Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Life Sciences

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2017

Articles 1 - 30 of 95

Full-Text Articles in Entire DC Network

Cloning And Characterization Of Bacterial Mannanase Isolated From Dynastes Hercules Larvae, Sitipon Leerawatthanakun Jan 2017

Cloning And Characterization Of Bacterial Mannanase Isolated From Dynastes Hercules Larvae, Sitipon Leerawatthanakun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Bacterial isolate HM7 was isolated from Dynastes hercules larvae excrement. It was identified as Bacillus sp. by 16S rRNA gene analysis. When the bacteria were cultured for β-mannanase production in medium containing konjac flour it had the highest specific activity of 138 U/mg at 36 h, and when cultured in medium containing coconut meal it had the highest specific of 114 U/mg at 48 h. The 1089 base pairs long of a β-mannanase encoding gene (Man26HM7) was successfully cloned and expressed in Escherichia coli BL21 (DE3), using pET21-b expression system. The enzyme was purified and characterized. The optimal condition MAN26HM7catalysis …


Tyrosinase Inhibitors From Sapodilla Plum Manilkara Zapota L., Sutthiduean Chunhakant Jan 2017

Tyrosinase Inhibitors From Sapodilla Plum Manilkara Zapota L., Sutthiduean Chunhakant

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Six different parts of Manilkara zapota which consisted of barks, flowers, fruits, leaves, roots and seeds were investigated for total phenolic content, total flavonoid content, antioxidant and antityrosinase activities. Methanol crude extract of flowers showed the highest total phenolic content (368.73 ± 0.65 mg GAE/g), while methanol crude extracts of seeds and roots showed high total flavonoid content (90.21 ± 0.57 and 89.03 ± 1.00 mg QE/g, respectively). Methanol crude extract of seeds showed the strongest DPPH (IC50 282.05 ± 0.60 μg/mL) and ABTS (IC50 205.11 ± 0.89 μg/mL) radical scavenging activities and showed the highest FRAP value of 296.46 …


การระบุโปรตีนที่มีปฏิสัมพันธ์กับเอชพีวีไทป์ 16 อี 7 และบทบาทในการเกิดมะเร็งปากมดลูก, นันท์นภัส วงค์มณี Jan 2017

การระบุโปรตีนที่มีปฏิสัมพันธ์กับเอชพีวีไทป์ 16 อี 7 และบทบาทในการเกิดมะเร็งปากมดลูก, นันท์นภัส วงค์มณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โปรตีน E6 และ E7 ของเชื้อไวรัสเอชพีวีไทป์16 เป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งโปรตีน E6 และ E7 ของไวรัสจะจับกับโปรตีน p53 และ pRb ของโฮสต์ตามลำดับ นอกจากนี้กระบวนการเปลี่ยนแปลงในระดับเหนือพันธุกรรมยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดมะเร็ง แต่กลไกที่ทำให้เกิดยังไม่เป็นที่เข้าใจมากนัก ซึ่งการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าการแสดงออกของโปรตีน E7 ของเอชพีวีไทป์ 16 ส่งผลต่อการกระตุ้นการเติมหมู่เมทิลที่ตำแหน่งโพรโมเตอร์ของยีน CCNA1 โดยสร้างคอมเพลกซ์กับเอนไซม์ DNMT1 ดังนั้นจึงได้ตั้งสมมติฐานว่าน่าจะมีโปรตีนชนิดที่เป็นทรานสคริปชันแฟกเตอร์เป็นตัวนำพากลุ่มคอมเพลกซ์นี้มายังบริเวณโพรโมเตอร์ของยีน ในงานวิจัยได้นำวิธีการทางโปรติโอมิกส์มาใช้ในการตรวจระบุโปรตีน โดยการใช้โปรตีน E7 เป็นตัวล่อ (bait) จากนั้นนำโปรตีนที่ติดตามมาด้วยกันไปตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางแมสสเปกโตรเมทรี ซึ่งพบทรานสคริปชันแฟกเตอร์ YY1 ในขณะเดียวกันทรานสคริปชันแฟกเตอร์ TFAP2A ถูกพบจากการทำนายด้วยชีวสารสนเทศซึ่งใช้ยีน CCNA1 เป็นต้นแบบของยีนเป้าหมาย เมื่อทดสอบการจับกันระหว่างโปรตีนทั้งสามชนิดพบว่า โปรตีน E7 ของเอชพีวีไทป์ 16 มีอันตรกิริยากับโปรตีน TFAP2A และโปรตีน TFAP2A มีอันตรกิริยากับโปรตีน YY1 นอกจากนั้นยังตรวจพบว่ายีน FOXC1 และ VEGFA มีการลดการแสดงออกเมื่อมียีน E7 ของเชื้อเอชพีวีเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่พบการเกิดเมทิลเลชันที่บริเวณโพรโมเตอร์ที่ยีน FOXC1 เพียงยีนเดียว มากไปกว่านั้นเมื่อทำการตรวจยืนยันการจับกันระหว่างโปรตีน E7 ของเอชพีวีไทป์ 16 โปรตีน YY1 และโปรตีน TFAP2 กับดีเอ็นเอบริเวณโพรโมเตอร์ของยีนทั้งสองด้วยวิธี Chromatin immunoprecipitation พบว่ามีเพียงยีน FOXC1 ที่สามารถจับได้กับโปรตีนทั้งสามชนิด ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ยีน FOXC1 ถูกชักนำให้เกิดการเมทิลเลชันแล้วส่งผลให้เกิดการลดการแสดงออกเช่นเดียวกับยีน CCNA1


การยับยั้งการเจริญและการผลิตอะฟลาทอกซินของ Aspergillus Flavus ในไซเลจข้าวโพดโดยใช้ยีสต์และแล็กติกแอซิดแบคทีเรียปฏิปักษ์, ทรรศภรณ์ รุ่งชัยวัฒนกุล Jan 2017

การยับยั้งการเจริญและการผลิตอะฟลาทอกซินของ Aspergillus Flavus ในไซเลจข้าวโพดโดยใช้ยีสต์และแล็กติกแอซิดแบคทีเรียปฏิปักษ์, ทรรศภรณ์ รุ่งชัยวัฒนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาความสามารถของยีสต์และแล็กติกแอซิดแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการยับยั้งการเจริญและการผลิตอะฟลาทอกซินรวมของ Aspergillus flavus บนจานอาหารเลี้ยงเชื้อและในไซเลจข้าวโพด และเพื่อหาปริมาณความเข้มข้นและอัตราส่วนของแล็กติกแอซิดแบคทีเรียและยีสต์ผสมที่ให้ผลการยับยั้งสูงสุดในไซเลจข้าวโพด โดยเริ่มจากการทดสอบประสิทธิภาพของยีสต์ (Wickerhamomyces anomalus MSCU 0652 และ Kluyveromyces marxianus MSCU 0655) และแล็กติกแอซิดแบคทีเรีย (Lactobacillus casei AN2 และ Lactobacillus paracasei AN3) ในการยับยั้งการเจริญและการผลิตอะฟลาทอกซินของ A. flavus บนอาหารเลี้ยงเชื้อ พบว่า จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่ใช้ทดสอบทั้งหมดให้ผลการยับยั้งการเจริญของราค่อนข้างต่ำ (10-20 เปอร์เซ็นต์) อย่างไรก็ตาม ยีสต์ผสมระหว่าง W. anomalus MSCU 0652 และ K. marxianus MSCU 0655 และ L. paracasei AN3 แบบเดี่ยวมีประสิทธิภาพในการลดการผลิตอะฟลาทอกซินรวมสูงสุด (43.25 และ 35.64 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) ดังนั้น จึงนำยีสต์ผสมและ L. paracasei AN3 มาทดสอบความสามารถในการยับยั้งการเจริญและการผลิตอะฟลาทอกซินรวมของ A. flavus ในไซเลจข้าวโพดปลอดเชื้อและไซเลจข้าวโพดร่วมกับจุลินทรีย์ประจำถิ่น พบว่า การใช้ L. paracasei AN3 ร่วมกับยีสต์ผสมระหว่าง W. anomalus MSCU 0652 และ K. marxianus MSCU 0655 สามารถยับยั้งการเจริญและลดปริมาณอะฟลาทอกซินรวมของราได้ดีทั้งในไซเลจข้าวโพดปลอดเชื้อและไซเลจข้าวโพดที่หมักร่วมกับจุลินทรีย์ประจำถิ่น จากนั้น เมื่อทดสอบความเข้มข้นและอัตราส่วนของ L. paracasei AN3 ร่วมกับยีสต์ผสมระหว่าง W. anomalus MSCU 0652 และ K. marxianus MSCU 0655 ที่เหมาะสม พบว่า การเติม L. paracasei AN3 ที่ความเข้มข้นมากกว่ายีสต์ผสม (10⁸:10⁶) …


Carotenoids And Metabolism Of The Green Microalga Chlorococcum Sp. 8367re Under Stress Conditions, Kantima Janchot Jan 2017

Carotenoids And Metabolism Of The Green Microalga Chlorococcum Sp. 8367re Under Stress Conditions, Kantima Janchot

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Green microalgae are one of the natural resources for productions of various and beneficial bioactive compounds, such as UV-screening compounds and carotenoids. This study focuses on the changes of carotenoids and metabolisms in the green microalga Chlorococcum sp. 8367RE under stress conditions. The results showed that stresses by salt, light, drought, and nitrogen starvation affected on alterations of morphological characteristics. Interestingly, size of cells culturing under salt stresses dramatically increased. It should be noted that KCl stress caused the enlargement of cell sizes approximately 5 folds. Carotenoids were identified and quantified by using ultra-high performance liquid chromatography (UHPLC) and mass …


Functional Characterization Of Natural Sunscreen Compound Mycosporine-2-Glycine From Extremophilic Cyanobacterium Halothece Sp. Pcc 7418 In Macrophage Cell Line And Fresh Water Cyanobacterium, Supamate Tarasuntisuk Jan 2017

Functional Characterization Of Natural Sunscreen Compound Mycosporine-2-Glycine From Extremophilic Cyanobacterium Halothece Sp. Pcc 7418 In Macrophage Cell Line And Fresh Water Cyanobacterium, Supamate Tarasuntisuk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Mycosporine-2-glycine (M2G) is a rare UV-screening compound in a group of mycosporine-like amino acids (MAAs). This molecule is found in only two cyanobacteria; Euhalothece sp. LK-1 and Aphanothece halophytica (Halothece sp. PCC 7418). The structure of M2G composed of 4-deoxygadusol as a core structure, attached by 2 molecules of glycine at C1 and C3 positions. M2G has a maximal adsorption at 331 nm and a better antioxidative activity than other MAAs. Thus, it is interesting in determination of other activities for further cosmeceutical and pharmaceutical applications. In this study, a high purity M2G was successfully extracted and purified from Halothece …


Nutritional Effects On Morphological Characteristics And Male-Male Competition Of Stag Beetle Aegus Chelifer Chelifer Macleay, 1819, Nut Songvorawit Jan 2017

Nutritional Effects On Morphological Characteristics And Male-Male Competition Of Stag Beetle Aegus Chelifer Chelifer Macleay, 1819, Nut Songvorawit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Stag beetles have great intraspecific variation in their bodies and weapon sizes, which are strongly influenced by the environment during the larval stage. However, the impacts of environmental factors affect on such variation and the links between environmental factors, morphological characteristics and behaviours are still unclear. This study first surveyed stag beetles discovered in natural habitat of a dry-evergreen forest in Chanthaburi province, Thailand, to roughly examine possible factors relating to growth of stag beetles. The occurrence and numbers of stag beetle larvae found in logs were high in those of a moderate decay class with relatively high nitrogen content …


การคัดกรองและลักษณะสมบัติของไลเพสจากแบคทีเรียชอบเค็มปานกลาง, ศุภฤกษ์ เยี่ยมสมบัติ Jan 2017

การคัดกรองและลักษณะสมบัติของไลเพสจากแบคทีเรียชอบเค็มปานกลาง, ศุภฤกษ์ เยี่ยมสมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการคัดแยกแบคทีเรียชอบเค็มปานกลางจำนวนทั้งหมด 77 สายพันธุ์ จากตัวอย่างกะปิทั้งหมด 8 ตัวอย่าง ที่เก็บจากตลาดสดมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร จากการคัดกรองสร้างเอนไซม์ไลเพสบนอาหารแข็งที่มีสับเสตรทเป็น Tween 20, 40, 60, 80 และ tributyrin พบว่ามีแบคทีเรียจำนวน 61 สายพันธุ์สามารถผลิตเอนไซม์ไลเพสได้ และมีแบคทีเรียจำนวน 23 สายพันธุ์ สามารถผลิตเอนไซม์ไลเพสได้เมื่อนำมาคัดกรองการผลิตเอนไซม์ไลเพสในอาหารเหลวที่มีสับเสตรทเป็น p-Nitrophenyl butyrate (p-NPB) จึงได้คัดเลือกตัวแทนแบคทีเรียชอบเค็มปานกลางที่มีแอกทิวิตีการผลิตเอนไซม์ไลเพสจำนวน 12 ไอโซเลท และไอโซเลทที่ไม่มีแอกทิวิตีจำนวน 26 ไอโซเลท ในอาหารเหลวมาศึกษาลักษณะทางฟีโนไทป์และวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน 16S rRNA พบว่าสามารถจัดกลุ่มแบคทีเรียตัวแทนที่ย้อมติดสีแกรมบวกทั้งหมด 38 ไอโซเลทได้เป็นทั้งหมด 9 สกุล ได้แก่ สกุล Oceanobaillus (2 สายพันธุ์), Virgibacillus (2 สายพันธุ์), Halobacillus (2 สายพันธุ์), Thalassobacillus (2 สายพันธุ์), Bacillus (5 สายพันธุ์), Staphylococcus (9 สายพันธุ์), Salinicoccus (12 สายพันธุ์), Nesterenkonia (2 สายพันธุ์) และ Allobacillus (2 สายพันธุ์) จากการศึกษาลักษณะอนุกรมวิธานแบบโพลีฟาสิกของ Allobacillus sp. 2 สายพันธุ์ ได้แก่ SKP4-8 และ SKP8-2 จัดเป็นแบคทีเรียสปีชีส์ใหม่ ซึ่งมีผลการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณยีน 16S rRNA ของสายพันธุ์ SKP4-8 และ SKP8-2 ใกล้เคียงกับสายพันธุ์ Allobacillus halotolerans B3AT เป็น 99.14 และ 98.80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และทั้ง 2 สายพันธุ์ …


ผลของวัตถุเจือปนประเภทคาร์โบไฮเดรตต่อสมบัติของเพสต์และเจลสตาร์ชข้าว, ไชยพรรณ ธาราสุข Jan 2017

ผลของวัตถุเจือปนประเภทคาร์โบไฮเดรตต่อสมบัติของเพสต์และเจลสตาร์ชข้าว, ไชยพรรณ ธาราสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวัตถุเจือปนประเภทคาร์โบไฮเดรตต่อสมบัติของเพสต์และเจลสตาร์ชข้าวเจ้า วัตถุเจือปนที่ใช้ในงานวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้แก่ น้ำตาลและน้ำตาลแอลกอฮอล์ (กลูโคส ฟรุกโทส และซอร์บิทอล) และกลุ่มที่สองได้แก่ ออลิโกแซ็กคาไรด์และพอลิแซ็กคาไรด์ที่มีสมบัติเป็นพรีไบโอติก (พอลิเด็กซ์โทรส ฟรุกโทออลิโกแซ็กคาไรด์ และอินูลิน) โดยเติมวัตถุเจือปนในปริมาณ 5, 10, 20, และ 30% โดยน้ำหนักของสตาร์ช จากการติดตามพฤติกรรมการเกิดเพสต์ของสตาร์ชข้าวพบว่าเมื่อความเข้มข้นของน้ำตาลหรือน้ำตาลแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น อุณหภูมิการเกิดเพสต์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ความหนืดสูงสุดมีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ความหนืดเบรกดาวน์และความหนืดเซ็ตแบ็กก็มีแนวโน้มลดลงด้วย ในด้านสมบัติทางความร้อนพบว่าอุณหภูมิและเอนทาลปีของการเกิดเจลาทิไนเซชันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามความเข้มข้นของน้ำตาลหรือน้ำตาลแอลกอฮอล์ที่เพิ่มขึ้น โดยกลูโคสและซอร์บิทอลทำให้อุณหภูมิและเอนทาลปีของการเกิดเจลาทิไนเซชันของสตาร์ชข้าวเพิ่มขึ้นได้สูงสุด ในแง่การเกิดรีโทรเกรเดชัน พบว่าเอนทาลปีของการหลอมผลึกแอมิโลเพกทินของตัวอย่างที่เติมกลูโคสและซอร์บิทอลมีค่าต่ำกว่าตัวอย่างที่เติมฟรุกโทสที่ความเข้มข้นเท่ากัน ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากลูโคสและซอร์บิทอลมีประสิทธิภาพในการชะลอการเกิดรีโทรเกรเดชันได้ดีกว่าฟรุกโทส นอกจากนี้จากการติดตามการเปลี่ยนแปลงของปริมาณของส่วนเสมือนของแข็งพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามระยะเวลาการเก็บรักษาที่เพิ่มขึ้นในทุกตัวอย่าง โดยตัวอย่างควบคุมมีอัตราการเพิ่มขึ้นของส่วนเสมือนของแข็งสูงกว่าเจลสตาร์ชที่เติมน้ำตาลและน้ำตาลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 14 วันแรกของการเก็บรักษา ในแง่ความสามารถในการเคลื่อนที่ของน้ำในเจลสตาร์ชพบว่ามีแนวโน้มลดลงเมื่อระยะเวลาการเก็บรักษาเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลมาจากน้ำถูกจับไว้โดยองค์ประกอบอื่นภายในระบบ เช่น การเกิดไฮเดรชันกับผลึกสตาร์ช โดยตัวอย่างควบคุมมีการลดลงของ 1H NMR T1 และ T2 สูงที่สุด สำหรับผลของการเติมพรีไบโอติกพบว่าการเติมพรีไบโอติกมีผลสำคัญต่อพฤติกรรมการเกิดเพสต์ของสตาร์ชข้าว โดยเมื่อความเข้มข้นของพรีไบโอติกเพิ่มสูงขึ้น อุณหภูมิการเกิดเพสต์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ความหนืดสูงสุดมีแนวโน้มลดลง เมื่อเปรียบเทียบที่ความเข้มข้นเท่ากัน ความหนืดสูงสุดของตัวอย่างที่เติมอินูลินมีค่าสูงกว่าตัวอย่างที่เติม พอลิเด็กซ์โทรสหรือฟรุกโทออลิโกแซ็กคาไรด์ เมื่อความเข้มข้นของพรีไบโอติกเพิ่มขึ้นพบว่าความหนืดเบรกดาวน์และความหนืดเซ็ตแบ็กมีแนวโน้มลดลง สำหรับสมบัติทางความร้อนพบว่าอุณหภูมิของการเกิดเจลาทิไนเซชันเพิ่มสูงขึ้นตามความเข้มข้นของพรีไบโอติกที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่เอนทาลปีในการเกิดเจลาทิไนเซชันลดลงเล็กน้อย การเติมพรีไบโอติกสามารถชะลอการเกิดรีโทรเกรเดชันของสตาร์ชข้าว โดยตัวอย่างที่เติมอินูลินมีเอนทาลปีของการหลอมผลึกแอมิโลเพกทินต่ำกว่าตัวอย่างที่เติมพอลิเด็กซ์โทรสและฟรุกโทออลิโกแซ็กคาไรด์ที่ความเข้มข้นเท่ากัน ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของปริมาณส่วนเสมือนของแข็ง ที่พบว่าเจลสตาร์ชที่เติมพรีไบโอติกมีการเพิ่มขึ้นของส่วนเสมือนของแข็งในอัตราที่ต่ำกว่าตัวอย่างควบคุม ในด้านความสามารถในการเคลื่อนที่ของน้ำ การเติมพรีไบโอติกทำให้ 1H NMR T1 และ T2 ลดลงในอัตราที่ช้ากว่าเมื่อเทียบกับตัวอย่างควบคุม โดยสรุปพบว่าวัตถุเจือปนคาร์โบไฮเดรตที่ใช้ในงานวิจัยนี้ทำให้สตาร์ชเกิดเจลาทิไนเซชันได้ยากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้สตาร์ชแกรนูลทนทานต่อความร้อนและแรงเฉือนมากขึ้น รวมทั้งช่วยชะลอการเกิดรีโทรเกรเดชัน


การใช้สารสกัดจากเปลือกแก้วมังกรแดง Hylocereus Polyrhizus ร่วมกับโซเดียมแลกเทตเพื่อการยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคและการยืดอายุการเก็บรักษาคัสตาร์ดครีม, ทรงพร คำคม Jan 2017

การใช้สารสกัดจากเปลือกแก้วมังกรแดง Hylocereus Polyrhizus ร่วมกับโซเดียมแลกเทตเพื่อการยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคและการยืดอายุการเก็บรักษาคัสตาร์ดครีม, ทรงพร คำคม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการใช้สารสกัดจากเปลือกแก้วมังกรแดงส่วน mesocarp ร่วมกับโซเดียมแลกเทตในการยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคและลดการเสื่อมเสียของคัสตาร์ดครีม โดยหาอัตราส่วนตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัด ศึกษาสมบัติการต้านจุลินทรีย์ของสารสกัดที่ได้และของโซเดียมแลกเทต ประเมินการเสริมฤทธิ์ของสารผสม และประยุกต์ใช้เป็นสารต้านจุลินทรีย์ในคัสตาร์ดครีม วัดปริมาณเบต้าไซยานิน สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด และองค์ประกอบทางเคมีในสารสกัดด้วยวิธี HPLC วัดสมบัติการต้านจุลินทรีย์ด้วยวิธี agar well diffusion วิเคราะห์ค่า minimum inhibitory concentrations (MIC) และ minimum bactericidal concentration (MBC) วิเคราะห์ค่าทางเคมี กายภาพและการเจริญของเชื้อผสม (culture cocktail) ที่เติมลงในคัสตาร์ดครีม จากการศึกษาพบว่าการใช้เอทานอลผสมกับน้ำที่อัตราส่วน 50:50 (v/v) ในการสกัดให้ปริมาณเบต้าไซยานินและสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงที่สุด เท่ากับ 53.80±1.15 mg/ 100 g dry wt. และ 387.67±26.74 mgGAE/ 100 g dry wt. ตามลำดับ สารสกัดที่ได้ประกอบด้วย betacyanin, gallic acid, caffeic acid, ferulic acid, rutin และ pyrogallol มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ก่อโรคมาตรฐาน ได้แก่ Staphylococcus aureus, Bacillus cereus, Salmonella Typhimurium และ Escherichia coli มีค่าเฉลี่ยของเส้นผ่าศูนย์กลางของฤทธิ์ยับยั้ง (clear zone) อยู่ในช่วง 2.08±0.10-21.06±0.14 mm และมีค่า MIC และ MBC อยู่ในช่วง 7.81-15.63 mg/mL และ 15.63-250 mg/mL ตามลำดับ ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ของโซเดียมแลกเทต มีค่า MIC และ MBC อยู่ในช่วง 1.88-7.5% และ 7.5- มากกว่า 30% ตามลำดับ …


Bioactive Compounds From Songkhla Province Mangrove-Derived Endophytic Fungi And From Heart-Leaved Moonseed Tinospora Baenzigeri Forman, Sujitra Hanthanong Jan 2017

Bioactive Compounds From Songkhla Province Mangrove-Derived Endophytic Fungi And From Heart-Leaved Moonseed Tinospora Baenzigeri Forman, Sujitra Hanthanong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study has evaluated biological activities of isolated compounds from Tinospora baenzigeri stems collecting from two different areas, and from mangrove-derived endophytic fungi isolated from trees inhabiting in Songkhla province. Four new rearranged clerodane-type diterpenes (66-69), one new glycoside (70), and six known compounds (61, 71-75), were extracted from plant obtained from local market in Bangkok. Twelve compounds including a new rearranged clerodane-type diterpene (76), a new rearranged clerodane glycoside (77), five known compounds (44, 78-81), and five compounds counting 61, 66, 70 and 74-75 were obtained from plant collected in Bueng Kan Province. Structures of new compounds 66-69 and …


Effects Of Cytokine-Induced Killer Cells On Concanavalin-A Induced Hepatitis In Mouse, Warakorn Srisantisuk Jan 2017

Effects Of Cytokine-Induced Killer Cells On Concanavalin-A Induced Hepatitis In Mouse, Warakorn Srisantisuk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Autoimmune hepatitis (AIH) is a chronic inflammatory disease of liver that the pathogenic mechanisms of AIH have not yet been clarified. All patients with AIH lead to cirrhosis and liver cancer. Presently the best feasible medicines of AIH need aid immunosuppressive medications and liver transplantation which have many side effects, high cost and sustained remission. Thus, immunotherapy is an alternative therapy in which cellular material is injected into a patient. Many previous studies showed cytokine induced killer (CIK) cells, T lymphocytes that have a phenotype of NK cells, have a potential to against several diseases associated with liver. The current …


เทคนิคการขยายพันธุ์ปะการังอ่อน Sinularia Sp. และ Sarcophyton Sp. ในภาวะเพาะฟัก, เบญจวรรณ สีหะรัญ Jan 2017

เทคนิคการขยายพันธุ์ปะการังอ่อน Sinularia Sp. และ Sarcophyton Sp. ในภาวะเพาะฟัก, เบญจวรรณ สีหะรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปะการังอ่อน (soft coral) จัดอยู่ในอันดับ Alcyonacea เป็นสิ่งมีชีวิตในทะเลที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศแนวปะการัง พบกระจายทั่วไปในน่านน้ำอินโดแปซิฟิก อีกทั้งปะการังอ่อนสามารถนำมาผลิตเป็นยา และเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เสริมความงามต่างๆ ตลอดจนมีการซื้อขายเพื่อการเลี้ยงในตู้ปลาสวยงาม การเพิ่มขึ้นของความต้องการที่กล่าวมานั้นส่งผลทำให้ปะการังอ่อนถูกเก็บเกี่ยวไปเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการเพาะเลี้ยงปะการังอ่อนจึงเป็นวิธีการที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้ปะการังอ่อนแทนการเก็บจากธรรมชาติ จึงทำการศึกษาการขยายพันธุ์ของกล้าปะการังอ่อน Sinularia sp. และ Sarcophyton sp. ภายใต้ระบบน้ำทะเลไหลผ่านตลอด โดยใช้วิธีการขยายพันธุ์ที่แตกต่างกัน เพื่อทราบถึงการสร้างเนื้อเยื่อยึดติดกับวัสดุเทียมของกล้าปะการังอ่อน โดยทำการอนุบาลเป็นเวลา 70 วัน ผลการศึกษาพบว่า กล้าปะการังอ่อน Sinularia sp. และ Sarcophyton sp. โดยวิธีการเสียบติดกับวัสดุเทียมเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการยึดติดกับวัสดุเทียมที่รวดเร็วที่สุด 6-13 วัน และ 5-8 วัน ตามลำดับ โดยมีอัตราการรอดสูงสุดร้อยละ 83.33 และ 90 .00 ตามลำดับ หลังจากนั้นจึงนำผลการศึกษาวิธีการยึดติดกล้าปะการังอ่อนที่ดีที่สุด มาทำการศึกษาใหม่ในระบบเลี้ยง 3 ระบบ เป็นเวลา 6 เดือน พบว่าอัตราการเติบโตของกล้าปะการังอ่อน Sinularia sp. ในระบบน้ำทะเลไหลผ่านตลอดมีอัตราการเติบโตสูงสุด (0.68±0.04 เซนติเมตรต่อเดือน) โดยมีอัตราการรอดสุดท้ายในระบบน้ำทะเลหมุนเวียนแบบกึ่งปิดร้อยละ 88.67 และระบบน้ำทะเลไหลผ่านตลอดร้อยละ 87.33 สำหรับกล้าปะการังอ่อน Sarcophyton sp. พบว่ามีอัตราการเติบโตสูงสุดในระบบน้ำนิ่ง (0.94±0.04 เซนติเมตรต่อเดือน) และอัตราการรอดสุดท้ายของกล้าปะการังอ่อน Sarcophyton sp. ในระบบน้ำนิ่ง และระบบน้ำไหลผ่านตลอดร้อยละ 94.67


สัณฐานวิทยาและโครงสร้างรังของแมงมุมฝาปิดโบราณสกุล Liphistius Schiödte, 1849 ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์, วรัตถ์ ศิวายพราหมณ์ Jan 2017

สัณฐานวิทยาและโครงสร้างรังของแมงมุมฝาปิดโบราณสกุล Liphistius Schiödte, 1849 ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์, วรัตถ์ ศิวายพราหมณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แมงมุมฝาปิดโบราณในสกุล Liphistius (Liphistiidae, Mesothelae) เป็นหนึ่งในสกุลของแมงมุมโบราณที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน โดยยังมีแผ่นปิดท้องด้านบนที่แบ่งเป็นปล้องและมีอวัยวะสร้างใยอยู่บริเวณส่วนกลางของ abdomen การศึกษาเกี่ยวกับแมงมุมในสกุล Liphistius ในอดีตส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่เฉพาะในด้านอนุกรมวิธานเท่านั้น ในการศึกษานี้ได้ให้ความสนใจในการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาและโครงสร้างรังของแมงมุมฝาปิดโบราณแม่วงก์ Liphistius maewongensis Sivayyapram et al., 2017 ซึ่งถือเป็นแมงมุมฝาปิดโบราณชนิดใหม่ของโลก โดยผู้ศึกษาได้ทำการเก็บตัวอย่างแมงมุมและข้อมูลทางกายภาพที่เกี่ยวข้องจากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ที่ระดับความสูง 1,000–1,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ผลการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของตัวอย่างแมงมุมจำนวน 46 ตัวอย่าง (♀ = 24, ♂ = 22) พบว่าแมงมุมที่พบภายในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์มีลักษณะโครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งในเพศผู้และเพศเมียแตกต่างจากแมงมุมในสกุล Liphistius ที่เคยมีการค้นพบมาก่อน จากการศึกษาโครงสร้างรังของแมงมุมจำนวน 359 รัง พบว่าแมงมุมชนิดนี้มีการสร้างรังอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ โครงสร้างรังแบบทั่วไปและโครงสร้างรังแบบตัว T โดยโครงสร้างรังแบบทั่วไปมีลักษณะเป็นท่อตรงมีทางเข้าออกทางเดียว ในขณะที่โครงสร้างรังแบบตัว T มีทางเข้าออก 2 ทาง จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าขนาดทางสัณฐานวิทยาของแมงมุมและรูปแบบโครงสร้างของรังมีความสัมพันธ์กัน โดยความยาวและความกว้างของฝาปิดทางเข้ารังและความลึกของรังมีความสัมพันธ์กับความยาวลำตัวของแมงมุม (Pearson’s correlation r = 0.80, 0.73, 0.51 ตามลำดับ n = 46, p < 0.01) แสดงให้เห็นว่าขนาดและความลึกของรังมีการเพิ่มขึ้นเมื่อแมงมุมมีการเจริญเติบโตและขยายขนาดลำตัว นอกจากนี้ chi-square test ยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของขนาดลำตัวแมงมุมที่มีต่อรูปแบบการสร้างรัง (X2= 92.23, 2; p < 0.01) จากรังแบบตรงกลายเป็นรังรูปตัว T เมื่อแมงมุมมีอายุมากขึ้น จากผลการศึกษารูปแบบการกระจายของประชากรพบว่าแมงมุมฝาปิดโบราณแม่วงก์มีการกระจายตัวแบบกลุ่ม (Morisita’s index, Iδ = 2.76) ซึ่งสอดคล้องกับความสามารถในการกระจายพันธุ์ที่จำกัดของแมงมุมในกลุ่มนี้ และอาจบ่งชี้ให้เห็นถึงผลของ dilution effect หรือ selfish herd effect ที่อาจเกิดขึ้นในกลุ่มประชากรเพื่อตอบสนองต่อผู้ล่า การระวังภัยที่เพิ่มขึ้น และโอกาสประสบความสำเร็จในการสืบพันธุ์ อย่างไรก็ตามในการศึกษ


ความหลากชนิดและความชุกชุมของมดในพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์โดยมนุษย์ในอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน, อนงค์นาฏ เช็งสุทธา Jan 2017

ความหลากชนิดและความชุกชุมของมดในพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์โดยมนุษย์ในอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน, อนงค์นาฏ เช็งสุทธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยในครั้งนี้ทำการศึกษาในเขตอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 ถึงเดือนมกราคม 2559 ในพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์จากมนุษย์ 3 ประเภท ได้แก่ ป่าชุมชน (CF), สวนป่าสัก (TP) และพื้นที่เกษตรแบบผสมผสาน (IF) วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ต้องการที่จะเปรียบเทียบความหลากหลายและความชุกชุมของมดในพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์โดยมนุษย์และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางประการต่อความชุกชุมของมด 3 ชนิด ได้แก่ มดน้ำผึ้ง Anoplolepis gracilipes มดแดง Oecophylla smaragdina และมดละเอียดท้องดำ Trichomyrmex destructor ทำการเก็บตัวอย่างมดทุก ๆ 2 เดือนโดยใช้วิธีเก็บตัวอย่าง 4 วิธี ได้แก่ การเก็บด้วยมือแบบกำหนดเวลา การใช้กับดักน้ำหวานผสมโปรตีน การใช้กับดักหลุม และ การร่อนดิน ผลการศึกษาพบมดจำนวนหกวงศ์ย่อย ได้แก่ วงศ์ย่อย Dolichoderinae วงศ์ย่อย Dorylinae วงศ์ย่อย Formicinae วงศ์ย่อย Myrmicinae วงศ์ย่อย Ponerinae และ วงศ์ย่อย Pseudomyrmecinae ซึ่งพบมดทั้งสิ้นจำนวน 40 สกุล 70 ชนิด (69 ชนิด และ 1 สัณฐานวิทยา) โดยที่มดชนิด Paratopula macta ได้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในภาคเหนือของประเทศไทย ค่าเฉลี่ยของดัชนีความหลากหลายทางชนิดมด (Shannon - Wiener's diversity index (H')) มีค่าเท่ากับ 1.05, 0.90 และ 0.77 ในพื้นที่ IF CF และ TP ตามลำดับ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของดัชนีความสม่ำเสมอของชนิดมด (Pielou's evenness index (J')) มีค่า 0.31, 0.28 และ 0.26 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการเปรียบเทียบดัชนี …


Effects And Mechanisms Of Porcine Reproductive And Respiratory Syndrome Virus (Prrsv) Type 1 And Type 2 On The Permeability And Viability Of Porcine Endometrial Epithelial Cells, Dran Rukarcheep Jan 2017

Effects And Mechanisms Of Porcine Reproductive And Respiratory Syndrome Virus (Prrsv) Type 1 And Type 2 On The Permeability And Viability Of Porcine Endometrial Epithelial Cells, Dran Rukarcheep

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Both PRRSV types 1 and 2 revealed the sign of reproductive disorders associated with a lesion at implantation sites. Impairment of maternal glandular endometrium cell integrity and function by PRRSV infection may impact a proper nourishing fetus. This research was aimed to examine the effects of PRRSV type 1 and type 2 directly on the viability and barrier function of the endometrium using porcine glandular endometrial epithelial cell culture (PEG). The comparison of the route and the strain of PRRSV infection coinciding with their virulent in reproductive epithelia were considered. PEG cells isolated from the 4-6 months old PRRSV-free-herd gilts …


Oxidative Responses In Transgenic 'Kdml105' Rice Oryza Sativa L. Overexpressing Oscam1-1 Against Drought Stress, Pun Sangchai Jan 2017

Oxidative Responses In Transgenic 'Kdml105' Rice Oryza Sativa L. Overexpressing Oscam1-1 Against Drought Stress, Pun Sangchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The OsCaM1-1 is a rice calmodulin protein which transduces Ca2+ signals to their target protein that is important to regulate cellular and physiological responses. Drought stress is the one of essential environmental stresses that affected the crop by changing in morphological, physiological, and biochemical direction tactics of plants. In this study, the effect of drought stress on growth and antioxidant system in the transgenic rice overexpressing OsCaM1-1 gene was investigated and compared to the control and wild type KDML 105. The overexpression of OsCaM1-1 in transgenic rice could increase plant tolerance to drought stress, the results showed the greater increase …


Isolation And Characterization Of Triclocarban Degrading Bacteria As Plant Growth Promoter, Merry Krisdawati Sipahutar Jan 2017

Isolation And Characterization Of Triclocarban Degrading Bacteria As Plant Growth Promoter, Merry Krisdawati Sipahutar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Triclocarban (TCC) is a widely used as antimicrobial agent in household products. High usage volume of TCC results in its accumulation in sludge and lead to contamination in environments. Application of biosolid in agricultural activities leads to contamination of TCC in agricultural areas. So. development of bioremediation technique for TCC is necessary to maintain quality of agricultural ecosystem. For that purpose, this research isolated 5 soil bacteria capable of TCC degradation and with plant-growth promoting (PGP) activities including Ochrobactrum sp. MC22, Ochrobactrum sp. MC35, Sphingobacterium sp. MC43, Pseudomonas sp. MS45, and Pseudomonas fluorescens MC46. Among them, Ochrobactrum sp. MC22 and …


Screening Of Spore Forming D-Lactic Acid Producing Bacteria And Its Optimization, Budsabathip Prasirtsak Jan 2017

Screening Of Spore Forming D-Lactic Acid Producing Bacteria And Its Optimization, Budsabathip Prasirtsak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this study, isolation, screening, fermentation optimization, and determination of the expression of key enzymes involving in D-lactic acid production were conducted for selection of the novel D-lactic acid isolate with the high yield, productivity, and optical purity. From the screening experiment, the novel isolate, NK26-11T, was obtained. The isolate NK26-11T was a Gram-stain-positive, catalase-positive, facultatively anaerobic, spore-forming, rod-shaped bacterium isolated from soil sample in Thailand. This isolate homofermentatively fermented glucose for D-lactic acid and grew at the wide range of temperature between 20 and 45 °C and the pH of 5-8.5. The cell-wall peptidoglycan of NK26-11T contained meso-diaminopimelic acid. …


Adaptation Of Terrilactibacillus Laevilacticus Sk5-6 For Growth And D-Lactic Acid Production In A Low Yeast Extract Concentration Medium, Srettapat Limsampancharoen Jan 2017

Adaptation Of Terrilactibacillus Laevilacticus Sk5-6 For Growth And D-Lactic Acid Production In A Low Yeast Extract Concentration Medium, Srettapat Limsampancharoen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Lactic acid has been extensively used in food, personal care, and pharmaceutical products. Besides, lactic acid can be used as the sole feedstock in the synthesis of polylactic acid (PLA), the biodegradable plastic. The demand of the bioplastics including PLA has been increased due to the environmental impact of petroleum based plastic; therefore, this expedited the market demand of lactic acid. It should be noted that the polymer grade lactic acid is unlike those commercially available products for food and pharmaceutical applications. The high purity of stereoisomer either D-lactate or L-lactate is mandatory in PLA polymerization. In addition, the production …


Antibacterial Agents From Dracaena Cochinchinensis (Lour.) S.C.Chen And Eleutherine Americana (Aubl.) Merr. Ex K. Heyne, Ritbey Ruga Jan 2017

Antibacterial Agents From Dracaena Cochinchinensis (Lour.) S.C.Chen And Eleutherine Americana (Aubl.) Merr. Ex K. Heyne, Ritbey Ruga

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Fifteen compounds including two new anthraquinones (118-119), two naturally occurring new compounds (116-117) and eleven known compounds were successfully isolated from the CH2Cl2 extracts of Dracaena cochinchinensis and Eleutherine americana i.e. dihydrochalcones (5 and 23), pterostilbene (27), homoisoflavanones (15 and 82-84), naphthalenes (85 and 116), pyranonaphthoquinone (86) and anthraquinones (99-100 and 117-119). Among isolated compounds, (+)-eleutherin (86) was the most potent antibacterial agent against Propionibacterium acnes KCCM 41747, Staphylococcus aureus ATCC 25923, Streptococcus sobrinus KCCM 11898, Streptococcus mutans ATCC 25175 and Salmonella typhi ATCC 422 with inhibition zones of 14.7 to 18.0 mm and MIC values of 0.24 to 7.8 …


Tyrosinase Inhibitors From Bark Of Talawrinta (Manilkara Kauki (L.) Dubard, Sirinada Srisupap Jan 2017

Tyrosinase Inhibitors From Bark Of Talawrinta (Manilkara Kauki (L.) Dubard, Sirinada Srisupap

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Melanin is essential for protecting human skin from ultraviolet radiation. However, its overproduction in the basal epithelial layer leads to hyperpigmentary disorders of the skin such as melasma, blemish and age spots. Tyrosinase is one of key enzymes in melanogenesis. Manilkara kauki (L.) Dubard or Talawrinta is one of the plants in genus Manilkara of Sapotaceae family. This study attempted to investigate in vitro total phenolic and flavonoid contents, antioxidant and tyrosinase inhibitory activities of crude extract of different parts of M. kauki and purify tyrosinase inhibitors from stem barks of M. kauki. Methanol and aqueous crude extracts of fruits, …


Uv-A And -B Blocking Agents For Psoriasis Phototherapy, Sruangsuda Mawaha Jan 2017

Uv-A And -B Blocking Agents For Psoriasis Phototherapy, Sruangsuda Mawaha

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

UV-A and -B blocking agents are essential components for the formulation of topical cream for psoriasis phototherapy. In this research, many natural compounds were discovered as potent UV-A and UV-B blocking agents, but small number could absorb narrowband UV-B. Quercetin hydrate, oxyresveratrol and curcumin were good UV-A blocking agents, while catechin, hesperetin, lutein and naringenin were proper for UV-B blocking agents. Berberine chloride hydrate, demethoxycurcumin and mansonone G were UV-A and -B blocking agents. From random combination, the mixture of mansonone G 0.010 % w/v and quercetin hydrate 0.0025 % w/v was disclosed to be a right choice for this …


Bioactive Compounds With An Inhibitory Activity Against Osteoclast Differentiation And Mechanisms, Supatta Chawalitpong Jan 2017

Bioactive Compounds With An Inhibitory Activity Against Osteoclast Differentiation And Mechanisms, Supatta Chawalitpong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญอย่างหนึ่งของสังคมผู้สูงอายุ สาเหตุหลักของภาวะดังกล่าวเกิดจากความไม่สมดุลของเซลล์ที่ทำหน้าทีสร้างกระดูก (osteoblast) และเซลล์ที่ทำหน้าที่สลายกระดูก (osteoclast) การลดลงของมวลกระดูกในผู้สูงอายุนำมาซึ่งความเสี่ยงในการแตกหักของกระดูก จุดประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ การคัดกรองสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีฤทธิ์ในการต้านการเปลี่ยนสภาพของเซลล์สลายกระดูกและกลไกการออกฤทธิ์ของสารนั้นๆ ในกลุ่มสารทดสอบอนุพันธ์สาร (3S)-1-(3,4-dihydroxyphenyl)-3-hydroxy-7-phenyl-(6E)-6-heptene (DHPH) และ กรดไซเปอเรโนอิก (Cyperenoic acid) ซึ่งสกัดได้จากส่วนเหง้า Curcuma comosa Rox. และราก Croton crassifolius Geiseler. ตามลำดับ มีฤทธิ์แรงในการต้านการเกิดเซลล์สลายกระดูก ในระดับ in vitro ใช้เซลล์จากไขกระดูกที่ถูกกระตุ้นด้วย receptor activator of nuclear factor-κB ligand (RANKL) DHPH มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเปลี่ยนสภาพไปเป็นเซลล์สลายกระดูก โดยยับยั้งการเกิด TRAP-positive multinucleated cells (TRAP+ MNCs) ที่ระดับความเข้มข้นยับยั้งกึ่งหนึ่ง (IC50) 325±1.37 นาโนโมลาร์ การยับยั้งดังกล่าวสอดคล้องกับการลดต่ำลงของสัญญาณภายใต้การกระตุ้นของ RANKL โดยรวมถึงวิถี Mitogen-activated protein kinases (MAPKs) เช่น ERK (p44/42) และ p38 แต่ไม่มีผลต่อวิถี NF-κB โดยผลของสารดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อระดับของ transcription factor เช่น nuclear factor of activation T cells (NFATc1) และ c-Fos ซึ่งมีความสำคัญมากในการเปลี่ยนสภาพเป็นเซลล์สลายกระดูก DHPH ลดการกัดกร่อนกระดูก (bone resorption) บนแผ่นกระดูก (bone slices) นอกจากนั้นสาร DHPH ยังสามารถเพิ่มกิจกรรมของเอนไซม์ alkaline phosphatase (ALP) ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสภาพของเซลล์สร้างกระดูกในเซลล์ชนิด MC3T3-E1 ในกรณีของกรดไซเปอเรโนอิกนั้น พบว่าสามารถลดการเกิด TRAP+ MNCs ที่ระดับความเข้มข้น IC50 ที่ 36.69±1.02 …


Optimization Of D-Lactic Acid Production By Terrilactibacillus Laevilacticus Sk5-6 And Fermentation Process Scale Up In 30 Litre-Fermentor, Woraphot Toliang Jan 2017

Optimization Of D-Lactic Acid Production By Terrilactibacillus Laevilacticus Sk5-6 And Fermentation Process Scale Up In 30 Litre-Fermentor, Woraphot Toliang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

PLA, which is one of biodegradable plastic stereocomplex is made by block polymerization of optically pure L- and D-lactic acid. With stereoblock structure, heat and mechanical properties of PLA products can be improved. Thus, the demand of D-lactic acid has been increased. However, the market supply is still limited. In-house work reported that Terrilactibacillus laevilacticus SK5-6, the novel bacterium has been isolated from soil and later identified as the potent D-lactic acid producer. Moreover, it could produce high D-lactic acid from glucose with high optical purity in flask scale. To improve the fermentation performance, further process optimization was conducted in …


Diversity Of Mosses In Phu Kradueng National Park, Loei Province, Patsakorn Ajintaiyasil Jan 2017

Diversity Of Mosses In Phu Kradueng National Park, Loei Province, Patsakorn Ajintaiyasil

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study of mosses diversity in Phu Kradueng National Park, Loei Province was explored from December 2014 to December 2016. The samples were collected along the 6 natural trails. A total of 501 samples were identified into 30 families, 55 genera, 100 species, 5 subspecies, and 9 varieties. Three families of mosses namely Sphagnaceae, Fissidentaceae, and Leucobryaceae were common families which included 11, 9 and 7 taxa, respectively. Additionally, the most common microhabitat was saxicolous with 45 species. The second and third common microhabitats were terrestrial and corticolous with 43 and 37 species, respectively. Additionally, there are 4 species which …


Mechanisms Of Thai Medicinal Plant Extracts On The Attenuation Of Glutamate-Mediated Neurotoxicity, Anchalee Prasansuklab Jan 2017

Mechanisms Of Thai Medicinal Plant Extracts On The Attenuation Of Glutamate-Mediated Neurotoxicity, Anchalee Prasansuklab

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As the world population ages, neurodegenerative diseases, particularly Alzheimer's disease, are becoming a major public health concern with increasing incidence and prevalence worldwide while no cure currently exists. To challenge this situation, herbal medicine may provide a potential alternative treatment as use of natural-derived substances has been proven to be effective in the prevention and/or treatment of several diseases. During the past decades, increasing evidence has implicated excessive glutamate levels in the pathway of neuronal cell death. Thailand is a place known for cultivating a variety of tropical plants and herbs, so far many of them have never been examined …


Mechanisms Of Phytochemicals From Murraya Koenigii And Stevia Rebuadiana In Cell Model Of Diabetes, Hepatocellular Carcinoma And Cholangiocarcinoma Under Hyperglycemic Conditions, Nattakarn Nooron Jan 2017

Mechanisms Of Phytochemicals From Murraya Koenigii And Stevia Rebuadiana In Cell Model Of Diabetes, Hepatocellular Carcinoma And Cholangiocarcinoma Under Hyperglycemic Conditions, Nattakarn Nooron

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Diabetes mellitus (DM) is a group of metabolic disorders in which high blood glucose levels over a prolonged period, caused by deficiency of insulin production from the pancreas, or by the insulin resistance. Several epidemiological studies suggest that diabetic population is not only at increased risk of cardiovascular complications, but also at substantially higher risk of many types of malignancies. Hyperglycemia induced free radical reactive oxygen species (ROS) production, which is a major cause of cell injury and organ damage, especially affects pancreatic beta cells. Whereas insulin resistance in skeletal muscle tissue and adipocyte are the major sites of postprandial …


Role Of Progesterone Receptor A And B Isoforms In Lung Neuroendocrine Tumors, Teeranut Asavasupreechar Jan 2017

Role Of Progesterone Receptor A And B Isoforms In Lung Neuroendocrine Tumors, Teeranut Asavasupreechar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Lung neuroendocrine tumors (NETs) incidences are increasing in recent years. Women with lung NETs have significantly better survival rates as compared to men suggesting the involvement of sex steroids and their receptors in the progression of lung NETs. Recent data suggested that progesterone receptor (PR) may play a role in the survival of lung NET patients. PR exists as two major isoforms, PRA and PRB. How expression of PR isoforms affects proliferation of lung NETs and patient's survival is not known. To determine the role of PR isoforms in lung NETs, we constructed H727 lung NET cell models expressing PRB …


Bioactive Clitoria Ternatea L. Flower Extract For The Glycemic Control To Carbohydrate Foods And Sugary Beverages, Charoonsri Chusak Jan 2017

Bioactive Clitoria Ternatea L. Flower Extract For The Glycemic Control To Carbohydrate Foods And Sugary Beverages, Charoonsri Chusak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Clitoria ternatea L. flower, an edible plant containing anthocyanins, has been currently used as the source of natural colorant in foods, beverages and desserts worldwide. The previous report demonstrated its biological properties including antioxidant and antihyperglycemic activity. However, the various concentrations of Clitoria ternatea were used in food and beverages but the effective concentration of Clitoria ternatea on the digestibility of starch and glycemic response remains unknown. In this study, the effects of foods and beverage containing Clitoria ternatea L. flower extract (CTE) on starch digestibility in vitro, postprandial glycemic response and antioxidant capacity in human as well as sensory …