Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medical Sciences

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

Articles 511 - 533 of 533

Full-Text Articles in Entire DC Network

Lipoic Acid-Incorporated Calcium Carbonate Nanoparticlesfor Controlling Of Adipose Derived Stem Cells (Adscs) Differentiation And Adipocyte Function, Sarocha Cherdchom Jan 2017

Lipoic Acid-Incorporated Calcium Carbonate Nanoparticlesfor Controlling Of Adipose Derived Stem Cells (Adscs) Differentiation And Adipocyte Function, Sarocha Cherdchom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

CaCO3 NPs has received a growing interest due to its potential properties as a safe drug carrier. The LA-CaCO3 NPs were synthesized by a chemical precipitation method and characterized using transmission electron microscopy, thermogravimetric analysis, and zeta potential measurement. We used LA-CaCO3 NPs to evaluate their therapeutic effects in lipid accumulation, lipolysis, adipogenesis, and adipokines expression in ADSCs and differentiated adipocytes. The average particle sizes were observed to be 10-20 nanometers. Thermogravimetric analysis results confirmed the percentages of LA in CaCO3 NPs. The zeta potential showed a negative charge -30.9 mV. Our findings indicated that LA-CaCO3 NPs were apparently more …


Evaluation Of Lipid Accumulation And Lipolysis Activity In Human Subcutaneous Adipocytes And Human Visceral Adipocytes By Α-Lipoic Acid, Α-Lipoic Acid-Incorporated Caco3 Nanoparticles And Caffeine., Sunisa Kaewdang Jan 2017

Evaluation Of Lipid Accumulation And Lipolysis Activity In Human Subcutaneous Adipocytes And Human Visceral Adipocytes By Α-Lipoic Acid, Α-Lipoic Acid-Incorporated Caco3 Nanoparticles And Caffeine., Sunisa Kaewdang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Recently, much attention has been paid to natural plant-derived compounds as an alternative strategy for developing anti-obesity agents with minimal detrimental effects. Among various natural compounds, caffeine (1, 3, 7-trimethyl xanthine) and alpha lipoic acid (1, 2-dithiolane-3-pentanoic acid; LA) are the natural agents which show a promising result in decreasing fat deposit. Moreover, we have improved efficiencies of LA by CaCO3 NPs because LA had low bioavailability. In the present study, we investigated the effect of combination between caffeine and LA-CaCO3 NPs in lipid accumulation reduction and lipolysis stimulation in human subcutaneous adipocytes and human visceral adipocytes. Our results showed …


บทบาทของกลุ่มโปรตีนเอ็มทอร์ 2 ต่อการเติมหมู่ฟอสเฟตบนโปรตีนเทาที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์, นราวิชญ์ พชรกุลนนท์ Jan 2017

บทบาทของกลุ่มโปรตีนเอ็มทอร์ 2 ต่อการเติมหมู่ฟอสเฟตบนโปรตีนเทาที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์, นราวิชญ์ พชรกุลนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม เกิดจากโปรตีน Aβ และ tau ที่ตกตะกอนภายในและภายนอกเซลล์ประสาทตามลำดับ และเกิดเป็น amyloid beta plaques และ neurofibrillary tangles (NFT) โปรตีน mTOR complexes ซึ่งเป็น serine/threonine protein kinase ถูกจัดกลุ่มออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ mTORC1 และ mTORC2 โดย mTORC1 นั้นมีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางชีวภาพต่าง ๆ เช่น การสังเคราะห์โปรตีน และการแบ่งตัวของเซลล์ ในขณะที่ mTORC2 นั้นเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเซลล์ อย่างไรก็ตามยังไม่พบหลักฐานการศึกษาว่า mTORC2 มีความเกี่ยวข้องกับกลไกการควบคุมการเติมหมู่ฟอสเฟตมากผิดปกติ (hyperphosphorylation) ของโปรตีน tau หรือไม่ ดังนั้น งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง mTORC2 กับการเกิดการเติมหมู่ฟอสเฟตมากผิดปกติบนโปรตีน tau โดยตรวจสอบการทำงานโปรตีนด้วยเทคนิค western blot analysis พบว่า การทำงานที่ลดลงของ mTOR complexes ภายใต้สภาวะบ่มเซลล์ด้วย AZD8055 และสภาวะยับยั้งการแสดงออกของยีน RICTOR สามารถลดปริมาณ pTau (Ser214) ได้ นอกจากนี้ จากการศึกษาตำแหน่งของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับ mTORC2 และ tau พบว่าโปรตีนเหล่านี้น่าจะมีปฏิสัมพันธ์กัน จึงทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง mTORC2 และ tau ด้วยเทคนิค affinity purification mass spectrometry เพื่อค้นหาโปรตีนที่ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เมื่อวิเคราะห์ผลการทดลอง พบว่า mTORC2 และ tau อาจจะไม่ได้จับกันโดยตรง อย่างไรก็ตาม มีโปรตีนตัวกลางที่เกี่ยวข้องกับทั้ง mTORC2 และ tau โดยเฉพาะโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของเซลล์ คือ gelsolin, plectin, cytoplasmic dynein …


การศึกษาระดับการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอสำหรับการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับระยะแรกที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, ภัทรพร นิ่มเสมอ Jan 2017

การศึกษาระดับการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอสำหรับการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับระยะแรกที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, ภัทรพร นิ่มเสมอ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคมะเร็งตับเป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่สามารถพบได้ทั่วโลกและมีอัตราการตายเป็นอันดับต้นๆของโลก สาเหตุหลักที่พบเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับส่วนใหญ่จะได้รับการวินิจฉัยในระยะท้ายของโรค ส่งผลให้มีอัตราการรอดชีวิตต่ำ ในปัจจุบันไมโครอาร์เอ็นเอมีบทบาทสำคัญในกระบวนการต่างๆภายในร่างกาย รวมทั้งการเกิดมะเร็ง เพราะฉะนั้นจึงสนใจศึกษาระดับการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอในซีรั่มที่มีประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับระยะแรกที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยทำการวิเคราะห์รูปแบบการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอด้วยเทคนิค NanoString จากนั้นทำการวัดระดับการแสดงออกของตัวแทนไมโครอาร์เอ็นเอ ได้แก่ miR-21-5p และ miR-125b-5p ในชิ้นเนื้อจำนวน 22 ตัวอย่าง และในซีรั่มของกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี 50 ราย กลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 92 ราย และกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 98 ราย ด้วยเทคนิคเรียลไทม์พีซีอาร์ ผลการศึกษาพบว่า miR-21-5p มีแนวโน้มการแสดงออกสูงขึ้นในชิ้นเนื้อบริเวณส่วนที่เป็นมะเร็ง เมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณข้างเคียง (P=0.068) นอกจากนั้น miR-21-5p ในซีรั่มของกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีการแสดงออกสูงกว่าในกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี และกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (P=0.0019 และ P<0.001 ตามลำดับ) ในขณะที่การแสดงออกของ miR-21-5p ในซีรั่มของกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี (P=0.2332) ในทางตรงกันข้าม miR-125b-5p มีการแสดงออกที่ลดลงในชิ้นเนื้อบริเวณส่วนที่เป็นมะเร็ง เมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณข้างเคียง (P=0.0391) เช่นเดียวกับการแสดงออกของ miR-125b-5p ในซีรั่มของกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี พบว่ามีระดับลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี (P=0.0234 และ P<0.001 ตามลำดับ) จากการวิเคราะห์ Receiver operating characteristic (ROC) พบว่าพื้นที่ใต้กราฟของการใช้ miR-125-5p ร่วมกับ alpha fetoprotein (AFP) มีค่าเท่ากับ 0.94 ซึ่งสูงกว่าการใช้ AFP หรือ miR-125b-5p เพียงอย่างเดียว ดังนั้น miR-125b-5p และ AFP น่าจะมีประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับระยะแรกที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี


สภาพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่ง, เฉลิมรัฐ มีอยู่เต็ม Jan 2017

สภาพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่ง, เฉลิมรัฐ มีอยู่เต็ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติตามแนวทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่ง และศึกษาระดับความรู้เรื่องความปลอดภัย รวมถึงการป้องกันและแก้ไขภัยอันตรายของบุคลากรในห้องปฏิบัติการจำนวน 205 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการเดินสำรวจห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ 12 ห้องปฏิบัติการ และใช้การตอบแบบสอบถามด้วยตัวเอง เก็บข้อมูลตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 มีการตอบกลับ 146 คน คิดเป็นร้อยละ 71.2 ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 77.4) ค่ามัธยฐานอายุ เท่ากับ 30 ปี วิชาชีพนักเทคนิคการแพทย์มากที่สุด (ร้อยละ 27.8) การศึกษาระดับปริญญาตรี(ร้อยละ 54.7) และมีระยะเวลาการปฏิบัติงานน้อยกว่า 10 ปี (ร้อยละ 77.0) บุคลากรส่วนใหญ่มีความรู้ด้านความปลอดภัย รวมถึงการป้องกันและแก้ไขภัยอันตรายอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยด้านอายุ ตำแหน่งวิชาชีพ ระดับการศึกษา และระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับระดับความรู้ด้านความปลอดภัย รวมถึงการป้องกันและแก้ไขภัยอันตรายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) จากการสำรวจห้องปฏิบัติการพบสิ่งคุกคามทางชีวภาพและสิ่งคุกคามทางการยศาสตร์มากที่สุด การประเมินความเสี่ยงขั้นตอนการทำงานแต่ละแผนกพบความเสี่ยงน้อยถึงปานกลาง ส่วนห้องปฏิบัติการที่มีสภาพความปลอดภัยน้อยที่สุดคือ ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยา สภาพความปลอดภัยทางด้านวิศวกรรมโครงสร้าง ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พบในห้องปฏิบัติการทุกห้อง แต่มีความสมบูรณ์ของเอกสารข้อมูลความปลอดภัยน้อยที่สุด ผลการศึกษานี้จะเป็นข้อมูลสำคัญในการปรับปรุง พัฒนางานด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ รวมถึงใช้เป็นแนวทางในการสำรวจ และประเมินสภาพความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอื่นต่อไป


อัตราอุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการทำงานของสัตวแพทย์ในสถานพยาบาลสัตว์ ในเขตกรุงเทพมหานคร, นภัฐมณ มโนรัตน์ Jan 2017

อัตราอุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการทำงานของสัตวแพทย์ในสถานพยาบาลสัตว์ ในเขตกรุงเทพมหานคร, นภัฐมณ มโนรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราอุบัติการณ์และลักษณะของการบาดเจ็บจากการทำงานของสัตวแพทย์ภายใน 1 ปีย้อนหลัง และปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการทำงานของสัตวแพทย์ที่ทำงานในสถานพยาบาลสัตว์ ในกรุงเทพมหานคร โดยแจกแบบสอบถามให้แก่สัตวแพทย์ที่ปฏิบัติงานประจำในสถานพยาบาลสัตว์ ในเขตกรุงเทพมหานครที่ทำงานมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 395 คน วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square test, Fisher's exact test และ Independent t-test การศึกษานี้พบว่า อัตราอุบัติการณ์การบาดเจ็บที่สำคัญของสัตวแพทย์เท่ากับ 280 ครั้งต่อล้านชั่วโมงการทำงาน หรือ ใน 1 ปี จะมีการบาดเจ็บจนมีข้อจำกัดในการทำงาน หรือหยุดงานหรือต้องไปพบแพทย์ 56.22 ครั้ง เมื่อเทียบกับสัตวแพทย์ที่ทำงานเต็มเวลา 100 คน การบาดเจ็บเกิดจาก สุนัข และแมวกัดมากที่สุด อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด คือ มือ ลักษณะของบาดแผลที่พบมากสุดคือ แผลถลอก และแผลฉีกขาด การบาดเจ็บมักเกิดขึ้นในช่วงการตรวจวินิจฉัย เมื่อบาดเจ็บแล้วสัตวแพทย์ไปพบแพทย์ร้อยละ 69.67 และเกิดข้อจำกัดในการทำงานร้อยละ 56.30 ส่วนผู้ที่บาดเจ็บและจำเป็นต้องหยุดงานมีระยะเวลาหยุดงานเฉลี่ย 3.45 วัน ปัจจัยที่พบความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บของสัตวแพทย์ ได้แก่ ปีที่จบการศึกษา (p-value = 0.003) อายุ (ปี) (p-value < 0.001) ดัชนีมวลกาย (p-value < 0.001) การเป็นโรคภูมิแพ้ (p-value = 0.001) การนอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง (p-value = 0.022) การรับประทานยาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วง (p-value = 0.003) การออกกำลังกาย (p-value = 0.024) ประเภทของสัตว์ที่สัมผัสในงาน (p-value < 0.001) ประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (p-value < 0.001) ระยะเวลาการทำงานมากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (p-value = 0.035) การอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน (p-value = 0.038) พฤติกรรมในการทำงาน ได้แก่ มีการจับและควบคุมสัตว์อย่างรัดกุมขณะตรวจหรือทำหัตถการ (p-value = 0.036) ทิ้งเข็มใช้แล้วลงถังขยะสำหรับทิ้งของมีคมสม่ำเสมอ (p-value = 0.01) สภาพแวดล้อม อันได้แก่ ความเพียงพอของผู้ช่วยจับสัตว์ (p-value = 0.01) อุปกรณ์ควบคุมสัตว์ที่เพียงพอ (p-value < 0.001) แสงสว่างในห้องทำงานที่เพียงพอ (p-value = 0.018) ผู้วิจัยแนะนำให้มีการปรับระยะเวลาการทำงานและระยะเวลานอนให้เหมาะสม ร่วมกับสร้างความตระหนัก ให้ความรู้ เพิ่มการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้ที่มีประสบการณ์ รวมถึงการเตรียมสถานที่ตรวจให้เหมาะสม น่าจะนำไปสู่การลดอุบัติการณ์การบาดเจ็บในสัตวแพทย์


ความชุก ลักษณะ และ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุความรุนแรงขณะปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานของบุคลากรทางการแพทย์หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาลภาครัฐในเขตบริการสุขภาพที่ 6, นภัสวรรณ พชรธนสาร Jan 2017

ความชุก ลักษณะ และ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุความรุนแรงขณะปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานของบุคลากรทางการแพทย์หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาลภาครัฐในเขตบริการสุขภาพที่ 6, นภัสวรรณ พชรธนสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุก ลักษณะ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุความรุนแรงขณะปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานของบุคลากรทางการแพทย์หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาลภาครัฐในเขตบริการสุขภาพที่ 6 เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดใดจุดหนึ่ง มีจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 472 คน คิดเป็นอัตราเข้าร่วมร้อยละ 81.38 ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของการประสบเหตุความรุนแรงขณะปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานในช่วง 12 เดือนก่อนทำการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 61.7 (95% CI: ร้อยละ 57.4 ถึง 65.9) โดยพบความชุกเหตุความรุนแรงทางวาจามากที่สุด รองลงมาเป็นความชุกเหตุความรุนแรงทางกาย และความชุกเหตุความรุนแรงทางเพศตามลำดับ ผู้ก่อเหตุหลักของเหตุความรุนแรงทางกาย และทางเพศ คือ ผู้ป่วย ส่วนผู้ก่อเหตุหลักของเหตุความรุนแรงทางวาจา คือ ญาติและผู้เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุความรุนแรงทางกาย คือ เพศชาย มีประสบการณ์การทำงานน้อย อาชีพพนักงานผู้ช่วย ระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ยมากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และจำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดเหตุความรุนแรงทางวาจา คือ อายุน้อย ประสบการณ์การทำงานน้อย ตำแหน่งผู้ปฏิบัติงาน มีลักษณะงานต้องปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ป่วยและญาติ มีการทำงานหมุนเวียนกะ และมีระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์เกินกว่า 48 ชั่วโมง สรุปผลการศึกษา ความชุกของการเกิดเหตุความรุนแรงขณะปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉินพบได้บ่อย และส่งผลกระทบต่อบุคลากรทั้งต่อร่างกายและจิตใจของบุคลากร การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการรับมือและป้องกันสถานการณ์ที่เหมาะสมอาจป้องกันและลดผลกระทบจากเหตุความรุนแรงขณะปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานได้


การสร้างดัชนีวัดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในโรงพยาบาลชุมชนสังกัดกระทรวงสาธารณสุขโดยอ้างอิงการวิเคราะห์ต้นทุน, ภรณี เหล่าอิทธิ Jan 2017

การสร้างดัชนีวัดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในโรงพยาบาลชุมชนสังกัดกระทรวงสาธารณสุขโดยอ้างอิงการวิเคราะห์ต้นทุน, ภรณี เหล่าอิทธิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปรับระบบบริการสุขภาพให้มีบทบาทในด้านสร้างเสริมสุขภาพถือเป็นประเด็นหลักอันหนึ่งในแนวทางการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพที่ได้รับการยอมรับและมีการดำเนินการในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ที่ผ่านมาความรู้เรื่องขอบเขตการดำเนินการงานสร้างสุขภาพและต้นทุนของกิจกรรมเหล่านั้นในโรงพยาบาลชุมชนสังกัดกระทรวงสาธารณสุขยังจำกัด การศึกษาวิจัยนี้ทำการศึกษากิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในโรงพยาบาล โดยการทบทวนบทความวิชาการนานาชาติจากฐานข้อมูล Pubmed อย่างเป็นระบบ และการสำรวจกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในโรงพยาบาลชุมชนของไทยจำนวน 225 แห่ง เพื่อรวบรวมรายการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล และ คัดเลือกกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยโรงพยาบาลส่วนหนึ่งมาทำการวิเคราะห์ต้นทุนของการให้บริการโดยใช้วิธีวิเคราะห์ต้นทุนแบบฐานกิจกรรม (activity based costing) ในโรงพยาบาลชุมชนจำนวน 3 แห่งที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามระดับโรงพยาบาล และนำข้อมูลต้นทุนเฉลี่ยรายองค์ประกอบไปใช้ในการประมาณต้นทุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพอื่น ๆ และพัฒนาเป็นดัชนีวัดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพต่อไป ผลการทบทวนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ โดยการทบทวนอย่างเป็นระบบ พบว่ามีบทความ 10 เรื่องที่เข้าเกณฑ์ โดยมีกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพที่ระบุไว้ เช่น การตรวจค่าดัชนีมวลกายของผู้มาโรงพยาบาลเพื่อส่งผู้มีปัญหาน้ำหนักเกินปรึกษาแพทย์ การให้สารไซลิทอลในหญิงตั้งครรภ์เพื่อลดการเกิดฟันผุในลูก การจัดกิจกรรมลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพในผู้ป่วยทางจิต การสำรวจกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในโรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทยพบความชุกของการจัดกิจกรรมในกลุ่มผู้ป่วยสูงที่สุด และมีการจัดกิจกรรมให้กับญาติผู้ป่วยหรือผู้มารับบริการอื่นน้อยกว่า โรงพยาบาลส่วนใหญ่มีการจัดกิจกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพให้แก่บุคลากรและประชาชนทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ได้ดำเนินงานอย่างเป็นรูปแบบแบบแผนที่แน่นอนหรือเป็นตัวชี้วัดในการประเมินผลงาน การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพหลักของโรงพยาบาลสามแห่ง ได้แก่ งานฝากครรภ์ งานคลินิคเด็กดี งานวางแผนครอบครัว และงานคลินิคอดบุหรี่ พบว่าต้นทุนเฉลี่ยต่อนาทีขององค์ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ มีความแตกต่างกันระหว่างโรงพยาบาลไม่มากนัก และมีต้นทุนเฉลี่ยต่อรายของบริการ อยู่ระหว่าง 113.77 บาทถึง 614.19 บาทในงานฝากครรภ์ ระหว่าง 162.47 บาทถึง 307.34 บาทในคลินิคเด็กดี ระหว่าง 207.04 บาทถึง 238.07 บาทในคลินิคอดบุหรี่ โดยต้นทุนต่อผู้รับบริการวางแผนครอบครัวมีความหลากหลายมากที่สุดจาก 104.40 ถึง 2,155.72 บาทขึ้นกับประเภทการวางแผนครอบครัวที่ใช้ โดยต้นทุนต่อหน่วยระหว่างโรงพยาบาลตามประเภทการให้บริการไม่แตกต่างกันชัดเจน ส่วนใหญ่ขึ้นกับรูปแบบการจัดบริการหรือการตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการที่ได้รับ การประมาณการต้นทุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพอื่น ๆ โดยใช้ต้นทุนรายองค์ประกอบพบว่าอยู่ระหว่าง 46.69 ถึง 211.81 บาท และสามารถดัดแปลงเป็นดัชนีวัดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพตั้งแต่ 1.00 ถึง 4.54 ผลการวิจัยในการศึกษานี้ สามารถช่วยผู้บริหารในแต่ละองค์กรในการบริหารจัดการทรัพยากรและกระบวนการให้เหมาะสม โดยดัชนีวัดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ใน การจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพของโรงพยาบาลชุมชนในประเทศได้ต่อไปในอนาคต


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการทำงานของมารดากับการกำเนิดทารกน้ำหนักน้อย ของสตรีมีครรภ์ที่เข้ารับการคลอดในโรงพยาบาลรัฐบาลเขตจังหวัดระยอง, ลิขสิทธิ์ โสนันทะ Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการทำงานของมารดากับการกำเนิดทารกน้ำหนักน้อย ของสตรีมีครรภ์ที่เข้ารับการคลอดในโรงพยาบาลรัฐบาลเขตจังหวัดระยอง, ลิขสิทธิ์ โสนันทะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจากการทำงาน อันประกอบด้วย ลักษณะงาน เช่น การยกของหนัก ระยะเวลาการทำงานทั้งหมดในช่วงตั้งครรภ์ ชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ การทำงานกะ ชั่วโมงการยืนทำงาน ท่าทางการทำงาน ความเครียด กับการกำเนิดทารกน้ำหนักตัวน้อยของสตรีมีครรภ์ที่มาคลอดในโรงพยาบาลรัฐบาลเขตจังหวัดระยอง วิธีการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็น hospital-based case-control study กลุ่ม Case ประกอบด้วยมารดาที่คลอดทารกน้ำหนักน้อยจำนวน 66 ราย และกลุ่ม Control ประกอบด้วยมารดาที่คลอดทารกน้ำหนักปกติจำนวน 271 รายในโรงพยาบาลรัฐบาล จำนวน 5 แห่งในจังหวัดระยอง ตั้งแต่ 1 สิงหาคม ถึง 15 พฤศจิกายน 2560 ทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วย Multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่า การสัมผัสความเย็นในงานปานกลาง เป็นปัจจัยป้องกันต่อการคลอดทารกน้ำหนักน้อย 0.31 เท่า (p-value = 0.003) การสัมผัสความเย็นในงานมาก เป็นปัจจัยป้องกันต่อการคลอดทารกน้ำหนักน้อย 0.19 เท่า (p-value = 0.010) เมื่อเทียบกับการสัมผัสความเย็นน้อย การเอี้ยวตัวในการทำงานปานกลาง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดทารกน้ำหนักน้อย 2.51 เท่า (p-value = 0.018) เมื่อเทียบกับการเอี้ยวตัวในการทำงานน้อย อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดทารกน้ำหนักน้อย 12.41 เท่า (p-value < 0.001) การมีประวัติเคยคลอดทารกน้ำหนักน้อย เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดทารกน้ำหนักน้อย 9.13 เท่า (p-value < 0.001) จากผลการศึกษานี้สรุปได้ว่า สภาวะแวดล้อมการทำงานมีความหลากหลายและขนาดตัวอย่างมีจำนวนจำกัด การศึกษานี้จึงยังไม่สามารถค้นหาปัจจัยด้านการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับการกำเนิดทารกน้ำหนักตัวน้อย และควรมีการศึกษาต่อไป


ความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลห้องผ่าตัดในโรงพยาบาลของรัฐในกรุงเทพมหานคร, วีระยุทธ บุญเกียรติเจริญ Jan 2017

ความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลห้องผ่าตัดในโรงพยาบาลของรัฐในกรุงเทพมหานคร, วีระยุทธ บุญเกียรติเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินระดับความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพยาบาลห้องผ่าตัดในโรงพยาบาลของรัฐในกรุงเทพมหานครและศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาในพยาบาลห้องผ่าตัดในหกโรงพยาบาลของรัฐในกรุงเทพมหานคร จำนวน 315 ราย โดยใช้แบบวัดความเหนื่อยหน่ายของแมสแลช ใช้สถิติการวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีความเหนื่อยหน่ายในด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการลดค่าความเป็นบุคคลอยู่ในระดับต่ำ และด้านการลดค่าความสำเร็จส่วนบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งคิดเป็นคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 20.75, 2.62 และ 33.87 ตามลำดับ โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายในด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ คือ ประสบการณ์การทำงาน ลักษณะงานที่รับผิดชอบ สัมพันธภาพระหว่างบุคลากร และการรับรู้ต่อระบบการบริการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายในด้านการลดค่าความเป็นบุคคล คือ ประสบการณ์การทำงาน ลักษณะงานที่รับผิดชอบ และการรับรู้ต่อระบบการบริการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายในด้านการลดค่าความสำเร็จส่วนบุคคล คือ ประสบการณ์การทำงาน โดยประสบการณ์การทำงานเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงลบต่อความเหนื่อยหน่ายในด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์และการลดค่าความเป็นบุคคล ในขณะเดียวกันก็เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความเหนื่อยหน่ายในด้านการลดค่าความสำเร็จส่วนบุคคลด้วย ดังนั้น ผู้บริหารจึงควรใส่ใจทั้งในกลุ่มบุคลากรที่มีประสบการณ์การทำงานน้อยและกลุ่มที่มีประสบการณ์การทำงานมากด้วยเช่นกัน สรุป กลุ่มตัวอย่างมีความเหนื่อยหน่ายในด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์และด้านการลดค่าความสำเร็จส่วนบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่ามีหลายปัจจัยสัมพันธ์กับความเหนื่อยหน่ายในด้านต่างๆ การพัฒนาปัจจัยต่างๆอาจมีส่วนช่วยป้องกันความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพยาบาลห้องผ่าตัดได้


ความตระหนักรู้ต่อการเตรียมรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในผู้ที่อาศัยในอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร, ศุภกร ตุลย์ไตรรัตน์ Jan 2017

ความตระหนักรู้ต่อการเตรียมรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในผู้ที่อาศัยในอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร, ศุภกร ตุลย์ไตรรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางเพื่อศึกษาความตระหนักรู้ต่อการเตรียมรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในผู้ที่อาศัยในอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร จำนวน 482 คน ที่ถูกเลือกมาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่กรกฎาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2560 มีอัตราตอบกลับร้อยละ 82.99 ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 29 ปี ส่วนใหญ่ไม่เคยเผชิญกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว (ร้อยละ 95.5) ประเมินตนเองว่าไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว (ร้อยละ 89.25) และที่ทำงานไม่เคยมีการจัดอบรมเพื่อให้ความรู้ต่อการเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าว (ร้อยละ 88.75) ในภาพรวม ระดับความตระหนักรู้ต่อการเตรียมรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 36.75) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตระหนักรู้ต่อการเตรียมรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว ได้แก่ สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ชั้นที่ผู้ตอบแบบสอบถามอยู่อาศัย ชั้นที่ 8-14 จำนวนชั้นของอาคารที่ทำงานสูง 15-21 ชั้น การประเมินตนเองต่อการเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว และความรู้ในการปฏิบัติตัวขณะเกิดและหลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว สรุป ผู้ที่อาศัยในอาคารสูงมีระดับความตระหนักรู้ต่อการเตรียมรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวอยู่ในระดับปานกลาง แต่ประเมินตนเองว่าไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวค่อนข้างสูง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเจ้าของอาคารจึงควรให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมและส่งเสริมให้มีมาตรการป้องกัน เช่น การจัดอบรมเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ต่อการเตรียมรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินที่อาจจะเกิดขึ้นได้


การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดระหว่างพนักงานในสำนักงานและพนักงานที่ใช้แรงงานขององค์กรแห่งหนึ่ง, สวนีย์ ศรีเจริญธรรม Jan 2017

การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดระหว่างพนักงานในสำนักงานและพนักงานที่ใช้แรงงานขององค์กรแห่งหนึ่ง, สวนีย์ ศรีเจริญธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการศึกษา ข้อมูลย้อนหลังจากโครงการ EGAT 2 ซึ่งเก็บข้อมูลระหว่าง ปี พ.ศ. 2541-2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มอาชีพกับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และศึกษาหาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Cox's proportional hazards ผลการศึกษาจากผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น 2,890 คน พบว่าพนักงานที่ใช้แรงงานมีปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ เพศชาย อายุ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ค่าไขมันในเลือด การดื่มแอลกอฮอล์ และ การสูบบุหรี่ ซึ่งมากกว่าพนักงานในสำนักงาน โดยอัตราอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของพนักงานในสำนักงาน และพนักงานที่ใช้แรงงานเป็น 3.60 และ 5.93 ต่อ 1,000 คน-ปี อัตราเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของพนักงานที่ใช้แรงงานเป็น 1.647 (95% CI 1.258, 2.157) เท่า เมื่อเทียบกับพนักงานในสำนักงาน แต่เมื่อควบคุมปัจจัยกวน พบว่าอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่แตกต่างกันระหว่างทั้งสองกลุ่มอาชีพ ผู้วิจัยเสนอแนะให้มีการลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งในพนักงานในสำนักงาน และพนักงานที่ใช้แรงงาน โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ ในกลุ่มพนักงานที่ใช้แรงงาน และการรณรงค์การออกกำลังกาย และการออกแรงกายระหว่างวันในกลุ่มพนักงานในสำนักงาน


ความรู้และการปฏิบัติตนด้านความปลอดภัยจากรังสีในบุคลากรห้องปฏิบัติการสวนหัวใจของโรงพยาบาลรัฐบาลในประเทศไทย, อภิเดช ชีวะประเสริฐ Jan 2017

ความรู้และการปฏิบัติตนด้านความปลอดภัยจากรังสีในบุคลากรห้องปฏิบัติการสวนหัวใจของโรงพยาบาลรัฐบาลในประเทศไทย, อภิเดช ชีวะประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางเพื่อศึกษาระดับของความรู้และการปฏิบัติตนด้านความปลอดภัยจากรังสีในบุคลากรห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ ในแพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย นักรังสีเทคนิค นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก จำนวน 404 คนที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการสวนหัวใจของโรงพยาบาลรัฐบาลจำนวน 28 แห่งทั่วประเทศไทย โดยการใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองเพื่อเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ระดับความรู้และการปฏิบัติตนด้านการป้องกันอันตรายจากรังสี ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่าบุคลากรร้อยละ 88.4 มีระดับคะแนนความรู้ไม่เพียงพอ และร้อยละ 35.9 มีระดับคะแนนการปฏิบัติไม่เพียงพอ พบว่ามีการใช้อุปกรณ์ป้องกันรังสีน้อยและสาเหตุหลักเกิดจากความไม่พร้อมของอุปกรณ์ นอกจากนี้พบว่าคะแนนความรู้กับคะแนนการปฏิบัติมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าบุคลากรที่ปฏิบัติงานในห้องสวนหัวใจส่วนใหญ่มีระดับความรู้และการปฏิบัติตนด้านความปลอดภัยจากรังสีไม่เพียงพอ รวมทั้งห้องสวนหัวใจส่วนใหญ่มีความไม่พร้อมของอุปกรณ์ป้องกันรังสี ควรมีการส่งเสริมหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการถึงพฤติกรรมการป้องกันรังสีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอาชีพ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาลและผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย ตลอดจนควรมีการตรวจสอบถึงความเพียงพอของอุปกรณ์ป้องกันรังสีและตรวจสอบความสมบูรณ์อย่างสม่ำเสมอ


ผลของการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกศีรษะร่วมกับการฝึกการทรงตัวในผู้สูงอายุที่มีประวัติล้ม, ณิชาภา คุ้มพะเนียด Jan 2017

ผลของการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกศีรษะร่วมกับการฝึกการทรงตัวในผู้สูงอายุที่มีประวัติล้ม, ณิชาภา คุ้มพะเนียด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการเข้าสู่อาชีพ พริตตี้ และกระบวนการรับและปรับใช้วัฒนธรรมของพริตตี้เพื่อให้ตนดำรงอยู่ในกลุ่มอาชีพและสังคมได้ โดยใช้แนวคิดเรื่องฮาบิทัส และทุน ของปิแอร์ บูร์ดิเยอร์ การศึกษานี้ ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มบุคคลที่ศึกษาแบบเจาะลึก (In-depth interview) และมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยมีพริตตี้ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีศึกษา จำนวน 11 คน ผลการศึกษาพบว่า ประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อแนวจริตของพริตตี้ เกิดจากการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมที่มีลักษณะการให้อิสระ และฝึกฝนการเอาตัวรอดให้อยู่ด้วยตนเองได้ รวมถึงการเติบโตท่ามกลางการแสดงออกในเวทีสาธารณะตั้งแต่อายุยังน้อย พริตตี้จึงมีลักษณะเด่นคือ มีความคุ้นชินกับพื้นที่สาธารณะ มีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีความช่างสังเกต และมีการวางท่วงท่าในการตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม เหล่านี้คือฮาบิทัส ที่ได้พัฒนากลายไปเป็นทักษะหรือทุนวัฒนธรรมประเภทที่มีอยู่ในตัวบุคคล (Embodied form) ซึ่งสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นทุนเศรษฐกิจ ทุนสังคม และทุนสัญลักษณ์ ต่อไป เมื่อเข้าสู่อาชีพพริตตี้แล้ว แนวจริตดังกล่าว จะเข้าไปมีผลตั้งแต่การเลือกรับงาน การเลือกลูกค้า โดยในระหว่างการทำงาน พริตตี้จะให้ความสำคัญกับการวางตัวให้เหมาะสมกับลูกค้ามากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกค้าสามารถเพิ่มระดับความเข้มข้นของรูปแบบงานที่ตนไม่ได้เลือกรับได้ โดยมีความสวยงามของรูปร่างหน้าตาและการพูด เป็นทักษะรองลงมา ความมั่นใจและความกล้าแสดงออก เป็นอันดับสุดท้าย นอกจากนี้ ฮาบิทัสยังส่งผลต่อการเลือกคู่รักของพริตตี้ ที่จะต้องให้อิสระและมีทักษะในการพึ่งตนเองได้เช่นเดียวกับตน รวมถึงการประกอบอาชีพในอนาคตหลังจากเลิกอาชีพพริตตี้แล้ว พริตตี้จะยังคงไว้ซึ่งกลุ่มอาชีพอิสระ เช่น เปิดร้านค้า หรือทำธุรกิจส่วนตัว ต่อไป


การใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อต่อการลดการสะสมแลคเตทที่เกิดจากการออกกำลังกายอย่างหนักในโปรแกรมที่ทำให้เกิดการล้าเฉพาะบาสเกตบอลในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย, ธวัชชัย พลอยแดง Jan 2017

การใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อต่อการลดการสะสมแลคเตทที่เกิดจากการออกกำลังกายอย่างหนักในโปรแกรมที่ทำให้เกิดการล้าเฉพาะบาสเกตบอลในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย, ธวัชชัย พลอยแดง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายของการศึกษานี้เพื่อศึกษาผลของการใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อต่อการลดแลคเตทในเลือดที่เกิดจากการล้าจากการออกกำลังกายแบบเฉพาะของบาสเกตบอลในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย วิธีการศึกษา การศึกษาในรูป crossover design ในนักบาสเกตบอลที่มีทักษะสูง จำนวน 19 คน (อายุ 19.95 ± 1.87 ปี ค่าดัชนีมวลกาย 22.45 ± 1.36 กิโลกรัม/ตารางเมตร และค่าความสามารถการใช้ออกซิเจนสูงสุด 47.26 ± 2.83 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที) กำหนดรูปแบบให้ใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อ (แรงกดที่ผิวหนัง 16.71 ± 1.35 มิลลิเมตรปรอท) สลับกับกางเกงเลคกิ้ง (3.79 ± 1.47 มิลลิเมตรปรอท) ในลำดับการสุ่มที่เว้นระยะระหว่างโดยเว้นระยะห่างในแต่ละรูปแบบ 5 วัน ทำการวัดระดับความเข้มข้นของแลคเตทจากเลือดที่ปลายนิ้ว สมรรถภาพการกระโดดสูงสุด และ การวัดคลื่นสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ gastrocnemius ก่อนและหลังการออกกำลังกายแบบเฉพาะของบาสเกตบอล ผลการศึกษา ผลของกางเกงรัดกล้ามเนื้อขณะออกกำลังกายมีค่าแลคเตทในเลือดน้อยกว่ากลุ่มกางเกงเลคกิ้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่า integrated electromyography และ median frequency ขณะใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อและกางเกงเลคกิ้งช่วงหลังออกกำลังกายเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนออกกำลังกายลดลงแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าสหสัมพันธ์ (correlation) ระหว่าง การเปลี่ยนแปลง median frequency กับการเปลี่ยนแปลงของระดับแลคเตทในเลือด มีค่าความสัมพันธ์ที่ r = .2 และ r = .47 ในขณะใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อและกางเกงเลคกิ้ง ตามลำดับ สรุปผล ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มกางเกงรัดกล้ามเนื้อสามารถช่วยลดการสะสมของแลคเตทในเลือดขณะออกกำลังกายเฉพาะบาสเกตบอลที่ทำให้เกิดอาการล้าได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการใส่กางเกงเลคกิ้ง


การทำงานของกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกและความสูงจากพื้นของเท้าขณะวิ่งเปลี่ยนทิศทางในคนที่มีและไม่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าเรื้อรัง, วรพงษ์ คงทอง Jan 2017

การทำงานของกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกและความสูงจากพื้นของเท้าขณะวิ่งเปลี่ยนทิศทางในคนที่มีและไม่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าเรื้อรัง, วรพงษ์ คงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าเรื้อรัง (CAI) เป็นผลมาจากการเกิดข้อเท้าแพลงซ้ำ และคนที่มีภาวะ CAI ยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดข้อเท้าแพลงซ้ำได้อีก การระบุถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบริเวณรอบข้อสะโพกร่วมกับการระบุตำแหน่งของเท้าในคนที่มีภาวะ CAI ขณะมีการเคลื่อนไหว จะเป็นประโยชน์ในการฟื้นฟูคนที่มีภาวะ CAI ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นในการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพก (hip muscle activities) และความสูงจากพื้นของเท้า (foot clearance) ในช่วง terminal swing phase ขณะวิ่งเปลี่ยนทิศทางในคนที่มีและไม่มีภาวะ CAI โดยมีผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนักกีฬาที่มีภาวะ CAI 22 คน และนักกีฬาที่ไม่มีภาวะ CAI 22 คน ทุกคนจะได้รับการติด surface electrode EMG ที่กล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกข้างที่มีภาวะ CAI ในกลุ่ม CAI และข้างถนัดในกลุ่ม control เพื่อบันทึกข้อมูล muscle activity และติด reflective marker ที่ขาท่อนล่างและเท้าทั้งสองข้าง เพื่อบันทึกความสูงจากพื้นของเท้า จากนั้นผู้เข้าร่วมวิจัยวิ่งเปลี่ยนทิศทางด้วยความเร็ว 3.5 - 5 เมตรต่อวินาที ผลการศึกษาพบว่า percent change of muscle activation ของกล้ามเนื้อ Adductor Magnus กล้ามเนื้อ Gluteus Medius และกล้ามเนื้อ Tensor Fascia Latae มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ระหว่างกลุ่ม CAI และกลุ่ม control และค่าความสูงจากพื้นของเท้าในกลุ่ม CAI มีค่าน้อยกว่ากลุ่ม control อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ผลการศึกษาทำให้ทราบว่า คนที่มีภาวะ CAI มีความสูงจากพื้นของเท้าต่ำกว่าคนที่ไม่มีภาวะ CAI ขณะวิ่งเปลี่ยนทิศทาง ส่งผลให้กล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกทำงานมากขึ้นเพื่อชดเชยภาวะดังกล่าว และเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดข้อเท้าแพลงซ้ำ ดังนั้นในโปรแกรมการฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีภาวะ CAI จึงควรให้ความสำคัญกับการฝึกกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพก รวมถึงการให้ความสำคัญกับตำแหน่งของเท้าในขณะเคลื่อนไหวด้วย


ผลของการออกกำลังกายต่อการไหลเวียนเลือดที่แขนในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหลังรับประทานอาหารในผู้ที่มีความดันโลหิตปกติซึ่งเป็นทายาทของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง, วิไลวรรณ จุฑาภักดีกุล Jan 2017

ผลของการออกกำลังกายต่อการไหลเวียนเลือดที่แขนในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหลังรับประทานอาหารในผู้ที่มีความดันโลหิตปกติซึ่งเป็นทายาทของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง, วิไลวรรณ จุฑาภักดีกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายที่ระดับความหนักสูงสลับกับปานกลาง ต่อการไหลเวียนเลือดที่แขนในชายสุขภาพดีที่มีความดันโลหิตปกติและเป็นทายาทของผู้ที่มีความดันโลหิตปกติ (ONT) (n=13) เปรียบเทียบกับชายสุขภาพดีที่มีความดันโลหิตปกติและเป็นทายาทของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง (OHT) (n=13) ซึ่งการวิจัยเป็นเชิงทดลองแบบสุ่มข้ามกลุ่ม โดยสุ่มแยกอาสาสมัครในแต่ละกลุ่มออกเป็น 2 แบบ โดยแบบที่ 1 ออกกำลังกายก่อนรับประทานน้ำตาล จากนั้นอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ตามด้วยการรับประทานน้ำตาลเพียงอย่างเดียว ซึ่งการทดสอบแบบที่ 2 ทำสลับกับแบบที่ 1 โดยอาสาสมัครทั้งหมดได้รับการวัดระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขน ก่อนและภายหลังการรับประทานน้ำตาลทุกๆ 30 นาทีจนครบ 4 ชั่วโมงพบว่า หลังการรับประทานน้ำตาลอย่างเดียว ระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่ม OHT (23.82±1.39 ml/100ml/min เป็น 20.61±1.75 ml/100ml/min, p<0.01) และในกลุ่ม ONT (26.84±2.47 ml/100ml/min เป็น 24.29±2.58 ml/100ml/min, p<0.01) และการออกกำลังกายก่อนรับประทานน้ำตาลพบว่า ระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่ม OHT (23.72±1.68 ml/100ml/min เป็น 27.25±1.91 ml/100ml/min, p<0.01) และในกลุ่ม ONT (26.74±2.86 ml/100ml/min เป็น 34.07±2.14 ml/100ml/min, p<0.01) ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่าเมื่อกลุ่ม OHT มีค่าระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขนเพิ่มขึ้นน้อยกว่ากลุ่ม ONT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จึงสรุปได้ว่าการออกกำลังกายที่ระดับความหนักสูงสลับกับปานกลาง สามารถเพิ่มระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขนในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหลังรับประทานน้ำตาล ในคนที่มีความดันโลหิตปกติทั้งที่มีและไม่มีประวัติความดันโลหิตในครอบครัว


การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดแบบครอบจักรวาลและการตรวจคัดกรองเฉพาะทารกกลุ่มเสี่ยงในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช, สาธนี งามสง่า Jan 2017

การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดแบบครอบจักรวาลและการตรวจคัดกรองเฉพาะทารกกลุ่มเสี่ยงในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช, สาธนี งามสง่า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา : การได้ยินบกพร่องในทารกแรกเกิดเป็นภาวะพิการลำดับที่ 3 ของโลก การศึกษานี้ วัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบต้นทุนต่อประสิทธิผลในการตรวจแต่ละประเภท เพื่อเลือกการตรวจที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด วัตถุประสงค์รองเพื่อศึกษาสัดส่วนของทารกการได้ยินบกพร่องและหาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้การได้ยินในทารกผิดปกติ วิธีการศึกษา : เป็น Retroprospective Descriptive Study Design แบบ Cross-sectional Analogue ประเมินความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Evaluation) ของการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิด เก็บข้อมูลหลัก 2 ส่วน คือ ต้นทุนจากการตรวจแต่ละโปรแกรม และผลที่ได้จากการตรวจคัดกรองและการตรวจการยืนยันการวินิจฉัย ข้อมูลทั่วไปและปัจจัยเสี่ยง ผลการศึกษา : ทารกกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการตรวจการได้ยินจำนวน 1,134 คน ความชุกของภาวะสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 6.60 และทารกทั้งหมดในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชร้อยละ 4.50 ทารกที่ตรวจการได้ยินพบภาวะการได้ยินผิดปกติแบบรุนแรงและถาวรที่หูทั้งสองข้างมีจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 0.53 ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์ ได้แก่ มารดาติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ ศีรษะและใบหน้าผิดปกติ และน้ำหนักแรกคลอดน้อย ตรวจวัดเสียงสะท้อนจากเซลล์ขนในหูชั้นใน (Target OAE) เฉพาะทารกกลุ่มเสี่ยงมีต้นทุน 53,689.83 บาทเมื่อเทียบกับ 1 จำนวนปีที่มีการปรับคุณภาพชีวิต ต้นทุนอรรถประโยชน์ น้อยกว่า 100,000 บาทต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น จัดเป็นเทคโนโลยีที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด สรุป : ความชุกของภาวะสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 6.60 ทารกที่ตรวจการได้ยินพบภาวะการได้ยินผิดปกติแบบรุนแรงและถาวรที่หูทั้งสองข้างคิดเป็นร้อยละ 0.53 ความเสี่ยงที่สัมพันธ์ ได้แก่ การติดเชื้อ ศีรษะและใบหน้าผิดปกติ น้ำหนักน้อย การตรวจคัดกรองที่คุ้มค่าที่สุดคือตรวจการได้ยินเฉพาะทารกกลุ่มเสี่ยงโดยการตรวจเสียงสะท้อนจากเซลล์ขนในหูชั้นใน


ดีเอ็นเอเมทิลเลชันในเม็ดเลือดขาวและเซลล์เยื่อบุข้อของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม, นิภาภรณ์ ธีระวัฒนพงศ์ Jan 2017

ดีเอ็นเอเมทิลเลชันในเม็ดเลือดขาวและเซลล์เยื่อบุข้อของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม, นิภาภรณ์ ธีระวัฒนพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการอักเสบเรื้อรังภายในข้อทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมสภาพ และมีการงอกของเนื้อกระดูกบริเวณขอบข้อ และการอักเสบบริเวณเยื่อบุข้อ โดยพบมากในผู้สูงอายุ กระบวนการอักเสบภายในข้อของผู้ป่วยมีผลต่อการความไม่สมดุลของจีโนม การแสดงออกของยีนภายในร่างกาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการควบคุมของ DNA methylation ผ่านกลไกของ epigenetics อย่างไรก็ตามการศึกษา LINE-1 methylation กับระดับความรุนแรงของโรคข้อเสื่อมยังมีจำนวนน้อย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวัดระดับ LINE-1 methylation และความยาวเทโลเมียร์ (relative telomere length, RTL) ในเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม และศึกษาผลของ tumor necrosis factor-α (TNF-α) ภาวะเครียดออกซิเดชัน (H2O2) และสารต้านอนุมูลอิสระ (tocopheryl acetate, TA) ต่อระดับ LINE-1 methylation ในเซลล์เยื่อบุข้อ รวมถึงระดับการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคข้อเสื่อม โดยวิเคราะห์ระดับ LINE-1 methylation ด้วย combined bisulfite restriction analysis (COBRA) LINE-1 และวัดระดับการแสดงออกของยีนและ RTL ด้วย quantitative real-time polymerase chain reaction (qRT-PCR) ผลการศึกษาพบระดับ LINE-1 methylation ต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญในเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (P=0.008) นอกจากนี้ LINE-1 methylation (r = -0.300, P <0.001) และความยาวเทโลเมียร์ (r = -0.361, P < 0.01) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับความรุนแรงของโรคข้อเสื่อมโดยเกณฑ์ภาพถ่ายรังสี Kellgren-Lawrence (KL) grading แต่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับข้อมูลทางคลินิก แบบประเมิน VAS scores, KOOS, WOMAC และ Lesquense index ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม และระดับ LINE-1 hypomethylation ในเซลล์เม็ดเลือดขาวส่งผลต่อความเสี่ยงของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR=1.97; 95%CI 1.11-3.49; P=0.02) ส่วนเซลล์เยื่อบุข้อมีระดับ LINE-1 methylation แนวโน้มต่ำลงในระยะเวลา 1 วัน หลังจากได้รับ 10 ng/ml TNF-α, 100 µM H2O2 และ pre-treatment ด้วย 50 µM TA ในทางกลับกันเซลล์เยื่อบุข้อในกลุ่มที่ได้รับ 10 ng/ml TNF-α มีระดับการแสดงออกของยีน IL-1ß, IL-6, MMP-3 และ VEGF สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลการศึกษานี้ทำให้สรุปได้ว่า LINE-1 methylation อาจมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการอักเสบและอาจนำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้การดำเนินไปของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม


Induction Of Interleukin-1 Receptor Antagonist (Il-1ra) By Porcine Reproductive And Respiratory Syndrome Virus (Prrsv), Teerawut Nedumpun Jan 2017

Induction Of Interleukin-1 Receptor Antagonist (Il-1ra) By Porcine Reproductive And Respiratory Syndrome Virus (Prrsv), Teerawut Nedumpun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Porcine respiratory and reproductive syndrome virus (PRRSV) is one of the major pathogens affecting pig production industry worldwide. Impaired innate and adaptive immune responses are evidenced through the course of PRRSV infection. Several evidences indicate that PRRSV suppresses host immune responses via several immune evasion strategies. Interleukin-1 receptor antagonist (IL-1Ra) is known as an early inhibitory cytokine that suppresses innate immune functions and T lymphocyte responses. The aims of this study were to explore the induction of IL-1Ra by PRRSV and the negative immunomodulatory effects of PRRSV-induced IL-1Ra on porcine immune responses. In this study, the previous monocytes-derived dendritic cells …


ความชุกของความผิดปกติทางพยาธิสภาพของกระดูกจากโรคไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังชาวไทยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, สุธานิธิ เลาวเลิศ Jan 2017

ความชุกของความผิดปกติทางพยาธิสภาพของกระดูกจากโรคไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังชาวไทยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, สุธานิธิ เลาวเลิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การดูแลรักษาภาวะระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนเกินแบบทุติยภูมิในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้รับพัฒนาเป็นอย่างมากในช่วงหลังแต่ยังขาดหลักฐานเชิงประจักษ์อีกหลายประการ เนื่องจากการวินิจฉัยมาตรฐานจำเป็นต้องอาศัยการตรวจทางพยาธิสภาพของกระดูก ปัจจุบันแนวทางเวชปฏิบัติได้แนะนำระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนเป้าหมายโดยมีพิสัยค่อนข้างกว้าง ดังนั้นการสืบหาระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนที่เหมาะสมในกลุ่มประชากรจำเพาะจึงมีความจำเป็น โดยเฉพาะในประชากรไทย การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาหาความชุกของของภาวะความผิดปกติทางกระดูกแต่ละชนิดของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอดเลือดในประชากรไทยโดยใช้การเจาะตรวจกระดูกเพื่อตรวจพยาธิสภาพของกระดูก และเพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างสารบ่งชี้ทางชีวภาพกระดูกและพยาธิสภาพกระดูก รวมถึงประเมินระดับที่เหมาะสมของระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมน วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวางในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังชาวไทยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 22 คน โดยจะได้รับการตรวจวัดระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมน แคลเซียม ฟอสเฟต วิตามินดี สารบ่งชี้ทางชีวภาพกระดูก ได้แก่ tartrate-resistant acid phosphatase-5b และ bone specific alkaline phosphatase และจะได้รับการตรวจพยาธิสภาพของกระดูกโดยใช้เทคนิคการติดฉลากกระดูกด้วยยาเตตราซัยคลิน เพื่อใช้ประกอบการวัดพารามิเตอร์โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เฉพาะทาง ชนิดของภาวะความผิดปกติทางกระดูกจะถูกจำแนกตาม การหมุนเวียนของกระดูก การสะสมแร่ธาตุในกระดูก และ ปริมาตรกระดูก นอกจากนี้ผู้ป่วยจะได้รับการวัดมวลกระดูกและระดับแคลเซียมสะสมในหลอดเลือดหัวใจ ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษามีอายุเฉลี่ย 48 ±10 ปี ระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนเฉลี่ย 523±238 พิโคกรัมต่อมิลลิลิตร ระยะเวลาในการบำบัดทดแทนไตด้วยการฟอกไตเฉลี่ย 64 เดือน พบว่าภาวะ adynamic bone disease ถึงร้อยละ 50 osteitis fibrosa พบได้ร้อยละ 40.9 และ mixed uremic osteodystrophy พบได้ร้อยละ 9.1 ไม่พบผู้เข้าร่วมการศึกษาที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นภาวะกระดูกน่วมหรืออะลูมินัมเป็นพิษ ระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนที่ 484.5 พิโคกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถใช้ทำนายภาวะหมุนเวียนกระดูกสูงได้พื้นที่ใต้เส้นโค้งเท่ากับ 0.86 (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ที่ 0.70-1.0) โดยมีความไวและความจำเพาะเป็น 0.82 และ 0.82 ตามลำดับ สรุปผลการศึกษา: Adynamic bone disease เป็นชนิดของความผิดปกติทางกระดูกในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังชาวไทยที่ได้รับการฟอกเลือดที่พบมากที่สุด ถึงแม้ระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนจะอยู่ใกล้เกณฑ์พิสัยบนของระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนเป้าหมายตามแนวทางเวชปฏิบัติ KDIGO การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการเจาะตรวจกระดูกเพื่อตรวจพยาธิสภาพของกระดูกเพื่อการวินิจฉัยภาวะความผิดปกติทางกระดูกในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังยังเป็นเครื่องมือมาตรฐานและมีความจำเป็นเพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและช่วยในการเลือกการรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีภาวะความผิดปกติทางกระดูก


ต้นทุนประสิทธิผลการใช้ Xpert Mtb/ Rif สำหรับวินิจฉัยวัณโรคปอดในประเทศไทย, จิราภรณ์ คุ้มศรี Jan 2017

ต้นทุนประสิทธิผลการใช้ Xpert Mtb/ Rif สำหรับวินิจฉัยวัณโรคปอดในประเทศไทย, จิราภรณ์ คุ้มศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัณโรค ยังคงเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตสิบอันดับแรกทั่วโลกในปี พ.ศ. 2559 ซึ่งองค์การอนามัยโลกมีเป้าหมายต้องการเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ เพื่อรักษาผู้ป่วยตั้งแต่แรกเริ่มเช่นเดียวกับนโยบายในประเทศไทย การศึกษานี้เป็นการประเมินความคุ้มค่าของเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยวัณโรคได้แก่วิธี Xpert MTB / RIF ซึ่งเป็นวิธีใหม่ที่อาจจะช่วยตอบสนองการค้นหาผู้ป่วยได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับวิธีการตรวจเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน การศึกษานี้ใช้วิธีการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผล จากการสร้างแบบจำลองแผนภูมิต้นไม้เพื่อการตัดสินใจ ซึ่งออกแบบมาเพื่อคำนวณต้นทุนที่ใช้ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่สงสัยว่าเป็นวัณโรคปอด ผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ประเมินได้แก่การวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง ระยะเวลาที่ใช้ในการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง และปีที่มีคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์เพิ่มขึ้น การวิเคราะห์ใช้มุมมองทางสังคมและผู้ให้บริการ ผลการศึกษาทางคลินิกพบว่าวิธี Xpert MTB / RIF ลดระยะเวลาในการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องน้อยลงเฉลี่ย 2.23 วัน เมื่อเทียบกับวิธีการตรวจเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์ และผลการศึกษาโดยใช้แบบจำลองมอนติคาร์โลวิเคราะห์ผู้สงสัยวัณโรคปอด 1,000 ราย พบว่าวิธี Xpert MTB / RIF จะมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องเฉลี่ย 673 ราย (95% CI 655.21-691.22) และปีที่มีคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 945.85 (95% CI 945.71-945.98) ภายใต้ต้นทุน 4,507,985.01 บาท (95% CI 4,504,783-4,511,187) ส่วนวิธีการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์จะมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องเฉลี่ย 592 ราย (95% CI 577.34-605.84) และปีที่มีคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 940.40 (95% CI 940.27-940.53) ภายใต้ต้นทุน 6,195,005.58 บาท (95% CI 6,191,388-6,198,623) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสองวิธีพบว่า วิธี Xpert MTB / RIF จะมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องมากกว่าอีกวิธี จำนวน 81 ราย โดยมีปีที่มีคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์เพิ่มขึ้นรวม 5.45 ปี แต่มีต้นทุนต่ำกว่า 1,687,020.58 บาท จึงถือว่าวิธี Xpert MTB / RIF มีความคุ้มค่ามากกว่าวิธีการตรวจเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์ ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์ความอ่อนไหวทั้งแบบอาศัยความน่าจะเป็นและไม่อาศัยความน่าจะเป็น พบว่าการใช้วิธี Xpert MTB / RIF ยังคงมีความคุ้มค่ามากกว่าวิธีเดิม …


การเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานสองชนิดต่อระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำ การทำงานของกล้ามเนื้อและจลนศาสตร์การเคลื่อนไหวบริเวณลำตัวส่วนบนในพนักงานออฟฟิศเพศหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด, อาทิตา ก่อการรวด Jan 2017

การเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานสองชนิดต่อระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำ การทำงานของกล้ามเนื้อและจลนศาสตร์การเคลื่อนไหวบริเวณลำตัวส่วนบนในพนักงานออฟฟิศเพศหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด, อาทิตา ก่อการรวด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานสองชนิดเป็นเวลา 12 สัปดาห์ต่อระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำ การทำงานของกล้ามเนื้อ และจลนศาสตร์บริเวณลำตัวส่วนบนในพนักงานออฟฟิศเพศหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด อายุเฉลี่ย 29.5?4.09ปี สุ่มแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน ได้แก่ กลุ่มควบคุม (ยืดกล้ามเนื้อ) กลุ่มปั่นจักรยาน A (นั่งหลังตรงบนจักรยานอยู่กับที่) และกลุ่มปั่นจักรยาน B (นั่งก้มตัวไปด้านหน้าบนจักรยานไฮบริดจ์) อาสาสมัครจะได้รับการวัดระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำและระดับความรุนแรงของอาการปวด หลังทดสอบพิมพ์งานหรือปั่นจักรยาน รวมถึงวัดการทำงานของกล้ามเนื้อและจลนศาสตร์การเคลื่อนไหวขณะพิมพ์งานหรือปั่นจักรยาน โดยทดสอบในวันแรกหลัง 6 สัปดาห์ 12 สัปดาห์ และติดตามผล 2 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมจะได้รับโปรแกรมการยืดกล้ามเนื้อ ขณะที่กลุ่มปั่นจักรยานจะออกกำลังกายระดับปานกลางถึงหนัก 30นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า ระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำทั้ง 3 กลุ่มเพิ่มขึ้น และระดับความรุนแรงของอาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนการทำงานของกล้ามเนื้อ พบว่าขณะพิมพ์งานและปั่นจักรยาน กล้ามเนื้อ cervical erector spinae ทำงานมากกว่ากล้ามเนื้อ upper trapezius และ lower trapezius อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และพบว่าในกลุ่มปั่นจักรยาน A มีมุมศีรษะและลำตัวมากกว่ากลุ่มปั่นจักรยาน B แต่มีมุมช่วงไหล่น้อยกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ซึ่งสัมพันธ์กับท่าทางในการปั่นจักรยานแต่ละชนิด จึงสรุปได้ว่า การปั่นจักรยานทั้งสองชนิดที่ระดับความหนักปานกลางถึงหนัก (50-70%HRR) เป็นเวลา 12 สัปดาห์ สามารถเพิ่มระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำ และลดระดับความรุนแรงของอาการปวดได้เช่นเดียวกับการยืดกล้ามเนื้อซึ่งเป็นการรักษาพื้นฐานในพนักงานออฟฟิศเพศหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด