Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medical Sciences

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

Articles 31 - 60 of 533

Full-Text Articles in Entire DC Network

ผลของการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะกระดูกสันหลังค่อมแบบหลายมิติต่อมุมส่วนโค้งของกระดูกสันหลังระดับอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลังและความสามารถการทรงตัวขณะเดิน ในผู้หญิงที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อมจากท่าทางที่ไม่เหมาะสม, ปัญญภรณ์ หมายดี Jan 2022

ผลของการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะกระดูกสันหลังค่อมแบบหลายมิติต่อมุมส่วนโค้งของกระดูกสันหลังระดับอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลังและความสามารถการทรงตัวขณะเดิน ในผู้หญิงที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อมจากท่าทางที่ไม่เหมาะสม, ปัญญภรณ์ หมายดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะกระดูกสันหลังค่อมแบบหลายมิติ (MHCE) เพื่อแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงของความยาวกล้ามเนื้อข้อสะโพกที่ต่อเนื่องมาจากการเกิดภาวะกระดูกสันหลังค่อม ส่งผลให้การส่งต่อข้อมูลประสาทรับรู้ความรู้สึกในข้อสะโพกเพื่อควบคุมการทรงตัวบกพร่อง จึงทำให้ผู้ที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อมสูญเสียการทรงตัวได้ง่าย วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาความแตกต่างของผล MHCE และการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะกระดูกสันหลังค่อมรูปแบบที่แนะนำในปัจจุบัน (CHCE) เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ต่อการเปลี่ยนแปลงของมุมส่วนโค้งของกระดูกสันหลังระดับอก (TKA) ความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังระดับอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลัง ความยาวของกล้ามเนื้องอสะโพก (Hip flexor) และกล้ามเนื้อเหยียดข้อสะโพกร่วมกับงอเข่า (Hamstrings) การรับรู้ตำแหน่งของข้อสะโพก (JPS) และการทรงตัวขณะเดินในผู้หญิงที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อมจากท่าทางที่ไม่เหมาะสม ผู้เข้าร่วมวิจัยถูกสุ่มแบ่งเป็นกลุ่ม MHCE และกลุ่ม CHCE กลุ่มละ 18 คน ได้รับการตรวจประเมินก่อนและหลังออกกำลังกาย ผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 2 กลุ่ม มีค่า TKA ความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังระดับอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลัง ความยาวของกล้ามเนื้อ Hamstrings และความสามารถการทรงตัวขณะเดินแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก่อนและหลังออกกำลังกาย ส่วนค่า JPS มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะกลุ่ม MHCE (P<.05) และกลุ่ม MHCE มีค่า TKA ลดลงมากกว่ากลุ่ม CHCE อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) สรุปว่า MHCE สามารถลดมุมส่วนโค้งของกระดูกสันหลังระดับอกและพัฒนาการรับรู้ตำแหน่งของข้อสะโพกได้ดีกว่า CHCE ส่วนการเพิ่มความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังระดับอก เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลัง เพิ่มความยาวกล้ามเนื้อ Hamstrings และการพัฒนาความสามารถการทรงตัวขณะเดิน การออกกำลังกายทั้ง 2 แบบทำได้ไม่แตกต่างกัน


การเปรียบเทียบสถานะสุขภาพจิตระหว่างพนักงานโรงงานประเภทผลิตเครื่องดื่มที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมมาตรการ Bubble And Seal ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี, ธเนศ ธรรมภิบาล Jan 2022

การเปรียบเทียบสถานะสุขภาพจิตระหว่างพนักงานโรงงานประเภทผลิตเครื่องดื่มที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมมาตรการ Bubble And Seal ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี, ธเนศ ธรรมภิบาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทั่วโลกในช่วงปีพ.ศ. 2563 ส่งผลให้ประเทศไทยได้ออกมาตรการ Bubble and Seal เพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำงานสำหรับสถานประกอบทั่วประเทศ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการใช้มาตรการนี้มีน้อย จึงยังไม่ทราบถึงผลกระทบต่อสุขภาพจิตของพนักงานที่เข้าร่วมมาตรการ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสถานะสุขภาพจิตระหว่างพนักงานโรงงานประเภทผลิตเครื่องดื่มที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมมาตรการ Bubble and Seal ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง ทำการศึกษาโดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2565 จากกลุ่มตัวอย่างพนักงานโรงงานประเภทผลิตเครื่องดื่มที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมมาตรการ Bubble and Seal ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 116 และ 311 คน ตามลำดับ แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านงาน และแบบประเมินสุขภาวะทางจิต Depress Anxiety Stress Scales (DASS-21) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน รวมถึงการวิเคราะห์การถดถอยโลจีสติก ผลการศึกษาพบว่าความชุกของภาวะซึมเศร้าในพนักงานที่เข้าร่วมมาตรการต่อพนักงานที่ไม่เข้าร่วมมาตรการ ร้อยละ 6.9 ต่อ ร้อยละ 5.1, ความวิตกกังวลร้อยละ 8.6 ต่อ ร้อยละ 15.1 และความเครียดร้อยละ 8.6 ต่อ ร้อยละ 5.1 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์โดยควบคุมปัจจัยกวนพบว่าความวิตกกังวลในกลุ่มที่ไม่เข้าร่วมมาตรการสูงมีแต้มต่อ 5.31 เท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่เข้าร่วม (OR = 5.31, 95% CI 1.45 – 13.39) แต่ไม่พบความแตกต่างกันของภาวะซึมเศร้าและความเครียด ซึ่งจากการศึกษาครั้งนี้พบว่าการเข้าร่วมมาตรการ Bubble and Seal อาจส่งผลประโยชน์ในการช่วยบรรเทาการเกิดความวิตกกังวล และไม่เพิ่มความชุกของภาวะซึมเศร้าหรือความเครียดของพนักงานในสถานประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการ Bubble and Seal


การพัฒนาเทคนิคพีซีอาร์เอชอาร์เอ็มสำหรับตรวจหาการติดเชื้อมาลาเรียในมนุษย์และการกลายพันธุ์ของยีนจีซิกพีดีชนิดเวียงจันทน์และมหิดล, ปวีณ์สุดา รัตนคช Jan 2022

การพัฒนาเทคนิคพีซีอาร์เอชอาร์เอ็มสำหรับตรวจหาการติดเชื้อมาลาเรียในมนุษย์และการกลายพันธุ์ของยีนจีซิกพีดีชนิดเวียงจันทน์และมหิดล, ปวีณ์สุดา รัตนคช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคมาลาเรียถือเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ในปี พ.ศ.2564 องค์กรอนามัยโลกรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อมาลาเรียทั่วโลกกว่า 247 ล้านรายและผู้เสียชีวิตกว่า 627,000 ราย ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อการควบคุมและการกำจัดโรคมาลาเรีย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการอาจไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและการรักษา จึงสามารถเป็นแหล่งสะสมและแพร่กระจายของเชื้อมาลาเรียได้ ในปัจจุบันมีเชื้อพลาสโมเดียมที่ก่อโรคในมนุษย์ 5 สปีสีช์ ได้แก่ P. falciparum, P. vivax, P. malariae, P. ovale และ P. knowlesi ดังนั้นเทคนิคที่มีความไวสูงในการตรวจหาเชื้อมาลาเรียจึงมีความสำคัญมาก นอกจากนี้การรักษาด้วยยาต้านเชื้อมาลาเรีย เช่น ไพรมาควิน อาจส่งผลต่อผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดีทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้ งานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาเทคนิคพีซีอาร์เอชอาร์เอ็มสำหรับตรวจหาเชื้อมาลาเรียและการกลายพันธุ์ของยีนจีซิกพีดี รวมทั้งทดสอบปริมาณความหนาแน่นต่ำสุดที่สามารถตรวจพบได้ ความไวและความจำเพาะของเทคนิคที่พัฒนาขึ้นพบว่าสามารถตรวจหาเชื้อมาลาเรียที่มีความหนาแน่นต่ำสุดเท่ากับ 2.354-3.316 copies/µL มีความไวและความจำเพาะในการตรวจหาเชื้อ P. falciparum, P. malariae, P. ovale และ P. knowlesi เท่ากับ 100% และ 100% ตามลำดับ ความไวและความจำเพาะในการตรวจหาเชื้อ P. vivax เท่ากับ 100% และ 99.28% ตามลำดับ สำหรับการตรวจการกลายพันธุ์ของยีนจีซิกพีดีพบว่าสามารถตรวจระบุจีซิกพีดีเวียงจันทน์และจีซิกพีดีมหิดลได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นเทคนิคพีซีอาร์เอชอาร์เอ็มที่พัฒนาขึ้นจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการตรวจเชื้อมาลาเรียและการกลายพันธุ์ของยีนจีซิกพีดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยมาลาเรียเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ


ผลของการใช้สารยับยั้งการทำงานของสติง (Isd-017) ต่ออาการของโรคแอสแอลอีในโมเดลสัตว์ทดลองโรคลูปัส, อิสรา อาลี Jan 2022

ผลของการใช้สารยับยั้งการทำงานของสติง (Isd-017) ต่ออาการของโรคแอสแอลอีในโมเดลสัตว์ทดลองโรคลูปัส, อิสรา อาลี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รายงานก่อนหน้านี้ได้อธิบายถึงการมีส่วนร่วมของ Fc gamma receptor IIb (Fcgr2b) ในการพัฒนาโรค systemic lupus erythematosus (SLE) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการส่งสัญญาณที่เพิ่มสูงขึ้นของอินเตอเฟียรอน ชนิดที่ 1 (type I interferon) โดยการขาดยีน stimulator of interferon genes (STING) ในหนูทดลองที่มีความบกพร่องของ Fcgr2b สามารถช่วยรักษาฟีโนไทป์ของโรคลูปัสได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการรักษาของสารยับยั้ง STING (ISD017) เปรียบเทียบกับยาที่ใช้เป็นมาตรฐานในการรักษา cyclophosphamide (CYC) ในการบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคลูปัสในหนูทดลองที่มีความบกพร่องของ Fcgr2b (Fcgr2b-deficient) ที่มีสภาวะ proteinuria และมีการแสดงออกถึง autoantibody นอกจากนี้เราตั้งเป้าที่จะประเมินผลกระทบของการรักษาต่อฟีโนไทป์ของโรคลูปัสด้วย โดยหนูทดลองอายุ 24 สัปดาห์ที่มีความบกพร่องของ Fcgr2b จะถูกแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม คือ หนูทดลองที่ได้รับสารทดสอบ cyclophosphamide (25 mg/kg, intraperitoneal, 1 ครั้งต่อสัปดาห์) หนูทดลองที่ได้รับสารทดสอบ ISD-017 (10 mg/kg, intraperitoneal, 3 ครั้งต่อสัปดาห์) และหนูทดลองในกลุ่มควบคุมที่ถูกทดสอบด้วย PBS (intraperitoneal, 3 ครั้งต่อสัปดาห์) ซึ่งจะได้รับสารทดสอบเป็นระยะเวลาอีก 8 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการรักษา จะมีการเก็บตัวอย่างซีรัม ม้าม และไตของหนูทดลองเพื่อวิเคราะห์ฟีโนไทป์ของโรคลูปัส พบว่าหนูทดลองที่มีความบกพร่องของ Fcgr2b มีอัตราการรอดชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่มที่ได้รับสารทดสอบ CYC และ ISD-017 เมื่อเปรียบกับหนูทดลองในกลุ่มควบคุม นอกจากนี้หนูทดลองทั้งสองกลุ่มยังแสดงอาการรุนแรงของไตอักเสบ (glomerulonephritis) น้อยกว่าหนูทดลองในกลุ่มควบคุมอีกด้วย ซึ่งจากการทดลองชี้ให้เห็นอีกว่า cyclophosphamide สามารถลด germinal center B cells (B220+GL-7+) ในขณะที่ ISD-017 สามารถลลด activated T cells (CD4+CD69+) ในหนูทดลองที่มีความบกพร่องของ Fcgr2b …


Effects Of Chitosan Oligosaccharide And Probiotics On Chronic Kidney Disease Rats, Weerapat Anegkamol Jan 2022

Effects Of Chitosan Oligosaccharide And Probiotics On Chronic Kidney Disease Rats, Weerapat Anegkamol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Chronic kidney disease (CKD) patients suffer from the accumulation of toxic substances in their blood due to the loss of kidney function, which results in hyperphosphatemia. This condition contributes to hyperparathyroidism, leading to the development of chronic kidney disease-related mineral bone disorder (CKD-MBD). Additionally, CKD patients experience changes in their gut microbiota, disrupting epithelial tight junctions and allowing excessive absorption of dietary phosphate. In this study, we aimed to investigate the effects of various oligosaccharides and probiotics on the gut microbiota, intestinal barrier, hyperphosphatemia, and hyperparathyroidism in CKD rats. We isolated Lactobacillus and Bifidobacterium strains from healthy participants and tested …


Study Of Thermodynamic Binding Between Ader And Ades In Two-Component Antibiotic Sensor Of Antibiotic Resistant Strains Of Acinetobacter Baumannii, Konrawee Thananon Jan 2022

Study Of Thermodynamic Binding Between Ader And Ades In Two-Component Antibiotic Sensor Of Antibiotic Resistant Strains Of Acinetobacter Baumannii, Konrawee Thananon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The proteins AdeR (response regulator) and AdeS (histidine kinase sensor) play a crucial role in regulating the efflux pump, which is responsible for removing antibiotics from bacterial cells. This regulation occurs through a two-component regulatory system (TCS) involving autophosphorylation. Upon receiving external signals, AdeS undergoes autophosphorylation, leading to the activation of AdeR, which in turn initiates the expression of target genes related to the efflux pump. In this study, both enzymes from the reference strain of Acinetobacter baumannii (ATCC19606) and antibiotic resistant strains (H1074 and G560) were cloned and expressed in E. coli. The enzymes were purified using an immobilized …


Analysis Of Vocs From Exhaled Breath For The Diagnosis Of Hepatocellular Carcinoma, Thanikarn Suk-Aram Jan 2022

Analysis Of Vocs From Exhaled Breath For The Diagnosis Of Hepatocellular Carcinoma, Thanikarn Suk-Aram

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Volatile organic compounds (VOCs) were shown as promising biomarkers for hepatocellular carcinoma (HCC) diagnosis. We aimed to investigate the performance of VOCs for diagnosing early-stage HCC in patients at-risk for HCC. Methods: VOCs were identified in exhaled breath samples collected from 90 early-stage HCC patients, 90 cirrhotic patients, 91 HBV-infected patients, and 95 healthy volunteers using thermal desorption-gas chromatography/field-asymmetric ion mobility spectrometry. The VOC levels were compared between the four groups. An association between VOCs and HCC was determined using logistic regression analysis. Diagnostic performance of VOCs was estimated using the AUROC and compared to serum alpha-fetoprotein (AFP). Results: …


การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการล้างมือของบุคลากรทางการแพทย์ก่อนและหลังการใช้เครื่องตรวจสอบการล้างมืออัตโนมัติในหอผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วรินทิพย์ มหาพสุธานนท์ Jan 2022

การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการล้างมือของบุคลากรทางการแพทย์ก่อนและหลังการใช้เครื่องตรวจสอบการล้างมืออัตโนมัติในหอผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วรินทิพย์ มหาพสุธานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาของการศึกษา: การติดเชื้อในโรงพยาบาลมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มอัตราการเจ็บป่วยและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย การล้างมือเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุดในการลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามพบว่าอัตราการล้างมือของบุคคลากรทางการแพทย์ยังคงต่ำกว่าที่ควรจะเป็น จึงมีการพัฒนาเครื่องมือในการติดตามการล้างมือเพื่อเพิ่มอัตราการล้างมือให้มากขึ้น วิธีการศึกษา: ทำการศึกษากึ่งทดลองเพื่อเปรียบเทียบอัตราการล้างมือของบุคลากรก่อนและหลังการใช้เครื่องตรวจสอบการล้างมืออัตโนมัติ โดยระยะประเมินระบบมีการเปรียบเทียบอัตราการล้างมือกับการสังเกตโดยตรง และมีการวัดอัตราการล้างมือเบื้องต้นโดยใช้ระบบระบุตำแหน่ง ผลการศึกษา: ระบบเครื่องตรวจสอบการล้างมืออัตโนมัติมีความไวเท่ากับร้อยละ 85.19 (95%CI 75.71-94.88%) และมีความจำเพาะร้อยละ 92 (95%CI 84.48-99.52%) ตามลำดับในการตรวจสอบการล้างมือ โดยในการศึกษานี้มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 30 ราย เป็นพยาบาลวิชาชีพ 21 รายและผู้ช่วยพยาบาล 9 ราย พบว่าค่าเฉลี่ยของอัตราการล้างมือก่อนสัมผัสผู้ป่วยเท่ากับร้อยละ 56.19 (95%CI 52.04-60.43%) และค่าเฉลี่ยของอัตราการล้างมือหลังสัมผัสผู้ป่วยเท่ากับร้อยละ 71.03% (95%CI, 67.67-74.44%) โดยเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า ค่าเฉลี่ยอัตราการล้างมือที่ได้จากระบบเครื่องตรวจสอบการล้างมืออัตโนมัติมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนหน้านี้เท่ากับ 5.19% (95%CI, 0.69-9.70%, p=0.025) ก่อนการสัมผัสผู้ป่วยและสูงกว่า 20.03% (95%CI, 16.58-23.48%, p<0.001) หลังการสัมผัสผู้ป่วย อย่างไรก็ตามเมื่อนำผลการทดลองมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากการประเมินด้วยตนเองจากแบบสอบถามก่อนเริ่มการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยอัตราการล้างมือที่ได้จากระบบเครื่องตรวจสอบการล้างมืออัตโนมัติมีค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอัตราการล้างมือที่ได้จากการประเมินด้วยตนเองเท่ากับ 16.31% (95%CI, 10.28-22.33%, p<0.001) ก่อนการสัมผัสผู้ป่วย และต่ำกว่า 18.97% (95%CI, 13.82-24.12%, p<0.001) หลังการสัมผัสผู้ป่วยตามลำดับ สรุปผล: การใช้ระบบตรวจสอบการล้างมืออัตโนมัติสามารถนำมาใช้เพื่อติดตามการล้างมือในหอผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรมได้ และมีผลเพิ่มอัตราการล้างมือของบุคลากรในหอผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เมื่อเปรียบเทียบกับผลของการศึกษาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อที่จะนำมาใช้ในทางปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


การศึกษาแบบสุ่มและทดสอบความไม่ด้อยกว่า ของ ยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานขนาด 1.25 มิลลิกรัมต่อวัน เปรียบเทียบกับ ยาทา5%ไมนอกซิดิลในการรักษาโรคผมบางจากพันธุกรรมในเพศหญิง, ณัฐวรรณ ตันกิตติวัฒน์ Jan 2022

การศึกษาแบบสุ่มและทดสอบความไม่ด้อยกว่า ของ ยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานขนาด 1.25 มิลลิกรัมต่อวัน เปรียบเทียบกับ ยาทา5%ไมนอกซิดิลในการรักษาโรคผมบางจากพันธุกรรมในเพศหญิง, ณัฐวรรณ ตันกิตติวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาและความปลอดภัยของยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานขนาด 1.25 มิลลิกรัมต่อวัน กับยาทา5%ไมนอกซิดิล ทาวันละ 2 ครั้ง ในการรักษาโรคผมบางจากพันธุกรรมในเพศหญิง นาน 24 สัปดาห์ และทดสอบความไม่ด้อยกว่าของผลยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานในการเพิ่มขึ้นของความหนาแน่นของเส้นผมขนาดใหญ่ที่ตำแหน่งอ้างอิงกลางกระหม่อมศีรษะ วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบสุ่มและทดสอบความไม่ด้อยกว่า ในผู้ป่วยโรคผมบางจากพันธุกรรมในเพศหญิงที่มีอายุ 18-65 ปี จำนวน 44 ราย ซึ่งจะได้การรักษาเป็นยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานขนาด 1.25 มิลลิกรัม หรือ ยาทา 5%ไมนอกซิดิล นาน 24 สัปดาห์ โดยประเมินผลการรักษาจากการเปลี่ยนแปลงของความหนาแน่นของเส้นผมขนาดใหญ่ (ค่าด้อยกว่าที่ยอมรับได้ไม่เกิน 5 เส้น/ตร.ซม), การเปลี่ยนแปลงของความหนาแน่นของเส้นผมทั้งหมด และผลข้างเคียงของการรักษาประเมินจากประวัติ การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษา: หลังได้รับการรักษา 24 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นของเส้นผมขนาดใหญ่และความหนาแน่นของเส้นผมทั้งหมดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้งในกลุ่มยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานและยาทาไมนอกซิดิล โดยกลุ่มยารับประทานทำให้ค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นของเส้นผมขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น 10.25% (P<0.001) และ ความหนาแน่นของเส้นผมทั้งหมดเพิ่มขึ้น 11.66% (P<0.001) ขณะที่ยาทาไมนอกซิดิลทำให้ค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นของเส้นผมเพิ่มขึ้น 8.86% (P<0.001) และ11.07% (P<0.001) ตามลำดับ และพบว่ายาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานไม่ได้ด้อยกว่ายาทาไมนอกซิดิลในการเพิ่มขึ้นของความหนาแน่นของเส้นผมขนาดใหญ่ ค่าแตกต่างเฉลี่ยคือ 0.82 เส้นต่อ 1 ตารางเซนติเมตร 95%CI เป็น (-4.57,6.21) เส้นต่อตารางเซนติเมตร สำหรับผลข้างเคียงที่พบในทั้ง 2 กลุ่มเป็นผลข้างเคียงที่มีระดับความรุนแรงน้อย และพบการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตเฉลี่ยในทั้ง 2 กลุ่ม โดยพบหลังได้รับการรักษา 4 และ 12 สัปดาห์ และพบว่าเมื่อใช้ยาอย่างต่อเนื่องค่าความดันโลหิตเฉลี่ยจะกลับมาสู่ค่าใกล้เคียงเริ่มต้นที่ 24 สัปดาห์ ผลของอัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ยพบการเปลี่ยนแปลงเฉพาะในกลุ่มของยาทา อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญทางด้านคลินิก สำหรับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่พบการรายงานที่ผิดปกติ สรุปผล: ทั้งยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานขนาด 1.25 มิลลิกรัมต่อวัน และยาทา 5%ไมนอกซิดิล ทาวันละ 2 ครั้ง มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยในการรักษาโรคผมบางจากพันธุกรรมในเพศหญิงที่มีความรุนแรงระดับน้อยถึงปานกลาง หลังได้รับการรักษานาน 24 สัปดาห์ และยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานไม่ได้ด้อยกว่ายาทาไมนอกซิดิลในการเพิ่มขึ้นของความหนาแน่นของเส้นผมขนาดใหญ่


ความผิดปกติทางพันธุกรรมของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิดเรื้อรังในประเทศไทย, ศิโรรัตน์ ขอบบัวคลี่ Jan 2022

ความผิดปกติทางพันธุกรรมของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิดเรื้อรังในประเทศไทย, ศิโรรัตน์ ขอบบัวคลี่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิดเรื้อรัง หรือโรค Chronic lymphocytic leukemia (CLL) เกิดจากการแบ่งตัวของเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ที่ผิดปกติ และการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมมีผลทำให้เกิดโรค ข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติของพันธุกรรมของโรค CLL ในประเทศไทยยังคงมีน้อยกว่าในประเทศตะวันตก CLL เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม โรคนี้ยังพบได้ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยด้วย ซึ่งอาการและความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างกลุ่มอายุยังคงไม่มีข้อมูล การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผิดปกติทางพันธุกรรมของผู้ป่วยโรค CLL ในประเทศไทยและศึกษาความแตกต่างของลักษณะความผิดปกติทางพันธุกรรมระหว่างกลุ่มอายุของผู้ป่วย โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยโรค CLL จำนวน 80 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 ถึงพฤศจิกายน 2564 โดยรวบรวมผล Fluorescent in situ hybridization (FISH) และ immunophenotyping จากการวินิจฉัยครั้งแรก ตรวจวิเคราะห์สถานะการกลายพันธุ์ของ IGHV และตรวจวิเคราะห์การกลายพันธุ์ของยีน ด้วยเทคนิค Next generation sequencing (NGS) ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยชาวไทยมีอายุเฉลี่ย 66 ปี อัตราส่วนผู้ป่วยเพศชายต่อเพศหญิง 2.08:1 และพบว่า 17.3% ของผู้ป่วยมี 17p deletion และ 6.3% ของผู้ป่วยมี 11q deletion ยีนที่กลายพันธุ์บ่อยที่สุดคือ ARID1A (76.3%), KMT2D (70.0%), MYD88 (16.3%), TP53 (11.3%), SF3B1 (10.0%) และ ATM (8.8%) ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่มีอาการ (asymptomatic) มีอัตราการพบการกลายพันธุ์ของยีน MYD88 มากกว่าในผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการ (symptomatic) โดยสัดส่วนคือ 36.0% กับ 9.3% (p=0.011) ตามลำดับ และไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มอายุจากการวิเคราะห์สถานะการกลายพันธุ์ของ IGHV โดยกลุ่มอายุน้อยกว่า 65 ปี มี 42.5% และกลุ่มอายุมากกว่า 65 ปี มี 57.5% ผู้ป่วยโรค …


หมอนรองหน้าอกเพื่อลดอาการปวดต้นคอหลังการส่องกล้องท่อน้ำดีและตับอ่อน, อชิรญา ปลอดอักษร Jan 2022

หมอนรองหน้าอกเพื่อลดอาการปวดต้นคอหลังการส่องกล้องท่อน้ำดีและตับอ่อน, อชิรญา ปลอดอักษร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การส่องกล้องทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERCP) เป็นหัตถการมาตรฐานสำหรับการตรวจประเมินและรักษาโรคของท่อน้ำดีและตับอ่อน นิยมจัดท่าผู้ป่วยในท่านอนคว่ำ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยจำเป็นต้องหมุนศีรษะไปทางด้านขวา 80 องศาตลอดระยะเวลาทำหัตถการ ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดคอหลังทำการส่องกล้องได้ และในปัจจุบันยังไม่มีอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับช่วยจัดท่าผู้ป่วยเพื่อลดอาการปวดคอ ในงานการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดอุบัติการณ์การปวดคอของผู้ป่วยหลังเข้ารับการส่องกล้องท่อน้ำดีและตับอ่อน และประเมินความพึงพอใจของแพทย์ผู้ส่องกล้อง โดยสุ่มผู้ป่วยทั้งหมด 250 ราย แบ่งเป็นกลุ่มใช้หมอนรองหน้าอก 125 ราย และกลุ่มควบคุม 125 ราย หมอนที่ถูกออกแบบตามหลักการยศาสตร์ช่วยทำให้เกิดการหมุนของกระดูกสันหลังส่วนอก เพื่อชดเชยการทำงานของกระดูกสันหลังส่วนคอ ผู้วิจัยเข้าประเมินอาการปวดคอของผู้ป่วยก่อนการทำ ERCP, หลังการทำ ERCP 1 ชั่วโมง, 1 วัน และ 7 วัน โดยใช้ Visual analog scale (0-10) รวมถึงความยากในการสอดกล้องและความพึงพอใจของแพทย์โดยใช้แบบประเมินคะแนน 0-10 ผลการศึกษาพบว่าอุบัติการณ์อาการปวดคอหลังการทำ ERCP 1 วัน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสองกลุ่ม โดยในกลุ่มใช้หมอนพบร้อยละ 19.2 และในกลุ่มควบคุมพบร้อยละ 30.4 (p = 0.041) อาการปวดคอระดับปานกลางถึงรุนแรงในกลุ่มควบคุมสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.032) ความยากในการสอดกล้องและความต้องการในการยกไหล่ของผู้ป่วยขณะทำหัตถการลดลงในกลุ่มใช้หมอน (p = 0.001 และ p = 0.002 ตามลำดับ) แม้ว่าการประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยระหว่างสองกลุ่มจะไม่มีความแตกต่างกัน (p = 0.082) อย่างไรก็ตามคะแนนความพึงพอใจของแพทย์ผู้ส่องกล้องในกลุ่มใช้หมอนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)


การศึกษาความคุ้มค่าจากการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของช่วงเวลาในการคัดกรองมะเร็งตับในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังที่ไม่มีภาวะตับแข็งและได้รับยาต้านไวรัส, แสงดาว บุญกะยะ Jan 2022

การศึกษาความคุ้มค่าจากการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของช่วงเวลาในการคัดกรองมะเร็งตับในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังที่ไม่มีภาวะตับแข็งและได้รับยาต้านไวรัส, แสงดาว บุญกะยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสำคัญและที่มาของปัญหางานวิจัย: อุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งตับชนิด hepatocellular carcinoma ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังแตกต่างกันตามปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย ในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังที่ไม่มีภาวะตับแข็งและตรวจไม่พบระดับไวรัสในเลือดนั้นมีอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งตับ HCC ต่ำที่สุด วัตถุประสงค์ของงานวิจัย: การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคุ้มค่าทางต้นทุน-ประสิทธิผลของการตรวจคัดกรองมะเร็งตับ HCC ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่ระยะเวลาแตกต่างกัน ได้แก่การตรวจคัดกรองปีละสองครั้ง, ปีละหนึ่งครั้ง และไม่ตรวจคัดกรองเลย ระเบียบวิธีวิจัย: ออกแบบแบบจำลองการวิเคราะห์การตัดสินใจ แบ่งการศึกษาเปรียบเทียบเป็น 3 วิธี คือการตรวจคัดกรองปีละสองครั้ง, การตรวจคัดกรองปีละครั้ง และไม่ตรวจคัดกรองเลย โดยจำลองระยะของมะเร็งตับที่ตรวจพบและการรักษามะเร็งตับในแต่ละวิธีการ ศึกษาต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ ผลลัพธ์ทางสุขภาพคือปีชีวิตที่เพิ่มขึ้น, ปีสุขภาวะ, และอัตราส่วนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นต่อปีสุขภาวะ ผลการศึกษา: ต้นทุนรวมตรงทางการแพทย์ที่ใช้ในการตรวจคัดกรองเพื่อเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับได้แก่ 0 บาทในกลุ่มที่ไม่ได้ตรวจคัดกรอง, 20,709,000 บาทในกลุ่มที่ได้รับการตรวจคัดกรองปีละครั้ง และ 41,418,000 บาทในกลุ่มที่ได้รับการตรวจคัดกรองปีละสองครั้ง เมื่อใช้กลุ่มที่ไม่ได้ตรวจคัดกรองเป็นตัวเปรียบเทียบ ค่าอัตราส่วนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นต่อปีสุขภาวะของกลุ่มที่ได้รับการตรวจคัดกรองปีละครั้งเท่ากับ 3,912,304 บาทต่อหนึ่งปีสุขภาวะ และค่าอัตราส่วนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นต่อปีสุขภาวะของกลุ่มที่ได้รับการตรวจคัดกรองปีละสองครั้งเท่ากับ 6,826,371 บาทต่อหนึ่งปีสุขภาวะ การตรวจคัดกรองทั้งสองวิธีการไม่มีความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับเพดานที่เต็มใจจะจ่ายของไทยเท่ากับ 160,000 บาท สรุปผลการวิจัย: การตรวจคัดกรองเพื่อเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังที่ไม่มีภาวะตับแข็งและตรวจไม่พบไวรัสในเลือดหลังการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ซึ่งประกอบด้วยการทำอัลตราซาวด์และการตรวจระดับซีรั่มอัลฟ่าฟีโตโปรตีน ไม่มีความคุ่มค่าจากการวิเคราะห์ทางต้นทุน-ประสิทธิผล


ความชุกของคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่พบในผู้ป่วยติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, กนกพร ยุตินทร Jan 2022

ความชุกของคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่พบในผู้ป่วยติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, กนกพร ยุตินทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาของการวิจัย ในปลายปี 2019 เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) โดยอาการและภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยมักเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ และยังสามารถก่อให้เกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจต่างๆ รวมถึงการมีหัวใจเต้นผิดปกติ จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติบางรูปแบบนั้นมีความสัมพันธ์กับพยากรณ์โรคที่ไม่ดี อย่างไรก็ตาม การศึกษาในไทยยังขาดข้อมูลที่ชัดเจน การวิจัยนี้จึงเป็นการรวบรวมข้อมูลที่ช่วยให้ทราบถึงความชุกของคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่พบในผู้ป่วยติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และความสัมพันธ์ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติกับอัตราตายในระหว่างนอนโรงพยาบาล วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่พบในผู้ป่วยติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และรูปแบบคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่มีความสัมพันธ์กับอัตราตายในระหว่างนอนโรงพยาบาล กระบวนการและระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์ชนิดย้อนหลัง รวบรวมเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยวิธี RT-PCR ร่วมกับมีอาการหรืออาการแสดงของโรค และเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ถึงเดือนธันวาคม 2564 โดยเก็บข้อมูลคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการเสียชีวิตในระหว่างนอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือมีเครื่องกระตุ้นหัวใจจะถูกคัดออกจากการวิจัย ผลลัพธ์หลักคือความชุกของคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติรูปแบบต่างๆ และผลลัพธ์รองคือรูปแบบคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่มีความสัมพันธ์กับอัตราตายในระหว่างนอนโรงพยาบาล ผลการศึกษา จากผู้ป่วยทั้งหมด 180 ราย อายุเฉลี่ย 61.01 ± 16.17 ปี เพศชายร้อยละ 56 พบว่า ความชุกของผู้ป่วยที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติมีจำนวน 154 ราย (ร้อยละ 85.6) คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่พบได้บ่อย ได้แก่ การมีระยะ QT ยาวผิดปกติ (ร้อยละ 36.8), การมีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ (ร้อยละ 29.1), การเบี่ยงเบนลงของ ST segment (ร้อยละ 23.4), และการมี pathologic Q wave (ร้อยละ 19.5) ตามลำดับ มีผู้ป่วยเสียชีวิตในระหว่างนอนโรงพยาบาลจำนวน 33 ราย (ร้อยละ 18.3) โดยพบว่าลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่มีความสัมพันธ์กับอัตราตายในระหว่างนอนโรงพยาบาล ได้แก่ การมีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ (OR 7.86 95% CI 2.75-22.44 p-value <0.001), การเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วก่อนกำหนด (OR 5.06; 95% CI 1.29-19.78; p-value 0.02), การมีระยะ QTc ยาวผิดปกติ (OR 4.71; 95% CI 1.6-13.9; p-value 0.005), และการเบี่ยงเบนลงของ ST segment (OR 2.96; 95% CI 1.04-8.4; p-value 0.042) โดยในกลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิตจะมีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างน้อยรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง สรุป จากการวิจัยนี้พบว่า ความชุกของคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่พบในผู้ป่วยติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อยู่ที่ร้อยละ 85.6 และคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติบางรูปแบบมีความสัมพันธ์กับอัตราตายในระหว่างนอนโรงพยาบาล


ความสัมพันธ์ระหว่างอาการในระยะแรกเริ่ม กับ การสะสมของโปรตีน อมิลอยด์ และ ทาว ในสมอง ตรวจด้วยเพท ในผู้ป่วยที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อยหรือสมองเสื่อมระยะมีอาการเล็กน้อย จากโรคอัลไซเมอร์, กิตติธัช บุญเจริญ Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างอาการในระยะแรกเริ่ม กับ การสะสมของโปรตีน อมิลอยด์ และ ทาว ในสมอง ตรวจด้วยเพท ในผู้ป่วยที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อยหรือสมองเสื่อมระยะมีอาการเล็กน้อย จากโรคอัลไซเมอร์, กิตติธัช บุญเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่าอาการทางความจำในระยะแรกเริ่มอาการใด ที่สัมพันธ์กับผลตรวจเพท พบการสะสมของโปรตีนอมิลอยด์และทาว สำหรับวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ ในอาสาสมัครที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อย หรือสมองเสื่อมระยะมีอาการเล็กน้อย วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง อาสาสมัครที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อย หรือภาวะสมองเสื่อมที่มีอาการเล็กน้อย ถูกคัดเลือกตามลำดับการตรวจจากคลินิกความจำ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เก็บข้อมูลในรูปแบบการตอบแบบสอบถามโดยญาติหรือผู้ดูแลเกี่ยวกับอาการทางความจำในระยะแรกเริ่มของโรคอัลไซเมอร์ แบบสอบถามประกอบด้วย 7 คำถาม เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของอาการทางความจำเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน และ 6 คำถาม เกี่ยวกับความถี่ของอาการทางความจำในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา หลังตอบแบบสอบถาม อาสาสมัครจะได้รับการตรวจเพท เพื่อวัดการสะสมของโปรตีนอมิลอยด์และทาว ในเนื้อสมอง อาสาสมัครที่มีทั้งอมิลอยด์และทาวสะสมมากผิดปกติในเนื้อสมอง (A+T+) จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ จากนั้นวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างอาการทางความจำแต่ละอาการกับโรคอัลไซเมอร์ ผลการศึกษา: อาสาสาสมัครที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 50 ราย ค่ามัธยฐานอายุ 72 (65-77) ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ 24 ราย (ร้อยละ 48) อาการทางความจำที่ถดถอยลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน 6 อาการ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่ 1. ความจำเกี่ยวกับเรื่องราวที่พูดคุยกันเมื่อ 2-3 วันก่อน (p = 0.001) 2. ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 2-3 วันก่อน (p = 0.005) 3. ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 1 เดือนก่อน (p = 0.026) 4. พูดหรือเล่าเรื่องในอดีตซ้ำๆ (p = 0.049) 5. ถามคำถามเดิมซ้ำๆ (p = 0.002) 6. หลงลืมสิ่งในชีวิตประจำวันที่จะต้องทำ เช่น ปิดน้ำ ปิดไฟ ปิดแก๊ส (p = 0.049) อาการทางความจำที่มีความถี่อย่างน้อย 1 ครั้งต่อวันในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา 5 …


การแยกแยะความผิดปกติของเสียงพูดชนิดสปาสติกในผู้ป่วยทางระบบประสาทออกจากเสียงพูดปกติ ด้วยการวิเคราะห์คลื่นเสียงด้วยแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์, ชยุต มฤคทัต Jan 2022

การแยกแยะความผิดปกติของเสียงพูดชนิดสปาสติกในผู้ป่วยทางระบบประสาทออกจากเสียงพูดปกติ ด้วยการวิเคราะห์คลื่นเสียงด้วยแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์, ชยุต มฤคทัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการวินิจฉัยอาการพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกในแง่ความไว ความจำเพาะ และ AUC จาก กราฟ ROC ของการวินิจฉัยประโยคพูดไม่ชัดที่สร้างขึ้นจากลักษณะเด่นทางคลินิกและพยาธิสรีรวิทยา และประเมินด้วยเครื่องมือ ASR พร้อมทั้งเปรียบเทียบความแม่นยำในการวินิจฉัยกับประสาทแพทย์ วิธีการวิจัย ผู้ป่วยพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกจำนวน 37 คน และกลุ่มควบคุม 37 คน เข้ารับการบันทึกเสียงพูด 4 ประโยคที่ถูกสร้างขึ้นจากกลุ่มพยัญชนะต้นที่แตกต่างกันตามการทำงานของกล้ามเนื้อการพูด และประเมินคะแนนความผิดพลาดของพยางค์แต่ละประโยค (error score of syllable) ด้วยเครื่องมือ ASR ได้แก่ 'Apple Siri™' และ 'Whisper' แล้ววิเคราะห์ logistic regression analysis และ สร้างกราฟ ROC พร้อมทั้ง AUC เพื่อบอกความแม่นยำในการวินิจฉัย พร้อมทั้งให้ประสาทแพทย์วินิจฉัยอาการพูดไม่ชัดจากไฟล์เสียงเดียวกัน ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยคะแนนความผิดพลาดของพยางค์แต่ละประโยคระหว่างกลุ่มผู้ป่วยพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ทั้งจากทั้งสองเครื่องมือ โดยที่ AUC สูงที่สุดของเครื่องมือ 'Apple Siri™' และ 'Whisper'เท่ากับ 0.95 และ 0.89 ตามลำดับในการวิเคราะห์ประโยคเดียวกันที่เป็นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโคนลิ้น เพดานอ่อนและคอหอย ในขณะที่ประสาทแพทย์มีความจำเพาะในการวินิจฉัยมากกว่า 0.9 แต่มีความไวที่ไม่แน่นอนตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.74 สรุป เครื่องมือ 'Apple Siri™' และ 'Whisper' ASR มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือในการวินิจฉัยแยกแยะอาการพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกที่มีความรุนแรงน้อยออกจากเสียงพูดปกติ เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์ประโยคพูดที่มีความไม่ชัดชนิดสปาสติกมากที่สุด ซึ่งถูกสร้างขึ้นด้วยความรู้ทางพยาธิสรีรวิทยาและสัทศาสตร์


การศึกษาเพื่อระบุหาสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายจากลมหายใจที่จำเพาะต่อมะเร็งตับอ่อน และ เนื้องอกถุงน้ำตับอ่อน เทียบกับประชากรที่ไม่มีรอยโรคตับอ่อน, ณัฐนิช ปึงพิพัฒน์ตระกูล Jan 2022

การศึกษาเพื่อระบุหาสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายจากลมหายใจที่จำเพาะต่อมะเร็งตับอ่อน และ เนื้องอกถุงน้ำตับอ่อน เทียบกับประชากรที่ไม่มีรอยโรคตับอ่อน, ณัฐนิช ปึงพิพัฒน์ตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อระบุสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic compounds; VOC) ในลมหายใจ ที่มีความจำเพาะต่อผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน และผู้ป่วยเนื้องอกถุงน้ำตับอ่อน เมื่อเปรียบเทียบกับ ประชากรที่ไม่มีรอยโรคตับอ่อน วิธีการวิจัย ผู้วิจัยทำการศึกษาแบบภาคตัดขวางระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงมกราคม พ.ศ.2566 โดยประชากรที่ศึกษาได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนที่มีผลตรวจยืนยันทางพยาธิวิทยา กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกถุงน้ำตับอ่อนชนิด intrapapillary mucinous neoplasm (IPMN) ที่มีผลตรวจทางรังสีวิทยายืนยัน และกลุ่มประชากรที่ไม่มีรอยโรคบริเวณตับอ่อน โดยเก็บลมหายใจด้วยเครื่องเก็บลมหายใจ (ReCIVA™ breath sample system) และระบุสาร VOCs ด้วยเทคนิคเทอร์มอลดีซอฟชั่น แก๊สโครมาโตกราฟี/ฟิลด์เอซิมเมตริก ไอออนโมบิลิตี้สเปกโตรเมทรี (Thermal desorption/Gas chromatography/Field Asymmetric Ion Mobility Spectrometry, GC/FAIMS)และนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ผลการศึกษา มีผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งสิ้น 156 คน แบ่งเป็นอาสาสมัครโรคมะเร็งตับอ่อน 54 คน อาสาสมัครที่มีเนื้องอกถุงน้ำตับอ่อนชนิด IPMN 42 คน และกลุ่มควบคุม 60 คน โดยร้อยละ 44 เป็นเพศชาย และมีอายุเฉลี่ย 62.6±10.6 ปี วิจัยนี้ตรวจพบ VOCs จากลมหายใจทั้งหมด 9 ชนิด โดยมี 2 ชนิดที่มีความแตกต่างกันระหว่างทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ dimethyl sulfide (0.94 Arbitrary Unit (AU) ในกลุ่มมะเร็งตับอ่อน 0.74 AU ในกลุ่มIPMN และ 0.73 ในกลุ่มควบคุม โดย p-value 0.008) เมื่อวิเคราะห์การถดถอยโลจีสติกเชิงพหุ (multivariable logistic regression analysis) พบว่า กลุ่มมะเร็งตับอ่อนมีระดับของ dimethyl sulfide …


อัตราความสำเร็จการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนและอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำภายในระยะเวลา 30 วัน, ทรงเกียรติ ยอดที่รัก Jan 2022

อัตราความสำเร็จการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนและอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำภายในระยะเวลา 30 วัน, ทรงเกียรติ ยอดที่รัก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน (TAVI) ในปัจจุบันเป็นการรักษาที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นทางเลือกแทนการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกในผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบรุนแรงที่มีความเสี่ยงสูงหรือไม่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ อย่างไรก็ตาม อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาผลลัพธ์ของอัตราความสำเร็จจากการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน และผลลัพธ์ทางคลินิกในการศึกษาตามกลุ่มประชากรในประเทศไทย วัตถุประสงค์: เพื่ออัตราความสำเร็จการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนด้วยลิ้นหัวใจเทียมและผลลัพธ์ทางคลินิก และค่าใช้จ่ายของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย วิธีการศึกษา: ศึกษาผู้ป่วยท่ได้รับการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนด้วยลิ้นหัวใจเทียมในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ระหว่างเดือนมกราคม 2553 ถึงมิถุนายน 2565 โดยศึกษาอัตราความของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนการเสียชีวิตภายในระยะเวลา 30 วัน การอยู่โรงพยาบาลมากกว่า 30 วัน หรือกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายในระยะเวลา 30 ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน ผลลัพธ์: ผู้เข้าร่วม 180 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงร้อยละ 54.4 อายุเฉลี่ย 81±8 ปี คะแนนมัธยฐานของสมาคมศัลยแพทย์ทรวงอก (STS 7.2 ± 4.2 มีผู้เข้าร่วม 151 ราย คิดเป็นร้อยละ 84.4 ที่ประสบความสำเร็จจากการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่ายทางสายสวนโดยพบ 62 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.6 ในลิ้นหัวใจ Core valve 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 92.5 ในลิ้นหัวใจ Edwards Valve และ 52 ราย คิดเป็นร้อยละ 81.2 ในลิ้นหัวใจ Hydra valve ตามลำดับ ที่ 30 วัน มีผู้เสียชีวิต 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.8 เสียชีวิตภายใน 30 วัน หรือการนอนโรงพยาบาลนานกว่า 30 วัน หรือการส่งกลับโรงพยาบาลภายใน 30 วัน อยู่ที่ 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.4 ความดันเลือดผ่านลิ้นหัวใจเอออร์ติก (Mean Aortic Valve Gradient) ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจาก 43.5±14.6 เป็น 7.5±4.3 มิลลิเมตรปรอท …


การศึกษาความสัมพันธ์ของการตรวจไม่พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดทีเวฟหัวกลับที่เกิดขึ้นใหม่กับการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่แย่ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียกซึ่งได้รับการรักษาด้วยการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดปฐมภูมิ, ทัศน์พล เรามานะชัย Jan 2022

การศึกษาความสัมพันธ์ของการตรวจไม่พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดทีเวฟหัวกลับที่เกิดขึ้นใหม่กับการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่แย่ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียกซึ่งได้รับการรักษาด้วยการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดปฐมภูมิ, ทัศน์พล เรามานะชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดปฐมภูมิ (Primary PCI) ยังเป็นการรักษาหลักในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียก (STEMI) นอกจากนี้การประเมินการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจหลังทำหัตถการยังเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่แย่ (TIMI ≤ 2) สัมพันธ์กับอัตราตาย อัตราการเกิดหัวใจวาย และการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง ซึ่งหนึ่งในวิธีประเมินการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่สามารถทำได้ง่ายกว่าคือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิด 12 ลีดโดยใช้ลักษณะของทีเวฟหัวกลับพบว่าสามารถใช้ทำนายความสำเร็จของการเปิดของหลอดเลือดหัวใจได้ ในทางกลับกันยังไม่มีการศึกษาว่าการตรวจไม่พบทีเวฟหัวกลับหลังการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดปฐมภูมิจะสัมพันธ์กับการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่แย่ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการตรวจไม่พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดทีเวฟหัวกลับที่เกิดขึ้นใหม่กับการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่แย่ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียกซึ่งได้รับการรักษาด้วยการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดปฐมภูมิ ระเบียบวิจัย: การศึกษาย้อนหลังแบบมีกลุ่มควบคุม (Retrospective case control study) ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียกซึ่งได้รับการรักษาด้วยการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดปฐมภูมิในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2565 โดยเก็บข้อมูลลักษณะอาการทางคลินิก ลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนและหลังทำหัตถการภายใน 24 ชั่วโมง ระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤต อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลและที่ 30 วัน เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่เลือดไปเลี้ยงหัวใจดี (TIMI flow = 3) และแย่ (TIMI flow ≤ 2) ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 165 รายเป็นเพศชายร้อยละ 78.2 อายุเฉลี่ย 57 ± 12 ปี พบกล้ามเนื้อหัวใจตายบริเวณผนังกล้ามเนื้อหัวใจส่วนล่าง (Inferior wall STEMI) มากที่สุดคิดเป็น 58.2% และระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเจ็บหน้าอกจนถึงได้รับการเปิดหลอดเลือดหัวใจเฉลี่ย 288.3 ± 203.2 นาที พบว่าผู้ป่วย 55 รายเป็นกลุ่มที่มี TIMI flow ≤ 2 และผู้ป่วย 110 รายมี TIMI flow = 3 ในจำนวนผู้ป่วยที่มี TIMI flow ≤ 2 มีผู้ป่วย 27 ราย (ร้อยละ 49.1) ตรวจไม่พบลักษณะทีเวฟหัวกลับจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจหลังทำหัตถการเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มี TIMI flow =3 คือ …


ประสิทธิผลในการควบคุมระดับน้ำตาลโดยการใช้ระบบการติดตามแบบทางไกลและการให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างเป็นระบบในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาด้วยอินซูลิน และควบคุมระดับน้ำตาลไม่ถึงเป้าหมาย, ธัญญาลักษณ์ แซ่ตั้ง Jan 2022

ประสิทธิผลในการควบคุมระดับน้ำตาลโดยการใช้ระบบการติดตามแบบทางไกลและการให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างเป็นระบบในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาด้วยอินซูลิน และควบคุมระดับน้ำตาลไม่ถึงเป้าหมาย, ธัญญาลักษณ์ แซ่ตั้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การจัดการเบาหวานเฉพาะบุคคลแบบบูรณาการสามารถทำให้ผู้เป็นเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขี้น แต่ต้องอาศัยการติดต่อกับผู้ให้บริการทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำระบบติดตามทางไกลมาช่วยในการดูแลได้ การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของการจัดการเบาหวานเฉพาะบุคคลแบบบูรณาการผ่านระบบการดูแลสุขภาพทางไกล วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบสุ่มระยะเวลา 6 เดือน รวบรวมผู้เป็นเบาหวานที่ได้รับการรักษาด้วยอินซูลิน อายุ 18-65 ปี และ HbA1c 7.4-10.5% ผลลัพธ์หลักคือความแตกต่างของการลดลงของ HbA1c จากค่าตั้งต้นระหว่างกลุ่ม Tele-iPDM และกลุ่มดูแลปกติ ที่ 6 เดือน ผลลัพธ์รอง คือ ความแตกต่างของการลดลงของ HbA1c จากค่าตั้งต้นระหว่างกลุ่ม Tele-iPDM และกลุ่มดูแลปกติ ที่ 3 เดือน ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย ร้อยละของผู้ป่วยที่มี HbA1c < 7% และร้อยละของผู้ป่วยที่มีระดับ HbA1c ลดลง > 0.5% ที่ 6 เดือน ผลการศึกษา: ผู้เป็นเบาหวานอยู่ในการศึกษาครบ 6 เดือน จำนวน 61 คน อายุ 53.07 ± 7.74 ปี เป็นเบาหวานนาน 11.76 ± 8.26 ปี ค่า HbA1c ตั้งต้น 8.48 ± 0.76% พบว่าที่ 24 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ย HbA1c ลดลงจากค่าตั้งต้นทั้งสองกลุ่ม โดยกลุ่ม Tele-iPDM มีค่าเฉลี่ย HbA1c ลดลงร้อยละ -1.11 [95%Cl -1.46-(-0.76)] และกลุ่มการดูแลตามปกติ มีค่าเฉลี่ย HbA1c ลดลงร้อยละ -0.39 [95%CI -0.73-(-0.06)] โดยกลุ่ม Tele-iPDM มีระดับ HbA1c ลดลงมากกว่ากลุ่มดูแลตามปกติ เท่ากับร้อยละ -0.72 [95%CI -1.20-(-0.24)] ระดับน้ำตาลขณะอดอาหารในกลุ่ม Tele-iPDM ลดลงจากค่าตั้งต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 24 …


ความผิดปกติของการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหัวใจในผู้ป่วยโควิด 19 ที่เคยได้รับการรักษาในโรงพยาบาลและมีกลุ่มอาการหลังติดเชื้อโควิด 19, ธีรัตน์ ชาติละออง Jan 2022

ความผิดปกติของการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหัวใจในผู้ป่วยโควิด 19 ที่เคยได้รับการรักษาในโรงพยาบาลและมีกลุ่มอาการหลังติดเชื้อโควิด 19, ธีรัตน์ ชาติละออง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา : จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วย Post-acute COVID-19 syndrome มีการตรวจพบความผิดปกติของคลื่นเสียงความถี่สูงหัวใจได้ถึง 1 ใน 3 แต่การศึกษายังมีจำนวนค่อนข้างน้อย อีกทั้งยังไม่มีการศึกษาที่มีการติดตามดูเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของหัวใจและหลอดเลือด วัตถุประสงค์การวิจัย : การศึกษานี้มีเพื่อศึกษาหาความชุกของความผิดปกติของหัวใจในผู้ป่วย Post-acute COVID-19 syndrome และทำการติดตามดูเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของหัวใจและหลอดเลือดที่ 3 เดือนและ 6 เดือน วิธีการวิจัย : รูปแบบการวิจัยเป็น prospective cohort study ศึกษาในผู้ป่วย Post-acute COVID-19 syndrome จำนวน 81 คนที่เคยเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และยังมีอาการของ Post-acute COVID-19 syndrome ผู้ป่วยได้รับการตรวจหาความผิดปกติของหัวใจโดยคลื่นความถี่สูงหัวใจที่ 2 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล โดยศึกษา left ventricular global longitudinal strain (LV-GLS) และ right ventricular free wall longitudinal strain (RV-FWLS) รวมถึง parameter อื่นๆที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลที่อาจเป็นปัจจัยในการตรวจพบความผิดปกติทางหัวใจ และติดตามดูเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของหัวใจและหลอดเลือดที่ 3 และ 6 เดือน ผลการวิจัย : จำนวนประชากรทั้งหมด 81 คน อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 65 ปี เป็นเพศหญิง 54 คน (66%) โรคประจำตัวส่วนใหญ่ที่พบคือ ความดันโลหิตสูง 34 คน (42%) เบาหวาน 20 คน (24%) ความรุนแรงของโรค COVID-19 ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับรุนแรงน้อย เป็นจำนวน 59 คน (72%) และรุนแรงปานกลาง 21 คน (25%) อาการของ Post-acute …


ความสัมพันธ์ระหว่างการพยากรณ์โรคที่ดีของผู้ป่วยที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมและการกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทู, พิชยุตม์ บุญญาบารมี Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างการพยากรณ์โรคที่ดีของผู้ป่วยที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมและการกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทู, พิชยุตม์ บุญญาบารมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมเป็นภาวะที่มีการกระตุ้นของภูมิกันที่มากจนเกินไป โดยสาเหตุของภาวะนี้ได้แก่ โรคมะเร็ง, การติดเชื้อ และภาวะภูมิคุ้มกันต้านตนเอง และในบางกรณีไม่ทราบสาเหตุ ในงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการกลายพันธุ์แต่กำเนิดของยีนเอชเอวีซีอาร์ทูซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนิดวาย 82 ซี (Y82C) กับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดทีเซลล์ชื่อว่า subcutaneous panniculitis-like T-cell lymphoma (SPTCL) งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาอุบัติการณ์ของการกลายพันธุ์ยีนเอชเอวีซีอาร์ทูในผู้ป่วยที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมจากมะเร็งต่อมน้ำเหลือง SPTCL และกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ และเปรียบเทียบลักษณะทางคลินิก (clinical outcome) รวมถึงอัตราการมีชีวิตรอด (survival outcome) กับภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมจากสาเหตุอื่นๆ งานวิจัยรวบรวมผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมจากเกณฑ์การวินิจฉัยของปี 2004 (HLH-2004 criteria) หรือผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกที่เข้าได้กับภาวะนี้แม้ไม่ครบตามเกณฑ์วินิจฉัย นำชิ้นเนื้อที่เก็บในพาราฟิน หรือเลือดมาสกัดดีเอนเอและใช้เทคนิคการหาลําดับนิวคลีโอไทด์ (DNA sequencing) เพื่อตรวจหายีนเอชเอวีซีอาร์ทูตำแหน่งวาย 82 ซี (Y82C) ในผู้ป่วยที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด SPTCL และไม่ทราบสาเหตุ ผลการศึกษา รวบรวมผู้ป่วยทั้งหมด 65 คน โดยเป็นผู้ชาย 60% และมีค่ามัธยฐานอายุที่ 45 ปี ตรวจพบการกลายพันธุ์ยีนเอชเอวีซีอาร์ทูทั้งหมด 9 (13.8%) คน โดยเป็นผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด SPTCL 5 คน และไม่ทราบสาเหตุอีก 4 คน สาเหตุอื่นของภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมได้แก่ โรคมะเร็งที่ไม่ใช่มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด SPTCL 22 (33.8%) คน, ไม่ทราบสาเหตุและไม่มีการกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทู 18 (27.7%) คน, การติดเชื้อ 10 (15.4%) คน และภาวะภูมิคุ้มกันต่อตัวเอง 6 (9.2%) คน โดยผู้ป่วยที่มีการกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทูมีการรอดชีวิตที่ดีกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยมี hazard ratio (HR) 0.218; 95% Confidence interval (CI) 0.05-0.90, p-value 0.036 และกลุ่มที่มีการกลายพันธุ์นี้เองมีระดับฮีโมโกลบินที่สูงกว่า และระดับนิวโตรฟิลที่ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ โดยสรุป การกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทูสามารถที่จะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยหนึ่งของภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรม ซึ่งมีอัตราการรอดชีวิตที่ดีกว่า …


การศึกษาการตอบสนองของภูมิคุ้มกันชนิดสารน้ำในการยับยั้งเชื้อ Sars-Cov-2 สายพันธุ์ย่อย Omicron ในผู้ป่วยที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนและเกิดการติดเชื้อ, มณฑ์ปราชญ์ หาญผดุงกิจ Jan 2022

การศึกษาการตอบสนองของภูมิคุ้มกันชนิดสารน้ำในการยับยั้งเชื้อ Sars-Cov-2 สายพันธุ์ย่อย Omicron ในผู้ป่วยที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนและเกิดการติดเชื้อ, มณฑ์ปราชญ์ หาญผดุงกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาของการศึกษา: เชื้อก่อโรคโควิด-19 ได้มีการอุบัติขึ้นของสายพันธ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ได้เป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดทั่วโลก และมีจำนวนของผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วเกิดการติดเชื้อสูงขึ้น การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภูมิคุ้มกันสารน้ำลบล้างฤทธิ์ที่เปลี่ยนแปลงหลังการติดเชื้อโควิด-19 ในอาสาสมัครที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อนในประเทศไทยซึ่งมีความแตกต่างของรูปแบบการให้วัคซีนสูงมาก วิธีการทำการศึกษา: การศึกษานี้จัดทำขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยรวบรวมอาสาสมัครที่ป่วยด้วยโรคโควิด-19 และเคยได้รับวัคซีนมาก่อน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.2565 ที่ได้รับการรักษาเป็นผู้ป่วยนอก โดยมีการเก็บตัวอย่างจากโพรงจมูกและลำคอเพื่อทำการวิเคราะห์สายพันธุ์ของเชื้อที่ก่อโรคในอาสาสมัคร และทำการตรวจภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์โดยใช้ surrogate virus neutralization test (sVNT) ต่อเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์โอมิครอน ณ วันวินิจฉัย และ 1 และ 3 เดือนหลังการติดเชื้อ ผลการศึกษา: การศึกษานี้มีอาสาสมัครเข้าร่วมทั้งสิ้น 109 ราย โดยอาสาสมัคร 108 รายได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เข็มกระตุ้นแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม โดยสายพันธุ์ก่อโรคที่พบมากที่สุดในอาสาสมัครคือเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธ์ย่อยบีเอ2 (Omicron BA.2) คิดเป็นร้อยละ 97.8 โดยระดับภูมิคุ้มกันสารน้ำลบล้างฤทธิ์ ณ วันวินิจฉัยพบว่ามีระดับการยับยั้งสูงสุดต่อเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม (wild type) ตามด้วยสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยบีเอ2 (Omicron BA.2) และโอมิครอนสายพันธ์ย่อยบีเอ1 และเมื่อทำการตรวจติดตามที่ 1 เดือนพบการเพิ่มขึ้นของภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิมอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p=0.11) และการเพิ่มขึ้นของภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อสายพันธุ์ Omicron BA.2 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) และเมื่อตรวจติดตามที่ 3 เดือนพบว่าระดับภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์คงที่ นอกจากนี้ในการศึกษานี้มีอาสาสมัครจำนวน 31 รายที่ได้เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นก่อนเข้ารับการตรวจระดับภูมิคุ้มกันที่เดือนที่ 3 พบว่าระดับของภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ที่เดือนที่ 3 ไม่แตกต่างกับกลุ่มอาสาสมัครที่ไม่ได้เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น สรุป: การศึกษานี้ได้แสดงว่าระดับภูมิคุ้มกันสารน้ำชนิดลบล้างฤทธิ์หรือแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยบีเอ2 จะยังคงอยู่จนถึงอย่างน้อย 3 เดือนหลังการติดเชื้อ ซึ่งควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับระดับภูมิคุ้มกันในระยะยาวและความต้องการในการให้วัคซีนเข็มกระตุ้นในกลุ่มประชากรที่ติดเชื้อต่อไป


การศึกษาระดับภูมิคุ้มกันหลังจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ใหญ่ที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน, วราลี เติบศิริ Jan 2022

การศึกษาระดับภูมิคุ้มกันหลังจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ใหญ่ที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน, วราลี เติบศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้ทำขึ้นเพื่อประเมินระดับภูมิคุ้มกันในผู้ใหญ่หลังจากที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนเทียบกับผู้ที่รับวัคซีนเข็มกระตุ้นด้วย AZD1222 ภายหลังจากที่ได้รับวัคซีนครบ โดยใช้อาสาสมัครเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แบ่งเป็นกลุ่มติดเชื้อคือเป็นผู้ที่ติดเชื้อไวรัสหลังจากได้รับวัคซีน CoronaVac ครบ และกลุ่มเข็มกระตุ้นคือเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีน AZD1222 หลังจากได้รับวัคซีน CoronaVac ครบ และวัดระดับภูมิคุ้มกันเป็น surrogate virus neutralization test (sVNT) ต่อ wild-type และ Omicron variant (BA.1) ที่ 3 และ 6 เดือนหลังจากติดเชื้อหรือหลังได้วัคซีนเข็มกระตุ้น อาสาสมัครบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมด 50 ราย แบ่งเป็นกลุ่มติดเชื้อ 25 ราย และกลุ่มเข็มกระตุ้น 25 ราย มีค่ามัธยฐานของระดับ sVNT ต่อ wild-type ที่ 3 เดือน คือ 97.87% (IQR 97.78%-97.94%) ในกลุ่มติดเชื้อและ 97.60% (IQR 94.6%-98%) ในกลุ่มเข็มกระตุ้น (p=0.21) ในขณะที่ค่ามัธยฐานของระดับ sVNT ที่ 6 เดือน คือ 97.68% (IQR 95.86%-97.92%) ในกลุ่มติดเชื้อสูงกว่า 92.6% (IQR 79.8%-97.9%) ในกลุ่มเข็มกระตุ้น (p=0.04) โดยสรุป ภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อ wild-type ที่ 3 เดือน ในผู้ที่ได้รับวัคซีน CoronaVac สองครั้งและมีประวัติการติดเชื้อมีระดับใกล้เคียงและไม่ด้อยกว่ากับกลุ่มที่ได้รับ AZD1222 เข็มกระตุ้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ติดเชื้อจะมีภูมิคุ้มกันที่ 6 เดือน ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น


Factors Leading To High Intraocular Pressure In Intraocular Device-Associated Uveitis (Idau): A Nested Case Control Study, Jakkrit Juhong Jan 2022

Factors Leading To High Intraocular Pressure In Intraocular Device-Associated Uveitis (Idau): A Nested Case Control Study, Jakkrit Juhong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Purpose: To describe the clinical pattern of uveitis–glaucoma–hyphaema (UGH) syndrome and to evaluate the risk factors leading to high intraocular pressure among intraocular device-associated uveitis (IDAU) patients using the Chulalongkorn University Uveitis Cohort (CU2C) database. Methods: A retrospective nested case‒control study was conducted in a cohort of 375 subjects who were followed up in a uveitis clinic at King Chulalongkorn Memorial Hospital (KCMH), Bangkok, Thailand, from 2014 to 2022. Thirty subjects with IDAU with increased intraocular pressure (IOP) were included in the case group, and 60 subjects with IDAU without increased intraocular pressure were selected from the CU2C database as …


Effectiveness Of 1- And 2- Per Cent Acetic Acid Solutions In The 2-Week Treatment Of Granular Myringitis, Sarun Prakairungthong Jan 2022

Effectiveness Of 1- And 2- Per Cent Acetic Acid Solutions In The 2-Week Treatment Of Granular Myringitis, Sarun Prakairungthong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Granular myringitis is characterized by de-epithelization of the tympanic membrane. Patients present with intermittent otorrhea, otalgia or itching. Granular myringitis could result in ear canal stenosis from fibrotic formation if improper or inadequate treatments were offered. At the present, there are still no standard specific topical ear drops for granular myringitis. The choices of treatment are various with inconsistent success rate in variable timeline. Objectives: To compare granular myringitis treatment between 1% and 2% acetic acid solution at 2 weeks Materials and methods: This study is a double blind randomized controlled trial to compare the effectiveness of 1% acetic …


Exploring Roles Of Mir-885-5p In Hepatocellular Carcinoma, Archittapon Nokkeaw Jan 2022

Exploring Roles Of Mir-885-5p In Hepatocellular Carcinoma, Archittapon Nokkeaw

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hepatocellular carcinoma (HCC), the most prevalent form of liver cancer, exerts a significant burden on Southeast Asian countries and stands as the third leading cause of cancer-related mortality worldwide. Despite this alarming impact, effective treatments for HCC are lacking, resulting in low survival rates and high recurrence rates. Therefore, a comprehensive understanding of the disease's underlying mechanisms is crucial for the development of novel and potent therapies. Recently, it has been recognized that microRNAs (miRNAs) play a vital role in tumorigenesis, including HCC. Our bioinformatic analysis has highlighted hsa-miR-885-5p as a potential candidate miRNA due to its downregulation in HCC …


Effects Of Different Serum Supplements On Piggybac Cd19 Chimeric Antigen Receptor T Cells, Mulita Sanyanusin Jan 2022

Effects Of Different Serum Supplements On Piggybac Cd19 Chimeric Antigen Receptor T Cells, Mulita Sanyanusin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Chimeric Antigen Receptor (CAR) T cell is a novel therapy for relapse and refractory hematologic malignancy. Characteristics of CAR T cells is associated with clinical efficacy and toxicity. Type of serum supplements used during cultivation affect the immunophenotype and function of viral-based CAR T cells. This study explores the effect of serum supplements on non-viral piggyBac transposon CAR T cell production. PiggyBac CD19 CAR T cells were expanded in cultured conditions containing either fetal bovine serum, human AB serum, human platelet lysate or xeno-free serum replacement. Then, the effect of different serum supplements on cell expansion, transfection efficiency, immunophenotypes and …


The Effect Of Histone Methylation In Trained Innate Immunity Of Cord Blood Monocytes In Newborn Infants Of Chronic Hbv-Infected Mothers, Pennapa Plypongsa Jan 2022

The Effect Of Histone Methylation In Trained Innate Immunity Of Cord Blood Monocytes In Newborn Infants Of Chronic Hbv-Infected Mothers, Pennapa Plypongsa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Newborns contract Hepatitis B virus (HBV) through exposure in utero from mothers who are infected with HBV. In newborn infant from chronic HBV-infected mothers, the immune system displays innate immune cell maturation and enhances immune response upon restimulation with unrelated pathogens such as bacteria. This pattern is called “trained immunity” or “innate immune memory”. Trained immunity is regulated by epigenetic programming, especially histone modification. To date, there is not report on the epigenetics to regulate trained immunity in HBV. Therefore, this study investigated the cytokines levels and expression levels of histone modification enzyme genes in HBV-exposed cord blood monocytes. Moreover, …


Macrophage Depletion Enhances Gut Dysbiosis And Severity In Sepsis Mouse Model, Pratsanee Hiengrach Jan 2022

Macrophage Depletion Enhances Gut Dysbiosis And Severity In Sepsis Mouse Model, Pratsanee Hiengrach

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Macrophage is vital players in the responsiveness of the innate immune system against injury or infection. Although macrophage depletion is well-known for some emerging therapies, such as osteoporosis, osteopenia, and decreasing tumor-associated macrophages in melanoma, dysfunction of macrophages leads to an inability of an appropriate immune response and implicated in various disease processes, especially intestinal macrophages that play a key role in the gut immune system and the regulation of gastrointestinal physiology. To obtain an understanding of the role of sepsis-associated macrophages, clodronate was used for the dysfunction of mouse macrophages with and without cecal ligation and puncture (CLP) sepsis. …


The Inhibitory Effect Of Combined Human Cathelicidin With Antibiotics On Antibiotic-Resistant Cutibacterium Acnes, Rakwaree Sriharat Jan 2022

The Inhibitory Effect Of Combined Human Cathelicidin With Antibiotics On Antibiotic-Resistant Cutibacterium Acnes, Rakwaree Sriharat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Cutibacterium acnes is one of the major factors involved in the pathogenesis of acne vulgaris which sometimes develops antibiotic resistance particularly clindamycin- and doxycycline-resistant C. acnes. In this study, human cathelicidin (LL-37) which is a type of human antimicrobial peptide against a wide range of microorganisms was used. We investigated the antimicrobial activity of LL-37 on C. acnes isolated from patients with acne at the King Chulalongkorn Hospital using broth microdilution. Moreover, the synergistic effects of LL-37 with clindamycin and doxycycline were investigated using checkerboard microdilution, and time-killing assays. The cytotoxicity of LL-37 was also evaluated by MTT assay. The …