Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Life Sciences

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

Articles 31 - 60 of 379

Full-Text Articles in Entire DC Network

Development Of High Protein Beverage From Hydrolyzed Egg White, Nuntorn Charoensak Jan 2022

Development Of High Protein Beverage From Hydrolyzed Egg White, Nuntorn Charoensak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The primary objective of this study was to examine the impact of enzymatic treatment on pasteurized egg white protein (EWP) and assess its influence on various physicochemical properties and antioxidant activity. Our findings revealed that the addition of SDAY10 enzymes led to a significant increase in lightness (L*), redness (a*), and yellowness (b*) parameters. Furthermore, higher concentrations of the enzyme resulted in a considerable reduction in pH, viscosity, and volume mean diameter (D4,3) of EWP protein compared to the control group (P < 0.05). Additionally, the application of SDAY10 enzyme (0.1-0.3% w/v) for EWP hydrolysis exhibited a noteworthy enhancement in antioxidant activity (measured by DPPH, ABTS, and FRAP assays) compared to lower enzyme concentrations. Notably, the 0.3% concentration of SDAY10 exhibited the highest release of amino acids during in vitro digestion and received the highest sensory evaluation score. Consequently, employing SDAY10 enzymes at a concentration of 0.3% w/v for EWP hydrolysis demonstrates significant potential for improving the physical properties of EWP and enhancing antioxidant activity. However, it is imperative to investigate the sensory evaluation with regards to the bitterness of the product developed using such enzymes.


Effects Of Heat And Uv-C Curing On Properties Of Soy Protein Film, Tanjina Akter Jan 2022

Effects Of Heat And Uv-C Curing On Properties Of Soy Protein Film, Tanjina Akter

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to investigate the effects of heat curing and UV-C curing on properties of soy protein film. Both the heat and UV-C treatments were applied to either film-forming solution or pre-formed film. In the first part, film-forming solution or pre-formed film was cured at 60, 70, or 80°C for 2, 4, or 6 h. Heat curing had no effect on film thickness (p>0.05), but it did improve tensile strength of the films. Pre-formed film cured at 70°C for 4 h exhibited the highest tensile strength (3.49 MPa), which was 1.8 times higher than the control. Increasing Raman …


Exploring Flavor Enhancer Metabolites Of Chaya Leaves Cnidoscolus Spp., Nuti Hutasingh Jan 2022

Exploring Flavor Enhancer Metabolites Of Chaya Leaves Cnidoscolus Spp., Nuti Hutasingh

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Umami, described as brothy and meat-like flavor, is one of the key factors in the successful savory food product development. It acts as a taste enhancer and improves overall acceptability. Monosodium glutamate (MSG) is the most common synthetic compound added to savory providing umami taste. Many consumers, however, have a negative attitude toward this substance. Thus, natural ingredients providing umami taste as a substitute for MSG could be beneficial for commercial purposes. Chaya (Cnidoscolus spp.) is a fast-growing and drought-resistant plant whose leaves have been widely used as a dried umami seasoning. However, the key umami substances in the leaves …


D-Lactic Acid Fermentation Platform From Oil Palm Trunk Sap By Sporolactobacillus Terrae Sbt-1, Naphatsawan Sukaiem Jan 2022

D-Lactic Acid Fermentation Platform From Oil Palm Trunk Sap By Sporolactobacillus Terrae Sbt-1, Naphatsawan Sukaiem

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Lactic acid is an organic acid that contains two enantiomers, L- and D-lactic acid, and is considered the most potential monomer for many industrial products. Lactic acid has versatile applications in the pharmaceutical, food, textile, chemical, and leather industries moreover in poly-lactic acid (PLA) manufacturing. While L-lactic acid is well known in many commercial products and studies, only a few studies on D-lactic acid were found. Lactic acid can be produced either by microbial fermentation or chemical synthesis. Approximately 90 percent of the total lactic acid produced worldwide is via microbial fermentation which provides an optically pure L- or D-lactic …


The Effect Of High Dose Ascorbic Acid And High Dcad Administration On Oxidative Stress And Mammary Gland Function Of Dairy Goat Fed Under Tropical Condition, Sapon Semsirmboon Jan 2022

The Effect Of High Dose Ascorbic Acid And High Dcad Administration On Oxidative Stress And Mammary Gland Function Of Dairy Goat Fed Under Tropical Condition, Sapon Semsirmboon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

High ambient temperature (HTa) increased the respiration rate (RR) and rectal temperature (Tr) of dairy goats. The excess response resulted in acid-base imbalance, electrolyte imbalance, and systemic oxidative which could indirectly affect the mammary gland. Besides, HTa did directly alter cell function, and this has been proposed to be mediated by oxidative stress. We previously showed that high dietary cation and anion differences (DCAD) could decrease the HTa effect. In dairy cows, a high dose ascorbic acid (Asc) has been used to decrease oxidative stress. Then, It was hypothesized whether mammary gland function could be altered when the HTa was …


Microencapsulation Of Basil Oil And Its Effect On Replacement Of Antibiotic Growth Promoter, Antioxidant Status And Gut Functions Of Broilers, Sureerat Thuekeaw Jan 2022

Microencapsulation Of Basil Oil And Its Effect On Replacement Of Antibiotic Growth Promoter, Antioxidant Status And Gut Functions Of Broilers, Sureerat Thuekeaw

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this work were 1) to study the preparation and characterization of microencapsulated basil oil (MBO), 2) to determine the stability of MBO against simulated gastrointestinal tract and storage 3) to investigate the antimicrobial and antioxidant properties of MBO and 4) to evaluate the supplementation of MBO on growth performance, antioxidant status, ileal digestibility and intestinal morphology in broiler chickens. The present work demonstrates the use of double-layered polymers (chitosan, CS and sodium alginate, SA) with opposite charges leading to a dual pH responsiveness. The double-layered microcapsule was studied on physicochemical characteristics, the swelling performance as well as …


Production And Biological Activities Of Oligo Pectin From Early Immature Fruit Of Durio Zibethinus L., Aunchiya Pitaksa Jan 2022

Production And Biological Activities Of Oligo Pectin From Early Immature Fruit Of Durio Zibethinus L., Aunchiya Pitaksa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Early immature durian (EID) fruits, 30-45 days after anthesis with 6-12 cm in length, are considered agricultural waste from cultivation. It is known that durian rinds of mature fruits contain pectin, but there have been no reports on the pectin content of early immature durian (EID) fruits. Therefore, the objective of this study was to determine the pectin content in EID fruits. We extracted pectin from EID fruits using distilled water at different temperatures (25°C, 50°C, and 75°C) for 1 h to investigate pectin content. Instrumental analyses, including X-ray diffraction (XRD) and Fourier Transform Infrared Spectrometer (FT-IR), confirmed the presence …


Effects Of Lipopolysaccharide On Mandibular And Tibial Bone Regenerationin A Murine Model Of Sle Induced By Fcγriib Deficiency, Sirikanda Jantaboon Jan 2022

Effects Of Lipopolysaccharide On Mandibular And Tibial Bone Regenerationin A Murine Model Of Sle Induced By Fcγriib Deficiency, Sirikanda Jantaboon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Although systemic lupus erythematosus (SLE) is known as the autoimmune disease that triggers inflammation and bone impairment, the mechanisms leading to the decrease in bone regeneration remain inadequately characterized. Patients with SLE have been observed high prevalence in bone loss due to host immune responses that may induce host antimicrobial activities. Here, this study used systemic and local lipopolysaccharide (LPS) administration for mimicking infectious condition in FcγRIIB−/− mice as a lupus murine model. The results showed FcγRIIB lacking FcγRIIB−/− in mice with local and systemic LPS led to decreased cancellous bone volume in their drilled hole region of tibial and …


Effect Of Drying Process On Functional Properties Of Chicken Breast Powder And Application In High Protein Pancake, Kiatkhajorn Thassanasuttiwong Jan 2021

Effect Of Drying Process On Functional Properties Of Chicken Breast Powder And Application In High Protein Pancake, Kiatkhajorn Thassanasuttiwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Drying is one of food preservative methods. However, several drying methods are applied using different drying conditions and techniques that could affect the quality and functional properties of dried products. Chicken breast powder is an upcoming alternative high protein source to replace the consumption of whey protein powder, especially Asian people who are lactose intolerant. Therefore, this presentation aimed to prepare and compare three types of dried chicken breast powder produced from different drying methods. Physical properties of low lactose and protein rich pancakes using chicken breast powder were then determined. There are three drying methods all operated at 65 …


การสกัดเพกทินจากเปลือกโกโก้และการประยุกต์เป็นสารเคลือบบริโภคได้, รวิษฎา ผลสิน Jan 2021

การสกัดเพกทินจากเปลือกโกโก้และการประยุกต์เป็นสารเคลือบบริโภคได้, รวิษฎา ผลสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีสกัดต่อปริมาณและคุณภาพของเพกทินจากเปลือกโกโก้ ศึกษาสมบัติการเป็นพรีไบโอติก (prebiotic activity) ของเพกทิน และการประยุกต์ใช้เป็นสารเคลือบบริโภคได้ เพื่อยืดอายุการเก็บของมะเขือเทศ โดยศึกษาวิธีสกัด 3 วิธี ดังนี้ วิธีทางเอนไซม์ (แปร 3 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณเอนไซม์เพกทิเนส 0.5 และ 1.0% อุณหภูมิในการบ่ม 40 และ 60 องศาเซลเซียส และเวลาในการบ่ม 120 และ 240 นาที) วิธีทางเคมี (แปร 2 ปัจจัย ได้แก่ ความเป็นกรดเบสของสารละลาย pH 4.0 และ pH 10.0 และอุณหภูมิในการสกัด 60 70 และ 80 องศาเซลเซียส) และวิธีคลื่นอัลตราซาวด์ช่วยสกัด (แปรระยะเวลาโซนิเคชัน 20 30 และ 40 นาที) จากการทดลองพบว่าภาวะที่สามารถสกัดปริมาณเพกทินได้มากที่สุดจากวิธีทางเคมี วิธีทางเอนไซม์ และวิธีคลื่นอัลตราซาวด์ช่วยสกัด คือ การสกัดด้วยปริมาณเอนไซม์ 1.0% v/v อุณหภูมิในการบ่ม 60 องศาเซลเซียส และเวลาในการบ่ม 240 นาที (ร้อยละ 24.38±0.15) การสกัดด้วยสารละลาย pH 4.0 และอุณหภูมิในการสกัด 70 องศาเซลเซียส (ร้อยละ 7.78±0.41) และการสกัดด้วยระยะเวลาโซนิเคชัน 20 นาที (ร้อยละ 14.87±0.19) ตามลำดับ โดยเพกทินที่สกัดจากเปลือกโกโก้ทุกภาวะมีระดับเอสเทอริฟิเคชันมากกว่า 50% ดังนั้นจึงจัดเป็น high methoxyl (HM) pectin จากนั้นศึกษาสมบัติการเป็นพรีไบโอติกและความหนืดของเพกทินที่ได้จากภาวะที่สามารถสกัดเพกทินได้มากที่สุดของแต่ละวิธีการสกัด และพบว่าเพกทินที่สกัดด้วยวิธีคลื่นอัลตราซาวด์ช่วยสกัดมีสมบัติการเป็นพรีไบโอติกสูงที่สุด ในขณะที่การเพิ่มอัตราเฉือนส่งผลให้ความหนืดของเพกทินที่สกัดด้วยวิธีทางเอนไซม์มีค่าลดลงมากที่สุด รองลงมา คือ วิธีคลื่นอัลตราซาวด์ช่วยสกัดและวิธีทางเคมี ตามลำดับ จากการใช้เพกทินที่สกัดด้วยวิธีคลื่นอัลตราซาวด์ช่วยสกัดมาประยุกต์ใช้เป็นสารเคลือบบริโภคได้กับมะเขือเทศ และติดตามการเปลี่ยนแปลงของมะเขือเทศที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 …


การรักษาเสถียรภาพของผงสารสกัดบีตาไซยานินจากเปลือกแก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดง Hylocereus Polyrhizus โดยใช้ไฮโดรคอลลอยด์และการประยุกต์ใช้ในเครื่องดื่มจำลอง, วิถวานี เทพปรียากุลกาล Jan 2021

การรักษาเสถียรภาพของผงสารสกัดบีตาไซยานินจากเปลือกแก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดง Hylocereus Polyrhizus โดยใช้ไฮโดรคอลลอยด์และการประยุกต์ใช้ในเครื่องดื่มจำลอง, วิถวานี เทพปรียากุลกาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวิธีการสกัดที่เหมาะสมต่อปริมาณสารบีตาไซยานินจากเปลือกแก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดง (Hylocereus polyrhizus) และศึกษาชนิดและความเข้มข้นของสารไฮโดรคอลลอยด์ในการทำแห้งสารสกัดบีตาไซยานินด้วยเทคนิค Freeze drying รวมถึงการประยุกต์ใช้ผงสารสกัดบีตาไซยานินลงในเครื่องดื่มจำลองระหว่างการเก็บรักษา โดยเปรียบเทียบวิธีการสกัดสารบีตาไซยานิน 4 วิธี ได้แก่ วิธีดั้งเดิมโดยแช่ในตัวทำละลาย (CE) วิธีใช้คลื่นอัลตราโซนิคแบบจุ่มโพรบและแบบอ่างแช่ (Ul-P, Ul-B) และวิธีแบบผสมระหว่างวิธีดั้งเดิมกับวิธีอัลตราโซนิคแบบจุ่มโพรบ (CE-P) พบว่าวิธีการสกัด CE-P ได้ปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพมากที่สุด (p≤0.05) ทั้งสารบีตาไซยานิน สารประกอบฟีนอลิก และสารฟลาโวนอยด์ (151.80 ± 1.09, 34.27 ± 0.80 และ 4.42 ± 0.18 mg/100ml ตามลำดับ) ชนิดสารบีตาไซยานินในสารสกัดประกอบไปด้วย Phyllocactin มากที่สุด รองลงมาได้แก่ Betanin และ Butyrylbetanin ตามลำดับ จากนั้นนำสารสกัดด้วยวิธี CE-P ที่ได้ไปทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง โดยศึกษาผลการใช้ไฮโดรคอลลอยด์ 5 ชนิด ได้แก่ มอลโทเดกซ์ตริน (MD 20% w/v) กัวร์กัม (GG 0.5% w/v) แซนแทนกัม (XG 0.5% w/v) ส่วนผสมของมอลโทเดกซ์ตรินกับกัวร์กัม (MD:GG 10:1 w/v) และส่วนผสมของมอลโทเดกซ์ตรินกับแซนแทนกัม (MD:XG 10:0.1 w/v) โดยเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 ◦C เป็นเวลา 8 สัปดาห์ การใช้ไฮโดรคอลลอยด์สามารถช่วยเพิ่มร้อยละผลผลิตที่ได้และช่วยลดค่ากิจกรรมของน้ำได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับผงสารสกัดบีตาไซยานินที่ไม่ได้ใช้ไฮโดรคอลลอยด์ (ตัวควบคุม) จึงทำให้ผงสารสกัดบีตาไซยานินมีความเสถียรมากกว่า เนื่องจากค่ากิจกรรมของน้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสลายตัวของสารบีตาไซยานิน จากการวิเคราะห์ค่าคงที่ของอัตราการสลายตัว (k) พบว่าการใช้ GG และ MD:GG สามารถช่วยรักษาเสถียรภาพของสารบีตาไซยานินได้ดีในระหว่างการเก็บรักษา โดยมีค่าเท่ากับ 0.020 ± 0.00 และ 0.041 ± 0.00 ตามลำดับ ซึ่งค่า k …


การย่อยสลายเสริมกันของกลุ่มแบคทีเรียและการประยุกต์ใช้เซลล์ตรึงในการย่อยสลายปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน, ณัฐริกา เหล่าธรรมทีป Jan 2021

การย่อยสลายเสริมกันของกลุ่มแบคทีเรียและการประยุกต์ใช้เซลล์ตรึงในการย่อยสลายปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน, ณัฐริกา เหล่าธรรมทีป

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การบำบัดน้ำมันรั่วไหลด้วยวิธีทางชีวภาพ เป็นวิธีการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำงานเสริมกันของกลุ่มแบคทีเรียในย่อยสลายน้ำมันปิโตรเลียม และพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (polycyclic aromatic hydrocarbons; PAHs) และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบ กลุ่มแบคทีเรียตรึง โดยพบว่ากลุ่มแบคทีเรีย OPK ซึ่งประกอบด้วย Mycolicibacterium spp. PO1 และ PO2 Novoshingobium pentaromativorans PY1 และ Bacillus subtilis FW1 ทำงานเสริมกันในการย่อยสลายไพรีน PAHs ผสม อัลเคนสายสั้นและสายยาว และน้ำมันดิบ และสามารถคงประสิทธิภาพสูงภายใต้การแปรผันค่า pH (5.0-9.0) อุณหภูมิ (30-40 องศาเซลเซียส) ความเค็ม (20-60‰) ข้อมูลจีโนมจากงานวิจัยก่อนหน้านี้ ร่วมกับการทดสอบประสิทธิภาพการย่อยสลาย การทดสอบการสร้างสารลดแรงตึงผิว และ/หรือการวิเคราะห์ ทรานส์คริปโตมิกส์ บ่งชี้ว่า Mycolicibacterium เป็นแบคทีเรียที่มีบทบาทหลักในการย่อยสลาย PAHs และน้ำมันดิบ โดย NidAB เป็นเอนไซม์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายสารผสมไพรีนและฟลูออแรนทีนซึ่งเป็นตัวแทนของ PAHs มวลโมเลกุลสูง นอกจากนี้ ribosomal protein, iron transporter, ABC transporters และ stress response proteins อาจมีบทบาททำให้สายพันธุ์ PO1 และ PO2 อยู่รอดในสภาวะกดดัน Novosphingobium มีส่วนช่วยในการย่อยสลายสารตัวกลางในวิถีการย่อยสลาย และ Bacillus สร้างสารลดแรงตึงผิว ซึ่งคาดว่าช่วยทำให้แบคทีเรียหลักเข้าถึงสารมลพิษได้ดีขึ้น นอกจากนี้การวิเคราะห์ข้อมูลจีโนมเพิ่มเติม พบยีน alkB และ CYP153 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการย่อยสลายอัลเคนในแบคทีเรียทุกสายพันธุ์ของกลุ่มแบคทีเรีย การพัฒนาต่อยอดกลุ่มแบคทีเรีย OPK ตรึงบนซีโอไลท์สำหรับบำบัดสิ่งแวดล้อมปนเปื้อนน้ำมันดิบ พบว่า กลุ่มแบคทีเรียตรึงสามารถกำจัดน้ำมันดิบความเข้มข้น 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตรในน้ำทะเลได้ 74 เปอร์เซ็นต์ใน 96 ชั่วโมง และสามารถใช้ซ้ำได้อย่างน้อย 5 รอบ การเติมกลุ่มแบคทีเรียตรึง OPK ในระบบนิเวศจำลองดินทรายช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกำจัดน้ำมันดิบ (ความเข้มข้น 10,000 …


สังคมแบคทีเรียและเมแทบอโลมในทางเดินอาหารของหนอนพยาธิตัวกลม (Ascaris Lumbricoides) ในผู้ป่วยไทย, ปวิช กลมเกลียว Jan 2021

สังคมแบคทีเรียและเมแทบอโลมในทางเดินอาหารของหนอนพยาธิตัวกลม (Ascaris Lumbricoides) ในผู้ป่วยไทย, ปวิช กลมเกลียว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคพยาธิไส้เดือน (Ascariasis) คือ การติดเชื้อพยาธิในลำไส้อันเกิดจากพยาธิไส้เดือน (Ascaris lumbricoides) ที่พบมากในประเทศกำลังพัฒนา และมีแนวโน้มต่อการดื้อยาต้านพยาธิในมนุษย์มากยิ่งขึ้น จากองค์ความรู้ในปัจจุบันพบว่าสังคมแบคทีเรียในลำไส้มีบทบาทสำคัญต่อสรีรวิทยา และภูมิคุ้มกันของมนุษย์ อย่างไรก็ตามพยาธิ และแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ที่สภาพแวดล้อมเดียวกันกลับไม่พบรายงานปฏิสัมพันธ์อย่างชัดเจน เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนเหล่านี้จึงทำการศึกษาสังคมแบคทีเรียในลำไส้ของพยาธิ และอุจจาระของมนุษย์ด้วยเทคโนโลยีวิเคราะห์ลำดับเบสยุคใหม่ (NGS; Next-generation sequencing) ผลการศึกษาพบว่าสถานะการติดเชื้อโรคพยาธิสัมพันธ์กับรูปแบบของสังคมแบคทีเรียในลำไส้หนอนพยาธิ นอกจากนี้ยังทำการศึกษาเมตาโบโลมในลำไส้พยาธิผ่านการระบุชนิด และโครงสร้างของสารเมแทบอไลต์ด้วยเทคโนโลยีวิเคราะห์อัลตราไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโทกราฟี-แมสส์สเปกโทรเมตรี (UHPLC-MS; Ultra-high performance liquid chromatography-mass spectrometry) พบระดับของสารชีวโมเลกุลที่จำเป็นอาทิ กรดอะมิโน ไขมัน และสารตั้งต้นของนิวคลีโอไทด์เพิ่มมากขึ้นในพยาธิที่แยกได้จากผู้ป่วยที่ติดเชื้อรุนแรง ซึ่งสรุปได้ว่าสารเมแทบอไลต์เหล่านี้เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตไข่พยาธิและการเกิดโรคพยาธิไส้เดือน จึงเป็นที่น่าสนใจว่าการค้นพบนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการทำงานของแบคทีเรียในลำไส้หนอนพยาธิ รวมถึงช่วยให้ค้นพบแนวทางในการรักษาโรคปรสิตแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


การพัฒนาหน่วยควบแน่นแบบระเหยสำหรับระบบปรับอากาศขนาดกลาง, ไปรยา ทองเหลือง Jan 2021

การพัฒนาหน่วยควบแน่นแบบระเหยสำหรับระบบปรับอากาศขนาดกลาง, ไปรยา ทองเหลือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หน่วยควบแน่นแบบระเหย (Evaporative condenser unit) คือการอาศัยหลักการระเหยของน้ำมาช่วยเพิ่มความสามารถในการระบายความร้อนของเครื่องปรับอากาศ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาหน่วยควบแน่นแบบระเหยและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ ได้แก่ ความชื้นสัมพัทธ์โดยรอบ (Ambient relative humidity) และอัตราการไหลของน้ำ (Water flow rate) โดยออกแบบคอยล์เสริมเพื่อเป็นบริเวณที่ใช้ในการฉีดพ่นน้ำ พบว่าการเชื่อมต่อคอยล์เสริมบริเวณดิสชาร์จสูงกว่าบริเวณลิควิด 3.5% การทดลองเพื่อศึกษาเปลี่ยนแปลงค่าความชื้นสัมพัทธ์ควบคุมโดยปรับค่าความเร็วอากาศพบว่าเมื่อความเร็วอากาศลดลงทำให้ความชื้นสัมพัทธ์เพิ่มขึ้น และความสามารถในการระบายความร้อนมีค่าสูงสุดในช่วงความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง 73.1% ถึง 80.9% การทดลองศึกษาการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลของน้ำพบว่าพื้นที่สัมผัสบริเวณผิวคอยล์เสริมมากจะสามารถลดอุณหภูมิของสารทำความเย็นได้มากเช่นกัน นอกจากนี้ขนาดของหัวฉีดพ่นและความชื้นสัมพัทธ์ยังส่งผลต่อการลดลงของอุณหภูมิสารทำความเย็นอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นในการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพการทำงานของต้นแบบหน่วยควบแน่นแบบระเหยพบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพจากเครื่องปรับอากาศที่ระบายความร้อนด้วยลมปกติได้สูงถึง 20.36%


ความต้องการทางการตลาดของเทคโนโลยีเครื่องควบแน่นแบบระเหยสำหรับระบบปรับอากาศในกลุ่มตลาดใหม่, กมลวรรณ บรรจงแก้ว Jan 2021

ความต้องการทางการตลาดของเทคโนโลยีเครื่องควบแน่นแบบระเหยสำหรับระบบปรับอากาศในกลุ่มตลาดใหม่, กมลวรรณ บรรจงแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ 1. ศึกษาลักษณะตลาดเครื่องปรับอากาศ แนวโน้มการตลาด และลักษณะของตลาดผลิตภัณฑ์ เครื่องควบแน่นแบบระเหยสำหรับระบบปรับอากาศ (Evaporative Condensing Unit) ที่บริษัทต้องการพัฒนา 2. ศึกษาแนวทางการพัฒนาตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ในสองรูปแบบ คือ แบบติดตั้งเพิ่มเติม (Retrofitting) และแบบที่ติดตั้งสำเร็จ (Built-in) โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้จัดการดูแลงานโครงการภาคใต้ และผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้งซ่อมบำรุงระบบเครื่องปรับอากาศ 10 คน, บุคคลทั่วไป 10 คน และเจ้าของสถานประกอบการ 4 คน ร่วมกับการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ชุด ชุดแรกสำหรับผู้จัดการดูแลงานโครงการภาคใต้ และผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้งซ่อมบำรุงระบบเครื่องปรับอากาศ 10 คน ชุดที่ 2 สำหรับกลุ่มตัวอย่างผู้ที่เคยซื้อ หรือกำลังตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ 400 คน โดยใช้วิธีแจกแบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูล ซึ่งใช้สถิติพรรณนา และสถิติอนุมาน ในการวิเคราะห์รายงานผล ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องควบแน่นแบบระเหย เพียงร้อยละ 0.8 โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่มีพฤติกรรมค้นหาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันจากหลายยี่ห้อ จากผู้จัดจำหน่ายหลายแห่งก่อนการตัดสินใจซื้อ ซึ่งส่วนใหญ่สนใจจะซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่แบบที่ติดตั้งสำเร็จ (Built-in) และแบบติดตั้งเพิ่มเติม (Retrofitting) ช่วง 6-10 ปี ข้างหน้าโดยผู้บริโภคจะยอมจ่ายเพื่อซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องควบแน่นแบบระเหยแบบที่ติดตั้งสำเร็จ (Built-in) ขนาด 25,000 btu/h ประเภทธรรมดา (Fix speed) ในช่วงราคา 30,252-31,421 บาท สำหรับเครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องควบแน่นแบบระเหยแบบที่ติดตั้งสำเร็จ (Built-in) ขนาด 36,000 btu/h ประเภทธรรมดา (Fix speed) ในช่วงราคา 47,369-52,020 บาท สำหรับผู้บริโภคกลุ่มเจ้าของกิจการจะยอมจ่ายเพื่อซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องควบแน่นแบบระเหยแบบที่ติดตั้งสำเร็จ (Built-in) ขนาด 25,000 btu/h ประเภทธรรมดา (Fix speed) ไม่เกิน 37,828 บาท สำหรับเครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องควบแน่นแบบระเหยแบบที่ติดตั้งสำเร็จ (Built-in) ขนาด 36,000 btu/h ประเภทธรรมดา (Fix speed) ไม่เกิน 66,587.81 …


การพัฒนาเทคนิค Multiplex Allele-Specific Recombinase Polymerase Amplification With Dipstick Chromatography (Mas-Rpa-Dc) ในการวินิจฉัยการดื้อยา Rifampicin ของเชื้อ Mycobacterium Tuberculosis, มัชฐาวี โพธิกนิษฐ Jan 2021

การพัฒนาเทคนิค Multiplex Allele-Specific Recombinase Polymerase Amplification With Dipstick Chromatography (Mas-Rpa-Dc) ในการวินิจฉัยการดื้อยา Rifampicin ของเชื้อ Mycobacterium Tuberculosis, มัชฐาวี โพธิกนิษฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัณโรคดื้อยาหลายขนาน (Multidrug-resistant tuberculosis: MDR-TB) เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้การรักษาวัณโรคล้มเหลว และส่งผลให้การแพร่ระบาดของโรคยังคงมีอัตราที่สูง วัณโรคดื้อยาหลายขนานเกิดจากเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ที่ดื้อต่อยา Rifampicin และยา Isoniazid พร้อมกัน โดยมากกว่า 90% ของวัณโรคที่ดื้อยา Rifampicin มักเกิดการดื้อยา Isoniazid ร่วมด้วยภายหลัง ดังนั้นการตรวจวินิจฉัยการดื้อยา Rifampicin ของเชื้อ M. tuberculosis จึงสามารถใช้เป็นตัวแทนในการตรวจหาวัณโรคดื้อยาหลายขนานได้ วิธีทางอณูชีววิทยาที่ใช้วินิจฉัยวัณโรคดื้อยาหลายขนานในปัจจุบันต้องอาศัยเครื่องมือที่มีราคาแพงและการดูแลซ่อมบำรุงอย่างสม่ำเสมอ การเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมภายใต้อุณหภูมิคงที่ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการและเป็นทางเลือกสำหรับการทดสอบที่ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือที่จำเพาะ สามารถให้ผลการทดสอบที่ถูกต้อง รวดเร็ว และนำไปประยุกต์ใช้ ณ งานภาคสนามได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคนิค Multiplex allele-specific recombinase polymerase amplification ร่วมกับ dipstick chromatography (MAS-RPA-DC) สำหรับตรวจหาการกลายพันธุ์ภายในยีน rpoB ณ ตำแหน่งโคดอน 516 526 และ 531 ซึ่งสัมพันธ์กับการดื้อยา Rifampicin ของเชื้อ M. tuberculosis ในการทดสอบภายใต้ปฏิกิริยาเดียวกันและแบบอ่านผลด้วยตาเปล่า ภายหลังนำเทคนิค MAS-RPA-DC มาทดสอบกับ DNA ที่สกัดได้จากโคโลนีของเชื้อ M. tuberculosis สายพันธุ์คลินิกจำนวน 141 ตัวอย่าง พบว่าเทคนิค MAS-RPA-DC มีความไวและความจำเพาะที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิค Sanger DNA sequencing โดยมีความไวในการตรวจการกลายพันธุ์ของยีน rpoB516 rpoB526 และ rpoB531 มีค่าเท่ากับ 100 % 70 % และ 98.2 % ตามลำดับ มีค่าความจำเพาะในการตรวจการกลายพันธุ์ของยีน rpoB516 rpoB526 และ rpoB531 เท่ากับ 95.5 % 97.5 % และ 97.7 …


รอยสึกบนฟันกรามของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ย่อย Caprinae จากสมัยไพลสโตซีนและปัจจุบันของประเทศไทย, จักรีทิพย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา Jan 2021

รอยสึกบนฟันกรามของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ย่อย Caprinae จากสมัยไพลสโตซีนและปัจจุบันของประเทศไทย, จักรีทิพย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ย่อย Caprinae สามชนิด ได้แก่ เลียงผาใต้ (Capricornis sumatraensis) กวางผาจีน (Naemorhedus griseus) และกวางผาหิมาลัย (Naemorhedus goral) ปรากฎหลักฐานการกระจายตัวในประเทศไทยสมัยไพลสโตซีน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกวางผาหิมาลัยได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว เพื่อบ่งบอกนิเวศวิทยที่เปลี่ยนแปลงไปในอดีตจนถึงปัจจุบันของสัตว์กลุ่มนี้ รอยสึกบนฟันกรามจึงถูกนำมาใช้เพื่อการศึกษาอาหาร รููปแบบการกินอาหาร และนิเวศวิทยาบรรพกาลของสัตว์ในวงศ์ย่อย Caprinae ผู้วิจัยศึกษาตัวอย่างจาก 4 แหล่งขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย ที่มีอายุระหว่างสมัยไพลสโตซีนตอนกลางถึงตอนปลาย ได้แก่ ถ้ำผาบ่อง, บ้านโคกสูง, ถ้ำวิมานนาคินทร์ และเพิงผาถ้ำลอด รวมไปถึงตัวอย่างปัจจุบันจากพิพิธภัณฑ์และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั้งหมด 10 แห่ง โดยเก็บข้อมูลค่าดัชนีความสูงตัวฟัน (hypsodonty index: HI), รอยสึกระดับ mesowear I และ II, และรอยสึกระดับ microwear จากฟันกราม ผลการศึกษาพบว่า รอยสึกระดับ mesowear และค่า HI บ่งชี้ว่าเลียงผาและกวางผาทั้งในปัจจุบันและไพลสโตซีนกินใบไม้และหญ้า โดยเลียงผาใต้มีแนวโน้มการกินใบไม้มากกว่าชนิดอื่น ผลการศึกษารอยสึกระดับ microwear จากทั้งตัวอย่างปัจจุบันและไพลสโตซีนพบว่า เลียงผาใต้กินใบไม้อ่อนนุ่ม ขณะที่กวางผาจีนและกวางผาหิมาลัยกินใบไม้และหญ้าที่มีความแข็ง เมื่อพิจารณาผลการศึกษาที่ได้ร่วมกับค่าไอโซโทปเสถียรของธาตุคาร์บอนจากงานวิจัยก่อนหน้า อาจกล่าวได้ว่า เลียงผาใต้ในสมัยไพลสโตซีนกินใบไม้อ่อนนุ่มทั้งประเภท C3, C3/C4, และ C4 อยู่อาศัยได้ทั้งป่าทึบและทุ่งหญ้า กวางผาจีนในสมัยไพลสโตซีนกินใบไม้และหญ้าประเภท C4 ที่มีความแข็ง อาศัยในทุ่งหญ้าเปิด สำหรับกวางผาหิมาลัยในสมัยไพลสโตซีนกินใบไม้และหญ้าประเภท C4 หรือ C3/C4 และอาศัยในทุ่งหญ้าเปิด ผลการศึกษาสามารถสรุปแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงนิเวศวิทยาของสายพันธุ์เลียงผาและกวางผาได้ว่า เลียงผาและกวางผาสมัยไพลสโตซีนอาศัยในทุ่งหญ้าเปิดมากกว่าประชากรในปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และการรุกรานของมนุษย์ตั้งแต่สมัยไพลสโตซีนที่ส่งผลให้จำนวนประชากรลดลง


ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนสร้างโปรตีน Pfs25 ของเชื้อมาลาเรีย Plasmodium Falciparum ในประเทศไทย, พรปวีณ์ สุขพงษ์ไทย Jan 2021

ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนสร้างโปรตีน Pfs25 ของเชื้อมาลาเรีย Plasmodium Falciparum ในประเทศไทย, พรปวีณ์ สุขพงษ์ไทย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Pfs25 เป็นโปรตีนที่พบได้บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparum ในระยะ sexual stage และเป็นหนึ่งในแอนติเจนของวัคซีนสำหรับป้องกันการติดต่อของโรคมาลาเรียชนิด transmission blocking vaccine (TBV) วัคซีนชนิดนี้สร้างจากแอนติเจน Pfs25 ของเชื้อมาลาเรีย P. falciparum สายพันธุ์ 3D7 และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงขั้นตอนทดสอบทางคลินิก อย่างไรก็ดี การศึกษาความหลากหลายของยีน Pfs25 ในประชากร P. falciparum ในธรรมชาติทั้งในประเทศไทยและพื้นที่อื่น ๆ มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน Pfs25 ของ P. falciparum ในประเทศไทยและพื้นที่อื่น ๆ ทั่วโลก ตัวอย่างประกอบด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์ของ Pfs25 ของ P. falciparum ในประเทศไทยจำนวน 83 ตัวอย่าง และข้อมูลจากฐานข้อมูล GenBank และ PlasmoDB จำนวน 224 ตัวอย่าง ซึ่งการศึกษานี้ได้รวบรวมและสร้างฐานข้อมูลนิวคลีโอไทด์ขึ้นเป็นครั้งแรก ทำการศึกษาความหลากหลายด้วยการวิเคราะห์ทาง พันธุศาสตร์ประชากร ผลการศึกษาพบว่า Pfs25 ในประชากรเชื้อมาลาเรีย P. falciparum ทั่วโลกมีจำนวน 11 haplotype ในจำนวนนี้ พบในประเทศไทยจำนวน 7 haplotype (H) โดย H2 เป็น haplotype ที่พบมากที่สุดในประชากรเชื้อมาลาเรียในทวีปเอเชีย ส่วน H1 พบมากที่สุดในประชากรในทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ การวิเคราะห์ด้วย Fst แสดงให้เห็นว่า การกระจายของ haplotype ทั้งหมดแตกต่างกันตามแต่ละทวีป แสดงว่า เชื้อมาลาเรีย P. falciparum แบ่งออกเป็น 3 ประชากรย่อย ๆ ตามพื้นที่ คือ ประชากรในทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ haplotype ด้วย …


In Silico And In Vitro Studies On Inclusion Complexation Of Anthraquinone Derivatives With Beta-Cyclodextrin Derivatives, Amy Oo Jan 2021

In Silico And In Vitro Studies On Inclusion Complexation Of Anthraquinone Derivatives With Beta-Cyclodextrin Derivatives, Amy Oo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this study, we investigated the cytotoxicity of 6 anthraquinones (ventilanone K, emodin, chrysophanol, aurantio-obtusin, 1-O-methyl-2-methyoxychrysophanol, and questin) toward A549 lung cancer cells and emodin (ED) exerted the most potent cytotoxicity with IC50 value of 34.27 ± 1.27 µM. The anti-cancer activity of ED has been well reported but its usage in practical applications has been restricted due to its poor solubility. To address this issue, we performed inclusion complexation of ED with βCD, hydroxypropyl-β-cyclodextrin (HPβCD), 2,6-di-O-methyl-β-cyclodextrin (DMβCD), and sulfobutylether-β-cyclodextrin (SBEβCD) theoretically using molecular dynamics simulations and experimentally using phase solubility study and cytotoxicity screening toward cholangiocarcinoma cell lines (KKU-213A …


Analysis Of Protein-Protein Interaction Network From Leukocyte Transcriptomic Profiles In Severe Covid -19 Patients, Pakorn Sagulkoo Jan 2021

Analysis Of Protein-Protein Interaction Network From Leukocyte Transcriptomic Profiles In Severe Covid -19 Patients, Pakorn Sagulkoo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Coronavirus disease 2019 (COVID-19) still provides global public health issues although several vaccines and antiviral agents have been developed. Some patients experience severe conditions needed medical intensive care, and some are dead due to the failure of treatments. Therefore, identifying the key genes and underlying molecular mechanisms is necessary to discover precisely targeted drugs. Analysis of protein-protein interaction (PPI) networks provides invaluable information to find disease mechanisms and effective alternative drugs. Hence, PPI network analysis based on leukocyte transcriptomic profiles of severe COVID-19 collected from Gene Expression Omnibus (GEO) DataSets was proposed for this study. A network diffusion method called …


การพัฒนากระแสงานเชิงคอมพิวเตอร์เพื่อการระบุอาร์เอ็นเอที่เติมพอลิอะดีนีนในโพรคาริโอตจากข้อมูลลำดับเบสอาร์เอ็นเอที่เติมพอลิยูรีดีนด้วยนาโนพอร์โดยตรง, จิรโชติ กรัณยากรณ์ Jan 2021

การพัฒนากระแสงานเชิงคอมพิวเตอร์เพื่อการระบุอาร์เอ็นเอที่เติมพอลิอะดีนีนในโพรคาริโอตจากข้อมูลลำดับเบสอาร์เอ็นเอที่เติมพอลิยูรีดีนด้วยนาโนพอร์โดยตรง, จิรโชติ กรัณยากรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการเติมพอลิอะดีนีนเป็นการดัดแปรอาร์เอ็นเอที่ปลาย 3' หลังการถอดรหัสหรือเรียกว่าหางพอลิอะดีนีน ซึ่งหางพอลิอะดีนีนมีหน้าที่ในการควบคุมเสถียรภาพของอาร์เอ็นเอและนำไปสู่การควบคุมการแสดงออกของยีน ปัจจุบันการศึกษาความยาวและหน้าที่ของหางพอลิอะดีนีนในอาร์เอ็นเอของโพรแคริโอตมีน้อยมาก เนื่องจากความยาวของหางพอลิอะดีนีนในอาร์เอ็นเอของโพรแคริโอตสั้นมาก และทำหน้าที่เป็นสัญญาณการย่อยสลายอาร์เอ็นเอ ส่งผลให้ตรวจพบได้ยาก ในการศึกษานี้ได้ทำการพัฒนาวิธีทางคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาหางพอลิอะดีนีนความยาวสั้นในอาร์เอ็นเอของโพรแคริโอต โดยใช้ข้อมูลอาร์เอ็นเอจากการหาลำดับเบสยุคที่สามด้วยอ็อกซ์ฟอร์ดนาโนพอร์ที่สามารถหาลำดับเบสอาร์เอ็นเอสายยาวได้โดยตรง โดยทำการปรับปรุงขั้นตอนการเตรียมไลบรารี่สำหรับการหาลำดับเบสโดยใช้เอนไซม์เพื่อสังเคราะห์พอลิยูริดินที่ปลาย 3' ของสายลำดับเบส เพื่ออนุรักษ์ความยาวหางพอลิอะดีนีนดั้งเดิมไว้ และใช้สำหรับการเชื่อมต่อกับพอลิอะดีนีนอะแดปเตอร์สำหรับการหาลำดับเบส วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม หรือถอดรหัสย้อนกลับ ที่อาจส่งผลต่อความยาวดั้งเดิมของหางพอลิอะดีนีน จากการศึกษาด้วยอาร์เอ็นเอสังเคราะห์ที่มีการกำหนดความยาวหางพอลิอะดีนีนไว้คงที่ พบว่าโปรแกรมสำหรับการประมาณความยาวหางพอลิอะดีนีน (nanopolish และ tailfindr) มีความคลาดเคลื่อนในการประมาณความยาวของหางพอลิอะดีนีนสายสั้น โดยมีค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.33 ถึง 7.49 นิวคลีโอไทด์ สำหรับ nanopolish และ 6.38 ถึง 16.89 นิวคลีโอไทด์ สำหรับ tailfindr หลังจากการปรับปรุงข้อมูลด้วยการกำจัดสัญญาณไม่ปกติและใช้ข้อมูลจากการลำดับเบสเข้าช่วยพบว่าโปรแกรมสามารถหาความยาวของหางพอลิอะดีนีนสายสั้นได้ใกล้เคียงมากขึ้น โดยมีค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยลดลงอยู่ในช่วง 0.43 ถึง 7.28 นิวคลีโอไทด์ สำหรับ nanopolish และ 3.28 ถึง 5.96 นิวคลีโอไทด์ สำหรับ tailfindr และเมื่อนำวิธีการศึกษาดังกล่าวไปประยุกต์ในอาร์เอ็นเอของ Escherichia coli K-12 ได้ตรวจพบหางพอลิอะดีนีนในยีนซึ่งเคยมีรายงานจากงานวิจัยก่อนหน้า เช่น rpsO, rplQ และ ompA เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบยีนที่มีความเป็นไปได้ที่จะมีหางพอลิอะดีนีน แต่ยังไม่มีรายงานมาก่อน เช่น apt และ ppa เป็นต้น การศึกษาความยาวหางพอลิอะดีนีนในโพรแคริโอตสามารถเชื่อมโยงกับการควบคุมการแสดงออกของยีนซึ่งจะช่วยพัฒนาองค์ความรู้ด้านการควบคุมการแสดงออกของยีนในแบคทีเรีย และสามารถนำไปประยุกต์ได้ในอนาคต


Solid-State Modification Of Tapioca Starch Using Non-Thermal Plasma, Natchanon Srangsomjit Jan 2021

Solid-State Modification Of Tapioca Starch Using Non-Thermal Plasma, Natchanon Srangsomjit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to investigate the physical, chemical, and functional properties of tapioca starch subjected to solid-state modification by using nonthermal dielectric barrier discharge (DBD) plasma treatment using different gases (helium and argon), voltage levels (10 kV and 15 kV), and treatment times (5, 10, and 15 minutes). After treatment, an increase in L* value and a marginal decrease in pH value of all treated samples were noted. Scanning electron micrographs showed dented starch granules after the plasma treatment but showed birefringence. From XRD measurement, all samples showed a characteristic C-type diffraction pattern but a reduction in …


Effects Of Low Degree Of High Ambient Temperature On Neural Pathways From Median Preoptic Nucleus To Arcuate Nucleus In Related To Food Intake., Pornsiri Suwannapaporn Jan 2021

Effects Of Low Degree Of High Ambient Temperature On Neural Pathways From Median Preoptic Nucleus To Arcuate Nucleus In Related To Food Intake., Pornsiri Suwannapaporn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

High ambient temperature (HTa) is one important environmental factor that decreases food intake (FI). It is well accepted that high degree HTa induced heat stress decreased FI by the activation of corticotropin-releasing factor (CRF) via hypothalamic pituitary adrenal axis. However, short-term low-degree HTa exposure has been demonstrated to decrease FI earlier than activated physiological and stress responses. This effect was related to the neuronal connection between the median preoptic nucleus (MnPO) and arcuate nucleus (Arc). Therefore, the present study aimed to investigate the effect of short-term low-degree HTa exposure on the activity of hypothalamic Arc in regarding to FI, and …


Degree Of Genetic Admixture In Hybrid Populations Between Macaca Fascicularis Fascicularis And M. F. Aurea In Association With Stone Tool-Use Behavior, Poompat Phadphon Jan 2021

Degree Of Genetic Admixture In Hybrid Populations Between Macaca Fascicularis Fascicularis And M. F. Aurea In Association With Stone Tool-Use Behavior, Poompat Phadphon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Burmese long-tailed macaque (Macaca fascicularis aurea) is the only Old World monkey that habitually uses stones as tools to access encased food. The natural range of M. f. aurea closely contacts to the common long-tailed macaque (M. f. fascicularis) in southern Thailand at 8°10'-12°24'N, where the intraspecific hybridization between the two subspecies was reported. While M. f. aurea x M. f. fascicularis hybrids were expressed a stone-tool use behavior, the behavior has never been seen in the wild or captive M. f. fascicularis. It is interesting to understand if the genetic factor plays a role on the emergence of this …


การคัดแยกสายพันธุ์จุลินทรีย์และกระบวนการผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียที่อุดมด้วยจุลินทรีย์ โพรไบโอติกโดยใช้น้ำสับปะรด, ชญาภรณ์ ตันติธรรม Jan 2021

การคัดแยกสายพันธุ์จุลินทรีย์และกระบวนการผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียที่อุดมด้วยจุลินทรีย์ โพรไบโอติกโดยใช้น้ำสับปะรด, ชญาภรณ์ ตันติธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวทางการใช้สับปะรดตกเกรดผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียที่อุดมด้วยจุลินทรีย์โพรไบโอติก เพื่อเป็นเครื่องดื่มฟังก์ชั่น งานวิจัยประกอบด้วย (i) ประเมินความเป็นไปได้ในการใช้น้ำสับปะรดเต็มส่วน (pH 4.0) เพื่อผลิต Bacterial cellulose (BC) โดยเติมเพียงแอมโมเนียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (0.6 % (w/v)) สำหรับชักนำการทำงานของเอนไซม์ cellulose synthase โดยทดลองหมักด้วยแบคทีเรียมาตรฐาน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ Gluconacetobacter xylinus TISTR 1064 (ATCC 23767), Komagataeibacter xylinus TISTR 086, K. xylinus TISTR 428 และ K. xylinus TISTR 1061 พบว่า แต่ละสายพันธุ์ผลิต BC ในน้ำสับปะรดได้แตกต่างกัน โดย TISTR 428 ผลิต BC ได้มากที่สุด (105.10±0.08 g/L) (p<0.05) จึงเลือกมาประเมินสภาวะการหมัก โดยแปรพื้นที่ผิวสัมผัสอากาศ และปริมาตรของน้ำสับปะรด พบว่า ค่า BC yield (y) มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับอัตราส่วนระหว่างพื้นที่ผิวสัมผัสอากาศต่อปริมาตรน้ำหมัก (x) ดังสมการ y =19.422x + 25.936 (R2 = 0.9346) และพบว่า เมื่ออัตราส่วนระหว่างพื้นที่ผิวสัมผัสอากาศต่อปริมาตรของน้ำหมักเพิ่มขึ้น Hardness และ Cohesiveness มีค่าลดลง (p<0.05) ในขณะที่ Springiness, Gumminess และ Chewiness มีค่าเพิ่มขึ้น (p<0.05) (ii) คัดแยกแบคทีเรียผลิต BC เพื่อพัฒนาเป็นสายพันธุ์จำเพาะในการหมักน้ำสับปะรด โดยคัดแยกจากน้ำหมักสมุนไพรที่มีส่วนผสมของน้ำและ/หรือเนื้อสับปะรดที่มีอายุการหมัก 8 ปี 5 ปี และ 10 เดือน พบว่า สามารถคัดแยกแบคทีเรียที่มีสมบัติสร้างสารคล้าย BC ในน้ำสับปะรดทั้งหมด 4 ไอโซเลท จากน้ำหมักอายุ 10 เดือน เมื่อระบุชนิดด้วยการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ที่ตำแหน่ง 16s rDNA/RNA พบว่า ไอโซเลท K1, K4, K8 และ K3 ที่สร้างสารคล้าย BC คือ Kodamaea ohmeri (98.33%) Acinetobacter sp. (73.97%) Enterobacter cloacae (82.31%) และ G. xylinus (80.16%) ตามลำดับ เลือก K3 ที่มีสมบัติทางจีโนไทป์ที่ตรงกับสายพันธุ์ทางการค้า และเมื่อนำมาศึกษาสมบัติการสร้าง BC ในน้ำสับปะรด พบว่า สามารถสร้าง BC ได้มากกว่าและเร็วกว่าสายพันธุ์ TISTR ถึง 2 เท่า จึงนำไอโซเลท K3 มาพัฒนาเป็นสายพันธุ์จำเพาะในการผลิต BC ในน้ำสับปะรด โดยเพาะเลี้ยงภายใต้สภาวะที่ประเมินได้จาก (i) และแปรปริมาณแหล่งคาร์บอน (ซูโครส) ปริมาณแหล่งไนโตรเจน (เพพโทน) และปริมาณสารชักนำ (โซเดียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต) โดยใช้แผนการทดลองแบบ 3x2x2 แฟคทอเรียล พบว่า สภาวะที่มีปริมาณซูโครส เพพโทน และโซเดียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟตที่ความเข้มข้น 5, 0.5 และ 0 % (w/v) ตามลำดับ มีปริมาณ BC ภายหลังการหมักสูงที่สุด (188.27±0.50 g/L) BC ที่ได้มีปริมาณความชื้นและค่า Aw สูงกว่าสภาวะอื่น (p<0.05) และเมื่อวิเคราะห์เนื้อสัมผัส (Texture profile analysis) พบว่า มีค่า Hardness ต่ำที่สุด และค่า Springiness สูงที่สุด น้ำสับปะรดหลังหมักประกอบด้วย กรดอินทรีย์หลักมากที่สุด คือ กรดซิตริก กรดมาลิก และกรดแอซิติก ตามลำดับ น้ำตาลประกอบด้วยฟรักโทสมากที่สุด รองลงมา คือ กลูโคส และซูโครส ตามลำดับ อีกทั้งมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกสูงที่สุด (p<0.05) และมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นสูงที่สุด (p<0.05) (iii) นำสภาวะที่ประเมินได้จาก (ii) มาใช้ในการผลิต BC ที่อุดมด้วยโพรไบโอติก โดยการเพาะเลี้ยง K3 ร่วมกับจุลินทรีย์ Lactobacillus plantarum FTCU10621 พบว่า BC ที่ได้มีปริมาณน้อยลง (26.40±0.80 g/L) และเป็น young BC และตรวจวัด L. plantarum FTCU10621 ในส่วน BC พบจำนวน 8.42±0.52 log CFU/g BC และในน้ำสับปะรดจำนวน 8.33±0.03 log CFU/ml ภาพถ่ายทางสัณฐานวิทยาของผิวหน้า BC พบเซลล์โพรไบโอติกถูกตรึงอยู่ใน BC คิดเป็น 7.08 log cell/g BC เมื่อวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีของ BC ด้วยเทคนิค FTIR พบว่า สเปกตรัม IR ของหมู่ไฮดรอกซิลมี % transmittance ต่ำ ส่งผลให้ BC มีลักษณะอ่อนนุ่ม และน้ำสับปะรดหลังหมักประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลักมากที่สุด คือ กรดแลคติก กรดซิตริก กรดซัคซินิค และกรดมาลิก ตามลำดับ น้ำตาลประกอบด้วยฟรักโทสมากที่สุด รองลงมา คือ กลูโคส และซูโครส ตามลำดับ


การผลิตเซลล์ยีสต์จากอาหารเพาะเลี้ยงจากพืชเพื่อการผลิตโพรไบโอติกอัดเม็ดแบบฟองฟู่, ณัฏฐนันท์ บูรณวณิชวงศ์ Jan 2021

การผลิตเซลล์ยีสต์จากอาหารเพาะเลี้ยงจากพืชเพื่อการผลิตโพรไบโอติกอัดเม็ดแบบฟองฟู่, ณัฏฐนันท์ บูรณวณิชวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ยีสต์โพรไบโอติกแบบเม็ดฟู่ที่ใช้เซลล์ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae via. Boulardii (S. Boulardii) จากคัลเจอร์น้ำผัก-ผลไม้ ประกอบด้วยขั้นตอน (i) ประเมินสภาวะน้ำหมักสำหรับเพาะเลี้ยงโดยใช้น้ำองุ่นที่มีค่าของแข็งที่ละลายได้ (TSS) 12 °brix เป็น based medium แปรค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ในช่วง 3.0-5.0 เพาะเลี้ยงแบบเขย่า ที่ 150 rpm อุณหภูมิ 30 °C เป็นเวลา 48 ชั่วโมง (ii) ศึกษาสมบัติการเจริญของ S. Boulardii ในน้ำผัก-ผลไม้ 3 ชนิด ได้แก่ น้ำองุ่น น้ำใบบัวบก และน้ำกระเจี๊ยบ (ปรับ TSS 12 °brix ที่ pH 4.0) เพาะเลี้ยงที่สภาวะเดียวกับ (i) ติดตามการเจริญของยีสต์และสมบัติของน้ำหมัก ที่ 0 8 24 32 และ 48 ชั่วโมง พบว่ายีสต์เจริญในน้ำกระเจี๊ยบและน้ำองุ่นไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (11.58±0.21 log CFU/mL และ 11.44±0.64 log CFU/mL ตามลำดับ) โดยมีอัตราการเจริญจำเพาะสูงสุด (µ Max) ที่ 0.018 และ 0.017 log µ/h ตามลำดับ น้ำใบบัวบก 10.59±0.16 log CFU/mL (µMax= 0.016 log µ/h) และอาหารเลี้ยงเชื้อมาตรฐาน YMB ซึ่ง 10.11±0.06 log CFU/mL (µMax= 0.010 log µ/h) การเปลี่ยนแปลงสมบัติของน้ำหมักมีความสอดคล้องกับการเจริญของยีสต์ และเมื่อพิจารณาปริมาณยีสต์ที่มากและคุณสมบัติของน้ำหมักที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุด จึงเลือกใช้น้ำกระเจี๊ยบในการศึกษาขั้นตอนต่อไป …


องค์ประกอบของกรดไขมันและการแสดงออกของยีน Delta-6 Desaturase (Ard6d) ที่เกี่ยวข้องกับวิถีการสังเคราะห์กรดไขมันโอเมกา-3 ในโคพีพอด Apocyclops Royi, ศุภกานต์ สังข์แก้ว Jan 2021

องค์ประกอบของกรดไขมันและการแสดงออกของยีน Delta-6 Desaturase (Ard6d) ที่เกี่ยวข้องกับวิถีการสังเคราะห์กรดไขมันโอเมกา-3 ในโคพีพอด Apocyclops Royi, ศุภกานต์ สังข์แก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โคพีพอดจัดอยู่ในกลุ่มของครัสเตเชียนขนาดเล็กที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นอาหารมีชีวิตในการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน โคพีพอดเป็นแหล่งของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated fatty acid, PUFA) ซึ่งมีความสำคัญต่อพัฒนาการของสัตว์น้ำวัยอ่อน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของกรดไขมันในแต่ละระยะพัฒนาการของโคพีพอด Apocyclops royi สายพันธุ์ไทย (A. royi-TH) โดยศึกษาในโคพีพอดระยะนอเพลียส (NP) โคพีโพดิด (CD) และตัวเต็มวัย (AD) ที่เลี้ยงด้วยสาหร่ายสีเขียว Tetraselmis sp. ซึ่งเป็นสาหร่ายที่ไม่พบกรดไขมัน DHA จากการวิเคราะห์ด้วยแก๊สโครมาโตรกราฟี-แมสสเปกโตรเมทรี (GC/MS) พบว่าโคพีพอด A. royi-TH มีกรดไขมัน PUFA, EPA และ DHA ในปริมาณสูงกว่าอาหารสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ โดยพบกรดไขมัน PUFA สูงในโคพีพอดระยะ CD (38.53%) และ AD (41.85%) ในขณะที่พบกรดไขมัน PUFA ปริมาณต่ำที่สุดในโคพีพอดระยะ NP (22.50%) นอกจากนี้พบว่าโคพีพอดทุกระยะพัฒนาการมีกรดไขมัน LC-PUFA ปริมาณสูง (5.27-10.36%) โดยพบกรดไขมัน DHA มากที่สุดในระยะ AD (4.85%) รองลงมาระยะ CD (3.54%) และระยะ NP (2.78%) จากการเปรียบเทียบองค์ประกอบของกรดไขมันในโคพีพอดที่เลี้ยงด้วยสาหร่ายTetraselmis sp. ที่มีกรดไขมัน EPA ต่ำ (ArTet) และ Chaetoceros sp. ที่มีกรดไขมัน EPA สูง(ArChaeto) พบว่าโคพีพอด ArChaeto มีกรดไขมัน DHA ปริมาณสูงกว่าโคพีพอด ArTet จึงสามารถคาดการณ์ได้ว่าองค์ประกอบของกรดไขมันในสาหร่ายที่แตกต่างกันส่งผลต่อปริมาณกรดไขมัน DHA ที่พบในโคพีพอด จากนั้นได้ศึกษาการแสดงออกของยีนดีแซททูเรส ArD6D ที่มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์กรดไขมัน DHA พบว่าระดับการแสดงออกของยีน ArD6D เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในโคพีพอดระยะ AD (p<0.05) สอดคล้องกับปริมาณกรดไขมัน DHA ที่เพิ่มขึ้นในโคพีพอดระยะ AD ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายีน ArD6D อาจมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดไขมัน DHA ในแต่ละระยะพัฒนาการของโคพีพอด และเมื่อศึกษาการแสดงออกของยีน ArD6D ในโคพีพอด ArTet และ ArChaeto พบว่าระดับการแสดงออกของยีน ArD6D ในโคพีพอด ArChaeto มีการแสดงออกที่สูงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับโคพีพอด ArTet (p<0.05) ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณกรดไขมัน DHA ที่เพิ่มขึ้นในโคพีพอด ArChaeto ผลจากการวิจัยบ่งชี้ว่าโคพีพอด A. royi-TH ทั้ง 3 ระยะพัฒนาการสามารถสังเคราะห์กรดไขมัน DHA ผ่านวิถีการสังเคราะห์กรดไขมัน LC-PUFA และกรดไขมันในสาหร่ายส่งผลต่อปริมาณ DHA ของโคพีพอด โดยข้อมูลจากงานวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของโคพีพอด A. royi-TH เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อนในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย


การพัฒนาระบบพลาสมาไอออนไนเซอร์ประสิทธิภาพสูงสำหรับเครื่องปรับอากาศ, นฤสรณ์ แน่นหนา Jan 2021

การพัฒนาระบบพลาสมาไอออนไนเซอร์ประสิทธิภาพสูงสำหรับเครื่องปรับอากาศ, นฤสรณ์ แน่นหนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ วงจรเครื่องกำเนิดพลาสมาถูกออกแบบโดยวางรากฐานอยู่บนการใช้ Flyback Transformer ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสวิตชิ่งกำลังไฟฟ้าของ MOSFET ในการคายประจุแบบพลาสมาไดอิเล็กตริกแบริเออร์ดิสชาร์จเชิงผิวเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับพลาสมาไอออนไนเซอร์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของบริษัท บิทไว้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับที่จ่ายให้กับเครื่องพลาสมาไดอิเล็กตริกแบริเออร์ดิสชาร์จเชิงผิวใช้แรงดันไฟฟ้า 5.38 kV วงจรกำเนิดพลาสมาได้รับการออกแบบมีการทำงานที่ความถี่ 0.2 Hz เมื่อใช้ Duty Cycle ที่ 5%, 10%, 20% และ 100% การศึกษาอุณหภูมิวัสดุไดอิเล็กตริกที่เปิดระบบไว้ 10 นาที อยู่ที่ 34.0 °C, 36.5 °C, 39.6 °C และ 67.0 °C ตามลำดับ และเมื่อตรวจวัดค่าโอโซนพบว่ามีความเข้มข้นโอโซน 174 ppb, 794 ppb, 1,820 ppb และ 9,849 ppb ตามลำดับ จากการศึกษาสเปกโตรสโกปีการเปล่งแสงของพลาสมาไดอิเล็กตริกแบริเออร์ดิสชาร์จพื้นผิวที่ความดันบรรยากาศเผยให้เห็นว่ามีกลุ่ม N2, NO และ OH ซึ่งสารอนุมูลอิสระเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ โดยการใช้ Optical Emission Spectrometer พบว่ามีอุณหภูมิพลาสมาที่ 0.82 eV การทดสอบประสิทธิภาพการกำจัดเชื้อใช้ Escherichia coli (E. coli) ATCC 25922 ในการทดสอบ เชื้อ E. coli ถูกฉายด้วยไดอิเล็กตริกแบริเออร์ดิสชาร์จเชิงผิวและพลาสมาไอออนไนเซอร์เป็นเวลา 10 นาที จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าไดอิเล็กตริกแบริเออร์ดิสชาร์จเชิงผิวสามารถลดปริมาณเชื้อ E. coli ได้ถึง 100% ในขณะที่พลาสมาไอออนไนเซอร์ไม่สามารถลดปริมาณเชื้อ E. coli ได้


การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์หยิบจับสำหรับผลิตภัณฑ์ยางแปรรูป, พีรวัส รัตนโชติ Jan 2021

การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์หยิบจับสำหรับผลิตภัณฑ์ยางแปรรูป, พีรวัส รัตนโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอแนวทางการเลือกใช้และพัฒนาอุปกรณ์หยิบจับ (Gripper) สำหรับผลิตภัณฑ์ยางแปรรูปให้เหมาะสมกับรูปร่าง ขนาด และคุณสมบัติทางกลของยางแปรรูป ซึ่งอุปกรณ์หยิบจับนี้ถูกนำมาใช้เพื่อนำผลิตภัณฑ์ยางที่ผ่านกระบวนการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยแม่พิมพ์โดยการให้ความร้อนออกจากแม่พิมพ์ออกจากแม่พิมพ์โลหะ ซึ่งจำเป็นที่ต้องทราบถึงแรงที่ใช้นำชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์โดยแรงนี้ถูกเรียกว่า Demolding force และโดยปกติแรงนี้จะประกอบไปแรงเสียดทาน (Friction Force) และแรงยึดติด (Adhesion force) ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งเน้นไปที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อ Demolding force ได้แก่ รูปทรง พื้นที่สัมผัส ความแข็งของยาง และความหยาบผิวของแม่พิมพ์ โดยได้มีการออกแบบการทดลองโดยใช้ Full factorial design และใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) เพื่อใช้ในการพยากรณ์ นอกจากนี้ยังได้พัฒนาซอฟท์แวร์มาเพื่อแนะนำการออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์หยิบจับ และสุดท้ายได้มีการพัฒนาอุปกรณ์หยิบจับตัวต้นเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของซอฟท์แวร์นี้


การพัฒนาเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตจากยางโบรโมบิวทิลและพอลิโพรพิลีนสำหรับจุกปิดหลอดเก็บเลือด, สุพรรณษา คุณขยัน Jan 2021

การพัฒนาเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตจากยางโบรโมบิวทิลและพอลิโพรพิลีนสำหรับจุกปิดหลอดเก็บเลือด, สุพรรณษา คุณขยัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาอัตราส่วนผสมยางโบรโมบิวทิล (BIIR) พอลิโพรพิลีน (PP) และเอทิลีนออกทีนโคพอลิเมอร์ (EOC) เพื่อปรับปรุงความแข็งให้เท่ากับความแข็งของจุกปิดหลอดเก็บเลือดทางการค้า จากผลการทดสอบสมบัติความแข็งพบว่าที่อัตราส่วนผสม B65P10E25 (BIIR 65 wt%, PP 10wt% และ EOC 25 wt%) มีค่าความแข็งเท่ากับ 43 Shore A ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ค่าความแข็งของจุกปิดหลอดเก็บเลือด จึงได้เลือกอัตราส่วนนี้มาเตรียมเป็นเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซต (TPV) โดยผสมสารวัลคาไนซ์ไดคิวมิลเพอร์ออกไซด์ 1.5 wt% และสารโคเอเจนต์ไตรเมทิลออลโพรเพนไตรเมทาอะคริเลท 1 wt% ผลการทดสอบสมบัติเชิงกลต่าง ๆ พบว่า TPV ที่เตรียมได้มีสมบัติความแข็ง ความต้านทานต่อแรงดึง ระยะยืดสูงสุด ณ จุดขาด และความต้านทานต่อแรงฉีกขาดสูงขึ้น ในขณะที่เปอร์เซ็นต์การยุบตัวหลังได้รับแรงกดลดลงเป็น 21.83% เมื่อเทียบกับ B65P10E25 ที่ไม่มีสารวัลคาไนซ์ ผลจากภาพกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM Micrograph) พบว่าการเติม EOC ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น จะช่วยปรับปรุงความเข้ากันได้และการกระจายตัวของ BIIR และ PP นอกจากนี้เมื่อผสม EOC ในสัดส่วนที่มากกว่า 25% วัสดุจะแสดงสมบัติการคืนตัวหลังแทงเข็มที่ดี โดยสูตรที่ผ่านการทดสอบนี้ ได้แก่ B65P10E25, B65E35 (BIIR 65 wt% และ EOC 35 wt%) และ B65P10E25 TPV (TPV ที่เตรียมขึ้นจากอัตราส่วน B65P10E25) เป็นต้น นอกจากนี้ความสามารถในการซึมผ่านแก๊สออกซิเจนของ B65P10E25 TPV มีค่าเท่ากับ 151.81 cm3·mm/m2·day·0.1MPa ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาวัสดุที่จะนำมาใช้เป็นจุกปิดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการป้องกันการซึมผ่านของอากาศภายนอกได้ดี ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสามารถเตรียม TPV ที่มีสมบัติเชิงกลที่ดี มีอัตราการซึมผ่านแก๊สต่ำ และสามารถคืนตัวได้หลังจากดึงเข็มออก ซึ่งสมบัติเหล่านี้ผ่านเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาสำหรับนำไปประยุกต์ใช้เป็นจุกปิดในหลอดเก็บเลือด นอกจากนี้ยังสามารถนำมาผ่านกระบวนการขึ้นรูปซ้ำใหม่ได้