Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 564

Full-Text Articles in Entire DC Network

Knowledge, Attitudes, Behavior, And Expectation Of Thai Patients Toward Dental Treatment During Covid-19 Pandemic: An Online Survey, Paratcha Pingsuthiwong Jan 2022

Knowledge, Attitudes, Behavior, And Expectation Of Thai Patients Toward Dental Treatment During Covid-19 Pandemic: An Online Survey, Paratcha Pingsuthiwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Aerosol-generating procedures with contaminated saliva may pose a risk of disease transmission during the COVID-19 pandemic. COVID-19 preventive measures in dental clinics have evolved in response to the pandemic situation. This research investigated the effect of this pandemic on Thai patients' knowledge, attitudes, and behavior toward dental treatment. The online survey was distributed in June 2022. There were 978 participants in the study. The results showed that most participants had accurate knowledge about the COVID-19 transmission route in dentistry. The mean and median level of concern in the following issues were: contracting COVID-19 in daily life (3.06 and 3.03), contracting …


Association Between Medical Insurance Choices And Healthcare Utilization Among Diabetes Patients In The People's Republic Of China : A Secondary Data Analysis, Duohui Chen Jan 2022

Association Between Medical Insurance Choices And Healthcare Utilization Among Diabetes Patients In The People's Republic Of China : A Secondary Data Analysis, Duohui Chen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Since 2018, the universal medical insurance coverage rate has reached 95% in China. Due to the lack of medical and health resources and insufficient health service capacity of primary health care facilities in China, the biggest problem with the health system in China is overcrowding, especially in the utilization of outpatient services in secondary and tertiary hospitals. This study aimed to analyze the factors Association between Medical insurance Choices and healthcare Utilization among diabetes patients among patients of age >45 years in China. The logistic regression was used to assess the association between type of hospital of elder diabetic patients …


การศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของวัคซีนโรคโควิด-19 ชนิดเข็มกระตุ้นบีเอ็นที16บี2 ในผู้ป่วยปลูกถ่ายไตที่ได้รับวัคซีนโรคโควิดชนิดแชดด็อกซ์-1 มาแล้ว 2 เข็ม, ศุภพิชญา ภิรมย์ Jan 2022

การศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของวัคซีนโรคโควิด-19 ชนิดเข็มกระตุ้นบีเอ็นที16บี2 ในผู้ป่วยปลูกถ่ายไตที่ได้รับวัคซีนโรคโควิดชนิดแชดด็อกซ์-1 มาแล้ว 2 เข็ม, ศุภพิชญา ภิรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาของงานวิจัย : การรับประทานยากดภูมิในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตทำให้มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อโคโรนาไวรัส 2 เข็มที่ไม่ดีและไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน การศึกษานี้จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยปลูกถ่ายไตต่อวัคซีนเข็มกระตุ้นชนิด บีเอ็นที16บี2หลังได้รับวัคซีนโรคโควิดชนิดแชดด็อกซ์ มาแล้ว 2 เข็ม ระเบียบและวิธีวิจัย : เป็นการศึกษาเชิงสังเกตชนิดวิเคราะห์ (prospective cohort study) ในผู้ป่วยที่ได้การปลูกถ่ายไตมาแล้วมากกว่า 6 เดือน ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี ไม่มีภาวะสลัดไตในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาและไม่เคยติดเชื้อโคโรนาไวรัสมาก่อน นำมาฉีดวัคซีนบีเอ็นที16บี2 หลังได้รับวัคซีนแชดด็อกซ์เข็มที่ 2 มาแล้ว 4 สัปดาห์ และตรวจเปรียบเทียบภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีต่อโปรตีนหนามเชื้อโคโรนาไวรัส (anti-SARS-CoV-2 spike antibody) แอนติบอดีเอชแอลเอที่จำเพาะต่อผู้บริจาคไตก่อนและหลังฉีดวัคซีนดังกล่าวไปแล้ว 4 สัปดาห์ ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งหมด 115 คนที่เข้ารับการศึกษาพบว่ามีแนวโน้มภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีต่อโปรตีนหนามเชื้อโคโรนาไวรัสเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติหลังได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นชนิดบีเอ็นที16บี2จากค่ามัธยฐาน 8.85 บีเอยู/มล. (ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 00.00-180.81) ขึ้นเป็น ค่ามัธยฐาน 676.64 บีเอยู/มล. (ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 6.02-3,644.03) ( P <0.001) เมื่อศึกษาในกลุ่มย่อยพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิกลุ่มที่ไม่มียาไมโครฟีโนเลท (mycophenolate ; MPA) มีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยากดภูมิสูตรมาตรฐานที่มียาไมโครฟีโนเลท ( 113.91 vs 3,060.69 บีเอยู/มล. , P <0.001) และหลังจากการฉีดวัคซีนไม่พบแอนติบอดีเอชแอลเอที่จำเพาะต่อผู้บริจาคไตขึ้นมาใหม่ ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงผิดปกติตลอดระยะเวลา 6 เดือน สรุปผลการศึกษา : การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นชนิดบีเอ็นที16บี2ในผู้ป่วยปลูกถ่ายไตสามารถกระตุ้นภูมิแอนติบอดีต่อโปรตีนหนามได้มากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญเมื่อเทียบกับการได้รับวัคซีนชนิดแชดด็อกซ์เพียง 2 เข็ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาไมโครฟีโนเลทในสูตรยากดภูมิพบภูมิขึ้นดีเป็นพิเศษ โดยไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ


Oral Health Service Of Older Adults In Long-Term Care Facilities, Puntawee Barameepipat Jan 2022

Oral Health Service Of Older Adults In Long-Term Care Facilities, Puntawee Barameepipat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

To assess oral health service in long-term care facilities in Bangkok Methods: A cross-sectional study was conducted in 50 licensed long-term care facilities in Bangkok. Informed consent was obtained from all participants before conducting phone interviews and administering the questionnaire. The questionnaire covered various aspects, including demographics, health services, and oral health services provided within the long-term care facilities. Results: The study revealed variations in terms of operational years, service capacity, service expense per month, and provision of health services, including oral health services. It was found that the differences in service expenses impacted the provision of denture care for …


Factors Associated With Oral Health Status Among The Healthy Elderly In Phon Thong District, Roi Et Province, Thailand, Yaowapa Chantaraboot Jan 2022

Factors Associated With Oral Health Status Among The Healthy Elderly In Phon Thong District, Roi Et Province, Thailand, Yaowapa Chantaraboot

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objective: This study aimed to identify factors related to the oral health status of healthy elderly people in Phon Thong District, Roi Et Province, Thailand. Materials and methods: This cross-sectional study was conducted between 1 May and 25 December 2020 in Phon Thong District, Roi Et Province. A total of 249 male and female elderly people participated in the study. Oral health information was collected by trained dental hygienists using the Thai version of the oral health assessment tool [OHAT]. Data analysis used Mann–Whitney U tests, Chi-Square tests, and Binary logistic regression. Results: There were statistically significant associations between oral …


Comparing The Success Rate Of Pleurodesis With Thoracoscopic Talc Poudrage Combined With Indwelling Pleural Catheter Versus Thoracoscopic Talc Poudrage In Patient With Malignant Pleural Effusion, A Randomized, Non-Inferiority Clinical Trial, Jitanong Sootlek Jan 2022

Comparing The Success Rate Of Pleurodesis With Thoracoscopic Talc Poudrage Combined With Indwelling Pleural Catheter Versus Thoracoscopic Talc Poudrage In Patient With Malignant Pleural Effusion, A Randomized, Non-Inferiority Clinical Trial, Jitanong Sootlek

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Malignant pleural effusion (MPE) can cause dyspnea symptoms that greatly impact a patient's quality of life. Talc pleurodesis or indwelling pleural catheter (IPC) insertion are two treatment options that can prevent recurrent MPE, alleviate dyspnea, and improve quality of life. However, talc pleurodesis requires a lengthy hospital stay, while IPC insertion is associated with lower pleurodesis success rates. Due to limited hospital bed capacity, we have devised a practical approach to managing MPE by combining TTP and IPC. Objective: This study aims to evaluate the efficacy of combined Thoracoscopic talc poudrage (TTP) and IPC compared to TTP alone in …


A Randomized Controlled Trial Comparing The Diagnostic Yield Of Using Rapid On-Site Cytology Evaluation (Rose) And Without Using Rose In Radial Probe Endobronchial Ultrasound (R-Ebus) Guided Sheath Transbronchial Lung Biopsy With Bronchial Brushing In Peripheral Pulmonary Lesions, Kulchamai Silathapanasakul Jan 2022

A Randomized Controlled Trial Comparing The Diagnostic Yield Of Using Rapid On-Site Cytology Evaluation (Rose) And Without Using Rose In Radial Probe Endobronchial Ultrasound (R-Ebus) Guided Sheath Transbronchial Lung Biopsy With Bronchial Brushing In Peripheral Pulmonary Lesions, Kulchamai Silathapanasakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

BACKGROUND: Radial Probe Endobronchial Ultrasonography (RP-EBUS) guided transbronchial biopsy with bronchial brushing is an effective way of tissue assessment for evaluating peripheral lung lesion combined with Rapid on-site Evaluation (ROSE). Our study aimed to evaluate the efficacy of ROSE add on RP-EBUS guided sheath transbronchial lung biopsy to improve the overall diagnostic yield. OBJECTIVES: The purpose of this study was to compare the diagnosis yield of peripheral lung lesions or nodules from the ROSE add on Radial Probe Endobronchial Ultrasonography (RP-EBUS) guided sheath transbronchial biopsy with bronchial brushing compared to the control group. METHODS: In this prospective randomized controlled trial …


A Path Analysis Model Of Mobility Among Persons With Hip Fracture After Surgery, Chanipa Yoryuenyong Jan 2022

A Path Analysis Model Of Mobility Among Persons With Hip Fracture After Surgery, Chanipa Yoryuenyong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This correlational study aimed to 1) investigate mobility and 2) examine direct and indirect paths of relationships among comorbidity, cognitive function, social support, pain, fatigue, and sleep quality on mobility among persons with hip fracture after surgery. The hypothesized model was constructed based on the theory of unpleasant symptoms and the literature reviewed. A three-stage random sampling approach was utilized to recruit 260 persons with hip fracture after surgery aged 50 years old and older who visited four hospitals in three health regions of Thailand. Research measurements consisted of the demographic data form, Charlson Comorbidity Index, General Practitioner Assessment of …


Effect Of Normal Saline In Different Concentration On Soft Tissue Healing Of Extraction Wound: A Clinical Study, Walailuk Kunthikarn Jan 2022

Effect Of Normal Saline In Different Concentration On Soft Tissue Healing Of Extraction Wound: A Clinical Study, Walailuk Kunthikarn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Sodium chloride solution (NaCl) is regarded as the most suitable and recommended medical irrigation, because of the nontoxic and isotonic properties. The previous in vitro study showed that NaCl solution induced migration and extracellular matrix excretion from human gingival fibroblast. However, there is no report concerning the effect of rinsing extraction wound with NaCl solution in clinical trial study. This research study is split mouth single-blind randomized controlled clinical trial to investigate if rinsing with 0.9% and 1.8% NaCl solution on extraction wound can promote soft tissue healing. The operation was performed in 60 socket sites. The patients, who had …


ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับการฟังดนตรีต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจ, สุพรรณารัตน์ รินสาธร Jan 2022

ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับการฟังดนตรีต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจ, สุพรรณารัตน์ รินสาธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบอนุกรมเวลาที่มีกลุ่มควบคุมและมีการให้สิ่งทดลองซ้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลร่วมกับการฟังดนตรีต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการฉีดสีสวนหัวใจในระยะก่อนทดลอง, หลังรับบัตรนัดสวนหัวใจ, ก่อนสวนหัวใจ 1 วัน, หลังการสวนหัวใจ และก่อนกลับบ้าน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ทั้งเพศชายและหญิง อายุ 18-59 ปี ที่เข้ารับการสวนหัวใจครั้งแรก ณ โรงพยาบาลตำรวจ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มตามสะดวก แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง 1 และกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มละ 22 คน โดยจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องเพศ อายุ และระดับการศึกษา กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลอง 1 และ 2 ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับการฟังดนตรี (กลุ่มทดลอง 1 มีผลการสวนหัวใจผิดปกติและได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ ส่วนกลุ่มทดลอง 2 มีผลการสวนหัวใจปกติ) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญ (State Anxiety Inventory) ของ Spielberger (1983) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติ Repeated measure ANOVA ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจกลุ่มทดลอง 1 ช่วงก่อนทดลอง, หลังรับบัตรนัดสวนหัวใจ, ก่อนสวนหัวใจ 1 วัน, หลังการสวนหัวใจ และก่อนกลับบ้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจกลุ่มทดลอง 2 ช่วงก่อนทดลอง, หลังรับบัตรนัดสวนหัวใจ, ก่อนสวนหัวใจ 1 วัน, หลังการสวนหัวใจ และก่อนกลับบ้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจกลุ่มทดลอง 1 ช่วงก่อนสวนหัวใจ 1 วัน, หลังการสวนหัวใจ และก่อนกลับบ้าน แตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจกลุ่มทดลอง 2 ช่วงก่อนสวนหัวใจ 1 วัน, หลังการสวนหัวใจ …


ความแตกต่างทางเพศ กับผลลัพธ์ทางระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้ทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน, โสภิดา ธรรมมงคลชัย Jan 2022

ความแตกต่างทางเพศ กับผลลัพธ์ทางระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้ทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน, โสภิดา ธรรมมงคลชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ ในช่วงประมาณสิบปีที่ผ่านมามีการศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่างในผลลัพธ์ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระหว่างผู้ป่วยเพศหญิงและผู้ป่วยเพศชายในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมากมาย โดยเฉพาะการศึกษาของประเทศทางตะวันตก การศึกษานี้จึงทำขึ้นเพื่อศึกษาดูความแตกต่างในผลลัพธ์ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระหว่างผู้ป่วยเพศหญิงและผู้ป่วยเพศชายในประเทศไทย จุดประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างทางเพศของการเสียชีวิตในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตที่ 1 ปี ในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระเบียบวิจัย เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวน ทั้งหมด 1,579 คนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 - 31 ตุลาคม 2564 และเก็บข้อมูลการเสียชีวิตที่โรงพยาบาลและการเสียชีวิตที่ 1 ปีหลังจากวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือด ความแตกต่างของข้อมูลระหว่างผู้ป่วยเพศหญิงและผู้ป่วยเพศชายทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคทวิ (Binary logistic regression model) และ Cox proportional hazard model ผลการศึกษา จากข้อมูลพบว่าเป็นผู้ป่วยเพศหญิงจำนวน 453 คน (28.7%) และเป็นผู้ป่วยเพศชายจำนวน 1126 คน (71.3%) ผู้ป่วยเพศหญิงมีอายุที่มากกว่าผู้ป่วยเพศชาย (70 และ 60 ปี, P value <0.001) ร่วมกับมีโรคเบาหวานที่มากกว่า (50.3% และ 38.2%; p=<0.001) และโรคความดันโลหิตสูง (74.2% และ 55.1%; p=<0.001). ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันแบบ ST segment ยกขึ้นพบในผู้ป่วยเพศหญิงน้อยกว่าผู้ป่วยเพศชาย (50.8% และ 62.8%) การเสียชีวิตที่โรงพยาบาลพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่า (7.5% และ 5.4%; RR 1.417; 95%CI 0.918-2.188, p=0.116) แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่หลังจากติดตามไปเป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่าการเสียชีวิตที่ 1 ปีหลังจากวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (21.6% และ 12.8%; p<0.001) gเมื่อทางผู้วิจัยทำการตรวจสอบปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตที่ 1 เพิ่มเติมได้แก่ อายุที่มากกว่า 70 ปี โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคไตวายเรื้อรัง ภาวะช็อคเนื่องจากหัวใจและการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยกว่า ร้อยละ 40 และทำการตรวจสอบอีกครั้งพบว่า การเสียชีวิตที่ 1 ปีหลังจากวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (adjusted HR 1.460; 95% CI 1.101-19.34, P=0.009) สำหรับการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะทำหัตถการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวนไม่พบความแตกต่างระหว่างผู้ป่วยเพศชายและผู้ป่วยเพศหญิง แต่สำหรับการเกิดภาวะไตวายอักเสบเฉียบพลันและภาวะหลอดเลือดสมอง หลังทำหัตถการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวนพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าผู้ป่วยเพศชาย เช่นเดียวกับการเกิดภาวะเลือดออกแบบรุนแรง สรุป ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวน ผู้ป่วยเพศหญิงพบว่าเสียชีวิตที่ 1 ปีมากกว่าผู้ป่วยเพศชาย


การติดตามการทำงานของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, กฤติน อู่สิริมณีชัย Jan 2022

การติดตามการทำงานของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, กฤติน อู่สิริมณีชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา: ไวรัส SARS-CoV-2 อาจส่งผลกระทบต่อต่อมใต้สมองและเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งทำให้เกิดกลุ่มอาการหรือความผิดปกติที่ยังคงพบต่อเนื่องหลังจากติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยบางรายหรือที่เรียกว่า "Long COVID-19 syndrome" อย่างไรก็ตามข้อมูลผลกระทบของไวรัสต่อต่อมใต้สมองยังมีอยู่อย่างจำกัด วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความอัตราการเกิดความผิดปกติของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 วิธีการวิจัย: ศึกษาความผิดปกติของการผลิตฮอร์โมนของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยในช่วง 1เดือนหลังจากการหายจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในอาสามัครอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยอาศัยการตรวจระดับฮอร์โมนต่อมใต้สมองส่วนหน้าและ Fixed-dose glucagon stimulation test (FD-GST) เพื่อบ่งบอกภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมอง และประเมินความสัมพันธ์ระหว่างภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมอง กับความรุนแรงของโรคโควิด-19 และภาวะ Long COVID-19 syndrome ผลการศึกษา: จากผู้เข้าร่วมวิจัย 25 คน 18 คน (72%) มีความรุนแรงปานกลางระหว่างการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และ 7 คน (28%) เป็นกลุ่มผู้ป่วยรุนแรงน้อย พบความชุกของภาวะ Long COVID-19 ใน 80% ของผู้เข้าร่วมวิจัย ภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมองพบใน 12% ของผู้เข้าร่วมวิจัย จากการที่มีระดับของ GH ผิดปกติหลังทำ FD-GST และ 8% แสดงความผิดปกติของระดับ cortisol จาก FD-GST อย่างไรก็ตามไม่พบความผิดปกติของฮอร์โมนต่อมใต้สมองส่วนหน้าอื่นๆ นอกจากนี้พบว่ากลุ่มที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนต่อมใต้สมองพบว่ามีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการเหนื่อยล้าซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยของ Long COVID-19 syndrome โดยอาศัย Piper Fatigue Scale (p=0.003) สรุป: หนึ่งเดือนหลังจากการวินิจฉัยโรคโควิด-19 พบหลักฐานของความผิดปกติของต่อมใต้สมองร้อยละ 12 ซึ่งสัมพันธ์กับระดับอาการเหนื่อยล้า การศึกษาแสดงหลักฐานของผลกระทบของไวรัสที่มีต่อต่อมใต้สมองและแสดงถึงความจำเป็นในการติดตามอาการและระดับฮอร์โมนในผู้ป่วยหลังติดเชื้อไวรัสโควิด-19


ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพช่องปากและผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ปัทมาภรณ์ พุ่มเกาะ Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพช่องปากและผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ปัทมาภรณ์ พุ่มเกาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพช่องปากและผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูที่กลับมาติดตามอาการในช่วง 3 เดือน ยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งสิ้น 86 ราย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะได้รับการตรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก ทำการสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป ร่วมกับการเก็บข้อมูลในเวชระเบียนของผู้ป่วย ใช้สถิติเชิงพรรณนาอธิบายลักษณะของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสเปียร์แมนวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพช่องปากกับผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สภาวะสุขภาพช่องปากประเมินจากจำนวนฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่ จำนวนคู่สบฟันหลังและคะแนนแบบประเมินสภาวะสุขภาพช่องปากและฟันเทียมฉบับดัดแปลง ผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะประเมินจากการเปลี่ยนแปลงของคะแนนค่าความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง ผลการวิจัยพบว่าจำนวนฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่และจำนวนคู่สบฟันหลังมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองพบความสัมพันธ์เป็นแบบสหสัมพันธ์เชิงลบ สรุปผลการวิจัย จำนวนฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่และจำนวนคู่สบฟันหลังมีความสัมพันธ์กับผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยพบความสัมพันธ์มีทิศทางตรงกันข้าม ผู้ป่วยที่มีจำนวนฟันธรรมชาติและจำนวนคู่สบฟันหลังที่มากสัมพันธ์กับค่าความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองตอนผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลที่มีค่าความรุนแรงน้อยกว่า ผู้ป่วยจึงมีอาการเริ่มต้นไม่รุนแรงส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงความรุนแรงของโรคน้อยกว่า การดูแลสภาวะสุขภาพช่องปากให้อยู่ในสภาพดีและการเก็บรักษาฟันธรรมชาติสภาพดีไว้ให้ได้มากที่สุดอาจจะเป็นปัจจัยร่วมปัจจัยหนึ่งในการลดความเสี่ยงความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง


ผลของการฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ดที่มีต่อคุณภาพชีวิตและสมรรถภาพทางกายในวัยหนุ่มสาว, แสงอรุณ แก้วฉ่ำ Jan 2022

ผลของการฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ดที่มีต่อคุณภาพชีวิตและสมรรถภาพทางกายในวัยหนุ่มสาว, แสงอรุณ แก้วฉ่ำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ดที่มีต่อคุณภาพชีวิตและสมรรถภาพทางกายในวัยหนุ่มสาว กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลวัยหนุ่มสาว ชมรมเซิร์ฟสเกตบอร์ดจังหวัดเพชรบุรี และบุคคลในวัยหนุ่มสาวที่ไม่มีกิจกรรมการออกกำลังกายใดๆ อายุระหว่าง 18 - 24 ปี จำนวน 22 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ และกลุ่มที่ 2 กลุ่มทดลอง ได้รับการฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ด เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยก่อนและหลังทดลองกลุ่มตัวอย่างได้รับการทดสอบตัวแปรด้านสรีรวิทยา ตัวแปรด้านสมรรถภาพทางกาย และตัวแปรด้านคุณภาพชีวิต จากนั้นนำค่าที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลองโดยกายทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยตัวแปรด้านสรีรวิทยา ได้แก่ น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักลดลงแตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้น กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยตัวแปรด้านสมรรถภาพทางกาย ได้แก่ ปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ การการทรงตัว เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้น กลุ่มทดลองมีค่าปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ แรงดันการหายใจออกสูงสุด สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด ความทนทานของกล้ามเนื้อท้อง และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ดมีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยรวม เพิ่มขึ้นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าโปรแกรมการฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ดเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่เน้นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อของร่างกายและการทรงตัว ซึ่งการฝึกเซิร์ฟสเกตบอร์ด 60 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ส่งผลดีต่อสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตได้


ผลของการฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและกล้ามเนื้อรยางค์ช่วงล่างในพนักงานสำนักงานเพศหญิง, ภานุวัฒน์ ธนาเลิศสมบูรณ์ Jan 2022

ผลของการฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและกล้ามเนื้อรยางค์ช่วงล่างในพนักงานสำนักงานเพศหญิง, ภานุวัฒน์ ธนาเลิศสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและกล้ามเนื้อรยางค์ช่วงล่างในพนักงานสำนักงานเพศหญิง วิธีการดำเนินวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานสำนักงานเพศหญิงอายุ 25-45 ปี จำนวน 29 คน อายุเฉลี่ย 31.9±3.96 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักจำนวน 14 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 15 คน โดยการสุ่มแบบจับทีละคู่ตามช่วงอายุและค่าดัชนีมวลกาย กลุ่มฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักทำการฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมให้ดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ ทดสอบตัวแปรสรีรวิทยาทั่วไป ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อของรยางค์ช่วงล่าง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ช่วงบนและความยืดหยุ่น ใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรต่างๆ ระหว่างกลุ่มฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักและกลุ่มควบคุม เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังฝึกของแต่ละกลุ่ม ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (2x2) และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีการทดสอบของแอลเอสดีที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการฝึก 8 สัปดาห์ กลุ่มฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักมีความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (1.11±0.31) ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อรยางค์ช่วงล่าง (28.76±4.64, 18.43±3.39) ความแข็งแรงของรยางค์ช่วงบน (22.76±2.65) และความยืดหยุ่น (4.29±1.20) เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักสามารถนำมาใช้ออกกำลังกายสำหรับกลุ่มพนักงานสำนักงานเพศหญิง ซึ่งมีกิจกรรมทางกายน้อยหรือเพิ่งเริ่มออกกำลังกายแบบในแรงต้านได้ มีความปลอดภัยภายใต้การควบคุมของผู้ฝึกสอนและช่วยพัฒนาความแข็งแรงและความทนทานของร่างกายได้หลากหลายส่วนในเวลาเดียวกัน ได้แก่ รยางค์ช่วงบน แกนกลางลำตัวและรยางค์ช่วงล่าง รวมถึงเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกายได้เป็นอย่างดี


A Comparison Of Gender Equality Perception In Workplace Among Different Gender-Type Sport Federations In Indonesia, Risha Intan Rachmawati Jan 2022

A Comparison Of Gender Equality Perception In Workplace Among Different Gender-Type Sport Federations In Indonesia, Risha Intan Rachmawati

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to compare the perception of gender equality between male and female staff across three different sport federations. Sports have been stereotyped with genders for decades. In this thesis, three different sport federations were selected as a representative of different genders where football was a representative of masculine, gymnastic was a representative of feminine, and badminton was a representative of neutral. Not only were these three sport federations stereotyped with genders, these three sports were also very famous among Indonesian population. The study employed a mixed-method research design where a survey and an in-depth interview were used. 390 …


The Infection Dynamics, Co-Infection, Multi-Gene Phylogeny, And Molecular Screening Of Plasmodium Caprae Infection In Goats And Mosquito Species, Hoang Lan Anh Nguyen Jan 2022

The Infection Dynamics, Co-Infection, Multi-Gene Phylogeny, And Molecular Screening Of Plasmodium Caprae Infection In Goats And Mosquito Species, Hoang Lan Anh Nguyen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Ungulate malaria parasites, including Plasmodium caprae that infects the domestic goats, have received little attention. There are only few studies about the prevalence and mitochondrial genome analyses. This study, therefore, aimed to investigate the natural infection dynamics of P. caprae and its mosquito vectors. Besides, genome analyses based on nuclear genes of P. caprae and other related haemosporidian parasites were also carried out to obtain an in depth understanding about their evolutionary history and origin. A total of 423 goat blood samples were collected during rainy seasons from 2018 to 2021 to assess the malaria infection status. In addition, 1,019 …


The Effect Of Breathing Training Program Using A Toy Blower On Lung Function, Respiratory Muscles Strength, And Functional Capacity In People With Obesity Level 2, Sarawut Jansang Jan 2022

The Effect Of Breathing Training Program Using A Toy Blower On Lung Function, Respiratory Muscles Strength, And Functional Capacity In People With Obesity Level 2, Sarawut Jansang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Obesity level 2 has major implications on the respiratory system, particularly the impact of breathing exercises on lung function, which may now be trained employing a variety of breathing exercises and equipment. Therefore, researcher was interested in applying inflatable toys to be applied along with breathing patterns in people with obesity level 2 between the ages of 30 and 65, which affected lung function, respiratory muscle strength and physical activity in way of life. Therefore, the researcher aimed to study the effects of a breathing training program using a toy blower device on breathing performance and respiratory muscle strength. The …


ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร ของผู้ปฏิบัติงานภายในท่าอากาศยานแห่งหนึ่งในประเทศไทย, ศุภสิน วงศ์บุญตัน Jan 2022

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร ของผู้ปฏิบัติงานภายในท่าอากาศยานแห่งหนึ่งในประเทศไทย, ศุภสิน วงศ์บุญตัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันผู้คนมีแนวโน้มที่จะใช้ชีวิตและทำงานในอาคารซึ่งมีระบบระบายอากาศแบบปิดมากขึ้น การศึกษาที่ผ่านมามีผู้ได้รับผลกระทบจาก “กลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร (Sick Building Syndrome, SBS)” จำนวนไม่น้อยทั่วโลก โดยเฉพาะที่ทำงานในอาคารสำนักงานและตึกสูง การศึกษาภาคตัดขวางนี้เป็นการศึกษาแรกที่ศึกษาความชุกของกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารของผู้ปฏิบัติงานในอาคารท่าอากาศยาน และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีต่อกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารในหลายมิติ ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและใช้ผลตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารของท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง เชียงราย มีผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 402 คน ผลการศึกษาพบความชุกอยู่ที่ร้อยละ 29.4 โดยปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารป่วยเหตุอาคารได้แก่ อายุที่น้อยกว่า 40 ปี เพศหญิง ระดับการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป เวลาในการใช้หน้าจอมากกว่าครึ่งของเวลางาน ความเครียดจากงาน และกลิ่นไม่พึงประสงค์ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติงานรวมถึงการวินิจฉัยกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหา การศึกษาในเรื่องผลกระทบต่อการปฏิบัติงานยังคงเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการศึกษาในอนาคต


Factors Association Of Discriminatory Attitudes Toward People Living With Hiv/Aids Among Adult Citizens In Myanmar : An Analysis Of 2015-2016 Myanmar Demographic And Health Survey, Pyae Phyo Thar Jan 2022

Factors Association Of Discriminatory Attitudes Toward People Living With Hiv/Aids Among Adult Citizens In Myanmar : An Analysis Of 2015-2016 Myanmar Demographic And Health Survey, Pyae Phyo Thar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Myanmar, a developing nation, is still among the countries with the highest prevalence of HIV infection. Misconceptions, stigmatisation, and discrimination towards people living with HIV/AIDS (PLHIV) are significant factors that contribute to the prevention, transmission, and treatment of HIV. So, PLHIV-related stigma and discrimination are pervasive issues that significantly undermine public health efforts to prevent the spread of HIV and provide support for those living with the PLHIV. Despite its importance, the stigma and discrimination issues are often overlooked in national responses to PLHIV. In Myanmar, there are limited studies on discrimination against people living with HIV/AIDS, and it requires …


ผลกระทบของการปลูกถ่ายจุลินทรีย์ในลำไส้ของผู้ป่วยโรคนิ่วไตต่อการเกิดโรคนิ่วแคลเซียมออกซาเลตในทางเดินปัสสาวะของหนู, สิทธิพงษ์ หุ่นไทย Jan 2022

ผลกระทบของการปลูกถ่ายจุลินทรีย์ในลำไส้ของผู้ป่วยโรคนิ่วไตต่อการเกิดโรคนิ่วแคลเซียมออกซาเลตในทางเดินปัสสาวะของหนู, สิทธิพงษ์ หุ่นไทย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคนิ่วไตพบมากในคนไทยโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ มีปัจจัยเสี่ยงคือ ภาวะซิเตรทในปัสสาวะต่ำ แคลเซียมและออกซาเลตในปัสสาวะสูง โดยพบมากในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จากการศึกษาก่อนหน้าพบความแตกต่างของประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้ของผู้ป่วยโรคนิ่วไตจากคนสุขภาพดี จึงเชื่อว่าความแตกต่างของจุลินทรีย์ลำไส้ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงของการเกิดโรคนิ่วไต เพื่อศึกษาความผิดปกตินี้ ผู้วิจัยจึงศึกษาความแตกต่างของจุลินทรีย์ในลำไส้เปรียบเทียบระหว่างอาสาสมัครคนปกติและผู้ป่วยโรคนิ่วไต พบว่าจุลินทรีย์ phylum Bacteroidata ในอุจจาระของผู้ป่วยโรคนิ่วไตสูงกว่าคนสุขภาพดี และพบ genus Bifidobacterium ต่ำกว่าคนสุขภาพดี จากนั้นนำจุลินทรีย์จากอุจจาระของอาสาสมัครทั้งสองกลุ่ม ปลูกถ่ายลงในหนู Wistar เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า หนูกลุ่มที่ได้รับจุลินทรีย์จากกลุ่มผู้ป่วยโรคนิ่วไตมีปริมาณออกซาเลตในปัสสาวะมีแนวโน้มสูงขึ้น ปริมาณแมกนีเซียมในปัสสาวะลดลง รวมทั้ง pH ในปัสสาวะเป็นด่างมากขึ้น และพบดัชนีความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่ว (Tiselius’s supersaturation index) เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังพบ จุลินทรีย์ genus Muribaculaceae สูงขึ้นในหนูที่ได้รับการปลูกถ่ายเชื้อจุลินทรีย์จากผู้ป่วยโรคนิ่วไต และ genus Roseburia มีจำนวนลดลง รวมถึงการแสดงออกของ tight junction (Zonula occluden-1 หรือ ZO-1) ที่ลดลง และพบการแสดงออกของ oxalate transporter มีแนวโน้มสูงขึ้น สรุปได้ว่าหนูที่ได้รับเชื้อจุลินทรีย์ในอุจจาระจากผู้ป่วยโรคนิ่วไตมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ่วสูงขึ้น โดยมีกลไกจากการแสดงออกของโปรตีน ZO-1 ลดลง และเพิ่ม oxalate transporter ที่ลำไส้ ทำให้ร่างกายได้รับออกซาเลตจากอาหารในลำไส้เพิ่มขึ้น และขับออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น เป็นหลักฐานยืนยันว่าความผิดปกติของสมดุลเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ่วไต


ความตรงและความเที่ยงของแบบประเมินผลกระทบของสุขภาพช่องปากสำหรับทีเอ็มดี ฉบับภาษาไทย, รลดา พรธิฤทธิ์ Jan 2022

ความตรงและความเที่ยงของแบบประเมินผลกระทบของสุขภาพช่องปากสำหรับทีเอ็มดี ฉบับภาษาไทย, รลดา พรธิฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดที่ใช้ประเมินคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากชนิด แบบประเมินผลกระทบของสุขภาพช่องปากสำหรับเท็มโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ ฉบับภาษาไทย และทดสอบคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาของแบบประเมิน วิธีการวิจัยทำโดยการแปลแบบประเมินต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและดัดแปลงข้ามวัฒนธรรม รวมถึงทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาด้วยการหาค่าดัชนีความเที่ยงตรงของเนื้อหา โดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าจำนวน 5 ท่าน จากนั้นนำแบบประเมินไปทดสอบกับผู้ป่วยคนไทย แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยทีเอ็มดี 110 คน และกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะทีเอ็มดีซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม 110 คน การทดสอบความเที่ยงภายในใช้การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟาจากคะแนน OHIP-TMDs ของกลุ่มผู้ป่วยทีเอ็มดี ทดสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการตรวจสอบจากกลุ่มที่แตกต่างกัน โดยประเมินความแตกต่างของคะแนนของ OHIP-TMDs ระหว่างผู้ป่วยทีเอ็มดีและกลุ่มควบคุม รวมถึงทดสอบความเที่ยงจากการทดสอบซ้ำโดยผู้ป่วยทีเอ็มดี 30 คน กำหนดระยะเวลาห่างกัน 2 วัน และใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นในการคำนวณ การทดสอบทั้งหมดจะกำหนดการทดสอบทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการวิจัยพบว่าแบบประเมินผลกระทบของสุขภาพช่องปากสำหรับเท็มโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ ฉบับภาษาไทยที่ถูกพัฒนาขึ้นมีคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาที่ดี โดยแบบประเมินมีความตรงและความเที่ยงเมื่อนำมาศึกษาในผู้ป่วยคนไทย ซึ่งคะแนนของ OHIP-TMDs ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยทีเอ็มดีและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงถึงความตรงเชิงโครงสร้าง รวมถึงมีค่าดัชนีความเที่ยงตรงของเนื้อหาที่ระดับ 0.92 ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟาที่ระดับ 0.942 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นที่ระดับ 0.808 ดังนั้นแบบประเมิน OHIP-TMDs จึงมีแนวโน้มที่จะนำไปใช้ทางคลินิกสำหรับการประเมินและการจัดการภาวะทีเอ็มดีในกลุ่มผู้ป่วยคนไทยได้


ภาวะซึมเศร้า รูปแบบการป้องกันทางจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณสุข 7, ชนนี ปีตะนีละผลิน Jan 2022

ภาวะซึมเศร้า รูปแบบการป้องกันทางจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณสุข 7, ชนนี ปีตะนีละผลิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาวะซึมเศร้าถือเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่พบได้ในผู้สูงอายุ ผู้ที่อยู่ในวัยนี้ต้องเผชิญกับความเสื่อมจากกระบวนการของความชราภาพและวิกฤตต่าง ๆ ในชีวิต หากสามารถปรับตัวได้เพียงจำกัดหรือเลือกใช้รูปแบบการป้องกันทางจิตที่ไม่เหมาะสม นั่นอาจนำไปสู่การเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความชุกของภาวะซึมเศร้า รูปแบบการป้องกันทางจิต และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 กรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สูงอายุ 129 คน ในศูนย์บริการสาธารณสุข 7 กรุงเทพมหานคร โดยขอให้อาสาสมัครตอบชุดแบบสอบถามที่ประกอบด้วย แบบประเมินรูปแบบการป้องกันทางจิต (DSQ–60) แบบวัดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (TGDS–30) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในสังคมของผู้สูงอายุ แบบสอบถามเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตในช่วง 1 ปี และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (Chula ADL Index) โดยผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างพบผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 9.3 สำหรับรูปแบบการป้องกันทางจิตที่ถูกใช้บ่อยที่สุด คือ adaptive defense mechanisms โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบ altruism และ sublimation กลไกการป้องกันทางจิตแบบปรับตัวได้นี้มีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะซึมเศร้า อีกทั้งการเป็นเพศชาย มีโรคทางจิตเวช มีการพึ่งพิงในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ระดับปานกลาง มีความเครียดในชีวิตด้านเศรษฐกิจในระดับปานกลางถึงสูงและด้านสังคมในระดับสูง มักเลือกใช้การป้องกันทางจิตรูปแบบ passive–aggression หรือ reaction formation และการไม่ค่อยได้ใช้การป้องกันทางจิตรูปแบบ sublimation สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าในกลุ่มตัวอย่างนี้ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสรุปหนึ่งในสิบของผู้สูงอายุในการศึกษานี้มีภาวะซึมเศร้าเมื่อเทียบกับผลการวิจัยก่อนหน้านี้ เกือบทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่างเลือกใช้การป้องกันทางจิตแบบ adaptive defense styles ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า ดังนั้นควรมีการนำปัจจัยตัวความเครียดทางจิตใจสังคมในช่วงที่ผ่านมาและประวัติการเจ็บป่วยทางจิตเวชมาใช้คัดกรอง อีกทั้งส่งเสริมการใช้การป้องกันทางจิตแบบปรับตัวได้จะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันภาวะซึมเศร้าเพื่อใช้ดูแลผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ


สหสัมพันธ์ของลักษณะสภาวะแวดล้อมรอบเซลล์มะเร็งในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็กระยะลุกลามที่มียีนกลายพันธุ์อีจีเอฟอาร์และได้รับยามุ่งเป้าอีจีเอฟอาร์, ชัยพงศ์ งามโชควัฒนา Jan 2022

สหสัมพันธ์ของลักษณะสภาวะแวดล้อมรอบเซลล์มะเร็งในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็กระยะลุกลามที่มียีนกลายพันธุ์อีจีเอฟอาร์และได้รับยามุ่งเป้าอีจีเอฟอาร์, ชัยพงศ์ งามโชควัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ ปัจจุบันการรักษามะเร็งปอดในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็กระยะลุกลามที่มียีนกลายพันธุ์อีจีเอฟอาร์ มีการรักษาด้วยยามุ่งเป้าอีจีเอฟอาร์เป็นการรักษามาตรฐาน แต่ผู้ป่วยแต่ละคนมีอัตราการควบคุมโรคที่แตกต่างกัน ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากสภาวะแวดล้อมรอบเซลล์มะเร็งที่มีความแตกต่างกัน การศึกษานี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อประเมินความสัมพันธ์ของสภาวะแวดล้อมรอบเซลล์มะเร็งและอัตราการควบคุมโรคด้วยยามุ่งเป้าอีจีเอฟอาร์ วิธีการดำเนินการวิจัย ผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับการรักษาด้วยยามุ่งเป้าอีจีเอฟอาร์ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 85 คน ได้รับการตรวจย้อมชิ้นเนื้อเพื่อย้อมดูอิมมูโนฮิสโตเคมี (immunohistochemistry) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมรอบเซลล์มะเร็งได้แก่ PD-L1, CD8 TILs และ FOXP3 TILs และติดตามผลการรักษาขณะได้รับการรักษาด้วยยามุ่งเป้าอีจีเอฟอาร์ ผลการวิจัย การศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยที่มีการอักเสบของสภาวะแวดล้อมรอบเซลล์มะเร็ง จำนวน 14% (มีการแสดงออกของ PD-L1 ≥ 15% และ การแสดงออกของ intratumoral CD8 TILs ≥ 10%) และมีความสัมพันธ์ของ PD-L1 และ intratumoral CD8 TILs กันในเชิงบวกและมีนัยสำคัญทางสถิติ และผู้ป่วยที่มีการอักเสบของสภาวะแวดล้อมรอบเซลล์มะเร็งจะมีอัตราการควบคุมโรคที่สั้นกว่าและมีอัตราการอยู่รอดโดยรวมที่สั้นกว่า สรุปผลการวิจัย ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็กระยะลุกลามที่มียีนกลายพันธุ์อีจีเอฟอาร์และได้รับการรักษาด้วยยามุ่งเป้าอีจีเอฟอาร์ มีสภาวะแวดล้อมรอบเซลล์มะเร็งที่มีความสัมพันธ์กันและสัมพันธ์กับอัตราการควบคุมโรคที่สั้นกว่า


การพัฒนารูปแบบการทำนายการเกิดชักในผู้ป่วยภาวะวิกฤตที่ตรวจพบคลื่นไฟฟ้าสมองแบบเพริออดิกดิสชาร์ต (Periodic Discharges), ทศพล สุรวัฒนาวงศ์ Jan 2022

การพัฒนารูปแบบการทำนายการเกิดชักในผู้ป่วยภาวะวิกฤตที่ตรวจพบคลื่นไฟฟ้าสมองแบบเพริออดิกดิสชาร์ต (Periodic Discharges), ทศพล สุรวัฒนาวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาตัวทำนายอิสระใดที่มีผลในการทำนายการเกิดชักและนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการทำนายของการเกิดการชักในผู้ป่วยภาวะวิกฤตที่ตรวจพบคลื่นไฟฟ้าสมอง เพริออดิกดิสชาร์ต (Periodic Discharges) วิธีการวิจัย: การศึกษานี้ได้รวบรวมผู้ป่วยตั้งแต่ปี พ.ศ.2556-2565 และรวบรวมข้อมูลอื่นๆ เช่น เพศ, โรคประจำตัว, Metabolic Derangement, ภาพถ่ายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สมองมารวมกับข้อมูลของคลื่นไฟฟ้าสมอง และนำปัจจัยเหล่านั้นมาวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกและใส่ค่า β-coefficients หลังจากนั้นแบ่งประเภทระดับความเสี่ยงของการเกิดชักและประเมินความเที่ยงตรงภายในด้วยวิธี Bootstrap รายงานประสิทธิภาพด้วยค่า Discrimination และ Calibration ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 107 คนได้ถูกนำไปวิเคราะห์แบบ Multivariate analysis พบ 4 ตัวแปรอิสระที่มีผลต่อการเกิดชักโดยแบ่งออกเป็นปัจจัยป้องกันการชัก ได้แก่ ภาวะหัวใจล้มเหลว/โรคหลอดเลือดหัวใจ [ORadj 0.144 (95% CI 0.029, 0.704)], โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ขึ้นไป [ORadj 0.144 (95% CI 0.029, 0.704)] และปัจจัยที่ทำให้ชักมากขึ้น ได้แก่ คลื่นไฟฟ้าสมองเพริออดิกดิสชาร์ตที่มีความชุกแบบ Continuous [ORadj 5.037 (95% CI 1.116, 22.732)] และคลื่นไฟฟ้าสมองที่มีลักษณะ Burst Suppression [ORadj 8.66 (95% CI 0.937, 80.060)] ตัวแปรดังกล่าวได้ถูกนำมาแปลงเป็นคะแนนและแบ่งกลุ่มความเสี่ยงในการเกิดชัก สรุปการศึกษา: การศึกษาของเราได้สร้างรูปแบบการทำนายการเกิดชักในผู้ป่วยเพอริออดิกดิสชาร์ตเพื่อช่วยเหลือแพทย์ในโรงพยาบาลที่มีทรัพยากรจำกัด


การศึกษาประสิทธิภาพของ ยาออแลนซาปีน,ออนแดนซิตรอน และเดกซาเมทาโซนโดยไม่ใช้ยาเดกซาเมทาโซนในวันที่ 2-3 เปรียบเทียบกับการใช้ออนแดนซิตรอนและเดกซาเมทาโซน ในวันที่ 1-3 ของรอบยาเคมี ในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน ที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตรโมดิฟายด์โฟลฟิริน็อกซ์, หทัยภัทร วีระวัฒนานันท์ Jan 2022

การศึกษาประสิทธิภาพของ ยาออแลนซาปีน,ออนแดนซิตรอน และเดกซาเมทาโซนโดยไม่ใช้ยาเดกซาเมทาโซนในวันที่ 2-3 เปรียบเทียบกับการใช้ออนแดนซิตรอนและเดกซาเมทาโซน ในวันที่ 1-3 ของรอบยาเคมี ในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน ที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตรโมดิฟายด์โฟลฟิริน็อกซ์, หทัยภัทร วีระวัฒนานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาแก้อาเจียนสูตรต่าง ๆ ในผู้ป่วยที่รับยาเคมีบำบัดสูตร modified FOLFIRINOX เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนมีความเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดสูง การให้ยาสูตรที่ไม่มียา dexamethasone ในวันที่ 2-4 จึงอาจจะเหมาะสมกับผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนมากกว่า ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของ สูตรยาป้องกันการคลื่นไส้อาเจียน olanzapine, ondansetron และ dexamethasone โดยไม่ใช้ dexamethasoneในวันที่ 2-4 กับสูตรยา ondansetron และ dexamethasone ในวันที่ 1-4 ในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน ที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตร modified FOLFIRINOX วิธีดำเนินการวิจัย ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งตับอ่อนที่จะได้รับยา mFOLFIRINOX จะได้รับ ondansetron 3 วันและ dexamethasone 10 มก. ในวันที่ 1 ต่อมาจะถูกสุ่มแบบหนึ่งต่อหนึ่งให้ได้รับ olanzapine 5 มก. รับประทานวันละครั้งในวันที่ 1-4 หรือ dexamethasone 4 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้งในวันที่ 2- 4 ร่วมกับยาหลอก ผู้ป่วยทั้งหมดถูกข้ามไปรับการรักษาอีกชุดหนึ่งในรอบที่สอง โดยเป้าหมายหลักของการศึกษา คือ อัตราการตอบสนองสมบูรณ์ของอาการอาเจียนในช่วง 0-120 ชั่วโมงหลังได้รับยาเคมีบำบัดยา ผลการวิจัย ผู้วิจัยได้เก็บรวมรวมอาสาสมัคร ตั้งแต่ 10 มกราคม 2566 ถึง 30 พฤษภาคม 2566 มีผู้ป่วยได้ยาเคมีบำบัดครบทั้ง 2 รอบ ทั้งหมด 10 ราย จากการศึกษา พบว่า มีผู้ป่วยที่มีอัตราการตอบสนองสมบูรณ์ของอาการอาเจียนใน 0-120 ชั่วโมงหลังได้ยาเคมีบำบัด ของกลุ่มที่ได้ olanzapine 20% และในกลุ่ม dexamethasone 30% โดยไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 1.00) มีคนไข้ที่มีภาวะน้ำตาลสูงระหว่างได้รับยาเคมีบำบัดในกลุ่ม olanzapine 80% ส่วนในกลุ่ม …


การศึกษาความชุกของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลในผู้ป่วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรงที่เข้ารับการรักษาเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดโดยใช้การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติและเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์, อลาณณา วิเชียรธวัชชัย Jan 2022

การศึกษาความชุกของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลในผู้ป่วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรงที่เข้ารับการรักษาเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดโดยใช้การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติและเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์, อลาณณา วิเชียรธวัชชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสำคัญและวัตถุประสงค์ของการวิจัย: ภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลเป็นภาวะที่เกิดตามกระบวนการเสื่อมตามวัย ซึ่งเกิดจากการที่มีแคลเซียมและไขมันมาสะสมที่บริเวณดังกล่าวจนกลายเป็นหินปูน การมีหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลมีความสัมพันธ์ในการเพิ่มอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจไมตรัลทั้งชนิดรั่วและตีบ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีมาตรฐานในการวินิจฉัยและการประเมินความรุนแรงของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัล แต่มักใช้การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติและการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัย เนื่องจากพยาธิสรีรวิทยาและความเสี่ยงในการเกิดของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลและลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบมีความคล้ายกัน จึงทำการศึกษาหาความชุกของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลในผู้ป่วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรง ความสัมพันธ์ของการตรวจด้วยวิธีต่างๆในการวินิจฉัยและแบ่งระดับความรุนแรงของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัล รวมไปถึงความสัมพันธ์ของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลกับการเกิดโรคลิ้นหัวใจไมตรัลทั้งชนิดตีบหรือรั่ว วิธีการดำเนินวิจัย: การศึกษานี้ทำในผู้ป่วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรงที่เข้ารับการรักษาเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่ พฤษภาคม 2556 ถึง ธันวาคม 2564 โดยหากไม่มีภาพจากการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติและการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ก่อนเข้ารับการรักษาด้วยการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดในระบบของโรงพยาบาลจะไม่ได้เข้าร่วมในการศึกษา ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยได้จากเวชระเบียน วินิจฉัยและประเมินระดับความรุนแรงของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลจาก 3 วิธี โดยใช้เกณฑ์การแบ่งระดับความรุนแรงแบบเป็นระบบที่ดัดแปลงมาจากวิธีการที่คิดขึ้นโดยเมโยคลินิกและคลีฟแลนด์คลินิก การวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบโดยใช้แนวทางการวินิจฉัยจากชมรมคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาปี 2552 และ วินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วโดยใช้แนวทางการวินิจฉัยจากชมรมคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาปี 2560 มีการประเมินหาความเที่ยงของผู้ประเมินทั้งในกรณีคนเดียวกันและผู้ประเมินต่างคนกันร่วมด้วย ผลการศึกษาหลักคือเพื่อศึกษาความชุกของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลแบบรุนแรงในผู้ป่วยกลุ่มนี้ นอกจากนี้ยังต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการวินิจฉัยภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลโดยใช้การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติ การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยวิธีประเมินปริมาณหินปูนรอบวง และการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยการวัดคะแนนแคลเซียม รวมไปถึงศึกษาความสัมพันธ์ของการเกิดภาวะลิ้นหัวใจไมตรัลตีบหรือลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วในผู้ป่วยที่มีภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัล ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรงที่เข้ารับการรักษาเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดที่ศึกษาทั้งสิ้น 188 คน มีอายุเฉลี่ย 81±8 ปี พบว่ามีภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลแบบรุนแรง 47 คน (25%) และมีอายุเฉลี่ย 83±8 ปี โดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (63%) ในกลุ่มภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลแบบรุนแรงพบว่ามีโรคลิ้นหัวใจตีบระดับรุนแรง 4.26% ระดับปานกลาง 19.15% ระดับน้อย 55.32% และมีโรคลิ้นหัวใจรั่วระดับรุนแรง 2.13% ระดับปานกลาง 19.15% ระดับน้อย 72.34% นอกจากนี้ยังความชุกของโรคลิ้นหัวใจตีบระดับปานกลางและรุนแรงพบในกลุ่มที่มีภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่พบหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัล (p < 0.001) แต่ไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าวในโรคลิ้นหัวใจรั่วระดับปานกลางและรุนแรง (p = 0.484) จากการศึกษาพบว่าการวินิจฉัยและประเมินระดับความรุนแรงของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลมีความสอดคล้องกันในแต่ละวิธี โดยเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยของการตรวจจากคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติกับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Spearman’s rho 0.9114), การตรวจจากคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติกับคะแนนแคลเซียม (Spearman’s rho 0.8979) และการตรวจจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์กับคะแนนแคลเซียม (Spearman’s rho 0.989) นอกจากนี้เมื่อทดสอบความสอดคล้องกันของผลการวินิจฉัยจากทั้ง 3 วิธีพบว่ามีความสอดคล้องกันดี (Kappa 0.7245) สรุปผล: หนึ่งในสี่ของผู้ป่วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรงที่เข้ารับการรักษาเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดพบว่ามีภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลแบบรุนแรงร่วมด้วย โดยในผู้ป่วยกลุ่มนี้พบว่ามีโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบระดับปานกลางถึงรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การวินิจฉัยระดับความรุนแรงของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลจากการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติ การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยวิธีประเมินปริมาณหินปูนรอบวง และการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยการวัดคะแนนแคลเซียมพบว่ามีความสอดคล้องกันดี จากการศึกษานี้จึงแนะนำว่าสามารถใช้วิธีการใดก็ได้จาก 3 วิธีที่กล่าวมาในการวินิจฉัยและแบ่งระดับความรุนแรงของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัล


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, รัชฎาพร บุญสนอง Jan 2022

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, รัชฎาพร บุญสนอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงบรรยายเพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จำนวน 195 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกระบบหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลตำรวจ และโรงพยาบาลศิริราช เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทั้งหมด 7 ส่วน คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคหัวใจขาดเลือด 3) แบบสอบถามการรับรู้การเจ็บป่วย 4) แบบสอบถามแรงจูงใจ 5) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 6) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และ 7) แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.94, 1.0, 1.0, 0.97, 1.0 และ 0.95 ตามลำดับ และตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ .76, .80, .73, .91, .96 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานอาหารเฉพาะโรค ความรู้ แรงจูงใจ การสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนอยู่ในระดับสูง (Mean = 100.98 SD = 12.39, Mean = 16.48 SD = 2.16, Mean = 76.03 SD = 8.63, Mean = 67.43 SD = 9.09 และ Mean = 25.73 SD = 3.79 ตามลำดับ) และมีคะแนนการรับรู้การเจ็บป่วยระดับปานกลาง (Mean = 49.81 SD …


ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัสต่ออาการปวดของผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง, สิริรัตน์ สิริสุรชัชวาล Jan 2022

ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัสต่ออาการปวดของผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง, สิริรัตน์ สิริสุรชัชวาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัสต่ออาการปวดของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป อายุ 20-59 ปี เข้ารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลชลบุรี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนดแบบเจาะจงเข้ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ 22 คน และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัส 22 คน ระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมิน Short Form McGill Pain Questionnaire (SFMPQ) และแบบประเมินการจัดการตนเอง (SM) ตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบประเมินโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาชเท่ากับ 0.70 และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา, Dependent Sample t-test และ Independent Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง ภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัส มีอาการปวดต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง กลุ่มหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัส มีอาการปวดต่ำกว่ากลุ่มหลังได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความร่วมมือในการออกกำลังกายของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, สุดารัตน์ ทิพย์พินิจ Jan 2022

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความร่วมมือในการออกกำลังกายของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, สุดารัตน์ ทิพย์พินิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความร่วมมือในการออกกำลังกายของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 40 คน ที่มารับบริการเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จับคู่ให้มีความใกล้เคียงกันในเรื่อง เพศและอายุ และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการการจัดการตนเองเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินความร่วมมือในการออกกำลังกาย เครื่องมือกำกับการทดลอง คือ แบบประเมินการจัดการตนเอง ทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีค่าความตรงเท่ากับ 1.00 และ .94 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .73 และ .79 และทดสอบความเที่ยงของโปรแกรมมีความสอดคล้องสูง (100 %) เมื่อนำไปทดลองใช้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมมีความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปดังนี้ ค่าเฉลี่ยคะแนนความร่วมมือในการออกกำลังกายของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มควบคุม เท่ากับ 9.30 (SD = 4.91) และกลุ่มทดลอง เท่ากับ 21.30 (SD = 3.20) ค่าเฉลี่ยความร่วมมือในการออกกำลังกายของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มทดลอง ภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= 9.16, df=32.65, p<0.000)