Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2018

Articles 61 - 76 of 76

Full-Text Articles in Architecture

รูปแบบการค้นหาเส้นทางในพื้นที่ชุมชนประวัติศาสตร์ย่านพระอาทิตย์ กรุงเทพมหานคร, ดุษฎี บุญฤกษ์ Jan 2018

รูปแบบการค้นหาเส้นทางในพื้นที่ชุมชนประวัติศาสตร์ย่านพระอาทิตย์ กรุงเทพมหานคร, ดุษฎี บุญฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนประวัติศาสตร์ย่านพระอาทิตย์เป็นพื้นที่ที่มีเอกลักษณ์ในด้านคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม มีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรม ได้แก่ ป้อมพระสุเมรุ วัดชนะสงคราม มัสยิดจักรพงษ์ และสวนสันติชัยปราการ เป็นต้น แต่พื้นที่ชุมชนประวัติศาสตร์ย่านพระอาทิตย์กลับมีการใช้งานที่ไม่เต็มศักยภาพและไม่เป็นอเนกประโยชน์ ทั้งๆ พื้นที่ชุมชนประวัติศาสตร์ควรมีความสมดุลในการสัญจรของคนกลุ่มต่างๆ อย่างทั่วถึง งานวิจัยชิ้นนี้ ต้องการที่จะศึกษารูปแบบการค้นหาเส้นทางของกลุ่มคนที่เข้ามาใช้งานพื้นที่ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคนที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคยกับพื้นที่ โดยทำการบันทึกรูปแบบการสัญจรในช่วงวันและเวลาต่างๆ ผ่านการบันทึกรูปแบบเส้นทางนิยมสัญจรของคนเดินเท้า จากการสำรวจพบว่า กลุ่มคนทั้ง 2 ประเภท มีรูปแบบการค้นหาเส้นทางที่แตกต่างกันและแยกออกจากกัน กลุ่มคนที่คุ้นเคยกับพื้นที่มีรูปแบบการสัญจรกระจายอย่างทั่วถึง แต่กลุ่มคนที่ไม่คุ้นเคยกับพื้นที่กลับมีรูปแบบการสัญจรบนถนนเส้นหลัก และถนนเส้นที่มีร้านค้าขายของสำหรับนักท่องเที่ยวเท่านั้น ผลการวิเคราะห์รูปแบบการค้นหาเส้นทางของคนทั้ง 2 กลุ่ม สามารถสรุปได้ว่า ปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดรูปแบบการค้นหาเส้นทาง คือ ความเข้าใจและจดจำพื้นที่ (spatial cognition) ประกอบด้วย จุดดึงดูดระดับเมือง และจุดดึงดูดระดับย่าน ส่วนปัจจัยรอง คือ สัณฐานของพื้นที่ (spatial configuration) ประกอบไปด้วย ศักยภาพของการเข้าถึงและมองเห็นพื้นที่ รวมไปถึงการใช้เครื่องมือนำทาง (wayfinding application) ที่ใช้แผนที่ท่องเที่ยว (tourist map) กล่าวคือ กลุ่มคนที่คุ้นเคยกับพื้นที่ มีแนวโน้มที่จะใช้เพียงแค่ความเข้าใจและจดจำพื้นที่ในการค้นหาเส้นทาง ส่วนกลุ่มคนที่ไม่คุ้นเคยกับพื้นที่ มีแนวโน้มที่จะใช้ทั้งความเข้าใจและจดจำพื้นที่ สัณฐานของพื้นที่ และเครื่องมือนำทางในการค้นหาเส้นทาง


การปรับตัวต่อภัยพิบัติด้านการก่อความไม่สงบในเมือง กรณีศึกษาเมืองยะลา, มัซวินส์ อดุลภักดี Jan 2018

การปรับตัวต่อภัยพิบัติด้านการก่อความไม่สงบในเมือง กรณีศึกษาเมืองยะลา, มัซวินส์ อดุลภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเด็นความขัดแย้งต่าง ๆ ทั้งในเรื่องการเมืองการปกครอง เชื้อชาติ และศาสนา ที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อให้เกิดสถานการณ์เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ในบางครั้งผลของความขัดแย้งนี้ถูกสะท้อนออกมาเป็นในรูปแบบของการก่อความรุนแรง โดยพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดยะลาเป็นพื้นที่ที่มีสถิติการก่อเหตุความไม่สงบมากที่สุดในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หากเรามองการก่อความรุนแรงในพื้นที่เมืองนี้ในรูปแบบของภัยพิบัติที่มนุษย์สร้างขึ้น การศึกษาแนวคิดเรื่องการปรับตัวต่อความเสี่ยงของชุมชนเมือง อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาความเสี่ยงของการเกิดภัยพิบัติ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาวิธีการปรับตัวต่อภัยการก่อความไม่สงบของชุมชนในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา และวิเคราะห์ช่องว่างเชิงสถาบัน (Institutional Gap Analysis) ในการพัฒนาแผนการปรับตัวของเมือง เพื่อใช้เป็นแนวทางและข้อเสนอแนะในการปรับตัวต่อภัยการก่อความไม่สงบในเมือง
ผลการศึกษาพบว่า ในเทศบาลเมืองยะลามีมาตรการการปรับตัวต่อภัยการก่อความไม่สงบในเมือง 6 มาตรการ ได้แก่ (1) การสร้างแท่นปูนหน้าบ้าน (2) การตั้งด่านตรวจคนเข้าออกภายในชุมชน (3) การกำหนดพื้นที่จอดรถริมเกาะกลางถนน (4) การยกเลิกสวมหมวกนิรภัย (5) การติดตั้งกล้องวงจรปิด และ (6) การปรับภูมิทัศน์ของเมืองด้วยศิลปะ โดยประชาชนในพื้นที่ค่อนข้างพอใจกับมาตรการการปรับตัวต่อความไม่สงบ แต่ยังคงมีช่องว่างของระดับความคาดหวัง (Expectation) สูงกว่าระดับการเห็นปฏิบัติจริง (Perception) ต่อมาตรการต่าง ๆ อยู่มาก การศึกษายังพบว่า ประชาชนคาดหวังให้รัฐเพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชนและทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของมาตรการการปรับตัวต่อภัยการก่อความไม่สงบในเมืองให้มากขึ้น


รูปแบบเชิงพื้นที่ของอาชญากรรมกลุ่มคดีประทุษร้ายแก่ทรัพย์สินในย่านเยาวราช-สําเพ็ง, บุษยา พุทธอินทร์ Jan 2018

รูปแบบเชิงพื้นที่ของอาชญากรรมกลุ่มคดีประทุษร้ายแก่ทรัพย์สินในย่านเยาวราช-สําเพ็ง, บุษยา พุทธอินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาการเกิดอาชญากรรมกลุ่มคดีประทุษร้ายแก่ทรัพย์สิน อันประกอบไปด้วย การวิ่งราวทรัพย์และการลักทรัพย์ในพื้นที่สาธารณะ เป็นปัญหาต่อความปลอดภัยที่สำคัญยิ่งของเมือง นอกจากนี้ยังส่งผลต่อบรรยากาศการดำเนินกิจกรรมของคนเดินเท้าในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในพื้นที่ย่านพาณิชยกรรม เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มี "กลุ่มเป้าหมาย" ของอาชญากรค่อนข้างมาก (Baran, Smith and Toker, 2007) วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบเชิงพื้นที่ (spatial pattern) ในย่านเยาวราช-สำเพ็ง ที่มีแนวโน้มเกิดอาชญากรรมประเภทคดีวิ่งราวทรัพย์และลักทรัพย์บนพื้นที่สาธารณะ เช่น การล้วงกระเป๋า ด้วยการวิเคราะห์รูปแบบเชิงพื้นที่ร่วมกับแผนที่อาชญากรรม ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบเชิงพื้นที่การเกิดอาชญากรรมกลุ่มคดีประทุษร้ายแก่ทรัพย์สิน มักมีรูปแบบโครงข่ายการสัญจรที่หนาแน่น เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเข้าถึงและมองเห็นสูงถึงปานกลาง มักเกิดขึ้นบริเวณตำแหน่งการค้าที่มีกิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่หนาแน่น ตลอดจนศาลเจ้า มีการสัญจรผ่านมาก ประกอบกับทางเท้าที่แคบกว่ามาตรฐาน รวมทั้งบริเวณใกล้ทางร่วมแยก หรือหัวมุมร้านค้า ซึ่งเป็นเป้าหมายในการก่อเหตุอาชญากรรม และเป็นบริเวณที่ง่ายต่อการหลบหนี โดยคดีวิ่งราวทรัพย์มีแนวโน้มเกิดขึ้นบนถนนสายหลักที่สามารถเข้าถึงด้วยรถจักรยานยนต์ และอยู่ใกล้ทางร่วมแยก เนื่องจากลักษณะของคดีที่อาชญากรจำเป็นต้องใช้ความเร็วในการหลบหนี มักก่อคดีในช่วงเวลาที่ความสามารถในการมองเห็นลดลง คือ ช่วงกลางคืน ในขณะที่คดีลักทรัพย์จำเป็นต้องใช้พื้นที่ที่มีการทำกิจกรรมหนาแน่นของผู้คน มีความหลากหลายและการปะปนของคนในและนอกพื้นที่ เพื่อใช้ในการอำพรางตัวในการก่ออาชญากรรม จึงเลือกก่อคดีในช่วงเวลากลางวันอย่างชัดเจน


การศึกษาระบบนิเวศน้ำหลากและนิเวศบริการของทุ่งน้ำหลากพื้นที่ราบลุ่มสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยากรณีศึกษา ชุมชนลาดชะโด อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, เกียรติกมล นิลาภรณ์กุล Jan 2018

การศึกษาระบบนิเวศน้ำหลากและนิเวศบริการของทุ่งน้ำหลากพื้นที่ราบลุ่มสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยากรณีศึกษา ชุมชนลาดชะโด อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, เกียรติกมล นิลาภรณ์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


การวิเคราะห์การวางผังนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกของประเทศไทย ภายใต้ข้อพิจารณาทางภูมิสถาปัตยกรรม, ชนกนันท์ ปิ่นตบแต่ง Jan 2018

การวิเคราะห์การวางผังนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกของประเทศไทย ภายใต้ข้อพิจารณาทางภูมิสถาปัตยกรรม, ชนกนันท์ ปิ่นตบแต่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นิคมอุตสาหกรรม คือเขตที่ดินซึ่งจัดไว้สำหรับให้โรงงานอยู่รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน แม้ จะมีกฎหมายด้วยการขออนุญาตจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม แต่ประเด็นส่วนใหญ่มักกล่าวถึงมาตรฐาน ด้านวิศวกรรมเป็นหลัก และขาดการคำนึงถึงประเด็นทางภูมิสถาปัตยกรรม งานวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยในการวางผังนิคมอุตสาหกรรมภายใต้ข้อพิจารณาทางภูมิ สถาปัตยกรรม ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก เพราะเป็นแหล่งที่ตั้งของนิคม อุตสาหกรรมจำนวนมาก งานวิจัยนี้ดำเนินการวิเคราะห์ลักษณะธรณีสัณฐานในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างและภาค ตะวันออกของประเทศไทย และข้อมูลเกี่ยวกับนิคมอุตสาหกรรม เพื่อหาความต้องการและ ข้อจำกัดของพื้นที่ นำมาสรุปเป็นปัจจัยในการวางผังนิคมอุตสาหกรรม จากนั้นลงพื้นที่เก็บข้อมูล นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร และนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ซึ่งเป็นตัวอย่างนิคมอุตสาหกรรมใน พื้นที่ภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก ด้วยวิธีการสำรวจพื้นที่และสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อนำปัจจัยมาวิเคราะห์หาศักยภาพและปัญหา และเสนอแนวทางแก้ไขต่อไป ผลการวิจัยพบว่า มีปัจจัยที่ใช้ในการวางผัง 2 ด้าน ได้แก่ 1.การเลือกที่ตั้ง พิจารณาจาก ปัจจัยทางนิเวศวิทยา ทรัพยากร เศรษฐกิจ และชุมชน 2.การวางผังบริเวณ พิจารณาจากปัจจัยทาง ธรรมชาติ ปัจจัยที่มนุษย์สร้างขึ้น และปัจจัยทางสุนทรียภาพ ซึ่งจากการวิเคราะห์กรณีศึกษาทั้ง สองแห่ง สรุปได้ว่า มีการเลือกที่ตั้งที่เน้นด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรเป็นหลัก ส่วนการวางผัง บริเวณ นิคมอุตสาหกรรมทั้งสองแห่งสามารถวางพื้นที่ใช้สอยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ แต่ ละเลยการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ และการออกแบบเพื่อส่งเสริมมุมมองในส่วน ต้อนรับ เป็นต้น


การระบุขอบเขตพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงและความสัมพันธ์ระหว่างพลวัตของภูมิทัศน์กับการปรับตัวของมนุษย์ : กรณีศึกษาลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลาง, เกษมพันธุ์ แก้วธำรงค์ Jan 2018

การระบุขอบเขตพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงและความสัมพันธ์ระหว่างพลวัตของภูมิทัศน์กับการปรับตัวของมนุษย์ : กรณีศึกษาลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลาง, เกษมพันธุ์ แก้วธำรงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบภูมินิเวศของพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง โดยเป็นพื้นที่ที่มีพลวัต ความหลากหลายเชิงนิเวศ และความอุดมสมบูรณ์ อันเป็นผลมาจากพลวัตน้ำหลาก ซึ่งให้ประโยชน์แก่มนุษย์ในรูปแบบของการบริการเชิงนิเวศทั้งการเป็นแหล่งผลิตทรัพยากรพื้นฐาน และการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจชุมชน โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการสำรวจระยะไกลด้วยภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อ (1) ระบุขอบเขตของพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงแม่น้ำมูลตอนกลางเพื่อบ่งชี้ลักษณะพลวัตน้ำหลากของพื้นที่ จากลักษณะทางธรณีสัณฐาน และลักษณะเชิงอุทกวิทยา (2) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของลักษณะสิ่งปกคลุมผิวดินจากอดีตถึงปัจจุบันจากการจำแนกสิ่งปกคลุมผิวดิน ร่วมกับการลงพื้นที่สำรวจชุมชนดั้งเดิม เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพลวัตน้ำหลากกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์โดยมนุษย์ที่ส่งผลกระทบทางลบต่อการบริการเชิงนิเวศ ผลการศึกษาพบว่ามนุษย์ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลางมีความสามารถในการปรับตัวอย่างยืดหยุ่นเพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงภายใต้เงื่อนไขของพลวัตน้ำหลาก จากการเลือกที่ตั้งชุมชนที่อยู่นอกเขตพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงเพื่อหลีกเลี่ยงน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และใช้ประโยชน์อย่างสอดคล้องกับพลวัตน้ำหลากจากพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงในฐานะแหล่งทรัพยากรของชุมชนที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดปี ซึ่งมีรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันทั้งพื้นที่ และช่วงเวลา นอกจากนั้นการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เกษตรในพื้นที่ราบน้ำท่วม และการดัดแปลงโครงสร้างของแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อเพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำ และป้องกันผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้แหล่งทรัพยากรของชุมชนมีพื้นที่ลดลง และระบบนิเวศเสียหายจนไม่สามารถให้บริการเชิงนิเวศได้เหมือนเช่นเคย ส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ และระบบเศรษฐกิจชุมชนในชนบทที่พึ่งพิงการบริการเชิงนิเวศจากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ


พัฒนาการงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมของโรงแรม 5 ดาว ในกรุงเทพมหานคร, อัมพวรรณ สุแดงน้อย Jan 2018

พัฒนาการงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมของโรงแรม 5 ดาว ในกรุงเทพมหานคร, อัมพวรรณ สุแดงน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมในโรงแรม 5 ดาว ในกรุงเทพมหานคร โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่ศึกษา ได้แก่ 1) เป็นโรงแรม 5 ดาวในกรุงเทพมหานครที่ได้รับการรับรองจากสมาคมโรงแรมไทย 2) มีการออกแบบงานภูมิสถาปัตยกรรม 3) ได้รับอนุญาตในการเข้าสำรวจงานภูมิสถาปัตยกรรมและสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานภูมิสถาปัตยกรรมได้ ซึ่งพบว่า โรงแรม 5 ดาวที่มีการออกแบบงานภูมิสถาปัตยกรรมมีทั้งหมด 20 แห่ง และได้รับการอนุญาตในการเข้าสำรวจและสัมภาษณ์ คงเหลือเพียง 12 แห่ง ระเบียบวิธีวิจัย เริ่มจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่ศึกษา และสำรวจ สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานภูมิสถาปัตยกรรม ประกอบด้วย ผู้จัดการฝ่ายแม่บ้าน ผู้จัดการฝ่ายคนสวน ผู้จัดการฝ่ายช่าง และผู้ออกแบบงานภูมิสถาปัตยกรรมโรงแรมแต่ละแห่ง โดยมีประเด็นคำถาม ดังนี้ 1) การเปลี่ยนแปลงงานภูมิสถาปัตยกรรม 2) จุดเด่นหรือเอกลักษณ์ของงานภูมิสถาปัตยกรรมโรงแรม 3) การดูแลรักษาและปัญหาที่เกิดขึ้น และ 4) แนวคิดในการออกแบบงานภูมิสถาปัตยกรรม และนำมาวิเคราะห์พัฒนาการงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมของโรงแรม 5 ดาว ในกรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ 1) การวางผังบริเวณ 2) รูปแบบงานภูมิสถาปัตยกรรม และ 3) การใช้วัสดุและพืชพรรณ จากการศึกษา พบว่า งานภูมิสถาปัตยกรรมของโรงแรม 5 ดาว ในกรุงเทพมหานครแบ่งออกเป็น 3 ช่วง โดยใช้เกณฑ์ช่วงเวลาในการก่อตั้งโรงแรมแต่ละแห่ง เปรียบเทียบในเรื่องของรูปแบบงานภูมิสถาปัตยกรรม และการใช้วัสดุและพืชพรรณ จากการศึกษา พบว่า งานภูมิสถาปัตยกรรมของโรงแรม 5 ดาว ในกรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 1) ช่วง พ.ศ. 2510 - 2530 มีรูปแบบสวนเมืองร้อน (Tropical Garden) 2) ช่วง พ.ศ. 2530 - 2550 มีรูปแบบสวนเมืองร้อนร่วมสมัย (Modern Tropical Garden) และ 3) ช่วง พ.ศ. …


แบบบ้านสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, เทบพะวง ไชโกสี Jan 2018

แบบบ้านสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, เทบพะวง ไชโกสี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มีวัตถุประสงค์ จะเสนอแบบบ้านสำหรับ ผู้ประสบภัยพิบัติในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ตอบสนองในการเป็นทั้งที่พักอาศัยฉุกเฉิน ที่พักอาศัยชั่วคราวและที่พักอาศัยถาวร จากแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจะต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านรูปแบบ วัสดุและแรงงาน โดยรูปแบบอาคารต้องเรียบง่าย ต่อเติมได้ และแข็งแรง ใช้วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ มีน้ำหนักเบา เพื่อให้สามารถใช้แรงงานน้อยหรือผู้อยู่อาศัยสามารถสร้างได้เองและสามารถต่อเติมได้ภายหลัง​ที่สามารถตอบสนองเป็น ที่พักอาศัยฉุกเฉิน ที่พักอาศัยชั่วคราวและที่พักอาศัยถาวรไปพร้อมกัน จากแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจะต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านรูปแบบ วัสดุและแรงงาน โดยรูปแบบอาคารต้องเรียบง่าย ต่อเติมได้ และแข็งแรง ใช้วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ มีน้ำหนักเบา เพื่อให้สามารถใช้แรงงานน้อยหรือผู้อยู่อาศัยสามารถสร้างได้เองและสามารถต่อเติมได้ภายหลัง จึงเสนอรูปแบบบ้านเป็นอาคารชั้นเดียว รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 3.00 x 6.00 เมตร หลังคาแบบเพิงหมาแหงน ตัวอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นพื้นที่ภายในใช้เป็นที่นอนและพักผ่อน ส่วนที่สองเป็นพื้นที่ภายนอกที่ใช้ประกอบกิจกรรมอื่น ๆ มีช่องระแนงเพื่อระบายอากาศ โครงสร้างเป็นเหล็กรูปพรรณรีดเย็น วางบนตอม่อสำเร็จรูป พื้นภายนอกเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นภายในยกระดับโครงสร้างเหล็กยกระดับปูด้วยแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ เช่นเดียวกับผนังโครงเคร่าเป็นเหล็กกาวาไนซ์ บุด้วยแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ โครงสร้างหลังคาเป็นเหล็ก มุงด้วยแผ่นเหล็กเมทัลชีท เมื่อนำแบบไปก่อสร้างจริงในนครหลวงเวียงจันทน์ ต้องใช้เวลาก่อสร้างทั้งหมด 24 วัน เนื่องจากสภาพอากาศมีฝนตกหนักเกือบทุกวัน แต่ถ้านับเฉพาะทำงานจะเหลือแค่ 7 วัน ใช้งบประมาณ 70,290 บาท แบ่งเป็นค่าวัสดุ 50,290 บาท ค่าแรง 20,000 บาท เป็นค่าจ้างช่างในพื้นที่ 2 คน จากการสอบถามผู้อยู่อาศัยมีความพึงพอใจ แต่มีปัญหาฝนสาดเข้าตัวบ้านเนื่องจากชายคาสั้น มีช่องเปิดน้อยเกินไปทำให้แสงเข้าภายในบ้านไม่เพียงพอและระแนงตีแนวตั้งทำให้หักได้ง่าย นอกจากนั้น ช่างยังไม่คุ้นเคยกับวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ทำให้การก่อสร้างล่าช้าบางขั้นตอนในช่วงแรก ผู้วิจัยจึงได้ทำการปรับแบบใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวต่อไป


ความต้องการและความคาดหวังจากการจัดการอาคารของผู้เช่าอาคารสำนักงาน, ณวัลริณี สุวินิจวงษ์ Jan 2018

ความต้องการและความคาดหวังจากการจัดการอาคารของผู้เช่าอาคารสำนักงาน, ณวัลริณี สุวินิจวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคารสำนักงานเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสถานที่ที่ให้ทั้งผู้ที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจเชิงพาณิชย์ และผู้ประกอบธุรกิจเชิงพาณิชย์ใช้สอย และเมื่อมีผู้ใช้อาคารจึงจำเป็นที่จะต้องมีผู้ดูแลจัดการหรือที่เรียกว่าผู้บริหารอาคารเพื่อให้อาคารนั้น ๆ อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบถึงความต้องการและคาดคาดหวังจากการจัดการอาคารของผู้เช่าอาคารสำนักงาน โดยการส่งแบบสอบถามไปยังบริษัทผู้เช่าพื้นที่ภายในอาคารสำนักงานระดับ เอ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณย่านธุรกิจการค้ามีอัตราค่าเช่าไม่ต่ำกว่า 750 บาท/ตารางเมตร/เดือน แต่ไม่เกินกว่า 1,000 บาท/ตารางเมตร/เดือน มีอาคารสำนักงานอยู่ในกรณีศึกษาทั้งหมด 6 อาคาร ได้แก่ อาคารสาทรซิตี้ ทาวเวอร์ อาคารเอเชียเซ็นเตอร์ อาคารซี.พี. ทาวเวอร์ อาคารจามจุรี ทาวเวอร์ อาคารเอ็มโพเรียม ทาวเวอร์ และอาคารอินเตอร์เชนจ์ 21 เพื่อทำการวิเคราะห์ สรุป และอภิปรายผล จากการศึกษาพบว่าผู้เช่าอาคารสำนักงานแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผู้เช่าพื้นที่สำนักงาน และผู้เช่าพื้นที่ร้านค้า โดยผู้เช่าพื้นที่สำนักงานแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มประเภทธุรกิจ ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มนี้มีความต้องการและคาดหวังในแต่ละงานมากน้อยไม่เท่ากัน ผู้เช่าพื้นที่สำนักงาน และผู้เช่าพื้นที่ร้านค้ามีลักษณะที่แตกต่างกันทั้งในเรื่องอัตราค่าเช่า สัญชาติของ ผู้เช่า ประเภทธุรกิจ แต่มีความใกล้เคียงกันในเรื่องขนาดพื้นที่เช่าและขนาดขององค์กร โดยเมื่อนำประเภทธุรกิจของผู้เช่ามาวิเคราะห์พบว่าผู้เช่าทั้ง 3 กลุ่มประเภทธุรกิจและผู้เช่าพื้นที่ร้านค้ามีความต้องการและคาดหวังให้ฝ่ายบริหารอาคารดูแลเรื่องระบบความปลอดภัยของอาคารให้ได้มาตรฐานตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารมากที่สุดเหมือนกัน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างด้านกลุ่มประเภทธรุกิจนั้น ถึงแม้จะมีความต้องการและความคาดหวังในการจัดการงานอาคารในแต่ละงานมากน้อยไม่เท่ากัน แต่ก็มีมุมมองในการให้ความสำคัญหรือความต้องการจากการจัดการอาคารในเรื่องของการดูแลระบบความปลอดภัยมากที่สุดเหมือนกัน


ผลกระทบของระดับความส่องสว่างและอุณหภูมิสีของแสงต่อความเร็วและความถูกต้องในการอ่านหนังสือของผู้สูงอายุ, นาถนภา กิตติจารุนันท์ Jan 2018

ผลกระทบของระดับความส่องสว่างและอุณหภูมิสีของแสงต่อความเร็วและความถูกต้องในการอ่านหนังสือของผู้สูงอายุ, นาถนภา กิตติจารุนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ การออกแบบซึ่งสามารถส่งเสริมศักยภาพด้านต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างมาก งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของระดับความส่องสว่างและอุณหภูมิสีของแสง ต่อความเร็วและความถูกต้องในการอ่านของผู้สูงอายุ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้สูงอายุ สัญชาติไทย ที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานครจำนวน 80 คน ในการศึกษา แบ่งผู้สูงอายุออกเป็น 3 ช่วงวัย ได้แก่ 1) อายุ 60-69 ปี 2) อายุ 70-79 ปี และ 3) อายุ 80 ปีขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ แบบทดสอบการอ่านคำ Tambartun (2001) ที่ผู้วิจัย ปรับให้เป็นคำภาษาไทย โดยจัดเตรียมสถานที่ที่มีค่าความส่องสว่าง 3 ระดับ ได้แก่ 300 lux 700 lux และ 1000 lux และอุณหภูมิสีของแสง 3 ระดับ ได้แก่ 3000K 4000K และ 6000K ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุในช่วงอายุ 60 - 69 ปี อ่านได้รวดเร็วที่สุด ที่ระดับค่าความส่องสว่าง 700-1000 lux และที่อุณหภูมิสีของแสง 6000K โดยสำหรับการอ่านหนังสือที่เน้นด้านความถูกต้องในการอ่าน พบว่าที่ระดับค่าความส่องสว่าง 700-1000 lux สามารถลดโอกาสอ่านหนังสือผิดพลาดของผู้สูงอายุได้ และพบว่า ในกลุ่มผู้สูงอายุในช่วงอายุ 70 - 79 ปี และ 80 ปี ขึ่นไป จะอ่านได้รวดเร็วที่สุด ที่ระดับค่าความส่องสว่างที่ 1000 lux และที่อุณหภูมิสีของแสง 6000K โดยสำหรับด้านความถูกต้องในการอ่าน ในช่วงอายุ 70 - 79 ปี พบว่า ที่ระดับค่าความส่องสว่าง 700-1000 …


การบริหารทรัพยากรกายภาพโรงละคร: กรณีศึกษา 6 โรงละครในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, นิรดา ดำรงทวีศักดิ์ Jan 2018

การบริหารทรัพยากรกายภาพโรงละคร: กรณีศึกษา 6 โรงละครในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, นิรดา ดำรงทวีศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงละครถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการแสดงสด มีอัตลักษณ์ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการดำเนินงาน ผสมผสานไปด้วยความละเอียดอ่อนของศิลปะและความแข็งแกร่งทางวิศวกรรม เพื่อที่จะรักษาโรงละครให้ยั่งยืน โรงละครจำเป็นจะต้องมีการบริหารทรัพยากรกายภาพที่ดี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะของการบริหารทรัพยากรกายภาพของโรงละครและปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารทรัพยากรกายภาพของโรงละคร โดยการสำรวจโรงละครที่ดำเนินงานโดยผลิตทั้งผลงานของโรงละครเองและผลงานของผู้เช่า 6 โรงละคร ได้แก่ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ เมืองไทยรัชดาลัยเธียเตอร์ หอนาฏลักษณ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แบล็คบ็อกซ์เธียเตอร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทองหล่ออาร์ตสเปซ และเดโมเครซี่เธียเตอร์สตูดิโอ เพื่อทำการวิเคราะห์ สรุป และอภิปรายผล จากการศึกษาพบว่า โรงละครบริหารทรัพยากรกายภาพตามช่วงการใช้งานซึ่งสัมพันธ์กับกิจกรรมการ ซึ่งในแต่ละช่วงการใช้งานโรงละครจะต้องรองรับการใช้งานที่แตกต่างกันทั้งผู้ใช้งาน พื้นที่ที่มีการใช้งาน และกิจกรรมการใช้งาน จากการวิเคราะห์พบว่า การบริหารทรัพยากรกายภาพของโรงละคร เป็นการบริหารความรับผิดชอบต่อทรัพยากรกายภาพที่โรงละครมี โดยคำนึงถึง สถานที่ ผู้ใช้งาน และการใช้งานโรงละคร มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากการบริหารทรัพยากรกายภาพของอาคารทั่วไป เนื่องจากมีส่วนงานและการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการแสดงโดยเฉพาะ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการดำเนินงานหลักของโรง และปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารทรัพยากรกายภาพของโรงละครที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกคือที่ตั้ง ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงลักษณะการบริหารทรัพยากรกายภาพของโรงละครรวมถึงคุณประโยชน์ของการบริหารทรัพยากรกายภาพที่มีต่อโรงละคร และปัจจัยที่ต้องคำนึงในการบริหารทรัพยากรกายภาพของโรงละคร ซึ่งนักศึกษาวิชาการละคร หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงละคร สามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษา ไปประยุกต์ใช้กับโรงละครที่ดำเนินอยู่หรือที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการดำเนินการ


ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ทำงาน, ลัญจ์ฉัตร นิลชัยโกวิทย์ Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ทำงาน, ลัญจ์ฉัตร นิลชัยโกวิทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันรูปแบบการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงไป จากแบบเดิมที่เป็นทางการเข้าสู่การทำงานรูปแบบใหม่ที่มีการทำงานเป็นกลุ่ม และมีการทำงานขนานกันมากขึ้น ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงประจักษ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพื้นที่ทำงาน และการใช้พื้นที่ทำงานของสายงานไอทีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบเนื่องเป็นการทำงานรูปแบบใหม่ จำนวน 10 กรณีศึกษา จาก 2 องค์กร โดยเป็นฝ่ายงานขนาดเล็ก จำนวน 7 กรณีศึกษา และฝ่ายงานขนาดใหญ่ จำนวน 3 กรณีศึกษา โดยเก็บรวมรวมเอกสารแบบผังพื้น การสำรวจพื้นที่ทำงาน การจัดวางผังและชุดโต๊ะทำงานพนักงาน ร่วมกับการสังเกตการณ์การใช้พื้นที่ทำงานใน 4 จุดเวลา จากการศึกษา พบว่า มีพื้นที่ทำงาน 2 แบบ คือ พื้นที่ทำงานแบบเปิดโล่ง 8 กรณีศึกษามีพื้นที่กิจกรรมสนับสนุนย่อย 2 แบบ คือ กระดานระบุสถานะ 7 กรณีศึกษา และโต๊ะส่วนกลาง 1 กรณีศึกษา และพื้นที่ทำงานแบบปิดล้อม 2 กรณีศึกษา มีพื้นที่กิจกรรมสนับสนุนย่อย คือ กระดานระบุสถานะและพื้นที่ทำงานกลุ่ม 1 กรณีศึกษา และกระดานระบุสถานะ 1 กรณีศึกษา ภายในพื้นที่ทำงานทั้ง 2 แบบมีชุดโต๊ะทำงานพนักงานประกอบด้วยโต๊ะทำงาน ตู้เก็บของล้อเลื่อน และเก้าอี้นั่งทำงาน จากการวิเคราะห์พื้นที่ทำงานของฝ่ายงานไอที พบว่า ชุดโต๊ะทำงานพนักงานพบ 2 แบบ คือแบบทำงานคนเดียว และแบบทำงานกลุ่ม การใช้พื้นที่ทำงานของฝ่ายงานขนาดเล็กพบว่ามีการใช้พื้นที่ทำงาน 2 แบบ คือ แบบที่มีการทำงานที่โต๊ะทำงานในการทำงานเพียงอย่างเดียว 5 กรณีศึกษา และแบบที่ใช้กระดานระบุสถานะในการทำงานร่วมกับการทำงานที่โต๊ะทำงาน 2 กรณีศึกษา การใช้พื้นที่ทำงานของฝ่ายงานขนาดใหญ่ พบว่า มีการใช้พื้นที่ทำงาน 2 แบบ คือ แบบที่มีการใช้กระดานระบุสถานะในการทำงานร่วมกับการทำงานที่โต๊ะทำงาน 2 กรณีศึกษา และแบบที่มีการใช้โต๊ะส่วนกลางในการทำงานร่วมกับการทำงานที่โต๊ะทำงาน 1 กรณีศึกษา การศึกษานี้ทำให้เข้าใจว่า พื้นที่ทำงานของสายงานไอทีประกอบด้วยพื้นที่ทำงานหลัก ซึ่งมีโต๊ะทำงานที่มีขนาดใหญ่กว่าโต๊ะทำงานขนาดมาตรฐาน และพื้นที่กิจกรรมสนับสนุนย่อย ซึ่งการออกแบบกระดานระบุสถานะที่อยู่ในพื้นที่เปิดโล่งจะอยู่ด้านข้างพื้นที่ทำงานของพนักงาน การออกแบบกระดานระบุสถานะในพื้นที่ปิดล้อมจะอยู่ตามแนวผนังห้อง โต๊ะส่วนกลางที่อยูในพื้นที่เปิดโล่งจะแทรกอยู่ในพื้นที่ทำงานของพนักงาน การทำงานที่กระดานระบุสถานะจะเกิดขึ้นในช่วงเช้า ก่อนจะแยกย้ายกันไปปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงาน ซึ่งพบทั้งการทำงานแบบเดี่ยวและการทำงานแบบกลุ่มที่โต๊ะ


การเปรียบเทียบองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมด้านสีเมืองเก่าน่านและพะเยา, วัชรวิชญ์ จิรวงศาพันธุ์ Jan 2018

การเปรียบเทียบองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมด้านสีเมืองเก่าน่านและพะเยา, วัชรวิชญ์ จิรวงศาพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในขณะที่การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจกระจายเข้าสู่เมืองต่างๆ ทัศนียภาพของแต่ละเมืองถูกปรับเปลี่ยนตามการพัฒนาของเมืองแบบไร้ทิศทางที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสูญเสียอัตลักษณ์ของทัศนียภาพและวัฒนธรรมของแต่ละเมืองนั้นไป หลังจากที่สำนักงานนโยบายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ประกาศพื้นที่ในจังหวัดน่านและจังหวัดพะเยาให้เป็นเมืองเก่า ในปี พ.ศ.2549 และ พ.ศ.2559 ตามลำดับ การเก็บข้อมูลและการสร้างวิธีการในการอนุรักษ์เมืองเก่าเหล่านี้จึงมีความสำคัญมากโดยเฉพาะในเรื่องสีที่มีผลมากที่สุดในการรับรู้ จากการสำรวจภาคสนามที่เมืองเก่าน่านและเมืองเก่าพะเยา ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลตัวอย่างสีด้วยระบบสี Natural Color System จากอาคาร 261 หลัง และทำการวิเคราะห์ เปรียบเทียบระหว่างเมืองเก่าน่านและเมืองเก่าพะเยาด้วยวิธีการทางสถิติในสองรูปแบบ ได้แก่ การเปรียบเทียบด้วยค่าเนื้อสี และการเปรียบเทียบด้วยค่าความสว่างสีและความสดสี จากข้อมูลที่ทำการวิเคราะห์และเปรียบเทียบสามารถสรุปได้ว่า แม้เมืองเก่าน่านและเมืองเก่าพะเยาอยู่ห่างจากกันไม่มาก แต่ทั้งสองเมืองเก่ามีอัตลักษณ์ทางด้านสีที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนโดยเมืองเก่าพะเยาจะมีแนวโน้มที่จะมีค่าสีที่มืดกว่าและสดกว่าเมืองเก่าน่าน


การศึกษาช่องเปิดระบายอากาศธรรมชาติเพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในห้องนอนอาคารชุดพักอาศัย, วาสิตา วานิชศิริโรจน์ Jan 2018

การศึกษาช่องเปิดระบายอากาศธรรมชาติเพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในห้องนอนอาคารชุดพักอาศัย, วาสิตา วานิชศิริโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาว่าการเปิดช่องระบายอากาศแบบธรรมชาติจะสามารถลดความปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในห้องนอนอาคารชุดพักอาศัยได้หรือไม่ โดยทำการสำรวจห้องนอนอาคารชุดพักอาศัยจำนวน 5 แห่ง ว่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกินมาตรฐานหรือไม่ จากนั้นเลือกห้องนอน 2 ห้องจาก 5 ห้องข้างต้น ที่มีพื้นที่ 11.00 ตร.ม. (ปริมาตร 27.50 ลบ.ม.) และ พื้นที่ 14.00 ตร.ม. (ปริมาณ 31.10 ลบ.ม.) เป็นตัวแทนการทดลองเก็บข้อมูลค่าคาร์บอนไดออกไซด์ที่เปลี่ยนแปลงในทุกห้านาที ช่วงเวลา 23:30 น. ถึง 07:00 น. รวม 7 ชั่วโมงครึ่งต่อวัน เป็นระยะเวลา 15 วัน แต่ละวันจะเปิดช่องระบายอากาศที่หน้าต่างที่มีอยู่ด้านเดียวของห้อง เริ่มจากขนาด 50 ตร.ซม. แล้วเพิ่มขึ้นวันละ 50 ตร.ซม.ไปสิ้นสุดที่ 700 ตร.ซม. นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาอัตราแลกเปลี่ยนอากาศและความสิ้นเปลืองพลังงานในระบบปรับอากาศผลการศึกษาพบว่าห้องนอนที่มีปริมาตร 27.50 ลบ.ม. ถึง 31.10 ลบ.ม. นั้น ถ้าเปิดช่องระบายอากาศธรรมชาติที่ผนังด้านเดียวที่ร้อยละ 0.61 ถึง ร้อยละ 0.41 ของพื้นที่ห้องตามลำดับ จะสามารถลดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ตามเกณฑ์ ASHRAE ที่กำหนดให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอาคารต้องไม่มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อากาศภายนอกที่ปกติมีค่าประมาณ 300 ppm ถึง 400 ppm เกินกว่า 700 ppm หรือต้องไม่เกิน 1,000 ppm ถึง 1,100 ppm ผลการทดลองนี้ทำให้เกิดอัตราแลกเปลี่ยนอากาศที่ 1.00 ACH ถึง 0.8 ACH (16.90 CFM ถึง 14.60 CFM) ตามลำดับ ส่วนผลการจำลองค่าความสิ้นเปลืองพลังงานในระบบปรับอากาศเพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ 0.77 ถึง ร้อยละ 0.33 ตามลำดับ เทียบกับห้องนอนที่ไม่มีการเปิดช่องระบายอากาศแบบธรรมชาติ ส่วนการใช้เครื่อง Energy Recovery Ventilator ที่ให้ผลแบบเดียวกันสิ้นเปลืองพลังงานถึงร้อยละ …


การปรับปรุงอาคารสู่การใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ กรณีศึกษา แบบมาตรฐานอาคารสำนักงานราชการ, ศรัณย์ ตันรัตนาวงศ์ Jan 2018

การปรับปรุงอาคารสู่การใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ กรณีศึกษา แบบมาตรฐานอาคารสำนักงานราชการ, ศรัณย์ ตันรัตนาวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงานภายในอาคารสำนักงานโดยรวมสุทธิให้เท่ากับศูนย์ (Net Zero Energy Building) ศึกษาผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Building Energy Code (BEC) Ver 1.0.6 แนวทางในการปรับปรุงที่สามารถทำให้การใช้พลังงานโดยรวมภายในอาคารเท่ากันศูนย์(Net zero energy building) คือ 1) ใช้ฉนวนใยแก้วความหนาแน่น 32 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (กก./ลบ.ม.) ขนาด 50 มิลลิเมตรที่ผนังทึบ 2) กระจกสะท้อนแสงสีเขียว ขนาด 6 มิลลิเมตร มีค่าการส่งผ่านความร้อน (SHGC) ที่ 0.41 3) หลังคาเพิ่มฉนวนใยแก้วความหนาแน่น 32 กก./ลบ.ม. หนา 25 มิลลิเมตร 4) ปรับปรุงระบบแสงสว่าง โดยเปลี่ยนเป็นหลอด LED 5) ปรับปรุงระบบปรับอากาศ 6) ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อทดแทนพลังงานที่ใช้ภายในอาคารโดยเลือกแผงพลังงานแสงอาทิตย์ มีประสิทธิภาพที่ 17.1% พลังงานจากอาคารกรณีศึกษาก่อนปรับปรุงมีค่าการใช้พลังงานโดยรวมต่อปี 209,091.33 kWh/year เมื่อรวมแนวทางการปรับปรุงกรอบอาคาร ระบบปรับอากาศ และระบบแสงสว่าง ค่าการใช้พลังงานโดยรวม 94,963.32 kWh/year พลังงานลดลงจากเดิม 114,128.01 kWh/year หรือคิดสัดส่วนที่ลดลง 54.37% แผงพลังงานแสงอาทิตย์สามารถผลิตพลังงานโดยรวมต่อปี 147,713.84 kWh/year เมื่อรวมแนวทางการปรับปรุงและการใช้พลังงานทดแทนจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้การใช้พลังงานโดยรวมภายในอาคารสุทธิเท่ากับศูนย์ โดยมีระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 14.39 ปี อัตราผลตอบแทนที่ 4.87% เมื่อคิดรวมกับอัตราเพิ่มขึ้นค่าไฟฟ้า ระยะเวลาคืนทุนที่ 21.06 ปี อัตราผลตอบแทน 10.59%


แนวทางการลดน้ำหนักบรรทุกคงที่อาคารโดยการเปลี่ยนองค์ประกอบสถาปัตยกรรมผนังด้วยแบบจำลองสารสนเทศ(Bim) : กรณีศึกษาโรงแรมบูรพาสามยอด, ศุภิสรา นพเกตุ Jan 2018

แนวทางการลดน้ำหนักบรรทุกคงที่อาคารโดยการเปลี่ยนองค์ประกอบสถาปัตยกรรมผนังด้วยแบบจำลองสารสนเทศ(Bim) : กรณีศึกษาโรงแรมบูรพาสามยอด, ศุภิสรา นพเกตุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงแรมบูรพาสามยอด กรุงเทพมหานคร เป็นอาคารที่มีขนาดสูงเกิน 16 เมตรอาคารหนึ่งภายในพื้นที่ควบคุมความสูงตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2530 เนื่องด้วยอาคารหลังนี้ก่อสร้างขึ้นในช่วง พ.ศ.2500 ก่อนการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว จึงทำให้ได้รับการยกเว้นระดับความสูงของอาคารให้คงอยู่เท่ากับในปัจจุบัน โดยสามารถบูรณะและซ่อมแซมอาคารได้ แต่ไม่สามารถสร้างอาคารอื่นขึ้นใหม่ในพื้นที่ให้มีความสูงเท่าเดิม ส่งผลให้โรงแรมบูรพาสามยอดและอาคารที่ติดข้อกำหนดลักษณะเดียวกัน อาจถูกดัดแปลงเพิ่มเติมองค์ประกอบอาคารโดยไม่คำนึงถึงความสามารถที่จำกัดในการรับน้ำหนักของโครงสร้าง การปรังปรุงโดยลดน้ำหนักอาคารจึงเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัย ประหยัด และได้พื้นที่มากกว่าการทุบทิ้งสร้างใหม่ ซึ่งงานวิจัยนี้จะศึกษาวิธีการลดน้ำบรรทุกคงที่อาคาร (Dead load) โดยการเปลี่ยนองค์ประกอบสถาปัตยกรรมผนัง ด้วยแบบจำลองสารสนเทศ (Build Information Modeling) หรือBIM เนื่องจาก BIM มีความสามารถในการจำลองวัตถุในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้งรูปทรง 3มิติ 2มิติและข้อมูลคุณสมบัติ ตัวแปร และความสัมพันธ์กับวัตถุอื่นๆ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)ศึกษาวิธีการบันทึกแบบอาคาร 2มิติ 3มิติ และข้อมูลน้ำหนักบรรทุกคงที่อาคาร ของอาคารปัจจุบัน และอาคารที่เปลี่ยนองค์ประกอบสถาปัตยกรรมผนัง ด้วยแบบ BIM ในโปรแกรม Autodesk Revit 2)นำเสนอแนวทางการลดน้ำบรรทุกอาคาร โดยเปลี่ยนองค์ประกอบสถาปัตยกรรมผนังโรงแรมบูรพาสามยอด ด้วย BIM ผลการศึกษามี2ประเด็นดังนี้ ประเด็นที่1กระบวนการแบบจำลองสารสนเทศในการบันทึกข้อมูลอาคารปัจจุบันและอาคารที่มีการเปลี่ยนแปลงวัสดุผนังสามารถบันทึกข้อมูลทั้งหมดอยู่ในไฟล์เดียวกันได้ ทำให้ไม่เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล โดยการจำแนกองค์ประกอบสถาปัตยกรรมของอาคารปัจจุบันเพื่อคำนวณน้ำหนักจำแนกออกเป็น 6 ประเภท คือ เสา คาน พื้น บันได ผนังลิฟต์ และผนัง ซึ่งสามารถแยกย่อยชนิดและวัสดุองค์ประกอบได้ โดยองค์ประกอบสถาปัตยกรรมจะบันทึกอยู่ใน 3 ตำแหน่งคือ 1)Revit Modeling ซึ่งแสดงผลเป็นแบบ 2 มิติและโมเดล 3 มิติ 2)Revit Family ซึ่งแสดงผลเป็นข้อมูลวัสดุ รายละเอียด ขนาดองค์ประกอบ และ 3)Revit Schedule ซึ่งรวบรวมข้อมูลทั้งหมดและคำนวณน้ำหนักอาคารเป็น 6 Schedule ตามองค์ประกอบสถาปัตยกรรม สำหรับการสร้างวัสดุทางเลือกผนังนั้น ผนัง 1 ชนิดสามารถสร้างทางเลือกได้หลากหลายโดยใช้ Design Option ในโปรแกรม Autodesk Revit ประเด็นที่2 น้ำหนักรวมองค์ประกอบสถาปัตยกรรมผนังมีทั้งหมด 4,474,148.39 กิโลกรัม จากน้ำหนักทั้งหมด10,230,569.23 กิโลกรัม …