Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

Life Sciences

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2019

Articles 1 - 30 of 57

Full-Text Articles in Entire DC Network

การวิเคราะห์การกลายพันธุ์ของยีน Cyp21a2 ในผู้ป่วยไทยที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ 21-ไฮดรอกซิเลส, นิธิพัฒน์ ตันติรักษ์ธรรม Jan 2019

การวิเคราะห์การกลายพันธุ์ของยีน Cyp21a2 ในผู้ป่วยไทยที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ 21-ไฮดรอกซิเลส, นิธิพัฒน์ ตันติรักษ์ธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคต่อมหมวกไตชั้นนอกโตผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มโรคต่อมหมวกไตชั้นนอก มากกว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคนี้มีสาเหตุมาจากภาวะพร่องเอนไซม์ 21-ไฮดรอกซิเลส โดยถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบยีนด้อยบนออโตโซม ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน CYP21A2 ที่มีหน้าที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ 21-ไฮดรอกซิเลส ในวิถีการสังเคราะห์ฮอร์โมนสเตียรอยด์ของฮอร์โมนคอร์ติซอล ยีน CYP21A2 อยู่ในกลุ่มยีนที่มีโครงสร้างซับซ้อน เนื่องจากยีน CYP21A2 มีลำดับนิวคลีโอไทด์เหมือนกันกับยีนเทียม CYP21A1P สูงถึงร้อยละ 98 ส่งผลให้เกิดการครอสโอเวอร์ไม่ตรงกันในระหว่างแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส บางแอลลีลมีการขาดหายขนาดใหญ่และได้ผลิตภัณฑ์เป็นยีนลูกผสมกับยีนเทียมที่ไม่สามารถทำงานได้ และบางแอลลีลมียีนคอนเวอร์ชัน ทำให้ส่วนหนึ่งของยีน CYP21A2 ถูกแทนที่ด้วยส่วนหนึ่งของยีนเทียม CYP21A1P ส่วนที่ถูกแทนที่ดังกล่าวจึงได้รับการแปรผันทางพันธุกรรมที่พบบนยีนเทียม CYP21A1P มาด้วย การกลายพันธุ์เหล่านี้ไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยเทคนิคการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ด้วยหลักการของแซงเกอร์หรือเทคนิค MLPA เพียงเทคนิคเดียว การศึกษานี้ใช้เทคนิคการเพิ่มปริมาณยีนแบบจำเพาะโลคัส (locus-specific PCR) ร่วมกับเทคโนโลยีวิเคราะห์หาลำดับนิวคลีโอไทด์โมเลกุลเดียวตามเวลาจริงแบบสายยาว (long-read single molecule real-time sequencing, long-read SMRT sequencing) ในการหาการกลายพันธุ์ในบริเวณที่ซับซ้อนและสามารถพบการกลายพันธุ์ทั้งหมดในผู้ป่วยไทยจำนวน 49 ราย โดยชนิดของการกลายพันธุ์ที่พบ ได้แก่ การกลายพันธุ์ตำแหน่งตัดเชื่อม การกลายพันธุ์แบบเปลี่ยนรหัส การกลายพันธุ์เป็นรหัสหยุด การกลายพันธุ์แบบเลื่อนกรอบ และการขาดหายขนาดใหญ่ของยีน โดยพบการกลายพันธุ์ตำแหน่ง IVS2-13A/C>G จำนวน 37 แอลลีล เป็นตำแหน่งที่มีความถี่แอลลีลสูงที่สุด มีความถี่แอลลีลเท่ากับ 0.378 นอกจากนี้ ยังพบการกลายพันธุ์ใหม่ตำแหน่ง IVS7+1G>T ซึ่งเป็นตำแหน่งที่น่าจะมีผลกระทบต่อตำแหน่งตัดเชื่อม การใช้เทคนิคการเพิ่มปริมาณยีนแบบจำเพาะโลคัสร่วมกับเทคโนโลยีวิเคราะห์หาลำดับนิวคลีโอไทด์โมเลกุลเดียวตามเวลาจริงแบบสายยาวนี้ สามารถหาสาเหตุทางพันธุกรรมของยีน CYP21A2 ที่มีความซับซ้อนได้ ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถใช้ในการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยและครอบครัวได้


การพัฒนาวิธีการตรวจยีนดื้อยาคาร์บาพีเนม ของเชื้อ Klebsiella Pneumoniae ด้วยวิธี Recombinase Polymerase Amplification ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, สุธาวรรณ มุทิตานนท์ Jan 2019

การพัฒนาวิธีการตรวจยีนดื้อยาคาร์บาพีเนม ของเชื้อ Klebsiella Pneumoniae ด้วยวิธี Recombinase Polymerase Amplification ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, สุธาวรรณ มุทิตานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เชื้อ Klebsiella pneumoniae ที่สร้างเอนไซม์ carbapenemases (KPCs) เป็นปัญหาสำคัญของการติดเชื้อในโรงพยาบาลโดยเฉพาะผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากมักดื้อยาหลายขนาน ทำให้มียาที่ใช้รักษาได้จำกัด เป็นสาเหตุทำให้มีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคนิค multiplex Recombinase Polymerase Amplification (multiplex RPA) สำหรับตรวจหายีนที่สร้างเอนไซม์ carbapenemase ของเชื้อ K. pneumoniae และเปรียบเทียบความไวและความจำเพาะกับ วิธี Modified Carbapenem Inactivation Method Test (mCIM) และ วิธี nucleotide sequencing กับตัวอย่างเชื้อ K. pneumoniae ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ประเทศไทย ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง ธันวาคม 2018 โดยเก็บเชื้อที่ผลการคัดกรองพบดื้อยา carbapenem แบ่งเป็นจาก perianal ในงานเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา จำนวน 129 ตัวอย่าง และจากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยเด็ก จำนวน 21 ตัวอย่าง พบให้ผลบวกกับวิธี mCIM จำนวน 149 ตัวอย่าง (99.3%) และพบเป็นยีน blaNDM-1 สูงสุดถึงร้อยละ 89.3 รองลงมาคือยีน blaOXA-232 ร้อยละ 8 และยีน blaNDM-1 ร่วมกับ blaOXA-232 ร้อยละ 2 ตามลำดับ เชื้อที่แยกได้จากสิ่งตรวจพบมีการดื้อยาหลายขนาน โดยดื้อยา carbapenem ร่วมกับ gentamicin, trimethoprim/sulfamethoxazole, ciprofloxacin ขณะที่เชื้อที่แยกจากแผนกผู้ป่วยต่าง ๆ ในงานเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา พบการแพร่กระจายของยีน blaNDM-1 สูงสุดใน 4 แผนก จาก 9 แผนก การพัฒนาเทคนิค multiplex RPA พบว่าสามารถเพิ่มปริมาณยีน blaKPC, blaNDM, …


Geoinformatics And Predictive Model For Malaria Risk In Thailand, Patcharaporn Krainara Jan 2019

Geoinformatics And Predictive Model For Malaria Risk In Thailand, Patcharaporn Krainara

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Malaria is an infectious disease caused by the parasite Plasmodium spp., and transmitted by an anopheles mosquito as a vector. After an infected female Anopheles mosquito bites a person, a parasite from salivary glands is delivered into the human’s blood flow. The incubation period of the disease is between 10-14 days and in the severe cases, it can cause jaundice, seizures, coma, or death. Many researches indicated that the occurrence of malaria requires many factors, including environmental factors, landscape and climate. Therefore, every healthcare organization delivered policies to control these typical factors towards human’s living styles. Though malaria has been …


Effects And Mechanisms Of Caesalpinia Mimosoides Leaf Extract On Oxidative Stress Resistance And Anti-Aging Activity In Caenorhabditis Elegans And Neurite Outgrowth Activity In Neuro2a Cells, Panthakarn Rangsinth Jan 2019

Effects And Mechanisms Of Caesalpinia Mimosoides Leaf Extract On Oxidative Stress Resistance And Anti-Aging Activity In Caenorhabditis Elegans And Neurite Outgrowth Activity In Neuro2a Cells, Panthakarn Rangsinth

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

World’s population of older people is rising, dietary supplements promoting healthy lifespan are needed. Moreover, Alzheimer’s disease (AD), an age-related degenerative disease, becomes a public health problem in aging society. Recent reports using cell culture models of AD suggest that amyloid precursor protein (APP), a protein causally related to AD, plays an important role as an inhibitor of neurite outgrowth. Medicinal herbs with neurite outgrowth stimulatory effect may help to prevent and cure AD. Moreover, studies suggest that dietary supplements from plant sources act in preventive nutrition, since they provide antioxidant action against oxidative stress, promote healthspan and prolong lifespan. …


Effects Of Astaxanthin Supplementation On Biological Parameters In Thai Healthy Volunteers, Chuenjai Sratongfaeng Jan 2019

Effects Of Astaxanthin Supplementation On Biological Parameters In Thai Healthy Volunteers, Chuenjai Sratongfaeng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Astaxanthin, a powerful antioxidant, is widely used as a dietary supplement to promote several health benefits. However, the effects of long-term supplementation on general biological parameters in healthy adults is still insufficient. The objective of this study was to investigate the effects of 12-week astaxanthin supplementation on blood glucose, lipid profile and hematological parameters in healthy volunteers. Thirty-three healthy participants (16 in the experimental group and 17 in the placebo group) were enrolled in the study. The participants in the experimental group were supplemented with 4 mg/day of astaxanthin while those in the placebo group were supplemented with soybean oil …


Screening Development For Anti-Hemotoxic Activity Of Thai Herbs Against Eastern Russell’S Viper Daboia Siamensis (Smith, 1917) Venom, Patchara Sittishevapark Jan 2019

Screening Development For Anti-Hemotoxic Activity Of Thai Herbs Against Eastern Russell’S Viper Daboia Siamensis (Smith, 1917) Venom, Patchara Sittishevapark

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The eastern Russell’s viper, Daboia siamensis, is one of the important venomous snakes in Thailand. Its venom possesses hematotoxin causing pathological alterations to circulatory and renal systems. Although antivenom serum is used for standard medical treatment, its cost per dose, ineffectiveness for some symptoms, and potential to develop allergic reactions in patients has called attention to an alternative remedy including the medicinal herb. To find effective herbs, appropriate screening assays are needed. This study aims to develop in vitro and in vivo screening assays and use for screening Thai herbs with anti-hematotoxic activity against D. siamensis venom. For in vitro …


สมบัติเชิงหน้าที่ของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเมลาโนซิสในกุ้งขาวแปซิฟิก Litopenaeus Vannamei, จันทร์วรางค์ เรืองปัถย์ Jan 2019

สมบัติเชิงหน้าที่ของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเมลาโนซิสในกุ้งขาวแปซิฟิก Litopenaeus Vannamei, จันทร์วรางค์ เรืองปัถย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ฟีนอลออกซิเดส เป็นเอนไซม์ที่มีหน้าที่สำคัญในกระบวนการเมลาไนเซชัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ภูมิคุ้มกันแต่กำเนิดในสิ่งมีชีวิตกลุ่มครัสเตเชียน ฟีนอลออกซิเดสจัดอยู่ในกลุ่มโปรตีนที่จับจำเพาะกับทองแดง สามารถเร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนสารประกอบฟีนอลให้เป็นควิโนน ซึ่งสามารถเกิดพอลิเมอไรเซชันต่อไปและกลายเป็นเมลานินซึ่งจุดดำเหล่านี้ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมอาหารทะเลได้ ส่วนฮีโมไซ ยานินเป็นโปรตีนในกลุ่มที่จับจำเพาะกับทองแดงเช่นเดียวกับฟีนอลออกซิเดส มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนในเลือด ของครัสเตเชียน และมีรายงานว่าหน่วยย่อยของฮีโมไซยานินมีกิจกรรมของเอนไซม์ฟีนอลออกซิเดสด้วยเช่นกัน แต่ยังไม่มีการระบุแน่ชัดว่าหน่วยย่อยใดของฮีโมไซยานินที่มีความสามารถดังกล่าว งานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษา ลักษณะสมบัติและหน้าที่ของหน่วยย่อยฮีโมไซยานินชนิดใหม่ในกุ้ง Litopenaeus vannamei คือ LvHcB จาก การศึกษาด้านชีวสารสนเทศ พบว่า open reading frame ของยีน LvHcB ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ 2004 คู่เบสถอดรหัสเป็นเพปไทด์ที่มีกรดอมิโน 650 ตัว โดยกรดอะมิโน 17 ตัว เป็นเพปไทด์ส่งสัญญาณ ลำดับกรดอะมิ โน ขอ ง LvHcB มีความ คล้าย กับ LvHcL แล ะ LvHcS เท่ากับ 69% แล ะ คล้าย LvproPO1 เท่ากับ 44% LvproPO2 เท่ากับ 45% และ LvproPO3 เท่ากับ 41% นอกจากนี้ LvHcB ยังมีลักษณะของโปรตีนใน กลุ่มโปรตีนที่จับจำเพาะกับทองแดงเช่นกัน จากการศึกษาหน้าที่ของยีน LvHcB ในกุ้งขาวด้วยเทคนิคอาร์เอ็นเอ อินเตอร์เฟียเรนซ์ พบว่าการลดการแสดงออกของยีน LvHcB ในกุ้งขาวด้วยการฉีด อาร์เอ็นเอสายคู่ที่จำเพาะต่อ ยีน LvHcB เข้าสู่กุ้ง ทำให้ปริมาณทรานสคริปต์ของยีน LvHcB ลดลงโดยไม่ลดปริมาณทรานสคริปต์ของยีนอื่นที่ เกี่ยวข้องกับเมลาโนซิส และยังพบว่ากุ้งที่มีการแสดงออกของยีน LvHcB ลดลงมีกิจกรรมของเอนไซม์ฟีนอลออกซิเดสน้อยกว่ากุ้งกลุ่มควบคุมที่ฉีดด้วยอาร์เอ็นเอสายคู่ของยีน GFP เมื่อตรวจสอบการเกิดเมลาโนซิสโดยการวัดสี ด้วยระบบ CIE L* a* b* พบว่า ΔE value ของกุ้งที่ถูกลดการแสดงออกของยีนด้วย LvHcB dsRNA มีค่าสูงกว่า กุ้งในกลุ่ม …


ผลของไดเมทิลไดคาร์บอเนตและบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพและอายุการเก็บของสมูททีมะม่วงผสมเสาวรสระหว่างการเก็บที่อุณหภูมิเย็น, นทีกานต์ รุ่งโรจน์ Jan 2019

ผลของไดเมทิลไดคาร์บอเนตและบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพและอายุการเก็บของสมูททีมะม่วงผสมเสาวรสระหว่างการเก็บที่อุณหภูมิเย็น, นทีกานต์ รุ่งโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ DMDC (0-250 ppm) และบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพและอายุการเก็บของสมูทที มะม่วงผสมเสาวรสระหว่างการเก็บที่อุณหภูมิเย็น โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณจุลินทรีย์ (จุลินทรีย์ที่มีชีวิตทั้งหมด, ยีสต์และรา, E. coli และ S. aureus) และความเข้มข้นของ DMDC ด้วยจลนพลศาสตร์อันดับศูนย์ (zero-order kinetic) และอันดับหนึ่ง (first-order kinetic) และศึกษาผลของ DMDC (เปรียบเทียบกับการพาสเจอร์ไรส์ที่ 90 °C, 100 วินาที) และบรรจุภัณฑ์ 2 ชนิด (ขวดแก้วและขวดพลาสติกพอลิเอ ทิลีนเทเรฟทาเลต, PET) ต่อคุณภาพของสมูททีมะม่วงผสมเสาวรสระหว่างการเก็บที่อุณหภูมิเย็น (4 ºC) เป็นเวลา 6 สัปดาห์ โดยวิเคราะห์ค่า pH, ปริมาณกรดทั้งหมด, ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้, สภาพแขวนลอย, ค่าสี (L*, a*, b* และ ΔE), กิจกรรมของเอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิ เดส (polyphenoloxidase, PPO), ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2, 2- diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) และ ferric reducing antioxidant power (FRAP), ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก, ปริมาณสารฟลาโวนอยด์และปริมาณจุลินทรีย์ (จุลินทรีย์ที่มีชีวิตทั้งหมด, ยีสต์และ รา, โคลิฟอร์มและ E. coli) จากผลการทดลองพบว่าการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ทุกชนิดที่ใช้ในการทดลองเป็นไปตามจลนพลศาสตร์อันดับ ที่หนึ่ง เนื่องจากค่าสัมประสิทธิ์แสดงการตัดสินใจ (coefficient of determination, R2) จากจลนพลศาสตร์อันดับหนึ่ง (0.9333-0.9582) มีค่า สูงกว่าจลนพลศาสตร์อันดับศูนย์ (0.5531-0.9356) ของการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ทุกชนิด ในขณะที่ค่าคงที่การเกิดปฏิกิริยา (rate constant, k) ของ S. aureus จากจลนพลศาสตร์อันดับหนึ่งมีค่ามากที่สุด (0.404) แสดงถึง DMDC สามารถยับยั้ง …


ผลของการห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหยใบกะเพรา Ocimum Sanctum Linn. ด้วยบีตา-ไซโคลเดกซ์ทรินต่อคุณภาพและความคงตัวของสารระเหยให้กลิ่น, วันทนีย์ น้อยจินดา Jan 2019

ผลของการห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหยใบกะเพรา Ocimum Sanctum Linn. ด้วยบีตา-ไซโคลเดกซ์ทรินต่อคุณภาพและความคงตัวของสารระเหยให้กลิ่น, วันทนีย์ น้อยจินดา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

น้ำมันหอมระเหยกะเพรา (Ocimum sanctum Linn.) มีองค์ประกอบที่เป็นสารระเหยให้กลิ่น จัดอยู่ในกลุ่มโมโนเทอร์พีน โมโนเทอร์พีนอยด์ ฟีนิลโพรพานอยด์ เซสควิเทอร์พีน และ เซสควิเทอร์พีนออกไซด์ นิยมใส่ในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีกลิ่นเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ แต่อย่างไรก็ตามสารระเหยให้กลิ่นส่วนใหญ่ไม่คงตัวและระเหยได้ง่ายเมื่อผ่านกระบวนการแปรรูปหรือเก็บรักษาไว้เป็นเวลานาน ประกอบกับน้ำมันหอมระเหยมีสมบัติในการละลายน้ำที่ไม่ดี จึงมีการใช้เทคนิคการห่อหุ้ม (encapsulation) ด้วยบีตา-ไซโคลเดกซ์ทริน (β-CD) เกิดเป็นสารประกอบอินคลูชัน ช่วยให้สารระเหยให้กลิ่นในน้ำมันหอมระเหยมีความคงตัวมากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเกิดสารประกอบอินคลูชัน β-CD กับน้ำมันหอมระเหยกะเพราต่อความคงตัวของสารระเหยให้กลิ่นสำคัญเมื่อผ่านการให้ความร้อนและการเปลี่ยนแปลงระหว่างการเก็บรักษาเป็นเวลา 3 เดือน ในขั้นต้น ศึกษาองค์ประกอบและปริมาณของสารระเหยให้กลิ่นในน้ำมันหอมระเหยกะเพราด้วยเทคนิค gas chromatography–mass spectrometry (GC-MS) พบสารระเหยให้กลิ่นหลัก คือ β-caryophyllene (19,443 ppm), eugenol (16,280 ppm) และ methyl eugenol (8,140 ppm) และสารระเหยให้กลิ่นสำคัญจากการคำนวณค่า odor activity value (OAV) คือ eugenol (1,662,224), linalool (1,462,500), eucalyptol (527,333), β-caryophyllene (303,797), copaene (139,166), methyl eugenol (119,705) และ estragole (115,250) หลังจากนั้นศึกษาสมบัติทางเคมีกายภาพของสารประกอบอินคลูชัน β-CD เพื่อเลือกอัตราส่วน (สัดส่วนโดยโมลของน้ำมันหอมระเหยกะเพรา: β-CD) ที่เหมาะสม พบว่าที่อัตราส่วน 1:5 มีปริมาณผลผลิตในการห่อหุ้ม (EY) และประสิทธิภาพในการห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหย (EE) สูงที่สุดคือ 59.72% และ 57.01% ตามลำดับ ในขณะที่มีค่าความสามารถในการบรรจุน้ำมันหอมระเหย (LC) คือ 8.25% และความสามารถในการละลายน้ำ 20.50% ซึ่งแตกต่างกับค่าการละลายของ β-CD ปกติอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) เมื่อตรวจสอบสมบัติทางเคมีกายภาพของสารประกอบอินคลูชันด้วยเทคนิค thermo gravimetry analysis (TGA) และวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันด้วยเทคนิค fourier …


Akt Expression And Lactose Synthesis During Heat Exposure In Saanen Goat, Nungnuch Saipin Jan 2019

Akt Expression And Lactose Synthesis During Heat Exposure In Saanen Goat, Nungnuch Saipin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In tropical countries, high ambient temperature (HTa) is a fundamental factor that cause a decline in the mammary gland function in dairy animals. Dairy animals fed under HTa decreased milk yield (MY) as well as milk compositions. The current study focuses on the effect of HTa to decrease milk synthesis from natural and in vitro HTa condition. The first experiment was performed to investigate the effect of HTa from the natural condition in early lactating Saanen goat, 2-4 weeks of postpartum (2 PP-4 PP). Five animals were investigated during the winter season as control ambient condition. Six animals as the …


The Left Ventricular Functions And Heart Rate Variability In Dogs With Pulmonic Valvular Stenosis, Ploypanut Trikhun Jan 2019

The Left Ventricular Functions And Heart Rate Variability In Dogs With Pulmonic Valvular Stenosis, Ploypanut Trikhun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Pulmonic valvular stenosis (PS) is one of the most common congenital heart diseases in dogs that can lead to the cardiac maladaptation. Also, PS can affect the cardiac autonomic nervous system (ANS). However, clinical information regarding to systolic function and cardiac ANS alteration in PS dogs had not been fully elucidated. The objectives of this study were to evaluate cardiac electrical property, left ventricular (LV) function, and to assess cardiac ANS from heart rate variability (HRV) analysis in PS dogs compared with healthy dogs. The dogs in this study were divided into 2 groups, PS dogs (n=13) and healthy control …


Co-Expression Of Feedback Resistant Enzymes In Phenylalanine Biosynthesis Pathway To Increase Phenylalanine Production, Charintip Yenyuvadee Jan 2019

Co-Expression Of Feedback Resistant Enzymes In Phenylalanine Biosynthesis Pathway To Increase Phenylalanine Production, Charintip Yenyuvadee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

L-Phenylalanine (L-Phe) is an important commercial amino acid. It is widely used in food and pharmaceutical industries. Currently, the requirement of L-Phe is increased according to the great demand for the low-calorie sweetener, aspartame. In Escherichia coli, the synthesis of L-Phe is controlled by the multi-hierarchical regulations. AroG isoform of 3-deoxy- D-arabino-heptulosonate-7-phosphate synthase (DAHP synthase) and chorismate mutase/prephenate dehydratase (PheA), two important enzymes, are feedback inhibited by LPhe. Co-expression of feedback-resistant pheA (pheA[superscript L359D]) with other pivotal genes in L-Phe biosynthesis pathway: aroB, aroL, phedh, tktA, aroG, pheA, yddG, and glpF in pRSFDuet-1 (pPTFBLYA[superscript L359D]) elevated L-Phe production of E. …


Functional Characterization Of Cytosolic Ddx41 Sensor In Mediating Antiviral Immune Response In Black Tiger Shrimp Penaeus Monodon, Suthinee Soponpong Jan 2019

Functional Characterization Of Cytosolic Ddx41 Sensor In Mediating Antiviral Immune Response In Black Tiger Shrimp Penaeus Monodon, Suthinee Soponpong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

DEAD (Asp-Glu-Ala-Asp) box polypeptide 41 (DDX41), a receptor belonging to the DExD family, was recently identified as an intracellular DNA sensor in vertebrates. Here, we investigated the presence of cytosolic DNA sensing, DDX41 in shrimp Penaeus monodon. By searching for gene involved in DNA sensing cascade within the shrimp P. monodon EST database, 3 cDNA fragments exhibited similarity to DDX41 in various species were identified. Sequences assembly resulted in a complete ORF of Penaeus monodon DDX41 (PmDDX41) which has 1868-bp encoding a putative protein of 620 amino acid residues. The multiple sequence alignment of deduced amino acid sequence of PmDDX41 …


Fructooligosaccharide Synthesis By Immobilized Inulosucrase From Lactobacillus Reuteri 121 And Improvement Of Product Pattern Using Site-Directed Mutagenesis, Thanapon Charoenwongpaiboon Jan 2019

Fructooligosaccharide Synthesis By Immobilized Inulosucrase From Lactobacillus Reuteri 121 And Improvement Of Product Pattern Using Site-Directed Mutagenesis, Thanapon Charoenwongpaiboon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Inulin-type fructooligosaccharides (IFOS) are well-known prebiotics which can be produced from sucrose using bacterial inulosucrase (E.C. 2.4.1.9). However, the use of inulosucrase for IFOS synthesis has some limitations because it also synthesizes some polysaccharides and exhibits lower stability than the fungal enzymes. To overcome these limitations, improvement of inulosucrase was made by using enzyme immobilization and enzyme engineering. First, inulosucrase from Lactobacillus reuteri 121 was immobilized on a novel, high capacity core-shell chitosan beads using glutaraldehyde as a cross-linker. The results showed that both immobilized and free inulosucrase had the same optimum pH (5.5), while the optimum temperature was shifted …


Reproductive And Developmental Biology Of Rice Field Crab Esanthelphusa Nani (Naiyanetr, 1984), Rachata Maneein Jan 2019

Reproductive And Developmental Biology Of Rice Field Crab Esanthelphusa Nani (Naiyanetr, 1984), Rachata Maneein

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The rice field crabs are freshwater crabs that can be considered as pest in paddy field as well as a stable food source by local people. Either of these roles requires a good knowledge of its reproductive biology to manage population in nature. In this study, reproductive and endocrine cycles of male and female, and development of embryo were examined. Adult Esanthelphusa nani were field caught from Nan province during November 2015 to November 2016. Crabs were euthanized and dissected for reproductive tracts. Accessory organ nearby the mandibular muscle was collected for endocrine activities in male, while hemolymph was collected …


Enhancement Of Biofuel Production In Microalgae By Genetic And Physiological Modification, Napisa Pattharaprachayakul Jan 2019

Enhancement Of Biofuel Production In Microalgae By Genetic And Physiological Modification, Napisa Pattharaprachayakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Microalgae are photosynthetic microorganisms, which could be used as potential microbial cell factories by directly converting CO2 into valuable bioproducts and biofuels. This study aims to improve the target biofuel feedstocks from the isolated green alga Chlorella sp. and the engineered cyanobacterium Synechococcus elongatus PCC 7942 in terms of the improvement on lipids (as precursors of FAMEs) and terpene (α-farnesene), respectively. The first part is concerned with the enhancement of lipids and the determination of FAMEs and biodiesel properties in Chlorella sp. under the phosphorus (P) limitation (0-50%) alone or in combination with heavy metals (Fe, Co, Pb) supplementation. The …


Screening And Identification Of Probiotic Lactic Acid Bacteria From Plant Samplesd, Ratthanatda Nuhwa Jan 2019

Screening And Identification Of Probiotic Lactic Acid Bacteria From Plant Samplesd, Ratthanatda Nuhwa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Seventy lactic acid bacteria (LAB) were isolated from flowers (17 strains), 3 tree barks (7 strains), one fruit (2 strains), ten fermented tea leaves (31 strains) and two silage (13 strains). They were identified as Lactobacillus pentosus (12 strains), L. plantarum subsp. plantarum (9 strains), L. paracasei subsp. tolerans (5 strains), L. brevis (1 strain), L. silagincola (1 strain), L. kunkeei (1 strain), and L. formosensis (1 strain), Enterococcus durans (3 strains), E. lactis (2 strains), E. faecalis (1 strain), E. faecium (1 strain), E. gallinarum (1 strain) and E. gilvus (1 strain), Pediococcus acidilactici (1 strain) and P. pentosaceus …


Development Of Oxidase Enzyme And Non-Enzyme Based Biosensors For Lactate And Creatinine Detection, Siraprapa Boobphahom Jan 2019

Development Of Oxidase Enzyme And Non-Enzyme Based Biosensors For Lactate And Creatinine Detection, Siraprapa Boobphahom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This dissertation focused on the development of electrochemical sensors based on metal oxides and graphene modified electrodes for clinical applications, which is divided into two parts. The first part is development of a biosensor based on lactate oxidase (LOx) immobilized on titanium dioxide sol (TiO2 sol)/graphene nanocomposite modified nickel (Ni) foam electrode for enzymatic electrochemical detection of lactate via hydrogen peroxide (H2O2) detection. A TiO2/graphene nanocomposite was simply synthesized by hydrolysis and coated on Ni foam electrode to develop a novel electrode in biosensor. The results showed that the well intercalation of TiO2 sol within graphene film covered on the …


การต้านการเจริญและการผลิตสารพิษจากราของ Aspergillus Flavus และ Aspergillus Carbonarius โดยยีสต์ปฏิปักษ์, พิชามญชุ์ โสมา Jan 2019

การต้านการเจริญและการผลิตสารพิษจากราของ Aspergillus Flavus และ Aspergillus Carbonarius โดยยีสต์ปฏิปักษ์, พิชามญชุ์ โสมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกสำคัญในการยับยั้งการเจริญและการผลิตอะฟลาทอกซินบี 1 และโอคราทอกซินเอของ Aspergillus flavus และ Aspergillus carbonarius ตามลำดับ โดยใช้ยีสต์ปฏิปักษ์สามชนิด ได้แก่ Wickerhamomyces anomalus MSCU 0652, Saccharomyces cerevisiae MSCU 0654 และ Kluyveromyces marxianus MSCU 0655 จากผลการวิจัยพบว่า ยีสต์ปฏิปักษ์ทั้งสามชนิดสามารถยับยั้งการเจริญและการผลิตสารพิษจากราได้อย่างมีประสิทธิภาพแตกต่างกัน โดยมีกลไกสำคัญ ได้แก่ การสร้างสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายที่มีผลต่อลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเส้นใยรา และเมื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสารประกอบอินทรีย์เหยง่ายของยีสต์ปฏิปักษ์พบว่า W. anomalus MSCU 0652 มีประสิทธิภาพในการสร้างสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายเพื่อยับยั้งการเจริญและการผลิตอะฟลาทอกซินบี 1 ของ A. flavus M3T8R4G3 ได้ดีที่สุดเมื่อเจริญบนอาหารที่ค่าความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 5 (81.27±1.23 เปอร์เซ็นต์) บ่มที่อุณหภูมิห้อง (81.38±1.80 เปอร์เซ็นต์) และค่าความเข้มข้นของอาหารเลี้ยงยีสต์ปกติ (82.86±1.14 เปอร์เซ็นต์) และลดการผลิตอะฟลาทอกซินบี 1 ได้ดีที่สุดเมื่อเจริญบนอาหารที่ค่าความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 4.5 (99.91±0.01 เปอร์เซ็นต์) บ่มที่ 25 องศาเซลเซียส (99.73±0.21 เปอร์เซ็นต์) และค่าความเข้มข้นของอาหารเลี้ยงยีสต์ 0.5 เท่า (99.67±0.12 เปอร์เซ็นต์) สำหรับ A. carbonarius TK4.2 พบว่า W. anomalus MSCU 0652 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญและการผลิตสารพิษจากราได้ดีที่สุดเมื่อเลี้ยงบนอาหารที่ค่าความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 5 (82.42±2.76 เปอร์เซ็นต์) บ่มที่อุณหภูมิห้อง (81.20±2.65 เปอร์เซ็นต์) และค่าความเข้มข้นของอาหารเลี้ยงยีสต์ปกติ (83.88±0.32 เปอร์เซ็นต์) และลดการผลิตโอคราทอกซินเอได้ดีที่สุดเมื่อเลี้ยงบนอาหารที่ค่าความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 5 (99.91±0.07 เปอร์เซ็นต์) บ่มที่อุณหภูมิห้อง (99.92±0.01 เปอร์เซ็นต์) และค่าความเข้มข้นของอาหารเลี้ยงยีสต์ปกติ (99.97±0.01 เปอร์เซ็นต์) นอกจากนี้ เมื่อทดสอบความสามารถในการลดการปนเปื้อนสารพิษจากราพบว่า ตะกอนเซลล์ยีสต์ที่ไม่มีชีวิตของ S. cerevisiae …


การผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจาก Bacillus Velezensis B49 และการยับยั้งราก่อโรคพืช, สิรภพ ภูมิภูติกุล Jan 2019

การผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจาก Bacillus Velezensis B49 และการยับยั้งราก่อโรคพืช, สิรภพ ภูมิภูติกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ราก่อโรคพืชสามารถทำลายผลผลิตทางการเกษตรได้ทั่วโลก การใช้วิธีทางชีวภาพสามารถลดการใช้สารเคมีในการกำจัดราก่อโรคพืชได้ ราก่อโรคพืชที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ Acremonium furcatum, Colletotrichum gloeosporioides, Fusarium moniliforme, Fusarium proliferatum, Fusarium solani, Phytophthora palmivora และ Pyricularia oryzae การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า Bacillus velezensis B49 สามารถยับยั้งราที่ก่อโรคในพืช และสามารถสร้างสารลดแรงตึงผิวชีวภาพได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจาก B. velezensis B49 และทดสอบการยับยั้งราก่อโรคพืชด้วยสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้ ผลการทดสอบการยับยั้งการเจริญของราก่อโรคพืชโดยใช้เทคนิคการขีดเชื้อและเทคนิคผสมน้ำเลี้ยงเชื้อของ B. velezensis B49 แสดงความสามารถในการยับยั้งการเจริญของราต่อโรคพืชทั้ง 7 ชนิด ทดสอบสมบัติการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพของ B. velezensis B49 โดยใช้ 4 วิธีที่แตกต่างกัน ได้แก่ การทดสอบการยุบตัวของน้ำเลี้ยงเชื้อบนฟิล์มน้ำมัน, การทดสอบการแตกของเม็ดเลือดแดง, การทดสอบการกระจายตัวของน้ำมัน และการทดสอบการเกิดอิมัลชัน พบว่า B. velezensis B49 ให้ผลบวกกับทั้ง 4 วิธี ซึ่งยืนยันได้ว่า B. velezensis B49 สามารถผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพได้ การทดสอบผลของความเป็นกรดเบสที่มีต่อสมบัติของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ พบว่าที่ความเป็นกรดเบสระหว่าง pH 2 – 10 ทำให้เกิดอิมัลชันไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อความเป็นกรดเบสสูงขึ้น ส่งผลทำให้การเกิดอิมัลชันลดลงจนกระทั่งไม่เกิดอิมัลชันเลย ส่วนการทดสอบผลของอุณหภูมิที่มีต่อสมบัติของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพของ B. velezensis B49 พบว่า อุณหภูมิไม่มีผลต่อสมบัติการเกิดอิมัลชัน การทดสอบผลของแหล่งคาร์บอนและไนโตรเจนที่มีต่อการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพในอาหาร Mineral salt solution พบว่า B. velezensis B49 สามารถเจริญได้ในแหล่งคาร์บอน ได้แก่ กลูโคส, ฟรุกโทส และซูโครส ส่วนแหล่งไนโตรเจน ได้แก่ แอมโมเนียมไนเตรต และแอมโมเนียมซัลเฟต อย่างไรก็ตาม อาหารสูตรสมบูรณ์ให้ผลการเกิดอิมัลชันสูงกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญและการเกิดอิมัลชันต่อเวลา พบว่า B. velezensis B49 …


Development Of Riceberry Cracker Supplementation With Unripe Papaya Flour, Napassorn Payantakom Jan 2019

Development Of Riceberry Cracker Supplementation With Unripe Papaya Flour, Napassorn Payantakom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aim of this study was to investigate the effect of partial replacement of wheat flour with riceberry flour and unripe papaya flour on the physicochemical, functional properties and sensory evaluation of crackers. In the current study found that partial substitution of wheat flour with 5, 10, 15 and 20% riceberry flour (5, 10, 15 and 20%RBF) resulted in significantly increased in hardness and redness together with a decreased fracturability, lightness and yellowness of crackers. Researcher also found that substitution of wheat flour with riceberry flour resulted in an increase phenolic content from 2.03±0.36 (control cracker) to 8.78±0.19 (20%RBF) mg …


Development Of Functional Foods Based On Anthocyanin-Rich Riceberry Rice Extract (Oryza Sativa L.) And Its Effects On Postprandial Biochemical Parameters In Human., Tanisa Anuyahong Jan 2019

Development Of Functional Foods Based On Anthocyanin-Rich Riceberry Rice Extract (Oryza Sativa L.) And Its Effects On Postprandial Biochemical Parameters In Human., Tanisa Anuyahong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Riceberry rice (Oryza sativa L.), is a crossbreed of Kao Hom Nin, a local non-glutinous purple rice and Khoa Dawk Mali 105. Its pigment contains high amount of antioxidant compounds, especially anthocyanins. Previously, riceberry rice exhibited its food application with high antioxidant activity. However, the potential of food application of riceberry rice extract (RBE) in yogurt and beverage products and its postprandial effect on humans remains unknown. In this study, RBE was prepared from a mixture of riceberry rice and distilled water in 1:2 w/v ratio following the freeze-drying process. The results showed that RBE contained phenolic compounds and anthocyanins …


Effects And Mechanisms Of Anacardium Occidentale And Glochidion Zeylanicum Leaf Extracts On Neuroprotective, Neuritogenesis, Oxidative Stress Resistance And Anti-Aging Properties., Chatrawee Duangjan Jan 2019

Effects And Mechanisms Of Anacardium Occidentale And Glochidion Zeylanicum Leaf Extracts On Neuroprotective, Neuritogenesis, Oxidative Stress Resistance And Anti-Aging Properties., Chatrawee Duangjan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Aging is the primary risk factor for most neurodegenerative diseases and can negatively affect the quality of life. Neurodegenerative diseases are linked to neuronal cell death and neurite outgrowth impairment that are often caused by oxidative stress. As people want to live longer and healthier, healthy nutrition has been increasingly received much attention in recent years. Several studies reported a positive correlation between antioxidants in foods and longevity. Natural products from food supplements and medicinal plants with antioxidant properties could be promising candidates for fighting against various aging-related diseases and promoting longevity. Leaf extracts from A. occidentale (AO) and G. …


การศึกษาอนุกรมวิธานของปลานินและโรนัน (Rhinidae, Rhinobatidae และ Glaucostegidae) ในน่านน้ำไทย, อภิญญา หัสกุล Jan 2019

การศึกษาอนุกรมวิธานของปลานินและโรนัน (Rhinidae, Rhinobatidae และ Glaucostegidae) ในน่านน้ำไทย, อภิญญา หัสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปลาโรนินและโรนันเป็นปลากระดูกอ่อนในอันดับ Rhinopristiformes โดยในประเทศไทยพบจำนวน 4 วงศ์ ได้แก่ Pristidae (วงศ์ปลาฉนาก), Rhinidae (วงศ์ปลาโรนินและปลาโรนันจุดขาว), Rhinobatidae (วงศ์ปลาโรนันหัวใส), Glaucostegidae (วงศ์ปลาโรนันหัวใสยักษ์) และ Platyrhinidae (วงศ์ปลานันพัด) ปลาเหล่านี้เป็นสิ่งมีชีวิตประเภท K-selected species ซึ่งมีช่วงชีวิตยืนยาว เข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ช้าและให้ลูกจำนวนน้อยประกอบกับการถูกคุกคามจากการทำการประมงจึงทำให้ประชากรปลาโรนินและโรนันลดลงอย่างมาก การอนุรักษ์ปลาโรนินและโรนันจึงมีความจำเป็นต่อการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การระบุชนิดพันธุ์ปลาได้อย่างแม่นยำนั้นเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยในการเก็บข้อมูลได้อย่างถูกต้อง โดยการวัดลักษณะทางสัณฐานวิทยาเป็นวิธีที่ง่าย ต้นทุนต่ำ และแม่นยำที่สุดในการระบุลักษณะเฉพาะของชนิดพันธุ์ปลาโรนินและโรนัน อย่างไรก็ดี ข้อมูลลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่ได้จากการวัดปลาโรนินและโรนันในไทยนั้นยังมีอยู่น้อยมาก งานวิจัยนี้จึงเป็นงานวิจัยที่ช่วยเติมเต็มข้อมูลดังกล่าว โดยงานวิจัยนี้ได้ศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาด้วยการวัดลักษณะภายนอกของปลาและนับกระดูกสันหลัง ในการศึกษานี้ทำการวัดลักษณะที่วัดได้ 80 ลักษณะ โดยข้อมูลที่ได้จากการวัดนั้นจะนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธี Principle component analysis เพื่อใช้ในการดูการแยกกลุ่มของชนิดและทำการวิเคราะห์ Discriminant function analysis ในการจัดกลุ่มและทดสอบความแม่นยำในการจัดกลุ่มชนิดที่ได้จาก PCA ซึ่งผลที่ได้จากการวิเคราะห์พบว่าลักษณะที่วัดได้ 11 ลักษณะได้แก่ ความยาวของจะงอยปาก, ขนาดของตา, ขนาดของรูช่วยหายใจ (spiracle), ระยะห่างของรูจมูก (nasal), ความยาวของแผ่นปิดรูจมูก, ขนาดของครีบอกและครีบท้อง, ระยะห่างระหว่างครีบอกและครีบท้อง, ระยะตั้งแต่ปลายจะงอยปากจนถึงครีบหลังทั้งสอง, ระยะห่างระหว่างครีบหลังทั้งสองและขนาดของครีบหลังที่หนึ่ง มีความสำคัญต่อการจำแนกปลาโรนินและโรนัน


การพัฒนาเทคนิค Recombinase Polymerase Amplification เพื่อตรวจหาเชื้อ Mycobacterium Avium Complex ด้วยตาเปล่า, เทิดศักดิ์ สุธาตุ Jan 2019

การพัฒนาเทคนิค Recombinase Polymerase Amplification เพื่อตรวจหาเชื้อ Mycobacterium Avium Complex ด้วยตาเปล่า, เทิดศักดิ์ สุธาตุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจาก Mycobacterium avium complex (MAC) มีอุบัติการณ์เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันของร่ายกายต่ำ การวินิจฉัยเชื้อ MAC ในปัจจุบันที่อาศัยการเพาะเลี้ยงเชื้อและทดสอบปฏิกิริยาชีวเคมี นอกจากใช้ระยะเวลานานแล้ว ยังไม่สามารถจำแนกเชื้อได้ถึงระดับสปีชี่ส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อ Mycobacterium avium และเชื้อ Mycobacterium intracellulare ซึ่งเป็นเชื้อ MAC ที่สำคัญและเพาะแยกได้บ่อยจากสิ่งส่งตรวจ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ คือการพัฒนาเทคนิค Recombinase Polymerase Amplification ร่วมกับการอ่านผลด้วยสี SYBR Green I (RPA/SYBR) ในการตรวจวินิจฉัยเชื้อ MAC ซึ่งอาศัยการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมภายใต้อุณหภูมิคงที่ ร่วมกับไพรเมอร์ที่จำเพาะต่อเชื้อกลุ่ม MAC เชื้อ M. avium และเชื้อ M. intracellulare และอ่านผลที่เกิดขึ้นด้วยตาเปล่าได้ในทันทีภายหลังการเติมสี SYBR Green I ผลจากการทดสอบกับตัวอย่าง DNA ของเชื้อ MAC จำนวน 120 ตัวอย่าง พบว่าเทคนิค RPA/SYBR สามารถตรวจวินิจฉัยจำแนกสปีชี่ส์ของเชื้อ M. avium และเชื้อ M. intracellulare ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีความไว 100% และความจำเพาะตั้งแต่ 80.7% ขึ้นไป ซึ่งจัดว่ามีความสอดคล้องในเกณฑ์ดีมากเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีหาลำดับเบส (สถิติ Kappa มีค่าตั้งแต่ 0.801 ขึ้นไป) ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิค PCR มีความไวตั้งแต่ 89.2% ขึ้นไปและความจำเพาะตั้งแต่ 97.5% ขึ้นไป และมีความสอดคล้องในเกณฑ์ดีมากเช่นเดียวกัน (สถิติ Kappa มีค่าตั้งแต่ 0.863 ขึ้นไป) นอกจากนี้เทคนิค RPA/SYBR ยังมีค่าความเข้มข้นของ DNA ต้นแบบน้อยที่สุดที่สามารถตรวจได้ เท่ากับ 1 ng/µl และไม่เกิดปฏิกิริยาข้ามกลุ่มกับเชื้อส่วนใหญ่ของ Mycobacterium แม้ว่าเทคนิค RPA/SYBR ที่ได้พัฒนาขึ้น มีขั้นตอนการทดสอบที่ทำง่าย …


ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนบีเอซีอีวันและเอโปอี และระดับอะไมลอยด์เบต้าในเลือดของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังและตับอักเสบซีเรื้อรัง, ธัญรัตน์ ทองจรัส Jan 2019

ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนบีเอซีอีวันและเอโปอี และระดับอะไมลอยด์เบต้าในเลือดของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังและตับอักเสบซีเรื้อรัง, ธัญรัตน์ ทองจรัส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อะไมลอยด์เบต้า 42 (Aβ42) เป็นของเสียที่เกิดจากการย่อยอะไมลอยด์เบต้าพรีเคอเซอร์โปรตีน อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์เมื่อสะสมที่สมอง โดยมียีนบีเอซีอีวัน (BACE1) ควบคุมการสร้างเอนไซม์เบต้าซีครีเตส เพื่อย่อยอะไมลอยด์เบต้าพรีเคอเซอร์โปรตีน และมียีนเอโปอี (ApoE) เป็นยีนที่ถอดรหัสเป็น Apolipoprotein E ทำหน้าที่ขนส่งอะไมลอยด์เบต้าไปกำจัดที่ตับ คาดว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรังอาจส่งผลให้การกำจัดของเสียลดลงด้วย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับอะไมลอยด์เบต้า 42 ในเลือดด้วยหลักการ ELISA และศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน BACE1 (rs638405) ด้วยหลักการ PCR-RFLP และยีน ApoE (rs429358 และ rs7412) ด้วยหลักการ real time PCR ในผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง (CHB, N=149) ซีเรื้อรัง (CHC, N=31) และคนปกติ (N=164) โดยเป็นผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ซีเรื้อรังที่รักษา ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และผู้บริจาคโลหิต ณ สถาบันพยาธิวิทยา ในช่วงเดือน สิงหาคม 2561 - มิถุนายน 2562 ผลการศึกษาพบว่าระดับอะไมลอยด์เบต้า 42 ในเลือดของผู้ป่วย CHB มีค่าสูงกว่าคนปกติ (CHB=46.86 pg/ml (N=22), CHC=43.27 pg/ml (N=15) และ คนปกติ =33.72 pg/ml (N=36), p-value=0.002) ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ตรวจวัดนี้มีจำนวนจำกัด จึงยังไม่สามารถนำไปอ้างอิงได้ นอกจากนี้ผู้วิจัยพบสัดส่วนของจีโนไทป์ของยีน BACE1 ในผู้ป่วย CHB (N=149), CHC (N=31) มีจีโนไทป์ C/G สูงกว่าในคนปกติ (N=164) (p-value = 0.044) และยีน ApoE ในผู้ป่วย CHB (N=149), CHC (N=31) มีจีโนไทป์ ε3ε4 สูงกว่าในคนปกติ (N=148) (p-value=0.001) …


องค์ประกอบทางพฤกษเคมีและผลกระทบของน้ำมันเสม็ดขาวต่อการแสดงออกของยีนดื้อยาหลักในเชื้อ Fluconazole-Resistant Candida Albicans ที่แยกได้ทางคลินิก, พิชญพงศ์ คีรีเดช Jan 2019

องค์ประกอบทางพฤกษเคมีและผลกระทบของน้ำมันเสม็ดขาวต่อการแสดงออกของยีนดื้อยาหลักในเชื้อ Fluconazole-Resistant Candida Albicans ที่แยกได้ทางคลินิก, พิชญพงศ์ คีรีเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางพฤกษเคมีและฤทธิ์ต้านเชื้อรา Candida albicans ของน้ำมันเสม็ดขาวจากใบและกิ่งอ่อนของ Melaleuca cajuputi Powell ที่พบในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย รวมทั้งประเมินผลกระทบของน้ำมันเสม็ดขาวต่อการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับกลไกการดื้อยาฟลูโคนาโซลในเชื้อราทดสอบ การวิเคราะห์องค์ประกอบทางพฤกษเคมีด้วยวิธีแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโตรมิทรี (gas chromatography-mass spectrometry, GC-MS) พบว่าน้ำมันเสม็ดขาวมีองค์ประกอบหลัก 6 ชนิด ได้แก่ 1,8-Naphthyridine derivatives (ร้อยละ 10.46), alpha-Pyrone (ร้อยละ 10.11), Terpinolene (ร้อยละ 9.26), gamma-Terpinene (ร้อยละ 8.00), trans-Caryophyllene (ร้อยละ 6.36) และ beta-Elemene (ร้อยละ 5.09) จากการทดสอบฤทธิ์เบื้องต้นของน้ำมันเสม็ดขาวในการยับยั้ง C. albicans สายพันธุ์คลินิกที่ดื้อต่อยาฟลูโคนาโซล จำนวน 16 ไอโซเลท ด้วยวิธี Disc diffusion พบว่าดิสก์บรรจุน้ำมันเสม็ดขาว ขนาด 1 ไมโครลิตรต่อดิสก์ แสดงฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อทดสอบทุกไอโซเลท โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณยับยั้งเชื้อเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 6.67 ± 0.58 ถึง 10.00 ± 0.00 มิลลิเมตร เมื่อทำการทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดของน้ำมันเสม็ดขาวที่สามารถยับยั้งเชื้อทดสอบ (minimal inhibitory concentration, MIC) และฆ่าเชื้อทดสอบ (minimum fungicidal concentration, MFC) ด้วยวิธี Broth macrodilution พบว่าน้ำมันเสม็ดขาวแสดงฤทธิ์ฆ่าเชื้อราทดสอบทุกไอโซเลท โดยมีค่า MIC และ MFC อยู่ในช่วง 0.31-1.25 และ 0.63-2.5 ไมโครลิตรต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ การทดสอบการเสริมฤทธิ์กันของสารผสมน้ำมันเสม็ดขาวและยาฟลูโคนาโซลในการต้านเชื้อราทดสอบด้วยวิธี Checkerboard microdilution พบว่าสารผสมดังกล่าวมีการเสริมฤทธิ์กันในการยับยั้งเชื้อราทดสอบส่วนใหญ่ (ร้อยละ 60) โดยค่า MIC ของยาฟลูโคนาโซลและน้ำมันเสม็ดขาวจะลดลงประมาณ 8-64 และ 8-16 เท่า ตามลำดับ …


การทดสอบความไวต่อยาไพราซินาไมด์ของเชื้อวัณโรคอย่างรวดเร็วจากการเปลี่ยนสีบนชุดทดสอบ Biphasic Media, วราภรณ์ เถื่อนสุวรรณ Jan 2019

การทดสอบความไวต่อยาไพราซินาไมด์ของเชื้อวัณโรคอย่างรวดเร็วจากการเปลี่ยนสีบนชุดทดสอบ Biphasic Media, วราภรณ์ เถื่อนสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทดสอบความไวต่อยา Pyrazinamide (PZA) ด้วยวิธีมาตรฐาน (culture-based susceptibility tests) นั้นทำได้ยาก เนื่องจากสภาวะเป็นกรดในอาหารเลี้ยงเชื้อสามารถทำให้เกิดผลลบและผลบวกลวง การศึกษานี้มุ่งเน้นศึกษาและพัฒนาชุดทดสอบสำหรับใช้วินิจฉัยเชื้อดื้อต่อยา PZA ในเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ด้วยชุดทดสอบ colorimetric biphasic medium assay ที่ผสม Nicotinamide (NIC-CBMA) ความเข้มข้น 250, 500, 1000 และ 2000 µg/mL และวิเคราะห์การกลายพันธุ์ที่สัมพันธ์กับการดื้อยา PZA ในยีน pncA, rpsA และ panD ผลการทดสอบในเชื้อวัณโรคดื้อยาทั้งหมด 150 สายพันธุ์ แบ่งเป็นเชื้อดื้อต่อยา PZA 40 สายพันธุ์ และเชื้อไวต่อยา PZA 110 สายพันธุ์ เมื่อทดสอบด้วยวิธี BACTEC MGIT 960 พบว่าความเข้มข้นของ NIC ≥ 1000 µg/mL เหมาะสำหรับใช้วินิจฉัยเชื้อดื้อยา PZA ด้วยวิธี NIC-CBMA ซึ่งมีความไวของชุดทดสอบเท่ากับ 100% ความจำเพาะเท่ากับ 96.36% เมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐาน BACTEC MGIT 960 นอกจากนี้พบการกลายพันธุ์ในยีน pncA ที่สัมพันธ์กับการดื้อยา PZA จำนวน 28 แบบ ในเชื้อจำนวน 37 จาก 40 สายพันธุ์ที่ดื้อยา PZA เป็นการกลายพันธุ์แบบ Nonsynonymous 57.89% การกลายพันธุ์แบบ Indels 21.05% การกลายพันธุ์บริเวณ Promoter 13.16% การกลายพันธุ์แบบ Nonsense 5.26% และการกลายพันธุ์แบบ Double mutation 2.63% นอกจากนี้พบการกลายพันธุ์ใหม่จำนวน 4 แบบ …


การตรวจไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาวในแมวที่รวดเร็วด้วยวิธี Recombinase Polymerase Amplification (Rpa), สิทธิโชค ลาชโรจน์ Jan 2019

การตรวจไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาวในแมวที่รวดเร็วด้วยวิธี Recombinase Polymerase Amplification (Rpa), สิทธิโชค ลาชโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคติดเชื้อไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาวในแมว (Feline Leukemia Virus : FeLV) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในแมวที่สำคัญที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง การตรวจหา FeLV RNA และโปรไวรัส ด้วยวิธีทางอณูชีววิทยามีความสำคัญในการแยกระยะต่างๆของโรค ซึ่งวิธี Rapid immunochromatographic assay ที่นิยมใช้ตรวจแอนติเจนนั้นสามารถตรวจได้เพียงการติดเชื้อระยะ Progressive ที่มี Viremia เท่านั้น งานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาเทคนิค Recombinase polymerase amplification (RPA) และ Nested RPA เพื่อตรวจ exogenous FeLV Provirus DNA และ RT-RPA เพื่อตรวจ FeLV RNA และทดสอบตัวอย่างเลือดแมวจำนวน 122 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่าเทคนิค RPA สามารถตรวจหา FeLV Provirus ได้ที่ขีดจำกัด 1 ng/µl และไม่เกิดปฏิกิริยาข้ามกลุ่มกับเชื้อก่อโรคในแมว มีความไว ความจำเพาะ เทียบกับเทคนิค PCR ที่ร้อยละ 95.89 และ 100 ตามลำดับ ขณะที่ Nested RPA เทียบกับเทคนิค Nested PCR มีความไว ความจำเพาะ ที่ร้อยละ 98.89 และ 96.88 ตามลำดับ การตรวจหา FeLV RNA ด้วยเทคนิค RT-RPA มีขีดจำกัดที่ 0.1 ng/µl เมื่อเทียบกับเทคนิค RT-PCR และ Rapid Immunochromatographic assay มีความไว ร้อยละ 93.75 และ 95.24 ตามลำดับ และ ความจำเพาะร้อยละ 100 ค่าความสอดคล้องของเทคนิค RPA …


Binding Kinetics Of Monoclonal Antibodies And Fluoroquinolone Derivatives, Patamalai Boonserm Jan 2019

Binding Kinetics Of Monoclonal Antibodies And Fluoroquinolone Derivatives, Patamalai Boonserm

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Fluoroquinolones (FQs) are a group of antibiotics which have been extensively used against both Gram-negative and Gram-positive bacteria. Some of FQs antibiotics commonly used in livestock and fishery include norfloxacin, enrofloxacin, ciprofloxacin, and ofloxacin. However, misuse of these antibiotics may cause drug residues in food products. Therefore, to prevent consumers from getting residual antibiotics in food and the drug resistance of pathogens in humans. As a result, surveillance detection program of these drug residues must be in practice to ensure safety of the consumers in many countries. In general, detections based on immunological method include enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) has …