Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2018

Fine Arts

Theses/Dissertations

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 39

Full-Text Articles in Arts and Humanities

Doctoral In Creative Music Research : The Musical Dialect In Modern Conventional Idiom Of The Piano Concertos, Paulo Ricardo Soares Zereu Jan 2018

Doctoral In Creative Music Research : The Musical Dialect In Modern Conventional Idiom Of The Piano Concertos, Paulo Ricardo Soares Zereu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to explore the musical dialect within the conventional idiom as well as the interpretational approach and analytical overview of the selected Piano Concertos. The three prominent and significant Piano Concertos were chosen as followed: 1) Concerto in E-flat major for Two Pianos and Orchestra, KV. 365 by Wolfgang Amadeus Mozart (1756-1791), 2) Concerto in C major for Piano, Violin, Cello, and Orchestra, Op.56 by Ludwig van Beethoven (1770-1827), and 3) Concerto for Two Pianos and Orchestra in D minor by Francis Poulenc (1899-1963). The research also presented the innovative revolutionary of the pianistic and interpretational challenges of …


การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ ชุด พระนางจามเทวี, ฉัตรติยา เกียรตินาวี Jan 2018

การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ ชุด พระนางจามเทวี, ฉัตรติยา เกียรตินาวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางด้านดุริยางคศิลป์ ชุด พระนางจามเทวี และสร้างองค์ความรู้ในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ ชุด พระนางจามเทวี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีการพรรณาวิเคราะห์ ด้วยการศึกษาข้อมูลเอกสารและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านประวัติศาสตร์และผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านดุริยางคศิลป์ไทย นำเสนอผลการวิจัยด้วยการสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ ผลงานสร้างสรรค์ทางดุริยางคศิลป์ ชุด พระนางจามเทวี เป็นการประพันธ์บทเพลงขึ้นใหม่ โดยไม่ได้อาศัย เค้าโครงจากเพลงไทยที่มีอยู่เดิม เป็นการนำองค์ความรู้ทางด้านดุริยางคศิลป์และด้านประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมูลบทเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ มาสร้างสรรค์ผลงานโดยได้รับแรงบันดาลใจจากพระราชประวัติของพระนางจามเทวี ประกอบด้วย 5 บทเพลง คือ เพลงฤๅษีสร้างเมือง เพลงเดินทาง เพลงพี่น้องสองกษัตริย์ เพลงช้างก่ำงาเขียว และเพลงครองราชย์ บรรเลงติดต่อกันเป็นชุด ขึ้นด้วยส่วนนำบทเพลง บรรเลงด้วยเประห์ต่อด้วยบทสวดสรรเสริญและคาถาบูชาพระนางจามเทวี แล้วจึงบรรเลงบทเพลงทั้ง 5 ในระหว่างบทเพลงนำจังหวะกลองของเพลงถัดไปเป็นทำนองเชื่อม ยกเว้นเพลงช้างก่ำงาเขียว เมื่อจบเพลงแล้วให้หยุดพร้อมกันทั้งวง แล้วฆ้องมอญวงใหญ่ขึ้นเพลงในลำดับสุดท้าย วงดนตรีที่ใช้บรรเลงได้แก่ วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ วงเครื่องสายมอญผสมเครื่องสายไทย และวงปี่พาทย์พื้นเมืองล้านนา (วงป้าดก๊อง) เพลงทั้งหมดเป็นเพลงสำเนียงมอญ เพลงที่ 3 มีเที่ยวเปลี่ยนสำเนียงลาวเป็นทำนองแทรกในเพลง เนื่องจากพระนางจามเทวีมีความเป็นมาร่วมยุคทวารวดี ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมมอญ และเป็นเรื่องราวที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้มีเครื่องดนตรีพิเศษได้แก่ เประห์ เครื่องดนตรีของชนเผ่าลัวะ เพื่อสื่อถึงกลุ่มชนพื้นเมืองก่อนการตั้งเมืองหริภุญชัย สังข์ ใช้เลียนเสียงธรรมชาติคือ เสียงนกหัสดีลิงค์และเสียงช้าง กังสดาลและกระดิ่งตีขณะสวดบทสรรเสริญพระนางจามเทวี และใช้กลองแขกตีกำกับหน้าทับลาวในเพลงพี่น้องสองกษัตริย์ สื่อความหมายถึงเจ้าอนันตยศที่ขึ้นครองราชย์ที่เขลางค์นคร


อัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มแมสทีจโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมกลุ่มชนไทยทรงดำ จังหวัดเพชรบุรี, เตชิต เฉยพ่วง Jan 2018

อัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มแมสทีจโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมกลุ่มชนไทยทรงดำ จังหวัดเพชรบุรี, เตชิต เฉยพ่วง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวทางการสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นสำหรับกลุ่มแมสทีจ โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมกลุ่มชนไทยทรงดำ จังหวัดเพชรบุรี มีการวิจัยเชิงปริมาณซึ่งมีการสำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแมสทีจด้วยแบบสอบถามจำนวน 400 ราย โดยวิธีการสุ่มเลือก ใช้เครื่องมือภาพที่เกิดขึ้นจากการศึกษาวัฒนธรรมไทยทรงดำในด้านความเชื่อเรื่องผี รวมถึงอิทธิพลของความเชื่อที่มีต่อวัฒนธรรมเครื่องแต่งกายและลวดลายผ้า นำมาตีความอย่างเป็นรูปธรรมโดยใช้ทฤษฎี Image Scale ของชิเกโนบุ โคบายาชิ (Shigenobu Kobayashi) เพื่อให้เกิดการตีความจากสีของลวดลายผ้าสู่บุคลิกภาพและคำสำคัญ (Keyword) จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาเชื่อมโยงกับทฤษฎีอัตลักษณ์ตราสินค้าของ Jean-Noel Kapferer เพื่อสร้างแนวทางที่จะใช้ในการสร้างสรรค์การสื่อสารอัตลักษณ์ตราสินค้าและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ในรูปแบบเครื่องมือภาพ ผลการสำรวจพบว่า อัตลักษณ์ตราสินค้าจากวัฒนธรรมไทยทรงดำโดยมีความเชื่อเรื่องผีที่กลุ่มเป้าหมายแมสทีจสนใจ เป็นตราสินค้าที่นำเสนอความงามที่ได้รับการออกแบบโดยเน้นเอกลักษณ์เฉพาะของวัตถุดิบซึ่งผ่านการปรุงแต่งน้อย แต่ให้ความรู้สึกถ่อมตน เป็นธรรมชาติ และบริสุทธิ์ ภายใต้บุคลิกภาพแบบเป็นธรรมชาติและเป็นผู้ดี (Natural Elegant) นำเสนอสินค้าแฟชั่นที่มีรูปแบบเรียบง่าย มีรายละเอียดในตัว สีสันสบายตา ในรูปแบบทันสมัยและเป็นธรรมชาติ (Modern Natural) แต่ต้องยังส่งเสริมบุคลิกภาพที่มีความโดดเด่นและเป็นที่อิสระ น่าจดจำ (Outstanding and Independent) ดังปรากฏในผลงานสร้างสรรค์ของงานวิจัยฉบับนี้


ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง : "นาก" ไทยเมโลดราม่า, แข เมตติชวลิต Jan 2018

ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง : "นาก" ไทยเมโลดราม่า, แข เมตติชวลิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทประพันธ์ดุษฎีนิพนธ์ "นาก" ไทยเมโลดราม่า เป็นบทประพันธ์เพลงที่ได้รับแรงบันดาลใจจากบทประพันธ์ประเภทเมโลดราม่าของนักประพันธ์ อาร์โนลด์ เชินแบร์ก ผสมผสานกับเรื่องเล่าเก่าแก่เกี่ยวกับภูตผีปีศาจของไทย บทบรรยายในเรื่องนำมาจากวรรณกรรมร้อยกรองเรื่องแม่นาคพระโขนง ฉบับตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2474 โดยผู้ที่ใช้นามปากกาว่าประภาศรี ได้คัดลอกบทร้อยกรองนี้จากต้นฉบับเดิมที่เขียนด้วยยางไม้สีเหลือง (รง) ซึ่งพบที่วัดร้างแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ บทประพันธ์ดุษฎีนิพนธ์ "นาก" ไทยเมโลดราม่า เป็นบทประพันธ์เมโลดราม่าเรื่องแรกที่ใช้ภาษาไทยในการบอกเล่าเนื้อเรื่อง ผสมผสานกับดนตรีในสำเนียงไทยและตะวันตก บทประพันธ์แบ่งเป็น 4 องก์ ได้แก่ องก์ที่ 1) บทบรรเลงนำ เป็นการบรรยายนำเรื่องกล่าวถึงตำนานภูติผีปีศาจ องก์ที่ 2) พราก เป็นการบรรยายชีวิตในช่วงแรกของสองสามีภรรยา นางนากและนายมาก จนถึงตอนที่นายมากต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารยังวังหลวง องก์ที่ 3) หลอน เป็นช่วงที่นางนากเสียชีวิตจากการคลอดบุตร จนกลายมาเป็นภูติผี และองก์ที่4) นาก เป็นการสรุปบทเพลงโดยการนำศพของนางนากไปฝังที่ต้นตะเคียน และการจุดธูปขอขมา


การออกแบบระบบอัตลักษณ์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านอาหาร, กฤตวิทย์ กฤตมโนรถ Jan 2018

การออกแบบระบบอัตลักษณ์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านอาหาร, กฤตวิทย์ กฤตมโนรถ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาอาหารที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของ 4 ภูมิภาค ได้แก่ อาหารภาคเหนือ อาหารภาคกลาง อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอาหารภาคใต้ 2) เพื่อหาสัญลักษณ์ ตัวอักษร อารมณ์และสี ที่เหมาะสมกับอัตลักษณ์อาหาร 4 ภูมิภาค 3) เพื่อหาสัญลักษณ์ ตัวอักษร อารมณ์และสี ที่เหมาะสมกับอัตลักษณ์อาหารไทย ขั้นตอนและวิธีการวิจัย เก็บข้อมูลจากหนังสือ และบทความต่าง ๆ เพื่อสร้างแบบสอบถามสำหรับคนท้องถิ่น 200 ท่านและผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร 3 ท่านด้วยเทคนิคเดลฟาย เพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ข้อ 1 แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา มีค่าดัชนีความเที่ยงที่ 0.9921 หลังจากนั้นสร้างแบบสอบถามสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเรขศิลป์ 34 ท่านด้วยเทคนิคเดลฟาย เพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ข้อ 2 และ 3 แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา มีค่าดัชนีความเที่ยงที่ 1.0000 ผลการวิจัยพบว่า อาหารที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของภาคเหนือ ได้แก่ แกงฮังเล น้ำพริกอ่อง ไส้อั่ว ขนมจีนน้ำเงี้ยว ข้าวซอย น้ำพริกหนุ่ม อาหารที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของของภาคกลาง ได้แก่ แกงเขียวหวาน ต้มยำกุ้ง ห่อหมกปลา แกงเผ็ด พะแนง แกงส้ม อาหารที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ไส้กรอกอีสาน ส้มตำ ลาบ น้ำพริกปลาร้า ปลาร้าบอง อาหารที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของของภาคใต้ ได้แก่ แกงไตปลา ข้าวยำ แกงเหลือง คั่วกลิ้ง ปลาทอดขมิ้น บูดูทรงเครื่อง ไก่กอ ผัดสะตอ การออกแบบระบบอัตลักษณ์ที่เหมาะสมกับอัตลักษณ์อาหารภาคเหนือ สัญลักษณ์ ได้แก่ 1. แบบสมมาตรหลายแกน 2. แบบเปิด 3. แบบเส้นโค้ง 4. แบบไม่มีเส้นขวาง ตัวอักษรไทย ได้แก่ Handwriting และ Crossover ตัวอักษรอังกฤษ ได้แก่ Humanist และ …


ดุษฎีนิพนธ์งานสร้างสรรค์การแสดงขับร้อง: บทเพลงร้องศิลป์ไทย, กิตตินันท์ ชินสำราญ Jan 2018

ดุษฎีนิพนธ์งานสร้างสรรค์การแสดงขับร้อง: บทเพลงร้องศิลป์ไทย, กิตตินันท์ ชินสำราญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดุษฎีนิพนธ์งานสร้างสรรค์การแสดงขับร้อง: บทเพลงร้องศิลป์ไทย มีจุดประสงค์เพื่อวิจัยสร้างสรรค์หลักและวิธีบูรณาการเทคนิคการขับร้องแบบตะวันตกและหลักการขับร้องตามขนบแบบไทยให้มีความวิจิตรหลากหลายลีลา โดยสังเคราะห์เทคนิคการขับร้องตะวันตก จากบทเพลงร้องศิลป์ตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการจนถึงยุคปัจจุบัน แยกตามกระบวนการกำเนิดเสียงร้องทั้ง 4 กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการหายใจ กระบวนการเปล่งเสียงร้อง กระบวนการสร้างเสียงกังวาน และกระบวนการออกเสียงคำร้อง ร่วมกับการศึกษาวิธีการตีความบทเพลงจากการวิเคราะห์เทคนิคการประพันธ์ระบายสีคำร้อง เพื่อนำแนวคิดและองค์ความรู้ที่ได้มาเป็นพื้นฐาน และแตกแขนงออกมาบูรณาการร่วมกับหลักการขับร้องตามขนบของบทเพลงร้องศิลป์ไทย 4 ลีลา ได้แก่ บทเพลงร้องศิลป์ไทยลีลาดนตรีไทยสากล บทเพลงร้องศิลป์ไทยลีลาลูกทุ่งพื้นบ้าน บทเพลงร้องศิลป์ไทยลีลาคลาสสิกและบทเพลงรักชาติ และบทเพลงร้องศิลป์ไทยลีลาแจ๊ส ที่ศึกษาและรวบรวมผ่านบทประพันธ์และบทเรียบเรียงดนตรีของศิลปินศิลปาธร 6 คน จนก่อเกิดองค์ความรู้รวบยอดที่นอกจากจะสามารถนำไปใช้ในการสร้างแนวทางการขับร้องของตนเองแล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์ทางวิชาการ ศิลปะ สุนทรียศาสตร์ การอนุรักษ์ และการสืบสานการขับร้องบทเพลงร้องศิลป์ไทยตามขนบที่ดีงาม เพื่อการอ้างอิงและต่อยอดในอนาคต


การสร้างสรรค์บทเพลงชุด วิวัฒน์เพลงโคราช, ณัฐพงศ์ แก้วสุวรรณ์ Jan 2018

การสร้างสรรค์บทเพลงชุด วิวัฒน์เพลงโคราช, ณัฐพงศ์ แก้วสุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสร้างสรรค์บทเพลงชุดวิวัฒน์เพลงโคราชใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลเอกสารทาง วิชาการและลงภาคสนามในจังหวัดนครราชสีมา เพื่อศึกษาเรื่องมูลบทที่เกี่ยวของกับเพลงโคราช และสร้าง องค์ความรู้เรื่องระเบียบวิธีการร้องเพลงโคราช สำหรับการสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ไทย ชื่อเพลงชุด วิวัฒน์เพลงโคราช โดยสะท้อนภาพองค์ความรู้และวิวัฒนาการเพลงโคราช ขั้นแรกของการประพันธ์คือ การกำหนดโครงสร้างลูกตกจากทำนองต้นรากผสมผสานแนวคิดของ แต่ละเพลง ขั้นที่สองคือ การตกแต่งทำนองด้วยวิธีการเปลี่ยนกลุ่มเสียง สำนวนล้อ ขัด เหลื่อม สำเนียงไทย ลาว เขมร ฝรั่ง สังคีตลักษณ์แบบทางเปลี่ยน แบบซ้ำหัวเปลี่ยนท้าย สำนวนบังคับทางและกึ่งบังคับทาง ทางกรอและ ทางเก็บ โดยบูรณาการกับแนวคิดจากผลการวิจัย ได้แก่ คำคู่ การซ้าคำ ซ้ำวรรค ร้อยเนื้อทำนองเดียว สัมผัสโคลง กลอน ความเรียบง่ายแบบพื้นบ้าน จังหวะสามช่า ความสง่างาม ความนอบน้อม สำเนียงเพลงโคราชสูง ๆ ต่ำ ๆ จังหวะอิสระและตายตัว ความแปลกใหม่ ทันสมัย สนุกสนาน ความเป็นไทยโคราชและดนตรีลูกทุ่ง รูปแบบการบรรเลงประกอบด้วย 2 ช่วงคือ ช่วงเกริ่นนำ ได้แก่ เพลงเชิญชวน สะท้อนภาพการละเล่น พื้นบ้าน เพลงศรัทธาครู สะท้อนภาพเนื้อหาการบูชาครู เพลงรู้ถามตอบ สะท้อนภาพทำนองโอ่ และช่วงเนื้อหา วิวัฒน์ ได้แก่ เพลงคารมกลอน สะท้อนภาพกลอนเพลงก้อม เพลงทำนองฉันท์ สะท้อนภาพฉันทลักษณ์กลอน เพลงโคราช เพลงกราบย่าโม สะท้อนภาพความเชื่อผ่านกลอนเพลงแก้บน เพลงแปรสังคม สะท้อนภาพกลอน โคราชผสมผสานดนตรีลูกทุ่งตามบริบททางสังคม เพลงชนนิยม สะท้อนภาพกลอนทั่วไปผสมผสานดนตรีลูกทุ่ง เพื่อส่งเสริมค่านิยมการฟัง และเพลง นวัตสมัย สะท้อนภาพเพลงลูกทุ่งสำเนียงโคราชในยุคแห่งนวัตกรรม ทั้งนี้ ช่วงเนื้อหาวิวัฒน์ใช้ทำนองเชื่อมดั้งเดิมและทำนองเชื่อมประยุกต์เป็นทำนองเชื่อมระหว่างเพลง สำหรับหน้าทับ กำหนดใช้หน้าทับลาว หน้าทับโทนโคราชดั้งเดิมแบบสั้นและแบบยาว หน้าทับที่สร้างสรรค์ใหม่ 7 หน้าทับ ได้แก่ หน้าทับวิวัฒน์เพลงโคราช หน้าทับคารมกลอน หน้าทับทำนองฉันท์ หน้าทับกราบย่าโม หน้าทับแปรสังคม หน้าทับชนนิยม และหน้าทับนวัตสมัย โดยจังหวะฉิ่ง กำหนดใช้อัตราจังหวะสองชั้นและชั้นเดียว ยกเว้นเพลง กราบย่าโมกำหนดใช้จังหวะลอย หน้าทับและจังหวะฉิ่งนำมาใช้เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ด้านอรรถรสและ …


การสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์มัลติแบรนด์ โดยใช้แนวคิดดีเอ็นเอทางวัฒนธรรมของไทย สำหรับผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอ็ม, ธโนทัย มงคลสินธุ์ Jan 2018

การสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์มัลติแบรนด์ โดยใช้แนวคิดดีเอ็นเอทางวัฒนธรรมของไทย สำหรับผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอ็ม, ธโนทัย มงคลสินธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจแฟชั่นไลฟ์สไตล์มัลติแบรนด์ กำลังได้รับความนิยมอย่างมากจากกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอ็ม หรือมิลเลนเนียลเจอเนอเรชั่น หรือเจนเนอเรชั่นวาย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีอำนาจในการซื้อมากที่สุดในขณะนี้ และเป็นเจนเนอเรชั่นแรกที่ได้รับการอบรมจากชั้นเรียนเกี่ยวกับแนวคิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เจนเนอเรชั่นนี้ให้ความสำคัญและนิยมเลือกใช้สินค้าภายใต้แนวคิดดังกล่าวมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งปัจจุบันการตลาดกำลังจะก้าวเข้ามาสู่ยุค 4.0 เป็นยุคที่การให้คุณค่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการให้มูลค่า ซึ่งสัมพันธ์กับนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับประเทศไทย 4.0 ซึ่งเป็นโมเดลการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ประกอบด้วย 3 เสาหลักที่สําคัญ หนึ่งในนั้นคือ เสาหลักด้านวัฒนธรรม ที่มีกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ซึ่งจะใช้องค์ประกอบของ 5 ดีเอ็นเอทางวัฒนธรรมของคนไทย เพื่อนําไปสู่ 5 เอฟโมเดล ที่หนึ่งในนั้นคือ อุตสาหกรรมแฟชั่น งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเป็นแนวทางการสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์มัลติแบรนด์ โดยใช้แนวคิดดีเอ็นเอทางวัฒนธรรมของไทย สำหรับกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอ็ม โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสม ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอ็ม เพื่อให้ทราบแนวทางรูปแบบการดำเนินชีวิต ประเด็นความสนใจ พฤติกรรม บุคลิกภาพ และรูปแบบการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ และใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดดีเอ็นเอทางวัฒนธรรมของไทย สไตล์แฟชั่นและองค์ประกอบหลักทางแฟชั่น โดยมีค่าดัชนีความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC) เท่ากับ 0.921 และ 0.941 มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นหรือครอนบาคอัลฟ่า (Cronbach's Alpha) อยู่ที่ 0.72 ผลของงานวิจัยนี้ พบว่าแนวทางการสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์มัลติแบรนด์ โดยใช้แนวคิด 5 ดีเอ็นเอทางวัฒนธรรมของไทย สำหรับกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอ็ม สามารถสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าได้ 5 แบรนด์ ตามสไตล์แฟชั่น 5 สไตล์ และได้นำแนวทางดังกล่าวไปเป็นแนวทางในการออกแบบสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ต่อไป


การประพันธ์เพลงตับเรื่อง “บัวสามเหล่า”, ธิติ ทัศนกุลวงศ์ Jan 2018

การประพันธ์เพลงตับเรื่อง “บัวสามเหล่า”, ธิติ ทัศนกุลวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง การประพันธ์เพลงตับเรื่อง "บัวสามเหล่า" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของพระธรรมเรื่อง บัวสามเหล่า ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมณิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ และเพื่อสร้างสรรค์ บทเพลงมโหรี ตับเรื่อง "บัวสามเหล่า" เพื่อใช้เผยแพร่แก่พุทธศาสนิกชน ผลการวิจัยพบว่าบัวมีความเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อทางศาสนาและมีนัยยะไปในเรื่องของความเป็นมงคล เกี่ยวข้องกับคำสอนทางศาสนาอย่างเด่นชัด มีปรากฏเรื่องบัวทั้งในงานด้านวรรณกรรมและงานศิลปกรรม พระธรรมที่เกี่ยวข้องกับบัวสามเหล่า คือ การอุปมาเรื่องการจัดแบ่งบัวตามความหมายของศักยภาพการเข้าถึงความรู้ของคน ก่อนการเผยแพร่พระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กับบุคคลประเภทต่าง ๆ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับบัวใต้น้ำ บัวปริ่มน้ำและบัวพ้นน้ำ การศึกษาบทเพลงที่เกี่ยวข้องกับดอกไม้เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิธีการประพันธ์เพลงสร้างสรรค์ครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า การกำหนดกลุ่มเสียง หากเป็นทำนองที่เป็นสำเนียงที่ไม่ใช่สำเนียงไทย จะกำหนดกลุ่มเสียงเดียวเป็นส่วนใหญ่ หากเป็นสำเนียงไทยจะมีการกำหนด 2 - 3 กลุ่มเสียง การใช้เสียงมาเรียงร้อยเป็นทำนองเพลงเกือบทั้งหมดใช้เสียงเรียงกันขึ้นลงอย่างเป็นระเบียบ ไม่เน้นทำนองที่ผันผวน และเพลงส่วนใหญ่จะขึ้นต้นเพลงปรากฏทั้งการเคลื่อนที่แนวเสียงวิถีขึ้นและลง และมักจะจบเพลงด้วยแนวเสียงวิถีลง สำหรับเพลงระบำของครูมนตรี ตราโมท การดำเนินทำนองปรากฏทำนองเกริ่น ทำนองจังหวะยก หากเป็นเพลงประเภทโหมโรงและเพลงเถามักมีทำนองลูกล้อลูกขัด อีกทั้งทำนองเพลงส่วนใหญ่เป็นทำนองลักษณะบังคับทางและเสียงลูกตกระหว่างวรรคแรกกับวรรคหลังมีการกำหนดให้เป็นเสียงที่ห่างกันอย่างหลากหลาย การประพันธ์เพลงใหม่ ได้ทำการประพันธ์โดยใช้วิธีขยายทำนองจากเพลงต้นราก การประพันธ์ด้วยจินตนาการ การขยายและยุบทำนองหลังจากนั้นตบแต่งทำนองให้มีสำนวนใหม่ การประพันธ์ทำนองขึ้นใหม่จากโครงสร้างบทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตรของพระภิกษุ การกำหนดทำนองเพลงมีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วน ส่วนแรก ทำนองส่วนต้น ประกอบด้วยทำนองเกริ่น ปฐมภูมิและเพลงบัว 3 เหล่า โดยเพลงบัว 3 เหล่ามีเพลงย่อยจำนวน 3 เพลง คือ เพลงเนยยะบุศย์ เพลงบุศย์น้ำดุล เพลงสุริยโกเมศ ส่วนที่สอง ทำนองส่วนท้าย ประกอบด้วยเพลง 3 เพลง ที่ประพันธ์ทำนองจากบทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร ประกอบด้วย เพลงหันทะมะยัง เพลงบทขัดธัมมจักกัปปวัตนสูตร และเพลงธัมมจักกัปปวัตนสูตร สำหรับเพลงที่ 3 ประกอบด้วยเพลงย่อยอีก 7 เพลงคือ เพลงปฐมธัมมจักร เพลงคู่พยายาม เพลงปลายคู่พยายาม เพลงอริยสัจสี่ เพลงเทวานัง เพลงปิติศานติ์ และเพลงตติยภูมิ บทเพลงที่แต่งใหม่ใช้หลักการจากการวิเคราะห์เพลงที่เกี่ยวข้องกับดอกไม้ได้แก่ การกำหนดทางการเลือกใช้เสียง การเลือกทำนองเกริ่น การเลือกทำนองลูกล้อลูกขัด การกำหนดเสียงลูกตก นอกจากนี้ การตกแต่งทำนองยังคงความหมายของเพลงต้นรากอย่างเคร่งครัด


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธ, ธิติมา อ่องทอง Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธ, ธิติมา อ่องทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธ มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการสร้างสรรค์และแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธ งานวิจัยฉบับนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยดังนี้ การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ การศึกษาสื่อสารสนเทศ การสำรวจข้อมูลภาคสนาม การสัมมนา ประสบการณ์ของผู้วิจัย เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน และการทดลองสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ผลจากการวิจัย พบว่า การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธเป็นผลงานในรูปแบบนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ สามารถแบ่งตามองค์ประกอบการแสดง 8 องค์ประกอบ คือ 1) บทการแสดง แบ่งเป็น 3 องก์ ได้แก่ องก์ 1 กามภูมิ องก์ 2 รูปภูมิ และองก์ 3 อรูปภูมิ 2) การคัดเลือกนักแสดง คัดเลือกจากนักแสดงที่มีทักษะและประสบการณ์การเต้นที่หลากหลาย ได้แก่ นาฏยศิลป์ร่วมสมัย นาฏยศิลป์ไทย นาฏยศิลป์อินโดนีเซีย และทักษะในการแสดงออกทางด้านละคร 3) การออกแบบลีลานาฏยศิลป์ ใช้ทักษะการเต้นที่หลากหลายตามแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ คือ ลีลานาฏยศิลป์ตะวันตกและลีลานาฏยศิลป์ตะวันออก 4) การออกแบบเครื่องแต่งกาย แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ การแต่งกายในบทบาทนักท่องเที่ยวที่ใช้เครื่องแต่งกายในชีวิตประจำวันที่หลากหลาย และการแต่งกายในการแสดงหลักที่ใช้เครื่องแต่งกายที่มีความเรียบง่ายตามแนวคิดศิลปะหลังสมัยใหม่ 5) การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง ใช้อุปกรณ์ที่หาได้ในชีวิตประจำวัน สามารถสื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมา 6) การออกแบบดนตรีและเสียงประกอบ สร้างสรรค์เพลงขึ้นใหม่ด้วยเสียงสังเคราะห์จากการเลียนแบบเสียงเครื่องดนตรีจากวงกาเมลัน เสียงสังเคราะห์จากเครื่องดนตรีสากล และเสียงจากเครื่องดนตรีตาราวังซาของประเทศอินโดนีเซีย 7) การออกแบบฉากและพื้นที่การแสดง ใช้ฉากโครงสร้างแผนผังบุโรพุทโธ และจัดแสดง ณ โรงละครแบล็ค บ๊อกซ์ เธียร์เตอร์ 8) การออกแบบแสง เพื่อสร้างมิติให้กับสัดส่วนของฉากประกอบการแสดง และส่งเสริมการสื่ออารมณ์ ลีลาท่าการเคลื่อนไหวของนักแสดงให้ชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ แนวคิดที่ได้หลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ เรื่อง การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธ ประกอบด้วยแนวคิด 6 ประการ คือ 1) แนวคิดจากภาพแผนผังทางสถาปัตยกรรมและปรัชญาทางศาสนาของมหาสถูป 2) แนวคิดทางทัศนศิลป์ 3) แนวคิดเรื่องความเรียบง่ายตามแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 4) แนวคิดการใช้สัญลักษณ์ในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ 5) แนวคิดพื้นที่การแสดงในงานนาฏยศิลป์ 6) แนวคิดพหุวัฒนธรรม


บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์ : ซิมโฟนี หมายเลข 1, นบ ประทีปะเสน Jan 2018

บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์ : ซิมโฟนี หมายเลข 1, นบ ประทีปะเสน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์ : ซิมโฟนี หมายเลข 1 ประพันธ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อบรรยายเรื่องราวจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ ที่แฝงคำสอนและหลักความเชื่อ ซึ่งบูรณาการแนวคิดทางดนตรีระหว่างดนตรีตามแบบแผนและดนตรีร่วมสมัย โดยใช้บทบรรยายเรื่องราวร่วมกับวงดุริยางค์ซิมโฟนี จึงทำให้บทประพันธ์เพลงนี้มีรูปแบบเป็นดนตรีบรรยาย หรือเรียกว่าโปรแกรมซิมโฟนี ความยาวของบทประพันธ์เพลงประมาณ 30 นาที แบ่งเป็น 3 กระบวน ตามหลักข้อเชื่อของคริสต์ศาสนา คือ ตรีเอกานุภาพ ซึ่งคือ พระบิดา (พระเจ้า) พระบุตร (พระเยซูคริสต์) และพระจิต (พระวิญญาณบริสุทธิ์) โดยผู้ประพันธ์เพลงได้สร้างทำนองพระผู้สร้างเป็นทำนองหลัก เพื่อให้เป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับการประพันธ์เพลง ดังปรากฏในกระบวนที่ 1 นอกจากนี้ ยังมีส่วนย่อยของทำนองโมทีฟ X, Y และ Z รวมถึงโมทีฟจังหวะที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของทำนองหลักพระผู้สร้าง ได้ถูกนำไปพัฒนาต่อในกระบวนที่ 2 และ 3 บทประพันธ์เพลงนี้ ผสมผสานแนวคิดและเทคนิควิธีประพันธ์เพลงต่าง ๆ ทั้งเรื่องดนตรีอิงกุญแจเสียง ดนตรีอิงโมด เทคนิควิธีประพันธ์เพลงของดนตรีในศตวรรษที่ 20 ได้แก่ การดำเนินคอร์ดที่ไม่เป็นตามแบบแผนดั้งเดิม การวางแนวเสียงประสานเรียงซ้อนคู่สอง และคอร์ดเรียงซ้อนคู่สี่และคู่ห้า รวมถึงกลุ่มเสียงกัด การวางแนวเสียงประสานแบบชุดโอเวอร์โทน การใช้สีสันเสียงวงดนตรี เทคนิคการเล่นเครื่องดนตรีขยายขอบเขต และการให้อิสระแก่ผู้บรรเลงในการบรรเลง ร่วมกับการใช้บทบรรยายที่กล่าวถึงการสร้าง การทำลาย และการกำเนิดใหม่


นวัตกรรมสิ่งทอจากเส้นใยดาหลาสู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์โดยใช้ทฤษฎีความยั่งยืน, นวัทตกร อุมาศิลป์ Jan 2018

นวัตกรรมสิ่งทอจากเส้นใยดาหลาสู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์โดยใช้ทฤษฎีความยั่งยืน, นวัทตกร อุมาศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มมูลค่าขยะทางการเกษตรโดยการพัฒนาเส้นใยจากต้นดาหลา และศึกษากระบวนการทดลองสกัดสีจากดอกดาหลา และการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ที่เหมาะสมกับสิ่งทอเส้นใยดาหลา โดยการประเมินผลความเหมาะสมของเส้นใย รูปแบบผลิตภัณฑ์จากกลุ่มผู้เชียวชาญทางด้านสิ่งทอ ทางด้านการออกแบบ นักออกแบบ กลุ่มประกอบ และกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาเส้นใยดาหลาเป็นการใช้ส่วนลำต้นที่เหลือทิ้งจากการตัดดอกดาหลาไปขาย ส่วนของลำต้นมีใยที่เหมาะสม โดยจะนำเข้าเครื่องนวดเพื่อให้มีความยืดหยุ่นและมีความนุ่ม หลังจากนั้นนำไปเข้าเครื่องตีใย และนำใยที่ได้ไปเข้าเครื่องตีเกลียวเส้นด้ายในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งเส้นด้ายที่ตีเกลียวจะมีส่วนผสมระหว่างใยดาหลาและใยฝ้าย อัตราส่วน 15:85 เพราะใยฝ้ายเป็นตัวผสานเกลียว ซึ่งจะทำให้เส้นด้ายเหมาะแก่การนำไปทอผ้าเพื่อทำผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์เช่น เสื้อผ้า กระเป๋าและรองเท้าเป็นต้น ในส่วนกลีบดอกมีการสกัดสีย้อมเพื่อย้อมเส้นด้ายดาหลาและเส้นไหมไทย โดยนำกลีบดอกมาปั่นกับน้ำ ในอัตราส่วนกลีบดอก 1 กิโลกรัม:น้ำ 3 ลิตร กรองด้วยผ้าขาว ได้น้ำสีแล้วนำไปต้มเพื่อย้อมร้อน นำเส้นด้ายดาหลาและเส้นไหม ย้อมเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ขณะน้ำเดือดใส่สารส้ม 200 กรัม เพื่อให้ติดสีและมีสีที่สด เสร็จแล้วนำเส้นด้ายมาล้างน้ำสะอาด และแช่ในน้ำผสมสารส้ม อัตราส่วน 3 ลิตร:200 กรัม เพื่อคงสีที่ย้อมไว้จากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติและวัตถุในการแปรรูปเส้นใยผู้วิจัยต้องการพัฒนาเส้นใยจากต้นดาหลาซึ่งถือเป็นส่วนเหลือทิ้งจากการตัดดอก พร้อมทั้งหาแนวทางการสกัดสีย้อมจากส่วนดอกดาหลา เพื่อนำไปย้อมสีเส้นด้ายทอต่าง ๆ เช่น ไหม ฝ้าย เส้นด้ายดาหลา เป็นต้น ซึ่งถือส่วนหนึ่งของแนวคิดการออกแบบและพัฒนาเพื่อความยั่งยืน"Sustainable Design"และแนวทางการใช้ทุกส่วนอย่างคุ้มค่า จนขยะเหลือศูนย์ "Zero Waste" อันได้แก่กระดาษจากเศษดอกหลังจากสกัดสี หรือนำมาแปรรูปเป็นอาหาร อาทิเช่น กากดอกดาหลากวน น้ำพริกแห้งดาหลา ซึ่งส่วนสำคัญในการวิจัยครั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์สิ่งทอและผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย กระเป๋าและรองเท้า เป็นต้น


วาดเส้นทัศนวัตถุกับความว่าง : บทสนทนากับปัจจุบันขณะและวัตถุที่ไร้การปรุงแต่ง, ตฤณภัทร ชัยสิทธิศักดิ์ Jan 2018

วาดเส้นทัศนวัตถุกับความว่าง : บทสนทนากับปัจจุบันขณะและวัตถุที่ไร้การปรุงแต่ง, ตฤณภัทร ชัยสิทธิศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสร้างสรรค์เรื่องวาดเส้นทัศนวัตถุกับความว่าง: บทสนทนากับปัจจุบันขณะและวัตถุที่ไร้ การปรุงแต่ง มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์การวาดเส้นจากผลงานของ ศิลปินที่ทำให้เกิดสมาธิ 2) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานวาดเส้นทัศนวัตถุกับความว่าง: บทสนทนากับปัจจุบันขณะ และวัตถุที่ไร้การปรุงแต่งด้วยกระบวนการวาดเส้นตามหลักการทัศนมิติเพื่อเรียนรู้เรื่องสมาธิ และ 3) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้จากการสร้างสรรค์ ผู้วิจัยได้สร้างผลงานชุดนำร่องด้วยหลักการวาดเส้นทัศนมิติเป็นรูปทรงสิ่งของจำนวน 3 ภาพ เพื่อยืนยันว่าการลากเส้นสัมพันธ์กับสมาธิจดจ่อกับเวลาปัจจุบันขณะ จากนั้นจึงได้วิเคราะห์ผลงานศิลปกรรมจากศิลปินที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสมาธิ รวมทั้งศิลปินที่เน้นกระบวนการในการสร้างผลงาน ทำให้ได้วิธีการ สร้างสรรค์ที่มีเนื้อหาสะท้อนกระบวนการทางศิลปะ สมาธิจดจ่อ และเวลา นำไปสู่ผลงานวาดเส้นทัศนวัตถุกับ ความว่าง: บทสนทนากับปัจจุบันขณะและวัตถุที่ไร้การปรุงแต่งทั้งหมด 2 ชุด จำนวน 20 ชิ้น ผลการวิจัยพบว่าการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยด้วยวิธีการวาดเส้นทัศนมิติสามารถทำให้ เกิดสมาธิหรือการจดจ่อต่อการทำงาน 3 ระดับ นอกจากนั้นผลงานสร้างสรรค์ยังแสดงให้เห็นว่างานจิตรกรรม สามารถถ่ายทอดสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้ ผลงานที่ออกมาสามารถแสดงให้เห็นการจดจ่อกับเวลา ปัจจุบันขณะและพัฒนาการของสมาธิที่เกิดขึ้นในขณะสร้างงาน เวลาปัจจุบันของการสร้างงานยังสะท้อนอยู่ เพราะไม่มีเนื้อหาใดปรากฏให้เห็นนอกจากการลากเส้น แม้ผลงานจะเสร็จสิ้นแล้วก็ยังสามารถแสดงให้ผู้ชม เห็นถึงเวลาอันเป็นปัจจุบันของผู้สร้างอยู่เสมอ ผลงานมีสถานะเป็นงานสร้างสรรค์เนื่องจากผู้วิจัยได้ใช้เวลามา สนับสนุนความสามารถของมนุษย์โดยนำเวลาที่ใช้ในการทำงานอย่างต่อเนื่องในแต่ละวันมาแสดงให้เห็นว่า ผลงานนั้นเปี่ยมไปด้วยความตั้งใจ ความจดจ่อและสมาธิที่เกิดขึ้น


การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพถ่ายใต้น้ำ : บินดุจปลา ว่ายดั่งนก, พรรัก เชาวนโยธิน Jan 2018

การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพถ่ายใต้น้ำ : บินดุจปลา ว่ายดั่งนก, พรรัก เชาวนโยธิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บินดุจปลาที่แหวกว่ายในท้องน้ำราวกับว่าโบยบินในแผ่นฟ้า ว่ายดั่งนกที่บินถลาเล่นลมบนนภา ราวกับว่าโล้คลื่นในผืนน้ำ คือสาระทางความคิดที่ต้องการถ่ายทอดและสื่อความหมายเกี่ยวกับความเป็นงานศิลป์ผ่านสระว่ายน้ำ วิทยานิพนธ์เรื่องการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพถ่ายใต้นํ้า: บินดุจปลา ว่ายดั่งนกได้แนวความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจมาจากการที่ผู้วิจัยมองเห็นพื้นที่ใต้น้ำเป็นพื้นที่แห่งการสร้างสรรค์ร่วมกับประสบการณ์ที่ผู้วิจัยเคยทำงานร่วมกับผู้มีความบกพร่องทางร่างกาย วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างงานศิลปะโดยเปลี่ยนมุมมองเรื่องพื้นที่ใช้สอยไปสู่พื้นที่สร้างสรรค์ทางศิลปะ (Artistic Site) ได้เป็นในความหมายใหม่ คือ พื้นที่แห่งความปรารถนา (The Place of Desire) และเพื่อสร้างกระบวนการศิลปะเชิงกิจกรรมที่ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมกับพื้นที่สร้างสรรค์ทางศิลปะ ผู้วิจัยได้นำสาระสำคัญของแนวคิดทางศิลปกรรมทางด้านศิลปะ Readymade Object ศิลปะเชิงกิจกรรม (Activist Art) งานศิลปะที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ "This is so Contemporary" ของ Tino Sehgal ผสานกับแนวความคิดทางจิตวิเคราะห์เรื่องความขาดพร่อง (Lack) และความขาดพร่อง (Desire) ของ Jacques Lacan มาเป็นวิธีในการเปลี่ยนมุมมองต่อสระว่ายในฐานะพื้นที่ใช้สอยมาเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ทางศิลปะ และวิธีการสร้างสรรค์ศิลปะเชิงกิจกรรมเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้คนเข้ามาสัมผัสกับพื้นที่สร้างสรรค์ทางศิลปะที่ผู้วิจัยได้ให้ความหมายใหม่ ทำให้ได้ผลงานภาพถ่ายใต้น้ำ จำนวน 7 ชุด ที่สะท้อนให้เห็นสัมพันธภาพระหว่างความขาดพร่องกับความปรารถนาที่อยู่ในเบื้องลึกของจิตไร้สำนึกและก้นบึ้งของจิตสำนึกของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่แห่งความปรารถนา ด้วยการเปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความปรารถนาของตนเองออกมาในสระว่ายน้ำ เพราะสระว่ายน้ำได้แปรเปลี่ยนข้อจำกัดด้านความบกพร่องของร่างกายผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ไร้ข้อจำกัด เพื่อพวกเขาได้ปลดปล่อยตนเองตามความปรารถนา ด้วยจินตนาการตามที่วาดหวัง ราวกับว่า เป็นอยู่และมีอยู่จริง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นทั้งผู้ชมและผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ส่วนผู้วิจัยทำหน้าที่เป็นผู้บันทึกและถ่ายทอดฉากชีวิตของผู้เข้าร่วมกิจกรรมและเรื่องเล่าอันเป็นที่มาของความปรารถนาที่ได้เข้าเติมเต็มความขาดพร่อง


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากวิถีการใช้ห้องน้ำในสังคมเมืองของไทย, ภคพร หอมนาน Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากวิถีการใช้ห้องน้ำในสังคมเมืองของไทย, ภคพร หอมนาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากวิถีการใช้ห้องน้ำในสังคมเมืองของไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบและแนวคิดหลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากวิถีการใช้ห้องน้ำในสังคมเมืองของไทย โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยที่สำคัญ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ การศึกษาข้อมูลจากสื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมการใช้ห้องน้ำในสังคมเมืองของไทยและการใช้ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ มาสร้างเป็นการแสดงสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์และดำเนินการสรุปผล ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์จากวิถีการใช้ห้องน้ำในสังคมเมืองของไทยเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบทั้ง 8 และการศึกษาจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องตลอดจนองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ผู้วิจัยได้กล่าวไว้ข้างต้น เพื่อนำมาใช้กำหนดองก์การแสดงทั้ง 6 องก์ ประกอบไปด้วยองก์ที่ 1 ห้องแห่งอดีต องก์ที่ 2 ห้องแห่งความหรูหรา องก์ที่ 3 ห้องแห่งข่าวสาร องก์ที่ 4 ห้องแห่งความลับ องก์ที่ 5 ห้องแห่งความเศร้า และองก์ที่ 6 ห้องแห่งวิถีสังคมเมืองของไทย พร้อมทั้งดำเนินการวิเคราะห์แนวคิดการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์จากวิถีการใช้ห้องน้ำในสังคมเมืองของไทยและการคำนึงถึงรูปแบบในการใช้ห้องน้ำในสังคมเมือง ทฤษฎีทางด้านสังคมวิทยา ทฤษฎีทางด้านสัญวิทยา ทฤษฎีทางด้านทัศนศิลป์ และการคำนึงถึงภาพสะท้อนสังคมปัจจุบันและสภาพสังคมโดยใช้นาฏยศิลป์เป็นสื่อในการอธิบายความหมาย นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์คุณค่าของงานนาฏยศิลป์ด้วยการนำเกณฑ์มาตรฐานศิลปินมาร่วมประกอบการวิเคราะห์และองค์ประกอบนาฏยศิลป์ทั้ง 8 ในการสร้างสรรค์งาน วิทยานิพนธ์นี้มีคุณค่าต่อสังคมในด้านการสร้างสรรค์ฉากการแสดงที่มีนัยยะการแฝงความหมายของพฤติกรรมมนุษย์ในอดีตจนถึงปัจจุบันและรวมไปถึงภาพสะท้อนพฤติกรรมการใช้ห้องน้ำในสังคมเมืองของไทยที่ส่งผลกระทบต่อสังคมในแง่มุมต่าง ๆ ตามวิถีสังคมเมือง


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ระหว่างไฟกับมนุษย์, ตวงพร มีทรัพย์ Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ระหว่างไฟกับมนุษย์, ตวงพร มีทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ระหว่างไฟกับมนุษย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ภายใต้หัวข้อ การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ระหว่างไฟกับมนุษย์ และเพื่อหาแนวคิดหลังการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ระหว่างไฟกับมนุษย์ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยที่สำคัญ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ การศึกษาข้อมูลจากสื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการใช้ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างเป็นการแสดงสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ และทำการสรุปผล ผลการวิจัยพบว่า ในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ระหว่างไฟกับมนุษย์ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับองค์ประกอบทั้ง 8 ที่อยู่บนพื้นฐานจากการศึกษาวรรณกรรม เพื่อใช้ในการกำหนดองก์การแสดงต่าง ๆ ประกอบไปด้วย 2 องก์ องก์ที่ 1 ไฟแห่งรูปธรรม ได้แก่ กำเนิดไฟและลุยไฟ และองก์ที่ 2 ไฟแห่งนามธรรม ได้แก่ ไฟราคะและไฟแค้น พร้อมทั้งทำการวิเคราะห์ในเรื่อง การวิเคราะห์แนวคิดการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ของไฟกับมนุษย์ การคำนึงถึงบริบทของไฟในเชิงรูปธรรมและนามธรรม การคำนึงถึงทฤษฎีการเผาไหม้ ทฤษฎีอุปลักษณ์มโนทัศน์ และทฤษฎีสัญญะ และการคำนึงถึงภาพสะท้อนในสังคมปัจจุบันกับงานนาฏยศิลป์ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์คุณค่าของงานนาฏยศิลป์ด้วยการนำเกณฑ์มาตรฐานศิลปินมาร่วมประกอบการวิเคราะห์กับองค์ประกอบนาฏยศิลป์ทั้ง 8 ในการสร้างสรรค์ผลงาน งานวิทยานิพนธ์นี้จะมีคุณค่าต่อสังคมในการให้แนวคิดและปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่เป็นประโยชน์ในด้านของการใช้ไฟเป็นสัญญะของการดำรงตนอยู่ในความซื่อสัตย์ การไม่ตกอยู่ในความลุ่มหลงที่นำไปสู่หายนะ และการสะท้อนผลแห่งการกระทำ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาไฟในบริบทต่าง ๆ จากวรรณกรรมที่หลากหลาย แล้วจึงคัดเลือกไฟที่มีบทบาทสำคัญ มาทำการต่อยอดเป็นผลงานนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ที่น่าสนใจ โดยการเล่าเรื่องราวผ่านวรรณกรรม นอกจากนี้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ยังเป็นการศึกษาไฟในเชิงวิทยาศาสตร์และภาษาศาสตร์นำมาผนวกเข้ากับศิลปกรรมศาสตร์ได้อย่างลงตัว


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ทางด้านนาฏยศิลป์, ภัทรฤทัย กันตะกนิษฐ์ Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ทางด้านนาฏยศิลป์, ภัทรฤทัย กันตะกนิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบและหาแนวคิดที่ได้หลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ทางด้านนาฏยศิลป์ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และวิจัยเชิงคุณภาพที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ สื่อสารสนเทศ การสัมมนา เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน และประสบการณ์ของผู้วิจัย พิจารณาข้อมูลเชิงทฤษฎีเชื่อมโยงในประเด็นของรูปแบบการแสดงนาฏยศิลป์ การสร้างสรรค์ และแนวคิดการแสดงนาฏยศิลป์ วิเคราะห์ข้อมูล ทดลองพัฒนาผลงานการสร้างสรรค์เรียบเรียงข้อมูล แสดงขั้นตอนและผลการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการแสดงผลงานสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่ปรากฏคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานศิลปิน โดยการคัดเลือกนักแสดงที่มีความหลากหลายในทักษะการเต้นร่วมสมัยและแนวเต้นที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ใช้เสียงไวโอลินบรรเลงสดและเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ ใช้พื้นที่ในและนอกวงกลมโดยมีเก้าอี้ 9 ตัววางเป็นวงกลมกลางเวที สวมใส่ชุดที่ใช้ในชีวิตประจำวันเหมาะสมกับสรีระและลีลานาฏยศิลป์ของนักแสดง ออกแบบแสงให้เห็นมิติของร่างกาย นำเสนอเป็น 3 องก์การแสดง ประกอบด้วย องก์ 1 ยุคบุกเบิก แบ่งเป็น 4 ฉาก คือ ฉาก 1 แนวคิดของลอย ฟูลเลอร์ (Loie Fuller) ฉาก 2 แนวคิดของอิสดอรา ดันแคน (Isadora Duncan) ฉาก 3 แนวคิดของรุท เซนต์เดนนีส (Ruth St Denis) ต่อเนื่องถึงฉาก 4 แนวคิดของเดนนีส-ชอร์น (Denis Shawn) องก์ 2 ยุคสมัยใหม่ศิลปินรุ่น 1 และ 2 แบ่งเป็น 4 ฉาก ได้แก่ ฉาก 1 แนวคิดของมาธา เกรแฮม (Matha Graham) ฉาก 2 แนวคิดของดอริช ฮัมเฟรย์ (Doris Humphrey) ฉาก 3 แนวคิดของเมอร์ซ คันนิงแฮม (Merce Cunningham) และฉาก 4 แนวคิดของโฮเซ ลีมอน (Jose Limon) องก์ 3 ยุคหลังสมัยใหม่ แบ่งเป็น 4 ฉาก ได้แก่ ฉาก …


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากข้อถกเถียงเรื่องเพศ, วิทวัส กรมณีโรจน์ Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากข้อถกเถียงเรื่องเพศ, วิทวัส กรมณีโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง "การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากข้อถกเถียงเรื่องเพศ" มีรูปแบบในลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวคิดหลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากข้อถกเถียงเรื่องเพศ โดยศึกษาปรากฏการณ์ของข้อถกเถียงเรื่องเพศวิถีและความเท่าเทียมในมนุษย์ นาฏยศิลป์สร้างสรรค์ในปัจจุบัน ศิลปะแบบสมัยใหม่และแบบหลังสมัยใหม่ที่ส่งผลต่องานนาฏยศิลป์ เพื่อเป็นพื้นฐานประกอบในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย สื่อสารสนเทศอื่น ๆ ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และนำเสนอผลงานวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์เป็นการนำเสนอเรื่องราวของข้อถกเถียงเรื่องเพศมาสร้างสรรค์เป็นงานนาฏยศิลป์เพื่อสังคมลักษณะหนึ่ง ซึ่งเป็นการแสดงข้อถกเถียงเรื่องเพศทางด้านเพศวิถีและความเท่าเทียมในมนุษย์ ตามทรรศนะของวิทยาศาสตร์ มานุษยวิทยาและสังคมวิทยา สามารถจำแนกตามองค์ประกอบของการสร้างสรรค์ผลงงานทางด้านนาฏยศิลป์ทั้งหมด 8 ประการ ได้แก่ 1) บทการแสดง สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ภายใต้ลักษณะของข้อถกเถียงเรื่องเพศทางด้านเพศวิถีและความเท่าเทียมในมนุษย์ตามทรรศนะของวิทยาศาสตร์ มานุษยวิทยาและสังคมวิทยา แบ่งออกได้ทั้งหมด 4 องก์ ได้แก่ องก์ 1 เพศกำหนด (Sex Determination) องก์ 2 จิตวิญญาณ (Soul) องก์ 3 พื้นที่การแสดงออก (Space) และองก์ 4 การเคลื่อนไหวของเพศวิถี (Sexuality Movement) 2) นักแสดง มีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ รวมถึงมีประสบการณ์เกี่ยวกับเพศวิถีและความเท่าเทียมในมนุษย์ 3) ลีลานาฏยศิลป์ นำเสนอผ่านรูปแบบนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ โดยการนำแนวคิดของมาธ่า เกร์แฮม (Matha Graham) ดอริส ฮัมเฟรย์ (Doris Humphrey) พอล เทย์เลอร์ (Paul Taylor) และพีน่า เบาซ์ (Pina Bausch) ในการเคลื่อนไหวการด้นสด การใช้ท่าทางในชีวิตประจำวัน และการแสดงอารมณ์ทางการเคลื่อนไหว 4) เสียงและดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ได้รับการสร้างสรรค์และประพันธ์เพลงขึ้นใหม่ สามารถสื่อความหมายและสื่อสารอารมณ์ 5) เครื่องแต่งกาย ใช้การออกแบบจาก 3 แนวคิด คือ หลักศิลปะมินิมอลลิสม์ (Minimalism) หลักทฤษฎีน้อยดีกว่ามาก (Less is more) และแนวคิดแบบอาวองการ์ด (Avant-garde) 6) พื้นที่การแสดง นำเสนอการแสดงบนพื้นที่อื่นที่ไม่ใช่ลักษณะโรงละคร โดยจัดแสดงบริเวณพื้นที่แบบเปิด และมีมุมมองรอบด้านลักษณะวงกลม …


This Research-Based Thesis Focuses On Phin Music Based On Buddhist Perspectives In Respect Of The Middle Path. The Investigations Ultimately Led To The Creation In Thai Classical Music. The Phin Music Was Examined In Terms Of Its Concepts And Appearances In Tripitaka; And Other Sources Of Evidence. The Interviews Were Also Held With The Experts In The Related Fields, Namely Religion, Music, And Creativity. The Findings Revealed That The Dharma Is Elaborated Via The Phin's Characters Through The Following Three Perspectives Including (1) Religion As A Symbol Of Wisdom, (2) Faith As A Symbol Of Gandharva's Instruments, And (3) Music As Preciousness, Beauty, And Melodiousness. The Examinations Of All Relevant Documents And Evidence Showed That The Phin Instrument, Known As Krachappi, Is Categorized As A Long-Neck Plucked Lute, Whose Nomenclature Is Synonymous With A Lute Appearing In The Post Vedic Period. In Addition, A Phin Described In Tripitaka Can Be Referred To Three Issues: (1) An Implication Of Dharma By The Metaphor Made On A String And Sound, (2) Specific Types Of Instrument: Harp, Lute And Bowed, And (3) Musical Functions And Roles: Melodic And Drone Instruments For Accompanying Singing. In This Research, The New Music Composition Formed Is Classed As Phleng Tap Ruang Genre, Which Comprises Three Parts: Buddha-Guna, Dharma-Guna, And Sangha-Guna. The Genesis Of New Melodic Outlines Was Derived From Various Structures Of Verses, Pali Chanting Texts, And Chanda In Vuttodaya, Whose Connotations Are Associated With The Dharma. Furthermore, The Notable Components Of The Composition, Namely Drone Melodies, Horizontal Harmony, Pali Lyrics For Vocal Parts, And The Innovative Pattern Of Nathap, Were Elaborated As Embellishment's Purposes. In Addition, The Expressions Of The Music Relied Heavily Upon Melodic Derivations Tend To Covey The Dharma Implications., ศักดิ์ทวี จิตไพศาลวัฒนา Jan 2018

This Research-Based Thesis Focuses On Phin Music Based On Buddhist Perspectives In Respect Of The Middle Path. The Investigations Ultimately Led To The Creation In Thai Classical Music. The Phin Music Was Examined In Terms Of Its Concepts And Appearances In Tripitaka; And Other Sources Of Evidence. The Interviews Were Also Held With The Experts In The Related Fields, Namely Religion, Music, And Creativity. The Findings Revealed That The Dharma Is Elaborated Via The Phin's Characters Through The Following Three Perspectives Including (1) Religion As A Symbol Of Wisdom, (2) Faith As A Symbol Of Gandharva's Instruments, And (3) Music As Preciousness, Beauty, And Melodiousness. The Examinations Of All Relevant Documents And Evidence Showed That The Phin Instrument, Known As Krachappi, Is Categorized As A Long-Neck Plucked Lute, Whose Nomenclature Is Synonymous With A Lute Appearing In The Post Vedic Period. In Addition, A Phin Described In Tripitaka Can Be Referred To Three Issues: (1) An Implication Of Dharma By The Metaphor Made On A String And Sound, (2) Specific Types Of Instrument: Harp, Lute And Bowed, And (3) Musical Functions And Roles: Melodic And Drone Instruments For Accompanying Singing. In This Research, The New Music Composition Formed Is Classed As Phleng Tap Ruang Genre, Which Comprises Three Parts: Buddha-Guna, Dharma-Guna, And Sangha-Guna. The Genesis Of New Melodic Outlines Was Derived From Various Structures Of Verses, Pali Chanting Texts, And Chanda In Vuttodaya, Whose Connotations Are Associated With The Dharma. Furthermore, The Notable Components Of The Composition, Namely Drone Melodies, Horizontal Harmony, Pali Lyrics For Vocal Parts, And The Innovative Pattern Of Nathap, Were Elaborated As Embellishment's Purposes. In Addition, The Expressions Of The Music Relied Heavily Upon Melodic Derivations Tend To Covey The Dharma Implications., ศักดิ์ทวี จิตไพศาลวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลงานวิจัยสร้างสรรค์การประพันธ์เพลงมีจุดประสงค์เพื่อสร้างสรรค์นวตกรรมการประพันธ์เพลงแนว และสร้างบริบททางดนตรีแนวใหม่ สำหรับวงวินด์ซิมโฟนี ร่วมกับเครื่องยามาฮ่า อิเลคโทนรุ่น สเตเจีย ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง "มงคลจักรวาลแห่งไตรภูมิกถา สำหรับอิเลคโทน และวงวินด์ซิมโฟนี" ได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับภพภูมิ ถิ่นที่อยู่ที่เกิดขึ้นและดับไปในสามโลกได้แก่ (1) กามภูมิ (2) รูปภูมิ และ (3) อรูปภูมิ ซึ่งจะถ่ายทอดเรื่องราวตามจินตนาการของผู้ประพันธ์ อีกทั้งยังมีการใช้แนวทำนองพื้นบ้านมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการประพันธ์เพลงในกระบวนที่ 3 ตลอดความยาว 34 นาทีของบทประพันธ์นี้ประกอบด้วย 4 กระบวน ได้แก่ (1) อบายภูมิ4 (2) อรูปภูมิ4 (3) ฉกามาพจร6 และ (4) มนุษยภูมิ4


การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์บทเพลงชุด พุทธเจดีย์ทวารวดีศรีนครปฐม, สรายุทธ์ โชติรัตน์ Jan 2018

การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์บทเพลงชุด พุทธเจดีย์ทวารวดีศรีนครปฐม, สรายุทธ์ โชติรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์บทเพลงชุด พุทธเจดีย์ทวารวดีศรีนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์เพลงที่ได้รับแรงบันดาลใจเกี่ยวกับความเชื่อ เชื้อชาติ ภาษา รูปแบบสถาปัตยกรรม ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ และสร้างองค์ความรู้ด้านการประพันธ์เพลงแนวใหม่ และการสร้างเครื่องดนตรี โดยถ่ายทอดผลงานในรูปแบบดนตรีพรรณนาทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพในการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ พุทธเจดีย์ทวารวดี 7 องค์เป็นสิ่งปลูกสร้างแสดงถึงความรุ่งเรืองเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาที่ปรากฏมาในเมืองนครปฐมสมัยทวารวดีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11-16 จนถึงปัจจุบันที่สมบูรณ์จำนวน 2 องค์คือ พระปฐมเจดีย์ พระประโทน-เจดีย์ และร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์อีกจำนวน 5 องค์คือ จุลประโทนเจดีย์ พระเนินเจดีย์ สังฆรัตนธาตุเจดีย์ พระงามเจดีย์ และพระเมรุเจดีย์ การสร้างสรรค์ผลงานนี้เป็นการประพันธ์เพลงในรูปแบบของเพลงชุด ประกอบด้วยเพลงหลัก 8 เพลงคือ 1) เพลงพุทธเจดีย์บูชา 2) เพลงพระปฐมเจดีย์ 3) เพลงพระประโทนเจดีย์ 4) เพลงพระเนินเจดีย์ 5) เพลงสังฆรัตนเจดีย์ 6) เพลงจุลประโทนเจดีย์ 7) เพลงพระงามเจดีย์ 8) เพลงพระเมรุเจดีย์ และทำนองเชื่อมเจดีย์สำหรับบรรเลงเชื่อมเพลงหลัก 1 ทำนอง โดยรูปแบบวงดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประสมวงขึ้นใหม่ประดิษฐ์เพิ่มขึ้นใหม่ 2 ชิ้นคือ ระฆังหินและระนาดหิน เพื่อใช้สำหรับบรรเลงเพลงชุดโดยเฉพาะประกอบด้วย ระนาดตัดขนาดใหญ่ ระนาดตัดขนาดเล็ก จะเข้ ปี่มอญ ขลุ่ยเพียงออ ระฆังหิน ระนาดหิน ปรับเปลี่ยนให้ความสอดคล้องกับลีลาทำนองของพุทธเจดีย์แต่ละองค์ กำหนดทำนองในอัตราจังหวะสองชั้นและชั้นเดียว จังหวะฉิ่ง 3 รูปแบบ และหน้าทับ 12 รูปแบบ แสดงความเป็นอัตลักษณ์สำเนียงของบทเพลงที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสะท้อนภาพความเชื่อเรื่องกุมารทองในสังคมไทย, สุนันทา เกตุเหล็ก Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสะท้อนภาพความเชื่อเรื่องกุมารทองในสังคมไทย, สุนันทา เกตุเหล็ก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง "การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสะท้อนภาพความเชื่อเรื่องกุมารทองในสังคมไทย" มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบและแนวคิดหลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสะท้อนภาพความเชื่อเรื่องกุมารทองในสังคมไทย โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากตัวละครกุมารทองที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง ขุนช้างขุนแผน และยังคงสืบทอดคติความเชื่อเรื่องกุมารทองมาจนถึงปัจจุบัน จึงเกิดแนวคิดหลักในการดำเนินงานด้วยการนำกุมารทองมาเป็นสัญลักษณ์สะท้อนภาพความเชื่อของคนในสังคมไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบของงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การค้นคว้าเอกสาร การสัมภาษณ์ การสัมมนา สื่อสารสนเทศ การเก็บข้อมูลภาคสนาม และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ และสรุปผล ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์สามารถจำแนกองค์ตามประกอบของการแสดงได้ 8 ประการ ได้แก่ บทการแสดง ลีลา ผู้แสดง เสียงและดนตรี อุปกรณ์การแสดง เครื่องแต่งกาย แสง และสถานที่การแสดง ซึ่งการออกแบบในแต่ละองค์ประกอบมีกระบวนการคิดสร้างสรรค์จากจุดเริ่มต้นในการสะท้อนภาพความเชื่อเรื่องกุมารทอง เริ่มจากการแบ่งบทการแสดงออกเป็น 3 องก์ โดยเล่าเรื่องราวเป็นลำดับเหตุการณ์ตามระยะเวลา ได้แก่ องก์ที่ 1 กำเนิด องก์ที่ 2 อิทธิฤทธิ์ องก์ที่ 3 ความเชื่อ ซึ่งเป็นการนำเสนอการตีความผ่านศิลปะการแสดงนาฏยศิลป์ร่วมสมัย โดยคัดเลือกผู้แสดงที่มีทักษะความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ และบุคลิกลักษณะเหมาะสมกับบทบาทที่ได้รับ มีการออกแบบเครื่องแต่งกายที่บ่งบอกถึงยุคสมัย และแฝงการสร้างสัญญะของความเชื่อเรื่องกุมารทองไว้ในการออกแบบเครื่องแต่งกาย อีกทั้งยังมีการใช้เสียงและแสงในการสร้างบรรยากาศ และกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของ ผู้แสดงและผู้ชม นอกจากนี้ยังมีการออกแบบอุปกรณ์ที่ใช้หลักทฤษฎีสัญวิทยาในการให้ความหมายของอุปกรณ์ประกอบการแสดง ทำให้เกิดมิติทางความหมายที่แตกต่างจากการตีความหมายในมุมมองของความเชื่อเรื่องกุมารทอง โดยใช้สถานที่โรงละครแห่งมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (Black Box Theatre) ในการช่วยสร้างภาพลวงตาในการรับชมการแสดงได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แนวคิดหลังการการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์มี 5 ประการ ได้แก่ 1) การคำนึงถึงเนื้อหากุมารทองจากวรรณกรรมไทย 2) การคำนึงถึงความเชื่อเรื่องกุมารทองผ่านงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ 3) การคำนึงถึงการใช้ทฤษฎีสัญวิทยาในการแสดงนาฏยศิลป์ 4) การคำนึงถึงการสะท้อนภาพสังคมโดยใช้นาฏยศิลป์ 5) การคำนึงถึงการตีความอนาคตด้านความเชื่อเรื่องกุมารทองในสังคมไทย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นผลงานสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวความเชื่อหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในการให้แนวคิดและปรัชญาในการเชื่อถือศรัทธาต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด และยังสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมความเชื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงและสืบทอดอย่างมีนัยยะไปตามบริบทของสังคม


เพลงตับ “พิณทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”, วราภรณ์ เชิดชู Jan 2018

เพลงตับ “พิณทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”, วราภรณ์ เชิดชู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยดนตรีพิณตามแนวคิดพุทธศาสนาจากธรรมะเรื่องทางสายกลาง เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์ทางดุริยางคศิลป์ไทย โดยค้นคว้าจากพระไตรปิฎกและหลักฐานต่าง ๆ รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักธรรม ดนตรีและการสร้างสรรค์ ผลการวิจัยพบว่า หลักธรรมทางสายกลาง "ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา" นั้น ปรากฏการใช้คุณสมบัติดนตรี "พิณ" เป็นสื่อในการอธิบายธรรมะ โดยข้อมูลดนตรีพิณสื่อถึง 3 นัยคือ (1) พิณในทางพุทธศาสนาจัดเป็นสัญลักษณ์แห่งการก่อให้เกิดปัญญา (2) พิณในทางความเชื่อจัดเป็นสัญลักษณ์แห่งเทพคนธรรพ์ (3) พิณในทางดนตรีเป็นลักษณะที่แสดงถึงคุณค่า ความงาม ความไพเราะ เอกสารและหลักฐานต่าง ๆ พบว่า เครื่องดนตรีพิณ "กระจับปี่" จัดอยู่ในประเภทพิณคอยาวเรียกชื่อตามแบบพิณลิวท์ที่ปรากฏในยุคหลังพระเวท ส่วนข้อมูลดนตรีพิณในพระไตรปิฎกพบว่า (1) ด้านความหมาย พิณมีนัยแห่งหลักธรรมโดยอุปมาจากสายและเสียงของพิณ (2) ด้านลักษณะพิณ ปรากฏรูปแบบฮาร์ป ลิวท์และโบว์ (3) ด้านบทบาทหน้าที่พบว่าพิณเป็นเครื่องทำทำนองและเครื่องทำเสียงโดรน ใช้ประกอบการขับร้อง ผลงานการประพันธ์เพลงในครั้งนี้เป็นเพลงตับเรื่องแบ่งทำนองออกเป็น 3 ส่วนคือ พุทธคุณ ธรรมคุณและสังฆคุณ โดยใช้กลวิธีการประพันธ์ตามขนบด้วยทำนองต้นรากที่มาจากบทสวดบาลีและฉันท์ในคัมภีร์วุตโตทัย อันมีความหมายสอดคล้องกับเรื่องราวทางสายกลาง รวมทั้งการใช้แนวคิดเสียงโดรน การประสานเสียงแนวนอน การใช้คำร้องบาลี การประพันธ์หน้าทับใหม่ ตลอดจนการสอดแทรกและรักษานัยแห่งหลักธรรมของทำนองต้นรากอย่างเคร่งครัด อันเป็นลักษณะพิเศษที่ปรากฏในผลงานสร้างสรรค์ครั้งนี้


นวัตกรรมอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์สำหรับสตรีสูงวัย, อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์ Jan 2018

นวัตกรรมอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์สำหรับสตรีสูงวัย, อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งตามการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคนั้นชี้ให้เห็นว่า กลุ่มผู้สูงอายุในประเทศไทยมีกำลังซื้อสูง มีความสนใจดูแลใส่ใจสุขภาพ ชื่นชอบการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับกลุ่มผู้บริโภคในช่วงอายุอื่น ๆ ทั้งยังมีแนวโน้มสนใจวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเดินทาง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานวัตกรรมการสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มผู้บริโภคสตรีสูงวัยที่มีแนวโน้มสนใจวัฒนธรรม และการนำนวัตกรรมที่เหมาะสมเข้าไปสนับสนุนการตอบสนองความต้องการด้านการบริโภคสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ ให้แก่กลุ่มสตรีสูงวัยที่มีรูปแบบหรือสไตล์การแต่งกายที่แตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม โดยแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ (1) การศึกษารูปแบบการแต่งกายและการดำเนินชีวิตของกลุ่มเป้าหมายสตรีสูงวัย ด้วยการเก็บข้อมูลรูปภาพเปเปอร์ดอล ดาต้าเซต (Paper Doll Data Set) และการใช้เครื่องมือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น (2) การศึกษาแนวคิดการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายสตรีสูงวัย ได้แก่ ทฤษฎีการออกแบบด้วยวัฒนธรรม (Cultural Design) ทฤษฎีการออกแบบเพื่อมวลชน (Universal Design) (3) กรณีศึกษาการศึกษาทุนวัฒนธรรมสิ่งทอพื้นถิ่นจังหวัดน่าน (4) การออกแบบสร้างสรรค์ผลงานจากคำตอบของการวิจัย โดยผลจากการวิจัยพบว่า นวัตกรรมอัตลักษณ์ตราสินค้าสิ่งทอแฟชั่นไลฟ์สไตล์สำหรับผู้สตรีสูงวัย มีรายละเอียดดังนี้ 1. กลุ่มผู้บริโภคสตรีสูงวัยสามารถแบ่งรูปแบบการแต่งกายได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ กลุ่มทันสมัยตามกระแสนิยม (Modern-Urban) กลุ่มพื้นถิ่นและวัฒนธรรม (Boho-Ethnic) และกลุ่มหรูหราอ่อนหวาน (Luxury-Feminine) ซึ่งทั้งสามรูปแบบนั้นมีวิถีชีวิตและแนวทางการแต่งกายแตกต่างกัน 2. แนวทางการออกแบบสำหรับกลุ่มผู้บริโภคสตรีสูงวัยใช้ทฤษฎีการออกแบบด้วยวัฒนธรรม (Cultural Design) และทฤษฎีการออกแบบเพื่อมวลชน (Universal Design) โดยแนวคิดการออกแบบทั้งสองก่อให้เกิดรูปแบบของชุดคำตอบที่สามารถนำไปสู่นวัตกรรมการสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าได้ทั้งหมด 3 รูปแบบ


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสัญลักษณ์โอม ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, อภิโชติ เกตุแก้ว Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสัญลักษณ์โอม ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, อภิโชติ เกตุแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสัญลักษณ์โอม ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยศึกษาจากแนวคิดจากสัญลักษณ์โอม ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู สัญศาสตร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เกณฑ์มาตรฐานศิลป์ ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย รวมไปถึงได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยจำนวน 33 คน สื่อสารสนเทศอื่น ๆ สำรวจข้อมูลภาคสนามที่เทวสถานทั้งในประเทศไทยและประเทศอินเดีย ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ สรุปผล และนำเสนอผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการแสดงมีองค์ประกอบทั้งหมด 8 ประการ ได้แก่ 1) บทการแสดง โดยวิเคราะห์จากแนวคิดองค์ประกอบทัศนศิลป์ที่ปรากฏบนสัญลักษณ์โอม แบ่งออกเป็น 3 องก์ ประกอบไปด้วย องก์ 1 จุดเริ่มต้น (Starting Point) องก์ 2 เส้นโค้งแห่งการปกป้องดูแล (The Curve of Protection) และองก์ 3 จุดสิ้นสุด (End Point) ผู้วิจัยใช้การจัดวางภาพในการแสดงจากแนวคิดการปะติดภาพ (Collage) 2) นักแสดง คัดเลือกจากผู้มีความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์อินเดียและนาฏยศิลป์ตะวันตก 3) การเคลื่อนไหวลีลา นำเสนอผ่านรูปแบบนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ โดยการนำแนวคิดของ อิสดอรา ดันแคน (Isadora Duncan) ในแนวคิดการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระ (Free Spirit) พอล เทย์เลอร์ (Paul Taylor) แนวคิดการใช้ท่าทางในชีวิตประจำวัน (Everyday Movement) สตีฟ แพกซ์ตัน (Steve Paxton) แนวคิดการเคลื่อนไหวลีลาโดยใช้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายในแบบด้นสด (Body Contact Improvisation) อาครัมคาน (Akram Khan) แนวคิดการใช้ทักษะท่าทางนาฏยศิลป์อินเดียมาผสมผสานกับนาฏศิลป์แบบตะวันตก 4) เสียงเป็นการแสดงแบบดนตรีสดโดยใช้เครื่องดนตรีที่สามารถสื่อถึงอารมณ์และความรู้สึก ได้แก่ ขันทิเบต เชลโล่ กลองตับบลา กลองไทโกะ 5) อุปกรณ์การแสดง ใช้แนวคิดสัญลักษณ์ที่เน้นความเรียบง่าย สามารถสื่อสารความหมายอย่างชัดเจน 6) เครื่องแต่งกาย เป็นการลดทอนการแต่งกายของอินเดียโดยการนำแนวคิดมินิมอลลิสม์ (Minimalism) ที่ให้ความสำคัญกับความเรียบง่าย 7) …


การสร้างสรรค์ผลงานดุริยางคศิลป์ ชุด สัตว์หิมพานต์, สุรพงษ์ บ้านไกรทอง Jan 2018

การสร้างสรรค์ผลงานดุริยางคศิลป์ ชุด สัตว์หิมพานต์, สุรพงษ์ บ้านไกรทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสร้างสรรค์ผลงานดุริยางคศิลป์ ชุด สัตว์หิมพานต์ เป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ผสมกับการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในดำเนินการวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคติความเชื่อในเรื่องสัตว์หิมพานต์ นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานดุริยางคศิลป์ และจัดแสดงผลงานต่อสาธารณชน เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์จากบุคคลข้อมูล 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปกรรมไทย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศาสนาปรัชญาและความเชื่อ และผู้ทรงคุณวุฒิทางดุริยางคศิลป์ไทย ผลการวิจัยพบว่า สัตว์หิมพานต์เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทยมายาวนาน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ สัตว์จตุบาท สัตว์ทวิบาทและมัจฉา ในสังคมไทยมีคติความเชื่อว่าสัตว์หิมพานต์เป็นสัตว์มงคล เป็นสัตว์วิเศษที่มีความสวยงาม มีคติเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผลงานดุริยางคศิลป์ ชุด สัตว์หิมพานต์ ประกอบไปด้วย 10 บทเพลง ได้แก่เพลงพญาโคนิสภราช เพลงพญาพลาหก เพลงพญาฉัททันต์ เพลงพญาไกรสรสีหราช เพลงพญาหงส์ทอง เพลงพญากินนรแห่งสุวัณณนคร เพลงพญาครุฑ เพลงปลาอานนท์ เพลงพญานาคราช สุนันทนาคราชและปนันทนาคราช มีเพลงสำหรับเชื่อมต่อเพื่อความเป็นเอกภาพคือเพลงวิพิธหิมพานต์ บทเพลงทั้ง 10 เพลงประพันธ์ขึ้นใหม่ทั้งหมดโดยนำข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์หิมพานต์มาวิเคราะห์ ตีความทางสัญวิทยาโดยนำเอาลักษณะของสัตว์ต่าง ๆ มาสื่อด้วยองค์ประกอบทางดุริยางคศิลป์ ผสานกับความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และแรงบันดาลใจของผู้วิจัยในรูปแบบดนตรีพรรณนา มีการสร้างสรรค์รูปแบบการประสมวงดนตรี และรูปแบบจังหวะหน้าทับขึ้นใหม่เพื่อแสดงจินตภาพของสัตว์หิมพานต์แต่ละชนิด เพื่อเติมเต็มจินตภาพของสัตว์หิมพานต์ให้สมบูรณ์


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความหมายนามเต็มของ “กรุงเทพมหานคร”, ณัฏฐ์พัฒน์ ผลพิกุล Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความหมายนามเต็มของ “กรุงเทพมหานคร”, ณัฏฐ์พัฒน์ ผลพิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความหมายนามเต็มของ "กรุงเทพมหานคร" มีรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพเละการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ตลอดจนมีวัตถุประสงค์ศึกษาหารูปแบบแนวคิดหลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่ได้จากนามเต็ม"กรุงเทพมหานคร"และเพื่อศึกษาแนวคิดหลังการสร้างสรรค์ผลงาน อีกทั้งผู้วิจัยมุ่งศึกษาประวัติศาสตร์นามกรุงเทพมหานคร รวมถึงข้อมูลทางเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏยศิลป์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัย การสังเกตการณ์ ประสบการณ์ทางการสร้างสรรค์ผลงานของผู้วิจัย เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน และสื่อสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง สู่กระบวนการวิเคราะห์ สรุปผล และการนำเสนอผลของงานวิจัย โดยผู้วิจัยมีวิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยสามารถจำแนกตามองค์นาฏยศิลป์ทั้ง 8 องค์ประกอบ คือ 1) การออกแบบบทการแสดง 2) การคัดเลือกนักแสดง 3) การออกแบบลีลานาฏยศิลป์ 4) การออกแบบเสียงและดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง 5) การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง 6) การออกแบบพื้นที่สำหรับการแสดง 7) การออกแบบเครื่องแต่งกาย และ 8) การออกแบบแสง อีกทั้งสามารถจำแนกแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์ผลงานได้ 7 ประการ คือ 1) การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความหมายนามเต็มของ " กรุงเทพมหานคร " 2) ความคิดสร้างสรรค์ในผลงานนาฏยศิลป์ 3) สัญลักษณ์ในงานนาฏยศิลป์ 4 ) ทฤษฎีทางด้านนาฏยศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์ 5) แนวคิดของนาฏยศิลป์ร่วมสมัย 6) การสะท้อนสภาพสังคมผ่านการสร้างสรรค์ทางนาฏยศิลป์ และ 7) แนวคิดของนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้นำองค์ความรู้ในหลากหลายศาสตร์เป็นพื้นฐานที่นำสู่การสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏยศิลป์จากความหมายนามเต็มของ "กรุงเทพมหานคร" สามารถนำมาเป็นต้นแบบในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ที่ผู้สร้างงานพิจารณาหรือวิเคราะห์จากความหมายของนามเฉพาะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการการสื่อความหมายให้เป็นรูปธรรม โดยผ่านงานนาฏยศิลป์ อีกทั้งงานวิจัยในครั้งนี้ยังสามารถเป็นประโยชน์ในการต่อยอดองค์ความรู้ต่อไป


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่, วนศักดิ์ ผดุงเศรษฐกิจ Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่, วนศักดิ์ ผดุงเศรษฐกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อแสวงหารูปแบบนาฏยศิลป์ที่สร้างสรรค์จากตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่ และเพื่อค้นหาแนวคิดที่ได้หลังจากการปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ มีลักษณะเป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์และเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ สื่อสารสนเทศ ข้อมูลภาคสนาม การสังเกตการณ์ผลงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ การสัมมนา และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ การปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ และสรุปผล ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์โดยใช้ตำนานนกกิ่งกะหร่าเพื่อสื่อสารความเชื่อความศรัทธาของชาติพันธุ์ไทใหญ่กับพระพุทธศาสนา สามารถจำแนกตามองค์ประกอบการแสดงได้ 8 ประการ 1) บทการแสดงที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยผสมผสานตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่ และเรื่องชาติภพทั้ง 5 ของพระพุทธเจ้าในการกำเนิดเป็นนกกิ่งกะหร่า 2) นักแสดงมีคุณสมบัติในการเคลื่อนไหวร่างกายที่หลากหลายตามทักษะความชำนาญของตนเอง 3) ลีลาที่นำเสนอผ่านการฝึกปฏิบัติวิธีการแสดงแบบเดอะเมธอด (The Method of Acting) 4) เครื่องแต่งกายที่แสดงถึงบุคลิกภาพของนกกิ่งกะหร่าทั้ง 5 ตัว ตามแนวคิดเรื่องศีล 5 ข้อ 5) ดนตรีและเสียงประกอบที่ใช้ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือด้นสดกับสถานการณ์ในการแสดง และการขับเพลงพื้นบ้านภาคเหนือเล่าเรื่องตำนานนกกิ่งกะหร่า 6) อุปกรณ์ประกอบการแสดงที่เน้นการใช้ร่างกายเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบต่าง ๆ ของนักแสดงเพื่อสื่อสารประเด็นสำคัญของเรื่อง 7) พื้นที่การแสดงที่กำหนดความหมายเป็นสถานที่ต่าง ๆ ในการแสดงได้แก่ สถานที่ไร้กาลและเวลา ป่าหิมพานต์ และท้องฟ้า 8) แสงที่ใช้แนวคิดทางทัศนศิลป์ และสัญวิทยาออกแบบเสียงให้ที่สามารถสื่อสารความคิดและสถานการณ์ของตัวละครให้เกิดความชัดเจน นอกจากนี้ ในด้านการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ยังได้ให้ความสำคัญใน 6 ประเด็น 1) แนวคิดจากตำนานนกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่ 2) แนวคิดเกี่ยวกับชาติพันธุ์กับอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ไทใหญ่ 3) แนวคิดที่เกี่ยวกับรากฐานความคิดความเชื่อและศิลปวัฒนธรรม 4) แนวคิดสัญวิทยา 5) แนวคิด การแสดงเดอะเมธอด (The Method of Acting) และ 6) แนวคิดทางทัศนศิลป์


ดุษฎีนิพนธ์งานวิจัยดนตรีสร้างสรรค์: ดุลยภาพลีลาเสียงแห่งวงเชมเบอร์อองซอมเบลอร่วมสมัย, อนันตญา รอดเทียน Jan 2018

ดุษฎีนิพนธ์งานวิจัยดนตรีสร้างสรรค์: ดุลยภาพลีลาเสียงแห่งวงเชมเบอร์อองซอมเบลอร่วมสมัย, อนันตญา รอดเทียน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การบรรเลงเดี่ยวเปียโนเป็นการแสดงออกถึงความสามารถและศักยภาพของผู้บรรเลง ผู้วิจัยได้ศึกษาและบรรเลงเดี่ยวเปียโนมาโดยตลอดทำให้มีความสนใจในการบรรเลงเปียโนในมิติที่แตกต่างจากเดิม จึงเริ่มทำการศึกษาบทเพลงประเภทเชมเบอร์อย่างจริงจัง งานวิจัยดนตรีสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาศักยภาพในการบรรเลงเปียโนในด้านต่าง ๆ ของผู้แสดง เช่น เทคนิคการบรรเลง และการตีความบทเพลง 2) เผยแพร่บทประพันธ์ประเภทรวมวงขนาดเล็กที่สำคัญแก่ผู้สนใจ 3) เผยแพร่บทประพันธ์ของไทยที่มีเอกลักษณ์ไปสู่สากลโลก และ 4) รวบรวมข้อมูลบทเพลง ผู้วิจัยได้คัดเลือกบทประพันธ์เชมเบอร์ที่มีชื่อเสียงและมีความสำคัญต่อวรรณกรรมในยุคบาโรก ยุคคลาสสิก ยุคโรแมนติก และยุคปัจจุบัน โดยแบ่งออกตามประเภทของเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการบรรเลง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเครื่องสาย กลุ่มเครื่องเป่าลมไม้ และกลุ่มเครื่องผสม ทำการวิเคราะห์และตีความบทเพลง ฝึกซ้อม และจัดการแสดง 3 รายการ โดยใช้ชื่อว่า ดุษฎีนิพนธ์การแสดงดนตรี 'ดุลยภาพลีลาเสียงแห่งเชมเบอร์อองซอมเบลอร่วมสมัย' ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอในรูปแบบวิทยานิพนธ์ ผลจากการวิเคราะห์และตีความบทเพลงใน 3 การแสดงพบว่า การสื่อสารระหว่างผู้บรรเลงเป็นสิ่งจำเป็นในการบรรเลงบทเพลงสำหรับวงเชมเบอร์ เพื่อให้ผลงานแสดงออกถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผู้วิจัย ผู้วิจัยทำการตีความบทเพลง ออกแบบเครื่องดนตรีที่เหมาะสมกับแนวทำนองหลักและแนวบรรเลงประกอบ เลือกใช้เปียโนแทนการใช้ฮาร์ปซิคอร์ด รวมถึงคิดค้นการบรรเลงดังเบา และเปลี่ยนอัตราความเร็วของบทเพลง เพื่อปรับรูปประโยคให้มีความไพเราะมากขึ้นโดยใช้เทคนิค การสร้างสรรค์ลีลาลักษณะการบรรเลง (Creative Dramatic Articulation)


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ของสตรีอีสานผ่านการชมหนังกลางแปลง, ชนิดา จันทร์งาม Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ของสตรีอีสานผ่านการชมหนังกลางแปลง, ชนิดา จันทร์งาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบและหาแนวคิดที่ได้หลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ของสตรีชาวอีสาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์เชิงลึกของกลุ่มสตรีอีสาน จำนวน 30 คน การสังเกตการณ์ การสัมมนา เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน สื่อสารสนเทศและประสบการณ์ของผู้วิจัยผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการแสดงมีองค์ประกอบ 8 ประการ ได้แก่ 1) การออกแบบบทการแสดงเป็นการเล่าเรื่องแบบละคร แบ่งเป็น 3 องก์ ได้แก่ องก์ 1 กลางแปลง องก์ 2 ภาพลักษณ์ และองก์ 3 สตรีอีสาน 2) การคัดเลือกนักแสดงใช้นักแสดงที่มีทักษะที่หลากหลายและสามารถสื่อสารภาษาอีสานได้ 3) การออกแบบลีลาการเคลื่อนไหว ประกอบด้วย ลีลาในชีวิตประจำวัน (Everyday Movement) ลีลาการเคลื่อนไหวที่แสดงอารมณ์แบบละคร (Acting) และการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง 4) การออกแบบเครื่องแต่งกาย ใช้เครื่องแต่งกายพื้นบ้านอีสานและการแต่งกายในชีวิตประจำวันที่มีความเรียบง่าย 5) การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง ใช้เสื่อเพื่อกำหนดพื้นที่การแสดงและใช้อุปกรณ์ในชีวิตประจำวัน 6) การออกแบบดนตรีและเสียงประกอบการแสดง เสียงที่เกิดขึ้นในการแสดงประกอบด้วย เสียงสนทนา เสียงบรรยายและเสียงจากเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน 7) การออกแบบสถานที่ จัดแสดง ณ โรงละครแบล็ค บ๊อกซ์ เธียร์เตอร์ (Black Box Theatre) โดยใช้หนังกลางแปลงเป็นฉากประกอบการแสดง 8) การออกแบบแสง เพื่อสร้างมิติให้กับการมองเห็นสัดส่วนของฉากประกอบการแสดง และเพื่อช่วยเสริมบรรยากาศและสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร ส่วนแนวคิดที่ได้หลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ เรื่อง การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ของสตรีอีสานผ่านการชมหนังกลางแปลง ประกอบด้วยแนวคิด 6 ประการ คือ 1) การคำนึงถึงการสะท้อนภาพลักษณ์ของสตรีอีสาน 2) การคำนึงถึงแนวคิดด้านสังคมวิทยา 3) การคำนึงถึงแนวคิดเกี่ยวกับภาพยนตร์และหนังกลางแปลง 4) การคำนึงถึงแนวคิดเกี่ยวกับการโหยหาอดีต 5) การคำนึงถึงแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 6) การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ทางด้านนาฏศิลป์ ผลของงานวิจัยครั้งนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยโดยครบถ้วน และคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยและผู้สร้างสรรค์งานในอนาคต


เทเลเอสเทติกส์: การสร้างสรรค์นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียออนไลน์เกี่ยวกับศิลปะสื่อใหม่, ให้แสง ชวนะลิขิกร Jan 2018

เทเลเอสเทติกส์: การสร้างสรรค์นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียออนไลน์เกี่ยวกับศิลปะสื่อใหม่, ให้แสง ชวนะลิขิกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันศิลปะสื่อใหม่มีบทบาทในศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย ทว่าในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะสื่อใหม่ในประเทศไทยนั้นไม่มีความแพร่หลาย คนรุ่นใหม่ที่สนใจศิลปะสื่อใหม่นั้นเข้าถึงข้อมูลได้ยาก มีช่องว่างในการรับรู้ข้อมูลศิลปะสื่อใหม่ การเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่มีการเน้นย้ำหรือกล่าวถึง งานเขียนภาษาไทยไม่มีการจัดทำเป็นตำรา และงานแปลมีจำกัดหนังสือเพียงไม่กี่เล่มเท่านั้น เมื่อกล่าวถึงธรรมชาติของการหาความรู้ของคนรุ่นใหม่ที่สนใจศิลปะพบว่ากลุ่มคนดังกล่าวได้ใช้อินเทอร์เน็ตในการหาข้อมูลเป็นหลัก แต่น้อยที่จะมีความสนใจในเนื้อหาที่เป็นการเขียนที่มีรายละเอียดเยอะโดยเฉพาะข้อมูลภาษาอังกฤษ ดังนั้น จากแนวความคิดเพื่อออกแบบชุดความรู้ ลดช่องว่างในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะสื่อใหม่สำหรับคนไทยรุ่นใหม่ที่สนใจ มาสู่การวิจัยการทำความเข้าใจองค์ความรู้ศิลปะสื่อใหม่ นำมาสร้างชุดข้อมูลนำเสนอแก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าถึงและพัฒนาองค์ความรู้ต่อได้ การออกแบบชุดความรู้ดังกล่าวได้ถูกนำเสนอผ่านนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียออนไลน์บนเว็บไซต์ที่มีชื่อว่าเทเลเอสเทติกส์โดยมีการกำหนดขอบเขตของงานวิจัยของงานวิจัยเผยแพร่ออกมา 2 ฉบับคือ เทเลเอสเทติกส์ฉบับที่หนึ่งเน้นไปที่การปูพื้นความรู้เกี่ยวกับศิลปะสื่อใหม่ ส่วนเทเลเอสเทติกส์ฉบับที่สองเป็นการนำต่อยอดองค์ความรู้จากฉบับที่หนึ่งและเน้นไปที่ศิลปะแห่งเสียงเป็นแขนงที่คาบเกี่ยวกับศิลปะสื่อใหม่ให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้เนื้อหาดังกล่าว