Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 124

Full-Text Articles in Arts and Humanities

The Roles Of Animals And Plants In Linda Hogan's Solar Storms, Thammika Sawaengsri Jan 2019

The Roles Of Animals And Plants In Linda Hogan's Solar Storms, Thammika Sawaengsri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper aims to examine the role of animals and plants in Linda Hogan’s Solar Storms (1995). It investigates how the lives of animals and plants have been intertwined with the Native Americans in their plight and struggle against the whites’ colonization from the pre-Columbian time to the present. It examines Hogan’s unique characterization of animals and plants. This paper argues that Hogan portrays as sentient agents with mysterious, transgressive, and creative qualities that are incomprehensible to human beings. Furthermore, the paper also discusses the non-humans’ roles in shaping the identity and history of the indigenous characters. In addition, the …


Current State And Guidelines For Development Of Thai Teachers Teaching In English Program In Thailand, Chonnikarn Wongsawat Jan 2019

Current State And Guidelines For Development Of Thai Teachers Teaching In English Program In Thailand, Chonnikarn Wongsawat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Although a number of previous studies have explored the current state and guidelines for development of teachers teaching in English Program, little research has been conducted regarding beliefs and practices of Thai teachers in the program. This study aimed to investigate the issues addressed above from 34 Thai teachers teaching in English Program at Saunkularb Wittayalai Thonburi School and Saint Gabriel’s College. The results of a questionnaire and a semi-structured interview showed that the teachers’ educational background was consistent with their responsible subject and the majority of the teachers had 1 – 5 years of teaching experience in English Program. …


An Analysis Of A Digital Game As Resource Of Autonomous English Language Learning, Panich Wongkhwansane Jan 2019

An Analysis Of A Digital Game As Resource Of Autonomous English Language Learning, Panich Wongkhwansane

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The research aims to analyze an online digital game features and investigate students’ perceptions toward the game; whether or not they think the game is a context where the opportunities of English language learning and practicing could be provided. Five main game features were analyzed based on the games’ characteristics promoting language learning. In addition, in order to investigate the students’ perceptions, three participants were interviewed as a group. The data were collected through the semi-structured and individual follow-up interview, and analyzed using qualitative approach. The findings indicated that, provided int the game, there are five major features which could …


Implementation Of European Union Ecolabel And Its Effect On Thai Exports, Chanida Dharmasaroja Jan 2019

Implementation Of European Union Ecolabel And Its Effect On Thai Exports, Chanida Dharmasaroja

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

All over the world are becoming aware of the selection and use of products and services that cause less environmental impact or preserving the environment Make each country including various organizations Have introduced the above concept into an environmental label That is to certify that the product has passed all stages of the inspection, from raw material selection, production, distribution To the destruction of that product In which the European Union issued their environmental labeling regulations Under the name of the EU flower project. The European Union is the largest market and is the driving force of the world economy …


The Relationship Between The ‘Banality Of Evil’ And The Nuremberg Trials, Ananya Charoenwong Jan 2019

The Relationship Between The ‘Banality Of Evil’ And The Nuremberg Trials, Ananya Charoenwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nazi Germany gave the history of human the dark period from their crimes against humanity, the Holocaust, in which 6 million Jews were murdered. To provide justice for victims after Nazi Germany’s defeat in World War II, Nazi officials were brought to the International Courts of Justice (ICJ), such as the Nuremberg Trials, which lasted from 1945 to 1946, and the Eichmann Trial in 1961. The Eichmann trial provided a fertile ground for the concept called the Banality of Evil developed by Hannah Arendt. The concept shows that one’s inability to think and blind obedience to duty can lead to …


Exploring The Reaction Mechanism Of The Eu Towards The United States, Shuai Chen Jan 2019

Exploring The Reaction Mechanism Of The Eu Towards The United States, Shuai Chen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

International disputes which involve conflicts of interests between the EU and the US have gained much traction since President Trump took office. This paper studies the reaction mechanism of the EU towards the US. It establishes a link between the study of human behaviors and international relations through constructivism before applying Maslow's hierarchy of needs to the EU. It summarizes all the EU's responses to US policies that affect its interests, thereby helping to study the EU's past foreign policies, and predict the actions that the EU will take on international affairs in the future. By analyzing the four cases—the …


การศึกษากลวิธีการแปลคำนามและวลีที่ใช้เรียกสตรีเพศ ในสำนวนแปลเรื่อง ห้องส่วนตัว โดย มาลินี แก้วเนตร จากความเรียงแนวสตรีนิยมเรื่อง A Room Of One's Own ของ เวอร์จิเนีย วูล์ฟ, เยาวลักษณ์ กงษี Jan 2019

การศึกษากลวิธีการแปลคำนามและวลีที่ใช้เรียกสตรีเพศ ในสำนวนแปลเรื่อง ห้องส่วนตัว โดย มาลินี แก้วเนตร จากความเรียงแนวสตรีนิยมเรื่อง A Room Of One's Own ของ เวอร์จิเนีย วูล์ฟ, เยาวลักษณ์ กงษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการแปลคำนาม และวลีที่ใช้เรียกสตรีเพศ ในสำนวนแปลเรื่อง ห้องส่วนตัว โดย มาลินี แก้วเนตร จากความเรียงแนวสตรีนิยมเรื่อง A Room of One’s Own ของ เวอร์จิเนีย วูล์ฟ ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมคำนาม และวลีที่ใช้เรียกขานหรือกล่าวถึงสตรีเพศ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 33 คำ เช่น คำว่า feminist, girl, female, wife, lady, woman/women, harlot, courtesan เป็นต้น โดยที่ผู้วิจัยต้องการพิสูจน์สมมติฐานที่ว่า ในการแปลคำนาม และวลีที่ใช้เรียกสตรีเพศ ในสำนวนแปลเรื่อง ห้องส่วนตัว นี้ มีการใช้ 3 กลวิธี ได้แก่ การแปลตรงตัว การแปลแบบตีความ และการแปลแบบทับศัพท์ ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า ในสำนวนแปลดังกล่าวพบว่ามีการใช้ทั้ง 3 กลวิธีดังกล่าวจริง โดยกลวิธีที่ปรากฏมากที่สุดคือการแปลแบบตรงตัว คิดเป็นร้อยละ 55.06 เพื่อให้ผู้อ่านได้รับสารจากผู้เขียนครบถ้วน และตรงตามเจตนาของผู้เขียน รองลงมาเป็นการแปลแบบตีความ คิดเป็นร้อยละ 42.69 เพื่อให้บทแปล มีความกระจ่างชัด สละสลวย เป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ยังพบว่า ในบางบริบทจะมีการเพิ่มคำ และละคำไม่แปล ทั้งในกลวิธีการแปลตรงตัว และการแปลแบบตีความ เพื่อให้บทแปลเป็นธรรมชาติ และเนื้อความไม่ซ้ำซ้อน กลวิธีสุดท้ายที่ปรากฏว่ามีการใช้น้อยที่สุดคือการแปลแบบทับศัพท์ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 2.25 เท่านั้น โดยการแปลแบบ ทับศัพท์ พบได้ใน 2 กรณี ได้แก่ 1. คำภาษาอังกฤษคำนั้นเป็นคำที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี และ 2. คำนั้นเป็นชื่อเรียกตัวละคร ซึ่งมีการใช้การทับศัพท์อย่างกว้างขวางในวงการวรรณกรรม


การถ่ายทอดวัจนลีลาในหนังสือเรื่อง The Seven Lamps Of Architecture ของ John Ruskin, นัทธมน ตั้งตรงมิตร Jan 2019

การถ่ายทอดวัจนลีลาในหนังสือเรื่อง The Seven Lamps Of Architecture ของ John Ruskin, นัทธมน ตั้งตรงมิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และคิดค้นกลวิธีการถ่ายทอดวัจนลีลาของตัวบทประเภทอรรถสารที่ประพันธ์ด้วยรูปแบบรจนาสารในตัวบทคัดสรรของหนังสือเรื่อง The Seven Lamps of Architecture ของ John Ruskin เพื่อนำไปสู่บทแปลซึ่งมีอรรถรสเทียบเคียงกับต้นฉบับ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าแนวทางการวิเคราะห์ตัวบทของคริสติอาเน นอร์ด (Christiane Nord) ทฤษฎีสโกพอส (Skopostheorie) ของแคธารินา ไรส์ และ ฮานส์ เจ แฟร์เมียร์ (Katharina Reiss & Hans J. Vermeer) ทฤษฎีการแปลของปีเตอร์ นิวมาร์ก (Peter Newmark) และแนวทางการแปลวัจนลีลา (Stylistic Approaches) ของจีน โบแอส-เบเออร์ (Jean Boase-Beier) รวมถึงความรู้ทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิกในยุควิกตอเรียนของประเทศอังกฤษเพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ตัวบทการวิเคราะห์ปัญหาในการถ่ายทอดวัจนลีลา การวางแผนการแปล และการแก้ปัญหาในการถ่ายทอดวัจนลีลาดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่า การประยุกต์ใช้ทฤษฎีและแนวคิดต่าง ๆ ข้างต้นโดยยึดกลวิธีการแปลแบบสื่อความ (Communicative Translation) และการแปลแบบครบความ (Semantic Translation) ตามทฤษฎีการแปลของ นิวมาร์กเป็นหลัก ร่วมกับการปรับบทแปลทั้งในระดับคำ วลี และโครงสร้างประโยค จะช่วยแก้ไขปัญหาการแปลตัวบทที่มีการใช้วัจนลีลาโดดเด่นได้ในระดับดี โดยสามารถรักษารูปแบบวัจนลีลาและวรรณศิลป์ดั้งเดิม รวมทั้งสามารถคงอรรถรสเทียบเคียงต้นฉบับไว้ได้


การศึกษาการแปลเทพนิยาย Oscar Wilde เรื่อง The Fisherman And His Sould : เปรียบเทียบสำนวนของ อ.สนิทวงศ์ และสำนวนของ วลัยภรณ์ นาคพันธุ์, ภูษณิศา เขมะเสวี Jan 2019

การศึกษาการแปลเทพนิยาย Oscar Wilde เรื่อง The Fisherman And His Sould : เปรียบเทียบสำนวนของ อ.สนิทวงศ์ และสำนวนของ วลัยภรณ์ นาคพันธุ์, ภูษณิศา เขมะเสวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้ศึกษาการแปลเทพนิยายเรื่อง The Fisherman and His Soul ของออสการ์ ไวลด์ โดยเปรียบเทียบระหว่างสำนวน วิญญาณของชาวประมง ของอ.สนิทวงศ์ และสำนวน ชาวประมงกับจิตวิญญาณ ของวลัยภรณ์ นาคพันธุ์ ผู้วิจัยศึกษาทบทวนทฤษฎีต่างๆ เพื่อหาเกณฑ์ที่เหมาะในการเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างและวิเคราะห์ตัวบทต้นฉบับก่อนลงมือเปรียบเทียบ การศึกษาเปรียบเทียบยืนยันสมมติฐานการวิจัยว่าสำนวนแปลทั้ง ๒ สำนวนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ กล่าวคือ สำนวนของ อ.สนิทวงศ์ เก็บเนื้อหาสำคัญ วรรณศิลป์ นัยยะซ่อนเร้น ตลอดจนวัฒนธรรมต้นทางไว้ค่อนข้างครบถ้วน ทำให้สำนวนของ อ.สนิทวงศ์มีมิติและน่าสนใจกว่าสำนวนของวลัยภรณ์ที่แปลโดยปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมของผู้อ่านปลายทาง ซึ่งทำให้นัยยะซ่อนเร้น ความคิด ความเชื่อ ถ้อยคำประชดประชัน อันเป็นเอกลักษณ์ของออสการ์ ไวลด์ไม่ปรากฏเด่นชัด ผลก็คือ สำนวนของ อ.สนิทวงศ์เก็บรักษา “สาร” (message) ของผู้ประพันธ์ เมื่อแปลเป็นภาษาปลายทาง ผู้อ่านชาวไทยจึงได้รับ “สาร” ซึ่งรักษา "รหัสวัฒนธรรม" (culture code) ต้นฉบับได้ครบถ้วน งานวิจัยช่วยให้ได้ข้อสรุปว่า การแปลเทพนิยายที่ดี คือการแปลโดยถ่ายทอดวรรณศิลป์ให้ใกล้เคียงกับต้นฉบับ และแปลโดยถ่ายทอดวัฒนธรรมต้นฉบับมากกว่าปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมปลายทาง


The Image Of China And The Construction Of Social Awareness In Sod Kuramarohit's Exotic Novels, Yifan Wang Jan 2019

The Image Of China And The Construction Of Social Awareness In Sod Kuramarohit's Exotic Novels, Yifan Wang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


Management For Publicizing Thai Dance In A Foreign Country : The Case Study Of Lor (Love, Obsession, Revenge) Performed At Fei & Milton Wong Experimental Theatre, Canada, Nawarit Rittiyotee Jan 2019

Management For Publicizing Thai Dance In A Foreign Country : The Case Study Of Lor (Love, Obsession, Revenge) Performed At Fei & Milton Wong Experimental Theatre, Canada, Nawarit Rittiyotee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to study and to shape concepts in the management for publicizing Thai dance in a foreign country. This study employed Love, Obsession, Revenge, or shortly, LOR as a case study and this Thai dance had already been performed at the Fei & Milton Wong Experimental Theatre, Simon Fraser University, Canada. Autoethnography methodology was applied as the research method in this study as the researcher was part of the team. Nineteen observations were conducted and analyzed by comparing and contrasting theories and personal experiences. The findings revealed that partnership with international organization facilitated management for …


การจำลองการเสื่อมสภาพของสารสีในพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 และพระบรมราชินีนาถ ที่หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เกิดจากแสงและความชื้น, เดือนเต็มดวง เดชสุภา Jan 2019

การจำลองการเสื่อมสภาพของสารสีในพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 และพระบรมราชินีนาถ ที่หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เกิดจากแสงและความชื้น, เดือนเต็มดวง เดชสุภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สภาพแวดล้อมเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการเสื่อมสภาพของงานศิลปะ ภายในพิพิธภัณฑ์จึงมีข้อกำหนดเพื่อควบคุมปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเสื่อมสภาพ อย่างไรก็ตามยังมีงานศิลปะจำนวนมากที่ไม่ได้ถูกเก็บรักษาภายในสถานที่ที่มีการควบคุม ดังนั้นหากสามารถทำนายกระบวนการเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นและมีการป้องกันแก้ไขทันที จะสามารถช่วยรักษางานศิลปะนั้นให้อยู่ในสภาพดีและยืดเวลาที่ต้องบูรณะออกไปได้ งานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาผลของการจำลองการเสื่อมสภาพที่มีสาเหตุจากแสงและความชื้นต่อสมบัติทางกายภาพและเคมีของสารสี เพื่อใช้ในการติดตามการเสื่อมสภาพขององค์ประกอบของชิ้นงานศิลปะ โดยทดลองกับสารสีจำลองที่พบในพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 และพระบรมราชินีนาถ ที่หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ประการแรกคือการวิเคราะห์สารสีที่ใช้ในพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยการถ่ายภาพเชิงเทคนิคและเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนต์สเปกโทรสโกปี ประการที่สองคือการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารสีในแผ่นสีตัวอย่าง เมื่อผ่านการจำลองการเสื่อมสภาพที่ระยะเวลาการเร่งการเสื่อมสภาพด้วยแสงที่ 5, 30, 50, 70 และ 100 ชั่วโมง และที่ระดับความชื้นสัมพัทธ์ 55% และ 75% ตรวจสอบผลด้วยอินฟราเรดสเปกโทรสโกปีและรามานสเปกโทรสโกปี ร่วมกับการวิเคราะห์ความต่างสีระหว่างแผ่นสีตัวอย่างภายใต้สภาวะควบคุมและแผ่นสีตัวอย่างที่ผ่านการเร่งการเสื่อมสภาพ ประการสุดท้ายคือการทำนายการเสื่อมสภาพของพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยการเปรียบเทียบระหว่างสเปกตรัมการสะท้อนที่ได้จากสีในพระบรมสาทิสลักษณ์และแผ่นสีตัวอย่าง จากผลการวิจัยที่เทียบกับแผ่นชาร์ทสารสี CHSOS คาดว่ามีการใช้สารสีจำนวน 12 ชนิดในพระบรมสาทิสลักษณ์ เมื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารสีในแผ่นสีตัวอย่างที่ผ่านการเร่งการเสื่อมสภาพและแผ่นสีตัวอย่างภายใต้สภาวะควบคุม พบว่าสารสีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสเปกตรัมอินฟราเรด ได้แก่ สารสีสีดำงาช้าง สารสีสีน้ำตาลอัมเบอร์ สารสีสีแดงอะลิซาริน สารสีจากดินแดง สารสีสีเหลืองโครเมียม สารสีจากดินเหลือง และสารสีสีน้ำเงินมายา และสารสีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสเปกตรัมรามาน ได้แก่ สารสีสีขาวไททาเนียมและสารสีสีขาวสังกะสี เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างสี พบว่าตัวอย่างสีที่ความชื้นสัมพัทธ์ 75% มีแนวโน้มที่จะให้ความแตกต่างสีมากกว่าตัวอย่างสีที่ความชื้นสัมพัทธ์ 55% อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงจากการจำลองการเสื่อมสภาพนี้ยังไม่มากพอที่จะใช้ทำนายการเปลี่ยนแปลงในภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ได้อย่างแม่นยำ เพียงแต่ระบุได้ว่าการเสื่อมสภาพของสารสีในพระบรมสาทิสลักษณ์เทียบได้กับการเสื่อมสภาพมากกว่า 20 ปี ของการเก็บรักษางานศิลปะไว้ในพิพิธภัณฑ์


ประวัติศาสตร์ธนาคารกรุงเทพกับพัฒนาการเศรษฐกิจและการเมืองไทย พ.ศ. 2487-2523, ปัทวี แดงโกเมน Jan 2019

ประวัติศาสตร์ธนาคารกรุงเทพกับพัฒนาการเศรษฐกิจและการเมืองไทย พ.ศ. 2487-2523, ปัทวี แดงโกเมน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธนาคารกรุงเทพถือกำเนิดขึ้นท่ามกลางสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการร่วมมือของกลุ่มพ่อค้าชาวจีน และข้าราชการระดับสูง จากนั้นได้ประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน เพราะการบริหารงานไม่โปร่งใสของผู้บริหาร นายชิน โสภณพนิช ได้รับมอบหมายให้แก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งการแก้ไขปัญหานี้ทำให้ธนาคารกรุงเทพต้องไปเกี่ยวข้องกับอำนาจทางการเมือง ต่อมาธนาคารกรุงเทพเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการขยายสาขาทั้งในและต่างประเทศ จนทำให้ธนาคารกรุงเทพกลายเป็นธนาคารที่มีสินทรัพย์รวมมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเวลาต่อมา หลังจากปี พ.ศ. 2504 ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ธนาคารกรุงเทพขยายสาขาในต่างจังหวัดจนกลายเป็นธนาคารที่มีจำนวนสาขาและระดมเงินฝากได้มากที่สุด ในขณะที่รัฐบาลสนับสนุนธุรกิจภาคเอกชนและให้ความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมภายใต้การสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ธนาคารกรุงเทพมีบุคลากรที่มีความสามารถสูง มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง มีระบบบริหารจัดการภายในที่ดี ปรับปรุงองค์กรให้ทันสมัยตลอดเวลา รวมทั้งบุคลากรคนสำคัญของธนาคารกรุงเทพหลายคนได้เข้าไปมีบทบาททางการเมืองและเศรษฐกิจไทย ทำให้ฐานะและความเชื่อมั่นของธนาคารกรุงเทพมีมากขึ้น


ผู้หญิงในอุดมคติของรัฐชาติสิงคโปร์ ทศวรรษ 1950–1980, ศุภรดา ด่านเชิดชูเกียรติ Jan 2019

ผู้หญิงในอุดมคติของรัฐชาติสิงคโปร์ ทศวรรษ 1950–1980, ศุภรดา ด่านเชิดชูเกียรติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เล่มนี้ศึกษาการประกอบสร้าง “ผู้หญิงในอุดมคติ” ของสิงคโปร์สมัยสร้างชาติระหว่างทศวรรษ 1950–1980 โดยรัฐบาลพรรคกิจประชาภายใต้การนำของลีกวนยู โดยจะวิเคราะห์จากนโยบายเรื่องผู้หญิง และการออกกฎหมายที่มีส่วนในกำหนดบทบาทหน้าที่ทางเพศสภาพของหญิงและชายในสิงคโปร์ รวมถึงการต่อรองระหว่างรัฐและผู้หญิงสิงคโปร์ในช่วงเวลาดังกล่าวที่กระแสสิทธิสตรีกำลังมีอิทธิพลและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนอุดมคติรัฐเกี่ยวกับผู้หญิงของสิงคโปร์ วิทยานิพนธ์เล่มนี้จะชี้ให้เห็นว่าการจัดการความสัมพันธ์ทางเพศสภาพระหว่างชายหญิงในพื้นที่ครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างชาติสิงคโปร์ หลักจริยศาสตร์แบบขงจื๊อที่มีลักษณะแบบปิตาธิปไตยคือแนวคิดสำคัญที่รัฐบาลสิงคโปร์ใช้ในการกำหนดนโยบายเพศสภาพและดำเนินนโยบายเกี่ยวกับผู้หญิง ผู้หญิงถูกกำหนดให้แสดงบทบาทในฐานะแม่และเมีย ส่วนผู้ชายถูกคาดหมายให้ทำงานนอกบ้าน ทั้งนี้ ผู้หญิงในฐานะแม่และเมียตามอุดมคติรัฐในบริบทการสร้างชาติต้องมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ มีการศึกษาดี มีทักษะและความสามารถในการประกอบอาชีพเพื่อตอบสนองนโยบายเศรษฐกิจ และเป็นมารดาที่มีคุณภาพของเยาวชน อย่างไรก็ดี ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม โอกาสทางการศึกษาสำหรับผู้หญิงที่เพิ่มขึ้น และกระแสสิทธิสตรี อุดมคติรัฐเกี่ยวกับผู้หญิงที่ประกอบสร้างขึ้นโดยหลักจริยศาสตร์แบบขงจื๊อที่เป็นปิตาธิปไตยก็ได้ถูกต่อรองจากผู้หญิงสิงคโปร์ด้วย


กรรมวิธีการสร้างบัณเฑาะว์ของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์, พรรษพงศ์ สิขัณฑกนาค Jan 2019

กรรมวิธีการสร้างบัณเฑาะว์ของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์, พรรษพงศ์ สิขัณฑกนาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องกรรมวิธีการสร้างบัณเฑาะว์ของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทเกี่ยวกับบัณเฑาะว์ ชีวประวัติครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์ กรรมวิธีการสร้างบัณเฑาะว์ของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์ และปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพเสียงบัณเฑาะว์ของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านดนตรี ด้านประวัติศาสตร์ ดนตรีพระราชพิธี และใช้การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมเป็นเวลา 10 เดือน ผลการวิจัยพบว่าบัณเฑาะว์ปรากฏในคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นเครื่องดนตรีประจำองค์พระศิวะ จึงใช้ในพระราชพิธีสำคัญเท่านั้น บัณเฑาะว์มีส่วนประกอบทั้งหมด 9 ส่วน วิธีการบรรเลงแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือการไกวสำหรับการประโคมและการไกวสำหรับวงขับไม้ ในด้านการศึกษาประวัติชีวิตของครูบุญรัตน์พบว่าท่านเป็นชาวเชียงใหม่โดยกำเนิด เริ่มฝึกหัดการสร้างเครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือตั้งแต่อายุ 20 ปีโดยได้รับการถ่ายทอดจากเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ ได้รับมอบกระสวนเครื่องดนตรีราชสำนักภาคกลางจากอาจารย์ภาวาส บุนนาค เสาบัณเฑาะว์เป็นผลงานการออกแบบที่ใช้เวลาศึกษาและพัฒนาด้วยตนเอง กรรมวิธีการสร้างบัณเฑาะว์ของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์ เริ่มจากการคัดเลือกวัสดุที่มีคุณภาพ และปรับวัสดุให้มีความแข็งแรงทนทานมากยิ่งขึ้น ขั้นตอนการสร้างบัณเฑาะว์เริ่มด้วยขั้นตอนการเตรียมขอบบัณเฑาะว์ ทำโครงบัณเฑาะว์ ทำหัวขุน ทำเสาบัณเฑาะว์ ทำขันชะเนาะ และประกอบบัณเฑาะว์ การกลึงบัณเฑาะว์ของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์ มีรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์ การกลึงลวดลายต่าง ๆ คมชัดเปี่ยมด้วยสุนทรียะในเชิงช่างเป็นความประณีตในงานประณีตศิลป์ และการเก็บรายละเอียดที่งดงามชัดเจน จึงสร้างความเป็นอัตลักษณ์เชิงช่างของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์อย่างแท้จริง


การสืบทอดความรู้ด้านซอสามสายของครูเจริญใจ สุนทรวาทิน, วีรศิลป์ ห่วงประเสริฐ Jan 2019

การสืบทอดความรู้ด้านซอสามสายของครูเจริญใจ สุนทรวาทิน, วีรศิลป์ ห่วงประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังสายการสืบทอดความรู้ วิธีการถ่ายทอดความรู้ และการสืบทอดความรู้ของครูเจริญใจ สุนทรวาทิน ผลการศึกษาพบว่า (1) ครูเจริญใจ สุนทรวาทิน ได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดจากพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) และครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล มาบูรณาการเข้ากับความรู้ด้านขับร้องและบุคลิกเฉพาะตน จนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งเน้นความเรียบง่ายและความพอดี (2) ขั้นตอนการถ่ายทอดความรู้ประกอบด้วยการฝากตัว การถ่ายทอดความรู้ การวัดประเมินผล และการฝึกฝนเรียนรู้จากสถานการณ์จริง (3) การสืบทอดความรู้ประกอบด้วยการถ่ายทอดความรู้ 3 รูปแบบ ได้แก่ ถ่ายทอดโดยยึดหลักความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดจากครูเจริญใจ สุนทรวาทิน ถ่ายทอดโดยเลือกเฉพาะบางส่วนของวิชาความรู้ และถ่ายทอดโดยบูรณาการตามแนวทางของตนเอง ทั้งนี้ยังมีการสืบทอดความรู้โดยการเผยแพร่ผ่านการจัดการแสดง งานวิชาการ และสื่อรูปแบบต่าง ๆ อย่างไรก็ตามการสืบทอดความรู้ซอสามสายของครูเจริญใจ สุนทรวาทิน คงแพร่หลายอยู่ในกลุ่มศิษย์ที่ศึกษาซอสามสายกับครูเจริญใจ สุนทรวาทินโดยตรง


การแสดงเดี่ยวเปียโนโดย วิชญาพร เปรมานนท์, วิชญาพร เปรมานนท์ Jan 2019

การแสดงเดี่ยวเปียโนโดย วิชญาพร เปรมานนท์, วิชญาพร เปรมานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวเปียโนในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาแนวทางการฝึกซ้อม ค้นคว้าข้อมูล และวิเคราะห์บทเพลงเพื่อนำไปพัฒนาศักยภาพในการตีความ ถอดความ วิเคราะห์บทเพลง และการบรรเลงเปียโนของผู้แสดง รวมไปถึงการศึกษาเกี่ยวกับชีวประวัติของผู้ประพันธ์ ความเป็นมาและแรงบันดาลใจในการประพันธ์บทเพลง เพื่อเพิ่มความเข้าใจในตัวบทเพลง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสื่อสาร และถ่ายทอดบทเพลงไปยังผู้ฟังให้ตรงตามสิ่งที่ผู้ประพันธ์บทเพลงต้องการ ทั้งนี้ในการแสดงได้มีการอธิบายประกอบการแสดงเพื่อให้ผู้ฟังมีความเข้าใจในบทเพลงมากขึ้น ในการแสดงเดี่ยวเปียโนในครั้งนี้ผู้แสดงได้คัดเลือกบทเพลงบรรเลงเดี่ยวเปียโนชุด โดยพิจารณาจากคุณค่า ความไพเราะ ความเหมาะสมทางด้านเทคนิค โดยผู้แสดงได้คัดเลือกบทเพลงบรรเลงเดี่ยวเปียโนทั้งหมด 2 ชุด ได้แก่ (1) Kinderszenen, Op.15 ผลงานการประพันธ์ของโรเบิร์ต ชูมันน์ และ (2) Children’s Corner, L.113 ผลงานการประพันธ์ของโคลด เดอบุสซี การแสดงเดี่ยวเปียโนในครั้งนี้จัดแสดงขึ้นในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เวลา 15.00 น. ณ Tongsuang’s Piano Recital Hall สุขุมวิท ซอย 3 รวมเวลาที่ใช้ในการแสดงทั้งหมดประมาณ 1 ชั่วโมง


การแสดงขับร้องเดี่ยวโดย มัลลิกา ชมภู, มัลลิกา ชมภู Jan 2019

การแสดงขับร้องเดี่ยวโดย มัลลิกา ชมภู, มัลลิกา ชมภู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงขับร้องเดี่ยว โดยมัลลิกา ชมภู มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอการตีความและการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของบทเพลง Old American Songs ชุด 1 และชุด 2 ซึ่งเรียบเรียงโดยคีตกวีระดับตำนานชาวอเมริกัน แอรอน คอปแลนด์ ในปี ค.ศ.1950 และ 1952 ในส่วนของคำร้องเพลงร้องศิลป์ทั้ง 10 บทนั้น เป็นบทกวีที่สื่อถึงมนต์เสน่ห์อันหลากหลายแห่งวัฒนธรรมอเมริกัน ในส่วนของการวิจัยยังประกอบไปด้วยบทวิเคราะห์ และออกแบบวิธีการถ่ายทอดบทเพลงให้เข้ากับเนื้อความอันละเมียดละไมของบทอุปมาโวหารในคำร้อง โดยออกแบบด้วยการใช้ทักษะขั้นสูง รวมถึงความสำคัญในการออกแบบและวางแบบแผนการแสดงและการฝึกซ้อม รวมถึงการจัดการบันทึกเสียงให้มีคุณภาพระดับอาชีพ การเผยแพร่การแสดงขับร้องเดี่ยวโดยมัลลิกา ชมภู สามารถเข้าชมได้ทางยูทูปในชุดการแสดงวันที่ 15 มิถุนายน 2563 ภายใต้ชื่อ Malliga Chompoo’s Master Vocal Recital


การถ่ายทอดดนตรีไทยของศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ผ่านสื่อโทรทัศน์, พีรพันธุ์ กาญจนโหติทัศ Jan 2019

การถ่ายทอดดนตรีไทยของศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ผ่านสื่อโทรทัศน์, พีรพันธุ์ กาญจนโหติทัศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การดำเนินวิจัยเรื่องการถ่ายทอดดนตรีไทยของศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ผ่านสื่อโทรทัศน์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติชีวิตและการถ่ายทอดดนตรีไทยผ่านสื่อโทรทัศน์ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากเทปบันทึกรายการจำนวน 2 เทปที่ท่านเป็นผู้ดำเนินรายาการด้วยตนเองและใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ทายาท ลูกศิษย์ใกล้ชิดและผู้เคยชมรายการ 14 ท่าน ผลวิจัยพบว่าท่านเกิดวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2466 ณ บ้านของท่านที่จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบุตรคนที่ 2 ในพี่น้อง 9 คน ตลอดชีวิตของท่านต้องต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคในทุก ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียน ด้านการงาน ด้านความรัก ตลอดจนการเรียนดนตรี ท่านเริ่มเรียนดนตรีไทยครั้งแรกกับบิดา ต่อมาเรียนซอสามสายกับพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) จนสามารถสีซอสามสายออกอากาศสถานีวิทยุได้ ต่อมาช่วงปี พ.ศ. 2499 ท่านได้มอบตัวเป็นศิษย์ท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ท่านได้ศึกษาทั้งทฤษฎีและปฏิบัติจนสามารถบรรเลงเพลงเดี่ยวขั้นสูงโดยเฉพาะซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ และขลุ่ย นอกจากนี้ท่านยังมีความคิดสร้างสรรค์ประพันธ์บทเพลงไทยประเภทต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและไพเราะเช่น บทเพลงเดี่ยว เพลงเถา เพลงเนื้อเต็ม เป็นต้น อีกทั้งยังรับมอบโองการไหว้ครูสามารถทำพิธีไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลป์ได้ ศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ได้ริเริ่มรายการเกี่ยวกับดนตรีไทยผ่านสื่อโทรทัศน์ในปี พ.ศ. 2502 โดยใช้ชื่อรายการว่า “นาฏดุริยางค์วิวัฒน์” ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 จากนั้นเปลี่ยนชื่อรายการมาเป็น “ดร. อุทิศ แนะดนตรีไทย” ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นรายการดนตรีไทยที่ได้รับความนิยมจากผู้ชมเป็นจำนวนมากและได้รับการสนัหลังจากนั้นรายการได้ยุติลงเนื่องจากการจากไปของท่านในปี พ.ศ. 2525 จากการศึกษาพบว่าท่านใช้กลวิธี 5 วิธีคือ การดำเนินรายการด้วยสนุกสนานมีคารมคมคาย การพูดหยอกล้อกับนักดนตรี การใช้มุขตลกสอดแทรกไปกับการบรรยายพร้อมกับให้ความรู้ดนตรีไทยและโฆษณาสินค้า การใช้บทเพลงที่หลากหลายอารมณ์ทุกครั้งที่จัดรายการ และใช้ความรู้ ความสามารถ ไหวพริบปฏิภาณดำเนินรายการได้อย่างดีเยี่ยม ส่งผลให้มีผู้ชมติดตาม สามารถเผยแพร่ความองค์ความรู้ทางดนตรีไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ


กลวิธีการขับร้องเพลงไทยสำหรับวงโยธวาทิตของเรือโทหญิง เลี่ยมลักษณ์ สังจุ้ย ร.น., ศิริชัยวัตร ซ้ายสุข Jan 2019

กลวิธีการขับร้องเพลงไทยสำหรับวงโยธวาทิตของเรือโทหญิง เลี่ยมลักษณ์ สังจุ้ย ร.น., ศิริชัยวัตร ซ้ายสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับการขับร้องเพลงไทยสำหรับวงโยธวาทิต กลวิธีการขับร้องเพลงแขกสาย เถา และเพลงแขกสี่เกลอ เถา สำหรับวงโยธวาทิตของเรือโทหญิง เลี่ยมลักษณ์ สังจุ้ย ร.น. สำหรับมูลบทที่เกี่ยวข้องกับการขับร้องเพลงไทยสำหรับวงโยธวาทิต พบว่า มีจุดเริ่มต้นจากการรวมวงโยธวาทิตของเหล่าทหารแตร จวบจนปี พ.ศ. 2447 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงนำเพลงไทยสองชั้นของเก่ามาพระนิพนธ์แยกเสียงประสานสำหรับวงโยธวาทิต เพื่อบรรเลงรับส่งการขับร้องเพลงไทยที่ทรงบรรจุไว้เฉพาะด้วยพระองค์เอง โดยมีครูเจริญ พาทยโกศล เป็นผู้ประพันธ์ทางขับร้อง ส่วนกลวิธีการขับร้องปรากฏ 7 กลวิธี คือ การลักจังหวะ การย้อยจังหวะ การลอยจังหวะ การผันเสียง การกระทบเสียง การสะบัดเสียง และการปั้นคำ กลวิธีที่พบมากที่สุด คือ การกระทบเสียง ส่วนกลวิธีการลอยจังหวะพบเฉพาะเพลงแขกสี่เกลอ เถา ทั้งนี้พบสำนวนการขับร้องเฉพาะปรากฏ 3 สำนวน โดยขับร้องในจังหวะที่กระชับและมีระดับเสียงการขับร้องที่สูงกว่าวงเครื่องสายแต่ไม่สูงถึงวงปี่พาทย์ไม้แข็ง สำหรับเรือโทหญิง เลี่ยมลักษณ์ สังจุ้ย ร.น.ยังคงรักษาแนวทางการขับร้องเพลงไทยสำหรับวงโยธวาทิตที่ได้รับการถ่ายทอดจากคุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ (ศิลปินแห่งชาติ) ตามแบบฉบับของครูเจริญ พาทยโกศล ไว้อย่างเคร่งครัด


วิวัฒนาการลวดลายประดับสถาปัตยกรรมร่วมแบบเขมรสู่แรงบันดาลใจในการประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์, ทิพยาภรณ์ ทองแช่ม Jan 2019

วิวัฒนาการลวดลายประดับสถาปัตยกรรมร่วมแบบเขมรสู่แรงบันดาลใจในการประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์, ทิพยาภรณ์ ทองแช่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง วิวัฒนาการลวดลายประดับสถาปัตยกรรมร่วมแบบเขมรสู่แรงบันดาลใจในการตกแต่งสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการ คติความเชื่อ และรูปแบบลวดลายสลักตกแต่งสถาปัตยกรรมศิลปะร่วมแบบเขมรที่มีอิทธิพลต่อ ศาสนสถานและสถาปัตยกรรมร่วมสมัยในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ตลอดจนกระบวนการคิด ภูมิปัญญาของช่างโบราณในอดีตที่ปรับเปลี่ยน มาสู่การสร้างสรรค์ในยุคปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่า คติความเชื่อและรูปแบบในการสร้างสรรค์ลายจําหลักตกแต่ง สถาปัตยกรรมสมัยใหม่มีการปรับเปลี่ยนจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมาเป็นพุทธศาสนา ตลอดจน นําไปสู่การพัฒนาลวดลายหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นรูปแบบและวิวัฒนาการของลายประดับ ตกแต่งสถาปัตยกรรมจึงเปลี่ยนแปลงไปตามคติความเชื่อของผู้สร้าง รวมทั้งกระบวนการคิด สร้างสรรค์ลวดลายของช่างสมัยใหม่ที่มิได้มีความแตกต่างจากช่างเขมรโบราณ โดยลายสลักที่ สามารถตรวจสอบหรือกําหนดรูปแบบได้ คือ ลวดลายสลักจากทับหลังและ เสาประดับกรอบประตู


หลักทัศนียวิทยาและพัฒนาการของภาพจิตรกรรมฝาผนังในสมัยรัชกาลที่ 4-5, เจนจิรา โสพล Jan 2019

หลักทัศนียวิทยาและพัฒนาการของภาพจิตรกรรมฝาผนังในสมัยรัชกาลที่ 4-5, เจนจิรา โสพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานจิตรกรรมฝาผนังในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 เป็นยุคแห่งการรับอิทธิพลของศิลปะแบบตะวันตกหรือศิลปะแบบสัจนิยม ที่มีเทคนิคการเขียนภาพเน้นความเหมือนจริง รวมทั้งมีการเริ่มใช้หลักทัศนียวิทยา หรือหลัก PERSPECTIVE ในการเขียนภาพจิตรกรรม จึงได้ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลจากภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถและพระวิหารในวัดกลุ่มตัวอย่างในสมัยรัชกาลที่4 และ 5 จำนวน 10 วัด และรัชกาลที่ 6 จำนวน 1 วัด เพื่อศึกษาเปรียบเทียบโดยเฉพาะเรื่องหลักทัศนียวิทยาและพัฒนาการในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง จากผลการศึกษาพบว่า การเขียนภาพจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ 4 แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ แบบที่ 1 จิตรกรรมไทยประเพณีผสมกับแบบตะวันตก มีเทคนิคการเขียนที่เน้นความสมจริงมากขึ้นใช้เส้นนอนแสดงระยะภาพที่ใกล้และไกล และใช้เส้นเฉียงแสดงความลึกของภาพ แบบที่ 2 คือ จิตรกรรมตะวันตกหรือแบบสัจนิยม มีการใช้หลักทัศนียวิทยาในการเขียนภาพจิตรกรรม ซึ่งท่าน ขรัวอินโข่ง เป็นผู้ริเริ่มการเขียนภาพให้มีระยะใกล้ไกลแบบตะวันตก มีแสงเงา มีปริมาตรเป็นสามมิติ และแบบที่ 3 คือ จิตรกรรมไทยประเพณี ซึ่งมีเทคนิคสืบทอดมาจากงานช่างสมัยรัชกาลที่ 3 การเขียนภาพยังเป็นแบบสองมิติ ไม่มีหลักทัศนียภาพที่ชัดเจน ส่วนภาพจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น เป็นยุคที่บ้านเมืองพัฒนา มีชาวตะวันตกเข้ามาทำงานในรัชสมัยนี้ ส่งผลให้การเขียนจิตรกรรมตรงตามหลักทัศนียวิทยาในการเขียนภาพ ภาพมีเส้นนำสายตาและมีจุดรวมสายตาตามหลักวิชาการ อิทธิพลทางตะวันตกที่ส่งผลให้เห็นอย่างชัดเจนในงานจิตรกรรมไทยดังกล่าวถือได้ว่า สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นจุดเปลี่ยน เป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลง และยังส่งผลสืบทอดมายังสมัยรัชกาลที่ 5 ดังนั้น หากกล่าวในเรื่องการเขียนภาพที่นำหลักทัศนียภาพที่ได้รับอิทธิพลแบบตะวันตกมาใช้ ยุคของรัชกาลที่ 4 และ 5 จึงถือเป็นช่วงยุคสมัยของงานจิตรกรรมไทย ที่มีความน่าสนใจ มีคุณค่าและส่งผลให้เกิดการพัฒนาสู่ยุคต่อมาของงานจิตรกรรมฝาผนังไทย


การประกวดวงกลองยาวโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, นรีภัค แป้นดี Jan 2019

การประกวดวงกลองยาวโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, นรีภัค แป้นดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการประกวดวงกลองยาวโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมและรูปแบบการออกแบบสร้างสรรค์การแสดงกลองยาวรูปแบบใหม่จากวงกลองยาวที่เข้าร่วมแข่งขัน โดยการสืบค้นข้อมูลจากหนังสือ เอกสาร และวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เกี่ยวข้องและการสังเกตการณ์จากวีดิทัศน์การแสดงกลองยาวจากวงที่ผู้วิจัยทำการศึกษาจำนวน 2 วง ได้แก่ วงเอกทันต์รางวัลชนะเลิศปี พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2554 และวงศิวบุตรรางวัลชนะเลิศปี พ.ศ.2557 ผู้วิจัยพบว่า การจัดการประกวดวงกลองยาวโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นการประกวดในรูปแบบของการอนุรักษ์และพัฒนา โดยวงที่เข้าร่วมการประกวดจะต้องสร้างสรรค์การแสดงขึ้นใหม่ ส่งผลให้เกิดการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละวง เป็นการพัฒนารูปแบบการแสดงจากการรำกลองยาวแบบมาตรฐานที่มีแต่เดิม จากการศึกษารูปแบบการแสดงของวงกลองยาววงเอกทันต์และวงศิวบุตรพบว่า ได้มีการนำรูปแบบการสร้างสรรค์ที่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของการรำเถิดเทิงของกรมศิลปากร โดยมีรูปแบบที่โดดเด่นและแปลกใหม่ ดังนี้ 1. การใช้ชื่อวงในการประพันธ์บทร้องเพื่อแสดงเอกลักษณ์และเป็นที่จดจำต่อผู้ชม 2. มีการต่อตัวและการตีลังกาในการแสดง 3. ใช้ลีลาท่ารำเป็นการผสมผสานของการแสดงในภาคกลางหลายประเภท ได้แก่ รำกลองยาวชาวบ้าน รำเถิดเทิง รำแม่บทเล็ก รำแม่บทใหญ่ การละเล่นลาวกระทบไม้และรำวงมาตรฐาน 4. การใช้รูปแบบการแปรแถวหลักที่พบ 9 แบบ ได้แก่ แถวตอน แถววงกลม แถวปากพนัง แถวหน้ากระดาน แถวครึ่งวงกลม แถวเฉียง แถวตัวเอ (A) แถวตัวดับเบิลยู (W) และแถวตั้งซุ้ม มาสร้างสรรค์เพิ่มเติมโดยการผสมผสานกันทำให้เกิดรูปแบบแถวใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม งานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์การแสดงกลองยาวเพื่อการประกวด อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนหรือกลุ่มคนที่สนใจแข่งขันกลองยาวมีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนารูปแบบการแสดงกลองยาวต่อไปอนาคต


ลอดิลกล่มฟ้า : การผสานนาฏยศิลป์ไทยกับละครตะวันตกเพื่อสร้างอัตลักษณ์ละครสมัยใหม่ของไทย, พรรณศักดิ์ สุขี Jan 2019

ลอดิลกล่มฟ้า : การผสานนาฏยศิลป์ไทยกับละครตะวันตกเพื่อสร้างอัตลักษณ์ละครสมัยใหม่ของไทย, พรรณศักดิ์ สุขี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการค้นหา ทดลอง แนวความคิดและกระบวนการสร้างสรรค์ละครเวทีไทยเรื่อง “ลอดิลกล่มฟ้า” (LOR : Love, Obsession, Revenge” เพื่อจัดแสดงในประเทศแคนาดา โดยใช้รูปแบบงานวิจัยสร้างสรรค์ที่ลงมือปฏิบัติจริงในการสร้างสรรค์ละครเวที และงานวิจัยเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์ผล ผลการวิจัยพบว่า ละครไทยสามารถสื่อสารกับผู้ชมต่างชาติได้อย่างดีและมีอัตลักษณ์ ด้วยกระบวนการสร้างสรรค์ 4 ขั้นตอนคือ 1. ขั้นตอนก่อนดำเนินงานสร้าง ประกอบด้วยการกำหนดแนวคิดในการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทยให้มีความสากล ด้วยการสังเคราะห์ทฤษฎีโศกนาฏกรรมของอริสโตเติลเพื่อตีความบทวรรณกรรมเรื่องลิลิตพระลอให้สื่อสารได้อย่างมีความเป็นสากล โดยเน้นแนวคิดเรื่องชะตากรรมหรือเจตจำนงเสรี การสร้างบทละครตามทฤษฎีประพันธศิลป์ และการวางแผนงานตามระบบสากล 2. ขั้นตอนการดำเนินงานสร้าง ประกอบด้วยกระบวนการซ้อมที่ใช้แนวทางการแสดงตามระเบียบวิธีว่าด้วยกรรมรูปธรรมของคอนสแตนติน สตานิสลาฟสกี ผสานเข้ากับการแสดงและนาฏลีลาการฟ้อนเจิงดาบที่มีความหมายเชิงสัญวิทยาทั้งในระดับโลกียะและโลกุตระ แนวทางการกำกับการแสดงที่มุ่งเน้นความเป็นเจ้าของผลงานของผู้กำกับการแสดงผ่านแก่นความคิด แนวคิด และการสร้างภาพบนเวที 3. ขั้นตอนการแสดง จัดแสดง เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2558 ณ โรงละครเฟย แอนด์ มิลตัน หว่อง นครแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ผู้ชมส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศเข้าใจและมีอารมณ์ร่วมกับละครได้ดีด้วยแก่นความคิดที่เป็นสากล ขณะเดียวกันก็รู้สึกสัมผัสได้ถึง “ความเป็นไทย” จากทั้งรูปแบบและเนื้อหา 4. ขั้นตอนหลังดำเนินงานสร้าง ผู้จัดและผู้สนับสนุนโครงการเห็นความคุ้มค่าเนื่องจากได้เผยแพร่ศักยภาพของศิลปินยุคใหม่ของไทยสาขาศิลปะการแสดง และละครสมัยใหม่ของไทย


นาฏกรรมในพิธีกรรมปัญโจลมะม็วด จังหวัดสุรินทร์, พิมวลี ดีสม Jan 2019

นาฏกรรมในพิธีกรรมปัญโจลมะม็วด จังหวัดสุรินทร์, พิมวลี ดีสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานาฏกรรมในพิธีกรรมปัญโจลมะม็วด จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์และการมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า พิธีกรรมปัญโจลมะม็วด เป็นพิธีกรรมในการรักษาโรคตามคติความเชื่อของคนกลุ่มชาติพันธุ์เขมรว่าผู้ป่วยมีสิ่งชั่วร้ายเข้าสิง จึงต้องให้มะม็วดซึ่งเป็นสตรีในสายตระกูลเท่านั้นมาทำพิธีเข้าทรงเชิญวิญญาณศักดิ์สิทธิ์มากำจัดสิ่งชั่วร้ายนั้น พิธีมี 11 ขั้นตอน คือ 1. การปรับพื้นที่ตามฤกษ์ 2. การปลูกปะรำพิธี 3. การนำผู้ป่วยเข้าประจำที่ 4. การโหมโรงดนตรี 5. การไหว้วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ 6. การรำเข้าทรงของมะม็วด 7. การรำกำจัดสิ่งชั่วร้าย 8. การรำเชิญวิญญาณศักดิ์สิทธิ์มาช่วยรักษา 9. การรำเชิญวิญญาณทั้งหมดกลับ 10. การรำเรียกขวัญผู้ป่วย 11.การรำลา นาฏกรรมในพิธีกรรมนี้ปรากฏอยู่ 3 วัตถุประสงค์ คือ 1. การรำบวงสรวง คือ การรำไหว้วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวง 2. การรำรักษา คือ การรำดาบเพื่อฟันสิ่งชั่วร้าย 3. การรำเฉลิมฉลอง คือ การรำเพื่อยินดีกับผู้ป่วยที่รักษาหาย ผลการวิจัยเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาด้านนาฏยศิลป์ไทย เป็นการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไปและยังสามารถเชื่อมโยงไปสู่กระบวนการการสร้างความสามัคคี อันนำไปสู่ความสงบสุขร่มเย็นของสังคมไทย


วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่กับการอนุรักษ์และพัฒนานาฏศิลป์ล้านนา, เอกชัย ศรีรันดา Jan 2019

วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่กับการอนุรักษ์และพัฒนานาฏศิลป์ล้านนา, เอกชัย ศรีรันดา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง “วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่กับการอนุรักษ์และพัฒนานาฏศิลป์ล้านนา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางอนุรักษ์และพัฒนาการแสดงนาฏศิลป์แบบล้านนาของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ มีขอบเขตของการวิจัย คือ ศึกษารูปแบบการฟ้อนแบบนาฏศิลป์ล้านนาในสายคุ้มพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ที่วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ได้รับถ่ายทอด และการพัฒนาชุดการแสดงทั้ง 3 ช่วง ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 จนถึง พ.ศ. 2561 รวมระยะเวลา 47 ปี ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล จัดลำดับและเรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่เป็นสถาบันการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ เป็นแหล่งรวบรวมศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองประจำภาคเหนือที่ “สร้างศาสตร์แห่งศิลป์” ด้วยการดำเนินการตามวิสัยทัศน์และพันธกิจที่กำหนดเป้าหมายสำคัญใน 2 ประเด็น คือ การอนุรักษ์และพัฒนา ด้วยการการสืบสาน สร้างสรรค์ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมผ่านนโยบายการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา นโยบายการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษานั้นในด้านการอนุรักษ์และพัฒนาของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่จะให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดองค์ความรู้นาฏศิลป์ล้านนา เริ่มต้นจากการเชิญช่างฟ้อนที่เคยอยู่ในคุ้มพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และช่างฟ้อนที่มีความสามารถเข้ามาถ่ายทอดรูปแบบการฟ้อนรำให้กับนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ แล้วนำนาฏศิลป์ล้านนาที่ได้รับถ่ายทอดมาบรรจุไว้ในหลักสูตร ต่อมาเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปคณาจารย์จึงได้มีการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ล้านนาชุดใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมแล้วนำการแสดงนาฏศิลป์ล้านนาออกเผยแพร่ สู่สาธารณชนในโอกาสสำคัญ ๆ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา อีกทั้งการจัดโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เพื่อให้ครู อาจารย์สร้างสรรค์นาฏศิลป์ล้านนาชุดใหม่ ๆ โดยผ่านกระบวนการวิจัยสร้างสรรค์ สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการส่งเสริมให้นักศึกษาสร้างสรรค์นาฏศิลป์ล้านนาในรายวิชาศิลปนิพนธ์ ถือเป็นการพัฒนา ต่อยอดองค์ความรู้เดิมให้มีความแปลกใหม่ ทันสมัยเข้ากับยุคสมัย แต่ยังคงรักษาของเดิมไว้ไม่ให้สูญหาย นอกจากนี้ยังมีการนำนาฏศิลป์ล้านนาออกถ่ายทอดให้กับสถานศึกษาอื่น ๆ เพื่อเป็นการอนุรักษ์นาฏศิลป์ล้านนาให้คงอยู่สืบไป วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่จึงเป็นองค์กรทางด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งมีพันธกิจสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้มีการสืบทอดต่อไปยังอนาคต ด้วยการสร้างคน สร้างศาสตร์ และบริการสังคม อีกทั้งองค์ความรู้เดิมมาพัฒนาเพื่อสนองการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง


Syntactic And Semantic Interpretations Of Control Constructions In British And American Sports News Articles, Abhinan Wongkittiporn Jan 2019

Syntactic And Semantic Interpretations Of Control Constructions In British And American Sports News Articles, Abhinan Wongkittiporn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study observes control constructions, traditionally known as to- infinitives, null infinitives, and -ing infinitives to examine their occurrence and connection with syntactic functions and semantic interpretations. The data is from sports news articles in British and American English. From previous studies, semantic interpretation and language variation are the reasons for the appearances of most control constructions. However, most previous studies only paid attention to specific types of control constructions, specific verbs and positions (i.e. Verb Phrase complements) in academic and fiction texts. This study observes all types of control constructions. While interpreting the appearance of control constructions in British …


Variability Of English Past Tense Morphology By L1 Thai And L1 French Learners, Chariya Prapobratanakul Jan 2019

Variability Of English Past Tense Morphology By L1 Thai And L1 French Learners, Chariya Prapobratanakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study examined variability of English past tense morphology by L1 Thai and L1 French learners. English, French and Thai are different in that past tense inflectional morphology is obligatory in English and French, but not in Thai. Based on the Failed Functional Features Hypothesis (FFFH) (Hawkins & Chan, 1997; Hawkins & Liszka, 2003), it was hypothesized that variability of English past tense morphology by L1 Thai learners was due to non-target-like syntactic representations, not the target-like syntactic representations according to the Missing Surface Inflection Hypothesis (MSIH) (Prévost & White, 2000; Lardiere, 2003). A cloze test and a grammaticality judgment …


An Interlanguage Study Of L2 Perception And Production Of English Word Stress By L1 Thai Learners., Sawaros Jaiprasong Jan 2019

An Interlanguage Study Of L2 Perception And Production Of English Word Stress By L1 Thai Learners., Sawaros Jaiprasong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aim of this study was to investigate L1 Thai learners’ English word stress perception and production of two different groups of English words: English words with different suffixes (suffixes affecting stress shift and neutral suffixes) and compound words (compound nouns and compound verbs). Three objectives were 1) to compare and contrast the perception of English word stress focusing on words, 2) to compare and contrast the production of English word stress focusing on words and 3) to investigate whether there is a relationship between L1 Thai learners’ perception and production of English word stress. Two groups of L1 Thai …


Out-Of-Class Language Learning Strategies Of Thai University Students During Participant In The Summer Work And Travel Program, Thunyaporn Thanasumbun Jan 2019

Out-Of-Class Language Learning Strategies Of Thai University Students During Participant In The Summer Work And Travel Program, Thunyaporn Thanasumbun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

It has long believed that in-class instruction alone is not sufficient to promote language skill development of second and foreign language learners, so spending time during school break in a country where the target language is spoken is one way to further increase their language proficiency outside classes. The present study aimed to investigate out-of-class language learning strategies and intercultural competence skills of 353 Thai undergraduate students who participated in the Summer Work and Travel Program in the United States in the year 2018. Quantitative data were collected using the Strategy Inventory for Language Learning (SILL) developed by Oxford (1990) …