Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 61 - 90 of 422

Full-Text Articles in Architecture

ศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาชุมชนตามแผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ : กรณีศึกษา ชุมชนท่าเตียน กรุงเทพมหานคร, เขตนคร อภิเดชไพศาล Jan 2021

ศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาชุมชนตามแผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ : กรณีศึกษา ชุมชนท่าเตียน กรุงเทพมหานคร, เขตนคร อภิเดชไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ มีเป้าหมายส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและชุมชน โดยชุมชนท่าเตียนเป็นหนึ่งในพื้นที่ชุมชนเป้าหมายและจัดทำแนวทางการฟื้นฟูชุมชนที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์ในขอบเขตพื้นที่ดำเนินการบริเวณพระบรมมหาราชวัง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพและข้อจำกัดของชุมชนที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องตามแผนผังแม่บทฯ เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชนและแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับศักยภาพและข้อจำกัดของชุมชน โดยทำการรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์และจัดการประชุมปฏิบัติการร่วมกับชาวชุมชน ผลจากการศึกษาแผนผังแม่บทฯ พบว่า ได้กำหนดท่าเตียนให้เป็นพื้นที่ชุมชนการค้าเดิมและฟื้นฟูการทำยาแผนโบราณ โดยจัดทำโครงการพื้นที่ย่านท่าเตียนมีทั้งสิ้น 6 โครงการ ส่วนผลจากการศึกษาศักยภาพและข้อจำกัดปัจจุบัน พบว่า ชุมชนท่าเตียนมีศักยภาพด้านกายภาพเป็นชุมชนในพื้นที่หัวแหวนกรุงรัตนโกสินทร์ และมีข้อจำกัดด้านกายภาพของโรงตลาดภายในชุมชนที่ทรุดโทรมกลายเป็นพื้นที่เก็บของ บดบังทัศนียภาพของกลุ่มอาคารภายในชุมชน ชุมชนมีจุดเด่นด้านศักยภาพด้านเศรษฐกิจเป็นชุมชนการค้าย่านการค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยา และศักยภาพด้านสังคมที่มีความสัมพันธ์การค้าลักษณะเป็นเครือญาติ ผลจากการประชุมปฏิบัติการร่วมกับชุมชน พบว่า สามารถกำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชน 7 ประเด็น ภายใน 6 บริเวณชุมชน ได้แก่ การพัฒนาตลาดชุมชนกลางคืนบริเวณโรงตลาดภายในชุมชน-การพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือนและการฟื้นฟูเอกลักษณ์บริเวณกลุ่มอาคารริมแม่น้ำเจ้าพระยา-การอนุรักษ์และสืบสานมรดกวัฒนธรรมชุมชนบริเวณถนนท้ายวังและซอยท่าเตียน-การพัฒนาการเข้าถึงชุมชนและการปรับปรุงเส้นทางท่องเที่ยววิถีชุมชนบริเวณทางเดินภายในชุมชน และการพัฒนาเปิดวิถีชีวิตชุมชนการค้าบริเวณกลุ่มอาคารริมถนนมหาราช ผลจากการศึกษาศักยภาพกับแนวทางการพัฒนาชุมชน พบว่า ชุมชนมีศักยภาพการรวมกลุ่มของลักษณะกิจกรรมการค้าเดียวกันหรือการพึ่งพากัน ที่ส่งเสริมให้เกิดอิทธิพลทางความคิดหรือการกระทำไปในทิศทางเดียวกัน แต่มีข้อจำกัดของพื้นที่ประกอบกิจกรรมร่วมกันภายในชุมชน ที่จะส่งเสริมด้านเศรษฐกิจจากการขับเน้นด้านกายภาพของโครงการตามแผนผังแม่บทฯ ในพื้นที่ย่านท่าเตียน ดังนั้นจึงเสนอแนะให้ชุมชนนำพื้นที่อาคารริมแม่น้ำเจ้าพระยาและโรงตลาดมาพัฒนาเป็นพื้นที่ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจร่วมกันของชุมชน โดยขอความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายนอก ในการดำเนินงานพัฒนาด้านกายภาพที่ชุมชนไม่สามารถดำเนินการเองได้ เพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ชุมชนตามศักยภาพของชุมชน


การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในภาวะวิกฤตโควิด-19 ของโรงแรมที่มีการบริหารแบบอิสระขนาดเล็กและขนาดกลางในเขตพัทยาเหนือระหว่างพ.ศ. 2563-2564, ธิษณา หาวารี Jan 2021

การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในภาวะวิกฤตโควิด-19 ของโรงแรมที่มีการบริหารแบบอิสระขนาดเล็กและขนาดกลางในเขตพัทยาเหนือระหว่างพ.ศ. 2563-2564, ธิษณา หาวารี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจภาคการท่องเที่ยวและการบริการซึ่งเป็นบทบาทหลักของเศรษฐกิจประเทศไทยธุรกิจโรงแรมของเมืองท่องเที่ยวอย่างพัทยาก็พื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงแต่ด้วยศักยภาพการเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและอยู่ไม่ห่างจากกรุงเทพฯจึงมีโอกาสในการฟื้นตัวสูง ทำให้โรงแรมหลายแห่งต้องมีการปรับตัวเพื่อการดำเนินการธุรกิจในช่วงโควิด-19 ดังนั้นงานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาการใช้กลยุทธ์การปรับตัวของโรงแรมที่มีการบริหารแบบอิสระ 43 แห่งโดยทำการศึกษาโรงแรมที่มีการบริหารแบบอิสระขนาดเล็ก 2แห่งและขนาดกลาง 2 แห่ง ทั้งนี้มีการรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ของโรงแรมและOTA ระหว่าง ธ.ค. 2563-ธ.ค.2564 และวิเคราะห์ข้อมูลจากการเปลี่ยนแปลงราคาและอัตราการเปิดให้บริการ ณ ช่วงเวลานั้น รวมไปถึงการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการโรงแรมกรณีศึกษา 4 แห่งเพื่อสรุปบทเรียนสำคัญในการปรับตัวเพื่อนำมาเปรียบเทียบและสรุปกลยุทธ์ที่สามารถทำให้โรงแรมดำเนินธุรกิจต่อได้หรือมีการฟื้นตัว ผลการศึกษาพบว่า 1) โรงแรมขนาดกลางได้รับผลกระทบมากกว่าโรงแรมขนาดเล็กแต่มีการปรับตัวที่ยืดหยุ่นกว่าจากทรัพยากรที่ทำให้มีทางเลือกในการปรับตัว 2) การปรับตัวของโรงแรมนั้นมี 2 ระดับ คือ ระยะสั้นและระยะยาวซึ่งมีการใช้รูปแบบกลยุทธ์ 3 กลยุทธ์ดังนี้ (1) การใช้กลยุทธ์ปรับตัวในการปรับตัวระยะสั้นและระยะยาวเรื่องการบริหารการเงินและทรัพยากรเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำเหมือนกัน คือ การปรับระเบียบค่าใช้จ่ายด้วยวิธีที่เหมาะสมกับโรงแรมจากการพิจารณาทรัพยากรและการเงินที่มีว่าผู้ประกอบการสามารถยอมรับการขาดทุนได้มากเท่าใดหรือจะลดค่าใช้จ่ายจากส่วนใด (2) ในการปรับตัวระยะยาวผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงผลของการใช้กลยุทธ์ที่ผ่านมาและประเมินผลกระทบและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อวางแผนในการรองรับหรือการขยายการบริการ (3) นอกจากนี้หากจะปรับตัวในระยะยาวยังต้องมีการทำการตลาดโดยการแบ่งสัดส่วนกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ เช่น ช่วงงดการเดินทางระหว่างประเทศอาจเพิ่มสัดส่วนของนักท่องเที่ยวชาวไทยมากขึ้นหรือหากลุ่มที่มีความสนใจเฉพาะ เช่น กลุ่มเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากการปรับสัดส่วนการตลาดแล้วยังต้องทำโปรโมชั่นและปรับโรงแรมในบางส่วนหากจำเป็นเพื่อให้ตรงกับความต้องการกับกลุ่มเป้าหมายใหม่มากที่สุด ดังนั้นโรงแรมควรมีพื้นที่ที่สามารถยืดหยุ่นในการใช้งานได้เพื่อให้เกิดกลุ่มเป้าหมายหมุนเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างไรก็ตามข้อเสนอแนะดังกล่าวเหมาะสำหรับโรงแรมที่อยู่ในพื้นที่ที่มีแนวโน้มการฟื้นตัวหรืออยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพหรือมีบริบทคล้ายคลึงกับพัทยาซึ่งมีขนาดเล็กหรือขนาดกลางภายใต้สภาวะวิกฤตการหดตัวของนักท่องเที่ยว 3) เมื่อเทียบกับโรงแรมในกรุงเทพฯและเชียงใหม่พบว่าเมืองพัทยามีการปิดตัวอยู่ที่ร้อยละ 33 ซึ่งน้อยกว่ากรุงเทพฯและเชียงใหม่เนื่องจากศักยภาพการเป็นเมืองท่องเที่ยวใกล้เมืองหลวงส่งผลให้มีการฟื้นตัวที่รวดเร็ว การวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นความแตกต่างของการปรับตัวระหว่างโรงแรมขนาดเล็กและขนาดกลางภายใต้สถานการณ์เดียวกันโดยมีลักษณะของโรงแรมที่แตกต่างกันทำให้มีการเลือกใช้กลยุทธ์ที่ต่างกันซึ่งกลยุทธ์การลดค่าใช้จ่ายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำตลอดช่วงสถานการณ์จนกว่าจะกลับไปเป็นปกติและการทำการตลาดด้วยการปรับสัดส่วนกลุ่มเป้าหมายและจัดทำโปรโมชั่นกิจกรรรมให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายในช่วงกลางสถานการณ์และในช่วงท้ายจะเป็นการประเมินผลกระทบและกลยุทธ์ที่ใช้ไปเพื่อมองหาโอกาสในการขยายธุรกิจเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากธุรกิจหลักทั้งนี้ต้องพิจารณาจากทรัพยากรภายในธุรกิจและการคาดการณ์กระแสเงินสดเพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในธุรกิจตลอดเวลา


กลยุทธ์การปรับตัวต่อสถานการณ์โควิด-19 ของผู้ประกอบการโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการสถานกักกันโรคแห่งรัฐทางเลือกระดับท้องที่ (Alq) ในจังหวัดภูเก็ต, มาริษา กุลพัฒนโสภณ Jan 2021

กลยุทธ์การปรับตัวต่อสถานการณ์โควิด-19 ของผู้ประกอบการโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการสถานกักกันโรคแห่งรัฐทางเลือกระดับท้องที่ (Alq) ในจังหวัดภูเก็ต, มาริษา กุลพัฒนโสภณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภูเก็ตถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่สร้างรายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวเป็นหลักและได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 การปรับตัวเข้าร่วมสถานกักกันโรคแห่งรัฐทางเลือกระดับท้องที่ หรือ Alternative Local Quarantine (ALQ) จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของธุรกิจโรงแรมในภูเก็ต โดยงานวิจัยนี้มุ่งศึกษากลยุทธ์การปรับตัวของโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการสถานกักกันโรคแห่งรัฐทางเลือกระดับท้องที่ (ALQ) ในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 28 แห่ง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเว็ปไซต์ของโรงแรมและเว็ปไซต์ OTA ตั้งแต่มกราคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2564 รวมถึงสัมภาษณ์ผู้ประกอบการโรงแรมกรณีศึกษา 4 แห่ง และวิเคราะห์เปรียบเทียบในประเด็นกลยุทธ์การปรับตัวจากการถอดเทปคำสัมภาษณ์เพื่อวิเคราะห์คำสำคัญ และนำไปสู่ข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า 1) เหตุสำคัญที่ผู้ประกอบการโรงแรมตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ALQ คือ เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับองค์กรและฟื้นฟูธุรกิจท่องเที่ยวในท้องถิ่น 2) ลักษณะของโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการ มีทำเลใกล้กับชายหาด มีความพร้อมทั้งสถานที่ บุคลากรและการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนโรงแรมให้เป็น ALQ 3) กลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการโรงแรมกรณีศึกษา นิยมเลือกใช้ในช่วงวิกฤต มีดังนี้ (1) การวางแผนการตลาด เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจ ด้วยการเข้าร่วมโครงการ ALQ และดำเนินธุรกิจแบบผสมหรือไฮบริด เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย และปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องกับภาวะวิกฤต และ นโยบายของรัฐ อาทิ การเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายหันมาเน้นชาวไทยจากโครงการเราเที่ยวด้วยกัน และ กลุ่มเข้าพักระยะยาวจากการกักตัว การลดราคาห้องพัก เฉลี่ยร้อยละ 29.5 (โรงแรมบริหารเครือข่าย ร้อยละ 44 และ โรงแรมบริหารอิสระ ร้อยละ 15) (2) การบริหารด้านการเงิน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับองค์กร ด้วยการ ปิดให้บริการชั่วคราว ร้อยละ 26.5 (โรงแรมบริหารเครือข่าย ร้อยละ 26 และ โรงแรมบริหารแบบอิสระ ร้อยละ 16) และการควบคุมต้นทุนด้านบุคลากร อาทิ การจ่ายเงินเดือนแบบยืดหยุ่นตามตำแหน่งและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย การงดรับพนักงานเพิ่มเติม และใช้การปรับเปลี่ยนตำแหน่งแทนการจ้างพนักงานใหม่ และ (3) การปรับปรุงด้านกายภาพใหม่ โดยแยกพื้นที่ให้บริการผู้กักตัว ALQ ออกจากพื้นที่อื่นอย่างชัดเจน ทั้งการแยกห้องพัก แยกอาคาร เพื่อให้บริการผู้กักตัวโดยเฉพาะ หรือ การใช้ฉากหรือรั้วกั้น เพื่อแบ่งพื้นที่การใช้งาน ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงลักษณะทางกายภาพของโรงแรมเป็นหลัก การกำหนดเส้นทางการสัญจรใหม่ โดยคำนึงถึงการปนเปื้อนของเชื้อโรคให้น้อยที่สุด …


การรับรู้และจินตภาพของเมืองผ่านคนหลายช่วงวัย:กรณีศึกษา ย่านธุรกิจศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานคร, อรญา เพียรรักษ์การ Jan 2021

การรับรู้และจินตภาพของเมืองผ่านคนหลายช่วงวัย:กรณีศึกษา ย่านธุรกิจศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานคร, อรญา เพียรรักษ์การ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จินตภาพเมืองนั้นย่อมมีความแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมและสภาพทางกายภาพของแต่ละเมือง เมืองจึงต้องมีอัตลักษณ์และองค์ประกอบที่ชัดเจนจึงส่งผลให้เกิดการรับรู้และจดจำเกี่ยวกับเมืองได้มากขึ้น ซึ่งเมืองจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของช่วงเวลา เช่นเดียวกับมิติทางด้านสังคมของคนในแต่ละช่วงวัย (generation) ที่มีความแตกต่างกันทั้งมุมมองทางด้านสังคมและการใช้ชีวิตที่ส่งผลให้คนในแต่ละช่วงวัยเกิดมุมมองและรับรู้จินตภาพของเมืองในรูปแบบที่แตกต่างกันไป การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบจากทฤษฎีจินตภาพของเมือง (image of the city) และความรู้สึกที่มีต่อสถานที่ (sense of place) ที่มีผลต่อการรับรู้ย่านธุรกิจศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานครผ่านคนแต่ละช่วงวัย โดยนำแบบจำลองสมการโครงสร้าง (structural equation modeling: SEM) มาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล จากการศึกษาพบว่าปัจจัยจินตภาพของเมือง (image of the city) และปัจจัยความรู้สึกที่มีต่อสถานที่ (sense of place) มีอิทธิพลอย่างมากต่อภาพลักษณ์ที่เกิดจากการรับรู้ (cognitive image) ของในแต่ละช่วงวัยที่มีต่อเมือง โดยแบบจำลองสมการโครงสร้างการรับรู้จินตภาพของเมืองผ่านคนหลายช่วงวัยที่ได้ทำการพัฒนาขึ้นนั้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยองค์ประกอบของจินตภาพเมืองที่ทำให้เกิดการรับรู้ภาพลักษณ์เมืองมากที่สุด คือ เส้นขอบของย่าน (edge) รองลงมา คือ จุดศูนย์รวม (node) และจุดหมายตา (landmark) ในส่วนของความรู้สึกที่มีต่อสถานที่ที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ ความสุนทรียภาพภายในย่าน (aesthetic) รองลงมา คือ ความพึงพอใจในย่าน (satisfaction) และในการทดสอบความแตกต่างของความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ระหว่างช่วงวัย พบว่า มีความไม่แปรเปลี่ยนของแบบจำลองแต่จะมีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ที่แตกต่างกัน


ผลกระทบของแสงสว่างเพื่อนาฬิกาชีวิตต่อการใช้พลังงานอาคารประเภทสำนักงานในประเทศไทย, วริยาภรณ์ กิตติวังชัย Jan 2021

ผลกระทบของแสงสว่างเพื่อนาฬิกาชีวิตต่อการใช้พลังงานอาคารประเภทสำนักงานในประเทศไทย, วริยาภรณ์ กิตติวังชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการออกแบบอาคารให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งานอาคารมากขึ้น การออกแบบแสงสว่างภายในอาคารเพื่อระบบนาฬิกาชีวิตของร่างกายมนุษย์เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับผู้ใช้อาคาร ซึ่งแสงสว่างในอาคารจะประกอบด้วยแสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์ ที่ส่งผลต่อการใช้พลังงานของอาคารจากการทำความเย็น และไฟฟ้าแสงสว่าง จากการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมายังพบการศึกษาในเรื่องแสงสว่างเพื่อนาฬิกาชีวิตที่ส่งผลกระทบต่อการใช้พลังงงานโดยรวมของอาคารจากทั้งระบบปรับอากาศและไฟฟ้าแสงสว่างค่อนข้างน้อย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรการออกแบบแสงสว่างภายในอาคารที่มีผลต่อนาฬิกาชีวิต ตามเกณฑ์ WELL Building Standard v.2 หัวข้อ Circadian Lighting วิเคราะห์ผลกระทบต่อการใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร และเสนอแนวทางการออกแบบแสงสว่างที่เหมาะสมต่อนาฬิกาชีวิตที่สามารถนำไปช่วยในการตัดสินใจให้กับผู้ออกแบบ โดยเป็นงานวิจัยเชิงจำลอง ที่ต้องการศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อทั้งปริมาณแสงธรรมชาติ ปริมาณแสงประดิษฐ์ และการใช้พลังงานอาคาร ได้แก่ รูปทรงอาคาร ขนาดสัดส่วนพื้นที่ช่องเปิดต่อเปลือกอาคาร (WWR) ประเภทกระจก ค่าอุณหภูมิสีสัมพันธ์ของหลอดไฟ และการวางผังดวงโคมไฟฟ้าแสงสว่างภายในที่แตกต่างกัน เพื่อนำไปคำนวณค่า Spatial Daylight Autonomy (sDA) ค่า Vertical Illuminance (Ev) และค่า Equivalent Melanopic Lux (EML) รวมทั้งจำลองการใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ DesignBuilder และ Dialux Evo ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ในบางกรณีค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารไม่สัมพันธ์กับค่า EML เนื่องจากค่า EML ตามเกณฑ์ WELL นั้น กำหนดให้ประเมินจากความส่องสว่างในแนวดิ่งจากแสงประดิษฐ์เท่านั้น ไม่ได้ประเมินโดยนำแสงธรรมชาติมาร่วมด้วย แต่การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร ต้องพิจารณาทั้งการใช้พลังงานไฟฟ้าแสงสว่างจากแสงประดิษฐ์ และพลังงานจากเครื่องปรับอากาศที่มีผลจากความร้อนที่เข้ามาภายในอาคารพร้อมกับแสงธรรมชาติ โดยอาคารที่ได้แสงสว่างที่เหมาะสมต่อนาฬิกาชีวิต หรือมีค่า EML ที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำนั้น เมื่อเทียบกับอาคารต้นแบบมีทั้งกรณีที่การใช้พลังงานโดยรวมของอาคารเพิ่มขึ้น 0.04%-4.82% และกรณีที่การใช้พลังงานโดยรวมของอาคารลดลง 0.01-5.33% นอกจากนี้การใช้แสงประดิษฐ์เพื่อให้ได้ปริมาณความส่องสว่างที่เหมาะสมต่อนาฬิกาชีวิตในอาคารสำนักงาน ทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้าแสงสว่างเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 3.47 เท่า เมื่อเทียบกับอาคารต้นแบบ อย่างไรก็ตามแสงธรรมชาติในประเทศไทยนั้นเหมาะสมต่อนาฬิกาชีวิต หากสามารถศึกษาการประเมินค่า EML จากแสงธรรมชาติร่วมกับแสงประดิษฐ์ ก็จะสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าแสงสว่างลงได้


การปรับปรุงพื้นที่ทางกายภาพคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ จากการเปลี่ยนแนวปฏิบัติทางทันตกรรม เพื่อรองรับสถานการณ์ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษาคลินิกทันตกรรมของคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยของรัฐ 3 แห่ง, นรมน ปัญจปิยะกุล Jan 2021

การปรับปรุงพื้นที่ทางกายภาพคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ จากการเปลี่ยนแนวปฏิบัติทางทันตกรรม เพื่อรองรับสถานการณ์ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษาคลินิกทันตกรรมของคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยของรัฐ 3 แห่ง, นรมน ปัญจปิยะกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ลักษณะทางกายภาพของคลินิกทันตกรรมไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการรองรับโรคระบาดCOVID-19 จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงพื้นที่กายภาพและแนวปฏิบัติทางทันตกรรมระหว่างการเกิดโรคระบาด จึงเป็นที่มาวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ ศึกษาลักษณะทางกายภาพและการจัดการที่ปรับปรุงของคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปรับปรุงพื้นที่ทางกายภาพจากแนวปฏิบัติทางทันตกรรมในการรองรับไวรัสโคโรนา 2019 หรือสถานการณ์โรคระบาดอื่น ๆ และเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาศึกษาพื้นที่ทางกายภาพ และการบริหารจัดการกายภาพของคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ในอนาคต โดยมีระเบียบวิธีวิจัย ได้แก่ การทบทวนวรรณกรรม การเก็บข้อมูลทั้งเอกสารแบบก่อสร้าง สัมภาษณ์และสำรวจพื้นที่จริง การวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ว่าการปรับปรุงคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มี 5 ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ลักษณะและปีที่ก่อสร้างของอาคาร การออกแบบคลินิกทันตกรรม ลักษณะการใช้งานคลินิกทันตกรรม ลักษณะหัตถการ และงบประมาณ ดังนั้นในการออกแบบปรับปรุงกายภาพและการบริหารจัดการต้องพิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ ให้เหมาะสมรองรับสถานการณ์ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยทรัพยากรที่จำกัด คณะทันตแพทยศาสตร์ยังไม่มีแผนการรื้อถอนที่ปรับปรุงช่วงCOVID-19 เนื่องจากการปรับปรุงดังกล่าวสามารถเพิ่มระดับมาตรฐานความปลอดภัยคลินิกทันตกรรมให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นแนวโน้มทิศทางนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงงบประมาณ วิธีการดูแลรักษาในอนาคต และแนวทางการออกแบบคลินิกทันตกรรมใหม่ในอนาคตอาจจะเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมี 2 ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงสำหรับการออกแบบในอนาคตคือการวางผังพื้นและการออกแบบพื้นที่สำหรับงานระบบในคลินิกทันตกรรม


การพัฒนาเครื่องมือเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อหาค่าแสงที่ส่งผลต่อนาฬิกาชีวภาพสำหรับการออกแบบอาคารสำนักงานขั้นต้น, เจนจิรา เรืองทรัพย์เอนก Jan 2021

การพัฒนาเครื่องมือเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อหาค่าแสงที่ส่งผลต่อนาฬิกาชีวภาพสำหรับการออกแบบอาคารสำนักงานขั้นต้น, เจนจิรา เรืองทรัพย์เอนก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แสงธรรมชาติ (Daylight) เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อวงจรการหลับ-ตื่น (Circadian rhythm) หากมีการใช้ร่วมกับแสงประดิษฐ์ (Artificial light) ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ใช้งานมีคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาวิธีการคำนวณหาค่าปริมาณแสงที่ส่งผลต่อนาฬิกาชีวภาพ เพื่อพัฒนาเครื่องมือแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling: BIM) ช่วยคำนวณให้ผู้ออกแบบ โดยใช้โปรแกรม Autodesk Revit (Revit) ร่วมกับการใช้เครื่องมือเสริม Autodesk Dynamo Studio (Dynamo) วิจัยเริ่มต้นโดยการหาค่า Melanopic Ratio: MR ของแสงธรรมชาติให้เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย สำหรับการคำนวณหาค่า Equivalent Melanopic Lux: EML และศึกษาการทำงานของแบบจำลองสารสนเทศอาคาร เพื่อกำหนดข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนาเครื่องมือเสริม และได้ทดลองใช้เครื่องมือที่พัฒนามาทำการเปรียบเทียบผลกับการคำนวณผ่านโปรแกรมอื่น โดยพบว่าเครื่องมือที่พัฒนาสามารถช่วยคำนวณหาค่าความส่องสว่างในแนวดิ่ง (Vertical illuminance: Ev) สำหรับให้ได้ค่า EML ที่ต้องการทั้งแสงสว่างจากแสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์ได้ เพื่อให้สถาปนิกผู้ออกแบบเปลือกอาคารโปร่งใสร่วมกับการใช้แสงประดิษฐ์ในอาคารสำนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะที่ดีต่อวงจรการหลับ-ตื่นของร่างกายมนุษย์


แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์สุสานจีนในเขตชั้นในกรุงเทพมหานคร, ศุภณัฐ อรุโณประโยชน์ Jan 2021

แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์สุสานจีนในเขตชั้นในกรุงเทพมหานคร, ศุภณัฐ อรุโณประโยชน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สุสานจีนในเขตพื้นที่ชั้นในกรุงเทพมหานคร คือภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานของชาวจีนโพ้นทะเลในกรุงเทพมหานครนับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 อย่างไรก็ตามจากการขยายตัวของเมืองในปัจจุบัน และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการใช้งานพื้นที่ ทำให้สุสานจีนถูกลดบทบาทความสำคัญลง วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาลักษณะทางกายภาพ ประวัติศาสตร์ และสังคมที่เกี่ยวข้องกับภูมิทัศน์สุสานจีนจำนวน 7 แห่งที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ในเขตบางรัก เขตสาทร และเขตบางคอแหลม ได้แก่ (1) สุสานจีนบาบ๋า (2) สุสานฮกเกี้ยน (3) สุสานจีนแคะ ถนนสีลม (4) สุสานแต้จิ๋ว (5) สุสานจีนแคะ ตรอกจันทน์ (6) สุสานสมาคมเจียงเจ้อ และ (7) สุสานกวางตุ้ง ด้วยวิธีการสืบค้นข้อมูลจากภาคเอกสาร ภาพถ่ายทางอากาศเก่า แผนที่เก่า การลงสำรวจพื้นที่ และการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินคุณค่า ตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพเพื่อเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาสุสานจีนแต่ละแห่ง ผลการวิจัยพบว่าสุสานจีนทั้ง 7 แห่งมีคุณค่า ศักยภาพและปัญหาที่แตกต่างกันออกไป สามารถทำการวิเคราะห์และเสนอแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาได้เป็น 3 แนวทาง ได้แก่ (1) อนุรักษ์ในสภาพเดิม เพื่อรักษาเอกลักษณ์และคุณค่าเดิมของพื้นที่ (2) พัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์ หรือพื้นที่การเรียนรู้วัฒนธรรมของกลุ่มเชื้อสายจีน และ (3) พัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะให้กับชุมชนโดยรอบ โดยควรให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ผังบริเวณเดิม การอนุรักษ์ หรือบูรณะองค์ประกอบหลักที่มีคุณค่าและยังคงมีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง การก่อสร้างอาคารหลักขึ้นใหม่ การฟื้นฟูและการปรับประโยชน์การใช้สอยพื้นที่ว่างในพื้นที่ส่วนกลาง หรืออาคารหลักในส่วนบริการ เพื่อรองรับกิจกรรมทางการศึกษาและสังคมแก่บุคคลทั่วไป การอนุรักษ์และปรับปรุงงานภูมิทัศน์ และการควบคุมทัศนียภาพเมืองโดยรอบ นอกจากนี้ควรส่งเสริมมาตรการจูงใจให้หน่วยงานรัฐและประชาชนโดยรอบตระหนักถึงคุณค่าภูมิทัศน์วัฒนธรรมของสุสานจีน


Social Capital And Myanmar Urban Migrant Workers’ Job Seeking In Thailand During The Covid-19 Pandemic, Andrew Wai Phyo Kyaw Jan 2021

Social Capital And Myanmar Urban Migrant Workers’ Job Seeking In Thailand During The Covid-19 Pandemic, Andrew Wai Phyo Kyaw

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

During the COVID-19 pandemic, many production sectors in Thailand encountered economic difficulties. The economic impacts of the pandemic have affected all people in the economy, including migrant workers. Especially urban migrant workers might have been the most affected by the pandemic. They have faced insecure livelihoods caused by losing jobs, loss of income, and difficulties in finding new jobs. Myanmar workers are the largest population among migrant labor forces in Thailand. Various literature shows that social capital has always been supportive as a valuable and critical resource contributing to well-being, especially during times of crisis and socio-economic change. So, urban …


แนวทางการปรับปรุงอาคารคุ้มเจ้าสุริยา จังหวัดลำพูน, จตุรวิทย์ ใจนวล Jan 2021

แนวทางการปรับปรุงอาคารคุ้มเจ้าสุริยา จังหวัดลำพูน, จตุรวิทย์ ใจนวล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากผลการสำรวจสถาปัตยกรรมในเขตเมืองเก่าลำพูนพื้นที่ถนนรถ ได้ทำการศึกษาคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงศ์ คุ้มเจ้ายอดเรือน และคุ้มเจ้าสุริยา พบว่าคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงศ์และคุ้มเจ้ายอดเรือนได้รับการปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ ในขนะที่คุ้มเจ้าสุริยายังไม่ได้รับการปรับปรุงและเกิดความเสียหายทางสถาปัตยกรรม จึงต้องหาแนวทางวิธีการปรับปรุงอาคาร โดยการศึกษาวิธีการปรับปรุงจากอาคารอนุรักษ์ตัวอย่าง เพื่อให้อาคารสามารถใช้เป็นที่ศึกษาทางสถาปัตยกรรม วัตถุประสงค์ในการศึกษาได้แก่ 1) เพื่อศึกษาแบบแผนในการปรับปรุงของคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงศ์และคุ้มเจ้ายอดเรือน ทั้งก่อนและหลังการปรับปรุง 2) ศึกษาแนวทางการปรับปรุงของคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงศ์และคุ้มเจ้ายอดเรือน เปรียบเทียบเพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงอาคารคุ้มเจ้าสุริยา โดยดำเนินการตามขึ้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลคุ้มเจ้าทั้ง 3 หลังจากงานวิจัย สื่อออนไลน์ การสำภาษณ์ และศึกษาแนวทางวิธีการปรับปรุงอาคารอนุรักษ์ ขั้นตอนที่ 2 ลงพื้นที่สำรวจและจัดทำแบบสถาปัตยกรรมของคุ้มเจ้าสุริยา และเปรียบเทียบรูปแบบสถาปัตยกรรมของคุ้มเจ้าทั้ง 3 หลัง พบว่ารูปแบบผังอาคารของคุ้มเจ้าสุริยากับคุ้มเจ้ายอดเรือนเหมือนกันอย่างชัดเจน โดยทำการเปรียบเทียบเมื่อกลับด้านผังอาคาร ขั้นตอนที่ 3 จากการรวบรวมข้อมูลในการอ้างอิงการปรับปรุง พบแนวทางการปรับปรุง 3 แนวทาง ซึ่งสามารถนำไปประยุคใช้ในแต่ละส่วนดังนี้ ตำแหน่งที่มีข้อมูลชัดเจน ตำแหน่งที่ข้อมูลไม่ชัดเจนใช้แนวทางการปรับปรุงของคุ้มเจ้ายอดเรือน ตำแหน่งที่ไม่มีข้อมูล ปรับปรุงตามสภาพ โดยใช้แนวทางการปรับปรุงอาคารอนุรักษ์ ผลการศึกษาหาความแท้ของคุ้มเจ้าสุริยา ประกอบด้วยวิธีการค้นหา 3 วิธี ซึ่งใช้ประกอบแนวทางวิธีการปรับปรุงในตำแหน่งความเสียหายตามลำดับความชัดเจนของข้อมูลทางสถาปัตยกรรม เพื่อเสนอทางเลือกแนวทางวิธีการปรับปรุง โดยการเปรียบเทียบนำเสนอคือ แบบสภาพปัจจุบัน/แบบดั้งเดิม/แบบที่สามารถปรับปรุงได้


การกัลปนาพระตำหนักจากพระบรมมหาราชวัง ในมิติการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม, ณัฐปภัสร์ นิยะเวมานนท์ Jan 2021

การกัลปนาพระตำหนักจากพระบรมมหาราชวัง ในมิติการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม, ณัฐปภัสร์ นิยะเวมานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งเน้นในการศึกษาหาแนวความคิดการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมจากการกัลปนาเรือน อันเป็นความเชื่อและระเบียบปฏิบัติที่ทำต่อกันมาในสังคมไทย การกัลปนาเรือนเป็นการถวายเรือนพักอาศัยที่หมดหน้าที่ใช้สอยเพื่อการใช้ประโยชน์ทางศาสนา ผลคือทำให้เรือนนั้นถูกใช้งานถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลลัพธ์เช่นเดียวกับการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ทั้งนี้ การศึกษาได้เลือกกรณีศึกษาเป็นกลุ่มอาคารที่มาจากที่เดียวกัน สร้างในระยะเวลาใกล้เคียงกัน แต่กัลปนาออกไปต่างสถานที่และต่างสมัยกัน เพื่อให้เห็นแนวความคิดในการกัลปนาเรือนจากกลุ่มอาคารดังกล่าว โดยเลือกกรณีศึกษาเป็นหมู่พระตำหนักในพระบรมมหาราชวัง 3 หมู่ที่สร้างสมัยรัชกาลที่ 1-2 ได้แก่ 1) หมู่พระตำหนักตึกพบ 1 หลัง กัลปนาสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นศาลาการเปรียญ วัดรัชฎาธิษฐาน 2) หมู่ตำหนักเขียวพบ 1-2 หลัง กัลปนาสมัยรัชกาลที่ 3 ไปเป็นกุฏิเจ้าอาวาสวัดอมรินทราราม และ 3) หมู่พระตำหนักแดงพบ 3 หลัง ได้แก่ พระตำหนักแดงกัลปนาไปเป็นกุฏิ วัดเขมาภิรตาราม ในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาคือพระที่นั่งมูลมณเฑียร กัลปนาไปเป็นโรงเรียนที่วัดเขมาภิรตาราม ในสมัยรัชกาลที่ 5 และสุดท้ายคือพระตำหนักแดง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่ไม่ได้กัลปนาเพียงแต่มีการย้ายที่ตั้ง และปรับการใช้สอยในเวลาต่อมา วิธีวิจัยในการศึกษาใช้การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เรื่องการกัลปนา การอนุรักษ์สถาปัตยกรรม และข้อมูลพระตำหนักในพระบรมมหาราชวัง จากนั้นทำงานภาคสนามด้วยการรังวัดและทำโฟโตแกรมเมตรี เพื่อแสดงรูปทรง ร่องรอยต่าง ๆ นำมาทำแบบสถาปัตยกรรม จากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลให้เกิดแบบทางการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมเพื่อให้เห็นพัฒนาการ ความเปลี่ยนแปลง เพื่อนำมาวิเคราะห์หาแนวความคิดการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมกับการกัลปนาเรือน ซึ่งจากการศึกษาพิจารณาตามแนวทางการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับแนวทางการกัลปนาเรือนเบื้องต้น ได้แก่ คุณค่าและความแท้ การปรับการใช้สอยอาคาร และลำดับชั้นความเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบ พบว่าการกัลปนาเรือนเป็นแนวทางการอนุรักษ์แบบหนึ่งที่คำนึงถึงคุณค่าทางจิตวิญญาณมากกว่าคุณค่าที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ จุดตั้งต้นแนวคิดในการอุทิศส่วนกุศล ส่งผลให้มีการย้ายที่ตั้งและปรับการใช้สอยสู่วัด การพิจารณาอาคารที่มีขนาด ผัง และฐานานุศักดิ์ที่มาใช้งานแทนกันได้แล้วจึงต่อเติมวัสดุเพื่อประโยชน์สูงสุดคืออาคารยังใช้งานได้สืบมา แต่ก็ยังคำนึงถึงประเด็นที่จะรักษาไว้อย่างแนบแน่น คือ เครื่องแสดงฐานานุศักดิ์และเครื่องแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของเรือนนั้นไว้ โดยจะสงวนรักษาองค์ประกอบเหล่านั้นไว้อย่างดี ทำให้ส่วนหลังคาและเรือนคงรูปแบบอย่างดีถึงปัจจุบัน แต่เมื่อมีการใช้งานใหม่จะนิยมต่อเติมในส่วนใต้ถุนของอาคารแทน ทั้งนี้ การศึกษาแนวความคิดการอนุรักษ์ผ่านกรณีศึกษายังทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงการย้อนไปหาความดั้งเดิมของรูปแบบจนเกิดแนวทางการสันนิษฐานหมู่พระตำหนักที่กล่าวมาผ่านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม


การออกแบบการส่องสว่างเพื่อปรับปรุงระดับความส่องสว่างภายในห้องพักผู้ป่วยใน : กรณีศึกษา อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย, สุดารัตน์ มหตระกูลรังษี Jan 2021

การออกแบบการส่องสว่างเพื่อปรับปรุงระดับความส่องสว่างภายในห้องพักผู้ป่วยใน : กรณีศึกษา อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย, สุดารัตน์ มหตระกูลรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบการส่องสว่างภายในห้องพักผู้ป่วยใน (in-patient room) มีความสำคัญ เนื่องจากต้องการค่าความส่องสว่างหลายระดับเพื่อรองรับกิจกรรมทางการแพทย์และกิจกรรมอื่น ๆ จากการสำรวจพบว่าปัจจุบันห้องพักผู้ป่วยในหลายแห่งมีระดับความส่องสว่างและการติดตั้งดวงโคมไม่ตอบสนองต่อกิจกรรม ซึ่งในประเทศไทยไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับระดับการส่องสว่างห้องพักผู้ป่วยในและสถานพยาบาล งานวิจัยนี้จึงต้องการเสนอแนวทางการออกแบบการส่องสว่างที่ให้ค่าความส่องสว่างในกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านเกณฑ์ต่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ได้แก่ เกณฑ์ IESNA จากสหรัฐอเมริกา SLL และ EN 12464-1 จากยุโรป โดยใช้ห้องพักผู้ป่วยในของอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเป็นกรณีศึกษา จำลองการส่องสว่างโดยใช้แสงประดิษฐ์ในห้องพักผู้ป่วยใน 4 เตียงที่ความสูงระดับต่าง ๆ ด้วยโปรแกรม DIALux evo 9.1 ทำการเปลี่ยนคุณสมบัติดวงโคมและการจัดวางดวงโคมของดวงโคมเหนือเตียงตรวจรักษาซึ่งให้แสงเป็นหลัก โดยมี 2 แนวทางคือ 1.) การเปลี่ยนดวงโคมแทนที่ดวงโคมเดิมให้มีปริมาณแสงเพิ่มขึ้นจากดวงโคมเดิมใน 3 ระดับ เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ IESNA ที่ระบุค่าความส่องสว่างต่ำกว่าเกณฑ์จากยุโรป 2.) การเปลี่ยนดวงโคมแทนที่ดวงโคมเดิมและเพิ่มดวงโคมเพื่อให้มีแสงเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ SLL และ EN 12464-1 ที่ระบุค่าความส่องสว่างสูงกว่า โดยมีการเพิ่มดวงโคม 2 แบบ คือ เพิ่มดวงโคมชนิดเดียวกับดวงโคมแทนที่ดวงโคมเดิมติดตั้งต่อกันบริเวณเหนือเตียงตรงกลางและการติดตั้งดวงโคมยาวขนาบข้างดวงโคมแทนที่ดวงโคมเดิม ซึ่งมีปริมาณแสงเพิ่มขึ้นและมุมแสงแคบลง 3 ระดับ เมื่อทำการออกแบบปรับปรุงการส่องสว่างโดยการเปลี่ยนดวงโคมที่มีปริมาณแสงต่างกันเพียงอย่างเดียวสามารถทำให้ค่าความส่องสว่างของห้องพักผู้ป่วยในกรณีศึกษาและห้องที่มีความสูงต่าง ๆ มีค่าความส่องสว่างผ่านเกณฑ์ IESNA ที่ระบุค่าความส่องสว่างต่ำ และเมื่อติดตั้งดวงโคมเพิ่มสามารถผ่านเกณฑ์ SLL และ EN 12464-1 ที่ระบุค่าความส่องสว่างสูงกว่าได้ แต่ใช้พลังงานไฟฟ้าสูงกว่าเพื่อให้ได้แสงมากขึ้นตามไปด้วย โดยทั้งสองแนวทางสามารถผ่านเกณฑ์กำลังไฟฟ้าส่องสว่างสูงสุด (LPD) ตามกฎกระทรวงการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (2563) และเกณฑ์ ASHRAE 90.1 (2010) จากการวัดทั้งอาคารได้ทั้งหมด สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ตามความสูงของห้องระหว่าง 2.40-3.60 เมตร และควรคำนึงถึงค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงของพื้นผิวห้องด้วย


แนวทางการออกแบบงานสถาปัตยกรรม ของพระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์), ภูวดล ภู่ศิริ Jan 2021

แนวทางการออกแบบงานสถาปัตยกรรม ของพระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์), ภูวดล ภู่ศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวคิดและผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมของพระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) ผ่านการรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้นประเภทเอกสารราชการ ข้อเขียน บทความ ตำรา ประวัติการทำงาน ของพระพรหมพิจิตรและที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาศึกษาในประเด็นแนวคิด วิธีการทำงานออกแบบ และการรวบรวมผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมกรณีศึกษาจำนวน 32 หลัง ในช่วง พ.ศ. 2473 – 2504 นำมาจำแนกประเภทตามเกณฑ์รูปทรงรวมของอาคาร และรูปแบบสถาปัตยกรรม แล้วนำการศึกษาข้อมูลทั้งสองประเภทมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อหาลักษณะร่วมและความต่างของแนวคิดการออกแบบ กับผลงานสถาปัตยกรรม สู่คำอธิบายแนวทางการออกแบบงานสถาปัตยกรรมของพระพรหมพิจิตร ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า แนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระพรหมพิจิตรอยู่บนหลักการออกแบบสถาปัตยกรรมไทยประเพณีที่เรียกว่า หลักพื้นที่ รูปทรง และเครื่องประกอบ มีแนวทางหลักคือ การกำหนดรูปแบบสถาปัตยกรรมจากลักษณะของวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ ทรงไม้ ทรงปูน และทวิลักษณ์ ที่สัมพันธ์กับรูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารข้างเคียง สร้างรูปแบบ และรูปทรงอาคารที่หลากหลาย ด้วยระบบสัดส่วนในการกำหนดรูปทรงหลังคา และองค์ประกอบสถาปัตยกรรม การใช้รูปร่าง และรูปทรงเรขาคณิตในการออกแบบผังบริเวณ ผังพื้น ที่ว่างภายใน และลวดลายประดับตกแต่ง การกำหนดรูปทรงอาคารด้วยระบบมุข ระบบการลดทอนปริมาตรอาคาร และระบบการออกแบบรูปทรงหลังคา และการให้ความสำคัญกับโครงสร้างภาพในการออกแบบลวดลาย และที่ว่างในการออกแบบพื้นที่ใช้สอยภายใน พระพรหมพิจิตรพัฒนาแนวทางการออกแบบดังกล่าวภายใต้ปัจจัยหลัก 4 ปัจจัย คือ (1) การช่วยงานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (2) การทำงานในระบบราชการ อันมีระเบียบการก่อสร้าง ฝีมือช่าง และงบประมาณ เป็นเงื่อนไขสำคัญในการออกแบบ (3) แนวคิดทางการเมืองของรัฐ ลัทธิชาตินิยม สร้างบทบาทหน้าที่ และความต้องการงานสถาปัตยกรรมไทยประเพณี ในฐานะศิลปกรรมประจำชาติ ตลอดจน (4) การร่วมงานกับพระสาโรชรัตนนิมมานก์ ที่ส่งอิทธิพลทางแนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบทันสมัยให้แก่พระพรหมพิจิตร เหตุปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว หล่อหลอมให้ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมของพระพรหมพิจิตรเป็น “สถาปัตยกรรมไทยแบบทันสมัย” คือ งานสถาปัตยกรรมไทยประเพณีที่ผสานวิธีการออกแบบสมัยใหม่ ทั้งการกำหนดรูปแบบการใช้งานสมัยใหม่ มีระบบการวางผัง การออกแบบรูปแบบและรูปทรงอาคารที่เรียบง่าย และการใช้วัสดุสมัยใหม่อย่างคอนกรีต


แนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในโครงการหมู่บ้านจัดสรร : กรณีศึกษาบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน), พรรณโศภิษฐ์ วรคุตตานนท์ Jan 2021

แนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในโครงการหมู่บ้านจัดสรร : กรณีศึกษาบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน), พรรณโศภิษฐ์ วรคุตตานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในหมู่บ้านจัดสรร ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งในหมู่บ้านจัดสรรมีพื้นที่ที่ต้องเสียภาษีอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนแปลงจำหน่ายและสาธารณูปโภคส่วนกลาง แปลงจำหน่ายเป็นหน้าที่ของท้องถิ่นเป็นผู้คำนวณภาษี ซึ่งมีอัตราการจัดเก็บที่แน่นอน แต่จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า สาธารณูปโภคส่วนกลางมีการตีความในหลายลักษณะจนส่งผลต่อการจัดเก็บภาษี จึงนำมาซึ่งวัตถุประสงค์ในการศึกษารายละเอียดของปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากความไม่ชัดเจนดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายได้กำหนดยกเว้นภาษีสำหรับที่ดินที่เป็นที่ตั้งสาธารณูปโภคส่วนกลางซึ่งจดแจ้งว่าเป็นสาธารณูปโภคของโครงการจัดสรร และกำหนดให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เป็นแปลงจำหน่ายที่ยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรต้องเสียภาษีตามลักษณะการใช้ประโยชน์ประเภทอื่นๆ เริ่มต้นที่ร้อยละ 0.3 ของราคาประเมิน แต่นอกเหนือจากพื้นที่ดังกล่าวกฎหมายไม่ได้กำหนดรายละเอียดการเสียภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนอื่นๆ ของหมู่บ้านจัดสรรไว้ ส่งผลให้เกิดการเรียกเก็บภาษีในอัตราที่แตกต่างกัน สรุปได้ว่าปัญหาส่วนใหญ่เกิดจาก (1) การใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ในการจัดเก็บภาษี ซึ่งมีสาเหตุมาจากการความไม่ชัดเจนของกฎหมาย ส่งผลให้ผู้เสียภาษีเกิดความสับสน ขาดหลักเกณฑ์ในการอ้างอิง (2) ระยะเวลาในการดำเนินโครงการของแต่ละขนาดโครงการ ทำให้เกิดภาระภาษีต่อผู้ประกอบการ เนื่องจากกฎหมายกำหนดลดอัตราภาษีให้แก่ผู้ประกอบการเพียง 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตจัดสรรเท่านั้น และ (3) เกิดจากรูปแบบหมู่บ้านจัดสรรที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายจัดสรรเก่า คือ ปว. 286 มีความแตกต่างจากโครงการที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. จัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ส่งผลให้เกิดภาระภาษีต่อผู้ประกอบการ


โอกาสและข้อจำกัดของการขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยสกุลเงินดิจิทัล: กรณีศึกษาบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, สิรภูมิ มีสวัสดิ์ Jan 2021

โอกาสและข้อจำกัดของการขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยสกุลเงินดิจิทัล: กรณีศึกษาบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, สิรภูมิ มีสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยสกุลเงินดิจิทัลเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีการเงิน และการมองหาโอกาสสร้างผลกำไรจากการขายในรูปแบบใหม่ของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการเปิดรับโอนธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัลผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ จากผู้บริโภคสู่ผู้ประกอบการโดยตรง งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาแนวคิดการขายลักษณะโครงการที่นำมาขาย กระบวนการขาย ความเสี่ยงจากราคาสกุลเงินดิจิทัลที่ผันผวน และโอกาส ข้อจำกัดของการขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยสกุลเงินดิจิทัล โดยทำการศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้ง 3 กลุ่มจากกลไกการขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยสกุลเงินดิจิทัล ประกอบด้วย ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และหน่วยงานรัฐ เอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลสรุปเนื้อหาที่สำคัญ สู่การสรุปบทเรียนของโอกาส และข้อจำกัดที่เกิดขึ้น ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวคิดการขายเกิดขึ้นเป็นการเพิ่มช่องทางการขาย การทำการตลาด และเพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคใหม่ซึ่งเป็นกลุ่ม Gen Y ส่วนใหญ่ 2) ลักษณะโครงการที่เปิดขายเป็นการนำโครงการเดิมภายใต้แบรนด์ของบริษัทมาเปิดขายด้วยสกุลเงินดิจิทัลตามปกติ ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการในระดับ Economy-Main Class ทั้งโครงการแนวราบ และแนวดิ่ง ซึ่งผู้บริโภคสามารถชำระได้ทุกกระบวนการขายด้วยสกุลเงินดิจิทัล หรือสกุลเงินบาทร่วมกันได้ 3) ก่อนการเปิดรับสกุลเงินดิจิทัลผู้ประกอบการจะต้องเลือกรับสกุลเงินดิจิทัลที่มีความผันผวนต่ำ และเป็นที่นิยมในตลาดสกุลเงินดิจิทัล และเมื่อผู้ประกอบการรับสกุลเงินดิจิทัลจากผู้บริโภคแล้วนั้น ผู้ประกอบการจะต้องทำการแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินบาทโดยทันที เพื่อเลี้ยงความเสี่ยงจากราคาสกุลเงินดิจิทัลที่ผันผวน ทั้งนี้ความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น จะส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะกระทบราคาสกุลเงินดิจิทัล และตลาดอสังหาริมทรัพย์เช่นกัน 4) การขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยสกุลเงินดิจิทัลเป็นการสร้างแรงจูงใจในการชำระเงินอีกช่องทางของผู้บริโภค และสร้างสภาพคล่องทางการเงินในบริษัท ด้วยการเข้าถึงแหล่งเงินสกุลเงินดิจิทัลจากทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อกับสกุลเงินดิจิทัลก็ยังไม่เปิดโอกาสให้ใช้งานในภาคธุรกิจได้อย่างเต็มที่ และสกุลเงินนี้ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับประชาชนส่วนใหญ่ การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยสกุลเงินดิจิทัลนั้น ถือเป็น “โอกาสในการสร้างผลตอบแทนทางการเงินรูปแบบใหม่” ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์กับกลุ่มลูกค้าใหม่ แหล่งเงินที่เกิดขึ้นรูปแบบใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดี โดยผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการที่สนใจขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยสกุลเงินดิจิทัล และผู้บริโภคที่สนใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ด้วยสกุลเงินดิจิทัล


กลยุทธ์การปรับตัวของธุรกิจที่พักแรมที่ดำเนินงานภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ระหว่างพ.ศ.2563-2564 กรณีศึกษา ธุรกิจที่พักแรมที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการพอแล้วดี, อัตพร ปุยอ๊อก Jan 2021

กลยุทธ์การปรับตัวของธุรกิจที่พักแรมที่ดำเนินงานภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ระหว่างพ.ศ.2563-2564 กรณีศึกษา ธุรกิจที่พักแรมที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการพอแล้วดี, อัตพร ปุยอ๊อก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการปรับตัวของธุรกิจที่พักแรม โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 อันส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่พักโดยตรง งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งศึกษากลยุทธ์การปรับตัวของที่พักแรมที่ดำเนินงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จากที่พักแรมที่ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการพอแล้วดี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำการคัดเลือกธุรกิจที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ จำนวน 11 แห่ง แบ่งเป็น 3 ประเภทตามลักษณะการบริการได้แก่ โรงแรม รีสอร์ท และโฮสเทล โฮมสเตย์ โดยได้รวบรวมข้อมูลแนวทางการดำเนินงานและการปรับตัว มาวิเคราะห์เปรียบเทียบ เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปของแนวทางการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจที่พักแรม ผลการศึกษาพบว่า 1) จุดเริ่มต้นการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในธุรกิจที่พักแรมมีเหตุผลหลัก คือ เพื่อให้รู้จักตัวตนและเป้าหมายของตนเอง และ การทำธุรกิจเพื่อแบ่งปันสู่ผู้อื่น 2) ในช่วงภาวะปกติ ธุรกิจให้ความสำคัญกับหลักพอประมาณ ทำธุรกิจพอเหมาะกับเป้าหมาย ไม่เน้นทำกำไรสูงสุด และเริ่มต้นจากจุดแข็งของตนเองที่มีอยู่ โดยโรงแรมและรีสอร์ทมีการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงที่หลากหลายมิติมากที่สุด เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีความซับซ้อนมากกว่า 3) ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ธุรกิจที่พักได้รับผลกระทบมากที่สุดในช่วงการระบาดระลอกที่ 1 เนื่องจากต้องปิดกิจการชั่วคราวมากที่สุด ซึ่งส่งผลกระทบต่อสัดส่วนรายได้ และการบริหารงานภายใน โดยที่พักประเภทโฮสเทล-โฮมสเตย์ได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมาคือ รีสอร์ท และ โรงแรมตามลำดับ 4) ในช่วงภาวะวิกฤตพบการใช้กลยุทธ์การที่สำคัญ คือกลยุทธ์ด้านการตลาดและการสื่อสาร เพื่อดึงดูดลูกค้าและเพิ่มรายได้ ควบคู่ไปกับการจัดการต้นทุน สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวที่เน้นสร้างรายได้ทดแทนและลดรายจ่าย สอดคล้องกับหลักของการสร้างภูมิคุ้มกันด้านการเงิน โดยโรงแรมและรีสอร์ทยังคงเป็นที่พักที่มีการใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายมากที่สุด เนื่องมาจากมีความพร้อมในด้านทรัพยากรมากกว่าโฮสเทล -โฮมสเตย์ 5) ผลการดำเนินงานในด้านอัตราการเข้าพัก รีสอร์ทมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบรายได้ที่เกิดขึ้นพบว่าโฮสเทล-โฮมเสตย์และรีสอร์ท บางช่วงมีผลกำไรเกิดขึ้น ในขณะที่โรงแรม แม้ว่าจะไม่สามารถสร้างผลกำไรเช่นเดียวกับที่พักอีก 2 ประเภท แต่ยังสามารถประคองธุรกิจและต่อยอดธุรกิจต่อไปได้ งานวิจัยฉบับนี้แสดงให้เห็นว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่พักแรมร่วมกับแนวคิดกลยุทธ์การจัดการที่พัก โดยสามารถนำมาใช้อย่างบูรณาการร่วมกันทั้ง 3 หลักการ 2 เงื่อนไข ซึ่งมีหลักการปฏิบัติสำคัญสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปัจจุบัน โดยให้ความสำคัญเด่นชัดในด้านสังคม ผ่านการทำธุรกิจที่แบ่งปันรายได้สู่ธุรกิจชุมชนท้องถิ่น ซึ่งพบว่าประเภทของที่พักแรม มีความสัมพันธ์กับความหลากหลายในการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและกลยุทธ์การปรับตัว อย่างไรก็ตามในช่วงภาวะวิกฤตพบว่าธุรกิจที่พักส่วนใหญ่ สามารถประคองธุรกิจที่พักและเอาตัวรอดได้จากการใช้กลยุทธ์ด้านการเงินและการตลาด ควบคู่กับหลักของภูมิคุ้มกันด้านการเงินและสังคม อีกทั้งยังยึดไว้ซึ่งหลักพอประมาณ ที่ทำธุรกิจอย่างไม่เกินกำลัง ทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่มาก ส่งผลให้ที่พักแรมมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวกับภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น จากผลการศึกษาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ ในการสร้างธุรกิจที่พักแรมได้อย่างยั่งยืนในอนาคต


การใช้งานมรดกวัฒนธรรมประเภทอาคารจากกระบวนการส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่เมืองเก่า กรณีศึกษาย่านท่าวัง จังหวัดนครศรีธรรมราช, ปัญญาภรณ์ สมบัตินิมิตร Jan 2021

การใช้งานมรดกวัฒนธรรมประเภทอาคารจากกระบวนการส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่เมืองเก่า กรณีศึกษาย่านท่าวัง จังหวัดนครศรีธรรมราช, ปัญญาภรณ์ สมบัตินิมิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันแนวคิดเมืองสร้างสรรค์ได้กลายเป็นแรงผลักดันหลักในการพัฒนาเมือง มีการแข่งขันกันเพื่อดึงดูด รักษาและสร้างกลุ่มมวลชนสร้างสรรค์ (Florida, 2004) เนื่องจากกลุ่มมวลชนสร้างสรรค์ (Creative Class) เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อีกปัจจัยที่สำคัญคือการสร้างคุณค่าจากวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความแตกต่าง การพัฒนาเมืองสร้างสรรค์จึงต้องมีการให้ความสำคัญกับมรดกวัฒนธรรม ศิลปะ และอัตลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น (พีรดร แก้วลาย และ ทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า, 2013) ย่านท่าวัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นย่านที่เต็มไปด้วยมรดกวัฒนธรรมที่มีคุณค่าและเริ่มมีการรวมกลุ่มของมวลชนสร้างสรรค์เพื่อจัดกิจกรรมสร้างสรรค์และทำให้เกิดการใช้งานอาคารมรดกวัฒนธรรมมากขึ้น มีแนวโน้มพัฒนาไปสู่ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในย่านเก่าที่มีประวัติศาสตร์ จึงดำเนินการศึกษาเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในย่าน การใช้งานมรดกวัฒนธรรมเพื่อกิจกรรมสร้างสรรค์ และการรับรู้คุณค่าของมรดกวัฒนธรรมจากกิจกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่ ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจและการสัมภาษณ์ เพื่อนำมาวิเคราะห์การเป็นสถานที่สร้างสรรค์ (Creative Places) และการรับรู้คุณค่ามรดกวัฒนธรรมของประชาชนที่เกิดขึ้น และหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาสู่ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ผลการศึกษา พบว่าอาคารมรดกวัฒนธรรมที่ถูกใช้งานในกิจกรรมสร้างสรรค์มากที่สุด คือ อาคารประเภทเรือนแถว และมีคุณสมบัติสอดคล้องกับการเป็นสถานที่สร้างสรรค์ (Creative Place) ในด้านความน่าอยู่จำนวน 12 อาคาร ซึ่งมากที่สุด แต่ยังขาดคุณสมบัติด้านนวัตกรรม การเชื่อมต่อและการปฏิสัมพันธ์ โดยอาคารที่มีคุณสมบัติมากข้อที่สุด ได้แก่ อาคารนาครบวรรัตน์หรือบวรบาร์ซาร์ บ้าน JILL art space และยงคังคาเฟ่ ซึ่งอาคารทั้งสามได้รับการปรับเปลี่ยนการใช้งานไปอย่างถาวรทำให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตปัจจุบัน ดังนั้น การปรับปรุงฟื้นฟูอาคารเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ภายในย่าน ผลการศึกษาการรับรู้คุณค่าของมรดกวัฒนธรรมจากกิจกรรมสร้างสรรค์ของประชาชนทั่วไปด้วยแบบสอบถาม พบว่ามีการรับรู้คุณค่าด้านความงามมากที่สุด เนื่องจากเป็นคุณค่าที่มองเห็น รับรู้และเข้าใจได้ง่าย ส่วนคุณค่าด้านประวัติศาสตร์มีการรับรู้มากในอาคารนาครบวรรัตน์หรือบวรบาร์ซาร์ และบ้านขุนบวร ซึ่งกิจกรรมสร้างสรรค์ที่จัดขึ้นในอาคารดังกล่าวนำเสนอความดั้งเดิมของพื้นที่ ทำให้เข้าใจวิถีชีวิตและสภาพสังคมในอดีตมากกว่าอาคารมรดกวัฒนธรรมอื่น ๆ ดังนั้น การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับคุณค่าด้านต่าง ๆ ของอาคาร ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์สามารถรับรู้คุณค่าในอาคารมรดกวัฒนธรรมมากขึ้น


ขนาดประตูอลูมิเนียมกระจกที่เหมาะสมที่สุดต่อการประหยัดวัสดุ ในการออกแบบอาคาร, ดุษฎี อังคณาวิศัลย์ Jan 2021

ขนาดประตูอลูมิเนียมกระจกที่เหมาะสมที่สุดต่อการประหยัดวัสดุ ในการออกแบบอาคาร, ดุษฎี อังคณาวิศัลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประตูหน้าต่างเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาคาร และมีมูลค่ามากถึง 15% ของค่าก่อสร้างทั้งหมด โดยราคาของประตูหน้าต่างอลูมิเนียมและกระจกที่กำลังเป็นที่นิยมนั้น จะมาจากค่าวัสดุมากถึง 3 ใน 4 ส่วน ของต้นทุนทั้งหมด การศึกษาครั้งนี้จะหาขนาดประตูที่เหมาะสมกับวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศและให้เหลือเศษน้อย โดยเลือกอาคารที่ทำการที่กรมโยธาธิการและ ผังเมืองออกแบบเป็นกรณีศึกษา จากการศึกษาแบบอาคาร จำนวน 18 อาคาร พบว่ามีการออกแบบประตูหลายรูปแบบ ได้แก่ แบบบานเปิดเดี่ยว บานเปิดเดี่ยวแบบมีช่องแสง บานเปิดคู่ บานเลื่อนเดี่ยว บานเลื่อนคู่ และบานเลื่อนสลับ แต่ละรูปแบบยังมีขนาดแตกต่างกัน เฉพาะประตูบานเปิดเดี่ยวและบานเปิดเดี่ยวแบบมีช่องแสง จะมีความกว้างตั้งแต่ 0.800 – 1.000 ม. และความสูงตั้งแต่ 2.050 – 3.000 ม. และมีขนาดต่างๆ ได้แก่ 0.800x2.050, 0.800x2.500, 0.900x2.600, 1.000x2.200, 1.000x2.250, 1.000x2.500, 1.000x2.600, 1.000x2.900 และ 1.000x3.000 ม. เนื่องจากอลูมิเนียมที่ผลิตจากโรงงานมีความยาว 6.400 ม. แต่จะใช้งานจริงได้เพียง 6.300 ม. ดังนั้นเพื่อให้ขนาดประตูบานเปิดเดี่ยวสัมพันธ์กับความยาวอลูมิเนียม และไม่เหลือเศษ จะต้องกว้าง 0.900 ม. และ 1.050 ม. และสูง 2.100 ม. และ 3.150 ม. สำหรับกระจกนั้น ส่วนใหญ่จะกำหนดให้ใช้ คือ กระจกใส หนา 6 มม. ซึ่งในปัจจุบันโรงงานผลิตมากถึง 11 ขนาด มีความกว้างตั้งแต่ 1.524 - 3.048 ม. และยาวตั้งแต่ 1.829 - 5.080 ม. เมื่อพิจารณาขนาดประตูที่เหมาะกับอลูมิเนียมที่ผลิต และสัมพันธ์กับขนาดกระจก จะพบว่า ถ้าใช้กระจกขนาด 1.829x2.134 ม. หรือ 2.134x3.658 ม. …


การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ “เซีย” ในเฮือนลาว: กรณีศึกษา บ้านหินสิ่ว เมืองโขง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว, ไพจิด ฟองคำแดง Jan 2021

การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ “เซีย” ในเฮือนลาว: กรณีศึกษา บ้านหินสิ่ว เมืองโขง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว, ไพจิด ฟองคำแดง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการตั้งถิ่นฐาน การใช้พื้นที่ภายในเฮือนและการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่เซียของเฮือนลาวในเขตภาคใต้ ผ่านกรณีศึกษา บ้านหินสิ่ว เมืองโขงแขวงจำปาสัก สปป.ลาว โดยศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสารเกี่ยวกับประวัติการตั้งถิ่นฐาน รูปแบบสถาปัตยกรรมเฮือนลาวในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการอ้างอิงลักษณะของเฮือนลาวในอดีต ร่วมกับการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์ประวัติความเป็นมาของชุมชน การตั้งถิ่นฐาน การดำรงชีวิต การใช้พื้นที่ในเรือนพักอาศัย และการสำรวจรังวัดเรือนกรณีศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ เรือนรูปแบบเก่า จำนวน 2 หลัง เรือนรูปแบบเก่าผสมใหม่ จำนวน 2 หลัง และเรือนรูปแบบใหม่ จำนวน 2 หลัง ผลการศึกษาพบว่า การตั้งถิ่นฐานของชุมชนมีความสัมพันธ์กับทิศทางของการสัญจรทั้งทางน้ำและทางบก รวมถึงทอละนีดินซึ่งส่งผลให้ตำแหน่งของเซียไม่มีทิศทางตายตัว แต่มักจะตั้งอยู่หน้าห้องนอนเสมอ เซียในเรือนรูปแบบดั้งเดิมเป็นพื้นที่อเนกประสงค์รองรับหลายกิจกรรม ต่อมาจึงมีการต่อเติมพื้นที่ซานหน้าเฮือนเพื่อรองรับการขยายตัวของครอบครัว กิจกรรมในชีวิตประจำวันบางส่วนในพื้นที่เซียถูกย้ายไปยังซานหน้าเฮือนส่งผลให้เซียเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่ใช้อเนกประสงค์สู่การเป็นพื้นที่นอนหลักของสมาชิกในครอบครัวในเรือนรูปแบบเก่า จากการที่เซียทำหน้าที่เป็นส่วนนอนพื้นที่เซียจึงมีระดับการปิดล้อมที่มากขึ้นเพื่อรองรับความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัย ส่งผลให้เกิดการดัดแปลงต่อเติมเฮือนเซียรูปแบบเก่าสู่เรือนรูปแบบเก่าผสมใหม่ที่มีพื้นที่ซานหน้าเฮือนและกั้นห้องนอนเพิ่มขึ้น และสู่เรือนรูปแบบใหม่ที่มีการแบ่งห้องให้เป็นสัดส่วนเพื่อรองรับกิจกรรมเฉพาะอย่าง ส่งผลให้องค์ประกอบในการใช้สอยพื้นที่เซียมีจำนวนลดลง พื้นที่เซียจึงถูกลดบทบาทกลายเป็นพื้นที่พักผ่อนและรับแขกในชีวิตประจำวันเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เซียยังคงเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในด้านพิธีกรรมอยู่เสมอ


ลักษณะกายภาพของแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทยที่ก่อตั้งในช่วงปี พ.ศ.2527-2563: กรณีศึกษา 5 โรงพยาบาล, กมลพร สมคิด Jan 2021

ลักษณะกายภาพของแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทยที่ก่อตั้งในช่วงปี พ.ศ.2527-2563: กรณีศึกษา 5 โรงพยาบาล, กมลพร สมคิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงพยาบาลเป็นอาคารทางสถาปัตยกรรมที่มีความซับซ้อนในการออกแบบ การก่อสร้างและการลงทุน โดยเฉพาะโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ นอกจากเป็นสถานที่ประกอบการรักษาพยาบาลแล้ว ยังใช้สำหรับการเรียนการสอนเพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล และการค้นคว้าวิจัยต่างๆ จากเกณฑ์มาตรฐานการเปิดโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ โดยประกาศของแพทยสภาฉบับ พ.ศ.2555 ได้กำหนดจำนวนเตียงผู้ป่วยต้องไม่ต่ำกว่า 400 เตียง และมีประเภทงานบริการทางด้านการแพทย์ต่างๆ อย่างน้อย 14 สาขา โดยแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์มีความแตกต่างจากโรงพยาบาลทั่วไป เนื่องจากมีพื้นที่สำหรับการเรียนการสอนในเวลาเดียวกัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะกายภาพแผนกผู้ป่วยนอก และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกับลักษณะกายภาพแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ที่ก่อตั้งในช่วง พ.ศ.2527-2563 มีระเบียบวิธีการศึกษาคือ ทบทวนเอกสาร หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโรงพยาบาลและแผนกผู้ป่วยนอก ศึกษาและวิเคราะห์จากแบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมพื้นที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์จากกรณีศึกษา ตลอดจนสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการศึกษาและอภิปรายผล ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ลักษณะกายภาพแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ทั้ง 5 แห่ง ในเรื่องการวางแผนกผู้ป่วยนอกสอดคล้องกับผังแม่บท (Master Plan) พบ 3 ประเด็น คือ ไม่มีผังแม่บทที่ชัดเจน ได้แก่ ผังของโรงพยาบาล A มีผังแม่บทมหาวิทยาลัย แต่ไม่มีผังแม่บทโรงพยาบาล ได้แก่ ผังของโรงพยาบาล C และมีผังแม่บทโรงพยาบาลโดยเฉพาะ ได้แก่ ผังของโรงพยาบาล B, D, และ E สัดส่วนกลุ่มพื้นที่ใช้สอยในแผนกผู้ป่วยนอกทั้ง 8 กลุ่ม ทุกแห่งมีสัดส่วนพื้นที่พักคอยและเส้นทางสัญจรมากที่สุด รองลงมาเป็นห้องตรวจและห้องวินิจฉัย พื้นที่สนับสนุน ทางบริการด้านหลัง ห้องทำการพยาบาล ที่ทำการพยาบาล ห้องเครื่องมือพิเศษ ตามลำดับ มีการจัดรูปแบบพื้นที่พักคอย 2 แบบ คือ แบบรวมพื้นที่ ได้แก่ ผังของโรงพยาบาล C ข้อดี คือ สามารถปรับเปลี่ยนการใช้ห้องตรวจได้อย่างเหมาะสม และแบบกระจายพื้นที่ ได้แก่ ผังของโรงพยาบาล A, B, D, และ E ข้อดี คือ ลดอัตราความเสี่ยงในการแพร่เชื้อโรคได้ดี ขนาดและสัดส่วนของพื้นที่พักคอยต่อห้องตรวจทุกโรงพยาบาลมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า 9 ตารางเมตรต่อห้องตรวจ ตามมาตรฐานกำหนด การจัดรูปแบบห้องตรวจสำหรับการตรวจทั่วไป / ห้องตรวจและวินิจฉัย ทุกโรงพยาบาลมีทั้งห้องตรวจเดี่ยวและห้องตรวจรวม ขนาดห้องตรวจของทุกโรงพยาบาลมีขนาดเฉลี่ยกว้าง x ยาว มากกว่า …


การประเมินผลมาตรการประหยัดพลังงานและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียมพักอาศัย ด้วยการประเมินต้นทุนส่วนเพิ่มสุทธิของการลดการปล่อยคาร์บอน, กันตพงศ์ ศรีเมือง Jan 2021

การประเมินผลมาตรการประหยัดพลังงานและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียมพักอาศัย ด้วยการประเมินต้นทุนส่วนเพิ่มสุทธิของการลดการปล่อยคาร์บอน, กันตพงศ์ ศรีเมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้พลังงานของอาคารในช่วงการก่อสร้างและช่วงใช้งานอาคาร เป็นปัจจัยสำคัญที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับชั้นบรรยากาศโลก งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อประเมินความคุ้มค่าของมาตรการที่มีในปัจจุบัน โดยทำการเก็บข้อมูลอาคารสำนักงานและอาคารคอนโดมิเนียมพักอาศัย เพื่อใช้เป็นแบบอาคารอ้างอิง และศึกษามาตรการในกลุ่มการออกแบบอาคารให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มวัสดุฉนวนผนัง กลุ่มวัสดุฉนวนหลังคา กลุ่มพลังงานทดแทน กลุ่มประสิทธิภาพของระบบปรับอากาศ รวมถึงกลุ่มระบบไฟฟ้าแสงสว่าง โดยศึกษาจากฐานข้อมูลค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ICE Version 2 และค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปี พ.ศ.2563 ของประเทศไทย จากองค์บริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก นำเสนอด้วยการประเมินต้นทุนส่วนเพิ่มสุทธิของการลดการปล่อยคาร์บอน จากการศึกษาในช่วงอายุอาคาร 60 ปี พบว่า ในอาคารสำนักงาน การติดตั้งกระจกฉนวนกันความร้อน เป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากที่สุด เนื่องจากสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 7.99% และมีค่าใช้จ่ายตลอดอายุอาคารลดลงร้อยละ 5.98% ในอาคารคอนโดมิเนียมพักอาศัย ทุกมาตรการมีประสิทธิภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยกเว้นกลุ่มวัสดุฉนวนหลังคา การใช้ระบบปรับอากาศประหยัดไฟเบอร์ 5 3 ดาว เป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากที่สุด เนื่องจากสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 10.37 และมีค่าใช้จ่ายตลอดอายุอาคารลดลงร้อยละ 1.31


การจำแนกประเภทภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทย, เปรมพล ตั้งเจิดจ้า Jan 2021

การจำแนกประเภทภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทย, เปรมพล ตั้งเจิดจ้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภูมิทัศน์องค์กร (corporate landscape) เป็นรูปแบบภูมิสถาปัตยกรรมที่มีการใช้งานเป็นสำนักงานขององค์กรหรือสถานที่ทำงานของบุคลากรในองค์กร ในประเทศสหรัฐอเมริกาองค์กรธุรกิจชั้นนำหลายแห่งย้ายสำนักงานออกไปตั้งอยู่บริเวณชานเมือง พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการวางผังและออกแบบพื้นที่โครงการ จนเกิดเป็นภูมิทัศน์องค์กร โดยหลุยส์ โมซิงโก (Louise Mozingo) เรียกว่าพาสตอรัลแคปิตัลลิซึม (Pastoral Capitalism) และกล่าวว่าเป็นผลงานสร้างสรรค์ของอเมริกาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากความแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกาทำให้ทั่วโลกสนใจภูมิทัศน์องค์กรเช่นกัน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมโครงการภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทย 2) บ่งชี้แนวโน้มการพัฒนาภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทยทั้งในมิติเชิงเวลาและมิติเชิงพื้นที่ 3) บ่งชี้ประเภทภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทยและปัจจัยที่มีผลต่อการจำแนกประเภทดังกล่าว และ 4) อธิบายลักษณะการวางผังและออกแบบภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทย ผลการวิจัยพบภูมิทัศน์องค์กรที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันได้ทั้งสิ้น 46 โครงการ ในมิติเชิงเวลาพบว่ามีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงจากกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง สู่ธุรกิจการเงิน จนเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540 และฟื้นตัวด้วยอุตสาหกรรมบริการและธุรกิจนวัตกรรมและเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยพบว่าปัจจัยที่น่าจะส่งผลต่อแนวโน้มดังกล่าว ได้แก่ นโยบายเศรษฐกิจจากภาครัฐ สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ส่วนในมิติเชิงพื้นที่พบว่าภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทยกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นหลัก โดยพบว่าข้อจำกัดด้านกฎหมายผังเมือง นโยบายเศรษฐกิจ และการกระจุกตัวของเครือข่ายเศรษฐกิจน่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มดังกล่าว โดยสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่ องค์กรสถาน สถาบันองค์กร ภูมิทัศน์สำนักงานร่วม และภูมินิเวศย่านธุรกิจ ซึ่งพบว่าปัจจัยด้านลำดับขั้นการบริหารองค์กรที่มีการแบ่งเป็นฝ่ายต่าง ๆ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อการจำแนกประเภท นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งประเภทย่อยได้อีก 9 ประเภท ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยด้านความเป็นเจ้าของ ด้านทำเลที่ตั้ง ด้านขนาดพื้นที่ ด้านการกำหนดพื้นที่ใช้สอย และขอบเขตช่วงเวลา สามารถแบ่งเนื้อหาด้านการวางผังและออกแบบได้ 4 ประเด็น ได้แก่ สิ่งแวดล้อมและการเข้าถึง การกำหนดพื้นที่ใช้สอย ลักษณะการวางผัง และลักษณะการออกแบบภูมิทัศน์ โดยพบว่าไม่มีรูปแบบตายตัวซึ่งเป็นผลมาจากประเภทธุรกิจและภาพลักษณ์องค์กร ลำดับขั้นการบริหารจัดการองค์กร และลักษณะการออกแบบร่วมสมัย การวิจัยนี้นำมาซึ่งความเข้าใจพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อสาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรมและสาขาที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะสำหรับองค์กร ภูมิสถาปนิก นักออกแบบวางผัง และหน่วยงานรัฐ ในการพัฒนาแนวคิดและนโยบายเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของที่ทำงาน ซึ่งจะนำไปสู่การสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทยในแนวทางที่เหมาะสมต่อไป


การประเมินผังบริเวณตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข:กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชนในภาคกลาง ประเทศไทย, กุลนันทน์ สำราญใจ Jan 2021

การประเมินผังบริเวณตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข:กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชนในภาคกลาง ประเทศไทย, กุลนันทน์ สำราญใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากนโยบายพัฒนาระบบบริการสุขภาพและสถานบริการสุขภาพให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดมาตรฐานและแนวทางการพัฒนาสำหรับสถานบริการสุขภาพของกระทรวงขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผังบริเวณโรงพยาบาลชุมชนตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขและเกณฑ์ทางเลือก ศึกษาปัญหาและข้อจำกัดที่ทำให้การวางผังโรงพยาบาลชุมชนไม่เป็นไปตามมาตรฐาน โดยใช้วิธีสำรวจโรงพยาบาลชุมชนในภาคกลาง 3 กรณีศึกษาด้วยการประเมินผังบริเวณโดยมีตัวชี้วัด 5 หมวด ได้แก่ การจัดเขตการใช้ที่ดิน ระบบการสัญจร มวลอาคารและที่ว่าง พื้นที่เปิดโล่งและงานภูมิทัศน์ และงานระบบสาธารณูปโภค ทำการสอบถามผู้ใช้งานและสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงพยาบาล ผลการประเมินผังปัจจุบันพบว่า ตัวชี้วัดที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์กระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ หมวดระบบทางสัญจร หมวดมวลอาคารและที่ว่าง หมวดการจัดเขตการใช้ที่ดิน หมวดระบบสาธารณูปโภค และหมวดพื้นที่เปิดโล่งและงานภูมิทัศน์ สำหรับตัวชี้วัดที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ทางเลือก ได้แก่ หมวดระบบทางสัญจร หมวดพื้นที่เปิดโล่งและงานภูมิทัศน์ และหมวดงานระบบสาธารณูปโภค สอดคล้องกับความเห็นของผู้ใช้งานจากการตอบแบบสอบถามที่ต้องการทางเดินเท้า พื้นที่จอดรถและพื้นที่ใช้งานนอกอาคาร ด้านปัญหาและข้อจำกัดจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงพยาบาลพบว่า เกณฑ์มีการประกาศใช้ภายหลังจากการก่อสร้างโรงพยาบาลและการเผยแพร่ยังทำได้ไม่ทั่วถึง การขยายตัวของโรงพยาบาลไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ รวมไปถึงการขาดองค์ความรู้สำหรับการบริหารจัดการกายภาพและผังบริเวณ ขาดการกำกับติดตามดูแลผังให้เป็นไปตามข้อกำหนดและกฎหมาย และงบประมาณที่มีจำกัดทำให้โรงพยาบาลชุมชนไม่ได้พัฒนากายภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน


การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้งานอาคารโรงพยาบาลเอกชนที่เพิ่งเปิดให้บริการ: โรงพยาบาลสินแพทย์, ธีรนุช ใจเมือง Jan 2021

การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้งานอาคารโรงพยาบาลเอกชนที่เพิ่งเปิดให้บริการ: โรงพยาบาลสินแพทย์, ธีรนุช ใจเมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคารแต่ละอาคารเมื่อเวลาผ่านไปจะมีการเสื่อมสภาพ จึงต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง แต่จากการศึกษาเบื้องต้น พบการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้งานในโรงพยาบาลที่เพิ่งเปิดให้บริการ จึงมีวัตถุประสงค์จะศึกษารูปแบบและสาเหตุในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยใช้วิธีการเปรียบเทียบผังพื้นที่ก่อสร้างจริง (As-built drawing) กับสภาพพื้นที่อาคารในปัจจุบัน และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหาร สถาปนิก และผู้ดูแลอาคาร เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ทั้งนี้เลือกโรงพยาบาลสินแพทย์ 3 สาขาเป็นกรณีศึกษา ได้แก่ เทพารักษ์ ศรีนครินทร์ และลำลูกกา ซึ่งทั้งหมดออกแบบโดยบริษัท เอ อาร์คิเทค จำกัด ผลการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลที่เพิ่งเปิดให้บริการมีทั้ง พื้นที่ที่ใช้งานแล้ว และยังไม่ได้ใช้งาน พื้นที่ที่ใช้งานแล้วยังแบ่งเป็น ส่วนที่เปลี่ยนแปลง คือ เปลี่ยนการใช้งานแต่ไม่เปลี่ยนผังพื้น เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่คล้ายกัน และเปลี่ยนผังพื้นแต่ไม่เปลี่ยนการใช้งาน เพราะมีความต้องการการใช้พื้นที่ อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ แผนงานให้บริการ หรือความต้องการจากบุคลากรที่ต่างไปจากเดิม สำหรับส่วนที่ไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากทางสัญจรทางตั้ง และทางสัญจรหลักในแต่ละชั้น ยังมีส่วนที่ยังไม่ได้ใช้งาน ที่มีทั้งพื้นที่ที่ตกแต่งแล้ว เนื่องมาจากไม่ต้องการให้ส่งผลกระทบกับการให้บริการ และพื้นที่ที่ยังไม่ได้ตกแต่ง เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นต่อไป จึงสรุปได้ว่าโรงพยาบาลเก่าที่มีการเปลี่ยนแปลง จะมาจากความทรุดโทรมของอาคาร การพัฒนาของเทคโนโลยี และการขยายตัวของกิจการ แต่โรงพยาบาลใหม่จะมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากความต้องการใช้พื้นที่มีลักษณะหรือปริมาณที่เปลี่ยนไป เป็นการใช้พื้นที่ชั่วคราว และการก่อสร้างเผื่อการใช้งานในอนาคต จึงมีข้อเสนอแนะว่า ในการออกแบบโรงพยาบาลควรคำนึงถึงส่วนที่จะไม่เปลี่ยนแปลง คือทางสัญจรทางตั้งและทางสัญจรหลัก ส่วนพื้นที่ใช้สอยควรออกแบบให้รองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น


ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศ ในพื้นที่กึ่งเปิดโล่งสาธารณะ ของศูนย์การค้าชุมชน, พลกฤต วิศิษฏ์ศาสตร์กุล Jan 2021

ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศ ในพื้นที่กึ่งเปิดโล่งสาธารณะ ของศูนย์การค้าชุมชน, พลกฤต วิศิษฏ์ศาสตร์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คุณภาพอากาศ เป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คน ทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 และฝุ่นละออง PM2.5 ทำให้ผู้คนหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด แล้วหันมาใช้บริการศูนย์การค้าชุมชนที่เป็นอาคารลักษณะกึ่งเปิดโล่งมากขึ้น ซึ่งผู้คนโดยทั่วไปจะรับรู้ได้ว่าความโปร่งของอาคารช่วยถ่ายเทอากาศได้ดี อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษารายละเอียดในเชิงกายภาพของอาคารที่สัมพันธ์กับปริมาณมลพิษในอากาศ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัยทางกายภาพของศูนย์การค้าชุมชน ช่องโล่งและลานกึ่งเปิดโล่งของอาคาร กับทิศทางลมประจำ ที่สัมพันธ์กับคุณภาพอากาศ และชี้วัดด้วยมลพิษในอากาศ ผ่านการจำลองอาคารกรณีศึกษาศูนย์การค้าชุมชน 8 อาคารในกรุงเทพมหานคร ด้วยโปรแกรมคำนวณพลศาสตร์ของไหล ทดสอบในสภาวะที่มีฝุ่นละออง PM2.5 ในระดับมาตรฐานเฉลี่ยต่อปีที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีตัวแปรต้นเป็นจำนวนด้านเปิดของอาคารที่เปิดให้อากาศไหลผ่านได้ และขนาดของลานกึ่งเปิดโล่งของอาคาร และมีตัวแปรตามเป็นอัตราส่วนความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 ภายในต่อภายนอก ค่าอายุของอากาศ และอัตราการเปลี่ยนอากาศ จากการจำลองด้วยโปรแกรมพบว่า อาคารที่มีด้านเปิด 4 ด้าน จะมีอัตราส่วนความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ยต่ำที่สุดที่ 0.55 มีค่าอายุของอากาศเฉลี่ยต่ำที่สุดที่ 24.18 วินาที และอัตราการเปลี่ยนอากาศสูงที่สุด 90.38 ACH หมายถึงการมีคุณภาพอากาศที่ดีกว่ารูปแบบอื่น ซึ่งมีอัตราส่วนความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ยใกล้เคียงหรือสูงกว่า 1 นอกจากนี้ขนาดของลานกึ่งเปิดโล่งส่งผลต่อคุณภาพอากาศเช่นกัน โดยพบว่าอาคารที่มีจำนวนด้านเปิดให้อากาศไหลผ่านได้เท่ากัน แต่มีขนาดของลานกึ่งเปิดโล่งที่กว้างกว่า จะทำให้เกิดการสะสมของมลพิษมากกว่า เนื่องจากอากาศเคลื่อนตัวออกจากพื้นที่ได้ช้ากว่า อีกทั้งยังพบปัจจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการไหลของอากาศ คือ การวางแนวของอาคาร และอาคารโดยรอบ ก็ส่งผลต่อการไหลของลมและคุณภาพอากาศเช่นกัน ในงานวิจัยนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศมากที่สุดคือ ความพรุนหรือจำนวนด้านเปิดของอาคาร หากอาคารมีความพรุนที่มากจะทำให้ลมสามารถไหลผ่านอาคารได้ดี และไม่เกิดการสะสมของมลพิษ ทั้งหมดนี้นำไปสู่แนวทางการออกแบบอาคารศูนย์การค้าชุมชนเบื้องต้น หรืออาคารที่มีกายภาพกึ่งเปิดโล่งที่คล้ายคลึงกัน


แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์), ปฐมฤกษ์ วงศ์แสงขำ Jan 2021

แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์), ปฐมฤกษ์ วงศ์แสงขำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์และอธิบายแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรม รวมถึงอิทธิพลที่ส่งผลต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์) ผ่านการศึกษาภูมิหลัง แนวคิด แนวทางการศึกษา และผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม รวบรวมหลักฐาน ทั้งเอกสารข้อเขียน เอกสารราชการ แบบสถาปัตยกรรม และตัวสถาปัตยกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ โดยคัดเลือกอาคารกรณีศึกษา 24 หลัง ที่สร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2463 – 2493 และนำไปวิเคราะห์หาลักษณะร่วมและความแตกต่างในงานออกแบบสถาปัตยกรรม ผลการศึกษาชี้ชัดได้ว่า พระสาโรชรัตนนิมมานก์ได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมมาจากทั้งบริบทสถาปัตยกรรมไทย และสถาปัตยกรรมตะวันตก โดยผสานความรู้ความเข้าใจในวิธีการออกแบบ กับรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกในแนวทางของโบซารต์และโรงเรียนลิเวอร์พูล จากพื้นฐานการศึกษา รูปแบบสถาปัตยกรรมอาร์ตเดโค อิตาเลียนฟาสซิสต์ และพีดับบลิวเอโมเดิร์น ในช่วงการประกอบวิชาชีพ ประกอบกับรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยประเพณี จากการทำงานร่วมกับสถาปนิกไทยที่ออกแบบในแนวทางดังกล่าว นอกจากนี้ การศึกษาค้นพบว่า พระสาโรชรัตนนิมมานก์ใช้แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบโบซารต์ตลอดช่วงการประกอบวิชาชีพ ทั้งการใช้ระบบกริด (grid) และระบบแกน (axis) ในการออกแบบผังพื้นและรูปด้านอาคาร การวางระบบทางสัญจรโดยใช้โถงและทางเดิน การกำหนดรูปทรงอาคารด้วยระบบฐาน – ตัว – หัว ระบบช่องเปิด ตลอดจนระบบมุขและปีกอาคาร แม้จะมีแนวทางในการออกแบบเดียว แต่ผลงานสถาปัตยกรรมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ ก็มีรูปแบบและรูปทรงที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองเหตุปัจจัย และบริบทของอาคารแต่ละหลัง เช่น แนวแกน และทางสัญจรในผังบริเวณ รูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารข้างเคียง สภาพภูมิอากาศ ตลอดจนความเหมาะสมกับประเภทการใช้งานของอาคาร ด้วยแนวทางการออกแบบดังกล่าว ประกอบกับบทบาทสำคัญในวิชาชีพและวิชาการสถาปัตยกรรมในประเทศไทย ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย พระสาโรชรัตนนิมมานก์จึงเป็นผู้กำหนดทิศทางของสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ หรือ “สถาปัตยกรรมแบบทันสมัย” ซึ่งงานศึกษานี้เสนอว่าน่าจะนิยามจากมิติทางสถาปัตยกรรมที่ซับซ้อน ในบริบทจำเพาะของประเทศไทย มากกว่าการพยายามอธิบายภายในกรอบอันจำกัดของรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก หรืออุดมการณ์ทางการเมืองอย่างหนึ่งอย่างใด


Vacant Shophouse Buildings In Bangkok: The Root Causes And Strategic Options, Nabila Imam Jan 2021

Vacant Shophouse Buildings In Bangkok: The Root Causes And Strategic Options, Nabila Imam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Since the old-fashioned shophouse buildings cannot act in response to the urban sprawl and changing lifestyles of Bangkok, progressively they are converting into partially vacant buildings or sometimes they go off entirely unoccupied for an indefinite period of time. A noteworthy number of fully or partially vacant shophouse buildings can be found in every nook and corner of the city. These vacant shophouses act as the "voids" in the neighborhood, posing a threat to potential housing community development, economic opportunity, environmental health, and public safety within the city. However, these so-called "voids" might offer a great opportunity for the city …


Evaluating The Impact Of Vertical Accessibility Performance To Bangkok Mass Transit Stations On The Travel Behavior Of Elderly Passengers, Yoon Ei Kyaw Jan 2021

Evaluating The Impact Of Vertical Accessibility Performance To Bangkok Mass Transit Stations On The Travel Behavior Of Elderly Passengers, Yoon Ei Kyaw

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Bangkok Mass Transit System (BTS) sky-train is one of Bangkok's primary public transit modes to alleviate traffic congestion among many daily users. Regarding urban mobility, inclusivity is crucial. According to a 2016 World Bank report, by 2040, more than a quarter of the Thai population will be 65 or older. If the elderly could move around the city with greater ease, they would be able to participate more in society and have access to health care regardless of their age. However, news and reports demonstrated the BTS sky train's limited accessibility for persons with limited mobility. In this study, …


ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งที่มีผลต่อราคาขายอาคารชุด ตามแนวรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าสายสีลมส่วนต่อขยาย และรถไฟฟ้าสายสีทอง, ชินปัญชร์ สุวรรณศรี Jan 2021

ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งที่มีผลต่อราคาขายอาคารชุด ตามแนวรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าสายสีลมส่วนต่อขยาย และรถไฟฟ้าสายสีทอง, ชินปัญชร์ สุวรรณศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้ง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ และสิ่งอำนวยความสะดวกของเมืองเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาขายอาคารชุดพักอาศัย โดยเฉพาะการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมาก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่ามีปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งใดบ้างที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อราคาขายอาคารชุดในพื้นที่เชื่อมต่อฝั่งตะวันตกจากศูนย์กลางธุรกิจหลักของกรุงเทพมหานคร โดยใช้การวัดระยะห่าง หรือค่าคุณลักษณะของปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งมาศึกษากับราคาขายอาคารชุดจำนวน 47 โครงการด้วยวิธีทางสถิติศาสตร์ และวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อหาทำเลที่ตั้งที่มีศักยภาพเหมาะสมในการพัฒนาโครงการอาคารชุดระดับราคาต่างๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งในพื้นที่ศึกษา สามารถจำแนกเป็นตัวแปรอิสระ 10 หมวดหมู่ รวมทั้งสิ้นจำนวน 28 ตัวแปร ซึ่งสามารถหาความสัมพันธ์ หรืออิทธิพลต่อราคาขายอาคารชุดด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุด้วยวิธี STEPWISE พบว่า ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งที่มีอิทธิพลต่อราคาขายอาคารชุดมี 8 ปัจจัย เรียงตามอิทธิพลมากไปน้อยได้ดังนี้ ระยะห่างจากศูนย์กลางธุรกิจหลัก ศูนย์กลางธุรกิจรอง โรงพยาบาลขนาดกลาง สถานีรถไฟฟ้า ศูนย์การค้าภูมิภาคขนาดใหญ่ มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลขนาดใหญ่ และโรงเรียนประถมศึกษา ตามลำดับ ซึ่งระยะห่างจากอาคารชุดพักอาศัยที่เพิ่มขึ้นทุก 1 เมตรของปัจจัยดังกล่าวส่งอิทธิพลต่อราคาขายอาคารชุดให้เปลี่ยนไป -20.746, +14.569, +17.059, -18.916, +8.330, +11.883, -17.411, -41.248 บาท ตามลำดับ จากนั้นจึงนำผลการศึกษานี้มาร่วมกันทำนายราคาขายอาคารชุดในระดับราคาต่างๆ โดยสร้างเป็นแผนที่แบบจำลองราคาขายอาคารชุดด้วยวิธี Weighted Overlay Technique พบว่าสามารถเสนอแนะทำเลเหมาะสมในการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยในสำหรับราคาต่างๆ ได้ และเมื่อวิเคราะห์ร่วมกับพื้นที่ศักยภาพเหมาะสมภายในขอบเขตการให้บริการของปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งในระดับศักยภาพเหมาะสมมากที่สุด ทำให้สามารถเสนอแนะทำเลพื้นที่ศักยภาพเหมาะสมในการเข้าถึงบริการของปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งของเมือง ในการพัฒนาโครงการอาคารชุดในระดับต่างๆ ได้ โดยภาพรวมบริเวณศักยภาพเหมาะสมสำหรับระดับราคาสูง 3 อันดับแรก คือ Super Luxury, Luxury และ high Class นั้นกระจุกตัวอยู่ย่านธุรกิจริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตคลองสานตามแนวรถไฟฟ้าสายสีทอง มีพื้นที่ศักยภาพเหมาะสมรวม 1.49644 ตารางกิโลเมตร และโครงการอาคารชุดระดับ Main Class เป็นระดับราคาขายที่มีสัดส่วนมากที่สุดในพื้นที่ศึกษา มีพื้นที่ 15.41064 ตารางกิโลเมตร ควรพัฒนาในบริเวณต่อเนื่องของรถไฟฟ้าสายสีลมในเขตธนบุรี กับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในสถานีบางขุนนท์ สถานีจรัญสนิทวงศ์13 และสถานีท่าพระ จากผลการศึกษานำมาสู่ข้อเสนอแนะต่อผู้พัฒนาโครงการอาคารชุดว่าควรคำนึงถึงปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งทั้ง 8 ปัจจัยข้างต้นเนื่องจากส่งอิทธิพลทั้งเชิงบวก และเชิงลบต่อราคาขายอาคารชุดพักอาศัย และควรใช้แผนที่ทำเลศักยภาพเหมาะสมยังเป็นแนวทางในการตัดสินใจพัฒนาโครงการอาคารชุดในพื้นที่ให้มีความเหมาะสมกับระดับราคาต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงการบริการของปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งในระดับสูงที่สุด เพื่อให้โครงการที่เกิดขึ้นมีคุณภาพในการเป็นที่อยู่อาศัยที่ดีของเมือง อีกทั้งในด้านวิชาการ เสนอแนะให้นำการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาช่วยในการศึกษาด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยมาแสดงผลให้เป็นรูปธรรม เพื่อช่วยให้ผู้พัฒนาเมืองสามารถเข้าใจถึงอิทธิพลของปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งต่อราคา และการพัฒนาที่อยู่อาศัย แสดงให้เห็นขอบเขตการให้บริการของสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และสิ่งอำนวยความสะดวกของเมืองในบริบทของพื้นที่ศึกษา เพื่อวางแผนพัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป


แนวคิดการจัดการรูปแบบสิทธิการพักอาศัยในโครงการที่พักอาศัย ผู้สูงอายุในประเทศไทย ( กรณีศึกษากลุ่มยังแฮปปี้ ), ธนาภรณ์ ภานุมาตย์ Jan 2021

แนวคิดการจัดการรูปแบบสิทธิการพักอาศัยในโครงการที่พักอาศัย ผู้สูงอายุในประเทศไทย ( กรณีศึกษากลุ่มยังแฮปปี้ ), ธนาภรณ์ ภานุมาตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์ของผู้สูงอายุในประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2565 ดังนั้นการเตรียมความพร้อมในการรองรับสังคมของผู้สูงอายุ จึงจำเป็นต้องร่วมมือกันในทุกๆภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น ด้านเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม สุขภาพ สังคมและแนวทางแก้ไขปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ รัฐบาลจึงได้ออกมาตราการรองรับสังคมผู้สูงอายุ ในด้านต่างๆรวมถึง การสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Senior Complex) ทำให้มีการพัฒนาโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน โดยโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อผู้สูงอายุจะมีรูปแบบในการซื้อการเช่าและเข้าพักอาศัยแตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็นแบบ , ขายขาด , เช่าระยะยาว 30 ปี , การเช่าอยู่แบบรายเดือนและดูแลผู้สูงวัยแบบรายวัน จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นนี้ผู้วิจัยจึงสนใจในเรื่องสิทธิการเข้าพักอาศัยในรูปแบบที่แตกต่างกัน จึงกลายมาเป็นที่มาของการศึกษา แนวคิดการจัดการรูปแบบสิทธิการพักอาศัยในโครงการที่พักอาศัยผู้สูงอายุในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกที่จะซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ประเภทโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณและเลือกสิทธิการเข้าพักอาศัยในโครงการผู้สูงอายุ ในรูปแบบรายเดือน และรูปแบบเช่าระยะยาวตลอดชีวิต โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกสิทธิการพักอาศัยในโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุคือราคาของที่พักอาศัยและเงื่อนไขในการเข้าพัก จึงเสนอแนะแนวทางการจัดการรูปแบบสิทธิการพักอาศัยในมุมมองของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ คิดเห็นว่าควรมีสิทธิการเข้าพักหลายรูปแบบในโครงการเดียวเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเลือกให้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุดและเพิ่มสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุให้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงที่พักอาศัยในโครงการได้มากขึ้นและเพิ่มโอกาสทางการตลาดกับผู้พัฒนาโครงการ