Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Theses/Dissertations

2022

Discipline
Institution
Keyword
Publication

Articles 361 - 390 of 436

Full-Text Articles in Architecture

Towards A Revised Approach To Designing From The Outside In: Contextualizing The Preliminary Proposal For The Fourth Addition To Bard College Library, Aidan Galloway Jan 2022

Towards A Revised Approach To Designing From The Outside In: Contextualizing The Preliminary Proposal For The Fourth Addition To Bard College Library, Aidan Galloway

Senior Projects Fall 2022

Before creating the new, architects are faced with the existing. An enormous oak tree might be within the bounds of the site you’ve been hired to build a house on. Do you cut it down, or leave it? A tall brick building might be next door. Do you imitate its scale, its materiality, its style, or do you create something that looks entirely different?

These kinds of questions, while perhaps always fundamental to architecture, were especially pertinent in mid-to-late-twentieth century debates surrounding “context” as architects like Robert Venturi and Denise Scott Brown challenged the conventions of “orthodox” Modern architecture. “Frank …


Pabellón Urbano-Arquitectónico Ecosostenible Y Efímero, Teusaquillo - Bogotá, Sneider Alejandro Bernal Quintero Jan 2022

Pabellón Urbano-Arquitectónico Ecosostenible Y Efímero, Teusaquillo - Bogotá, Sneider Alejandro Bernal Quintero

Arquitectura

Generar un circuito de recorridos histórico- culturales en un espacio determinado (culatas urbanas calle 26) de 5608 M2 cuya finalidad y búsqueda es el de incentivar la ocupación, la integración y el uso, responsable del espacio urbano de la ciudad, por diferentes integrantes del contexto urbano, tales como los habitantes del sector (vecinos) habitantes itinerantes (personas que pasan por el lugar) y habitantes específicos (personas que practican skate) los cuales comparten un mismo sentido de la memoria cultural e histórica de la ciudad y tomando como referente la configuración simbólica del cementerio central desde su configuración original hasta su estado …


Galería Taller De Formación: Artesanías En Tagua (Chiquinquirá, Boyacá), Miguel Andrés Salgado Villamil Jan 2022

Galería Taller De Formación: Artesanías En Tagua (Chiquinquirá, Boyacá), Miguel Andrés Salgado Villamil

Arquitectura

Este documento desarrolla el proyecto de Investigación y formulación de la galería taller de tagua del municipio de Chiquinquirá el cual carece de un equipamiento que brinde la oportunidad de conocer las artesanías locales, que son una parte importante de nuestro patrimonio cultural y que está olvidado, Por este motivo este proyecto busca el reconocimiento al artesano y a la contribución de la economía local de una forma de influir y mejorar la calidad de vida de la comunidad de artesanos, al igual que de los jóvenes que están Interesados en conocer eh involucrarse en el conocimiento y el tallado …


Connections Exposed | A Library For The People, Stephanie Wilburn Jan 2022

Connections Exposed | A Library For The People, Stephanie Wilburn

Theses and Dissertations

MOTIVATION

The U.S. economy, democracy, and the health and happiness of citizens depends on maintaining social capital, the networks of bonds between community members. Social capital creates the trust that facilitates action and cooperation for mutual benefit. Since the 1960s, there has been a decline in-person socialization and social bonds both within and between demographic groups in the US resulting in reduced social capital (Putnam, 2000).

One measure to combat declining social capital is to create third places where incidental and repeated social interactions build and reinforce bonds between community members (Oldenburg, 1997).

With the reduction of accessible and inclusive …


ศักยภาพในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ : กรณีศึกษาโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดน่าน, พิสิฐพงศ์ ตันติมาสน์ Jan 2022

ศักยภาพในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ : กรณีศึกษาโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดน่าน, พิสิฐพงศ์ ตันติมาสน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันปัญหาสภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีการใช้พลังงานตลอด 24 ชม. ในปัจจุบันอาคารประเภทโรงแรมในประเทศไทยมีการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงแรมยังหากแต่งานวิจัยในด้านการชดเชยคาร์บอนในอาคารประเภทโรงแรมยังมีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะในโรงแรมขนาดเล็กซึ่งเป็นโรงแรมทางเลือกหลักของนักท่องเที่ยวชาวไทย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยใช้โรงแรมขนาดเล็ก (2 ชั้น ขนาด 928 และ 820 ตร.ม.) ในจังหวัดน่านเป็นกรณีศึกษา งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงจำลองสถานการณ์ซึ่งพิจารณาในเรื่องของ พื้นที่หลังคาอาคาร รูปทรงหลังคา รูปร่างอาคาร มุมเอียงหลังคา มุมเอียงของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และ ทิศทางการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ทั้ง 8 ทิศทาง โดยคำนวณพลังงานไฟฟ้าและประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ด้วยโปรแกรม DesignBuilder v7.0.1.006 และ ประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เพื่อหาแนวทางในการติดตั้งที่เหมาะสม ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ารูปแบบที่เหมาะสม คือ รูปแบบการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่ครอบคลุมการใช้พลังงานไฟฟ้าของอาคารใน 1 ปี และปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อศักยภาพในการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ คือ รูปร่างอาคาร มุมเอียงแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 18 องศา การวางแนวอาคารและการหันแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้สามารถผลิตพลังงานได้ดีที่สุด คือทิศใต้ และ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีผลตอบแทนทางการเงิน (Internal rate of return: IRR) อยู่ที่ 11.00% ใช้ระยะเวลาในการคืนทุน 8.60 ปี ท้ายที่สุด งานวิจัยนี้เสนอแนวทางการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดน่าน


กระบวนการออกแบบลิฟต์ภายในอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่เป็นอาคารสูงในโรงพยาบาล กรณีศึกษา : อาคารโรงพยาบาลรัฐ 7 แห่ง, พิริยะ ศรีนพรัตนกุล Jan 2022

กระบวนการออกแบบลิฟต์ภายในอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่เป็นอาคารสูงในโรงพยาบาล กรณีศึกษา : อาคารโรงพยาบาลรัฐ 7 แห่ง, พิริยะ ศรีนพรัตนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบลิฟต์เพื่อให้ลิฟต์ตอบสนองการบริการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่เป็นอาคารสูงในโรงพยาบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งมีความแตกต่างจากอาคารทั่วไป ในปัจจุบันกฎหมายและมาตรฐานในประเทศไทย เป็นเพียงข้อกำหนดขั้นพื้นฐานในการออกแบบลิฟต์สำหรับอาคารทั่วไป และมีการกล่าวถึงการออกแบบลิฟต์ที่แตกต่างกันออกไป การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของกระบวนการออกแบบลิฟต์ ข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบลิฟต์ ตลอดจนการวิเคราะห์การแบ่งกลุ่มลิฟต์และการกำหนดจำนวนลิฟต์ โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องการออกแบบลิฟต์ และแบบสถาปัตยกรรมอาคารกรณีศึกษาจำนวน 7 อาคาร ตลอดจนการสัมภาษณ์ผู้ออกแบบ ผู้เกี่ยวข้อง จากการค้นคว้าในเชิงทฤษฎีพบว่า มีการกล่าวถึงการออกแบบลิฟต์ออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ การออกแบบติดตั้งและก่อสร้างระบบลิฟต์ และการออกแบบลิฟต์ภายในอาคาร ทั้งนี้กฎหมายและมาตรฐานในประเทศไทยยังมีเนื้อหาไม่ครอบคลุมการออกแบบลิฟต์ภายในอาคารในโรงพยาบาลเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล จากการศึกษาพบว่า กระบวนการออกแบบลิฟต์ภายในอาคารกรณีศึกษาในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ การดำเนินการออกแบบลิฟต์โดยสถาปนิกตลอดทั้งกระบวนการ ซึ่งสถาปนิกจะเป็นผู้กำหนดองค์ประกอบการออกแบบลิฟต์ในหลาย ๆ ส่วน และการดำเนินการออกแบบลิฟต์ร่วมกันระหว่างสถาปนิกและวิศวกร ซึ่งจะมีการตรวจสอบจำนวน ความจุ และความเร็วของลิฟต์โดยวิศวกร ผู้ออกแบบมีการเลือกใช้ข้อมูลในการออกแบบลิฟต์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้ออกแบบส่วนใหญ่ใช้กฎหมาย ความต้องการของเจ้าของโครงการ งบประมาณ แนวคิดการป้องกันการติดเชื้อ และประสบการณ์การออกแบบมาเป็นข้อมูลขั้นต้น ทั้งนี้มีผู้ออกแบบเพียงบางส่วนใช้มาตรฐานสากลมาเป็นข้อมูลในการออกแบบลิฟต์ เนื่องจากไม่มีการกำหนดมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบลิฟต์ในโรงพยาบาลอย่างชัดเจน การแบ่งกลุ่มลิฟต์ถูกจำแนกตามการใช้งานออกเป็นหลายประเภท เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดการป้องกันการติดเชื้อ ในส่วนการกำหนดจำนวนลิฟต์ผู้ออกแบบบางส่วนใช้วิธีการคำนวณและเกณฑ์การประมาณตัวแปรต่าง ๆ ตามมาตรฐานสากลที่แนะนำไว้ในเบื้องต้น


การใช้พื้นที่บริการสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรณีศึกษา : ส่วนการรักษาด้วยเครื่องเร่งอนุภาคแนวตรง, ศศิภา อ่อนทอง Jan 2022

การใช้พื้นที่บริการสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรณีศึกษา : ส่วนการรักษาด้วยเครื่องเร่งอนุภาคแนวตรง, ศศิภา อ่อนทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พื้นที่หน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาเป็นพื้นที่ที่มีความซับซ้อนเนื่องมาจากกระบวนการให้บริการ มีการทำงานร่วมกันของสหวิชาชีพ และต้องคำนึงถึงความปลอดภัยทางรังสี โดยผู้วิจัยมองเห็นความสำคัญของสภาพพื้นที่ให้บริการด้านดังกล่าว จึงได้ทำการศึกษาสภาพการใช้พื้นที่บริการสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรณีศึกษา : ส่วนการรักษาด้วยเครื่องเร่งอนุภาคแนวตรง เพื่อวิเคราะห์สภาพการใช้พื้นที่ ประเด็นปัญหา และอุปสรรคในการใช้งาน เพื่อให้ทราบถึงสภาพการใช้งานพื้นที่ในปัจจุบัน และเป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาออกแบบหรือปรับปรุงพื้นที่สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาในอนาคต โดยทำการทบทวนวรรณกรรม เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่รังสีรักษา เก็บข้อมูลภาคสนามจากการสำรวจพื้นที่อาคารกรณีศึกษา การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ได้แก่ แพทย์รังสีรักษา นักฟิสิกส์การแพทย์ นักรังสีเทคนิค พยาบาล และเจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวน 14 ราย และทำการรวบรวมแบบสัมภาษณ์ในผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยจำนวน 172 ราย ได้รับการตอบรับจำนวน 100 ราย นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ประกอบด้วย 3 พื้นที่ที่มียุคสมัยของพื้นที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งพื้นที่ที่มีการต่อเติมเพิ่ม พื้นที่ที่ปรับปรุงจากโครงสร้างเดิม และพื้นที่สร้างใหม่ มีการแบ่งการใช้งานพื้นที่ออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่ ส่วนติดต่อและพักคอย ส่วนตรวจและให้คำปรึกษา ส่วนวางแผนการรักษา ส่วนการรักษาด้วยการฉายรังสี ส่วนบริการเจ้าหน้าที่ และส่วนสนับสนุน มีขั้นการเข้ารับบริการ 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงตรวจและให้คำปรึกษา ช่วงจำลองการฉายรังสี และช่วงการฉายรังสี ผลการศึกษาแสดงให้เห็นปัญหา อุปสรรคในการใช้งานพื้นที่ คือ ปัญหาด้านความแออัดของพื้นที่พักคอยในพื้นที่กรณีศึกษา 2 พื้นที่ ซึ่งเป็นพื้นที่เก่า มีอายุการใช้งานมานาน ด้วยข้อจำกัดด้านการขยายตัวของพื้นที่ และปริมาณผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้การใช้งานพื้นที่ไม่สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน พบปัญหาห้องควบคุมเครื่องฉายรังสีคับแคบ ไม่สะดวกต่อการทำงาน และปัญหาห้องพักเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ดังนั้นการออกแบบพื้นที่รังสีรักษาจึงควรคำนึงถึงการขยายตัวในอนาคตเพื่อป้องกันปัญหาด้านพื้นที่การใช้งานไม่เพียงพอ หรือจัดให้มีการปรับปรุง แก้ไข ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาจากการใช้งานพื้นที่


ผลกระทบจากภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงกับการออกแบบพลังงานหมุนเวียน เพื่อไปสู่อาคารพักอาศัยปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์, อภิญญา เวชกามา Jan 2022

ผลกระทบจากภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงกับการออกแบบพลังงานหมุนเวียน เพื่อไปสู่อาคารพักอาศัยปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์, อภิญญา เวชกามา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในปัจจุบันและอนาคต อาจส่งผลให้การจำลองประสิทธิภาพอาคารมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากไฟล์ข้อมูลอากาศที่จำเป็นต้องใช้ในการจำลองนั้น เป็นข้อมูลในช่วงปี ค.ศ.1990 และยังไม่มีข้อมูลที่คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในปัจจุบันและอนาคต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสร้างไฟล์อากาศของกรุงเทพฯ ที่เป็นไปตามการคาดคะเนผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันและอนาคตของ IPCC เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการนำไปใช้ในการจำลองการใช้พลังงานของอาคารที่มีเป้าหมายเป็น Net Zero Carbon งานวิจัยนี้ได้ทำการนำข้อมูลอาคารคอนโดมิเนียมพักอาศัยในกรุงเทพฯ มาใช้เป็นอาคารกรณีศึกษา โดยทำการจำลองการใช้พลังงานในอาคาร จากนั้นวิเคราะห์ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของการใช้พลังงานตลอด 60 ปีข้างหน้า เพื่อนำผลรวมของการใช้พลังงานไปใช้ในการประเมินวัฏจักรชีวิตอาคารตลอดช่วงชีวิตอาคาร 60 ปี (LCA) และเสนอแนวทางการชดเชยการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ด้วยวิธีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จากการศึกษาพบว่า ตลอดช่วงชีวิตอาคาร 60 ปี ของอาคารคอนโดมิเนียมพักอาศัย ผลการจำลองการใช้พลังงานโดยการใช้ไฟล์อากาศที่สร้างขึ้นใหม่ โดยคำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนั้น อาคารมีการใช้พลังงานในอาคารเพิ่มมากขึ้นเป็น 43% เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ไม่ได้คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ซึ่งส่งผลให้ผลการประเมินวัฏจักรชีวิตอาคารมีปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่เพิ่มมากขึ้นเป็น 40% เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ไม่ได้คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และหากพิจารณาเรื่องการชดเชยการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์นั้น การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จำเป็นต้องผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นเป็น 40% เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ไม่ได้คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ


Assessing The Physical Conditions Of Motorcycle Taxi Stands And Comfort Conditions Of The Drivers In The Central Business District Of Bangkok, Nissa Phloimontri Jan 2022

Assessing The Physical Conditions Of Motorcycle Taxi Stands And Comfort Conditions Of The Drivers In The Central Business District Of Bangkok, Nissa Phloimontri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research explores the current physical conditions of motorcycle taxi stands located near the BTS stations in the central business district (CBD) and the comfort conditions experienced by motorcycle taxi drivers at those stands. Stand conditions were assessed using design and location standards for transit stops. A total of 25 stands were surveyed and compared with design standards, considering factors such as location, physical form, and features. Stands that share similar characteristics were classified into stand typologies. Based on the environmental comfort model, questionnaires and in-depth interviews were conducted to evaluate the comfort levels of drivers, encompassing physical, functional, and …


โอกาสและข้อจำกัดของการพัฒนาศูนย์การแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) กรณีศึกษา เขตส่งเสริมศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ พัทยา และโครงการยกระดับท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ต สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก, บุศรินทร์ เขียวไพรี Jan 2022

โอกาสและข้อจำกัดของการพัฒนาศูนย์การแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) กรณีศึกษา เขตส่งเสริมศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ พัทยา และโครงการยกระดับท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ต สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก, บุศรินทร์ เขียวไพรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยมีนโยบายในการพัฒนาประเทศเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจ โดยการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ มุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง 12 ประเภท เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต โดยจัดทำแผนเพื่อส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มดังกล่าวขึ้น อาทิเช่น มาตรการการส่งเสริมการลงทุน การจัดทำแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น ซึ่งอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) นั้นจัดอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย สัมพันธ์กับข้อเท็จจริงที่ว่าปัจจุบันมีการพัฒนาทคโนโลยีในการรักษาคุณภาพชีวิตของมนุนย์ให้มีชีวิตยืนยาว ประกอบกับประเทศไทยเป็นปลายทางของนักท่องเที่ยวและคนไข้ เนื่องด้วยข้อได้เปรียบเรื่องราคา การบริการที่ดี รวมทั้งคุณภาพของบุคลากร โดยเฉพาะแพทย์ทางเลือกและการดูแลฟื้นฟู รวมทั้งบริการต่อเนื่อง ทำให้อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร มีแนวโน้มการลงทุนในอนาคตสูง รัฐบาลนำโดยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมทางแพทย์ นำมาสู่การจัดทำแผนงานโครงการและมาตรการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ก่อให้เกิดการจัดตั้งศูนย์การแพทย์ครบวงจร ในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการให้บริการของกลุ่มเป้าหมาย ดังเช่น กรณีศึกษาทั้งสองแห่งของการวิจัย ได้แก่ เขตส่งเสริมศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ พัทยา และโครงการยกระดับท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ต สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก จากข้างต้นจึงนำมาสู่การศึกษาโอกาสและข้อจำกัดของการพัฒนาศูนย์การแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) โดยศึกษาข้อมูลแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยอื่นๆ และศึกษาแนวทางการดำเนินโครงการของกรณีศึกษาทั้งสองแห่ง โดยวิเคราะห์ที่ตั้งการใช้ที่ดิน รวมทั้งนโยบาย กฎหมายข้อบังคับต่างๆ นำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูล ผนวกกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้องทั้งในด้านการดำเนินการโครงการศูนย์การแพทย์ ด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ และด้านกฎหมายหรือมาตรการส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ จากการศึกษา พบว่า การดำเนินโครงการศูนย์การแพทย์ครบวงจรนั้น จะต้องมีปัจจัยสนับสนุน คือ พื้นที่โครงการจะต้องมีศักยภาพในเรื่องที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ เช่น สถาบันการศึกษาและสถานพยาบาลที่มีการรองรับการให้บริการด้านการแพทย์ การเข้าถึงพื้นที่ ปัจจัยดึงดูดด้านการท่องเที่ยวโดยรอบเพื่อผนวกร่วมกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รวมทั้งปัจจัยส่งเสริมด้านกฎหมาย เช่น มาตรการส่งเสริมการลงทุน มาตรการทางผังเมือง เป็นต้น ทั้งนี้ในการดำเนินการโครงการเนื่องด้วยเป็นโครงการขนาดใหญ่ จะต้องมีการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อขับเคลื่อนโครงการในภาพรวม ทั้งกลุ่มผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง และภาครัฐที่จะลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และจัดการข้อจำกัดและสร้างแรงจูงใจให้กับนักลงทุน และกลุ่มวิชาการ รวมถึงบุคลากรที่มีคุณภาพที่รองรับการให้บริการในพื้นที่


แนวทางการเลือกข้อกำหนดตามมาตรฐาน Leed ในการพัฒนาโครงการศูนย์กระจายสินค้าในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดโดยรอบ, ภวัต สถิตกาญจนะ Jan 2022

แนวทางการเลือกข้อกำหนดตามมาตรฐาน Leed ในการพัฒนาโครงการศูนย์กระจายสินค้าในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดโดยรอบ, ภวัต สถิตกาญจนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าในประเทศไทยที่ได้รับมาตรฐานอาคารเขียวโดยเฉพาะมาตรฐาน LEED มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการลงทุนของผู้พัฒนา ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาลักษณะในการเลือกข้อกำหนดตามมาตรฐาน LEED และปัจจัยในการเลือกข้อกำหนดผ่านการเก็บข้อมูลทุติยภูมิด้านการเลือกข้อกำหนดของศูนย์กระจายสินค้าในประเทศไทย และสัมภาษณ์ของผู้พัฒนาโครงการ และ ผู้ใช้งานกรณีศึกษาตัวแทนสำหรับแต่ละระดับคะแนนได้แก่ Certified Silver และ Gold สุดท้ายนำข้อมูลดังกล่าวมาสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำเสนอเป็นของเสนอแนะการเลือกข้อกำหนดตามมาตรฐาน LEED ในโครงการศูนย์กระจายสินค้า ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะด้านที่ตั้งที่ใกล้กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแนวโน้มในการได้รับคะแนนและระดับมาตรฐานที่สูงขึ้นกว่าโครงการที่ตั้งอยู่ห่างออกไป และพบลักษณะในการเลือกข้อคะแนนของโครงการศูนย์กระจายสินค้าที่ได้รับรองมาตรฐาน LEED แล้วโดยแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้ 1) โครงการในระดับ Certified มีการมุ่งเน้นการเลือกใช้ข้อคะแนนที่ตอบสนองการลดค่าใช้จ่ายด้านค่าน้ำ และค่าไฟฟ้าในโครงการ 2) โครงการในระดับ Silver มีการมุ่งเน้นการเลือกข้อคะแนนที่ตอบสนอง ประโยชน์ด้านการส่งเสริมปฏิบัติงานในโครงการด้านส่งเสริมการเดินทางของพนักงาน และ การเพิ่มประสิทธิภาพโครงการผ่านการตรวจและทดสอบระบบ 3) โครงการในระดับ Gold มีการมุ่งเน้นประโยชน์ด้านคุณภาพอากาศที่ดีแก่พนักงาน และ ลดผลผลกระทบและมลภาวะแก่ชุมชนโดยรอบโครงการ โดยจากลักษณะในการเลือกข้อกำหนดนำไปสู่การสัมภาษณ์ผู้พัฒนา ผู้เชี่ยวชาญ และ ผู้ใช้งานโครงการ พบข้อค้นพบสำคัญดังนี้ 1) หมวดข้อคะแนนที่มีการเลือกใช้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ Energy and Atmosphere Water Efficiency และ Location and Transportation ตามลำดับ 2) แนวคิดด้านโอกาสในการเลือกใช้ข้อคะแนน คือ สอดคล้องกับนโยบายบริษัทด้านการพัฒนาโครงการ และ มีการใช้ข้อกำหนดทั้งด้านอุปกรณ์และวัสดุก่อสร้างอยู่แล้ว 3) แนวคิดด้านข้อจำกัดในการไม่เลือกใช้ข้อคะแนน คือ ผังเมืองและโครงสร้างคมนาคม ผลกระทบด้านต้นทุนและเวลา และ ขัดกับการปฏิบัติงาน/ความปลอดภัยของสินค้า งานวิจัยฉบับนี้แสดงให้เห็นลักษณะการเลือกข้อกำหนด และปัจจัยในการเลือกหรือไม่เลือกทำข้อกำหนดในมุมมองของผู้พัฒนา ซึ่งผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาด้านอาคารเขียว และผู้พัฒนาที่สามารถนำปัจจัยในการเลือกจากการสัมภาษณ์และข้อเสนอแนะในการเลือกข้อคะแนนเบื้องต้นในงานวิจัยไปปรับใช้สำหรับการเริ่มต้นวางแผนการพัฒนาโครงการศูนย์กระจายสินค้าที่ไม่ได้มีความต้องการมาตรฐานรับรองแต่มีความต้องการพัฒนาโครงการให้ตอบสนองความต้องการของผู้พัฒนา ผู้ใช้งาน ชุมชนโดยรอบ และสิ่งแวดล้อม และ โครงศูนย์กระจายสินค้าการต้องการขอมาตรฐาน LEED ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดโดยรอบ


การติดตามการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยของผู้ที่ย้ายจากพื้นที่ชุมชนใต้สะพานโซน 1 กรณีศึกษา ชุมชนประชาอุทิศ 76, สุฎฑรียา มากเกตุ Jan 2022

การติดตามการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยของผู้ที่ย้ายจากพื้นที่ชุมชนใต้สะพานโซน 1 กรณีศึกษา ชุมชนประชาอุทิศ 76, สุฎฑรียา มากเกตุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนประชาอุทิศ 76 เป็น 1 ใน 3 ชุมชนที่ถูกรื้อย้ายมาจากบ้านใต้สะพานในปี 2544 ปัจจุบันผ่านการรื้อย้ายจากใต้สะพานมาสร้างบ้านในชุมชนแห่งใหม่นานกว่า 20 ปี ผู้วิจัยจึงสนใจจะศึกษาการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยของชาวชุมชน ทั้งที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง และ เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผลการศึกษาพบว่า ที่อยู่อาศัยในชุมชนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 1) ที่อยู่อาศัยที่มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง 2) ที่อยู่อาศัยที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงด้วยการช่วยเหลือของหน่วยงานภาคเอกชน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเองมี 3 ลักษณะ คือ 1) ที่อยู่อาศัยที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น เพราะปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนคือผู้ที่อยู่อาศัยมีอาชีพที่มีเงินเดือนประจำ และในครัวเรือนมีผู้ที่มีรายได้มากกว่า 1 คน 2) ที่อยู่อาศัยที่มีสภาพคงเดิม เพราะสมาชิกในครัวเรือนมีรายได้เพียงพอต่อการใช้จ่ายและสมาชิกสามารถดูแลปรับปรุงที่อยู่อาศัยเองได้ 3) ที่อยู่อาศัยที่เสื่อมโทรมตามสภาพ เพราะผู้ที่อยู่อาศัยมีรายได้ที่ไม่แน่นอน จำนวนสมาชิกในครัวเรือนมีจำนวนมากและไม่ได้ประกอบอาชีพ ส่วนที่อยู่อาศัยที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงด้วยการช่วยเหลือของหน่วยงานภาคเอกชน เนื่องจากรายได้ของครัวเรือนที่ไม่แน่นอนและสมาชิกไม่มีความสามารถในการปรับปรุงที่อยู่อาศัย ทำให้ต้องขอรับความช่วยเหลือจากภายนอก ซึ่งความช่วยเหลือเป็นแบบที่ผู้ที่อยู่อาศัยไม่มีส่วนร่วมในการก่อสร้าง จึงสมควรที่จะมีสถาปนิกชุมชนมาให้คำแนะนำในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อให้เกิดการใช้วัสดุก่อสร้างอย่างเหมาะสม ไม่เกิดเป็นปัญหาการใช้วัสดุก่อสร้างผิดประเภทหรือปัญหาในการอยู่อาศัยตามมาภายหลัง จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าปัจจัยและสาเหตุของการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยในชุมชนประชาอุทิศ 76 คือ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ต้องมีการวางแผนแนวทางการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม เพื่อให้ชาวชุมชนได้รับคำแนะนำในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย และการจัดการวัสดุที่นำมาใช้ก่อสร้างอย่างถูกวิธี ซึ่งการพัฒนาชุมชนมีความจำเป็นต้องมีการติดตามและปฏิบัติอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงชุมชนให้เข้ากับสภาวะปัญหาและสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลาช่วยให้ชุมชนมีการพัฒนาที่ยั่งยืนเหมาะสม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยให้ดีขึ้น


รูปแบบและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับการชลประทานของเมืองโบราณในประเทศไทย : กรณีศึกษาเมืองสุโขทัยและเมืองเชียงใหม่, ปุญชรัสมิ์ เอี่ยมประเสริฐกุล Jan 2022

รูปแบบและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับการชลประทานของเมืองโบราณในประเทศไทย : กรณีศึกษาเมืองสุโขทัยและเมืองเชียงใหม่, ปุญชรัสมิ์ เอี่ยมประเสริฐกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบชลประทานโบราณเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่สำคัญประเภทหนึ่ง มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เพื่อการอุปโภคบริโภคและเกษตรกรรม อีกทั้งยังส่งเสริมทัศนียภาพและสภาพแวดล้อมให้แก่เมือง เมื่อเมืองถูกพัฒนาโดยขาดการคำนึงถึงระบบชลประทานโบราณ นำไปสู่การเกิดปัญหา เช่น น้ำท่วม น้ำแล้งและน้ำเน่าเสีย เป็นต้น วิทยานิพนธ์นี้ศึกษารูปแบบและการเปลี่ยนแปลงระบบชลประทานโบราณของเมืองสุโขทัยและเมืองเชียงใหม่ โดยใช้วิธีศึกษาจากการค้นคว้าเอกสารวิชาการ ศึกษาภาพถ่ายทางอากาศจากอดีตจนถึงปัจจุบัน การสัมภาษณ์นักวิชาการที่สามารถให้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ การสำรวจพื้นที่ศึกษาเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นำข้อมูลทั้งหมดมาเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง และสรุปผลการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ระบบชลประทานโบราณเกิดจากความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงลักษณะภูมิศาสตร์และทำเลที่ตั้งของเมือง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อภูมิทัศน์วัฒนธรรมและระบบนิเวศเมือง รวมทั้งทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ


Equipamiento Productivo: Potencializando Virtudes Rurales En La Capilla, Juan Sebastián Peña Fernández Jan 2022

Equipamiento Productivo: Potencializando Virtudes Rurales En La Capilla, Juan Sebastián Peña Fernández

Arquitectura

La Capilla es un municipio boyacense que ha venido teniendo problemáticas desde la centralización económica en el sector primario a lo largo de los últimos 20 años, esto debido a que las condiciones de desarrollo que no son constantes por las migraciones rural-urbanas; siendo la economía y los factores bióticos los más afectados correspondientemente a la alta productividad agropecuaria con poca remuneración económica. Luego del análisis del inventario, se llega a la conclusión de que el territorio necesita alternativas económicas con el fin de generar un nuevo atractivo laboral con oportunidades para la población y además una descentralización de la …


Centro Turístico Y Productivo Rural - La Palma Cundinamarca, Juan Pablo Piratova Cáceres Jan 2022

Centro Turístico Y Productivo Rural - La Palma Cundinamarca, Juan Pablo Piratova Cáceres

Arquitectura

Sabemos que la economía rural en Colombia no está estructurada para el campesino, por eso como un elemento esencial del proyecto se concibe generar una diversificación de la economía enfocada a los estándares conceptuales de la nueva “Buena” ruralidad. Hablar sobre la nueva ruralidad se ha convertido en una pauta para hablar sobre las incidencias del neoliberalismo en los sectores agrícolas en toda América latina, la apertura comercial, la reducción del gasto público y la promesa de las exportaciones, buscaron remplazar los clásicos modelos productivos redefiniendo los sectores primarios, antes delegados al campo para llegar a modelos industrializados, redefiniendo las …


Re-Imagining Design For Affordable Housing In Mexico, Kenza Fernandez Dominguez Jan 2022

Re-Imagining Design For Affordable Housing In Mexico, Kenza Fernandez Dominguez

Scripps Senior Theses

Since the presidency of Enrique Peña Nieto, affordable housing developments in Mexico have been produced in a massive, unsustainable scale. The speed at which these developments are produced equates to the carelessness that goes into their planning. At large, the developments’ monotonous design is aesthetically dehumanizing and fails to promote a sense of community. These developments lack basic infrastructure, and their residents have abandoned them, which has incentivized increased criminal activity.

In this paper, I will be looking at successful models of affordable housing globally, exploring the histories of communal living, and function of architectural collages. Based on my findings …


Re-Imagining Design For Affordable Housing In Mexico, Kenza Fernandez Dominguez Jan 2022

Re-Imagining Design For Affordable Housing In Mexico, Kenza Fernandez Dominguez

Scripps Senior Theses

Since the presidency of Enrique Peña Nieto, affordable housing developments in Mexico have been produced in a massive, unsustainable scale. The speed at which these developments are produced equates to the carelessness that goes into their planning. At large, the developments’ monotonous design is aesthetically dehumanizing and fails to promote a sense of community. These developments lack basic infrastructure, and their residents have abandoned them, which has incentivized increased criminal activity.

In this paper, I will be looking at successful models of affordable housing globally, exploring the histories of communal living, and function of architectural collages. Based on my findings, …


Healing Gardens For Assisted Living Facility At Cortland Acres, Thomas, Wv, Pooja Keshav Pawar Jan 2022

Healing Gardens For Assisted Living Facility At Cortland Acres, Thomas, Wv, Pooja Keshav Pawar

Graduate Theses, Dissertations, and Problem Reports

The affection humans feel for nature is called biophilia. Connecting with nature helps in healing. The connection with nature can be established by incorporating biophilic elements like air, water, plants, and views of nature into the design. (Kellert,2018). According to Kaplan’s Attention Restoration theory, exposure to nature improves focus and the ability to concentrate. (Kaplan,1989)

Connecting with nature provides to be helpful in health care facilities for frail elderly, people with Alzheimer’s and Other Dementias, Hospice care facilities, Mental and Behavioral Health Facilities, and Assisted living facilities. (Marcus,2013)

The aim of this project is to create comfortable, safe, and accessible …


Centro De Memoria Y Formación: Resignificando El Territorio A Partir De La Memoria Colectiva (Florencia, Caquetá), Tatiana Carolina Riaño Nuñez, Valentina Cárdenas García, Ana Sofía Báez Toloza Jan 2022

Centro De Memoria Y Formación: Resignificando El Territorio A Partir De La Memoria Colectiva (Florencia, Caquetá), Tatiana Carolina Riaño Nuñez, Valentina Cárdenas García, Ana Sofía Báez Toloza

Arquitectura

El trabajo de investigación presente en este documento, se desarrolla con el fin de generar un análisis de los conflictos y dificultades que se han dado en el territorio de Florencia, Caquetá, a causa del conflicto armado, con esto se busca proponer un proyecto arquitectónico que contribuya a la resignificación del territorio a partir de la memoria colectiva, el cual propicia la integración del tejido urbano-social, con este fin, se realiza un análisis de los componentes físico- espaciales y socio-culturales, que permiten generar estrategias proyectuales enfocadas en la memoria y la formación para así conformar espacios de sanación, reflexión y …


De Los Lugares De Miedo A Los Lugares De Tranquilidad: Nuevas Formas De Habitabilidad Para La Apropiación Del Espacio Público., Luna Hernández Casallas Jan 2022

De Los Lugares De Miedo A Los Lugares De Tranquilidad: Nuevas Formas De Habitabilidad Para La Apropiación Del Espacio Público., Luna Hernández Casallas

Arquitectura

El tramo del río salitre que se encuentra entre el sector de los barrios El Minuto de Dios y Los Lagartos es el principal lugar de espacio público total, sin embargo, este no es usado por la comunidad debido a la percepción de inseguridad o lugares de miedo que este representa, Por lo cual se puede preguntar, ¿Cómo generar mayor apropiación del espacio público y así apoyar la transición de los lugares de miedo a los lugares de tranquilidad? Para lograr la transición de lugar de miedo a lugar de tranquilidad es necesario generar mayor apropiación a través de la …


Hotel Ecoturístico Neovernáculo Vélez, Santander, Santiago Velasco Fontecha Jan 2022

Hotel Ecoturístico Neovernáculo Vélez, Santander, Santiago Velasco Fontecha

Arquitectura

La vereda el Gualilo alto en el municipio de Vélez, Santander, cuenta con una población de 100 personas que viven del cultivo de guayaba y sus productos derivados, pero la falta de oportunidades ha hecho que estos procesos se deterioren generando pérdida de identidad y deterioro del casco urbano. El Gualilo alto cuenta con una trayectoria Arquitectónica de construcción en tierra y madera que expresa formas y espacios que materializan estética, tecnología y cultura. Las condiciones mencionadas previamente y el potencial derivaron en el planteamiento de un hotel eco turístico y productivo que retome las costumbres, los estilos arquitectónicos y …


La Vivienda Guaicosa, En El Hábitat Rural De Buesaco - Nariño, Zahara Sofia Castillo Castillo, Lindy Vanesa López Montenegro Jan 2022

La Vivienda Guaicosa, En El Hábitat Rural De Buesaco - Nariño, Zahara Sofia Castillo Castillo, Lindy Vanesa López Montenegro

Arquitectura

Las dificultades y los problemas que trae consigo los efectos del cambio climático, en términos ambientales, sociales, políticos y económicos, los cuales afectan directa e indirectamente a la población, víctimas de circunstancias poco favorables, dejando consigo Múltiples afectados, provocando desasosiego, incertidumbre, pérdidas y cambios de habitar en la población expuesta a ser vulnerable y desplazada de su hábitat, principalmente en las poblaciones rurales del sur del país, por lo cual es de suma importancia aprender y comprender el contexto y los modos de habitar, que presentan las familias. guaicosas del municipio de Buesaco en Nariño, para así desarrollar un diseño …


Taking Flight: An Independent Living Facility For Emancipated Foster Youth, Kristy Mcdaniel Leitzel Jan 2022

Taking Flight: An Independent Living Facility For Emancipated Foster Youth, Kristy Mcdaniel Leitzel

Theses and Dissertations

Motivation

Many of us think about foster care in the context of younger children removed from home. However, little thought is given to youth that age out of the foster care system and the associated challenges and risks they face, namely in the area of housing.

Youth in foster care often receive minimal support in making the transition to independence and are frequently forced into instant adulthood. They are faced with an abrupt end of support at a time when they have not yet mastered the educational, social, or economic survival skills necessary to be independent in the community (Haas, …


Gambian Transnationalism And Urban Spatial Expansion: An Analysis Of Motivations And Consequences Of Us-Based Gambian Emigrants' Real Estate Investments In The Greater Banjul Area, Matthias St. Clair Greywoode Jan 2022

Gambian Transnationalism And Urban Spatial Expansion: An Analysis Of Motivations And Consequences Of Us-Based Gambian Emigrants' Real Estate Investments In The Greater Banjul Area, Matthias St. Clair Greywoode

Planning Dissertations

This study was the first comprehensive study of the transnational housing investments of Gambian emigrants in the Gambia and contributes to the literature on immigrant populations in host countries by illuminating the transnational nature and activities of immigrant populations. Transnational migrants send significant amounts of remittances back to their countries of origin annually and research indicates that they continue to grow both in real terms and as a proportion of their country's respective GDP. Most of these migrant remittances are invested in residential housing developments which makes studying the impact of migrant investments on the economies of origin countries an …


แนวทางการปรับใช้แนวคิดเกษตรในเมืองในพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร, ชามิตา เตชัย Jan 2022

แนวทางการปรับใช้แนวคิดเกษตรในเมืองในพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร, ชามิตา เตชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หลังจากมีประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มีการตั้งคำถามมากมายโดยเฉพาะความเหมาะสมของประกาศแนบท้ายการประกอบพื้นที่เกษตร กำหนดเพียงอัตราส่วนพื้นที่ต่อจำนวนชนิดต้นไม้ 57 ชนิด ทำให้เจ้าของที่ดินแผ้วถางที่เพื่อปลูกพืชเช่นกล้วยและมะนาวแทน ในมาตรา 37 วรรคหก กำหนดให้คณะกรรมการของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีตามความเหมาะสมของบริบทด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่นั้นได้ ในงานวิจัยนี้ ได้ศึกษาบริบทพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีความเป็นเมืองมากกว่าชนบท รวมถึงมีมาตรการผังเมือง แผนพัฒนาพื้นที่เฉพาะในหลายด้าน ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับประโยชน์ของเกษตรในเมือง โดยมีปัจจัย 3สิ่งต้องคำนึงถึง คือ พื้นที่ตั้ง วัตถุประสงค์ และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่เกษตรในเมือง โดยงานวิจัยนี้สามารถเสนอแนะสาระสำคัญการประกอบพื้นที่เกษตรในเมือง ในกรุงเทพมหานครคือ พื้นที่ 3 กลุ่มเขตชั้นในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลหรือพื้นที่นิติบุคคล มีวัตถุประสงค์การใช้พื้นที่เพื่อการปลูก การเลี้ยงดู การทำให้เพิ่มพูน การนำเข้าสู่กระบวนการที่เกี่ยวข้องอย่างการเพิ่มมูลค่า และการกระจายผลผลิตที่เป็นอาหาร รวมถึงผลผลิตที่ไม่ใช่อาหารอย่างพืชที่เป็นยาสมุนไพร รวมถึงการใช้และนำกลับมาใช้ใหม่ของทรัพยากร ผลิตภัณฑ์ และการบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเหล่านั้น การเสนอสาระสำคัญในข้อบัญญัติเกษตรในมืองในกรุงเทพมหานครเพิ่มเติมการลดหย่อนภาษีตามมาตรการส่งเสริมการพัฒนา โดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ คำนวณเพื่อลำดับคะแนนกิจกรรมที่สอดคล้องกับเมือง กิจกรรมที่สอดคล้องสูงสุดได้แก่ การปลูกพืช การฝึกอาชีพ อบรมผู้นำ รวมกลุ่มแม่บ้าน ขายผลิตภัณฑ์ชุมชน และอบรมการจัดการเกษตรในเมือง


ความสัมพันธ์ระหว่างภูมินิเวศแม่น้ำกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์: กรณีศึกษา แม่น้ำยมกับเมืองแพร่, ณัฐพงศ์ สิริสมพรคง Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างภูมินิเวศแม่น้ำกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์: กรณีศึกษา แม่น้ำยมกับเมืองแพร่, ณัฐพงศ์ สิริสมพรคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แม่น้ำเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภูมิประเทศรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงให้ทรัพยากรแก่มนุษย์ นอกจากปัจจัยด้านทรัพยากรแล้ว ในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยังต้องคำนึงถึงเงื่อนไขจากผลกระทบของกระบวนการของแม่น้ำด้วย เช่น การหลากของน้ำตามฤดูกาลที่ทำให้เกิดที่ราบน้ำท่วมถึงและลานตะพักลำน้ำ ซึ่งเป็นรูปแบบทางธรณีสัณฐานที่มีคุณประโยชน์หลายด้าน โดยลานตะพักลำน้ำในที่ราบลุ่มหรือแอ่ง เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐาน เนื่องจากสามารถเข้าถึงแม่น้ำได้สะดวก และพื้นที่มีระดับสูงทำให้ได้รับผลกระทบจากน้ำหลากน้อย วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขอบเขตภูมินิเวศแม่น้ำและความสัมพันธ์ระหว่างการตั้งถิ่นฐานของเมืองแพร่กับแม่น้ำยม โดยอาศัยพื้นฐานจากกรอบแนวคิดภูมินิเวศวิทยาและภูมินิเวศแม่น้ำ ใช้การวิเคราะห์ในเชิงพื้นที่ด้วยรูปตัดภูมิประเทศจากแบบจำลองความสูงเชิงเลข และข้อมูลธรณีวิทยา รวมถึงสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสิ่งปกคลุมดินจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า เมืองแพร่ตั้งอยู่บนลานตะพักแม่น้ำยมชิดกับแนวเขตที่ราบน้ำท่วมถึง เป็นการตั้งถิ่นฐานที่อยู่บนเงื่อนไขของปัจจัยเชิงนิเวศ แต่ในปัจจุบันเมืองแพร่มีการขยายตัวมากขึ้นจนขยายเข้าสู่พื้นที่แนวแม่น้ำยม และมีการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยในที่ราบน้ำท่วมถึงอีกด้วย ความรู้ความเข้าใจที่ได้จากการศึกษานี้จึงจะเป็นพื้นฐานสำหรับการวางแผนการจัดการภูมินิเวศให้สอดคล้องกับปัจจัยทางภูมินิเวศของภูมินิเวศแม่น้ำ และการอยู่ร่วมกับแม่น้ำในอนาคต


การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนน ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ จากการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า(ทีโอดี) : กรณีศึกษาสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน, พีระพงศ์ เวชส่งเสริม Jan 2022

การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนน ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ จากการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า(ทีโอดี) : กรณีศึกษาสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน, พีระพงศ์ เวชส่งเสริม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภูมิทัศน์ถนน (Street Scape) เป็นคุณลักษณะทางกายภาพสำคัญที่แสดงเอกลักษณ์ของเมืองๆนั้น ให้ผู้คนได้เข้าใจสภาพความเป็นอยู่ ตลอดจนวิถีชีวิต วัฒนธรรมที่สอดคล้องกันกับผู้อาศัยในเมืองนั้นๆ ซึ่งแต่เดิมสยามประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็น นครเวนิสตะวันออก ที่ใช้เรือเป็นพาหนะขนส่งหลัก แต่หลังจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring Treaty) ในปี พ.ศ. 2399 ถนนเริ่มมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยมีองค์ประกอบภูมิทัศน์ถนนที่สำคัญ ได้แก่ อาคารทางประวัติศาสตร์ ต้นไม้ ทางเท้า ที่ว่าง กิจกรรมของชุมชน ฯลฯ เมื่อเวลาผ่านไปความเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ถนนในย่านเมืองเก่า ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยของกฎระเบียบภายในพื้นที่เมืองเก่า ปรากฎการณ์ของเจนตริฟิเคชัน (gentrification) รวมทั้งการมาถึงของโครงการรถไฟฟ้า ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค ที่ใช้แนวคิดการพัฒนาเมืองโดยอาศัยสถานีรถไฟฟ้าเป็นจุดศูนย์กลาง คือโครงการการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าหรือทีโอดี (Transit Oriented Development : TOD) มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่ช่วยให้คนหันมาใช้รถน้อยลงในการเดินทาง เพิ่มการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ส่งเสริมการเดินและใช้จักรยาน จากการศึกษาพื้นที่โดยรอบสามสถานีรถไฟฟ้า ได้แก่ สนามไชย สามยอด และวัดมังกร พบรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนน แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนนในทางกายภาพอย่างเดียว 2) การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม และ 3) การเปลี่ยนแปลงพื้นที่เชิงโครงสร้างให้กลายเป็นอาคารสถานีรถไฟฟ้าและอาคารระบายอากาศ (IVS: intervention station) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบหลักๆ ได้แก่ ปัจจัยข้อกำหนดต่างๆในเกาะรัตนโกสินทร์ และปัจจัยจากสถานีรถไฟฟ้าและทีโอดี โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนนที่มีผลมาจากปัจจัยเจนตริฟิเคชัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพทั้งรูปแบบอาคาร ที่มีผลมาจากการก่อสร้างบนพื้นที่เดิม และกิจกรรมภายในพื้นที่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนน ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบอาคาร ที่ว่าง และกิจกรรม


การเปลี่ยนแปลงของสิ่งปกคลุมผิวดินในพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง : กรณีศึกษาพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงแม่น้ำมูล ในอำเภอวารินชำราบและอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี, ศุภวิชญ์ โรจน์สราญรมย์ Jan 2022

การเปลี่ยนแปลงของสิ่งปกคลุมผิวดินในพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง : กรณีศึกษาพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงแม่น้ำมูล ในอำเภอวารินชำราบและอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี, ศุภวิชญ์ โรจน์สราญรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แม่น้ำเป็นระบบที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและค้ำจุนชีวิตบนโลก และเป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญในการเลือกพื้นที่เพื่อตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ตำแหน่งของชุมชนในอดีตแสดงถึงการพึ่งพาและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขตามธรรมชาติ แตกต่างกับเมืองในปัจจุบันที่ไม่สนใจเงื่อนไขเหล่านั้น และพลวัตน้ำหลาก (Flood pulse) ที่เกิดขึ้นเป็นปกติตามธรรมชาติกลับถูกมองว่าเป็นปัญหาและสร้างความเสียหายให้แก่เมือง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจโครงสร้าง บทบาท การเปลี่ยนแปลง และพลวัตของภูมิทัศน์พลวัตน้ำหลาก เพื่อการกำหนดขอบเขตพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงแม่น้ำมูล และใช้เป็นขอบเขตในการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดินภายในพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงของแม่น้ำมูลในอำเภอวารินชำราบและอำเภอเมืองอุบลราชธานีจังหวัดอุบลราชธานี วิทยานิพนธ์ฉบับนี้แสดงให้เห็นว่ามีเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดินที่เกิดจากการขยายตัวของเมืองบนพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง บทบาท และพลวัตน้ำหลากที่ดำเนินไปตามธรรมชาติ ซึ่งขัดต่อเงื่อนไขตามธรรมชาติของภูมิทัศน์พลวัตน้ำหลาก จนทำให้เกิดการตัดขาดการเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำและพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ระบบนิเวศพลวัตน้ำหลาก ส่งผลต่อนิเวศบริการและการดำเนินชีวิตของมนุษย์ อีกทั้งการขยายตัวบนพื้นราบน้ำท่วมถึงทำให้เกิดน้ำท่วมเมือง ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงของน้ำท่วมเมืองคือ เมืองกำลังพัฒนาอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ รอให้การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำที่เป็นไปตามธรรมชาติเข้าท่วมและสร้างความเสียหายซ้ำซากให้แก่เมือง


อิทธิพลของป้ายและเส้นทางเดินต่อพฤติกรรมค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งานกรณีศึกษา อาคารผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, กษีระ พรหมเดช Jan 2022

อิทธิพลของป้ายและเส้นทางเดินต่อพฤติกรรมค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งานกรณีศึกษา อาคารผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, กษีระ พรหมเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงพยาบาลหลายแห่งมีการต่อขยายเพื่อเพิ่มพื้นที่และสมรรถภาพในการรักษาพยาบาล ซึ่งการต่อขยายมักไม่ต่อเนื่อง ส่งผลให้โรงพยาบาลยิ่งมีความซับซ้อนและไม่เป็นเอกภาพ อีกทั้งผู้มารับบริการจากโรงพยาบาลส่วนใหญ่มีความบกพร่องเนื่องจากความเจ็บป่วยที่ส่งผลต่อความสามารถในทุกด้าน รวมถึงการค้นหาเส้นทางด้วย มีงานวิจัยที่พบว่าการค้นหาเส้นทางในโรงพยาบาลมีความลำบาก ซับซ้อนและส่งผลต่อคุณภาพการรักษาพยาบาล ดังนั้นการพัฒนาระบบนำทางที่เหมาะสมด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ จะสามารถเป็นตัวช่วยให้ผู้มารับบริการสามารถค้นหาเส้นทางในโรงพยาบาลได้ง่ายมากขึ้น การศึกษานี้เป็นเชิงสำรวจ (Survey Research) ที่มีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาอิทธิพลของป้ายและเส้นทางเดินต่อความคิดเห็นและการค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งาน การศึกษาประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) ศึกษาอิทธิพลของลักษณะป้ายต่อความคิดเห็นของผู้ใช้งาน และ 2) ศึกษาอิทธิพลของลักษณะเส้นทางเดินต่อการค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งาน ดำเนินการศึกษาโดยเก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะกายภาพ คือ ป้ายและเส้นทางเดิน และใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลความคิดเห็นต่อป้ายและพฤติกรรมการค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งาน จากนั้นนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้ที่มารับบริการทางการแพทย์ ณ ห้องตรวจโรคอายุรกรรม ซึ่งอยู่ภายในอาคารผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลกรณีศึกษา ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ความแตกต่างของของป้ายและเส้นทางเดินมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นและการค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งาน ในส่วนสีของป้าย พบว่าการใช้ตัวหนังสือสีขาวบนพื้นหลังสีส้มและตัวหนังสือสีดำบนพื้นหลังสีเหลืองยังคงเป็นคู่สีที่เหมาะสม และพบว่าป้ายที่ใช้สีพื้นหลังสีเหลืองและสีส้มซึ่งเป็นสีโทนร้อนชัดเจนกว่าป้ายที่ใช้สีพื้นหลังสีฟ้าซึ่งเป็นสีโทนเย็น ในส่วนขนาดตัวอักษรพบว่าสำหรับป้ายบอกทาง ขนาดตัวอักษรภาษาไทยแนะนำให้มีขนาดไม่น้อยกว่า 4 เซนติเมตร ที่ระยะติดตั้งสูงจากพื้น 1.5 เมตร และพบว่าจำนวนข้อมูลบนป้ายที่เหมาะสมคือ 5-7 ข้อมูล/ป้าย และไม่ควรเกิน 10 ข้อมูล/ป้าย ในส่วนของป้ายที่เป็นประโยชน์ในการค้นหาเส้นทาง การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าป้ายที่สื่อสารด้วยข้อความเป็นประโยชน์มากกว่าป้ายที่สื่อสารด้วยรูปภาพ สำหรับลักษณะเส้นทางเดิน ผลชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้เส้นทางเดินจะมีลักษณะตรงและมีระยะทางสั้น แต่อาจสร้างความสับสนให้แก่ผู้ใช้งานได้ หากระหว่างเส้นทางมีการใช้สอยพื้นที่อย่างหนาแน่น ซึ่งส่งผลต่อจำนวนป้ายและข้อมูลข่าวสารให้มีความหนาแน่นด้วยเช่นกัน


การออกแบบอาคารด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป : สำนักงานราชการขนาดเล็กกรณีศึกษา อาคารสำนักงานคณะกรรมการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตเเห่งชาติ, ณัทน์ธัญ อธิศธันยวัศ Jan 2022

การออกแบบอาคารด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป : สำนักงานราชการขนาดเล็กกรณีศึกษา อาคารสำนักงานคณะกรรมการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตเเห่งชาติ, ณัทน์ธัญ อธิศธันยวัศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูปมักถูกนำไปใช้ในการออกแบบอาคารขนาดใหญ่ที่มีหน่วยซ้ำๆ หรืออาคารขนาดเล็กที่มีรูปแบบซ้ำๆ เช่น อาคารชุดพักอาศัยและบ้านจัดสรรเท่านั้น บทความนี้นำเสนอการศึกษาความเป็นไปได้ในการออกแบบสำนักงานราชการขนาดเล็กที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป ผ่านกรณีศึกษา อาคารสำนักงานคณะกรรมการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตเเห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ซึ่งออกแบบโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง อาคารสำนักงาน ป.ป.ช. ที่ก่อสร้างไปเเล้วในหลายจังหวัด เป็นอาคารขนาดเล็ก พื้นที่อาคารรวม 1,170 ตร.ม. มีรูปทรงคล้ายกัน เเละผังพืิ้นเหมือนกัน เป็นอาคารสูง 3 ชั้น ชั้นที่ 1 ประกอบด้วย ห้องโถง ห้องรับเรื่อง ห้องเก็บของ ส่วนพื้นที่ทำงานของหน่วยงาน ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย ห้องเก็บพัสดุ ห้องเอนกประสงค์ ห้องเลขานุการ ห้องผู้อำนวยการ ส่วนพื้นที่ทำงานของหน่วยงาน ชั้นที่ 3 ประกอบด้วย ห้องไต่สวน ห้องมั่นคง ห้องประชุม จากการศึกษาพบว่าสามารถจำแนกพื้นที่ใช้สอยดังกล่าวได้ 3 ขนาด คือ 1) ขนาดเล็ก ได้แก่ ห้องเก็บของ ห้องรับเรื่อง ห้องเลขานุการ ห้องไต่สวน ห้องเก็บพัสดุ 2) ขนาดกลาง ได้แก่ ห้องโถง ห้องเอนกประสงค์ ห้องมั่นคง ห้องผู้อำนวยการ เเละ 3) ขนาดใหญ่ ได้แก่ ส่วนพื้นที่ทำงานของเเต่ละหน่วยงาน ห้องประชุม ทั้งนี้การก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป ระบบผนังรับน้ำหนัก จะเหมาะกับพื้นที่ใช้สอยขนาดเล็ก และขนาดกลาง ส่วนระบบเสาคาน จะเหมาะกับพื้นที่ใช้สอยขนาดกลาง เเละขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ในการออกแบบอาคาราชการขนาดเล็กด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยใช้ระบบเสาคาน ร่วมกับชิ้นส่วนพื้น เเละผนังภายนอกสำเร็จรูป กั้นแบ่งพื้นที่ภายในด้วยระบบผนังเบา หรือใช้ระบบผนังรับน้ำหนัก แต่ต้องจัดผังพื้นแต่ละชั้นใหม่ โดยสลับให้ชั้นที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาดเล็กอยู่ชั้นล่าง เเละขนาดใหญ่อยู่ชั้นบน หรือจะใช้ระบบผสม เพื่อไม่ต้องจัดผังพื้นใหม่ก็ได้ โดยใช้ระบบผนังรับน้ำหนักในพื้นที่ใช้สอยที่มีขนาดเล็ก และขนาดกลาง เเละเพิ่มชิ้นส่วนคานสำหรับช่วงพาดกว้างในหน่วยที่มีขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังสามารถออกแบบโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูปอื่น ๆ เช่น ประตู-หน้าต่าง โครงหลังคา เเละส่วนตกแต่ง ทั้งแผงตกแต่ง และแผงกันแดด