Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Public Affairs, Public Policy and Public Administration

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

Articles 31 - 60 of 334

Full-Text Articles in Entire DC Network

การสรรหาและคัดเลือกคนพิการเป็นข้าราชการพลเรือน : กรณีศึกษาตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล, ภควัต ศรีไทย Jan 2022

การสรรหาและคัดเลือกคนพิการเป็นข้าราชการพลเรือน : กรณีศึกษาตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล, ภควัต ศรีไทย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องการสรรหาและคัดเลือกคนพิการเป็นข้าราชการพลเรือน : กรณีศึกษาตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) ศึกษารูปแบบ วิธีการ กระบวนการ และปัญหาอุปสรรคในการสรรหาและคัดเลือกคนพิการเข้ารับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนผ่านการศึกษาตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล และ 2) เสนอแนะแนวทางเชิงนโยบายในการพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการสรรหาและคัดเลือกข้าราชการพลเรือนที่เป็นคนพิการ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยทางเอกสารและโดยสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง 5 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 22 คน ประกอบด้วย 1) ผู้แทนศูนย์สรรหาและเลือกสรร สำนักงาน ก.พ. 2) ผู้แทนกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 3) นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านคนพิการ 4) ผู้แทนส่วนราชการที่จ้างงานคนพิการในตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล 5) คนพิการที่เข้าสอบในตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล จากการวิจัยค้นพบว่าแนวทางการสรรหาและคัดเลือกคนพิการ เข้าบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือน มี 2 แนวทางคือ การสรรหาและเลือกสรร และการนำรายชื่อ โดยมีลักษณะส่วนใหญ่สอดคล้องกับแนวคิดการจ้างงานที่กำหนดให้เฉพาะราย (Customized Employment : CE) ซึ่งมีลักษณะสำคัญได้แก่ 1) การเปิดโอกาสให้ส่วนราชการสามารถดำเนินการจ้างงานคนพิการได้ทุกประเภทตำแหน่งตามความเหมาะสมของตำแหน่งงาน ลักษณะงานที่ไม่เป็นอุปสรรคสำหรับคนพิการ 2) เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันเองเฉพาะคนพิการ 3) เปิดโอกาสให้ส่วนราชการสามารถแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญด้านคนพิการร่วมเป็นคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือก 4) เปิดโอกาสให้ส่วนราชการสามารถกำหนดวิธีทดสอบคนพิการได้ตามความเหมาะสม 5) กำหนดให้ส่วนราชการพิจารณาจัดทำอารยสถาปัตย์ และจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้คนพิการสามารถปฏิบัติงานได้ นอกจากนี้พบว่าการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานภาครัฐนั้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 การบังคับใช้ ปัจจัยที่ 2 ส่วนราชการ และปัจจัยที่ 3 ตัวของคนพิการเอง ข้อเสนอเชิงนโยบายของงานวิจัยชิ้นนี้ ได้แก่ 1) ควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนหรือมีมาตรการลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม 2) จัดทำฐานข้อมูลที่เชื่อมโยง 3) ออกแบบลักษณะงานที่เหมาะสมกับคนพิการและ 4) จัดทำคู่มือหรือแนวทางอธิบายลักษณะงานที่เหมาะกับคนพิการ ตลอดจนแก้ไขหลักเกณฑ์แนวทางในการจ้างงานคนพิการของสำนักงาน ก.พ. ให้มีเหมาะสมยิ่งขึ้น


ผลกระทบของพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 ต่อบทบาทของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, ชนันท์ ชนยุทธ Jan 2022

ผลกระทบของพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 ต่อบทบาทของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, ชนันท์ ชนยุทธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาถึงผลกระทบของพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 ต่อบทบาทของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมุ่งตอบคำถามว่า การประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 จะส่งผลกระทบต่อการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างไร รวมทั้งจะส่งผลกระทบต่อบทบาทของ วช. และการนำผลงานวิจัยที่ วช. ให้การสนับสนุนไปใช้ประโยชน์อย่างไร งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 8 คน ผลการศึกษาพบว่า การประกาศใช้ พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 มีส่วนสำคัญต่อการปรับเปลี่ยนบทบาทของ วช. ในฐานะหน่วยงานให้ทุนของรัฐ ให้มีลักษณะของการเป็นนักลงทุน (Investor) มากขึ้น โดยการจัดสรรเงินของรัฐไปลงทุนในโครงการวิจัยและนวัตกรรมของบริษัทเอกชน ซึ่งในอดีต วช. มีบทบาทด้านการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เป็นเสมือนเพียงผู้ประสานงาน (Admin) ทำหน้าที่จัดสรรเงินทุนให้แก่นักวิจัยภาครัฐผ่านผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก และเป็นเสมือนนายหน้า (Broker) ทำหน้าที่จับคู่ความต้องการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยจากผู้ประกอบการภาคเอกชน เข้ากับนักวิจัยในหน่วยงานภาครัฐผู้มีคุณสมบัติหรือความประสงค์ทำวิจัยในเรื่องดังกล่าว การปรับเปลี่ยนบทบาทของ วช. จากผู้ประสานงาน (Admin) และนายหน้า (Broker) ไปสู่การเป็นนักลงทุน (Investor) มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้การจัดสรรทุนวิจัยของ วช. เป็นไปตามกลไกตลาดมากขึ้น โดยใช้ผลตอบแทนทางธุรกิจมาเป็นเกณฑ์ในการจัดสรรเงินทุนวิจัย และในขณะเดียวกันก็ลดทอนความสำคัญของงานวิจัยพื้นฐาน (Basic research) ในสถาบันอุดมศึกษาลงไป


ความพึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่มีต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่งานตรวจคนเข้าเมืองขาเข้า ด่านตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานกรุงเทพ, สิรภัชภรณ์ นัยเนตร Jan 2022

ความพึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่มีต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่งานตรวจคนเข้าเมืองขาเข้า ด่านตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานกรุงเทพ, สิรภัชภรณ์ นัยเนตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่มีต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่งานตรวจ คนเข้าเมืองขาเข้า ด่านตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานกรุงเทพ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่มีต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ งานตรวจคนเข้าเมืองขาเข้า ด่านตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานกรุงเทพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาผ่านช่องทางตรวจคนเข้าเมืองขาเข้า ท่าอากาศยานกรุงเทพ จำนวน 417 คน โดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่ได้จากแบบสอบถามโดยการใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test ค่า F-test โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation) และ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการและปัจจัยส่วนบุคคล มีผลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่งานตรวจคนเข้าเมืองขาเข้า ด่านตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานกรุงเทพ โดยผู้โดยสารชาวต่างชาติมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการอยู่ในระดับมาก ในด้านปัจจัยทางเพศ พบว่าผู้โดยสารชาวต่างชาติเพศชาย มีความพึงพอใจต่อการให้บริการมากกว่าเพศหญิง ในขณะที่ปัจจัยด้านอายุ พบว่า ผู้โดยสารชาวต่างชาติที่มีอายุมากกว่า 50 ปี กลุ่มที่เดินทางถึงท่าอากาศยานกรุงเทพช่วงระยะเวลา 00.01 - 15.00 น. กลุ่มที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก กลุ่มที่เดินทางโดยเครื่องบินมากกว่าหรือเท่ากับ 5 ครั้งต่อปี มีความพึงพอใจมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ และพบว่าปัจจัยด้านความเป็นมืออาชีพในการให้บริการ ทักษะการใช้ภาษา ระยะเวลาที่รอการตรวจ ความกระตือรือร้นในการใช้บริการ รวมถึงความชัดเจนของสัญลักษณ์/ป้ายของด่านตรวจคนเข้าเมือง มีอิทธิพลต่อการสร้างความพึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยพบว่าผู้โดยสารชาวต่างชาติมีความพึงพอใจน้อยที่สุดในด้านปัจจัยด้านสัญลักษณ์/ป้ายของด่านตรวจคนเข้าเมือง และเวลาเดินทางถึงระหว่าง 20.01 – 00.00 น. ดังนั้น จึงควรปรับปรุงเรื่องป้ายหรือสัญลักษณ์ และ จัดเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอต่อการให้บริการ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการในการรับบริการของผู้โดยสารได้


การศึกษาองค์การในรูปแบบ Fast Government ของภาครัฐไทยกรณีศึกษากรมสรรพากรและกรมการขนส่งทางบก, กัญญาวีร์ ปิตุรัตน์ Jan 2022

การศึกษาองค์การในรูปแบบ Fast Government ของภาครัฐไทยกรณีศึกษากรมสรรพากรและกรมการขนส่งทางบก, กัญญาวีร์ ปิตุรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์การปฏิบัติงานแบบ FAST Government กรณีศึกษากรมสรรพากร และกรมการขนส่งทางบก (2) ศึกษาระดับขององค์การในการเป็นองค์การแบบ FAST Government (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการปรับเปลี่ยนองค์การแบบ FAST Government โดย FAST Government แบ่งออกเป็น 4 ปัจจัย ได้แก่ Flatter Government (รัฐบาลแนวราบ) Agile Government (รัฐบาลแบบคล่องตัว) Streamlined Government (รัฐบาลแบบมีประสิทธิภาพสูงสุด) Tech-enabled Government (รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งระเบียบวิธีการวิจัยที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบพหุวิธี (Multi Methods) โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพในการศึกษาการปฏิบัติงาน ปัญหา และอุปสรรคของกรมสรรพากรและกรมการขนส่งทางบกในการปรับองค์การแบบ FAST Government โดยการสัมภาษณ์บุคลากรกรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก และบุคลากรหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 คน และใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ในการวิเคราะห์ระดับขององค์การในการเป็นองค์การแบบ FAST Government จากการใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) จากผลการวิจัย พบว่า กรมสรรพากรและกรมการขนส่งทางบกมีการปฏิบัติงานแบบ FAST Government ที่มีความคล้ายคลึงกัน คือมีความพยายามในการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการปฏิบัติงาน เพื่อความรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีและวิธีการปฏิบัติงานแบบคล่องตัว (Agile) เข้ามาประยุกต์ใช้ โดยกรมสรรพากรและกรมการขนส่งทางบก มีระดับการเป็นองค์การแบบ FAST Government ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาอุปสรรคของโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่อาจทำให้เกิดความล่าช้า ไม่คล่องตัวได้ตามที่ทั้งสองกรมต้องการ อีกทั้งบุคลากรยังขาดความรู้ความชำนาญในการใช้เทคโนโลยี


การศึกษาการนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองไปปฏิบัติในจังหวัดราชบุรี, วรพล เกิดแก้ว Jan 2022

การศึกษาการนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองไปปฏิบัติในจังหวัดราชบุรี, วรพล เกิดแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองไปปฏิบัติในจังหวัดราชบุรี เพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองไปปฏิบัติในจังหวัดราชบุรี และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า การนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองไปปฏิบัติในจังหวัดราชบุรี ขับเคลื่อนผ่านนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งหวังให้เกิดการกระจายรายได้เข้าสู่เมืองรอง 55 จังหวัด โดยการนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองไปปฏิบัติในจังหวัดราชบุรี มี 2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ กรมการพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรีและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจังหวัดราชุบรี โดยกรมการพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรีจะดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองผ่านโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โดยที่กรมการพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรีจะเข้าไปเตรียมความพร้อมให้กับชุมชนผ่านการนำความรู้แนวทางต่างๆในการพัฒนาชุมชนให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้มีเอกลักษณ์และได้มาตรฐานมานำเสนอนักท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน และมีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจังหวัดราชบุรีเป็นกระบอกเสียงในการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ โดยเน้นที่การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวหลักในจังหวัดราชบุรีกับแหล่งท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี ผ่านการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยว การทำคลิปวีดิโอ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้แก่นักท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการกระจายรายได้เข้าสู่ชุมชนได้มากยิ่งขึ้น โดยผลการศึกษาด้านปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองไปปฏิบัติในจังหวัดราชบุรีคือการที่นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองนั้นเป็นนโยบายที่มีลักษณะมองในภาพรวมของประเทศ ปัญหาด้านการสื่อสารจากส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคไม่เพียงพอและปัญหาด้านทรัพยากรที่ไม่เพียงพอ ผลการศึกษาในประเด็นข้อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองในอนาคต พบว่าควรจัดให้มียุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเมืองรองแยกจังหวัดให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ควรกำหนดบทบาทของหน่วยงานให้ชัดเจน และควรมีการอบรมความรู้เกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองเพิ่มมากขึ้น


การบริหารจัดการแบบประชาชนมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้, อัฟฮัม วาแม Jan 2022

การบริหารจัดการแบบประชาชนมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้, อัฟฮัม วาแม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการของการบริหารจัดการแบบประชาชนมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการแบบประชาชนมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการแบบประชาชนมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและทำการเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง มีจำนวนทั้งสิ้น 30 คน โดยผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการแบบประชาชนมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบไปด้วย ด้านการตัดสินใจ ด้านการดำเนินงาน ด้านการรับผลประโยชน์และด้านการประเมินผล ในขณะเดียวกันกระบวนการบริหารจัดการแบบประชาชนมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบไปด้วย การให้ข้อมูลข่าวสาร การรับฟังความคิดเห็น การเข้ามามีบทบาท การสร้างความร่วมมือ และการเสริมอำนาจแก่ประชาชน นอกจากนี้ ยังพบปัญหาและอุปสรรค์ในการบริหารจัดการแบบประชาชนมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้หลายมิติ ซึ่งสามารถที่จะนำไปปรับใช้ในการพัฒนารูปแบบและกระบวนการการบริหารจัดการแบบประชาชนมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานศูนย์จัดการกองทุนชุมชนในพื้นที่เขตเมือง ตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน, เบญญาทิพย์ ทองคำ Jan 2022

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานศูนย์จัดการกองทุนชุมชนในพื้นที่เขตเมือง ตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน, เบญญาทิพย์ ทองคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการดำเนินงานและบริหารจัดการศูนย์จัดการกองทุนชุมชนในพื้นที่เขตเมือง และเพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จของศูนย์จัดการกองทุนชุมชนในพื้นที่เขตเมือง ในการบริหารจัดการหนี้ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเลือกศึกษาศูนย์จัดการกองทุนชุมชนจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์จัดการกองทุนชุมชนบ้านสุขสวัสดิ์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ และศูนย์จัดการกองทุนชุมชนบ้านคลองฝรั่ง อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี เนื่องจากเป็นศูนย์จัดการกองทุนชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นศูนย์จัดการกองทุนชุมชนดีเด่นในระดับจังหวัด ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ประธานและคณะกรรมการศูนย์จัดการกองทุนชุมชน พัฒนาการอำเภอ นักวิชาการผู้รับผิดชอบประจำตำบล สมาชิกครัวเรือนที่เข้าสู่กระบวนการบริหารจัดการหนี้ และผู้ทรงคุณวุฒิในหมู่บ้านหรือชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ศูนย์จัดการกองทุนชุมชนในพื้นที่เขตเมือง มีแนวทางการบริหารงานจัดการศูนย์จัดการกองทุนชุมชน ดังนี้ 1) ด้านคณะกรรมการ โดยการคัดเลือกใน มติที่ประชุมของประชาชนหรือสมาชิกของแต่ละกลุ่มกองทุน 2) ด้านสมาชิก จะเป็นสมาชิกในรูปแบบของกลุ่มกองทุนที่อยู่ในชุมชน สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิก 3) มีกิจกรรมหลัก คือ การบริหารจัดการหนี้ให้กับสมาชิกของกลุ่มกองทุนต่าง ๆ 4) ระเบียบข้อบังคับ โดยใช้แนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด และปัจจัยความสำเร็จของศูนย์จัดการกองทุนชุมชนทั้ง 2 แห่ง ดังนี้ 1) ภาวะผู้นำ คณะกรรมการศูนย์จัดการกองทุนชุมชนได้รับการยอมรับจากสมาชิก มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงาน 2) การมีส่วนร่วม ประชาชนให้ความร่วมมือ และสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์จัดการกองทุนชุมชน 3) การบริหารจัดการที่ดี มีระเบียบข้อบังคับที่สมาชิกร่วมกันปฏิบัติตาม และ 4) การได้รับการสนับสนุนจากภายนอก ทั้งการติดตามดูแลโดยสำนักงานพัฒนาชุมชน และการได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานภาคราชการ และรัฐวิสาหกิจ


พิพิธภัณฑ์สึนามิบ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา : ภูมิหลัง และการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่ความมุ่งหวัง, กฤตพัฒน์ ชื่นตระกูล Jan 2022

พิพิธภัณฑ์สึนามิบ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา : ภูมิหลัง และการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่ความมุ่งหวัง, กฤตพัฒน์ ชื่นตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์เล่มนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษากระบวนการขับเคลื่อนนโยบายของพิพิธภัณฑ์สึนามิบ้านน้ำเค็มจังหวัดพังงา ที่จัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงวัฒนธรรม ในวาระพิเศษเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานของเหตุการณ์สึนามิ ในปี 2547 นับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน เพื่อทราบถึงกระบวนการนโยบายตลอดจนอุปสรรคที่ส่งผลต่อนโยบาย และพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์อันจะนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายที่ให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ทำหน้าที่ในการให้บริการสาธารณะแก่สังคมในอนาคตต่อไป ผลการศึกษาพบว่า การขับเคลื่อนนโยบายพิพิธภัณฑ์สึนามิบ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา ภาวะผู้นำของบุคคลมีความสัมพันธ์กับกระบวนการนโยบาย ผู้บริหารจึงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้นโยบายสู่วาระทางสังคม และกำหนดนโยบายในการนำไปปฏิบัติผ่านโครงสร้างหน่วยงานราชการ ซึ่งจำเป็นที่ฝ่ายบริหารและฝ่ายข้าราชการประจำต้องผสานความร่วมมือกัน สำหรับในการนำนโยบายไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย นอกจากการนำนโยบายไปปฏิบัติในลักษณะเป็นลำดับชั้นจากบนลงล่าง จำเป็นต้องให้อำนาจการใช้ดุลยพินิจแก่ผู้ปฏิบัติงานจริงในลักษณะแบบล่างขึ้นบน นอกจากนี้การติดต่อเป็นการส่วนตัว รวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนจะส่งผลช่วยให้นโยบายบรรลุวัตถุประสงค์ นอกจากนี้การคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางการเมือง และการปรับเปลี่ยนนโยบายให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย จะส่งผลให้เกิดความต่อเนื่องของนโยบายแม้จะเผชิญอุปสรรคด้านมาตรการของนโยบายและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สำหรับแนวทางการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์สึนามิบ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา ต่อไป จะต้องประสานความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการผลักดันพิพิธภัณฑ์ให้เป็นส่วนหนึ่งของวาระทางสังคม และสร้างกลไกระบบการบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์แบบประชาสังคมในรูปแบบองค์กรไม่แสวงผลกำไร เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ตามภารกิจและเป้าหมายที่คาดหวังอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน ผ่านการจัดกิจกรรมตามคุณค่าขององค์กรซึ่งตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป และการเชื่อมโยงเครือข่ายวิชาการในระดับนานาชาติ อันจะทำให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ทำหน้าที่ในการให้บริการสาธารณะแก่สังคมในอนาคตต่อไป


ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียนไทย, คุณานนต์ วิหคาภิรมย์ Jan 2022

ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียนไทย, คุณานนต์ วิหคาภิรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียนไทย และเพื่อศึกษาหาข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียนไทย งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยได้เลือกสัมภาษณ์บุคากรทางการศึกษาระดับนโยบายไปจนถึงระดับปฏิบัติการ โดยผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ คุณครูระดับมัธยมศึกษา 3 ท่าน ในโรงเรียนกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด บุคลากรในกระทรวงศึกษาธิการ 1 ท่าน และบุคลากรขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asian Ministers of Education Organization (SEAMEO) 1 ท่าน ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียนไทย แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารจัดการบุคลากรครู ด้านนโยบายจากส่วนกลาง และด้านหลักสูตร และในแนวทางการแก้ไขปัญหา หรือแนวทางการพัฒนาระบบการศึกษาไทย พบว่าปัญหาส่วนใหญ่สามารถแก้ไขได้ด้วยการหารือร่วมกันระหว่างบุคลากรด้านการศึกษาระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติการ นอกจากนั้นรวมถึงต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล จะสามารถแก้ไขปัญหาและวางแผนพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพได้ในระยะยาว สุดท้ายงานวิจัยชิ้นนี้เสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียนไทยแก่ผู้ที่สนใจต่อไป


อิทธิพลของการปรับใช้นโยบาย Work From Anywhere ในการดึงดูดผู้ที่มีสมรรถนะสูงเข้ามารับราชการกรณีศึกษา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, ฐานิศา สันตยานนท์ Jan 2022

อิทธิพลของการปรับใช้นโยบาย Work From Anywhere ในการดึงดูดผู้ที่มีสมรรถนะสูงเข้ามารับราชการกรณีศึกษา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, ฐานิศา สันตยานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของการปรับใช้นโยบาย Work from Anywhere ในการดึงดูดผู้ที่มีสมรรถนะสูงเข้ามารับราชการ กรณีศึกษา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จาก นปร. จำนวน 62 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 5 คน มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่ เพื่อศึกษาอิทธิพลของการปรับใช้นโยบาย Work from Anywhere ต่อการตัดสินใจเข้ารับราชการในกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศของผู้ที่มีสมรรถนะสูง และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการวางแผนบุคลากรเพื่อดึงดูดข้าราชการผู้มีสมรรถนะสูงเข้ารับราชการของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า การปรับใช้นโยบาย Work from Anywhere มีอิทธิพลในการดึงดูดผู้ที่มีสมรรถนะสูงเข้ามารับราชการ กรณีศึกษา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยปัจจัยด้าน Work-Life Balance ของบุคลากร จร. ส่งผลต่อการตัดสินใจมากที่สุด (Beta=0.38, t= 11.14, p-value น้อยกว่า .001) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของ จร. (Beta=0.21, t= 4.1, p-value น้อยกว่า .001) ปัจจัยด้านการลดค่าใช้จ่ายในการมาทำงาน (Beta=0.19, t= 7.7, p-value น้อยกว่า .001) ปัจจัยด้านวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร จร. (Beta=0.16, t= 2.6, p-value=.013) และส่งผลน้อยที่สุดคือ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมการทำงานของบุคลากร จร. (Beta=0.12, t= 2.7, p-value=.008)


แนวทางการพัฒนาศูนย์ดำรงธรรมอำเภอตามมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (Gecc), ธนรัฐ นันทนีย์ Jan 2022

แนวทางการพัฒนาศูนย์ดำรงธรรมอำเภอตามมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (Gecc), ธนรัฐ นันทนีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาศูนย์ดำรงธรรมอำเภอตามมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (GECC : Government Easy Contact Center) เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดในการขอรับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการขอรับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัด ที่กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวถึงมากที่สุด คือ ประเด็นเรื่องทรัพยากรซึ่งในที่นี้คืองบประมาณและบุคลากรที่ไม่เพียงพอ ประเด็นที่ถูกกล่าวถึงรองลงมาคือ ประเด็นเรื่องเจ้าหน้าที่ในระดับภูมิภาคขาดความเข้าใจและไม่เห็นความสำคัญของนโยบาย ประเด็นเรื่องระบบงานบริการของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอยังไม่มีเอกภาพ ไม่มีมาตรฐานเดียวกัน ไม่เป็นนวัตกรรมในการให้บริการ ประเด็นเรื่องหลักเกณฑ์บางประการเป็นข้อจำกัดที่ไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ ประเด็นเรื่องเจ้าหน้าที่ในระดับภูมิภาคมีภารกิจหลายด้านทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามนโยบายได้ ตามลำดับ และประเด็นสุดท้ายคือประเด็นเรื่องการขาดการวางแผน ตรวจ ติดตาม ประเมินผลที่ดี


การปรับตัวขององค์การภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัล: ศึกษากรณีการปรับตัวของกระทรวงการต่างประเทศสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลตามกรอบของแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2563 - 2565, ธรินด์ เลิศสุขีเกษม Jan 2022

การปรับตัวขององค์การภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัล: ศึกษากรณีการปรับตัวของกระทรวงการต่างประเทศสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลตามกรอบของแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2563 - 2565, ธรินด์ เลิศสุขีเกษม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในยุคปัจจุบันได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อการบริหารงานภาครัฐอย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลให้องค์การภาครัฐจำเป็นต้องปรับตัวสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล เพื่อดำเนินภารกิจ หน้าที่และอำนาจของตนต่อไปได้ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้กำหนดแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลของประเทศในชื่อ ‘แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565’ เพื่อเป็นกรอบให้หน่วยงานภาครัฐปรับเปลี่ยนองค์การสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยมีจุดเน้น ได้แก่ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับปรุงและพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานขององค์การ การอำนวยความสะดวกในการให้บริการภาครัฐแก่ประชาชน การเปิดเผยข้อมูล และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งนี้ งานศึกษาชิ้นนี้ได้ศึกษากระบวนการปรับตัวขององค์การภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลตามกรอบของแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ โดยเลือกศึกษากระบวนการปรับตัวของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความก้าวหน้าด้านดิจิทัลว่า เป็นไปตามกรอบแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยฯ หรือไม่ และอย่างไร ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการปรับตัวสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลของกระทรวงการต่างประเทศเป็นการปรับตัวที่เกิดจากแรงผลักจากสภาวะแวดล้อมภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในยุคปัจจุบัน ปัจจัยจากนโยบายของรัฐบาล และสถานการณ์ของโรคโควิด-19 และสอดคล้องตามจุดเน้นทั้ง 4 ด้านของแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยฯ แต่ยังคงมีข้อจำกัดและความท้าทายอันเกิดจากความต่อเนื่องของนโยบายในองค์การ ความแตกต่างในระดับความพร้อมด้านทักษะดิจิทัลของบุคลากร ตลอดจนกฎระเบียบของภาครัฐที่ยังเป็นความท้าทายสำคัญต่อการปรับตัวสู่รัฐบาลดิจิทัลของกระทรวงการต่างประเทศ


การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กรณีศึกษากรมธนารักษ์, ปพิชญา นวลศรี Jan 2022

การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กรณีศึกษากรมธนารักษ์, ปพิชญา นวลศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมธนารักษ์ ในด้านการสรรหา บรรจุ และแต่งตั้ง โดยส่งผลให้ 1) ไม่สามารถดำเนินการสอบเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคลากรได้ กระบวนการนี้หยุดชะงัก จำเป็นจะต้องเลื่อนการสอบเกือบทุกรูปแบบออกไป 2) ส่งผลกระทบให้การสรรหา บรรจุและแต่งตั้งไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด ด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ส่งผลให้ 1) ไม่สามารถจัดการฝึกอบรม สัมมนาเพื่อพัฒนาให้แก่บุคลากรได้แบบ Onsite 2) การดำเนิน โครงการ/สัมมนา ที่ไม่สามารถจัดการฝึกอบรมผ่านระบบออนไลน์ได้ต้องชะลอออกไปก่อน 3) โดยภาพรวมจึงทำให้งบประมาณในด้านการพัฒนาและฝึกอบรมปรับลดลง โดยการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมธนารักษ์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 นั้น จากการศึกษาพบว่า 1) ด้านการสรรหา บรรจุและแต่งตั้ง กรมธนารักษ์ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการสรรหาและคัดเลือก เน้นระบบออนไลน์มากขึ้น ทั้งการรับสมัคร การสัมภาษณ์ และการรายงานตัว 2) ด้านการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร มีการปรับรูปแบบการจัดฝึกอบรม โดยให้กระชับหลักสูตร ปรับเนื้อหา เพิ่มความยืดหยุ่นของการฝึกอบรมให้มีความหลากหลาย ที่สำคัญคือต้องปรับรูปแบบการฝึกอบรม/สัมมนา จาก on site ให้เป็น online โดยผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ 3) ด้านการประเมินผลปฏิบัติงาน กำหนดให้ผู้บังคับบัญชามอบหมายการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรเป็นรายวันหรือรายสัปดาห์ โดยกำหนดเป้าหมาย ผลผลิตที่คาดหวัง ตัวชี้วัด ผลงานจริง วิธีการที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร และติดตามความคืบหน้าตามความเหมาะสม


การเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในรูปแบบการแสวงหาประโยชน์ทางเพศผ่านทางช่องทางออนไลน์ กรณีศึกษา : กองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์, ปิ่นวรางค์ กลิ่นหวล Jan 2022

การเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในรูปแบบการแสวงหาประโยชน์ทางเพศผ่านทางช่องทางออนไลน์ กรณีศึกษา : กองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์, ปิ่นวรางค์ กลิ่นหวล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในรูปแบบแสวงหาประโยชน์ทางเพศผ่านทางช่องทางออนไลน์ ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยการวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาทราบถึงลักษณะของการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน อีกทั้งทราบถึงศึกษาการเรียนรู้ที่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จนนำไปสู่การปรับปรุงการเรียนรู้เพื่อไปพัฒนาสมรรถนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติงาน. โดยการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยที่มีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ จำแนกเป็น 2 กลุ่มคือดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างของระดับผู้บังคับบัญชาของกองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ 2) กลุ่มตัวอย่างระดับผู้ใต้บังคับบัญชาของกองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดของการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) แรงขับของการเรียนรู้หรือความพร้อมของการเรียนรู้ ประกอบด้วย อายุและประสบการณ์ในการทำงาน 2) สิ่งเร้าการเรียนรู้หรือการเผชิญกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น คือ การเรียนรู้จากคดีค้ามนุษย์ในรูปแบบแสวงหาประโยชน์ทางเพศผ่านทางช่องทางออนไลน์ที่เกิดขึ้นจริง 3) การตอบสนองต่อการเรียนรู้ คือ การปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ในรูปแบบแสวงหาประโยชน์ทางเพศผ่านทางช่องทางออนไลน์ โดยในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในรูปแบบแสวงหาประโยชน์ทางเพศผ่านทางช่องทางออนไลน์ เจ้าหน้าที่ตำรวจควรมีสมรรถนะคือ 1) ความรู้เกี่ยวเท่าทันกับการเก็บพยานหลักฐานทางดิจิทัล โดยจะต้องมีความรู้ว่าเมื่อเราพบเจอสิ่งที่ใช้ในการกระทำความผิด เจ้าหน้าที่ทุกนายต้องมีความรู้ให้เท่าทันกับช่องการกระทำความผิดที่ผู้กระทำผิดใช้ ซึ่งก่อนหน้านี้การกระทำความผิดผ่านทางออนไลน์ยังมีน้อยแต่ด้วยปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมากและยิ่งตรวจสอบได้ยาก เพราะฉะนั้นแล้วเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องมีความรู้ให้เท่าทันในการเก็บพยานหลักฐานจากช่องทางในการกระทำความผิดในทุกกรณี 2) ทักษะการเก็บพยานหลักฐานทางดิจิทัล ด้วยช่องทางการกระทำความผิดที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นทางดิจิทัลมากขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงต้องมีการรวบรวมพยานหลักฐานโดยการเก็บพยานหลักฐานทางดิจิทัล ซึ่งก่อนหน้านี้มีการกระทำความผิดทางช่องทางออนไลน์ที่น้อยจึงทำให้มีทักษะในการเก็บพยานหลักฐานที่น้อย และด้วยยุคสมัยและช่องทางการกระทำความผิดที่เปลี่ยนแปลงไป จึงต้องมีทักษะการเก็บพยานหลักฐานที่ถูกต้องและสามารถรวบรวมข้อมูลได้มากที่สุดเพื่อนำไปสู่การพิสูจน์ผู้กระทำความผิดจ่ต่อไป 3) ความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างครอบคลุม ด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่เปลี่ยนแปลงไป ที่เพราะผู้กระทำความผิดมีการพัฒนาช่องทางการกระทำความผิดหรืออุปกรณ์ที่ใช้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการทำงานในปัจจุบันยังมีความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์ที่ยังไม่มากพอ ประกอบกับเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บพยานหลักฐานที่ยังไม่มีความรู้ที่เพียงพอ เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายจึงต้องมีทั้งความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกร์หรือเครื่องมือพิเศษในการช่วยการเก็บพยานหลักฐาน ทั้งนี้การพัฒนาสมรรถนะดังกล่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยงานควรมีแนวทางคือประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) การพัฒนาด้านความรู้ คือ ด้วยการการจัดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเก็บพยานหลักฐานทางดิจิทัลแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่รวมไปถึงความรู้เกี่ยวกับแอปพลิเคชันและเครื่องมือที่ซับซ้อนมากขึ้นและยังปิดกั้น ปกป้องการถูกตรวจสอบซึ่งโดยในปัจจุบันเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความรู้ในส่วนหนึ่งแล้ว แต่เนื่องด้วยปัจจุบันมีการกระทำความผิดแอปพลิเคชันที่ยังปิดกั้นการถูกตรวจสอบ เครื่องมือที่ใช้ในการกระทำความผิดที่มีการป้องกันการถูกตรวจสอบที่มากขึ้น 2) การพัฒนาด้านทักษะ ประกอบ การที่โดยหน่วยงานเชิญผู้ที่มีทักษะในด้านของการปฏิบัติงานมาอบรมให้ความรู้เพิ่มพูนดทักษะในการเก็บพยานหลักฐานจากช่องทางการกระทำความผิด ไม่ว่าจะเป็นจากแอปพลิเคชันและเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำความผิด และทักษะของการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือพิเศษที่มีส่วนช่วยในการเก็บพยานหลักฐานทางดิจิทัลได้อย่างครบถ้วนแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ และ พร้อมกับการจัดตั้งกลุ่มไลน์และเชิญผู้ที่มีทักษะเข้ามาอยู่ในกลุ่มเพื่อตอบข้อสงสัย 3) การพัฒนาด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย โดยการจัดการอบรมจากหน่วยงานและการจัดทำคู่มือของการปฏิบัติงานในการสืบสวนสอบสวนคดีค้ามนุษย์เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้วิจัยหวังว่าผลการศึกษานี้จะนำไปสู่แนวทางการปรับปรุงการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในรูปแบบการแสวงหาประโยชน์ทางเพศผ่านทางช่องทางออนไลน์ ต่อไป


ปัจจัยที่ส่งต่อการใช้งานในระบบการจัดการความรู้ (Betagro Km) กรณีศึกษา วิศวกร กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน), พวงรัตน์ สินศิริ Jan 2022

ปัจจัยที่ส่งต่อการใช้งานในระบบการจัดการความรู้ (Betagro Km) กรณีศึกษา วิศวกร กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน), พวงรัตน์ สินศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องการศึกษาปัจจัยที่ส่งต่อการใช้งานในระบบการจัดการความรู้ (Betagro KM)กรณีศึกษา วิศวกร กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมและจูงใจให้วิศวกรกลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) เข้าไปใช้งานระบบการจัดการความรู้ออนไลน์ของบริษัท (Betagro KM) และศึกษากระบวนการที่บริษัทใช้ในการผลักดันให้วิศวกร กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) ใช้งานระบบการจัดการความรู้ (Betagro KM) อย่างจริงจังและเต็มรูปแบบ ทั้งนี้การวิจัยจึงแบ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญออกเป็นสองส่วน กล่าวคือ วิศวกรผู้ใช้งานระบบ Betagro KM และ บุคลากรผู้ผลักดันให้สมาชิกในบริษัทยอมรับและใช้งานระบบ Betagro KM ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่จะทำให้ วิศวกร กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) เข้าไปใช้งานระบบการจัดการความรู้ (Betagro KM) 3 อันดับแรกได้แก่ การประชาสัมพันธ์ที่สม่ำเสมอและหลายช่องทาง (ร้อยละ 100) หัวข้อและรูปแบบการนำเสนอความรู้ที่มีความน่าสนใจ (ร้อยละ 62.50) และการเข้าถึงระบบได้ง่าย (ร้อยละ 62.50) ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าหัวข้อความรู้ที่มีความน่าสนใจ การประชาสัมพันธ์ การแจกรางวัลต่างๆเป็นสามช่องทางหลักที่กลุ่มมวิศวกรมองว่าจะสร้างแรงจูงใจให้ตน เข้ามาใช้งานระบบการจัดการความรู้ (Betagro KM) สุดท้ายการศึกษากระบวนการในการผลักดันให้พนักงานเข้ามาใช้งานระบบการจัดการความรู้ (Betagro KM) พบว่าผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีบทบาทอย่างชัดเจนตั้งแต่กระบวนการจัดทำงานแผนงานไปจนถึงการประชาสัมพันธ์ ทำให้วิศวกรมีทัศนคติที่ดีต่อการนำระบบมาใช้อย่างไรก็ตามผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งสองฝ่ายให้ความเห็นตรงกันว่าบริษัทควรเพิ่มช่องทางและความถี่ในการประชาสัมพันธ์เพื่อทำให้การผลักดันการใช้ระบบ Betagro KM มีความต่อเนื่อง ตลอดจนการจัดให้มีโครงสร้างสนับสนุนการใช้งานระบบในการทำงานของวิศวกรเพื่อให้บริษัทเบทาโกรจำกัด (มหาชน) เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน


ประสิทธิผลในการดำเนินนโยบายโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (Bio Ciucular Green Economy : Bcg) ต่อผู้ประกอบการส่งออกอาหารไทย, ภัณฑิรา เศรษฐจิรวิโรจน์ Jan 2022

ประสิทธิผลในการดำเนินนโยบายโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (Bio Ciucular Green Economy : Bcg) ต่อผู้ประกอบการส่งออกอาหารไทย, ภัณฑิรา เศรษฐจิรวิโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินนโยบายให้เกิดประสิทธิผลและศึกษาแนวทางการพัฒนาและช่วยเหลือการปรับตัวของผู้ประกอบการอาหารไทยในกิจกรรม BCG THE NEXT GEN ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้แทนจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ผู้ประกอบการทางด้านอาหารที่เข้าร่วมกิจกรรม BCG THE NEXT GEN และเจ้าหน้าที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลจากการศึกษาพบว่า ที่ผ่านมาการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนนโยบายโมเดลเศรษฐกิจใหม่มีประสิทธิผลแต่ไม่มากเท่าที่ควร โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินโยบาย ได้แก่ ความเร่งด่วนของนโยบายก่อให้เกิดข้อจำกัดในการจัดสรรงบประมาณอย่างไม่ทั่วถึง ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการจัดทำโครงการ และกิจกรรม เช่น กฎระเบียบของกลุ่มตลาดประเทศเป้าหมาย ซึ่งส่งผลต่อการปรับตัวของผู้ประกอบการ รวมไปถึงการบูรณาการบันทึกความร่วมมือระดับกระทรวงที่ยังไม่เป็นรูปธรรมและไม่เกิดผลตามที่คาดหวังในการส่งเสริมการส่งออกผู้ประกอบการอาหารไทย ทั้งนี้ แนวทางในการปรับปรุงนโยบายอาจทำได้โดยเริ่มจากการจัดทำงบประมาณที่มุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) ควบคู่ไปกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำรองเมื่อเกิดนโยบายเร่งด่วน ปรับเปลี่ยนระบบการวัดผลให้มีประสิทธิผลเพื่อต่อยอดในการขอจัดสรรงบประมาณประจำปีที่สูงขึ้น และจัดทำแผนการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่ชัดเจนและมีเนื้อหาสาระภายใต้บันทึกความร่วมมือเพื่อต่อยอดการส่งออกสินค้าอาหารโดยเฉพาะเจาะจง


ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจต่ออายุเครื่องหมายรับรอง Ghps และ Haccp ของผู้ประกอบการโรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังสิ้นสุดการสนับสนุนจากกรมการค้าภายใน, มัญชรี พงศ์เศรษฐ์กุล Jan 2022

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจต่ออายุเครื่องหมายรับรอง Ghps และ Haccp ของผู้ประกอบการโรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังสิ้นสุดการสนับสนุนจากกรมการค้าภายใน, มัญชรี พงศ์เศรษฐ์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจต่ออายุเครื่องหมายรับรอง GHPs และ HACCP ของผู้ประกอบการโรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังสิ้นสุดการสนับสนุนจากกรมการค้าภายใน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างในการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการโรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 ราย แบ่งออกเป็น ผู้ประกอบการโรงสีข้าวที่ต่ออายุเครื่องหมายรับรอง GHPs และ HACCP จำนวน 4 ราย และผู้ประกอบการโรงสีข้าวที่ไม่ต่ออายุเครื่องหมายรับรอง GHPs และ HACCP จำนวน 2 ราย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันโรงสีข้าวหลายแห่งมีการการวางยุทธศาสตร์ขององค์กรในด้านความปลอดภัยทางด้านอาหาร เพื่อนำองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรระดับสากล ซึ่งหนึ่งในแผนนั้นคือการวางระบบ GHPs และ HACCP แต่อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการวางระบบที่มีราคาค่อนข้างสูง ประกอบกับการมีขั้นตอนการบริหารจัดการที่เป็นระบบและมีแบบแผนสูง ทำให้องค์กรส่วนใหญ่ที่ตัดสินใจต่ออายุเครื่องหมายรับรอง GHPs และ HACCP เป็นองค์กรที่มีฐานลูกค้าหลักคือกลุ่มที่ต้องการเครื่องหมายรับรอง GHPs และ HACCP และองค์กรเหล่านี้มักจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่เชื่อว่า การมีเครื่องหมายรับรอง GHPs และ HACCP จะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าให้กับองค์กร อย่างรก็ตาม ผู้ประกอบการโรงสีข้าวที่ไม่ต่ออายุเครื่องหมายรับรอง GHPs และ HACCP ก็ยังคงมีความประสงค์ที่จะมีเครื่องหมายรับรอง ซึ่งถ้าหากภาครัฐให้การสนับสนุนก็พร้อมที่จะดำเนินการวางระบบอีกครั้ง


แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐที่ส่งผลให้เกิดสมรรถนะในการสร้างสรรค์นวัตกรรมกรณีศึกษา: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), รัฐพล วงศาโรจน์ Jan 2022

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐที่ส่งผลให้เกิดสมรรถนะในการสร้างสรรค์นวัตกรรมกรณีศึกษา: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), รัฐพล วงศาโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ใน สนช. เกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานและสมรรถนะในการสร้างนวัตกรรม ตลอดจนวิเคราะห์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรม ผลการศึกษาพบว่าแรงจูงใจในการทำงานของ สนช. โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และจากการศึกษาสมรรถนะด้านนวัตกรรมของ สนช. พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ตลอดจนปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะในการสร้างนวัตกรรม พบว่ามีตัวแปรอิสระเพียง 2 ตัวจาก 10 ตัวแปรที่ส่งผลต่อความสามารถทางนวัตกรรมของ สนช. สำหรับข้อเสนอแนะควรได้รับการประกาศโดยสำนักงานการยกย่องพร้อมทั้งเพิ่มค่าตอบแทนและควรพัฒนากระบวนการคัดเลือกและกลั่นกรองรวมถึงกรองแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งสภาพการทำงานที่เอื้ออำนวยสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม


ประสิทธิผลการอบรมผู้บังคับบัญชาสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน กรณีศึกษา หลักสูตรผู้บังคับหมวดอาสารักษาดินแดนสำหรับปลัดอำเภอ และเจ้าพนักงานปกครองในส่วนภูมิภาค, สันติสุข เหมือนแท้ Jan 2022

ประสิทธิผลการอบรมผู้บังคับบัญชาสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน กรณีศึกษา หลักสูตรผู้บังคับหมวดอาสารักษาดินแดนสำหรับปลัดอำเภอ และเจ้าพนักงานปกครองในส่วนภูมิภาค, สันติสุข เหมือนแท้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง ประสิทธิผลการอบรมผู้บังคับบัญชาสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน กรณีศึกษา หลักสูตรผู้บังคับหมวดอาสารักษาดินแดนฯ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิผล ที่เกิดขึ้นในการใช้ความรู้ความสามารถ ตลอดจนทักษะต่าง ๆ จากการฝึกอบรม และหาแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตร โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการของเคิร์กแพทริค ในการประเมินพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปหลังการอบรม และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปหลังการอบรม และผลที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงานเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เมื่อเทียบกับก่อนเข้ารับการฝึกอบรม ด้านพฤติกรรม มีความเป็นผู้นำและคุณลักษณะผู้นำทางทหารมากยิ่งขึ้น ด้านผลลัพธ์ในทางที่ดีต่อหน่วยงาน สามารถปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่โดยตรง ภารกิจตามนโยบายของรัฐบาล และภารกิจที่ต้องบูรณาการร่วมกับกระทรวง/หน่วยงานอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ สำหรับแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตร มีแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงผู้บังคับหมวดอาสารักษาดินแดน ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน และเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อหน่วยงาน ได้แก่ 1) กำหนดหลักสูตรสำหรับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะ 2) ปรับลดจำนวนชั่วโมงบรรยาย หรือรวมรายวิชาที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน รวมถึงยกเลิกรายวิชาที่ไม่สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ 3) บรรจุรายวิชาที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบัน


การพัฒนา Smes ไทย ผ่านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ, สิทธิโชค พัดเย็น Jan 2022

การพัฒนา Smes ไทย ผ่านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ, สิทธิโชค พัดเย็น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการรวมถึงปัญหา อุปปสรรค และข้อเสนอแนะในการนำนโยบายส่งเสริม SMEs ไทย ให้เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ผ่านโครงการ Thai SME-GP ไปปฏิบัติ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงประมาณ ผ่านการแจกแบบสอบถาม แก่ผู้ประกอบการที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการส่งเสริม SMEs ผ่านระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอิเล็กทรอนิคส์ Thai SME-GP ทั้งสิ้น 400 ราย และการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตัวแทนจากผู้ประกอบการที่มีกิจการที่สามารถเข้าร่วมโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้แต่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งสิ้น จำนวน 9 ราย พบว่า นโยบายส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ผ่านโครงการ Thai SME-GP ถูกกำหนดในรูปแบบของ กฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 และนำมาปฏิบัติควบคู่ไปกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตามพระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 จากข้อมูลเชิงปริมาณพบว่าผู้ประกอบการSMEs ที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าปัจจัยมาตรฐานและจุดประสงค์ของนโยบายชัดเจน และนโยบายสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้เข้าถึงตลาดใหม่ ๆ ในการจำหน่ายสินค้าและบริการเพื่อต่อยอดกิจการของตนต่อไปได้ในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามข้อมูจากการสัมภาษณ์พบว่ามาตรฐานนโยบายผ่านการบังคับใช้ กฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 มีความทับซ้อนและยุ่งยากทำให้ผู้ประกอบการบางรายตัดสินใจไม่เข้าร่วมโครงการ ในด้านของปัจจัยการสื่อสารระหว่างหน่วยงานกับหน่วยรับนโยบายนั้นตัวนโยบายยังไม่สามารถประชาสัมพันธ์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนพลาดโอกาสในการเข้าร่วมโครงการ และในส่วนของปัจจัยทรัพยากรนโยบายพบว่าด้วยอัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่นำไปปฏิบัตินั้นมีจำกัดทำให้ไม่สามารถดูแลผู้ประกอบการได้อย่างทั่วถึง ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือ ควรมีการเพิ่มกรอบอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐเพื่อรองรับภาระงานที่มากขึ้นให้เพียงพอต่อการบริการ อีกทั้งควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์นโยบายให้มากขึ้นเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายนโยบายได้อย่างทั่วถึง และควรปรับปรุงข้อกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ให้ลดความซ้ำซ้อนลง เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ปฏิบัตินโยบายและประชาชน


พฤติกรรมการทำงานของบุคลากรภายหลังได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ Iso 9001 : 2015กรณีศึกษาสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุรีย์ ทรัพย์สง่า Jan 2022

พฤติกรรมการทำงานของบุคลากรภายหลังได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ Iso 9001 : 2015กรณีศึกษาสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุรีย์ ทรัพย์สง่า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการทำงานของบุคลากรภายหลังได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2015 กรณีศึกษาสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานของบุคลากรหลังการนำระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2015 มาใช้ในการดำเนินงาน และศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำงานของบุคลากรภายหลังการนำระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2015 มาใช้ในการดำเนินงาน ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology) โดยแจกแบบสอบถาม บุคลากรของสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 83 คน และสัมภาษณ์ตัวแทนบุคลากร จำนวน 5 คน จากการศึกษาพบว่า บุคลากรส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2015 อยู่ในระดับปานกลาง บุคลากรมีพฤติกรรมการทำงาน ภายหลังการนำระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2015 มาใช้ในการดำเนินงาน เป็นไปตามข้อกำหนด 8 ประการของหลักการบริหารงานคุณภาพ และบุคลากรที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา อายุงาน ตำแหน่งหน้าที่ และระดับ P ที่แตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการทำงานของบุคลากรตามข้อกำหนด 8 ประการของหลักการบริหารงานคุณภาพ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


การศึกษาทัศนคติของบุคลากรและปัจจัยองค์กรเพื่อพัฒนาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา ผู้บริหารระดับต้นของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), กฤตยา อินทรวิเชียร Jan 2021

การศึกษาทัศนคติของบุคลากรและปัจจัยองค์กรเพื่อพัฒนาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา ผู้บริหารระดับต้นของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), กฤตยา อินทรวิเชียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภายใต้สถานการณ์ Digital Disruption การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้มีส่วนทำให้องค์กรอยู่รอดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นตัวอย่างรัฐวิสาหกิจไทยที่ต้องปรับตัว โดยทัศนคติของผู้บริหารระดับต้นถือมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ตามหลักวินัย 5 ประการของPeter Senge ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ พบว่าผู้บริหารระดับต้นของ รฟม. มีทัศนคติต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในระดับที่สูงมาก ปัจจัยองค์กร ได้แก่ ผู้นำองค์กร วัฒนธรรมองค์กร การจัดการความรู้ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่ามีความสัมพันธ์ต่อระดับทัศนคติของผู้บริหารระดับต้นของ รฟม. ต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผลการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง ได้สะท้อนว่าผู้นำมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ จากการวิเคราะห์ TOWS Matrix ได้พบกลยุทธ์แนวทางการพัฒนา รฟม. ไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ 8 ข้อ ได้แก่ (1) ส่งเสริมทักษะทางด้านเทคโนโลยีแก่บุคลากร (2) ส่งเสริมการถ่ายทอดและถ่ายโอนงานด้านวิศวกรรมระบบรางจากภาคเอกชน (3) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรองรับความเสี่ยงในการทำงาน (4) ผู้บริหารองค์กรต้องสื่อสารและสร้างความเข้าใจทิศทางการพัฒนาขององค์กร (5) ส่งเสริมการทำงานเชิงบูรณาการ (6) พัฒนาระบบการจัดการความรู้ขององค์กร (7) การทำงานเป็น Agile Organization และ (8) จัดตั้ง Intelligent Unit ด้านพัฒนาธุรกิจและด้านวิศวกรรมระบบราง


การประเมินโครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยหลักสูตรออนไลน์ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง โดยสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท., หทัยทิพย์ เครือวิชฌยาจารย์ Jan 2021

การประเมินโครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยหลักสูตรออนไลน์ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง โดยสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท., หทัยทิพย์ เครือวิชฌยาจารย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของโครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยหลักสูตรออนไลน์ของศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุงตามการประเมินโครงการแบบ CIPP MODEL 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าหน้าที่ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง จำนวน 5 ราย ครู จำนวน 4 ราย และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 ราย ทั้งหมด 15 ราย ผลการศึกษาพบว่า ในแต่ละปัจจัยมีความสัมพันธ์สอดคล้องกันในการส่งผลให้โครงการประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของบริษัท ปตท. และสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โครงการมีความเพียงพอ ความพร้อมของทรัพยากรปัจจัยนำเข้าและบุคลากรมีความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้เกี่ยวกับต้นไม้ แต่ต้องพัฒนาบุคลากรในการผลิตสื่อการเรียนรู้เพิ่มเติม ส่วนเนื้อหาการเรียนรู้และรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เหมาะสมกับนักเรียน การดำเนินงานของโครงการเป็นไปตามแผนการปฏิบัติงาน ผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการโดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการเป็นเกณฑ์ และกลุ่มเป้าหมายจำนวนหนึ่งได้นำความรู้มาใช้ในการปลูกต้นไม้ที่โรงเรียน กลับมาปลูกและดูแลต้นไม้ที่บ้าน ในส่วนข้อเสนอแนะ ต้องการให้มีการลงพื้นที่ที่โรงเรียนจะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มากกว่า ซึ่งจากการประเมินโครงการ บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการในการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในบริบทของชุมชนเมือง และสร้างการตระหนักรู้ถึงคุณค่าของต้นไม้ให้กับนักเรียน แต่ยังไม่มีการวัดประเมินผลประเด็นการตระหนักรู้กับการสร้างภาพลักษณ์ให้กับบริษัท ปตท. อย่างเป็นรูปธรรม ในการทำโครงการครั้งต่อไปควรมีโครงการต่อเนื่องที่ทำกับโรงเรียนเดิม เพื่อสร้างการตระหนักรู้ที่ยั่งยืน และขยายไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆแล้วจะเกิดการรับรู้ชื่อเสียงของบริษัท ปตท. โดยต้องมีการวัดเป็นรูปธรรมต่อไป


ความท้าทายที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการสตรี: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ธันยพร พงศ์เสาวภาคย์ Jan 2021

ความท้าทายที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการสตรี: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ธันยพร พงศ์เสาวภาคย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความท้าทายที่ส่งผลต่อความก้าวหน้า ในอาชีพของข้าราชการสตรีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และหาแนวทางและวิธีการแก้ไข ความท้าทายที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการสตรีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ความท้าทายที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการสตรีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านองค์การ ได้แก่ วัฒนธรรมองค์การแบบระบบอุปถัมภ์ สตรียังขาดการยอมรับและโอกาสจากผู้บังคับบัญชา ในการแสดงความสามารถในงานบางประเภท เช่น งานศาสนพิธี 2) ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ ความรู้ความสามารถ การศึกษา ประสบการณ์ การมีที่ปรึกษา สถานภาพ และฐานะทางการเงิน 3) ปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน ได้แก่ ทัศนคติเชิงบวก ความทะเยอทะยาน ความต้องการประสบความสำเร็จของแต่ละบุคคล การสื่อสาร ความขัดแย้ง และการเลือกปฏิบัติ 4) ปัจจัยด้านอื่นๆ ได้แก่ อำนาจและการเมืองในองค์การ การตีความพระวินัย จากการศึกษา ผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบวัฒนธรรมองค์การให้มีความเป็นประชาธิปไตย ผู้บริหารจะต้องปฏิบัติ ตามระบบคุณธรรมอย่างเคร่งครัด คำนึงถึงความสามารถอย่างแท้จริง ควรสนับสนุนให้สตรีมีบทบาทในการให้คำปรึกษาในเรื่องสำคัญร่วมกับคณะสงฆ์


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) กรณีศึกษา โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย, นัชชา จิตต์กูลสัมพันธ์ Jan 2021

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) กรณีศึกษา โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย, นัชชา จิตต์กูลสัมพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และเพื่อเสนอแนวทางหรือเทคนิคในการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยการแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 210 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ 9 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า 1) ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้าน พบว่า สถานะทางอาชีพ เศรษฐสถานะและสถานะทางการเงินมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับมากตามลำดับและผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างมีนัยสำคัญและ 2) แนวทางหรือเทคนิคในการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ควรมีแนวทางหรือเทคนิคในการจัดการเรียนการสอนคือ การใช้วิธีแบบผสมผสาน การกระชับหลักสูตรและปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด 19 การเรียนการสอนด้วยระบบ E-Learning การแบ่งระยะเวลาที่เหมาะสม การคิดค้นกระบวนการวิธีการสอนที่เหมาะสมและใช้แนวคิดในการสลับกันเรียนเพื่อลดการพบปะและยังเป็นไปตามมาตรการการป้องกันอย่างถูกวิธีซึ่งจะทำให้นักเรียนได้เปลี่ยนสถานที่ในการเรียนอีกทางหนึ่ง


การนำระบบการจองคิวหรือนัดหมายล่วงหน้าแบบออนไลน์ด้านการทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชนไปปฏิบัติ : การแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายกรณีศึกษา สำนักทะเบียนอำเภอและสำนักทะเบียนท้องถิ่นในจังหวัดราชบุรี, ผไทมาส นิ่มคำ Jan 2021

การนำระบบการจองคิวหรือนัดหมายล่วงหน้าแบบออนไลน์ด้านการทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชนไปปฏิบัติ : การแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายกรณีศึกษา สำนักทะเบียนอำเภอและสำนักทะเบียนท้องถิ่นในจังหวัดราชบุรี, ผไทมาส นิ่มคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ รวมทั้งปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการนำระบบการจองคิวหรือนัดหมายล่วงหน้าแบบออนไลน์ด้านการทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชนไปปฏิบัติในสำนักทะเบียนอำเภอและสำนักทะเบียนท้องถิ่น โดยใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยแบบผสมทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และมีขอบเขตในการศึกษาวิจัย คือ สำนักทะเบียนอำเภอเมืองราชบุรีและสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองราชบุรี อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี โดยมีประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ได้แก่ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานประจำสำนักทะเบียนอำเภอและสำนักทะเบียนท้องถิ่น และประชาชนผู้รับบริการ ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า การนำระบบการจองคิวหรือนัดหมายล่วงหน้าแบบออนไลน์ด้านการทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชนไปปฏิบัติในสำนักทะเบียนอำเภอและสำนักทะเบียนท้องถิ่นมีประสิทธิภาพ อันเกิดจากสมรรถนะหลักขององค์การทั้ง 5 ประการ ได้แก่ โครงสร้างองค์การที่มีผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอหรือผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่นเป็นผู้กำกับติดตามการปฏิบัติงานเพื่อให้ทุกนโยบายสามารถนำมาสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรของสำนักทะเบียนที่มีความรู้ความสามารถและมีความพร้อมในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในการดำเนินนโยบาย สถานที่ที่ให้บริการมีการจัดสรรพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกและเอื้อต่อการเข้ารับบริการแก่ประชาชนผู้รับบริการทุกระดับ อุปกรณ์และเครื่องมือภายในสำนักทะเบียนที่มีการปรับปรุงและพัฒนาให้มีความพร้อมเพื่อรองรับต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ ต่างมีความพร้อมในการสนับสนุนการปฏิบัติงานและรองรับต่อการให้บริการประชาชน โดยมีความเหมาะสม เป็นธรรม ช่วยประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และเป็นไปตามมาตรการการป้องกันโรคของทางราชการ


ทัศนคติและการรับรู้ของประชาชนต่อการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านกรณีศึกษา ประชาชนในพื้นที่ตำบลที่มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, วัชรพล มหาไวย Jan 2021

ทัศนคติและการรับรู้ของประชาชนต่อการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านกรณีศึกษา ประชาชนในพื้นที่ตำบลที่มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, วัชรพล มหาไวย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยแบบผสมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ทัศนคติและการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน และเพื่อเสนอแนะแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน ผ่านประสบการณ์ของผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ผู้วิจัยเลือกใช้เทคนิคการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ซึ่งดำเนินการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในที่นี้คือ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน และเก็บข้อมูลจากการแจกแบบสอบถาม (Survey) เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติ การรับรู้ และการมีส่วนร่วมจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา การศึกษาครั้งนี้พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านมีทัศนคติว่ากำนัน ผู้ใหญ่บ้านมีความสำคัญต่อตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านมีทัศนคติว่าหมู่บ้านของตนจำเป็นจะต้องมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่ปกครองดูแลหมู่บ้านต่อไปอยู่ในระดับมากที่สุด ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านมีทัศนคติว่าการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในหมู่บ้านจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในระดับที่ดี รวมทั้งประชาชนมีทัศนคติว่า การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน ทำให้ตนมีส่วนร่วมในการควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านอยู่ในระดับมากที่สุด และการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน ทำให้ตนมีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่ามีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันคือ สถาบันกำนัน ผู้ใหญ่บ้านยังคงมีความสำคัญต่อการปกครองท้องที่ ประชาชนส่วนใหญ่มีทัศนคติเชิงบวกต่อการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน และเห็นด้วยกับการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน โดยประชาชนส่วนใหญ่มีความพร้อมและสมัครใจเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ด้านการรับรู้ ประชาชนโดยส่วนใหญ่มีการรับรู้ที่ดีและเข้ามามีส่วนร่วมต่อการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในระดับที่มาก ประชาชนโดยส่วนใหญ่มีความพร้อมที่จะเข้าร่วมการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน หากตนได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ที่เพียงพอและมีความทั่วถึงครอบคลุม ในขณะเดียวกันปัญหาและอุปสรรคของการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านที่พบคือ ปัญหาการกำหนดวัน และเวลาในการดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน ปัญหาของจำนวนในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในหมู่บ้าน และปัญหาการเล่นพวกพ้อง ในการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน แนวทางการปรับปรุงการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นประกอบด้วย 1) การปรับปรุงการประชาสัมพันธ์และการสร้างการรับรู้แก่ประชาชนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน 2) การปรับทัศนคติของผู้ดำเนินการประเมินและผู้เข้ารับการประเมิน ให้มีทัศนคติที่ดี รวมถึงการเปิดกว้างต่อการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และ 3) การปรับปรุง แก้ไขระเบียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


การนำนโยบายลดทอนความเป็นอาชญากรรมในผู้เสพยาเสพติดไปปฏิบัติ : ศึกษากรณี ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 108/2557, ปรางอนงค์ แสงอากาศ Jan 2021

การนำนโยบายลดทอนความเป็นอาชญากรรมในผู้เสพยาเสพติดไปปฏิบัติ : ศึกษากรณี ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 108/2557, ปรางอนงค์ แสงอากาศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาและตอบคำถามวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการการนำนโยบายลดทอนความเป็นอาชญากรรมในผู้เสพยาเสพติดไปปฏิบัติและปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยศึกษากรณี ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 108/2557 โดยวิเคราะห์เชื่อมโยงกับปัจจัยในการนำนโยบายไปปฏิบัติตามทฤษฎีของ Van Meter และ Van Horn เพื่อสะท้อนภาพนโยบายในทางปฏิบัติกับปัจจัยต่าง ๆ ตามทฤษฎีฯ และผลลัพธ์ของนโยบาย งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดนโยบายและนำนโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติ พร้อมด้วยการศึกษาจากการสังเกตจากการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม และการศึกษาวิเคราะห์เอกสารทุติยภูมิ ทั้งนี้ การศึกษาพบว่า ในการนำนโยบายไปปฏิบัติตามประกาศฯ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การค้นหาผู้เสพฯ การคัดกรองเพื่อเข้าสู่การบำบัด การบำบัดฟื้นฟู และการติดตามให้ความช่วยเหลือ โดยในทุกขั้นตอนล้วนมีอุปสรรคในการดำเนินงานทั้งหมด โดยขั้นตอนที่ดำเนินการได้ดีที่สุด คือการบำบัดฟื้นฟูฯ จากการจัดสรรทรัพยากร การกำหนดเป้าหมาย เจตนารมณ์ และแนวปฏิบัติละเอียดครบถ้วน มีข้อมูลวิชาการรองรับ ในขณะที่ การติดตามให้ความช่วยเหลือฯ ถือเป็นขั้นตอนที่ต้องปรับปรุงมากที่สุด จากการขาดการจัดสรรทรัพยากร และไม่มีการกำหนดบทบาทหรือแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งส่งผลให้การประสานงานหรือการสื่อสารระหว่างหน่วยงานไม่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับกลไกการติดตามและให้ความช่วยเหลือเพิ่มมากขึ้น เพื่อปรับสภาพแวดล้อมและช่วยเหลือผู้เสพไม่กลับสู่วงจรยาเสพติด นอกจากนี้ ในทางปฏิบัตินโยบายนี้ทำให้การเสพยาเสพติดไม่ถูกตีตราจากสังคมแต่อาจเปิดช่องให้เกิดการเสพซ้ำ จึงควรเพิ่มรายละเอียดในการคัดกรองผู้เสพยาเสพติด เพื่อจำแนกผู้เสพให้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูฯ และเฝ้าระวังอย่างเหมาะสม


ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและองค์การสาธารณกุศลในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย: กรณีศึกษาอุทกภัย จังหวัดนครศรีธรรมราช, พรรณภัทร ราชาภรณ์ Jan 2021

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและองค์การสาธารณกุศลในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย: กรณีศึกษาอุทกภัย จังหวัดนครศรีธรรมราช, พรรณภัทร ราชาภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อุทกภัยปี 2563 ในจังหวัดนครศรีธรรมราชสร้างความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างมาก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครศรีธรรมราชร่วมมือกับองค์การสาธารณกุศล เพื่อกระจายความช่วยเหลือให้ผู้ประสบภัยอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว จากการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จระหว่างองค์กรภาครัฐและองค์การสาธารณกุศลในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย: กรณีศึกษาอุทกภัย จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ปัจจัยผู้นำ ที่มีความเข้าใจในงาน มีความเด็ดขาดช่วยแก้ไขปัญหา และใส่ใจในผู้ปฏิบัติงาน, ปัจจัยวัตถุประสงค์ของแต่ละองค์การที่ชัดเจนและสอดคล้องกัน และปัจจัยอำนาจตัดสินใจในการปฏิบัติงาน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติงานได้รวดเร็วและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันที ส่วนปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคของความร่วมมือฯ ได้แก่ ปัจจัยการติดต่อสื่อสารและประสานงาน ที่ยังมีความยากลำบากและความยุ่งยากในความร่วมมือ, ปัจจัยความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานซึ่งแตกต่างกัน ทำให้การปฏิบัติงานเกิดความติดขัด, ปัจจัยทรัพยากรในการปฏิบัติงาน ทั้งงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์กู้ภัยยังไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และปัจจัยการแสวงหาผลประโยชน์และการแทรกแซงการปฏิบัติงานจากบุคคลภายนอก นำไปสู่การลาออกของผู้ปฏิบัติงาน ผู้วิจัยได้นำเสนอตัวแบบสานพลังจัดการสาธารณภัยเพื่อปรับปรุงและพัฒนาความร่วมมือของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครศรีธรรมราชกับองค์การสาธารณกุศลในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีกระบวนการความร่วมมือเป็น 3 ระยะ ตั้งแต่ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย


การกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรมศุลกากร, ปุณยนุช ลอยมา Jan 2021

การกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรมศุลกากร, ปุณยนุช ลอยมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรมศุลกากร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำหนดตัวชี้วัดของกรมศุลกากรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และเพื่อให้ข้อเสนอแนะกับกรมศุลกากรในการปรับปรุงตัวชี้วัดให้เหมาะสม โดยการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถามในรูปแบบของ Google Form กับกลุ่มตัวอย่างข้าราชการกรมศุลกากร จำนวน 400 คน และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับข้าราชการกรมศุลกากร จำนวน 5 คน (ระดับหัวหน้างาน จำนวน 2 คน และระดับชำนาญการ ปฏิบัติการ จำนวน 3 คน) ซึ่งจากการศึกษาพบว่า กรมศุลกากรมีการกำหนดตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการที่มีความชัดเจน เฉพาะเจาะจง สามารถวัดผลได้จริง มีกรอบระยะเวลาในการวัดที่ชัดจน ผู้ถูกวัดสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายได้ รวมถึงได้รับความเห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้วัดกับผู้ถูกวัด อีกทั้งการกำหนดตัวชี้วัดนี้มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรมศุลกากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่า การจะพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรมฯ การกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานก็เป็นปัจจัยที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้ ข้อเสนอแนะที่จากการศึกษาคือ ผู้บริหารควรให้ความสำคัญในเรื่องของการกำหนดตัวชี้วัด มอบหมายให้กลุ่มพัฒนาระบบริหารร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการ กำหนดปฏิทินการดำเนินงาน จัดทำรายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานของกรมศุลกากรในแต่ละภารกิจงาน เพื่อใช้ประกอบการกำหนดตัวชี้วัด กำหนดน้ำหนักในการประเมินผล นอกจากนี้ควรพัฒนากระบวนการสร้างความรับรู้ความเข้าใจให้กับข้าราชการได้ทราบถึงความสำคัญและความจำเป็นในการวัดผลการดำเนินงาน