Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Environmental Design

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2017

Articles 1 - 30 of 45

Full-Text Articles in Architecture

สัณฐานการเปลี่ยนแปลงชุมชนและอุตสาหกรรมประมงบริเวณริมแม่น้ำท่าจีน พื้นที่ตำบลท่าฉลอม ตำบลมหาชัย และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาคร, ชลัมพล ธาวนพงษ์ Jan 2017

สัณฐานการเปลี่ยนแปลงชุมชนและอุตสาหกรรมประมงบริเวณริมแม่น้ำท่าจีน พื้นที่ตำบลท่าฉลอม ตำบลมหาชัย และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาคร, ชลัมพล ธาวนพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนและอุตสาหกรรมประมงริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลท่าฉลอม ตำบลมหาชัย และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาคร ในอดีตเป็นชุมชนประมงริมแม่น้ำที่มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนและแม่น้ำที่เหนียวแน่นทั้งการอยู่อาศัยและการทำประมง แต่ปัจจุบันความสัมพันธ์เหล่านี้ถดถอยลงเนื่องจากถูกแทรกแซงจากปัจจัยต่างๆ ทำให้พื้นที่ริมน้ำถูกทิ้งร้าง จึงเป็นที่มาของการศึกษาครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสัณฐานชุมชนและพื้นที่ริมน้ำ 2) ศึกษาพัฒนาการของการทำประมงริมแม่น้ำท่าจีน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงสัณฐานชุมชนและพื้นที่ริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลมหาชัย ตำบลท่าฉลอม และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาครโดยทำการศึกษาจากการรวบรวมข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับความเป็นมาของพื้นที่และการสำรวจการประกอบอาชีพ เพื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงสัณฐานชุมชน คัดเลือกพื้นที่เพื่อทำรูปตัดแสดงการเปลี่ยนแปลงการใช้งานพื้นที่ริมน้ำโดยเก็บข้อมูลจากการรังวัดและสัมภาษณ์เจ้าของพื้นที่ นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาร่วมกับข้อมูลการพัฒนาการทำประมงริมแม่น้ำท่าจีน เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของการทำประมงริมแม่น้ำท่าจีนและสัณฐานการเปลี่ยนแปลงชุมชนและพื้นที่ริมน้ำ ตำบลท่าฉลอม ตำบลมหาชัย และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาคร ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 4 ช่วงเวลาได้แก่ 1) ยุคสังคมพื้นบ้าน ก่อนปีพ.ศ. 2504 2) ยุคพัฒนาอุตสาหกรรม ปีพ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2525 3) ยุคอุตสาหกรรมประมงซบเซา ปีพ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2558 4) ยุคจัดระเบียบการทำประมง ปีพ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน โดยการพัฒนาการทำประมงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ส่งผลถึงการตั้งถิ่นฐาน วิถีชีวิตริมน้ำ และลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ริมน้ำดังนี้ 1) การทำประมง เปลี่ยนจากการทำประมงพื้นบ้านมาสู่การทำอุตสาหกรรมประมงและเกิดอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำประมง ต่อมาการทำประมงประสบภาวะซบเซาเนื่องจากการประกาศข้อตกลงทางทะเลจนถูกจำกัดการทำประมงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลจากการจัดระเบียบการทำประมง 2) การตั้งถิ่นฐาน มีการตั้งถิ่นฐานอย่างหนาแน่นบริเวณพื้นที่ริมน้ำตำบลท่าฉลอมและขยายตัวมายังฝั่งตำบลมหาชัยและตำบลโกรกกราก จนภายหลังมีการกระจายตัวออกไปจากพื้นที่ตามแนวเครือข่ายถนน และในปัจจุบันอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ริมน้ำต้องเลิกกิจการเพราะการหยุดชะงักของการทำประมง 3) วิถีชีวิตริมน้ำ มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตที่เคยมีความสัมพันธ์ของผู้คนและแม่น้ำในการทำประมง การเดินทาง และการขนส่ง ต่อมาพื้นที่ริมน้ำมีความสำคัญต่อการขนส่งสินค้ามากขึ้นในช่วงที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรม จนในช่วงที่การทำประมงซบเซาทำให้บทบาทของแม่น้ำทั้งในแง่การเดินทางและขนส่งสินค้ามีความสำคัญลดลง จนกระทั่งหมดไปในปัจจุบันเนื่องจากมีการพัฒนาถนนและเกิดปัญหาในการทำประมง 4) ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ริมน้ำ มีการเปลี่ยนแปลงจากในอดีตซึ่งใช้สะพานไม้ขนาดเล็กในการขนส่งสินค้าและซ่อมแซมเครื่องมือประมง มีการทำประมงตามพื้นที่ริมตลิ่ง และพัฒนาเป็นท่าเทียบเรือที่มีประสิทธิภาพในการขนถ่ายสินค้ามากขึ้น จนในช่วงที่การทำประมงซบเซาทำให้พื้นที่ริมน้ำมีการใช้งานลดลง มีการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งที่ทำให้การใช้งานพื้นที่ริมน้ำทำได้ยากลำบาก จนการทำประมงถูกจำกัดส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวถูกทิ้งร้างในที่สุด ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อรื้อฟื้นความสำคัญของพื้นที่ริมน้ำ โดยใช้พื้นที่ริมน้ำสาธารณะในการจัดงานเทศกาลและประเพณีเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว


ขอบเขตการทำงานของวิชาชีพสถาปัตยกรรมผังเมือง(กรณีศึกษา:ประเภทงานการจัดทำผังจัดรูปที่ดิน และการจัดทำผังนิคมอุตสาหกรรม), สุกัญญา สดุดีวิถีชัย Jan 2017

ขอบเขตการทำงานของวิชาชีพสถาปัตยกรรมผังเมือง(กรณีศึกษา:ประเภทงานการจัดทำผังจัดรูปที่ดิน และการจัดทำผังนิคมอุตสาหกรรม), สุกัญญา สดุดีวิถีชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

"สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง" ถูกกำหนดใช้ขึ้นครั้งแรกในพระราชบัญญัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ. 2508 แต่ยังไม่มีการบังคับใช้ในทางปฏิบัติ จวบจนมีพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนนิยามของวิชาชีพสถาปัตยกรรมรวมไปถึงเนื้อหาและวัตถุประสงค์เพื่อให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับสภาวะการณ์ปัจจุบัน จากนั้นมีการประกาศใช้กฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ. 2549 โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อกำหนดให้วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมเป็นไปตามพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543[1] ซึ่งมีการระบุความหมายและขอบเขตวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมแต่ละสาขาในประกาศกฎกระทรวงฉบับนี้ ปัจจุบันองค์ความรู้ ความหมาย และขอบเขตวิชาชีพสาขาสถาปัตยกรรมผังเมืองยังคงมีความคลุมเครือต่อผู้ปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งทำให้ไม่เกิดความสอดคล้องต่อวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 อาทิเช่น การพัฒนาวิทยาการด้านสถาปัตยกรรม การควบคุมดูแลมาตรฐานความรู้และการประกอบวิชาชีพ และการส่งเสริมคุณภาพการประกอบวิชาชีพ เป็นต้น ด้วยที่มาและความสำคัญเหล่านี้จึงนำมาซึ่งการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ "ขอบเขตการทำงานของวิชาชีพสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง" ในกรณีศึกษา ประเภทงานการจัดทำผังจัดรูปที่ดินและการจัดทำผังนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็น 2 ใน 7 ประเภทงานตามกฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมที่มีพระราชบัญญัติควบคุมอยู่ด้วย รวมถึงสามารถสะท้อนการทำงานในบริบทเชิงพื้นที่ ชุมชน และเมืองมากกว่าประเภทงานอื่น ๆ โดยใช้กระบวนการศึกษาวิจัยด้วยวิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างซึ่งมีคุณสมบัติเกี่ยวข้องโดยตรงกับสาขาสถาปัตยกรรมผังเมืองในเชิงวิชาการและวิชาชีพ เพื่อนำมาสู่การวิเคราะห์ อภิปรายผลและสรุปผลโดยใช้ทฤษฎีและแนวคิดที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า ขอบเขตการทำงานของวิชาชีพสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง มิได้มีผลบังคับใช้ตามกฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ. 2549 เนื่องจากประเภทงานที่ถูกกำหนดขึ้นตามกฎกระทรวงฯนั้นไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น พระราชบัญญัติที่ควบคุมทั้งสองประเภทงานไม่มีการกำหนดคุณสมบัติที่เฉพาะเจาะจงของผู้ออกแบบ เนื้อหาของงานในแต่ละประเภทยังคงมีความคลุมเครือ รวมไปถึงข้อค้นพบเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากมีการแบ่งขอบเขตวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาวงการวิชาชีพสาขานี้ต่อไป


Use Transformation Process Of Shophouses: A Case Study Of Tha Tien's Shophouse, Bangkok, Peeraya Boonprasong Jan 2017

Use Transformation Process Of Shophouses: A Case Study Of Tha Tien's Shophouse, Bangkok, Peeraya Boonprasong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the changing urban context, proposing new uses for historic buildings such shophouses has mould a constraint to place identity when the application of utilisation is grounded on tendencies of demand and consumerism. The historic urban fabric, as a particular physicality of activity and experience in which meaning is interpreted through a sense of place and authenticity, is disturbed by misuse and excessive growth from the new concept of uses. The study of use transformation is to comprehend the capability of responsive behaviour to place bonding, when use is transforming by internal and external influences e.g. life course, repossession, honourability, …


New Student Union: Reviving The Histories And Memories Of The University Of Yangon, Pale Thitsar Kyaw Jan 2017

New Student Union: Reviving The Histories And Memories Of The University Of Yangon, Pale Thitsar Kyaw

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research focuses on redesigning the demolished student union building located at the University of Yangon, which has a significant political history. As the University of Yangon campus and its buildings hold important histories and memories of student lives at various points throughout time, the social and cultural values that students possessed in the past and the historical significance of the University of Yangon are studied in-depth. Further, these values and significant memories are revived in the new, contemporary student union design. Literature reviews, archival materials, drawings, photos and on-site observations are used to analyze the campus and its buildings. …


การก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป: การออกแบบบ้านเดี่ยว, ชนิกา รักษากุล Jan 2017

การก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป: การออกแบบบ้านเดี่ยว, ชนิกา รักษากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์จะศึกษาสภาพและปัญหาที่เกิดขึ้นในการออกแบบบ้านเดี่ยวที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยเลือกบ้านภัสสร ของบริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) เป็นกรณีศึกษา เพื่อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการออกแบบบ้านเดี่ยวที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป บ้านภัสสร มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 120 ตารางเมตร ประกอบด้วยห้องนอน 3 ห้อง ห้องน้ำ 2 ห้อง และที่จอดรถยนต์ 2 คัน เป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น สร้างโดยใช้ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป รวม 47 ชิ้น แบ่งเป็นชิ้นส่วนผนัง จำนวน 35 ชิ้น ชิ้นส่วนพื้น จำนวน 7 ชิ้น และชิ้นส่วนคาน จำนวน 5 ชิ้น บ้านภัสสรในแต่ละโครงการ จะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป ได้แก่ ขนาดช่องเปิด การเซาะร่อง และทำสีบนแผ่นผนัง ฯลฯ ปัญหาที่พบ คือ ชิ้นส่วนแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูป จำนวน 35 ชิ้น มีรูปแบบแตกต่างกันถึง 32 รูปแบบ ขนาดของแต่ละชิ้นส่วนแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย มีปัญหาแตกหักของชิ้นส่วนที่มีระยะริมช่องเปิดน้อย และการรั่วซึมบริเวณรอยต่อระหว่างชิ้นส่วน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ในขั้นตอนของการออกแบบ ควรใช้ระบบการประสานทางพิกัด เพิ่มระยะริมช่องเปิดไม่น้อยกว่า 60 ซม. ที่จะสอดคล้องกับขนาดของตะแกรงเหล็กเสริม การยื่นแผ่นผนังและการใช้วัสดุตกแต่งอื่น มาปิดทับรอยต่อ เพื่อปกป้องการรั่วซึม ทั้งนี้ ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบของบ้าน สามารถใช้วัสดุอื่นเข้ามาตกแต่งเพิ่ม เช่น ไฟเบอร์ซีเมนต์ จีอาร์ซี เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถคงรูปแบบและจำนวนของชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยใช้วิธีปรับเปลี่ยนเฉพาะบริเวณส่วนหน้าได้


การศึกษาประสิทธิภาพการใช้พลังงานและสภาพแวดล้อมของอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เพื่อการใช้งานในยุคปัจจุบัน กรณีศึกษาอาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชรินรัตน์ รุ่งเรืองศรี Jan 2017

การศึกษาประสิทธิภาพการใช้พลังงานและสภาพแวดล้อมของอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เพื่อการใช้งานในยุคปัจจุบัน กรณีศึกษาอาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชรินรัตน์ รุ่งเรืองศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยมีอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์จำนวนมาก ที่ยังใช้ประโยชน์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน อาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอาคารที่มีการใช้งานจากเดิมเป็นอาคารเรียนและห้องสมุด ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงการใช้เป็นอาคารสำนักงาน และห้องสมุดที่ติดตั้งระบบปรับอากาศ การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติของอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และความเหมาะสมต่อการใช้งานในยุคปัจจุบันรวมถึงสภาวะน่าสบายทางด้านเทคโนโลยีอาคาร 4 ด้าน ได้แก่ ความรู้สึกร้อนหนาว ความสว่าง เสียง และคุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคาร การศึกษาวิจัยเริ่มจากการเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณความสว่างบนพื้นที่ใช้งาน ความดังของเสียงภายในห้อง และการใช้แบบสอบถามประเมินคุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคารควบคู่กับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ อาคารกรณีศึกษามีคุณสมบัติมวลสารมาก (น้ำหนักผนังอาคารมากกว่า 195 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มีค่าความหน่วงความร้อนจากภายนอกได้มาก ผลการวิจัย พบว่า อุณหภูมิอากาศภายในอาคารกรณีไม่ปรับอากาศได้รับอิทธิพลจากอากาศร้อนภายนอกอาคารน้อยมากเนื่องจากอิทธิพลของความจุความร้อนของผนังมวลสารมาก ความสว่างบนพื้นที่ใช้งานภายในอาคารจะได้รับแสงธรรมชาติจากช่องเปิดด้านข้างเข้ามาในพื้นที่ใช้งานไม่เกิน 3 เมตร ความดังของเสียงภายในห้องมีค่าระหว่าง 55-80 เดซิเบล ส่วนค่าความก้องของเสียงภายในห้องมีค่า 2-5 วินาที ซึ่งมีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานการใช้งาน ผลการศึกษาด้านคุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคาร พบว่า การใช้งานพื้นที่ปัจจุบันเมื่อใช้ระบบปรับอากาศและจำเป็นต้องปิดประตูหน้าต่างจะทำให้สภาพแวดล้อมภายในอาคารไม่เหมาะสมกับการใช้งาน งานวิจัยพบว่าการใช้อาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณสมบัติมวลสารมาก มีความจำเป็นต้องใช้ระบบอาคารที่มีความเหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้อาคารโดยเฉพาะด้านความร้อนหนาวและด้านแสงสว่างในอาคาร


แนวทางการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินกลาง ด้านกายภาพสถาปัตยกรรม, ธนพล วัฒนจินดาเลิศ Jan 2017

แนวทางการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินกลาง ด้านกายภาพสถาปัตยกรรม, ธนพล วัฒนจินดาเลิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินเกิดขึ้นมาแล้วทั้งสิ้น 3 ครั้ง คือการเปลี่ยนอาคารริมถนนราชดำเนินให้เป็นอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน และหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ ผลการปรับปรุงคืออาคารได้เปลี่ยนรูปแบบการใช้สอยพื้นที่ของอาคารไปจากเดิม ทว่ายังคงอยู่ซึ่งรูปลักษณ์ภายนอกที่เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่นิยมในสมัยปี พ.ศ.2480 วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาแนวทางการปรับปรุงอาคารและข้อกฎหมายที่ต้องคำนึงถึงในการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนิน เพื่อนำแนวทางที่ได้มาประยุกต์ใช้กับอาคารริมถนนราชดำเนินกลางที่ผู้วิจัยเสนอแนะ ระเบียบวิธีการศึกษาคือเริ่มต้นจากการศึกษาแนวทางของการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนิน 2 หลัง คือ อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ และหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ผ่านการสำรวจพื้นที่จริง การศึกษาแบบทางสถาปัตยกรรม ศึกษาจากภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงอาคารทั้งสองหลัง เพื่อนำไปวิเคราะห์ถึงแนวทางทั้งหมดที่เกิดขึ้นและเข้อกฎหมายที่ต้องคำนึงถึงในการปรับปรุงอาคาร จัดลำดับความเข้มงวดของกฎหมายแต่ละข้อ และนำไปเปรียบเทียบกับพื้นที่และการปรับปรุงอาคารที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้แนวทางสำหรับการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินที่ชัดเจนมากที่สุด และนำแนวทางที่ได้ไปทดลองใช้กับโรงแรมรัตนโกสินทร์ ที่ผู้วิจัยยกมาเป็นกรณีศึกษา ว่าหากเกิดการปรับปรุงอาคารนี้ตามแนวทางที่ผู้วิจัยได้เสนอแนะคือการทำตามแบบแผนเดิม การพัฒนาพื้นที่ หรือการรื้อถอนอาคารเพื่อให้พื้นที่กลับสู่สภาพเดิม จะต้องคำนึงถึงกฎหมายข้อใดและมีความเข้มงวดมากน้อยเพียงใดบ้าง ซึ่งผลที่ได้จะทำให้สามารถสรุปว่าการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินมีข้อกฎหมายที่ควบคุมการปรับปรุงอาคารอย่างเข้มงวดมากที่สุด ครอบคลุมบริเวณด้านหน้าและด้านข้างอาคารที่ติดถนนราชดำเนิน ส่วนด้านหลังอาคารและภายในอาคารมีความเข้มงวดน้อยกว่า และต้องอาศัยดุลยพินิจของทางสำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นปัจจัยสำคัญ ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาคือแนวทางที่ใช้ในการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินที่มีความชัดเจนมากขึ้น และเพื่อให้ผู้ที่สนใจปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินในอนาคตนำแนวทางที่ได้จากการศึกษาและแนวทางการปรับปรุงอาคารไปพัฒนาต่อเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินต่อไป


อาการและสาเหตุการขัดข้องของอุปกรณ์หลักในระบบประกอบอาคาร, ชนาภา จารุมณีโรจน์ Jan 2017

อาการและสาเหตุการขัดข้องของอุปกรณ์หลักในระบบประกอบอาคาร, ชนาภา จารุมณีโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาในเชิงประจักษ์มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดหมวดหมู่อาการและสาเหตุการขัดข้องของอุปกรณ์หลักในระบบประกอบอาคาร เพื่อนำไปวิเคราะห์หาอาการขัดข้องสำคัญ ที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดูแลระบบประกอบอาคาร โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้แก่ ผู้ที่ทำงานในสาขางานวิศวกรรมระบบประกอบอาคาร ข้อสรุปผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาหรืออาการขัดข้องที่พบบ่อยของอุปกรณ์ในระบบประกอบอาคาร นั้นเกิดจาก 2 สาเหตุ ได้แก่ สาเหตุที่เป็นสิ่งเร้าหรือปัจจัยจากภายนอก และสาเหตุที่เป็นปัจจัยภายใน ประกอบได้ด้วย 3 สาเหตุ ได้แก่ สาเหตุที่เป็นการเสื่อมสภาพ/ชำรุดของอุปกรณ์ สาเหตุที่เกิดจากการบำรุงรักษาที่ผิดพลาดหรือการละเลยของผู้ดูแลระบบประกอบอาคาร และสาเหตุที่เกิดจากการตั้งค่าอุปกรณ์/การติดตั้งอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสม ในส่วนของวิธีปฏิบัติเมื่อเมื่อพบอาการขัดข้องของอุปกรณ์ในระบบประกอบอาคาร มี 2 วิธี ได้แก่ แก้ไขโดยผู้ดูแลอาคารหรือช่างประจำอาคาร ซึ่งแบ่งแยกย่อยได้อีก 4 วิธี ได้แก่ แก้ไขโดยการเปลี่ยนอุปกรณ์ แก้ไขโดยการทำความสะอาด แก้ไขโดยการกำหนด/วางแผนบำรุงรักษา และแก้ไขตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการขัดข้อง ต่อมาคือ แก้ไขโดยแจ้งบุคคลภายนอกทำการแก้ไข ซึ่งแบ่งแยกย่อยได้อีก 2 วิธีได้แก่ แจ้งการไฟฟ้าฯทำการแก้ไข และแจ้งผู้รับเหมาทำการแก้ไข องค์ความรู้ที่ได้จากผลการวิเคราะห์และข้อสรุปผลการศึกษา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในส่วนงานบริหารจัดการ โดยใช้วางแผน ป้องกันอาการขัดข้อง ตามประเภทของสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ นอกจากนี้องค์ความรู้ในส่วนวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดอาการขัดข้องของอุปกรณ์นั้น สามารถนำไปให้ใช้ในส่วนงานปฏิบัติงาน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถแก้ไขอาการขัดข้องของอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม รวดเร็ว ตามประเภทอาการขัดข้องของอุปกรณ์ที่ได้จากผลการศึกษา ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาขั้นต่อไปเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อไปในอนาคต หากต้องนำงานวิจัยนี้ไปศึกษาต่อควรนำข้อมูลรายละเอียดที่ได้จากผลการรวบรวมข้อมูล มาวิเคราะห์ ให้เกิดชุดข้อมูลใหม่ที่เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในส่วนงานบริหารจัดการอาคาร และให้ได้ชุดข้อมูลที่สมบูณร์กว่างานวิจัยในปัจจุบัน


ประสิทธิภาพการระบายอากาศเพื่อควบคุมการติดเชื้อในห้องตรวจทันตกรรม, ธัญจิรา เตชะสนธิชัย Jan 2017

ประสิทธิภาพการระบายอากาศเพื่อควบคุมการติดเชื้อในห้องตรวจทันตกรรม, ธัญจิรา เตชะสนธิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ห้องตรวจทันตกรรมเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางอากาศ การทำหัตถการทางทันตกรรมก่อให้เกิดละอองฟุ้งกระจายของเชื้อโรค จากผู้ป่วยและเครื่องมือทางทันตกรรมมากกว่าการรักษาโรคทั่วไป จากการสำรวจห้องตรวจทันตกรรมพบว่า ห้องตรวจยังขาดการออกแบบระบบระบายอากาศอย่างเหมาะสม งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการระบายอากาศในห้องตรวจทันตกรรม ตรวจสอบตำแหน่งการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ และการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายอากาศด้วยพัดลมระบายอากาศ ช่องปล่อยลมเข้า ช่องปล่อยลมออก เพื่อควบคุมการติดเชื้อในห้องตรวจทันตกรรม งานวิจัยนี้จำลองการไหลของอากาศด้วยโปรแกรมจำลองพลศาสตร์ของไหล โดยศึกษาตำแหน่งการติดตั้งช่องปล่อยลมเข้าและช่องปล่อยลมออก พิจารณาประสิทธิภาพการระบายอากาศจากทิศทางการไหลของอากาศ รูปแบบการไหลของอากาศ และอายุอากาศ ที่ระดับความสูง 0.80 เมตร ผลการวิจัยพบว่า ในห้องตรวจทันตกรรมกรณีศึกษาผู้ใช้งานมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง การติดตั้งช่องปล่อยลมออกหรือพัดลมระบายอากาศจะช่วยให้ค่าอายุอากาศลดลง การติดตั้งช่องปล่อยลมเข้าในตำแหน่งบนผนังด้านศีรษะของผู้ป่วย และช่องปล่อยลมออกด้านปลายเท้าของผู้ป่วยจะช่วยให้ประสิทธิภาพการระบายอากาศดีขึ้น การติดตั้งช่องปล่อยลมเข้าควรอยู่ในตำแหน่งด้านที่ต้องการให้สะอาด ช่องปล่อยลมออกควรอยู่ในด้านที่ไม่มีบุคลากรทำงานอยู่ เพื่อควบคุมไม่ให้เชื้อโรคไหลออกผ่านผู้ใช้งาน ช่องปล่อยลมเข้าไม่ควรอยู่ด้านเดียวกันกับช่องปล่อยลมออก เพราะจะทำให้อากาศถูกดูดออกก่อนที่จะหมุนเวียนภายในห้อง และควรพิจารณาประสิทธิภาพการระบายอากาศทุกปัจจัยก่อนการติดตั้งช่องปล่อยลมจริง จากงานวิจัยชิ้นนี้ทำให้ห้องตรวจทันตกรรมที่มีการใช้งาน ได้รับการประเมินการระบายอากาศ และมีแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายอากาศ เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ โดยมีแนวทางในการออกแบบหรือปรับปรุงตำแหน่งการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ช่องปล่อยลมเข้า ช่องปล่อยลมออกที่เหมาะสม ทั้งนี้การประยุกต์ใช้งานควรคำนึงเรื่องปัจจัยการเปิดปิดประตูเพิ่มเติม และสามารถนำไปขยายผลการศึกษาต่อได้ในห้องตรวจทันตกรรม แบบห้องรวมที่มีหลายเตียงตรวจในพื้นที่เดียวกันต่อไป


เครื่องมือเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศที่ช่วยในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของอาคาร ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบขั้นต้น กรณีศึกษา อาคารพักอาศัย, ธัญธร ค้ำไพโรจน์ Jan 2017

เครื่องมือเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศที่ช่วยในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของอาคาร ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบขั้นต้น กรณีศึกษา อาคารพักอาศัย, ธัญธร ค้ำไพโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของอาคาร คือ การหาปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาตลอดช่วงชีวิตของสิ่งก่อสร้าง เป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการออกแบบอาคารคาร์บอนต่ำ ทั้งนี้ในขั้นตอนการประเมินจะต้องมีการถอดปริมาณ การกรอกข้อมูลซ้ำๆ และต้องมีการจำลองค่าการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก ใช้เวลานาน เมื่อทำแล้วกลับมาแก้ไขยาก ทำให้การประเมินมักเกิดขึ้นภายหลังการออกแบบและทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องมือประเภทต่างๆที่ช่วยลดขั้นตอนในการประเมิน ได้แก่ เครื่องมือที่พัฒนามาจากฐานข้อมูล เครื่องมือบนเว็บไซต์ และเครื่องมือบนแบบจำลองสารสนเทศ แต่เครื่องมือเหล่านั้นยังคงมีข้อจำกัดเรื่องของการกรอกข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ไม่สามารถจำลองค่าการใช้พลังงานใช้ตัวเครื่องมือ และไม่สามารถประยุกต์นำข้อมูลจากฐานข้อมูลและสมการการใช้พลังงานที่ได้จากการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากบริบทของอาคารไทยมาใช้ได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์พัฒนาเครื่องมือการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของอาคาร กรณีศึกษาอาคารพักอาศัย เพื่อให้ได้เครื่องมือต้นแบบสำหรับอาคารในประเทศไทยที่สามารถใช้ประเมินได้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบในช่วงแรก มีการถอดปริมาณและข้อมูลจาก 3D model อัตโนมัติ และมีการแสดงผลแบบ Realtime นอกจากนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องมือที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันในเรื่องของลดขั้นตอนการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อน ผู้ใช้งานสามารถแก้ไข-เพิ่ม-อัพเดทข้อมูลในฐานข้อมูลเองได้ และสามารคำนวณค่าการใช้พลังงานในตัวเครื่องมือได้ (All-in-One) งานวิจัยนี้จึงได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของอาคารในประเทศไทยและศึกษาสมการการคำนวณค่าการใช้พลังงานอย่างง่ายเพื่อนำพัฒนาเครื่องมือบนโปรแกรม Autodesk Revit และโปรแกรมเสริม Dynamo ผลของการวิจัยพบว่าผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องมือนั้นมีความแม่นยำในขณะที่มีขั้นตอนในการทำงานลดลง ทำให้ผู้ใช้งานพึงพอใจและสนใจในการประเมินวัฏจักรชีวิตอาคารมากขึ้น


กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, พิละสัก สีหาวง Jan 2017

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, พิละสัก สีหาวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศมีข้อตกลงร่วมกันในการยอมรับวิชาชีพสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง การลงทุนด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มมากขึ้น แต่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างยังไม่ได้มีการรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบในองค์กรวิชาชีพ จึงจะศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ใน ส.ป.ป ลาว โดยการรวบรวมกฎหมาย และนิติกรรม จากเอกสารราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย สถาปนิก และวิศวกร จากการศึกษาพบว่า การควบคุมการก่อสร้าง ใน ส.ป.ป ลาว ได้เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2536 โดยได้ควบคุมด้วยคำสั่งและแจ้งการ (ประกาศ)ของรัฐ ต่อมาในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ. 2553 ถึงปัจจุบัน พบมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และการก่อสร้างมีการเจริญเติบโตมากขึ้น การศึกษาพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างจำนวน 76 ฉบับ กดหมาย (เทียบพระราชบัญญัติของไทย) จำนวน 17 ฉบับ ดำลัด(เทียบพระราชกฤษฏีกาของไทย) จำนวน 13 ฉบับ ลัดถะบันยัด (เทียบพระราชกำหนดของไทย)จำนวน 4 ฉบับ กฎกระทรวงประกอบด้วยข้อตกลง จำนวน 19 ฉบับ คำแนะนำ จำนวน 4 ฉบับ ละเบียบ จำนวน 4 ฉบับ ข้อกำนด จำนวน 7 ฉบับ แจ้งกาน จำนวน 5 ฉบับ และคำสั่ง จำนวน 3 ฉบับ โดยรัฐมนตรีเป็นผู้ที่ลงนามในข้อตกลงมากที่สุด เพราะรัฐได้ให้กระทรวงต่างๆ สามารถออกนิติกรรมภายใต้กฎหมายได้ทันที ทั้งนี้กระทรวงโยทาทิกานและขนส่ง มีจำนวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างมากที่สุด เพราะว่ากระทรวงดังกล่าวมีหน้าที่ในการกำกับดูแลงานก่อสร้างเคหะ และผังเมือง นอกจากนั้นมีห้องการ(สำนักงาน)มรดกโลกหลวงพระบางที่มีระเบียบเกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรมในเมืองหลวงพระบางอย่างเข้มงวด ทั้งนี้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างได้ออกตามหลักการเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย และคุณภาพเป็นหลัก รองลงมาหลักการรักษาสิ่งแวดล้อม หลักการสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสังคม การอนุรักษ์เอกลักษณ์ของชาติ หลักการการมีส่วนร่วมของสถาปนิก วิศวกรภายในประเทศ และ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างจำนวน 76 ฉบับแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้ 1) …


อิทธิพลของกลุ่มสีต่ออารมณ์และการตัดสินใจเข้าร้านอาหาร, วรากุล ตันทนะเทวินทร์ Jan 2017

อิทธิพลของกลุ่มสีต่ออารมณ์และการตัดสินใจเข้าร้านอาหาร, วรากุล ตันทนะเทวินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้สีเป็นเทคนิคสำคัญในการออกแบบเพื่อดึงดูดใจลูกค้าและเพิ่มโอกาสด้านการตลาด การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองทางอารมณ์ในมิติของความพึงพอใจ ความตื่นตัวและความโดดเด่นต่อสีในสภาพแวดล้อม และพฤติกรรมการตัดสินใจเข้าร้านอาหารของลูกค้าที่เดินผ่านหน้าร้าน ในการศึกษานี้ผู้เข้าร่วมทดสอบจำนวน 496 คนได้ประเมินภาพจำลองร้านอาหารจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ตกแต่งด้วยลักษณะสีที่แตกต่างกันจำนวน 11 รูปแบบ ซึ่งมีวรรณะของสี ความสว่างของสีและความกลมกลืนของสีที่แตกต่างกัน โดยแต่ละคนให้คะแนนระดับการตอบสนองทางอารมณ์ด้วยคู่คำตรงข้ามจำนวน 9 คู่คำ พร้อมกับระบุการตัดสินใจเข้าร้านหรือไม่เข้าร้าน จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าคุณลักษณะของสีส่งผลต่อการตอบสนองทางอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญ (p<.05) ร้านอาหารที่ออกแบบตกแต่งด้วยสีวรรณะร้อน สีสว่างหรือสีที่กลมกลืนกันจะได้รับคะแนนระดับความพึงพอใจสูงและส่งผลต่อการเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจเข้าร้าน จากการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติคแสดงให้เห็นว่าความพึงพอใจเป็นตัวแปรด้านอารมณ์ที่มีประสิทธิภาพในแบบจำลองการพยากรณ์โอกาสในการตัดสินใจเข้าร้าน (OR= 12.167, R² = 0.768, %correct = 90.7%) การศึกษาวิจัยนี้ขยายความรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองทางอารมณ์และพฤติกรรมการตัดสินใจในสภาพแวดล้อม ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับนักออกแบบและผู้ประกอบการในการเลือกใช้สีเพื่อเป็นกลยุทธ์ที่ดึงดูดสายตาในบริบทของร้านอาหาร เพื่อให้เข้าใจอิทธิพลของสีต่อการตอบสนองของลูกค้าในการตัดสินใจเข้าร้านมากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้จึงเสนอให้มีการศึกษาค้นคว้าคุณลักษณะอื่นของสีและบริบทของสภาพแวดล้อมจริงเพิ่มเติมโดยเฉพาะด้านความพึงพอใจ


รูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนาขนมปังขิง : คุ้มวงศ์บุรี จังหวัดแพร่, ศรัณย์ ศรีธวัชพงศ์ Jan 2017

รูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนาขนมปังขิง : คุ้มวงศ์บุรี จังหวัดแพร่, ศรัณย์ ศรีธวัชพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คุ้มวงศ์บุรี สถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกแบบขนมปังขิง สร้างจากไม้สักทองหลังแรกในจังหวัดแพร่และพื้นที่ล้านนาตะวันออก มีความโดดเด่นทางรูปแบบสถาปัตยกรรมซึ่งผสมผสานระหว่างอิทธิพลตะวันตกและอิทธิพลจีนในบริบทล้านนา จึงเกิดรูปแบบสถาปัตยกรรมเครื่องไม้แบบตะวันตกประดับลวดลายฉลุพฤกษชาติแบบล้านนาที่แฝงด้วยสัญลักษณ์จีนตามองค์ประกอบต่าง ๆ ของเรือน จึงเลือกคุ้มวงศ์บุรีในการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบสถาปัตยกรรมจากผังบริเวณ ผังพื้น รูปด้าน องค์ประกอบภายใน และลวดลายฉลุ ด้วยการลงพื้นที่เก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สัมภาษณ์ รังวัดและถ่ายภาพสภาพปัจจุบัน เพื่อจำแนกและอธิบายลักษณะของรูปแบบสถาปัตยกรรมคุ้มวงศ์บุรี แล้วนำมาเปรียบเทียบรูปแบบสถาปัตยกรรมประเภทเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกัน ได้แก่ รูปแบบสถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกในสยามช่วงปลายรัชกาลที่ 4 ถึงช่วงต้นรัชกาลที่ 5 และรูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนา เพื่อหาจุดร่วมและจุดแตกต่างของคุ้มวงศ์บุรี โดยเปรียบเทียบในส่วน ผังบริเวณ ผังพื้น และรูปด้าน ให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้และวิธีการศึกษา เพื่อไปใช้กับการศึกษาหาเอกลักษณ์และเปรียบเทียบเรือนล้านนาขนมปังขิงหลังอื่นๆ ต่อไป จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่ามีการศึกษาเรือนล้านนาขนมปังขิงรวมถึงคุ้มวงศ์บุรีทางกายภาพในภาพรวมเท่านั้น แต่ไม่ได้ระบุองค์ประกอบของคุ้มวงศ์บุรีอย่างชัดเจน ผลการศึกษาพบว่าคุ้มวงศ์บุรีเป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบอิทธิพลตะวันตกแบบขนมปังขิงที่แฝงไปด้วยคติความเชื่อและวิถีชีวิตผสมผสานระหว่างล้านนาและสมัยนิยมตามแบบตะวันตก โดยอิทธิพลตะวันตกเป็นเปลือกนอกที่ห่อหุ้มหน้าที่ใช้สอยและวิถีชีวิตภายใน อีกทั้งพบว่าขั้นตอนการศึกษาคุ้มวงศ์บุรี ทำให้เกิดแนวทางการจำแนกและอธิบายรูปแบบคุ้มล้านนาที่ผสมผสานอิทธิพลตะวันตกแบบขนมปังขิงที่ถี่ถ้วนขึ้น ที่สามารถประยุกต์ใช้กับสถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกแบบขนมปังขิงในเวียงแพร่และจังหวัดใกล้เคียงได้ ในภายหลังอีกด้วย


แนวทางการพัฒนาแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Bim) เพื่อคำนวณค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคาร (Ottv) ในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น, อภิเกียรติ เจริญสุทธิโยธิน Jan 2017

แนวทางการพัฒนาแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Bim) เพื่อคำนวณค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคาร (Ottv) ในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น, อภิเกียรติ เจริญสุทธิโยธิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2550 ได้มีหลักเกณฑ์การคำนวณค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคารในส่วนที่มีการปรับอากาศ (OTTV) ซึ่งการคำนวณค่า OTTV ในปัจจุบันสามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น เป็นการคำนวณด้วยมือ หรือโปรแกรม BEC V.1.0.6 อย่างไรก็ตามพบว่า โปรแกรมที่ใช้ในปัจจุบันจะรับข้อมูลปริมาณมากจากผู้ออกแบบและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ทำให้เกิดความผิดพลาดในการใส่ข้อมูล จึงนำไปสู่การพัฒนาชุดคำสั่งในโปรแกรม Autodesk Revit ร่วมกับส่วนเสริม Dynamo เพื่อใช้ในการสร้างคำสั่งที่สามารถควบคุม เรียกข้อมูล และคำนวณทางคณิตศาสตร์ จนทำเกิดให้เป็นผลลัพธ์ของสมการ OTTV ที่เป็นไปตามประกาศกระทรวงพลังงาน ผลลัพธ์ที่ได้คือ ส่วนเสริมของโปรแกรมที่ใช้ประมาณการค่า OTTV ในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น ซึ่งเมื่อผู้ใช้งานมีการปรับเปลี่ยนการออกแบบ ค่าที่ได้จะเปลี่ยนแบบอัตโนมัติ รวมไปถึงมีการแสดงผลในรูปแบบต่าง ๆ และการแนะนำการปรับปรุงอาคาร จึงทำให้ลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนลงจากการเปรียบเทียบผลการคำนวณด้วยส่วนเสริม Dynamo กับโปรแกรม BEC V.1.0.6 พบว่าการประมาณการค่า OTTV มีความคลาดเคลื่อนประมาณ ±1% สำหรับผนังทึบและผนังโปร่งแสงที่ไม่มีการใช้อุปกรณ์บังแดด สาเหตุเนื่องมาจากลักษณะการประมาณค่าเชิงเส้นตรงที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความแตกต่างของผลลัพธ์ที่ได้ และผนังโปร่งแสงที่มีการใช้อุปกรณ์บังแดดรวมด้วย จะมีความคลาดเคลื่อนประมาณ ±3% เนื่องจากพบว่าการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดของอุปกรณ์บังแดดจากเครื่องมือที่ได้พัฒนา ที่อ้างอิงจากประกาศกระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2552 ขาดการคิดให้อุปกรณ์บังแดดบังการรังสีกระจายของดวงอาทิตย์จากท้องฟ้า จึงทำให้เมื่อเปรียบเทียบผลการคำนวณของเครื่องมือที่พัฒนากับโปรแกรม BEC จึงทำให้มีผลการคำนวณที่สูงกว่า


เส้นทางอพยพหนีภัยหอผู้ป่วยใน กรณีอาคารสูงในโรงพยาบาลของรัฐ, อลิสา ขจรสิริฤกษ์ Jan 2017

เส้นทางอพยพหนีภัยหอผู้ป่วยใน กรณีอาคารสูงในโรงพยาบาลของรัฐ, อลิสา ขจรสิริฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หอผู้ป่วยใน กรณีอาคารสูงในโรงพยาบาลของรัฐเป็นอาคารสาธารณะที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายหากเกิดเหตุอัคคีภัย เนื่องจากอาคารมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากและอยู่ในอาคารเป็นระยะเวลานาน ประกอบด้วยผู้ที่มีความสามารถในการช่วยเหลือตนเองหลายระดับ ทั้งผู้ที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ปกติ จนถึงผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย นอกจากนี้ปัจจุบันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางอพยพหนีภัยเป็นเพียงมาตรฐานขั้นต้นที่ครอบคลุมลักษณะอาคารทั่วไปเท่านั้น ทำให้ไม่มีความสอดคล้องกับประเภทและลักษณะเฉพาะของการใช้งานอาคารหอผู้ป่วยในซึ่งมีความแตกต่างกับอาคารประเภทอื่นๆ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสอดคล้องของกฎหมายกับการออกแบบและใช้งาน สาเหตุและปัญหาในการออกแบบและใช้งานเส้นทางอพยพหนีภัยหอผู้ป่วยใน กรณีอาคารสูงในโรงพยาบาลของรัฐ มีวิธีดำเนินการวิจัยคือ 1)ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับหอผู้ป่วยใน กฎหมาย มาตรฐาน และหลักการเกี่ยวกับการอพยพหนีภัย 2)ศึกษาและวิเคราะห์เส้นทางอพยพหนีภัยจากแบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม จำนวน 23 อาคาร 3)สัมภาษณ์และสำรวจเส้นทางอพยพหนีภัย จำนวน 7 อาคาร โดยสัมภาษณ์ 3 กลุ่ม คือ ผู้ออกแบบ ผู้ใช้งาน และผู้ทรงคุณวุฒิ 4)วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสรุปผลการวิจัยและเสนอแนะ จากการศึกษาพบว่าในการออกแบบเส้นทางอพยพหนีภัย ผู้ออกแบบใช้กฎหมายเป็นมาตรฐานขั้นต้น ซึ่งข้อกำหนดในกฎหมายบางส่วนยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และบางส่วนยังไม่สอดคล้องกับการใช้งานเมื่อมีการซ้อมอพยพหนีภัย โดยผู้ออกแบบได้ออกแบบตามกฎหมายและบางส่วนมีการคำนึงถึงเส้นทางอพยพหนีภัยตามมาตรฐานสากล แต่การออกแบบเส้นทางอพยพหนีภัยยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด เนื่องจากการขาดความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องความปลอดภัย ตลอดจนข้อจำกัดต่างๆที่ส่งผลต่อการออกแบบ ทำให้การออกแบบเส้นทางอพยพหนีภัยที่ครบถ้วนยังไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในแบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมของอาคาร ในการใช้งานเส้นทางอพยพหนีภัย ผู้ใช้งานมีการวางแผนปฏิบัติการระงับอัคคีภัยและการซ้อมอพยพหนีภัย ซึ่งถูกกำหนดตามความเข้าใจของผู้ใช้งาน การใช้งานเส้นทางอพยพหนีภัยในเวลาปกติพบว่าผู้ใช้งานมีการปรับเปลี่ยนการใช้งานบางอย่างที่อาจส่งผลต่อการอพยพหนีภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งเกิดจากการที่ผู้ใช้งานไม่รู้วัตถุประสงค์ของการออกแบบ แต่เมื่อมีการซ้อมอพยพหนีภัยจะมีการจัดเตรียมพื้นที่ก่อนซ้อมอพยพหนีภัย ทำให้เกิดความไม่สอดคล้องกันระหว่างการอพยพหนีภัยหากเกิดเหตุการณ์จริงกับการซ้อมอพยพหนีภัยที่ใช้งานพื้นที่ตามการออกแบบ


Contemporary Learning Spaces: North Bangkok Demonstration School, Thanyaporn Janma Jan 2017

Contemporary Learning Spaces: North Bangkok Demonstration School, Thanyaporn Janma

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Schools are places to strengthen learning for youths. At present the content of academic and educational philosophy develops rapidly through technology and society changes but most schools buildings and environments are inconsistent and do not support contemporary learning. As a result, students lack the most effective learning opportunity. However, there are a number of schools that pay attention to their architectural and environmental design to promote students' learning contents and new education philosophy leading to the starting point of this thesis. This thesis studied factors in selecting the learning spaces of Grade 1 - Grade 6 students in order to …


โครงหลังคาสำเร็จรูป : โครงถักเหล็กชุบกัลวาไนซ์, เพิ่มวิทย์ เตชะทวีวัฒน์ Jan 2017

โครงหลังคาสำเร็จรูป : โครงถักเหล็กชุบกัลวาไนซ์, เพิ่มวิทย์ เตชะทวีวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เดิมทีนิยมใช้ไม้ทำโครงหลังคาเนื่องจากมีกลสมบัติกำลังรับแรงดัดได้ดี แต่ปัจจุบันไม้มีราคาสูงและไม่ทนทาน จึงใช้เหล็กรูปพรรณแทน แต่เหล็กรูปพรรณมีกลสมบัติรับแรงดัดน้อยกว่าไม้เมื่อเปรียบเทียบด้วยน้ำหนักของวัสดุ จึงจำเป็นต้องเพิ่มค้ำยัน เพื่อให้สามารถใช้เหล็กรูปพรรณที่มีหน้าตัดเล็กลงและส่งผลให้โครงหลังคามีน้ำหนักเบาลงได้ อีกทั้งเหล็กรูปพรรณเกิดสนิมได้ง่าย จึงใช้เหล็กชุบกัลวาไนซ์ที่กันสนิมได้แทน อีกทั้งน้ำหนักเบา ราคาถูก และยังรับแรงดึงและแรงอัดได้มากกว่าจึงทำให้ลดหน้าตัดชิ้นส่วนลงได้ แต่ต้องเปลี่ยนรูปแบบโครงหลังคาเป็นโครงถักเพราะเหล็กชุบกัลวาไนซ์รับแรงดัดได้น้อย เหล็กชุบกัลวาไนซ์จะผลิตจากโรงงานเป็นแผ่นเรียบและม้วนกับแกนเหล็ก สำหรับส่งไปตัดและพับตามรูปแบบที่อีกโรงงานหนึ่ง จากนั้นจะขนส่งชิ้นส่วนเหล็กชุบกัลวาไนซ์ไปยังสถานที่ก่อสร้าง และกองเก็บรอการประกอบโครงหลังคา ในการประกอบโครงถักต้องการพื้นที่ที่เรียบสม่ำเสมอ เมื่อประกอบโครงถักแล้วเสร็จ จะใช้แรงคนยกขึ้นไปติดตั้งจนพร้อมมุงหลังคา จากกรณีศึกษาบ้านเดี่ยว พบปัญหา ที่กองเก็บชิ้นส่วนที่มีจำนวนถึง 119 ชิ้น สำหรับประกอบโครงถัก 6 โครง และยาวเท่ากับขนาดของหลังคามักกีดขวางการทำงานอื่น ทำให้ชิ้นส่วนเกิดกระทบกระแทกและได้รับความเสียหาย อีกทั้งปัจจุบันต้องใช้พื้นที่ถนนเป็นที่ประกอบโครงถัก จึงมักมีปัญหาเนื่องจากถนนเป็นงานลำดับท้ายของโครงการ จึงเสนอแนะให้ใช้โครงถักที่ประกอบจากสถานที่อื่น เป็นโครงถักสำเร็จรูปที่มีความยาวสอดคล้องกับข้อกำหนดการขนส่ง โดยเสนอโครงถักสำเร็จรูป 3 รูปแบบ ได้แก่แบ่งความยาวของโครงถักเดิม 6 โครง ออกเป็นสองส่วน นำไปติดตั้งในลักษณะวางขนานกันเช่นเคย ซึ่งประกอบจากโครงถัก 12 โครง จำนวน 119 ชิ้น อีกรูปแบบหนึ่งแบ่งโครงถักเป็นสองส่วน แต่ติดตั้งในลักษณะวางขนานกันเป็นฟันปลา โดยต้องเพิ่มชิ้นส่วนขึ้นเล็กน้อยสำหรับโครงถัก 12 โครง จำนวน 151 ชิ้น รูปแบบสุดท้ายเปลี่ยนรูปแบบโครงถักใหม่ โดยติดตั้งตามแนวตะเข้สันของหลังคา ซึ่งใช้ชิ้นส่วนสำหรับประกอบเป็นโครงถัก 8 โครง จำนวน 106 ชิ้น จะเห็นได้ว่า การประกอบโครงถักเหล็กชุบกัลวาไนซ์สามารถกระทำได้ที่โรงงาน และขนส่งไปยังสถานที่ก่อสร้างได้ โดยทั้งคงรูปแบบโครงถักเดิม หรือเพิ่มชิ้นส่วนขึ้นเล็กน้อย รวมทั้งออกแบบโครงถักเป็นโครงหลังคาสำเร็จรูปรูปแบบอื่น


ประสิทธิภาพการลดภาระการทำความเย็นภายในอาคารสำนักงาน โดยการใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยบนผิววัสดุ, กิติสรา ปั้นประสม Jan 2017

ประสิทธิภาพการลดภาระการทำความเย็นภายในอาคารสำนักงาน โดยการใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยบนผิววัสดุ, กิติสรา ปั้นประสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพด้านความร้อนของผนังทึบที่มีการติดตั้งแผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยของน้ำบนผิววัสดุ โดยเน้นศึกษาการลดการสะสมความร้อนบนผิววัสดุที่ส่งผลให้เกิดเกาะความร้อนเมือง จากการใช้แผงกันแดดที่มีหน้าที่เป็นอุปกรณ์ป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์มารวมเข้ากับการใช้การระเหยของน้ำเพื่อลดอุณหภูมิบนผิววัสดุที่ใช้ทำแผงกันแดด โดยงานวิจัยนี้ได้เลือกใช้แผงกันแดดดินเผาที่หาซื้อได้ง่ายในประเทศไทย อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำไว้ในเนื้อวัสดุเพื่อนำมาใช้ในการระเหยบนผิววัสดุได้อีกด้วย โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กำหนดให้มีการสร้างกล่องทดลองไปวางในสถานที่จริงและทำการเก็บข้อมูลโดยการวัดค่าอุณหภูมิและนำไปคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนรวม (Ueff) ของผนังอาคารที่มีการใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยน้ำ และแบบแผงกันแดดดินเผาทั่วไป ลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ VisualDOE 4.1 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพด้านพลังงานตลอดทั้งปีของอาคารสำนักงานขนาดกลางที่มีการใช้งานในเวลากลางวัน ผลการศึกษาพบว่า การใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยน้ำบนผิวจะสามารถทำให้อุณหภูมิบนผิววัสดุลดต่ำกว่าแบบแผงกันแดดทั่วไปเฉลี่ยที่ 5.7 องศาเซลเซียส และมีประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิอากาศเมื่ออากาศไหลผ่านแผงดินเผาร่วมกับการระเหยของน้ำเฉลี่ยอยู่ที่ 4.7 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยของน้ำนั้นสามารถลดอุณหภูมิอากาศกึ่งกลางกล่องทดลองได้มากกว่ากล่องที่ไม่มีแผงกันแดดอยู่ที่ 6.6 องศาเซลเซียส ซึ่งส่งผลให้เกิดการประหยัดพลังงานการใช้ไฟฟ้าในอาคารสำนักงานได้ถึง 4.47% ต่อปี และ 4.30% ต่อปีสำหรับพลังงานด้านการทำความเย็นแก่อาคาร


กระบวนการ และปัญหาในการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัด : กรณีศึกษาอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ชญานิน โกศล Jan 2017

กระบวนการ และปัญหาในการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัด : กรณีศึกษาอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ชญานิน โกศล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ส่งผลให้มีการปรับปรุงและพัฒนาโรงพยาบาลในประเทศไทยให้มีความทันสมัยได้มาตรฐานในระดับสากล เช่นเดียวกันกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หนึ่งในโรงพยาบาลชั้นนำของประเทศที่ได้สร้างอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ขึ้นเพื่อตอบสนองการให้บริการ โดยอาคารดังกล่าวมีการย้ายเข้าของหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดจากนอกอาคารเข้าสู่ภายในอาคาร นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงอาคารระหว่างการใช้งานส่งผลให้มีการโยกย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดไปสู่พื้นที่ชั่วคราวขณะทำการปรับปรุง จึงได้ทำการศึกษาขั้นตอน และปัญหาในการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มกรณีย้ายหอผู้ป่วยภายในอาคาร กลุ่มกรณีย้ายหอผู้ป่วยจากภายนอกอาคาร กรณีย้ายห้องผ่าตัดภายในอาคาร กรณีย้ายห้องผ่าตัดจากภายนอกอาคาร โดยการสังเกต บันทึกข้อมูลในเหตุการณ์ และสอบถามผู้เกี่ยวข้องกับการย้ายหอผู้ป่วย จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สรุปและอภิปรายผล จากการศึกษาพบว่า เมื่อวิเคราะห์ตามกิจกรรมที่ปฏิบัติสามารถแบ่งขั้นตอนการย้ายหอผู้ป่วยได้เป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการย้ายของ ขั้นตอนการเตรียมผู้ป่วย ขั้นตอนการย้ายผู้ป่วย และขั้นตอนการตรวจสอบและส่งคืนพื้นที่ ในขณะที่การย้ายห้องผ่าตัดมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการย้ายของ และขั้นตอนการตรวจสอบและส่งคืนพื้นที่ แต่การย้ายห้องคลอด และห้องผ่าตัดคลอดมีการปฏิบัติ 5 ขั้นตอนเช่นเดียวกับการย้ายหอผู้ป่วย ทั้งนี้แต่ละกิจกรรมในขั้นตอนจะมีทั้งกิจกรรมที่ปฏิบัติเช่นเดียวกัน และกิจกรรมที่ปฏิบัติต่างกัน รวมถึงการเตรียมเครื่องมือในการย้ายของ และย้ายผู้ป่วยก็มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง นอกจากนี้เมื่อวิเคราะห์จากช่วงเวลาในการปฏิบัติงาน พบว่าช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการย้ายหอผู้ป่วยคือ ช่วงเช้า และเมื่อวิเคราะห์จากระยะเวลาการย้ายของ พบว่าห้องคลอดและผ่าตัดคลอดจะใช้เวลามากกว่าหน่วยงานอื่น ๆ ส่วนการย้ายหอผู้ป่วยวิกฤตจากภายนอกอาคารจะใช้เวลามากกว่าการย้ายหอผู้ป่วยอื่น ๆ นอกจากนี้ในการศึกษาปัญหาที่พบในขั้นตอนการย้ายของ และขั้นตอนการย้ายผู้ป่วย พบว่ามีปัญหาทั้งหมด 7 ลักษณะ ได้แก่ การขนย้ายล่าช้า การขนย้ายหยุดชะงัก ของเสียหาย ผู้ใช้อาคารไม่สะดวก ปิดงานไม่ได้ หน่วยงานเปิดให้บริการได้ไม่สมบูรณ์ และเกิดความเสี่ยงต่อผู้ป่วย เป็นผลมาจาก 7 สาเหตุ ได้แก่ การจัดการ การประสานงาน การควบคุมงาน การวางแผน อุบัติเหตุ คุณภาพบุคคลากร ลักษณะทางกายภาพอาคาร และอาการผู้ป่วย จากการศึกษาและวิเคราะห์ผล สรุปได้ว่าการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดมีขั้นตอนในการย้ายที่แตกต่างกัน ซึ่งเมื่อมีการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัด ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการวางแผนการย้าย และการเตรียมเครื่องมือ ได้แก่ ประเภทหน่วยงานตามลักษณะการให้บริการลักษณะการย้ายแบ่งตามในอาคารและนอกอาคาร อาการผู้ป่วย พื้นที่ต้นทางเนื่องจากเส้นทางในการย้าย ความพร้อมของพื้นที่ จำนวนบุคคลากร จำนวนรถพยาบาล ความพร้อมของผู้ป่วย จำนวนเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในการย้ายผู้ป่วย จำนวนผู้ป่วยหนัก …


งานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมประกอบอาคารในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ในช่วงปี พ.ศ. 2524 - 2560, ณิชา มหาพฤกษารัตน์ Jan 2017

งานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมประกอบอาคารในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ในช่วงปี พ.ศ. 2524 - 2560, ณิชา มหาพฤกษารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีการนำประติมากรรมมาเป็นองค์ประกอบของอาคารในการสร้างเอกลักษณ์และสุนทรียภาพที่ดีให้กับพื้นที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 จากการสำรวจพบว่ามีงานประติมากรรมประกอบอาคารเพิ่มมากขึ้นในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยแต่ละอาคารมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไปซึ่งต้องมีการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องหลายกลุ่ม นำมาสู่งานวิจัยนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมประกอบอาคาร ตลอดจนศึกษาขั้นตอนของงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมประกอบอาคารที่สัมพันธ์กับการบริหารโครงการก่อสร้าง เพื่อวิเคราะห์และอภิปรายถึงปัญหาของงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมประกอบอาคารในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีวิธีการดำเนินวิจัยคือ ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับประติมากรรม และจัดการงานก่อสร้าง เก็บข้อมูลโดยทำการสำรวจและสัมภาษณ์ผู้ว่าจ้าง ผู้ออกแบบพื้นที่ และผู้ออกแบบประติมากรรมของอาคารกรณีศึกษา 23 อาคาร จากการศึกษาพบว่าวัสดุที่นิยมมากที่สุดในการก่อสร้างประติมากรรมประกอบอาคารคือ วัสดุบรอนซ์ วัสดุไฟเบอร์กลาส และวัสดุสเตนเลสตามลำดับ โดยมีวิธีการได้มาซึ่งประติมากรรมประกอบอาคาร 3 วิธี คือ การจัดจ้างโดยตรง การประกวดราคา และการประกวดแบบ นอกจากนี้ยังพบว่า สามารถแบ่งขั้นตอนของงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมได้ทั้งหมด 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนการได้รับมอบหมายงาน ขั้นตอนการออกแบบ ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ขั้นตอนการก่อสร้าง และ ขั้นตอนการติดตั้งงานประติมากรรม ซึ่งเมื่อนำไปพิจารณาความสัมพันธ์กับหลักการบริหารโครงการ 5 ช่วงจากกรณีศึกษา 23 อาคารนั้น พบว่าขั้นตอนการได้รับมอบหมายงานประติมากรรมเกิดขึ้นในช่วงศึกษาความเป็นได้โครงการและช่วงการออกแบบโครงการเท่ากันมากที่สุดเป็นจำนวนช่วงละ 8 อาคาร ขั้นตอนการออกแบบประติมากรรมเกิดขึ้นในช่วงการออกแบบโครงการมากที่สุดเป็นจำนวน 12 อาคาร ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างประติมากรรมเกิดขึ้นในช่วงก่อสร้างโครงการมากที่สุดเป็นจำนวน 11 อาคาร ขั้นตอนการก่อสร้างประติมากรรมเกิดขึ้นในช่วงก่อสร้างโครงการมากที่สุดเป็นจำนวน 19 อาคาร และขั้นตอนการติดตั้งประติมากรรมเกิดขึ้นในช่วงหลังการก่อสร้างมากที่สุดจำนวน 17 อาคาร อีกทั้งยังพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุดเป็นปัญหาด้านกระบวนการ รองลงมาคือปัญหาด้านสถานที่ และปัญหาด้านบุคคลตามลำดับ นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า ขั้นตอนการได้รับมอบหมายงานที่เกิดขึ้นในช่วงศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เป็นขั้นตอนเดียวที่ไม่พบปัญหาในการก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรม ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 8 อาคาร จาก 23 อาคาร จึงสามารถสรุปเป็นแนวทางในการจัดการงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมได้ว่า ควรมีการเริ่มต้นกระบวนการในช่วงของการศึกษาความเป็นไปได้อาคาร เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อการบริหารโครงการก่อสร้างน้อยที่สุด นอกจากนี้ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างขั้นตอนของงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมกับการบริหารโครงการก่อสร้างว่ามีความจำเป็นต้องประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในหลายกลุ่มเพื่อให้เกิดการวางแผนอย่างเหมาะสม ด้วยเหตุนี้ การศึกษางานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจของลักษณะงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละโครงการ อันเป็นประโยชน์ต่อการบริหารโครงการก่อสร้างต่อไป


ลักษณะและสาเหตุของข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งในงานก่อสร้างแบบมีผู้รับเหมาหลายราย:กรณีศึกษาอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ธัญลักษณ์ น้อมนันททรัพย์ Jan 2017

ลักษณะและสาเหตุของข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งในงานก่อสร้างแบบมีผู้รับเหมาหลายราย:กรณีศึกษาอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ธัญลักษณ์ น้อมนันททรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการก่อสร้างอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่จึงการจัดซื้อจัดจ้างแบบมีผู้รับเหมาหลายรายด้วยสัญญาจ้างหลักหลายสัญญา ระหว่างช่วงปิดโครงการเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้รับเหมาเรื่องความรับผิดชอบในข้อบกพร่องของโครงการส่งผลให้เกิดความล่าช้าให้การย้ายเข้าพื้นที่ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและสาเหตุหลักที่ส่งผลให้เกิดข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งในงานก่อสร้างที่มีผู้รับเหมาหลายราย โดยศึกษาจากข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งทั้งหมด 887 รายการที่พบช่วงส่งมอบพื้นที่เพื่อย้ายเข้าในพื้นที่หอพักผู้ป่วยของโครงการ รวบรวมข้อมูลจากการสืบค้นเอกสารที่เกี่ยวข้องในโครงการ เข้าร่วมสังเกตการณ์ในที่ประชุมหารือเรื่องข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้ง และสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี Matrix data analysis และแผนผังสาเหตุและผล จากการศึกษาพบว่าสามารถจำแนกข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งตามลักษณะความบกพร่องได้ 3 ประเภทได้แก่ ของหาย ของชำรุดเสียหาย และของอยู่ผิดตำแหน่ง โดยพบของชำรุดเสียหายมากที่สุดจำนวนมากเกินครึ่ง รองลงมาได้แก่ของหายและพบของอยู่ผิดตำแหน่งน้อยที่สุด เมื่อจำแนกตามตำแหน่งที่พบสามารถแบ่งได้ 5 ประเภท ได้แก่ ประตูหรือหน้าต่าง ฝ้า พื้น ผนังหรือเสา และอุปกรณ์หรือเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งพบในอุปกรณ์หรือเฟอร์นิเจอร์มากที่สุด รองลงมาได้แก่ประตูหรือหน้าต่าง ตามด้วยผนังหรือเสา ฝ้า และพื้น ตามลำดับ ซึ่งมีสัดส่วนที่ไล่เลี่ยกัน เมื่อจำแนกตามการซ้อนทับของงานระบบ ณ ตำแหน่งที่พบ พบว่าสามารถจำแนกได้ 2 ประเภทได้แก่ข้อบกพร่องที่พบในพื้นที่เชิงซ้อนและข้อบกพร่องที่พบในพื้นที่เชิงเดี่ยว พื้นที่เชิงซ้อน หมายถึง พื้นที่ที่มีการซ้อนทับกันของงานระบบทางสถาปัตยกรรมโดยมีประเภทงานระบบที่เกี่ยวข้องมากกว่า 1 ชนิด พื้นที่เชิงเดี่ยว หมายถึง พื้นที่ที่มีการซ้อนทับกันของงานระบบทางสถาปัตยกรรม พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นในพื้นที่เชิงซ้อน เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะความบกพร่องกับการซ้อนทับของงานระบบ พบว่าลักษณะความบกพร่องที่ต่างกันมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดการซ้อนทับระบบในสัดส่วนที่ต่างกัน ของหายส่วนใหญ่พบในพื้นที่เชิงซ้อน ในทางกลับกันของชำรุดเสียหายมักเกิดในบริเวณที่พื้นที่เชิงเดี่ยวดังกล่าว ในขณะที่ของอยู่ผิดตำแหน่งพบในพื้นที่เชิงซ้อนเท่านั้น จากการวิเคราะห์สาเหตุการเกิดข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งพบว่าสามารถจัดกลุ่มสาเหตุขั้นต้นได้ 8 กลุ่ม ได้แก่ ผลกระทบจากการดำเนินงานอื่น ช่างผู้ปฏิบัติงานบกพร่อง เอกสารในประสานงานบกพร่อง การตรวจสอบและควบคุมงานบกพร่อง ขาดบุคลากร ผลกระทบจากลำดับการก่อสร้าง ขาดการจัดการควบคุมพื้นที่ และการออกแบบบกพร่อง เมื่อเรียงลำดับสาเหตุพบว่าลักษณะความบกพร่องที่แตกต่างกันมีเกิดจากรากสาเหตุที่ต่างกัน จากการศึกษาพบว่ารากสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งในงานก่อสร้างที่มีผู้รับเหมาหลายรายมี 6 กลุ่มสาเหตุ ได้แก่ เอกสารในประสานงานบกพร่อง การตรวจสอบและควบคุมงานบกพร่อง ขาดบุคลากร ผลกระทบจากลำดับการก่อสร้าง ขาดการจัดการควบคุมพื้นที่ และการออกแบบบกพร่อง ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญการบริหารจัดการโครงการ การบริหารจัดการงานก่อสร้าง และการออกแบบ ตั้งแต่ช่วงกำหนดความต้องการโครงการที่มีผลกระทบต่อเนื่องจนถึงช่วงปิดโครงการ ซึ่งจะเป็นบทเรียนที่จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการโครงการก่อสร้างที่มีรูปแบบการจัดซื้อจัดจ้างแบบมีผู้รับเหมาหลายราย เพื่อเป็นแนวทางป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวในช่วงปิดโครงการ


การศึกษาคุณสมบัติในการกันเสียงของแผ่นเหล็กมุงหลังคาด้วยวัสดุพอลิเมอร์ชนิดอิลาสโทเมอริกโฟม (ฉนวนยางดำ), ปรมาภรณ์ พูลสวัสดิ์ Jan 2017

การศึกษาคุณสมบัติในการกันเสียงของแผ่นเหล็กมุงหลังคาด้วยวัสดุพอลิเมอร์ชนิดอิลาสโทเมอริกโฟม (ฉนวนยางดำ), ปรมาภรณ์ พูลสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านเสียงที่เกิดขึ้นในอาคารเมื่อใช้วัสดุพอลิเมอร์ชนิดยางดำติดตั้งกับแผ่นเหล็กมุงหลังคา จากการศึกษาเบื้องต้น พบว่า ฉนวนยางดำมีคุณสมบัติที่ดีในการลดเสียงรบกวนจากภายนอก จึงได้ทำการศึกษารูปแบบการติดตั้งฉนวนยางดำที่มีความหนา 9, 19 และ 25 มิลลิเมตรกับแผ่นเหล็กมุงหลังคา 4 รูปแบบ คือ รูปแบบ A แผ่นเหล็กมุงหลังคาที่ไม่มีฉนวน รูปแบบ B แผ่นเหล็กมุงหลังคารีดติดด้วยฉนวนยางดำ รูปแบบ C แผ่นเหล็กมุงหลังคาที่ไม่มีฉนวน ปูฉนวนยางดำลงบนแป และรูปแบบ D แผ่นเหล็กมุงหลังคาที่ไม่มีฉนวน ติดตั้งฉนวนยางดำกับแผ่นฝ้าเพดานยิปซัมบอร์ดฉาบเรียบในรูปแบบแซนวิช ทดสอบเสียงรบกวนโดยใช้ฝนประดิษฐ์อ้างอิงตามมาตรฐาน ISO 10140-5 ผลการทดสอบคุณสมบัติในการกันเสียงรบกวนจากภายนอกของฉนวนยางดำ เมื่อเปรียบเทียบการติดตั้งทั้ง 4 รูปแบบ ในด้านค่าเฉลี่ยระดับความดันเสียงที่ส่งผ่านมายังห้องจำลอง ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง พบว่า รูปแบบ B แผ่นเหล็กมุงหลังคารีดติดด้วยฉนวนยางดำ ความหนา 25 มิลลิเมตร พร้อมติดตั้งฝ้าเพดานฉาบเรียบ 2 ชั้น มีช่องว่างอากาศ ภายในห้องจำลอง มีค่าเฉลี่ยระดับความดันเสียงต่ำที่สุด เท่ากับ 40.89 dBA มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 2,002.14 บาท/ตารางเมตร และรูปแบบ A แผ่นเหล็กมุงหลังคาที่ไม่มีฉนวนติดตั้งบนโครงหลังคา (Base-case) มีค่าเฉลี่ยระดับความดันเสียงสูงที่สุด เท่ากับ 62.02 dBA มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 395 บาท/ตารางเมตร และเมื่อพิจารณารูปแบบการติดตั้งทั้ง 4 รูปแบบร่วมกับเกณฑ์ของเสียงรบกวนที่สามารถยอมรับได้ภายในอาคาร พบว่า รูปแบบ B แผ่นเหล็กมุงหลังคารีดติดด้วยฉนวนยางดำ ความหนา 9 มิลลิเมตร พร้อมติดตั้งฝ้าเพดานฉาบเรียบชั้นเดียว คือรูปแบบการติดตั้งที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีเสียงรบกวนเกิดขึ้นภายในห้อง 44.41 dBA มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 1,318.57 บาท/ตารางเมตร ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบการใช้งานที่เหมาะสมตามเกณฑ์ของเสียงรบกวนที่สามารถยอมรับได้ภายในอาคาร พบว่า สามารถนำไปใช้งานกับอาคารประเภทที่พักอาศัยที่มีขนาดใกล้เคียงกับห้องจำลองที่ใช้ในการทดสอบ ซึ่งผู้ออกแบบสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับอาคารได้


การบริหารจัดการงานบูรณะในพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน, ปาริฉัตร สกุลเจริญพรชัย Jan 2017

การบริหารจัดการงานบูรณะในพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน, ปาริฉัตร สกุลเจริญพรชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พระราชนิเวศน์มฤคทายวันสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2466 มีสภาพที่ตั้งติดริมชายหาดชะอำ ลักษณะอาคารเป็นอาคาร กึ่งปูนกึ่งไม้ยกพื้นสูงใต้ถุนโล่ง ใช้สำหรับการแปรพระราชฐานในฤดูร้อนของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองตำรวจตระเวนชายแดนเข้าใช้พื้นที่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 ได้มีการจัดตั้งมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ขึ้นเพื่อเข้ามาดูแลรักษาอาคาร รวมถึงบริหารจัดการพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และสถานที่ท่องเที่ยว กระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้พระราชทานโฉนดที่ดิน เพื่อให้ทางมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวันได้ใช้ประโยชน์ต่อไป ด้วยความสำคัญของพื้นที่และคุณค่าทางสถาปัตยกรรมดังกล่าว รวมไปถึงสภาพความเสียหายทรุดโทรมของอาคาร ทางมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวันได้เห็นความสำคัญ ที่จำเป็นต้องดำเนินการบูรณะซ่อมแซมอาคารในหมู่พระที่นั่งจำนวนหลายหลัง งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการศึกษากระบวนการการบริหารจัดการงานบูรณะสถาปัตยกรรมในพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน กับทฤษฎีการอนุรักษ์และทฤษฎีการบริหารจัดการสถาปัตยกรรม โดยอาคารที่ทำการศึกษาในหมู่พระที่นั่ง อยู่ในช่วงเวลาที่มีการบูรณะตั้งแต่ปี พ.ศ.2554-2560 ประกอบด้วย ศาลาลงสรงฝ่ายหน้า สโมสรเสวกามาตย์ หอเสวยฝ่ายหน้า และระเบียงทางเดินศาลาลงสรง จำนวน 4 หลังที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขั้นตอน เอกสาร เวลางบประมาณ วัสดุ และบุคคลที่เกี่ยวข้องในงานบูรณะพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จากการศึกษากระบวนการและขั้นตอนในการบริหารจัดการงานบูรณะพระราชนิเวศน์มฤคทายวันนั้น ในช่วงแรกที่มีการบูรณะอาคารนั้น มีการใช้ทฤษฎีการอนุรักษ์และทฤษฎีการบริหารจัดการสถาปัตยกรรม ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ต่อมาได้มีการพัฒนากระบวนการและขั้นตอนเพิ่มขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ช่วงก่อนการดำเนินการก่อสร้าง และช่วงดำเนินการก่อสร้าง มีการบริหารจัดการเรื่องเอกสารที่เป็นระบบ จัดสรรงบประมาณ มีการกำหนดแผนการดำเนินการและระยะเวลา การจัดการวัสดุที่ใช้ในการซ่อมแซม รวมถึงการจัดหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการอนุรักษ์และทฤษฎีการบริหารจัดการสถาปัตยกรรม ทำให้การบริหารจัดการงานบูรณะดำเนินงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้


อิทธิพลของสี วัสดุพื้นผิว และอุณหภูมิสีของแสงที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ด้านความเป็นอยู่ที่ดีและภาพจดจำของห้องพักผู้ป่วยโรงพยาบาลระดับสูง, ปาริชาติ ยามไสย Jan 2017

อิทธิพลของสี วัสดุพื้นผิว และอุณหภูมิสีของแสงที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ด้านความเป็นอยู่ที่ดีและภาพจดจำของห้องพักผู้ป่วยโรงพยาบาลระดับสูง, ปาริชาติ ยามไสย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันธุรกิจโรงพยาบาลมีการขยายตัวมากขึ้น ผู้ประกอบการโรงพยาบาลต่างตระหนักถึงอัตราการแข่งขันทางการตลาด จึงให้ความสนใจในกลยุทธ์ในการให้บริการรูปแบบต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น การออกแบบสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมต่อการรักษามีผลต่อการรับรู้ความเป็นอยู่ที่ดีเป็นหนึ่งกลยุทธ์ที่นำมาใช้ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมภายในห้องพักผู้ป่วยซึ่งเป็นบริเวณที่ผู้รับบริการต้องใช้เวลาในการรักษาตัวนานที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์วิเคราะห์องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้ถึงความเป็นอยู่ที่ดีซึ่งอาจนำไปสู่การตัดสินใจพักฟื้นในโรงพยาบาลระดับสูง งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรตัวอย่างจำนวน 120 คน อายุระหว่าง 20-60 ปี โดยให้ดูภาพจำลองการตกแต่งภายใน การใช้ผนังทาสี ผนังวัสดุไม้ และอุณหภูมิสีของแสง รวมเป็นจำนวน 10 ภาพ และสอบถามการรับรู้ความเป็นอยู่ที่ดี ด้วยแบบสอบถามการรับรู้ 6 ด้าน ความสะดวกสบาย สะอาด ผ่อนคลาย มีชีวิตชีวา มีราคา และน่าเชื่อถือ จากวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า ปัจจัยที่เกิดผลกระทบต่อกลุ่มตัวอย่างมากที่สุดคืออุณหภูมิสีของแสง โดยอุณหภูมิสีของแสง warm white จะมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ทุกด้านมากกว่า daylight อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ห้องที่ตกแต่งด้วยผนังวัสดุไม้สีอ่อนได้รับค่าเฉลี่ยการรับรู้เชิงบวกสูงกว่าไม้สีเข้ม ผนังทาสีเขียวและทาสีฟ้ามีค่าเฉลี่ยการรับรู้กว่าผนังสีขาว งานวิจัยเสนอแนะว่าแนวทางการออกแบบภายในห้องพักผู้ป่วยระดับสูงควรมีการเลือกใช้ อุณหภูมิสีของแสง warm white เพื่อสร้างการรับรู้ความเป็นอยู่ที่ดีเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการเลือกใช้ทั้งไม้สีอ่อนและผนังทาสีอ่อน


ปัญหาการใช้กระเบื้องหลังคาดินเผาในงานสถาปัตยกรรมไทย : กรณีศึกษา อาคารในพุทธมณฑล, นิติมา คุตตะสิงคี Jan 2017

ปัญหาการใช้กระเบื้องหลังคาดินเผาในงานสถาปัตยกรรมไทย : กรณีศึกษา อาคารในพุทธมณฑล, นิติมา คุตตะสิงคี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์จะศึกษา การใช้กระเบื้องดินเผามุงหลังคาในงานสถาปัตยกรรมไทยและปัญหาที่เกิดขึ้น โดยอาศัยอาคารในพุทธมณฑล ที่มุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา เป็นกรณีศึกษา จากการสำรวจอาคารทั้งหมด 44 หลัง พบผังหลังคาทั้งหมด 13 รูปแบบ ตัวหลังคาจั่ว มีความลาดชัน 45, 55 และ 60 องศา ส่วนหลังคาปีกนก มีความลาดชัน 20, 25, 30, 35 และ 45 องศา โครงสร้างหลังคามีทั้งคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็ก และไม้ ส่วนแประแนงจะเป็นไม้ทั้งหมด หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาหางมนชนิดเผาธรรมดา หรือชนิดเผาไฟสูง โดยการมุงกระเบื้องตัวสั้นซ้อนทับกระเบื้องตัวยาว มีการปั้นปูนปิดครอบรอยต่อหลังคา โดยมีรางน้ำทำด้วยสังกะสี และมีการทำแผ่นรองใต้หลังคา (Sub roof) ด้วยสังกะสี หรือ คอนกรีตเสริมเหล็ก ปัญหาที่พบ ได้แก่ ปูนปั้นบริเวณสันหลังคาและตะเข้สันแตก แปผุ กระเบื้องหลังคาแตกหรือหลุด กระเบื้องสีซีดหรือสีหลุดร่อน มีเศษฝุ่นหรือใบไม้สะสมบนหลังคา มีวัชพืชขึ้นตามเชิงชายและในตะเข้ราง รวมทั้งรอยคราบน้ำบนฝ้าเพดานภายในอาคารที่มาจากการรั่วซึม ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ ปูนปั้นหรือกระเบื้องหลังคาแตกหรือหลุด น้ำจะรั่วซึมลงมาเวลาฝนตก ทำให้แประแนงไม้ผุ กระเบื้องหลังคาจะแตกหรือหลุดเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับรากของวัชพืชจะทำให้กระเบื้องหลังคาแตกหรือหลุด ในขณะที่เศษฝุ่นหรือใบไม้ที่สะสมทำให้น้ำล้นรางเข้าในอาคาร แนวทางการแก้ปัญหา คือการเลือกวัสดุที่เหมาะสม โดยคงรูปแบบ ลักษณะ และการใช้งานเดิม วัสดุใหม่ที่ใช้ควรมีความแข็งแรง ทนทาน และมีอายุการใช้งานนาน รวมทั้งมีน้ำหนักน้อยกว่า ซึ่งจะช่วยลดภาระการรับน้ำหนักของโครงสร้างหลังคาและอาคาร จึงเสนอให้ใช้กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ ครอบหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ แปเหล็กชุบกัลวาไนซ์ รางน้ำสเตนเลส ฯลฯ ทั้งนี้จะต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดเป็นประจำไม่ให้มีวัชพืช เศษฝุ่น และใบไม้สะสม


สัณฐานการเปลี่ยนแปลงเรือนพักผู้จัดการบริษัทอีสต์เอเชียติก จังหวัดแพร่, ปิยะธิดา สายขุน Jan 2017

สัณฐานการเปลี่ยนแปลงเรือนพักผู้จัดการบริษัทอีสต์เอเชียติก จังหวัดแพร่, ปิยะธิดา สายขุน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เรือนพักผู้จัดการบริษัท อีสต์เอเชียติก เป็นหนึ่งในตัวอย่างของบ้านที่แสดงให้เห็นถึงจุดเปลี่ยนของการสร้าง "บ้านไม้แปรรูป" ซึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 100 ปี และถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตามการใช้งานแต่ละยุคสมัย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและลักษณะสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของอาคาร ด้วยวิธีการสำรวจรังวัดอาคาร การสัมภาษณ์ รวมถึงการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างและการใช้งานจากลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สามารถสืบค้นได้ จากการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงของอาคารแบ่งได้เป็น 4 ช่วงเวลา คือ (1) ช่วงปี พ.ศ.2468-2478 (2) ช่วงปี พ.ศ.2479-2500 (3) ช่วงปี พ.ศ.2501-2540 และ(4) ช่วงปี พ.ศ.2541-ปัจจุบัน ส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยมากที่สุด คือ บริเวณพื้นที่ชานภายนอก ส่วนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วมีผลต่อพื้นที่ใช้สอยตลอดจนรูปทรงของอาคารมากที่สุด คือ พื้นที่ระเบียงโล่งชั้นบนที่มีการติดผนังหน้าต่างในยุคหลัง นอกจากนี้ จากการสืบค้นลักษณะดั้งเดิมของอาคารไปถึงช่วงปี พ.ศ.2468-2478 พบว่าลักษณะสถาปัตยกรรมในช่วงเวลาดังกล่าวมีความแตกต่างจากรูปแบบในปัจจุบันหลายประการ เช่น มีระเบียงทางเดินชั้นบนเปิดโล่ง 2 ด้าน และมีชานทั้งชั้นบนชั้นล่าง และจากการศึกษาหน้าตัดไม้ในโครงสร้างส่วนต่างๆ ทั้ง หลังคา ผนัง พื้น รวมถึงระบบการก่อสร้าง พออนุมานได้ว่าเรือนพักผู้จัดการบริษัทอีสต์เอเชียติกเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นของบ้านไม้แปรรูปหลังอื่นๆ ที่เห็นได้ในปัจจุบัน ด้วยสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และทำให้มีการใช้หน้าตัดไม้ที่มีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้ทั่วไปในปัจจุบัน


การจัดทำสมการทำนายการใช้พลังงานในอาคารสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วริศรา ทัศนสุวรรณ Jan 2017

การจัดทำสมการทำนายการใช้พลังงานในอาคารสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วริศรา ทัศนสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้พลังงานในอาคารสถาบันอุดมศึกษา และจัดทำแบบจำลองประเภท Inverse modeling เพื่อทำนายการใช้พลังงานในอาคาร ด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการพลังงานในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการวิจัยประกอบด้วยการสำรวจอาคารและการเก็บรวบรวมปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้พลังงานในอาคาร โดยพิจารณาจากข้อมูลที่สามารถเก็บรวบรวมได้ในช่วงปี พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2560 และศึกษาจากกลุ่มอาคารกรณีศึกษาอาคารเรียน และอาคารสำนักงานภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยปัจจัยที่นำมาวิเคราะห์สมการจำลอง ได้แก่ ข้อมูลกายภาพอาคาร การใช้พลังงานของระบบประกอบอาคารและอุปกรณ์ไฟฟ้า ผู้ใช้งานและระยะเวลาการใช้งานอาคาร และสภาพอากาศ ผลการศึกษา พบว่า มี 11 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้พลังงานในอาคารเรียนและอาคารสำนักงานในมหาวิทยาลัย ได้แก่ อุณหภูมิอากาศภายนอกเฉลี่ย ขนาดพื้นที่ส่วนเรียนบรรยาย ขนาดพื้นที่ส่วนสตูดิโอ ขนาดพื้นที่ปรับอากาศ กำลังทำความเย็นต่อพื้นที่ ค่ากำลังไฟฟ้าส่องสว่างต่อพื้นที่เฉลี่ย (LPD) ค่ากำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่อพื้นที่เฉลี่ย (EPD) จำนวนนักเรียนต่อวัน ชั่วโมงทำการของสำนักงานต่อเดือน ชั่วโมงเรียนบรรยายต่อเดือน และชั่วโมงสตูดิโอต่อเดือน โดยสมการแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มประเภทอาคาร ได้แก่ อาคารเรียนปฏิบัติการสตูดิโอ อาคารเรียนรวม อาคารเรียนและสำนักงาน และอาคารสำนักงานทั่วไป สมการจำลองการใช้พลังงานของอาคารแต่ละประเภทมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R2) เท่ากับ 0.86 0.78 0.25 และ 0.99 ตามลำดับ (p < 0.05) จากการตรวจสอบค่าความคลาดเคลื่อนของสมการ พบว่า สมการจำลองมีค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) เท่ากับ 3,696.95 kWh 4,618.76 kWh 22,774.30 kWh และ 6,284.83 kWh ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์การแปรผันของค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (CV-RMSE) เท่ากับร้อยละ 4.93 12.22 27.82 และ 6.81 ตามลำดับ และมีค่าคลาดเคลื่อนจากความเอนเอียงเฉลี่ย (MBE) เท่ากับ 18.27 kWh - 2.84 kWh 1.52 kWh และ - 50.00 kWh ซึ่งใกล้เคียงกับการใช้พลังงานจริง จึงสามารถนำสมการจำลองไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการจัดการด้านพลังงานในอาคารเรียนและอาคารสำนักงานในสถาบันอุดมศึกษาได้


การอนุรักษ์โถงโรงภาพยนตร์สกาล่า, สิรินดา มธุรสสุคนธ์ Jan 2017

การอนุรักษ์โถงโรงภาพยนตร์สกาล่า, สิรินดา มธุรสสุคนธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงภาพยนตร์สกาล่าสร้างขึ้นในยุครุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของไทยในช่วงปีพ.ศ.2505-2515 ตั้งอยู่บนพื้นที่ศูนย์การค้าสยามสแควร์ ด้วยองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่ชัดเจนทางกายภาพและโครงสร้างฝ้าโค้งที่โดดเด่นของโถงโรงภาพยนตร์ ทำให้กลายเป็นจึงเป็นพื้นที่ที่เป็นภาพจำ แต่ด้วยความนิยมที่ลดลง ประกอบกับพื้นที่ตั้งที่มีแนวโน้มจะเกิดการพัฒนาในอนาคต จึงเกิดประเด็นวิพากษ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์โรงภาพยนตร์แห่งนี้ไว้ วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเฉพาะในส่วนของโถงโรงภาพยนตร์สกาล่าและนำเสนอทางเลือกในการอนุรักษ์โถงโรงภาพยนตร์ในมุมมองเชิงความเป็นไปได้ทางการก่อสร้าง เพื่อรองรับการพัฒนาที่อาจจะเกิดขึ้น ผ่านระเบียบวิธีการศึกษาโดยเริ่มต้นจากการศึกษาจากแบบสถาปัตยกรรม บทความ ภาพถ่าย การสัมภาษณ์และการสำรวจพื้นที่จริงเพื่อนำไปวิเคราะห์รูปแบบสถาปัตยกรรม และจัดกลุ่มองค์ประกอบที่สำคัญ จากการศึกษาในเบื้องต้นนั้นถูกใช้เป็นแนวทางในการสร้างทางเลือกของการอนุรักษ์ร่วมกับทฤษฎี และหลักการการอนุรักษ์ ภายใต้เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ ความมั่นคงทางโครงสร้าง และความสำคัญขององค์ประกอบได้เป็นทางเลือกในการอนุรักษ์ 5 ระดับ ได้แก่การอนุรักษ์องค์ประกอบทั้งหมดไปจนถึงการรื้อย้ายองค์ประกอบทั้งหมดไปอนุรักษ์บนพื้นที่อื่น นอกจากนั้นเมื่อนำทางเลือกการอนุรักษ์มาแจกแจงจะพบความแตกต่างและซับซ้อนภายใต้ความสัมพันธ์ของการเพิ่มจำนวนองค์ประกอบที่เก็บรักษาไว้บนพื้นที่ โดยประเมินได้เป็นระดับความยาก-ง่ายในการทำงาน จากที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการรื้อถอนเป็นอีกหนึ่งขึ้นตอนที่มีบทบาทกับการอนุรักษ์ในวิทยานิพนธ์เล่มนี้อีกประเด็นหนึ่ง อีกทั้งยังนำเสนอการจำลองแนวทางการรื้อถอนในงานอนุรักษ์ตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ในการอนุรักษ์ไปจนถึงการรื้อย้ายองค์ประกอบทั้งหมดออกจากพื้นที่โดยใช้องค์ความรู้จากการศึกษาเกี่ยวกับการรื้อถอน และคำแนะนำจากวิศวกรประกอบด้วย ผลลัพธ์จากการศึกษาในครั้งนี้ถือเป็นการเริ่มต้นในการสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับโรงภาพยนตร์สกาล่า และทำให้เห็นภาพรวมของทางเลือกการของการอนุรักษ์ ผ่านการประเมินคุณค่าและความสำคัญในการอนุรักษ์ และเกิดเป็นข้อสังเกต ข้อควรระวัง ซึ่งสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจเลือกแนวทางการอนุรักษ์และปรับปรุงพื้นที่โรงภาพยนตร์สกาล่าได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนการสร้างแนวทางการอนุรักษ์ของสถาปัตยกรรมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก รูปแบบสมัยใหม่ในประเทศไทยให้เกิดแนวทางการอนุรักษ์ที่มีมาตรฐาน


สภาพกายภาพสถานที่ทำงาน กับความพึงพอใจผู้ใช้งานบทเรียนจากกรณีศึกษา สำนักงานสภากาชาดไทย, สุจิตรา พิมพิสุทธิ์ Jan 2017

สภาพกายภาพสถานที่ทำงาน กับความพึงพอใจผู้ใช้งานบทเรียนจากกรณีศึกษา สำนักงานสภากาชาดไทย, สุจิตรา พิมพิสุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงประจักษ์เกี่ยวกับสภาพกายภาพสถานที่ทำงาน กับความพึงพอใจผู้ใช้งาน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้งานพื้นที่ทำงาน ความพึงพอใจในการใช้งานพื้นที่ทำงาน ความสัมพันธ์ของขนาดพื้นที่และความพึงพอใจในการใช้พื้นที่ทำงาน ในสำนักงานของสภากาชาดไทย โดยการเข้าสำรวจพื้นที่ทำงาน สังเกตการใช้งานพื้นที่ทำงานบุคคล วัดขนาดพื้นที่ทำงาน และเขียนลงแบบผังพื้น โดยศึกษาพื้นที่ในสำนักงานของสภากาชาดไทยทั้ง 18 หน่วยงาน และส่งแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานพื้นที่ทำงาน จากผลการศึกษาพบว่า มีการใช้งานพื้นที่ทำงานในสำนักงาน 23 พื้นที่ทำงาน แบ่งเป็น 2 ลักษณะพื้นที่ คือ พื้นที่ทำงานที่ปรับปรุงแล้ว พบ 12 พื้นที่ทำงาน มีระดับความพึงพอใจสูงเรื่อง 1.) การเข้าถึงพื้นที่มีความสะดวกง่ายต่อการติดต่อประสานงาน 2.) การจัดพื้นที่ทำงานมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โปร่งโล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก แสงสว่างเพียงพอ 3.) มีความปลอดภัยในการใช้งานพื้นที่ ไม่มีสิ่งกีดขวางทางเดิน และพื้นที่ทำงานที่ยังไม่ได้ปรับปรุง พบ 11 พื้นที่ทำงาน มีระดับความพึงพอใจต่ำเรื่อง 1.) การจัดพื้นที่ทำงานมีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม พื้นที่มีความหนาแน่น ระบายอากาศได้ไม่ดี 2.) ไม่มีความปลอดภัยในการใช้งานพื้นที่ มีสิ่งกีดขวางทางเดิน มีสายไฟไม่เรียบร้อย และพบทั้ง 2 ลักษณะพื้นที่มีปัญหาและความต้องการที่เหมือนกันเรื่อง 1.) การเข้าถึงพื้นที่ หน่วยงานที่มีพื้นที่ทำงานมากกว่าหนึ่งพื้นที่ทำงานอยู่ต่างชั้นต่างอาคาร ทำให้เกิดความไม่สะดวกคล่องตัวในการติดต่อประสานงานภายในหน่วยงาน ส่งผลให้ใช้ระยะทางและเวลาในการทำงานเพิ่มมากขึ้น 2.) อุปกรณ์สำนักงานไม่เพียงพอต่อความต้องการตามปริมาณงาน และบุคลากรที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะที่เก็บเอกสาร และเครื่องใช้สำนักงาน เช่น เครื่องปริ้นเตอร์ เป็นต้น และพบการจัดพื้นที่ทำงานบุคคลในสำนักงาน มีทั้งหมด 8 รูปแบบ จากการศึกษาจึงสรุปได้ว่าความพึงพอใจในการใช้พื้นที่ทำงานในสำนักงาน เกี่ยวข้องกับ เรื่อง 1.) การเข้าถึงพื้นที่ทำงานที่มีความสะดวกในการติดต่อประสานงานภายในหน่วยงาน พื้นที่ที่เชื่อมถึงกัน ระยะทางเดินไม่ไกล ไม่แยกชั้นหรือแยกอาคาร 2.) การจัดพื้นที่ที่มีความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม โปร่งโล่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีอุณหภูมิเหมาะสมและแสงสว่างทั่วถึง 3.) มีความปลอดภัยในการใช้พื้นที่ ไม่มีสิ่งของกีดขวางทางเดิน การเดินสายไฟเรียบร้อย ไม่มีสิ่งของที่ชำรุดเสียหายหรือเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน 4.) อุปกรณ์สำนักงานเพียงพอต่อความต้องการตามปริมาณงาน และจำนวนบุคลากร การบริหารจัดการพื้นที่ทำงาน เพื่อทำให้เกิดความคล่องตัว มีสภาพแวดล้อมที่ดี และเหมาะสมต่อการทำงาน มีผลทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างงาน (Work) คน (People) และสถานที่ …


การใช้น้ำประปาและการคาดการณ์การใช้น้ำของโรงแรมในกรุงเทพมหานคร, สุภารัตน์ พิลางาม Jan 2017

การใช้น้ำประปาและการคาดการณ์การใช้น้ำของโรงแรมในกรุงเทพมหานคร, สุภารัตน์ พิลางาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กรุงเทพมหานครเป็นเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจและยังเป็นเมืองอันดับหนึ่งที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว ทำให้ธุรกิจโรงแรมในกรุงเทพฯขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นผลให้ความต้องการใช้น้ำประปาในโรงแรมมากขึ้น จุดประสงค์ของการทำวิจัยนี้เพื่อศึกษาปริมาณการใช้น้ำของโรงแรมในกรุงเทพฯ โดยเก็บข้อมูลอาคารตัวอย่าง 34 แห่ง การศึกษาแบ่งชุดข้อมูลออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการใช้น้ำในโรงแรมจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง และส่วนที่สองเป็นข้อมูลปริมาณการใช้น้ำปี พ.ศ.2558 ของกลุ่มตัวอย่างจากการประปานครหลวง ผลการศึกษาพบว่าปริมาณการใช้น้ำของโรงแรมในกรุงเทพฯ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1,210 ลิตร/ห้องพัก/วัน ในการสร้างแบบจำลองเพื่อคาดการณ์การใช้น้ำประปา ได้ใช้วิธีวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยคัดเลือกตัวแปรแบบขั้นตอนได้สมการคือ 26.01 (จำนวนห้องที่ขายได้) + 0.07 (พื้นที่ใช้สอยของอาคาร) + 1,593.49 (ระดับดาว) - 6,239.41 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันของสมการคือ 0.92 เมื่อนำสมการมาทำการทดสอบความแม่นยำพบว่ามีค่าความคลาดเคลื่อน 3.73% สามารถนำไปวิเคราะห์ค่าการใช้น้ำในอนาคต ในการพยากรณ์การใช้น้ำในอนาคตเป็นการช่วยจัดสรรน้ำในอาคาร เป็นแนวทางให้ผู้ออกแบบโรงแรมในกรุงเทพฯ มีเข้าใจในระบบการจัดการน้ำใช้เพื่อช่วยประหยัดน้ำในอาคารได้