Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

Life Sciences

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 361 - 379 of 379

Full-Text Articles in Entire DC Network

การคัดกรองและการประยุกต์เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์เพื่อการวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของนกกระเรียนพันธุ์ไทย Grus Antigone Sharpii Blanford, 1895 ในสภาพกรงเลี้ยง, รังสินี สันคม Jan 2017

การคัดกรองและการประยุกต์เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์เพื่อการวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของนกกระเรียนพันธุ์ไทย Grus Antigone Sharpii Blanford, 1895 ในสภาพกรงเลี้ยง, รังสินี สันคม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Grus antigone sharpii จัดเป็นนกกระเรียนที่เคยสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติของประเทศไทย การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์นกกระเรียนในกรงเลี้ยงเป็นขั้นตอนสำคัญที่สามารถเพิ่มจำนวนประชากรเพื่อนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในอนาคตได้ โดยสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือความหลากหลายทางพันธุกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของพ่อแม่พันธุ์ตั้งต้น ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรองเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์จำนวน 28 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นไพรเมอร์ที่เคยใช้ศึกษาในนกกระเรียน G. americana และนกกระเรียน Anthropoides paradisea เพื่อใช้วิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของนกกระเรียนพันธุ์ไทยจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว (KKOZ, n = 11) และสถานีวิจัยเพาะเลี้ยงนกน้ำบางพระ (BB, n = 17) จังหวัดชลบุรี ผลการศึกษาพบว่าไพรเมอร์ทั้ง 28 คู่สามารถเพิ่มปริมาณไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอของนกกระเรียนพันธุ์ไทยได้ แต่มีเพียง 22 คู่ที่แสดงความเป็น polymorphism และมีตำแหน่งไมโครแซทเทลไลท์ที่ปรากฏค่า linkage disequilibrium 8 ตำแหน่ง การเบี่ยงเบนออกจากสมดุล Hardy-Weinberg พบที่โลคัส Gram8 และ Gpa38 ซึ่งเป็นผลมาจาก null allele และการเพิ่มขึ้นของอัลลีลแบบ heterozygous ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมพบว่า ค่าเฉลี่ยของ expected และ observed heterozygosity มีค่าเท่ากับ 0.63 และ 0.69 ค่า inbreeding coefficient มีค่าเท่ากับ -0.100 ซึ่งแสดงว่านกกระเรียนมีความหลากหลายทางพันธุกรรมค่อนข้างสูง และเกิด inbreeding น้อย นอกจากนี้ยังพบว่านกกระเรียนจาก KKOZ และ BB มีความแตกต่างทางพันธุกรรมต่ำ (FST = 0.035) และไม่มีการแยกออกเป็นกลุ่มประชากรย่อย (K = 1) จากผลการศึกษาครั้งนี้บ่งบอกได้ว่านกกระเรียนพันธุ์ไทยจาก 2 พื้นที่การศึกษาน่าจะเหมาะสมที่จะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรในกรงเลี้ยงให้มากขึ้น และสามารถนำไปปล่อยคืนสู่พื้นที่ชุ่มน้ำตามธรรมชาติในอนาคตได้


สมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนสกัดเข้มข้นในใบที่ได้จากแหนในประเทศไทย, สุภาภรณ์ กรณีย์ Jan 2017

สมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนสกัดเข้มข้นในใบที่ได้จากแหนในประเทศไทย, สุภาภรณ์ กรณีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โปรตีนสกัดเข้มข้นในใบ (leaf protein concentrate, LPC) เป็นโปรตีนสำคัญที่ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารมังสวิรัติ และอาหารเสริม ทั้งในมนุษย์และสัตว์ โดยส่วนใหญ่ LPC ผลิตจากผักและธัญพืช เช่น ถั่วลิสง มันสำปะหลัง และผักบุ้ง ขณะที่ปริมาณรายงานการผลิตโปรตีนจากพืชน้ำมีน้อยโดยเฉพาะจากแหน (duckweed) แหนเป็นพืชน้ำที่โตเร็วและมีปริมาณไนโตรเจนอินทรีย์สูง ซึ่งงานวิจัยครั้งนี้ศีกษาปริมาณโปรตีนทั้งหมด (total protein content, TPC) ในแหนที่พบในประเทศไทย 4 ชนิด ได้แก่ ไข่น้ำ (Wolffia globosa) แหนเป็ดเล็ก (Lemna minor) แหนเป็ดใหญ่ (Spirodela polyrrhiza) และแหนแดง (Azolla pinnata) ด้วยวิธี Kjeldahl พบว่าไข่น้ำมีปริมาณโปรตีนสูงที่สุด ซึ่งเท่ากับร้อยละ 27.45±0.02 (โดยน้ำหนัก) จึงคัดเลือกมาศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดโปรตีนเข้มข้นจากไข่น้ำโดยการปรับ pH ระหว่าง 3-6 และอุณหภูมิระหว่าง 37-80 องศาเซลเซียส ซึ่งสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตโปรตีนเข้มข้นจากไข่น้ำมากที่สุดที่ pH 4 และอุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส โดยผลิตโปรตีนได้สูงสุดร้อยละ 69.96±0.10 (โดยน้ำหนัก) จากนั้นวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของโปรตีนเข้มข้นจากไข่น้ำพบว่ามีปริมาณโปรตีนร้อยละ 69.96 (โดยน้ำหนัก), ไขมันร้อยละ 8.96 (โดยน้ำหนัก), คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 8.84 (โดยน้ำหนัก), ความชื้นร้อยละ 5.66 (โดยน้ำหนัก), เส้นใยร้อยละ 4.06 (โดยน้ำหนัก) และเถ้าร้อยละ 2.49 (โดยน้ำหนัก) เมื่อวิเคราะห์โลหะหนักในตัวอย่างด้วยวิธี Air-C2H2 Flame Atomic Absorption Spectrometry พบว่า LPC ที่ผลิตได้มีปริมาณ แมงกานีส 2.37 มิลลิกรัม/ลิตร, เหล็ก 2.29 มิลลิกรัม/ลิตร และสังกะสี 2.16 มิลลิกรัม/ลิตร จากการศึกษาชนิดและปริมาณกรดอะมิโนที่ในตะกอนโปรตีน พบว่ามีปริมาณกรดกลูตามิคสูงที่สุดคือร้อยละ 8.07 …


การปรับสภาพเบื้องต้นของหอยนางรมแกะเปลือกด้วยการล้างร่วมกับการแช่ใน Epigallocatechin Gallate จากชาเขียวเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา, กาญจนา แขเพ็ญ Jan 2017

การปรับสภาพเบื้องต้นของหอยนางรมแกะเปลือกด้วยการล้างร่วมกับการแช่ใน Epigallocatechin Gallate จากชาเขียวเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา, กาญจนา แขเพ็ญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการใช้น้ำอิเล็กโทรไลต์ กรดแลคติก และสาร Epigallocatechin gallate (EGCG) จากชาเขียว ต่ออายุการเก็บรักษาหอยนางรมที่อุณหภูมิ 4±2 °C และติดตามคุณภาพทางจุลชีววิทยา กายภาพ และเคมี โดยศึกษาค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย (MIC) และความเข้มข้นต่ำสุดในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (MBC) (Staphylococcus aureus, Bacillus cereus, Lactobacillus plantarum, Vibrio parahaemolyticus, Salmonella Typhimurium, และ Escherichia coli) ของ EGCG 2.5-5 µg/ml และกรดแลคติก 1.37-2.75 % w/w ศึกษาการทำความสะอาดเพื่อลดจำนวนจุลินทรีย์ในหอยนางรมโดยการแช่ 30 นาที ด้วยน้ำอิเล็กโทรไลต์ กรดแลคติก โดยน้ำปลอดเชื้อ สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 10 ppm และ สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 60 ppm เป็นตัวอย่างควบคุม พบว่าน้ำอิเล็กโทรไลต์ 60 ppm และกรดแลคติกที่ 0.17 % w/v (0.0625 MBC) คือความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียได้ และยังคงรักษาคุณภาพทางกายภาพและเคมีของหอยนางรม โดยน้ำอิเล็กโทรไลต์สามารถลดปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด (TPC), Staph. aureus, lactic acid bacteria (LAB) ได้ 1.36, 1.02, 0.20 log10 CFU/g ตามลำดับ และ V. parahaemolyticus ลดได้ 3.2 MPN/g ส่วนกรดแลคติกสามารถลดปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด (TPC), Staph. aureus, ได้ 0.08, 0.48 log10 CFU/g และตามลำดับ V. parahaemolyticus ลดได้ 3.2 MPN/g ขณะที่สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ …


การใช้สารสกัดจากขมิ้นชัน Curcuma Longa L. ร่วมกับสารควบคุมความเป็นกรดเพื่อยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคและยืดอายุการเก็บของเส้นขนมจีนสด, สุภาวิดา ชวนไชยสิทธิ์ Jan 2017

การใช้สารสกัดจากขมิ้นชัน Curcuma Longa L. ร่วมกับสารควบคุมความเป็นกรดเพื่อยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคและยืดอายุการเก็บของเส้นขนมจีนสด, สุภาวิดา ชวนไชยสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สารสกัดจากขมิ้นชันร่วมกับสารควบคุมความเป็นกรด เพื่อยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคและยืดอายุการเก็บของเส้นขนมจีนสด ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดขมิ้นชันด้วยวิธี HPLC และ TLC ตรวจสอบ คัดแยก และจำแนกจุลินทรีย์ไอโซเลทที่ทำให้เส้นขนมจีนเสื่อมเสียด้วยการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บนพื้นที่ rDNA ศึกษาสมบัติการต้านจุลินทรีย์ด้วยวิธี agar well diffusion ร่วมกับการวิเคราะห์ค่าminimum inhibitory concentration (MIC) และminimum bactericidal/fungicidal concentration (MBC/MFC) และของสารสกัดขมิ้นชัน (curcumin; CCM) และสารควบคุมความเป็นกรด คือ โซเดียมอะซิเตท (sodium acetate; SA) และโซเดียมแลกเทต (sodium lactate; SL) รวมถึงศึกษาการเสริมฤทธิ์ของสารผสม และศึกษาฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ของสารผสมในเส้นขนมจีนสด และลักษณะทางกายภาพของเส้นขนมจีนสด จากการศึกษาพบว่าองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดขมิ้นชัน คือ curcumin, demethoxycurcumin และ bisdemethoxycurcumin จุลินทรีย์หลักที่ทำให้ขนมจีนเสื่อมเสีย คือ แบคทีเรีย Brevibacillus sp. และยังพบ Bacillus pumilus และ Bacillus cereus และพบยีสต์ Candida tropicalis และ Pichia occidentalis โดยสาร CCM มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ดังกล่าวและจุลินทรีย์ก่อโรค (Staphylococcus aureus และ Escherichia coli) ที่ความเข้มข้นของสารสกัดระหว่าง 4.88 ถึง 78.00 µg/ml มีขนาดของ inhibition zone อยู่ในช่วง 7.87±0.06-11.20±0.20 mm ยกเว้น E.coli และเมื่อพิจารณาค่า MIC และค่า MBC/MFC ของสารเดี่ยว CCM,SA และ SL พบในช่วง 0.49-3.90, 25-200 และ 12.57-200.15 mg/ml ตามลำดับ และค่า MBC/MFC ในช่วง …


ผลของน้ำโอโซนและการบรรจุแบบสุญญากาศต่อการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคและแบคทีเรียที่ทำให้เสื่อมเสียบางชนิดในปลานิล Oreochromis Niloticus แล่, อาทิตยา ทิพย์มณี Jan 2017

ผลของน้ำโอโซนและการบรรจุแบบสุญญากาศต่อการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคและแบคทีเรียที่ทำให้เสื่อมเสียบางชนิดในปลานิล Oreochromis Niloticus แล่, อาทิตยา ทิพย์มณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้โอโซนในรูปของสารละลายต่ออายุการเก็บรักษาปลานิลแล่แช่เย็นที่บรรจุในบรรยากาศปกติและสุญญากาศ ติดตามคุณภาพทางจุลินทรีย์ และกายภาพเคมี โดยศึกษาการใช้น้ำโอโซนที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ (0-2 ppm) สำหรับทำความสะอาดปลานิลแล่ด้วยวิธีการแช่ และใช้สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 10 ppm ทำความสะอาดเป็นตัวอย่างควบคุม พบว่าจำนวนจุลินทรีย์ที่ลดลง (log reduction) ค่าดัชนีสีขาว (whiteness index) ค่าความแตกต่างสี (ΔE) ค่ากรดไทโอบาร์บิวทูริก (TBARS) และ % การสูญเสียน้ำหนัก (% weight loss) ของปลานิลแล่มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มข้นของโอโซนเพิ่มขึ้น (p≤0.05) น้ำโอโซนที่ 1 ppm คือความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถลดปริมาณแบคทีเรียได้โดยไม่แตกต่างจากน้ำโอโซนที่ 1.5 ppm (p≤0.05) และยังคงรักษาคุณภาพทางกายภาพเคมีของปลานิลแล่ การใช้น้ำโอโซนความเข้มข้น 1 ppm แช่ปลานิลเป็นเวลา 1 นาที สามารถลดปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด Staphylococcus aureus lactic acid bacteria (LAB) และ Pseudomonas spp. ได้ 0.40 0.46 0.47 และ 0.28 log ตามลำดับ เนื่องจากตัวอย่างปลานิลแล่ที่ใช้ในการศึกษาไม่พบการปนเปื้อนของ Vibrio cholerae และ Salmonella spp. ในปลานิลแล่ จึงเติมเชื้อลงในตัวอย่างปลานิลแล่ เมื่อนำมาแช่ด้วยน้ำโอโซน 1 ppm เป็นเวลา 1 นาที พบว่าน้ำโอโซนสามารถลดจำนวนแบคทีเรียดังกล่าวได้ 0.36 และ 0.26 log จากการทดลองเก็บรักษาปลานิลแล่ผ่านการแช่น้ำโอโซนที่ 1 ppm และโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 10 ppm บรรจุในสภาวะบรรยากาศปกติ (ตัวอย่างควบคุม) และสุญญากาศ เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4±2 องศาเซลเซียส พบว่าตัวอย่างที่แช่โซเดียมไฮโปคลอไรท์บรรจุในสภาวะบรรยากาศปกติและสุญญากาศ มีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดเกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนดที่ 107 CFU/g ในวันที่ 4 และ …


ผลของตัวออกซิไดส์และการบ่มด้วยความร้อนต่อสมบัติของฟิล์มไข่ขาว, อินท์วาริน กิตติอัครศรีกุล Jan 2017

ผลของตัวออกซิไดส์และการบ่มด้วยความร้อนต่อสมบัติของฟิล์มไข่ขาว, อินท์วาริน กิตติอัครศรีกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชนิดและความเข้มข้นของตัวออกซิไดส์ รวมทั้งผลของอุณหภูมิและระยะเวลาการบ่มแผ่นฟิล์มด้วยความร้อนต่อสมบัติของฟิล์มไข่ขาว ในขั้นตอนแรกเป็นการศึกษาผลของชนิดและความเข้มข้นของตัวออกซิไดส์ ตัวออกซิไดส์ที่ใช้ในการศึกษามี 3 ชนิด ได้แก่ ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ โซเดียมเพอร์ไอโอเดต และโซเดียมไฮโปคลอไรต์ แปรความเข้มข้นของตัวออกซิไดส์เป็น 3 ระดับ ได้แก่ 0.02, 0.04 และ 0.06 โมลาร์ พบว่าความต้านทานแรงดึงขาดและการยืดตัวถึงจุดขาดของฟิล์มที่เติมตัวออกซิไดส์สูงกว่าตัวอย่างควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) โดยทั่วไปพบว่าฟิล์มที่เติมโซเดียมเพอร์ไอโอเดตมีความต้านทานแรงดึงขาดและการยืดตัวถึงจุดขาดสูงกว่าฟิล์มที่เติมไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์และฟิล์มที่เติมโซเดียมไฮโปคลอไรต์ ฟิล์มที่เติมโซเดียมเพอร์ไอโอเดตเข้มข้น 0.06 โมลาร์มีความต้านทานแรงดึงขาด (2.73 เมกะพาสคาล) และการยืดตัวถึงจุดขาด (63.89%) สูงสุด โดยมีค่าเป็น 425% และ 326% ของตัวอย่างควบคุม ตามลำดับ การเชื่อมข้ามโปรตีนด้วยพันธะไดซัลไฟด์สามารถยืนยันได้โดยใช้เทคนิครามานสเปกโทรสโกปี การเติมตัวออกซิไดส์ยังมีผลต่อสมบัติเชิงแสง โดยทำให้ฟิล์มที่ได้มีความโปร่งใสลดลง นอกจากนี้พบว่าฟิล์มที่เติมโซเดียมเพอร์ไอโอเดตและฟิล์มที่เติมโซเดียมไฮโปคลอไรต์มีสีเหลืองและสีส้มเหลืองตามลำดับ ในขณะที่ฟิล์มที่เติมไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์มีสีใกล้เคียงกับตัวอย่างควบคุม การเติมตัวออกซิไดส์ทำให้ผิวฟิล์มมีสมบัติความไม่ชอบน้ำเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความสามารถในการละลายน้ำและสภาพให้ซึมผ่านได้ของไอน้ำมีค่าลดลง ในขั้นตอนที่สองเป็นการศึกษาผลของการบ่มแผ่นฟิล์มด้วยความร้อน โดยฟิล์มที่คัดเลือกมาศึกษาได้แก่ฟิล์มที่เติมไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์เข้มข้น 0.06 โมลาร์ แปรอุณหภูมิการบ่มเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 40, 60, 70 และ 80 องศาเซลเซียส และแปรระยะเวลาการบ่มเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 24, 48 และ 72 ชั่วโมง พบว่าฟิล์มที่บ่มด้วยความร้อนมีความต้านทานแรงดึงขาดสูงกว่าและการยืดตัวถึงจุดขาดต่ำกว่าตัวอย่างควบคุมซึ่งไม่ได้บ่มอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) เมื่ออุณหภูมิและระยะเวลาการบ่มเพิ่มขึ้น ความต้านทานแรงดึงขาดมีค่าเพิ่มขึ้น (p≤0.05) แต่การยืดตัวถึงจุดขาดมีค่าไม่เปลี่ยนแปลง (p>0.05) ตัวอย่างฟิล์มที่บ่มที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 72 ชั่วโมง มีความต้านทานแรงดึงขาดสูงสุด (9.55 เมกะพาสคาล) ซึ่งเป็น 683% ของตัวอย่างควบคุม การเชื่อมข้ามโปรตีนด้วยพันธะไดซัลไฟด์สามารถยืนยันได้โดยใช้เทคนิครามานสเปกโทรสโกปี ในด้านสมบัติเชิงแสง พบว่าการบ่มด้วยความร้อนมีผลต่อค่าสีค่อนข้างน้อย แม้ว่ามุมของสีตัวอย่างฟิล์มมีค่าแตกต่างกัน แต่ความเข้มสีที่มีค่าต่ำมากทำให้ฟิล์มทุกตัวอย่างปรากฏเป็นสีเทาเมื่อดูด้วยตาเปล่า การบ่มด้วยความร้อนทำให้ผิวฟิล์มมีสมบัติความไม่ชอบน้ำเพิ่มขึ้น และสามารถผลิตฟิล์มที่มีผิวไม่ชอบน้ำ (มีมุมสัมผัสระหว่างหยดน้ำกับผิวฟิล์มสูงกว่า 90 องศา) ได้โดยบ่มที่อุณหภูมิสูงเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังพบว่าฟิล์มที่บ่มด้วยความร้อนมีความสามารถในการละลายน้ำและสภาพให้ซึมผ่านได้ของไอน้ำลดต่ำลง


การประเมินทางพันธุกรรมของลักษณะการอยู่รอดของลูกสุกรที่สัมพันธ์กับขนาดครอกและน้ำหนักแรกเกิดรายตัว, ทิตยา วรวัฒนธรรม Jan 2017

การประเมินทางพันธุกรรมของลักษณะการอยู่รอดของลูกสุกรที่สัมพันธ์กับขนาดครอกและน้ำหนักแรกเกิดรายตัว, ทิตยา วรวัฒนธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเมินค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะการอยู่รอดของลูกสุกรแรกเกิด (PSB) และการอยู่รอดของลูกสุกรก่อนหย่านม (PSW) ร่วมกับลักษณะน้ำหนักแรกเกิดรายตัว (IBW) และลักษณะขนาดครอก (LS) จากข้อมูลการอยู่รอดของลูกสุกรจำนวน 14,389 บันทึก (1,413 ครอก) จากแม่สุกร 705 ตัว ข้อมูลการอยู่รอดของลูกสุกรพันธุ์แลนด์เรซ ยอร์กเชียร์ และดูร็อก บันทึกในฟาร์มที่เลี้ยงสุกรในโรงเรือนเปิดที่ไม่มีระบบระบายความร้อน เป็นข้อมูลของลูกสุกรที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2549 ถึง 2560 ประมาณค่าองค์ประกอบความแปรปรวนด้วยวิธี Gibbs sampling สำหรับลักษณะแบบไบนารี่และวิธี Average Information Restricted Maximum Likelihood (AIREML) สำหรับลักษณะแบบต่อเนื่อง ผลการศึกษาพบว่า ลำดับท้อง ระยะเวลาการอุ้มท้องของแม่สุกร และกลุ่มของโรงเรือน-ปี-เดือนที่ลูกสุกรเกิด มีอิทธิพลต่อ PSB, PSW และ IBW อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้ PSW และ IBW ยังได้รับอิทธิพลจากพันธุ์ และเพศของสุกร (p<0.05) สำหรับ LS พบว่าขึ้นอยู่กับอิทธิพลของพันธุ์ของลูกสุกร และกลุ่มของโรงเรือน-ปี-เดือนที่ลูกสุกรเกิด (p<0.05) ค่าอัตราพันธุกรรมของ PSB, PSW, IBW และ LS มีค่าเท่ากับ 0.23 ± 0.02, 0.36 ± 0.03, 0.38 ± 0.03 และ 0.22 ± 0.01 ตามลำดับ ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่าง IBW กับ PSB และ PSW มีค่าสูงเท่ากับ 0.77 ± 0.05 และ 0.85 ± 0.05 ตามลำดับ ในขณะที่ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่าง PSB กับ PSW มีค่าปานกลางเท่ากับ 0.69 ± 0.14 สำหรับลักษณะรายครอกพบว่าค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่าง LS กับลักษณะเปอร์เซ็นต์การอยู่รอดของลูกสุกรแรกเกิด (%PSB) เปอร์เซ็นต์การอยู่รอดของลูกสุกรก่อนหย่านม (%PSW) และน้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ย (ABW) มีค่าเป็นลบเท่ากับ -0.16 ± 0.03 -0.64 ± 0.02 และ -0.99 ± 0.001 ตามลำดับ จากค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมแสดงให้เห็นว่า การคัดเลือกเพื่อเพิ่มน้ำหนักแรกเกิดของลูกสุกรอาจมีผลทำให้ PSB และ PSW เพิ่มขึ้น แต่หากคัดเลือกเพื่อเพิ่ม LS จะมีผลทำให้ %PSB, %PSW และ ABW ลดลง


Dna Barcoding Of Lepidopteran Hosts And Their Parasitoids At Chulalongkorn University Area, Kaeng Khoi District, Saraburi Province, Pornthap Kerkig Jan 2017

Dna Barcoding Of Lepidopteran Hosts And Their Parasitoids At Chulalongkorn University Area, Kaeng Khoi District, Saraburi Province, Pornthap Kerkig

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Relationships between caterpillars and their parasitoids are poorly known due to the limitation of insect rearing and accurate identification. However, this knowledge is very important for controlling agricultural insect pests using parasitoids as natural enemies in biological control programmes and also for understanding interactions between caterpillar hosts and their parasitoids. During the recent decades, DNA barcoding technique has been developed and used for molecular identification, it could help identify both caterpillars and their parasitoids accurately and fast, also solve the problems about insect rearing. This research aims to preliminary study the relationships between caterpillars and their parasitoids at Chulalongkorn University …


Development Of Molecular Technique For Risk Assessment And Risk Management Of Listeria Monocytogenes And L. Innocua In Frozen Cooked Chicken Plant, Chirapiphat Phraephaisarn Jan 2017

Development Of Molecular Technique For Risk Assessment And Risk Management Of Listeria Monocytogenes And L. Innocua In Frozen Cooked Chicken Plant, Chirapiphat Phraephaisarn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand is one of the largest cooked chicken meat exporting country in the world. Unfortunately, these products can be contaminated with L. monocytogenes causes the disease Listeriosis which carries a fatality rate of 30 to 40 percent. Therefore, the various importing countries including Japan and the European countries require a zero tolerance for L. monocytogenes in the cooked chicken products. Besides, all Listeria spp. occurrence, and not only L. monocytogenes, in these products is also unacceptable to the importers. Rejection of Listeria contaminated product can reach over 5 to 20 million baht per factory per year. Hence, the aim of …


Potentials Of Ivabradine To Improve Cardiac Function In Dogs With Naturally Occurring, Asymptomatic Degenerative Mitral Valve Disease, Prapawadee Pirintr Jan 2017

Potentials Of Ivabradine To Improve Cardiac Function In Dogs With Naturally Occurring, Asymptomatic Degenerative Mitral Valve Disease, Prapawadee Pirintr

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The main hypothesis of the present study is that ivabradine (1.0 mg/kg, orally, twice daily) can reduce heart rate (HR), myocardial oxygen consumption (MVO2) and improve cardiac function in dogs with degenerative mitral valve disease (DMVD) partly due to a reduction of cardiomyocyte apoptosis. In order to test the hypothesis, this study was divided into three parts. The first part aimed to determine the appropriate single oral dose of ivabradine for reduction of HR and MVO2 as assessed by rate-pressure product (RPP= HR x systolic blood pressure). Once the appropriate dose was achieved, the second part was conducted to investigate …


Effects Of Food On Growth And Gonadal Development Of Seahorse Hippocampus Sp., Thatpon Kamnurdnin Jan 2017

Effects Of Food On Growth And Gonadal Development Of Seahorse Hippocampus Sp., Thatpon Kamnurdnin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hippocampus sp. has received attention as a source of aquarium and ornamental trade. Seahorses have been threatened from non-target fisheries, habitat loss and traditional Chinese medicine (TCM). In response to concern about a decrease of population in the wild, an aquaculture of this species may provide the seahorse numbers for the commercial demands. However, one of the critical problems in aquaculture is the proper dietary for growth and their development. Therefore, this study was conducted on different types of preys on survival rates, growth rates and gonadal development in Hippocampus sp. during the day of birth until the 31day after …


Cloning And Characterisation Of Alternansucrase From Leuconostoc Citreum Abk-1 And Role Of Surface Aromatic Acids On Product Size, Karan Wangpaiboon Jan 2017

Cloning And Characterisation Of Alternansucrase From Leuconostoc Citreum Abk-1 And Role Of Surface Aromatic Acids On Product Size, Karan Wangpaiboon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The alternansucrase (ALT, EC 2.4.1.140) catalyses transferring of glucose from sucrose to produce a polymer with α-1,6 and α- 1,3 linkages, so-called "alternan". The ALT-encoding gene from Leuconostoc citreum ABK-1 (WTalt) was successfully cloned and expressed in Escherichia coli BL21 (DE3). The two versions of truncated SH3-like domains, ∆3SHALT and ∆7SHALT, were successfully constructed. The WTALT, ∆3SHALT and ∆7SHALT possessed optimum temperature of 40 °C, while optimum pH of WTALT was at 5.0 but ∆3SHALT's and ∆7SHALT's were shifted to pH 4.0. Their activities could be enhanced by Mn²⁺. Kinetic studies of all ALTs were mainly responsible for transglycosylation activity …


Expression And Characterization Of Α-Glucosidase From Weissella Confusa Bbk-1, Lalita Silapasom Jan 2017

Expression And Characterization Of Α-Glucosidase From Weissella Confusa Bbk-1, Lalita Silapasom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Alpha-glucosidase [EC 3.2.1.20; α-D-glucoside glucohydrolase] is an exohydrolase which catalyzes non-reducing end of substrates to release D-glucose. In addition, alpha-glucosidase also displays a transferase activity, which bring about the formation of α-glucosylated compounds such as soluble starch and glycogen. This research aims to express and characterize α-glucosidase from Weissella confusa BBK-1 (WcAG). WcAG gene was expressed in modified pET28b vector. This gene contained an open reading frame of 1,775 bps. Optimum expression condition of WcAG was cultured in LB medium containing 1% (w/v) glucose and induced with 0.4 mM IPTG at 20°C for 20 h. The recombinant WcAG containing his-tag …


The Protective Effect Of Hydroxyxanthone On The Leakiness Of Intestinal Epithelia By The Proinflammatory Cytokine Related To Bacterial Endotoxin, Wannaporn Chayalak Jan 2017

The Protective Effect Of Hydroxyxanthone On The Leakiness Of Intestinal Epithelia By The Proinflammatory Cytokine Related To Bacterial Endotoxin, Wannaporn Chayalak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Leaky gut characterized as decreased transepithelial electrical resistance and increased paracellular permeability to macromolecules is associated with several fatal diseases including sepsis. Pro-inflammatory cytokine IL-1β is a critical mediator of underlying mechanism through activation of myosin light chain kinase pathway. Blocking the inducible phosphorylated myosin light chain (p-MLC) indicates the successful treatment. Xanthones predominantly found in mangosteen (Garcinia mangostana) has been indicated as a potent anti-inflammatory action. Hydroxyxanthones (HDX), the major natural xanthones, have been recently synthesized in various forms. This study aimed to examine and screen the action of various forms of synthetic HDXs, in preventing the increased paracellular …


Specific Binding Of Hlas And Antigenic Peptides Associated With Behcet's Disease And Systemic Sclerosis, Sirilak Kongkaew Jan 2017

Specific Binding Of Hlas And Antigenic Peptides Associated With Behcet's Disease And Systemic Sclerosis, Sirilak Kongkaew

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Human leukocyte antigen (HLA) molecules are essential components for immune functions. There play a major role to present antigenic-peptide for T-cell receptor (TCR) recognition and immune activation. Association between HLA genes and infectious as well as autoimmune diseases are identified genetic risk factors. For instance, Behçet’s disease (BD) and systemic sclerosis (SSc) are autoimmunity result in chronic of multisystemic inflammation and visceral fibrosis, respectively. To investigate the link of HLAs correlated with self-peptides for BD and SSc, molecular dynamics (MD) simulations were applied on the HLAp complexes. For BD, a self-peptide named MICA-TM was modeled for two BD-association such as …


การศึกษาเครือข่ายควบคุมยีนโดยภาวะเหนือพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมด้วยการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของดีเอ็นเอเคลื่อนที่ Alu, ธนิต แซ่หลิ่ว Jan 2017

การศึกษาเครือข่ายควบคุมยีนโดยภาวะเหนือพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมด้วยการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของดีเอ็นเอเคลื่อนที่ Alu, ธนิต แซ่หลิ่ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคออทิซึมสเปกตรัมเป็นกลุ่มโรคของความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาทที่มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย การศึกษาก่อนหน้าพบว่าในเลือดของผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมจะรูปแบบการแสดงออกของยีนแตกต่างจากคนปกติ และยังพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของปฏิกิริยาเมธิเลชันบนดีเอ็นเอในเลือดและสมองของผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมซึ่งปฏิกิริยาดีเอ็นเอเมธิเลชันเป็นกลไกที่ควบคุมการแสดงออกของยีน และยังเป็นกลไกที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ดีเอ็นเอเคลื่อนที่ Alu หรือ Alu elements เป็นดีเอ็นเอส่วนที่มีจำนวนซ้ำ ๆ ในจีโนม และสามารถเหนี่ยวนำการแสดงออกของยีนได้ผ่านกลไกเมธิเลชันของดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งที่ควบคุมอัตราการเพิ่มจำนวนตนเองในจีโนม โดย Alu elements มีสัดส่วนการเกิดปฏิกิริยาเมธิเลชันสูงถึงร้อยละ 23 ของปฏิกิริยาเมธิเลชันที่เกิดขึ้นทั้งหมดบนจีโนมของมนุษย์ อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีผู้ทำการศึกษาว่ากลุ่มยีนที่แสดงออกผิดปกติในผู้ป่วยโรคออทิซึมสเปกตรัมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับ Alu elements หรือไม่ ในงานวิจัยนี้ผู้ทำวิจัยได้ทำการค้นพบว่ากลุ่มยีนที่มี Alu elements แทรกตัวอยู่มีระดับแสดงออกของยีนที่ผิดปกติในเลือด หรือเซลล์ไลน์ที่พัฒนามาจากเลือดของผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมผ่านการวิเคราะห์แบบ meta-analysis และโดยผู้ทำวิจัยพบว่ามียีนจำนวน 423 ยีนที่มีการแสดงออกผิดปกติซึ่งเมื่อนำมาวิเคราะห์หาบทบาทหน้าที่ทางชีวภาพของกลุ่มยีนเหล่านี้ด้วยเครื่องมือชีวสารสนเทศ พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาการของระบบประสาท และมีความเกี่ยวกับโรคที่มีความผิดปกติคล้ายกับโรคออทิซึมสเปกตรัม และนอกจากนี้ผลการศึกษาในเซลล์โมเดลจากผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของระดับและรูปแบบการเกิดปฏิกิริยาเมธิเลชันของ Alu elements ในผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมกลุ่มย่อยที่ผ่านการจัดจำแนกกลุ่มผู้ป่วยด้วยข้อมูลแบบสอบถามทางพฤติกรรมสำหรับการวินิจฉัยผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัม สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์รูปแบบการแสดงออกของยีนในผู้ป่วยกลุ่มที่มีระดับเมธิเลชันผิดปกติจะมีรูปแบบการแสดงออกของยีนที่มี Alu elements แทรกตัวอยู่ผิดปกติด้วย ซึ่งข้อมูลการค้นพบใหม่นี้ได้แสดงให้เห็นความถึงสัมพันธ์ระหว่างระดับปฏิกิริยาเมธิเลชันของ Alu elements กับความผิดปกติของระดับการแสดงออกของยีนในผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมเมื่อมีการจัดจำแนกผู้ป่วยตามลักษณะอาการพฤติกรรมทางคลินิก ซึ่งอาจใช้อธิบายความผิดปกติทางชีวโมเลกุลที่จำเพาะในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มได้ และอาจพัฒนาเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในเลือดของโรคออทิซึมสเปกตรัมในอนาคตได้


Effects Of Plant Extracts On Melanin Biosynthesis And Melanogenetic Gene Expression In B16f10 Melanoma Cells, Moragot Chatatikun Jan 2017

Effects Of Plant Extracts On Melanin Biosynthesis And Melanogenetic Gene Expression In B16f10 Melanoma Cells, Moragot Chatatikun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Ultraviolet radiation from sunlight is a significant environmental factor in skin damage and can induce hyperpigmentation disorder and aesthetic problem. Development of novel whitening phytochemical compounds from natural products has been become trends recently. The purpose of this study was to find some plant extracts that reduce melanin synthesis and melanogenetic gene expression in alpha-MSH-induced B16F10 mouse melanoma cells. To screen total phenolics and flavonoids, antioxidant activity, and anti-mushroom tyrosinase activity, we used 13 plants which were extracted with petroleum ether, dichloromethane and ethanol solvents, subsequently. We found that total phenolic content of 13 plants extracts was found in the …


Microencapsulation Instant Coffee By Spray Drying Using Hydrolysed Konjac Glucomannan, Desi Sakawulan Jan 2017

Microencapsulation Instant Coffee By Spray Drying Using Hydrolysed Konjac Glucomannan, Desi Sakawulan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research is aimed at finding a suitable wall material from konjac glucomannan to shield antioxidant compounds in coffee extract along with appropriate condition of spray drying to produce microencapsulated instant coffee. There are two steps of study. In the first step, two types of konjac powder (A. muelleri and A. bulbifer) and different concentrations of mannanase enzyme were used to investigate the viscosity reduction of konjac glucomannan hydrolysate (KGMH). It is found that mannanase at 38,000 units per gram substrate was able to lower the viscosity of A. muelleri solution to less than 100 m.Pa.s, while A. bulbifer remained …


Halophilic Bacteria From Salty Fermented Foods And Its Bacteriocin Encoding Gene Expression To Use As Biocontrol Agent Against Staphylococcus Aureus In Salt Added Foods, Vishal Chhetri Jan 2017

Halophilic Bacteria From Salty Fermented Foods And Its Bacteriocin Encoding Gene Expression To Use As Biocontrol Agent Against Staphylococcus Aureus In Salt Added Foods, Vishal Chhetri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research was aimed to isolate, select and apply bacteriocin producing halophilic bacteria from salty fermented foods, Plara (Thai traditional salty fermented fish) and soya sauce as bio-control agent in foods. The isolates having inhibitory activity against different strains of Staphylococcus aureus were selected, identified and characterized prior to application as protective starter in food models. Bacterial communities of Plara and soya sauce samples were studied by two methods, a cultural dependent and cultural independent method (Reverse Transcriptase PCR DGGE (Rev-T PCR-DGGE)), and subsequently sequenced by 16s rDNA analysis. Halanaerobium spp. in Plara and Staphylococcus gallinarum in soya sauce were …