Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2017

Environmental Design

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 31 - 45 of 45

Full-Text Articles in Architecture

แนวทางการพัฒนาแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Bim) เพื่อคำนวณค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคาร (Ottv) ในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น, อภิเกียรติ เจริญสุทธิโยธิน Jan 2017

แนวทางการพัฒนาแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Bim) เพื่อคำนวณค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคาร (Ottv) ในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น, อภิเกียรติ เจริญสุทธิโยธิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2550 ได้มีหลักเกณฑ์การคำนวณค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคารในส่วนที่มีการปรับอากาศ (OTTV) ซึ่งการคำนวณค่า OTTV ในปัจจุบันสามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น เป็นการคำนวณด้วยมือ หรือโปรแกรม BEC V.1.0.6 อย่างไรก็ตามพบว่า โปรแกรมที่ใช้ในปัจจุบันจะรับข้อมูลปริมาณมากจากผู้ออกแบบและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ทำให้เกิดความผิดพลาดในการใส่ข้อมูล จึงนำไปสู่การพัฒนาชุดคำสั่งในโปรแกรม Autodesk Revit ร่วมกับส่วนเสริม Dynamo เพื่อใช้ในการสร้างคำสั่งที่สามารถควบคุม เรียกข้อมูล และคำนวณทางคณิตศาสตร์ จนทำเกิดให้เป็นผลลัพธ์ของสมการ OTTV ที่เป็นไปตามประกาศกระทรวงพลังงาน ผลลัพธ์ที่ได้คือ ส่วนเสริมของโปรแกรมที่ใช้ประมาณการค่า OTTV ในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น ซึ่งเมื่อผู้ใช้งานมีการปรับเปลี่ยนการออกแบบ ค่าที่ได้จะเปลี่ยนแบบอัตโนมัติ รวมไปถึงมีการแสดงผลในรูปแบบต่าง ๆ และการแนะนำการปรับปรุงอาคาร จึงทำให้ลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนลงจากการเปรียบเทียบผลการคำนวณด้วยส่วนเสริม Dynamo กับโปรแกรม BEC V.1.0.6 พบว่าการประมาณการค่า OTTV มีความคลาดเคลื่อนประมาณ ±1% สำหรับผนังทึบและผนังโปร่งแสงที่ไม่มีการใช้อุปกรณ์บังแดด สาเหตุเนื่องมาจากลักษณะการประมาณค่าเชิงเส้นตรงที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความแตกต่างของผลลัพธ์ที่ได้ และผนังโปร่งแสงที่มีการใช้อุปกรณ์บังแดดรวมด้วย จะมีความคลาดเคลื่อนประมาณ ±3% เนื่องจากพบว่าการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดของอุปกรณ์บังแดดจากเครื่องมือที่ได้พัฒนา ที่อ้างอิงจากประกาศกระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2552 ขาดการคิดให้อุปกรณ์บังแดดบังการรังสีกระจายของดวงอาทิตย์จากท้องฟ้า จึงทำให้เมื่อเปรียบเทียบผลการคำนวณของเครื่องมือที่พัฒนากับโปรแกรม BEC จึงทำให้มีผลการคำนวณที่สูงกว่า


เส้นทางอพยพหนีภัยหอผู้ป่วยใน กรณีอาคารสูงในโรงพยาบาลของรัฐ, อลิสา ขจรสิริฤกษ์ Jan 2017

เส้นทางอพยพหนีภัยหอผู้ป่วยใน กรณีอาคารสูงในโรงพยาบาลของรัฐ, อลิสา ขจรสิริฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หอผู้ป่วยใน กรณีอาคารสูงในโรงพยาบาลของรัฐเป็นอาคารสาธารณะที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายหากเกิดเหตุอัคคีภัย เนื่องจากอาคารมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากและอยู่ในอาคารเป็นระยะเวลานาน ประกอบด้วยผู้ที่มีความสามารถในการช่วยเหลือตนเองหลายระดับ ทั้งผู้ที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ปกติ จนถึงผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย นอกจากนี้ปัจจุบันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางอพยพหนีภัยเป็นเพียงมาตรฐานขั้นต้นที่ครอบคลุมลักษณะอาคารทั่วไปเท่านั้น ทำให้ไม่มีความสอดคล้องกับประเภทและลักษณะเฉพาะของการใช้งานอาคารหอผู้ป่วยในซึ่งมีความแตกต่างกับอาคารประเภทอื่นๆ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสอดคล้องของกฎหมายกับการออกแบบและใช้งาน สาเหตุและปัญหาในการออกแบบและใช้งานเส้นทางอพยพหนีภัยหอผู้ป่วยใน กรณีอาคารสูงในโรงพยาบาลของรัฐ มีวิธีดำเนินการวิจัยคือ 1)ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับหอผู้ป่วยใน กฎหมาย มาตรฐาน และหลักการเกี่ยวกับการอพยพหนีภัย 2)ศึกษาและวิเคราะห์เส้นทางอพยพหนีภัยจากแบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม จำนวน 23 อาคาร 3)สัมภาษณ์และสำรวจเส้นทางอพยพหนีภัย จำนวน 7 อาคาร โดยสัมภาษณ์ 3 กลุ่ม คือ ผู้ออกแบบ ผู้ใช้งาน และผู้ทรงคุณวุฒิ 4)วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสรุปผลการวิจัยและเสนอแนะ จากการศึกษาพบว่าในการออกแบบเส้นทางอพยพหนีภัย ผู้ออกแบบใช้กฎหมายเป็นมาตรฐานขั้นต้น ซึ่งข้อกำหนดในกฎหมายบางส่วนยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และบางส่วนยังไม่สอดคล้องกับการใช้งานเมื่อมีการซ้อมอพยพหนีภัย โดยผู้ออกแบบได้ออกแบบตามกฎหมายและบางส่วนมีการคำนึงถึงเส้นทางอพยพหนีภัยตามมาตรฐานสากล แต่การออกแบบเส้นทางอพยพหนีภัยยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด เนื่องจากการขาดความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องความปลอดภัย ตลอดจนข้อจำกัดต่างๆที่ส่งผลต่อการออกแบบ ทำให้การออกแบบเส้นทางอพยพหนีภัยที่ครบถ้วนยังไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในแบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมของอาคาร ในการใช้งานเส้นทางอพยพหนีภัย ผู้ใช้งานมีการวางแผนปฏิบัติการระงับอัคคีภัยและการซ้อมอพยพหนีภัย ซึ่งถูกกำหนดตามความเข้าใจของผู้ใช้งาน การใช้งานเส้นทางอพยพหนีภัยในเวลาปกติพบว่าผู้ใช้งานมีการปรับเปลี่ยนการใช้งานบางอย่างที่อาจส่งผลต่อการอพยพหนีภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งเกิดจากการที่ผู้ใช้งานไม่รู้วัตถุประสงค์ของการออกแบบ แต่เมื่อมีการซ้อมอพยพหนีภัยจะมีการจัดเตรียมพื้นที่ก่อนซ้อมอพยพหนีภัย ทำให้เกิดความไม่สอดคล้องกันระหว่างการอพยพหนีภัยหากเกิดเหตุการณ์จริงกับการซ้อมอพยพหนีภัยที่ใช้งานพื้นที่ตามการออกแบบ


โครงหลังคาสำเร็จรูป : โครงถักเหล็กชุบกัลวาไนซ์, เพิ่มวิทย์ เตชะทวีวัฒน์ Jan 2017

โครงหลังคาสำเร็จรูป : โครงถักเหล็กชุบกัลวาไนซ์, เพิ่มวิทย์ เตชะทวีวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เดิมทีนิยมใช้ไม้ทำโครงหลังคาเนื่องจากมีกลสมบัติกำลังรับแรงดัดได้ดี แต่ปัจจุบันไม้มีราคาสูงและไม่ทนทาน จึงใช้เหล็กรูปพรรณแทน แต่เหล็กรูปพรรณมีกลสมบัติรับแรงดัดน้อยกว่าไม้เมื่อเปรียบเทียบด้วยน้ำหนักของวัสดุ จึงจำเป็นต้องเพิ่มค้ำยัน เพื่อให้สามารถใช้เหล็กรูปพรรณที่มีหน้าตัดเล็กลงและส่งผลให้โครงหลังคามีน้ำหนักเบาลงได้ อีกทั้งเหล็กรูปพรรณเกิดสนิมได้ง่าย จึงใช้เหล็กชุบกัลวาไนซ์ที่กันสนิมได้แทน อีกทั้งน้ำหนักเบา ราคาถูก และยังรับแรงดึงและแรงอัดได้มากกว่าจึงทำให้ลดหน้าตัดชิ้นส่วนลงได้ แต่ต้องเปลี่ยนรูปแบบโครงหลังคาเป็นโครงถักเพราะเหล็กชุบกัลวาไนซ์รับแรงดัดได้น้อย เหล็กชุบกัลวาไนซ์จะผลิตจากโรงงานเป็นแผ่นเรียบและม้วนกับแกนเหล็ก สำหรับส่งไปตัดและพับตามรูปแบบที่อีกโรงงานหนึ่ง จากนั้นจะขนส่งชิ้นส่วนเหล็กชุบกัลวาไนซ์ไปยังสถานที่ก่อสร้าง และกองเก็บรอการประกอบโครงหลังคา ในการประกอบโครงถักต้องการพื้นที่ที่เรียบสม่ำเสมอ เมื่อประกอบโครงถักแล้วเสร็จ จะใช้แรงคนยกขึ้นไปติดตั้งจนพร้อมมุงหลังคา จากกรณีศึกษาบ้านเดี่ยว พบปัญหา ที่กองเก็บชิ้นส่วนที่มีจำนวนถึง 119 ชิ้น สำหรับประกอบโครงถัก 6 โครง และยาวเท่ากับขนาดของหลังคามักกีดขวางการทำงานอื่น ทำให้ชิ้นส่วนเกิดกระทบกระแทกและได้รับความเสียหาย อีกทั้งปัจจุบันต้องใช้พื้นที่ถนนเป็นที่ประกอบโครงถัก จึงมักมีปัญหาเนื่องจากถนนเป็นงานลำดับท้ายของโครงการ จึงเสนอแนะให้ใช้โครงถักที่ประกอบจากสถานที่อื่น เป็นโครงถักสำเร็จรูปที่มีความยาวสอดคล้องกับข้อกำหนดการขนส่ง โดยเสนอโครงถักสำเร็จรูป 3 รูปแบบ ได้แก่แบ่งความยาวของโครงถักเดิม 6 โครง ออกเป็นสองส่วน นำไปติดตั้งในลักษณะวางขนานกันเช่นเคย ซึ่งประกอบจากโครงถัก 12 โครง จำนวน 119 ชิ้น อีกรูปแบบหนึ่งแบ่งโครงถักเป็นสองส่วน แต่ติดตั้งในลักษณะวางขนานกันเป็นฟันปลา โดยต้องเพิ่มชิ้นส่วนขึ้นเล็กน้อยสำหรับโครงถัก 12 โครง จำนวน 151 ชิ้น รูปแบบสุดท้ายเปลี่ยนรูปแบบโครงถักใหม่ โดยติดตั้งตามแนวตะเข้สันของหลังคา ซึ่งใช้ชิ้นส่วนสำหรับประกอบเป็นโครงถัก 8 โครง จำนวน 106 ชิ้น จะเห็นได้ว่า การประกอบโครงถักเหล็กชุบกัลวาไนซ์สามารถกระทำได้ที่โรงงาน และขนส่งไปยังสถานที่ก่อสร้างได้ โดยทั้งคงรูปแบบโครงถักเดิม หรือเพิ่มชิ้นส่วนขึ้นเล็กน้อย รวมทั้งออกแบบโครงถักเป็นโครงหลังคาสำเร็จรูปรูปแบบอื่น


ประสิทธิภาพการลดภาระการทำความเย็นภายในอาคารสำนักงาน โดยการใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยบนผิววัสดุ, กิติสรา ปั้นประสม Jan 2017

ประสิทธิภาพการลดภาระการทำความเย็นภายในอาคารสำนักงาน โดยการใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยบนผิววัสดุ, กิติสรา ปั้นประสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพด้านความร้อนของผนังทึบที่มีการติดตั้งแผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยของน้ำบนผิววัสดุ โดยเน้นศึกษาการลดการสะสมความร้อนบนผิววัสดุที่ส่งผลให้เกิดเกาะความร้อนเมือง จากการใช้แผงกันแดดที่มีหน้าที่เป็นอุปกรณ์ป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์มารวมเข้ากับการใช้การระเหยของน้ำเพื่อลดอุณหภูมิบนผิววัสดุที่ใช้ทำแผงกันแดด โดยงานวิจัยนี้ได้เลือกใช้แผงกันแดดดินเผาที่หาซื้อได้ง่ายในประเทศไทย อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำไว้ในเนื้อวัสดุเพื่อนำมาใช้ในการระเหยบนผิววัสดุได้อีกด้วย โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กำหนดให้มีการสร้างกล่องทดลองไปวางในสถานที่จริงและทำการเก็บข้อมูลโดยการวัดค่าอุณหภูมิและนำไปคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนรวม (Ueff) ของผนังอาคารที่มีการใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยน้ำ และแบบแผงกันแดดดินเผาทั่วไป ลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ VisualDOE 4.1 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพด้านพลังงานตลอดทั้งปีของอาคารสำนักงานขนาดกลางที่มีการใช้งานในเวลากลางวัน ผลการศึกษาพบว่า การใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยน้ำบนผิวจะสามารถทำให้อุณหภูมิบนผิววัสดุลดต่ำกว่าแบบแผงกันแดดทั่วไปเฉลี่ยที่ 5.7 องศาเซลเซียส และมีประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิอากาศเมื่ออากาศไหลผ่านแผงดินเผาร่วมกับการระเหยของน้ำเฉลี่ยอยู่ที่ 4.7 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยของน้ำนั้นสามารถลดอุณหภูมิอากาศกึ่งกลางกล่องทดลองได้มากกว่ากล่องที่ไม่มีแผงกันแดดอยู่ที่ 6.6 องศาเซลเซียส ซึ่งส่งผลให้เกิดการประหยัดพลังงานการใช้ไฟฟ้าในอาคารสำนักงานได้ถึง 4.47% ต่อปี และ 4.30% ต่อปีสำหรับพลังงานด้านการทำความเย็นแก่อาคาร


แนวทางการออกแบบการส่องสว่างปราสาทหิน กรณีศึกษา อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย, กิตติ กิจศิริกุล Jan 2017

แนวทางการออกแบบการส่องสว่างปราสาทหิน กรณีศึกษา อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย, กิตติ กิจศิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่การออกแบบการส่องสว่างปราสาทหิน ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย โดยเริ่มต้นจากการทบทวนวรรณกรรม การสำรวจสถานที่จริงและการสัมภาษณ์นักออกแบบการส่องสว่างอาชีพ เพื่อหาข้อพิจารณาในการส่องสว่างโบราณสถาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สำหรับใช้ในการออกแบบ ผลจากการสัมภาษณ์พบว่า ข้อควรพิจารณาในการออกแบบการส่องสว่างโบราณสถาน ได้แก่ ลำดับความสำคัญของสถาปัตยกรรม อุณหภูมิสีของแสง องค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรม และภูมิทัศน์ นอกจากนี้ยังควรคำนึงถึงเทคนิคการติดตั้งดวงโคมที่ไม่ทำให้โบราณสถานเสียหายและไม่ควรเห็นดวงโคมเด่นชัดอีกด้วย หลังจากทำการออกแบบตามขั้นตอนที่พัฒนาจากการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์แล้ว จึงนำภาพผลงานการออกแบบไปสอบถามนักออกแบบการส่องสว่างจำนวน 10 รูปแบบ ด้วยแบบสอบถามประเมินการรับรู้ ด้วยคำคู่ตรงข้าม 5 ด้าน พบว่า ภาพชุดที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในทุกด้าน คือ การส่องสว่างแบบสาดโดยไล่ระดับความสว่างร่วมกับการใช้อุณหภูมิสีของแสงที่ส่งเสริมสีของวัสดุ เน้นให้สถาปัตยกรรมสำคัญโดดเด่นที่สุด และเน้นองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมด้วยแสงสีโทนอุ่น ส่วนภาพชุดที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดในทุกด้าน คือ การส่องสว่างแบบสาดทั่วทั้งโบราณสถานที่ระดับความสว่างต่ำสุด สามารถสรุปเป็นแนวทางการออกแบบการส่องสว่างปราสาทหินได้เป็น 4 ขั้นตอนหลัก คือ 1) การส่องสว่างแบบสาดทั่วทั้งโบราณสถาน โดยระดับความสว่างขึ้นอยู่กับบริบทโดยรอบ 2) การเน้นลำดับความสำคัญของสถาปัตยกรรมหลัก-รองโดยใช้ระดับความส่องสว่างและอุณหภูมิสีที่แตกต่างกัน 3) การส่องเน้นองค์ประกอบย่อยให้ชัดเจนขึ้น และ 4) การส่องสว่างภูมิทัศน์โดยรอบโบราณสถาน


Architectural Design Factors Influencing Pedestrian Flow In Community Malls: A Case Study Of Thong Lo, Nicha Wiboonpote Jan 2017

Architectural Design Factors Influencing Pedestrian Flow In Community Malls: A Case Study Of Thong Lo, Nicha Wiboonpote

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

During the past decade, community malls are in the fastest growing category of Bangkok's retail industry. This growth was due to their building layouts and types of tenants which match urban lifestyles; along with Bangkok zoning restrictions for large shopping centers in residential areas. Today, the number of community malls with three or more floors (mid-rise community malls) is growing, especially in Thong Lo. This is because of the increasing land prices, where investments in community malls with one-two floors are no longer cost-effective. However, mid-rise community malls commonly have the issue of low pedestrian flows on the upper floors, …


Cmu Media Arts And Design Center, Pachara Chantanayingyong Jan 2017

Cmu Media Arts And Design Center, Pachara Chantanayingyong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The development of technological innovations has led to the diversification of art in terms of its form as an instrument to portray artists' ideas and creativity. Focusing on contemporary art in the twenty-first century, electronic and digital media play a dominant role as well as conventional art forms. From an architectural perspective, shifting media and form affect the design framework of art space in the twenty-first century, which requires further study for suitable criteria. In addition, existing art spaces are outnumbered by the sheer quantity of artworks due to continuous artistic production. Several art spaces counteract this problem by expanding …


Revitalizing Tio Chew Chinese Cemetery Through A Design Of An Elderly Center, Khai Sin Lee Jan 2017

Revitalizing Tio Chew Chinese Cemetery Through A Design Of An Elderly Center, Khai Sin Lee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Old cemeteries are often threatened by new urban development, which can result in them being closed, relocated or demolished. This thesis studies Tio Chew Cemetery in Bangkok as an alternative case based on its current unique use as a recreation area. Although without the threats of demolition, several on-site issues, both tangible and intangible, are facing Tio Chew Cemetery. To respond to these issues, a design of an elderly center is proposed to improve and revitalize the cemetery through the understanding of historical importance and contemporary design of new buildings in the old compound. This research applies a mixed methodology …


New Student Union: Reviving The Histories And Memories Of The University Of Yangon, Pale Thitsar Kyaw Jan 2017

New Student Union: Reviving The Histories And Memories Of The University Of Yangon, Pale Thitsar Kyaw

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research focuses on redesigning the demolished student union building located at the University of Yangon, which has a significant political history. As the University of Yangon campus and its buildings hold important histories and memories of student lives at various points throughout time, the social and cultural values that students possessed in the past and the historical significance of the University of Yangon are studied in-depth. Further, these values and significant memories are revived in the new, contemporary student union design. Literature reviews, archival materials, drawings, photos and on-site observations are used to analyze the campus and its buildings. …


Contemporary Learning Spaces: North Bangkok Demonstration School, Thanyaporn Janma Jan 2017

Contemporary Learning Spaces: North Bangkok Demonstration School, Thanyaporn Janma

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Schools are places to strengthen learning for youths. At present the content of academic and educational philosophy develops rapidly through technology and society changes but most schools buildings and environments are inconsistent and do not support contemporary learning. As a result, students lack the most effective learning opportunity. However, there are a number of schools that pay attention to their architectural and environmental design to promote students' learning contents and new education philosophy leading to the starting point of this thesis. This thesis studied factors in selecting the learning spaces of Grade 1 - Grade 6 students in order to …


Tropical Strategy Of Modern Architecture In Cambodia For The Design Of A Contemporary Art Space In Phnom Penh, Pisith Ty Jan 2017

Tropical Strategy Of Modern Architecture In Cambodia For The Design Of A Contemporary Art Space In Phnom Penh, Pisith Ty

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the past decades, Cambodia has experienced a boom in building construction. However, many of those buildings do not take sustainable approach into account. They are built without concern of the tropical climate which results into a high level of energy consumption from air-conditioning system. Some none-commercial buildings, such as cultural and educational facilities, could not be operated because of lack of the fund for electricity. For a better understanding of architectural design in the tropical environment of the context, the research focuses on the works of Vann Molyvann, the father of architects in Cambodia, a state architect in 1960s, …


กระบวนการ และปัญหาในการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัด : กรณีศึกษาอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ชญานิน โกศล Jan 2017

กระบวนการ และปัญหาในการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัด : กรณีศึกษาอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ชญานิน โกศล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ส่งผลให้มีการปรับปรุงและพัฒนาโรงพยาบาลในประเทศไทยให้มีความทันสมัยได้มาตรฐานในระดับสากล เช่นเดียวกันกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หนึ่งในโรงพยาบาลชั้นนำของประเทศที่ได้สร้างอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ขึ้นเพื่อตอบสนองการให้บริการ โดยอาคารดังกล่าวมีการย้ายเข้าของหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดจากนอกอาคารเข้าสู่ภายในอาคาร นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงอาคารระหว่างการใช้งานส่งผลให้มีการโยกย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดไปสู่พื้นที่ชั่วคราวขณะทำการปรับปรุง จึงได้ทำการศึกษาขั้นตอน และปัญหาในการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มกรณีย้ายหอผู้ป่วยภายในอาคาร กลุ่มกรณีย้ายหอผู้ป่วยจากภายนอกอาคาร กรณีย้ายห้องผ่าตัดภายในอาคาร กรณีย้ายห้องผ่าตัดจากภายนอกอาคาร โดยการสังเกต บันทึกข้อมูลในเหตุการณ์ และสอบถามผู้เกี่ยวข้องกับการย้ายหอผู้ป่วย จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สรุปและอภิปรายผล จากการศึกษาพบว่า เมื่อวิเคราะห์ตามกิจกรรมที่ปฏิบัติสามารถแบ่งขั้นตอนการย้ายหอผู้ป่วยได้เป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการย้ายของ ขั้นตอนการเตรียมผู้ป่วย ขั้นตอนการย้ายผู้ป่วย และขั้นตอนการตรวจสอบและส่งคืนพื้นที่ ในขณะที่การย้ายห้องผ่าตัดมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการย้ายของ และขั้นตอนการตรวจสอบและส่งคืนพื้นที่ แต่การย้ายห้องคลอด และห้องผ่าตัดคลอดมีการปฏิบัติ 5 ขั้นตอนเช่นเดียวกับการย้ายหอผู้ป่วย ทั้งนี้แต่ละกิจกรรมในขั้นตอนจะมีทั้งกิจกรรมที่ปฏิบัติเช่นเดียวกัน และกิจกรรมที่ปฏิบัติต่างกัน รวมถึงการเตรียมเครื่องมือในการย้ายของ และย้ายผู้ป่วยก็มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง นอกจากนี้เมื่อวิเคราะห์จากช่วงเวลาในการปฏิบัติงาน พบว่าช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการย้ายหอผู้ป่วยคือ ช่วงเช้า และเมื่อวิเคราะห์จากระยะเวลาการย้ายของ พบว่าห้องคลอดและผ่าตัดคลอดจะใช้เวลามากกว่าหน่วยงานอื่น ๆ ส่วนการย้ายหอผู้ป่วยวิกฤตจากภายนอกอาคารจะใช้เวลามากกว่าการย้ายหอผู้ป่วยอื่น ๆ นอกจากนี้ในการศึกษาปัญหาที่พบในขั้นตอนการย้ายของ และขั้นตอนการย้ายผู้ป่วย พบว่ามีปัญหาทั้งหมด 7 ลักษณะ ได้แก่ การขนย้ายล่าช้า การขนย้ายหยุดชะงัก ของเสียหาย ผู้ใช้อาคารไม่สะดวก ปิดงานไม่ได้ หน่วยงานเปิดให้บริการได้ไม่สมบูรณ์ และเกิดความเสี่ยงต่อผู้ป่วย เป็นผลมาจาก 7 สาเหตุ ได้แก่ การจัดการ การประสานงาน การควบคุมงาน การวางแผน อุบัติเหตุ คุณภาพบุคคลากร ลักษณะทางกายภาพอาคาร และอาการผู้ป่วย จากการศึกษาและวิเคราะห์ผล สรุปได้ว่าการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดมีขั้นตอนในการย้ายที่แตกต่างกัน ซึ่งเมื่อมีการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัด ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการวางแผนการย้าย และการเตรียมเครื่องมือ ได้แก่ ประเภทหน่วยงานตามลักษณะการให้บริการลักษณะการย้ายแบ่งตามในอาคารและนอกอาคาร อาการผู้ป่วย พื้นที่ต้นทางเนื่องจากเส้นทางในการย้าย ความพร้อมของพื้นที่ จำนวนบุคคลากร จำนวนรถพยาบาล ความพร้อมของผู้ป่วย จำนวนเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในการย้ายผู้ป่วย จำนวนผู้ป่วยหนัก …


อิทธิพลของสีในสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้สูงอายุชาวไทย, ธนาวุฒิ ตรงประวีณ Jan 2017

อิทธิพลของสีในสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้สูงอายุชาวไทย, ธนาวุฒิ ตรงประวีณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สีในสภาพแวดล้อมเป็นหนึ่งในสิ่งเร้าต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อยู่อาศัย การวิจัยนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของสีในสภาพแวดล้อม (ห้องนอน) ที่ส่งผลต่อความความเครียดของผู้สูงอายุโดยการจำลองภาพห้องนอนในบ้านพักคนชรา เพื่อศึกษาคุณลักษณะวรรณะของสีและสัดส่วนความสดของสีผนังห้องนอน ในการศึกษาครั้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่อาศัยในบ้านพักคนชราและอาศัยที่บ้านพักส่วนบุคคลจำนวน 120 คน งานวิจัยนี้ประเมินระดับการตอบสนองทางอารมณ์ของกลุ่มตัวอย่างในประเด็นความพึงพอใจ การตื่นตัว และความเครียด รวมถึงการรับรู้ความสว่าง และประเมินความเครียดโดย 2 วิธีหลัก ได้แก่ The Affect Grid Scale of Pleasure and Arousal ของ Russell, Weiss & Mendelsohn (1989) และ The Semantic Differential Rating Method (SDR) โดยการมองภาพจำลองคอมพิวเตอร์ 17 ภาพ ที่มีความแตกต่างกันทางด้าน วรรณะของสี สี และสัดส่วนความสดของสี จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า วรรณะของสี เนื้อสี และสัดส่วนความสดของสีผนังห้องนอนส่งผลต่อการตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกเครียดของผู้สูงอายุ โดยสีผนังห้องนอนวรรณะเย็นส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกเครียดน้อยกว่าสีวรรณะร้อน สัดส่วนความสดของสีอ่อนต่อสีเข้มที่เพิ่มขึ้นแปรผันตามความรู้สึกผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังพบว่าความรู้สึกเครียดของผู้สูงอายุแปรผกผันกับความพึงพอใจต่อสีผนังของห้องนอน โดยผู้สูงอายุพึงพอใจสีผนังห้องนอนวรรณะเย็นมากกว่าวรรณะร้อน และสีผนังห้องนอนที่มีความรู้สึกสว่างที่น้อยลงส่งผลให้เกิดความรู้สึกเครียดที่มากขึ้น งานวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่าวรรณะสีและสัดส่วนความสดของสีผนังห้องนอนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความรู้สึกเครียดของผู้สูงอายุ ท้ายที่สุดงานวิจัยนี้เสนอแนะว่าผู้ออกแบบควรเลือกใช้สีที่ส่งเสริมความรู้สึกเชิงบวกของผู้สูงอายุ


การศึกษาลักษณะการปิดล้อมที่ว่างและพฤติกรรมทางสังคมของเด็กวัยก่อนเข้าเรียน กรณีศึกษา : บ้านสมวัย มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม คลองเตย, มิ่งมาดา นยนะกวี Jan 2017

การศึกษาลักษณะการปิดล้อมที่ว่างและพฤติกรรมทางสังคมของเด็กวัยก่อนเข้าเรียน กรณีศึกษา : บ้านสมวัย มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม คลองเตย, มิ่งมาดา นยนะกวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบัน สถานเลี้ยงเด็กมีบทบาทสำคัญที่ช่วยรองรับการอาศัยอยู่ของเด็กวัยก่อนเข้าเรียนในช่วงเวลาที่พ่อแม่ออกไปทำงาน แม้ว่าสถานเลี้ยงเด็กเป็นสถานที่รองรับการอาศัยอยู่ร่วมกันของเด็กและคุณครู อย่างไรก็ตาม ในเชิงจิตวิทยาเด็กก็มีความต้องการสภาวะความเป็นส่วนตัวด้วยเช่นกัน ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จึงให้ความสนใจกับลักษณะของการปิดล้อมที่ว่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ประกอบทางตั้ง การตอบสนองต่อความต้องการการสร้างสภาวะส่วนตัว และการสร้างปฏิสัมพันธ์ของเด็กวัยก่อนเรียน วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่อาศัยการวิเคราะห์เชิงปริมาณในช่วงต้นจากการรวบรวมข้อมูลผ่านการสังเกตการณ์อย่างเป็นระบบเพื่อแสดงให้เห็นภาพประจักษ์ ร่วมกับข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การลงพื้นที่ศึกษา บ้านสมวัย มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมคลองเตย ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 ถึงเดือนกรกฎาคม 2560 และการวิเคราะห์ข้อมูลบนฐานของทฤษฎีและแนวคิดทางจิตวิทยาเด็กและจิตวิทยาสภาพแวดล้อม เพื่อนำสู่ความเข้าใจลักษณะของที่ว่างทางสังคมของเด็กวัยก่อนเรียน ซึ่งประกอบด้วยที่ว่างส่วนตัวและที่ว่างแห่งการปฏิสัมพันธ์ จากการวิเคราะห์จำนวนระนาบ คุณสมบัติของระนาบ และตำแหน่งของระนาบ สรุปได้ว่า ที่ว่างส่วนตัวมักเป็นที่ว่างที่มีขอบเขตชัดเจน ให้ความรู้สึกปลอดภัยแก่เด็กและที่ว่างที่รองรับความเป็นส่วนตัวของเด็กจะชัดเจนขึ้น เมื่อจำนวนระนาบเพิ่มมากขึ้น หรือตำแหน่งของระนาบมีความไกลห่างจากทางสัญจร แอบซ่อนจากสายตาผู้อื่น หรือเปิดออกสู่พื้นที่ภายนอก ในทางกลับกัน ที่ว่างแห่งการปฏิสัมพันธ์ มักถูกปิดล้อมด้วยระนาบน้อยชิ้น แต่เมื่อจำนวนระนาบเพิ่มมากขึ้นจะนำไปสู่การเล่นแบบมีปฏิสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อนขึ้น นอกจากนี้ระนาบโปร่งพรุน หรือระนาบที่มีลักษณะกั้นแบ่งพื้นที่ออกจากกันไม่สมบูรณ์จะเอื้อให้เกิดความต่อเนื่องทางสายตา ระนาบมีโครงสร้างให้เอื้อมจับจะเชื้อเชิญให้เด็กได้เล่นสนุกสนานจับ ยึด ปีนป่ายระนาบ ส่วนระนาบที่เผยให้เห็นทางสัญจรจะเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ พบปะผู้คน และระนาบเปิดสู่โลกภายนอกมักเป็นบริเวณที่เชื้อเชิญให้เด็กรวมตัวกันบริเวณนั้น รอคอยการออกไปสู่พื้นที่ภายนอก


การศึกษาประวัติศาสตร์และสภาพแวดล้อมโดยรอบเพื่อนำไปใช้ในการสื่อความหมายและการนำเสนอ: กรณีศึกษาวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์), อภิชาติ กิตติเมธาวีนันท์ Jan 2017

การศึกษาประวัติศาสตร์และสภาพแวดล้อมโดยรอบเพื่อนำไปใช้ในการสื่อความหมายและการนำเสนอ: กรณีศึกษาวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์), อภิชาติ กิตติเมธาวีนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันมีความเข้าใจอย่างกว้างขวางว่า ในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมจำเป็นต้องเข้าใจสภาพแวดล้อมโดยรอบแหล่งมรดกวัฒนธรรม (setting) มากกว่าการพิจารณาตัวอาคารแต่เพียงอย่างเดียว อีกทั้งโครงสร้างมรดกวัฒนธรรมประกอบจากพื้นที่ที่มีความหลากหลายและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัต รวมถึงความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมโดยรอบแหล่งมรดกวัฒนธรรม สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถเป็นที่มาของการตระหนักถึงคุณค่าของเรื่องราวที่เกิดขึ้นบนสภาพแวดล้อม เพื่อการนำเสนอ (presentation) และการสื่อความหมาย (interpretation) ของพื้นที่แหล่งมรดกวัฒนธรรมได้ โดยวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) ถือเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญในเรื่องการศึกษาสภาพแวดล้อม เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการตั้งถิ่นฐานของผู้คนมายาวนานกว่า 250 ปี ประกอบกับบันทึกและเอกสารต่าง ๆ ที่ค้นพบ ช่วยให้เข้าใจสภาพแวดล้อมโดยรอบของพื้นที่ได้อย่างดี การวิจัยนี้เป็นการศึกษาและวิเคราะห์หลักฐานชั้นต้นต่าง ๆ ของวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) อันประกอบด้วย แผนที่เก่า ภาพถ่ายในอดีต เรื่องราวของผู้คนที่มีการบันทึกไว้ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยนำหลักฐานเหล่านี้มาใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยรอบวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) เพื่อนำเสนอเรื่องราวที่มีคุณค่าของสภาพแวดล้อม และปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดคุณค่าของสภาพแวดล้อมที่เคยดำรงอยู่ในอดีต มาใช้ในการนำเสนอและการสื่อความหมาย จากการศึกษา ผู้วิจัยค้นพบว่าวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) มีเรื่องราวที่มีคุณค่าและควรได้รับการสื่อความหมายที่จะช่วยให้เข้าใจถึงสภาพแวดล้อมวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) ตลอดเวลากว่า 250 ปี ได้อย่างดีจำนวน 5 เรื่องอันประกอบด้วย บ้านสำโรง ค่ายแม่พระลูกประคำ Notre Dame du Rosaire บุ่งกุ่ยและกุหลาบ และ กาลหว่าร์และวัดสาขา สภาพแวดล้อมเกิดขึ้นจากองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งที่มองเห็นได้และมองเห็นไม่ได้ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันเกิดเป็นสภาพแวดล้อมขึ้นโดยมีอาคารโบสถ์วัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) เป็นอนุสรณ์สถานที่บอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่ดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมได้อย่างสมบูรณ์ และส่วนท้ายงานวิจัย ผู้วิจัยเสนอแนวทางในการนำเสนอและสื่อความหมายสภาพแวดล้อมออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านกายภาพ และด้านสังคม และข้อพิจารณาแนวทางในการสื่อความหมายผ่านแก่นเรือง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการตระหนักถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์และสภาพแวดล้อมโดยรอบวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) ต่อไปในอนาคต