Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 60 of 586

Full-Text Articles in Architecture

Public-Private Partnerships For Implementing Sponge City Development : A Case Study Of Xiamen City, China, Ting Su Jan 2022

Public-Private Partnerships For Implementing Sponge City Development : A Case Study Of Xiamen City, China, Ting Su

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

To mitigate the disasters caused by extreme weather induced by climate change in cities, the Chinese government has proposed the implementation of sponge cities in recent years. However, the construction of sponge cities is characterized by significant investments, long project cycles, and many risks. It is difficult to implement the project only by relying on government investment. Therefore, Public-private Partnership (PPP) model is gradually applied to sponge cities' implementation. As a model of urban infrastructure implementation, PPP can significantly reduce stakeholders' risks in some respects and accelerate infrastructure implementation in sponge cities. However, the PPP model has some disadvantages. Therefore, …


Assessing The Potential Of Developing An Ecosystem For Electric Scooters In Bangkok, Thailand, Rosyad Yan Wibowo Jan 2022

Assessing The Potential Of Developing An Ecosystem For Electric Scooters In Bangkok, Thailand, Rosyad Yan Wibowo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The rising need for mobility induces challenges to providing a sustainable mode of transportation. The absence in providing door-to-door service by public transportation gives the opportunity for micromobility to take a position. With millions of people commuting every day, Thailand's capital city requires more choices in transportation. E-scooters can travel short distances in a vehicle and are not affected by traffic. However, under the current regulation, e-scooters are not recognized as a mode of transportation in Bangkok which question the existence of the ecosystem of e-scooters in the city. To address the problems, this research focuses on exploring the potential …


ทัศนคติของนิสิตต่อความสามารถเดินได้ของมหาวิทยาลัย : กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รินรดา พิทักษ์จำนงค์ Jan 2022

ทัศนคติของนิสิตต่อความสามารถเดินได้ของมหาวิทยาลัย : กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รินรดา พิทักษ์จำนงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันความสามารถเดินได้ของมหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับว่ามีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสบการณ์การเดินภายในมหาวิทยาลัยและเป็นพื้นฐานการออกแบบมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน รวมถึงส่งผลต่อพฤติกรรมและการรับรู้สภาพแวดล้อมมหาวิทยาลัยของนักศึกษาด้วย วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจทัศนคติของนิสิตต่อความสามารถเดินได้ของมหาวิทยาลัย โดยการพัฒนาเครื่องมือสำรวจที่มีรูปแบบเป็นแบบสอบถามออนไลน์สำหรับใช้เก็บข้อมูลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิตชั้นปีที่ 3 ถึงชั้นปีที่ 5 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์จริงในการเดินภายในมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติของความสามารถเดินได้ของมหาวิทยาลัยและพฤติกรรมการเดินและการรับรู้สภาพแวดล้อมของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อเพิ่มคุณสมบัติของสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเดินในมหาวิทยาลัยได้ต่อไป ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 85 คนเคยเดินเท้าภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งนิสิตส่วนใหญ่มีเหตุผลในการเดินเท้าคือความต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย จึงมักเดินทุกวันหรือเกือบทุกวัน ใช้เวลาในการเดินโดยประมาณไม่เกิน 15 นาที ในช่วงเวลาพักกลางวัน 12.00 - 13.00 น. และมักจะเดินเป็นกลุ่มขนาดเล็ก 3 คนขึ้นไป และพบว่าคุณสมบัติของความสามารถเดินได้ของมหาวิทยาลัยสามารถจำแนกได้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) การเชื่อมต่อที่ครอบคลุมและมีความต่อเนื่อง 2) การเข้าถึง 3) ความปลอดภัย 4) ความสะดวกสบาย 5) สุนทรียภาพ นอกจากนี้ยังพบว่าคุณสมบัติทางสภาพแวดล้อมของความสามารถเดินได้ของมหาวิทยาลัยที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ ความปลอดภัย และคุณสมบัติทางสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกเดินมากที่สุดคือ ความสะดวกสบาย


Relationship Of The Relocation Decision And Job Location Of Klong Toei Community's Residents, Shu Hsuan Tang Jan 2022

Relationship Of The Relocation Decision And Job Location Of Klong Toei Community's Residents, Shu Hsuan Tang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study investigates the relationship between job location and the willingness to relocate of informal settlement residents, using the Klong Toei community in Bangkok as a case study. Informal settlements have emerged due to urbanization and rapid economic growth, especially in developing countries. The Klong Toei community, which has evolved around the Port Authority of Thailand, has become the largest informal settlement in Bangkok. The port authority has tried to reclaim the land occupied by the community and provide relocation options to residents. However, the relocation process encounters challenges as many residents fear losing their livelihoods and express concerns about …


การรวบรวมและจัดกลุ่มกรอบความคิดการดำรงชีวิตอัจฉริยะจากการศึกษาเชิงทฤษฎีและการศึกษาเชิงปฏิบัติ, สุชานาฏ ภู่ประเสริฐ Jan 2022

การรวบรวมและจัดกลุ่มกรอบความคิดการดำรงชีวิตอัจฉริยะจากการศึกษาเชิงทฤษฎีและการศึกษาเชิงปฏิบัติ, สุชานาฏ ภู่ประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีพื้นฐานของอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการจัดการในแขนงต่างๆ และเนื่องด้วยในปัจจุบัน 56% ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในเมือง ส่งผลให้หลายประเทศเผชิญปัญหาการขยายตัวของเมือง ดังนั้นจึงเริ่มมีการบูรณาการเทคโนโลยีเหล่านี้ร่วมกับการจัดการเมือง เช่น การบูรณาการเข้ากับโครงข่ายไฟฟ้าซึ่งก่อให้เกิดทางเลือกในการจัดการพลังงานและช่วยเพิ่มปริมาณการประหยัดพลังงานในเมืองได้ โดยการบูรณาการเช่นนี้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของพลเมืองในทุกๆแง่มุมจนนำไปสู่แนวคิด “การดำรงชีวิตอัจฉริยะ” ในทางเดียวกันการดำรงชีวิตอัจฉริยะในแง่ของคุณภาพที่อยู่อาศัยเกิดจากการบูรณาการเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ากับอาคารอัจฉริยะ (Smart building) หรือบ้านอัจฉริยะ (Smart home) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ แม้ว่าแนวคิดการดำรงชีวิตอัจฉริยะในแง่ของคุณภาพที่อยู่อาศัยนั้นเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่กลับพบว่าข้อมูลเหล่านั้นกระจายและสอดแทรกอยู่ภายใต้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอาคารหรือบ้านอัจฉริยะซึ่งขาดการรวบรวมและจัดหมวดหมู่ข้อมูลด้านนี้อย่างเป็นระบบรวมถึงขาดการนำเสนอข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน อีกทั้งการศึกษาเกี่ยวกับการดำรงชีวิตอัจฉริยะส่วนใหญ่เน้นข้อมูลทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่าด้านที่ไม่ใช่เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดหมวดหมู่กรอบความคิดการดำรงชีวิตอัจฉริยะในแง่ของคุณภาพที่อยู่อาศัยที่ผสานระหว่างข้อมูลทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านที่ไม่ใช่เทคโนโลยีสารสนเทศจากการศึกษาเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพิจารณาความครอบคลุมด้านการดำรงชีวิตอัจฉริยะในบริการและผลิตภัณฑ์จากภาคธุรกิจจริงที่มีความเป็นปัจจุบัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่อ้างอิงตามแนวทางการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เริ่มต้นด้วยการคัดกรองการศึกษาทางวิชาการทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับอาคารอัจฉริยะหรือบ้านอัจฉริยะจำนวน 30 ฉบับแล้วจึงทำการทบทวนวรรณกรรม จากนั้นจึงคัดเลือกการศึกษาที่มีการนำเสนอรูปแบบของแนวปฏิบัติ เกณฑ์ ตัวบ่งชี้หรือแบบจำลองความคิดสำหรับบ้านหรืออาคารอัจฉริยะ กรณีศึกษาที่ได้รับคัดเลือกประกอบด้วยการศึกษาเชิงทฤษฎี 5 กรณีศึกษาและการศึกษาเชิงปฏิบัติ 2 กรณีศึกษา ต่อมาจึงทำการรวบรวมและจัดหมวดหมู่คำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดการดำรงชีวิตอัจฉริยะในแง่ของคุณภาพที่อยู่อาศัยเพื่อสังเคราะห์เป็นกรอบความคิด ผลการศึกษาพบว่าสามารถแบ่งกรอบความคิดได้เป็น 2 กลุ่มหลักได้แก่ การจัดการและการยกระดับ ซึ่งประกอบด้วย 9 เกณฑ์และ 30 ตัวบ่งชี้ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้นำกรอบความคิดที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับการศึกษาเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ รวมทั้งทำการสาธิตวิธีการประยุกต์ใช้กรอบความคิดในการพิจารณาโครงการที่เกี่ยวข้องการดำรงชีวิตอัจฉริยะเพื่อเสนอแนวทางในการออกแบบและพัฒนาต่อยอดในอนาคต จากการวิเคราะห์พบว่าการศึกษาเชิงทฤษฎีได้วางกรอบความคิดการดำรงชีวิตอัจฉริยะไว้อย่างคลุมครอบมากกว่าการศึกษาเชิงปฏิบัติ นอกจากนั้นยังทราบถึงแนวโน้มของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตอัจฉริยะว่ามีการเน้นย้ำในการปฏิบัติการด้านเกณฑ์การจัดการสิ่งแวดล้อมและสุขภาพและเกณฑ์การจัดการภาวะส่วนตัวสูงสุด รวมถึงพบช่องว่างในการสาธิตเกณฑ์การประเมินระดับความอัจฉริยะว่าควรบูรณาทั้งการประเมิณเชิงคุณภาพร่วมกับเชิงตัวเลขซึ่งช่วยส่งเสริมให้เกิดการประเมินระดับการดำรงชีวิตอัจฉริยะที่สมบูรณ์


การออกแบบอาคารด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป : สำนักงานราชการขนาดเล็กกรณีศึกษา อาคารสำนักงานคณะกรรมการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตเเห่งชาติ, ณัทน์ธัญ อธิศธันยวัศ Jan 2022

การออกแบบอาคารด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป : สำนักงานราชการขนาดเล็กกรณีศึกษา อาคารสำนักงานคณะกรรมการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตเเห่งชาติ, ณัทน์ธัญ อธิศธันยวัศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูปมักถูกนำไปใช้ในการออกแบบอาคารขนาดใหญ่ที่มีหน่วยซ้ำๆ หรืออาคารขนาดเล็กที่มีรูปแบบซ้ำๆ เช่น อาคารชุดพักอาศัยและบ้านจัดสรรเท่านั้น บทความนี้นำเสนอการศึกษาความเป็นไปได้ในการออกแบบสำนักงานราชการขนาดเล็กที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป ผ่านกรณีศึกษา อาคารสำนักงานคณะกรรมการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตเเห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ซึ่งออกแบบโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง อาคารสำนักงาน ป.ป.ช. ที่ก่อสร้างไปเเล้วในหลายจังหวัด เป็นอาคารขนาดเล็ก พื้นที่อาคารรวม 1,170 ตร.ม. มีรูปทรงคล้ายกัน เเละผังพืิ้นเหมือนกัน เป็นอาคารสูง 3 ชั้น ชั้นที่ 1 ประกอบด้วย ห้องโถง ห้องรับเรื่อง ห้องเก็บของ ส่วนพื้นที่ทำงานของหน่วยงาน ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย ห้องเก็บพัสดุ ห้องเอนกประสงค์ ห้องเลขานุการ ห้องผู้อำนวยการ ส่วนพื้นที่ทำงานของหน่วยงาน ชั้นที่ 3 ประกอบด้วย ห้องไต่สวน ห้องมั่นคง ห้องประชุม จากการศึกษาพบว่าสามารถจำแนกพื้นที่ใช้สอยดังกล่าวได้ 3 ขนาด คือ 1) ขนาดเล็ก ได้แก่ ห้องเก็บของ ห้องรับเรื่อง ห้องเลขานุการ ห้องไต่สวน ห้องเก็บพัสดุ 2) ขนาดกลาง ได้แก่ ห้องโถง ห้องเอนกประสงค์ ห้องมั่นคง ห้องผู้อำนวยการ เเละ 3) ขนาดใหญ่ ได้แก่ ส่วนพื้นที่ทำงานของเเต่ละหน่วยงาน ห้องประชุม ทั้งนี้การก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป ระบบผนังรับน้ำหนัก จะเหมาะกับพื้นที่ใช้สอยขนาดเล็ก และขนาดกลาง ส่วนระบบเสาคาน จะเหมาะกับพื้นที่ใช้สอยขนาดกลาง เเละขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ในการออกแบบอาคาราชการขนาดเล็กด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยใช้ระบบเสาคาน ร่วมกับชิ้นส่วนพื้น เเละผนังภายนอกสำเร็จรูป กั้นแบ่งพื้นที่ภายในด้วยระบบผนังเบา หรือใช้ระบบผนังรับน้ำหนัก แต่ต้องจัดผังพื้นแต่ละชั้นใหม่ โดยสลับให้ชั้นที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาดเล็กอยู่ชั้นล่าง เเละขนาดใหญ่อยู่ชั้นบน หรือจะใช้ระบบผสม เพื่อไม่ต้องจัดผังพื้นใหม่ก็ได้ โดยใช้ระบบผนังรับน้ำหนักในพื้นที่ใช้สอยที่มีขนาดเล็ก และขนาดกลาง เเละเพิ่มชิ้นส่วนคานสำหรับช่วงพาดกว้างในหน่วยที่มีขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังสามารถออกแบบโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูปอื่น ๆ เช่น ประตู-หน้าต่าง โครงหลังคา เเละส่วนตกแต่ง ทั้งแผงตกแต่ง และแผงกันแดด


ศักยภาพในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ : กรณีศึกษาโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดน่าน, พิสิฐพงศ์ ตันติมาสน์ Jan 2022

ศักยภาพในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ : กรณีศึกษาโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดน่าน, พิสิฐพงศ์ ตันติมาสน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันปัญหาสภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีการใช้พลังงานตลอด 24 ชม. ในปัจจุบันอาคารประเภทโรงแรมในประเทศไทยมีการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงแรมยังหากแต่งานวิจัยในด้านการชดเชยคาร์บอนในอาคารประเภทโรงแรมยังมีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะในโรงแรมขนาดเล็กซึ่งเป็นโรงแรมทางเลือกหลักของนักท่องเที่ยวชาวไทย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยใช้โรงแรมขนาดเล็ก (2 ชั้น ขนาด 928 และ 820 ตร.ม.) ในจังหวัดน่านเป็นกรณีศึกษา งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงจำลองสถานการณ์ซึ่งพิจารณาในเรื่องของ พื้นที่หลังคาอาคาร รูปทรงหลังคา รูปร่างอาคาร มุมเอียงหลังคา มุมเอียงของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และ ทิศทางการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ทั้ง 8 ทิศทาง โดยคำนวณพลังงานไฟฟ้าและประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ด้วยโปรแกรม DesignBuilder v7.0.1.006 และ ประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เพื่อหาแนวทางในการติดตั้งที่เหมาะสม ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ารูปแบบที่เหมาะสม คือ รูปแบบการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่ครอบคลุมการใช้พลังงานไฟฟ้าของอาคารใน 1 ปี และปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อศักยภาพในการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ คือ รูปร่างอาคาร มุมเอียงแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 18 องศา การวางแนวอาคารและการหันแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้สามารถผลิตพลังงานได้ดีที่สุด คือทิศใต้ และ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีผลตอบแทนทางการเงิน (Internal rate of return: IRR) อยู่ที่ 11.00% ใช้ระยะเวลาในการคืนทุน 8.60 ปี ท้ายที่สุด งานวิจัยนี้เสนอแนวทางการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดน่าน


กระบวนการออกแบบลิฟต์ภายในอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่เป็นอาคารสูงในโรงพยาบาล กรณีศึกษา : อาคารโรงพยาบาลรัฐ 7 แห่ง, พิริยะ ศรีนพรัตนกุล Jan 2022

กระบวนการออกแบบลิฟต์ภายในอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่เป็นอาคารสูงในโรงพยาบาล กรณีศึกษา : อาคารโรงพยาบาลรัฐ 7 แห่ง, พิริยะ ศรีนพรัตนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบลิฟต์เพื่อให้ลิฟต์ตอบสนองการบริการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่เป็นอาคารสูงในโรงพยาบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งมีความแตกต่างจากอาคารทั่วไป ในปัจจุบันกฎหมายและมาตรฐานในประเทศไทย เป็นเพียงข้อกำหนดขั้นพื้นฐานในการออกแบบลิฟต์สำหรับอาคารทั่วไป และมีการกล่าวถึงการออกแบบลิฟต์ที่แตกต่างกันออกไป การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของกระบวนการออกแบบลิฟต์ ข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบลิฟต์ ตลอดจนการวิเคราะห์การแบ่งกลุ่มลิฟต์และการกำหนดจำนวนลิฟต์ โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องการออกแบบลิฟต์ และแบบสถาปัตยกรรมอาคารกรณีศึกษาจำนวน 7 อาคาร ตลอดจนการสัมภาษณ์ผู้ออกแบบ ผู้เกี่ยวข้อง จากการค้นคว้าในเชิงทฤษฎีพบว่า มีการกล่าวถึงการออกแบบลิฟต์ออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ การออกแบบติดตั้งและก่อสร้างระบบลิฟต์ และการออกแบบลิฟต์ภายในอาคาร ทั้งนี้กฎหมายและมาตรฐานในประเทศไทยยังมีเนื้อหาไม่ครอบคลุมการออกแบบลิฟต์ภายในอาคารในโรงพยาบาลเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล จากการศึกษาพบว่า กระบวนการออกแบบลิฟต์ภายในอาคารกรณีศึกษาในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ การดำเนินการออกแบบลิฟต์โดยสถาปนิกตลอดทั้งกระบวนการ ซึ่งสถาปนิกจะเป็นผู้กำหนดองค์ประกอบการออกแบบลิฟต์ในหลาย ๆ ส่วน และการดำเนินการออกแบบลิฟต์ร่วมกันระหว่างสถาปนิกและวิศวกร ซึ่งจะมีการตรวจสอบจำนวน ความจุ และความเร็วของลิฟต์โดยวิศวกร ผู้ออกแบบมีการเลือกใช้ข้อมูลในการออกแบบลิฟต์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้ออกแบบส่วนใหญ่ใช้กฎหมาย ความต้องการของเจ้าของโครงการ งบประมาณ แนวคิดการป้องกันการติดเชื้อ และประสบการณ์การออกแบบมาเป็นข้อมูลขั้นต้น ทั้งนี้มีผู้ออกแบบเพียงบางส่วนใช้มาตรฐานสากลมาเป็นข้อมูลในการออกแบบลิฟต์ เนื่องจากไม่มีการกำหนดมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบลิฟต์ในโรงพยาบาลอย่างชัดเจน การแบ่งกลุ่มลิฟต์ถูกจำแนกตามการใช้งานออกเป็นหลายประเภท เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดการป้องกันการติดเชื้อ ในส่วนการกำหนดจำนวนลิฟต์ผู้ออกแบบบางส่วนใช้วิธีการคำนวณและเกณฑ์การประมาณตัวแปรต่าง ๆ ตามมาตรฐานสากลที่แนะนำไว้ในเบื้องต้น


การใช้พื้นที่บริการสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรณีศึกษา : ส่วนการรักษาด้วยเครื่องเร่งอนุภาคแนวตรง, ศศิภา อ่อนทอง Jan 2022

การใช้พื้นที่บริการสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรณีศึกษา : ส่วนการรักษาด้วยเครื่องเร่งอนุภาคแนวตรง, ศศิภา อ่อนทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พื้นที่หน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาเป็นพื้นที่ที่มีความซับซ้อนเนื่องมาจากกระบวนการให้บริการ มีการทำงานร่วมกันของสหวิชาชีพ และต้องคำนึงถึงความปลอดภัยทางรังสี โดยผู้วิจัยมองเห็นความสำคัญของสภาพพื้นที่ให้บริการด้านดังกล่าว จึงได้ทำการศึกษาสภาพการใช้พื้นที่บริการสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรณีศึกษา : ส่วนการรักษาด้วยเครื่องเร่งอนุภาคแนวตรง เพื่อวิเคราะห์สภาพการใช้พื้นที่ ประเด็นปัญหา และอุปสรรคในการใช้งาน เพื่อให้ทราบถึงสภาพการใช้งานพื้นที่ในปัจจุบัน และเป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาออกแบบหรือปรับปรุงพื้นที่สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาในอนาคต โดยทำการทบทวนวรรณกรรม เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่รังสีรักษา เก็บข้อมูลภาคสนามจากการสำรวจพื้นที่อาคารกรณีศึกษา การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ได้แก่ แพทย์รังสีรักษา นักฟิสิกส์การแพทย์ นักรังสีเทคนิค พยาบาล และเจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวน 14 ราย และทำการรวบรวมแบบสัมภาษณ์ในผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยจำนวน 172 ราย ได้รับการตอบรับจำนวน 100 ราย นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ประกอบด้วย 3 พื้นที่ที่มียุคสมัยของพื้นที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งพื้นที่ที่มีการต่อเติมเพิ่ม พื้นที่ที่ปรับปรุงจากโครงสร้างเดิม และพื้นที่สร้างใหม่ มีการแบ่งการใช้งานพื้นที่ออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่ ส่วนติดต่อและพักคอย ส่วนตรวจและให้คำปรึกษา ส่วนวางแผนการรักษา ส่วนการรักษาด้วยการฉายรังสี ส่วนบริการเจ้าหน้าที่ และส่วนสนับสนุน มีขั้นการเข้ารับบริการ 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงตรวจและให้คำปรึกษา ช่วงจำลองการฉายรังสี และช่วงการฉายรังสี ผลการศึกษาแสดงให้เห็นปัญหา อุปสรรคในการใช้งานพื้นที่ คือ ปัญหาด้านความแออัดของพื้นที่พักคอยในพื้นที่กรณีศึกษา 2 พื้นที่ ซึ่งเป็นพื้นที่เก่า มีอายุการใช้งานมานาน ด้วยข้อจำกัดด้านการขยายตัวของพื้นที่ และปริมาณผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้การใช้งานพื้นที่ไม่สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน พบปัญหาห้องควบคุมเครื่องฉายรังสีคับแคบ ไม่สะดวกต่อการทำงาน และปัญหาห้องพักเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ดังนั้นการออกแบบพื้นที่รังสีรักษาจึงควรคำนึงถึงการขยายตัวในอนาคตเพื่อป้องกันปัญหาด้านพื้นที่การใช้งานไม่เพียงพอ หรือจัดให้มีการปรับปรุง แก้ไข ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาจากการใช้งานพื้นที่


การศึกษาข้อกำหนดการจัดจ้างงานทำความสะอาดในอาคารสำนักงานราชการ, ภัคจิรา ตันติกุล Jan 2022

การศึกษาข้อกำหนดการจัดจ้างงานทำความสะอาดในอาคารสำนักงานราชการ, ภัคจิรา ตันติกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานบริการอาคาร (Facility services) เป็นงานขั้นพื้นฐานที่มีความจำเป็นต่อทุกอาคาร สะท้อนถึงภาพลักษณ์ที่ดีของอาคาร และทำให้ผู้ใช้อาคารได้รับความสะดวกและปลอดภัย อาคารสำนักงานราชการเป็นอาคารที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก จึงควรคำนึงถึงการจัดการรักษาความสะอาดที่ดี ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงทำการศึกษาเชิงประจักษ์แบบกรณีศึกษาจากข้อกำหนดการจัดจ้างงานทำความสะอาดในอาคารสำนักงานราชการ โดยมีเกณฑ์คัดเลือกกรณีศึกษาจากข้อกำหนดการจ้างที่เปิดเผยในระบบของภาครัฐ 20 กรณีศึกษา เพื่อทราบถึงรูปแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการทำความสะอาดที่สอดคล้องกับอาคารสำนักงานราชการ และเป็นแนวทางการจัดการงานทำความสะอาดในอาคารสำนักงานราชการ ผลการศึกษาพบว่าความถี่ของการทำความสะอาด แบ่งออกเป็น 6 รูปแบบ ได้แก่ ประจำวัน ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน ประจำ 3 เดือน ประจำ 6 เดือน และประจำปี มีการแบ่งพื้นที่สำนักงานในการทำความสะอาด 7 พื้นที่ ได้แก่ ห้องประชุม สำนักงาน ห้องผู้บริหาร ห้องน้ำ ห้องเตรียมอาหาร โถงส่วนกลาง และลิฟต์ บันไดเลื่อน บันได โดยการจัดการวัสดุและอุปกรณ์ทำความสะอาด ประกอบด้วยอุปกรณ์ทำความสะอาดทั่วไป อุปกรณ์ทำความสะอาดกระจก อุปกรณ์ทำความสะอาดอิเล็กทรอนิกส์ วัสดุสิ้นเปลือง และน้ำยาทำความสะอาด และตำแหน่งบุคลากรที่พบมี 2 ตำแหน่ง ได้แก่ หัวหน้างาน และพนักงานทำความสะอาด มีการปฏิบัติงานในเวลาราชการ มีการกำหนดการจ่ายค่าจ้างที่พบส่วนมากคือจ่ายเป็นรายงวด งวดละ 1 เดือน และมีการกำหนดค่าปรับ 2 ลักษณะ ได้แก่ บอกเป็นสัดส่วน และระบุเป็นจำนวนเงิน นอกจากนี้การกำหนดราคากลางในเอกสารหลักเกณฑ์และอัตราค่าใช้จ่ายประกอบการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีที่เบิกจ่ายในลักษณะค่าตอบแทน ใช้สอย วัสดุ และค่าสาธารณูปโภคของกองมาตรฐานงบประมาณ1 ซึ่งทางราชการใช้อ้างอิงจัดทำสัญญาจ้างทำความสะอาด โดยมีราคาอัตราจ้างเหมาทำความสะอาดสำหรับอาคารทุกประเภทเพียงราคาเดียว คือ ไม่เกิน 11 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน แต่จากผลการศึกษาพบว่าราคาค่าจ้างทำความสะอาดเฉลี่ยคือ 11.72 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน เนื่องจากมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้องกับราคาค่าจ้าง เช่น อาคารราชการมีการใช้งานหลากหลายประเภท ระยะเวลาการใช้งานอาคาร จำนวนบุคลากร พื้นที่ ซึ่งในบางพื้นที่อาจมีข้อจำกัดในการปฏิบัติงาน ความซับซ้อนของเนื้องานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อความถี่ในการทำความสะอาดที่ไม่เท่ากันในแต่ละกรณีศึกษา นอกจากนี้ปริมาณวิธีการจัดการงานทำความสะอาดในส่วนพื้นที่สำนักงานทั้งหมด 7 พื้นที่ และราคาต่อตารางเมตรต่อชั่วโมงไม่แปรผันตามกัน เนื่องจากข้อมูลประเภทอาคารของกรณีศึกษา มีพื้นที่นอกเหนือขอบเขตที่ทำการศึกษา


ผลกระทบของ Covid-19 ต่อการใช้พื้นที่ทำงาน: กรณีศึกษา พนักงาน 3 กลุ่มที่ทำงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 3 แห่งในกรุงเทพมหานคร, ศิริพร เลิศอภิรังษี Jan 2022

ผลกระทบของ Covid-19 ต่อการใช้พื้นที่ทำงาน: กรณีศึกษา พนักงาน 3 กลุ่มที่ทำงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 3 แห่งในกรุงเทพมหานคร, ศิริพร เลิศอภิรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

COVID-19 ถูกประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย มีภาวะรุนแรงและเกิดการแพร่ระบาดของโรคทำให้เกิดวิธีปฏิบัติการเพิ่มระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ส่งผลกระทบต่อการใช้สถานที่ทำงานในหลายด้าน และเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคและความต่อเนื่องทางธุรกิจ องค์กรต่าง ๆ มีนโยบายให้พนักงานทำงานจากบ้าน รวมถึงมีการปรับพื้นที่ทำงานในรูปแบบที่ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้ได้มากที่สุด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการทำงานของพนักงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงานเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่สำนักงานในช่วงเวลาแพร่ระบาด และปัญหาของการทำงานจากบ้าน โดยรวบรวมข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามพนักงานของธนาคารพาณิชย์สังกัดสำนักงานใหญ่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร 3 กรณีศึกษา นำข้อมูลมาแจกแจง วิเคราะห์ข้อมูล สรุปและอภิปรายผลการศึกษา ผลการศึกษาจะช่วยให้ฝ่ายบริหารทรัพยากรอาคารได้นำไปใช้เพื่อการวางแผนการจัดสรรพื้นที่ทำงานหากมีสถานการณ์โรคระบาดขึ้นอีกครั้ง ผลการศึกษาพบว่าในช่วงสถานการณ์ COVID-19 มีการทำงาน 3 รูปแบบคือ เข้ามาทำงานที่สำนักงาน ทำงานจากบ้าน และทำงานจากนอกสถานที่ ๆ ไม่ใช่สำนักงานและบ้าน จากการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่สำนักงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 พบว่ามี 3 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่สำนักงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ได้แก่ 1) ปัจจัยจากลักษณะการทำงานที่เน้นการพบปะบุคคลภายนอกองค์กร 2) ปัจจัยจากลักษณะการทำงานที่เน้นไปทางการทดลอง ทดสอบระบบและอุปกรณ์ และ 3) ปัจจัยจากปัญหาการทำงานจากบ้านในเรื่องการเชื่อมต่อระบบขององค์กรส่งผลกระทบต่อการเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่สำนักงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ทั้ง 3 กรณีศึกษา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง ส่วนปัญหาของการทำงานจากบ้านนั้นจากผลการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคการทำงานจากบ้านในเรื่องเฟอร์นิเจอร์ไม่รองรับและบรรยากาศไม่เหมาะสมสำหรับการทำงาน รวมถึงมีความไม่สมดุลระหว่างระยะเวลาการทำงานและเวลาส่วนตัว มีระดับความจำเป็นในระดับสูงทั้ง 3 กรณีศึกษา ถึงแม้ว่าค่าความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนวันที่เข้าปฏิบัติงานและปัญหาดังกล่าวไม่ได้อยู่ในระดับสูง แต่ก็เป็นปัญหาที่ผู้บริหารควรให้ความสำคัญ ซึ่งหากละเลยการแก้ไขดูแลปัญหาดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลเสียกับองค์กรในระยะยาวได้ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการทำงานที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์การระบาดและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการใช้พื้นที่สำนักงาน โดยปัจจัยเหล่านี้สัมพันธ์กับจำนวนวันที่เข้าใช้พื้นที่สำนักงาน หากปัจจัยดังกล่าวมีระดับที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ความต้องการใช้พื้นที่สำนักงานในสถานการณ์โรคระบาดก็จะแปรเปลี่ยนไปในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตามการจัดสรรพื้นที่ให้พนักงานเข้าปฏิบัติงานในช่วงการระบาดนั้นยังคงต้องคำนึงถึงการจัดสรรขนาดพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นเพื่อรักษาระยะห่างทางสังคมเพื่อป้องกันการติดเชื้อด้วย


ประสิทธิภาพด้านพลังงานและความน่าสบายของการทำความเย็นวิธีกระจายลมแบบแทนที่โดยใช้เครื่องปรับอากาศแยกส่วนแบบไร้พัดลม, สุพัตรา สุขเมือง Jan 2022

ประสิทธิภาพด้านพลังงานและความน่าสบายของการทำความเย็นวิธีกระจายลมแบบแทนที่โดยใช้เครื่องปรับอากาศแยกส่วนแบบไร้พัดลม, สุพัตรา สุขเมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพด้านพลังงานและความน่าสบายของเครื่องปรับอากาศแยกส่วนต้นแบบ โดยการนำหน้ากากครอบแอร์และพัดลมในคอยล์เย็นออกแล้วตั้งค่าอัตโนมัติให้อุณหภูมิเริ่มต้นที่ 25.5 องศาเซลเซียส แรงดันน้ำยาแอร์ 250 PSI กำลังไฟฟ้า 2.7 กิโลวัตต์ และกำลังไฟฟ้าของเครื่องลดความชื้น 0.02 กิโลวัตต์ แล้วทำงานติดตั้งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 1. ระดับเหนือข้อเท้า (+0.15 ม.) 2. ระดับลำตัว (นั่งเก้าอี้) (+0.81 ม.) 3. ระดับเหนือลำตัว (+1.47 ม.) และ 4. ระดับเหนือศีรษะ (+2.13 ม.) ตามลำดับ จากนั้นทำการทดสอบในห้องจำลองเสมือนจริงที่ขนาด 1.60 x 2.70 x 2.60 ม. ในขณะทดสอบมีการใช้หลอดไฟ LED ทั้งหมด 35 วัตต์ เพื่อเพิ่มความร้อนที่เกิดขึ้นภายในห้อง ซึ่งภายในห้องทดลองได้มีการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องวัดอุณหภูมิ 12 ช่อง เครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ อุณหภูมิกระเปาะเปียก-แห้ง เครื่องวัดกำลังไฟฟ้าและเครื่องลดความชื้น โดยมีระยะเวลาในการทำวิจัยอยู่ในช่วงสั้น ๆ คือช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 (เริ่มต้นเข้าฤดูหนาว) มีช่วงเวลาทดสอบตลอด 24 ชม.ของหนึ่งตัวอย่างทดสอบ ภายใต้อุณหภูมิภายนอก 19-36 องศาเซลเซียส ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งการทดสอบนี้อาศัยหลักการไหลของมวลอากาศ ตามหลักการจ่ายลมเย็นแบบ displacement ventilation (การกระจายลมเย็นแบบแทนที่) จากการทดสอบพบว่าการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบปรับอากาศสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง ผลการทดสอบพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยลดลง 0.5 - 1 องศาเซลเซียสทุก ๆ 2 ชั่วโมง และมีการกระจายความเย็นอย่างสม่ำเสมอเมื่อเครื่องทำงานต่อเนื่อง 6 ชั่วโมงเป็นต้นไป ซึ่งจากผลการประเมินประสิทธิภาพความน่าสบายพบว่า ร้อยละ 80 ของช่วงเวลาการทดสอบ คืออุณหภูมิ 23.3 – 29.4 องศาเซลเซียสและความชื้นสัมพัทธ์ไม่เกินร้อยละ 70 (ในการศึกษาเฉพาะ 2 ตัวแปร คืออุณหภูมิอากาศและความชื้นสัมพัทธ์) สรุปการวิจัยพบว่าเครื่องปรับอากาศแยกส่วนแบบไร้พัดลมที่มีเครื่องลดความชื้น …


ผลกระทบจากภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงกับการออกแบบพลังงานหมุนเวียน เพื่อไปสู่อาคารพักอาศัยปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์, อภิญญา เวชกามา Jan 2022

ผลกระทบจากภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงกับการออกแบบพลังงานหมุนเวียน เพื่อไปสู่อาคารพักอาศัยปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์, อภิญญา เวชกามา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในปัจจุบันและอนาคต อาจส่งผลให้การจำลองประสิทธิภาพอาคารมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากไฟล์ข้อมูลอากาศที่จำเป็นต้องใช้ในการจำลองนั้น เป็นข้อมูลในช่วงปี ค.ศ.1990 และยังไม่มีข้อมูลที่คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในปัจจุบันและอนาคต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสร้างไฟล์อากาศของกรุงเทพฯ ที่เป็นไปตามการคาดคะเนผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันและอนาคตของ IPCC เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการนำไปใช้ในการจำลองการใช้พลังงานของอาคารที่มีเป้าหมายเป็น Net Zero Carbon งานวิจัยนี้ได้ทำการนำข้อมูลอาคารคอนโดมิเนียมพักอาศัยในกรุงเทพฯ มาใช้เป็นอาคารกรณีศึกษา โดยทำการจำลองการใช้พลังงานในอาคาร จากนั้นวิเคราะห์ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของการใช้พลังงานตลอด 60 ปีข้างหน้า เพื่อนำผลรวมของการใช้พลังงานไปใช้ในการประเมินวัฏจักรชีวิตอาคารตลอดช่วงชีวิตอาคาร 60 ปี (LCA) และเสนอแนวทางการชดเชยการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ด้วยวิธีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จากการศึกษาพบว่า ตลอดช่วงชีวิตอาคาร 60 ปี ของอาคารคอนโดมิเนียมพักอาศัย ผลการจำลองการใช้พลังงานโดยการใช้ไฟล์อากาศที่สร้างขึ้นใหม่ โดยคำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนั้น อาคารมีการใช้พลังงานในอาคารเพิ่มมากขึ้นเป็น 43% เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ไม่ได้คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ซึ่งส่งผลให้ผลการประเมินวัฏจักรชีวิตอาคารมีปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่เพิ่มมากขึ้นเป็น 40% เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ไม่ได้คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และหากพิจารณาเรื่องการชดเชยการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์นั้น การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จำเป็นต้องผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นเป็น 40% เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ไม่ได้คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ


การศึกษาข้อกำหนดเกี่ยวกับแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Bim) ในขอบเขตของงาน (Tor) จ้างออกแบบ: กรณีศึกษาโครงการอาคารหน่วยงานของรัฐ, อลีนา ธรรมสอน Jan 2022

การศึกษาข้อกำหนดเกี่ยวกับแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Bim) ในขอบเขตของงาน (Tor) จ้างออกแบบ: กรณีศึกษาโครงการอาคารหน่วยงานของรัฐ, อลีนา ธรรมสอน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modelling: BIM) เป็นกระบวนการในการสร้างและจัดการข้อมูลตัวแทนดิจิทัล (digital representation) ของสินทรัพย์ตลอดวงจรชีวิต งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาในช่วงการวางแผนและออกแบบซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการจัดเตรียม BIM โดยมีเอกสารข้อตกลง คือ ขอบเขตของงาน (Terms of Reference: TOR) จากกระบวนการทำงานของ BIM ส่งผลให้ TOR มีลักษณะเฉพาะตัวและจำเป็นต้องมีข้อกำหนดเพิ่มเติม จึงนำมาสู่การศึกษาข้อกำหนดเกี่ยวกับ BIM ใน TOR จ้างออกแบบเพื่อเป็นแนวทางการนำ BIM ไปใช้ในขอบเขตของการจ้างงานออกแบบสำหรับโครงการอาคารหน่วยงานของรัฐ จากการศึกษาพบว่า เอกสาร TOR โครงการของรัฐยังขาดการระบุรายละเอียดสำหรับ BIM องค์ประกอบของข้อกำหนดข้อมูล (Information Requirements) ที่สำคัญสำหรับ BIM ได้แก่ การใช้ประโยชน์ BIM (BIM Uses), กำหนดการ (Schedule), มาตรฐาน (Standard), การสื่อสาร (Communication), เทคโนโลยี (Technology), โครงสร้างแบบจำลอง (Model Structure), ทีมปฏิบัติงาน BIM (BIM Team), การประชุมโครงการ (Project Meeting) และการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) โดยสามารถจำแนกรูปแบบของ TOR โครงการกรณีศึกษาตามจำนวนองค์ประกอบข้างต้นได้ 4 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ไม่มีการกำหนดเพิ่มเติม รูปแบบที่มีการระบุ 1, 2 และ 6 องค์ประกอบ จากการสัมภาษณ์เจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ และผู้เชี่ยวชาญด้าน BIM พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนและออกแบบโครงการที่ใช้ BIM ได้แก่ ปัจจัยด้านความเข้าใจเกี่ยวกับ BIM ปัจจัยด้านการนำ BIM ไปปฏิบัติ และปัจจัยด้านเทคนิคและทรัพยากร ผลการวิจัยสรุปได้ว่าโครงการที่แนะนำให้กำหนดใช้ BIM คือ โครงการที่อาคารมีความซับซ้อน ซับซ้อนมาก ขนาดใหญ่ หรือขนาดใหญ่พิเศษ เพื่อให้สามารถนำ …


Challenges Of Ngos In Facilitating Access To Health Care Services For The Urban Poor In Slums During The Covid-19 Pandemic: A Case Study Of Kampala, Uganda||ความท้าทายขององค์กรนอกภาครัฐในการช่วยเหลือการเข้าถึงบริการการดูแลสุขภาพสำหรับคนจนเมืองในชุมชนแออัดในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา กรุงกัมปาลา ประเทศยูกันดา, Brendah Kyaterekera Jan 2022

Challenges Of Ngos In Facilitating Access To Health Care Services For The Urban Poor In Slums During The Covid-19 Pandemic: A Case Study Of Kampala, Uganda||ความท้าทายขององค์กรนอกภาครัฐในการช่วยเหลือการเข้าถึงบริการการดูแลสุขภาพสำหรับคนจนเมืองในชุมชนแออัดในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา กรุงกัมปาลา ประเทศยูกันดา, Brendah Kyaterekera

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study investigates the challenges NGOs face in providing healthcare access to the urban poor during the COVID-19 pandemic, using cases of slum communities in Kampala, the capital city of Uganda. The COVID-19 pandemic has disproportionately affected vulnerable populations, including those living in slums characterized by overcrowding, inadequate infrastructure, and limited access to basic services, especially access to healthcare, a fundamental right of people. During the past years, the pandemic has further restricted the already limited accessibility to healthcare services for the urban poor. The primary research methodology employed in this study is case study research, using in-depth interviews, observations, …


Assessing The Physical Conditions Of Motorcycle Taxi Stands And Comfort Conditions Of The Drivers In The Central Business District Of Bangkok, Nissa Phloimontri Jan 2022

Assessing The Physical Conditions Of Motorcycle Taxi Stands And Comfort Conditions Of The Drivers In The Central Business District Of Bangkok, Nissa Phloimontri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research explores the current physical conditions of motorcycle taxi stands located near the BTS stations in the central business district (CBD) and the comfort conditions experienced by motorcycle taxi drivers at those stands. Stand conditions were assessed using design and location standards for transit stops. A total of 25 stands were surveyed and compared with design standards, considering factors such as location, physical form, and features. Stands that share similar characteristics were classified into stand typologies. Based on the environmental comfort model, questionnaires and in-depth interviews were conducted to evaluate the comfort levels of drivers, encompassing physical, functional, and …


รูปแบบการดำเนินงานโครงการที่พักนักท่องเที่ยวที่มีแนวคิดวิสาหกิจเพื่อสังคม : กรณีศึกษา ชุมพรคาบาน่า รีสอร์ต และโรงแรมสวนสามพราน, ชญตา ลีวงศ์เจริญ Jan 2022

รูปแบบการดำเนินงานโครงการที่พักนักท่องเที่ยวที่มีแนวคิดวิสาหกิจเพื่อสังคม : กรณีศึกษา ชุมพรคาบาน่า รีสอร์ต และโรงแรมสวนสามพราน, ชญตา ลีวงศ์เจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันมีธุรกิจจำนวนไม่น้อยหันมาทำวิสาหกิจเพื่อสังคม (social enterprise: SE) เพื่อมุ่งประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม การนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้กับการดำเนินงานที่พักนักท่องเที่ยวยังอยู่ในวงจำกัด แม้จะเป็นธุรกิจที่มีโอกาสสร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้มาก วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการนำแนวคิดวิสาหกิจเพื่อสังคมมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน 2 กรณีศึกษา คือ ชุมพรคาบาน่า รีสอร์ต และโรงแรมสวนสามพราน ใช้วิธีรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ การสำรวจพื้นที่ และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ประกอบการของที่พักนักท่องเที่ยวแต่ละกรณี ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง 5 คนต่อกรณีศึกษา และนักท่องเที่ยว 20 คนต่อกรณีศึกษา ใช้การวิเคราะห์ผลในเชิงเปรียบเทียบ แสดงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของการพัฒนาโครงการเพื่อสังคม รวมถึงสรุปบทเรียนจากกรณีศึกษา ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้ประกอบการของกรณีศึกษาทั้ง 2 แห่ง ได้ใช้รูปแบบวิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นแนวทางหลักในการดำเนินงานโครงการที่พักนักท่องเที่ยวเหมือนกัน แม้ว่าจะมีจุดเริ่มต้นในการพัฒนาต่างกัน คือ ชุมพรคาบาน่า รีสอร์ต นำแนวคิดมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน ขณะที่โรงแรมสวนสามพรานนำแนวคิดมาใช้เพื่อสร้างจุดขาย 2) การดำเนินงานโครงการเพื่อสังคมของทั้ง 2 แห่ง มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ (1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีบทบาทในการดำเนินงานโครงการแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มธุรกิจหลักรวมถึงธุรกิจเครือข่าย กลุ่มผู้รับประโยชน์ และกลุ่มผู้ให้ความสนับสนุนในด้านต่าง ๆ และองค์ประกอบอีกประการ คือ (2) กิจกรรมหลักในการดำเนินงานโครงการเพื่อสังคม 5 ด้านที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ การจัดการความรู้และให้ความช่วยเหลือในด้านอื่น ๆ แก่กลุ่มผู้ผลิตวัตถุดิบของธุรกิจ การรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคายุติธรรม การเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรผ่านผลิตภัณฑ์ของธุรกิจ การจัดหาตลาดและการกระจายสินค้าทางการเกษตร และการท่องเที่ยวที่สนับสนุนความยั่งยืน 3) การดำเนินโครงการเพื่อสังคมของกรณีศึกษาทั้ง 2 แห่ง ส่งผลกระทบใน 4 ด้าน คือ (1) ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน การกระจายรายได้ (2) ผลกระทบทางสังคม ทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน (3) ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการส่งเสริมกิจกรรมที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ (4) ผลกระทบทางธุรกิจ ทำให้เกิดสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและเกิดมูลค่าเพิ่ม อีกทั้งยังทำให้เกิดจุดขายที่แตกต่าง ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินงานของที่พักนักท่องเที่ยวที่มีแนวคิดเพื่อสังคมทั้งสองกรณี มีกลไกที่สามารถสร้างผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียจำนวนมาก บทเรียนสำคัญและปัจจัยความสำเร็จคือ …


ความสัมพันธ์ของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สาธารณูปโภค และ สาธารณูปการ ที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม กรณีศึกษา ถนนราชพฤกษ์ และ ถนนกัลปพฤกษ์, ชยางกูร กิตติธีรธำรง Jan 2022

ความสัมพันธ์ของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สาธารณูปโภค และ สาธารณูปการ ที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม กรณีศึกษา ถนนราชพฤกษ์ และ ถนนกัลปพฤกษ์, ชยางกูร กิตติธีรธำรง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐส่งผลทำให้เกิดการพัฒนาที่อยู่อาศัย แหล่งงาน และสาธารณูปการ เมื่อทำการศึกษาย้อนไปในอดีตช่วง 20 - 30 ปีก่อนหรือช่วงพ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2564 พบว่า การเติบโตของโครงข่ายการคมนาคมมีผลต่อการพัฒนาพื้นที่ในฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ทั้งจากการสร้างถนนกาญจนาภิเษก ถนนบรมราชชนนี ถนนราชพฤกษ์ และถนนกัลปพฤกษ์ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษารูปแบบการพัฒนาของที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเพื่อนำรูปแบบการพัฒนา และแผนการพัฒนาของภาครัฐมาพิจารณาถึงลำดับการพัฒนาที่อยู่อาศัย และการเกิดสาธารณูปการที่เชื่อมโยงอันจะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐในการกำหนดแผนงานในการพัฒนาการขยายตัวของพื้นที่เมืองต่อไป โดยใช้การเก็บข้อมูลด้วยวิธีการลงพื้นที่สำรวจภาคสนาม และการรวบรวมข้อมูลจากเว็ปไซต์ และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าลำดับการเกิดที่อยู่อาศัย และสาธารณูปการแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ 1) การเกาะกลุ่มของประเภทอสังหาริมทรัพย์ 3 ประเภทหลัก คือ ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และสาธารณูปการ โดยพบว่าที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวจะมีการเกาะกลุ่มกันมากบริเวณถนนราชพฤกษ์เป็นหลัก ส่วนบ้านแถวและอาคารชุด พบการเกาะกลุ่มกันมากในบริเวณถนนกัลปพฤกษ์ ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร 2) การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความหนาแน่นมากขึ้นจะสัมพันธ์กับการจราจรที่หนาแน่นตามมา ไม่ว่าจะเป็นในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนช่วงเช้า และช่วงเย็น หรือ ช่วงระหว่างวันจะพบการจราจรหนาแน่นในโซนพาณิชยกรรม ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าแผนการคมนาคมตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร กับเส้นทางคมนาคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่มีความสอดคล้องกัน 3) แผนที่ลำดับการพัฒนาตามรายปีได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อถนนถูกพัฒนาใหม่ กลุ่มหมู่บ้านจัดสรรจะเกิดขึ้นก่อนเป็นลำดับแรก ต่อมาเมื่อมีความหนาแน่นของที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจะเริ่มพบเห็นพื้นที่พาณิชยกรรม และสาธารณูปการเกิดขึ้นตามมา โดยมีรูปแบบการพัฒนาไปตามแนวแกนถนน(Ribbon Development) ซึ่งพบว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินมีความสอดคล้องกับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร แต่ในส่วนสาธารณูปการที่เกิดขึ้น มีความครอบคลุมแต่ไม่ใช่ด้วยกลไกหรือการวางแผนของภาครัฐแต่เกิดจากการพัฒนาของภาคเอกชนเป็นหลัก จึงทำให้รูปแบบการพัฒนาขาดการดำเนินการอย่างดีพอจนไม่สอดคล้องกับการวางผังเมืองรวมของกรุงเทพมหานครในย่านนี้ จึงสรุปได้ว่าจากการพัฒนาที่เกิดขึ้นบนถนนราชพฤกษ์ และถนนกัลปพฤกษ์ พบว่า มีทั้งในประเด็นที่สอดคล้องและไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ซึ่งในประเด็นที่ไม่สอดคล้องนำมาสู่ข้อเสนอ ในการส่งเสริมการพัฒนาถนนสายย่อย การศึกษาเส้นทางเดินรถสาธารณะ การนำเครื่องมือทางผังเมืองด้านอื่นๆมาใช้งาน เช่น การจัดรูปที่ดิน รวมไปถึงการบังคับใช้แผนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


บทเรียนจากกระบวนการจัดการชุมชนผู้มีรายได้น้อยเมื่อเกิดวิกฤติโควิด-19 : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านครัว เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร, กัญจนวรินทร์ ธรรมานวัตร์ Jan 2022

บทเรียนจากกระบวนการจัดการชุมชนผู้มีรายได้น้อยเมื่อเกิดวิกฤติโควิด-19 : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านครัว เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร, กัญจนวรินทร์ ธรรมานวัตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ช่วงต้นเดือนเมษายน พ.ศ.2564 ลามไปทั่วกรุงเทพมหานคร โดยชุมชนแออัดถือเป็นพื้นที่เสี่ยงสูง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนช่วยเหลือชุมชนโดยพบว่า ชุมชนบ้านครัวได้รับผลกระทบอย่างหนักแต่เป็นหนึ่งในชุมชนที่มีการบริหารจัดการชุมชนได้อย่างดี วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการถอดบทเรียนกระบวนการบริหารจัดการชุมชนบ้านครัวในช่วงของการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยศึกษาลักษณะของชุมชนบ้านครัว ก่อนการแพร่ระบาดและศึกษาผลกระทบเมื่อเกิดการแพร่ระบาด โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากเอกสารสิ่งพิมพ์ และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับผู้นำชุมชน อาสาสมัคร และสมาชิกชุมชนทั่วไป และผู้เชี่ยวชาญตัวแทนภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2564 แบ่งออกได้เป็น 5 ระยะ โดยมีผู้ติดเชื้อรวมทั้งหมด 382 ราย และผู้เสียชีวิต 18 ราย จากสภาพทางกายภาพที่มีการอยู่อาศัยอย่างแออัดทำให้เกิดการแพร่เชื้อโควิด-19 อย่างรวดเร็ว โดยทางด้านเศรฐกิจมีผู้ได้รับกระทบโดยขาดรายได้ ทางสังคมเกิดการงดการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทางศาสนา โดยชุมชนบ้านครัวมีกระบวนการจัดการวิกฤติโควิด-19 แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1.กิจกรรมที่เกิดจากการรวมกลุ่มของชุมชนเองได้แก่ 1) การจัดตั้งครัวชุมชนแจกจ่ายอาหารและสิ่งของที่จำเป็น 2) การประกาศปิดทางเข้าออกชุมชนคัดกรองผู้เสี่ยงติดเชื้อ 3) การจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัคร ร่วมกับ กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์พัฒนาบ้านครัว เพื่อช่วยเหลือตนเอง 2.ชุมชนบ้านครัวมีการประสานงานและได้รับความช่วยเหลือและงบประมานจากหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชนที่ทำให้เกิดกิจกรรม คือ 1) การสอบสวนโรคเพื่อหาจุดเสี่ยงและทำความสะอาดที่อยู่อาศัย 2) การจัดประชุมออนไลน์เพื่อให้ความรู้ 3) การวิเคราะห์ผังชุมชนที่เป็นจุดด้อย 4) การเข้าร่วมส่งผู้ป่วยกักตัวที่ศูนย์พักคอยผู้ป่วยโควิด-19 พาณิชยการเจ้าพระยา 5) การนัดตรวจโควิดเชิงรุกผู้อาศัยบ้านครัว 6) การจัดตั้งศูนย์ประสานงานในชุมชน บทเรียนเความสำเร็จด้วยปัจจัยต่าง ๆ คือ 1) เป็นชุมชนเข้มแข็ง ที่มีประวัติการต่อสู้มายาวนาน และผ่านกระบวนการบ้านมั่นคงจึงมีความพร้อมทั้งด้านข้อมูลและการจัดการตนอง 2) แกนนำชุมชนมีความเข้มแข็งและได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในชุมชน 3) ชุมชนสามารถสื่อสารความต้องการ เปิดรับและคัดสรรความร่วมมือจากภาคีต่างๆอย่างเหมาะสม โดยมีคนในชุมชนเป็นกำลังหลักในการจัดการ 4) ความจำเป็นในการจัดการอาหารฮาลาลด้วยชุมชนเอง เพิ่มความเข้มแข็งชุมชน 5) การเกิดกิจกรรมการจัดการด้านกายภาพของบ้านและชุมชนร่วมกับภาคีในการออกแบบด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ข้อเสนอแนะชุมชนผู้มีรายได้น้อยเมื่อเกิดวิกฤตในอนาคต ครัวเรือนควรมีการปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้มีการเปิดระบายอากาศและแสงเข้าถึงได้มากขึ้นและปรับปรุงห้องน้ำให้ใช้งานได้อย่างถูกสุขลักษณะ ชุมชนควรมีการจัดพื้นที่เพื่อจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อเป็นพื้นที่ให้กลุ่มอาสาสมัครใช้ในการประสานงานช่วยเหลือ ควรมีการจัดกิจกรรมทางด้านอาหารเพื่อช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนและป้องกันการแพร่ระบาด รวมถึงเป็นการเสริมสร้างพลังแก่ชุมชน ข้อเสนอต่อหน่วยงานภายนอก ควรมีการทำงานด้วยข้อมูลพื้นฐานที่ถูกต้อง และมีความเชื่อมโยงประสานกันระหว่างแต่ละหน่วยงาน ข้อเสนอแนะต่อผู้กำหนดนโยบายในการบริหารจัดการชุมชนเมื่อเกิดภาวะวิกฤติในอนาคต คือควรมีการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานอย่างครบถ้วน เพื่อนำไปใช้ในการออกนโยบายและนำนโยบายมาสู่การปฏิบัติให้เหมาะกับแต่ละพื้นที่ แต่ละชุมชน ที่มีทุนมนุษย์และทุนสังคมที่แตกต่างกัน และควรสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ (Health Literacy) ให้กับทุกชุมชนเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันทางสังคม


โอกาสและข้อจำกัดของการพัฒนาศูนย์การแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) กรณีศึกษา เขตส่งเสริมศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ พัทยา และโครงการยกระดับท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ต สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก, บุศรินทร์ เขียวไพรี Jan 2022

โอกาสและข้อจำกัดของการพัฒนาศูนย์การแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) กรณีศึกษา เขตส่งเสริมศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ พัทยา และโครงการยกระดับท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ต สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก, บุศรินทร์ เขียวไพรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยมีนโยบายในการพัฒนาประเทศเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจ โดยการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ มุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง 12 ประเภท เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต โดยจัดทำแผนเพื่อส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มดังกล่าวขึ้น อาทิเช่น มาตรการการส่งเสริมการลงทุน การจัดทำแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น ซึ่งอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) นั้นจัดอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย สัมพันธ์กับข้อเท็จจริงที่ว่าปัจจุบันมีการพัฒนาทคโนโลยีในการรักษาคุณภาพชีวิตของมนุนย์ให้มีชีวิตยืนยาว ประกอบกับประเทศไทยเป็นปลายทางของนักท่องเที่ยวและคนไข้ เนื่องด้วยข้อได้เปรียบเรื่องราคา การบริการที่ดี รวมทั้งคุณภาพของบุคลากร โดยเฉพาะแพทย์ทางเลือกและการดูแลฟื้นฟู รวมทั้งบริการต่อเนื่อง ทำให้อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร มีแนวโน้มการลงทุนในอนาคตสูง รัฐบาลนำโดยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมทางแพทย์ นำมาสู่การจัดทำแผนงานโครงการและมาตรการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ก่อให้เกิดการจัดตั้งศูนย์การแพทย์ครบวงจร ในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการให้บริการของกลุ่มเป้าหมาย ดังเช่น กรณีศึกษาทั้งสองแห่งของการวิจัย ได้แก่ เขตส่งเสริมศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ พัทยา และโครงการยกระดับท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ต สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก จากข้างต้นจึงนำมาสู่การศึกษาโอกาสและข้อจำกัดของการพัฒนาศูนย์การแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) โดยศึกษาข้อมูลแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยอื่นๆ และศึกษาแนวทางการดำเนินโครงการของกรณีศึกษาทั้งสองแห่ง โดยวิเคราะห์ที่ตั้งการใช้ที่ดิน รวมทั้งนโยบาย กฎหมายข้อบังคับต่างๆ นำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูล ผนวกกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้องทั้งในด้านการดำเนินการโครงการศูนย์การแพทย์ ด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ และด้านกฎหมายหรือมาตรการส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ จากการศึกษา พบว่า การดำเนินโครงการศูนย์การแพทย์ครบวงจรนั้น จะต้องมีปัจจัยสนับสนุน คือ พื้นที่โครงการจะต้องมีศักยภาพในเรื่องที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ เช่น สถาบันการศึกษาและสถานพยาบาลที่มีการรองรับการให้บริการด้านการแพทย์ การเข้าถึงพื้นที่ ปัจจัยดึงดูดด้านการท่องเที่ยวโดยรอบเพื่อผนวกร่วมกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รวมทั้งปัจจัยส่งเสริมด้านกฎหมาย เช่น มาตรการส่งเสริมการลงทุน มาตรการทางผังเมือง เป็นต้น ทั้งนี้ในการดำเนินการโครงการเนื่องด้วยเป็นโครงการขนาดใหญ่ จะต้องมีการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อขับเคลื่อนโครงการในภาพรวม ทั้งกลุ่มผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง และภาครัฐที่จะลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และจัดการข้อจำกัดและสร้างแรงจูงใจให้กับนักลงทุน และกลุ่มวิชาการ รวมถึงบุคลากรที่มีคุณภาพที่รองรับการให้บริการในพื้นที่


กลยุทธ์การตลาดคอนโดมิเนียมสำหรับกลุ่มวัยเริ่มทำงานของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ :กรณีศึกษา บมจ. แสนสิริ บมจ. เอพี ไทยแลนด์ บมจ. พฤกษา เรียลเอสเตทและ บมจ. ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้, พราวนภา โกเมนธรรมโสภณ Jan 2022

กลยุทธ์การตลาดคอนโดมิเนียมสำหรับกลุ่มวัยเริ่มทำงานของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ :กรณีศึกษา บมจ. แสนสิริ บมจ. เอพี ไทยแลนด์ บมจ. พฤกษา เรียลเอสเตทและ บมจ. ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้, พราวนภา โกเมนธรรมโสภณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันกลุ่มช่วงวัยเริ่มทำงาน (FIRST JOBBER) เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงที่อยู่อาศัย ดังนั้น ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จึงต้องใช้กลยุทธ์การตลาดเฉพาะสำหรับสำหรับคนกลุ่มนี้ งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษากลยุทธ์การตลาดคอนโดมิเนียมสำหรับกลุ่มวัยเริ่มทำงานของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยมีกรณีศึกษา 4 บริษัท ประกอบไปด้วย บมจ. แสนสิริ บมจ. เอพี ไทยแลนด์ บมจ. พฤกษา เรียลเอสเตท และ บมจ. ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ใช้วิธีรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานประจำปีบริษัท ปี 2564 และข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการทั้ง 4 บริษัท และกลุ่มวัยเริ่มทำงานที่อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมกรณีศึกษา จำนวน 4 บริษัทๆละ 1 โครงการๆละ 20 ท่าน รวมทั้งสิ้น 80 ท่าน วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของแนวคิดการตลาด กลยุทธ์การตลาด และลักษณะคอนโดมิเนียมกลุ่มวัยเริ่มทำงาน รวมถึงสรุปบทเรียนจากกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า 1) บริษัทกรณีศึกษามีแนวคิดกำหนดให้กลุ่มวัยเริ่มทำงานเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายสำคัญของบริษัท กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ ภารกิจ และบางบริษัทกำหนดผ่านแนวคิดผู้บริหารและกลยุทธ์การแข่งขัน 2) กลยุทธ์การตลาดที่สำคัญ คือ (1) กำหนดส่วนแบ่งทางการตลาด กลุ่มเป้าหมาย และตำแหน่งตลาด พบว่าทุกโครงการมุ่งเน้นไปที่ราคาที่จ่ายได้ กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ กลุ่มวัยเริ่มทำงาน หรือกลุ่มเจนแซด มีจุดยืนด้านราคา ทำเล พื้นที่ส่วนกลาง พื้นที่ภายในห้องพัก และบางโครงการสามารถเลี้ยงสัตว์ได้ (2) ส่วนประสมทางการตลาด พบว่าบริษัทส่วนใหญ่ปรับช่องทางการจัดจำหน่ายไปสู่ออนไลน์ ปรับพื้นที่ส่วนกลางและพื้นที่ภายในห้องพักให้สะท้อนถึงการใช้ชีวิตของกลุ่มวัยเริ่มทำงาน บางบริษัทยินดีรับกลุ่มคนที่เพิ่งจบใหม่ และให้โอกาสในการรับผิดชอบโครงการที่เจาะกลุ่มวัยเริ่มทำงาน 3) ลักษณะคอนโดมิเนียมกลุ่มวัยเริ่มทำงาน พบว่าทำเลที่ตั้งกระจายตัวอยู่ในย่านชานเมือง เป็นโครงการคอนโดมิเนียมแนวราบ ภายในห้องตกแต่งพร้อมเข้าอยู่ เพิ่มพื้นที่เก็บของภายในห้อง มีพื้นที่ส่วนกลางใช้งานได้ 24 ชม. มีพื้นที่นัดพบหรือประชุมงาน และมีพื้นที่ออกกำลังกาย เป็นต้น ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับกลุ่มวัยเริ่มทำงานของผู้ประกอบการ บทเรียนสำคัญที่จะทำให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จในการตลาดคอนโดมิเนียมกลุ่มวัยเริ่มทำงาน คือ ต้องกำหนดราคาที่คนกลุ่มนี้สามารถจ่ายได้ โครงการตั้งอยู่บนทำเลที่มีการคมนาคมที่สะดวก ใกล้รถไฟฟ้า และเป็นคอนโดมิเนียมที่ตกแต่งพร้อมเข้าอยู่พร้อมเข้าอยู่อาศัย


แนวทางการเลือกข้อกำหนดตามมาตรฐาน Leed ในการพัฒนาโครงการศูนย์กระจายสินค้าในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดโดยรอบ, ภวัต สถิตกาญจนะ Jan 2022

แนวทางการเลือกข้อกำหนดตามมาตรฐาน Leed ในการพัฒนาโครงการศูนย์กระจายสินค้าในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดโดยรอบ, ภวัต สถิตกาญจนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าในประเทศไทยที่ได้รับมาตรฐานอาคารเขียวโดยเฉพาะมาตรฐาน LEED มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการลงทุนของผู้พัฒนา ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาลักษณะในการเลือกข้อกำหนดตามมาตรฐาน LEED และปัจจัยในการเลือกข้อกำหนดผ่านการเก็บข้อมูลทุติยภูมิด้านการเลือกข้อกำหนดของศูนย์กระจายสินค้าในประเทศไทย และสัมภาษณ์ของผู้พัฒนาโครงการ และ ผู้ใช้งานกรณีศึกษาตัวแทนสำหรับแต่ละระดับคะแนนได้แก่ Certified Silver และ Gold สุดท้ายนำข้อมูลดังกล่าวมาสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำเสนอเป็นของเสนอแนะการเลือกข้อกำหนดตามมาตรฐาน LEED ในโครงการศูนย์กระจายสินค้า ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะด้านที่ตั้งที่ใกล้กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแนวโน้มในการได้รับคะแนนและระดับมาตรฐานที่สูงขึ้นกว่าโครงการที่ตั้งอยู่ห่างออกไป และพบลักษณะในการเลือกข้อคะแนนของโครงการศูนย์กระจายสินค้าที่ได้รับรองมาตรฐาน LEED แล้วโดยแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้ 1) โครงการในระดับ Certified มีการมุ่งเน้นการเลือกใช้ข้อคะแนนที่ตอบสนองการลดค่าใช้จ่ายด้านค่าน้ำ และค่าไฟฟ้าในโครงการ 2) โครงการในระดับ Silver มีการมุ่งเน้นการเลือกข้อคะแนนที่ตอบสนอง ประโยชน์ด้านการส่งเสริมปฏิบัติงานในโครงการด้านส่งเสริมการเดินทางของพนักงาน และ การเพิ่มประสิทธิภาพโครงการผ่านการตรวจและทดสอบระบบ 3) โครงการในระดับ Gold มีการมุ่งเน้นประโยชน์ด้านคุณภาพอากาศที่ดีแก่พนักงาน และ ลดผลผลกระทบและมลภาวะแก่ชุมชนโดยรอบโครงการ โดยจากลักษณะในการเลือกข้อกำหนดนำไปสู่การสัมภาษณ์ผู้พัฒนา ผู้เชี่ยวชาญ และ ผู้ใช้งานโครงการ พบข้อค้นพบสำคัญดังนี้ 1) หมวดข้อคะแนนที่มีการเลือกใช้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ Energy and Atmosphere Water Efficiency และ Location and Transportation ตามลำดับ 2) แนวคิดด้านโอกาสในการเลือกใช้ข้อคะแนน คือ สอดคล้องกับนโยบายบริษัทด้านการพัฒนาโครงการ และ มีการใช้ข้อกำหนดทั้งด้านอุปกรณ์และวัสดุก่อสร้างอยู่แล้ว 3) แนวคิดด้านข้อจำกัดในการไม่เลือกใช้ข้อคะแนน คือ ผังเมืองและโครงสร้างคมนาคม ผลกระทบด้านต้นทุนและเวลา และ ขัดกับการปฏิบัติงาน/ความปลอดภัยของสินค้า งานวิจัยฉบับนี้แสดงให้เห็นลักษณะการเลือกข้อกำหนด และปัจจัยในการเลือกหรือไม่เลือกทำข้อกำหนดในมุมมองของผู้พัฒนา ซึ่งผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาด้านอาคารเขียว และผู้พัฒนาที่สามารถนำปัจจัยในการเลือกจากการสัมภาษณ์และข้อเสนอแนะในการเลือกข้อคะแนนเบื้องต้นในงานวิจัยไปปรับใช้สำหรับการเริ่มต้นวางแผนการพัฒนาโครงการศูนย์กระจายสินค้าที่ไม่ได้มีความต้องการมาตรฐานรับรองแต่มีความต้องการพัฒนาโครงการให้ตอบสนองความต้องการของผู้พัฒนา ผู้ใช้งาน ชุมชนโดยรอบ และสิ่งแวดล้อม และ โครงศูนย์กระจายสินค้าการต้องการขอมาตรฐาน LEED ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดโดยรอบ


การประเมินค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมทาวน์เฮาส์และบ้านเดี่ยวที่ได้จากการประมูลทรัพย์ผ่านกรมบังคับคดีในจังหวัดสมุทรปราการ, วิศัลยา สุดเสถียร Jan 2022

การประเมินค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมทาวน์เฮาส์และบ้านเดี่ยวที่ได้จากการประมูลทรัพย์ผ่านกรมบังคับคดีในจังหวัดสมุทรปราการ, วิศัลยา สุดเสถียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การซื้อบ้านมือสองผ่านการประมูลทรัพย์จากกรมบังคับคดีมีจุดเด่นคือราคาที่ต่ำกว่าราคาขายในท้องตลาดประมาณร้อยละ 20 – 60 และมีทรัพย์ให้เลือกในหลากหลายทำเล แต่เนื่องจากทรัพย์ที่กรมบังคับคดีนำออกมาประมูลจะเป็นทรัพย์ที่มีข้อพิพาททางกฎหมายจึงมีสภาพทรุดโทรมขาดการบำรุงรักษาและอาจก่อให้เกิดปัญหาที่แตกต่างกันออกไป งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่ต้องการซื้อบ้านมือสองจากกรมบังคับคดีทราบถึงขั้นตอนการดำเนินการและข้อพึงระวัง รวมถึงการเตรียมค่าใช้จ่ายและประเมินค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมทรัพย์ที่ประมูลได้ ผลการศึกษาพบว่าในการเข้าร่วมประมูลทรัพย์จะแบ่งช่วงระยะในการดำเนินงานได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่ 1. ก่อนการประมูล 2. ระหว่างประมูล และ 3. หลังการประมูล โดยช่วงที่มีความสำคัญและส่งผลทำให้เกิดค่าใช้จ่ายได้แก่ ช่วงก่อนการ ประมูล และช่วงหลังการประมูล โดยช่วงก่อนการประมูลเป็นช่วงของการเตรียมความพร้อมด้วยการศึกษารายละเอียดและเงื่อนไข, การลงพื้นที่เพื่อสำรวจ, การเตรียมหลักฐานแสดงตนและการเตรียมเงินประกัน นอกจากนี้ยังพบทรัพย์ที่จะเพิ่มค่าใช้จ่าย ได้แก่ 1. ทรัพย์ที่ขายตามสำเนาโฉนด 2. ทรัพย์ที่ขายแบบติดจำนอง 3. ทรัพย์ที่ยังมีผู้อยู่อาศัยเดิมอาศัยอยู่ซึ่งคาดว่าอาจต้องใช้เวลานานในการย้ายออกหรืออาจต้องมีการฟ้องขับไล่ และ4. ทรัพย์ที่โครงสร้างชำรุดเสียหาย ทรุดหรือเอียงอย่างเห็นได้ชัด การเตรียมตัวที่ดีและการหลีกเลี่ยงทรัพย์ที่มีลักษณะดังที่กล่าวมาจะช่วยลดความผิดพลาดที่สร้างความเสียหายได้ ไม่ว่าจะเป็นการเสียสิทธิ เสียเวลา รวมถึงเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ และในช่วงหลังการประมูลทรัพย์หากเป็นผู้ชนะการประมูลจะมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการปรับปรุงซ่อมแซม ซึ่งพบว่าการปรับปรุงเพื่อนำไปขายต่อของบ้านประเภททาวน์เฮาส์รวมค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมจะคิดเป็นร้อยละ 9.60 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด แบ่งเป็น 1.หมวดงานสถาปัตยกรรม ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมคิดเป็นร้อยละ 89.78 2.หมวดงานระบบ ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมคิดเป็นร้อยละ 7.05 และ 3.หมวดงานอื่น ๆ ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุง ซ่อมแซมคิดเป็นร้อยละ 3.17 และบ้านประเภทบ้านเดี่ยวรวมค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมจะคิดเป็นร้อยละ 10.91 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด แบ่งเป็น 1.หมวดงานสถาปัตยกรรม ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมคิดเป็นร้อยละ 93.31 2.หมวดงานระบบ ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมคิดเป็นร้อยละ 4.51 และ 3.หมวดงานอื่น ๆ ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมคิดเป็นร้อยละ 2.18 สำหรับการปรับปรุงเพื่ออยู่อาศัยจริงอาจมีรายละเอียดที่ผู้ซื้อทรัพย์จะต้องเปลี่ยนหรือทำการปรับปรุงมากขึ้น เพื่อให้สามารถอยู่อาศัยได้ตามลักษณะครอบครัวจริง พบว่าการปรับปรุงเพื่อการอยู่อาศัยนั้นอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเพิ่มขึ้นของบ้านประเภททาวน์เฮาส์คิดเป็นร้อยละ 13.59 และบ้านเดี่ยวคิดเป็นร้อยละ 16.30 ของราคาทรัพย์ โดยอัตราที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่เป็นปัญหาการทรุดตัวของสภาพบ้าน เช่น บริเวณโรงรถ และพื้นที่ต่อเติมครัว รวมถึงการปรับเปลี่ยนระบบไฟฟ้าแสงสว่าง เพื่อให้ได้ตำแหน่งตรงตามการใช้งาน


การติดตามการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยของผู้ที่ย้ายจากพื้นที่ชุมชนใต้สะพานโซน 1 กรณีศึกษา ชุมชนประชาอุทิศ 76, สุฎฑรียา มากเกตุ Jan 2022

การติดตามการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยของผู้ที่ย้ายจากพื้นที่ชุมชนใต้สะพานโซน 1 กรณีศึกษา ชุมชนประชาอุทิศ 76, สุฎฑรียา มากเกตุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนประชาอุทิศ 76 เป็น 1 ใน 3 ชุมชนที่ถูกรื้อย้ายมาจากบ้านใต้สะพานในปี 2544 ปัจจุบันผ่านการรื้อย้ายจากใต้สะพานมาสร้างบ้านในชุมชนแห่งใหม่นานกว่า 20 ปี ผู้วิจัยจึงสนใจจะศึกษาการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยของชาวชุมชน ทั้งที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง และ เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผลการศึกษาพบว่า ที่อยู่อาศัยในชุมชนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 1) ที่อยู่อาศัยที่มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง 2) ที่อยู่อาศัยที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงด้วยการช่วยเหลือของหน่วยงานภาคเอกชน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเองมี 3 ลักษณะ คือ 1) ที่อยู่อาศัยที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น เพราะปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนคือผู้ที่อยู่อาศัยมีอาชีพที่มีเงินเดือนประจำ และในครัวเรือนมีผู้ที่มีรายได้มากกว่า 1 คน 2) ที่อยู่อาศัยที่มีสภาพคงเดิม เพราะสมาชิกในครัวเรือนมีรายได้เพียงพอต่อการใช้จ่ายและสมาชิกสามารถดูแลปรับปรุงที่อยู่อาศัยเองได้ 3) ที่อยู่อาศัยที่เสื่อมโทรมตามสภาพ เพราะผู้ที่อยู่อาศัยมีรายได้ที่ไม่แน่นอน จำนวนสมาชิกในครัวเรือนมีจำนวนมากและไม่ได้ประกอบอาชีพ ส่วนที่อยู่อาศัยที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงด้วยการช่วยเหลือของหน่วยงานภาคเอกชน เนื่องจากรายได้ของครัวเรือนที่ไม่แน่นอนและสมาชิกไม่มีความสามารถในการปรับปรุงที่อยู่อาศัย ทำให้ต้องขอรับความช่วยเหลือจากภายนอก ซึ่งความช่วยเหลือเป็นแบบที่ผู้ที่อยู่อาศัยไม่มีส่วนร่วมในการก่อสร้าง จึงสมควรที่จะมีสถาปนิกชุมชนมาให้คำแนะนำในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อให้เกิดการใช้วัสดุก่อสร้างอย่างเหมาะสม ไม่เกิดเป็นปัญหาการใช้วัสดุก่อสร้างผิดประเภทหรือปัญหาในการอยู่อาศัยตามมาภายหลัง จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าปัจจัยและสาเหตุของการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยในชุมชนประชาอุทิศ 76 คือ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ต้องมีการวางแผนแนวทางการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม เพื่อให้ชาวชุมชนได้รับคำแนะนำในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย และการจัดการวัสดุที่นำมาใช้ก่อสร้างอย่างถูกวิธี ซึ่งการพัฒนาชุมชนมีความจำเป็นต้องมีการติดตามและปฏิบัติอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงชุมชนให้เข้ากับสภาวะปัญหาและสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลาช่วยให้ชุมชนมีการพัฒนาที่ยั่งยืนเหมาะสม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยให้ดีขึ้น


ความสัมพันธ์ระหว่างภูมินิเวศแม่น้ำกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์: กรณีศึกษา แม่น้ำยมกับเมืองแพร่, ณัฐพงศ์ สิริสมพรคง Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างภูมินิเวศแม่น้ำกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์: กรณีศึกษา แม่น้ำยมกับเมืองแพร่, ณัฐพงศ์ สิริสมพรคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แม่น้ำเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภูมิประเทศรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงให้ทรัพยากรแก่มนุษย์ นอกจากปัจจัยด้านทรัพยากรแล้ว ในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยังต้องคำนึงถึงเงื่อนไขจากผลกระทบของกระบวนการของแม่น้ำด้วย เช่น การหลากของน้ำตามฤดูกาลที่ทำให้เกิดที่ราบน้ำท่วมถึงและลานตะพักลำน้ำ ซึ่งเป็นรูปแบบทางธรณีสัณฐานที่มีคุณประโยชน์หลายด้าน โดยลานตะพักลำน้ำในที่ราบลุ่มหรือแอ่ง เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐาน เนื่องจากสามารถเข้าถึงแม่น้ำได้สะดวก และพื้นที่มีระดับสูงทำให้ได้รับผลกระทบจากน้ำหลากน้อย วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขอบเขตภูมินิเวศแม่น้ำและความสัมพันธ์ระหว่างการตั้งถิ่นฐานของเมืองแพร่กับแม่น้ำยม โดยอาศัยพื้นฐานจากกรอบแนวคิดภูมินิเวศวิทยาและภูมินิเวศแม่น้ำ ใช้การวิเคราะห์ในเชิงพื้นที่ด้วยรูปตัดภูมิประเทศจากแบบจำลองความสูงเชิงเลข และข้อมูลธรณีวิทยา รวมถึงสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสิ่งปกคลุมดินจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า เมืองแพร่ตั้งอยู่บนลานตะพักแม่น้ำยมชิดกับแนวเขตที่ราบน้ำท่วมถึง เป็นการตั้งถิ่นฐานที่อยู่บนเงื่อนไขของปัจจัยเชิงนิเวศ แต่ในปัจจุบันเมืองแพร่มีการขยายตัวมากขึ้นจนขยายเข้าสู่พื้นที่แนวแม่น้ำยม และมีการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยในที่ราบน้ำท่วมถึงอีกด้วย ความรู้ความเข้าใจที่ได้จากการศึกษานี้จึงจะเป็นพื้นฐานสำหรับการวางแผนการจัดการภูมินิเวศให้สอดคล้องกับปัจจัยทางภูมินิเวศของภูมินิเวศแม่น้ำ และการอยู่ร่วมกับแม่น้ำในอนาคต


รูปแบบและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับการชลประทานของเมืองโบราณในประเทศไทย : กรณีศึกษาเมืองสุโขทัยและเมืองเชียงใหม่, ปุญชรัสมิ์ เอี่ยมประเสริฐกุล Jan 2022

รูปแบบและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับการชลประทานของเมืองโบราณในประเทศไทย : กรณีศึกษาเมืองสุโขทัยและเมืองเชียงใหม่, ปุญชรัสมิ์ เอี่ยมประเสริฐกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบชลประทานโบราณเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่สำคัญประเภทหนึ่ง มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เพื่อการอุปโภคบริโภคและเกษตรกรรม อีกทั้งยังส่งเสริมทัศนียภาพและสภาพแวดล้อมให้แก่เมือง เมื่อเมืองถูกพัฒนาโดยขาดการคำนึงถึงระบบชลประทานโบราณ นำไปสู่การเกิดปัญหา เช่น น้ำท่วม น้ำแล้งและน้ำเน่าเสีย เป็นต้น วิทยานิพนธ์นี้ศึกษารูปแบบและการเปลี่ยนแปลงระบบชลประทานโบราณของเมืองสุโขทัยและเมืองเชียงใหม่ โดยใช้วิธีศึกษาจากการค้นคว้าเอกสารวิชาการ ศึกษาภาพถ่ายทางอากาศจากอดีตจนถึงปัจจุบัน การสัมภาษณ์นักวิชาการที่สามารถให้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ การสำรวจพื้นที่ศึกษาเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นำข้อมูลทั้งหมดมาเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง และสรุปผลการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ระบบชลประทานโบราณเกิดจากความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงลักษณะภูมิศาสตร์และทำเลที่ตั้งของเมือง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อภูมิทัศน์วัฒนธรรมและระบบนิเวศเมือง รวมทั้งทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ


การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนน ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ จากการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า(ทีโอดี) : กรณีศึกษาสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน, พีระพงศ์ เวชส่งเสริม Jan 2022

การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนน ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ จากการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า(ทีโอดี) : กรณีศึกษาสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน, พีระพงศ์ เวชส่งเสริม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภูมิทัศน์ถนน (Street Scape) เป็นคุณลักษณะทางกายภาพสำคัญที่แสดงเอกลักษณ์ของเมืองๆนั้น ให้ผู้คนได้เข้าใจสภาพความเป็นอยู่ ตลอดจนวิถีชีวิต วัฒนธรรมที่สอดคล้องกันกับผู้อาศัยในเมืองนั้นๆ ซึ่งแต่เดิมสยามประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็น นครเวนิสตะวันออก ที่ใช้เรือเป็นพาหนะขนส่งหลัก แต่หลังจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring Treaty) ในปี พ.ศ. 2399 ถนนเริ่มมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยมีองค์ประกอบภูมิทัศน์ถนนที่สำคัญ ได้แก่ อาคารทางประวัติศาสตร์ ต้นไม้ ทางเท้า ที่ว่าง กิจกรรมของชุมชน ฯลฯ เมื่อเวลาผ่านไปความเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ถนนในย่านเมืองเก่า ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยของกฎระเบียบภายในพื้นที่เมืองเก่า ปรากฎการณ์ของเจนตริฟิเคชัน (gentrification) รวมทั้งการมาถึงของโครงการรถไฟฟ้า ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค ที่ใช้แนวคิดการพัฒนาเมืองโดยอาศัยสถานีรถไฟฟ้าเป็นจุดศูนย์กลาง คือโครงการการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าหรือทีโอดี (Transit Oriented Development : TOD) มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่ช่วยให้คนหันมาใช้รถน้อยลงในการเดินทาง เพิ่มการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ส่งเสริมการเดินและใช้จักรยาน จากการศึกษาพื้นที่โดยรอบสามสถานีรถไฟฟ้า ได้แก่ สนามไชย สามยอด และวัดมังกร พบรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนน แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนนในทางกายภาพอย่างเดียว 2) การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม และ 3) การเปลี่ยนแปลงพื้นที่เชิงโครงสร้างให้กลายเป็นอาคารสถานีรถไฟฟ้าและอาคารระบายอากาศ (IVS: intervention station) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบหลักๆ ได้แก่ ปัจจัยข้อกำหนดต่างๆในเกาะรัตนโกสินทร์ และปัจจัยจากสถานีรถไฟฟ้าและทีโอดี โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนนที่มีผลมาจากปัจจัยเจนตริฟิเคชัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพทั้งรูปแบบอาคาร ที่มีผลมาจากการก่อสร้างบนพื้นที่เดิม และกิจกรรมภายในพื้นที่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนน ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบอาคาร ที่ว่าง และกิจกรรม


Process And Stakeholder Relations In The Development Of City Festival To Stimulate The Creative Economy : The Case Study Of Chiang Mai Blooms, Atikarn Arunchot Jan 2022

Process And Stakeholder Relations In The Development Of City Festival To Stimulate The Creative Economy : The Case Study Of Chiang Mai Blooms, Atikarn Arunchot

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Festivals relate to the creative economy in diverse ways, in which collaboration and relationships of stakeholders in the festival development process are significant factors that lead to positive impact of the festival. The aims of this paper are to examine the development process of the Chiang Mai Blooms as a city festival, the relationship of the stakeholders involved in the festival to promote the creative economy, and the factors promoting collaboration among festival stakeholders to drive the creative economy. The qualitative data was collected by conducting interviews and using questionnaires, and the secondary data was gathered from the related news …


พฤติกรรมการอยู่อาศัย และรูปแบบที่อยู่อาศัยที่พึงประสงค์ของกลุ่มชายรักชาย กรณีศึกษา กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง, เจษฎา พิมพ์สวัสดิ์ Jan 2021

พฤติกรรมการอยู่อาศัย และรูปแบบที่อยู่อาศัยที่พึงประสงค์ของกลุ่มชายรักชาย กรณีศึกษา กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง, เจษฎา พิมพ์สวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กลุ่มชายรักชายเป็นหนึ่งในกลุ่มของผู้มีความหลากหลายทางเพศที่มีรายได้ค่อนข้างสูง มีรสนิยมการบริโภคค่อนข้างชัดเจนอีกทั้งมีสถานที่และกิจกรรมเฉพาะให้ไปเลือกใช้ โดยการเข้าถึงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศในปัจจุบันสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นกว่าในอดีต ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาลักษณะเรื่องที่อยู่อาศัยที่พึงประสงค์สำหรับกลุ่มชายรักชายที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงโดยมีความสัมพันธ์ระหว่างที่อยู่อาศัย สิ่งอำนวยความสะดวกกับที่ตั้งของแหล่งงาน และศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยของกลุ่มชายรักชายในที่อยู่อาศัยปัจจุบันจนรวมไปถึงความคิดเห็นต่อรูปแบบการจัดให้มีที่อยู่อาศัยเฉพาะกลุ่มชายรักชายในอนาคต ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มชายรักชายที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงนั้นจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มโดยกลุ่มแรกจะเป็นผู้ที่มีรายได้อยู่ระหว่าง 50,000 บาทถึง 100,000 บาท ส่วนใหญ่อยู่อาศัยรอบนอกเมืองรูปแบบเป็นคอนโดมิเนียมและคนกลุ่มนี้มักจะใช้รถยนต์ในการเดินทาง กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 100,001 บาทขึ้นไป ลักษณะการอยู่อาศัยอยู่ในเขตศูนย์กลางธุรกิจ รูปแบบเป็นคอนโดมิเนียมแต่มีพื้นที่ขนาดใหญ่กว่ากลุ่มแรกและมีการเดินทางโดยรถไฟฟ้า หรือส่วนที่อยู่นอกเมืองจะมีรูปแบบเป็นบ้านพักอาศัยแนวราบที่มีขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน ซึ่งโดยปกติกลุ่มคนทั่วไปจะสนใจเลือกที่อยู่อาศัยให้สัมพันธ์กับแหล่งงานแต่กลุ่มชายรักชายจะให้ความสำคัญกับการเข้าถึงพื้นที่สังสรรค์ควบคู่ไปด้วย ลักษณะที่กลุ่มนี้แตกต่างจากกลุ่มอื่นคือการเข้าถึงพื้นที่ที่เกิดความสบายใจในกลุ่มเพศของตนในย่านที่เข้าถึงจะมีกิจกรรม ร้านค้าและร้านอาหารเฉพาะและลักษณะการตกแต่งที่อยู่อาศัยของคนกลุ่มนี้จะมีลักษณะการใช้แสงไฟและสีเพื่อให้เกิดดึงดูดและสร้างความประทับใจให้กับแขกหรือบุคคลอื่นๆเมื่อเข้ามาในที่พักอาศัยให้รู้สึกตื่นเต้น ดังนั้นกลุ่มชายรักชายมีความต้องการความเป็นส่วนตัวในการทำกิจกรรมต่างๆจึงมีการคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญรวมไปถึงความเชื่อมั่นต่อการบริหารงานของนิติบุคคล ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีชุมชนเฉพาะกลุ่มของชายรักชายมีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย


ความเป็นศูนย์กลางที่มีชีวิตของพื้นที่ย่านเมืองเก่าภูเก็ต, ธนวัฒน์ นาคะสรรค์ Jan 2021

ความเป็นศูนย์กลางที่มีชีวิตของพื้นที่ย่านเมืองเก่าภูเก็ต, ธนวัฒน์ นาคะสรรค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พื้นที่ย่านเมืองเก่าภูเก็ตในปัจจุบันถูกส่งเสริมการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทำให้เกิดกิจกรรมเชิงพาณิชยกรรมในพื้นที่ย่านเมืองเก่าภูเก็ตเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนลักษณะของการใช้พื้นที่เมืองที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นเมืองท่าค้าขายแลกเปลี่ยนแร่ดีบุกในอดีต ที่เคยมีลักษณะของความเป็นพื้นที่ศูนย์กลางที่มีชีวิตอันเนื่องมาจากการใช้งานอาคารตึกแถวผสมผสานกิจกรรมพาณิชยกรรมและพักอาศัยอยู่ด้วยกัน ทำให้เกิดการใช้งานที่หลากหลาย ร่วมกับลักษณะความถี่ของโครงข่ายการสัญจรที่หนาแน่นในพื้นที่ย่านขนาดเล็กจากลักษณะพิเศษของสถาปัตยกรรมตึกแถว คือ โครงข่ายทางเท้าในร่มหน้าอาคาร หรือ หง่อคาขี่ จนทำให้มีลักษณะของสัณฐานที่ดึงดูด (configurational attractor) วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษารูปแบบเชิงพื้นที่ของย่านเมืองเก่าภูเก็ตด้วยการวิเคราะห์โครงข่ายพื้นที่สาธารณะผ่านช่วงเวลาก่อตั้งจนถึงในปัจจุบัน เพื่อให้เข้าใจถึงการที่มาและการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ย่านเมืองเก่าภูเก็ตและนำเป็นข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ย่านเมืองเก่าในเชิงการใช้พื้นที่สาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ ผลของการศึกษาพบว่า พื้นที่ย่านเมืองเก่าในเขตพื้นที่ศูนย์กลาง มีศักยภาพในการเข้าถึงและมองเห็นได้ดีในยุคตั้งถิ่นฐาน แล้วลดลงในยุคที่เกิดความซบเซากับพื้นที่ย่านจากหลายปัจจัยส่งผลให้โครงข่ายหง่อคาขี่ปิดตัวลง แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาปัจจุบันเนื่องจากการเริ่มกลับมาอนุรักษ์โครงข่ายหง่อคาขี่อีกครั้ง ปัจจัยสำคัญคือการเกิดพื้นที่ทางในขึ้นในพื้นที่เมืองที่ขยายออกไป สรุปได้ว่าพื้นที่ย่านเมืองเก่าภูเก็ตในปัจจุบันแม้จะกลับมามีศักยภาพมากขึ้นกว่าช่วงที่ซบเซา แต่ขอบเขตศูนย์กลางพื้นที่ย่านที่เกิดการส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่สาธารณะและการอนุรักษ์เอกลักษณ์ของพื้นที่เมืองเก่าภูเก็ตไม่ได้ถูกเชื่อมโยงกับพื้นที่เมืองขยายโดยรอบเท่าที่ควร