Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Mass Communication

PDF

Theses/Dissertations

2021

Institution
Keyword
Publication

Articles 181 - 190 of 190

Full-Text Articles in Entire DC Network

ผลของมาตรฐานความงามและประเภทสินค้าต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค, ชญานิศ เหมประชิตชัย Jan 2021

ผลของมาตรฐานความงามและประเภทสินค้าต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค, ชญานิศ เหมประชิตชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ในรูปแบบ 2x2 แฟคทอเรียล (Factorial Design) ดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบหลักและผลกระทบร่วมกันของ 2 ปัจจัย คือ (1) มาตรฐานความงามในโฆษณา (มาตรฐานความงามแบบดั้งเดิม และมาตรฐานความงามแบบใหม่) และ (2) ประเภทสินค้า (ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางระดับเคาน์เตอร์แบรนด์ และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางระดับดรักสโตร์) ที่ส่งผลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค ผู้เข้าร่วมการทดลองเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เรียนวิชาหลักการประชาสัมพันธ์ จำนวน 125 คน แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดลองออกเป็น 4 กลุ่มตามเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ผลการวิจัยพบว่า มาตรฐานความงามในโฆษณาไม่ส่งผลกระทบทางตรงต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภคที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และประเภทสินค้าไม่ส่งผลกระทบทางตรงต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภคที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 อีกทั้งเมื่อพิจารณาในส่วนของผลกระทบร่วมกันของทั้ง 2 ปัจจัย พบว่า มาตรฐานความงามในโฆษณาและประเภทสินค้าส่งผลกระทบร่วมกันต่อทัศนคติต่อโฆษณา แต่ไม่ส่งผลกระทบร่วมกันต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภคที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05


การสื่อสารนักลงทุนสัมพันธ์การเปิดรับสื่อ ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจลงทุนในบริษัทการค้าปลีกมหาชนของนักลงทุน, ชยุตม์ ล้ำเลิศสุข Jan 2021

การสื่อสารนักลงทุนสัมพันธ์การเปิดรับสื่อ ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจลงทุนในบริษัทการค้าปลีกมหาชนของนักลงทุน, ชยุตม์ ล้ำเลิศสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา ถึงการสื่อสารนักลงทุนสัมพันธ์การเปิดรับสื่อ ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจลงทุนในบริษัทการค้าปลีกมหาชนของนักลงทุน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อหาความสัมพันธ์ของการสื่อสารนักลงทุนสัมพันธ์การเปิดรับสื่อ ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจลงทุนในบริษัทการค้าปลีกมหาชนของนักลงทุน อายุระหว่าง 20-60ปี ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ใช้การสุ่มตัวอย่าง(Sampling) เป็นการสร้างแบบสอบถามออนไลน์เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ชุดผลการศึกษาพบว่า (1)พบกว่ามีนักลงทุนเพศชายมากที่สุดจำนวน 222 คน คิดเป็นร้อยละ 55.5 และในลำดับต่อมาคือ เพศหญิงจำนวน 178 คน คิดเป็นร้อยละ 44.5 (2)นักลงทุนมีการเปิดรับข่าวสารผ่าน Facebook เป็นระดับสูงสุดที่ 3.67 รองลงมาคือ เว็บไซต์ 3.41 เพื่อน 3.20 Youtube 3.15 และน้อยที่สุดคือ โฆษณาในโรงภาพยนตร์ 1.60 (3)ผลการวิจัยในด้านภาพลักษณ์องค์กร พบว่า นักลงทุนให้ความสำคัญในด้านภาพลักษณ์องค์กร คิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (M = 4.16,SD 0.619) (4)ผลวิจัยในด้านทัศนคติต่อการสื่อสารนักลงทุนสัมพันธ์ พบว่า นักลงทุนให้ความสำคัญต่อ นักลงทุนสัมพันธ์ด้วยค่าเฉลี่ย 4.00(5)ผลวิจัยในด้านความตั้งใจลงทุนของนักลงทุน พบว่า นักลงทุนให้ความสำคัญต่อ ความตั้งใจลงทุนด้วยค่าเฉลี่ย 4.23


รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับสื่อ และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมสร้างสุขภาพและชะลอวัยของกลุ่มผู้บริโภคที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ, ปภัสสร บูรณมานัส Jan 2021

รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับสื่อ และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมสร้างสุขภาพและชะลอวัยของกลุ่มผู้บริโภคที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ, ปภัสสร บูรณมานัส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายรูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มผู้บริโภคที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ และเพื่อสำรวจการเปิดรับสื่อและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมสร้างสุขภาพและชะลอวัยของกลุ่มผู้บริโภคที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 50-59 ปี จำนวน 530 คน ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มผู้ที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ แบ่งได้เป็น 13 รูปแบบ ได้แก่ 1) กลุ่มคนชอบเที่ยวแบบชิลล์ ๆ 2) กลุ่มไฮเทค กระฉับกระเฉง 3) กลุ่มใส่ใจสุขภาพ การดูแลตนเอง 4) กลุ่มรักสวยรักงามรักการแต่งตัว 5) กลุ่มใช้ชีวิตบนเน็ต 6) กลุ่มความคิดก้าวหน้า 7) กลุ่มรักการอยู่บ้าน 8) กลุ่มสุขภาพ รักการออกกำลังกาย 9) กลุ่มสายบุญ 10) กลุ่มคนรักอิสระ 11) กลุ่มคนพิจารณากับการใช้จ่าย 12) กลุ่มชีวิตอนาล็อก และ 13) กลุ่มการทำงานคือชีวิตจิตใจ กลุ่มตัวอย่างเปิดรับสื่อเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมสร้างสุขภาพและชะลอวัยผ่านช่องทางสื่อโดยรวมอยู่ในระดับน้อย มีเพียงการเปิดรับสื่อผ่านช่องทางสื่อใหม่ เช่น ยูทูบ แอปพลิเคชันชอปปิง ที่อยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าการเปิดรับสื่อโดยรวมมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมสร้างสุขภาพและชะลอวัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้ เป็นความสัมพันธ์เชิงบวกและอยู่ในระดับต่ำ


ปัจจัยพยาการณ์ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงของกลุ่มผู้บริโภค, พรรณวดี หิรัญศุภโชค Jan 2021

ปัจจัยพยาการณ์ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงของกลุ่มผู้บริโภค, พรรณวดี หิรัญศุภโชค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจการเปิดรับสื่อ ทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดและทัศนคติต่อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตาของผู้บริโภค 2) เพื่อสำรวจการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตาของผู้บริโภค และ 3) เพื่ออธิบายอิทธิพลของการเปิดรับสื่อ ทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดและทัศนคติต่อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตาที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตาของผู้บริโภค เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสอบถามจากกลุ่มผู้บริโภคที่เคยมีประวัติซื้อสินค้าหรือใช้บริการด้านการเสริมดวงชะตา 400 คน ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 24 – 41 ปี อยู่ระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานบริษัทเอกชนและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในระดับ 15,001 – 30,000 บาท สำหรับพฤติกรรมด้านการซื้อสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตา ส่วนใหญ่ใช้บริการการดูดวง อยู่ที่ 3 – 5 ครั้งต่อเดือน ค่าใช้จ่ายต่อครั้งอยู่ที่ 300 – 500 บาท โดยเน้นวัตถุประสงค์ในเรื่องความรัก ส่วนใหญ่มีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตา จากเพื่อนฝูง ครอบครัว คนใกล้ตัว และตัดสินใจซื้อและใช้บริการด้วยตัวเอง มีการเปิดรับสื่อข่าวสารข้อมูลด้านช่องทางการเปิดรับสื่อออนไลน์และออฟไลน์ และทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดของสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตา ในด้านประเภทของสื่อที่เปิดรับ, ด้านช่องทางการเปิดรับสื่อ, ด้านเนื้อหาการเปิดรับสื่อ ในระดับมากทั้งหมด ด้านทัศนคติต่อสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตา ในด้านความรู้ความเข้าใจ และด้านอารมณ์ความรู้สึก อยู่ในระดับเห็นด้วยมากทั้งหมด เช่นเดียวกันกับการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตาพบว่าเห็นด้วยในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ช่วงอายุที่แตกต่างกันส่งผลต่อทัศนคติต่อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตาที่แตกต่างกัน และปัจจัยพยากรณ์ด้านทัศนคติต่อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตามีอิทธิพลต่อการมีการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตา ส่วนปัจจัยพยากรณ์ด้านการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตาไม่มีอิทธิพลต่อการมีการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตา


การเปิดรับสื่อ ความพึงพอใจ การรับรู้ความเสี่ยง และความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มกาแฟแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้าน, วรรษา รักหลวง Jan 2021

การเปิดรับสื่อ ความพึงพอใจ การรับรู้ความเสี่ยง และความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มกาแฟแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้าน, วรรษา รักหลวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อ ความพึงพอใจ การรับรู้ความเสี่ยง และความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มกาแฟแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้าน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และเคยพบเห็นสื่อเกี่ยวกับเครื่องดื่มกาแฟแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้านประเภทแคปซูลหรือถุงพร้อมดื่มในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเปิดรับสื่อเกี่ยวกับเครื่องดื่มกาแฟแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้านโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจต่อสื่อเกี่ยวกับเครื่องดื่มกาแฟแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้านอยู่ในระดับมาก 3) กลุ่มตัวอย่างรับรู้ความเสี่ยงในการซื้อเครื่องดื่มกาแฟแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้านในระดับปานกลาง และ 4) กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มกาแฟแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้านอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) การเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพึงพอใจต่อสื่อเกี่ยวกับเครื่องดื่มกาแฟแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้าน 2) การเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการรับรู้ความเสี่ยงในการซื้อเครื่องดื่มกาแฟแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้าน 3) การเปิดรับสื่อ ความพึงพอใจ และการรับรู้ความเสี่ยงมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มแบบสมัครสมาชิกจัดส่งถึงบ้าน 4) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุแตกต่างกันและกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีการเปิดรับสื่อแตกต่างกัน และ 5) กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาที่สำเร็จสูงสุดแตกต่างกันมีความตั้งใจซื้อแตกต่างกัน


การวิเคราะห์ภาพตัวแทนของผู้หญิงล้านนาในละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคบริบทภาคเหนือ, วัชรวีร์ ไชยยายนต์ Jan 2021

การวิเคราะห์ภาพตัวแทนของผู้หญิงล้านนาในละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคบริบทภาคเหนือ, วัชรวีร์ ไชยยายนต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพตัวแทนของผู้หญิงล้านนาในละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคบริบทภาคเหนือ โดยศึกษาละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคบริบทภาคเหนือจำนวน 3 เรื่อง ซึ่งออกอากาศทางช่อง 3HD ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1.การวิเคราะห์ตัวบทละคร 2.การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ผลิต ได้แก่ ผู้เขียนบทละครโทรทัศน์และผู้จัดละครโทรทัศน์ 3.การจัดกลุ่มสนทนาผู้ชมละครโทรทัศน์ที่เป็นผู้หญิงล้านนา ผลการวิจัยพบว่า ภาพตัวแทนของผู้หญิงล้านนาในละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคบริบทภาคเหนือทั้ง 3 เรื่อง มีการสร้างภาพตัวแทนของความเป็นแม่ ความเป็นเมีย และความเป็นลูกสาว ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากสถาบันครอบครัวทั้งสิ้น ผู้หญิงล้านนาส่วนใหญ่มีหน้าที่สนับสนุนความสำเร็จของคู่ครองและทำหน้าที่ดูแลทุกอย่างภายในบ้าน ดังนั้นการถ่ายทอดอุดมการณ์ทางความคิดจากรุ่นสู่รุ่นจึงตกเป็นหน้าที่ของผู้หญิง ภาพตัวแทนผู้หญิงล้านนาในละครบางเรื่องจึงแสดงออกถึงความเป็นแม่และความเป็นเมียควบคู่กัน ภาพตัวแทนของผู้หญิงล้านนาที่แสดงออกมา มีการประกอบสร้างภาพตัวแทนโดยการนำบริบทของวัฒนธรรมปัจจุบันผสมผสานเข้าไปกับวัฒนธรรมล้านนาแบบดั้งเดิม ดังนั้นภาพตัวแทนที่แสดง จึงเป็นสิ่งที่กระทบเข้าไปในการรับรู้และความรู้สึกของผู้ชม เนื่องจากภาพตัวแทนที่เห็นนั้นเป็นเหมือนภาพสะท้อนของตัวเอง ก่อให้เกิดการตั้งคำถามว่าเราควรทำหรือไม่ควรทำตามภาพสะท้อนที่เห็น และถ้าเราอยู่ ณ เวลานั้นในอดีต เราจะทำอย่างไร อีกประการ การสร้างภาพตัวแทนผู้หญิงล้านนาในละคร ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงทางสังคมในหลายแง่มุม เพราะสิ่งที่ปรากฏในละครบางอย่างยังคงอยู่ในปัจจุบัน


ทัศนคติและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลที่มีต่อตราสินค้าเครื่องสำอางที่มีบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นเจ้าของในประเทศไทยและต่างประเทศ, สิรีธร ศิวายพราหมณ์ Jan 2021

ทัศนคติและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลที่มีต่อตราสินค้าเครื่องสำอางที่มีบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นเจ้าของในประเทศไทยและต่างประเทศ, สิรีธร ศิวายพราหมณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยส่วนแรกเป็นการวิเคราะห์เอกสารจากบัญชีผู้ใช้อย่างเป็นทางการของตราสินค้าเครื่องสำอางไทยและต่างประเทศ บนช่องทางเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม จำนวน 373 ชิ้น เพื่อวิเคราะห์การสื่อสารการตลาดของตราสินค้าเครื่องสำอาง และการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มมิลเลนเนียล อายุ 26-38 ปี จำนวน 400 คน เพื่อสำรวจ อธิบายความสัมพันธ์และความแตกต่างของลักษณะทางประชากร ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค ผลการวิเคราะห์เอกสารพบว่า ตราสินค้าเครื่องสำอางไทยและต่างประเทศมีการสื่อสารการตลาดที่มีเนื้อหาเพื่อแจ้งให้ทราบมากที่สุด นิยมใช้โทนสีแบบสดใส ฉากประกอบแบบสตูดิโอ และบุคคลที่มีชื่อเสียงในลักษณะถ่ายแบบ ทั้งนี้พบว่าตราสินค้าไทยจะมีลักษณะการให้ข้อมูลที่ละเอียดมาก ในขณะที่ตราสินค้าต่างประเทศจะมีการให้ข้อมูลที่ละเอียดน้อย ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับของทัศนคติในด้านเนื้อหาเพื่อให้ความรู้ และการให้ข้อมูลที่ละเอียดมากมากที่สุด โดยผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์ และทัศนคติต่อตราสินค้าเครื่องสำอางไทยและต่างประเทศ มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อีกทั้งอายุและรายได้ ส่งผลต่อทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์ และเพศ อายุ และรายได้ ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ อีกทั้งทัศนคติต่อตราสินค้าเครื่องสำอางไทยและทัศนคติต่อตราสินค้าเครื่องสำอางต่างประเทศ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความชื่นชอบ ด้านความซื่อสัตย์ และด้านการรับรู้อำนาจ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


อิทธิพลของการออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชันต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภค, สุธาทิพย์ มีสุวรรณ Jan 2021

อิทธิพลของการออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชันต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภค, สุธาทิพย์ มีสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน ความรู้สึกของผู้บริโภค (ได้แก่ อารมณ์ ทัศนคติต่อการใช้งานโมไบล์แอปพลิเคชัน ทัศนคติต่อตราสินค้า และความไว้วางใจได้) และประสบการณ์ของผู้บริโภค (ได้แก่ ความพึงพอใจ ความถี่ในการซื้อ และความภักดีต่อการใช้งานโมไบล์แอปพลิเคชัน) และ 2) อิทธิพลของการออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน ต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ จาก 1) กลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 20 – 39 ปี ที่มีการดาวน์โหลดและเคยซื้อสินค้าผ่านโมไบล์แอปพลิเคชันของตราสินค้า UNIQLO อย่างน้อย 1 ครั้ง ในระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 325 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 20 – 39 ปี ที่มีการดาวน์โหลดและเคยซื้อสินค้าผ่านโมไบล์แอปพลิเคชันของตราสินค้า H&M อย่างน้อย 1 ครั้ง ในระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 242 คน รวมทั้งหมด 567 คน ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟส ความรู้สึกของผู้บริโภค และประสบการณ์ของผู้บริโภคตราสินค้า UNIQLO และตราสินค้า H&M แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสำหรับตราสินค้า UNIQLO การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน ในมิติของสุนทรียศาสตร์ในการออกแบบ และการรับรู้ถึงความมีประโยชน์ มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภคมากที่สุด ขณะที่การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน ในมิติของการรับรู้ถึงความเพลิดเพลิน มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านโมไบล์แอปพลิเคชันของตราสินค้า H&M มากที่สุด


การสร้างสรรค์การแสดงเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน, อองฟอง เอี่ยมประพันธ์ Jan 2021

การสร้างสรรค์การแสดงเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน, อองฟอง เอี่ยมประพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน เป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่นำเสนอเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และประเพณีของชุมชนกุฎีจีน ผ่านนิทรรศการที่จัดแสดงวัตถุและป้ายคำบรรยายที่อธิบายวัตถุอย่างตรงไปตรงมาตามปกติ ซึ่งนับเป็นการสื่อสารตามรูปแบบของพิพิธภัณฑ์วิทยา (Museology) ที่มีเป้าหมายในการอนุรักษ์วัตถุอันเป็นมรดกสืบทอดของมนุษย์และเผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ (Creative Research) เพื่อสร้างสรรค์การแสดงเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน และเพื่อศึกษาทัศนคติของผู้เข้าชมต่อการแสดงรูปแบบพิพิธภัณฑ์นาฏกรรมตามแนวคิดพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ (New Museology) ที่ให้ความสำคัญกับผู้เข้าชมในฐานะผู้รับสารที่มีส่วนร่วมมากกว่าการพิจารณาเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ โดยผู้วิจัยได้สร้างสรรค์การแสดงเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน 1 เรื่อง เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ผ่านขั้นเตรียมการแสดง ขั้นจัดการแสดง และขั้นหลังการแสดง ผลการวิจัยพบว่า การแสดงรูปแบบพิพิธภัณฑ์นาฏกรรมได้ทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหรือวิถีชุมชนได้ในเชิงของภาพ อารมณ์ และความรู้สึก ซึ่งสะท้อนให้เห็นบริบทแวดล้อมในมิติต่าง ๆ ผ่านเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ประกอบฉาก และบทสนทนาของตัวละคร รวมถึงเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้ผู้เข้าชมอยากศึกษาเรียนรู้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การคัดเลือกประเด็นหรือเนื้อหาในการนำเสนอผ่านการแสดงเพื่อให้ผู้เข้าชมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนกุฎีจีน ควรคำนึงถึงกลุ่มผู้เข้าชมเป้าหมายเป็นหลัก เพราะผู้เข้าชมที่มีอายุ ความรู้ และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ย่อมมีผลต่อการรับรู้ที่แตกต่างกันด้วย


คุณลักษณะของศิลปินเกาหลีและเนื้อหาจากรายการเรียลลิตี้ค้นหาศิลปินของประเทศเกาหลีใต้, สุธาวี ไพบูลย์ Jan 2021

คุณลักษณะของศิลปินเกาหลีและเนื้อหาจากรายการเรียลลิตี้ค้นหาศิลปินของประเทศเกาหลีใต้, สุธาวี ไพบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาของรายการเรียลลิตี้ค้นหาศิลปินของประเทศเกาหลีใต้ และวิเคราะห์คุณลักษณะของศิลปินเกาหลีใต้ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา โดยสร้างตารางวิเคราะห์เนื้อหาของรายการโปรดิวซ์ 101 ฤดูกาลที่ 1 โปรดิวซ์ 101 ฤดูกาลที่ 2 และ โปรดิวซ์ 48 และตารางวิเคราะห์คุณลักษณะของผู้ชนะที่ได้รับคัดเลือกเป็นศิลปินจากรายการดังกล่าว ก่อนนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์แล้วนำเสนอในแบบพรรณณาวิเคราะห์ผลการศึกษาพบว่า 1) ขั้นตอนการสร้างศิลปินของประเทศเกาหลีใต้ที่พบจากรายการทั้ง 3 ฤดูกาล มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน คือ การทดสอบระดับทักษะ การแข่งขันแบบกลุ่ม การแข่งขันตามตำแหน่ง การประเมินแนวคิด และการประเมินเพลงเดบิวต์ 2) การเล่าเรื่องของทั้ง 3 ฤดูกาลแบ่งเนื้อหารายการออกเป็น 7 ช่วง ได้แก่ การเปิดตัวหรือเปิดเรื่อง การสร้างเรื่องราว การแสดงเพลงและทำภารกิจ การเรียนและการซ้อม การประกาศภารกิจหรือประกาศผลคะแนน กิจกรรมพิเศษ และเบื้องหลังอื่น ๆ เนื้อหาแต่ละช่วงมีรสเกิดขึ้นหลากหลายซึ่งรสที่เกิดขึ้นในรายการมีทั้งหมด 7 รส ได้แก่ รักหรือพึงพอใจ สนุกหรือตลกขบขัน สงสารหรือเห็นใจ ชื่นชมความพยายามหรือความตั้งใจ แปลกใจหรือประหลาดใจ หงุดหงิดหรือโกรธ และกลัวหรือตื่นเต้นตกใจ รสที่พบเพิ่มและไม่อยู่ในทฤษฎีรสและภาวะ คือ ความรู้สึกเครียดหรือกดดัน 3) คุณลักษณะของกลุ่มศิลปินเกาหลี ได้แก่ รูปร่างหน้าตาและภาพลักษณ์ดูดี เต้นและร้องหรือแรปได้ในเวลาเดียวกัน ท่าเต้นมีความสวยงามเป็นระเบียบ แสดงสีหน้าท่าทางเพื่อสื่ออารมณ์เพลงอย่างชัดเจน และผ่านขั้นตอนการฝึกมาอย่างเป็นระบบ คุณลักษณะของศิลปินเกาหลีรายบุคคลแบ่งเป็นคุณลักษณะภายใน ได้แก่ มีความมุ่งมั่นและแรงจูงใจ มีความอดทนไม่ย่อท้อ มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ มีภาพลักษณ์หรือทัศนคติเชิงบวก และคุณลักษณะภายนอก ได้แก่ รูปลักษณ์ภายนอกดูดี มีทักษะความสามารถที่จำเป็นในการเป็นศิลปิน มีความสามารถในการแสดงสีหน้าท่าทาง และมีทักษะพิเศษที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานในวงการบันเทิง