Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2018

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 76

Full-Text Articles in Architecture

สภาพการอยู่อาศัยของผู้ค้าแผงลอยอาหารในย่านเยาวราช, นนธวัช วรมงคลชัย Jan 2018

สภาพการอยู่อาศัยของผู้ค้าแผงลอยอาหารในย่านเยาวราช, นนธวัช วรมงคลชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เยาวราชเป็นแหล่งแผงลอยอาหารกลางคืนที่มีชื่อเสียง และมีรูปแบบการค้านอกระบบที่มีการประกอบอาชีพเชื่อมโยงกับที่พักอาศัย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการอยู่อาศัยของผู้ค้าแผงลอยอาหารบนถนนเยาวราชเป็นกรณีศึกษา รวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจและสัมภาษณ์ กระบวนการประกอบอาชีพแผงลอยอาหาร สภาพสภาพสังคม เศรษฐกิจ และที่อยู่อาศัย ของผู้ค้าแผงลอยอาหารแบบมีโครงสร้าง จำนวน 93 ตัวอย่าง ร่วมกับการสำรวจที่พักอาศัยของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 25 ตัวอย่าง เพื่อศึกษาการอยู่อาศัยและการใช้พื้นที่ประกอบอาชีพร่วมกับการอยู่อาศัย และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงปริมาณและพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1). ผู้ค้าแผงลอยอาหารที่เป็นเจ้าของกิจการ ประกอบอาชีพและอยู่อาศัยในย่านเยาวราชมานานกว่า 20 ปี ซึ่งมีมากถึงร้อยละ 62.4 และเป็นกลุ่มคนที่สืบทอดธุรกิจจากรุ่นพ่อแม่ ขณะที่ร้อยละ 37.6 เป็นกลุ่มคนต่างถิ่นย้ายเข้ามาทำการค้าในย่านเยาวราชมากขึ้น 2). ผู้ค้าแผงลอยอาหารส่วนใหญ่พักอาศัยในอาคารพาณิชย์ ห้องเช่าและทาวน์เฮาส์ ตามลำดับ ซึ่งตั้งอยู่ในรัศมีไม่เกิน 1 กิโลเมตรจากแหล่งประกอบอาชีพแผงลอยอาหาร ส่วนลูกจ้างพักอาศัยอยู่ระยะห่างไม่เกิน 1 กิโลเมตรจากย่านเยาวราช 3). ผู้ค้าแผงลอยอาหารใช้ที่พักอาศัยเพื่อทั้งการอยู่อาศัยและจัดเตรียมอาหารเพื่อไปขายที่แผงลอยที่เยาวราช โดยส่วนใหญ่ใช้พื้นที่เปิดโล่งของอาคารสำหรับการจัดเตรียมและปรุงอาหาร ทั้งนี้พบว่าอาคารพาณิชย์และห้องเช่า มีพื้นที่เปิดโล่งไม่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพ ทำให้มีการใช้พื้นที่อเนกประสงค์ภายในอาคารในการจัดเตรียมอาหารเพื่อการค้าและการอยู่อาศัยร่วมกัน แต่ปรับเปลี่ยนตามเวลาใช้งาน รวมถึงมีการใช้พื้นที่นอกอาคารที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะ เช่น หน้าห้อง ทางเดิน ในการจัดเตรียมอาหาร ในขณะที่ทาวน์เฮาส์มีพื้นที่แยกส่วนระหว่างการอยู่อาศัยและการประกอบอาชีพอาหาร งานวิจัยนี้จะนำไปสู่ความเข้าใจสภาพการอยู่อาศัย สภาพสังคม เศรษฐกิจ และกระบวนการประกอบอาชีพของผู้ค้าแผงลอยอาหารในย่านเยาวราช สามารถเป็นแนวทางให้ภาครัฐ นักพัฒนา และผู้ค้าแผงลอยอาหาร ในการนำข้อเสนอแนะการจัดการพื้นที่ประกอบอาชีพทั้งบริเวณแผงลอย และที่พักอาศัย ไปใช้ให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดสุขอนามัยและความปลอดภัยทั้งการอยู่อาศัยและการประกอบอาชีพอาหารแผงลอยต่อไป


การปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี (หลังเก่า), ชาลิสา บุญมณี Jan 2018

การปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี (หลังเก่า), ชาลิสา บุญมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี (หลังเก่า) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากร ในปี พ.ศ. 2524 จากการขยายตัวของเมืองส่งผลให้ทัศนียภาพโดยรอบโบราณสถานแห่งนี้สูญเสียคุณค่าด้านความงามทางภูมิทัศน์ไปอย่างรวดเร็ว วิทยานิพนธ์นี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอแนวทางการปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์ของศาลากลางแห่งนี้ โดยจากการวิเคราะห์และประเมินคุณภาพเชิงทัศน์พบว่าจุดมองสำคัญของโบราณสถานแห่งนี้มีจำนวน 5 จุด และได้นำเสนอแนวทางการออกแบบปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์ของจุดมองดังกล่าวออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการจัดระเบียบ รูปแบบเรขาคณิต และรูปแบบสวนสาธารณะ จากนั้นจึงได้สร้างภาพจำลองแสดงการปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์ของแต่ละจุดมองตามแนวทางดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้เป็นภาพตัวแทนภูมิทัศน์สำหรับการประเมินคุณภาพเชิงทัศน์ของจุดมองภายหลังการปรับปรุงในแบบสอบถาม โดยผู้ตอบแบบสอบถามแบ่งออกเป็นกลุ่มคนทั่วไป คนในพื้นที่ และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบภูมิทัศน์ จำนวนกลุ่มละ 40 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบสวนสาธารณะเป็นแนวทางที่ได้รับการประเมินว่ามีความสวยงามสูงที่สุด รองลงมาคือรูปแบบเรขาคณิตและรูปแบบการจัดระเบียบตามลำดับ โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบภูมิทัศน์มักประเมินความสวยงามของภาพตัวแทนภูมิทัศน์ต่ำกว่ากลุ่มคนทั่วไปและคนในพื้นที่ ดังนั้นจึงนำเสนอว่าการปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี (หลังเก่า) ด้วยการออกแบบภูมิทัศน์ในรูปแบบสวนสาธารณะ ประกอบกับการลดพื้นที่ดาดแข็งและเพิ่มพื้นที่ปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มความร่มรื่น การจัดแบ่งพื้นที่เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการพักผ่อนหย่อนใจหรือการออกกำลังกายสำหรับคนทุกเพศ ทุกวัย จะสามารถช่วยส่งเสริมความงามของภูมิทัศน์เมืองและเพิ่มคุณค่าของโบราณสถานแห่งนี้อีกด้วย


แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์สำหรับโบราณสถานเขาศรีวิชัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี, เพชรรัตน์ เมืองสาคร Jan 2018

แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์สำหรับโบราณสถานเขาศรีวิชัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี, เพชรรัตน์ เมืองสาคร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โบราณสถานเขาศรีวิชัย อำเภอ พุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานที่ที่มีคุณค่าความสำคัญทางประวัติศาสตร์และศาสนา เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ซึ่งกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479 เริ่มทำการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี พ.ศ. 2541 พบว่าโบราณสถานบนยอดเขาศรีวิชัยมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ ปัจจุบันกรมศิลปากรขุดค้นไปได้ประมาณร้อยละ 80 เหลือแต่เพียงการบูรณะโบราณสถาน งานวิจัยนี้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีเขาศรีวิชัย สังคม และวัฒนธรรม เพื่อทราบถึงความสำคัญของพื้นที่โบราณสถานเขาศรีวิชัย นำมาเสนอแนวทางในการอนุรักษ์ภูมิทัศน์สำหรับโบราณสถานเขาศรีวิชัย จากนั้นลงพื้นที่ด้วยวิธีการสำรวจลักษณะทางกายภาพบริเวณเขาศรีวิชัย และสัมภาษณ์ประชาชนและหน่วยงานในท้องถิ่น เพื่อทราบถึงศักยภาพและปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่และแก้ไขปัญหาต่อไป วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์สำหรับโบราณสถานเขาศรีวิชัย สามารถสรุปเป็นแนวทางได้ดังนี้ 1) กำหนดแนวกันชนพื้นที่บริเวณโบราณสถาน 2) ขุดลอกคลองเดิมเพื่อให้การระบายน้ำในพื้นที่ดีขึ้น 3) พัฒนาเส้นทางการเข้าถึง 4) กำหนดเขตพื้นที่ห้ามก่อสร้างอาคารที่มีผลกระทบต่อมุมมองและควบคุมการก่อสร้างอาคาร 5) เสนอแนวทางการจัดการพื้นที่อำนวยความสะดวกเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในอนาคต เพื่อรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์และลักษณะภูมิทัศน์วัฒนธรรมของพื้นที่นี้ให้คงอยู่ต่อไป


การระบุขอบเขตพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงและความสัมพันธ์ระหว่างพลวัตของภูมิทัศน์กับการปรับตัวของมนุษย์ : กรณีศึกษาลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลาง, เกษมพันธุ์ แก้วธำรงค์ Jan 2018

การระบุขอบเขตพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงและความสัมพันธ์ระหว่างพลวัตของภูมิทัศน์กับการปรับตัวของมนุษย์ : กรณีศึกษาลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลาง, เกษมพันธุ์ แก้วธำรงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบภูมินิเวศของพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง โดยเป็นพื้นที่ที่มีพลวัต ความหลากหลายเชิงนิเวศ และความอุดมสมบูรณ์ อันเป็นผลมาจากพลวัตน้ำหลาก ซึ่งให้ประโยชน์แก่มนุษย์ในรูปแบบของการบริการเชิงนิเวศทั้งการเป็นแหล่งผลิตทรัพยากรพื้นฐาน และการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจชุมชน โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการสำรวจระยะไกลด้วยภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อ (1) ระบุขอบเขตของพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงแม่น้ำมูลตอนกลางเพื่อบ่งชี้ลักษณะพลวัตน้ำหลากของพื้นที่ จากลักษณะทางธรณีสัณฐาน และลักษณะเชิงอุทกวิทยา (2) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของลักษณะสิ่งปกคลุมผิวดินจากอดีตถึงปัจจุบันจากการจำแนกสิ่งปกคลุมผิวดิน ร่วมกับการลงพื้นที่สำรวจชุมชนดั้งเดิม เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพลวัตน้ำหลากกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์โดยมนุษย์ที่ส่งผลกระทบทางลบต่อการบริการเชิงนิเวศ ผลการศึกษาพบว่ามนุษย์ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลางมีความสามารถในการปรับตัวอย่างยืดหยุ่นเพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงภายใต้เงื่อนไขของพลวัตน้ำหลาก จากการเลือกที่ตั้งชุมชนที่อยู่นอกเขตพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงเพื่อหลีกเลี่ยงน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และใช้ประโยชน์อย่างสอดคล้องกับพลวัตน้ำหลากจากพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงในฐานะแหล่งทรัพยากรของชุมชนที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดปี ซึ่งมีรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันทั้งพื้นที่ และช่วงเวลา นอกจากนั้นการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เกษตรในพื้นที่ราบน้ำท่วม และการดัดแปลงโครงสร้างของแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อเพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำ และป้องกันผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้แหล่งทรัพยากรของชุมชนมีพื้นที่ลดลง และระบบนิเวศเสียหายจนไม่สามารถให้บริการเชิงนิเวศได้เหมือนเช่นเคย ส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ และระบบเศรษฐกิจชุมชนในชนบทที่พึ่งพิงการบริการเชิงนิเวศจากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ


การวิเคราะห์โครงสร้างและพลวัตที่ราบลุ่มสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา, วรเมธ ศรีวนาลักษณ์ Jan 2018

การวิเคราะห์โครงสร้างและพลวัตที่ราบลุ่มสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา, วรเมธ ศรีวนาลักษณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่ราบลุ่มสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นภูมิทัศน์ที่เกิดจากกระบวนการธารน้ำ (Fluvial Process) การสะสมของตะกอนแม่น้ำจนเกิดเป็นที่ราบกว้าง ตะกอนเหล่านี้มากับน้ำหลากและท่วมขังเต็มที่ราบลุ่มสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงฤดูฝน เมื่อสิ้นฤดูฝนและน้ำที่ไหลหลากมาจากพื้นที่ตอนบนลดลง น้ำในที่ราบลุ่มสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยาจะลดลงและแห้งไป มีลักษณะเป็นที่ราบน้ำท่วมตามฤดูกาล น้ำที่หลากสู่ที่ราบลุ่มสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยานั้นทำให้เกิดการทับถมของตะกอนแม่น้ำนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ แต่ในปัจจุบันการพัฒนาต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนที่ราบลุ่มสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น การขยายตัวของเมือง การสร้างโครงสร้างป้องกันน้ำท่วมจากแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงการทำระบบชลประทานทำให้ระบบน้ำ (Water Regime) ของพื้นที่เปลี่ยนไป วิทยานิพนธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างเชิงภูมิทัศน์และการเปลี่ยนแปลงของที่ราบลุ่มสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และการแปลตีความข้อมูลจากดาวเทียวด้วยสายตา เพื่อบ่งชี้ถึงผลของการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อหน้าที่เชิงภูมิทัศน์ของที่ราบลุ่มสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา จากการวิจัยพบว่าสิ่งปลูกสร้างมีการขยายตัวออกไปยังพื้นที่นาซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำที่ทำหน้าที่รับน้ำหลากในช่วงฤดูน้ำหลาก อีกทั้งการพัฒนาต่างๆ เช่น การพัฒนาระบบชลประทานทำให้พื้นที่แยกออกเป็นส่วน พื้นที่ที่เคยเป็นที่อยู่ของน้ำในฤดูน้ำหลากลดน้อยลง ส่งผลทำให้น้ำหลากกลายเป็นปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบัน ดังนั้นการพัฒนาเมืองในที่ราบลุ่มสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยานั้นสิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ พื้นที่รับน้ำหลาก และเมืองควรให้น้ำไหลผ่านได้


พัฒนาการสถาปัตยกรรมสนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ ช่วงพุทธศักราช 2477-2509, ปัณฑารีย์ วิรยศิร Jan 2018

พัฒนาการสถาปัตยกรรมสนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ ช่วงพุทธศักราช 2477-2509, ปัณฑารีย์ วิรยศิร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาพัฒนาการสถาปัตยกรรมสนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ มุ่งวิเคราะห์และอธิบายพัฒนาการสถาปัตยกรรมและปัจจัยที่ก่อให้เกิดพัฒนาการสถาปัตยกรรมของสนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ ผ่านการศึกษาลักษณะขององค์ประกอบทางกายภาพ โดยการรวบรวมหลักฐานชั้นต้นจากหลายแหล่งข้อมูล ทั้งแบบสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย และเอกสารลายลักษณ์ จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จากนั้นจึงวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงและลำดับพัฒนาการการออกแบบและก่อสร้าง ในช่วงพ.ศ. 2477 – 2509 โดยศึกษาในบริบททางประวัติศาสตร์ ทั้งในระดับเมือง ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ จากการศึกษาพัฒนาการสถาปัตยกรรมสนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติช่วงพุทธศักราช 2477-2509 ทำให้สามารถระบุได้ว่า ตลอดระยะเวลา 32 ปี สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ มีพัฒนาการทั้งในด้านการออกแบบและพัฒนาการทางกายภาพ ซึ่งสามารถจำแนกช่วงเวลาของพัฒนาการสถาปัตยกรรมแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงคือ (1) ช่วงริเริ่มโครงการระหว่างปี พ.ศ.2477-2479 (2) ช่วงก่อสร้างอาคาร ระหว่างปีพ.ศ. 2480-2484 และ (3) ช่วงใช้งานและปรับปรุงต่อเติมอาคาร ระหว่างปีพ.ศ.2485-2509 โดยปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในแต่ละช่วงเวลา ได้แก่ การสถาปนากิจการพลศึกษาของไทย บทบาทของการจัดการแข่งขันกีฬาต่อการสร้างชาติ และการจัดการแข่งขันกีฬาเพื่อเพิ่มบทบาทของชาติไทยในระดับนานาชาติ ผลการศึกษายังสามารถจำแนกองค์ประกอบสถาปัตยกรรมตามช่วงเวลาในการออกแบบออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นตามแบบของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (2) องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในตำแหน่งที่พระสาโรชรัตนนิมมานก์กำหนด แต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบไป (3) องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ไม่สอดคล้องกับแบบของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ โดยผลการศึกษาดังกล่าวจะเป็นฐานข้อมูลเชิงวิเคราะห์รูปแบบและแนวคิดทางสถาปัตยกรรมของสนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ และเป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายในการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมสนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ และองค์ประกอบทางกายภาพที่เกี่ยวข้องในอนาคต


การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมด้วยความยืดหยุ่นของชุมชน กรณีศึกษา : หมู่บ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่, ธีรเนตร เทียนถาวร Jan 2018

การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมด้วยความยืดหยุ่นของชุมชน กรณีศึกษา : หมู่บ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่, ธีรเนตร เทียนถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษา "ภูมิทัศน์วัฒนธรรม" ร่วมกับ "ความยืดหยุ่นของชุมชน" สร้างความเข้าใจในเรื่องการใช้ทรัพยากรในการปรับตัวของพื้นที่ โดยแนวคิดภูมิทัศน์วัฒนธรรมจะสร้างความเข้าใจในเรื่องคุณค่า ในขณะที่แนวคิดความยืดหยุ่นของชุมชนจะใช้ในการพิจารณาความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์วัฒนธรรมโดยอาศัยกรอบความยืดหยุ่นของชุมชน พิจารณากลไกและทุนที่ชุมชนใช้เป็นฐานในการปรับตัว รวมทั้งวิเคราะห์การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม ผลจากการปรับตัวที่เกิดขึ้นกับสถานที่ทางวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงคุณค่าและความแท้ และปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลต่อความยั่งยืนของภูมิทัศน์วัฒนธรรม เพื่อเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดการพื้นที่ งานวิจัยฉบับนี้ได้เลือกศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมแม่กำปอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่ได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยว โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ศึกษาข้อมูลภาคเอกสาร การสำรวจภาคสนาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำมาวิเคราะห์ตามทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง ผลจากการวิจัยพบว่า ชุมชนแม่กำปองมีความสามารถในการปรับตัวอย่างต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ชุมชนมีความยืดหยุ่นทั้งในระดับกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ ระดับปรับตัวไปสู่สภาพที่ดีขึ้น และระดับแปรเปลี่ยนไปสู่สภาพใหม่ ซึ่งชุมชนแม่กำปองได้มีการเปลี่ยนแปลงการให้คุณค่าและความหมายต่อสภาพแวดล้อมและเปลี่ยนไปสู่สภาพใหม่ในลักษณะ "ผู้ประกอบกิจการภายใน" ในเรื่องการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม พบว่าองค์กรชุมชนทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดการหลักระหว่างกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย ภาครัฐและสถาบันการศึกษา ผู้ประกอบกิจการเครื่องเล่นซิปไลน์จากบริษัทต่างประเทศ ผู้ประกอบกิจการภายนอก และผู้ประกอบกิจการภายใน โดยองค์กรชุมชนได้นำฐานทรัพยากรทางสังคมวัฒนธรรมมาเป็นกลไกในการจัดการพื้นที่ ได้แก่ กฎชุมชน โครงสร้างสังคม องค์ความรู้และความเชื่อดั้งเดิม ทั้งนี้ การวิจัยพบว่าการสร้างสรรค์และต่อยอดฐานทรัพยากรจากองค์ความรู้เชิงเกษตรกรรมดั้งเดิม ที่ผสมผสานไปกับความรู้และทักษะใหม่ สามารถคงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและสภาพแวดล้อม และทำให้เกิดนวัตกรรมในการจัดการพื้นที่ ซึ่งนอกจากเป็นการรักษาฐานทรัพยากรเดิม การคงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและสภาพแวดล้อมไว้ได้นั้น ยังเป็นแก่นแท้ของการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม จากผลการศึกษาดังกล่าว งานวิจัยฉบับนี้จึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ หากพื้นที่มีการเพิ่มความหนาแน่นและขยายตัวของกลุ่มบ้าน ชุมชนควรมีการวางแผนการจัดการใช้ประโยชน์ของพื้นที่อย่างรอบคอบ หากชุมชนเสียโอกาสที่จะได้รับความรู้และทักษะใหม่จากการจำกัดกลุ่มคนภายนอก ชุมชนควรมีการเปิดรับการเรียนรู้จากแหล่งอื่นอย่างต่อเนื่อง และหากภูมิทัศน์วัฒนธรรมมีแนวโน้มที่จะสูญเสียคุณค่าและความแท้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กรชุมชนควรสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรทางวัฒนธรรมให้กับชุมชน ซึ่งถือเป็นฐานทรัพยากรในการปรับตัวที่สำคัญ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางวัฒนธรรม


การปรับปรุงอาคารสู่การใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ กรณีศึกษา แบบมาตรฐานอาคารสำนักงานราชการ, ศรัณย์ ตันรัตนาวงศ์ Jan 2018

การปรับปรุงอาคารสู่การใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ กรณีศึกษา แบบมาตรฐานอาคารสำนักงานราชการ, ศรัณย์ ตันรัตนาวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงานภายในอาคารสำนักงานโดยรวมสุทธิให้เท่ากับศูนย์ (Net Zero Energy Building) ศึกษาผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Building Energy Code (BEC) Ver 1.0.6 แนวทางในการปรับปรุงที่สามารถทำให้การใช้พลังงานโดยรวมภายในอาคารเท่ากันศูนย์(Net zero energy building) คือ 1) ใช้ฉนวนใยแก้วความหนาแน่น 32 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (กก./ลบ.ม.) ขนาด 50 มิลลิเมตรที่ผนังทึบ 2) กระจกสะท้อนแสงสีเขียว ขนาด 6 มิลลิเมตร มีค่าการส่งผ่านความร้อน (SHGC) ที่ 0.41 3) หลังคาเพิ่มฉนวนใยแก้วความหนาแน่น 32 กก./ลบ.ม. หนา 25 มิลลิเมตร 4) ปรับปรุงระบบแสงสว่าง โดยเปลี่ยนเป็นหลอด LED 5) ปรับปรุงระบบปรับอากาศ 6) ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อทดแทนพลังงานที่ใช้ภายในอาคารโดยเลือกแผงพลังงานแสงอาทิตย์ มีประสิทธิภาพที่ 17.1% พลังงานจากอาคารกรณีศึกษาก่อนปรับปรุงมีค่าการใช้พลังงานโดยรวมต่อปี 209,091.33 kWh/year เมื่อรวมแนวทางการปรับปรุงกรอบอาคาร ระบบปรับอากาศ และระบบแสงสว่าง ค่าการใช้พลังงานโดยรวม 94,963.32 kWh/year พลังงานลดลงจากเดิม 114,128.01 kWh/year หรือคิดสัดส่วนที่ลดลง 54.37% แผงพลังงานแสงอาทิตย์สามารถผลิตพลังงานโดยรวมต่อปี 147,713.84 kWh/year เมื่อรวมแนวทางการปรับปรุงและการใช้พลังงานทดแทนจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้การใช้พลังงานโดยรวมภายในอาคารสุทธิเท่ากับศูนย์ โดยมีระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 14.39 ปี อัตราผลตอบแทนที่ 4.87% เมื่อคิดรวมกับอัตราเพิ่มขึ้นค่าไฟฟ้า ระยะเวลาคืนทุนที่ 21.06 ปี อัตราผลตอบแทน 10.59%


ผลกระทบของระดับความส่องสว่างและอุณหภูมิสีของแสงต่อความเร็วและความถูกต้องในการอ่านหนังสือของผู้สูงอายุ, นาถนภา กิตติจารุนันท์ Jan 2018

ผลกระทบของระดับความส่องสว่างและอุณหภูมิสีของแสงต่อความเร็วและความถูกต้องในการอ่านหนังสือของผู้สูงอายุ, นาถนภา กิตติจารุนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ การออกแบบซึ่งสามารถส่งเสริมศักยภาพด้านต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างมาก งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของระดับความส่องสว่างและอุณหภูมิสีของแสง ต่อความเร็วและความถูกต้องในการอ่านของผู้สูงอายุ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้สูงอายุ สัญชาติไทย ที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานครจำนวน 80 คน ในการศึกษา แบ่งผู้สูงอายุออกเป็น 3 ช่วงวัย ได้แก่ 1) อายุ 60-69 ปี 2) อายุ 70-79 ปี และ 3) อายุ 80 ปีขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ แบบทดสอบการอ่านคำ Tambartun (2001) ที่ผู้วิจัย ปรับให้เป็นคำภาษาไทย โดยจัดเตรียมสถานที่ที่มีค่าความส่องสว่าง 3 ระดับ ได้แก่ 300 lux 700 lux และ 1000 lux และอุณหภูมิสีของแสง 3 ระดับ ได้แก่ 3000K 4000K และ 6000K ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุในช่วงอายุ 60 - 69 ปี อ่านได้รวดเร็วที่สุด ที่ระดับค่าความส่องสว่าง 700-1000 lux และที่อุณหภูมิสีของแสง 6000K โดยสำหรับการอ่านหนังสือที่เน้นด้านความถูกต้องในการอ่าน พบว่าที่ระดับค่าความส่องสว่าง 700-1000 lux สามารถลดโอกาสอ่านหนังสือผิดพลาดของผู้สูงอายุได้ และพบว่า ในกลุ่มผู้สูงอายุในช่วงอายุ 70 - 79 ปี และ 80 ปี ขึ่นไป จะอ่านได้รวดเร็วที่สุด ที่ระดับค่าความส่องสว่างที่ 1000 lux และที่อุณหภูมิสีของแสง 6000K โดยสำหรับด้านความถูกต้องในการอ่าน ในช่วงอายุ 70 - 79 ปี พบว่า ที่ระดับค่าความส่องสว่าง 700-1000 …


แบบทาวน์เฮาส์สำหรับการก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป, นฤนาท เกตุพันธ์ Jan 2018

แบบทาวน์เฮาส์สำหรับการก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป, นฤนาท เกตุพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ จะศึกษาสภาพและปัญหา ในการก่อสร้างทาวน์เฮาส์ ด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยเลือกทาวน์เฮาส์แบบพฤกษาวิลล์ ของ บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) เป็นกรณีศึกษา เพื่อเสนอแนะรูปแบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่เหมาะสม จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันทาวน์เฮาส์ บริษัท พฤกษาฯ ที่สร้างในระบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 20-27 วัน มีขนาดและพื้นที่ใช้สอยต่างๆ ได้แก่ ขนาดหน้ากว้าง 5.00, 5.50 และ 5.70 เมตร ความสูง 2-3 ชั้น ห้องนอน 2-3 ห้อง ห้องน้ำ 2-3 ห้อง และที่จอดรถ 1-2 คัน แม้ว่ารูปแบบด้านหน้าส่วนใหญ่จะคล้ายกัน แต่เมื่อชิ้นส่วนผนัง มีหลายรูปแบบ ทั้งขนาดและช่องเปิด จึงทำให้เกิดปัญหาในการผลิต ชิ้นส่วนผนัง ที่มีระยะริมช่องเปิดน้อย ทำให้ต้องตัดตะแกรงเหล็กเสริม การผลิตจึงล่าช้า และยังมีปัญหาแตกหัก ในระหว่างการขนส่งและติดตั้งอีกด้วย นอกจากนี้มีปัญหาน้ำรั่วซึมบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงปรับเปลี่ยนไปใช้ระบบประสานพิกัด เพื่อให้ขนาดชิ้นส่วนผนังและพื้นเป็นระบบมากขึ้น ลดรูปแบบ และขนาดช่องเปิด และเพิ่มระยะริมช่องเปิด จากเดิมทาวน์เฮาส์หนึ่งคูหาจะประกอบด้วยชิ้นส่วนผนัง 29 ชิ้น 29 รูปแบบ ด้วยวิธีดังกล่าว จะเหลือเพียง 20 ชิ้น 11 รูปแบบเท่านั้น ส่วนปัญหารั่วซึมบริเวณรอยต่อ แก้โดยการยื่นแผ่นผนัง และ พื้น รวมทั้งเสนอให้ปิดรอยต่อด้วยชิ้นส่วนบัวสำเร็จรูป ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความหลากหลายของรูปแบบด้านหน้า เสนอให้ใช้วิธีปรับเปลี่ยนเฉพาะส่วนหน้าของทาวน์เฮาส์ ส่วนภายในให้คงรูปแบบและจำนวนชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปเหมือนกัน


การออกแบบบ้านสมัยใหม่ โดยประยุกต์ภูมิปัญญาในการระบายอากาศของเรือนไทย, ธันญวีร์ มีสรรพวงศ์ Jan 2018

การออกแบบบ้านสมัยใหม่ โดยประยุกต์ภูมิปัญญาในการระบายอากาศของเรือนไทย, ธันญวีร์ มีสรรพวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากปัญหาเกี่ยวกับสภาวะน่าสบายและคุณภาพอากาศภายในอาคาร การทำให้อาคารมีประสิทธิภาพในการระบายอากาศดีขึ้นเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาแนวทางหนึ่ง บ้านเรือนไทยถือเป็นบ้านต้นแบบในการระบายอากาศที่ดีและเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นของไทยมากที่สุด การศึกษาองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของบ้านเรือนไทยและนำมาประยุกต์กับบ้านสมัยใหม่จึงน่าจะเป็นแนวทางที่ดีในการเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายอากาศได้ งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของบ้านเรือนไทยที่ส่งเสริมการระบายอากาศและนำมาประยุกต์เข้ากับบ้านสมัยใหม่ ทำการทดลองด้วยโปรแกรมคำนวณพลศาสตร์ของไหล(CFD) มุ่งเน้นศึกษาการระบายอากาศแบบพัดผ่านตลอดโดยศึกษาจากความเร็วลมและรูปแบบการไหลของลม กำหนดให้ตัวแปรต้นคือปัจจัยในการศึกษามี 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยผังอาคาร ปัจจัยช่องเปิด ปัจจัยหลังคาและฝ้าเพดาน และปัจจัยผนังอาคาร ตัวแปรตามคือความเร็วลมและรูปแบบการไหลของลม ตัวแปรควบคุมคือพื้นที่อาคาร ประเภทอาคาร ความเร็วลมตั้งต้น และทิศทางอาคาร ขั้นตอนในการศึกษา 4 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาเปรียบเทียบประชากรและกลุ่มตัวอย่างของบ้านเรือนไทยและบ้านสมัยใหม่ 2) ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการระบายอากาศของบ้านเรือนไทยและบ้านสมัยใหม่ต้นแบบ 3) ศึกษาเปรียบเทียบในแต่ละปัจจัยในการศึกษา 4) นำตัวแปรที่เพิ่มประสิทธิภาพการไหลของลมมาประยุกต์กับบ้านสมัยใหม่และเปรียบเทียบผล ก่อน-หลัง การประยุกต์ ผลการวิจัยพบว่า บ้านเรือนไทยมีความเร็วลมเฉลี่ยในทุกทิศทางที่ศึกษามากกว่าบ้านสมัยใหม่ร้อยละ 33.9 ทิศทางลมที่มีประสิทธิภาพในการระบายอากาศดีที่สุดคือทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตัวแปรที่ช่วยส่งเสริมการระบายอากาศคือความลึกของตัวอาคาร การกระจายของช่องเปิด พื้นที่ช่องเปิด อัตราส่วนระหว่างพื้นที่ช่องลมเข้ากับพื้นที่ลมออก ฝ้าเพดาน ระยะยื่นชายคา และความซับซ้อนของผนังอาคาร จากการประยุกต์ตัวแปรเข้ากับบ้านสมัยใหม่พบว่าบ้านสมัยใหม่มีประสิทธิภาพในการระบายอากาศเพิ่มขึ้นจากเดิม โดยมีความเร็วลมในทุกทิศทางเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.4


ทัศนคติของผู้อยู่อาศัยต่อการอยู่อาศัยในอาคารชุดที่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์: กรณีศึกษาโครงการแฮปปี้ คอนโด ลาดพร้าว 101 และโครงการเอ็ม จตุจักร, เชี่ยวชาญ ไพศาลธีระจิต Jan 2018

ทัศนคติของผู้อยู่อาศัยต่อการอยู่อาศัยในอาคารชุดที่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์: กรณีศึกษาโครงการแฮปปี้ คอนโด ลาดพร้าว 101 และโครงการเอ็ม จตุจักร, เชี่ยวชาญ ไพศาลธีระจิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเพิ่มขึ้นของอาคารชุดที่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากค่านิยมการเลี้ยงสัตว์ของคนเมือง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้อยู่อาศัยต่อการอยู่อาศัยในอาคารชุดที่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ โดยศึกษาภาพรวมของอาคารชุด 13 แห่งในกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด จากนั้นเลือกกรณีศึกษา 2 แห่ง คือโครงการแฮปปี้ คอนโด ลาดพร้าว 101 (HCL) และโครงการเอ็ม จตุจักร (MJJ) ใช้การสอบถามผู้อยู่อาศัย โดยแบ่งเป็นผู้มีสัตว์เลี้ยงแห่งละ 105 ชุด และผู้ไม่มีสัตว์เลี้ยงแห่งละ 105 ชุด รวม 2 แห่งเป็น 420 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ และค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้มีสัตว์เลี้ยงและไม่มีสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 50 อยู่อาศัยเป็นคู่รักทั้งสมรส และไม่สมรส ซึ่งส่วนมากไม่มีบุตรถึงร้อยละ 95 ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี ทั้งนี้กลุ่มผู้มีสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นผู้เช่าถึงร้อยละ 60 ในขณะที่ผู้ไม่มีสัตว์เลี้ยงร้อยละ 90 เป็นเจ้าของห้องชุด 2) การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารชุด แบ่งได้ 3 ลักษณะ (1) สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ เช่น คลินิกสัตว์เลี้ยง หรือพื้นที่ขับถ่ายสำหรับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น (2) สิ่งอำนวยความสะดวกที่ให้สัตว์เลี้ยงใช้ร่วมกับคน ได้แก่ สวนรอบอาคาร และดาดฟ้าอาคาร (3) ไม่มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้สัตว์เลี้ยง โดยสัตว์เลี้ยงไม่สามารถออกไปเดินนอกห้องชุดได้ ยกเว้นการอุ้มเท่านั้น 3) ทัศนคติของผู้มีสัตว์เลี้ยงใน HCL เห็นว่าไม่มีปัญหาทั้งก่อนและหลังเข้าอยู่อาศัย ในขณะที่ผู้ไม่มีสัตว์เลี้ยงของ HCL เห็นว่าเป็นปัญหาทั้งก่อนและหลังเข้าอยู่อาศัย ส่วนผู้มีสัตว์เลี้ยงและไม่มีสัตว์เลี้ยงใน MJJ เห็นว่าไม่มีปัญหาก่อนเข้าอยู่อาศัย แต่พบว่ามีปัญหาหลังเข้าอยู่อาศัย 4) ผู้ไม่มีสัตว์เลี้ยงมีความพึงพอใจต่ออาคารชุดน้อยกว่าผู้มีสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะเรื่องความเหมาะสมของห้องชุดต่อการเลี้ยงสัตว์ การระบายอากาศ และการมีเพื่อนบ้านที่เลี้ยงสัตว์ ในขณะที่ผู้มีสัตว์เลี้ยงมีความพึงพอใจสูงในหลายด้าน ยกเว้นเรื่องการป้องกันเสียงเห่าหอนจากห้องข้างเคียง 5) ปัญหาส่วนใหญ่ที่ผู้มีสัตว์เลี้ยงและไม่มีสัตว์เลี้ยงพบตรงกันคือ ได้ยินเสียงรบกวนของสัตว์เลี้ยงจากห้องข้างเคียง รองลงมาคือพบสัตว์เลี้ยงตัวอื่นขับถ่ายแล้วเจ้าของไม่ทำความสะอาด ส่วนปัญหาที่พบต่างกันคือ ผู้มีสัตว์เลี้ยงพบปัญหานิติบุคคลดูแลเรื่องสัตว์เลี้ยงไม่เต็มที่ ส่วนผู้ไม่มีสัตว์เลี้ยงพบปัญหาสัตว์เลี้ยงเห่าทำให้ตกใจเสียขวัญ อย่างไรก็ตามในภาพรวมผู้ไม่มีสัตว์เลี้ยงจะรู้สึกถึงปัญหามากกว่าผู้มีสัตว์เลี้ยง ผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติของผู้อยู่อาศัยที่มีสัตว์เลี้ยงและไม่มีสัตว์เลี้ยงในอาคารชุดเดียวกัน รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ไม่มีสัตว์เลี้ยงจะรู้สึกถึงปัญหามากกว่า โดยเฉพาะเรื่องเสียงรบกวนของสัตว์เลี้ยงจากห้องข้างเคียง ในขณะที่ผู้มีสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่พบปัญหาสัตว์เลี้ยงตัวอื่นขับถ่ายแล้วเจ้าของไม่ทำความสะอาด …


ประสิทธิภาพการใช้ที่ดินของเกษตรกรในโครงการนิคมเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา, กษมา วงษ์สนอง Jan 2018

ประสิทธิภาพการใช้ที่ดินของเกษตรกรในโครงการนิคมเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา, กษมา วงษ์สนอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการนิคมเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอวังน้ำเขียว เป็นหนึ่งใน 11 โครงการนำร่องของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเกษตรภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้ดำเนินแล้วแต่ยังไม่มีการติดตามผลการดำเนินโครงการ โดยเฉพาะด้านการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกร อีกทั้งการวิจัยด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเกษตรยังมีจำกัดอยู่ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้ที่ดินของเกษตรกรที่อยู่ในโครงการนิคมเศรษฐกิจพอเพียง โดยศึกษาลักษณะทางกายภาพของโครงการ การใช้พื้นที่และผลตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกร วิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ที่ดินของเกษตรกร โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสำรวจลักษณะทางกายภาพของโครงการและแปลงที่ดินของเกษตรกร การสัมภาษณ์เกษตรกรและผู้อำนวยการโครงการนิคมเศรษฐกิจพอเพียง นำผลมาวิเคราะห์กับแนวคิดทฤษฎีประสิทธิภาพ ผลการศึกษา 1) ลักษณะทางกายภาพของโครงการฯ โดยโครงการฯแบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 โซน แต่ละโซนมีลักษณะภูมิประเทศและสภาพดินที่แตกต่างกัน ในพื้นที่โซน 1 และโซน 2 มีความลาดชันต่ำ เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การทำการเกษตร และมีปริมาณน้ำใช้ตลอดทั้งปี ส่วนในพื้นที่โซน 3, 4 และ 5 เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง อีกทั้งยังพบปัญหาการขาดแคลนน้ำสูง 2) การใช้ที่ดินและผลตอบแทนของเกษตรกรในโครงการฯพบว่า เกษตรกรมีการแบ่งพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรให้นำไปใช้ในการเพาะปลูกพืชเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการปรับเปลี่ยนประเภทกิจกรรมทางการเกษตรจากในช่วงเริ่มต้นโครงการที่ส่วนใหญ่เพาะปลูกผักผสมผสาน ปรับเปลี่ยนมาเป็นการทำการเกษตรผสมผสานเป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ในด้านผลตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ในที่ดินของเกษตรกรพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีกำไรจากการใช้ประโยชน์ในที่ดิน 3) การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ที่ดินของเกษตรกรพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ มีเพียงโซน 3 และโซน 5 ที่เกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้ที่ดินโดยมีประสิทธิภาพน้อย โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้ที่ดินของเกษตรกรในด้านกายภาพได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ สภาพดิน และปริมาณน้ำ ส่วนปัจจัยในด้านการใช้ที่ดินของเกษตรกรได้แก่ การเลือกประเภทพืชที่จะเพาะปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่ นอกจากนี้ปัจจัยด้านตัวเกษตรกรได้แก่ ความรู้และประสบการณ์ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกประเภทพืชเพาะปลูกให้เหมาะสม รวมถึงการเลือกประกอบอาชีพหลัก ที่จะส่งผลต่อรายได้จากการใช้ที่ดิน และส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้ที่ดินของเกษตรกรข้อเสนอแนะแก่โครงการนิคมเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรกรในโครงการฯ ข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น คือ ควรจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องการเพาะปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่โซน 3 และโซน 5 สนับสนุนให้เกษตรกรที่มีปัญหาจากลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ มาทำการเกษตรในพื้นที่แปลงรวมมากขึ้น และสนับสนุนให้เกษตรกรในโซนที่ประสบปัญหานี้ มีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ครัวเรือน ข้อเสนอแนะในระยะยาว ได้แก่ เกษตรกรและ ส.ป.ก. นครราชสีมา ควรร่วมกันจัดการแก้ไขปัญหาน้ำในโครงการ โดยทำการสร้างเครือข่ายการจัดการน้ำชุมชน และกองทุนบริหารจัดการน้ำของโครงการฯ รวมทั้งดำเนินการในโครงการฯ ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป ก่อนที่จะทำการวางผังโครงการและจัดสรรพื้นที่ หน่วยงานที่รับผิดชอบควรวิเคราะห์ข้อดี-ข้อจำกัดของพื้นที่แต่ละโซนก่อน อีกทั้งควรมีการติดตามผลการใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทราบถึงปัญหาในการใช้พื้นที่และนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาหรือข้อเสนอแนะต่อไป


แนวทางการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทเกสต์เฮ้าส์ในย่านเมืองเก่าภูเก็ต, ณัฐติกา สุวคันธ์ Jan 2018

แนวทางการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทเกสต์เฮ้าส์ในย่านเมืองเก่าภูเก็ต, ณัฐติกา สุวคันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ย่านเมืองเก่าภูเก็ตเป็นย่านที่มีอาคารที่มีคุณค่าในการอนุรักษ์อยู่มาก ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเป็นย่านท่องเที่ยวมากขึ้น มีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่พักนักท่องเที่ยวเกิดขึ้นมากถึง 31 แห่ง โดยเป็นที่พักประเภทเกสต์เฮ้าส์ที่พัฒนาโดยผู้ประกอบการที่เป็นคนในพื้นที่มากถึง 9 แห่ง พัฒนาในอาคาร 2 รูปแบบ คือ ในอาคารที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ และในอาคารที่สร้างใหม่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ในการศึกษาแนวทางการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทเกสต์เฮ้าส์ โดยศึกษา กระบวนการพัฒนา ปัญหาอุปสรรค และผลการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อดีข้อจำกัดและสรุปบทเรียนจากการพัฒนาในอาคารทั้งสองรูปแบบ ด้วยวิธีการ ศึกษาเอกสาร การสำรวจพื้นที่และอาคาร การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการและเข้าพักสังเกตการณ์ ในกรณีศึกษา 4 กรณี โดยเป็น กรณีศึกษาที่พัฒนาในอาคารที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ 2 กรณีศึกกษาและในอาคารที่สร้างใหม่ 2 กรณีศึกษา ผลจากการศึกษาการพัฒนาโครงการ 4 กรณีศึกษา พบว่า 1) การพัฒนาในอาคารที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ เป็นการนำเอาอาคารเก่ามาดัดแปลงเป็นที่พัก จึงทำในพื้นที่ที่มีอย่างจำกัด โดยการก่อสร้างต้องระมัดระวังให้กระทบกับตัวอาคารเก่าน้อยที่สุดและต้องมีการเสริมโครงสร้างเหล็กให้กับอาคารเก่าเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้เหมาะสมกับการใช้งาน ผลที่เกิดขึ้นคือมีจำนวนห้องพักน้อย รูปด้านอาคารมีความสอดคล้องกับความเป็นย่านเมืองเก่า มีความสวยงามซึ่งเป็นผลมาจากเสน่ห์เฉพาะตัวของอาคารที่เลือกมาพัฒนา ในด้านการลงทุน เป็นการเช่าที่ดินและอาคารมาดำเนินการ โครงการใช้งบประมาณในการลงทุนไม่สูง ระยะเวลาการดำเนินการพัฒนาโครงการสั้น และระยะเวลาการคืนทุนเร็ว 2) การพัฒนาในอาคารที่สร้างใหม่ ทำการพัฒนาบนที่ดินที่เป็นเจ้าของ โดยการสร้างอาคารขึ้นใหม่อย่างเต็มประสิทธิภาพที่ดิน โดยได้ศึกษากฎหมายและข้อกำหนดของย่านเมืองเก่าภูเก็ตอย่างละเอียด และดำเนินการโดยได้รับการยินยอมจากบ้านข้างเคียงก่อนการก่อสร้าง การก่อสร้างโครงการ มีการวางผังอาคาร โดยการแบ่งอาคารออกเป็นหลายหลังและทำทางเชื่อมเพื่อรวมเป็นอาคารเดียว เพื่อให้สะดวกในการก่อสร้างอาคารในที่แคบและเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกฎหมาย โดยระมัดระวังไม่ให้เกิดผลกระทบกับอาคารข้างเคียง ผลที่ได้คือ มีจำนวนห้องพักมาก ส่วนรูปด้านอาคารจะมีความสอดคล้องกับความเป็นย่านเมืองเก่าหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ของผู้ประกอบการและผู้ร่วมพัฒนาโครงการ ในการเห็นคุณค่าของสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของย่านเมืองเก่า ในด้านการลงทุน ใช้งบประมาณในการลงทุนสูง ระยะเวลาการดำเนินการพัฒนาโครงการยาวนาน และระยะเวลาคืนทุนช้ากว่าแบบที่พัฒนาในอาคารที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงทำให้สามารถประกอบการได้ในระยะยาว ผลการศึกษาสรุปได้ว่า กระบวนการการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทเกสต์เฮ้าส์ในย่านเมืองเก่าภูเก็ต 2 แนวทาง ซึ่งมีข้อดีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ทั้งในระยะก่อนการก่อสร้าง ระหว่างการก่อสร้าง หลังการก่อสร้าง และการลงทุนโครงการ จึงมีข้อเสนอแนะว่า 1) ผู้ที่สนใจลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทเกสต์เฮ้าส์ในย่านเมืองเก่าภูเก็ตควรศึกษาแนวทางการพัฒนาในอาคารทั้งสองรูปแบบก่อนการตัดสินใจลงทุน 2) ผู้ประกอบการควรมีความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาอสังอสังหาริมทรัพย์และวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของตนเองอย่างดีก่อนการพัฒนา และ 3) ควรมีการจัดตั้งกลุ่มหรือชมรมนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่พักนักท่องเที่ยวของย่านเมืองเก่าภูเก็ต ร่วมกำหนดแนวทางและกฎเกณฑ์การพัฒนาที่เหมาะสม เพื่อสามารถดำรงรักษาอัตลักษณ์ของย่านเมืองเก่าภูเก็ตให้คงอยู่


ทัศนคติและความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยเจเนอเรชั่นวายต่อพื้นที่ส่วนกลางด้านนันทนาการในอาคารชุด กรณีศึกษา บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), ธัญญ์นารี ชัยชาญ Jan 2018

ทัศนคติและความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยเจเนอเรชั่นวายต่อพื้นที่ส่วนกลางด้านนันทนาการในอาคารชุด กรณีศึกษา บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), ธัญญ์นารี ชัยชาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บริษัท แอล.พี.เอ็น. ให้ความสำคัญต่อพื้นที่ส่วนกลางด้านนันทนาการจากกลยุทธชุมชนน่าอยู่ เพื่อคนทุกวัยอาศัยร่วมกันอย่างมีความสุข โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคนหนุ่มสาวในวัยทำงาน หรือคนเจเนอเรชั่นวาย (GenY) ในปัจจุบัน ที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2524 - 2543 งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพและองค์ประกอบของพื้นที่ส่วนกลางด้านนันทนาการ และ ศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยเจเนอเรชั่นวาย โครงการกรณีศึกษา 5 SUB BRAND ด้วยการสังเกต, ถ่ายภาพ, การสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และแจกแบบสอบถามผู้อาศัยเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ส่วนกลางด้านนันทนาการมีองค์ประกอบ 9 ประเภท โดยใช้พื้นที่ระหว่างร้อยละ 5-8 ของพื้นที่โครงการ แยกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ (1)พื้นที่ที่ใช้ทำกิจกรรมอเนกประสงค์ เช่น ทำบุญตักบาตร, งานเทศกาลประจำปี เป็นต้น (2)พื้นที่สำหรับใช้ทำกิจกรรมเฉพาะ เช่น ว่ายน้ำ, อ่านหนังสือ, ออกกำลังกาย เป็นต้น โดยมีตำแหน่งการวาง 2 จุดคือ (1)อยู่ชั้น 1 ของโครงการ โดยประเภทพื้นที่ที่วางไว้ที่ชั้น 1 เหมือนกันทุกโครงการคือ สวน/ลานกิจกรรม และ สนามเด็ก และ (2)วางไว้ชั้นอื่น ๆ ในตัวอาคาร โดยประเภทพื้นที่ที่วางไว้ที่ชั้นอื่น ๆ เหมือนกันทุกโครงการคือ ฟิตเนส และแต่ละโครงการมีความแตกต่างกันในด้านความครบครัน, ตำแหน่งการจัดวาง, ขนาดพื้นที่ และแนวความคิดในการออกแบบ ด้านผู้อาศัยเจเนอเรชั่นวายพบว่า มีบุคลิกเด่นชัด 4 ลักษณะ คือ (1)ชอบพบปะพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนชอบทีมเวิร์ค ในกรณีศึกษา 1, (2)ชอบการมีส่วนร่วม ในกรณีศึกษา 2, (3)มีความสมดุลในการทำงานและใช้ชีวิต ในกรณีศึกษา 3 และ 5, (4)รักอิสระ ในกรณีศึกษา 4 ผู้อยู่อาศัยเจเนอเรชั่นวายมีความพึงพอใจรวมต่อพื้นที่ส่วนกลางด้านนันทนาการในระดับมาก 4 โครงการคือ กรณีศึกษา 1, 2, 3 และ 4 โดยกรณีศึกษา 5 …


สภาพที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุในย่านชุมชนเก่า : กรณีศึกษา 2 ชุมชน แพร่งภูธรและ แพร่งนรา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร, วิลาสินี ลักษมีวัฒนา Jan 2018

สภาพที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุในย่านชุมชนเก่า : กรณีศึกษา 2 ชุมชน แพร่งภูธรและ แพร่งนรา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร, วิลาสินี ลักษมีวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เขตพระนครที่แนวโน้มมีผู้สูงอายุอยู่มาก ส่วนหนึ่งอยู่อาศัยในอาคารเก่าที่ขึ้นทะเบียนควรค่าแก่การอนุรักษ์ ที่มีข้อจำกัดเรื่องขนาดตัวอาคารแคบบันไดที่สูงชันมีสภาพไม่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ การศึกษางานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพสังคม เศรษฐกิจ พฤติกรรมและการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุในย่านชุมชนเก่า วิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางปรับปรุงพื้นที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุโดยใช้วิธีการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง 22 คนในขอบเขตพื้นที่ชุมชนแพร่งภูธรและแพร่งนรา ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่อาศัยกับครอบครัวเดิมหรือคนคุ้นเคย รายได้หลักมาจากลูกหลานเป็นส่วนใหญ่ ยังมีผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งที่ยังคงประกอบอาชีพอยู่ ด้านสุขภาพผู้สูงอายุเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด ผู้สูงอายุวัยปลายมีการใช้กายอุปกรณ์ในการช่วยเดินอย่างเห็นได้ชัด และบางคนมีภาวะพึ่งพิง ปัญหาที่พบคือผู้สูงอายุยังอาศัยนอนอยู่ที่ชั้น 2 และใช้ห้องน้ำที่ชั้น 1 บันไดที่เป็นทางสัญจรระหว่างชั้น 1 และ 2 เป็นพื้นที่เสี่ยงหกล้ม ผิวบันไดลื่นและขั้นบันไดสูงชันและเป็นพื้นที่ที่ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด นอกจากนี้จากการสำรวจที่อยู่อาศัย ยังพบว่าห้องน้ำเป็นพื้นที่ที่มีความไม่เหมาะสมกับมาตรฐานการออกแบบให้ถูกหลักที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงอายุมากที่สุด โดยมีปัญหามากที่สุดในเรื่องขนาดไม่สอดคล้องกับการออกแบบเพื่อผู้สูงอายุ สรุปผล เสนอแนะแนวทางจัดพื้นที่ย้ายส่วนนอนลงมาชั้น 1 ใกล้กับห้องน้ำมากที่สุด ให้ใช้เฟอร์นิเจอร์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่รูปแบบยืดหยุ่นเคลื่อนย้ายได้เหมาะกับการใช้และปรับเปลี่ยนในการทำกิจกรรมหลายอย่างในพื้นที่จำกัด รวมถึงไม่ยึดติดอาคารเพื่อไม่ให้ทำความเสียหายแก่ส่วนอนุรักษ์ ส่วนบันไดและห้องน้ำที่พบว่ามีการเกิดอุบัติเหตุ มีข้อจำกัดในการปรับให้เหมาะสมตามมาตรฐานผู้สูงอายุเรื่องขนาดภายในห้องน้ำและการปรับขั้นบันได เนื่องจากพบข้อจำกัดขนาดพื้นที่ภายในอาคาร จึงเสนอแนะให้เพิ่มเติมสิ่งอำนวยความสะดวกและปรับปรุงซ่อมแซมส่วนที่ทรุดโทรมเพื่อให้ปลอดภัยขึ้น


การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของหมู่บ้านจัดสรรที่เกิดขึ้นในยุคแรกเริ่ม กรณีศึกษา: หมู่บ้านประชานิเวศน์ 1, ปฐมา ภัยผ่องแผ้ว Jan 2018

การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของหมู่บ้านจัดสรรที่เกิดขึ้นในยุคแรกเริ่ม กรณีศึกษา: หมู่บ้านประชานิเวศน์ 1, ปฐมา ภัยผ่องแผ้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของหมู่บ้านจัดสรรที่เกิดขึ้นในยุคแรกเริ่มในพื้นที่หมู่บ้านประชานิเวศน์ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เกิดขึ้นในพื้นที่โครงการ วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และวิเคราะห์ผลกระทบที่มีผลต่อการอยู่อาศัย โดยแบ่งวิธีการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน คือ นำข้อมูลแผนผังในอดีตมาศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินและนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับผลการสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน จากนั้นทำการคัดเลือกพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงกว่าในบริเวณอื่นมาทำการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ และในส่วนสุดท้ายเป็นการสำรวจผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยโดยใช้แบบสอบถาม
ผลการศึกษาพบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยแบบบ้านเดี่ยวไปเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดิน 3 ประเภทหลัก ได้แก่ การค้าและการบริการ สำนักงานและบริษัท และที่พักอาศัยรวม โดยมีลักษณะการกระจุกและกระจายตัวในรูปแบบที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยในกลุ่มการค้าและการบริการ พบปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ทำเลที่ตั้ง การถือครองที่ดิน และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และในกลุ่มสำนักงานและบริษัท พบปัจจัยที่สำคัญได้แก่ ทำเลที่ตั้ง (ใกล้ตลาด) การถือครองที่ดิน และความสะดวกในการติดต่องาน
ในประเด็นผลกระทบที่มีผลต่อการอยู่อาศัยของคนในหมู่บ้านพบว่า ระดับของผลกระทบในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง มีบางบริเวณที่ได้รับผลกระทบสูงกว่าค่าเฉลี่ย ได้แก่ เขตที่ 10 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด จากการสำรวจการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินพบว่า บริเวณดังกล่าวเกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยไปเป็นประเภทพาณิชยกรรมทั้งในกลุ่มของการค้าและการบริการและกลุ่มสำนักงานและบริษัท เกิดการขยายพื้นที่ของร้านค้า ร้านอาหารที่ติดกับบริเวณถนนเทศบาลสงเคราะห์เข้ามาในพื้นที่ ส่วนในกลุ่มของสำนักงานและบริษัท เกิดการใช้งานในพื้นที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานขนาดใหญ่ อยู่ติดกับศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ และมีการกระจายที่ตั้งของสำนักงานในบริเวณนี้ค่อนข้างมาก จึงทำให้บริเวณนี้ค่อนข้างมีผลกระทบต่อการอยู่อาศัยของคนในหมู่บ้านค่อนข้างสูง นอกจากนี้ยังพบว่า ปัญหาส่วนมากที่พบจากแบบสอบถามคือปัญหาการจราจร เนื่องจากถนนภายในหมู่บ้านถูกเชื่อมต่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระดับเมือง และมีปัญหาเรื่องที่จอดรถในบางบริเวณ ซึ่งเป็นผลมาจากตำแหน่งที่ตั้งของสาธารณูปการและกิจกรรมพาณิชยกรรมบางส่วน ในขณะที่บริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมมากขึ้นนั้น ผู้อยู่อาศัยไม่ได้สะท้อนว่ามีปัญหาในเรื่องของที่จอดรถมากนัก เนื่องจากขนาดถนนภายในหมู่บ้านมีขนาดความกว้างเกินกว่ามาตรฐานของหมู่บ้านจัดสรรทั่วไปในปัจจุบัน


การปรับตัวต่อภัยพิบัติด้านการก่อความไม่สงบในเมือง กรณีศึกษาเมืองยะลา, มัซวินส์ อดุลภักดี Jan 2018

การปรับตัวต่อภัยพิบัติด้านการก่อความไม่สงบในเมือง กรณีศึกษาเมืองยะลา, มัซวินส์ อดุลภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเด็นความขัดแย้งต่าง ๆ ทั้งในเรื่องการเมืองการปกครอง เชื้อชาติ และศาสนา ที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อให้เกิดสถานการณ์เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ในบางครั้งผลของความขัดแย้งนี้ถูกสะท้อนออกมาเป็นในรูปแบบของการก่อความรุนแรง โดยพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดยะลาเป็นพื้นที่ที่มีสถิติการก่อเหตุความไม่สงบมากที่สุดในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หากเรามองการก่อความรุนแรงในพื้นที่เมืองนี้ในรูปแบบของภัยพิบัติที่มนุษย์สร้างขึ้น การศึกษาแนวคิดเรื่องการปรับตัวต่อความเสี่ยงของชุมชนเมือง อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาความเสี่ยงของการเกิดภัยพิบัติ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาวิธีการปรับตัวต่อภัยการก่อความไม่สงบของชุมชนในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา และวิเคราะห์ช่องว่างเชิงสถาบัน (Institutional Gap Analysis) ในการพัฒนาแผนการปรับตัวของเมือง เพื่อใช้เป็นแนวทางและข้อเสนอแนะในการปรับตัวต่อภัยการก่อความไม่สงบในเมือง
ผลการศึกษาพบว่า ในเทศบาลเมืองยะลามีมาตรการการปรับตัวต่อภัยการก่อความไม่สงบในเมือง 6 มาตรการ ได้แก่ (1) การสร้างแท่นปูนหน้าบ้าน (2) การตั้งด่านตรวจคนเข้าออกภายในชุมชน (3) การกำหนดพื้นที่จอดรถริมเกาะกลางถนน (4) การยกเลิกสวมหมวกนิรภัย (5) การติดตั้งกล้องวงจรปิด และ (6) การปรับภูมิทัศน์ของเมืองด้วยศิลปะ โดยประชาชนในพื้นที่ค่อนข้างพอใจกับมาตรการการปรับตัวต่อความไม่สงบ แต่ยังคงมีช่องว่างของระดับความคาดหวัง (Expectation) สูงกว่าระดับการเห็นปฏิบัติจริง (Perception) ต่อมาตรการต่าง ๆ อยู่มาก การศึกษายังพบว่า ประชาชนคาดหวังให้รัฐเพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชนและทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของมาตรการการปรับตัวต่อภัยการก่อความไม่สงบในเมืองให้มากขึ้น


การศึกษาช่องเปิดระบายอากาศธรรมชาติเพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในห้องนอนอาคารชุดพักอาศัย, วาสิตา วานิชศิริโรจน์ Jan 2018

การศึกษาช่องเปิดระบายอากาศธรรมชาติเพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในห้องนอนอาคารชุดพักอาศัย, วาสิตา วานิชศิริโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาว่าการเปิดช่องระบายอากาศแบบธรรมชาติจะสามารถลดความปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในห้องนอนอาคารชุดพักอาศัยได้หรือไม่ โดยทำการสำรวจห้องนอนอาคารชุดพักอาศัยจำนวน 5 แห่ง ว่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกินมาตรฐานหรือไม่ จากนั้นเลือกห้องนอน 2 ห้องจาก 5 ห้องข้างต้น ที่มีพื้นที่ 11.00 ตร.ม. (ปริมาตร 27.50 ลบ.ม.) และ พื้นที่ 14.00 ตร.ม. (ปริมาณ 31.10 ลบ.ม.) เป็นตัวแทนการทดลองเก็บข้อมูลค่าคาร์บอนไดออกไซด์ที่เปลี่ยนแปลงในทุกห้านาที ช่วงเวลา 23:30 น. ถึง 07:00 น. รวม 7 ชั่วโมงครึ่งต่อวัน เป็นระยะเวลา 15 วัน แต่ละวันจะเปิดช่องระบายอากาศที่หน้าต่างที่มีอยู่ด้านเดียวของห้อง เริ่มจากขนาด 50 ตร.ซม. แล้วเพิ่มขึ้นวันละ 50 ตร.ซม.ไปสิ้นสุดที่ 700 ตร.ซม. นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาอัตราแลกเปลี่ยนอากาศและความสิ้นเปลืองพลังงานในระบบปรับอากาศผลการศึกษาพบว่าห้องนอนที่มีปริมาตร 27.50 ลบ.ม. ถึง 31.10 ลบ.ม. นั้น ถ้าเปิดช่องระบายอากาศธรรมชาติที่ผนังด้านเดียวที่ร้อยละ 0.61 ถึง ร้อยละ 0.41 ของพื้นที่ห้องตามลำดับ จะสามารถลดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ตามเกณฑ์ ASHRAE ที่กำหนดให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอาคารต้องไม่มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อากาศภายนอกที่ปกติมีค่าประมาณ 300 ppm ถึง 400 ppm เกินกว่า 700 ppm หรือต้องไม่เกิน 1,000 ppm ถึง 1,100 ppm ผลการทดลองนี้ทำให้เกิดอัตราแลกเปลี่ยนอากาศที่ 1.00 ACH ถึง 0.8 ACH (16.90 CFM ถึง 14.60 CFM) ตามลำดับ ส่วนผลการจำลองค่าความสิ้นเปลืองพลังงานในระบบปรับอากาศเพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ 0.77 ถึง ร้อยละ 0.33 ตามลำดับ เทียบกับห้องนอนที่ไม่มีการเปิดช่องระบายอากาศแบบธรรมชาติ ส่วนการใช้เครื่อง Energy Recovery Ventilator ที่ให้ผลแบบเดียวกันสิ้นเปลืองพลังงานถึงร้อยละ …


แนวทางการลดน้ำหนักบรรทุกคงที่อาคารโดยการเปลี่ยนองค์ประกอบสถาปัตยกรรมผนังด้วยแบบจำลองสารสนเทศ(Bim) : กรณีศึกษาโรงแรมบูรพาสามยอด, ศุภิสรา นพเกตุ Jan 2018

แนวทางการลดน้ำหนักบรรทุกคงที่อาคารโดยการเปลี่ยนองค์ประกอบสถาปัตยกรรมผนังด้วยแบบจำลองสารสนเทศ(Bim) : กรณีศึกษาโรงแรมบูรพาสามยอด, ศุภิสรา นพเกตุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงแรมบูรพาสามยอด กรุงเทพมหานคร เป็นอาคารที่มีขนาดสูงเกิน 16 เมตรอาคารหนึ่งภายในพื้นที่ควบคุมความสูงตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2530 เนื่องด้วยอาคารหลังนี้ก่อสร้างขึ้นในช่วง พ.ศ.2500 ก่อนการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว จึงทำให้ได้รับการยกเว้นระดับความสูงของอาคารให้คงอยู่เท่ากับในปัจจุบัน โดยสามารถบูรณะและซ่อมแซมอาคารได้ แต่ไม่สามารถสร้างอาคารอื่นขึ้นใหม่ในพื้นที่ให้มีความสูงเท่าเดิม ส่งผลให้โรงแรมบูรพาสามยอดและอาคารที่ติดข้อกำหนดลักษณะเดียวกัน อาจถูกดัดแปลงเพิ่มเติมองค์ประกอบอาคารโดยไม่คำนึงถึงความสามารถที่จำกัดในการรับน้ำหนักของโครงสร้าง การปรังปรุงโดยลดน้ำหนักอาคารจึงเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัย ประหยัด และได้พื้นที่มากกว่าการทุบทิ้งสร้างใหม่ ซึ่งงานวิจัยนี้จะศึกษาวิธีการลดน้ำบรรทุกคงที่อาคาร (Dead load) โดยการเปลี่ยนองค์ประกอบสถาปัตยกรรมผนัง ด้วยแบบจำลองสารสนเทศ (Build Information Modeling) หรือBIM เนื่องจาก BIM มีความสามารถในการจำลองวัตถุในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้งรูปทรง 3มิติ 2มิติและข้อมูลคุณสมบัติ ตัวแปร และความสัมพันธ์กับวัตถุอื่นๆ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)ศึกษาวิธีการบันทึกแบบอาคาร 2มิติ 3มิติ และข้อมูลน้ำหนักบรรทุกคงที่อาคาร ของอาคารปัจจุบัน และอาคารที่เปลี่ยนองค์ประกอบสถาปัตยกรรมผนัง ด้วยแบบ BIM ในโปรแกรม Autodesk Revit 2)นำเสนอแนวทางการลดน้ำบรรทุกอาคาร โดยเปลี่ยนองค์ประกอบสถาปัตยกรรมผนังโรงแรมบูรพาสามยอด ด้วย BIM ผลการศึกษามี2ประเด็นดังนี้ ประเด็นที่1กระบวนการแบบจำลองสารสนเทศในการบันทึกข้อมูลอาคารปัจจุบันและอาคารที่มีการเปลี่ยนแปลงวัสดุผนังสามารถบันทึกข้อมูลทั้งหมดอยู่ในไฟล์เดียวกันได้ ทำให้ไม่เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล โดยการจำแนกองค์ประกอบสถาปัตยกรรมของอาคารปัจจุบันเพื่อคำนวณน้ำหนักจำแนกออกเป็น 6 ประเภท คือ เสา คาน พื้น บันได ผนังลิฟต์ และผนัง ซึ่งสามารถแยกย่อยชนิดและวัสดุองค์ประกอบได้ โดยองค์ประกอบสถาปัตยกรรมจะบันทึกอยู่ใน 3 ตำแหน่งคือ 1)Revit Modeling ซึ่งแสดงผลเป็นแบบ 2 มิติและโมเดล 3 มิติ 2)Revit Family ซึ่งแสดงผลเป็นข้อมูลวัสดุ รายละเอียด ขนาดองค์ประกอบ และ 3)Revit Schedule ซึ่งรวบรวมข้อมูลทั้งหมดและคำนวณน้ำหนักอาคารเป็น 6 Schedule ตามองค์ประกอบสถาปัตยกรรม สำหรับการสร้างวัสดุทางเลือกผนังนั้น ผนัง 1 ชนิดสามารถสร้างทางเลือกได้หลากหลายโดยใช้ Design Option ในโปรแกรม Autodesk Revit ประเด็นที่2 น้ำหนักรวมองค์ประกอบสถาปัตยกรรมผนังมีทั้งหมด 4,474,148.39 กิโลกรัม จากน้ำหนักทั้งหมด10,230,569.23 กิโลกรัม …


ความต้องการและความคาดหวังจากการจัดการอาคารของผู้เช่าอาคารสำนักงาน, ณวัลริณี สุวินิจวงษ์ Jan 2018

ความต้องการและความคาดหวังจากการจัดการอาคารของผู้เช่าอาคารสำนักงาน, ณวัลริณี สุวินิจวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคารสำนักงานเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสถานที่ที่ให้ทั้งผู้ที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจเชิงพาณิชย์ และผู้ประกอบธุรกิจเชิงพาณิชย์ใช้สอย และเมื่อมีผู้ใช้อาคารจึงจำเป็นที่จะต้องมีผู้ดูแลจัดการหรือที่เรียกว่าผู้บริหารอาคารเพื่อให้อาคารนั้น ๆ อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบถึงความต้องการและคาดคาดหวังจากการจัดการอาคารของผู้เช่าอาคารสำนักงาน โดยการส่งแบบสอบถามไปยังบริษัทผู้เช่าพื้นที่ภายในอาคารสำนักงานระดับ เอ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณย่านธุรกิจการค้ามีอัตราค่าเช่าไม่ต่ำกว่า 750 บาท/ตารางเมตร/เดือน แต่ไม่เกินกว่า 1,000 บาท/ตารางเมตร/เดือน มีอาคารสำนักงานอยู่ในกรณีศึกษาทั้งหมด 6 อาคาร ได้แก่ อาคารสาทรซิตี้ ทาวเวอร์ อาคารเอเชียเซ็นเตอร์ อาคารซี.พี. ทาวเวอร์ อาคารจามจุรี ทาวเวอร์ อาคารเอ็มโพเรียม ทาวเวอร์ และอาคารอินเตอร์เชนจ์ 21 เพื่อทำการวิเคราะห์ สรุป และอภิปรายผล จากการศึกษาพบว่าผู้เช่าอาคารสำนักงานแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผู้เช่าพื้นที่สำนักงาน และผู้เช่าพื้นที่ร้านค้า โดยผู้เช่าพื้นที่สำนักงานแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มประเภทธุรกิจ ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มนี้มีความต้องการและคาดหวังในแต่ละงานมากน้อยไม่เท่ากัน ผู้เช่าพื้นที่สำนักงาน และผู้เช่าพื้นที่ร้านค้ามีลักษณะที่แตกต่างกันทั้งในเรื่องอัตราค่าเช่า สัญชาติของ ผู้เช่า ประเภทธุรกิจ แต่มีความใกล้เคียงกันในเรื่องขนาดพื้นที่เช่าและขนาดขององค์กร โดยเมื่อนำประเภทธุรกิจของผู้เช่ามาวิเคราะห์พบว่าผู้เช่าทั้ง 3 กลุ่มประเภทธุรกิจและผู้เช่าพื้นที่ร้านค้ามีความต้องการและคาดหวังให้ฝ่ายบริหารอาคารดูแลเรื่องระบบความปลอดภัยของอาคารให้ได้มาตรฐานตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารมากที่สุดเหมือนกัน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างด้านกลุ่มประเภทธรุกิจนั้น ถึงแม้จะมีความต้องการและความคาดหวังในการจัดการงานอาคารในแต่ละงานมากน้อยไม่เท่ากัน แต่ก็มีมุมมองในการให้ความสำคัญหรือความต้องการจากการจัดการอาคารในเรื่องของการดูแลระบบความปลอดภัยมากที่สุดเหมือนกัน


แบบบ้านสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, เทบพะวง ไชโกสี Jan 2018

แบบบ้านสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, เทบพะวง ไชโกสี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มีวัตถุประสงค์ จะเสนอแบบบ้านสำหรับ ผู้ประสบภัยพิบัติในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ตอบสนองในการเป็นทั้งที่พักอาศัยฉุกเฉิน ที่พักอาศัยชั่วคราวและที่พักอาศัยถาวร จากแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจะต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านรูปแบบ วัสดุและแรงงาน โดยรูปแบบอาคารต้องเรียบง่าย ต่อเติมได้ และแข็งแรง ใช้วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ มีน้ำหนักเบา เพื่อให้สามารถใช้แรงงานน้อยหรือผู้อยู่อาศัยสามารถสร้างได้เองและสามารถต่อเติมได้ภายหลัง​ที่สามารถตอบสนองเป็น ที่พักอาศัยฉุกเฉิน ที่พักอาศัยชั่วคราวและที่พักอาศัยถาวรไปพร้อมกัน จากแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจะต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านรูปแบบ วัสดุและแรงงาน โดยรูปแบบอาคารต้องเรียบง่าย ต่อเติมได้ และแข็งแรง ใช้วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ มีน้ำหนักเบา เพื่อให้สามารถใช้แรงงานน้อยหรือผู้อยู่อาศัยสามารถสร้างได้เองและสามารถต่อเติมได้ภายหลัง จึงเสนอรูปแบบบ้านเป็นอาคารชั้นเดียว รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 3.00 x 6.00 เมตร หลังคาแบบเพิงหมาแหงน ตัวอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นพื้นที่ภายในใช้เป็นที่นอนและพักผ่อน ส่วนที่สองเป็นพื้นที่ภายนอกที่ใช้ประกอบกิจกรรมอื่น ๆ มีช่องระแนงเพื่อระบายอากาศ โครงสร้างเป็นเหล็กรูปพรรณรีดเย็น วางบนตอม่อสำเร็จรูป พื้นภายนอกเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นภายในยกระดับโครงสร้างเหล็กยกระดับปูด้วยแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ เช่นเดียวกับผนังโครงเคร่าเป็นเหล็กกาวาไนซ์ บุด้วยแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ โครงสร้างหลังคาเป็นเหล็ก มุงด้วยแผ่นเหล็กเมทัลชีท เมื่อนำแบบไปก่อสร้างจริงในนครหลวงเวียงจันทน์ ต้องใช้เวลาก่อสร้างทั้งหมด 24 วัน เนื่องจากสภาพอากาศมีฝนตกหนักเกือบทุกวัน แต่ถ้านับเฉพาะทำงานจะเหลือแค่ 7 วัน ใช้งบประมาณ 70,290 บาท แบ่งเป็นค่าวัสดุ 50,290 บาท ค่าแรง 20,000 บาท เป็นค่าจ้างช่างในพื้นที่ 2 คน จากการสอบถามผู้อยู่อาศัยมีความพึงพอใจ แต่มีปัญหาฝนสาดเข้าตัวบ้านเนื่องจากชายคาสั้น มีช่องเปิดน้อยเกินไปทำให้แสงเข้าภายในบ้านไม่เพียงพอและระแนงตีแนวตั้งทำให้หักได้ง่าย นอกจากนั้น ช่างยังไม่คุ้นเคยกับวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ทำให้การก่อสร้างล่าช้าบางขั้นตอนในช่วงแรก ผู้วิจัยจึงได้ทำการปรับแบบใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวต่อไป


การศึกษาคติเรือนพื้นถิ่นไทยพุทธ กรณีศึกษา ต.พร่อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส, ณัฐพร เทพพรหม Jan 2018

การศึกษาคติเรือนพื้นถิ่นไทยพุทธ กรณีศึกษา ต.พร่อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส, ณัฐพร เทพพรหม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาทำความเข้าใจหลักคิดของคติในวิถีเรือนพื้นถิ่นไทยพุทธ ต.พร่อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันระหว่างคติพุทธ รูปแบบและกระบวนการก่อสร้างเรือนพื้นถิ่น ผู้วิจัยทำการศึกษาโดยใช้วิธีเก็บข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปผล โดยศึกษาทั้งภาคเอกสาร และสำรวจภาคสนามเพื่อให้ได้ข้อมูลอันครบถ้วน ได้แก่ หลักธรรม สภาพแวดล้อม ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน วิถีเรือน และวิถีถิ่น ซี่งแสดงออกในรูปแบบของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม ตามคติความเชื่อของท้องถิ่น จากการศึกษาพบว่า วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน โดยมีพระรัตนตรัยเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวสูงสุด วิถีถิ่นสอดคล้องกับคติพุทธที่ชุมชนศรัทธา อันมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาชีวิตไปสู่นิโรธ ด้วยการศึกษาด้าน ศีล สมาธิ และปัญญา ประกอบด้วยวิถีปฏิบัติ 8 ข้อ เรียกว่า "อริยมรรค" วิถีชีวิตของชาวพร่อนจึงเปี่ยมไปด้วยการเจริญสติ รู้กาลเทสะ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน กตัญญูกตเวที สันโดษ และปฏิบัติต่อสรรพสิ่งด้วยความเกื้อกูล พุทธวิถีดังกล่าวได้ส่งผลไปสู่รูปแบบ และกระบวนการสร้างเรือนพื้นถิ่น ที่เอื้อให้ร่างกายและจิตใจมีความสงบ อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาพัฒนาชีวิตในวิถีพุทธ เรียกว่า "มณฑลศักดิ์สิทธิ์" โดยมีหลักเกณฑ์สำคัญ 3 ข้อ ได้แก่ การนำนิมิตรหมายมาใช้เป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ, การสร้างมณฑลศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้เกิดสมาธิ, และการสร้างพื้นที่สัปปายะเพื่อให้เกิดความสงบทั้งร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้จักรวาลชีวิตชาวพร่อน ยังสอดคล้องกับคติพุทธ ด้วยมณฑลที่มีองค์ประกอบสมบูรณ์ 5 ประการ ได้แก่ สิ่งยึดเหนี่ยวทางใจ, ที่อยู่อาศัย, แหล่งน้ำ, ที่ทำกิน, และป่า ทั้งในมิติของเรือนและชุมชน กล่าวได้ว่าชาวพร่อนเข้าใจหลักคิดของการดำเนินชีวิตด้วยปัญญาญาณ โดยรู้เท่าทันสภาวะและประสานกลมกลืนกับความจริงของธรรมชาติ มีความเบิกบาน และเป็นอิสระจากความทุกข์


การวางผังอาคารและลักษณะพื้นที่ว่างระหว่างอาคารในโครงการอาคารชุดพักอาศัยแนวราบในเขต กรุงเทพมหานคร, ปริยากร พิมานแมน Jan 2018

การวางผังอาคารและลักษณะพื้นที่ว่างระหว่างอาคารในโครงการอาคารชุดพักอาศัยแนวราบในเขต กรุงเทพมหานคร, ปริยากร พิมานแมน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวางผังอาคารนับเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้สภาพแวดล้อมพื้นที่ว่างระหว่างอาคารที่ถูกสร้างขึ้นนั้นมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งการวางผังที่ดีนี้จะส่งผลให้ 1) เกิดพื้นที่ภายในน่าอยู่ด้วยการวางตัวอาคารโอบล้อมพื้นทีส่วนกลาง เพิ่มความสงบให้กับพื้นที่ภายในโครงการ 2) นำไปสู่การจัดสรรพื้นที่ Facility ของโครงการ จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า พื้นที่ดังกล่าวจะถูกออกแบบเป็นฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย และมักถูกพบเป็นพื้นที่นันทนาการของโครงการ ซึ่งทำให้เกิดการใช้งานของผู้อยู่อาศัย 3)สามารถบรรลุ ตอบโจทย์การลงทุน เนื่องการวางผังอาคารจะขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและกฎหมายต่างๆ ซึ่งความแตกต่างของการวางผังและสร้างสรรค์พื้นที่ว่างในโครงการนี้ ไม่เพียงแต่เป็นจุดขายของโครงการเท่านั้นแต่พื้นที่ดังกล่าวยังช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับโครงการ สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อีกด้วย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและจำแนกประเภทการวางผังโครงการ และพื้นที่ว่างระหว่างอาคารที่เกิดจากการวางผังในโครงการอาคารชุดพักอาศัยแนวราบ ในเขตกรุงเทพมหานครจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่มีผลประกอบการสูงสุดในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 10 บริษัท โดยรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์และหน่วยงานต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการวางผังและพื้นที่ว่างระหว่างอาคารที่เกิดจากการวางผัง จากรูปแบบผังอาคารที่ต่างกัน ผลการศึกษาพบว่าการวางผังโครงการอาคารชุดพักอาศัยแนวราบที่พบมี 3 รูปแบบหลักและ 1 รูปแบบผสม คือรูปแบบ A วางอาคารแบบสวนกลาง เกิดพื้นที่ว่างที่มีการปิดล้อม 3 ด้านขึ้นไป รูปแบบ B วางอาคารตามแนวถนน 2 ฝั่ง เกิดพื้นที่ว่าง มีด้านปิดล้อม 2 ด้าน รูปแบบ C วางอาคารตามแนวถนน เกิดพื้นที่ว่างเฉพาะด้านสกัดของอาคาร ไม่เกิดการปิดล้อม รูปแบบ D วางอาคารแบบผสม 2 รูปแบบขึ้นไป หรือตามรูปร่างที่ดิน 1) จากโครงการกลุ่มตัวอย่างพบ ผังรูปแบบ A มากที่สุด รองลงมาคือรูปแบบ D C และ B ตามลำดับ โดยผังรูปแบบ C และ D จะพบในโครงการที่มีขนาดใหญ่กว่ารูปแบบ A และ B 2) ผังรูปแบบ A เป็นรูปแบบผังที่มีระดับราคาขายสูงที่สุดใน 4 รูปแบบ และผังในรูปแบบ C เป็นรูปแบบผังที่มีระดับราคาขายต่ำที่สุด 3) ผังรูปแบบ A และ B มีลักษณะและพื้นที่ว่างระหว่างอาคารที่เกิดจากการวางอาคารใกล้เคียงกัน แต่ผังรูปแบบ A ถูกออกแบบพื้นที่ให้เป็นพื้นที่ใช้งานประเภทนันทนาการเพื่อทำกิจกรรมทางเลือกมากกว่า ผังรูปแบบ B …


การจัดการที่พักแรงงานก่อสร้างขนาดใหญ่ในเขตเมืองกรุงเทพมหานคร, วิภาวี อังศุวัชรากร Jan 2018

การจัดการที่พักแรงงานก่อสร้างขนาดใหญ่ในเขตเมืองกรุงเทพมหานคร, วิภาวี อังศุวัชรากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แรงงานก่อสร้าง เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมก่อสร้าง จากแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้าง ทำให้เกิดความต้องการแรงงานและที่พักแรงงานเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการหรือบริษัทรับเหมาก่อสร้าง จะต้องรับหน้าที่จัดเตรียมที่พักสำหรับแรง งานก่อสร้าง เพื่อเป็นแหล่งพักอาศัย ทำให้เกิดความสะดวกต่อการทำงานและการควบคุมบริหารงานก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยแรงงานจำนวนมากในการดำเนินงาน แต่จากการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมา พบว่า ลักษณะที่พักแรงงานก่อสร้าง ร้อยละ 70 มีการจัดพื้นที่และใช้วัสดุในการก่อสร้างต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ได้รับการจัดการเรื่องสุขอนามัยและความปลอดภัยที่ดี รวมถึงสวัสดิการต่าง ๆ ที่ควรได้รับ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด วิธีการ ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการที่พักแรงงานก่อสร้างของ 2 บริษัทที่เป็นกรณีศึกษา ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่มีการจัดที่พักแรงงานก่อสร้างขนาดใหญ่ในเขตเมืองของกรุงเทพมหานคร โดยผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดที่พักแรงงาน รวมถึงทัศนคติของแรงงานก่อสร้าง และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ผลการศึกษาแบ่งได้เป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้ ส่วนที่ 1 แนวคิดในการจัดการที่พักแรงงานก่อสร้างของ 2 บริษัทที่เป็นกรณีศึกษา ผู้ดำเนินการจัดการที่พักแรงงานก่อสร้างโดยมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ด้วยการจัดที่พักแรงงานก่อสร้างให้มีสุขลักษณะ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งส่งผลให้แรงงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยป้องกันปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ส่วนที่ 2 วิธีการจัดการที่พักแรงงานก่อสร้าง ซึ่งแบ่งเป็น 12 ประเด็น ได้แก่ 1.การเลือกทำเลที่ตั้ง 2.การจัดผังบริเวณ 3.การก่อสร้าง (โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวก) 4.การจัดแรงงานเข้าพักอาศัย 5.การจัดการเดินทาง 6.การจัดการสุขลักษณะ 7.การจัดการสิ่งแวดล้อม 8.การจัดการความปลอดภัย 9.การบริการรักษาพยาบาล 10.กฎระเบียบและบทลงโทษ 11.การสื่อสารและอบรมให้ความรู้ 12.การจัดการงบประมาณ ส่วนที่ 3 ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการ พบว่า มีข้อจำกัดในเรื่องการหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม ภายใต้งบประมาณและพื้นที่ในเมืองที่จำกัด และปัญหาจากพฤติกรรมส่วนบุคคลของแรงงานเอง และส่วนที่ 4 ทัศนคติของแรงงานก่อสร้าง พบว่า แรงงานมีทัศนคติที่ดีต่อการพักอาศัยในที่พักที่จัดให้ทั้ง 2 บริษัทที่เป็นกรณีศึกษา


ติดตามผลที่ผู้อยู่อาศัยได้รับจากบ้านประหยัดพลังงานในโครงการบ้านจัดสรร กรณีศึกษาโครงการเสนาปาร์ค วิลล์ และโครงการเสนาพาร์คแกรนด์ รามอินทรา วงแหวน, มัลลิกา มงคลรังสฤษฎ์ Jan 2018

ติดตามผลที่ผู้อยู่อาศัยได้รับจากบ้านประหยัดพลังงานในโครงการบ้านจัดสรร กรณีศึกษาโครงการเสนาปาร์ค วิลล์ และโครงการเสนาพาร์คแกรนด์ รามอินทรา วงแหวน, มัลลิกา มงคลรังสฤษฎ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวคิดของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อการออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน ขนาด 135-259 ตารางเมตร รวมถึงศึกษาลักษณะการใช้งาน และทัศนคติของผู้อยู่อาศัยที่มีต่อรูปแบบบ้านประหยัดพลังงาน โดย วิธีการสัมภาษณ์จากผู้ประกอบการ และแจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านประหยัดพลังงานที่เป็น กรณีศึกษาทั้ง 2 โครงการ ได้แก่ เสนาพาร์ควิลล์ และ เสนาพาร์คแกรนด์ จำนวน 90 ตัวอย่าง สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณและใช้การ สัมภาษณ์เชิงลึก 10 ตัวอย่างสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ การศึกษาแนวความคิดบ้านประหยัดพลังงาน ทั้งด้านสถาปัตยกรรมและด้านงานระบบที่ส่งผลให้เกิดการประหยัด พลังงานภายในบ้าน ค้นพบว่า บ้านประหยัดพลังงานมีช่องเปิดระบายอากาศ และ สัดส่วนอาคารต่อที่ดิน สูงกว่ามาตรฐานกำหนดไว้ อีกทั้ง ระบบ Solar cell ที่ช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 700 - 4,100 ต่อเดือน ซึ่งจัดอยู่ในระดับค่าไฟฟ้าค่อนข้าง ไม่สูงมากหนักเมื่อเทียบกับบ้านขนาดเดียวกันในโครงการอื่นๆ อันนี้เป็นตัวแปรสำคัญต่อการออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน ผลการสำรวจด้านครัวเรือน และการใช้งานพื้นที่พบว่าผู้อยู่อาศัยบ้านประหยัดพลังงานทั้ง 5 รูปแบบ ส่วนใหญ่มี สมาชิกในครัวเรือนจำนวน 4 คน มีรายได้ครัวเรือนประมาณ 100,000 ขึ้นไป ช่วงเช้า – ช่วงเย็น จะใช้งานส่วนพื้นที่ห้องรับแขกเป็น หลัก เฉลี่ยอยู่บ้านต่อวันเป็น 17 ชม. นอกจากนี้ผู้อยู่อาศัยทั้ง 5 รูปแบบ การใช้ระบบภายในบ้านที่คล้ายกัน คือ การใช้ เครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้ไฟฟ้า และแผงโซลาเซลล์ ผลที่ได้รับจากบ้านประหยัดพลังงาน (ก่อนอยู่) ทั้งด้านสถาปัตยกรรม และ ด้านระบบของบ้านประหยัดพลังงาน อยู่ในระดับปานกลาง และ ความพึงพอใจต่อบ้านประหยัดพลังงาน(อยู่อาศัย) ทั้งด้าน สถาปัตยกรรม และด้านระบบของบ้านประหยัดพลังงานอยู่ ในระดับมากการปรับปรุงด้านสถาปัตยกรรม 3 อันดับแรก คือ ปรับปรุง รูปแบบบ้านให้มีระแนงกันแดดเข้าถึงตัวบ้าน รองลงมาคือ รูปแบบบ้านน่าจะเหมาะสมกับราคามากกว่านี้ และ อยากให้ใช้สีกับตัว บ้านมีความโดดเด่นมากกว่านี้ ผู้อยู่อาศัย ต้องการให้เพิ่มแบตเตอรี่เก็บไฟตอนกลางคืน ข้อเสนอแนะด้านอื่นๆ อยากให้ปลูกต้นไม้ที่ …


กระบวนการพัฒนาโรงแรมภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษา บ้านริมแคว แพริมน้ำ รีสอร์ท จ.กาญจนบุรี, อรุณวรรณ ปราบพาล Jan 2018

กระบวนการพัฒนาโรงแรมภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษา บ้านริมแคว แพริมน้ำ รีสอร์ท จ.กาญจนบุรี, อรุณวรรณ ปราบพาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาโรงแรมเป็นการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่สำคัญในช่วงที่ประเทศไทยใช้การท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่โรงแรมส่วนใหญ่มุ่งการดำเนินงานในเชิงธุรกิจ ได้มีโรงแรมจำนวนหนึ่งได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินงาน บ้านริมแคว แพริมน้ำ รีสอร์ท เป็นโรงแรมที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการพอแล้วดี เพื่อเป็นต้นแบบในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับธุรกิจ ประเภทธุรกิจโรงแรมและที่พัก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาโรงแรมภายใต้หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยวิธีการ คือ 1. ศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี โดยเฉพาะเรื่องของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำเครื่องมือในการสัมภาษณ์ 2.สัมภาษณ์ เจ้าของบ้านริมแคว แพริมน้ำ ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเจ้าหน้าที่โครงการพอแล้วดี ผลการศึกษาพบว่า บ้านริมแคว แพริมน้ำ รีสอร์ท ในปัจจุบัน(2562) มีห้องพักจำนวน 98 ห้อง แบ่งเป็นแพพัก 47 ห้อง และบ้านพัก 51 ห้อง มีที่ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ มีแม่น้ำแควน้อยไหลผ่าน มีการแบ่งสัดส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยไม่ได้สร้างโรงแรมอย่างเต็มพื้นที่แต่แบ่งเป็นที่ดินในการทำเกษตรเพื่อนำผลผลิตมาใช้ในโครงการ พื้นที่สำหรับบ้านพักพนักงาน โดยกระบวนการพัฒนาโรงแรมนี้ใช้ระยะเวลามาแล้ว 25 ปีและยังคงพัฒนาต่อไป กระบวนการพัฒนาที่ผ่านมาแบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ (1) การพัฒนาโดยแนวคิดทำการใหญ่ในธุรกิจท่องเที่ยว และยังไม่มีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ดำเนินงานระหว่าง พ.ศ.2524-2527 ผลการดำเนินงานในช่วงนี้มีปัญหาหนี้สิน และที่ดินส่วนใหญ่ถูกทิ้งร้าง (2) ระยะปรับแนวคิด เป็นการทำไป อยู่ไป กินไป (พ.ศ. 2527-2545) การพัฒนาโครงการเริ่มจากแพพักเพียง 1 หลัง และพัฒนาจากรายได้ที่ได้จากการบริการ สร้างบ้านพักทีละ 1-2 หลัง/ปี ซึ่งทำให้ผลการดำเนินงานช่วงนี้พอที่จะสามารถเลี้ยงตนเอง และหนี้สินลดลง และ (3) ช่วงการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางการดำเนินงาน(พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน) โดยการค่อยๆพัฒนาบ้านพักทีละ 1-2 หลัง เน้นการลงทุนการเงินหมุนเวียนภายใน มีการกู้เงินจากสถาบันทางการเงินเป็นส่วนน้อย ส่งผลให้ภาระหนี้สินลดลง ขยายโรงแรมเป็น 98 ห้อง(เท่าจำนวนปัจจุบัน) ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน สามารถเลี้ยงตนเอง ครอบครัว รวมทั้งพนักงานในรีสอร์ทซึ่งเป็นคนในพื้นที่ได้ และสามารถไปช่วยเหลือชุมชน วัดและโรงเรียน โดยรอบโครงการได้ ผลจากการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนี้ทำให้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการพอแล้วดี เพื่อเป็นต้นแบบธุรกิจที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินงาน คือความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว มีความรู้ …


ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของผู้ใช้บริการกับประเภทร้านค้าในคอมมูนิตี้ มอลล์ กรณีศึกษา : โครงการเดอะ เซ้นส์ ปิ่นเกล้า และโครงการเออร์เบิน สแควร์, เสาวพร วรสินธพ Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของผู้ใช้บริการกับประเภทร้านค้าในคอมมูนิตี้ มอลล์ กรณีศึกษา : โครงการเดอะ เซ้นส์ ปิ่นเกล้า และโครงการเออร์เบิน สแควร์, เสาวพร วรสินธพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การกำหนดประเภทของร้านค้าให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายถือเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนาโครงการคอมมูนิตี้ มอลล์ งานวิจัยนี้ศึกษาแนวคิดในการกำหนดประเภทร้านค้ารวมถึงลักษณะของผู้ใช้บริการโดยมีกรณีศึกษาคือ โครงการเดอะ เซ้นส์ ปิ่นเกล้า (SP) และโครงการเออร์เบิน สแควร์ (US) ใช้วิธีการสำรวจลักษณะทางกายภาพโครงการ สัมภาษณ์ผู้ประกอบการ และสอบถามผู้ใช้บริการ 300 คน วิเคราะห์โดยวิธีการทางสถิติและการถอดคำสำคัญจากบทสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการเลือกทำเลที่ตั้งและการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้คอมมูนิตี้ มอลล์เป็นสถานที่ตอบสนองความต้องการของการใช้ชีวิต เน้นความสะดวกสบายและใกล้ชุมชน 2) ประเภทร้านค้าของทั้งสองโครงการทีมีความคล้ายคลึงกัน คือ มีซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านสุขภาพและความงาม สถาบันกวดวิชา ธนาคารและตู้เอทีเอ็ม อย่างไรก็ตาม มีการจัดตราสินค้าของร้านค้าแต่ละประเภทแตกต่างกันตามกลุ่มเป้าหมาย 3) ลักษณะของผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ของโครงการ SP คือ กลุ่มอายุ 26-35 ปี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ส่วนโครงการ US เป็นกลุ่มอายุ 18-25 ปี มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา ทั้งนี้ ร้านค้าที่มีการใช้บริการหลักคือ ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารรวมถึงร้านเครื่องดื่มและขนม 4) ประเภทร้านค้าที่จัดไว้ทั้งสองโครงการเป็นร้านค้าที่รองรับการใช้ชีวิตประจำวันและมีความหลากหลายของตราสินค้า อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของตราสินค้าส่งผลต่อการใช้บริการที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเรื่องระยะเวลาการเข้าใช้บริการและค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าประเภทร้านค้าที่มีอยู่ในคอมมูนิตี้ มอลล์ยุคนี้คือ ร้านอาหารและร้านเกี่ยวกับสุขภาพและความงาม ซึ่งถือเป็นกลุ่มร้านค้าหลักนอกเหนือจากซูเปอร์มาร์เก็ต ทั้งนี้ ตราสินค้าจะเป็นตัวบ่งชี้ลักษณะการใช้บริการของกลุ่มเป้าหมาย งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้พัฒนาคอมมูนิตี้ มอลล์ โดยเฉพาะการเลือกที่ตั้งที่ควรสะดวกต่อการเดินทางและมีร้านค้าที่มีตราสินค้าตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวันของกลุ่มเป้าหมาย


ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการเข้าพักที่พักแรมย่านสถานีรถไฟกรุงเทพ, กฤชภัสสร์ วีวัยวุธภิญโญ Jan 2018

ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการเข้าพักที่พักแรมย่านสถานีรถไฟกรุงเทพ, กฤชภัสสร์ วีวัยวุธภิญโญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะที่พักแรมบริเวณรอบสถานีรถไฟกรุงเทพ การเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยว รวมถึงความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการเข้าพัก รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ 3 แหล่ง คือ Booking.com Agoda และ Trip Adviser ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ถึง 15 เมษายน พ.ศ. 2562 มีจำนวนผู้รีวิวทั้งสิ้น 23,109 คน นอกจากนี้ยังสำรวจที่พักแรมรอบสถานีรถไฟกรุงเทพระยะ 500 เมตร จำนวน 27 แห่ง สัมภาษณ์ผู้จัดการที่พักแรม 27 คน และนักท่องเที่ยวจำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการถอดคำสำคัญ จัดกลุ่ม และใช้วิธีการทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า 1) ที่พักแรมสามารถจำแนกได้ 3 ประเภท คือ โฮสเท็ล (ร้อยละ 41) โรงแรม (ร้อยละ 33) และเกสต์เฮาส์ (ร้อยละ 26) ตามลำดับ โดยโฮสเท็ลมีสัดส่วนมากที่สุด ซึ่งที่พักแรมส่วนใหญ่ร้อยละ 70 มีระยะทางเดินเท้าจากสถานีรถไฟไม่เกิน 600 เมตร และร้อยละ 66 มีราคาไม่เกิน 1,000 บาท 2) นักท่องเที่ยวที่เข้าพักแรมส่วนมากเป็นชาวต่างชาติ (ร้อยละ 73) เข้าพักเป็นจำนวน 2 วัน 1 คืน (ร้อยละ 56) และจ่ายค่าที่พักไม่เกิน 1,000 บาทต่อคืน (ร้อยละ 70) เหตุผลในการเลือกพักย่านหัวลำโพงเนื่องจากมีแผนการท่องเที่ยวที่ใช้รถไฟเป็นหลัก หรือทำธุระในพื้นที่ใกล้เคียง 3) นักท่องเที่ยวพึงพอใจต่อที่พักในย่านนี้ระดับสูง (8.1 คะแนน) โดยพึงพอใจด้านการบริการมากที่สุด (8.3 คะแนน) รองลงมาด้านทำเลที่ตั้ง (8.2 คะแนน) ความคุ้มค่าเงิน (8.2 คะแนน) และสิ่งอำนวยความสะดวก (8.1 …


การจัดให้มีสถานดูแลผู้สูงอายุ และสถานรับเลี้ยงเด็กในเวลากลางวัน (Daycare) เพื่อเพิ่มพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Far Bonus) สำหรับผู้พัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัยในกรุงเทพมหานคร, กฤติยา วิรบุตร์ Jan 2018

การจัดให้มีสถานดูแลผู้สูงอายุ และสถานรับเลี้ยงเด็กในเวลากลางวัน (Daycare) เพื่อเพิ่มพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Far Bonus) สำหรับผู้พัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัยในกรุงเทพมหานคร, กฤติยา วิรบุตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบัน พ.ศ. 2562 จำนวนประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยมีมากกว่าประชากรวัยเด็ก และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ทำให้อัตราส่วนของวัยแรงงานในการเลี้ยงดูผู้สูงอายุ 1 คนลดลงเรื่อยมา จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ดังนั้น การดูแลโดยครอบครัวจึงไม่เพียงพออีกต่อไป สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากอัตราการเกิดที่ลดลง โดยเหตุผลที่ครอบครัวสมัยใหม่มีบุตรน้อยลง เพราะวัฒนธรรมการทำงาน และขนาดครอบครัวที่เล็กลง ทำให้ขาดผู้ดูแลบุตรในเวลากลางวัน จากสถานการณ์ข้างต้น ภาครัฐจึงออกนโยบายหลายด้านเพื่อขานรับการเปลี่ยนแปลง รวมถึงกระตุ้นความร่วมมือจากภาคเอกชน มาตรการทางผังเมืองเป็นมาตรการหนึ่งที่สนับสนุนให้ภาคเอกชนร่วมจัดตั้งบริการทางสังคม โดยร่างผังเมืองรวมกรุงเทพฯ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 ได้เพิ่มเกณฑ์การจัดให้มีสถานดูแลผู้สูงอายุ และสถานเลี้ยงเด็กในเวลากลางวันในมาตรการเพิ่มพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR Bonus) จึงเกิดคำถามในการนำกฎหมายดังกล่าวไปปฏิบัติจริง โดยเลือกศึกษาอาคารชุดพักอาศัยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในกรุงเทพฯ แนวทางการศึกษาอาศัยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อการคาดการณ์ที่น่าเชื่อถือ เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) จึงถูกนำมาใช้ในการคัดเลือกผู้ให้สัมภาษณ์ การสัมภาษณ์ และการตอบแบบสอบถาม โดยมีกลุ่มประชากร 4 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้พัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัย ผู้เชี่ยวชาญด้านสถานดูแลผู้สูงอายุ และสถานเลี้ยงเด็กในเวลากลางวัน และผู้เชี่ยวชาญทางผังเมือง รวม 19 ท่าน สำหรับการศึกษาด้านความคุ้มค่าในการลงทุน อาศัยแบบจำลองการเพิ่มพื้นที่ของกรณีศึกษาอาคารชุดพักอาศัย จำนวน 11 โครงการ แบ่งตามระดับราคา เพื่อนำมาคำนวณหาผลตอบแทนและต้นทุนเมื่อพื้นที่เพิ่มขึ้น โดยดัดแปลงวิธีการคำนวณจาก อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อต้นทุน (Return on Investment หรือ ROI) ผลที่ได้จึงนำมาวิเคราะห์ร่วมกับตัวแปรด้านระดับราคา และค่า FAR ของที่ตั้งโครงการ ผลการศึกษาความเห็นจากผู้พัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัย และผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน พบว่า มาตรการส่งเสริมดังกล่าวมีความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน ขึ้นอยู่กับลักษณะโครงการ และกลุ่มเป้าหมาย กล่าวคือ โครงการระดับราคาปานกลาง มีความเหมาะสมในการเข้าร่วมเกณฑ์มากที่สุด เพราะที่ตั้งโครงการอยู่ในทำเลที่มีความต้องการเพิ่มพื้นที่อาคาร และขนาดของโครงการทำให้โอกาสที่จำนวนผู้ใช้บริการจะมีมากขึ้น ด้านความคุ้มค่าในการลงทุน ผลจากแบบจำลองการเพิ่มพื้นที่แสดงให้เห็นว่า เกณฑ์การจัดให้มีสถานดูแลผู้สูงอายุ และสถานเลี้ยงเด็กในเวลากลางวัน มีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยมีสัดส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนมากที่สุดในโครงการระดับราคาสูง และลดลงในโครงการระดับราคาปานกลาง และระดับราคาต่ำ และยังมีแนวโน้มแปรผันตรงกับค่า FAR ของที่ตั้งโครงการ ด้านข้อจำกัดในการเข้าร่วมเกณฑ์ ครอบคลุมในเรื่องการเปลี่ยนแปลงการใช้งานพื้นที่ ความต้องการเพิ่มพื้นที่อาคาร ซึ่งสวนทางกับความต้องการสถานดูแลในเวลากลางวันเมื่อเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ในเมือง และชานเมือง รวมถึงการจัดหาผู้ประกอบการสถานดูแลในเวลากลางวันที่เชี่ยวชาญ