Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2022

Communication

Chulalongkorn University

Articles 1 - 30 of 66

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

Perception Of Women Entrepreneurs On Social Media Use For Marketing Communication In Qatar, Aisha Ali A.T.Al-Khulaifi Jan 2022

Perception Of Women Entrepreneurs On Social Media Use For Marketing Communication In Qatar, Aisha Ali A.T.Al-Khulaifi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aimed to understand the social media use of women entrepreneurs for marketing communication in Qatar. It is based on a qualitative approach, using an in-depth, semistructured interview. Participants were ten women entrepreneurs who have been running their businesses for at least six years, aged between 25 and 45. This research employed a question guideline as the research instrument based on five questions such as reasons for using social media for marketing, usage of social media for marketing, benefits, challenges, and professional benefits. The findings showed that the reasons for social media usage focus on ease of access and …


การออกแบบนิทรรศการด้วยแนวคิดการเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดียเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์, วิชญ์ธนา ธารจินดาวงศ์ Jan 2022

การออกแบบนิทรรศการด้วยแนวคิดการเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดียเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์, วิชญ์ธนา ธารจินดาวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การศึกษาแนวคิดจากกรณีตัวอย่างนิทรรศการที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์และนิทรรศการที่ประยุกต์ใช้ทรานส์มีเดียจากคลังข้อมูลของศูนย์ออกแบบงานสร้างสรรค์ (Creative Economic Agency) รวมถึงการสัมภาษณ์เพื่อสอบถามถึงเบื้องหลังในการออกแบบนิทรรศการเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 2.การออกแบบนิทรรศการเชิงทดลอง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยเฉพาะบริบทดนตรีทางเลือก โดยประยุกต์ใช้แนวคิดทรานส์มีเดียในการเล่าเรื่อง 3.การทดสอบประสิทธิภาพของการออกแบบโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ผ่านการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เข้าชมนิทรรศการ และการสัมภาษณ์รายบุคคลจากผู้เชี่ยวชาญในด้านสื่อและนิทรรศการ โดยวิเคราะห์ เชื่อมโยง และสรุปผล ผลการวิจัยพบว่า นิทรรศการที่เล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดีย อาศัยคุณลักษณะสองประการ ได้แก่ การปฏิสัมพันธ์ (interactive) และ ความดื่มด่ำ (immersive) เพื่อนำผู้ชมนำไปสู่การสร้างพื้นที่แห่งการมีส่วนร่วม ในด้านการรับรู้เนื้อหาที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมดนตรีนอกกระแส พบว่า ผู้ชมส่วนใหญ่สามารถเข้าใจเนื้อหาที่เกี่ยวกับดนตรีนอกกระแส โดยให้ความสนใจกับเนื้อหาที่สร้างสรรค์โดยผู้ชมคนอื่น โดยนอกจากการสื่อสารจะนำไปสู่การรับรู้ความหลากหลายของดนตรีนอกกระแสแล้ว เรื่องเล่าที่ประกฎในนิทรรศการยังนำไปสู่ข้อถกเถียงทางสังคม (public discussion) ที่เปิดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อถกเถียงในเชิงโครงสร้างของอุตสาหกรรมดนตรีในบริบทของไทย


อิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์บนติ๊กต็อกที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบฉับพลันในกลุ่มผู้บริโภคสินค้าความงาม, จิรัชญา อมรสถิตย์พันธ์ Jan 2022

อิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์บนติ๊กต็อกที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบฉับพลันในกลุ่มผู้บริโภคสินค้าความงาม, จิรัชญา อมรสถิตย์พันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์บนติ๊กต็อกที่ส่งผลต่อแรงกระตุ้นให้ซื้อสินค้าและพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบฉับพลันในกลุ่มผู้บริโภคสินค้าความงาม โดยมีตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ ทัศนคติต่ออินฟลูเอเซอร์ ความเชื่อใจต่ออินฟลูเอนเซอร์ ภาพลักษณ์ของอินฟลูเอนเซอร์ แรงกระตุ้นให้ซื้อสินค้า และการซื้อสินค้าแบบฉับพลัน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้เทคนิคการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริโภคสินค้าความงาม ทั้งเพศชายและหญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบฉับพลันหลังรับชมวิดีโอของอินฟลูเอนเซอร์บนติ๊กต็อก จำนวน 384 คน และใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Survey Monkey) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์การถดถอยค่าคงที่ (Simple Regression) และการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า อิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์บนติ๊กต็อก แรงกระตุ้นให้ซื้อสินค้า และการซื้อสินค้าแบบฉับพลันในกลุ่มผู้บริโภคสินค้าความงามมีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณพบว่า ทุกตัวแปรในอิทธิพลของ อินฟลูเอนเซอร์มีอิทธิพลต่อแรงกระตุ้นให้ซื้อสินค้า โดยทัศนคติต่ออินฟลูเอนเซอร์มีอิทธิพลมากที่สุดอยู่ที่ 0.300 รองลงมา คือ ภาพลักษณ์ของอินฟลูเอนเซอร์อยู่ที่ 0.222 และความเชื่อใจต่ออินฟลูเอนเซอร์ คือ ตัวแปรที่มีอิทธิพลน้อยที่สุดอยู่ที่ 0.169 นอกจากนี้ การวิเคราะห์การถดถอยค่าคงที่ยังพบว่า แรงกระตุ้นให้ซื้อสินค้ามีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าแบบฉับพลันอยู่ที่ 0.702


การโหยหาอดีตและการประกอบสร้างความทรงจำร่วมในแนวเพลงซินธ์ป๊อปของโพลีแคท และ วรันธร เปานิล, สุพิชญา คำเขียน Jan 2022

การโหยหาอดีตและการประกอบสร้างความทรงจำร่วมในแนวเพลงซินธ์ป๊อปของโพลีแคท และ วรันธร เปานิล, สุพิชญา คำเขียน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการนำเสนอการโหยหาอดีต และ วิเคราะห์การประกอบสร้างความทรงจำร่วมจากแนวเพลงซินธ์ป๊อปของศิลปินโพลีแคท และ วรันธร เปานิล ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ตัวบทจาก ผลงานเพลงของทั้งสองศิลปินจากแพลตฟอร์มออนไลน์ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างสรรค์ ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ประพันธ์เพลง แฟนเพลง และผู้เชี่ยวชาญที่ให้มุมมองวิชาการในด้านดนตรีศึกษากับมิติเชิงสังคม รวมทั้งสิ้น 23 คน ผลการวิจัยพบว่า การโหยหาอดีตในแนวเพลงซินธ์ป๊อปของทั้งสองศิลปิน มีกลวิธีในการนำเสนอผ่านองค์ประกอบต่าง ๆ ของเพลง ได้แก่ เนื้อเพลง (Lyrics) คีตประพันธ์ (Form) จังหวะ (Tempo) และ สีสันของเสียง (Tone color) โดยภาพรวมของผลงานเพลงทั้งหมด มุ่งถ่ายทอดเนื้อหาผ่าน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ มุมมองเกี่ยวกับเรื่องความรัก และ ช่วงเวลาสำคัญของชีวิต แฟนเพลงสามารถเชื่อมโยงการโหยหาอดีตที่เกิดขึ้นในระดับปัจเจกบุคคล ได้จากตัวแปรสำคัญ คือ ประสบการณ์การใช้ชีวิต (Live experience) ซึ่งสัมพันธ์กับอารมณ์และความรู้สึก (Emotional and feeling) ที่เกิดขึ้นระหว่างการฟังเพลงนั้นในอดีตเป็นหลัก สำหรับองค์ประกอบของคีตประพันธ์พบว่า โครงสร้างของเพลงแบบ ABC ที่มีการวนซ้ำในตำแหน่งครอรัสของเพลง เป็นแบบแผนที่เสริมให้เพลงซินธ์ป๊อปเกิดท่อนที่จดจำ และแฟนเพลงสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาผ่านเพลงกับเรื่องราวของอดีตของตนเองได้ ในส่วนของสีสันของเสียง พบว่า ซินธิไซเซอร์ เป็นเครื่องดนตรีหลักที่ส่งเสริมอัตลักษณ์ (Identity) ของแนวเพลงเป็นซินธ์ป๊อปให้แฟนเพลงสามารถเชื่อมโยงกับเสน่ห์ในยุค 80s อาทิ สภาพสังคมความเป็นอยู่ หรือ แฟชั่นเครื่องแต่งกาย ที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น และองค์ประกอบส่วนของจังหวะ เป็นตัวแปรสำคัญในการส่งเสริมอารมณ์เพลง ให้ผู้ฟังสามารถเลือกเชื่อมโยงความรู้สึกจากประสบการณ์อดีตที่เกิดขึ้นได้แตกต่างกันตามบุคคล เมื่อพิจารณาการสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับการโหยหาอดีตผ่านเพลง กล่าวโดยสรุปได้ว่า ในมุมของศิลปิน อาศัยกระบวนการในการการถ่ายทอดแรงบันดาลใจร่วมกับ การนำเสนอเอกลักษณ์ของความเก่าคลาสสิค แบบ 80s ที่สะท้อนผ่านตัวตนของตนเอง ในขณะเดียวกับแฟนเพลงสามารถรับรู้และเชื่อมโยงเอกลักษณ์นั้น ร่วมกับประสบการณ์ส่วนตัวอันนำไปสู่การโหยหาอดีตจากแนวเพลงซินธ์ป๊อปได้ และสำหรับการประกอบสร้างความทรงจำร่วม ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ตัวบทผ่านสื่อคอนเสิร์ต ซึ่งเป็นเหตุการณ์ (Event) ที่มีร่วมกันระหว่างศิลปินและแฟนเพลง พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความทรงจำร่วมผ่านเพลงซินธ์ป๊อปของโพลีแคท และ วรันธร เปานิล ประกอบไปด้วย 1) ประสบการณ์ส่วนตัว 2) รสนิยมในการฟังเพลง (Personal …


Brand Communication With Transmedia Storytelling Of Riot Games: Transmedia Engagement, Brand Attitudes, And Brand Experience., Hao-When Tsai Jan 2022

Brand Communication With Transmedia Storytelling Of Riot Games: Transmedia Engagement, Brand Attitudes, And Brand Experience., Hao-When Tsai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study seeks to understand how brands communicate through the application of transmedia storytelling from the message and to the receivers. While existing studies mainly aim at conceptualizing the term ‘transmedia storytelling’, this study explores the term from a game-centric narrative perspective. Using Riot Games as a case study due to its global success and popularity, this research applies a qualitative mixed-method approach of documentary research (qual) and in-depth interview (QUAL). The investigation places special emphasis on undercovering consumer attitude and experience upon engagement with brand transmedia stories. To do so, Jenkins’ (2003) concept of transmedia storytelling was adopted as …


อิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว และอัตนิยมเชิงวัฒนธรรมต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ, ไปรยา เจษฎานฤสาร Jan 2022

อิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว และอัตนิยมเชิงวัฒนธรรมต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ, ไปรยา เจษฎานฤสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ประสบการณ์ลูกค้าทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความสอดคล้อง 2) ด้านการเชื่อมต่อ 3) ด้านการผสมผสาน 4) ด้านความยืดหยุ่น และ 5) ด้านเฉพาะบุคคล ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว อัตนิยมเชิงวัฒนธรรม ความเป็นสากลนิยมที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ และเพื่อวิเคราะห์ตัวแปร ได้แก่ ประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว อัตนิยมเชิงวัฒนธรรม ความเป็นสากลนิยม และความตั้งใจซื้อ โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่มีกำลังซื้อ และอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 400 ตัวอย่าง เมื่อนำมาวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) พบว่า ประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ความเป็นสากลนิยม และภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียวที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบมากที่สุดตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 33.40 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยต้องการทราบว่า ตัวแปรประสบการณ์ลูกค้ามีตัวแปรในทุก ๆ ด้านที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อ หรือมีตัวแปรย่อยด้านใดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ จึงทำการทดสอบสมมติฐานที่ 2 เมื่อทำการทดสอบเพิ่มเติมโดยทำการแยกตัวแปรย่อยของตัวแปรประสบการณ์ลูกค้าออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเชื่อมต่อ ด้านการผสมผสาน ด้านความสอดคล้อง ด้านความยืดหยุ่น และด้านเฉพาะบุคคล พบว่า ตัวแปรย่อยด้านความสอดคล้อง และด้านความยืดหยุ่นมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.40 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และไม่มีตัวแปรอื่น ๆ มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญระดับ 0.05


ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคซีรีส์วาย, ธีระเดช พรหมมะ Jan 2022

ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคซีรีส์วาย, ธีระเดช พรหมมะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง “ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคซีรีย์วาย” ใช้ระเบียบวิธีแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ในรูปแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative) และเชิงปริมาณ (Quantitative) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดซีรีส์วาย ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของซีรีส์วายและทัศนคติต่อองค์ประกอบซีรีส์วายของผู้บริโภค และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของซีรีส์วายและพฤติกรรมของผู้บริโภค การศึกษาครั้ง ได้ศึกษาซีรีส์วายทั้งหมด 3 ประเทศแหล่งกำเนิด ได้แก่ ซีรีส์วายประเทศไทย ซีรีส์วายประเทศญี่ปุ่น และซีรีส์วายประเทศเกาหลีใต้ โดยมีการเก็บข้อมูลใน 2 รูปแบบได้แก่การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Dept Interview) จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านซีรีส์วายหรือผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมซีรีส์วาย ทั้งหมด 4 คน ซึ่งบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน ได้แก่ ผู้ผลิต สื่อ นักการตลาด และนักวิชาการ ในส่วนของเชิงปริมาณใช้เครื่องมือแบบสอบถามออนไลน์ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการรับชมซีรีส์วาย โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 400 คน งานวิจัยครั้งนี้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Person’s Product Moment Correlation Coefficient) เพื่อใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดซีรีส์วาย มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของผู้บริโภคต่อองค์ประกอบซีรีส์วายโดยตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับสูง และภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของซีรีส์วายมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ


ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19, พราวศินี พันธ์ทา Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19, พราวศินี พันธ์ทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวและการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศ ศึกษาความแตกต่างของลักษณะทางประชากร และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19 ของนักท่องเที่ยวไทย โดยการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการทำวิจัยเชิงปริมาณ ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มเป้าหมายคือนักท่องเที่ยวไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล อายุ 18 – 39 ปี ที่มีแนวโน้มท่องเที่ยวต่างประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19 (ปี 2566 – 2567) รวมจำนวนทั้งสิ้น 410 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวไทยมีการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุด รองลงมาคือ สื่อบุคคล ในขณะที่สื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อเฉพาะกิจ กลุ่มตัวอย่างแทบไม่เคยหรือไม่เปิดรับเลย โดยสื่ออินเทอร์เน็ต ยังเป็นสื่อหลักที่นักท่องเที่ยวไทยนิยมหาข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยว ในส่วนของความต้องการเนื้อหาข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ยังคงให้ความสำคัญทางด้านความปลอดภัย โดยยังมีความต้องการข่าวสารด้านโควิด-19 อยู่ นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มในการตัดสินใจไปท่องเที่ยวต่างประเทศภายในปี 2567 อย่างแน่นอน โดยอยากไปประเทศใหม่ที่ยังไม่เคยไป โดยให้ความสำคัญในเรื่องของการประเมินผลก่อนการตัดสินใจ โดยเหตุผลหลักของความต้องการท่องเที่ยวต่างประเทศของนักท่องเที่ยวไทย คือ ความสวยงามของประเทศนั้นเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ต้องการพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งสืบเนื่องช่วงที่มีการระบาดโควิด-19 นักท่องเที่ยวไทยมีความจำเป็นต้องกักตัวจากโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นระยะเวลานาน


อิทธิพลของการเปิดรับข่าวสารต่อการยอมรับการใช้งานโทเคนดิจิทัลในอุตสาหกรรมบันเทิงในกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย, วรเชษฐ์ อนุ Jan 2022

อิทธิพลของการเปิดรับข่าวสารต่อการยอมรับการใช้งานโทเคนดิจิทัลในอุตสาหกรรมบันเทิงในกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย, วรเชษฐ์ อนุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาอิทธิพลของการเปิดรับข่าวสารและเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารและการยอมรับการใช้งานโทเคนดิจิทัลในอุตสาหกรรมบันเทิงในกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย โดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจผ่านช่องทางออนไลน์ (Survey Research) ในการวิจัยครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 419 คน โดยมีการเก็บข้อมูลในกลุ่มสังคมออนไลน์ในกลุ่มผู้บริโภคที่เกิดในปี พ.ศ. 2524 – 2543 และรู้จักโทเคนดิจิทัลในอุตสาหกรรมบันเทิง และมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) โดยมีการกำหนดระดับนัยยะสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่าการเปิดรับข่าวสารมีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้งานโทเคนดิจิทัลในอุตสาหกรรมบันเทิงในทางอ้อม ซึ่งมีโครงสร้างดังต่อไปนี้การเปิดรับข่าวสารมีอิทธิพลต่อการรับรู้ความเสี่ยง ความไว้วางใจ ความคาดหวังในความพยายาม ความคาดหวังด้านประสิทธิภาพและสภาพสิ่งอำนวยความสะดวกนอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจมีเพียง 3 ปัจจัยได้แก่ คความไว้วางใจ ความคาดหวังในความพยายามและความคาดหวังด้านประสิทธิภาพ ขณะที่ความตั้งใจใช้งานไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้งานแต่ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้งานคือสภาพสิ่งอำนวยความสะดวก


The Relationship Between Source Credibility, Advertising Recognition, And Purchase Intention On Snack Products, Pornsit Cheawkamolpat Jan 2022

The Relationship Between Source Credibility, Advertising Recognition, And Purchase Intention On Snack Products, Pornsit Cheawkamolpat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research were to study source credibility, advertising recognition, and purchase intention on snack products and was explore the relationship between source credibility, advertising recognition, and purchase intention oMaster of Arts (Communication Arts)n snack products. This research employed online survey and used online questionnaire to collect data through 208 respondents, who were Thai, aged between 18-38 years old, and must follow Kin Nhom page for the past three months. The results depicted that the respondents highly perceived that Kin Nhom page was credible (M = 4.14). Moreover, the respondents acknowledged that contents from Kin Nhom page were …


The Influence Of Human-Like Virtual Influencers On Intention To Purchase Beauty Products Among Chinese Female Gen Z, Sheng Liu Jan 2022

The Influence Of Human-Like Virtual Influencers On Intention To Purchase Beauty Products Among Chinese Female Gen Z, Sheng Liu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research include exploring consumers’ perceived trust, brand awareness, and purchase intention via human-like virtual influencers; and examining the influence of human-like virtual influencers on consumers’ perceived trust, brand awareness, and purchase intention based on the empirical research, especially by adapting the SMIV model. A total of 260 Chinese female Gen Z respondents between the ages of 18 and 25 were eligible to complete an online questionnaire survey. The results depicted that human-like virtual influencers’ informative value (β= 0.196 p < .001) and entertainment value (β= 0.181 p < .001), trustworthiness (β= 0.142 p < .01), similarity (β= 0.115 p < .05), and attractiveness (β= 0.292 p < .001) to the audiences strongly influence their trust in branded posts, which further influence purchase intentions (β= 0.198, p < .01).


The Chinese People’S Intention To Participate In Livestream Environmental Marketing Communications Based On The Technology Acceptance Model (Tam), Yanfei Liu Jan 2022

The Chinese People’S Intention To Participate In Livestream Environmental Marketing Communications Based On The Technology Acceptance Model (Tam), Yanfei Liu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of the study is to study the effects of perceived usefulness (PU), perceived ease of use (PEU), and perceived enjoyment (PE) on Chinese people's intention to participate in Livestream (IPL) environmental marketing communications based on the Technology Acceptance Model (TAM). The study is conducted in a quantitative approach by using online questionnaires as a tool to collect data from 200 respondents who are Chinese, aged between 18 to 60 years old, and have watched the Livestream shopping video about green products before. The finding result shows that overall respondents have a high level of agreement with PU (M=4.04), …


Brand Image Of Nike Products Among Consumer Generation Z In Thailand, Zhefu Murong Jan 2022

Brand Image Of Nike Products Among Consumer Generation Z In Thailand, Zhefu Murong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to study the brand image of Nike products among consumer generation Z in Thailand. Based on the quantitative research approach, two hundred of Nike's current consumers aged between 18 to 25 years old in Thailand, who had purchased/owned Nike’s products before, were asked to complete an online questionnaire to study the brand image. The research findings illustrated that most of Nike's generation Z consumers considered Nike to own a positive brand image. The result of the study in each brand image factor shows that most of the respondents have positive attitude toward Nike whether …


ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิกการหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค, มัควัฒน์ บุญอาจ Jan 2022

ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิกการหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค, มัควัฒน์ บุญอาจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจการเปิดรับ ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิก การหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค 2) อธิบายความแตกต่างของทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิก การหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาแตกต่างกันและ 3) อธิบายอิทธิพลของทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิก การหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค เป็นการวิจัยเชิงปริมาณในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล จำนวนรวม 200 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติอ้างอิงเพื่อทดสอบความแตกต่างด้วยวิธีวิเคราะห์ t-test และ One Way ANOVA ทดสอบอิทธิพลของตัวแปรด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกด้วยโทรศัพท์สมาร์ทโฟนมากที่สุด มีความถี่ในการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกเฉลี่ย 4 วันต่อสัปดาห์ และในแต่ละวันรับชม 2-3 ชั่วโมง มีทัศนคติโดยรวมต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกอยู่ในระดับปานกลาง มีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกโดยรวมอยู่ในระดับบางครั้ง มีการยอมรับด้านสิทธิของผู้บริโภคโดยรวมต่อโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกอยู่ในระดับมาก และมีความตั้งใจซื้อสินค้าหรือบริการโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ว่า ผู้บริโภคที่มีเพศและระดับการศึกษาแตกต่างกันมีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการรับชมโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกแตกต่างกัน และอายุแตกต่างกันมีทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้พบว่า ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิก (β = 0.516) มีอิทธิพลเชิงบวก ในขณะที่พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการรับชมโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิก (β = -0.128) มีอิทธิพลเชิงลบต่อการตั้งใจซื้อสินค้าโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การสื่อสารอัตลักษณ์ของผู้เข้าร่วมงานเทศกาลดนตรี Wonderfruit, วรณัน ปิญญาวงค์ Jan 2022

การสื่อสารอัตลักษณ์ของผู้เข้าร่วมงานเทศกาลดนตรี Wonderfruit, วรณัน ปิญญาวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสาร อัตลักษณ์ และประสบการณ์อัตลักษณ์ของผู้เข้าร่วมเทศกาลดนตรี Wonderfruit จากการรวบรวมและศึกษาข้อมูลด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการวิเคราะห์รูปแบบและวิธีการสื่อสารอัตลักษณ์รวมถึงตัวตนรวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เข้าร่วมงาน ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารอัตลักษณ์และประสบการณ์ตัวตนของผู้เข้าร่วมเทศกาลดนตรีแบ่งออกเป็น เป็น 2 ระยะ มีสองบทบาทในการสื่อสารตัวตนของผู้เข้าร่วมงาน Wonderfruit: กลุ่มที่ 1 เป็นตัวตนของ "ผู้นำ" และ "อิสระ" สำหรับผู้เข้าร่วมที่ค้นหาข้อมูลการเข้าร่วมด้วยตนเอง มีอำนาจคัดเลือกกลั่นกรองข้อมูล สามารถคิด วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่อการเข้าร่วมเทศกาลดนตรีได้ด้วยตนเอง และกลุ่มที่ 2 ตัวตนของผู้เข้าร่วมเทศกาลดนตรีในฐานะ "ผู้พึ่งพา" และ "เพื่อน" กลุ่มผู้เข้าร่วมที่มีเพื่อนและบุคคลใกล้ชิดต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาลดนตรี Wonderfruit กลุ่มนี้มักจะได้รับข้อมูลจากเพื่อนและคนใกล้ชิด ประสบการณ์ตัวตนของผู้เข้าร่วม จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เข้าร่วมงาน Wonderfruit ส่วนใหญ่ พบว่าผู้เข้าร่วมมีประสบการณ์ทั้งหมด 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประสบการณ์ตัวตนของการเป็น “การมีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อน” และ “คนรักเพื่อน” ข้อสุดท้ายคือประสบการณ์ตัวตนของการเป็น “ผู้แสวงหาประสบการณ์ใหม่ทางดนตรี” คือเน้นสัมผัสหรือเข้าร่วมดูสถานที่ โปรดักชั่น บรรยากาศด้วยตนเอง ผู้เข้าร่วมกำลังแสวงหาความรู้ใหม่ทางดนตรี ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ผู้เข้าร่วมเทศกาลดนตรีกลุ่มนี้ต้องการสัมผัสประสบการณ์ดนตรีใหม่ๆ พร้อมที่จะเรียนรู้และแสวงหาเพิ่มเติม


การรับรู้ข่าวสารอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในรูปแบบวิธีหลอกรักออนไลน์ ทัศนคติต่อแอปพลิเคชันหาคู่ และพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภค, อารยฤทธิ์ พรหมมะ Jan 2022

การรับรู้ข่าวสารอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในรูปแบบวิธีหลอกรักออนไลน์ ทัศนคติต่อแอปพลิเคชันหาคู่ และพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภค, อารยฤทธิ์ พรหมมะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสำรวจการรับรู้ข่าวสารอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในรูปแบบวิธีหลอกรักออนไลน์ของผู้บริโภค (2) เพื่อสำรวจทัศนคติของผู้บริโภคต่อแอปพลิเคชันหาคู่ (3) เพื่อสำรวจพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันหาคู่ของผู้บริโภค โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างทั้งเพศชาย เพศหญิง และเพศสภาวะอื่นๆ ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 200 คน ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 พบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 31-35 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชนหรือห้างร้าน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001 บาท โดยใช้งานแอปพลิเคชันหาคู่ออนไลน์ ช่วงเวลา 21.01 น. - 00.00 น. ใช้งานทุกสัปดาห์ แต่ละครั้งนาน 1-10 นาที การใช้งานมานาน 1 – 2 ปี และใช้งานตามที่พักอาศัยมากที่สุดนั้น มีการรับรู้ข่าวสารอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในรูปแบบวิธีหลอกรักออนไลน์จากสื่อต่าง ๆ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนทัศนคติต่อแอปพลิเคชันหาคู่ด้านความรู้และความเข้าใจอยู่ในระดับมาก ส่วนทัศนคติต่อแอปพลิเคชันหาคู่ด้านอารมณ์และความรู้สึกอยู่ในระดับมาก ทัศนคติต่อแอปพลิเคชันหาคู่ของแนวโน้มพฤติกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยส่วนพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันหาคู่ออนไลน์ อยู่ในระดับมาก และการทดสอบสมมติฐานการวิจัยจากการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ของการรับรู้ข่าวสารอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในรูปแบบวิธีหลอกรักออนไลน์ ทัศนคติต่อแอปพลิเคชันหาคู่ และพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภค มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางของผู้บริโภค, ศุภิสรา กรมขันธ์ Jan 2022

ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางของผู้บริโภค, ศุภิสรา กรมขันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบรรทัดฐานกลุ่ม การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน บุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบ ทัศนคติต่อเครื่องประดับโชคลาง และความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางของผู้บริโภค 2. วิเคราะห์ปัจจัย (บรรทัดฐานกลุ่ม การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน และบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบ) ที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อเครื่องประดับโชคลาง และความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางของผู้บริโภค 3. อธิบายความสัมพันธ์ของทัศนคติต่อเครื่องประดับโชคลางและความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลาง 4. อธิบายความสัมพันธ์ของบรรทัดฐานกลุ่มและบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบ ของผู้บริโภค และ 5. อธิบายความสัมพันธ์ของการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนและบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Online questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มคนเจเนอเรชันวาย (Gen Y) ในประเทศไทย ที่มีอายุระหว่าง 23 - 42 ปี จำนวน 250 คน โดยผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับบรรทัดฐานกลุ่ม ในระดับปานกลาง (M = 3.62) มีการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนในระดับสูง (M = 4.21) มีบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบในระดับปานกลาง (M = 3.75) มีทัศนคติต่อเครื่องประดับโชคลางในระดับปานกลาง (M = 3.73) และมีความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางในระดับปานกลาง (M = 3.63) ผลจากการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุพบว่า บรรทัดฐานกลุ่มและบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบ มีอิทธิพลต่อทัศนคติ (β = 0.51 และ 0.26 ตามลำดับ) และต่อความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางของผู้บริโภค (β = 0.49 และ 0.25 ตามลำดับ) ในขณะที่ การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนมีอิทธิพลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางของผู้บริโภคอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ยังพบว่า บรรทัดฐานกลุ่ม (r = 0.34) และการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน (r …


การใช้สื่อในกลุ่มพนักงานที่ปรึกษาด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์และทัศนคติต่อความสมดุลในการทำงาน, จิราวุธ เธียรประพันธ์ Jan 2022

การใช้สื่อในกลุ่มพนักงานที่ปรึกษาด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์และทัศนคติต่อความสมดุลในการทำงาน, จิราวุธ เธียรประพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อในกลุ่มพนักงานที่ปรึกษาด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์และทัศนคติต่อความสมดุลในการทำงาน โดยต้องการสำรวจพฤติกรรมของพนักงานองค์กรที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานการวางแผนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพภายในองค์กร และต้องการให้การทำงานของพนักงานภายในองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสุขในการทำงาน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานที่ทำงานในองค์กรที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ จำนวน 200 คน ทั้งหมด 3 ระดับ แบ่งเป็นพนักงานระดับผู้บริหาร จำนวน 40 คน ระดับกลาง 80 คน และระดับต้น จำนวน 80 คน เพื่อเป็นการวิจัยนำร่อง ผลการศึกษาจากงานวิจัยพบว่า ลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างพนักงานที่ปรึกษาด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 200 คน เป็นเพศหญิงมากที่สุด ทำงานในสายงาน Account Management และมีอายุการทำงานระหว่าง 5-10 ปี มีความถี่โดยรวมในการใช้สื่อภายในองค์กรในระดับใช้งานเป็นประจำในทุกวัน (ค่าเฉลี่ย=3.85) ผ่านโปรแกรมส่งข้อความแบบทันที (Instant Messaging Program) เป็นประจำและบ่อยครั้งมากต่อวัน (ค่าเฉลี่ย=4.60) ในเวลาทำงานช่วงเช้า (09.00 - 12.00 น.) เป็นอันดับ 1 โดยมีระยะเวลาโดยเฉลี่ยในการใช้สื่อประมาณ 8-12 ชั่วโมงต่อวันผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทมากที่สุด และพึงพอใจในการใช้งานสื่อภายในองค์กรโดยรวมในระดับพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย=3.88) ซึ่งพึงพอใจในการใช้งานโปรแกรมส่งข้อความแบบทันที (Instant Messaging Program) ในระดับพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย=4.15) เช่นเดียวกัน ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อความสมดุลในการทำงานโดยรวมเป็นบวกและมีความสมดุลในการทำงานมาก (ค่าเฉลี่ย=3.61) โดยเฉพาะด้านความผูกพันจิตใจ (ค่าเฉลี่ย=3.69), ด้านความพึงพอใจ (ค่าเฉลี่ย=3.58) และด้านเวลา (ค่าเฉลี่ย=3.56) ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การใช้สื่อในกลุ่มพนักงานขององค์กรที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อความสมดุลในการทำงานในสายวิชาชีพประชาสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน=0.094) และกลุ่มพนักงานขององค์กรที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ที่มีอายุงานแตกต่างกัน มีการใช้สื่อในที่ทำงานที่ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เช่นเดียวกับทัศนคติต่อความสมดุลในการทำงานในสายวิชาชีพประชาสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้


อิทธิพลของความน่าเชื่อถือของผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริงต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, นลินนิภา เรืองธนากร Jan 2022

อิทธิพลของความน่าเชื่อถือของผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริงต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, นลินนิภา เรืองธนากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความน่าเชื่อถือของผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริง และพฤติกรรมผู้บริโภค (ทัศนคติต่องานโฆษณา ทัศนคติต่อตราสินค้า ความตั้งใจซื้อ) 2) วิเคราะห์อิทธิพลของความน่าเชื่อถือของผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริงต่อพฤติกรรมผู้บริโภค 3) อธิบายความสัมพันธ์ของทัศนคติต่องานโฆษณาที่ใช้ผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริงกับทัศนคติต่อตราสินค้า 4) อธิบายความสัมพันธ์ของทัศนคติต่องานโฆษณาที่ใช้ผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริงกับความตั้งใจซื้อ และ 5) อธิบายความสัมพันธ์ของทัศนคติต่อตราสินค้ากับความตั้งใจซื้อ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างชาวไทยจำนวนทั้งสิ้น 250 คน อายุระหว่าง 23-42 ปี และใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโทรศัพท์มือถือของตราสินค้าเอไอเอส โดยผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้ว่าผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริงมีความน่าเชื่อถือ (M = 3.84) มีทัศนคติต่อโฆษณาของตราสินค้าเอไอเอสในระดับค่อนข้างดี (M = 3.77) มีทัศนคติต่อตราสินค้าเอไอเอสในระดับค่อนข้างดี (M = 3.90) และมีความตั้งใจซื้อเอไอเอสในระดับค่อนข้างดี (M = 3.78) ความน่าเชื่อถือของผู้มีอิทธิพลทางความคิดเสมือนจริง ทั้งในด้านความเชี่ยวชาญ ความน่าไว้วางใจ และความน่าดึงดูดใจ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .75*) นอกจากนี้ยังพบว่า ความน่าดึงดูดใจเป็นมิติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทั้งทัศนคติต่องานโฆษณา (β = .51*) ทัศนคติต่อตราสินค้า (β = .56*) และความตั้งใจซื้อมากที่สุด (β = .31*) อีกทั้งในด้านของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพฤติกรรมผู้บริโภคนั้น ทุกตัวแปรมีความสัมพันธ์กันทุกคู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่ว่าจะเป็น ทัศนคติต่องานโฆษณากับทัศนคติต่อตราสินค้า (r = .85*) ทัศนคติต่องานโฆษณากับความตั้งใจซื้อ (r = .51*) และทัศนคติต่อตราสินค้ากับความตั้งใจซื้อ (r = .57*)


การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม, นวียา แดงบุหงา Jan 2022

การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม, นวียา แดงบุหงา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม รวมถึงเพื่ออธิบายอิทธิพลของการเปิดรับและทัศนคติของผู้บริโภคต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงาม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และเคยเห็นโฆษณาแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อก จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีการเปิดรับโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อกแตกต่างกัน 2) ผู้บริโภคที่มีเพศและอาชีพแตกต่างกัน มีทัศนคติต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อกแตกต่างกัน 3) ผู้บริโภคที่มีเพศและอาชีพแตกต่างกัน มีความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงามแตกต่างกัน 4) ปัจจัยด้านการเปิดรับและทัศนคติมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงาม โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001


อิทธิพลของการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองต่อพฤติกรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง, รมิดา จิตติมิตร Jan 2022

อิทธิพลของการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองต่อพฤติกรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง, รมิดา จิตติมิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจผ่านช่องทางออนไลน์ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) อธิบายการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมือง (ชัชชาติ สิทธิพันธุ์) และพฤติกรรมการเลือกตั้ง 2) วิเคราะห์อิทธิพลของการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองที่มีต่อพฤติกรรมการเลือกตั้ง 3) วิเคราะห์อิทธิพลของทัศนคติต่อการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อความผูกพันบนสื่อสังคมออนไลน์ 4) วิเคราะห์อิทธิพลของความสอดคล้องกับภาพลักษณ์ของตนเองในฐานะตัวแปรกำกับ ที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองกับพฤติกรรมการเลือกตั้ง และ 5) วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างเจเนอเรชันในแง่ของตัวแปรต่าง ๆ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 465 คน มีอายุระหว่าง 18 – 58 ปี และติดตามหรือเคยเห็นสื่อสังคมออนไลน์ของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อย่างน้อย 3 ครั้ง ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองในระดับสูง โดยเฉพาะมิติด้านความน่าไว้วางใจ และมีพฤติกรรมการเลือกตั้งในระดับที่ดี นอกจากนี้ การรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมไปถึงทัศนคติต่อการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลต่อความผูกพันบนสื่อสังคมออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ความสอดคล้องกับภาพลักษณ์ของตนเองยังส่งผลเชิงลบต่อความตั้งใจในการแนะนำ และความตั้งใจในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อีกทั้งในแต่ละเจนเนอเรชันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในแง่ของการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมือง ความสอดคคล้องกับภาพลักษณ์ของตนเอง และทัศนคติต่อการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วย


แรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคเพศชาย, ศศิชา เตียวลักษณ์ Jan 2022

แรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคเพศชาย, ศศิชา เตียวลักษณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชาย 2) อิทธิพลของแรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวง และ 3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชาย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจใช้แบบสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชาย อายุระหว่าง 18 – 60 ปี มีถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล และเคยบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา จำนวน 400 คน ผลวิจัยพบว่า แรงจูงใจและการเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชาย ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงและปานกลางตามลำดับ และตัวแปรทั้ง 3 ได้แก่ แรงจูงใจ การเปิดรับสื่อและทัศนคติล้วนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชายของกลุ่มตัวอย่างรวมได้ร้อยละ 62 โดยค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวแปรทัศคติมีค่าร้อยละ 62.1 (ค่า Beta =0.621) ตัวแปรแรงจูงใจมีค่าร้อยละ 16.8 (ค่า Beta =0.168) และตัวแปรการเปิดรับสื่อมีค่าร้อยละ 14 (Beta =0.140)


อิทธิพลของความเหมือนกันของผู้บริโภคกับตราสินค้า และเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, อภิกษณา จิตรเกาะ Jan 2022

อิทธิพลของความเหมือนกันของผู้บริโภคกับตราสินค้า และเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, อภิกษณา จิตรเกาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมือนกันของผู้บริโภคกับตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ และอธิบายอิทธิพลของทัศนคติต่อเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ที่มีต่อทัศนคติต่อตราสินค้า ความเต็มใจในการส่งต่อ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคเจเนอเรชันซี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เทคนิควิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามออนไลน์ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคเจเนอเรชันซี มีอายุระหว่าง 18 – 26 ปี ทุกเพศสภาพ ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยกระจายแบบสอบถามผ่านช่องทางอินสตาแกรม เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2566 ผลการวิจัยพบว่า ความเหมือนกันของผู้บริโภคกับตราสินค้าของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชันซีมีอิทธิพลเชิงบวกต่อทัศนคติต่อเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ที่แสดงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ที่แสดงผลิตภัณฑ์เท่านั้น ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังพบว่า ทัศนคติต่อเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ที่แสดงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และทัศนคติต่อเนื้อหาโฆษณาที่แสดงผลิตภัณฑ์เท่านั้น มีอิทธิพลเชิงบวกต่อทัศนคติต่อตราสินค้า ความเต็มใจในการส่งต่อ และความตั้งใจซื้อ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


The Influence Of Perceived Risk And Perceived Value On Consumer Adoption Of Cryptocurrency, Athit Rodpangtiam Jan 2022

The Influence Of Perceived Risk And Perceived Value On Consumer Adoption Of Cryptocurrency, Athit Rodpangtiam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this research is to study the perceptions of risk and value of cryptocurrency adopters from the social media platform Reddit by assessing the influence of Perceived Risk (PR) and Perceived Value (PV) on their intention to adopt cryptocurrency. Demographic factors of (Gender, Age, Education Level, Income, Investment Experience) were analyzed as control variables. The study within this paper was conducted with a quantitative approach through the utilization of a survey technique. Data was gathered through purposive sampling, and 200 respondents from the Cryptocurrency News & Discussion subreddit were studied among a sample of 1444 respondents. The data …


Perceived Image Of Samui Island From Local Stakeholders, Ponatip Phetrat Jan 2022

Perceived Image Of Samui Island From Local Stakeholders, Ponatip Phetrat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to explore the perceived image of Samui island from local stakeholders. An in-depth interview was selected as the research instrument for this study. The data is collected from 15 respondents who were local stakeholders of Samui island, they are those who live and work in Samui for more than 10 years, aged between 24-45 years old. The findings indicated that according to brand associations in terms of attributes the respondents perceived Samui island as “beach” “nature” and “cultural tourist destination” also, respondents perceived Samui as having “friendly” “lively” “complicated” and “easy-going” personalities. In terms …


News Framing Of Thairath Newspapers On Migrant Workers From Cambodia, Laos, And Myanmar During The Covid-19 Pandemic, Nichakorn Phathanathavorn Jan 2022

News Framing Of Thairath Newspapers On Migrant Workers From Cambodia, Laos, And Myanmar During The Covid-19 Pandemic, Nichakorn Phathanathavorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research examines the framing and representation of migrant workers from Cambodia, Laos, and Myanmar in Thai news coverage during the COVID-19 outbreak. Migrant workers from these countries constitute over 70% of the total migrant worker population in Thailand, playing a significant role in the country's economic growth. However, they reportedly face numerous challenges related to labor rights, access to health services, and social exclusion during the outbreak. This qualitative study examines 225 pieces of news reports, scoops/features, and editorial opinions in the Thairath newspaper—both print and online editions—during a specific timeframe in 2020 and 2021 that depict the coverage …


Thailand Generation Z Consumers’ Brand Perception Of Bonchon Restaurantin Thailand, Aditep Jirattikorn Jan 2022

Thailand Generation Z Consumers’ Brand Perception Of Bonchon Restaurantin Thailand, Aditep Jirattikorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The present study is dedicated to investigating the Thailand generation z consumer’s brand perception of the brand Bonchon. This study aims to learn how generation z in Thailand perceives all aspects of the brand Bonchon in addition, this study also aims to cover whether Korean pop culture has an effect on how the consumer perceives the brand. Generation z participants in Thailand (n=227) who is a customer of Bonchon were asked to complete the questionnaire. The questionnaire is designed to discover respondents' cognitive, emotional, language, and actions toward the brand Bonchon. The research adopted certain theories on branding and consumer …


East Asian Tourists’ Exposure To Social Media Advertising, Attitude, And Their Purchasing Behavior With Hotels In Bangkok, Chaitach Sirisachdecha Jan 2022

East Asian Tourists’ Exposure To Social Media Advertising, Attitude, And Their Purchasing Behavior With Hotels In Bangkok, Chaitach Sirisachdecha

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The ultimate goal of this research was to study the correlations between East Asian tourists' exposure to social media advertisements by hotels in Bangkok, their attitude toward the advertisements, and their purchasing behavior. The primary reason for conducting this study is the COVID-19 pandemic's effect on the hospitality industry within Bangkok and the expectation of an increase in the tourist population visiting Bangkok at the end of 2022 and the beginning of 2023. East Asian tourists were targeted for this study because they have historically been the demographic that had most visited Thailand. Two hundred respondents were requested to complete …


The Hong Kong Consumers' Perceptions Of Boys' Love Dramas And Their Attitudes Toward Thailand And The Gay Community, Chung Yan Chan Jan 2022

The Hong Kong Consumers' Perceptions Of Boys' Love Dramas And Their Attitudes Toward Thailand And The Gay Community, Chung Yan Chan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aimed to explore Hong Kong consumers' perceptions and attitudes toward Thai Boys' Love (BL) dramas, Thailand, and the gay community. To conduct the research, a qualitative approach is used with the instrument of in-depth interviews. A total of twelve Hong Kong consumers participated in this study. They are aged between 18-30 years old. The results depicted that Over-the-top (OTT) streaming platforms and reference groups contributed to the distribution and exposure of Thai BL dramas in the Hong Kong market. Aesthetic elements, actors, storyline, and Thailand culture are the elements that attract participants to watch Thai BL dramas continually. …


Consumers’ Perception And Loyalty Toward The Rebranding Of Double Goose Brand, Chutikarn Benjamapokai Jan 2022

Consumers’ Perception And Loyalty Toward The Rebranding Of Double Goose Brand, Chutikarn Benjamapokai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study was to explore consumers’ perceptions and loyalty toward the rebranding of Double Goose brand. This study employs qualitative research methods conducted via online application. With the selection criteria for data diversity, an in-depth interview was used to collect data from eight participants. The research participants are consumers of the Double Goose brand, aged between 20 - 40 years and divided into two groups. The first group is a loyal customers group that loyal to the goose brand and the second group is the new user group of the goose brand. This study uses the conceptual …