใช้พิจารณาผลงานด้านนาฏยศิลป์, จินตนา อนุวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและหาแนวคิดที่ได้จากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงคุณสมบัติของกรรมการในอุดมคติที่ใช้พิจารณาผลงานด้านนาฏยศิลป์ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ที่มีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหัวข้องานวิจัย สื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์ การสัมมนาวิชาการ การสัมภาษณ์ เกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์ และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย มาเป็นแนวทางในการ วิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ดำเนินการตามแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ที่มีองค์ประกอบ 8 ประการ คือ 1) บทการแสดง นำโครงสร้างมาจากคุณสมบัติของกรรมการด้านจริยธรรม 6 ประการ ได้แก่ ทัศนคติและเจตนาที่บริสุทธิ์ ภาวะผู้นำ อำนาจและอิสระในการตัดสินใจ ความเสมอภาค ความซื่อสัตย์สุจริต และความยุติธรรม โดยแบ่งบทการแสดงออกเป็น 7 องก์ ได้แก่ องก์ 1 โต้แย้ง องก์ 2 ผู้นำและผู้ตาม องก์ 3 ความกดดันจากอำนาจ องก์ 4 ปิดหูปิดตาด้วยอคติ องก์ 5 ทุจริตใต้โต๊ะ องก์ 6 อยุติธรรม และองก์ 7 หายนะจากการกระทำผิดคำสาบาน 2) ลีลานาฏยศิลป์ ผสมผสานนาฏยศิลป์ไทย นาฏยศิลป์ตะวันตก นาฏยศิลป์พื้นเมือง การเล่นเงา ละครใบ้ และลีลาการเคลื่อนไหวแบบเรียบง่าย การเคลื่อนไหวแบบในชีวิตประจำวัน ตามแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 3) นักแสดง คัดเลือกจากผู้ที่มีประสบการณ์ด้านนาฏยศิลป์ไทยและนาฏยศิลป์ตะวันตก 4) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ได้แก่ เก้าอี้สำนักงาน โต๊ะ ผ้าสีดำ แท่นรับรางวัลกีฬา และคานหาบ 5) เสียงและดนตรีประกอบการแสดง เป็นการบรรเลงแบบด้นสดที่ผสมผสานเครื่องดนตรีพื้นเมืองจากวัฒนธรรมไทย จีน ทิเบต ละตินและแอฟริกาเข้าด้วยกัน 6) เครื่องแต่งกาย ใช้ชุดสูทแบบสากลนิยม และการออกแบบเสื้อผ้าที่มีโครงสร้างแบบไม่สมมาตร สีขาว-ดำ และชุดโนราแบบประยุกต์ 7) พื้นที่แสดง เป็นโรงละครแบล็คบอกซ์ และ 8) การใช้แสงสังเคราะห์เพื่อส่งเสริมอารมณ์และบรรยากาศในการแสดง นอกจากนี้ ยังค้นพบแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏยศิลป์ที่มีข้อควรคำนึง 7 ประการ ได้แก่ 1) …


การออกแบบเรขศิลป์เพื่อสร้างแบรนด์โดยใช้แนวคิดเพลงประกอบภาพยนตร์สตาร์วอร์ส, พรวิธิต แก้วชูศรี Jan 2021

การออกแบบเรขศิลป์เพื่อสร้างแบรนด์โดยใช้แนวคิดเพลงประกอบภาพยนตร์สตาร์วอร์ส, พรวิธิต แก้วชูศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์ที่เหมาะสมกับแบรนด์ประเภทต่างๆ เพื่อเป็นทฤษฎีทางเลือกสำหรับแบรนด์ โดยมีวิธีวิจัยคือ 1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับเพลงประกอบภาพยนตร์สตาร์วอร์ส และประเภทแบรนด์ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาสร้างเป็นเครื่องมือวิจัยที่ 1 สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี และผู้เชี่ยวชาญแบรนด์ในการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม เพื่อคัดกรองเพลงที่เหมาะสมกับแต่ละประเภทแบรนด์ จากนั้น 2. ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างภาพโฆษณาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ แล้วจึงนำกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาสร้างเป็นเครื่องมือวิจัยที่ 2 สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี และผู้เชี่ยวชาญด้านเรขศิลป์ในการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม เพื่อคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างภาพโฆษณาที่เหมาะสมกับเพลงในแต่ละเพลง จากนั้น 3. ผู้วิจัยนำผลของกลุ่มตัวอย่างภาพโฆษณาที่ได้จากเครื่องมือวิจัยที่ 2 มาวิเคราะห์ร่วมกับแนวคิดการออกแบบโฆษณา 4 แนวคิด ได้แก่ 1) แนวคิดการสร้างสรรค์จุดจับใจในงานโฆษณา 2) แนวคิดการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์โฆษณา 3) แนวคิดรูปแบบการใช้ภาพประกอบในงานโฆษณา และ 4) แนวคิดรูปแบบการจัดองค์ประกอบของภาพ จากนั้น 4. ผลวิเคราะห์ที่ได้มาสร้างเครื่องมือวิจัยที่ 3 เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องของการวิเคราะห์ ผลสรุปงานวิจัยพบว่าเพลงประกอบภาพยนตร์สตาร์วอร์สนั้นสามารถใช้เป็นทฤษฎีทางเลือกสำหรับแบรนด์ ในการออกแบบเรขศิลป์ได้ โดยพบแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์สำหรับแบรนด์จำนวน 8 ประเภทแบรนด์ ซึ่งแต่ละประเภทแบรนด์มีจำนวนเพลงที่เหมาะสมไม่เท่ากัน ตั้งแต่ 1 ถึง 5 เพลง โดยแต่ละเพลงจะมีผลสรุปเป็นแนวทางการออกแบบเรขศิลป์ครบทั้ง 4 แนวคิดแตกต่างกันตามความเหมาะสมกับแต่ละเพลง เมื่อมีการเลือกเพลงใดเพลงหนึ่งที่เหมาะสมกับแบรนด์ ก็จะได้แนวทางการออกแบบเรขศิลป์ 4 แนวคิดที่เหมาะสมกับตราสินค้าด้วย