Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Environmental Design Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 328

Full-Text Articles in Environmental Design

ผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 (Covid-19) ต่อปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงแรม: กรณีศึกษาโรงแรมกักตัวขนาดเล็กจังหวัดน่าน, ณัฏฐ์ธีรา นาคพงษ์ Jan 2022

ผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 (Covid-19) ต่อปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงแรม: กรณีศึกษาโรงแรมกักตัวขนาดเล็กจังหวัดน่าน, ณัฏฐ์ธีรา นาคพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2563 ส่งผลให้โรงแรมบางส่วนมีการปรับตัวเป็นโรงแรมกักตัวทางเลือกเพื่อเฝ้าควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งมีพฤติกรรมในการเข้าพักแรมที่แตกต่างจากช่วงการท่องเที่ยวโดยทั่วไป และส่งผลต่อปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน และเปรียบเทียบปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในช่วงก่อน และหลังที่มีการปรับเปลี่ยนเป็นโรงแรมกักตัวทางเลือก กรณีศึกษาโรงแรมกักตัวขนาดเล็ก ในจังหวัดน่าน จำนวน 3 แห่ง ในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ. 2562 – 2564 โดยรวบรวมข้อมูลกิจกรรมจากการรวบรวมใบเสร็จค่าสาธารณูปโภค ใบเสร็จการสั่งซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโรงแรม และการสอบถามผู้ประกอบการ พนักงาน ประกอบกับการพิจารณาข้อกำหนดสำหรับโรงแรมที่ต้องการปรับเปลี่ยนเป็นสถานที่กักตัวทางเลือก ผลการศึกษาพบว่า สำหรับโรงแรมกรณีศึกษาทั้ง 3 แห่ง ในปี พ.ศ. 2564 ปีที่ปรับเป็นโรงแรมกักตัว ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์รายปีโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.71 % และช่วงที่โรงแรมปรับเป็นโรงแรมกักตัวปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์รายเดือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.94 โดยเฉพาะการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในขอบเขตที่ 3 ซึ่งจากการสอบถามพบว่ามีการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อาทิ ถุงครอบแก้ว รองเท้าสำหรับใส่ในห้อง และการขนส่งอาหาร เพิ่มขึ้น คิดเป็นปริมาณร้อยละ 327.78 ท้ายที่สุด ในการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงแรมในช่วยที่ปรับเปลี่ยนเป็นสถานที่กักตัวทางเลือก งานวิจัยนี้เสนอแนะให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้ซ้ำได้ในบางส่วนเพื่อลดปริมาณคาร์บอนฟุต พริ้นท์ในขอบเขตที่ 3


การออกแบบอาคารด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป : สำนักงานราชการขนาดเล็กกรณีศึกษา อาคารสำนักงานคณะกรรมการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตเเห่งชาติ, ณัทน์ธัญ อธิศธันยวัศ Jan 2022

การออกแบบอาคารด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป : สำนักงานราชการขนาดเล็กกรณีศึกษา อาคารสำนักงานคณะกรรมการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตเเห่งชาติ, ณัทน์ธัญ อธิศธันยวัศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูปมักถูกนำไปใช้ในการออกแบบอาคารขนาดใหญ่ที่มีหน่วยซ้ำๆ หรืออาคารขนาดเล็กที่มีรูปแบบซ้ำๆ เช่น อาคารชุดพักอาศัยและบ้านจัดสรรเท่านั้น บทความนี้นำเสนอการศึกษาความเป็นไปได้ในการออกแบบสำนักงานราชการขนาดเล็กที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป ผ่านกรณีศึกษา อาคารสำนักงานคณะกรรมการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตเเห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ซึ่งออกแบบโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง อาคารสำนักงาน ป.ป.ช. ที่ก่อสร้างไปเเล้วในหลายจังหวัด เป็นอาคารขนาดเล็ก พื้นที่อาคารรวม 1,170 ตร.ม. มีรูปทรงคล้ายกัน เเละผังพืิ้นเหมือนกัน เป็นอาคารสูง 3 ชั้น ชั้นที่ 1 ประกอบด้วย ห้องโถง ห้องรับเรื่อง ห้องเก็บของ ส่วนพื้นที่ทำงานของหน่วยงาน ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย ห้องเก็บพัสดุ ห้องเอนกประสงค์ ห้องเลขานุการ ห้องผู้อำนวยการ ส่วนพื้นที่ทำงานของหน่วยงาน ชั้นที่ 3 ประกอบด้วย ห้องไต่สวน ห้องมั่นคง ห้องประชุม จากการศึกษาพบว่าสามารถจำแนกพื้นที่ใช้สอยดังกล่าวได้ 3 ขนาด คือ 1) ขนาดเล็ก ได้แก่ ห้องเก็บของ ห้องรับเรื่อง ห้องเลขานุการ ห้องไต่สวน ห้องเก็บพัสดุ 2) ขนาดกลาง ได้แก่ ห้องโถง ห้องเอนกประสงค์ ห้องมั่นคง ห้องผู้อำนวยการ เเละ 3) ขนาดใหญ่ ได้แก่ ส่วนพื้นที่ทำงานของเเต่ละหน่วยงาน ห้องประชุม ทั้งนี้การก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป ระบบผนังรับน้ำหนัก จะเหมาะกับพื้นที่ใช้สอยขนาดเล็ก และขนาดกลาง ส่วนระบบเสาคาน จะเหมาะกับพื้นที่ใช้สอยขนาดกลาง เเละขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ในการออกแบบอาคาราชการขนาดเล็กด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยใช้ระบบเสาคาน ร่วมกับชิ้นส่วนพื้น เเละผนังภายนอกสำเร็จรูป กั้นแบ่งพื้นที่ภายในด้วยระบบผนังเบา หรือใช้ระบบผนังรับน้ำหนัก แต่ต้องจัดผังพื้นแต่ละชั้นใหม่ โดยสลับให้ชั้นที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาดเล็กอยู่ชั้นล่าง เเละขนาดใหญ่อยู่ชั้นบน หรือจะใช้ระบบผสม เพื่อไม่ต้องจัดผังพื้นใหม่ก็ได้ โดยใช้ระบบผนังรับน้ำหนักในพื้นที่ใช้สอยที่มีขนาดเล็ก และขนาดกลาง เเละเพิ่มชิ้นส่วนคานสำหรับช่วงพาดกว้างในหน่วยที่มีขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังสามารถออกแบบโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูปอื่น ๆ เช่น ประตู-หน้าต่าง โครงหลังคา เเละส่วนตกแต่ง ทั้งแผงตกแต่ง และแผงกันแดด


การศึกษาหลักคิดการสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนาจากสามนิกายหลัก, ปัญจพัฒน์ ถิระธำรงวีร์ Jan 2022

การศึกษาหลักคิดการสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนาจากสามนิกายหลัก, ปัญจพัฒน์ ถิระธำรงวีร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทำความเข้าใจในหลักคิดการสร้างมณฑลทางพุทธศาสนาที่แตกต่างกันของสามนิกายหลัก (เถรวาท มหายาน และวัชรยาน) ที่อยู่บนพื้นฐานของหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันมีหลักปฏิบัติในอริยมรรคเพื่อการเข้าถึงพุทธธรรม การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผสมผสานกับการวิจัยเชิงบรรยาย (ในเชิงสหสัมพันธ์) โดยศึกษาวิเคราะห์แนวทางการสอน, สิ่งที่มุ่งเน้นในการปฏิบัติ, และกิจกรรม ประเพณี ที่แตกต่างกันของแต่ละนิกาย (แต่ยังคงหลักมีหลักปฏิบัติแห่งอริยมรรค (ศีล สมาธิ ปัญญา) ที่มุ่งสู่พุทธรรมเป็นเป้าหมายที่เหมือนกัน) ที่ส่งผลให้พุทธสถานของทั้ง 3 นิกายมีรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่มีความเหมือนในความสอดคล้องไปกับการจัดสรรพื้นที่ที่เอื้อต่อการพัฒนาจิตอย่างเป็นลำดับขั้น ผลการศึกษาทำให้เข้าใจหลักคิดการสร้างอริยมรรคมณฑล โดยสามารถสรุปหลักการได้ดังนี้ อริยมรรคมณฑลนั้นต้องมีหลักร่วมใจหรือนิมิตหมายแห่งปัญญาญาณเป็นศูนย์กลาง อันเป็นเป้าหมายหลัก และมีพื้นที่โดยรอบดุจเรือนแก้วขยายออกมาจากศูนย์กลาง ดุจเป็นลำดับชั้นการเข้าถึงปัญญาญาณ หรือความเป็นพุทธะ อันเป็นคุณลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ก่อให้เกิดความสงบภายในตน ควบคุมการรับรู้ภายนอกที่เป็นปรากฏการณ์ความแปรเปลี่ยนของธรรมชาติรอบตัว โดยมีองค์ประกอบทางพุทธสถาปัตยกรรมที่มีความประณีตจากภายนอกค่อย ๆ มากขึ้นอย่างเป็นลำดับขั้น และประณีตสูงสุดที่ศูนย์กลาง (อันเปรียบดุจจิตแห่งปัญญาที่เจิดจรัส) เทียบเคียงกับสภาวะจิตที่กำลังเข้าสู่ความเป็นพุทธะ มีความบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว อันทำให้อริยมรรคมณฑลนี้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ สามารถพัฒนาจักรวาลชีวิตให้เจริญขึ้น สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ เป็นไปตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา ทำให้บุคลเห็นคุณค่าของวิถีชีวิตที่อยู่บนหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา เข้าใจความสุข สงบ ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย มีชีวิตที่เป็นอิสระจากความทุกข์ มีปัญญาและมีความเบิกบาน เป็นความสมบูรณ์ของชีวิต


ศักยภาพในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ : กรณีศึกษาโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดน่าน, พิสิฐพงศ์ ตันติมาสน์ Jan 2022

ศักยภาพในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ : กรณีศึกษาโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดน่าน, พิสิฐพงศ์ ตันติมาสน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันปัญหาสภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีการใช้พลังงานตลอด 24 ชม. ในปัจจุบันอาคารประเภทโรงแรมในประเทศไทยมีการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงแรมยังหากแต่งานวิจัยในด้านการชดเชยคาร์บอนในอาคารประเภทโรงแรมยังมีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะในโรงแรมขนาดเล็กซึ่งเป็นโรงแรมทางเลือกหลักของนักท่องเที่ยวชาวไทย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยใช้โรงแรมขนาดเล็ก (2 ชั้น ขนาด 928 และ 820 ตร.ม.) ในจังหวัดน่านเป็นกรณีศึกษา งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงจำลองสถานการณ์ซึ่งพิจารณาในเรื่องของ พื้นที่หลังคาอาคาร รูปทรงหลังคา รูปร่างอาคาร มุมเอียงหลังคา มุมเอียงของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และ ทิศทางการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ทั้ง 8 ทิศทาง โดยคำนวณพลังงานไฟฟ้าและประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ด้วยโปรแกรม DesignBuilder v7.0.1.006 และ ประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เพื่อหาแนวทางในการติดตั้งที่เหมาะสม ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ารูปแบบที่เหมาะสม คือ รูปแบบการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่ครอบคลุมการใช้พลังงานไฟฟ้าของอาคารใน 1 ปี และปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อศักยภาพในการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ คือ รูปร่างอาคาร มุมเอียงแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 18 องศา การวางแนวอาคารและการหันแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้สามารถผลิตพลังงานได้ดีที่สุด คือทิศใต้ และ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีผลตอบแทนทางการเงิน (Internal rate of return: IRR) อยู่ที่ 11.00% ใช้ระยะเวลาในการคืนทุน 8.60 ปี ท้ายที่สุด งานวิจัยนี้เสนอแนวทางการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดน่าน


กระบวนการออกแบบลิฟต์ภายในอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่เป็นอาคารสูงในโรงพยาบาล กรณีศึกษา : อาคารโรงพยาบาลรัฐ 7 แห่ง, พิริยะ ศรีนพรัตนกุล Jan 2022

กระบวนการออกแบบลิฟต์ภายในอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่เป็นอาคารสูงในโรงพยาบาล กรณีศึกษา : อาคารโรงพยาบาลรัฐ 7 แห่ง, พิริยะ ศรีนพรัตนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบลิฟต์เพื่อให้ลิฟต์ตอบสนองการบริการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่เป็นอาคารสูงในโรงพยาบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งมีความแตกต่างจากอาคารทั่วไป ในปัจจุบันกฎหมายและมาตรฐานในประเทศไทย เป็นเพียงข้อกำหนดขั้นพื้นฐานในการออกแบบลิฟต์สำหรับอาคารทั่วไป และมีการกล่าวถึงการออกแบบลิฟต์ที่แตกต่างกันออกไป การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของกระบวนการออกแบบลิฟต์ ข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบลิฟต์ ตลอดจนการวิเคราะห์การแบ่งกลุ่มลิฟต์และการกำหนดจำนวนลิฟต์ โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องการออกแบบลิฟต์ และแบบสถาปัตยกรรมอาคารกรณีศึกษาจำนวน 7 อาคาร ตลอดจนการสัมภาษณ์ผู้ออกแบบ ผู้เกี่ยวข้อง จากการค้นคว้าในเชิงทฤษฎีพบว่า มีการกล่าวถึงการออกแบบลิฟต์ออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ การออกแบบติดตั้งและก่อสร้างระบบลิฟต์ และการออกแบบลิฟต์ภายในอาคาร ทั้งนี้กฎหมายและมาตรฐานในประเทศไทยยังมีเนื้อหาไม่ครอบคลุมการออกแบบลิฟต์ภายในอาคารในโรงพยาบาลเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล จากการศึกษาพบว่า กระบวนการออกแบบลิฟต์ภายในอาคารกรณีศึกษาในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ การดำเนินการออกแบบลิฟต์โดยสถาปนิกตลอดทั้งกระบวนการ ซึ่งสถาปนิกจะเป็นผู้กำหนดองค์ประกอบการออกแบบลิฟต์ในหลาย ๆ ส่วน และการดำเนินการออกแบบลิฟต์ร่วมกันระหว่างสถาปนิกและวิศวกร ซึ่งจะมีการตรวจสอบจำนวน ความจุ และความเร็วของลิฟต์โดยวิศวกร ผู้ออกแบบมีการเลือกใช้ข้อมูลในการออกแบบลิฟต์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้ออกแบบส่วนใหญ่ใช้กฎหมาย ความต้องการของเจ้าของโครงการ งบประมาณ แนวคิดการป้องกันการติดเชื้อ และประสบการณ์การออกแบบมาเป็นข้อมูลขั้นต้น ทั้งนี้มีผู้ออกแบบเพียงบางส่วนใช้มาตรฐานสากลมาเป็นข้อมูลในการออกแบบลิฟต์ เนื่องจากไม่มีการกำหนดมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบลิฟต์ในโรงพยาบาลอย่างชัดเจน การแบ่งกลุ่มลิฟต์ถูกจำแนกตามการใช้งานออกเป็นหลายประเภท เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดการป้องกันการติดเชื้อ ในส่วนการกำหนดจำนวนลิฟต์ผู้ออกแบบบางส่วนใช้วิธีการคำนวณและเกณฑ์การประมาณตัวแปรต่าง ๆ ตามมาตรฐานสากลที่แนะนำไว้ในเบื้องต้น


การใช้พื้นที่บริการสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรณีศึกษา : ส่วนการรักษาด้วยเครื่องเร่งอนุภาคแนวตรง, ศศิภา อ่อนทอง Jan 2022

การใช้พื้นที่บริการสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรณีศึกษา : ส่วนการรักษาด้วยเครื่องเร่งอนุภาคแนวตรง, ศศิภา อ่อนทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พื้นที่หน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาเป็นพื้นที่ที่มีความซับซ้อนเนื่องมาจากกระบวนการให้บริการ มีการทำงานร่วมกันของสหวิชาชีพ และต้องคำนึงถึงความปลอดภัยทางรังสี โดยผู้วิจัยมองเห็นความสำคัญของสภาพพื้นที่ให้บริการด้านดังกล่าว จึงได้ทำการศึกษาสภาพการใช้พื้นที่บริการสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรณีศึกษา : ส่วนการรักษาด้วยเครื่องเร่งอนุภาคแนวตรง เพื่อวิเคราะห์สภาพการใช้พื้นที่ ประเด็นปัญหา และอุปสรรคในการใช้งาน เพื่อให้ทราบถึงสภาพการใช้งานพื้นที่ในปัจจุบัน และเป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาออกแบบหรือปรับปรุงพื้นที่สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาในอนาคต โดยทำการทบทวนวรรณกรรม เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่รังสีรักษา เก็บข้อมูลภาคสนามจากการสำรวจพื้นที่อาคารกรณีศึกษา การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ได้แก่ แพทย์รังสีรักษา นักฟิสิกส์การแพทย์ นักรังสีเทคนิค พยาบาล และเจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวน 14 ราย และทำการรวบรวมแบบสัมภาษณ์ในผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยจำนวน 172 ราย ได้รับการตอบรับจำนวน 100 ราย นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ประกอบด้วย 3 พื้นที่ที่มียุคสมัยของพื้นที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งพื้นที่ที่มีการต่อเติมเพิ่ม พื้นที่ที่ปรับปรุงจากโครงสร้างเดิม และพื้นที่สร้างใหม่ มีการแบ่งการใช้งานพื้นที่ออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่ ส่วนติดต่อและพักคอย ส่วนตรวจและให้คำปรึกษา ส่วนวางแผนการรักษา ส่วนการรักษาด้วยการฉายรังสี ส่วนบริการเจ้าหน้าที่ และส่วนสนับสนุน มีขั้นการเข้ารับบริการ 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงตรวจและให้คำปรึกษา ช่วงจำลองการฉายรังสี และช่วงการฉายรังสี ผลการศึกษาแสดงให้เห็นปัญหา อุปสรรคในการใช้งานพื้นที่ คือ ปัญหาด้านความแออัดของพื้นที่พักคอยในพื้นที่กรณีศึกษา 2 พื้นที่ ซึ่งเป็นพื้นที่เก่า มีอายุการใช้งานมานาน ด้วยข้อจำกัดด้านการขยายตัวของพื้นที่ และปริมาณผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้การใช้งานพื้นที่ไม่สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน พบปัญหาห้องควบคุมเครื่องฉายรังสีคับแคบ ไม่สะดวกต่อการทำงาน และปัญหาห้องพักเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ดังนั้นการออกแบบพื้นที่รังสีรักษาจึงควรคำนึงถึงการขยายตัวในอนาคตเพื่อป้องกันปัญหาด้านพื้นที่การใช้งานไม่เพียงพอ หรือจัดให้มีการปรับปรุง แก้ไข ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาจากการใช้งานพื้นที่


การรับรู้ภาพจิตรกรรมผ่านสื่อดิจิทัล กรณีศึกษา ภาพจิตรกรรมสีน้ำมัน เทคนิคการระบายสีแบบหนา (Impasto), มัชฌิมา มรรคา Jan 2022

การรับรู้ภาพจิตรกรรมผ่านสื่อดิจิทัล กรณีศึกษา ภาพจิตรกรรมสีน้ำมัน เทคนิคการระบายสีแบบหนา (Impasto), มัชฌิมา มรรคา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการส่องสว่างที่ส่งผลต่อการรับรู้ และเปรียบเทียบการรับรู้ภาพจิตรกรรมสีน้ำมัน เทคนิคการระบายสีแบบหนา (Impasto) ระหว่างการรับชมภาพที่จัดแสดงกับการรับชมภาพในหน้าจอหรือสื่อดิจิทัล เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดแสดงที่ส่งเสริมการรับรู้วัตถุประเภทภาพจิตรกรรมที่มีลักษณะพื้นผิวนูน ให้มีการรับรู้ที่ใกล้เคียงกัน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 63 คน อายุระว่าง 21-40 ปี ด้วยแบบสอบถามคู่คำที่มีความหมายตรงข้าม 6 คู่คำ ดำเนินการทดลองในห้องจำลองที่มีการปรับเปลี่ยนปัจจัยการศึกษาในการจัดแสดงภาพ 18 สภาวะ และรูปถ่าย 18 รูป ประกอบด้วย ปัจจัยด้านทิศทางการส่องสว่าง ได้แก่ การส่องจากทิศทางด้านหน้า และการส่องจากทิศทางด้านข้าง ปัจจัยด้านมุมส่องวัตถุที่ดวงโคมกระทำกับแนวดิ่งเท่ากับ 20°, 30° และ 35° และปัจจัยด้านระดับความส่องสว่าง ได้แก่ 100%, 50% และ30% ทำการศึกษาการรับรู้ด้านความสว่าง ความมีสีสัน ความชัดเจน ความมีมิติของพื้นผิว ความสบายตา และความพึงพอใจ ผลการศึกษาพบว่าทิศทางการส่องสว่าง มุมส่องวัตถุ และระดับความส่องสว่าง มีอิทธิพลต่อการรับรู้ภาพที่จัดแสดงและภาพในหน้าจออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้จากการพิจารณาโดยภาพรวมเพื่อให้การรับชมภาพที่จัดแสดงและการรับชมภาพในหน้าจอมีการรับรู้ที่ใกล้เคียงกันที่สุด การจัดแสดงภาพจิตรกรรมโดยใช้ทิศทางการส่องสว่างจากด้านหน้า มุมส่องวัตถุ 30 องศา ที่ระดับความส่องสว่าง 50% ทำให้การรับชมภาพที่จัดแสดงและการรับชมภาพในหน้าจอมีการรับรู้ที่ใกล้เคียงกันและยังสามารถส่งเสริมการรับรู้ในด้านความสว่าง ความมีสีสัน ความชัดเจน ความสบายตา และความพึงพอใจ แต่หากต้องการเน้นการรับรู้ความมีมิติของพื้นผิว จะทำให้การรับรู้ด้านอื่น ๆ ลดลง ผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกใช้ให้ตรงกับความต้องการในการนำเสนอของศิลปินและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดแสดง


การศึกษาข้อกำหนดการจัดจ้างงานทำความสะอาดในอาคารสำนักงานราชการ, ภัคจิรา ตันติกุล Jan 2022

การศึกษาข้อกำหนดการจัดจ้างงานทำความสะอาดในอาคารสำนักงานราชการ, ภัคจิรา ตันติกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานบริการอาคาร (Facility services) เป็นงานขั้นพื้นฐานที่มีความจำเป็นต่อทุกอาคาร สะท้อนถึงภาพลักษณ์ที่ดีของอาคาร และทำให้ผู้ใช้อาคารได้รับความสะดวกและปลอดภัย อาคารสำนักงานราชการเป็นอาคารที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก จึงควรคำนึงถึงการจัดการรักษาความสะอาดที่ดี ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงทำการศึกษาเชิงประจักษ์แบบกรณีศึกษาจากข้อกำหนดการจัดจ้างงานทำความสะอาดในอาคารสำนักงานราชการ โดยมีเกณฑ์คัดเลือกกรณีศึกษาจากข้อกำหนดการจ้างที่เปิดเผยในระบบของภาครัฐ 20 กรณีศึกษา เพื่อทราบถึงรูปแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการทำความสะอาดที่สอดคล้องกับอาคารสำนักงานราชการ และเป็นแนวทางการจัดการงานทำความสะอาดในอาคารสำนักงานราชการ ผลการศึกษาพบว่าความถี่ของการทำความสะอาด แบ่งออกเป็น 6 รูปแบบ ได้แก่ ประจำวัน ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน ประจำ 3 เดือน ประจำ 6 เดือน และประจำปี มีการแบ่งพื้นที่สำนักงานในการทำความสะอาด 7 พื้นที่ ได้แก่ ห้องประชุม สำนักงาน ห้องผู้บริหาร ห้องน้ำ ห้องเตรียมอาหาร โถงส่วนกลาง และลิฟต์ บันไดเลื่อน บันได โดยการจัดการวัสดุและอุปกรณ์ทำความสะอาด ประกอบด้วยอุปกรณ์ทำความสะอาดทั่วไป อุปกรณ์ทำความสะอาดกระจก อุปกรณ์ทำความสะอาดอิเล็กทรอนิกส์ วัสดุสิ้นเปลือง และน้ำยาทำความสะอาด และตำแหน่งบุคลากรที่พบมี 2 ตำแหน่ง ได้แก่ หัวหน้างาน และพนักงานทำความสะอาด มีการปฏิบัติงานในเวลาราชการ มีการกำหนดการจ่ายค่าจ้างที่พบส่วนมากคือจ่ายเป็นรายงวด งวดละ 1 เดือน และมีการกำหนดค่าปรับ 2 ลักษณะ ได้แก่ บอกเป็นสัดส่วน และระบุเป็นจำนวนเงิน นอกจากนี้การกำหนดราคากลางในเอกสารหลักเกณฑ์และอัตราค่าใช้จ่ายประกอบการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีที่เบิกจ่ายในลักษณะค่าตอบแทน ใช้สอย วัสดุ และค่าสาธารณูปโภคของกองมาตรฐานงบประมาณ1 ซึ่งทางราชการใช้อ้างอิงจัดทำสัญญาจ้างทำความสะอาด โดยมีราคาอัตราจ้างเหมาทำความสะอาดสำหรับอาคารทุกประเภทเพียงราคาเดียว คือ ไม่เกิน 11 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน แต่จากผลการศึกษาพบว่าราคาค่าจ้างทำความสะอาดเฉลี่ยคือ 11.72 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน เนื่องจากมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้องกับราคาค่าจ้าง เช่น อาคารราชการมีการใช้งานหลากหลายประเภท ระยะเวลาการใช้งานอาคาร จำนวนบุคลากร พื้นที่ ซึ่งในบางพื้นที่อาจมีข้อจำกัดในการปฏิบัติงาน ความซับซ้อนของเนื้องานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อความถี่ในการทำความสะอาดที่ไม่เท่ากันในแต่ละกรณีศึกษา นอกจากนี้ปริมาณวิธีการจัดการงานทำความสะอาดในส่วนพื้นที่สำนักงานทั้งหมด 7 พื้นที่ และราคาต่อตารางเมตรต่อชั่วโมงไม่แปรผันตามกัน เนื่องจากข้อมูลประเภทอาคารของกรณีศึกษา มีพื้นที่นอกเหนือขอบเขตที่ทำการศึกษา


ประสิทธิภาพด้านพลังงานและความน่าสบายของการทำความเย็นวิธีกระจายลมแบบแทนที่โดยใช้เครื่องปรับอากาศแยกส่วนแบบไร้พัดลม, สุพัตรา สุขเมือง Jan 2022

ประสิทธิภาพด้านพลังงานและความน่าสบายของการทำความเย็นวิธีกระจายลมแบบแทนที่โดยใช้เครื่องปรับอากาศแยกส่วนแบบไร้พัดลม, สุพัตรา สุขเมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพด้านพลังงานและความน่าสบายของเครื่องปรับอากาศแยกส่วนต้นแบบ โดยการนำหน้ากากครอบแอร์และพัดลมในคอยล์เย็นออกแล้วตั้งค่าอัตโนมัติให้อุณหภูมิเริ่มต้นที่ 25.5 องศาเซลเซียส แรงดันน้ำยาแอร์ 250 PSI กำลังไฟฟ้า 2.7 กิโลวัตต์ และกำลังไฟฟ้าของเครื่องลดความชื้น 0.02 กิโลวัตต์ แล้วทำงานติดตั้งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 1. ระดับเหนือข้อเท้า (+0.15 ม.) 2. ระดับลำตัว (นั่งเก้าอี้) (+0.81 ม.) 3. ระดับเหนือลำตัว (+1.47 ม.) และ 4. ระดับเหนือศีรษะ (+2.13 ม.) ตามลำดับ จากนั้นทำการทดสอบในห้องจำลองเสมือนจริงที่ขนาด 1.60 x 2.70 x 2.60 ม. ในขณะทดสอบมีการใช้หลอดไฟ LED ทั้งหมด 35 วัตต์ เพื่อเพิ่มความร้อนที่เกิดขึ้นภายในห้อง ซึ่งภายในห้องทดลองได้มีการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องวัดอุณหภูมิ 12 ช่อง เครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ อุณหภูมิกระเปาะเปียก-แห้ง เครื่องวัดกำลังไฟฟ้าและเครื่องลดความชื้น โดยมีระยะเวลาในการทำวิจัยอยู่ในช่วงสั้น ๆ คือช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 (เริ่มต้นเข้าฤดูหนาว) มีช่วงเวลาทดสอบตลอด 24 ชม.ของหนึ่งตัวอย่างทดสอบ ภายใต้อุณหภูมิภายนอก 19-36 องศาเซลเซียส ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งการทดสอบนี้อาศัยหลักการไหลของมวลอากาศ ตามหลักการจ่ายลมเย็นแบบ displacement ventilation (การกระจายลมเย็นแบบแทนที่) จากการทดสอบพบว่าการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบปรับอากาศสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง ผลการทดสอบพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยลดลง 0.5 - 1 องศาเซลเซียสทุก ๆ 2 ชั่วโมง และมีการกระจายความเย็นอย่างสม่ำเสมอเมื่อเครื่องทำงานต่อเนื่อง 6 ชั่วโมงเป็นต้นไป ซึ่งจากผลการประเมินประสิทธิภาพความน่าสบายพบว่า ร้อยละ 80 ของช่วงเวลาการทดสอบ คืออุณหภูมิ 23.3 – 29.4 องศาเซลเซียสและความชื้นสัมพัทธ์ไม่เกินร้อยละ 70 (ในการศึกษาเฉพาะ 2 ตัวแปร คืออุณหภูมิอากาศและความชื้นสัมพัทธ์) สรุปการวิจัยพบว่าเครื่องปรับอากาศแยกส่วนแบบไร้พัดลมที่มีเครื่องลดความชื้น …


ผลกระทบของ Covid-19 ต่อการใช้พื้นที่ทำงาน: กรณีศึกษา พนักงาน 3 กลุ่มที่ทำงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 3 แห่งในกรุงเทพมหานคร, ศิริพร เลิศอภิรังษี Jan 2022

ผลกระทบของ Covid-19 ต่อการใช้พื้นที่ทำงาน: กรณีศึกษา พนักงาน 3 กลุ่มที่ทำงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 3 แห่งในกรุงเทพมหานคร, ศิริพร เลิศอภิรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

COVID-19 ถูกประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย มีภาวะรุนแรงและเกิดการแพร่ระบาดของโรคทำให้เกิดวิธีปฏิบัติการเพิ่มระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ส่งผลกระทบต่อการใช้สถานที่ทำงานในหลายด้าน และเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคและความต่อเนื่องทางธุรกิจ องค์กรต่าง ๆ มีนโยบายให้พนักงานทำงานจากบ้าน รวมถึงมีการปรับพื้นที่ทำงานในรูปแบบที่ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้ได้มากที่สุด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการทำงานของพนักงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงานเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่สำนักงานในช่วงเวลาแพร่ระบาด และปัญหาของการทำงานจากบ้าน โดยรวบรวมข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามพนักงานของธนาคารพาณิชย์สังกัดสำนักงานใหญ่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร 3 กรณีศึกษา นำข้อมูลมาแจกแจง วิเคราะห์ข้อมูล สรุปและอภิปรายผลการศึกษา ผลการศึกษาจะช่วยให้ฝ่ายบริหารทรัพยากรอาคารได้นำไปใช้เพื่อการวางแผนการจัดสรรพื้นที่ทำงานหากมีสถานการณ์โรคระบาดขึ้นอีกครั้ง ผลการศึกษาพบว่าในช่วงสถานการณ์ COVID-19 มีการทำงาน 3 รูปแบบคือ เข้ามาทำงานที่สำนักงาน ทำงานจากบ้าน และทำงานจากนอกสถานที่ ๆ ไม่ใช่สำนักงานและบ้าน จากการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่สำนักงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 พบว่ามี 3 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่สำนักงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ได้แก่ 1) ปัจจัยจากลักษณะการทำงานที่เน้นการพบปะบุคคลภายนอกองค์กร 2) ปัจจัยจากลักษณะการทำงานที่เน้นไปทางการทดลอง ทดสอบระบบและอุปกรณ์ และ 3) ปัจจัยจากปัญหาการทำงานจากบ้านในเรื่องการเชื่อมต่อระบบขององค์กรส่งผลกระทบต่อการเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่สำนักงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ทั้ง 3 กรณีศึกษา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง ส่วนปัญหาของการทำงานจากบ้านนั้นจากผลการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคการทำงานจากบ้านในเรื่องเฟอร์นิเจอร์ไม่รองรับและบรรยากาศไม่เหมาะสมสำหรับการทำงาน รวมถึงมีความไม่สมดุลระหว่างระยะเวลาการทำงานและเวลาส่วนตัว มีระดับความจำเป็นในระดับสูงทั้ง 3 กรณีศึกษา ถึงแม้ว่าค่าความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนวันที่เข้าปฏิบัติงานและปัญหาดังกล่าวไม่ได้อยู่ในระดับสูง แต่ก็เป็นปัญหาที่ผู้บริหารควรให้ความสำคัญ ซึ่งหากละเลยการแก้ไขดูแลปัญหาดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลเสียกับองค์กรในระยะยาวได้ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการทำงานที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์การระบาดและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการใช้พื้นที่สำนักงาน โดยปัจจัยเหล่านี้สัมพันธ์กับจำนวนวันที่เข้าใช้พื้นที่สำนักงาน หากปัจจัยดังกล่าวมีระดับที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ความต้องการใช้พื้นที่สำนักงานในสถานการณ์โรคระบาดก็จะแปรเปลี่ยนไปในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตามการจัดสรรพื้นที่ให้พนักงานเข้าปฏิบัติงานในช่วงการระบาดนั้นยังคงต้องคำนึงถึงการจัดสรรขนาดพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นเพื่อรักษาระยะห่างทางสังคมเพื่อป้องกันการติดเชื้อด้วย


การรวบรวมและจัดกลุ่มกรอบความคิดการดำรงชีวิตอัจฉริยะจากการศึกษาเชิงทฤษฎีและการศึกษาเชิงปฏิบัติ, สุชานาฏ ภู่ประเสริฐ Jan 2022

การรวบรวมและจัดกลุ่มกรอบความคิดการดำรงชีวิตอัจฉริยะจากการศึกษาเชิงทฤษฎีและการศึกษาเชิงปฏิบัติ, สุชานาฏ ภู่ประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีพื้นฐานของอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการจัดการในแขนงต่างๆ และเนื่องด้วยในปัจจุบัน 56% ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในเมือง ส่งผลให้หลายประเทศเผชิญปัญหาการขยายตัวของเมือง ดังนั้นจึงเริ่มมีการบูรณาการเทคโนโลยีเหล่านี้ร่วมกับการจัดการเมือง เช่น การบูรณาการเข้ากับโครงข่ายไฟฟ้าซึ่งก่อให้เกิดทางเลือกในการจัดการพลังงานและช่วยเพิ่มปริมาณการประหยัดพลังงานในเมืองได้ โดยการบูรณาการเช่นนี้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของพลเมืองในทุกๆแง่มุมจนนำไปสู่แนวคิด “การดำรงชีวิตอัจฉริยะ” ในทางเดียวกันการดำรงชีวิตอัจฉริยะในแง่ของคุณภาพที่อยู่อาศัยเกิดจากการบูรณาการเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ากับอาคารอัจฉริยะ (Smart building) หรือบ้านอัจฉริยะ (Smart home) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ แม้ว่าแนวคิดการดำรงชีวิตอัจฉริยะในแง่ของคุณภาพที่อยู่อาศัยนั้นเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่กลับพบว่าข้อมูลเหล่านั้นกระจายและสอดแทรกอยู่ภายใต้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอาคารหรือบ้านอัจฉริยะซึ่งขาดการรวบรวมและจัดหมวดหมู่ข้อมูลด้านนี้อย่างเป็นระบบรวมถึงขาดการนำเสนอข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน อีกทั้งการศึกษาเกี่ยวกับการดำรงชีวิตอัจฉริยะส่วนใหญ่เน้นข้อมูลทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่าด้านที่ไม่ใช่เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดหมวดหมู่กรอบความคิดการดำรงชีวิตอัจฉริยะในแง่ของคุณภาพที่อยู่อาศัยที่ผสานระหว่างข้อมูลทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านที่ไม่ใช่เทคโนโลยีสารสนเทศจากการศึกษาเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพิจารณาความครอบคลุมด้านการดำรงชีวิตอัจฉริยะในบริการและผลิตภัณฑ์จากภาคธุรกิจจริงที่มีความเป็นปัจจุบัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่อ้างอิงตามแนวทางการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เริ่มต้นด้วยการคัดกรองการศึกษาทางวิชาการทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับอาคารอัจฉริยะหรือบ้านอัจฉริยะจำนวน 30 ฉบับแล้วจึงทำการทบทวนวรรณกรรม จากนั้นจึงคัดเลือกการศึกษาที่มีการนำเสนอรูปแบบของแนวปฏิบัติ เกณฑ์ ตัวบ่งชี้หรือแบบจำลองความคิดสำหรับบ้านหรืออาคารอัจฉริยะ กรณีศึกษาที่ได้รับคัดเลือกประกอบด้วยการศึกษาเชิงทฤษฎี 5 กรณีศึกษาและการศึกษาเชิงปฏิบัติ 2 กรณีศึกษา ต่อมาจึงทำการรวบรวมและจัดหมวดหมู่คำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดการดำรงชีวิตอัจฉริยะในแง่ของคุณภาพที่อยู่อาศัยเพื่อสังเคราะห์เป็นกรอบความคิด ผลการศึกษาพบว่าสามารถแบ่งกรอบความคิดได้เป็น 2 กลุ่มหลักได้แก่ การจัดการและการยกระดับ ซึ่งประกอบด้วย 9 เกณฑ์และ 30 ตัวบ่งชี้ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้นำกรอบความคิดที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับการศึกษาเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ รวมทั้งทำการสาธิตวิธีการประยุกต์ใช้กรอบความคิดในการพิจารณาโครงการที่เกี่ยวข้องการดำรงชีวิตอัจฉริยะเพื่อเสนอแนวทางในการออกแบบและพัฒนาต่อยอดในอนาคต จากการวิเคราะห์พบว่าการศึกษาเชิงทฤษฎีได้วางกรอบความคิดการดำรงชีวิตอัจฉริยะไว้อย่างคลุมครอบมากกว่าการศึกษาเชิงปฏิบัติ นอกจากนั้นยังทราบถึงแนวโน้มของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตอัจฉริยะว่ามีการเน้นย้ำในการปฏิบัติการด้านเกณฑ์การจัดการสิ่งแวดล้อมและสุขภาพและเกณฑ์การจัดการภาวะส่วนตัวสูงสุด รวมถึงพบช่องว่างในการสาธิตเกณฑ์การประเมินระดับความอัจฉริยะว่าควรบูรณาทั้งการประเมิณเชิงคุณภาพร่วมกับเชิงตัวเลขซึ่งช่วยส่งเสริมให้เกิดการประเมินระดับการดำรงชีวิตอัจฉริยะที่สมบูรณ์


ผลกระทบจากภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงกับการออกแบบพลังงานหมุนเวียน เพื่อไปสู่อาคารพักอาศัยปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์, อภิญญา เวชกามา Jan 2022

ผลกระทบจากภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงกับการออกแบบพลังงานหมุนเวียน เพื่อไปสู่อาคารพักอาศัยปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์, อภิญญา เวชกามา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในปัจจุบันและอนาคต อาจส่งผลให้การจำลองประสิทธิภาพอาคารมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากไฟล์ข้อมูลอากาศที่จำเป็นต้องใช้ในการจำลองนั้น เป็นข้อมูลในช่วงปี ค.ศ.1990 และยังไม่มีข้อมูลที่คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในปัจจุบันและอนาคต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสร้างไฟล์อากาศของกรุงเทพฯ ที่เป็นไปตามการคาดคะเนผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันและอนาคตของ IPCC เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการนำไปใช้ในการจำลองการใช้พลังงานของอาคารที่มีเป้าหมายเป็น Net Zero Carbon งานวิจัยนี้ได้ทำการนำข้อมูลอาคารคอนโดมิเนียมพักอาศัยในกรุงเทพฯ มาใช้เป็นอาคารกรณีศึกษา โดยทำการจำลองการใช้พลังงานในอาคาร จากนั้นวิเคราะห์ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของการใช้พลังงานตลอด 60 ปีข้างหน้า เพื่อนำผลรวมของการใช้พลังงานไปใช้ในการประเมินวัฏจักรชีวิตอาคารตลอดช่วงชีวิตอาคาร 60 ปี (LCA) และเสนอแนวทางการชดเชยการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ด้วยวิธีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จากการศึกษาพบว่า ตลอดช่วงชีวิตอาคาร 60 ปี ของอาคารคอนโดมิเนียมพักอาศัย ผลการจำลองการใช้พลังงานโดยการใช้ไฟล์อากาศที่สร้างขึ้นใหม่ โดยคำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนั้น อาคารมีการใช้พลังงานในอาคารเพิ่มมากขึ้นเป็น 43% เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ไม่ได้คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ซึ่งส่งผลให้ผลการประเมินวัฏจักรชีวิตอาคารมีปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่เพิ่มมากขึ้นเป็น 40% เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ไม่ได้คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และหากพิจารณาเรื่องการชดเชยการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์นั้น การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จำเป็นต้องผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นเป็น 40% เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ไม่ได้คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ


การศึกษาข้อกำหนดเกี่ยวกับแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Bim) ในขอบเขตของงาน (Tor) จ้างออกแบบ: กรณีศึกษาโครงการอาคารหน่วยงานของรัฐ, อลีนา ธรรมสอน Jan 2022

การศึกษาข้อกำหนดเกี่ยวกับแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Bim) ในขอบเขตของงาน (Tor) จ้างออกแบบ: กรณีศึกษาโครงการอาคารหน่วยงานของรัฐ, อลีนา ธรรมสอน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modelling: BIM) เป็นกระบวนการในการสร้างและจัดการข้อมูลตัวแทนดิจิทัล (digital representation) ของสินทรัพย์ตลอดวงจรชีวิต งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาในช่วงการวางแผนและออกแบบซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการจัดเตรียม BIM โดยมีเอกสารข้อตกลง คือ ขอบเขตของงาน (Terms of Reference: TOR) จากกระบวนการทำงานของ BIM ส่งผลให้ TOR มีลักษณะเฉพาะตัวและจำเป็นต้องมีข้อกำหนดเพิ่มเติม จึงนำมาสู่การศึกษาข้อกำหนดเกี่ยวกับ BIM ใน TOR จ้างออกแบบเพื่อเป็นแนวทางการนำ BIM ไปใช้ในขอบเขตของการจ้างงานออกแบบสำหรับโครงการอาคารหน่วยงานของรัฐ จากการศึกษาพบว่า เอกสาร TOR โครงการของรัฐยังขาดการระบุรายละเอียดสำหรับ BIM องค์ประกอบของข้อกำหนดข้อมูล (Information Requirements) ที่สำคัญสำหรับ BIM ได้แก่ การใช้ประโยชน์ BIM (BIM Uses), กำหนดการ (Schedule), มาตรฐาน (Standard), การสื่อสาร (Communication), เทคโนโลยี (Technology), โครงสร้างแบบจำลอง (Model Structure), ทีมปฏิบัติงาน BIM (BIM Team), การประชุมโครงการ (Project Meeting) และการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) โดยสามารถจำแนกรูปแบบของ TOR โครงการกรณีศึกษาตามจำนวนองค์ประกอบข้างต้นได้ 4 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ไม่มีการกำหนดเพิ่มเติม รูปแบบที่มีการระบุ 1, 2 และ 6 องค์ประกอบ จากการสัมภาษณ์เจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ และผู้เชี่ยวชาญด้าน BIM พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนและออกแบบโครงการที่ใช้ BIM ได้แก่ ปัจจัยด้านความเข้าใจเกี่ยวกับ BIM ปัจจัยด้านการนำ BIM ไปปฏิบัติ และปัจจัยด้านเทคนิคและทรัพยากร ผลการวิจัยสรุปได้ว่าโครงการที่แนะนำให้กำหนดใช้ BIM คือ โครงการที่อาคารมีความซับซ้อน ซับซ้อนมาก ขนาดใหญ่ หรือขนาดใหญ่พิเศษ เพื่อให้สามารถนำ …


การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายอากาศด้วยระบบท่อระบายอากาศของห้องชุดพักอาศัยประเภทอาคารสูงในเมืองที่มีความหนาแน่นสูง : กรณีศึกษา อาคารในกรุงเทพมหานคร, ณัฐกฤษฏิ์ ธนเดชากุล Jan 2022

การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายอากาศด้วยระบบท่อระบายอากาศของห้องชุดพักอาศัยประเภทอาคารสูงในเมืองที่มีความหนาแน่นสูง : กรณีศึกษา อาคารในกรุงเทพมหานคร, ณัฐกฤษฏิ์ ธนเดชากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการพัฒนาเมืองส่งผลให้เกิดอาคารสูงจำนวนมาก เป็นสาเหตุให้เกิดความหนาแน่นและความแออัดของการอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ส่งผลถึงการรับลมธรรมชาติของอาคารในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งจะทำให้การระบายอากาศภายในอาคารมีประสิทธิภาพลดลง โดยงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการระบายอากาศที่เกิดขึ้นภายในห้องชุดพักอาศัย เพื่อนำเสนอทางเลือกการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายอากาศด้วยระบบท่อระบายอากาศของห้องชุดพักอาศัยประเภทอาคารสูงในบริบทเมืองที่มีความหนาแน่น กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร ในด้านการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติ การทดลองใช้วิธีจำลองผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับคำนวณพลศาสตร์ของไหล ANSYS 2023 R1 ทดสอบกับผังอาคารคอนโดมิเนียมจำนวน 2 รูปแบบ ได้แก่ ผังอาคารแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปตัวซี (C) ที่ความสูง 63 เมตรจากระดับพื้น โดยเปรียบเทียบอัตราการระบายอากาศของห้องชุดทั้ง 2 แบบระหว่างห้องชุดทั่วไป กับห้องชุดที่มีการติดตั้งระบบท่อระบายอากาศทั้ง 3 ขนาด ได้แก่ 100 มม., 125 มม., และ 150 มม. เพื่อเปรียบเทียบอัตราการระบายอากาศของห้องชุด ซึ่งความเร็วลมตั้งต้นกำหนดจากความเร็วลมเฉลี่ยที่น้อยที่สุดที่วัดได้จากการจำลองกระแสลม 3 ทิศตามทิศลมประจำฤดู จำลองในพื้นที่พระราม9 พื้นที่สามย่าน และพื้นที่ห้าแยกลาดพร้าว ในพื้นที่รัศมี 500 ม. รอบสถานีรถไฟฟ้า การประเมินวัดจากความเร็วลมที่ขอบประตูห้องชุด (ในกรณีห้องทั่วไป) และ ที่ระยะ 0.75 ม. จากปลายท่อเพื่อนำมาคำนวณอัตราการระบายอากาศ (Air Change Rate) และเปรียบเทียบผลกับมาตรฐาน ASHRAE 62.1 ที่ 0.35 ACH ผลการวิจัยสรุปได้ว่า อัตราการระบายอากาศของห้องชุดปกติที่ไม่มีการติดตั้งระบบท่อระบายอากาศมีค่าไม่ผ่านเกณฑ์ ซึ่งการเพิ่มระบบท่อระบายอากาศเข้าไปในห้องชุด ส่งผลให้อัตราการระบายอากาศมีค่าที่สูงขึ้น โดยส่งผลกับห้องชุดแบบ simplex มากกว่าห้องชุดแบบ loft เนื่องจากปริมาตรของห้องที่แตกต่างกัน ซึ่งในกรณีของห้องชุดแบบ simplex จะมีอัตราการระบายอากาศเฉลี่ย 0.362 ACH ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐาน 3.43% เมื่อมีการติดตั้งระบบท่อระบายอากาศ ขนาด 100 มม. และในกรณีของห้องชุดแบบ loft จะมีอัตราการระบายอากาศ 0.352 ACH ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐาน 0.57% เมื่อมีการติดตั้งระบบท่อระบายอากาศ ขนาด 125 มม. ซึ่งอัตราการระบายอากาศเพิ่มสูงขึ้นเมื่อท่อระบายอากาศมีขนาดหน้าตัดใหญ่ขึ้น โดยห้องชุดในตำแหน่งมุมอาคารจะสามารถติดตั้งระบบท่อระบายอากาศที่มีขนาดเล็กกว่าห้องชุดตำแหน่งอื่น ๆ


การอนุรักษ์และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในย่านประวัติศาสตร์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในบริบทของไทย กรณีศึกษา : เมืองเก่าสงขลา, ธิป ศรีสกุลไชยรัก Jan 2022

การอนุรักษ์และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในย่านประวัติศาสตร์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในบริบทของไทย กรณีศึกษา : เมืองเก่าสงขลา, ธิป ศรีสกุลไชยรัก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การอนุรักษ์และจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในย่านประวัติศาสตร์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมเป็นวิธีการหนึ่ง ที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนได้เข้ามาร่วมปกป้อง รักษา และฟื้นฟูคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมของตน ดังนั้นแนวคิดการมีส่วนร่วมจึงได้รับประยุกต์ใช้ในกฎบัตรสากลในการอนุรักษ์และจัดการมรดกทางวัฒนธรรม โดยได้รับการให้ความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง วิทยานิพนธ์นี้เลือกเมืองเก่าสงขลาเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากเมืองเก่าสงขลาผ่านกระบวนการอนุรักษ์อย่างมีส่วนร่วมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ คือ วิเคราะห์การดำเนินงานอนุรักษ์และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วมในเมืองเก่าสงขลา และจัดทำข้อเสนอแนะที่สนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้การศึกษาข้อมูลภาคเอกสาร การสำรวจภาคสนาม และการวิเคราะห์ผลตามเกณฑ์ที่ได้จากการวิเคราะห์กรณีศึกษาในประเทศ และต่างประเทศ การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสรุปข้อค้นพบและนำเสนอข้อเสนอแนะ วิทยานิพนธ์พบว่าในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมาของการอนุรักษ์และจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในเมืองเก่าสงขลา มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก 4 ประเภท ได้แก่ ภาครัฐท้องถิ่น ภาคประชาสังคม-ประชาชน ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เมืองเก่าสงขลามีจุดเด่นด้านทุนทางสังคม กล่าวคือ ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคมเป็นภาคประชาสังคมที่มีทักษะในการทำงานกับภาครัฐท้องถิ่นและภาคเอกชน ประเด็นเรื่องการอนุรักษ์เมืองเก่าได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานภาคเอกชนมีนโยบายในการสนับสนุนด้านงบประมาณ ซึ่งช่วยลดข้อจำกัดด้านเวลาและงบประมาณของภาครัฐได้ อย่างไรก็ตาม เมืองเก่าสงขลาประสบกับปัญหาต่าง ๆ ดังนี้ แม้ว่าจะมีหน่วยงานภาคประชาสังคมเป็นตัวกลาง แต่ขาดผู้นำที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย อีกทั้งขาดกระบวนการสร้างคนรุ่นใหม่ กฎหมายท้องถิ่นไม่สามารถรักษาความแท้ของอาคารเก่าที่ถือเป็นทุนทางวัฒนธรรมอันโดดเด่นของเมืองเก่าสงขลาได้ นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมมีลักษณะ “อาสาสมัครจากฐานทุนสังคม” ที่ช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมมีอิสระในการเข้าร่วมดำเนินงาน แต่มีข้อด้อยคือการมีส่วนร่วมนั้นขาดความยั่งยืน ซึ่งสถานการณ์ปัญหาต่างๆ เหล่านี้อาจนำไปสู่แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ ปัญหาจากการที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอาจมีจำนวนเพิ่มขึ้นแต่ดำเนินการแบบซ้ำซ้อน ปัญหาช่องว่างระหว่างวัยของสมาชิก ปัญหาการเข้าสู่กระบวนการแปลงพื้นที่ในลักษณะ “เจนตริฟิเคชั่น” (gentrification) ตลอดจนอาจนำไปสู่การสูญเสียความแท้และบูรณภาพของมรดกทางวัฒนธรรม จากผลการศึกษาดังกล่าว วิทยานิพนธ์นี้เสนอข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการทำงานร่วมกันที่เหมาะสมกับบริบทของเมืองเก่าสงขลา รวมถึงสามารถนำไปใช้กับเมืองเก่าอื่น ๆ ในประเทศไทยที่มีประเด็นปัญหาใกล้เคียงกัน 2 ประการ ได้แก่ 1) การเชื่อมโยงของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วม ด้วยการจัดตั้ง “คณะทำงาน” จากตัวแทนกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีเทศบาลนครสงขลาเป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) เพื่อประสานให้เกิดการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมด้วยการมีส่วนร่วม และ 2) การใช้วิธีการค้นหาประเด็นร่วมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม อันประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนแรก ประเมินความสัมพันธ์ของทุนทางสังคมทั้ง 3 ระดับ ขั้นตอนที่สอง วิเคราะห์บรรทัดฐานทางสังคม โดยเน้นการวิเคราะห์ด้านวิถีประชาและจารีต และขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์ทุนทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับวิถีประชาและจารีต เพื่อค้นหาประเด็นที่เชื่อมโยงไปสู่การมีส่วนร่วมในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม


การปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดของอาคารสำนักงานให้เช่าเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 : กรณีศึกษา 5 อาคารสำนักงานให้เช่าบนถนนวิทยุ, พงศธร พ่วงเงิน Jan 2022

การปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดของอาคารสำนักงานให้เช่าเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 : กรณีศึกษา 5 อาคารสำนักงานให้เช่าบนถนนวิทยุ, พงศธร พ่วงเงิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

องค์การอนามัยโลกตรวจพบไวรัส โควิด 19 ครั้งแรกในวันที่ 31 ธันวาคม 2562 ต่อมาในวันที่ 11 มีนาคม 2563 ได้ประกาศให้ไวรัสโควิด 19 เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) โดยไวรัสโควิด 19 แพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านทางฝอยละอองจากจมูกหรือปากซึ่งขับออกมาเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม อาคารสำนักงานให้เช่าเป็นอาคารที่มีผู้ใช้อาคารจำนวนมาก จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นแหล่งแพร่กระจายของโรคระบาด งานรักษาความสะอาดจึงเป็นส่วนงานสำคัญที่จะช่วยลดโอกาสในการแพร่กระจายของโรคระบาด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดของอาคารสำนักงานให้เช่าบนถนนวิทยุ 5 กรณีศึกษาในช่วงปกติและช่วงแพร่ระบาด โดยศึกษาข้อมูลและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจากหนังสือ, วิทยานิพนธ์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องและการสำรวจพื้นที่ จากนั้นนำมาจัดเรียงและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาลักษณะร่วม สรุปและอภิปรายผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่าการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดจากช่วงปกติสู่ช่วงแพร่ระบาดนั้น มีการเพิ่มรายการและความถี่ของวิธีการรักษาความสะอาด เพิ่มวัสดุพิเศษและอุปกรณ์พิเศษ และมีการจัดการงบประมาณ2 รูปแบบ ได้แก่ มีและไม่มีการขออนุมัติงบประมาณสำหรับการรับมือและจัดการโรคระบาด โดยแนวทางการจัดการงบประมาณที่ไม่มีการขออนุมัติ คือ โยกงบประมาณที่คงเหลือจากหมวดที่มีค่าใช้จ่ายลดลงตามการใช้งาน และการจัดการงบประมาณทั้ง 2 รูปแบบ ได้รับการสนับสนุนวัสดุพิเศษและอุปกรณ์พิเศษจากผู้ให้บริการงานรักษาความสะอาดและจากผู้เช่าและมีวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดในช่วงแพร่ระบาด 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.การป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค และ 2.การยับยั้งการแพร่เชื้อโรคในพื้นที่หลังจากพบผู้ติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยส่งผลต่อวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดในช่วงแพร่ระบาดมี 3 ปัจจัย ได้แก่ 1.ประเภทองค์กรผู้เช่า 2.รูปแบบพื้นปฏิบัติงาน และ 3.ผู้ติดเชื้อ


อิทธิพลของป้ายและเส้นทางเดินต่อพฤติกรรมค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งานกรณีศึกษา อาคารผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, กษีระ พรหมเดช Jan 2022

อิทธิพลของป้ายและเส้นทางเดินต่อพฤติกรรมค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งานกรณีศึกษา อาคารผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, กษีระ พรหมเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงพยาบาลหลายแห่งมีการต่อขยายเพื่อเพิ่มพื้นที่และสมรรถภาพในการรักษาพยาบาล ซึ่งการต่อขยายมักไม่ต่อเนื่อง ส่งผลให้โรงพยาบาลยิ่งมีความซับซ้อนและไม่เป็นเอกภาพ อีกทั้งผู้มารับบริการจากโรงพยาบาลส่วนใหญ่มีความบกพร่องเนื่องจากความเจ็บป่วยที่ส่งผลต่อความสามารถในทุกด้าน รวมถึงการค้นหาเส้นทางด้วย มีงานวิจัยที่พบว่าการค้นหาเส้นทางในโรงพยาบาลมีความลำบาก ซับซ้อนและส่งผลต่อคุณภาพการรักษาพยาบาล ดังนั้นการพัฒนาระบบนำทางที่เหมาะสมด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ จะสามารถเป็นตัวช่วยให้ผู้มารับบริการสามารถค้นหาเส้นทางในโรงพยาบาลได้ง่ายมากขึ้น การศึกษานี้เป็นเชิงสำรวจ (Survey Research) ที่มีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาอิทธิพลของป้ายและเส้นทางเดินต่อความคิดเห็นและการค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งาน การศึกษาประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) ศึกษาอิทธิพลของลักษณะป้ายต่อความคิดเห็นของผู้ใช้งาน และ 2) ศึกษาอิทธิพลของลักษณะเส้นทางเดินต่อการค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งาน ดำเนินการศึกษาโดยเก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะกายภาพ คือ ป้ายและเส้นทางเดิน และใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลความคิดเห็นต่อป้ายและพฤติกรรมการค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งาน จากนั้นนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้ที่มารับบริการทางการแพทย์ ณ ห้องตรวจโรคอายุรกรรม ซึ่งอยู่ภายในอาคารผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลกรณีศึกษา ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ความแตกต่างของของป้ายและเส้นทางเดินมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นและการค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งาน ในส่วนสีของป้าย พบว่าการใช้ตัวหนังสือสีขาวบนพื้นหลังสีส้มและตัวหนังสือสีดำบนพื้นหลังสีเหลืองยังคงเป็นคู่สีที่เหมาะสม และพบว่าป้ายที่ใช้สีพื้นหลังสีเหลืองและสีส้มซึ่งเป็นสีโทนร้อนชัดเจนกว่าป้ายที่ใช้สีพื้นหลังสีฟ้าซึ่งเป็นสีโทนเย็น ในส่วนขนาดตัวอักษรพบว่าสำหรับป้ายบอกทาง ขนาดตัวอักษรภาษาไทยแนะนำให้มีขนาดไม่น้อยกว่า 4 เซนติเมตร ที่ระยะติดตั้งสูงจากพื้น 1.5 เมตร และพบว่าจำนวนข้อมูลบนป้ายที่เหมาะสมคือ 5-7 ข้อมูล/ป้าย และไม่ควรเกิน 10 ข้อมูล/ป้าย ในส่วนของป้ายที่เป็นประโยชน์ในการค้นหาเส้นทาง การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าป้ายที่สื่อสารด้วยข้อความเป็นประโยชน์มากกว่าป้ายที่สื่อสารด้วยรูปภาพ สำหรับลักษณะเส้นทางเดิน ผลชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้เส้นทางเดินจะมีลักษณะตรงและมีระยะทางสั้น แต่อาจสร้างความสับสนให้แก่ผู้ใช้งานได้ หากระหว่างเส้นทางมีการใช้สอยพื้นที่อย่างหนาแน่น ซึ่งส่งผลต่อจำนวนป้ายและข้อมูลข่าวสารให้มีความหนาแน่นด้วยเช่นกัน


การพัฒนาเครื่องมือเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อหาค่าแสงที่ส่งผลต่อนาฬิกาชีวภาพสำหรับการออกแบบอาคารสำนักงานขั้นต้น, เจนจิรา เรืองทรัพย์เอนก Jan 2021

การพัฒนาเครื่องมือเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อหาค่าแสงที่ส่งผลต่อนาฬิกาชีวภาพสำหรับการออกแบบอาคารสำนักงานขั้นต้น, เจนจิรา เรืองทรัพย์เอนก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แสงธรรมชาติ (Daylight) เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อวงจรการหลับ-ตื่น (Circadian rhythm) หากมีการใช้ร่วมกับแสงประดิษฐ์ (Artificial light) ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ใช้งานมีคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาวิธีการคำนวณหาค่าปริมาณแสงที่ส่งผลต่อนาฬิกาชีวภาพ เพื่อพัฒนาเครื่องมือแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling: BIM) ช่วยคำนวณให้ผู้ออกแบบ โดยใช้โปรแกรม Autodesk Revit (Revit) ร่วมกับการใช้เครื่องมือเสริม Autodesk Dynamo Studio (Dynamo) วิจัยเริ่มต้นโดยการหาค่า Melanopic Ratio: MR ของแสงธรรมชาติให้เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย สำหรับการคำนวณหาค่า Equivalent Melanopic Lux: EML และศึกษาการทำงานของแบบจำลองสารสนเทศอาคาร เพื่อกำหนดข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนาเครื่องมือเสริม และได้ทดลองใช้เครื่องมือที่พัฒนามาทำการเปรียบเทียบผลกับการคำนวณผ่านโปรแกรมอื่น โดยพบว่าเครื่องมือที่พัฒนาสามารถช่วยคำนวณหาค่าความส่องสว่างในแนวดิ่ง (Vertical illuminance: Ev) สำหรับให้ได้ค่า EML ที่ต้องการทั้งแสงสว่างจากแสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์ได้ เพื่อให้สถาปนิกผู้ออกแบบเปลือกอาคารโปร่งใสร่วมกับการใช้แสงประดิษฐ์ในอาคารสำนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะที่ดีต่อวงจรการหลับ-ตื่นของร่างกายมนุษย์


การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ “เซีย” ในเฮือนลาว: กรณีศึกษา บ้านหินสิ่ว เมืองโขง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว, ไพจิด ฟองคำแดง Jan 2021

การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ “เซีย” ในเฮือนลาว: กรณีศึกษา บ้านหินสิ่ว เมืองโขง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว, ไพจิด ฟองคำแดง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการตั้งถิ่นฐาน การใช้พื้นที่ภายในเฮือนและการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่เซียของเฮือนลาวในเขตภาคใต้ ผ่านกรณีศึกษา บ้านหินสิ่ว เมืองโขงแขวงจำปาสัก สปป.ลาว โดยศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสารเกี่ยวกับประวัติการตั้งถิ่นฐาน รูปแบบสถาปัตยกรรมเฮือนลาวในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการอ้างอิงลักษณะของเฮือนลาวในอดีต ร่วมกับการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์ประวัติความเป็นมาของชุมชน การตั้งถิ่นฐาน การดำรงชีวิต การใช้พื้นที่ในเรือนพักอาศัย และการสำรวจรังวัดเรือนกรณีศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ เรือนรูปแบบเก่า จำนวน 2 หลัง เรือนรูปแบบเก่าผสมใหม่ จำนวน 2 หลัง และเรือนรูปแบบใหม่ จำนวน 2 หลัง ผลการศึกษาพบว่า การตั้งถิ่นฐานของชุมชนมีความสัมพันธ์กับทิศทางของการสัญจรทั้งทางน้ำและทางบก รวมถึงทอละนีดินซึ่งส่งผลให้ตำแหน่งของเซียไม่มีทิศทางตายตัว แต่มักจะตั้งอยู่หน้าห้องนอนเสมอ เซียในเรือนรูปแบบดั้งเดิมเป็นพื้นที่อเนกประสงค์รองรับหลายกิจกรรม ต่อมาจึงมีการต่อเติมพื้นที่ซานหน้าเฮือนเพื่อรองรับการขยายตัวของครอบครัว กิจกรรมในชีวิตประจำวันบางส่วนในพื้นที่เซียถูกย้ายไปยังซานหน้าเฮือนส่งผลให้เซียเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่ใช้อเนกประสงค์สู่การเป็นพื้นที่นอนหลักของสมาชิกในครอบครัวในเรือนรูปแบบเก่า จากการที่เซียทำหน้าที่เป็นส่วนนอนพื้นที่เซียจึงมีระดับการปิดล้อมที่มากขึ้นเพื่อรองรับความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัย ส่งผลให้เกิดการดัดแปลงต่อเติมเฮือนเซียรูปแบบเก่าสู่เรือนรูปแบบเก่าผสมใหม่ที่มีพื้นที่ซานหน้าเฮือนและกั้นห้องนอนเพิ่มขึ้น และสู่เรือนรูปแบบใหม่ที่มีการแบ่งห้องให้เป็นสัดส่วนเพื่อรองรับกิจกรรมเฉพาะอย่าง ส่งผลให้องค์ประกอบในการใช้สอยพื้นที่เซียมีจำนวนลดลง พื้นที่เซียจึงถูกลดบทบาทกลายเป็นพื้นที่พักผ่อนและรับแขกในชีวิตประจำวันเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เซียยังคงเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในด้านพิธีกรรมอยู่เสมอ


การประเมินผลมาตรการประหยัดพลังงานและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียมพักอาศัย ด้วยการประเมินต้นทุนส่วนเพิ่มสุทธิของการลดการปล่อยคาร์บอน, กันตพงศ์ ศรีเมือง Jan 2021

การประเมินผลมาตรการประหยัดพลังงานและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียมพักอาศัย ด้วยการประเมินต้นทุนส่วนเพิ่มสุทธิของการลดการปล่อยคาร์บอน, กันตพงศ์ ศรีเมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้พลังงานของอาคารในช่วงการก่อสร้างและช่วงใช้งานอาคาร เป็นปัจจัยสำคัญที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับชั้นบรรยากาศโลก งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อประเมินความคุ้มค่าของมาตรการที่มีในปัจจุบัน โดยทำการเก็บข้อมูลอาคารสำนักงานและอาคารคอนโดมิเนียมพักอาศัย เพื่อใช้เป็นแบบอาคารอ้างอิง และศึกษามาตรการในกลุ่มการออกแบบอาคารให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มวัสดุฉนวนผนัง กลุ่มวัสดุฉนวนหลังคา กลุ่มพลังงานทดแทน กลุ่มประสิทธิภาพของระบบปรับอากาศ รวมถึงกลุ่มระบบไฟฟ้าแสงสว่าง โดยศึกษาจากฐานข้อมูลค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ICE Version 2 และค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปี พ.ศ.2563 ของประเทศไทย จากองค์บริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก นำเสนอด้วยการประเมินต้นทุนส่วนเพิ่มสุทธิของการลดการปล่อยคาร์บอน จากการศึกษาในช่วงอายุอาคาร 60 ปี พบว่า ในอาคารสำนักงาน การติดตั้งกระจกฉนวนกันความร้อน เป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากที่สุด เนื่องจากสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 7.99% และมีค่าใช้จ่ายตลอดอายุอาคารลดลงร้อยละ 5.98% ในอาคารคอนโดมิเนียมพักอาศัย ทุกมาตรการมีประสิทธิภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยกเว้นกลุ่มวัสดุฉนวนหลังคา การใช้ระบบปรับอากาศประหยัดไฟเบอร์ 5 3 ดาว เป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากที่สุด เนื่องจากสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 10.37 และมีค่าใช้จ่ายตลอดอายุอาคารลดลงร้อยละ 1.31


ลักษณะกายภาพของแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทยที่ก่อตั้งในช่วงปี พ.ศ.2527-2563: กรณีศึกษา 5 โรงพยาบาล, กมลพร สมคิด Jan 2021

ลักษณะกายภาพของแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทยที่ก่อตั้งในช่วงปี พ.ศ.2527-2563: กรณีศึกษา 5 โรงพยาบาล, กมลพร สมคิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงพยาบาลเป็นอาคารทางสถาปัตยกรรมที่มีความซับซ้อนในการออกแบบ การก่อสร้างและการลงทุน โดยเฉพาะโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ นอกจากเป็นสถานที่ประกอบการรักษาพยาบาลแล้ว ยังใช้สำหรับการเรียนการสอนเพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล และการค้นคว้าวิจัยต่างๆ จากเกณฑ์มาตรฐานการเปิดโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ โดยประกาศของแพทยสภาฉบับ พ.ศ.2555 ได้กำหนดจำนวนเตียงผู้ป่วยต้องไม่ต่ำกว่า 400 เตียง และมีประเภทงานบริการทางด้านการแพทย์ต่างๆ อย่างน้อย 14 สาขา โดยแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์มีความแตกต่างจากโรงพยาบาลทั่วไป เนื่องจากมีพื้นที่สำหรับการเรียนการสอนในเวลาเดียวกัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะกายภาพแผนกผู้ป่วยนอก และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกับลักษณะกายภาพแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ที่ก่อตั้งในช่วง พ.ศ.2527-2563 มีระเบียบวิธีการศึกษาคือ ทบทวนเอกสาร หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโรงพยาบาลและแผนกผู้ป่วยนอก ศึกษาและวิเคราะห์จากแบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมพื้นที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์จากกรณีศึกษา ตลอดจนสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการศึกษาและอภิปรายผล ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ลักษณะกายภาพแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ทั้ง 5 แห่ง ในเรื่องการวางแผนกผู้ป่วยนอกสอดคล้องกับผังแม่บท (Master Plan) พบ 3 ประเด็น คือ ไม่มีผังแม่บทที่ชัดเจน ได้แก่ ผังของโรงพยาบาล A มีผังแม่บทมหาวิทยาลัย แต่ไม่มีผังแม่บทโรงพยาบาล ได้แก่ ผังของโรงพยาบาล C และมีผังแม่บทโรงพยาบาลโดยเฉพาะ ได้แก่ ผังของโรงพยาบาล B, D, และ E สัดส่วนกลุ่มพื้นที่ใช้สอยในแผนกผู้ป่วยนอกทั้ง 8 กลุ่ม ทุกแห่งมีสัดส่วนพื้นที่พักคอยและเส้นทางสัญจรมากที่สุด รองลงมาเป็นห้องตรวจและห้องวินิจฉัย พื้นที่สนับสนุน ทางบริการด้านหลัง ห้องทำการพยาบาล ที่ทำการพยาบาล ห้องเครื่องมือพิเศษ ตามลำดับ มีการจัดรูปแบบพื้นที่พักคอย 2 แบบ คือ แบบรวมพื้นที่ ได้แก่ ผังของโรงพยาบาล C ข้อดี คือ สามารถปรับเปลี่ยนการใช้ห้องตรวจได้อย่างเหมาะสม และแบบกระจายพื้นที่ ได้แก่ ผังของโรงพยาบาล A, B, D, และ E ข้อดี คือ ลดอัตราความเสี่ยงในการแพร่เชื้อโรคได้ดี ขนาดและสัดส่วนของพื้นที่พักคอยต่อห้องตรวจทุกโรงพยาบาลมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า 9 ตารางเมตรต่อห้องตรวจ ตามมาตรฐานกำหนด การจัดรูปแบบห้องตรวจสำหรับการตรวจทั่วไป / ห้องตรวจและวินิจฉัย ทุกโรงพยาบาลมีทั้งห้องตรวจเดี่ยวและห้องตรวจรวม ขนาดห้องตรวจของทุกโรงพยาบาลมีขนาดเฉลี่ยกว้าง x ยาว มากกว่า …


แนวทางการปรับปรุงอาคารคุ้มเจ้าสุริยา จังหวัดลำพูน, จตุรวิทย์ ใจนวล Jan 2021

แนวทางการปรับปรุงอาคารคุ้มเจ้าสุริยา จังหวัดลำพูน, จตุรวิทย์ ใจนวล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากผลการสำรวจสถาปัตยกรรมในเขตเมืองเก่าลำพูนพื้นที่ถนนรถ ได้ทำการศึกษาคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงศ์ คุ้มเจ้ายอดเรือน และคุ้มเจ้าสุริยา พบว่าคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงศ์และคุ้มเจ้ายอดเรือนได้รับการปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ ในขนะที่คุ้มเจ้าสุริยายังไม่ได้รับการปรับปรุงและเกิดความเสียหายทางสถาปัตยกรรม จึงต้องหาแนวทางวิธีการปรับปรุงอาคาร โดยการศึกษาวิธีการปรับปรุงจากอาคารอนุรักษ์ตัวอย่าง เพื่อให้อาคารสามารถใช้เป็นที่ศึกษาทางสถาปัตยกรรม วัตถุประสงค์ในการศึกษาได้แก่ 1) เพื่อศึกษาแบบแผนในการปรับปรุงของคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงศ์และคุ้มเจ้ายอดเรือน ทั้งก่อนและหลังการปรับปรุง 2) ศึกษาแนวทางการปรับปรุงของคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงศ์และคุ้มเจ้ายอดเรือน เปรียบเทียบเพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงอาคารคุ้มเจ้าสุริยา โดยดำเนินการตามขึ้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลคุ้มเจ้าทั้ง 3 หลังจากงานวิจัย สื่อออนไลน์ การสำภาษณ์ และศึกษาแนวทางวิธีการปรับปรุงอาคารอนุรักษ์ ขั้นตอนที่ 2 ลงพื้นที่สำรวจและจัดทำแบบสถาปัตยกรรมของคุ้มเจ้าสุริยา และเปรียบเทียบรูปแบบสถาปัตยกรรมของคุ้มเจ้าทั้ง 3 หลัง พบว่ารูปแบบผังอาคารของคุ้มเจ้าสุริยากับคุ้มเจ้ายอดเรือนเหมือนกันอย่างชัดเจน โดยทำการเปรียบเทียบเมื่อกลับด้านผังอาคาร ขั้นตอนที่ 3 จากการรวบรวมข้อมูลในการอ้างอิงการปรับปรุง พบแนวทางการปรับปรุง 3 แนวทาง ซึ่งสามารถนำไปประยุคใช้ในแต่ละส่วนดังนี้ ตำแหน่งที่มีข้อมูลชัดเจน ตำแหน่งที่ข้อมูลไม่ชัดเจนใช้แนวทางการปรับปรุงของคุ้มเจ้ายอดเรือน ตำแหน่งที่ไม่มีข้อมูล ปรับปรุงตามสภาพ โดยใช้แนวทางการปรับปรุงอาคารอนุรักษ์ ผลการศึกษาหาความแท้ของคุ้มเจ้าสุริยา ประกอบด้วยวิธีการค้นหา 3 วิธี ซึ่งใช้ประกอบแนวทางวิธีการปรับปรุงในตำแหน่งความเสียหายตามลำดับความชัดเจนของข้อมูลทางสถาปัตยกรรม เพื่อเสนอทางเลือกแนวทางวิธีการปรับปรุง โดยการเปรียบเทียบนำเสนอคือ แบบสภาพปัจจุบัน/แบบดั้งเดิม/แบบที่สามารถปรับปรุงได้


การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้งานอาคารโรงพยาบาลเอกชนที่เพิ่งเปิดให้บริการ: โรงพยาบาลสินแพทย์, ธีรนุช ใจเมือง Jan 2021

การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้งานอาคารโรงพยาบาลเอกชนที่เพิ่งเปิดให้บริการ: โรงพยาบาลสินแพทย์, ธีรนุช ใจเมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคารแต่ละอาคารเมื่อเวลาผ่านไปจะมีการเสื่อมสภาพ จึงต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง แต่จากการศึกษาเบื้องต้น พบการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้งานในโรงพยาบาลที่เพิ่งเปิดให้บริการ จึงมีวัตถุประสงค์จะศึกษารูปแบบและสาเหตุในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยใช้วิธีการเปรียบเทียบผังพื้นที่ก่อสร้างจริง (As-built drawing) กับสภาพพื้นที่อาคารในปัจจุบัน และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหาร สถาปนิก และผู้ดูแลอาคาร เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ทั้งนี้เลือกโรงพยาบาลสินแพทย์ 3 สาขาเป็นกรณีศึกษา ได้แก่ เทพารักษ์ ศรีนครินทร์ และลำลูกกา ซึ่งทั้งหมดออกแบบโดยบริษัท เอ อาร์คิเทค จำกัด ผลการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลที่เพิ่งเปิดให้บริการมีทั้ง พื้นที่ที่ใช้งานแล้ว และยังไม่ได้ใช้งาน พื้นที่ที่ใช้งานแล้วยังแบ่งเป็น ส่วนที่เปลี่ยนแปลง คือ เปลี่ยนการใช้งานแต่ไม่เปลี่ยนผังพื้น เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่คล้ายกัน และเปลี่ยนผังพื้นแต่ไม่เปลี่ยนการใช้งาน เพราะมีความต้องการการใช้พื้นที่ อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ แผนงานให้บริการ หรือความต้องการจากบุคลากรที่ต่างไปจากเดิม สำหรับส่วนที่ไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากทางสัญจรทางตั้ง และทางสัญจรหลักในแต่ละชั้น ยังมีส่วนที่ยังไม่ได้ใช้งาน ที่มีทั้งพื้นที่ที่ตกแต่งแล้ว เนื่องมาจากไม่ต้องการให้ส่งผลกระทบกับการให้บริการ และพื้นที่ที่ยังไม่ได้ตกแต่ง เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นต่อไป จึงสรุปได้ว่าโรงพยาบาลเก่าที่มีการเปลี่ยนแปลง จะมาจากความทรุดโทรมของอาคาร การพัฒนาของเทคโนโลยี และการขยายตัวของกิจการ แต่โรงพยาบาลใหม่จะมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากความต้องการใช้พื้นที่มีลักษณะหรือปริมาณที่เปลี่ยนไป เป็นการใช้พื้นที่ชั่วคราว และการก่อสร้างเผื่อการใช้งานในอนาคต จึงมีข้อเสนอแนะว่า ในการออกแบบโรงพยาบาลควรคำนึงถึงส่วนที่จะไม่เปลี่ยนแปลง คือทางสัญจรทางตั้งและทางสัญจรหลัก ส่วนพื้นที่ใช้สอยควรออกแบบให้รองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น


การปรับปรุงพื้นที่ทางกายภาพคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ จากการเปลี่ยนแนวปฏิบัติทางทันตกรรม เพื่อรองรับสถานการณ์ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษาคลินิกทันตกรรมของคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยของรัฐ 3 แห่ง, นรมน ปัญจปิยะกุล Jan 2021

การปรับปรุงพื้นที่ทางกายภาพคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ จากการเปลี่ยนแนวปฏิบัติทางทันตกรรม เพื่อรองรับสถานการณ์ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษาคลินิกทันตกรรมของคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยของรัฐ 3 แห่ง, นรมน ปัญจปิยะกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ลักษณะทางกายภาพของคลินิกทันตกรรมไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการรองรับโรคระบาดCOVID-19 จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงพื้นที่กายภาพและแนวปฏิบัติทางทันตกรรมระหว่างการเกิดโรคระบาด จึงเป็นที่มาวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ ศึกษาลักษณะทางกายภาพและการจัดการที่ปรับปรุงของคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปรับปรุงพื้นที่ทางกายภาพจากแนวปฏิบัติทางทันตกรรมในการรองรับไวรัสโคโรนา 2019 หรือสถานการณ์โรคระบาดอื่น ๆ และเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาศึกษาพื้นที่ทางกายภาพ และการบริหารจัดการกายภาพของคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ในอนาคต โดยมีระเบียบวิธีวิจัย ได้แก่ การทบทวนวรรณกรรม การเก็บข้อมูลทั้งเอกสารแบบก่อสร้าง สัมภาษณ์และสำรวจพื้นที่จริง การวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ว่าการปรับปรุงคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มี 5 ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ลักษณะและปีที่ก่อสร้างของอาคาร การออกแบบคลินิกทันตกรรม ลักษณะการใช้งานคลินิกทันตกรรม ลักษณะหัตถการ และงบประมาณ ดังนั้นในการออกแบบปรับปรุงกายภาพและการบริหารจัดการต้องพิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ ให้เหมาะสมรองรับสถานการณ์ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยทรัพยากรที่จำกัด คณะทันตแพทยศาสตร์ยังไม่มีแผนการรื้อถอนที่ปรับปรุงช่วงCOVID-19 เนื่องจากการปรับปรุงดังกล่าวสามารถเพิ่มระดับมาตรฐานความปลอดภัยคลินิกทันตกรรมให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นแนวโน้มทิศทางนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงงบประมาณ วิธีการดูแลรักษาในอนาคต และแนวทางการออกแบบคลินิกทันตกรรมใหม่ในอนาคตอาจจะเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมี 2 ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงสำหรับการออกแบบในอนาคตคือการวางผังพื้นและการออกแบบพื้นที่สำหรับงานระบบในคลินิกทันตกรรม


ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศ ในพื้นที่กึ่งเปิดโล่งสาธารณะ ของศูนย์การค้าชุมชน, พลกฤต วิศิษฏ์ศาสตร์กุล Jan 2021

ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศ ในพื้นที่กึ่งเปิดโล่งสาธารณะ ของศูนย์การค้าชุมชน, พลกฤต วิศิษฏ์ศาสตร์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คุณภาพอากาศ เป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คน ทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 และฝุ่นละออง PM2.5 ทำให้ผู้คนหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด แล้วหันมาใช้บริการศูนย์การค้าชุมชนที่เป็นอาคารลักษณะกึ่งเปิดโล่งมากขึ้น ซึ่งผู้คนโดยทั่วไปจะรับรู้ได้ว่าความโปร่งของอาคารช่วยถ่ายเทอากาศได้ดี อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษารายละเอียดในเชิงกายภาพของอาคารที่สัมพันธ์กับปริมาณมลพิษในอากาศ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัยทางกายภาพของศูนย์การค้าชุมชน ช่องโล่งและลานกึ่งเปิดโล่งของอาคาร กับทิศทางลมประจำ ที่สัมพันธ์กับคุณภาพอากาศ และชี้วัดด้วยมลพิษในอากาศ ผ่านการจำลองอาคารกรณีศึกษาศูนย์การค้าชุมชน 8 อาคารในกรุงเทพมหานคร ด้วยโปรแกรมคำนวณพลศาสตร์ของไหล ทดสอบในสภาวะที่มีฝุ่นละออง PM2.5 ในระดับมาตรฐานเฉลี่ยต่อปีที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีตัวแปรต้นเป็นจำนวนด้านเปิดของอาคารที่เปิดให้อากาศไหลผ่านได้ และขนาดของลานกึ่งเปิดโล่งของอาคาร และมีตัวแปรตามเป็นอัตราส่วนความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 ภายในต่อภายนอก ค่าอายุของอากาศ และอัตราการเปลี่ยนอากาศ จากการจำลองด้วยโปรแกรมพบว่า อาคารที่มีด้านเปิด 4 ด้าน จะมีอัตราส่วนความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ยต่ำที่สุดที่ 0.55 มีค่าอายุของอากาศเฉลี่ยต่ำที่สุดที่ 24.18 วินาที และอัตราการเปลี่ยนอากาศสูงที่สุด 90.38 ACH หมายถึงการมีคุณภาพอากาศที่ดีกว่ารูปแบบอื่น ซึ่งมีอัตราส่วนความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ยใกล้เคียงหรือสูงกว่า 1 นอกจากนี้ขนาดของลานกึ่งเปิดโล่งส่งผลต่อคุณภาพอากาศเช่นกัน โดยพบว่าอาคารที่มีจำนวนด้านเปิดให้อากาศไหลผ่านได้เท่ากัน แต่มีขนาดของลานกึ่งเปิดโล่งที่กว้างกว่า จะทำให้เกิดการสะสมของมลพิษมากกว่า เนื่องจากอากาศเคลื่อนตัวออกจากพื้นที่ได้ช้ากว่า อีกทั้งยังพบปัจจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการไหลของอากาศ คือ การวางแนวของอาคาร และอาคารโดยรอบ ก็ส่งผลต่อการไหลของลมและคุณภาพอากาศเช่นกัน ในงานวิจัยนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศมากที่สุดคือ ความพรุนหรือจำนวนด้านเปิดของอาคาร หากอาคารมีความพรุนที่มากจะทำให้ลมสามารถไหลผ่านอาคารได้ดี และไม่เกิดการสะสมของมลพิษ ทั้งหมดนี้นำไปสู่แนวทางการออกแบบอาคารศูนย์การค้าชุมชนเบื้องต้น หรืออาคารที่มีกายภาพกึ่งเปิดโล่งที่คล้ายคลึงกัน


แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์), ปฐมฤกษ์ วงศ์แสงขำ Jan 2021

แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์), ปฐมฤกษ์ วงศ์แสงขำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์และอธิบายแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรม รวมถึงอิทธิพลที่ส่งผลต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์) ผ่านการศึกษาภูมิหลัง แนวคิด แนวทางการศึกษา และผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม รวบรวมหลักฐาน ทั้งเอกสารข้อเขียน เอกสารราชการ แบบสถาปัตยกรรม และตัวสถาปัตยกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ โดยคัดเลือกอาคารกรณีศึกษา 24 หลัง ที่สร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2463 – 2493 และนำไปวิเคราะห์หาลักษณะร่วมและความแตกต่างในงานออกแบบสถาปัตยกรรม ผลการศึกษาชี้ชัดได้ว่า พระสาโรชรัตนนิมมานก์ได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมมาจากทั้งบริบทสถาปัตยกรรมไทย และสถาปัตยกรรมตะวันตก โดยผสานความรู้ความเข้าใจในวิธีการออกแบบ กับรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกในแนวทางของโบซารต์และโรงเรียนลิเวอร์พูล จากพื้นฐานการศึกษา รูปแบบสถาปัตยกรรมอาร์ตเดโค อิตาเลียนฟาสซิสต์ และพีดับบลิวเอโมเดิร์น ในช่วงการประกอบวิชาชีพ ประกอบกับรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยประเพณี จากการทำงานร่วมกับสถาปนิกไทยที่ออกแบบในแนวทางดังกล่าว นอกจากนี้ การศึกษาค้นพบว่า พระสาโรชรัตนนิมมานก์ใช้แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบโบซารต์ตลอดช่วงการประกอบวิชาชีพ ทั้งการใช้ระบบกริด (grid) และระบบแกน (axis) ในการออกแบบผังพื้นและรูปด้านอาคาร การวางระบบทางสัญจรโดยใช้โถงและทางเดิน การกำหนดรูปทรงอาคารด้วยระบบฐาน – ตัว – หัว ระบบช่องเปิด ตลอดจนระบบมุขและปีกอาคาร แม้จะมีแนวทางในการออกแบบเดียว แต่ผลงานสถาปัตยกรรมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ ก็มีรูปแบบและรูปทรงที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองเหตุปัจจัย และบริบทของอาคารแต่ละหลัง เช่น แนวแกน และทางสัญจรในผังบริเวณ รูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารข้างเคียง สภาพภูมิอากาศ ตลอดจนความเหมาะสมกับประเภทการใช้งานของอาคาร ด้วยแนวทางการออกแบบดังกล่าว ประกอบกับบทบาทสำคัญในวิชาชีพและวิชาการสถาปัตยกรรมในประเทศไทย ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย พระสาโรชรัตนนิมมานก์จึงเป็นผู้กำหนดทิศทางของสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ หรือ “สถาปัตยกรรมแบบทันสมัย” ซึ่งงานศึกษานี้เสนอว่าน่าจะนิยามจากมิติทางสถาปัตยกรรมที่ซับซ้อน ในบริบทจำเพาะของประเทศไทย มากกว่าการพยายามอธิบายภายในกรอบอันจำกัดของรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก หรืออุดมการณ์ทางการเมืองอย่างหนึ่งอย่างใด


การออกแบบการส่องสว่างเพื่อปรับปรุงระดับความส่องสว่างภายในห้องพักผู้ป่วยใน : กรณีศึกษา อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย, สุดารัตน์ มหตระกูลรังษี Jan 2021

การออกแบบการส่องสว่างเพื่อปรับปรุงระดับความส่องสว่างภายในห้องพักผู้ป่วยใน : กรณีศึกษา อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย, สุดารัตน์ มหตระกูลรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบการส่องสว่างภายในห้องพักผู้ป่วยใน (in-patient room) มีความสำคัญ เนื่องจากต้องการค่าความส่องสว่างหลายระดับเพื่อรองรับกิจกรรมทางการแพทย์และกิจกรรมอื่น ๆ จากการสำรวจพบว่าปัจจุบันห้องพักผู้ป่วยในหลายแห่งมีระดับความส่องสว่างและการติดตั้งดวงโคมไม่ตอบสนองต่อกิจกรรม ซึ่งในประเทศไทยไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับระดับการส่องสว่างห้องพักผู้ป่วยในและสถานพยาบาล งานวิจัยนี้จึงต้องการเสนอแนวทางการออกแบบการส่องสว่างที่ให้ค่าความส่องสว่างในกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านเกณฑ์ต่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ได้แก่ เกณฑ์ IESNA จากสหรัฐอเมริกา SLL และ EN 12464-1 จากยุโรป โดยใช้ห้องพักผู้ป่วยในของอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเป็นกรณีศึกษา จำลองการส่องสว่างโดยใช้แสงประดิษฐ์ในห้องพักผู้ป่วยใน 4 เตียงที่ความสูงระดับต่าง ๆ ด้วยโปรแกรม DIALux evo 9.1 ทำการเปลี่ยนคุณสมบัติดวงโคมและการจัดวางดวงโคมของดวงโคมเหนือเตียงตรวจรักษาซึ่งให้แสงเป็นหลัก โดยมี 2 แนวทางคือ 1.) การเปลี่ยนดวงโคมแทนที่ดวงโคมเดิมให้มีปริมาณแสงเพิ่มขึ้นจากดวงโคมเดิมใน 3 ระดับ เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ IESNA ที่ระบุค่าความส่องสว่างต่ำกว่าเกณฑ์จากยุโรป 2.) การเปลี่ยนดวงโคมแทนที่ดวงโคมเดิมและเพิ่มดวงโคมเพื่อให้มีแสงเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ SLL และ EN 12464-1 ที่ระบุค่าความส่องสว่างสูงกว่า โดยมีการเพิ่มดวงโคม 2 แบบ คือ เพิ่มดวงโคมชนิดเดียวกับดวงโคมแทนที่ดวงโคมเดิมติดตั้งต่อกันบริเวณเหนือเตียงตรงกลางและการติดตั้งดวงโคมยาวขนาบข้างดวงโคมแทนที่ดวงโคมเดิม ซึ่งมีปริมาณแสงเพิ่มขึ้นและมุมแสงแคบลง 3 ระดับ เมื่อทำการออกแบบปรับปรุงการส่องสว่างโดยการเปลี่ยนดวงโคมที่มีปริมาณแสงต่างกันเพียงอย่างเดียวสามารถทำให้ค่าความส่องสว่างของห้องพักผู้ป่วยในกรณีศึกษาและห้องที่มีความสูงต่าง ๆ มีค่าความส่องสว่างผ่านเกณฑ์ IESNA ที่ระบุค่าความส่องสว่างต่ำ และเมื่อติดตั้งดวงโคมเพิ่มสามารถผ่านเกณฑ์ SLL และ EN 12464-1 ที่ระบุค่าความส่องสว่างสูงกว่าได้ แต่ใช้พลังงานไฟฟ้าสูงกว่าเพื่อให้ได้แสงมากขึ้นตามไปด้วย โดยทั้งสองแนวทางสามารถผ่านเกณฑ์กำลังไฟฟ้าส่องสว่างสูงสุด (LPD) ตามกฎกระทรวงการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (2563) และเกณฑ์ ASHRAE 90.1 (2010) จากการวัดทั้งอาคารได้ทั้งหมด สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ตามความสูงของห้องระหว่าง 2.40-3.60 เมตร และควรคำนึงถึงค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงของพื้นผิวห้องด้วย


แนวทางการออกแบบงานสถาปัตยกรรม ของพระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์), ภูวดล ภู่ศิริ Jan 2021

แนวทางการออกแบบงานสถาปัตยกรรม ของพระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์), ภูวดล ภู่ศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวคิดและผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมของพระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) ผ่านการรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้นประเภทเอกสารราชการ ข้อเขียน บทความ ตำรา ประวัติการทำงาน ของพระพรหมพิจิตรและที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาศึกษาในประเด็นแนวคิด วิธีการทำงานออกแบบ และการรวบรวมผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมกรณีศึกษาจำนวน 32 หลัง ในช่วง พ.ศ. 2473 – 2504 นำมาจำแนกประเภทตามเกณฑ์รูปทรงรวมของอาคาร และรูปแบบสถาปัตยกรรม แล้วนำการศึกษาข้อมูลทั้งสองประเภทมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อหาลักษณะร่วมและความต่างของแนวคิดการออกแบบ กับผลงานสถาปัตยกรรม สู่คำอธิบายแนวทางการออกแบบงานสถาปัตยกรรมของพระพรหมพิจิตร ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า แนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระพรหมพิจิตรอยู่บนหลักการออกแบบสถาปัตยกรรมไทยประเพณีที่เรียกว่า หลักพื้นที่ รูปทรง และเครื่องประกอบ มีแนวทางหลักคือ การกำหนดรูปแบบสถาปัตยกรรมจากลักษณะของวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ ทรงไม้ ทรงปูน และทวิลักษณ์ ที่สัมพันธ์กับรูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารข้างเคียง สร้างรูปแบบ และรูปทรงอาคารที่หลากหลาย ด้วยระบบสัดส่วนในการกำหนดรูปทรงหลังคา และองค์ประกอบสถาปัตยกรรม การใช้รูปร่าง และรูปทรงเรขาคณิตในการออกแบบผังบริเวณ ผังพื้น ที่ว่างภายใน และลวดลายประดับตกแต่ง การกำหนดรูปทรงอาคารด้วยระบบมุข ระบบการลดทอนปริมาตรอาคาร และระบบการออกแบบรูปทรงหลังคา และการให้ความสำคัญกับโครงสร้างภาพในการออกแบบลวดลาย และที่ว่างในการออกแบบพื้นที่ใช้สอยภายใน พระพรหมพิจิตรพัฒนาแนวทางการออกแบบดังกล่าวภายใต้ปัจจัยหลัก 4 ปัจจัย คือ (1) การช่วยงานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (2) การทำงานในระบบราชการ อันมีระเบียบการก่อสร้าง ฝีมือช่าง และงบประมาณ เป็นเงื่อนไขสำคัญในการออกแบบ (3) แนวคิดทางการเมืองของรัฐ ลัทธิชาตินิยม สร้างบทบาทหน้าที่ และความต้องการงานสถาปัตยกรรมไทยประเพณี ในฐานะศิลปกรรมประจำชาติ ตลอดจน (4) การร่วมงานกับพระสาโรชรัตนนิมมานก์ ที่ส่งอิทธิพลทางแนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบทันสมัยให้แก่พระพรหมพิจิตร เหตุปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว หล่อหลอมให้ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมของพระพรหมพิจิตรเป็น “สถาปัตยกรรมไทยแบบทันสมัย” คือ งานสถาปัตยกรรมไทยประเพณีที่ผสานวิธีการออกแบบสมัยใหม่ ทั้งการกำหนดรูปแบบการใช้งานสมัยใหม่ มีระบบการวางผัง การออกแบบรูปแบบและรูปทรงอาคารที่เรียบง่าย และการใช้วัสดุสมัยใหม่อย่างคอนกรีต


ผลกระทบของแสงสว่างเพื่อนาฬิกาชีวิตต่อการใช้พลังงานอาคารประเภทสำนักงานในประเทศไทย, วริยาภรณ์ กิตติวังชัย Jan 2021

ผลกระทบของแสงสว่างเพื่อนาฬิกาชีวิตต่อการใช้พลังงานอาคารประเภทสำนักงานในประเทศไทย, วริยาภรณ์ กิตติวังชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการออกแบบอาคารให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งานอาคารมากขึ้น การออกแบบแสงสว่างภายในอาคารเพื่อระบบนาฬิกาชีวิตของร่างกายมนุษย์เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับผู้ใช้อาคาร ซึ่งแสงสว่างในอาคารจะประกอบด้วยแสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์ ที่ส่งผลต่อการใช้พลังงานของอาคารจากการทำความเย็น และไฟฟ้าแสงสว่าง จากการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมายังพบการศึกษาในเรื่องแสงสว่างเพื่อนาฬิกาชีวิตที่ส่งผลกระทบต่อการใช้พลังงงานโดยรวมของอาคารจากทั้งระบบปรับอากาศและไฟฟ้าแสงสว่างค่อนข้างน้อย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรการออกแบบแสงสว่างภายในอาคารที่มีผลต่อนาฬิกาชีวิต ตามเกณฑ์ WELL Building Standard v.2 หัวข้อ Circadian Lighting วิเคราะห์ผลกระทบต่อการใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร และเสนอแนวทางการออกแบบแสงสว่างที่เหมาะสมต่อนาฬิกาชีวิตที่สามารถนำไปช่วยในการตัดสินใจให้กับผู้ออกแบบ โดยเป็นงานวิจัยเชิงจำลอง ที่ต้องการศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อทั้งปริมาณแสงธรรมชาติ ปริมาณแสงประดิษฐ์ และการใช้พลังงานอาคาร ได้แก่ รูปทรงอาคาร ขนาดสัดส่วนพื้นที่ช่องเปิดต่อเปลือกอาคาร (WWR) ประเภทกระจก ค่าอุณหภูมิสีสัมพันธ์ของหลอดไฟ และการวางผังดวงโคมไฟฟ้าแสงสว่างภายในที่แตกต่างกัน เพื่อนำไปคำนวณค่า Spatial Daylight Autonomy (sDA) ค่า Vertical Illuminance (Ev) และค่า Equivalent Melanopic Lux (EML) รวมทั้งจำลองการใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ DesignBuilder และ Dialux Evo ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ในบางกรณีค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารไม่สัมพันธ์กับค่า EML เนื่องจากค่า EML ตามเกณฑ์ WELL นั้น กำหนดให้ประเมินจากความส่องสว่างในแนวดิ่งจากแสงประดิษฐ์เท่านั้น ไม่ได้ประเมินโดยนำแสงธรรมชาติมาร่วมด้วย แต่การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร ต้องพิจารณาทั้งการใช้พลังงานไฟฟ้าแสงสว่างจากแสงประดิษฐ์ และพลังงานจากเครื่องปรับอากาศที่มีผลจากความร้อนที่เข้ามาภายในอาคารพร้อมกับแสงธรรมชาติ โดยอาคารที่ได้แสงสว่างที่เหมาะสมต่อนาฬิกาชีวิต หรือมีค่า EML ที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำนั้น เมื่อเทียบกับอาคารต้นแบบมีทั้งกรณีที่การใช้พลังงานโดยรวมของอาคารเพิ่มขึ้น 0.04%-4.82% และกรณีที่การใช้พลังงานโดยรวมของอาคารลดลง 0.01-5.33% นอกจากนี้การใช้แสงประดิษฐ์เพื่อให้ได้ปริมาณความส่องสว่างที่เหมาะสมต่อนาฬิกาชีวิตในอาคารสำนักงาน ทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้าแสงสว่างเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 3.47 เท่า เมื่อเทียบกับอาคารต้นแบบ อย่างไรก็ตามแสงธรรมชาติในประเทศไทยนั้นเหมาะสมต่อนาฬิกาชีวิต หากสามารถศึกษาการประเมินค่า EML จากแสงธรรมชาติร่วมกับแสงประดิษฐ์ ก็จะสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าแสงสว่างลงได้


ขนาดประตูอลูมิเนียมกระจกที่เหมาะสมที่สุดต่อการประหยัดวัสดุ ในการออกแบบอาคาร, ดุษฎี อังคณาวิศัลย์ Jan 2021

ขนาดประตูอลูมิเนียมกระจกที่เหมาะสมที่สุดต่อการประหยัดวัสดุ ในการออกแบบอาคาร, ดุษฎี อังคณาวิศัลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประตูหน้าต่างเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาคาร และมีมูลค่ามากถึง 15% ของค่าก่อสร้างทั้งหมด โดยราคาของประตูหน้าต่างอลูมิเนียมและกระจกที่กำลังเป็นที่นิยมนั้น จะมาจากค่าวัสดุมากถึง 3 ใน 4 ส่วน ของต้นทุนทั้งหมด การศึกษาครั้งนี้จะหาขนาดประตูที่เหมาะสมกับวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศและให้เหลือเศษน้อย โดยเลือกอาคารที่ทำการที่กรมโยธาธิการและ ผังเมืองออกแบบเป็นกรณีศึกษา จากการศึกษาแบบอาคาร จำนวน 18 อาคาร พบว่ามีการออกแบบประตูหลายรูปแบบ ได้แก่ แบบบานเปิดเดี่ยว บานเปิดเดี่ยวแบบมีช่องแสง บานเปิดคู่ บานเลื่อนเดี่ยว บานเลื่อนคู่ และบานเลื่อนสลับ แต่ละรูปแบบยังมีขนาดแตกต่างกัน เฉพาะประตูบานเปิดเดี่ยวและบานเปิดเดี่ยวแบบมีช่องแสง จะมีความกว้างตั้งแต่ 0.800 – 1.000 ม. และความสูงตั้งแต่ 2.050 – 3.000 ม. และมีขนาดต่างๆ ได้แก่ 0.800x2.050, 0.800x2.500, 0.900x2.600, 1.000x2.200, 1.000x2.250, 1.000x2.500, 1.000x2.600, 1.000x2.900 และ 1.000x3.000 ม. เนื่องจากอลูมิเนียมที่ผลิตจากโรงงานมีความยาว 6.400 ม. แต่จะใช้งานจริงได้เพียง 6.300 ม. ดังนั้นเพื่อให้ขนาดประตูบานเปิดเดี่ยวสัมพันธ์กับความยาวอลูมิเนียม และไม่เหลือเศษ จะต้องกว้าง 0.900 ม. และ 1.050 ม. และสูง 2.100 ม. และ 3.150 ม. สำหรับกระจกนั้น ส่วนใหญ่จะกำหนดให้ใช้ คือ กระจกใส หนา 6 มม. ซึ่งในปัจจุบันโรงงานผลิตมากถึง 11 ขนาด มีความกว้างตั้งแต่ 1.524 - 3.048 ม. และยาวตั้งแต่ 1.829 - 5.080 ม. เมื่อพิจารณาขนาดประตูที่เหมาะกับอลูมิเนียมที่ผลิต และสัมพันธ์กับขนาดกระจก จะพบว่า ถ้าใช้กระจกขนาด 1.829x2.134 ม. หรือ 2.134x3.658 ม. …