Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Environmental Design

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2017

Articles 31 - 45 of 45

Full-Text Articles in Architecture

การอนุรักษ์โถงโรงภาพยนตร์สกาล่า, สิรินดา มธุรสสุคนธ์ Jan 2017

การอนุรักษ์โถงโรงภาพยนตร์สกาล่า, สิรินดา มธุรสสุคนธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงภาพยนตร์สกาล่าสร้างขึ้นในยุครุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของไทยในช่วงปีพ.ศ.2505-2515 ตั้งอยู่บนพื้นที่ศูนย์การค้าสยามสแควร์ ด้วยองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่ชัดเจนทางกายภาพและโครงสร้างฝ้าโค้งที่โดดเด่นของโถงโรงภาพยนตร์ ทำให้กลายเป็นจึงเป็นพื้นที่ที่เป็นภาพจำ แต่ด้วยความนิยมที่ลดลง ประกอบกับพื้นที่ตั้งที่มีแนวโน้มจะเกิดการพัฒนาในอนาคต จึงเกิดประเด็นวิพากษ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์โรงภาพยนตร์แห่งนี้ไว้ วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเฉพาะในส่วนของโถงโรงภาพยนตร์สกาล่าและนำเสนอทางเลือกในการอนุรักษ์โถงโรงภาพยนตร์ในมุมมองเชิงความเป็นไปได้ทางการก่อสร้าง เพื่อรองรับการพัฒนาที่อาจจะเกิดขึ้น ผ่านระเบียบวิธีการศึกษาโดยเริ่มต้นจากการศึกษาจากแบบสถาปัตยกรรม บทความ ภาพถ่าย การสัมภาษณ์และการสำรวจพื้นที่จริงเพื่อนำไปวิเคราะห์รูปแบบสถาปัตยกรรม และจัดกลุ่มองค์ประกอบที่สำคัญ จากการศึกษาในเบื้องต้นนั้นถูกใช้เป็นแนวทางในการสร้างทางเลือกของการอนุรักษ์ร่วมกับทฤษฎี และหลักการการอนุรักษ์ ภายใต้เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ ความมั่นคงทางโครงสร้าง และความสำคัญขององค์ประกอบได้เป็นทางเลือกในการอนุรักษ์ 5 ระดับ ได้แก่การอนุรักษ์องค์ประกอบทั้งหมดไปจนถึงการรื้อย้ายองค์ประกอบทั้งหมดไปอนุรักษ์บนพื้นที่อื่น นอกจากนั้นเมื่อนำทางเลือกการอนุรักษ์มาแจกแจงจะพบความแตกต่างและซับซ้อนภายใต้ความสัมพันธ์ของการเพิ่มจำนวนองค์ประกอบที่เก็บรักษาไว้บนพื้นที่ โดยประเมินได้เป็นระดับความยาก-ง่ายในการทำงาน จากที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการรื้อถอนเป็นอีกหนึ่งขึ้นตอนที่มีบทบาทกับการอนุรักษ์ในวิทยานิพนธ์เล่มนี้อีกประเด็นหนึ่ง อีกทั้งยังนำเสนอการจำลองแนวทางการรื้อถอนในงานอนุรักษ์ตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ในการอนุรักษ์ไปจนถึงการรื้อย้ายองค์ประกอบทั้งหมดออกจากพื้นที่โดยใช้องค์ความรู้จากการศึกษาเกี่ยวกับการรื้อถอน และคำแนะนำจากวิศวกรประกอบด้วย ผลลัพธ์จากการศึกษาในครั้งนี้ถือเป็นการเริ่มต้นในการสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับโรงภาพยนตร์สกาล่า และทำให้เห็นภาพรวมของทางเลือกการของการอนุรักษ์ ผ่านการประเมินคุณค่าและความสำคัญในการอนุรักษ์ และเกิดเป็นข้อสังเกต ข้อควรระวัง ซึ่งสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจเลือกแนวทางการอนุรักษ์และปรับปรุงพื้นที่โรงภาพยนตร์สกาล่าได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนการสร้างแนวทางการอนุรักษ์ของสถาปัตยกรรมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก รูปแบบสมัยใหม่ในประเทศไทยให้เกิดแนวทางการอนุรักษ์ที่มีมาตรฐาน


สภาพกายภาพสถานที่ทำงาน กับความพึงพอใจผู้ใช้งานบทเรียนจากกรณีศึกษา สำนักงานสภากาชาดไทย, สุจิตรา พิมพิสุทธิ์ Jan 2017

สภาพกายภาพสถานที่ทำงาน กับความพึงพอใจผู้ใช้งานบทเรียนจากกรณีศึกษา สำนักงานสภากาชาดไทย, สุจิตรา พิมพิสุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงประจักษ์เกี่ยวกับสภาพกายภาพสถานที่ทำงาน กับความพึงพอใจผู้ใช้งาน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้งานพื้นที่ทำงาน ความพึงพอใจในการใช้งานพื้นที่ทำงาน ความสัมพันธ์ของขนาดพื้นที่และความพึงพอใจในการใช้พื้นที่ทำงาน ในสำนักงานของสภากาชาดไทย โดยการเข้าสำรวจพื้นที่ทำงาน สังเกตการใช้งานพื้นที่ทำงานบุคคล วัดขนาดพื้นที่ทำงาน และเขียนลงแบบผังพื้น โดยศึกษาพื้นที่ในสำนักงานของสภากาชาดไทยทั้ง 18 หน่วยงาน และส่งแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานพื้นที่ทำงาน จากผลการศึกษาพบว่า มีการใช้งานพื้นที่ทำงานในสำนักงาน 23 พื้นที่ทำงาน แบ่งเป็น 2 ลักษณะพื้นที่ คือ พื้นที่ทำงานที่ปรับปรุงแล้ว พบ 12 พื้นที่ทำงาน มีระดับความพึงพอใจสูงเรื่อง 1.) การเข้าถึงพื้นที่มีความสะดวกง่ายต่อการติดต่อประสานงาน 2.) การจัดพื้นที่ทำงานมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โปร่งโล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก แสงสว่างเพียงพอ 3.) มีความปลอดภัยในการใช้งานพื้นที่ ไม่มีสิ่งกีดขวางทางเดิน และพื้นที่ทำงานที่ยังไม่ได้ปรับปรุง พบ 11 พื้นที่ทำงาน มีระดับความพึงพอใจต่ำเรื่อง 1.) การจัดพื้นที่ทำงานมีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม พื้นที่มีความหนาแน่น ระบายอากาศได้ไม่ดี 2.) ไม่มีความปลอดภัยในการใช้งานพื้นที่ มีสิ่งกีดขวางทางเดิน มีสายไฟไม่เรียบร้อย และพบทั้ง 2 ลักษณะพื้นที่มีปัญหาและความต้องการที่เหมือนกันเรื่อง 1.) การเข้าถึงพื้นที่ หน่วยงานที่มีพื้นที่ทำงานมากกว่าหนึ่งพื้นที่ทำงานอยู่ต่างชั้นต่างอาคาร ทำให้เกิดความไม่สะดวกคล่องตัวในการติดต่อประสานงานภายในหน่วยงาน ส่งผลให้ใช้ระยะทางและเวลาในการทำงานเพิ่มมากขึ้น 2.) อุปกรณ์สำนักงานไม่เพียงพอต่อความต้องการตามปริมาณงาน และบุคลากรที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะที่เก็บเอกสาร และเครื่องใช้สำนักงาน เช่น เครื่องปริ้นเตอร์ เป็นต้น และพบการจัดพื้นที่ทำงานบุคคลในสำนักงาน มีทั้งหมด 8 รูปแบบ จากการศึกษาจึงสรุปได้ว่าความพึงพอใจในการใช้พื้นที่ทำงานในสำนักงาน เกี่ยวข้องกับ เรื่อง 1.) การเข้าถึงพื้นที่ทำงานที่มีความสะดวกในการติดต่อประสานงานภายในหน่วยงาน พื้นที่ที่เชื่อมถึงกัน ระยะทางเดินไม่ไกล ไม่แยกชั้นหรือแยกอาคาร 2.) การจัดพื้นที่ที่มีความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม โปร่งโล่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีอุณหภูมิเหมาะสมและแสงสว่างทั่วถึง 3.) มีความปลอดภัยในการใช้พื้นที่ ไม่มีสิ่งของกีดขวางทางเดิน การเดินสายไฟเรียบร้อย ไม่มีสิ่งของที่ชำรุดเสียหายหรือเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน 4.) อุปกรณ์สำนักงานเพียงพอต่อความต้องการตามปริมาณงาน และจำนวนบุคลากร การบริหารจัดการพื้นที่ทำงาน เพื่อทำให้เกิดความคล่องตัว มีสภาพแวดล้อมที่ดี และเหมาะสมต่อการทำงาน มีผลทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างงาน (Work) คน (People) และสถานที่ …


การใช้น้ำประปาและการคาดการณ์การใช้น้ำของโรงแรมในกรุงเทพมหานคร, สุภารัตน์ พิลางาม Jan 2017

การใช้น้ำประปาและการคาดการณ์การใช้น้ำของโรงแรมในกรุงเทพมหานคร, สุภารัตน์ พิลางาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กรุงเทพมหานครเป็นเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจและยังเป็นเมืองอันดับหนึ่งที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว ทำให้ธุรกิจโรงแรมในกรุงเทพฯขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นผลให้ความต้องการใช้น้ำประปาในโรงแรมมากขึ้น จุดประสงค์ของการทำวิจัยนี้เพื่อศึกษาปริมาณการใช้น้ำของโรงแรมในกรุงเทพฯ โดยเก็บข้อมูลอาคารตัวอย่าง 34 แห่ง การศึกษาแบ่งชุดข้อมูลออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการใช้น้ำในโรงแรมจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง และส่วนที่สองเป็นข้อมูลปริมาณการใช้น้ำปี พ.ศ.2558 ของกลุ่มตัวอย่างจากการประปานครหลวง ผลการศึกษาพบว่าปริมาณการใช้น้ำของโรงแรมในกรุงเทพฯ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1,210 ลิตร/ห้องพัก/วัน ในการสร้างแบบจำลองเพื่อคาดการณ์การใช้น้ำประปา ได้ใช้วิธีวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยคัดเลือกตัวแปรแบบขั้นตอนได้สมการคือ 26.01 (จำนวนห้องที่ขายได้) + 0.07 (พื้นที่ใช้สอยของอาคาร) + 1,593.49 (ระดับดาว) - 6,239.41 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันของสมการคือ 0.92 เมื่อนำสมการมาทำการทดสอบความแม่นยำพบว่ามีค่าความคลาดเคลื่อน 3.73% สามารถนำไปวิเคราะห์ค่าการใช้น้ำในอนาคต ในการพยากรณ์การใช้น้ำในอนาคตเป็นการช่วยจัดสรรน้ำในอาคาร เป็นแนวทางให้ผู้ออกแบบโรงแรมในกรุงเทพฯ มีเข้าใจในระบบการจัดการน้ำใช้เพื่อช่วยประหยัดน้ำในอาคารได้


แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอาคารมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุรชาติ ยาวิราช Jan 2017

แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอาคารมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุรชาติ ยาวิราช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและแนวทางการลดจากการใช้งานอาคารมหาวิทยาลัยที่ประกอบด้วยกิจกรรมขอบเขตที่ 1 เช่นการเผาไหม้เชื้อเพลิงของเครื่องจักรในอาคาร ขอบเขตที่ 2 หรือการใช้ไฟฟ้าที่ซื้อมา และขอบเขตที่ 3 เช่นการซื้อสินค้า โดยเป็นข้อมูลของปีพ.ศ. 2559 การศึกษาใช้การดำเนินการแบบ Process-analysis (PA) ด้วยวิธีการคำนวณโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยหรือดูดกลับ (Emission Factor) ที่ยึดตามเกณฑ์ของ TGO, IPCC และ U.S. EPA เป็นหลัก สำหรับอาคารที่ใช้ในการศึกษานั้นเลือกอาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ อาคารจามจุรี 5 และหอพักชวนชมเป็นตัวแทนของประเภทอาคารเรียน อาคารสำนักงาน และอาคารพักอาศัยตามลำดับ การศึกษาแนวทางการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกใช้การคำนวณด้วยเครื่องมือโปรแกรมและจากการศึกษางานวิจัยหรือโครงการที่เกี่ยวข้องในแหล่งกิจกรรมที่มีระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก จากการศึกษาอาคารตัวอย่างพบว่า หอพักชวนชมเป็นอาคารที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดสูงที่สุดในปีพ.ศ. 2559 มีปริมาณเท่ากับ 5,748.43 t CO2e กิจกรรมขอบเขต ที่ 2 หรือการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ซื้อมามีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากสุดในทั้งสามอาคารเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 62 ของทั้งหมด รองลงมาเป็นการบำบัดน้ำเสียที่องค์กรเป็นผู้ดำเนินการ และการเดินทางไปกลับระหว่างองค์กรและที่พักอาศัยของบุคลากร การปรับปรุงที่ควรทำเป็นอย่างแรกคือการปรับปรุงการบำบัดน้ำเสียเนื่องจากใช้การลงทุนที่น้อยแต่มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงสูงที่ทำให้อาคารหอพักชวนชมมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงผ่านเป้าหมายในการลดลงร้อยละ 20 ของทั้งหมดได้ การปรับปรุงการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นแนวทางที่ทำให้เกิดการลดมากที่สุดที่ทำให้อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และอาคารจามจุรี 5 ผ่านเป้าหมาย อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และหอพักชวนชมมีศักยภาพเพียงพอในการลดลงมากกว่าร้อยละ 25 ของทั้งหมดที่เป็นเป้าหมายสูงสุดตามนโยบายของรัฐบาลที่ตั้งไว้ในข้อตกลงปารีส


แนวทางการพัฒนาแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Bim) เพื่อคำนวณค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคาร (Ottv) ในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น, อภิเกียรติ เจริญสุทธิโยธิน Jan 2017

แนวทางการพัฒนาแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Bim) เพื่อคำนวณค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคาร (Ottv) ในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น, อภิเกียรติ เจริญสุทธิโยธิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2550 ได้มีหลักเกณฑ์การคำนวณค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคารในส่วนที่มีการปรับอากาศ (OTTV) ซึ่งการคำนวณค่า OTTV ในปัจจุบันสามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น เป็นการคำนวณด้วยมือ หรือโปรแกรม BEC V.1.0.6 อย่างไรก็ตามพบว่า โปรแกรมที่ใช้ในปัจจุบันจะรับข้อมูลปริมาณมากจากผู้ออกแบบและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ทำให้เกิดความผิดพลาดในการใส่ข้อมูล จึงนำไปสู่การพัฒนาชุดคำสั่งในโปรแกรม Autodesk Revit ร่วมกับส่วนเสริม Dynamo เพื่อใช้ในการสร้างคำสั่งที่สามารถควบคุม เรียกข้อมูล และคำนวณทางคณิตศาสตร์ จนทำเกิดให้เป็นผลลัพธ์ของสมการ OTTV ที่เป็นไปตามประกาศกระทรวงพลังงาน ผลลัพธ์ที่ได้คือ ส่วนเสริมของโปรแกรมที่ใช้ประมาณการค่า OTTV ในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น ซึ่งเมื่อผู้ใช้งานมีการปรับเปลี่ยนการออกแบบ ค่าที่ได้จะเปลี่ยนแบบอัตโนมัติ รวมไปถึงมีการแสดงผลในรูปแบบต่าง ๆ และการแนะนำการปรับปรุงอาคาร จึงทำให้ลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนลงจากการเปรียบเทียบผลการคำนวณด้วยส่วนเสริม Dynamo กับโปรแกรม BEC V.1.0.6 พบว่าการประมาณการค่า OTTV มีความคลาดเคลื่อนประมาณ ±1% สำหรับผนังทึบและผนังโปร่งแสงที่ไม่มีการใช้อุปกรณ์บังแดด สาเหตุเนื่องมาจากลักษณะการประมาณค่าเชิงเส้นตรงที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความแตกต่างของผลลัพธ์ที่ได้ และผนังโปร่งแสงที่มีการใช้อุปกรณ์บังแดดรวมด้วย จะมีความคลาดเคลื่อนประมาณ ±3% เนื่องจากพบว่าการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดของอุปกรณ์บังแดดจากเครื่องมือที่ได้พัฒนา ที่อ้างอิงจากประกาศกระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2552 ขาดการคิดให้อุปกรณ์บังแดดบังการรังสีกระจายของดวงอาทิตย์จากท้องฟ้า จึงทำให้เมื่อเปรียบเทียบผลการคำนวณของเครื่องมือที่พัฒนากับโปรแกรม BEC จึงทำให้มีผลการคำนวณที่สูงกว่า


เส้นทางอพยพหนีภัยหอผู้ป่วยใน กรณีอาคารสูงในโรงพยาบาลของรัฐ, อลิสา ขจรสิริฤกษ์ Jan 2017

เส้นทางอพยพหนีภัยหอผู้ป่วยใน กรณีอาคารสูงในโรงพยาบาลของรัฐ, อลิสา ขจรสิริฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หอผู้ป่วยใน กรณีอาคารสูงในโรงพยาบาลของรัฐเป็นอาคารสาธารณะที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายหากเกิดเหตุอัคคีภัย เนื่องจากอาคารมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากและอยู่ในอาคารเป็นระยะเวลานาน ประกอบด้วยผู้ที่มีความสามารถในการช่วยเหลือตนเองหลายระดับ ทั้งผู้ที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ปกติ จนถึงผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย นอกจากนี้ปัจจุบันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางอพยพหนีภัยเป็นเพียงมาตรฐานขั้นต้นที่ครอบคลุมลักษณะอาคารทั่วไปเท่านั้น ทำให้ไม่มีความสอดคล้องกับประเภทและลักษณะเฉพาะของการใช้งานอาคารหอผู้ป่วยในซึ่งมีความแตกต่างกับอาคารประเภทอื่นๆ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสอดคล้องของกฎหมายกับการออกแบบและใช้งาน สาเหตุและปัญหาในการออกแบบและใช้งานเส้นทางอพยพหนีภัยหอผู้ป่วยใน กรณีอาคารสูงในโรงพยาบาลของรัฐ มีวิธีดำเนินการวิจัยคือ 1)ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับหอผู้ป่วยใน กฎหมาย มาตรฐาน และหลักการเกี่ยวกับการอพยพหนีภัย 2)ศึกษาและวิเคราะห์เส้นทางอพยพหนีภัยจากแบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม จำนวน 23 อาคาร 3)สัมภาษณ์และสำรวจเส้นทางอพยพหนีภัย จำนวน 7 อาคาร โดยสัมภาษณ์ 3 กลุ่ม คือ ผู้ออกแบบ ผู้ใช้งาน และผู้ทรงคุณวุฒิ 4)วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสรุปผลการวิจัยและเสนอแนะ จากการศึกษาพบว่าในการออกแบบเส้นทางอพยพหนีภัย ผู้ออกแบบใช้กฎหมายเป็นมาตรฐานขั้นต้น ซึ่งข้อกำหนดในกฎหมายบางส่วนยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และบางส่วนยังไม่สอดคล้องกับการใช้งานเมื่อมีการซ้อมอพยพหนีภัย โดยผู้ออกแบบได้ออกแบบตามกฎหมายและบางส่วนมีการคำนึงถึงเส้นทางอพยพหนีภัยตามมาตรฐานสากล แต่การออกแบบเส้นทางอพยพหนีภัยยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด เนื่องจากการขาดความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องความปลอดภัย ตลอดจนข้อจำกัดต่างๆที่ส่งผลต่อการออกแบบ ทำให้การออกแบบเส้นทางอพยพหนีภัยที่ครบถ้วนยังไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในแบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมของอาคาร ในการใช้งานเส้นทางอพยพหนีภัย ผู้ใช้งานมีการวางแผนปฏิบัติการระงับอัคคีภัยและการซ้อมอพยพหนีภัย ซึ่งถูกกำหนดตามความเข้าใจของผู้ใช้งาน การใช้งานเส้นทางอพยพหนีภัยในเวลาปกติพบว่าผู้ใช้งานมีการปรับเปลี่ยนการใช้งานบางอย่างที่อาจส่งผลต่อการอพยพหนีภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งเกิดจากการที่ผู้ใช้งานไม่รู้วัตถุประสงค์ของการออกแบบ แต่เมื่อมีการซ้อมอพยพหนีภัยจะมีการจัดเตรียมพื้นที่ก่อนซ้อมอพยพหนีภัย ทำให้เกิดความไม่สอดคล้องกันระหว่างการอพยพหนีภัยหากเกิดเหตุการณ์จริงกับการซ้อมอพยพหนีภัยที่ใช้งานพื้นที่ตามการออกแบบ


โครงหลังคาสำเร็จรูป : โครงถักเหล็กชุบกัลวาไนซ์, เพิ่มวิทย์ เตชะทวีวัฒน์ Jan 2017

โครงหลังคาสำเร็จรูป : โครงถักเหล็กชุบกัลวาไนซ์, เพิ่มวิทย์ เตชะทวีวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เดิมทีนิยมใช้ไม้ทำโครงหลังคาเนื่องจากมีกลสมบัติกำลังรับแรงดัดได้ดี แต่ปัจจุบันไม้มีราคาสูงและไม่ทนทาน จึงใช้เหล็กรูปพรรณแทน แต่เหล็กรูปพรรณมีกลสมบัติรับแรงดัดน้อยกว่าไม้เมื่อเปรียบเทียบด้วยน้ำหนักของวัสดุ จึงจำเป็นต้องเพิ่มค้ำยัน เพื่อให้สามารถใช้เหล็กรูปพรรณที่มีหน้าตัดเล็กลงและส่งผลให้โครงหลังคามีน้ำหนักเบาลงได้ อีกทั้งเหล็กรูปพรรณเกิดสนิมได้ง่าย จึงใช้เหล็กชุบกัลวาไนซ์ที่กันสนิมได้แทน อีกทั้งน้ำหนักเบา ราคาถูก และยังรับแรงดึงและแรงอัดได้มากกว่าจึงทำให้ลดหน้าตัดชิ้นส่วนลงได้ แต่ต้องเปลี่ยนรูปแบบโครงหลังคาเป็นโครงถักเพราะเหล็กชุบกัลวาไนซ์รับแรงดัดได้น้อย เหล็กชุบกัลวาไนซ์จะผลิตจากโรงงานเป็นแผ่นเรียบและม้วนกับแกนเหล็ก สำหรับส่งไปตัดและพับตามรูปแบบที่อีกโรงงานหนึ่ง จากนั้นจะขนส่งชิ้นส่วนเหล็กชุบกัลวาไนซ์ไปยังสถานที่ก่อสร้าง และกองเก็บรอการประกอบโครงหลังคา ในการประกอบโครงถักต้องการพื้นที่ที่เรียบสม่ำเสมอ เมื่อประกอบโครงถักแล้วเสร็จ จะใช้แรงคนยกขึ้นไปติดตั้งจนพร้อมมุงหลังคา จากกรณีศึกษาบ้านเดี่ยว พบปัญหา ที่กองเก็บชิ้นส่วนที่มีจำนวนถึง 119 ชิ้น สำหรับประกอบโครงถัก 6 โครง และยาวเท่ากับขนาดของหลังคามักกีดขวางการทำงานอื่น ทำให้ชิ้นส่วนเกิดกระทบกระแทกและได้รับความเสียหาย อีกทั้งปัจจุบันต้องใช้พื้นที่ถนนเป็นที่ประกอบโครงถัก จึงมักมีปัญหาเนื่องจากถนนเป็นงานลำดับท้ายของโครงการ จึงเสนอแนะให้ใช้โครงถักที่ประกอบจากสถานที่อื่น เป็นโครงถักสำเร็จรูปที่มีความยาวสอดคล้องกับข้อกำหนดการขนส่ง โดยเสนอโครงถักสำเร็จรูป 3 รูปแบบ ได้แก่แบ่งความยาวของโครงถักเดิม 6 โครง ออกเป็นสองส่วน นำไปติดตั้งในลักษณะวางขนานกันเช่นเคย ซึ่งประกอบจากโครงถัก 12 โครง จำนวน 119 ชิ้น อีกรูปแบบหนึ่งแบ่งโครงถักเป็นสองส่วน แต่ติดตั้งในลักษณะวางขนานกันเป็นฟันปลา โดยต้องเพิ่มชิ้นส่วนขึ้นเล็กน้อยสำหรับโครงถัก 12 โครง จำนวน 151 ชิ้น รูปแบบสุดท้ายเปลี่ยนรูปแบบโครงถักใหม่ โดยติดตั้งตามแนวตะเข้สันของหลังคา ซึ่งใช้ชิ้นส่วนสำหรับประกอบเป็นโครงถัก 8 โครง จำนวน 106 ชิ้น จะเห็นได้ว่า การประกอบโครงถักเหล็กชุบกัลวาไนซ์สามารถกระทำได้ที่โรงงาน และขนส่งไปยังสถานที่ก่อสร้างได้ โดยทั้งคงรูปแบบโครงถักเดิม หรือเพิ่มชิ้นส่วนขึ้นเล็กน้อย รวมทั้งออกแบบโครงถักเป็นโครงหลังคาสำเร็จรูปรูปแบบอื่น


ประสิทธิภาพการลดภาระการทำความเย็นภายในอาคารสำนักงาน โดยการใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยบนผิววัสดุ, กิติสรา ปั้นประสม Jan 2017

ประสิทธิภาพการลดภาระการทำความเย็นภายในอาคารสำนักงาน โดยการใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยบนผิววัสดุ, กิติสรา ปั้นประสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพด้านความร้อนของผนังทึบที่มีการติดตั้งแผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยของน้ำบนผิววัสดุ โดยเน้นศึกษาการลดการสะสมความร้อนบนผิววัสดุที่ส่งผลให้เกิดเกาะความร้อนเมือง จากการใช้แผงกันแดดที่มีหน้าที่เป็นอุปกรณ์ป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์มารวมเข้ากับการใช้การระเหยของน้ำเพื่อลดอุณหภูมิบนผิววัสดุที่ใช้ทำแผงกันแดด โดยงานวิจัยนี้ได้เลือกใช้แผงกันแดดดินเผาที่หาซื้อได้ง่ายในประเทศไทย อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำไว้ในเนื้อวัสดุเพื่อนำมาใช้ในการระเหยบนผิววัสดุได้อีกด้วย โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กำหนดให้มีการสร้างกล่องทดลองไปวางในสถานที่จริงและทำการเก็บข้อมูลโดยการวัดค่าอุณหภูมิและนำไปคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนรวม (Ueff) ของผนังอาคารที่มีการใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยน้ำ และแบบแผงกันแดดดินเผาทั่วไป ลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ VisualDOE 4.1 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพด้านพลังงานตลอดทั้งปีของอาคารสำนักงานขนาดกลางที่มีการใช้งานในเวลากลางวัน ผลการศึกษาพบว่า การใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยน้ำบนผิวจะสามารถทำให้อุณหภูมิบนผิววัสดุลดต่ำกว่าแบบแผงกันแดดทั่วไปเฉลี่ยที่ 5.7 องศาเซลเซียส และมีประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิอากาศเมื่ออากาศไหลผ่านแผงดินเผาร่วมกับการระเหยของน้ำเฉลี่ยอยู่ที่ 4.7 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยของน้ำนั้นสามารถลดอุณหภูมิอากาศกึ่งกลางกล่องทดลองได้มากกว่ากล่องที่ไม่มีแผงกันแดดอยู่ที่ 6.6 องศาเซลเซียส ซึ่งส่งผลให้เกิดการประหยัดพลังงานการใช้ไฟฟ้าในอาคารสำนักงานได้ถึง 4.47% ต่อปี และ 4.30% ต่อปีสำหรับพลังงานด้านการทำความเย็นแก่อาคาร


แนวทางการออกแบบการส่องสว่างปราสาทหิน กรณีศึกษา อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย, กิตติ กิจศิริกุล Jan 2017

แนวทางการออกแบบการส่องสว่างปราสาทหิน กรณีศึกษา อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย, กิตติ กิจศิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่การออกแบบการส่องสว่างปราสาทหิน ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย โดยเริ่มต้นจากการทบทวนวรรณกรรม การสำรวจสถานที่จริงและการสัมภาษณ์นักออกแบบการส่องสว่างอาชีพ เพื่อหาข้อพิจารณาในการส่องสว่างโบราณสถาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สำหรับใช้ในการออกแบบ ผลจากการสัมภาษณ์พบว่า ข้อควรพิจารณาในการออกแบบการส่องสว่างโบราณสถาน ได้แก่ ลำดับความสำคัญของสถาปัตยกรรม อุณหภูมิสีของแสง องค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรม และภูมิทัศน์ นอกจากนี้ยังควรคำนึงถึงเทคนิคการติดตั้งดวงโคมที่ไม่ทำให้โบราณสถานเสียหายและไม่ควรเห็นดวงโคมเด่นชัดอีกด้วย หลังจากทำการออกแบบตามขั้นตอนที่พัฒนาจากการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์แล้ว จึงนำภาพผลงานการออกแบบไปสอบถามนักออกแบบการส่องสว่างจำนวน 10 รูปแบบ ด้วยแบบสอบถามประเมินการรับรู้ ด้วยคำคู่ตรงข้าม 5 ด้าน พบว่า ภาพชุดที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในทุกด้าน คือ การส่องสว่างแบบสาดโดยไล่ระดับความสว่างร่วมกับการใช้อุณหภูมิสีของแสงที่ส่งเสริมสีของวัสดุ เน้นให้สถาปัตยกรรมสำคัญโดดเด่นที่สุด และเน้นองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมด้วยแสงสีโทนอุ่น ส่วนภาพชุดที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดในทุกด้าน คือ การส่องสว่างแบบสาดทั่วทั้งโบราณสถานที่ระดับความสว่างต่ำสุด สามารถสรุปเป็นแนวทางการออกแบบการส่องสว่างปราสาทหินได้เป็น 4 ขั้นตอนหลัก คือ 1) การส่องสว่างแบบสาดทั่วทั้งโบราณสถาน โดยระดับความสว่างขึ้นอยู่กับบริบทโดยรอบ 2) การเน้นลำดับความสำคัญของสถาปัตยกรรมหลัก-รองโดยใช้ระดับความส่องสว่างและอุณหภูมิสีที่แตกต่างกัน 3) การส่องเน้นองค์ประกอบย่อยให้ชัดเจนขึ้น และ 4) การส่องสว่างภูมิทัศน์โดยรอบโบราณสถาน


Architectural Design Factors Influencing Pedestrian Flow In Community Malls: A Case Study Of Thong Lo, Nicha Wiboonpote Jan 2017

Architectural Design Factors Influencing Pedestrian Flow In Community Malls: A Case Study Of Thong Lo, Nicha Wiboonpote

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

During the past decade, community malls are in the fastest growing category of Bangkok's retail industry. This growth was due to their building layouts and types of tenants which match urban lifestyles; along with Bangkok zoning restrictions for large shopping centers in residential areas. Today, the number of community malls with three or more floors (mid-rise community malls) is growing, especially in Thong Lo. This is because of the increasing land prices, where investments in community malls with one-two floors are no longer cost-effective. However, mid-rise community malls commonly have the issue of low pedestrian flows on the upper floors, …


Cmu Media Arts And Design Center, Pachara Chantanayingyong Jan 2017

Cmu Media Arts And Design Center, Pachara Chantanayingyong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The development of technological innovations has led to the diversification of art in terms of its form as an instrument to portray artists' ideas and creativity. Focusing on contemporary art in the twenty-first century, electronic and digital media play a dominant role as well as conventional art forms. From an architectural perspective, shifting media and form affect the design framework of art space in the twenty-first century, which requires further study for suitable criteria. In addition, existing art spaces are outnumbered by the sheer quantity of artworks due to continuous artistic production. Several art spaces counteract this problem by expanding …


Revitalizing Tio Chew Chinese Cemetery Through A Design Of An Elderly Center, Khai Sin Lee Jan 2017

Revitalizing Tio Chew Chinese Cemetery Through A Design Of An Elderly Center, Khai Sin Lee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Old cemeteries are often threatened by new urban development, which can result in them being closed, relocated or demolished. This thesis studies Tio Chew Cemetery in Bangkok as an alternative case based on its current unique use as a recreation area. Although without the threats of demolition, several on-site issues, both tangible and intangible, are facing Tio Chew Cemetery. To respond to these issues, a design of an elderly center is proposed to improve and revitalize the cemetery through the understanding of historical importance and contemporary design of new buildings in the old compound. This research applies a mixed methodology …


New Student Union: Reviving The Histories And Memories Of The University Of Yangon, Pale Thitsar Kyaw Jan 2017

New Student Union: Reviving The Histories And Memories Of The University Of Yangon, Pale Thitsar Kyaw

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research focuses on redesigning the demolished student union building located at the University of Yangon, which has a significant political history. As the University of Yangon campus and its buildings hold important histories and memories of student lives at various points throughout time, the social and cultural values that students possessed in the past and the historical significance of the University of Yangon are studied in-depth. Further, these values and significant memories are revived in the new, contemporary student union design. Literature reviews, archival materials, drawings, photos and on-site observations are used to analyze the campus and its buildings. …


Contemporary Learning Spaces: North Bangkok Demonstration School, Thanyaporn Janma Jan 2017

Contemporary Learning Spaces: North Bangkok Demonstration School, Thanyaporn Janma

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Schools are places to strengthen learning for youths. At present the content of academic and educational philosophy develops rapidly through technology and society changes but most schools buildings and environments are inconsistent and do not support contemporary learning. As a result, students lack the most effective learning opportunity. However, there are a number of schools that pay attention to their architectural and environmental design to promote students' learning contents and new education philosophy leading to the starting point of this thesis. This thesis studied factors in selecting the learning spaces of Grade 1 - Grade 6 students in order to …


Tropical Strategy Of Modern Architecture In Cambodia For The Design Of A Contemporary Art Space In Phnom Penh, Pisith Ty Jan 2017

Tropical Strategy Of Modern Architecture In Cambodia For The Design Of A Contemporary Art Space In Phnom Penh, Pisith Ty

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the past decades, Cambodia has experienced a boom in building construction. However, many of those buildings do not take sustainable approach into account. They are built without concern of the tropical climate which results into a high level of energy consumption from air-conditioning system. Some none-commercial buildings, such as cultural and educational facilities, could not be operated because of lack of the fund for electricity. For a better understanding of architectural design in the tropical environment of the context, the research focuses on the works of Vann Molyvann, the father of architects in Cambodia, a state architect in 1960s, …