Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2018

Fine Arts

Theses/Dissertations

Institution
Keyword
Publication

Articles 151 - 180 of 213

Full-Text Articles in Arts and Humanities

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ทางด้านนาฏยศิลป์, ภัทรฤทัย กันตะกนิษฐ์ Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ทางด้านนาฏยศิลป์, ภัทรฤทัย กันตะกนิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบและหาแนวคิดที่ได้หลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ทางด้านนาฏยศิลป์ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และวิจัยเชิงคุณภาพที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ สื่อสารสนเทศ การสัมมนา เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน และประสบการณ์ของผู้วิจัย พิจารณาข้อมูลเชิงทฤษฎีเชื่อมโยงในประเด็นของรูปแบบการแสดงนาฏยศิลป์ การสร้างสรรค์ และแนวคิดการแสดงนาฏยศิลป์ วิเคราะห์ข้อมูล ทดลองพัฒนาผลงานการสร้างสรรค์เรียบเรียงข้อมูล แสดงขั้นตอนและผลการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการแสดงผลงานสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่ปรากฏคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานศิลปิน โดยการคัดเลือกนักแสดงที่มีความหลากหลายในทักษะการเต้นร่วมสมัยและแนวเต้นที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ใช้เสียงไวโอลินบรรเลงสดและเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ ใช้พื้นที่ในและนอกวงกลมโดยมีเก้าอี้ 9 ตัววางเป็นวงกลมกลางเวที สวมใส่ชุดที่ใช้ในชีวิตประจำวันเหมาะสมกับสรีระและลีลานาฏยศิลป์ของนักแสดง ออกแบบแสงให้เห็นมิติของร่างกาย นำเสนอเป็น 3 องก์การแสดง ประกอบด้วย องก์ 1 ยุคบุกเบิก แบ่งเป็น 4 ฉาก คือ ฉาก 1 แนวคิดของลอย ฟูลเลอร์ (Loie Fuller) ฉาก 2 แนวคิดของอิสดอรา ดันแคน (Isadora Duncan) ฉาก 3 แนวคิดของรุท เซนต์เดนนีส (Ruth St Denis) ต่อเนื่องถึงฉาก 4 แนวคิดของเดนนีส-ชอร์น (Denis Shawn) องก์ 2 ยุคสมัยใหม่ศิลปินรุ่น 1 และ 2 แบ่งเป็น 4 ฉาก ได้แก่ ฉาก 1 แนวคิดของมาธา เกรแฮม (Matha Graham) ฉาก 2 แนวคิดของดอริช ฮัมเฟรย์ (Doris Humphrey) ฉาก 3 แนวคิดของเมอร์ซ คันนิงแฮม (Merce Cunningham) และฉาก 4 แนวคิดของโฮเซ ลีมอน (Jose Limon) องก์ 3 ยุคหลังสมัยใหม่ แบ่งเป็น 4 ฉาก ได้แก่ ฉาก …


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากข้อถกเถียงเรื่องเพศ, วิทวัส กรมณีโรจน์ Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากข้อถกเถียงเรื่องเพศ, วิทวัส กรมณีโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง "การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากข้อถกเถียงเรื่องเพศ" มีรูปแบบในลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวคิดหลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากข้อถกเถียงเรื่องเพศ โดยศึกษาปรากฏการณ์ของข้อถกเถียงเรื่องเพศวิถีและความเท่าเทียมในมนุษย์ นาฏยศิลป์สร้างสรรค์ในปัจจุบัน ศิลปะแบบสมัยใหม่และแบบหลังสมัยใหม่ที่ส่งผลต่องานนาฏยศิลป์ เพื่อเป็นพื้นฐานประกอบในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย สื่อสารสนเทศอื่น ๆ ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และนำเสนอผลงานวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์เป็นการนำเสนอเรื่องราวของข้อถกเถียงเรื่องเพศมาสร้างสรรค์เป็นงานนาฏยศิลป์เพื่อสังคมลักษณะหนึ่ง ซึ่งเป็นการแสดงข้อถกเถียงเรื่องเพศทางด้านเพศวิถีและความเท่าเทียมในมนุษย์ ตามทรรศนะของวิทยาศาสตร์ มานุษยวิทยาและสังคมวิทยา สามารถจำแนกตามองค์ประกอบของการสร้างสรรค์ผลงงานทางด้านนาฏยศิลป์ทั้งหมด 8 ประการ ได้แก่ 1) บทการแสดง สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ภายใต้ลักษณะของข้อถกเถียงเรื่องเพศทางด้านเพศวิถีและความเท่าเทียมในมนุษย์ตามทรรศนะของวิทยาศาสตร์ มานุษยวิทยาและสังคมวิทยา แบ่งออกได้ทั้งหมด 4 องก์ ได้แก่ องก์ 1 เพศกำหนด (Sex Determination) องก์ 2 จิตวิญญาณ (Soul) องก์ 3 พื้นที่การแสดงออก (Space) และองก์ 4 การเคลื่อนไหวของเพศวิถี (Sexuality Movement) 2) นักแสดง มีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ รวมถึงมีประสบการณ์เกี่ยวกับเพศวิถีและความเท่าเทียมในมนุษย์ 3) ลีลานาฏยศิลป์ นำเสนอผ่านรูปแบบนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ โดยการนำแนวคิดของมาธ่า เกร์แฮม (Matha Graham) ดอริส ฮัมเฟรย์ (Doris Humphrey) พอล เทย์เลอร์ (Paul Taylor) และพีน่า เบาซ์ (Pina Bausch) ในการเคลื่อนไหวการด้นสด การใช้ท่าทางในชีวิตประจำวัน และการแสดงอารมณ์ทางการเคลื่อนไหว 4) เสียงและดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ได้รับการสร้างสรรค์และประพันธ์เพลงขึ้นใหม่ สามารถสื่อความหมายและสื่อสารอารมณ์ 5) เครื่องแต่งกาย ใช้การออกแบบจาก 3 แนวคิด คือ หลักศิลปะมินิมอลลิสม์ (Minimalism) หลักทฤษฎีน้อยดีกว่ามาก (Less is more) และแนวคิดแบบอาวองการ์ด (Avant-garde) 6) พื้นที่การแสดง นำเสนอการแสดงบนพื้นที่อื่นที่ไม่ใช่ลักษณะโรงละคร โดยจัดแสดงบริเวณพื้นที่แบบเปิด และมีมุมมองรอบด้านลักษณะวงกลม …


This Research-Based Thesis Focuses On Phin Music Based On Buddhist Perspectives In Respect Of The Middle Path. The Investigations Ultimately Led To The Creation In Thai Classical Music. The Phin Music Was Examined In Terms Of Its Concepts And Appearances In Tripitaka; And Other Sources Of Evidence. The Interviews Were Also Held With The Experts In The Related Fields, Namely Religion, Music, And Creativity. The Findings Revealed That The Dharma Is Elaborated Via The Phin's Characters Through The Following Three Perspectives Including (1) Religion As A Symbol Of Wisdom, (2) Faith As A Symbol Of Gandharva's Instruments, And (3) Music As Preciousness, Beauty, And Melodiousness. The Examinations Of All Relevant Documents And Evidence Showed That The Phin Instrument, Known As Krachappi, Is Categorized As A Long-Neck Plucked Lute, Whose Nomenclature Is Synonymous With A Lute Appearing In The Post Vedic Period. In Addition, A Phin Described In Tripitaka Can Be Referred To Three Issues: (1) An Implication Of Dharma By The Metaphor Made On A String And Sound, (2) Specific Types Of Instrument: Harp, Lute And Bowed, And (3) Musical Functions And Roles: Melodic And Drone Instruments For Accompanying Singing. In This Research, The New Music Composition Formed Is Classed As Phleng Tap Ruang Genre, Which Comprises Three Parts: Buddha-Guna, Dharma-Guna, And Sangha-Guna. The Genesis Of New Melodic Outlines Was Derived From Various Structures Of Verses, Pali Chanting Texts, And Chanda In Vuttodaya, Whose Connotations Are Associated With The Dharma. Furthermore, The Notable Components Of The Composition, Namely Drone Melodies, Horizontal Harmony, Pali Lyrics For Vocal Parts, And The Innovative Pattern Of Nathap, Were Elaborated As Embellishment's Purposes. In Addition, The Expressions Of The Music Relied Heavily Upon Melodic Derivations Tend To Covey The Dharma Implications., ศักดิ์ทวี จิตไพศาลวัฒนา Jan 2018

This Research-Based Thesis Focuses On Phin Music Based On Buddhist Perspectives In Respect Of The Middle Path. The Investigations Ultimately Led To The Creation In Thai Classical Music. The Phin Music Was Examined In Terms Of Its Concepts And Appearances In Tripitaka; And Other Sources Of Evidence. The Interviews Were Also Held With The Experts In The Related Fields, Namely Religion, Music, And Creativity. The Findings Revealed That The Dharma Is Elaborated Via The Phin's Characters Through The Following Three Perspectives Including (1) Religion As A Symbol Of Wisdom, (2) Faith As A Symbol Of Gandharva's Instruments, And (3) Music As Preciousness, Beauty, And Melodiousness. The Examinations Of All Relevant Documents And Evidence Showed That The Phin Instrument, Known As Krachappi, Is Categorized As A Long-Neck Plucked Lute, Whose Nomenclature Is Synonymous With A Lute Appearing In The Post Vedic Period. In Addition, A Phin Described In Tripitaka Can Be Referred To Three Issues: (1) An Implication Of Dharma By The Metaphor Made On A String And Sound, (2) Specific Types Of Instrument: Harp, Lute And Bowed, And (3) Musical Functions And Roles: Melodic And Drone Instruments For Accompanying Singing. In This Research, The New Music Composition Formed Is Classed As Phleng Tap Ruang Genre, Which Comprises Three Parts: Buddha-Guna, Dharma-Guna, And Sangha-Guna. The Genesis Of New Melodic Outlines Was Derived From Various Structures Of Verses, Pali Chanting Texts, And Chanda In Vuttodaya, Whose Connotations Are Associated With The Dharma. Furthermore, The Notable Components Of The Composition, Namely Drone Melodies, Horizontal Harmony, Pali Lyrics For Vocal Parts, And The Innovative Pattern Of Nathap, Were Elaborated As Embellishment's Purposes. In Addition, The Expressions Of The Music Relied Heavily Upon Melodic Derivations Tend To Covey The Dharma Implications., ศักดิ์ทวี จิตไพศาลวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลงานวิจัยสร้างสรรค์การประพันธ์เพลงมีจุดประสงค์เพื่อสร้างสรรค์นวตกรรมการประพันธ์เพลงแนว และสร้างบริบททางดนตรีแนวใหม่ สำหรับวงวินด์ซิมโฟนี ร่วมกับเครื่องยามาฮ่า อิเลคโทนรุ่น สเตเจีย ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง "มงคลจักรวาลแห่งไตรภูมิกถา สำหรับอิเลคโทน และวงวินด์ซิมโฟนี" ได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับภพภูมิ ถิ่นที่อยู่ที่เกิดขึ้นและดับไปในสามโลกได้แก่ (1) กามภูมิ (2) รูปภูมิ และ (3) อรูปภูมิ ซึ่งจะถ่ายทอดเรื่องราวตามจินตนาการของผู้ประพันธ์ อีกทั้งยังมีการใช้แนวทำนองพื้นบ้านมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการประพันธ์เพลงในกระบวนที่ 3 ตลอดความยาว 34 นาทีของบทประพันธ์นี้ประกอบด้วย 4 กระบวน ได้แก่ (1) อบายภูมิ4 (2) อรูปภูมิ4 (3) ฉกามาพจร6 และ (4) มนุษยภูมิ4


การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์บทเพลงชุด พุทธเจดีย์ทวารวดีศรีนครปฐม, สรายุทธ์ โชติรัตน์ Jan 2018

การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์บทเพลงชุด พุทธเจดีย์ทวารวดีศรีนครปฐม, สรายุทธ์ โชติรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์บทเพลงชุด พุทธเจดีย์ทวารวดีศรีนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์เพลงที่ได้รับแรงบันดาลใจเกี่ยวกับความเชื่อ เชื้อชาติ ภาษา รูปแบบสถาปัตยกรรม ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ และสร้างองค์ความรู้ด้านการประพันธ์เพลงแนวใหม่ และการสร้างเครื่องดนตรี โดยถ่ายทอดผลงานในรูปแบบดนตรีพรรณนาทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพในการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ พุทธเจดีย์ทวารวดี 7 องค์เป็นสิ่งปลูกสร้างแสดงถึงความรุ่งเรืองเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาที่ปรากฏมาในเมืองนครปฐมสมัยทวารวดีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11-16 จนถึงปัจจุบันที่สมบูรณ์จำนวน 2 องค์คือ พระปฐมเจดีย์ พระประโทน-เจดีย์ และร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์อีกจำนวน 5 องค์คือ จุลประโทนเจดีย์ พระเนินเจดีย์ สังฆรัตนธาตุเจดีย์ พระงามเจดีย์ และพระเมรุเจดีย์ การสร้างสรรค์ผลงานนี้เป็นการประพันธ์เพลงในรูปแบบของเพลงชุด ประกอบด้วยเพลงหลัก 8 เพลงคือ 1) เพลงพุทธเจดีย์บูชา 2) เพลงพระปฐมเจดีย์ 3) เพลงพระประโทนเจดีย์ 4) เพลงพระเนินเจดีย์ 5) เพลงสังฆรัตนเจดีย์ 6) เพลงจุลประโทนเจดีย์ 7) เพลงพระงามเจดีย์ 8) เพลงพระเมรุเจดีย์ และทำนองเชื่อมเจดีย์สำหรับบรรเลงเชื่อมเพลงหลัก 1 ทำนอง โดยรูปแบบวงดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประสมวงขึ้นใหม่ประดิษฐ์เพิ่มขึ้นใหม่ 2 ชิ้นคือ ระฆังหินและระนาดหิน เพื่อใช้สำหรับบรรเลงเพลงชุดโดยเฉพาะประกอบด้วย ระนาดตัดขนาดใหญ่ ระนาดตัดขนาดเล็ก จะเข้ ปี่มอญ ขลุ่ยเพียงออ ระฆังหิน ระนาดหิน ปรับเปลี่ยนให้ความสอดคล้องกับลีลาทำนองของพุทธเจดีย์แต่ละองค์ กำหนดทำนองในอัตราจังหวะสองชั้นและชั้นเดียว จังหวะฉิ่ง 3 รูปแบบ และหน้าทับ 12 รูปแบบ แสดงความเป็นอัตลักษณ์สำเนียงของบทเพลงที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสะท้อนภาพความเชื่อเรื่องกุมารทองในสังคมไทย, สุนันทา เกตุเหล็ก Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสะท้อนภาพความเชื่อเรื่องกุมารทองในสังคมไทย, สุนันทา เกตุเหล็ก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง "การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสะท้อนภาพความเชื่อเรื่องกุมารทองในสังคมไทย" มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบและแนวคิดหลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสะท้อนภาพความเชื่อเรื่องกุมารทองในสังคมไทย โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากตัวละครกุมารทองที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง ขุนช้างขุนแผน และยังคงสืบทอดคติความเชื่อเรื่องกุมารทองมาจนถึงปัจจุบัน จึงเกิดแนวคิดหลักในการดำเนินงานด้วยการนำกุมารทองมาเป็นสัญลักษณ์สะท้อนภาพความเชื่อของคนในสังคมไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบของงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การค้นคว้าเอกสาร การสัมภาษณ์ การสัมมนา สื่อสารสนเทศ การเก็บข้อมูลภาคสนาม และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ และสรุปผล ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์สามารถจำแนกองค์ตามประกอบของการแสดงได้ 8 ประการ ได้แก่ บทการแสดง ลีลา ผู้แสดง เสียงและดนตรี อุปกรณ์การแสดง เครื่องแต่งกาย แสง และสถานที่การแสดง ซึ่งการออกแบบในแต่ละองค์ประกอบมีกระบวนการคิดสร้างสรรค์จากจุดเริ่มต้นในการสะท้อนภาพความเชื่อเรื่องกุมารทอง เริ่มจากการแบ่งบทการแสดงออกเป็น 3 องก์ โดยเล่าเรื่องราวเป็นลำดับเหตุการณ์ตามระยะเวลา ได้แก่ องก์ที่ 1 กำเนิด องก์ที่ 2 อิทธิฤทธิ์ องก์ที่ 3 ความเชื่อ ซึ่งเป็นการนำเสนอการตีความผ่านศิลปะการแสดงนาฏยศิลป์ร่วมสมัย โดยคัดเลือกผู้แสดงที่มีทักษะความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ และบุคลิกลักษณะเหมาะสมกับบทบาทที่ได้รับ มีการออกแบบเครื่องแต่งกายที่บ่งบอกถึงยุคสมัย และแฝงการสร้างสัญญะของความเชื่อเรื่องกุมารทองไว้ในการออกแบบเครื่องแต่งกาย อีกทั้งยังมีการใช้เสียงและแสงในการสร้างบรรยากาศ และกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของ ผู้แสดงและผู้ชม นอกจากนี้ยังมีการออกแบบอุปกรณ์ที่ใช้หลักทฤษฎีสัญวิทยาในการให้ความหมายของอุปกรณ์ประกอบการแสดง ทำให้เกิดมิติทางความหมายที่แตกต่างจากการตีความหมายในมุมมองของความเชื่อเรื่องกุมารทอง โดยใช้สถานที่โรงละครแห่งมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (Black Box Theatre) ในการช่วยสร้างภาพลวงตาในการรับชมการแสดงได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แนวคิดหลังการการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์มี 5 ประการ ได้แก่ 1) การคำนึงถึงเนื้อหากุมารทองจากวรรณกรรมไทย 2) การคำนึงถึงความเชื่อเรื่องกุมารทองผ่านงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ 3) การคำนึงถึงการใช้ทฤษฎีสัญวิทยาในการแสดงนาฏยศิลป์ 4) การคำนึงถึงการสะท้อนภาพสังคมโดยใช้นาฏยศิลป์ 5) การคำนึงถึงการตีความอนาคตด้านความเชื่อเรื่องกุมารทองในสังคมไทย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นผลงานสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวความเชื่อหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในการให้แนวคิดและปรัชญาในการเชื่อถือศรัทธาต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด และยังสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมความเชื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงและสืบทอดอย่างมีนัยยะไปตามบริบทของสังคม


เพลงตับ “พิณทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”, วราภรณ์ เชิดชู Jan 2018

เพลงตับ “พิณทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”, วราภรณ์ เชิดชู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยดนตรีพิณตามแนวคิดพุทธศาสนาจากธรรมะเรื่องทางสายกลาง เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์ทางดุริยางคศิลป์ไทย โดยค้นคว้าจากพระไตรปิฎกและหลักฐานต่าง ๆ รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักธรรม ดนตรีและการสร้างสรรค์ ผลการวิจัยพบว่า หลักธรรมทางสายกลาง "ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา" นั้น ปรากฏการใช้คุณสมบัติดนตรี "พิณ" เป็นสื่อในการอธิบายธรรมะ โดยข้อมูลดนตรีพิณสื่อถึง 3 นัยคือ (1) พิณในทางพุทธศาสนาจัดเป็นสัญลักษณ์แห่งการก่อให้เกิดปัญญา (2) พิณในทางความเชื่อจัดเป็นสัญลักษณ์แห่งเทพคนธรรพ์ (3) พิณในทางดนตรีเป็นลักษณะที่แสดงถึงคุณค่า ความงาม ความไพเราะ เอกสารและหลักฐานต่าง ๆ พบว่า เครื่องดนตรีพิณ "กระจับปี่" จัดอยู่ในประเภทพิณคอยาวเรียกชื่อตามแบบพิณลิวท์ที่ปรากฏในยุคหลังพระเวท ส่วนข้อมูลดนตรีพิณในพระไตรปิฎกพบว่า (1) ด้านความหมาย พิณมีนัยแห่งหลักธรรมโดยอุปมาจากสายและเสียงของพิณ (2) ด้านลักษณะพิณ ปรากฏรูปแบบฮาร์ป ลิวท์และโบว์ (3) ด้านบทบาทหน้าที่พบว่าพิณเป็นเครื่องทำทำนองและเครื่องทำเสียงโดรน ใช้ประกอบการขับร้อง ผลงานการประพันธ์เพลงในครั้งนี้เป็นเพลงตับเรื่องแบ่งทำนองออกเป็น 3 ส่วนคือ พุทธคุณ ธรรมคุณและสังฆคุณ โดยใช้กลวิธีการประพันธ์ตามขนบด้วยทำนองต้นรากที่มาจากบทสวดบาลีและฉันท์ในคัมภีร์วุตโตทัย อันมีความหมายสอดคล้องกับเรื่องราวทางสายกลาง รวมทั้งการใช้แนวคิดเสียงโดรน การประสานเสียงแนวนอน การใช้คำร้องบาลี การประพันธ์หน้าทับใหม่ ตลอดจนการสอดแทรกและรักษานัยแห่งหลักธรรมของทำนองต้นรากอย่างเคร่งครัด อันเป็นลักษณะพิเศษที่ปรากฏในผลงานสร้างสรรค์ครั้งนี้


นวัตกรรมอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์สำหรับสตรีสูงวัย, อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์ Jan 2018

นวัตกรรมอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์สำหรับสตรีสูงวัย, อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งตามการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคนั้นชี้ให้เห็นว่า กลุ่มผู้สูงอายุในประเทศไทยมีกำลังซื้อสูง มีความสนใจดูแลใส่ใจสุขภาพ ชื่นชอบการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับกลุ่มผู้บริโภคในช่วงอายุอื่น ๆ ทั้งยังมีแนวโน้มสนใจวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเดินทาง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานวัตกรรมการสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มผู้บริโภคสตรีสูงวัยที่มีแนวโน้มสนใจวัฒนธรรม และการนำนวัตกรรมที่เหมาะสมเข้าไปสนับสนุนการตอบสนองความต้องการด้านการบริโภคสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ ให้แก่กลุ่มสตรีสูงวัยที่มีรูปแบบหรือสไตล์การแต่งกายที่แตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม โดยแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ (1) การศึกษารูปแบบการแต่งกายและการดำเนินชีวิตของกลุ่มเป้าหมายสตรีสูงวัย ด้วยการเก็บข้อมูลรูปภาพเปเปอร์ดอล ดาต้าเซต (Paper Doll Data Set) และการใช้เครื่องมือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น (2) การศึกษาแนวคิดการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายสตรีสูงวัย ได้แก่ ทฤษฎีการออกแบบด้วยวัฒนธรรม (Cultural Design) ทฤษฎีการออกแบบเพื่อมวลชน (Universal Design) (3) กรณีศึกษาการศึกษาทุนวัฒนธรรมสิ่งทอพื้นถิ่นจังหวัดน่าน (4) การออกแบบสร้างสรรค์ผลงานจากคำตอบของการวิจัย โดยผลจากการวิจัยพบว่า นวัตกรรมอัตลักษณ์ตราสินค้าสิ่งทอแฟชั่นไลฟ์สไตล์สำหรับผู้สตรีสูงวัย มีรายละเอียดดังนี้ 1. กลุ่มผู้บริโภคสตรีสูงวัยสามารถแบ่งรูปแบบการแต่งกายได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ กลุ่มทันสมัยตามกระแสนิยม (Modern-Urban) กลุ่มพื้นถิ่นและวัฒนธรรม (Boho-Ethnic) และกลุ่มหรูหราอ่อนหวาน (Luxury-Feminine) ซึ่งทั้งสามรูปแบบนั้นมีวิถีชีวิตและแนวทางการแต่งกายแตกต่างกัน 2. แนวทางการออกแบบสำหรับกลุ่มผู้บริโภคสตรีสูงวัยใช้ทฤษฎีการออกแบบด้วยวัฒนธรรม (Cultural Design) และทฤษฎีการออกแบบเพื่อมวลชน (Universal Design) โดยแนวคิดการออกแบบทั้งสองก่อให้เกิดรูปแบบของชุดคำตอบที่สามารถนำไปสู่นวัตกรรมการสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าได้ทั้งหมด 3 รูปแบบ


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสัญลักษณ์โอม ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, อภิโชติ เกตุแก้ว Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสัญลักษณ์โอม ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, อภิโชติ เกตุแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสัญลักษณ์โอม ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยศึกษาจากแนวคิดจากสัญลักษณ์โอม ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู สัญศาสตร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เกณฑ์มาตรฐานศิลป์ ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย รวมไปถึงได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยจำนวน 33 คน สื่อสารสนเทศอื่น ๆ สำรวจข้อมูลภาคสนามที่เทวสถานทั้งในประเทศไทยและประเทศอินเดีย ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ สรุปผล และนำเสนอผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการแสดงมีองค์ประกอบทั้งหมด 8 ประการ ได้แก่ 1) บทการแสดง โดยวิเคราะห์จากแนวคิดองค์ประกอบทัศนศิลป์ที่ปรากฏบนสัญลักษณ์โอม แบ่งออกเป็น 3 องก์ ประกอบไปด้วย องก์ 1 จุดเริ่มต้น (Starting Point) องก์ 2 เส้นโค้งแห่งการปกป้องดูแล (The Curve of Protection) และองก์ 3 จุดสิ้นสุด (End Point) ผู้วิจัยใช้การจัดวางภาพในการแสดงจากแนวคิดการปะติดภาพ (Collage) 2) นักแสดง คัดเลือกจากผู้มีความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์อินเดียและนาฏยศิลป์ตะวันตก 3) การเคลื่อนไหวลีลา นำเสนอผ่านรูปแบบนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ โดยการนำแนวคิดของ อิสดอรา ดันแคน (Isadora Duncan) ในแนวคิดการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระ (Free Spirit) พอล เทย์เลอร์ (Paul Taylor) แนวคิดการใช้ท่าทางในชีวิตประจำวัน (Everyday Movement) สตีฟ แพกซ์ตัน (Steve Paxton) แนวคิดการเคลื่อนไหวลีลาโดยใช้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายในแบบด้นสด (Body Contact Improvisation) อาครัมคาน (Akram Khan) แนวคิดการใช้ทักษะท่าทางนาฏยศิลป์อินเดียมาผสมผสานกับนาฏศิลป์แบบตะวันตก 4) เสียงเป็นการแสดงแบบดนตรีสดโดยใช้เครื่องดนตรีที่สามารถสื่อถึงอารมณ์และความรู้สึก ได้แก่ ขันทิเบต เชลโล่ กลองตับบลา กลองไทโกะ 5) อุปกรณ์การแสดง ใช้แนวคิดสัญลักษณ์ที่เน้นความเรียบง่าย สามารถสื่อสารความหมายอย่างชัดเจน 6) เครื่องแต่งกาย เป็นการลดทอนการแต่งกายของอินเดียโดยการนำแนวคิดมินิมอลลิสม์ (Minimalism) ที่ให้ความสำคัญกับความเรียบง่าย 7) …


การสร้างสรรค์ผลงานดุริยางคศิลป์ ชุด สัตว์หิมพานต์, สุรพงษ์ บ้านไกรทอง Jan 2018

การสร้างสรรค์ผลงานดุริยางคศิลป์ ชุด สัตว์หิมพานต์, สุรพงษ์ บ้านไกรทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสร้างสรรค์ผลงานดุริยางคศิลป์ ชุด สัตว์หิมพานต์ เป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ผสมกับการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในดำเนินการวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคติความเชื่อในเรื่องสัตว์หิมพานต์ นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานดุริยางคศิลป์ และจัดแสดงผลงานต่อสาธารณชน เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์จากบุคคลข้อมูล 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปกรรมไทย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศาสนาปรัชญาและความเชื่อ และผู้ทรงคุณวุฒิทางดุริยางคศิลป์ไทย ผลการวิจัยพบว่า สัตว์หิมพานต์เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทยมายาวนาน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ สัตว์จตุบาท สัตว์ทวิบาทและมัจฉา ในสังคมไทยมีคติความเชื่อว่าสัตว์หิมพานต์เป็นสัตว์มงคล เป็นสัตว์วิเศษที่มีความสวยงาม มีคติเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผลงานดุริยางคศิลป์ ชุด สัตว์หิมพานต์ ประกอบไปด้วย 10 บทเพลง ได้แก่เพลงพญาโคนิสภราช เพลงพญาพลาหก เพลงพญาฉัททันต์ เพลงพญาไกรสรสีหราช เพลงพญาหงส์ทอง เพลงพญากินนรแห่งสุวัณณนคร เพลงพญาครุฑ เพลงปลาอานนท์ เพลงพญานาคราช สุนันทนาคราชและปนันทนาคราช มีเพลงสำหรับเชื่อมต่อเพื่อความเป็นเอกภาพคือเพลงวิพิธหิมพานต์ บทเพลงทั้ง 10 เพลงประพันธ์ขึ้นใหม่ทั้งหมดโดยนำข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์หิมพานต์มาวิเคราะห์ ตีความทางสัญวิทยาโดยนำเอาลักษณะของสัตว์ต่าง ๆ มาสื่อด้วยองค์ประกอบทางดุริยางคศิลป์ ผสานกับความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และแรงบันดาลใจของผู้วิจัยในรูปแบบดนตรีพรรณนา มีการสร้างสรรค์รูปแบบการประสมวงดนตรี และรูปแบบจังหวะหน้าทับขึ้นใหม่เพื่อแสดงจินตภาพของสัตว์หิมพานต์แต่ละชนิด เพื่อเติมเต็มจินตภาพของสัตว์หิมพานต์ให้สมบูรณ์


Through My Window, Haiyin Liang Jan 2018

Through My Window, Haiyin Liang

Theses and Dissertations

I convey my thoughts through art jewelry; making jewelry is my language of communication and commemoration. Inspired by historical Chinese art and contemporary jewelry, my practice pays attention to bring classical Chinese aesthetics of hazy poetic and ideal arrangement into the contemporary jewelry field. The attention to detail refers to the quiet contemplation and emotional experiences encouraged by each of my works. Through my research, I use metalsmithing language to communicate with non-precious materials finding my own way of expression and meditation. Meanwhile, I build environments that display jewelry off the body in order to construct a picturesque landscape. The …


My Eyes Due See, Johannes J. Barfield Jan 2018

My Eyes Due See, Johannes J. Barfield

Theses and Dissertations

My Eyes Due See is a multidimensional examination of the “black experience” in America. The installation is composed of a single-channel video, a music composition that utilizes music samples and live instrumentation, and sculptures made up of car parts and broomsedge grass. Each of these elements arranged in space share a nuanced and complicated view of blackness through the lens of a black man decoding personal history and American history simultaneously. Autonomy is the overarching theme throughout the work as it pertains to race, identity, urban and rural environments, and the relationship between generational trauma and nostalgia.


There Is Someone In This Dress, George, Michael S. Royce Jan 2018

There Is Someone In This Dress, George, Michael S. Royce

Theses and Dissertations

Questions surrounding queer subjectivity—including shame, the closet, and celebration—are at the core of my interests as a painter and image maker. Mining the history of religious iconography, including annunciation paintings, scenes of the crucifixion, and other notable works of this ilk, my paintings seek to explore the intricacies of sexuality and the workings of shame and celebration at play in the life of the queer-identified.


Embedded In These Walls, Trish J. Gibson Jan 2018

Embedded In These Walls, Trish J. Gibson

Theses and Dissertations

Embedded In These Walls uses photographic imagery, archival ephemera, and written text to examine a specific history of generational trauma through the lens of a singular family of a southern tradition to point to a larger systemic breakdown of accountability and truthfulness regarding abuse


Path, Evan Galbicka Jan 2018

Path, Evan Galbicka

Theses and Dissertations

Path is a collaborative system that developed over the course of five months of studio activity and continued through the duration of the exhibition. The system’s main collaborators were a land snail native to eastern North America (Neohelix albolabris), myself, and a digital cellular automaton. These prime agents interwove processes and exchanges between one another into a complex network of folded fractal feedback loops. Cyclic processes produced artifacts and infrastructures to support communication between the components and agents of Path. As a whole, Path spoke to the possibilities for interspecies, cyber-physical, and ecological collaboration to create an …


She Inches Glass To Break: Conversations Between Friends, Liang Xia Luscombe Jan 2018

She Inches Glass To Break: Conversations Between Friends, Liang Xia Luscombe

Theses and Dissertations

She inches glass to break: conversations between friends is a project that aims to manifest, through research and practice, my own feminist language within the videos I have produced in my final year of my Masters of Fine Arts. My feminist language is Australian and intersectional, invested in combating sexism, racism and in deepening language and representation around sexuality in relation to Asian women. This project discusses my video She inches glass to break (2018) in length, which created intersectional feminist dialogue in response to feminist filmmaker Ulrike Ottinger’s film Ticket of No Return (1979) and Breakfast at Tiffany’s (1961). …


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความหมายนามเต็มของ “กรุงเทพมหานคร”, ณัฏฐ์พัฒน์ ผลพิกุล Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความหมายนามเต็มของ “กรุงเทพมหานคร”, ณัฏฐ์พัฒน์ ผลพิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความหมายนามเต็มของ "กรุงเทพมหานคร" มีรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพเละการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ตลอดจนมีวัตถุประสงค์ศึกษาหารูปแบบแนวคิดหลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่ได้จากนามเต็ม"กรุงเทพมหานคร"และเพื่อศึกษาแนวคิดหลังการสร้างสรรค์ผลงาน อีกทั้งผู้วิจัยมุ่งศึกษาประวัติศาสตร์นามกรุงเทพมหานคร รวมถึงข้อมูลทางเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏยศิลป์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัย การสังเกตการณ์ ประสบการณ์ทางการสร้างสรรค์ผลงานของผู้วิจัย เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน และสื่อสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง สู่กระบวนการวิเคราะห์ สรุปผล และการนำเสนอผลของงานวิจัย โดยผู้วิจัยมีวิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยสามารถจำแนกตามองค์นาฏยศิลป์ทั้ง 8 องค์ประกอบ คือ 1) การออกแบบบทการแสดง 2) การคัดเลือกนักแสดง 3) การออกแบบลีลานาฏยศิลป์ 4) การออกแบบเสียงและดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง 5) การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง 6) การออกแบบพื้นที่สำหรับการแสดง 7) การออกแบบเครื่องแต่งกาย และ 8) การออกแบบแสง อีกทั้งสามารถจำแนกแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์ผลงานได้ 7 ประการ คือ 1) การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความหมายนามเต็มของ " กรุงเทพมหานคร " 2) ความคิดสร้างสรรค์ในผลงานนาฏยศิลป์ 3) สัญลักษณ์ในงานนาฏยศิลป์ 4 ) ทฤษฎีทางด้านนาฏยศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์ 5) แนวคิดของนาฏยศิลป์ร่วมสมัย 6) การสะท้อนสภาพสังคมผ่านการสร้างสรรค์ทางนาฏยศิลป์ และ 7) แนวคิดของนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้นำองค์ความรู้ในหลากหลายศาสตร์เป็นพื้นฐานที่นำสู่การสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏยศิลป์จากความหมายนามเต็มของ "กรุงเทพมหานคร" สามารถนำมาเป็นต้นแบบในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ที่ผู้สร้างงานพิจารณาหรือวิเคราะห์จากความหมายของนามเฉพาะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการการสื่อความหมายให้เป็นรูปธรรม โดยผ่านงานนาฏยศิลป์ อีกทั้งงานวิจัยในครั้งนี้ยังสามารถเป็นประโยชน์ในการต่อยอดองค์ความรู้ต่อไป


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่, วนศักดิ์ ผดุงเศรษฐกิจ Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่, วนศักดิ์ ผดุงเศรษฐกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อแสวงหารูปแบบนาฏยศิลป์ที่สร้างสรรค์จากตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่ และเพื่อค้นหาแนวคิดที่ได้หลังจากการปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ มีลักษณะเป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์และเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ สื่อสารสนเทศ ข้อมูลภาคสนาม การสังเกตการณ์ผลงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ การสัมมนา และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ การปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ และสรุปผล ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์โดยใช้ตำนานนกกิ่งกะหร่าเพื่อสื่อสารความเชื่อความศรัทธาของชาติพันธุ์ไทใหญ่กับพระพุทธศาสนา สามารถจำแนกตามองค์ประกอบการแสดงได้ 8 ประการ 1) บทการแสดงที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยผสมผสานตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่ และเรื่องชาติภพทั้ง 5 ของพระพุทธเจ้าในการกำเนิดเป็นนกกิ่งกะหร่า 2) นักแสดงมีคุณสมบัติในการเคลื่อนไหวร่างกายที่หลากหลายตามทักษะความชำนาญของตนเอง 3) ลีลาที่นำเสนอผ่านการฝึกปฏิบัติวิธีการแสดงแบบเดอะเมธอด (The Method of Acting) 4) เครื่องแต่งกายที่แสดงถึงบุคลิกภาพของนกกิ่งกะหร่าทั้ง 5 ตัว ตามแนวคิดเรื่องศีล 5 ข้อ 5) ดนตรีและเสียงประกอบที่ใช้ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือด้นสดกับสถานการณ์ในการแสดง และการขับเพลงพื้นบ้านภาคเหนือเล่าเรื่องตำนานนกกิ่งกะหร่า 6) อุปกรณ์ประกอบการแสดงที่เน้นการใช้ร่างกายเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบต่าง ๆ ของนักแสดงเพื่อสื่อสารประเด็นสำคัญของเรื่อง 7) พื้นที่การแสดงที่กำหนดความหมายเป็นสถานที่ต่าง ๆ ในการแสดงได้แก่ สถานที่ไร้กาลและเวลา ป่าหิมพานต์ และท้องฟ้า 8) แสงที่ใช้แนวคิดทางทัศนศิลป์ และสัญวิทยาออกแบบเสียงให้ที่สามารถสื่อสารความคิดและสถานการณ์ของตัวละครให้เกิดความชัดเจน นอกจากนี้ ในด้านการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ยังได้ให้ความสำคัญใน 6 ประเด็น 1) แนวคิดจากตำนานนกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่ 2) แนวคิดเกี่ยวกับชาติพันธุ์กับอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ไทใหญ่ 3) แนวคิดที่เกี่ยวกับรากฐานความคิดความเชื่อและศิลปวัฒนธรรม 4) แนวคิดสัญวิทยา 5) แนวคิด การแสดงเดอะเมธอด (The Method of Acting) และ 6) แนวคิดทางทัศนศิลป์


ดุษฎีนิพนธ์งานวิจัยดนตรีสร้างสรรค์: ดุลยภาพลีลาเสียงแห่งวงเชมเบอร์อองซอมเบลอร่วมสมัย, อนันตญา รอดเทียน Jan 2018

ดุษฎีนิพนธ์งานวิจัยดนตรีสร้างสรรค์: ดุลยภาพลีลาเสียงแห่งวงเชมเบอร์อองซอมเบลอร่วมสมัย, อนันตญา รอดเทียน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การบรรเลงเดี่ยวเปียโนเป็นการแสดงออกถึงความสามารถและศักยภาพของผู้บรรเลง ผู้วิจัยได้ศึกษาและบรรเลงเดี่ยวเปียโนมาโดยตลอดทำให้มีความสนใจในการบรรเลงเปียโนในมิติที่แตกต่างจากเดิม จึงเริ่มทำการศึกษาบทเพลงประเภทเชมเบอร์อย่างจริงจัง งานวิจัยดนตรีสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาศักยภาพในการบรรเลงเปียโนในด้านต่าง ๆ ของผู้แสดง เช่น เทคนิคการบรรเลง และการตีความบทเพลง 2) เผยแพร่บทประพันธ์ประเภทรวมวงขนาดเล็กที่สำคัญแก่ผู้สนใจ 3) เผยแพร่บทประพันธ์ของไทยที่มีเอกลักษณ์ไปสู่สากลโลก และ 4) รวบรวมข้อมูลบทเพลง ผู้วิจัยได้คัดเลือกบทประพันธ์เชมเบอร์ที่มีชื่อเสียงและมีความสำคัญต่อวรรณกรรมในยุคบาโรก ยุคคลาสสิก ยุคโรแมนติก และยุคปัจจุบัน โดยแบ่งออกตามประเภทของเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการบรรเลง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเครื่องสาย กลุ่มเครื่องเป่าลมไม้ และกลุ่มเครื่องผสม ทำการวิเคราะห์และตีความบทเพลง ฝึกซ้อม และจัดการแสดง 3 รายการ โดยใช้ชื่อว่า ดุษฎีนิพนธ์การแสดงดนตรี 'ดุลยภาพลีลาเสียงแห่งเชมเบอร์อองซอมเบลอร่วมสมัย' ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอในรูปแบบวิทยานิพนธ์ ผลจากการวิเคราะห์และตีความบทเพลงใน 3 การแสดงพบว่า การสื่อสารระหว่างผู้บรรเลงเป็นสิ่งจำเป็นในการบรรเลงบทเพลงสำหรับวงเชมเบอร์ เพื่อให้ผลงานแสดงออกถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผู้วิจัย ผู้วิจัยทำการตีความบทเพลง ออกแบบเครื่องดนตรีที่เหมาะสมกับแนวทำนองหลักและแนวบรรเลงประกอบ เลือกใช้เปียโนแทนการใช้ฮาร์ปซิคอร์ด รวมถึงคิดค้นการบรรเลงดังเบา และเปลี่ยนอัตราความเร็วของบทเพลง เพื่อปรับรูปประโยคให้มีความไพเราะมากขึ้นโดยใช้เทคนิค การสร้างสรรค์ลีลาลักษณะการบรรเลง (Creative Dramatic Articulation)


Luigi Russolo: The Work And Influence Of A Visionary - The Birth Of Noise-Music, Daniel Matei Jan 2018

Luigi Russolo: The Work And Influence Of A Visionary - The Birth Of Noise-Music, Daniel Matei

Senior Projects Spring 2018

My senior project focuses on the work and legacy of Luigi Russolo. Italian Futurism was one of the most influential artistic movements of the twentieth century, and Russolo contributed to that to a large extent. He was the co-author of the Futurist Painters' Manifesto, but soon he abandoned painting to pursue his true passion: In 1913 he published The Art of Noises, a manifesto that changed music forever. In my project I analyzed Futurist paintings and their respective manifestos. Music of the Futurist Noise-Machines, and their respective manifestos. And I assess Russolo's influence on composers such as Igor …


Virtual Spirit, Alanna G. Rebbeck Jan 2018

Virtual Spirit, Alanna G. Rebbeck

Senior Projects Spring 2018

The following reflects my personal beliefs, and does not prescribe them to you

1. Human and technological evolution coincide in a reciprocal cycle of creation

2. In its construction, technology reflects humans

3. In their construction, humans reflect technology

4. Both function in a constant exchange between material and immaterial realms

5. Technological objects generate virtual spaces

a. Virtual space: artificially constructed immaterial space that contains products of technological engagement

b. These spaces exist within both the individual and the external virtual realm

6. Human bodies generate spiritual spaces

a. Spiritual space: organically constructed immaterial space that contains products of …


Freedom Within, Freedom Without, Olivia K. Shubin Jan 2018

Freedom Within, Freedom Without, Olivia K. Shubin

Senior Projects Spring 2018

It has always been hard for me to talk about my art. I used to not think about it so much, it was just a way that I could communicate what was important to me without having to say it. Being a shy person socially, painting gives me a way to be bold yet still be somewhat separate from what I feel; once it’s outside of me, I don’t have to “own” it. I can paint the dark things I feel, and people don’t have to associate those dark emotions with me; I can say I’m just “going for something,” …


Xx Openings, Jackson Siegal Jan 2018

Xx Openings, Jackson Siegal

Senior Projects Spring 2018

XX Openings represents my dual sculpture and photography practice. The title comes from a 70’s domestic frame, with 20 openings of varying sizes for family pictures. Half of the slots were filled with stock pictures of smiling family scenes, while the others just had measurements for the openings themselves. The object struck me as alienating, and oppressive. I didn’t see any scene within those openings I felt connected to.

The frame came to symbolize varying perspectives, ways of seeing, and ways of being. As my sculpture practice has weighed more heavily on my work as a photographer, I feel tensions …


Look&Leave, Ruby Brooke Jan 2018

Look&Leave, Ruby Brooke

Senior Projects Spring 2018

Over the summer I had the opportunity to study in a program that focused on drawing and painting the architecture of Rome. Upon returning to the studio, I integrated this attention to architecture with my interest in painting the figure. Over the course of the year, the figure disappeared from my paintings. Instead, I started to paint large empty interiors. My intention was that the viewer feel the vastness of the space, emphasized by the absence of a figure.

This body of work explores interior architectural space and how the presence or absence of a figure affects it. I paint …


The Hour Of The Wolf, Emily Louise Beresford Jan 2018

The Hour Of The Wolf, Emily Louise Beresford

Senior Projects Spring 2018

Senior Project submitted to The Division of Arts of Bard College.

the hour of the wolf

In these photographs I try to capture the sense of time moving and changing. I am interested in the way that light can change the way we see something. We are made vulnerable by what light reveals.

The photographs are about a specific time of day as well as time passing over a year. The interweaving of faces and landscapes reveals this progression of time during the days, the seasons, and the years through which each person has lived.

With time, light moves across …


I Promise I'M Not Racist, Yashar Hashemi Jan 2018

I Promise I'M Not Racist, Yashar Hashemi

Senior Projects Spring 2018

An attempt to complexify race relations in the United States by an Iranian American boy.


I Have Never Stepped In The Same River Twice, Madison Hailey Emond Jan 2018

I Have Never Stepped In The Same River Twice, Madison Hailey Emond

Senior Projects Spring 2018

“No man ever steps in the same river twice, for it’s not the same river and he’s not the same man.” – Heraclitus

I never knew that I would learn to walk the Sawkill River in moonlight, that I would come to know its contours and the depths of its waters so well. I never expected that the tree roots and rocks that lay in my path to its banks would know my gait so fully.

This project began as a reaction to the hurricanes that struck the Caribbean last fall. It felt apt to question landscape imagery and how …


Wrap Your Arms Around Me, Frederick Lightfoot Bayne Jan 2018

Wrap Your Arms Around Me, Frederick Lightfoot Bayne

Senior Projects Spring 2018

Most of the personal themes in this project are not things I am comfortable with expressing verbally or textually. The reason they came out in this body of work is because it how I found myself comfortably addressing them. I can acknowledge that I was working through frustration, pain, and confusion related to my body and relationship to other bodies. Being a private person, however, I am far more interested in people approaching this work with their own narratives and associations than using it to get a glimpse into my own personal struggles. While visually and thematically the work can …


American Idyll: A Place To Call Home, Bowen Walsh Fernie Jan 2018

American Idyll: A Place To Call Home, Bowen Walsh Fernie

Senior Projects Spring 2018

I was raised in Italy from the age of five and when I returned to the United States at eighteen, I was surprised by the way I was affected by the landscape I had never known or explored. I found myself drawn to American culture as it is stereotypically represented in movies and TV - the quaint houses, the schools with cheerleaders and locker rooms, the drive-in movie theaters – and began to examine how those stereotypes are reflected in the real world. From this initial interest I began exploring the American space that I envisioned myself inhabiting throughout my …


Secret_Menu, Charles K. Mai Jan 2018

Secret_Menu, Charles K. Mai

Senior Projects Spring 2018

Senior Project submitted to The Division of Arts of Bard College.


Field Guide, Madeline Helland Jan 2018

Field Guide, Madeline Helland

Scripps Senior Theses

Field Guide is a mixed-media artist book detailing the exploration of a fictitious culture through cartography, narrative, and illustration. It is presented through the lens of an amateur archaeologist, navigating a chain of islands to search for ruins and artifacts. In part, the project is focused on the fantasy of an imagined world. The island chain is a place entirely of my own creation. By creating the viewpoint of an outside explorer, it was possible to navigate through this world. Although I, as the artist, can know everything about this fictitious world, adopting the perspective of someone distanced by time …