Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 52

Full-Text Articles in Architecture

Residential To Commercial Area Development: The Case Of Nimmanhemin, Chiang Mai, Thailand, Chompoonoot Chompoorath, Hiroaki Kimura Dec 2017

Residential To Commercial Area Development: The Case Of Nimmanhemin, Chiang Mai, Thailand, Chompoonoot Chompoorath, Hiroaki Kimura

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

Nimmanhemin is a significant shopping area in Chiang Mai, whereshopping areas developed fromlong-distancetrade transport and developed into merchant communities, but Nimmanhemin beganas a residential area and was later developed for commercial purposes. Therefore, Nimmanhemin represents a unique development. This study focuses on the spatial transformation from a residential area into a commercial area and aims to discover the factors impacting the development of the residential area into one of today's most significant commercial areas in Chiang Mai, and study the adaptation of buildings which were not primarily created for commercial purposes. Even though the existing planning of the Nimmanhemin area …


Enhancing The Potential Cooling Benefits Of Urban Water Bodies, Nedyomukti Imam Syafii, Masayuki Ichinose, Eiko Kumakura, Kohei Chigusa, Steve Kardinal Jusuf, Nyuk Hien Wong Dec 2017

Enhancing The Potential Cooling Benefits Of Urban Water Bodies, Nedyomukti Imam Syafii, Masayuki Ichinose, Eiko Kumakura, Kohei Chigusa, Steve Kardinal Jusuf, Nyuk Hien Wong

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

In Saitama, Japan, a series of experimental studies has been conducted inside an outdoor scale model canopy to find an effective design solution of water bodies for improving urban thermal environmentand pedestrian comfort. Thus, the study result may help designers and planners to manage tradeoffs between the cooling effect demands, land-use limits and other design elements in urban environments. By modifying its physical properties, the present study shows a clear evidence of the mitigating capacity of urban water bodies. The result shows that generally, a bigger pond has greater cooling benefits. Nevertheless, by lowering the water temperature, the cooling benefit …


The Strategic Design Approaches For Chittagong Hill Areas To Reduce Risks Of Landslides And Exploring The Opportunity Of Tourism Development, Syed Monirul Islam, Maher Niger Dec 2017

The Strategic Design Approaches For Chittagong Hill Areas To Reduce Risks Of Landslides And Exploring The Opportunity Of Tourism Development, Syed Monirul Islam, Maher Niger

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

Chittagong is the largest port city and second largest city of Bangladesh and contributes substantially to the economic development of Bangladesh. Chittagong is quite an attractive location. Surrounded by the rivers, hills and the sea, Chittagong possess the opportunity to uphold its image as a fascinating, multiple tourism destination where visitors can enjoy both the sea and hills. Chittagong has boundless opportunities for thousands of people living in the hilly areas. But unfortunately the hillsides are highly vulnerable to frequent and damaging landslides. Recent major landslides were caused by an extreme, higher than average, rainfall within a short period of …


Ethical Relativism And Critical Regionalism:An Ethical Viewpoint On The Non-Western Architectural Professions, Supasai Vongkulbhisal Dec 2017

Ethical Relativism And Critical Regionalism:An Ethical Viewpoint On The Non-Western Architectural Professions, Supasai Vongkulbhisal

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

This paper focuses on the ethical theories and practices relating to Critical Regionalism, Tropicality, and Contemporary Vernacular today. Ethical Relativism is selected as a main ethical philosophy to question, challenge, and examine the hybridized fusion that results when the complex structural dislocation of Western modern discourse is applied to different regional grounds far from its origin. Ethical Relativism denies that there is a single moral standard which is equally applicable to all people at all times. The empirically ascertained fact of this ethics is that there are a great many different and even conflicting rules and practices prevailing at different …


Barriers To A Low Carbon Society In An Academic Community: A Quasi-Experimental Study At Rajamangla University Of Technology, Thailand, Chantamon Potipituk, Ariva Sugandi Permana, Erianto Er Dec 2017

Barriers To A Low Carbon Society In An Academic Community: A Quasi-Experimental Study At Rajamangla University Of Technology, Thailand, Chantamon Potipituk, Ariva Sugandi Permana, Erianto Er

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

As an exceedingly knowledgeable community that lacks commitment and support, the leaders of the university have attempted to promote a green society by various means, i.e.multimedia infographics and workshops. A study was conducted of the barriers to implementing a low carbon society among the students as well as the academic and administrative staff at Rajamangala University of Technology Rattanakosin, Salaya Thailand. This was done with a quasi-experimental study to understand the potential barriers implementing a low carbon society in an academic setting. A quasi-experiment was done due to resource constraints. The information required by this study was gained through a …


Continuity Or Discontinuity, Revisiting The Legacy Of Wali Sanga Mosquescase Studies Of Contemporary Mosques Of Nahdliyin In Malang, East Java, Yulia Eka Putrie, Widjaja Martokusumo, Bambang Setia Budi Dec 2017

Continuity Or Discontinuity, Revisiting The Legacy Of Wali Sanga Mosquescase Studies Of Contemporary Mosques Of Nahdliyin In Malang, East Java, Yulia Eka Putrie, Widjaja Martokusumo, Bambang Setia Budi

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

Many mosques in East Java are built by the Nahdliyin and are culturally affiliated to Nahdlatul Ulama (NU), the biggest Indonesian moderate Muslim organization. NU maintains a specific value system as the continuation of the Wali Sanga tradition. This paper discusses the representation of these values and traditions in the contemporary mosques of Nahdliyin in Malang, East Java. These mosques are where a great basis of the Nahdliyin experiences dynamic interaction with other Muslim groups take place. The results show that despite their pluralistic formal expressions, these contemporary mosques of Nahdliyinshare similar values and traditions with Wali Sanga mosques.


Reinvigorating Urban Under Space:Towards A New Type Of Public Landscape, Yujia Wang, Gandong Cai Dec 2017

Reinvigorating Urban Under Space:Towards A New Type Of Public Landscape, Yujia Wang, Gandong Cai

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

The proposition of this paper is to examine the agency of landscape in subverting, energizing and reinvigorating a specific kind of deserted space in cities - Urban Under Space. The term Urban UnderSpace refers to residual infrastructural spaces, such as under-bridge space, abandoned subway stations, air raid shelters, etc. The wide availability and continued generation of Urban Under Space in cities that were investigated in North America and Asia reflect a problem in modern planning. But it also provides an opportunity of positioning these piecesas a network of new urban landscapes that can offer a unique and attractive public space …


กระบวนการ และปัญหาในการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัด : กรณีศึกษาอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ชญานิน โกศล Jan 2017

กระบวนการ และปัญหาในการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัด : กรณีศึกษาอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ชญานิน โกศล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ส่งผลให้มีการปรับปรุงและพัฒนาโรงพยาบาลในประเทศไทยให้มีความทันสมัยได้มาตรฐานในระดับสากล เช่นเดียวกันกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หนึ่งในโรงพยาบาลชั้นนำของประเทศที่ได้สร้างอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ขึ้นเพื่อตอบสนองการให้บริการ โดยอาคารดังกล่าวมีการย้ายเข้าของหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดจากนอกอาคารเข้าสู่ภายในอาคาร นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงอาคารระหว่างการใช้งานส่งผลให้มีการโยกย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดไปสู่พื้นที่ชั่วคราวขณะทำการปรับปรุง จึงได้ทำการศึกษาขั้นตอน และปัญหาในการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มกรณีย้ายหอผู้ป่วยภายในอาคาร กลุ่มกรณีย้ายหอผู้ป่วยจากภายนอกอาคาร กรณีย้ายห้องผ่าตัดภายในอาคาร กรณีย้ายห้องผ่าตัดจากภายนอกอาคาร โดยการสังเกต บันทึกข้อมูลในเหตุการณ์ และสอบถามผู้เกี่ยวข้องกับการย้ายหอผู้ป่วย จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สรุปและอภิปรายผล จากการศึกษาพบว่า เมื่อวิเคราะห์ตามกิจกรรมที่ปฏิบัติสามารถแบ่งขั้นตอนการย้ายหอผู้ป่วยได้เป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการย้ายของ ขั้นตอนการเตรียมผู้ป่วย ขั้นตอนการย้ายผู้ป่วย และขั้นตอนการตรวจสอบและส่งคืนพื้นที่ ในขณะที่การย้ายห้องผ่าตัดมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการย้ายของ และขั้นตอนการตรวจสอบและส่งคืนพื้นที่ แต่การย้ายห้องคลอด และห้องผ่าตัดคลอดมีการปฏิบัติ 5 ขั้นตอนเช่นเดียวกับการย้ายหอผู้ป่วย ทั้งนี้แต่ละกิจกรรมในขั้นตอนจะมีทั้งกิจกรรมที่ปฏิบัติเช่นเดียวกัน และกิจกรรมที่ปฏิบัติต่างกัน รวมถึงการเตรียมเครื่องมือในการย้ายของ และย้ายผู้ป่วยก็มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง นอกจากนี้เมื่อวิเคราะห์จากช่วงเวลาในการปฏิบัติงาน พบว่าช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการย้ายหอผู้ป่วยคือ ช่วงเช้า และเมื่อวิเคราะห์จากระยะเวลาการย้ายของ พบว่าห้องคลอดและผ่าตัดคลอดจะใช้เวลามากกว่าหน่วยงานอื่น ๆ ส่วนการย้ายหอผู้ป่วยวิกฤตจากภายนอกอาคารจะใช้เวลามากกว่าการย้ายหอผู้ป่วยอื่น ๆ นอกจากนี้ในการศึกษาปัญหาที่พบในขั้นตอนการย้ายของ และขั้นตอนการย้ายผู้ป่วย พบว่ามีปัญหาทั้งหมด 7 ลักษณะ ได้แก่ การขนย้ายล่าช้า การขนย้ายหยุดชะงัก ของเสียหาย ผู้ใช้อาคารไม่สะดวก ปิดงานไม่ได้ หน่วยงานเปิดให้บริการได้ไม่สมบูรณ์ และเกิดความเสี่ยงต่อผู้ป่วย เป็นผลมาจาก 7 สาเหตุ ได้แก่ การจัดการ การประสานงาน การควบคุมงาน การวางแผน อุบัติเหตุ คุณภาพบุคคลากร ลักษณะทางกายภาพอาคาร และอาการผู้ป่วย จากการศึกษาและวิเคราะห์ผล สรุปได้ว่าการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดมีขั้นตอนในการย้ายที่แตกต่างกัน ซึ่งเมื่อมีการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัด ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการวางแผนการย้าย และการเตรียมเครื่องมือ ได้แก่ ประเภทหน่วยงานตามลักษณะการให้บริการลักษณะการย้ายแบ่งตามในอาคารและนอกอาคาร อาการผู้ป่วย พื้นที่ต้นทางเนื่องจากเส้นทางในการย้าย ความพร้อมของพื้นที่ จำนวนบุคคลากร จำนวนรถพยาบาล ความพร้อมของผู้ป่วย จำนวนเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในการย้ายผู้ป่วย จำนวนผู้ป่วยหนัก …


อิทธิพลของสีในสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้สูงอายุชาวไทย, ธนาวุฒิ ตรงประวีณ Jan 2017

อิทธิพลของสีในสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้สูงอายุชาวไทย, ธนาวุฒิ ตรงประวีณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สีในสภาพแวดล้อมเป็นหนึ่งในสิ่งเร้าต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อยู่อาศัย การวิจัยนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของสีในสภาพแวดล้อม (ห้องนอน) ที่ส่งผลต่อความความเครียดของผู้สูงอายุโดยการจำลองภาพห้องนอนในบ้านพักคนชรา เพื่อศึกษาคุณลักษณะวรรณะของสีและสัดส่วนความสดของสีผนังห้องนอน ในการศึกษาครั้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่อาศัยในบ้านพักคนชราและอาศัยที่บ้านพักส่วนบุคคลจำนวน 120 คน งานวิจัยนี้ประเมินระดับการตอบสนองทางอารมณ์ของกลุ่มตัวอย่างในประเด็นความพึงพอใจ การตื่นตัว และความเครียด รวมถึงการรับรู้ความสว่าง และประเมินความเครียดโดย 2 วิธีหลัก ได้แก่ The Affect Grid Scale of Pleasure and Arousal ของ Russell, Weiss & Mendelsohn (1989) และ The Semantic Differential Rating Method (SDR) โดยการมองภาพจำลองคอมพิวเตอร์ 17 ภาพ ที่มีความแตกต่างกันทางด้าน วรรณะของสี สี และสัดส่วนความสดของสี จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า วรรณะของสี เนื้อสี และสัดส่วนความสดของสีผนังห้องนอนส่งผลต่อการตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกเครียดของผู้สูงอายุ โดยสีผนังห้องนอนวรรณะเย็นส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกเครียดน้อยกว่าสีวรรณะร้อน สัดส่วนความสดของสีอ่อนต่อสีเข้มที่เพิ่มขึ้นแปรผันตามความรู้สึกผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังพบว่าความรู้สึกเครียดของผู้สูงอายุแปรผกผันกับความพึงพอใจต่อสีผนังของห้องนอน โดยผู้สูงอายุพึงพอใจสีผนังห้องนอนวรรณะเย็นมากกว่าวรรณะร้อน และสีผนังห้องนอนที่มีความรู้สึกสว่างที่น้อยลงส่งผลให้เกิดความรู้สึกเครียดที่มากขึ้น งานวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่าวรรณะสีและสัดส่วนความสดของสีผนังห้องนอนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความรู้สึกเครียดของผู้สูงอายุ ท้ายที่สุดงานวิจัยนี้เสนอแนะว่าผู้ออกแบบควรเลือกใช้สีที่ส่งเสริมความรู้สึกเชิงบวกของผู้สูงอายุ


การศึกษาลักษณะการปิดล้อมที่ว่างและพฤติกรรมทางสังคมของเด็กวัยก่อนเข้าเรียน กรณีศึกษา : บ้านสมวัย มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม คลองเตย, มิ่งมาดา นยนะกวี Jan 2017

การศึกษาลักษณะการปิดล้อมที่ว่างและพฤติกรรมทางสังคมของเด็กวัยก่อนเข้าเรียน กรณีศึกษา : บ้านสมวัย มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม คลองเตย, มิ่งมาดา นยนะกวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบัน สถานเลี้ยงเด็กมีบทบาทสำคัญที่ช่วยรองรับการอาศัยอยู่ของเด็กวัยก่อนเข้าเรียนในช่วงเวลาที่พ่อแม่ออกไปทำงาน แม้ว่าสถานเลี้ยงเด็กเป็นสถานที่รองรับการอาศัยอยู่ร่วมกันของเด็กและคุณครู อย่างไรก็ตาม ในเชิงจิตวิทยาเด็กก็มีความต้องการสภาวะความเป็นส่วนตัวด้วยเช่นกัน ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จึงให้ความสนใจกับลักษณะของการปิดล้อมที่ว่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ประกอบทางตั้ง การตอบสนองต่อความต้องการการสร้างสภาวะส่วนตัว และการสร้างปฏิสัมพันธ์ของเด็กวัยก่อนเรียน วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่อาศัยการวิเคราะห์เชิงปริมาณในช่วงต้นจากการรวบรวมข้อมูลผ่านการสังเกตการณ์อย่างเป็นระบบเพื่อแสดงให้เห็นภาพประจักษ์ ร่วมกับข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การลงพื้นที่ศึกษา บ้านสมวัย มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมคลองเตย ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 ถึงเดือนกรกฎาคม 2560 และการวิเคราะห์ข้อมูลบนฐานของทฤษฎีและแนวคิดทางจิตวิทยาเด็กและจิตวิทยาสภาพแวดล้อม เพื่อนำสู่ความเข้าใจลักษณะของที่ว่างทางสังคมของเด็กวัยก่อนเรียน ซึ่งประกอบด้วยที่ว่างส่วนตัวและที่ว่างแห่งการปฏิสัมพันธ์ จากการวิเคราะห์จำนวนระนาบ คุณสมบัติของระนาบ และตำแหน่งของระนาบ สรุปได้ว่า ที่ว่างส่วนตัวมักเป็นที่ว่างที่มีขอบเขตชัดเจน ให้ความรู้สึกปลอดภัยแก่เด็กและที่ว่างที่รองรับความเป็นส่วนตัวของเด็กจะชัดเจนขึ้น เมื่อจำนวนระนาบเพิ่มมากขึ้น หรือตำแหน่งของระนาบมีความไกลห่างจากทางสัญจร แอบซ่อนจากสายตาผู้อื่น หรือเปิดออกสู่พื้นที่ภายนอก ในทางกลับกัน ที่ว่างแห่งการปฏิสัมพันธ์ มักถูกปิดล้อมด้วยระนาบน้อยชิ้น แต่เมื่อจำนวนระนาบเพิ่มมากขึ้นจะนำไปสู่การเล่นแบบมีปฏิสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อนขึ้น นอกจากนี้ระนาบโปร่งพรุน หรือระนาบที่มีลักษณะกั้นแบ่งพื้นที่ออกจากกันไม่สมบูรณ์จะเอื้อให้เกิดความต่อเนื่องทางสายตา ระนาบมีโครงสร้างให้เอื้อมจับจะเชื้อเชิญให้เด็กได้เล่นสนุกสนานจับ ยึด ปีนป่ายระนาบ ส่วนระนาบที่เผยให้เห็นทางสัญจรจะเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ พบปะผู้คน และระนาบเปิดสู่โลกภายนอกมักเป็นบริเวณที่เชื้อเชิญให้เด็กรวมตัวกันบริเวณนั้น รอคอยการออกไปสู่พื้นที่ภายนอก


การศึกษาประวัติศาสตร์และสภาพแวดล้อมโดยรอบเพื่อนำไปใช้ในการสื่อความหมายและการนำเสนอ: กรณีศึกษาวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์), อภิชาติ กิตติเมธาวีนันท์ Jan 2017

การศึกษาประวัติศาสตร์และสภาพแวดล้อมโดยรอบเพื่อนำไปใช้ในการสื่อความหมายและการนำเสนอ: กรณีศึกษาวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์), อภิชาติ กิตติเมธาวีนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันมีความเข้าใจอย่างกว้างขวางว่า ในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมจำเป็นต้องเข้าใจสภาพแวดล้อมโดยรอบแหล่งมรดกวัฒนธรรม (setting) มากกว่าการพิจารณาตัวอาคารแต่เพียงอย่างเดียว อีกทั้งโครงสร้างมรดกวัฒนธรรมประกอบจากพื้นที่ที่มีความหลากหลายและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัต รวมถึงความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมโดยรอบแหล่งมรดกวัฒนธรรม สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถเป็นที่มาของการตระหนักถึงคุณค่าของเรื่องราวที่เกิดขึ้นบนสภาพแวดล้อม เพื่อการนำเสนอ (presentation) และการสื่อความหมาย (interpretation) ของพื้นที่แหล่งมรดกวัฒนธรรมได้ โดยวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) ถือเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญในเรื่องการศึกษาสภาพแวดล้อม เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการตั้งถิ่นฐานของผู้คนมายาวนานกว่า 250 ปี ประกอบกับบันทึกและเอกสารต่าง ๆ ที่ค้นพบ ช่วยให้เข้าใจสภาพแวดล้อมโดยรอบของพื้นที่ได้อย่างดี การวิจัยนี้เป็นการศึกษาและวิเคราะห์หลักฐานชั้นต้นต่าง ๆ ของวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) อันประกอบด้วย แผนที่เก่า ภาพถ่ายในอดีต เรื่องราวของผู้คนที่มีการบันทึกไว้ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยนำหลักฐานเหล่านี้มาใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยรอบวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) เพื่อนำเสนอเรื่องราวที่มีคุณค่าของสภาพแวดล้อม และปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดคุณค่าของสภาพแวดล้อมที่เคยดำรงอยู่ในอดีต มาใช้ในการนำเสนอและการสื่อความหมาย จากการศึกษา ผู้วิจัยค้นพบว่าวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) มีเรื่องราวที่มีคุณค่าและควรได้รับการสื่อความหมายที่จะช่วยให้เข้าใจถึงสภาพแวดล้อมวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) ตลอดเวลากว่า 250 ปี ได้อย่างดีจำนวน 5 เรื่องอันประกอบด้วย บ้านสำโรง ค่ายแม่พระลูกประคำ Notre Dame du Rosaire บุ่งกุ่ยและกุหลาบ และ กาลหว่าร์และวัดสาขา สภาพแวดล้อมเกิดขึ้นจากองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งที่มองเห็นได้และมองเห็นไม่ได้ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันเกิดเป็นสภาพแวดล้อมขึ้นโดยมีอาคารโบสถ์วัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) เป็นอนุสรณ์สถานที่บอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่ดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมได้อย่างสมบูรณ์ และส่วนท้ายงานวิจัย ผู้วิจัยเสนอแนวทางในการนำเสนอและสื่อความหมายสภาพแวดล้อมออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านกายภาพ และด้านสังคม และข้อพิจารณาแนวทางในการสื่อความหมายผ่านแก่นเรือง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการตระหนักถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์และสภาพแวดล้อมโดยรอบวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) ต่อไปในอนาคต


สัณฐานการเปลี่ยนแปลงชุมชนและอุตสาหกรรมประมงบริเวณริมแม่น้ำท่าจีน พื้นที่ตำบลท่าฉลอม ตำบลมหาชัย และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาคร, ชลัมพล ธาวนพงษ์ Jan 2017

สัณฐานการเปลี่ยนแปลงชุมชนและอุตสาหกรรมประมงบริเวณริมแม่น้ำท่าจีน พื้นที่ตำบลท่าฉลอม ตำบลมหาชัย และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาคร, ชลัมพล ธาวนพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนและอุตสาหกรรมประมงริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลท่าฉลอม ตำบลมหาชัย และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาคร ในอดีตเป็นชุมชนประมงริมแม่น้ำที่มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนและแม่น้ำที่เหนียวแน่นทั้งการอยู่อาศัยและการทำประมง แต่ปัจจุบันความสัมพันธ์เหล่านี้ถดถอยลงเนื่องจากถูกแทรกแซงจากปัจจัยต่างๆ ทำให้พื้นที่ริมน้ำถูกทิ้งร้าง จึงเป็นที่มาของการศึกษาครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสัณฐานชุมชนและพื้นที่ริมน้ำ 2) ศึกษาพัฒนาการของการทำประมงริมแม่น้ำท่าจีน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงสัณฐานชุมชนและพื้นที่ริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลมหาชัย ตำบลท่าฉลอม และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาครโดยทำการศึกษาจากการรวบรวมข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับความเป็นมาของพื้นที่และการสำรวจการประกอบอาชีพ เพื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงสัณฐานชุมชน คัดเลือกพื้นที่เพื่อทำรูปตัดแสดงการเปลี่ยนแปลงการใช้งานพื้นที่ริมน้ำโดยเก็บข้อมูลจากการรังวัดและสัมภาษณ์เจ้าของพื้นที่ นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาร่วมกับข้อมูลการพัฒนาการทำประมงริมแม่น้ำท่าจีน เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของการทำประมงริมแม่น้ำท่าจีนและสัณฐานการเปลี่ยนแปลงชุมชนและพื้นที่ริมน้ำ ตำบลท่าฉลอม ตำบลมหาชัย และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาคร ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 4 ช่วงเวลาได้แก่ 1) ยุคสังคมพื้นบ้าน ก่อนปีพ.ศ. 2504 2) ยุคพัฒนาอุตสาหกรรม ปีพ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2525 3) ยุคอุตสาหกรรมประมงซบเซา ปีพ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2558 4) ยุคจัดระเบียบการทำประมง ปีพ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน โดยการพัฒนาการทำประมงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ส่งผลถึงการตั้งถิ่นฐาน วิถีชีวิตริมน้ำ และลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ริมน้ำดังนี้ 1) การทำประมง เปลี่ยนจากการทำประมงพื้นบ้านมาสู่การทำอุตสาหกรรมประมงและเกิดอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำประมง ต่อมาการทำประมงประสบภาวะซบเซาเนื่องจากการประกาศข้อตกลงทางทะเลจนถูกจำกัดการทำประมงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลจากการจัดระเบียบการทำประมง 2) การตั้งถิ่นฐาน มีการตั้งถิ่นฐานอย่างหนาแน่นบริเวณพื้นที่ริมน้ำตำบลท่าฉลอมและขยายตัวมายังฝั่งตำบลมหาชัยและตำบลโกรกกราก จนภายหลังมีการกระจายตัวออกไปจากพื้นที่ตามแนวเครือข่ายถนน และในปัจจุบันอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ริมน้ำต้องเลิกกิจการเพราะการหยุดชะงักของการทำประมง 3) วิถีชีวิตริมน้ำ มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตที่เคยมีความสัมพันธ์ของผู้คนและแม่น้ำในการทำประมง การเดินทาง และการขนส่ง ต่อมาพื้นที่ริมน้ำมีความสำคัญต่อการขนส่งสินค้ามากขึ้นในช่วงที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรม จนในช่วงที่การทำประมงซบเซาทำให้บทบาทของแม่น้ำทั้งในแง่การเดินทางและขนส่งสินค้ามีความสำคัญลดลง จนกระทั่งหมดไปในปัจจุบันเนื่องจากมีการพัฒนาถนนและเกิดปัญหาในการทำประมง 4) ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ริมน้ำ มีการเปลี่ยนแปลงจากในอดีตซึ่งใช้สะพานไม้ขนาดเล็กในการขนส่งสินค้าและซ่อมแซมเครื่องมือประมง มีการทำประมงตามพื้นที่ริมตลิ่ง และพัฒนาเป็นท่าเทียบเรือที่มีประสิทธิภาพในการขนถ่ายสินค้ามากขึ้น จนในช่วงที่การทำประมงซบเซาทำให้พื้นที่ริมน้ำมีการใช้งานลดลง มีการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งที่ทำให้การใช้งานพื้นที่ริมน้ำทำได้ยากลำบาก จนการทำประมงถูกจำกัดส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวถูกทิ้งร้างในที่สุด ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อรื้อฟื้นความสำคัญของพื้นที่ริมน้ำ โดยใช้พื้นที่ริมน้ำสาธารณะในการจัดงานเทศกาลและประเพณีเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว


งานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมประกอบอาคารในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ในช่วงปี พ.ศ. 2524 - 2560, ณิชา มหาพฤกษารัตน์ Jan 2017

งานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมประกอบอาคารในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ในช่วงปี พ.ศ. 2524 - 2560, ณิชา มหาพฤกษารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีการนำประติมากรรมมาเป็นองค์ประกอบของอาคารในการสร้างเอกลักษณ์และสุนทรียภาพที่ดีให้กับพื้นที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 จากการสำรวจพบว่ามีงานประติมากรรมประกอบอาคารเพิ่มมากขึ้นในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยแต่ละอาคารมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไปซึ่งต้องมีการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องหลายกลุ่ม นำมาสู่งานวิจัยนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมประกอบอาคาร ตลอดจนศึกษาขั้นตอนของงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมประกอบอาคารที่สัมพันธ์กับการบริหารโครงการก่อสร้าง เพื่อวิเคราะห์และอภิปรายถึงปัญหาของงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมประกอบอาคารในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีวิธีการดำเนินวิจัยคือ ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับประติมากรรม และจัดการงานก่อสร้าง เก็บข้อมูลโดยทำการสำรวจและสัมภาษณ์ผู้ว่าจ้าง ผู้ออกแบบพื้นที่ และผู้ออกแบบประติมากรรมของอาคารกรณีศึกษา 23 อาคาร จากการศึกษาพบว่าวัสดุที่นิยมมากที่สุดในการก่อสร้างประติมากรรมประกอบอาคารคือ วัสดุบรอนซ์ วัสดุไฟเบอร์กลาส และวัสดุสเตนเลสตามลำดับ โดยมีวิธีการได้มาซึ่งประติมากรรมประกอบอาคาร 3 วิธี คือ การจัดจ้างโดยตรง การประกวดราคา และการประกวดแบบ นอกจากนี้ยังพบว่า สามารถแบ่งขั้นตอนของงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมได้ทั้งหมด 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนการได้รับมอบหมายงาน ขั้นตอนการออกแบบ ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ขั้นตอนการก่อสร้าง และ ขั้นตอนการติดตั้งงานประติมากรรม ซึ่งเมื่อนำไปพิจารณาความสัมพันธ์กับหลักการบริหารโครงการ 5 ช่วงจากกรณีศึกษา 23 อาคารนั้น พบว่าขั้นตอนการได้รับมอบหมายงานประติมากรรมเกิดขึ้นในช่วงศึกษาความเป็นได้โครงการและช่วงการออกแบบโครงการเท่ากันมากที่สุดเป็นจำนวนช่วงละ 8 อาคาร ขั้นตอนการออกแบบประติมากรรมเกิดขึ้นในช่วงการออกแบบโครงการมากที่สุดเป็นจำนวน 12 อาคาร ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างประติมากรรมเกิดขึ้นในช่วงก่อสร้างโครงการมากที่สุดเป็นจำนวน 11 อาคาร ขั้นตอนการก่อสร้างประติมากรรมเกิดขึ้นในช่วงก่อสร้างโครงการมากที่สุดเป็นจำนวน 19 อาคาร และขั้นตอนการติดตั้งประติมากรรมเกิดขึ้นในช่วงหลังการก่อสร้างมากที่สุดจำนวน 17 อาคาร อีกทั้งยังพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุดเป็นปัญหาด้านกระบวนการ รองลงมาคือปัญหาด้านสถานที่ และปัญหาด้านบุคคลตามลำดับ นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า ขั้นตอนการได้รับมอบหมายงานที่เกิดขึ้นในช่วงศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เป็นขั้นตอนเดียวที่ไม่พบปัญหาในการก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรม ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 8 อาคาร จาก 23 อาคาร จึงสามารถสรุปเป็นแนวทางในการจัดการงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมได้ว่า ควรมีการเริ่มต้นกระบวนการในช่วงของการศึกษาความเป็นไปได้อาคาร เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อการบริหารโครงการก่อสร้างน้อยที่สุด นอกจากนี้ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างขั้นตอนของงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมกับการบริหารโครงการก่อสร้างว่ามีความจำเป็นต้องประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในหลายกลุ่มเพื่อให้เกิดการวางแผนอย่างเหมาะสม ด้วยเหตุนี้ การศึกษางานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจของลักษณะงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละโครงการ อันเป็นประโยชน์ต่อการบริหารโครงการก่อสร้างต่อไป


ปัญหาการใช้กระเบื้องหลังคาดินเผาในงานสถาปัตยกรรมไทย : กรณีศึกษา อาคารในพุทธมณฑล, นิติมา คุตตะสิงคี Jan 2017

ปัญหาการใช้กระเบื้องหลังคาดินเผาในงานสถาปัตยกรรมไทย : กรณีศึกษา อาคารในพุทธมณฑล, นิติมา คุตตะสิงคี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์จะศึกษา การใช้กระเบื้องดินเผามุงหลังคาในงานสถาปัตยกรรมไทยและปัญหาที่เกิดขึ้น โดยอาศัยอาคารในพุทธมณฑล ที่มุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา เป็นกรณีศึกษา จากการสำรวจอาคารทั้งหมด 44 หลัง พบผังหลังคาทั้งหมด 13 รูปแบบ ตัวหลังคาจั่ว มีความลาดชัน 45, 55 และ 60 องศา ส่วนหลังคาปีกนก มีความลาดชัน 20, 25, 30, 35 และ 45 องศา โครงสร้างหลังคามีทั้งคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็ก และไม้ ส่วนแประแนงจะเป็นไม้ทั้งหมด หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาหางมนชนิดเผาธรรมดา หรือชนิดเผาไฟสูง โดยการมุงกระเบื้องตัวสั้นซ้อนทับกระเบื้องตัวยาว มีการปั้นปูนปิดครอบรอยต่อหลังคา โดยมีรางน้ำทำด้วยสังกะสี และมีการทำแผ่นรองใต้หลังคา (Sub roof) ด้วยสังกะสี หรือ คอนกรีตเสริมเหล็ก ปัญหาที่พบ ได้แก่ ปูนปั้นบริเวณสันหลังคาและตะเข้สันแตก แปผุ กระเบื้องหลังคาแตกหรือหลุด กระเบื้องสีซีดหรือสีหลุดร่อน มีเศษฝุ่นหรือใบไม้สะสมบนหลังคา มีวัชพืชขึ้นตามเชิงชายและในตะเข้ราง รวมทั้งรอยคราบน้ำบนฝ้าเพดานภายในอาคารที่มาจากการรั่วซึม ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ ปูนปั้นหรือกระเบื้องหลังคาแตกหรือหลุด น้ำจะรั่วซึมลงมาเวลาฝนตก ทำให้แประแนงไม้ผุ กระเบื้องหลังคาจะแตกหรือหลุดเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับรากของวัชพืชจะทำให้กระเบื้องหลังคาแตกหรือหลุด ในขณะที่เศษฝุ่นหรือใบไม้ที่สะสมทำให้น้ำล้นรางเข้าในอาคาร แนวทางการแก้ปัญหา คือการเลือกวัสดุที่เหมาะสม โดยคงรูปแบบ ลักษณะ และการใช้งานเดิม วัสดุใหม่ที่ใช้ควรมีความแข็งแรง ทนทาน และมีอายุการใช้งานนาน รวมทั้งมีน้ำหนักน้อยกว่า ซึ่งจะช่วยลดภาระการรับน้ำหนักของโครงสร้างหลังคาและอาคาร จึงเสนอให้ใช้กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ ครอบหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ แปเหล็กชุบกัลวาไนซ์ รางน้ำสเตนเลส ฯลฯ ทั้งนี้จะต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดเป็นประจำไม่ให้มีวัชพืช เศษฝุ่น และใบไม้สะสม


อิทธิพลของสี วัสดุพื้นผิว และอุณหภูมิสีของแสงที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ด้านความเป็นอยู่ที่ดีและภาพจดจำของห้องพักผู้ป่วยโรงพยาบาลระดับสูง, ปาริชาติ ยามไสย Jan 2017

อิทธิพลของสี วัสดุพื้นผิว และอุณหภูมิสีของแสงที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ด้านความเป็นอยู่ที่ดีและภาพจดจำของห้องพักผู้ป่วยโรงพยาบาลระดับสูง, ปาริชาติ ยามไสย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันธุรกิจโรงพยาบาลมีการขยายตัวมากขึ้น ผู้ประกอบการโรงพยาบาลต่างตระหนักถึงอัตราการแข่งขันทางการตลาด จึงให้ความสนใจในกลยุทธ์ในการให้บริการรูปแบบต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น การออกแบบสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมต่อการรักษามีผลต่อการรับรู้ความเป็นอยู่ที่ดีเป็นหนึ่งกลยุทธ์ที่นำมาใช้ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมภายในห้องพักผู้ป่วยซึ่งเป็นบริเวณที่ผู้รับบริการต้องใช้เวลาในการรักษาตัวนานที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์วิเคราะห์องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้ถึงความเป็นอยู่ที่ดีซึ่งอาจนำไปสู่การตัดสินใจพักฟื้นในโรงพยาบาลระดับสูง งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรตัวอย่างจำนวน 120 คน อายุระหว่าง 20-60 ปี โดยให้ดูภาพจำลองการตกแต่งภายใน การใช้ผนังทาสี ผนังวัสดุไม้ และอุณหภูมิสีของแสง รวมเป็นจำนวน 10 ภาพ และสอบถามการรับรู้ความเป็นอยู่ที่ดี ด้วยแบบสอบถามการรับรู้ 6 ด้าน ความสะดวกสบาย สะอาด ผ่อนคลาย มีชีวิตชีวา มีราคา และน่าเชื่อถือ จากวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า ปัจจัยที่เกิดผลกระทบต่อกลุ่มตัวอย่างมากที่สุดคืออุณหภูมิสีของแสง โดยอุณหภูมิสีของแสง warm white จะมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ทุกด้านมากกว่า daylight อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ห้องที่ตกแต่งด้วยผนังวัสดุไม้สีอ่อนได้รับค่าเฉลี่ยการรับรู้เชิงบวกสูงกว่าไม้สีเข้ม ผนังทาสีเขียวและทาสีฟ้ามีค่าเฉลี่ยการรับรู้กว่าผนังสีขาว งานวิจัยเสนอแนะว่าแนวทางการออกแบบภายในห้องพักผู้ป่วยระดับสูงควรมีการเลือกใช้ อุณหภูมิสีของแสง warm white เพื่อสร้างการรับรู้ความเป็นอยู่ที่ดีเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการเลือกใช้ทั้งไม้สีอ่อนและผนังทาสีอ่อน


การก่อสร้างบ้านด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป : การประกอบติดตั้งชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป บ้านเดี่ยว, พิเชษฐ์ นะสูงเนิน Jan 2017

การก่อสร้างบ้านด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป : การประกอบติดตั้งชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป บ้านเดี่ยว, พิเชษฐ์ นะสูงเนิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบติดตั้งชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยเลือกบ้านเดี่ยวของ บริษัท ไลฟแอนด์ ลีฟวิ่ง จำกัด และของ บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เป็นกรณีศึกษา จากการศึกษาพบว่า การก่อสร้างบ้านด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป ทั้งสองบริษัท มี 24 งานหลัก ที่คล้ายกัน และ 65 งานย่อย ที่แตกต่างกันเล็กน้อย ในการประกอบติดตั้งชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป ทั้งสองบริษัท พบว่ามี 4 งานหลักซึ่งจะดำเนินการหลังจากงานตอกเสาเข็มและงานหล่อฐานตอม่อให้แล้วเสร็จ โดยเริ่มจากบริษัท ไลฟ แอนด์ ลีฟวิ่ง ฯ จะเริ่มติดตั้งแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นล่างไว้บนเสาเข็มและฐานตอม่อก่อน ส่วนบริษัท พฤกษา ฯ จะทำงานพื้นคอนกรีตหล่อกับที่ก่อน แล้วจึงติดตั้งแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นล่าง จากนั้นทั้งสองบริษัทจะเริ่มงานชั้นบน โดยเริ่มจากติดตั้งชิ้นส่วนคานคอนกรีตสำเร็จรูปก่อนเพื่อรับน้ำหนักแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นบน ในกรณีที่ติดตั้งไม่ตรงกับแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นล่าง ต่อมาจะติดตั้งแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นบนแล้วจึงติดตั้งแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นบน สำหรับในงานพื้นชั้นล่าง ของบริษัท ไลฟ แอนด์ ลีฟวิ่ง ฯ จะดำเนินการหลังจากติดตั้งแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นบนและงานระบบต่างๆ ใต้พื้นชั้นล่างแล้วเสร็จ จากนั้นจะต้องทำการหล่อหูช้างบริเวณฐานของแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นล่าง แล้วจึงติดตั้งแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นล่าง ด้วยวิธีการดังกล่าวพบว่า การทำงานพื้นคอนกรีตหล่อกับที่ ของบริษัท พฤกษา ฯ จะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อต้องทำงานระบบต่างๆ ใต้พื้นให้แล้วเสร็จก่อน ซึ่งมีความยุ่งยากและใช้เวลานาน ในกรณีบริษัท ไลฟ แอนด์ ลีฟวิ่ง ฯ พบว่า มีรอยแตกร้าวบนแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นล่าง ซึ่งปัจจุบันจึงได้เปลี่ยนมาใช้แผ่นผนังคอนกรีตอัดแรงแทน แต่ก็ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นและการทำงานยุ่งยากมากขึ้น รวมทั้งการหล่อหูช้างไว้สำหรับวางแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นล่างนั้นจะเป็นการเพิ่มงานและเพิ่มระยะเวลา และยังพบอีกว่าชิ้นส่วนคานคอนกรีตสำเร็จรูปที่รองรับแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นบน นั้นเป็นเพียงผนังกันห้องเท่านั้น โดยที่ไม่ได้รับน้ำหนักโครงสร้างไดๆ ทั้งสองบริษัทถึงแม้จะมีวิธีการที่คล้ายกัน ต่างมีปัญหาเหมือนกันและต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบวิธีการทั้งสองบริษัทและนำมาปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ก็จะช่วยแก้ปัญหางานที่เกิดขึ้นได้ เช่น ในส่วนงานประกอบติดตั้งชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นล่าง ถ้าเพิ่มชิ้นส่วนคานคอนกรีตสำเร็จรูป เพื่อรองรับแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูป แทนการติดตั้งแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปไว้บนเสาเข็มและฐานตอม่อ ถึงแม้จะเป็นการเพิ่มงาน แต่จะช่วยแก้ปัญหาแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นล่างแตกร้าวได้ โดยที่ไม่ต้องใช้แผ่นผนังคอนกรีตอัดแรง และสามารถลดการทำงานพื้นคอนกรีตหล่อกับที่ และการหล่อหูช้างเพิ่มได้ ในส่วนงานประกอบติดตั้งชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นบน ให้ยกเลิกการติดตั้งชิ้นส่วนคานคอนกรีตสำเร็จรูป แล้วทำการเปลี่ยนแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปที่เคยมีชิ้นส่วนคานรองรับ เป็นแผ่นผนังคอนกรีตอัดแรงแทนก็จะเข็งแรงพอโดยที่ไม่ต้องมีชิ้นส่วนคานคอนกรีตสำเร็จรูปรองรับ


แนวทางการออกแบบการส่องสว่างสำหรับศาลเจ้าจีนในกรุงเทพมหานคร, สิริณัฏฐ์ พงศ์บางลี่ Jan 2017

แนวทางการออกแบบการส่องสว่างสำหรับศาลเจ้าจีนในกรุงเทพมหานคร, สิริณัฏฐ์ พงศ์บางลี่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการสำรวจการออกแบบการส่องสว่างสำหรับศาลเจ้าจีนในปัจจุบัน พบปัญหาที่เกี่ยวกับระบบแสงสว่างหลายประการ อาทิ ปริมาณแสงที่ไม่เพียงพอและไม่สอดคล้องต่อกิจกรรมที่เกิดขึ้น ลักษณะการติดตั้งดวงโคม ไม่มีสิ่งปกปิดแหล่งกำเนิดแสงหรือควบคุมทิศทาง ทำให้เกิดแสงบาดตา และไม่ส่งเสริมการรับรู้ภาพลักษณ์ของศาลเจ้า ดังนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการกระจายแสงและระดับความซับซ้อนของการให้แสงสว่างที่ส่งผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของศาลเจ้า โดยเก็บข้อมูลด้านการรับรู้ จากผู้ร่วมวิจัยจำนวน 120 คน ประเมินระดับการรับรู้ทางอารมณ์จากภาพจำลองคอมพิวเตอร์สามมิติของศาลเจ้า จำนวน 9 ภาพ จากการวิเคราะห์พบว่า ระดับความซับซ้อนของการให้แสงที่ซับซ้อนมาก (L3) มีค่าเฉลี่ยการรับรู้ภาพลักษณ์ของศาลเจ้าจีนสูงที่สุดในด้านความสวยงาม ความสงบ ความน่าดึงดูด และการส่งเสริมเอกลักษณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) รูปแบบการกระจายแสงแบบลำดับแสงขึ้น (AS) หรือจากแสงน้อยไปหาแสงมาก มีค่าเฉลี่ยการรับรู้สูงสุดในด้านความสงบ ความน่าดึงดูด และการส่งเสริมเอกลักษณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการกระจายแสงและระดับความซับซ้อน พบว่า ภาพของศาลเจ้าที่มีการกระจายแสงแบบลำดับแสงเท่ากัน (CO) และมีระดับความซับซ้อนของการให้แสงที่ซับซ้อนน้อยและมาก (L2, L3) ได้รับระดับค่าเฉลี่ยในด้านความสวยงาม 5.07 และ 5.03 ตามลำดับ การรับรู้ด้านความสงบ พบว่า รูปแบบการกระจายแสงแบบลำดับแสงขึ้น (AS) ร่วมกับการให้แสงที่ไม่ซับซ้อน (L1) มีระดับค่าเฉลี่ยสูงที่สุด การรับรู้ภาพลักษณ์ในด้านความน่าดึงดูด และการส่งเสริมเอกลักษณ์ พบว่า การกระจายแสงแบบลำดับแสงเท่ากัน (CO) ร่วมกับระดับความซับซ้อนของการให้แสงมาก (L3) มีระดับค่าเฉลี่ยสูงที่สุด จากการศึกษางานวิจัยนี้ ทำให้ทราบถึงแนวทางการออกแบบที่สอดคล้องกับค่าเฉลี่ยการรับรู้ภาพลักษณ์ของศาลเจ้าจีนในด้านความสวยงาม ความสงบ ความน่าดึงดูด และการส่งเสริมเอกลักษณ์ ซึ่งนักออกแบบ ผู้ดูแลศาลเจ้า หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำแนวทางการออกแบบแสงสว่างนี้ไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับช่วงเวลาและลักษณะกิจกรรมที่เกิดขึ้น


ขอบเขตการทำงานของวิชาชีพสถาปัตยกรรมผังเมือง(กรณีศึกษา:ประเภทงานการจัดทำผังจัดรูปที่ดิน และการจัดทำผังนิคมอุตสาหกรรม), สุกัญญา สดุดีวิถีชัย Jan 2017

ขอบเขตการทำงานของวิชาชีพสถาปัตยกรรมผังเมือง(กรณีศึกษา:ประเภทงานการจัดทำผังจัดรูปที่ดิน และการจัดทำผังนิคมอุตสาหกรรม), สุกัญญา สดุดีวิถีชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

"สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง" ถูกกำหนดใช้ขึ้นครั้งแรกในพระราชบัญญัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ. 2508 แต่ยังไม่มีการบังคับใช้ในทางปฏิบัติ จวบจนมีพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนนิยามของวิชาชีพสถาปัตยกรรมรวมไปถึงเนื้อหาและวัตถุประสงค์เพื่อให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับสภาวะการณ์ปัจจุบัน จากนั้นมีการประกาศใช้กฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ. 2549 โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อกำหนดให้วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมเป็นไปตามพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543[1] ซึ่งมีการระบุความหมายและขอบเขตวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมแต่ละสาขาในประกาศกฎกระทรวงฉบับนี้ ปัจจุบันองค์ความรู้ ความหมาย และขอบเขตวิชาชีพสาขาสถาปัตยกรรมผังเมืองยังคงมีความคลุมเครือต่อผู้ปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งทำให้ไม่เกิดความสอดคล้องต่อวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 อาทิเช่น การพัฒนาวิทยาการด้านสถาปัตยกรรม การควบคุมดูแลมาตรฐานความรู้และการประกอบวิชาชีพ และการส่งเสริมคุณภาพการประกอบวิชาชีพ เป็นต้น ด้วยที่มาและความสำคัญเหล่านี้จึงนำมาซึ่งการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ "ขอบเขตการทำงานของวิชาชีพสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง" ในกรณีศึกษา ประเภทงานการจัดทำผังจัดรูปที่ดินและการจัดทำผังนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็น 2 ใน 7 ประเภทงานตามกฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมที่มีพระราชบัญญัติควบคุมอยู่ด้วย รวมถึงสามารถสะท้อนการทำงานในบริบทเชิงพื้นที่ ชุมชน และเมืองมากกว่าประเภทงานอื่น ๆ โดยใช้กระบวนการศึกษาวิจัยด้วยวิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างซึ่งมีคุณสมบัติเกี่ยวข้องโดยตรงกับสาขาสถาปัตยกรรมผังเมืองในเชิงวิชาการและวิชาชีพ เพื่อนำมาสู่การวิเคราะห์ อภิปรายผลและสรุปผลโดยใช้ทฤษฎีและแนวคิดที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า ขอบเขตการทำงานของวิชาชีพสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง มิได้มีผลบังคับใช้ตามกฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ. 2549 เนื่องจากประเภทงานที่ถูกกำหนดขึ้นตามกฎกระทรวงฯนั้นไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น พระราชบัญญัติที่ควบคุมทั้งสองประเภทงานไม่มีการกำหนดคุณสมบัติที่เฉพาะเจาะจงของผู้ออกแบบ เนื้อหาของงานในแต่ละประเภทยังคงมีความคลุมเครือ รวมไปถึงข้อค้นพบเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากมีการแบ่งขอบเขตวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาวงการวิชาชีพสาขานี้ต่อไป


Designing A New Building In Historic Setting: A Case Study Of National Library Of Laos, Annita Southiphong Jan 2017

Designing A New Building In Historic Setting: A Case Study Of National Library Of Laos, Annita Southiphong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

During the French colonial era, Laos was colonized by France since 1893, French architecture elements were integrated into Lao architecture and modified to absorb in the climate (hot and humid). The French colonial style has been affecting the architecture of several major towns and cities including Vientiane. During 30 years under the rule of French, Vientiane is the most notable to its French influence is its architecture, a number of large-scale construction projects were implemented. However, after independence, Laos was developing continuously, many colonial buildings have been renovated to change the function of the building for several purposes such as …


Use Transformation Process Of Shophouses: A Case Study Of Tha Tien's Shophouse, Bangkok, Peeraya Boonprasong Jan 2017

Use Transformation Process Of Shophouses: A Case Study Of Tha Tien's Shophouse, Bangkok, Peeraya Boonprasong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the changing urban context, proposing new uses for historic buildings such shophouses has mould a constraint to place identity when the application of utilisation is grounded on tendencies of demand and consumerism. The historic urban fabric, as a particular physicality of activity and experience in which meaning is interpreted through a sense of place and authenticity, is disturbed by misuse and excessive growth from the new concept of uses. The study of use transformation is to comprehend the capability of responsive behaviour to place bonding, when use is transforming by internal and external influences e.g. life course, repossession, honourability, …


การบริหารจัดการอาคารที่พักอาศัยส่วนกลาง กองทัพเรือ, จิตพร ภูวนาถนรานุบาล Jan 2017

การบริหารจัดการอาคารที่พักอาศัยส่วนกลาง กองทัพเรือ, จิตพร ภูวนาถนรานุบาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กองทัพเรือได้มีการจัดสร้างอาคารที่พักอาศัยส่วนกลางเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ข้าราชการทหารเรือ ลูกจ้าง พนักงานราชการ และครอบครัว เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางหากมีการเรียกแถวหรือระดมพลเร่งด่วน ให้สามารถเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานได้ทันต่อเหตุการณ์ โดยมีอาคารที่พักอาคารที่พักอาศัยส่วนกลางรวมกว่า 9,000 ครัวเรือน จากการสำรวจพบว่าอาคารที่พักอาศัยแต่ละพื้นที่มีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน เช่น อายุอาคาร จำนวนอาคาร หน่วยงานที่ควบคุมแล และสภาพกายภาพที่แตกต่างกัน บางพื้นที่มีสภาพทรุดโทรมและเสื่อมสภาพ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ข้อมูลการบริหารจัดการอาคารที่พักอาศัยส่วนกลางพื้นที่ต่างๆ โครงสร้างการบริหารจัดการ รูปแบบการจัดการที่เหมือนและแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการอาคารที่พักอาศัยส่วนกลาง กองทัพเรือ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยอาศัยการการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่สำนักงานควบคุมดูแลอาคารฯ ผู้บังคับบัญชา และการสำรวจ พื้นที่กลุ่มอาคารที่พักอาศัยส่วนกลางที่ทำการศึกษา ได้แก่ พื้นที่บางนา พื้นที่สุขสวัสดิ์ 26 พื้นที่ทุ่งมหาเมฆ พื้นที่บุคคโล และพื้นที่สัตหีบ จากการศึกษาพบว่า อาคารที่พักอาศัยส่วนกลางทุกพื้นที่มีรายรับจากค่าบริการห้องพัก ค่าบำรุงสถานที่ และค่าบริการขนส่ง รายจ่ายแบ่งเป็น งบบริหาร งบปฏิบัติการ งบซ่อมบำรุง และงบลงทุน ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ยังมีปัญหาอุปสรรคคืองบประมาณที่จำกัดจึงไม่สามารถวางแผนการเปลี่ยนทดแทนระบบต่างๆในระยะยาวได้ โดยต้องขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากกองทัพเรือหรือหน่วยงานอื่นๆ เพื่อฟื้นสภาพอาคาร สำหรับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลอาคารที่พักอาศัยส่วนกลาง กองทัพเรือ แบ่งออกเป็น กรมสวัสดิการทหารเรือและฐานทัพเรือสัตหีบ โดยกรมสวัสดิการทหารเรือทำหน้าที่ดูแลอาคารที่พักอาศัยส่วนกลางทุกพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รายรับและการสนับสนุนเพิ่มเติมที่ได้รับจะถูกแบ่งให้แต่ละพื้นที่ตามการพิจารณา กรมสวัสดิการทหารเรือเป็นกรมส่วนยุทธบริการที่ไม่มีหน่วยปฏิบัติที่สามารถสนับสนุนการดูแลอาคารที่พักอาศัยส่วนกลางขึ้นตรงอยู่เลย ส่วนฐานทัพเรือสัตหีบทำหน้าที่ดูแลอาคารที่พักอาศัยส่วนกลางพื้นที่สัตหีบเพียงพื้นที่เดียว เป็นกรมส่วนกำลังรบที่มีหน่วยขึ้นตรงเป็นหน่วยปฏิบัติขึ้นตรงอยู่ในพื้นที่ เช่น กรมช่างโยธา กรมก่อสร้างและพัฒนา กองรักษาความปลอดภัย ที่สามารถสนับสนุนกำลังพลและอุปกรณ์ในการดูแลอาคาร เป็นต้น ในส่วนอัตรากำลังพล แบ่งได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ อัตราที่กองทัพเรือจ่ายเงินเดือนให้ กับ อัตราที่กองทัพเรือไม่จ่ายเงินเดือนให้ สำนักงานต้องดูแลค่าใช้จ่ายส่วนนี้เอง ส่วนการดำเนินงานดูแลรักษาอาคารที่พักอาศัยส่วนกลาง ประกอบด้วย งานดูแลรักษาสถานที่ในส่วนความสะอาด งานกำจัดขยะ งานซ่อมบำรุง และงานรักษาความปลอดภัย แบ่งออกเป็น การแบ่งหน้าที่ชัดเจน และการทำหลายหน้าที่ มีการใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วยในการดูแลรักษาอาคาร มีการกำกับควบคุมงานประจำวันและประจำเดือน การศึกษานี้สรุปได้ว่า การพิจารณาเลือกหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแล จะส่งผลต่อการบริหารจัดการอาคารที่พักอาศัยส่วนกลาง กองทัพเรือ โดยมีปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ 1) อัตราบรรจุกำลังพลข้าราชการทหาร จะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในส่วนงบบริหารและส่งผลต่องบซ่อมบำรุงและลงทุน 2) การจัดแบ่งงบประมาณที่ชัดเจน 3) การกำหนดจำนวนกำลังพล การจัดแบ่งงบซ่อมบำรุงที่เหมาะสม และการได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากกองทัพเรือและหน่วยอื่นๆ มีความจำเป็นต่องานฟื้นสภาพอาคาร 4) การดำเนินงานดูแลรักษาอาคาร …


การก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป: การออกแบบบ้านเดี่ยว, ชนิกา รักษากุล Jan 2017

การก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป: การออกแบบบ้านเดี่ยว, ชนิกา รักษากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์จะศึกษาสภาพและปัญหาที่เกิดขึ้นในการออกแบบบ้านเดี่ยวที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยเลือกบ้านภัสสร ของบริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) เป็นกรณีศึกษา เพื่อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการออกแบบบ้านเดี่ยวที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป บ้านภัสสร มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 120 ตารางเมตร ประกอบด้วยห้องนอน 3 ห้อง ห้องน้ำ 2 ห้อง และที่จอดรถยนต์ 2 คัน เป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น สร้างโดยใช้ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป รวม 47 ชิ้น แบ่งเป็นชิ้นส่วนผนัง จำนวน 35 ชิ้น ชิ้นส่วนพื้น จำนวน 7 ชิ้น และชิ้นส่วนคาน จำนวน 5 ชิ้น บ้านภัสสรในแต่ละโครงการ จะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป ได้แก่ ขนาดช่องเปิด การเซาะร่อง และทำสีบนแผ่นผนัง ฯลฯ ปัญหาที่พบ คือ ชิ้นส่วนแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูป จำนวน 35 ชิ้น มีรูปแบบแตกต่างกันถึง 32 รูปแบบ ขนาดของแต่ละชิ้นส่วนแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย มีปัญหาแตกหักของชิ้นส่วนที่มีระยะริมช่องเปิดน้อย และการรั่วซึมบริเวณรอยต่อระหว่างชิ้นส่วน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ในขั้นตอนของการออกแบบ ควรใช้ระบบการประสานทางพิกัด เพิ่มระยะริมช่องเปิดไม่น้อยกว่า 60 ซม. ที่จะสอดคล้องกับขนาดของตะแกรงเหล็กเสริม การยื่นแผ่นผนังและการใช้วัสดุตกแต่งอื่น มาปิดทับรอยต่อ เพื่อปกป้องการรั่วซึม ทั้งนี้ ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบของบ้าน สามารถใช้วัสดุอื่นเข้ามาตกแต่งเพิ่ม เช่น ไฟเบอร์ซีเมนต์ จีอาร์ซี เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถคงรูปแบบและจำนวนของชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยใช้วิธีปรับเปลี่ยนเฉพาะบริเวณส่วนหน้าได้


การศึกษาประสิทธิภาพการใช้พลังงานและสภาพแวดล้อมของอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เพื่อการใช้งานในยุคปัจจุบัน กรณีศึกษาอาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชรินรัตน์ รุ่งเรืองศรี Jan 2017

การศึกษาประสิทธิภาพการใช้พลังงานและสภาพแวดล้อมของอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เพื่อการใช้งานในยุคปัจจุบัน กรณีศึกษาอาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชรินรัตน์ รุ่งเรืองศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยมีอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์จำนวนมาก ที่ยังใช้ประโยชน์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน อาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอาคารที่มีการใช้งานจากเดิมเป็นอาคารเรียนและห้องสมุด ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงการใช้เป็นอาคารสำนักงาน และห้องสมุดที่ติดตั้งระบบปรับอากาศ การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติของอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และความเหมาะสมต่อการใช้งานในยุคปัจจุบันรวมถึงสภาวะน่าสบายทางด้านเทคโนโลยีอาคาร 4 ด้าน ได้แก่ ความรู้สึกร้อนหนาว ความสว่าง เสียง และคุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคาร การศึกษาวิจัยเริ่มจากการเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณความสว่างบนพื้นที่ใช้งาน ความดังของเสียงภายในห้อง และการใช้แบบสอบถามประเมินคุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคารควบคู่กับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ อาคารกรณีศึกษามีคุณสมบัติมวลสารมาก (น้ำหนักผนังอาคารมากกว่า 195 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มีค่าความหน่วงความร้อนจากภายนอกได้มาก ผลการวิจัย พบว่า อุณหภูมิอากาศภายในอาคารกรณีไม่ปรับอากาศได้รับอิทธิพลจากอากาศร้อนภายนอกอาคารน้อยมากเนื่องจากอิทธิพลของความจุความร้อนของผนังมวลสารมาก ความสว่างบนพื้นที่ใช้งานภายในอาคารจะได้รับแสงธรรมชาติจากช่องเปิดด้านข้างเข้ามาในพื้นที่ใช้งานไม่เกิน 3 เมตร ความดังของเสียงภายในห้องมีค่าระหว่าง 55-80 เดซิเบล ส่วนค่าความก้องของเสียงภายในห้องมีค่า 2-5 วินาที ซึ่งมีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานการใช้งาน ผลการศึกษาด้านคุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคาร พบว่า การใช้งานพื้นที่ปัจจุบันเมื่อใช้ระบบปรับอากาศและจำเป็นต้องปิดประตูหน้าต่างจะทำให้สภาพแวดล้อมภายในอาคารไม่เหมาะสมกับการใช้งาน งานวิจัยพบว่าการใช้อาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณสมบัติมวลสารมาก มีความจำเป็นต้องใช้ระบบอาคารที่มีความเหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้อาคารโดยเฉพาะด้านความร้อนหนาวและด้านแสงสว่างในอาคาร


แนวทางการบริหารวิชาชีพของสถาปนิกฟรีแลนซ์ในประเทศไทย, ณรัฐพล สุเภากิจ Jan 2017

แนวทางการบริหารวิชาชีพของสถาปนิกฟรีแลนซ์ในประเทศไทย, ณรัฐพล สุเภากิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันความอิสระกลายเป็นหนึ่งตัวแปรของรูปแบบการปฏิบัติวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมที่ไม่เป็นเพียงลักษณะการทำงานในสำนักงานเหมือนแต่ก่อน ทำให้เกิดเป็นรูปแบบการทำงานที่เรียกว่า "ระบบฟรีแลนซ์" การทำงานรูปแบบนี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่เกิน 5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากสถาปนิกสามารถกำหนดและควบคุมรูปแบบการทำงานให้สัมพันธ์กับวิถีชีวิตได้ แต่ในทางกลับกันความอิสระกับรูปแบบการทำงานย่อมก่อให้เกิดอุปสรรค ทั้งทางด้านการเงิน ด้านการบริหาร และด้านการจัดการ เป็นต้น วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์เล่มนี้ เป็นการประมวลลักษณะและอุปสรรคที่มีผลต่อการปฏิบัติวิชาชีพของสถาปนิกฟรีแลนซ์ในประเทศไทย โดยการวิจัยนี้ ผู้วิจัยแบ่งกลุ่มตามประสบการณ์ในระบบฟรีแลนซ์เป็น 3 ประเภท ดังนี้ กลุ่มสถาปนิกประสบการณ์การทำงานฟรีแลนซ์ 1-5 ปี ที่มีความรู้พื้นฐานทางด้านการบริการวิชาชีพ แต่ยังขาดความรู้ในการคิดค่าบริการวิชาชีพ การหาเครือข่ายลูกค้า และการควบคุมขอบเขตงาน จึงมีจำนวนไม่น้อยที่กลับไปเป็นพนักงานประจำ กลุ่มสถาปนิกประสบการณ์การทำงานฟรีแลนซ์ 6-10 ปี พบอุปสรรคในการปรับฐานค่าบริการวิชาชีพตามมาตรฐานของสมาคมสถาปนิกสยามฯ และสภาสถาปนิก และในกลุ่มสถาปนิกประสบการณ์การทำงานฟรีแลนซ์ 11 ปี ขึ้นไป ที่ส่วนใหญ่มีลักษณะและการรับผิดชอบงานแบบการทำงานคนเดียว นอกจากนี้ในบางกรณีที่สถาปนิกฟรีแลนซ์จำเป็นต้องทำการจดทะเบียนบริษัท เนื่องจากรับงานโครงการที่ได้ค่าบริการวิชาชีพในอัตราสูง ย่อมก่อให้เกิดปัญหาในด้านการจัดการภาษีจากรูปแบบการจ้างงาน เป็นต้น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า สถาปนิกฟรีแลนซ์ต้องเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้มีความหลากหลาย ทั้งการกำหนดค่าบริการวิชาชีพที่เหมาะสม การสร้างเครือข่ายในการทำงาน วินัยในการปฏิบัติงานและการบริหารเงิน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้การปฏิบัติวิชาชีพในระบบฟรีแลนซ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เช่น ทักษะด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี ตลอดจนด้านทักษะด้านภาษาต่างประเทศ เป็นปัจจัยเสริมที่ช่วยเพิ่มศักยภาพของการปฏิบัติวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมให้มีมาตรฐานการทำงานเทียบเท่าในระดับสากล


แนวทางการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินกลาง ด้านกายภาพสถาปัตยกรรม, ธนพล วัฒนจินดาเลิศ Jan 2017

แนวทางการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินกลาง ด้านกายภาพสถาปัตยกรรม, ธนพล วัฒนจินดาเลิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินเกิดขึ้นมาแล้วทั้งสิ้น 3 ครั้ง คือการเปลี่ยนอาคารริมถนนราชดำเนินให้เป็นอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน และหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ ผลการปรับปรุงคืออาคารได้เปลี่ยนรูปแบบการใช้สอยพื้นที่ของอาคารไปจากเดิม ทว่ายังคงอยู่ซึ่งรูปลักษณ์ภายนอกที่เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่นิยมในสมัยปี พ.ศ.2480 วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาแนวทางการปรับปรุงอาคารและข้อกฎหมายที่ต้องคำนึงถึงในการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนิน เพื่อนำแนวทางที่ได้มาประยุกต์ใช้กับอาคารริมถนนราชดำเนินกลางที่ผู้วิจัยเสนอแนะ ระเบียบวิธีการศึกษาคือเริ่มต้นจากการศึกษาแนวทางของการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนิน 2 หลัง คือ อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ และหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ผ่านการสำรวจพื้นที่จริง การศึกษาแบบทางสถาปัตยกรรม ศึกษาจากภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงอาคารทั้งสองหลัง เพื่อนำไปวิเคราะห์ถึงแนวทางทั้งหมดที่เกิดขึ้นและเข้อกฎหมายที่ต้องคำนึงถึงในการปรับปรุงอาคาร จัดลำดับความเข้มงวดของกฎหมายแต่ละข้อ และนำไปเปรียบเทียบกับพื้นที่และการปรับปรุงอาคารที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้แนวทางสำหรับการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินที่ชัดเจนมากที่สุด และนำแนวทางที่ได้ไปทดลองใช้กับโรงแรมรัตนโกสินทร์ ที่ผู้วิจัยยกมาเป็นกรณีศึกษา ว่าหากเกิดการปรับปรุงอาคารนี้ตามแนวทางที่ผู้วิจัยได้เสนอแนะคือการทำตามแบบแผนเดิม การพัฒนาพื้นที่ หรือการรื้อถอนอาคารเพื่อให้พื้นที่กลับสู่สภาพเดิม จะต้องคำนึงถึงกฎหมายข้อใดและมีความเข้มงวดมากน้อยเพียงใดบ้าง ซึ่งผลที่ได้จะทำให้สามารถสรุปว่าการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินมีข้อกฎหมายที่ควบคุมการปรับปรุงอาคารอย่างเข้มงวดมากที่สุด ครอบคลุมบริเวณด้านหน้าและด้านข้างอาคารที่ติดถนนราชดำเนิน ส่วนด้านหลังอาคารและภายในอาคารมีความเข้มงวดน้อยกว่า และต้องอาศัยดุลยพินิจของทางสำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นปัจจัยสำคัญ ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาคือแนวทางที่ใช้ในการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินที่มีความชัดเจนมากขึ้น และเพื่อให้ผู้ที่สนใจปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินในอนาคตนำแนวทางที่ได้จากการศึกษาและแนวทางการปรับปรุงอาคารไปพัฒนาต่อเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินต่อไป


อาการและสาเหตุการขัดข้องของอุปกรณ์หลักในระบบประกอบอาคาร, ชนาภา จารุมณีโรจน์ Jan 2017

อาการและสาเหตุการขัดข้องของอุปกรณ์หลักในระบบประกอบอาคาร, ชนาภา จารุมณีโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาในเชิงประจักษ์มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดหมวดหมู่อาการและสาเหตุการขัดข้องของอุปกรณ์หลักในระบบประกอบอาคาร เพื่อนำไปวิเคราะห์หาอาการขัดข้องสำคัญ ที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดูแลระบบประกอบอาคาร โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้แก่ ผู้ที่ทำงานในสาขางานวิศวกรรมระบบประกอบอาคาร ข้อสรุปผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาหรืออาการขัดข้องที่พบบ่อยของอุปกรณ์ในระบบประกอบอาคาร นั้นเกิดจาก 2 สาเหตุ ได้แก่ สาเหตุที่เป็นสิ่งเร้าหรือปัจจัยจากภายนอก และสาเหตุที่เป็นปัจจัยภายใน ประกอบได้ด้วย 3 สาเหตุ ได้แก่ สาเหตุที่เป็นการเสื่อมสภาพ/ชำรุดของอุปกรณ์ สาเหตุที่เกิดจากการบำรุงรักษาที่ผิดพลาดหรือการละเลยของผู้ดูแลระบบประกอบอาคาร และสาเหตุที่เกิดจากการตั้งค่าอุปกรณ์/การติดตั้งอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสม ในส่วนของวิธีปฏิบัติเมื่อเมื่อพบอาการขัดข้องของอุปกรณ์ในระบบประกอบอาคาร มี 2 วิธี ได้แก่ แก้ไขโดยผู้ดูแลอาคารหรือช่างประจำอาคาร ซึ่งแบ่งแยกย่อยได้อีก 4 วิธี ได้แก่ แก้ไขโดยการเปลี่ยนอุปกรณ์ แก้ไขโดยการทำความสะอาด แก้ไขโดยการกำหนด/วางแผนบำรุงรักษา และแก้ไขตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการขัดข้อง ต่อมาคือ แก้ไขโดยแจ้งบุคคลภายนอกทำการแก้ไข ซึ่งแบ่งแยกย่อยได้อีก 2 วิธีได้แก่ แจ้งการไฟฟ้าฯทำการแก้ไข และแจ้งผู้รับเหมาทำการแก้ไข องค์ความรู้ที่ได้จากผลการวิเคราะห์และข้อสรุปผลการศึกษา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในส่วนงานบริหารจัดการ โดยใช้วางแผน ป้องกันอาการขัดข้อง ตามประเภทของสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ นอกจากนี้องค์ความรู้ในส่วนวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดอาการขัดข้องของอุปกรณ์นั้น สามารถนำไปให้ใช้ในส่วนงานปฏิบัติงาน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถแก้ไขอาการขัดข้องของอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม รวดเร็ว ตามประเภทอาการขัดข้องของอุปกรณ์ที่ได้จากผลการศึกษา ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาขั้นต่อไปเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อไปในอนาคต หากต้องนำงานวิจัยนี้ไปศึกษาต่อควรนำข้อมูลรายละเอียดที่ได้จากผลการรวบรวมข้อมูล มาวิเคราะห์ ให้เกิดชุดข้อมูลใหม่ที่เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในส่วนงานบริหารจัดการอาคาร และให้ได้ชุดข้อมูลที่สมบูณร์กว่างานวิจัยในปัจจุบัน


ประสิทธิภาพการระบายอากาศเพื่อควบคุมการติดเชื้อในห้องตรวจทันตกรรม, ธัญจิรา เตชะสนธิชัย Jan 2017

ประสิทธิภาพการระบายอากาศเพื่อควบคุมการติดเชื้อในห้องตรวจทันตกรรม, ธัญจิรา เตชะสนธิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ห้องตรวจทันตกรรมเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางอากาศ การทำหัตถการทางทันตกรรมก่อให้เกิดละอองฟุ้งกระจายของเชื้อโรค จากผู้ป่วยและเครื่องมือทางทันตกรรมมากกว่าการรักษาโรคทั่วไป จากการสำรวจห้องตรวจทันตกรรมพบว่า ห้องตรวจยังขาดการออกแบบระบบระบายอากาศอย่างเหมาะสม งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการระบายอากาศในห้องตรวจทันตกรรม ตรวจสอบตำแหน่งการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ และการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายอากาศด้วยพัดลมระบายอากาศ ช่องปล่อยลมเข้า ช่องปล่อยลมออก เพื่อควบคุมการติดเชื้อในห้องตรวจทันตกรรม งานวิจัยนี้จำลองการไหลของอากาศด้วยโปรแกรมจำลองพลศาสตร์ของไหล โดยศึกษาตำแหน่งการติดตั้งช่องปล่อยลมเข้าและช่องปล่อยลมออก พิจารณาประสิทธิภาพการระบายอากาศจากทิศทางการไหลของอากาศ รูปแบบการไหลของอากาศ และอายุอากาศ ที่ระดับความสูง 0.80 เมตร ผลการวิจัยพบว่า ในห้องตรวจทันตกรรมกรณีศึกษาผู้ใช้งานมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง การติดตั้งช่องปล่อยลมออกหรือพัดลมระบายอากาศจะช่วยให้ค่าอายุอากาศลดลง การติดตั้งช่องปล่อยลมเข้าในตำแหน่งบนผนังด้านศีรษะของผู้ป่วย และช่องปล่อยลมออกด้านปลายเท้าของผู้ป่วยจะช่วยให้ประสิทธิภาพการระบายอากาศดีขึ้น การติดตั้งช่องปล่อยลมเข้าควรอยู่ในตำแหน่งด้านที่ต้องการให้สะอาด ช่องปล่อยลมออกควรอยู่ในด้านที่ไม่มีบุคลากรทำงานอยู่ เพื่อควบคุมไม่ให้เชื้อโรคไหลออกผ่านผู้ใช้งาน ช่องปล่อยลมเข้าไม่ควรอยู่ด้านเดียวกันกับช่องปล่อยลมออก เพราะจะทำให้อากาศถูกดูดออกก่อนที่จะหมุนเวียนภายในห้อง และควรพิจารณาประสิทธิภาพการระบายอากาศทุกปัจจัยก่อนการติดตั้งช่องปล่อยลมจริง จากงานวิจัยชิ้นนี้ทำให้ห้องตรวจทันตกรรมที่มีการใช้งาน ได้รับการประเมินการระบายอากาศ และมีแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายอากาศ เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ โดยมีแนวทางในการออกแบบหรือปรับปรุงตำแหน่งการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ช่องปล่อยลมเข้า ช่องปล่อยลมออกที่เหมาะสม ทั้งนี้การประยุกต์ใช้งานควรคำนึงเรื่องปัจจัยการเปิดปิดประตูเพิ่มเติม และสามารถนำไปขยายผลการศึกษาต่อได้ในห้องตรวจทันตกรรม แบบห้องรวมที่มีหลายเตียงตรวจในพื้นที่เดียวกันต่อไป


ลักษณะและสาเหตุของข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งในงานก่อสร้างแบบมีผู้รับเหมาหลายราย:กรณีศึกษาอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ธัญลักษณ์ น้อมนันททรัพย์ Jan 2017

ลักษณะและสาเหตุของข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งในงานก่อสร้างแบบมีผู้รับเหมาหลายราย:กรณีศึกษาอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ธัญลักษณ์ น้อมนันททรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการก่อสร้างอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่จึงการจัดซื้อจัดจ้างแบบมีผู้รับเหมาหลายรายด้วยสัญญาจ้างหลักหลายสัญญา ระหว่างช่วงปิดโครงการเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้รับเหมาเรื่องความรับผิดชอบในข้อบกพร่องของโครงการส่งผลให้เกิดความล่าช้าให้การย้ายเข้าพื้นที่ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและสาเหตุหลักที่ส่งผลให้เกิดข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งในงานก่อสร้างที่มีผู้รับเหมาหลายราย โดยศึกษาจากข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งทั้งหมด 887 รายการที่พบช่วงส่งมอบพื้นที่เพื่อย้ายเข้าในพื้นที่หอพักผู้ป่วยของโครงการ รวบรวมข้อมูลจากการสืบค้นเอกสารที่เกี่ยวข้องในโครงการ เข้าร่วมสังเกตการณ์ในที่ประชุมหารือเรื่องข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้ง และสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี Matrix data analysis และแผนผังสาเหตุและผล จากการศึกษาพบว่าสามารถจำแนกข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งตามลักษณะความบกพร่องได้ 3 ประเภทได้แก่ ของหาย ของชำรุดเสียหาย และของอยู่ผิดตำแหน่ง โดยพบของชำรุดเสียหายมากที่สุดจำนวนมากเกินครึ่ง รองลงมาได้แก่ของหายและพบของอยู่ผิดตำแหน่งน้อยที่สุด เมื่อจำแนกตามตำแหน่งที่พบสามารถแบ่งได้ 5 ประเภท ได้แก่ ประตูหรือหน้าต่าง ฝ้า พื้น ผนังหรือเสา และอุปกรณ์หรือเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งพบในอุปกรณ์หรือเฟอร์นิเจอร์มากที่สุด รองลงมาได้แก่ประตูหรือหน้าต่าง ตามด้วยผนังหรือเสา ฝ้า และพื้น ตามลำดับ ซึ่งมีสัดส่วนที่ไล่เลี่ยกัน เมื่อจำแนกตามการซ้อนทับของงานระบบ ณ ตำแหน่งที่พบ พบว่าสามารถจำแนกได้ 2 ประเภทได้แก่ข้อบกพร่องที่พบในพื้นที่เชิงซ้อนและข้อบกพร่องที่พบในพื้นที่เชิงเดี่ยว พื้นที่เชิงซ้อน หมายถึง พื้นที่ที่มีการซ้อนทับกันของงานระบบทางสถาปัตยกรรมโดยมีประเภทงานระบบที่เกี่ยวข้องมากกว่า 1 ชนิด พื้นที่เชิงเดี่ยว หมายถึง พื้นที่ที่มีการซ้อนทับกันของงานระบบทางสถาปัตยกรรม พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นในพื้นที่เชิงซ้อน เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะความบกพร่องกับการซ้อนทับของงานระบบ พบว่าลักษณะความบกพร่องที่ต่างกันมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดการซ้อนทับระบบในสัดส่วนที่ต่างกัน ของหายส่วนใหญ่พบในพื้นที่เชิงซ้อน ในทางกลับกันของชำรุดเสียหายมักเกิดในบริเวณที่พื้นที่เชิงเดี่ยวดังกล่าว ในขณะที่ของอยู่ผิดตำแหน่งพบในพื้นที่เชิงซ้อนเท่านั้น จากการวิเคราะห์สาเหตุการเกิดข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งพบว่าสามารถจัดกลุ่มสาเหตุขั้นต้นได้ 8 กลุ่ม ได้แก่ ผลกระทบจากการดำเนินงานอื่น ช่างผู้ปฏิบัติงานบกพร่อง เอกสารในประสานงานบกพร่อง การตรวจสอบและควบคุมงานบกพร่อง ขาดบุคลากร ผลกระทบจากลำดับการก่อสร้าง ขาดการจัดการควบคุมพื้นที่ และการออกแบบบกพร่อง เมื่อเรียงลำดับสาเหตุพบว่าลักษณะความบกพร่องที่แตกต่างกันมีเกิดจากรากสาเหตุที่ต่างกัน จากการศึกษาพบว่ารากสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งในงานก่อสร้างที่มีผู้รับเหมาหลายรายมี 6 กลุ่มสาเหตุ ได้แก่ เอกสารในประสานงานบกพร่อง การตรวจสอบและควบคุมงานบกพร่อง ขาดบุคลากร ผลกระทบจากลำดับการก่อสร้าง ขาดการจัดการควบคุมพื้นที่ และการออกแบบบกพร่อง ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญการบริหารจัดการโครงการ การบริหารจัดการงานก่อสร้าง และการออกแบบ ตั้งแต่ช่วงกำหนดความต้องการโครงการที่มีผลกระทบต่อเนื่องจนถึงช่วงปิดโครงการ ซึ่งจะเป็นบทเรียนที่จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการโครงการก่อสร้างที่มีรูปแบบการจัดซื้อจัดจ้างแบบมีผู้รับเหมาหลายราย เพื่อเป็นแนวทางป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวในช่วงปิดโครงการ


เครื่องมือเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศที่ช่วยในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของอาคาร ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบขั้นต้น กรณีศึกษา อาคารพักอาศัย, ธัญธร ค้ำไพโรจน์ Jan 2017

เครื่องมือเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศที่ช่วยในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของอาคาร ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบขั้นต้น กรณีศึกษา อาคารพักอาศัย, ธัญธร ค้ำไพโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของอาคาร คือ การหาปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาตลอดช่วงชีวิตของสิ่งก่อสร้าง เป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการออกแบบอาคารคาร์บอนต่ำ ทั้งนี้ในขั้นตอนการประเมินจะต้องมีการถอดปริมาณ การกรอกข้อมูลซ้ำๆ และต้องมีการจำลองค่าการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก ใช้เวลานาน เมื่อทำแล้วกลับมาแก้ไขยาก ทำให้การประเมินมักเกิดขึ้นภายหลังการออกแบบและทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องมือประเภทต่างๆที่ช่วยลดขั้นตอนในการประเมิน ได้แก่ เครื่องมือที่พัฒนามาจากฐานข้อมูล เครื่องมือบนเว็บไซต์ และเครื่องมือบนแบบจำลองสารสนเทศ แต่เครื่องมือเหล่านั้นยังคงมีข้อจำกัดเรื่องของการกรอกข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ไม่สามารถจำลองค่าการใช้พลังงานใช้ตัวเครื่องมือ และไม่สามารถประยุกต์นำข้อมูลจากฐานข้อมูลและสมการการใช้พลังงานที่ได้จากการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากบริบทของอาคารไทยมาใช้ได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์พัฒนาเครื่องมือการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของอาคาร กรณีศึกษาอาคารพักอาศัย เพื่อให้ได้เครื่องมือต้นแบบสำหรับอาคารในประเทศไทยที่สามารถใช้ประเมินได้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบในช่วงแรก มีการถอดปริมาณและข้อมูลจาก 3D model อัตโนมัติ และมีการแสดงผลแบบ Realtime นอกจากนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องมือที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันในเรื่องของลดขั้นตอนการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อน ผู้ใช้งานสามารถแก้ไข-เพิ่ม-อัพเดทข้อมูลในฐานข้อมูลเองได้ และสามารคำนวณค่าการใช้พลังงานในตัวเครื่องมือได้ (All-in-One) งานวิจัยนี้จึงได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของอาคารในประเทศไทยและศึกษาสมการการคำนวณค่าการใช้พลังงานอย่างง่ายเพื่อนำพัฒนาเครื่องมือบนโปรแกรม Autodesk Revit และโปรแกรมเสริม Dynamo ผลของการวิจัยพบว่าผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องมือนั้นมีความแม่นยำในขณะที่มีขั้นตอนในการทำงานลดลง ทำให้ผู้ใช้งานพึงพอใจและสนใจในการประเมินวัฏจักรชีวิตอาคารมากขึ้น


การศึกษาคุณสมบัติในการกันเสียงของแผ่นเหล็กมุงหลังคาด้วยวัสดุพอลิเมอร์ชนิดอิลาสโทเมอริกโฟม (ฉนวนยางดำ), ปรมาภรณ์ พูลสวัสดิ์ Jan 2017

การศึกษาคุณสมบัติในการกันเสียงของแผ่นเหล็กมุงหลังคาด้วยวัสดุพอลิเมอร์ชนิดอิลาสโทเมอริกโฟม (ฉนวนยางดำ), ปรมาภรณ์ พูลสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านเสียงที่เกิดขึ้นในอาคารเมื่อใช้วัสดุพอลิเมอร์ชนิดยางดำติดตั้งกับแผ่นเหล็กมุงหลังคา จากการศึกษาเบื้องต้น พบว่า ฉนวนยางดำมีคุณสมบัติที่ดีในการลดเสียงรบกวนจากภายนอก จึงได้ทำการศึกษารูปแบบการติดตั้งฉนวนยางดำที่มีความหนา 9, 19 และ 25 มิลลิเมตรกับแผ่นเหล็กมุงหลังคา 4 รูปแบบ คือ รูปแบบ A แผ่นเหล็กมุงหลังคาที่ไม่มีฉนวน รูปแบบ B แผ่นเหล็กมุงหลังคารีดติดด้วยฉนวนยางดำ รูปแบบ C แผ่นเหล็กมุงหลังคาที่ไม่มีฉนวน ปูฉนวนยางดำลงบนแป และรูปแบบ D แผ่นเหล็กมุงหลังคาที่ไม่มีฉนวน ติดตั้งฉนวนยางดำกับแผ่นฝ้าเพดานยิปซัมบอร์ดฉาบเรียบในรูปแบบแซนวิช ทดสอบเสียงรบกวนโดยใช้ฝนประดิษฐ์อ้างอิงตามมาตรฐาน ISO 10140-5 ผลการทดสอบคุณสมบัติในการกันเสียงรบกวนจากภายนอกของฉนวนยางดำ เมื่อเปรียบเทียบการติดตั้งทั้ง 4 รูปแบบ ในด้านค่าเฉลี่ยระดับความดันเสียงที่ส่งผ่านมายังห้องจำลอง ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง พบว่า รูปแบบ B แผ่นเหล็กมุงหลังคารีดติดด้วยฉนวนยางดำ ความหนา 25 มิลลิเมตร พร้อมติดตั้งฝ้าเพดานฉาบเรียบ 2 ชั้น มีช่องว่างอากาศ ภายในห้องจำลอง มีค่าเฉลี่ยระดับความดันเสียงต่ำที่สุด เท่ากับ 40.89 dBA มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 2,002.14 บาท/ตารางเมตร และรูปแบบ A แผ่นเหล็กมุงหลังคาที่ไม่มีฉนวนติดตั้งบนโครงหลังคา (Base-case) มีค่าเฉลี่ยระดับความดันเสียงสูงที่สุด เท่ากับ 62.02 dBA มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 395 บาท/ตารางเมตร และเมื่อพิจารณารูปแบบการติดตั้งทั้ง 4 รูปแบบร่วมกับเกณฑ์ของเสียงรบกวนที่สามารถยอมรับได้ภายในอาคาร พบว่า รูปแบบ B แผ่นเหล็กมุงหลังคารีดติดด้วยฉนวนยางดำ ความหนา 9 มิลลิเมตร พร้อมติดตั้งฝ้าเพดานฉาบเรียบชั้นเดียว คือรูปแบบการติดตั้งที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีเสียงรบกวนเกิดขึ้นภายในห้อง 44.41 dBA มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 1,318.57 บาท/ตารางเมตร ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบการใช้งานที่เหมาะสมตามเกณฑ์ของเสียงรบกวนที่สามารถยอมรับได้ภายในอาคาร พบว่า สามารถนำไปใช้งานกับอาคารประเภทที่พักอาศัยที่มีขนาดใกล้เคียงกับห้องจำลองที่ใช้ในการทดสอบ ซึ่งผู้ออกแบบสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับอาคารได้