Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2021

Discipline
Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 871 - 900 of 931

Full-Text Articles in Architecture

Neoliberal Park Governance Regimes And The Right To The City: A Critical Assessment Of Social Inclusion In Downtown Dallas Signature Parks, Nazanin Ghaffari Jan 2021

Neoliberal Park Governance Regimes And The Right To The City: A Critical Assessment Of Social Inclusion In Downtown Dallas Signature Parks, Nazanin Ghaffari

Planning Dissertations

Privatization has been frequently criticized for diminishing the inclusiveness of public space. This dissertation examines whether private signature parks are more exclusive than their public counterparts utilizing Lefebvre's right to the city, along with theories of public space privatization and governance. To better understand the influence of privatization on the social inclusiveness of public spaces, three publicly-accessible signature parks are deliberately selected in downtown Dallas, based on their ownership and management types: (1) publicly-owned, publicly-managed; (2) publicly-owned, privately-managed; and (3) privately-owned, privately-managed. The research methodology includes semi-structured interviews, in-situ participatory observation, and content analysis of official documents, local and social …


Community Health Interventions To Reduce The Burden Of Radon-Related Lung Cancer, Benjamin Weaver Jan 2021

Community Health Interventions To Reduce The Burden Of Radon-Related Lung Cancer, Benjamin Weaver

Family Medicine Clerkship Student Projects

Exposure to radon is the second leading cause of lung cancer in the United States. One in seven homes in Vermont has elevated levels of radon, but most patients are unaware of radon as a risk factor for lung cancer or that radon testing and mitigation services are available to them. To promote increased testing and mitigation of radon we screened patients presenting to a Family Medicine practice in Vermont about whether they had had these services done in their home. We also developed a patient education resource for providers to give to patients who had more questions about radon …


Aportes De Henry Lefebvre Al Concepto De Espacio Social A Partir De Su Obra La Producción Del Espacio, Tatiana Cabrera Rubio Jan 2021

Aportes De Henry Lefebvre Al Concepto De Espacio Social A Partir De Su Obra La Producción Del Espacio, Tatiana Cabrera Rubio

Filosofía y Letras

La fractura social se objetiva en la fractura urbana, es decir, en el espacio que constituye la ciudad. El análisis del espacio supone el estudio de las relaciones humanas que allí tienen lugar y que se configuran según su disposición. Para este análisis, se define en la obra de Henry Lefebvre tres elementos que constituyen el concepto “espacio social”, a saber, lo percibido, lo imaginado y lo concebido; esta trilogía conceptual permite comprender el espacio social como un organismo dinámico inherente a las relaciones humanas desde el cual se puede agenciar una transformación social debido al poder emancipador de la …


A Rejection Of Nature? Or The Natural World? An Objectless Inquiry Into The Writings Of Kazimir Malevich, Aidan Edward Galloway Jan 2021

A Rejection Of Nature? Or The Natural World? An Objectless Inquiry Into The Writings Of Kazimir Malevich, Aidan Edward Galloway

Senior Projects Spring 2021

Senior Project submitted to The Division of Social Studies of Bard College.


Not In My Backyard! Finding The Potent Gaps In New Urbanist Development Of Rural New York, Dorothea L. Mcrae Jan 2021

Not In My Backyard! Finding The Potent Gaps In New Urbanist Development Of Rural New York, Dorothea L. Mcrae

Senior Projects Spring 2021

Senior Project submitted to The Division of Social Studies of Bard College.


A Mass Of What's Departed: Analyzing The Influx Of Middle Class Homeowners And Luxury Development Sustaining The Housing Crisis In Former Brick Manufacturing Hub Kingston, Ny, Deirdre Frances Irvine Jan 2021

A Mass Of What's Departed: Analyzing The Influx Of Middle Class Homeowners And Luxury Development Sustaining The Housing Crisis In Former Brick Manufacturing Hub Kingston, Ny, Deirdre Frances Irvine

Senior Projects Spring 2021

Senior Project submitted to The Division of Social Studies of Bard College.


Urban Attraction Policies For Science And Technology Talent: Case Studies Of Chinese Cities, Yuxuan Shan Jan 2021

Urban Attraction Policies For Science And Technology Talent: Case Studies Of Chinese Cities, Yuxuan Shan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the modern era of rapid socio-economic development, high-skill human resources, especially science and technology talents, have become pivotal to promoting urban development. For decades, there has been fierce competition among local governments in China to issue more competitive policies to attract talents to live and work in the cities. As China’s first-tier cities, Beijing, Shanghai, Guangzhou, and Shenzhen have tried to achieve the goal of becoming a scientific and technological innovation center with global influence. Thus, these cities have implemented their local policies on talents. This study adopts a case study research method to analyze the contexts of local …


การกัลปนาพระตำหนักจากพระบรมมหาราชวัง ในมิติการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม, ณัฐปภัสร์ นิยะเวมานนท์ Jan 2021

การกัลปนาพระตำหนักจากพระบรมมหาราชวัง ในมิติการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม, ณัฐปภัสร์ นิยะเวมานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งเน้นในการศึกษาหาแนวความคิดการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมจากการกัลปนาเรือน อันเป็นความเชื่อและระเบียบปฏิบัติที่ทำต่อกันมาในสังคมไทย การกัลปนาเรือนเป็นการถวายเรือนพักอาศัยที่หมดหน้าที่ใช้สอยเพื่อการใช้ประโยชน์ทางศาสนา ผลคือทำให้เรือนนั้นถูกใช้งานถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลลัพธ์เช่นเดียวกับการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ทั้งนี้ การศึกษาได้เลือกกรณีศึกษาเป็นกลุ่มอาคารที่มาจากที่เดียวกัน สร้างในระยะเวลาใกล้เคียงกัน แต่กัลปนาออกไปต่างสถานที่และต่างสมัยกัน เพื่อให้เห็นแนวความคิดในการกัลปนาเรือนจากกลุ่มอาคารดังกล่าว โดยเลือกกรณีศึกษาเป็นหมู่พระตำหนักในพระบรมมหาราชวัง 3 หมู่ที่สร้างสมัยรัชกาลที่ 1-2 ได้แก่ 1) หมู่พระตำหนักตึกพบ 1 หลัง กัลปนาสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นศาลาการเปรียญ วัดรัชฎาธิษฐาน 2) หมู่ตำหนักเขียวพบ 1-2 หลัง กัลปนาสมัยรัชกาลที่ 3 ไปเป็นกุฏิเจ้าอาวาสวัดอมรินทราราม และ 3) หมู่พระตำหนักแดงพบ 3 หลัง ได้แก่ พระตำหนักแดงกัลปนาไปเป็นกุฏิ วัดเขมาภิรตาราม ในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาคือพระที่นั่งมูลมณเฑียร กัลปนาไปเป็นโรงเรียนที่วัดเขมาภิรตาราม ในสมัยรัชกาลที่ 5 และสุดท้ายคือพระตำหนักแดง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่ไม่ได้กัลปนาเพียงแต่มีการย้ายที่ตั้ง และปรับการใช้สอยในเวลาต่อมา วิธีวิจัยในการศึกษาใช้การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เรื่องการกัลปนา การอนุรักษ์สถาปัตยกรรม และข้อมูลพระตำหนักในพระบรมมหาราชวัง จากนั้นทำงานภาคสนามด้วยการรังวัดและทำโฟโตแกรมเมตรี เพื่อแสดงรูปทรง ร่องรอยต่าง ๆ นำมาทำแบบสถาปัตยกรรม จากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลให้เกิดแบบทางการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมเพื่อให้เห็นพัฒนาการ ความเปลี่ยนแปลง เพื่อนำมาวิเคราะห์หาแนวความคิดการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมกับการกัลปนาเรือน ซึ่งจากการศึกษาพิจารณาตามแนวทางการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับแนวทางการกัลปนาเรือนเบื้องต้น ได้แก่ คุณค่าและความแท้ การปรับการใช้สอยอาคาร และลำดับชั้นความเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบ พบว่าการกัลปนาเรือนเป็นแนวทางการอนุรักษ์แบบหนึ่งที่คำนึงถึงคุณค่าทางจิตวิญญาณมากกว่าคุณค่าที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ จุดตั้งต้นแนวคิดในการอุทิศส่วนกุศล ส่งผลให้มีการย้ายที่ตั้งและปรับการใช้สอยสู่วัด การพิจารณาอาคารที่มีขนาด ผัง และฐานานุศักดิ์ที่มาใช้งานแทนกันได้แล้วจึงต่อเติมวัสดุเพื่อประโยชน์สูงสุดคืออาคารยังใช้งานได้สืบมา แต่ก็ยังคำนึงถึงประเด็นที่จะรักษาไว้อย่างแนบแน่น คือ เครื่องแสดงฐานานุศักดิ์และเครื่องแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของเรือนนั้นไว้ โดยจะสงวนรักษาองค์ประกอบเหล่านั้นไว้อย่างดี ทำให้ส่วนหลังคาและเรือนคงรูปแบบอย่างดีถึงปัจจุบัน แต่เมื่อมีการใช้งานใหม่จะนิยมต่อเติมในส่วนใต้ถุนของอาคารแทน ทั้งนี้ การศึกษาแนวความคิดการอนุรักษ์ผ่านกรณีศึกษายังทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงการย้อนไปหาความดั้งเดิมของรูปแบบจนเกิดแนวทางการสันนิษฐานหมู่พระตำหนักที่กล่าวมาผ่านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม


ศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาชุมชนตามแผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ : กรณีศึกษา ชุมชนท่าเตียน กรุงเทพมหานคร, เขตนคร อภิเดชไพศาล Jan 2021

ศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาชุมชนตามแผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ : กรณีศึกษา ชุมชนท่าเตียน กรุงเทพมหานคร, เขตนคร อภิเดชไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ มีเป้าหมายส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและชุมชน โดยชุมชนท่าเตียนเป็นหนึ่งในพื้นที่ชุมชนเป้าหมายและจัดทำแนวทางการฟื้นฟูชุมชนที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์ในขอบเขตพื้นที่ดำเนินการบริเวณพระบรมมหาราชวัง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพและข้อจำกัดของชุมชนที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องตามแผนผังแม่บทฯ เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชนและแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับศักยภาพและข้อจำกัดของชุมชน โดยทำการรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์และจัดการประชุมปฏิบัติการร่วมกับชาวชุมชน ผลจากการศึกษาแผนผังแม่บทฯ พบว่า ได้กำหนดท่าเตียนให้เป็นพื้นที่ชุมชนการค้าเดิมและฟื้นฟูการทำยาแผนโบราณ โดยจัดทำโครงการพื้นที่ย่านท่าเตียนมีทั้งสิ้น 6 โครงการ ส่วนผลจากการศึกษาศักยภาพและข้อจำกัดปัจจุบัน พบว่า ชุมชนท่าเตียนมีศักยภาพด้านกายภาพเป็นชุมชนในพื้นที่หัวแหวนกรุงรัตนโกสินทร์ และมีข้อจำกัดด้านกายภาพของโรงตลาดภายในชุมชนที่ทรุดโทรมกลายเป็นพื้นที่เก็บของ บดบังทัศนียภาพของกลุ่มอาคารภายในชุมชน ชุมชนมีจุดเด่นด้านศักยภาพด้านเศรษฐกิจเป็นชุมชนการค้าย่านการค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยา และศักยภาพด้านสังคมที่มีความสัมพันธ์การค้าลักษณะเป็นเครือญาติ ผลจากการประชุมปฏิบัติการร่วมกับชุมชน พบว่า สามารถกำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชน 7 ประเด็น ภายใน 6 บริเวณชุมชน ได้แก่ การพัฒนาตลาดชุมชนกลางคืนบริเวณโรงตลาดภายในชุมชน-การพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือนและการฟื้นฟูเอกลักษณ์บริเวณกลุ่มอาคารริมแม่น้ำเจ้าพระยา-การอนุรักษ์และสืบสานมรดกวัฒนธรรมชุมชนบริเวณถนนท้ายวังและซอยท่าเตียน-การพัฒนาการเข้าถึงชุมชนและการปรับปรุงเส้นทางท่องเที่ยววิถีชุมชนบริเวณทางเดินภายในชุมชน และการพัฒนาเปิดวิถีชีวิตชุมชนการค้าบริเวณกลุ่มอาคารริมถนนมหาราช ผลจากการศึกษาศักยภาพกับแนวทางการพัฒนาชุมชน พบว่า ชุมชนมีศักยภาพการรวมกลุ่มของลักษณะกิจกรรมการค้าเดียวกันหรือการพึ่งพากัน ที่ส่งเสริมให้เกิดอิทธิพลทางความคิดหรือการกระทำไปในทิศทางเดียวกัน แต่มีข้อจำกัดของพื้นที่ประกอบกิจกรรมร่วมกันภายในชุมชน ที่จะส่งเสริมด้านเศรษฐกิจจากการขับเน้นด้านกายภาพของโครงการตามแผนผังแม่บทฯ ในพื้นที่ย่านท่าเตียน ดังนั้นจึงเสนอแนะให้ชุมชนนำพื้นที่อาคารริมแม่น้ำเจ้าพระยาและโรงตลาดมาพัฒนาเป็นพื้นที่ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจร่วมกันของชุมชน โดยขอความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายนอก ในการดำเนินงานพัฒนาด้านกายภาพที่ชุมชนไม่สามารถดำเนินการเองได้ เพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ชุมชนตามศักยภาพของชุมชน


พฤติกรรมการอยู่อาศัย และรูปแบบที่อยู่อาศัยที่พึงประสงค์ของกลุ่มชายรักชาย กรณีศึกษา กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง, เจษฎา พิมพ์สวัสดิ์ Jan 2021

พฤติกรรมการอยู่อาศัย และรูปแบบที่อยู่อาศัยที่พึงประสงค์ของกลุ่มชายรักชาย กรณีศึกษา กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง, เจษฎา พิมพ์สวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กลุ่มชายรักชายเป็นหนึ่งในกลุ่มของผู้มีความหลากหลายทางเพศที่มีรายได้ค่อนข้างสูง มีรสนิยมการบริโภคค่อนข้างชัดเจนอีกทั้งมีสถานที่และกิจกรรมเฉพาะให้ไปเลือกใช้ โดยการเข้าถึงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศในปัจจุบันสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นกว่าในอดีต ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาลักษณะเรื่องที่อยู่อาศัยที่พึงประสงค์สำหรับกลุ่มชายรักชายที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงโดยมีความสัมพันธ์ระหว่างที่อยู่อาศัย สิ่งอำนวยความสะดวกกับที่ตั้งของแหล่งงาน และศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยของกลุ่มชายรักชายในที่อยู่อาศัยปัจจุบันจนรวมไปถึงความคิดเห็นต่อรูปแบบการจัดให้มีที่อยู่อาศัยเฉพาะกลุ่มชายรักชายในอนาคต ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มชายรักชายที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงนั้นจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มโดยกลุ่มแรกจะเป็นผู้ที่มีรายได้อยู่ระหว่าง 50,000 บาทถึง 100,000 บาท ส่วนใหญ่อยู่อาศัยรอบนอกเมืองรูปแบบเป็นคอนโดมิเนียมและคนกลุ่มนี้มักจะใช้รถยนต์ในการเดินทาง กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 100,001 บาทขึ้นไป ลักษณะการอยู่อาศัยอยู่ในเขตศูนย์กลางธุรกิจ รูปแบบเป็นคอนโดมิเนียมแต่มีพื้นที่ขนาดใหญ่กว่ากลุ่มแรกและมีการเดินทางโดยรถไฟฟ้า หรือส่วนที่อยู่นอกเมืองจะมีรูปแบบเป็นบ้านพักอาศัยแนวราบที่มีขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน ซึ่งโดยปกติกลุ่มคนทั่วไปจะสนใจเลือกที่อยู่อาศัยให้สัมพันธ์กับแหล่งงานแต่กลุ่มชายรักชายจะให้ความสำคัญกับการเข้าถึงพื้นที่สังสรรค์ควบคู่ไปด้วย ลักษณะที่กลุ่มนี้แตกต่างจากกลุ่มอื่นคือการเข้าถึงพื้นที่ที่เกิดความสบายใจในกลุ่มเพศของตนในย่านที่เข้าถึงจะมีกิจกรรม ร้านค้าและร้านอาหารเฉพาะและลักษณะการตกแต่งที่อยู่อาศัยของคนกลุ่มนี้จะมีลักษณะการใช้แสงไฟและสีเพื่อให้เกิดดึงดูดและสร้างความประทับใจให้กับแขกหรือบุคคลอื่นๆเมื่อเข้ามาในที่พักอาศัยให้รู้สึกตื่นเต้น ดังนั้นกลุ่มชายรักชายมีความต้องการความเป็นส่วนตัวในการทำกิจกรรมต่างๆจึงมีการคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญรวมไปถึงความเชื่อมั่นต่อการบริหารงานของนิติบุคคล ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีชุมชนเฉพาะกลุ่มของชายรักชายมีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย


แนวทางการแก้ปัญหาอุปทานส่วนเกินให้สอดคล้องกับอุปสงค์ด้านที่อยู่อาศัยของผู้ที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร กรณีศึกษาโครงการจัดสรร เขตอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี, ฉมาวิทย์ แสนเวียงจันทร์ Jan 2021

แนวทางการแก้ปัญหาอุปทานส่วนเกินให้สอดคล้องกับอุปสงค์ด้านที่อยู่อาศัยของผู้ที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร กรณีศึกษาโครงการจัดสรร เขตอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี, ฉมาวิทย์ แสนเวียงจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงอุปทานและอุปสงค์ที่อยู่อาศัยบริเวณนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ในเขตพื้นที่อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และศึกษาถึงเหตุผลในการชะลอการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุปทานส่วนเกิน จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าในจังหวัดชลบุรีมีจำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยในปี 2562 เพิ่มขึ้นถึง 28% และเพิ่มขึ้นทั้งในปี 2563 และ 2564 ในขณะเดียวกันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลให้กำลังซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคมีปริมาณลดลงถึง -44.8% แต่ยังมีภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์และได้รับผลกระทบน้อยด้วย ผู้วิจัยจึงศึกษาอุปสงค์ในประเภทอุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์นี้ ถึงความต้องการที่อยู่อาศัยและมีปัญหาข้อจำกัดอย่างไร ผลศึกษาข้างต้นจึงได้มาซึ่งผลการศึกษาถึงอุปทานและอุปสงค์ที่อยู่อาศัยบริเวณนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ในเขตพื้นที่อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรีนี้ พบว่า มีปริมาณหน่วยเหลือขายที่อยู่อาศัยทั้งหมด 3,168 หน่วย มีระดับราคา 900,000-4,200,000 บาท ซึ่งมีความสอดคล้องกับความสามารถในการกู้ของอุปสงค์ ทำเลที่ตั้งมีความสอดคล้องกับระยะเวลาการเดินทางไปทำงานของผู้ที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรม และผลการศึกษาด้านอุปสงค์ พบว่า เป็นกลุ่มที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยโดยตัดสินใจซื้อทันที และกลุ่มที่มีความต้องการซื้อแต่อยู่ระหว่างการชะลอการตัดสินใจ โดยมีเหตุผลในการชะลอการตัดสินใจซื้อส่วนใหญ่เป็นเหตุผลด้านการเงิน มีแนวทางข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น ปรับรูปแบบการจำหน่ายให้มีระบบผ่อนชำระตรงกับโครงการ การเสนอโปรโมชั่น ส่วนลดพิเศษ และการกู้ร่วม เป็นต้น


ผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ที่มีต่อค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยของผู้ค้าอาหารในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี ในช่วง พ.ศ.2563 - 2564, ณัฐจารี กองสา Jan 2021

ผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ที่มีต่อค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยของผู้ค้าอาหารในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี ในช่วง พ.ศ.2563 - 2564, ณัฐจารี กองสา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือน โดยทำให้รายได้ครัวเรือนลดลง และส่งผลต่อสัดส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายประจำของครัวเรือนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยมีอัตราส่วนที่มากที่สุดเป็นอันดับที่สองของค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยจังหวัดปทุมธานี มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุดและเป็นพื้นที่ควบคุมโรคระบาดสูงสุดและเข้มงวด มีแหล่งงานสำคัญ คือ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยของผู้ค้าอาหารในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร รวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจและสัมภาษณ์ผู้ค้าอาหารที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 จำนวน 45 ตัวอย่าง โดยแบ่งตามลักษณะร้านค้าอาหารได้เป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มA (ร้านแผงลอยอาหาร), กลุ่มB (ร้านอาหารใต้หอพักอาศัย)และกลุ่มC (ร้านอาหารอาคารพาณิชย์) ผลการศึกษาพบว่า 1) เมื่อเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบกับรายได้ของผู้ค้าอาหารโดยเฉลี่ยลดลงถึงร้อยละ 31.4 จากเดิมเฉลี่ยเดือนละ 42,356 บาท ลดลงเหลือเฉลี่ยเดือนละ 29,067 บาท และค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 จากเดิมเฉลี่ยเดือนละ 11,780 บาท เพิ่มขึ้นอยู่ที่เฉลี่ยเดือนละ 11,897 บาท เนื่องจากกลุ่ม A และกลุ่ม C มีผู้ที่เปลี่ยนที่อยู่อาศัยจากเดิมเป็นห้องเช่า เปลี่ยนเป็นเช่าบ้านแถว เพื่อใช้พื้นที่หน้าบ้านทำเป็นร้านค้า 2) ลักษณะที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นแบบเช่า ร้อยละ 82 โดยกลุ่ม C มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดเฉลี่ยเดือนละ 16,867 บาท เนื่องจากส่วนใหญ่เช่าอาคารพาณิชย์ อันดับที่สองคือกลุ่ม B เฉลี่ยเดือนละ 10,670 บาท ซึ่งมีการเช่าห้องพักและกลุ่ม A ที่มีด้านค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเฉลี่ยเดือนละ 8,154 บาท เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นห้องเช่า 3) ลักษณะการแก้ไขปัญหาของผู้ค้าอาหารส่วนใหญ่ ได้เข้ารับมาตรการช่วยเหลือเงินเยียวยาจากภาครัฐ ซึ่งสามารถบรรเทาความเดือนร้อนด้านค่าใช้จ่ายได้ส่วนหนึ่ง 4) ความต้องการช่วยเหลือของผู้ค้าอาหารต่อภาครัฐ ส่วนใหญ่ต้องการการให้เงินเยียวยา ขยายเวลาการลดค่าเช่าหรือยกเว้นการผ่อนชำระค่าที่อยู่อาศัย ลดค่าสาธารณูปโภค อีกทั้งยังต้องการช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยให้ควบคุมต้นทุนอาหารสดเพื่อนำมาค้าอาหาร งานวิจัยนี้จะนำไปสู่ความเข้าใจผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ที่มีต่อค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัย รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงลักษณะความต้องการการช่วยเหลือของผู้ค้าอาหารในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ซึ่งสามารถเป็นแนวทางให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และหน่วยงานภาครัฐ ได้รับทราบข้อมูล ตัดสินใจเลือกแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมด้านค่าใช้จ่ายในการอยู่อาศัยต่อไป


กระบวนการจัดการแหล่งพักอาศัยเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน: กรณีศึกษา หมู่บ้านคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช, ณิชกานต์ ภัททิยากูล Jan 2021

กระบวนการจัดการแหล่งพักอาศัยเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน: กรณีศึกษา หมู่บ้านคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช, ณิชกานต์ ภัททิยากูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หมู่บ้านคีรีวง มีวิถีชีวิตที่สงบและมีสังคมแบบเครือญาติ ถึงแม้ว่าเคยประสบกับภัยพิบัติในอดีตหลายครั้งแต่ชุมชนสามารถพลิกฟื้นกลับคืนมาได้ด้วยการพึ่งพาซึ่งกันและกัน จนได้รับการยอมรับว่าเป็นชุมชนเข้มแข็ง มีอาชีพหลักคือการทำสวนผลไม้ผสม นอกฤดูกาลผลไม้ชาวบ้านมีการรวมตัวกันตั้งกลุ่มอาชีพที่เกิดจากทรัพยากรในชุมชน ในขณะเดียวกันชาวบ้านได้นำบ้านพักอาศัยมาปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงเป็นโฮมสเตย์ เกิดรายได้สู่ครัวเรือน จนกลายเป็นชุมชนต้นแบบในการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และได้รับรางวัลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นำมาสู่วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของที่พักอาศัยให้เป็นโฮมสเตย์ เพื่อให้ทราบถึงรูปแบบการพักอาศัย การปรับปรุงที่พักอาศัยให้เป็นโฮมสเตย์ ศึกษาแนวคิดด้านการจัดการด้านแหล่งพักอาศัย และกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบที่ทำให้ชุมชนคีรีวงนำไปสู่ความยั่งยืนได้นั้นเป็นการประสานความร่วมมือกันระหว่าง ผู้นำ ชาวบ้าน และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยชาวบ้านมีการปรับเปลี่ยนที่พักอาศัยเป็นโฮมสเตย์ ตามลักษณะการใช้พื้นที่ภายในบ้านระหว่างเจ้าบ้านและนักท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับสมาชิกในครอบครัวและอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว มีกิจกรรมที่รองรับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม เช่น กิจกรรมร่วมกับวิสาหกิจชุมชน กิจกรรมที่ศึกษาวิถีชีวิตและการผจญภัยธรรมชาติ ผู้นำชุมชนมีหน้าที่ประสานการทำงานระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน หรือองค์กรการพัฒนาอื่น ๆ และคนในชุมชน รวมถึงเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ โดยกระบวนการดังกล่าวเกิดจากการร่วมมือและบูรณาการจากหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้นำชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ชาวบ้าน นำมาซึ่งแนวคิดในการพึ่งพาอาศัยกันของชุมชน สามารถสรุปเป็นแนวทางให้ตอบโจทย์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้ คือ 1.สร้างอัตลักษณ์ผ่านตัวตนชุมชน 2.สร้างความรู้สึกความเป็นเจ้าของให้คนในชุมชน 3.สร้างการเชื่อมโยงโฮมสเตย์กับการท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ 4.สร้างจิตสำนึกที่ดีให้แก่นักท่องเที่ยว กระบวนการจัดการของชุมชนกลายเป็นความยั่งยืนได้นั้นเกิดจากการประสานความร่วมมือกับทุกฝ่ายที่มีการทำความเข้าใจถึงแผนงานกับคนในชุมชนตั้งแต่ต้น เพราะคนคือกุญแจสำคัญที่ทำให้ชุมชนคีรีวงมีความเข้มแข็งและสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืนต่อไป


แนวทางการพัฒนาชุมชนและที่อยู่อาศัยในเมืองเก่าเชียงใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดย่านนวัตกรรมสร้างสรรค์ ภายใต้แผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ : กรณีศึกษาชุมชนล่ามช้าง, กัญชุดา เพ็ญไชยา Jan 2021

แนวทางการพัฒนาชุมชนและที่อยู่อาศัยในเมืองเก่าเชียงใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดย่านนวัตกรรมสร้างสรรค์ ภายใต้แผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ : กรณีศึกษาชุมชนล่ามช้าง, กัญชุดา เพ็ญไชยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รัฐบาลประกาศนโยบายการพัฒนาเมืองในระดับภูมิภาคตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ กำหนดให้จังหวัดเชียงใหม่มีการพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะ เพื่อขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ชุมชนในย่านเมืองเก่าจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้รับการกำหนดให้เป็นย่านนวัตกรรมสร้างสรรค์ มีทั้งสิ้น 26 ชุมชน ผลการประเมินองค์ประกอบความเป็นย่านสร้างสรรค์พบว่า ชุมชนล่ามช้างเป็นชุมชนที่มีสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมอยู่มากและเป็นชุมชนที่มีศักยภาพในการต่อยอดไปสู่การพัฒนาเป็นย่านนวัตกรรมสร้างสรรค์สูงที่สุดด้วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของชุมชนและสร้างแนวทางการพัฒนาชุมชนและที่อยู่อาศัย โดยอาศัยการใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เพื่อการศึกษาสถานการณ์ทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ความต้องการและทัศนคติของผู้อยู่อาศัย ในการพัฒนาชุมชนและที่อยู่อาศัย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแผนและผังชุมชนและบ้านให้สอดคล้องกับคุณลักษณะการเป็นย่านนวัตกรรมสร้างสรรค์ 4.0 โดยทำการรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ การวิเคราะห์ข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 2 ครั้ง และการสัมภาษณ์เชิงลึก 2 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่าชุมชนล่ามช้างเป็นชุมชนที่มีศักยภาพในการพัฒนาให้สอดคล้องกับการเป็นย่านนวัตกรรมสร้างสรรค์สูง เนื่องจากมีผลการวิเคราะห์ที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของการเป็นย่านนวัตกรรมสร้างสรรค์ตามที่ได้ตัวแปรมาจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ โดยมีผลการวิเคราะห์ศักยภาพในระดับชุมชนจากการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 พบว่า ชุมชนล่ามช้างมีลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารแบบผสมผสาน การมีความหลากหลายของกลุ่มคน มีจุดดึงดูดทางเศรษฐกิจและศูนย์กลางการเป็นแหล่งงานและพื้นที่กิจกรรมที่มีคุณค่าเป็นต้นทุนเดิมของพื้นที่คือตลาดสมเพชรและวัดล่ามช้าง ทั้งนี้ยังมีความสามารถในการบริหารจัดการชุมชนสูง เนื่องจากมีการจัดการประชุมกลุ่มย่อยร่วมกันอยู่บ่อยครั้ง มีการรวมกลุ่มกันของผู้ประกอบการ เกสต์เฮ้าส์ ธุรกิจบริการการท่องเที่ยวและชาวชุมชนในละแวกใกล้เคียง เพื่อศึกษาแลกเปลี่ยนและแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยร่วมกัน รวมถึงมีการตกลงการจัดทำมาตรฐานการท่องเที่ยวและการวางผังจัดระเบียบภายในชุมชน ทำให้ชุมชนล่ามช้างมีความเข้มแข็งและมีความร่วมมือกันสูง เนื่องจากมีการบริหารจัดการผ่านองค์กรชุมชน ภายในชุมชนมีธุรกิจที่สามารถเชื่อมโยงเป็นระบบเครือข่ายธุรกิจชุมชนได้ โดยผู้วิจัยได้มีการเสนอแผนและผังชุมชนเพื่อไปสู่การเป็นย่านนวัตกรรมสร้างสรรค์ 4.0 ในด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นรากฐานเดิม ด้วยการกำหนดแกนการพัฒนาถนน 2 ประเภทคือถนนค้าขายตามบ้านและถนนอยู่สบาย รวมถึงได้ทำการจัดทำแผนธุรกิจชุมชน เพื่อเป็นแนวทางการสร้างโครงข่ายทางธุรกิจในชุมชนและการพัฒนาความเชื่อมโยงธุรกิจด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ รวมถึงจัดทำแนวทางการควบคุมการออกแบบและกิจกรรมตามแกนถนนให้เป็นกรอบในการพัฒนาในระดับบ้าน โดยทำการคัดเลือกบ้านกรณีศึกษา 6 หลัง ซึ่งแบ่งกลุ่มตามลักษณะโครงสร้างและการใช้งานได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.บ้านเดี่ยวโครงสร้างไม้สำหรับทำธุรกิจ ร้านค้า ร้านอาหาร 2.บ้านเดี่ยวโครงสร้างไม้กึ่งปูนสำหรับเป็นที่พักรองรับนักท่องเที่ยว 3.ตึกแถวโครงสร้างปูนสำหรับเป็นร้านอาหารและเครื่องดื่มหรือสำนักงาน เพื่อนำมาสู่การวิเคราะห์ในระดับบ้าน ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาระดับบ้านจากการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 พบว่า ชุมชนประกอบไปด้วยบ้านที่มีการประกอบธุรกิจท่องเที่ยวร้อยละ 60 และเป็นที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียวร้อยละ 40 โดยส่วนใหญ่มีการดัดแปลงบ้านของตนเองเป็นพื้นที่ในการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ และปรับเปลี่ยนให้เป็นที่พักอาศัยรองรับนักท่องเที่ยว ผู้อยู่อาศัยมีความรู้เฉพาะในครัวเรือนที่หลากหลาย ทำให้มีศักยภาพในการพัฒนาสูง แต่ยังขาดการเปิดกิจกรรมในพื้นที่บ้านให้เชื่อมโยงเข้าสู่พื้นที่ชุมชน เพื่อให้ส่งเสริมการทำธุรกิจและกิจกรรมการค้าที่เป็นรายได้หลักของครัวเรือน ผู้วิจัยจึงได้ทำการเสนอแผนและผังแนวทางการปรับปรุงที่อยู่อาศัยที่เสนอให้บ้านมีการพัฒนาด้วยการแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน และการปรับปรุงพื้นที่การใช้งานภายนอกบ้าน โดยใช้แนวคิดการปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยประกอบกับการคำนวณค่าใช้จ่ายในการลงทุนเบื้องต้นในการปรับปรุงแต่ละส่วนของตัวบ้าน ทั้งนี้พบว่าค่าดำเนินการปรับปรุงบ้านในส่วนต่าง ๆ มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าความสามารถในการจ่ายของผู้อยู่อาศัย จึงมีการเสนอกระบวนการระดมทุนแบบกองทุน กลุ่มสหกรณ์ และการรับบริจาค รวมถึงการสร้างกลไกข้อตกลงระหว่างบ้านเพื่อของบสนับสนุนจากท้องถิ่น มุ่งเน้นให้เกิดความร่วมมือระดับชุมชนกับเครือข่ายหน่วยงานรัฐ เอกชน สถาบันการศึกษาให้เป็นโครงข่ายระดับเมือง ด้วยการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ การสร้างหลักสูตรและกิจกรรมเป็นตัวเชื่อมโยงให้เกิดเป็นย่านนวัตกรรมสร้างสรรค์ 4.0 ในอนาคต


การตัดสินใจเข้าร่วมมาตรการโครงการอีลิทเฟล็กซิเบิลวันของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในช่วงการแพร่ระบาด โควิด-19 พ.ศ.2564, สลิลลา จีระนันทกิจ Jan 2021

การตัดสินใจเข้าร่วมมาตรการโครงการอีลิทเฟล็กซิเบิลวันของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในช่วงการแพร่ระบาด โควิด-19 พ.ศ.2564, สลิลลา จีระนันทกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากสถานการณ์ใน พ.ศ.2563- 2564 การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะตลาดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ภาครัฐจึงมีแนวทางในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยการจัดทำโครงการอีลิทเฟล็กซิเบิลวัน (Elite Flexible One) งานวิจัยจึงมุ่งศึกษา บริษัทอสังหาริมทรัพย์ไทยที่มีการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ EFO ซึ่งมีบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำนวน 18 บริษัท ได้มีการแบ่งขนาดบริษัท 3 ขนาด ได้แก่ บริษัทขนาดใหญ่ บริษัทขนาดกลาง และบริษัทขนาดเล็ก ใช้การสัมภาษณ์บริษัทขนาดเล็ก 5 บริษัท โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันอย่างเป็นระบบและเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน แสดงความสำคัญ ของข้อมูลได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการอีลิทแฟล็คซิเบิลวันเพื่อนำไปสู่ข้อสรุป จากผลการศึกษาพบว่า 1) บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ EFO ด้วยแนวความคิด เพื่อตอบสนองมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เพื่อช่วยสนับสนุนยอดขาย เพื่อขยายฐานลูกค้าชาวต่างชาติ และ เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าวัยใกล้เกษียณตัดสินใจมาใช้ชีวิตในประเทศไทย 2) ลักษณะโครงการที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์นำโครงการเข้าร่วมโครงการ EFO บริษัทขนาดใหญ่และบริษัทขนาดเล็ก โครงการจะอยู่ในทําเลพระรามที่ 4 อโศกมนตรี สุขุมวิท ทองหล่อและเอกมัย และบริษัทขนาดเล็กโครงการอยู่ในทำเลย่านอโศก-พระราม 9 - รัชดาฯ- ห้วยขวาง ระดับราคาคล้ายคลึงกันทั้ง 3 ขนาด คือ Upper Class(100,000-150,000 บาท/ตร.ม.) ขนาดห้องนอน 1-2 ห้องนอนสัดส่วนที่มากที่สุด และปีที่โครงการสร้างแล้วเสร็จ บริษัทขนาดใหญ่ นำเข้าร่วมในปี 2564 บริษัทขนาดกลางและบริษัทขนาดเล็ก นำโครงการในปี 2563 3) การใช้การสื่อสารการตลาดบูรณาการเพื่อช่วยขายโครงการที่เข้าร่วม EFO ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ ได้แก่ บริษัทขนาดใหญ่จะมีการใช้การสื่อสารการตลาดบูรณาการในทุกด้านการตลาดออนไลน์ การประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมการขาย มากกว่าบริษัทขนาดกลาง และบริษัทขนาดเล็ก 4) ผลจากการเข้าร่วมโครงการ EFO ข้อดี ช่วยสนับสนุนยอดขาย และให้ความสะดวกสบายแก่ลูกค้าต่างชาติ ข้อจำกัด ราคา 10 ล้านบาทสูงเกินไป และบัตร EFO ไม่สามารถทำงานในประเทศไทยได้ ข้อเสนอแนะ อนุญาตให้บัตร EFO สามารถทำงานในประเทศไทยได้เนื่องจากกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติเป็นกลุ่มผู้ประกอบการและนักลงทุน …


กลยุทธ์การปรับตัวต่อสถานการณ์โควิด-19 ของผู้ประกอบการโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการสถานกักกันโรคแห่งรัฐทางเลือกระดับท้องที่ (Alq) ในจังหวัดภูเก็ต, มาริษา กุลพัฒนโสภณ Jan 2021

กลยุทธ์การปรับตัวต่อสถานการณ์โควิด-19 ของผู้ประกอบการโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการสถานกักกันโรคแห่งรัฐทางเลือกระดับท้องที่ (Alq) ในจังหวัดภูเก็ต, มาริษา กุลพัฒนโสภณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภูเก็ตถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่สร้างรายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวเป็นหลักและได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 การปรับตัวเข้าร่วมสถานกักกันโรคแห่งรัฐทางเลือกระดับท้องที่ หรือ Alternative Local Quarantine (ALQ) จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของธุรกิจโรงแรมในภูเก็ต โดยงานวิจัยนี้มุ่งศึกษากลยุทธ์การปรับตัวของโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการสถานกักกันโรคแห่งรัฐทางเลือกระดับท้องที่ (ALQ) ในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 28 แห่ง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเว็ปไซต์ของโรงแรมและเว็ปไซต์ OTA ตั้งแต่มกราคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2564 รวมถึงสัมภาษณ์ผู้ประกอบการโรงแรมกรณีศึกษา 4 แห่ง และวิเคราะห์เปรียบเทียบในประเด็นกลยุทธ์การปรับตัวจากการถอดเทปคำสัมภาษณ์เพื่อวิเคราะห์คำสำคัญ และนำไปสู่ข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า 1) เหตุสำคัญที่ผู้ประกอบการโรงแรมตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ALQ คือ เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับองค์กรและฟื้นฟูธุรกิจท่องเที่ยวในท้องถิ่น 2) ลักษณะของโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการ มีทำเลใกล้กับชายหาด มีความพร้อมทั้งสถานที่ บุคลากรและการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนโรงแรมให้เป็น ALQ 3) กลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการโรงแรมกรณีศึกษา นิยมเลือกใช้ในช่วงวิกฤต มีดังนี้ (1) การวางแผนการตลาด เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจ ด้วยการเข้าร่วมโครงการ ALQ และดำเนินธุรกิจแบบผสมหรือไฮบริด เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย และปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องกับภาวะวิกฤต และ นโยบายของรัฐ อาทิ การเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายหันมาเน้นชาวไทยจากโครงการเราเที่ยวด้วยกัน และ กลุ่มเข้าพักระยะยาวจากการกักตัว การลดราคาห้องพัก เฉลี่ยร้อยละ 29.5 (โรงแรมบริหารเครือข่าย ร้อยละ 44 และ โรงแรมบริหารอิสระ ร้อยละ 15) (2) การบริหารด้านการเงิน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับองค์กร ด้วยการ ปิดให้บริการชั่วคราว ร้อยละ 26.5 (โรงแรมบริหารเครือข่าย ร้อยละ 26 และ โรงแรมบริหารแบบอิสระ ร้อยละ 16) และการควบคุมต้นทุนด้านบุคลากร อาทิ การจ่ายเงินเดือนแบบยืดหยุ่นตามตำแหน่งและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย การงดรับพนักงานเพิ่มเติม และใช้การปรับเปลี่ยนตำแหน่งแทนการจ้างพนักงานใหม่ และ (3) การปรับปรุงด้านกายภาพใหม่ โดยแยกพื้นที่ให้บริการผู้กักตัว ALQ ออกจากพื้นที่อื่นอย่างชัดเจน ทั้งการแยกห้องพัก แยกอาคาร เพื่อให้บริการผู้กักตัวโดยเฉพาะ หรือ การใช้ฉากหรือรั้วกั้น เพื่อแบ่งพื้นที่การใช้งาน ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงลักษณะทางกายภาพของโรงแรมเป็นหลัก การกำหนดเส้นทางการสัญจรใหม่ โดยคำนึงถึงการปนเปื้อนของเชื้อโรคให้น้อยที่สุด …


การก่อสร้างบ้านโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปขนาดเล็ก ระหว่างปี พ.ศ.2563-2564: กรณีศึกษา 4 บริษัท, สุรเดช ผูกจีน Jan 2021

การก่อสร้างบ้านโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปขนาดเล็ก ระหว่างปี พ.ศ.2563-2564: กรณีศึกษา 4 บริษัท, สุรเดช ผูกจีน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันผู้พัฒนางานก่อสร้างได้คิดวิธีการก่อสร้าง เพื่อควบคุมระยะเวลาและคุณภาพของงานก่อสร้าง เช่น การก่อสร้างที่ใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูป รวมทั้งการก่อสร้างบ้านหรืออาคารสำเร็จรูปที่ผลิตจากโรงงาน หลังจากนั้นจึงขนส่งมาติดตั้งในพื้นที่ก่อสร้าง จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า มีผู้ประกอบการที่ผลิตบ้านสำเร็จรูปโดยใช้โครงสร้างเหล็กหลายราย โดยผู้ประกอบการรายใหญ่มีเครื่องจักรทันสมัย ผลิตบ้านสำเร็จรูปจากโรงงานและขนส่งมาติดตั้งประกอบเป็นบ้าน แต่ยังมีผู้ประกอบการบางรายที่ไม่มีเครื่องจักรที่ทันสมัย จึงทำให้วิธีการในการผลิต หรือเลือกใช้วัสดุในการผลิตบ้านสำเร็จรูปมีความแตกต่างกันและยังไม่มีมาตรฐานการก่อสร้างที่ชัดเจนโดยเฉพาะบ้านโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปขนาดเล็ก ดังนั้นจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา ขั้นตอนการประกอบและขั้นตอนติดตั้งบ้านโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปขนาดเล็ก โดยอาศัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสังเกต 4 บริษัทที่ดำเนินงานเป็นกรณีศึกษา จากการศึกษาพบว่า การดำเนินงานที่โรงงาน มีขั้นตอนการประกอบซึ่งแบ่งออกตามงานเป็น 8 ประเภท คือ งานโครงสร้างเหล็ก งานระบบ งานผนัง งานมุงหลังคา งานฝ้าเพดาน งานพื้น งานประตู-หน้าต่าง และงานห้องน้ำ แต่ละบริษัทใช้ระยะเวลา 9-18 วัน หรือคิดเป็นจำนวนชั่วโมงแรงงาน 262-576 ชั่วโมง-คน โดยพบว่าโครงสร้างจะเป็นเหล็กรูปพรรณที่มีขนาดต่างกัน ผนังมีการใช้ไฟเบอร์ซีเมนต์และแผ่น ISOWALL งานมุงหลังคาใช้ แผ่นเมทัลชีท แผ่น ISOWALLและแผ่น Shingle Roof ในการดำเนินงานในพื้นที่ก่อสร้าง มีขั้นตอนการติดตั้ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ งานฐานราก งานยกติดตั้งบ้าน งานห้องน้ำ และงานระบบ แต่ละบริษัทใช้ระยะเวลา 1-5 วันหรือคิดเป็นจำนวนชั่วโมงแรงงาน 25-101 ชั่วโมง-คน ดังนั้นระยะเวลารวมของขั้นตอนการประกอบและขั้นตอนการติดตั้งบ้านสำเร็จรูปโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปขนาดเล็ก จะมี 10 ประเภทงาน ใช้ระยะเวลา 10-23 วัน หรือจำนวนแรงงานทั้งหมด 312-617 ชั่วโมง-คน โดยการใช้วัสดุที่แตกต่างกันในส่วนงานผนังและงานมุงหลังคา ทำให้งานโครงสร้างเหล็กใช้ระยะและจำนวนแรงงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าโครงสร้างฐานรากมี 2 แบบ คือ เทพื้นคอนกรีตหล่อในที่และใช้เสาเข็มโดยบริษัทที่ใช้เสาเข็มจะยกพื้นสูงจากพื้นดิน ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะสมและการระบายน้ำสะดวกมากกว่าการเทพื้นคอนกรีตติดกับระดับดิน


การใช้พื้นที่ภายในบ้านและชุมชนก่อนและหลังกระบวนการบ้านมั่นคง : กรณีศึกษาโครงการบ้านมั่นคงไทยมุสลิมสามัคคี, พิมพ์กนก รินชะ Jan 2021

การใช้พื้นที่ภายในบ้านและชุมชนก่อนและหลังกระบวนการบ้านมั่นคง : กรณีศึกษาโครงการบ้านมั่นคงไทยมุสลิมสามัคคี, พิมพ์กนก รินชะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการบ้านมั่นคงเป็นกระบวนการพัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมโดยชุมชนเป็นแกนหลักในการพัฒนา ในกระบวนการออกแบบบ้านมั่นคง แบบบ้านต้องเหมาะสมกับความสามารถในการจ่ายของครัวเรือนและตอบสนองการใช้พื้นที่ของผู้อยู่อาศัยได้ ดีการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้พื้นที่ภายในบ้านของผู้อยู่อาศัยทั้งบ้านก่อนและหลังกระบวนการบ้านมั่นคง เพื่อนำไปสู่แนวทางในการออกแบบบ้านให้ตอบสนองการใช้พื้นที่ของผู้อยู่อาศัยมากยิ่งขึ้นโดยใช้กรณีศึกษาโครงการบ้านมั่นคงไทยมุสลิมสามัคคี จังหวัดปทุมธานี เพื่อศึกษากระบวนการบ้านมั่นคงและกระบวนการออกแบบบ้านแบบมีส่วนร่วม รูปแบบบ้านมั่นคงและการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ทั้งในบ้านก่อนและหลังกระบวนการบ้านมั่นคง โดยใช้การสัมภาษณ์ของผู้อยู่อาศัยเกี่ยวกับบ้านก่อนกระบวนการบ้านมั่นคงและสำรวจบ้านหลังกระบวนการบ้านมั่นคงจำนวน 32 กรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ในกระบวนการออกแบบบ้านมั่นคงมีการเก็บข้อมูลเฉพาะข้อมูลด้านครัวเรือนและศึกษาสภาพทั่วไปของบ้านก่อนกระบวนการบ้านมั่นคง แต่ไม่มีเก็บข้อมูลการใช้พื้นที่ในบ้านก่อนกระบวนการบ้านมั่นคงเพื่อนำมาใช้เป็นนข้อมูลประกอบในกระบวนการออกแบบบ้านมั่นคง เมื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ใน 3 ด้าน คือ 1) ลักษณะครัวเรือน พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงการประกอบอาชีพในพื้นที่บ้านเพิ่มขขึ้น , รายได้ครัวเรือนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในความสามารถในการจ่ายของรายได้ครัวเรือน 2) ลักษณะกายภาพของบ้านมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ (1) พื้นที่ที่มีขนาดเพิ่มขึ้น/เกินความต้องการ ได้แก่ ห้องนอน, พื้นที่อเนกประสงค์, พื้นที่หลังบ้านสำหรับซักผ้า/ตากผ้า/ประกอบอาหาร, (2) พื้นที่ที่มีขนาดลดลง/ขาดหายจากความต้องการ ได้แก่ ห้องน้ำ, พื้นที่หน้าบ้านสำหรับจอดรถ โดยทัศนคติความพึงพอใจต่อขนาดพื้นที่ใช้สอยโดยรวมเพิ่มขึ้นจากระดับพอใช้เป็นดีมาก พึงพอใจมากขึ้นในพื้นที่อเนกประสงค์และห้องนอน ในขณะที่ทัศนคติความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยต่อการออกแบบผังพื้นโดยรวมไม่มีการเปลี่ยนแปลงโดยอยู่ในระดับดี และมีพึงพอใจลดลงในพื้นที่หลังบ้าน, พื้นที่ประกอบอาหาร, พื้นที่หน้าบ้านสำหรับจอดรถและห้องน้ำ (3) การออกแบบพื้นที่ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้พื้นที่ ได้แก่ การเก็บของ, การจอดรถ, การละหมาดและการประกอบอาหาร และ 3) ลักษณะการใช้พื้นที่ พบว่าผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีการใช้พื้นที่ในระดับพื้น เช่น การนั่ง, การนอนและการกินบนพื้นบ้านทั้งในบ้านก่อนและหลังกระบวนการบ้านมั่นคง มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ที่ใช้ ได้แก่ การจอดรถยนต์จากใช้พื้นที่หน้าบ้านเป็นเช่าพื้นที่จอดรถนอกโครงการ , การละหมาดจากเดิมทำที่มัสยิดมาเป็นใช้พื้นที่อเนกประสงค์และห้องนอน และการประกอบอาหารจากใช้พื้นที่ระเบียงเป็นพื้นที่ต่อเติมหลังบ้าน โดยทัศนคติความพึงพอใจต่อการออกแบบพื้นที่ให้เอื้ออำนวยต่อการใช้สอยโดยรวมลดลงจากระดับดีเป็นพอใช้ ความพึงพอใจลดลงในพื้นที่หน้าบ้าน, ห้องน้ำ, หลังบ้านและประกอบอาหารและพบว่าเมื่อบ้านจากกระบวนการบ้านมั่นคงไม่สอดคล้องกับการใช้พื้นที่ผู้อยู่อาศัยจะปรับตัวใน 2 ลักษณะ คือ 1) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พื้นที่ เช่น ห้องน้ำขนาดลดลงใช้การจัดสรรเวลาการใช้และการเตรียมน้ำสำรอง, ห้องนอนขนาดเพิ่มขึ้นในชั้น 2 จนเกิดที่ว่างใช้สำหรับเก็บของและรีดผ้า / เก็บผ้า / แต่งตัว, พื้นที่ละหมาดไม่ได้มีการจัดเตรียมไว้จึงใช้พื้นที่อเนกประสงค์, เก็บของใช้พื้นที่บริเวณที่สูงเหนือศีรษะ, การใช้พื้นที่ระดับพื้น เช่น นั่งเล่น /พักผ่อน /รับแขก , กินอาหารและนอนจึงทำให้ต้องมีการทำความสะอาดถี่ขึ้น และ 2) ปรับเปลี่ยน/ดัดแปลง/ต่อเติมพื้นที่บ้านจากกระบวนการบ้านมั่นคง เช่น การประกอบอาหาร ต้องการมีลักษณะครัวไฟที่ระบายอากาศ/กลิ่นและแยกออกจากพื้นที่ใช้งานอื่นๆของบ้าน จึงต้องต่อเติมพื้นที่หลังบ้านใช้ร่วมกับการใช้เป็นพื้นที่ซักล้าง/ตากผ้า, ลักษณะบ้านที่ไม่มีชายคาไม่กันแดดลมฝน จึงต้องต่อเติมกันสาดบริเวณระเบียง / …


การรับรู้และจินตภาพของเมืองผ่านคนหลายช่วงวัย:กรณีศึกษา ย่านธุรกิจศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานคร, อรญา เพียรรักษ์การ Jan 2021

การรับรู้และจินตภาพของเมืองผ่านคนหลายช่วงวัย:กรณีศึกษา ย่านธุรกิจศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานคร, อรญา เพียรรักษ์การ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จินตภาพเมืองนั้นย่อมมีความแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมและสภาพทางกายภาพของแต่ละเมือง เมืองจึงต้องมีอัตลักษณ์และองค์ประกอบที่ชัดเจนจึงส่งผลให้เกิดการรับรู้และจดจำเกี่ยวกับเมืองได้มากขึ้น ซึ่งเมืองจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของช่วงเวลา เช่นเดียวกับมิติทางด้านสังคมของคนในแต่ละช่วงวัย (generation) ที่มีความแตกต่างกันทั้งมุมมองทางด้านสังคมและการใช้ชีวิตที่ส่งผลให้คนในแต่ละช่วงวัยเกิดมุมมองและรับรู้จินตภาพของเมืองในรูปแบบที่แตกต่างกันไป การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบจากทฤษฎีจินตภาพของเมือง (image of the city) และความรู้สึกที่มีต่อสถานที่ (sense of place) ที่มีผลต่อการรับรู้ย่านธุรกิจศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานครผ่านคนแต่ละช่วงวัย โดยนำแบบจำลองสมการโครงสร้าง (structural equation modeling: SEM) มาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล จากการศึกษาพบว่าปัจจัยจินตภาพของเมือง (image of the city) และปัจจัยความรู้สึกที่มีต่อสถานที่ (sense of place) มีอิทธิพลอย่างมากต่อภาพลักษณ์ที่เกิดจากการรับรู้ (cognitive image) ของในแต่ละช่วงวัยที่มีต่อเมือง โดยแบบจำลองสมการโครงสร้างการรับรู้จินตภาพของเมืองผ่านคนหลายช่วงวัยที่ได้ทำการพัฒนาขึ้นนั้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยองค์ประกอบของจินตภาพเมืองที่ทำให้เกิดการรับรู้ภาพลักษณ์เมืองมากที่สุด คือ เส้นขอบของย่าน (edge) รองลงมา คือ จุดศูนย์รวม (node) และจุดหมายตา (landmark) ในส่วนของความรู้สึกที่มีต่อสถานที่ที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ ความสุนทรียภาพภายในย่าน (aesthetic) รองลงมา คือ ความพึงพอใจในย่าน (satisfaction) และในการทดสอบความแตกต่างของความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ระหว่างช่วงวัย พบว่า มีความไม่แปรเปลี่ยนของแบบจำลองแต่จะมีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ที่แตกต่างกัน


องค์ประกอบและการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์วัฒนธรรม ในพื้นที่ทะเลน้อยและทะเลสาบสงขลา จังหวัดพัทลุง, ริณรนินณ์ สิริพันธะสกุล Jan 2021

องค์ประกอบและการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์วัฒนธรรม ในพื้นที่ทะเลน้อยและทะเลสาบสงขลา จังหวัดพัทลุง, ริณรนินณ์ สิริพันธะสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จังหวัดพัทลุงเป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ทั้งเขา ป่า นา และทะเลสาบน้ำจืดที่อุดมสมบูรณ์ ภายใต้ความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของมนุษย์ และธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว หรือ ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscape) ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบน้อยและทะเลสาบสงขลาศูนย์กลางอารยธรรมการประมงและเกษตรกรรมลุ่มน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของภาคใต้ที่อยู่คู่จังหวัดพัทลุงมาอย่างยาวนาน ในปัจจุบันภูมิทัศน์วัฒนธรรมในพื้นที่ดังกล่าวได้กลายมาเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดพัทลุงที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจ และได้สร้างปรากฏการณ์ความเปลี่ยนแปลงสำคัญทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้กับจังหวัดพัทลุงอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ประกอบบกับผลของการศึกษาผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และประเทศได้ชี้ให้เห็นว่าการศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมยังมีจำนวนไม่มากนัก โดยเฉพาะผลงานศึกษาที่ว่าด้วยแนวทางการศึกษาและรักษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่มุ่งเน้นสร้างความเข้าใจถึงระบบความสัมพันธ์อันก่อเกิดภูมิทัศน์วัฒนธรรมอย่างแท้จริง ด้วยความสำคัญของภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่มีต่อพื้นที่และช่องว่างของการศึกษาดังกล่าว จึงเป็นที่มาให้งานวิจัยฉบับนี้มีเป้าประสงค์หลัก 2 ประการ ประการแรกคือ การสร้างความเข้าใจต่อองค์ประกอบ ระบบความสัมพันธ์ และวิวัฒนาการของภูมิทัศน์วัฒนธรรมและแสวงหาแนวทางการรักษาและรับมืออย่างเหมาะสม ประการที่ 2 คือ การเสนอแนะแนวทางในการศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่สอดคล้องบริบทของพื้นที่ศึกษาและเป็นประโยชน์ต่อการนำไปต่อยอดทางการศึกษาและบริหารจัดการสืบไป โดยผลการศึกษาพบว่าปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นและแปรผันตลอดเวลาในสถานการณ์ปัจจุบันได้ส่งผลโดยตรงต่อการคงอยู่ของภูมิทัศน์วัฒนธรรมในจังหวัดพัทลุงและอาจนำมาสู่การสูญเสียภูมิทัศน์วัฒนธรรมในทะเลน้อยและทะเลสาบสงขลาในที่สุด อาทิปรากฎการณ์การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุของสังคมโลกที่ส่งผลต่อสังคมแรงงานในภาคการเกษตรและประมงซึ่งถือเป็นรายได้หลักของจังหวัดพัทลุง การหวนคืนสู่ถิ่นฐานของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หันมาให้ความสำคัญต่ออาชีพการบริการมากกว่าการต่อยอดหรือสืบสานอาชีพและวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของบ้านเกิด เป็นต้น


Evaluating The Impact Of Vertical Accessibility Performance To Bangkok Mass Transit Stations On The Travel Behavior Of Elderly Passengers, Yoon Ei Kyaw Jan 2021

Evaluating The Impact Of Vertical Accessibility Performance To Bangkok Mass Transit Stations On The Travel Behavior Of Elderly Passengers, Yoon Ei Kyaw

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Bangkok Mass Transit System (BTS) sky-train is one of Bangkok's primary public transit modes to alleviate traffic congestion among many daily users. Regarding urban mobility, inclusivity is crucial. According to a 2016 World Bank report, by 2040, more than a quarter of the Thai population will be 65 or older. If the elderly could move around the city with greater ease, they would be able to participate more in society and have access to health care regardless of their age. However, news and reports demonstrated the BTS sky train's limited accessibility for persons with limited mobility. In this study, …


Vacant Shophouse Buildings In Bangkok: The Root Causes And Strategic Options, Nabila Imam Jan 2021

Vacant Shophouse Buildings In Bangkok: The Root Causes And Strategic Options, Nabila Imam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Since the old-fashioned shophouse buildings cannot act in response to the urban sprawl and changing lifestyles of Bangkok, progressively they are converting into partially vacant buildings or sometimes they go off entirely unoccupied for an indefinite period of time. A noteworthy number of fully or partially vacant shophouse buildings can be found in every nook and corner of the city. These vacant shophouses act as the "voids" in the neighborhood, posing a threat to potential housing community development, economic opportunity, environmental health, and public safety within the city. However, these so-called "voids" might offer a great opportunity for the city …


กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กที่พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบในเขตกรุงเทพมหานคร, สุธาสินี สุวรรณวลัยกร Jan 2021

กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กที่พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบในเขตกรุงเทพมหานคร, สุธาสินี สุวรรณวลัยกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กเป็นกลุ่มธุรกิจที่ต้องเผชิญอุปสรรค ปัญหา และการแข่งขันกับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ แต่กลับเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีจำนวนมาก มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ และมีความสามารถในการแข่งขันสูง บทความนี้จึงมุ่งศึกษากลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ รวมถึงภูมิหลังองค์กร โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 4 บริษัท จำแนกเป็นบริษัทรูปแบบครอบครัว และบริษัทรูปแบบที่ไม่ใช่ครอบครัว และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์คำสำคัญและเปรียบเทียบ ผลการศึกษาพบว่า 1) บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กที่เน้นการพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครส่วนมากเป็นบริษัทอายุไม่เกิน 15 ปีซึ่งมีจำนวนสูงถึง 63.4% 2) จุดเริ่มต้นของธุรกิจขนาดเล็ก ได้แก่ การเล็งเห็นความเป็นไปได้ของตลาด การมีที่ดินเดิม การมีเงินทุน การมีภูมิหลังและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจ และความชื่นชอบในผลิตภัณฑ์บ้านแนวราบตามลำดับ 3) จากกรณีศึกษาพบว่าบริษัทรูปแบบครอบครัวมีทีมผู้บริหารที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติทั้งรูปแบบที่ไม่ได้มีการแบ่งหน้าที่ชัดเจน และรูปแบบที่แบ่งตามความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ส่วนบริษัทรูปแบบที่ไม่ใช่ครอบครัวมีทีมผู้บริหารแบ่งตามความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยความชำนาญที่พบร่วมกันอย่างมีนัยยะสำคัญ คือ การแบ่งหน้าที่เฉพาะด้านที่ดิน ด้านการตลาด และด้านการออกแบบก่อสร้าง 4) บริษัทรูปแบบครอบครัวและบริษัทรูปแบบที่ไม่ใช่ครอบครัวต่างมีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจและโครงสร้างองค์กรที่มีเอกลักษณ์ อยู่รอด และสร้างผลกำไรได้ 5) กลยุทธ์การแข่งขันบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กที่สำคัญ คือ กลยุทธ์ความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ (Differentiation) กลยุทธ์ความเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost Leadership) และกลยุทธ์การสนองความต้องการเฉพาะกลุ่ม (Focus) 6) ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทขนาดเล็กแข่งขันได้ คือ กลยุทธ์ความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ ซึ่งส่งผลให้สถาปัตยกรรมบ้านพักอาศัยในโครงการของบริษัทขนาดเล็กมีเอกลักษณ์ มีความโดดเด่นและแตกต่าง จนสามารถสร้างชื่อเสียง ดึงดูดผู้บริโภคสมัยใหม่ และปิดการขายได้อย่างรวดเร็ว งานวิจัยฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการดำเนินธุรกิจของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กรูปแบบครอบครัวและรูปแบบที่ไม่ใช่ครอบครัว หัวใจสำคัญคือการเลือกใช้กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่เหมาะสมกับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจและภูมิหลัง โดยเฉพาะด้านที่ดิน การตลาด การออกแบบ และการเงิน ซึ่งผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็ก และหน่วยงานที่กำหนดนโยบายส่งเสริมให้ธุรกิจขนาดเล็กมีความเข้มแข็งและมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดอสังหาริมทรัพย์ต่อไป


การจำแนกประเภทภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทย, เปรมพล ตั้งเจิดจ้า Jan 2021

การจำแนกประเภทภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทย, เปรมพล ตั้งเจิดจ้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภูมิทัศน์องค์กร (corporate landscape) เป็นรูปแบบภูมิสถาปัตยกรรมที่มีการใช้งานเป็นสำนักงานขององค์กรหรือสถานที่ทำงานของบุคลากรในองค์กร ในประเทศสหรัฐอเมริกาองค์กรธุรกิจชั้นนำหลายแห่งย้ายสำนักงานออกไปตั้งอยู่บริเวณชานเมือง พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการวางผังและออกแบบพื้นที่โครงการ จนเกิดเป็นภูมิทัศน์องค์กร โดยหลุยส์ โมซิงโก (Louise Mozingo) เรียกว่าพาสตอรัลแคปิตัลลิซึม (Pastoral Capitalism) และกล่าวว่าเป็นผลงานสร้างสรรค์ของอเมริกาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากความแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกาทำให้ทั่วโลกสนใจภูมิทัศน์องค์กรเช่นกัน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมโครงการภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทย 2) บ่งชี้แนวโน้มการพัฒนาภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทยทั้งในมิติเชิงเวลาและมิติเชิงพื้นที่ 3) บ่งชี้ประเภทภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทยและปัจจัยที่มีผลต่อการจำแนกประเภทดังกล่าว และ 4) อธิบายลักษณะการวางผังและออกแบบภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทย ผลการวิจัยพบภูมิทัศน์องค์กรที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันได้ทั้งสิ้น 46 โครงการ ในมิติเชิงเวลาพบว่ามีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงจากกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง สู่ธุรกิจการเงิน จนเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540 และฟื้นตัวด้วยอุตสาหกรรมบริการและธุรกิจนวัตกรรมและเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยพบว่าปัจจัยที่น่าจะส่งผลต่อแนวโน้มดังกล่าว ได้แก่ นโยบายเศรษฐกิจจากภาครัฐ สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ส่วนในมิติเชิงพื้นที่พบว่าภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทยกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นหลัก โดยพบว่าข้อจำกัดด้านกฎหมายผังเมือง นโยบายเศรษฐกิจ และการกระจุกตัวของเครือข่ายเศรษฐกิจน่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มดังกล่าว โดยสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่ องค์กรสถาน สถาบันองค์กร ภูมิทัศน์สำนักงานร่วม และภูมินิเวศย่านธุรกิจ ซึ่งพบว่าปัจจัยด้านลำดับขั้นการบริหารองค์กรที่มีการแบ่งเป็นฝ่ายต่าง ๆ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อการจำแนกประเภท นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งประเภทย่อยได้อีก 9 ประเภท ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยด้านความเป็นเจ้าของ ด้านทำเลที่ตั้ง ด้านขนาดพื้นที่ ด้านการกำหนดพื้นที่ใช้สอย และขอบเขตช่วงเวลา สามารถแบ่งเนื้อหาด้านการวางผังและออกแบบได้ 4 ประเด็น ได้แก่ สิ่งแวดล้อมและการเข้าถึง การกำหนดพื้นที่ใช้สอย ลักษณะการวางผัง และลักษณะการออกแบบภูมิทัศน์ โดยพบว่าไม่มีรูปแบบตายตัวซึ่งเป็นผลมาจากประเภทธุรกิจและภาพลักษณ์องค์กร ลำดับขั้นการบริหารจัดการองค์กร และลักษณะการออกแบบร่วมสมัย การวิจัยนี้นำมาซึ่งความเข้าใจพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อสาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรมและสาขาที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะสำหรับองค์กร ภูมิสถาปนิก นักออกแบบวางผัง และหน่วยงานรัฐ ในการพัฒนาแนวคิดและนโยบายเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของที่ทำงาน ซึ่งจะนำไปสู่การสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทยในแนวทางที่เหมาะสมต่อไป


การประเมินผังบริเวณตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข:กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชนในภาคกลาง ประเทศไทย, กุลนันทน์ สำราญใจ Jan 2021

การประเมินผังบริเวณตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข:กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชนในภาคกลาง ประเทศไทย, กุลนันทน์ สำราญใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากนโยบายพัฒนาระบบบริการสุขภาพและสถานบริการสุขภาพให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดมาตรฐานและแนวทางการพัฒนาสำหรับสถานบริการสุขภาพของกระทรวงขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผังบริเวณโรงพยาบาลชุมชนตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขและเกณฑ์ทางเลือก ศึกษาปัญหาและข้อจำกัดที่ทำให้การวางผังโรงพยาบาลชุมชนไม่เป็นไปตามมาตรฐาน โดยใช้วิธีสำรวจโรงพยาบาลชุมชนในภาคกลาง 3 กรณีศึกษาด้วยการประเมินผังบริเวณโดยมีตัวชี้วัด 5 หมวด ได้แก่ การจัดเขตการใช้ที่ดิน ระบบการสัญจร มวลอาคารและที่ว่าง พื้นที่เปิดโล่งและงานภูมิทัศน์ และงานระบบสาธารณูปโภค ทำการสอบถามผู้ใช้งานและสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงพยาบาล ผลการประเมินผังปัจจุบันพบว่า ตัวชี้วัดที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์กระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ หมวดระบบทางสัญจร หมวดมวลอาคารและที่ว่าง หมวดการจัดเขตการใช้ที่ดิน หมวดระบบสาธารณูปโภค และหมวดพื้นที่เปิดโล่งและงานภูมิทัศน์ สำหรับตัวชี้วัดที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ทางเลือก ได้แก่ หมวดระบบทางสัญจร หมวดพื้นที่เปิดโล่งและงานภูมิทัศน์ และหมวดงานระบบสาธารณูปโภค สอดคล้องกับความเห็นของผู้ใช้งานจากการตอบแบบสอบถามที่ต้องการทางเดินเท้า พื้นที่จอดรถและพื้นที่ใช้งานนอกอาคาร ด้านปัญหาและข้อจำกัดจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงพยาบาลพบว่า เกณฑ์มีการประกาศใช้ภายหลังจากการก่อสร้างโรงพยาบาลและการเผยแพร่ยังทำได้ไม่ทั่วถึง การขยายตัวของโรงพยาบาลไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ รวมไปถึงการขาดองค์ความรู้สำหรับการบริหารจัดการกายภาพและผังบริเวณ ขาดการกำกับติดตามดูแลผังให้เป็นไปตามข้อกำหนดและกฎหมาย และงบประมาณที่มีจำกัดทำให้โรงพยาบาลชุมชนไม่ได้พัฒนากายภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน


การเปลี่ยนแปลงของภูมินิเวศแม่น้ำ: กรณีศึกษา แม่น้ำปิง บริเวณเขตเมืองและปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม่, สิรินทรา สุมนวรางกูร Jan 2021

การเปลี่ยนแปลงของภูมินิเวศแม่น้ำ: กรณีศึกษา แม่น้ำปิง บริเวณเขตเมืองและปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม่, สิรินทรา สุมนวรางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภูมินิเวศแม่น้ำเป็นพื้นฐานของระบบสังคมของมนุษย์ที่เกิดขึ้น โดยมี “การบริการเชิงนิเวศ” เป็นตัวชี้วัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ทั้งการตั้งถิ่นฐาน อุปโภคบริโภค การต่อยอดเป็นวิถีการดำรงชีพ การกำหนดรูปแบบทางสังคมและแหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรมของมนุษย์ ตลอดจนการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแม่น้ำของมนุษย์ โดยในปัจจุบัน การพัฒนาเปลี่ยนแปลงแม่น้ำที่เกิดขึ้น มีความไม่สอดคล้องกับพลวัตตามธรรมชาติของภูมินิเวศแม่น้ำที่มีอยู่เดิม ทำให้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อทั้งภูมินิเวศ ระบบนิเวศ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ การศึกษาความเปลี่ยนแปลงของภูมินิเวศแม่น้ำปิง มีจุดประสงค์เพื่อทำความเข้าใจ และเพื่อให้สามารถนิยามถึงภูมินิเวศแม่น้ำทั้งในมิติเชิงโครงสร้าง กระบวนการ บทบาทหน้าที่ที่เป็นพื้นฐานของการดำรงชีพมนุษย์ ตลอดจนบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของภูมินิเวศ ที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ โดยในวิทยานิพนธ์จะใช้พื้นฐานความรู้เรื่องภูมินิเวศวิทยา และภูมินิเวศแม่น้ำเป็นหลัก และทำการวิเคราะห์โครงสร้างกายภาพด้วยการทำแผนที่จำแนกสิ่งปกคลุมผิวดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ กับการศึกษาเปรียบเทียบจากภาพถ่ายภาคพื้นในมุมมองใกล้เคียงกับภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์สภาพและอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนภูมินิเวศแม่น้ำปิงในบริเวณเมืองเชียงใหม่และพื้นที่ข้างเคียง โดยผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะของภูมินิเวศแม่น้ำปิงทั้งในด้านโครงสร้างและพลวัตของแม่น้ำ ซึ่งเป็นพื้นฐานการดำรงชีวิตของคนในพื้นที่ รวมทั้งรูปแบบการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่มนุษย์ได้รับจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแม่น้ำปิงในปัจจุบัน


แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์สุสานจีนในเขตชั้นในกรุงเทพมหานคร, ศุภณัฐ อรุโณประโยชน์ Jan 2021

แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์สุสานจีนในเขตชั้นในกรุงเทพมหานคร, ศุภณัฐ อรุโณประโยชน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สุสานจีนในเขตพื้นที่ชั้นในกรุงเทพมหานคร คือภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานของชาวจีนโพ้นทะเลในกรุงเทพมหานครนับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 อย่างไรก็ตามจากการขยายตัวของเมืองในปัจจุบัน และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการใช้งานพื้นที่ ทำให้สุสานจีนถูกลดบทบาทความสำคัญลง วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาลักษณะทางกายภาพ ประวัติศาสตร์ และสังคมที่เกี่ยวข้องกับภูมิทัศน์สุสานจีนจำนวน 7 แห่งที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ในเขตบางรัก เขตสาทร และเขตบางคอแหลม ได้แก่ (1) สุสานจีนบาบ๋า (2) สุสานฮกเกี้ยน (3) สุสานจีนแคะ ถนนสีลม (4) สุสานแต้จิ๋ว (5) สุสานจีนแคะ ตรอกจันทน์ (6) สุสานสมาคมเจียงเจ้อ และ (7) สุสานกวางตุ้ง ด้วยวิธีการสืบค้นข้อมูลจากภาคเอกสาร ภาพถ่ายทางอากาศเก่า แผนที่เก่า การลงสำรวจพื้นที่ และการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินคุณค่า ตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพเพื่อเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาสุสานจีนแต่ละแห่ง ผลการวิจัยพบว่าสุสานจีนทั้ง 7 แห่งมีคุณค่า ศักยภาพและปัญหาที่แตกต่างกันออกไป สามารถทำการวิเคราะห์และเสนอแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาได้เป็น 3 แนวทาง ได้แก่ (1) อนุรักษ์ในสภาพเดิม เพื่อรักษาเอกลักษณ์และคุณค่าเดิมของพื้นที่ (2) พัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์ หรือพื้นที่การเรียนรู้วัฒนธรรมของกลุ่มเชื้อสายจีน และ (3) พัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะให้กับชุมชนโดยรอบ โดยควรให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ผังบริเวณเดิม การอนุรักษ์ หรือบูรณะองค์ประกอบหลักที่มีคุณค่าและยังคงมีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง การก่อสร้างอาคารหลักขึ้นใหม่ การฟื้นฟูและการปรับประโยชน์การใช้สอยพื้นที่ว่างในพื้นที่ส่วนกลาง หรืออาคารหลักในส่วนบริการ เพื่อรองรับกิจกรรมทางการศึกษาและสังคมแก่บุคคลทั่วไป การอนุรักษ์และปรับปรุงงานภูมิทัศน์ และการควบคุมทัศนียภาพเมืองโดยรอบ นอกจากนี้ควรส่งเสริมมาตรการจูงใจให้หน่วยงานรัฐและประชาชนโดยรอบตระหนักถึงคุณค่าภูมิทัศน์วัฒนธรรมของสุสานจีน


Social Capital And Myanmar Urban Migrant Workers’ Job Seeking In Thailand During The Covid-19 Pandemic, Andrew Wai Phyo Kyaw Jan 2021

Social Capital And Myanmar Urban Migrant Workers’ Job Seeking In Thailand During The Covid-19 Pandemic, Andrew Wai Phyo Kyaw

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

During the COVID-19 pandemic, many production sectors in Thailand encountered economic difficulties. The economic impacts of the pandemic have affected all people in the economy, including migrant workers. Especially urban migrant workers might have been the most affected by the pandemic. They have faced insecure livelihoods caused by losing jobs, loss of income, and difficulties in finding new jobs. Myanmar workers are the largest population among migrant labor forces in Thailand. Various literature shows that social capital has always been supportive as a valuable and critical resource contributing to well-being, especially during times of crisis and socio-economic change. So, urban …


The Impact Of Tourism On Urban Renewal Through Stakeholders’ Perspective: A Case Of Post-Earthquake Urban Renewal In Kathmandu Valley In The Wake Of Covid 19, Shitu Maharjan Jan 2021

The Impact Of Tourism On Urban Renewal Through Stakeholders’ Perspective: A Case Of Post-Earthquake Urban Renewal In Kathmandu Valley In The Wake Of Covid 19, Shitu Maharjan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In an increasingly urbanized world, there is a growing awareness of the impact of disasters in urban environments and of the complex challenges in rebuilding urban areas following large-scale disasters (Daly, et al., 2017). A magnitude 7.8 earthquake and its subsequent aftershocks struck Nepal almost seven years ago on April 25, 2015, triggering a huge humanitarian disaster. The earthquake caused significant socioeconomic destruction, from which the country is yet to recover. The initial years of post-earthquake rehabilitation were slow; eventually, it picked up speed and accomplished some important reconstruction in historic sites. However, not all locations received the same amount …


Planning For The 'Displaced': Evaluating Resettlement Work Plans Of The Thilawa Special Economic Zone, Yangon, Myanmar, Thu Htet Jan 2021

Planning For The 'Displaced': Evaluating Resettlement Work Plans Of The Thilawa Special Economic Zone, Yangon, Myanmar, Thu Htet

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to study the discrepancies in the previous urban resettlement planning project as a case study, and examine how they can be improved through planning and public policies. In doing so, the research evaluates the previous resettlement plans of an urban development project by using different sets of resettlement practices disclosed by different international development organizations. This research answers two research questions: What insufficiencies are observed in urban resettlement planning by evaluating the previous resettlement plans? and How can urban resettlement planning be more effective? by exploring the resettlement plans of Thilawa SEZ as a single case-study using …