Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2019

Public Affairs, Public Policy and Public Administration

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 52

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การประเมินผลความสำเร็จของโครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน ตามแบบจำลอง Cipp Model กรณีศึกษา: โครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย, กรกฎ วงษ์สุวรรณ Jan 2019

การประเมินผลความสำเร็จของโครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน ตามแบบจำลอง Cipp Model กรณีศึกษา: โครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย, กรกฎ วงษ์สุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประเมินผลความสำเร็จของโครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนตามแบบจำลอง CIPP Model กรณีศึกษา: โครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการ โดยการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งดำเนินการศึกษาด้วยวิธีการสัมภาษณ์ส่วนบุคคลซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 ราย ผู้วิจัยได้นำข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง และข้อมูลจากเอกสารมาวิเคราะห์และประมวลผลตามแบบจำลอง CIPP Model ผลการศึกษาพบว่า (1) ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และความต้องการของประชาชนที่ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ (2) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่าหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน รวมถึงสภาพพื้นที่ แบบรูปรายการ และงบประมาณมีความพร้อมและมีความเหมาะสมในการดำเนินโครงการ (3) ด้านกระบวนการ พบว่ามีขั้นตอนการดำเนินโครงการที่ชัดเจน มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ (4) ด้านผลผลิต พบว่าโครงการสามารถป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนได้และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ สำหรับปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการส่วนใหญ่เป็นปัญหาในด้านเทคนิคการก่อสร้างที่ต้องมีการแก้ไขรูปแบบรายการ และขยายสัญญา เพื่อให้งานก่อสร้างสอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ สำหรับข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในอนาคตควรมีการศึกษาประเมินความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณรวมถึงแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินโครงการต่อไป


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ของกรมโยธาธิการและผังเมือง, พชร สุดประเสริฐ Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ของกรมโยธาธิการและผังเมือง, พชร สุดประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ของกรมโยธาธิการและผังเมืองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการ โดยการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการศึกษาด้วยวิธีการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโครงการ พบว่าโครงการมีจุดแข็งคือแก้ไขปัญหาที่ดินตาบอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ จุดอ่อน คือมีหลายขั้นตอน แต่ละขั้นตอนต้องใช้ระยะเวลานานในการดำเนินงาน โอกาสได้แก่ นโยบายรัฐบาลที่มุ่งเน้นในการพัฒนาเมืองเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท และการแก้ไขปัญหาที่ดินตาบอด ส่วนอุปสรรคได้แก่ความเสี่ยงที่เจ้าของที่ดินบางรายมีการถอนตัวในระหว่างดำเนินโครงการส่งผลให้การดำเนินโครงการล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนการดำเนินงาน สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ (1) มีนโยบาย แผนงานโครงการ และแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินโครงการ (2) บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน (3) การมีส่วนร่วมของเจ้าของที่ดิน และ (4) ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สำหรับปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการ ได้แก่ มีการโยกย้ายข้าราชการทำให้การดำเนินโครงการไม่ต่อเนื่อง และปริมาณงานเพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยเพิ่มเติมในอนาคต ควรมีประเมินความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการตลอดจนการศึกษาแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่


การจ้างงานผู้สูงอายุในภาคเอกชน (ชีวิตไร้เกษียณ) กรณีศึกษาเปรียบเทียบธุรกิจค้าปลีก (บริษัทเทสโก้โลตัส, บริษัทอิเกีย, บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด), มัทรี เขื่อนขันธ์ Jan 2019

การจ้างงานผู้สูงอายุในภาคเอกชน (ชีวิตไร้เกษียณ) กรณีศึกษาเปรียบเทียบธุรกิจค้าปลีก (บริษัทเทสโก้โลตัส, บริษัทอิเกีย, บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด), มัทรี เขื่อนขันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง “การจ้างงานผู้สูงอายุในภาคเอกชน กรณีศึกษาเปรียบเทียบธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย” ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative) เพื่อศึกษาความต้องการและความคาดหวังของสถานประกอบการในการจ้างแรงงานสูงวัยในการทำงาน เพื่อทราบปัญหาและอุปสรรคในการจ้างงานแรงงานสูงวัย และเพื่อเสนอแนวทางในการจ้างแรงงานสูงวัยในสถานประกอบการ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยประชากรวัยสูงวัยมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น และประชากรวัยทำงานมีสัดส่วนลดลงมากอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เกิดผลกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวมการขยายอายุเกษียณแรงงานสูงวัย การให้นายจ้างสามารถที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุในการได้รับการจ้างกลับเข้าทำงาน การกำหนดอัตราส่วนลูกจ้างผู้สูงอายุการจัดหางานและการฝึกอาชีพให้กับผู้สูงอายุ แต่การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุนับว่าเป็นเรื่องที่ใหม่ในประเทศไทย และจำเป็นต้องมีการวางแผนตลอดจนกำหนดนโยบายในการรองรับสถานการณ์ดังกล่าวอย่างเหมาะสม ผลการวิจัยในด้านอุปสงค์และอุปทานการจ้างงานของผู้สูงอายุ พบว่าในส่วนของผู้บริหาร หน่วยงานด้านทรัพยากรบุคคล และพนักงานผู้สูงอายุเห็นด้วยกับการจ้างงานผู้สูงอายุในธุรกิจค้าปลีก ผู้บริหารหน่วยงานทรัพยากรบุคคลส่วนใหญ่มีความประสงค์ในการจ้างพนักงานผู้สูงอายุเข้าทำงาน และในขณะเดียวกัน พนักงานผู้สูงอายุส่วนใหญ่ก็มีความประสงค์จะทำางานต่อเช่นกัน สำหรับรูปแบบการจ้างงานผู้สูงอายุในธุรกิจค้าปลีกได้มีการกำหนดถึงลักษณะงานที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ประเภทงานสำหรับพนักงานผู้สูงอายุที่สามารถทำได้ ตลอดจนการกำหนดคุณสมบัติของพนักงานผู้สูงอายุสำหรับการสรรหาและคัดเลือกพนักงานผู้สูงอายุเข้าทำงาน ระยะเวลาการทำงานและสัญญาการจ้างงานผู้สูงอายุ รวมถึงค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการจ้างงานผู้สูงอายุประกอบด้วยพนักงานผู้สูงอายุ สถานประกอบการ และหน่วยงานของภาครัฐ


ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจติดตามผลภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, วงศธร รังสิมันต์ Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจติดตามผลภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, วงศธร รังสิมันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการในกองตรวจการมาตรฐาน 1-3 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (2) เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะบุคคล ปัจจัยการปฏิบัติงาน ปัจจัยแรงจูงใจ และปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจติดตามภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างประสิทธิภาพการตรวจติดตามภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในกองตรวจการมาตรฐาน 1-3 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีตำแหน่งต่ำกว่าผู้อำนวยการกองลงมา จำนวน 68 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติทดสอบแบบทีเทส เอฟเทส และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ปัจจัยลักษณะบุคคลด้านเพศที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจติดตามผลภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยการปฏิบัติงานด้านการบังคับใช้กฎหมาย มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการตรวจติดตามผลภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ปัจจัยจูงใจไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการตรวจติดตามผลภายหลังการอนุญาต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (5) ปัจจัยอื่น ๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการตรวจติดตามผลภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ระดับความพึงพอใจต่อการรายงานข่าวสารแบบ Real Time โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแนวทางบริหารจัดการภาครัฐด้านการรายงานข่าวสารแบบ Real Time โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษา ศูนย์สารสนเทศ กรมควบคุมโรค, สุทธิภา เฉลิมพักตร์ Jan 2019

ระดับความพึงพอใจต่อการรายงานข่าวสารแบบ Real Time โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแนวทางบริหารจัดการภาครัฐด้านการรายงานข่าวสารแบบ Real Time โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษา ศูนย์สารสนเทศ กรมควบคุมโรค, สุทธิภา เฉลิมพักตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง ระดับความพึงพอใจต่อการรายงานข่าวสารแบบเรียลไทม์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแนวทางบริหารจัดการภาครัฐด้านการรายงานข่าวสารโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา ศูนย์สารสนเทศ กรมควบคุมโรค เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยเชิงปริมาณโดยศึกษาระดับความพึงพอใจด้านรูปแบบเนื้อหาการรายงานข่าวสาร ด้านการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร และด้านนำมาใช้ประโยชน์ของประชาชน การวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาหลักการแนวทางบริหารจัดการภาครัฐและปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับแนวทางบริหารจัดการข่าวสารแบบเรียลไทม์โรคไวรัสโคโรนา 2019 ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจด้านรูปแบบเนื้อหาการรายงานข่าวสาร ด้านการบริหารจัดการ ด้านการใช้ประโยชน์จากการรายงานข่าวสารแบบเรียลไทม์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยประชาชนพึงพอใจในการนำเสนอข้อมูลแบบเรียลไทม์ทำให้สังคมไทยมีความตื่นตัวและตระหนักในการป้องกันโรคอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐด้านการรายงานข่าวสารแบบเรียลไทม์โรคไวรัสโคโรนา 2019 มีแนวทางการบริหารงานที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 และพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล 2562 เน้นความถูกต้อง โปร่งใส โดยมีหลักในการดำเนินงานในด้านข้อมูลข่าวสารคือกระบวนการจัดระบบข้อมูลข่าวสาร และการบริการข้อมูลข่าวสารในรูปแบบทันสมัย หลากหลายช่องทาง ทันสถานการณ์ในปัจจุบัน และสามารถรองรับการพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์


ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกของข้าราชการ: กรณีศึกษา กรมตรวจบัญชีสหกรณ์, อัญญุรี ตุ้ยแม้น Jan 2019

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกของข้าราชการ: กรณีศึกษา กรมตรวจบัญชีสหกรณ์, อัญญุรี ตุ้ยแม้น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกของข้าราชการ: กรณีศึกษา กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออก ความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจลาออก และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนการตัดสินใจลาออกของข้าราชการกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เคยเป็นข้าราชการกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ แต่ได้ลาออกระหว่างปีงบประมาณ 2559 – 2563 (ข้อมูล ณ วันที่ 23 มีนาคม 2563) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ใช้การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้การทดสอบค่า T–Test เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม การทดสอบค่า F–test ในการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มขึ้นไป และการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนกับการตัดสินใจลาออก โดยใช้การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) ผลการวิจัย พบว่า ความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ตำแหน่ง และอายุราชการ มีผลต่อการตัดสินใจลาออกที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และปัจจัยค้ำจุนด้านผลตอบแทนและสวัสดิการมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับการตัดสินใจลาออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ดังกล่าว สามารถแปลความได้ว่า หากข้าราชการมีความพึงพอใจในผลตอบแทนและสวัสดิการที่ได้รับจากองค์การ ก็จะส่งผลให้มีการตัดสินใจลาออกลดลง


รูปแบบโรงเรียนที่เหมาะสมกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, กนกวรรณ รุ้งตาล Jan 2019

รูปแบบโรงเรียนที่เหมาะสมกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, กนกวรรณ รุ้งตาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง “รูปแบบโรงเรียนที่เหมาะสมกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่างยุทธศาสตร์ชาติกับการบริหารโรงเรียน ซึ่งหน่วยงานภาครัฐจะต้องให้ความสำคัญ โดยเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนทางเลือกกับโรงเรียนรูปแบบเดิม เพื่อพิจารณาความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงคนสู่ศตวรรษที่ 21 และการนำยุทธศาสตร์ชาติไปปฏิบัติ โดยอาศัยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษากระบวนการปฏิบัติงานของโรงเรียนตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) และใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณเพื่อพิจารณาความสอดคล้องในการถ่ายทอดยุทธศาสตร์การศึกษาแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติ ผลการศึกษาพบว่าโรงเรียนรูปแบบเดิมให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดยุทธศาสตร์ระดับประเทศมาสู่ระดับโรงเรียนอย่างมาก เห็นได้จากมีการคำนึงถึงยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อนำมากำหนดยุทธศาสตร์โรงเรียน ส่วนโรงเรียนทางเลือกไม่ได้มุ่งให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ แต่การจัดการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ ด้วยเหตุที่โรงเรียนเหล่านี้อาศัยการถอดบทเรียนจากประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษาโดยตรง โรงเรียนทางเลือกจึงถือเป็น “ผู้มาก่อนกาล” จากการจัดการเรียนการสอนที่คำนึงถึงบริบทโลก ซึ่งการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติก็คำนึงถึงบริบทเดียวกัน ส่งผลให้ยุทธศาสตร์ของโรงเรียนทางเลือกมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติโดยปริยาย


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของมาตรการ Paperless ในกิจกรรม Back-Office ของภาครัฐไทย: ศึกษาเปรียบเทียบกรณีการประชุมคณะกรรมการ 2 หน่วยงาน, ธมลวรรณ เกิดจั่น Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของมาตรการ Paperless ในกิจกรรม Back-Office ของภาครัฐไทย: ศึกษาเปรียบเทียบกรณีการประชุมคณะกรรมการ 2 หน่วยงาน, ธมลวรรณ เกิดจั่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้ต้องการตอบคำถามที่ว่าปัจจัยใดส่งผลต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านการประชุมคณะกรรมการไปสู่การประชุมแบบไร้กระดาษ โดยศึกษาหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่าน และศึกษาหน่วยงานที่ยังคงใช้กระดาษในการประชุมคณะกรรมการ เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรค หากมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การประชุมคณะกรรมการแบบไร้กระดาษ โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) เนื่องจากมาตรการไร้กระดาษและรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เป็นการเปลี่ยนกระบวนการทำงานโดยอาศัยเทคโนโลยี งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา โดยเลือกคณะกรรมการของหน่วยงานภาครัฐในระดับสำนักงานมาศึกษา 2 หน่วยงาน โดยหน่วยงานแรกจัดเป็นหน่วยงานที่เปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบไร้กระดาษได้สำเร็จ ส่วนหน่วยงานที่สองยังอยู่ในรูปแบบใช้กระดาษ โดยมีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและกรรมการในคณะกรรมการ ประกอบการศึกษาเอกสารประกอบการประชุมและเข้าสังเกตการณ์ในการประชุมคณะกรรมการด้วย ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยที่เคยเป็นอุปสรรคต่อการใช้เทคโนโลยี เช่นกฎหมายและความเชื่อมั่นของคนที่มีต่อการใช้งานเทคโนโลยี เป็นปัญหาน้อยลง ในด้านกฎหมาย เพราะมีกฎหมายออกมารองรับมากขึ้น โดยเฉพาะพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2563 แต่ในทางปฏิบัติ พบว่าในกระบวนการประชุมคณะกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่งสามารถมอบหมายผู้แทนเข้าร่วมประชุม โดยอาศัยหลักการปฏิบัติราชการแทนจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งระบุว่าในการมอบอำนาจจะต้องทำเป็นหนังสือ และในด้านความเชื่อมั่นของคนที่มีต่อการใช้งานเทคโนโลยี เนื่องจากวิถีชีวิตที่พึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้ทัศนคติที่มีต่อการใช้งานเทคโนโลยีของคนเปลี่ยนไป นอกจากนั้น ยังพบว่าการมีผู้นำองค์กรที่มุ่งผลักดันการเปลี่ยนแปลงเป็นปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนผ่านที่สำเร็จ และงานวิจัยนี้ยังค้นพบปัจจัยเพิ่มเติมอีกหนึ่งปัจจัย ได้แก่ ผู้ช่วยด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้ใช้งานเทคโนโลยีมือใหม่มีทัศนคติอันดีต่อการใช้ และยอมรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่การประชุมคณะกรรมการในรูปแบบไร้กระดาษได้ในที่สุด


ปัจจัยการต่ออายุงานของผู้สูงอายุในองค์การ : กรณีศึกษา สำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กานติมา วนิชดำรงค์ศักดิ์ Jan 2019

ปัจจัยการต่ออายุงานของผู้สูงอายุในองค์การ : กรณีศึกษา สำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กานติมา วนิชดำรงค์ศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการต่ออายุงานหรือการจ้างงานผู้สูงอายุในตำแหน่งที่ปรึกษาของส่วนงาน โดยสถาบันทางการศึกษาเป็นองค์การที่ผู้วิจัยได้สนใจและเลือกศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ พนักงานมหาวิทยาลัย สายปฏิบัติการ ระดับหัวหน้าหน่วยงานขึ้นไปที่สังกัดสำนักงานมหาวิทยาลัย จำนวน 36 ส่วนงาน งานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ที่มีข้อคำถามลักษณะปลายเปิดและปลายปิด ซึ่งแบ่งสองส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนที่เป็นข้อมูลการต่ออายุงานหรือการจ้างงานผู้สูงอายุในองค์การ และส่วนที่เป็นปัจจัยและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการต่ออายุงานหรือการจ้างงานผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันส่วนงานยังไม่มีการต่ออายุงานของผู้สูงอายุ เนื่องจากยังขาดระเบียบบางประการมารองรับ แต่มีการจ้างงานผู้สูงอายุในตำแหน่งที่ปรึกษาของส่วนงานเป็นรายกรณี และสำหรับปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดต่อการจ้างงานผู้สูงอายุคือ องค์ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของผู้สูงอายุ ส่วนอุปสรรคที่ส่งผลต่อการจ้างงานผู้สูงอายุมากที่สุด คือ ปัญหาทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ


ประสิทธิผลการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรีและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2562, ปัฐญา วีระไวทยะ Jan 2019

ประสิทธิผลการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรีและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2562, ปัฐญา วีระไวทยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ประสิทธิผลการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรีและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2562” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายของรัฐบาล การนำนโยบายไปปฏิบัติ รวมถึงประสิทธิผลผ่านการตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ เนื่องจากรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะผลักดันนโยบายต่าง ๆ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และได้กำหนดแนวนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินตามคำแถลงนโยบายที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยการลงพื้นที่ตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่เป็นวิธีหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล ผลการศึกษาพบว่า ในการตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ตลอดรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (กันยายน พ.ศ. 2557 - พฤษภาคม พ.ศ. 2562) รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศมากที่สุด เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเน้นด้านการเกษตรและพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นหลัก นอกจากนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และการศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ตามลำดับ โดยมีจังหวัดเป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญในระดับพื้นที่ เพราะมีความเข้าใจในบริบทของสภาพแวดล้อม ใกล้ชิดและรับรู้ความต้องการของประชาชน ตลอดจนสิ่งที่จังหวัดต้องการขับเคลื่อนนโยบายหรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการนำนโยบายไปปฏิบัติเริ่มต้นจากการที่นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจังหวัดนำนโยบายหรือข้อสั่งการไปปฏิบัติ โดยเน้นการดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อนำนโยบายมาปฏิบัติจริงในพื้นที่พบว่า จังหวัดอาจมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ บุคลากร และการดำเนินงานร่วมกันของหลายหน่วยงาน สำหรับประสิทธิผลของการตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่พบว่า บางข้อสั่งการสามารถนำไปปฏิบัติจนเป็นรูปธรรม อยู่ระหว่างการดำเนินงาน และบางข้อสั่งการมีข้อจำกัดจึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร นอกจากนี้ การสั่งการของนายกรัฐมนตรีจะต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่ เนื่องจากแต่ละจังหวัดมีบริบทและสภาพสังคมแตกต่างกัน รวมทั้งรัฐบาลต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ และรัฐบาลควรเพิ่มการติดตามผลการนำข้อสั่งการไปปฏิบัติ เพื่อให้การตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่มีประสิทธิผลและเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด


นาฏดุริยางคศิลป์สร้างชาติ: การยินยอมและการต่อรองนิยามความเป็นไทยและนโยบายวัฒนธรรมของข้าราชการสำนักการสังคีต, ปิยาภา สังขทับทิมสังข Jan 2019

นาฏดุริยางคศิลป์สร้างชาติ: การยินยอมและการต่อรองนิยามความเป็นไทยและนโยบายวัฒนธรรมของข้าราชการสำนักการสังคีต, ปิยาภา สังขทับทิมสังข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้ต้องการตอบคำถามที่ว่า ข้าราชการสำนักการสังคีตมีกระบวนการยอมรับและต่อรองกับนิยามความเป็นไทยและนโยบายวัฒนธรรมของรัฐอย่างไร มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษานโยบายวัฒนธรรมที่ส่งเสริมความเป็นไทยของรัฐผ่านสำนักการสังคีต (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนิยามความเป็นไทยของรัฐ กับอัตลักษณ์องค์กรของสำนักการสังคีตและอัตลักษณ์ส่วนบุคคลของข้าราชการสำนักการสังคีต (3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการทำงาน การเข้าใจตัวตน และแรงจูงใจของข้าราชการสำนักการสังคีต ในแง่ของการยินยอม และการต่อรองนิยามความเป็นไทยของรัฐ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกึ่งโครงสร้างกับข้าราชการสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ตั้งแต่ระดับปฏิบัติงานไปจนถึงระดับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 19 ราย ด้วยวิธีการวิเคราะห์สาระสำคัญ (thematic analysis) โดยใช้แนวคิดทฤษฎีอำนาจนำ ชีวอำนาจ (bio-power) วาทกรรมและการต่อรองอัตลักษณ์ จากการศึกษาพบว่า 1. ข้าราชการสำนักการสังคีตได้รับการปลูกฝังนิยามความเป็นไทยของรัฐผ่านกระบวนการสร้างตัวตนด้วยกลไกต่างๆ ทั้งด้านวิชาชีพที่ฝึกฝนมา และด้านวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งมีส่วนสำคัญในการทำให้ข้าราชการยอมรับอำนาจนำภายใต้วาทกรรม “ไทยจารีต” อย่างแนบเนียน เพื่อมุ่งควบคุมร่างกายและความคิด 2. แม้ว่าจะมีการควบคุมร่างกาย จิตสำนึก และพฤติกรรมให้ยอมรับการผลิตซ้ำนิยามความเป็นไทยของรัฐ แต่ด้วยเงื่อนไขของสภาพแวดล้อมต่างๆ และบริบททางสังคมที่ได้ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ประกอบกับความมุ่งหวังที่จะปฏิบัติงานตามนโยบายวัฒนธรรมได้อย่างราบรื่น ทำให้เกิดการต่อรองจนบางสิ่ง ได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการต่อรองกับอำนาจนำหรือวาทกรรม “ไทยจารีต” ในที่นี้มี 2 มิติ มิติแรก คือ การต่อรองในมิติรูปแบบการแสดง เช่น การปรับเปลี่ยนรูปแบบของฉาก เครื่องแต่งกาย บทการแสดง เป็นต้น ให้ก้าวทันกับยุคสมัยแต่ยังคงสืบทอดนิยามความเป็น “ไทยจารีต” ของรัฐพร้อมทั้งอัตลักษณ์ขององค์กร ในขณะที่ “แก่นแท้”ของการแสดงนาฏดุริยางคศิลป์เชิงอนุรักษ์ยังคงอยู่ และมิติที่สอง คือ การต่อรองในเชิงความคิดเกี่ยวกับนโยบายและองค์กร เช่น เรื่องอัตรากำลังคน งบประมาณ และสวัสดิการ เป็นต้น ซึ่งแม้จะไม่ได้มีการผลักดันหรือส่งเสียงในองค์กรแต่ก็มีเมล็ดพันธุ์ความคิดที่ผู้นำองค์กรน่าจะนำไปปรับใช้ต่อไป


การปรับตัวด้านการสื่อสารในองค์กรเพื่อการทำงานร่วมกันในสถานการณ์ที่ต้องปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย กรณีศึกษา กรมตรวจบัญชีสหกรณ์, พิมพ์ชนก ใบชิต Jan 2019

การปรับตัวด้านการสื่อสารในองค์กรเพื่อการทำงานร่วมกันในสถานการณ์ที่ต้องปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย กรณีศึกษา กรมตรวจบัญชีสหกรณ์, พิมพ์ชนก ใบชิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการปรับตัวด้านการสื่อสารในองค์กรเพื่อการทำงานร่วมกันของบุคลากรระหว่างช่วงวัยต่างๆ ในการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย (Work From Home) กรณีศึกษา กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และ (2) สังเคราะห์เป็นข้อเสนอแนะและมาตรการสำหรับใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย (Work From Home) รวมทั้งเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการเตรียมความพร้อมหรือการรับมือกับสถานการณ์ไม่ปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยบุคลากรกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ตั้งแต่ระดับผู้ปฏิบัติงานไปจนถึงผู้อำนวยการกลุ่ม จำนวน 18 ราย โดยจำแนกผู้ให้ข้อมูลออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก บุคลากรกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ช่วงวัย 25-34 ปี จำนวน 6 ราย กลุ่มที่สอง บุคลากรกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ช่วงวัย 35-44 ปี จำนวน 6 ราย และกลุ่มที่สามบุคลากรกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ช่วงวัย 55-60 ปี จำนวน 6 ราย ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างโดยการสัมภาษณ์แบบรายบุคคลผ่านทางโทรศัพท์และใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) โดยจำแนกตามคำถามวิจัย และวิเคราะห์ตีความข้อมูลโดยใช้แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาประกอบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในแต่ละส่วน ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ทั้ง 3 ช่วงวัย มีการปรับตัวด้านการสื่อสารในสถานการณ์ที่ต้องปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย โดยมีผลสัมฤทธิ์ของการทำงานเป็นจุดมุ่งหมายในการปรับตัว กล่าวคือในการปฏิบัติงานช่วงสถานการณ์ดังกล่าวต้องสำเร็จตามตัวชี้วัดที่วางไว้ และในการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัยไม่สามารถปฏิบัติได้ในทุกลักษณะงานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ถึงอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบหลักรวมถึงรายละเอียดของงานในแต่ละลักษณะงานว่าลักษณะงานแบบใดที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย อีกทั้งการสื่อสารช่วงสถานการณ์ที่ต้องปฏิบัติงานจากที่พักอาศัยมีการใช้รูปแบบการสื่อสารเหมือนการทำงานในสถานการณ์ปกติ แต่จะมีการผ่อนปรนรูปแบบการสื่อสารลงโดยไม่ต้องเป็นทางการอย่างเต็มรูปแบบ มีการลดลำดับการสื่อสารให้น้อยลง โดยเน้นความคล่องตัวมากขึ้น โดยบุคลากรช่วงวัย 45-60 ปี บางส่วนจะสามารถปรับตัวในการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารผ่านโปรแกรม Virtual Meeting ได้ โดยบุคลากรที่สามารถปรับตัวในการนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารมาใช้ในการทำงานได้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบหลักเกี่ยวกับงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


กลไกการขับเคลื่อนคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์, พิชญาภร จ่างจันทรา Jan 2019

กลไกการขับเคลื่อนคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์, พิชญาภร จ่างจันทรา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาทางการแพทย์ผ่านคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในดำเนินงานของคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 3) ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในสถานบริการสุขภาพของประเทศไทย ใช้วิธีการศึกษาจากการค้นคว้าจากเอกสาร การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยบุคลากรจากโรงพยาบาลคูเมือง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ และวิสาหกิจศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพรเพลาเพลินเพื่อชุมชน จำนวน 9 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า การขับเคลื่อนคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีจุดเริ่มต้นจากผู้นำองค์กรตัดสินใจรับนโยบายกัญชาทางการแพทย์มาปฏิบัติภายใต้กรอบแนวคิด “บุรีรัมย์โมเดล” โดยร่วมมือกับวิสาหกิจศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพรเพลาเพลินเพื่อชุมชนปลูกกัญชา ผลิตยากัญชา และให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ ตัวแสดงสำคัญจำแนกออกได้เป็น 7 กลุ่ม คือ นักการเมืองและผู้ทรงอิทธิพลทางการเมือง หน่วยงานภาครัฐ ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ กลุ่มนักวิชาการ ภาคเอกชน ชุมชน และประชาชนผู้รับบริการ ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญ ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางการเมืองและสังคม ทรรศนะต่อนโยบายของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ และเครือข่ายความร่วมมือ ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ คือ ประชาชนยังเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ได้น้อย เนื่องจากการผูกขาดการจ่ายยากัญชาทางการแพทย์โดยภาครัฐ และแพทย์ส่วนใหญ่ยังไม่ให้การยอมรับกัญชาทางการแพทย์ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของกัญชาทางการแพทย์ สร้างการยอมรับนโยบายในระดับหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารระดับสูง และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และจัดระบบกระจายผลิตภัณฑ์กัญชาให้มีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเพียงพอ


การเปิดรับ ความเชื่อมั่น และการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, พงศกร โค้วไพโรจน์ Jan 2019

การเปิดรับ ความเชื่อมั่น และการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, พงศกร โค้วไพโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับ ความเชื่อมั่น และการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการเก็บข้อมูลจากชาวไทยที่เป็นผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่เคยใช้บริการข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. ส่วนใหญ่ติดตามข้อมูลข่าวสารจาก Facebook Page Amazing Thailand โดยใน 1 สัปดาห์ มีความถี่การใช้บริการ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนผู้ที่ไม่เคยใช้บริการมีสาเหตุเนื่องจากไม่ทราบมาก่อนว่า ททท. มีช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัล ผลการศึกษาเรื่องความเชื่อมั่นต่อข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. โดยรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน สำหรับการวิเคราะห์อิทธิพลด้านประชากรศาสตร์ต่อปัจจัยต่างๆ พบว่า ปัจจัยด้านเพศ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน มีผลต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. ส่วนปัจจัยด้านระดับการศึกษา มีผลต่อความเชื่อมั่นต่อข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. และปัจจัยด้านเพศ ส่งผลต่อการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. ส่วนผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับ ความเชื่อมั่น และการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. พบว่าทั้ง 3 ปัจจัยมีความสัมพันธ์กัน โดยเป็นความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน


กรอบความคิด (Mindset) กับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน กรณีศึกษา บุคลากรสายสนับสนุนภายใต้สำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อังศวีร์ เครือแก้ว Jan 2019

กรอบความคิด (Mindset) กับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน กรณีศึกษา บุคลากรสายสนับสนุนภายใต้สำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อังศวีร์ เครือแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ครั้งนี้เป็นการศึกษากรอบความคิดกับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนภายใต้สำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับกรอบความคิดและเปรียบเทียบระดับกรอบความคิด ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานและผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน ศึกษาความสัมพันธ์กรอบความคิดกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน และศึกษาความสัมพันธ์กรอบความคิดกับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ระดับ P และลักษณะงานที่แตกต่างกันมีกรอบความคิดไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนปัจจัยด้านอายุงานที่แตกต่างกันมีกรอบความคิดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับกรอบความคิด ที่ระดับ Growth Mindset with some Fixed ideas โดยสัมพันธ์กันในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับกรอบความคิด ที่ระดับ Strong Growth Mindset และระดับ Fixed Mindset with some Growth ideas 3) กรอบความคิด (mindset) ระดับ Strong Growth Mindset ระดับ Growth Mindset with some Fixed ideas และระดับ Fixed Mindset with some Growth ideas ทั้ง 3 ระดับ ไม่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงาน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 4) กรอบความคิด (mindset) ระดับ Strong Growth Mindset ระดับ Growth Mindset with some Fixed ideas และระดับ Fixed Mindset with some Growth ideas ทั้ง 3 ระดับ ไม่มีความสัมพันธ์กับผลการประเมินประจำปีเช่นกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้


การศึกษาการวิเคราะห์ความเสี่ยงตามยุทธศาสตร์: กรณีศึกษาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดุษฎี คนแรงดี Jan 2019

การศึกษาการวิเคราะห์ความเสี่ยงตามยุทธศาสตร์: กรณีศึกษาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดุษฎี คนแรงดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษายุทธศาสตร์ที่มีความเสี่ยงในการดําเนินการ หรืออาจดําเนินการได้ยากที่สุด และ เพื่อค้นหาแนวทางในการป้องกันหรือแก้ไขความเสี่ยงของผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยอาศัยกรอบบริหารความเสี่ยงขององค์กร COSO Enterprise Risk Management 2017 ตามยุทธศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4 ด้าน โดยการศึกษาครั้งนี้ได้อาศัยวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน คือการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 6 คน (จำนวนทั้งหมด 14 คน) เลือก ยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ พัฒนาเพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร เพื่อความยั่งยืนขององค์กร มีความเสี่ยงในการดําเนินการ หรืออาจดําเนินการได้ยากที่สุด เนื่องจากการดำเนินงานขององค์กรประกอบด้วยระบบงานหลายส่วน และมีหลายพันธกิจ ซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพในทุกด้าน อาจต้องอาศัยการดำเนินการเชิงระบบในภาพรวมสูง อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบันเป็นไปอย่างอย่างรวดเร็ว ทำให้อาจส่งผลต่อความยั่งยืนขององค์กรได้ สำหรับแนวทางในการดำเนินการ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และความยั่งยืนขององค์กร คณะฯได้ นำเกณฑ์ EdPEx เข้ามาร่วมในการพัฒนาองค์กร โดยในขณะนี้คณะได้เริ่มมี strategic theme 5 เรื่อง ประกอบด้วย 1) การพัฒนา Excellence Centers และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม2) Financial Sustainability 3) การพัฒนาเป็น Lifelong Learning Organization 4) Internationalization และ 5) Corporate Governance and CSR ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นความท้าทายในการดำเนินการของคณะฯ ต่อไป สำหรับผลการศึกษาเชิงปริมาณตามกรอบบริหารความเสี่ยงขององค์กร COSO ERM 2017 พบว่ากลุ่มตัวอย่างได้ให้คะแนนเฉลี่ยสูงสุดในเรื่องของ การจัดการความเสี่ยงขององค์กร และการทบทวนและปรับปรุงองค์กรอยู่ในระดับ มาก คือ 4.00 หมายถึง คณะฯ ดำเนินการในด้านนี้ระดับดีมาก และคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือเรื่อง ข้อมูล การสื่อสาร และการรายงานผล อยู่ในระดับ ปานกลาง คือ 3.16 หมายถึงคณะฯ ดำเนินการด้านนี้ในระดับปานกลาง


การวิเคราะห์การให้ความสำคัญต่อนโยบายด้านต่าง ๆ ของรัฐบาลที่มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ศึกษาผ่านรายการคืนความสุขให้คนในชาติ, ปฐมพร คงนุช Jan 2019

การวิเคราะห์การให้ความสำคัญต่อนโยบายด้านต่าง ๆ ของรัฐบาลที่มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ศึกษาผ่านรายการคืนความสุขให้คนในชาติ, ปฐมพร คงนุช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง “การวิเคราะห์การให้ความสำคัญต่อนโยบายด้านต่าง ๆ ของรัฐบาลที่มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ศึกษาผ่านรายการคืนความสุขให้คนในชาติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายของรัฐบาลที่มาจากคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ผ่านรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ที่นำเสนอโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กับความสอดคล้องของเหตุผลการรัฐประหารของคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (22 พฤษภาคม 2557) ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากการศึกษาพบว่า นโยบายของรัฐบาลที่มาจากคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ จำแนกเป็น 11 ด้าน ทั้งนี้ ในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ พบว่า เนื้อหาของรายการสะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับนโยบายด้านที่ (6) การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ มากที่สุด ส่วนความสอดคล้องของนโยบายกับเหตุผลการเข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ ปี 2557 ได้แก่ นโยบายด้านที่ (2) การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ (3) การลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ (4) การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม (6) การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ (7) การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน (9) การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรและการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน (10) การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ และ (11) การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และไม่สอดคล้องกับนโยบายด้านที่ (1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ (5) การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน และ (8) การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม


การมีส่วนร่วมในการผลักดันนโยบายสาธารณะขององค์การพัฒนาเอกชน: ศึกษากรณีนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, พรสวรรค์ จันทรัตน์ Jan 2019

การมีส่วนร่วมในการผลักดันนโยบายสาธารณะขององค์การพัฒนาเอกชน: ศึกษากรณีนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, พรสวรรค์ จันทรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของขบวนการแพทย์ชนบทในฐานะองค์การพัฒนาเอกชนที่มีส่วนร่วมผลักดันนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จของขบวนการแพทย์ชนบทในการเข้ามามีส่วนร่วมผลักดันนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เริ่มศึกษาตั้งแต่การก่อตั้งชมรมแพทย์ชนบท ในปี พ.ศ. 2521 จนกระทั่งแพทย์ชนบทมีส่วนร่วมในการผลักดันนโยบายสาธารณะ ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลักดันนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผลการศึกษาพบว่า ขบวนการแพทย์ชนบทมีบทบาทสำคัญด้านองค์ความรู้ในการผลักดันนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กล่าวคือ ขบวนการแพทย์ชนบทเป็นผู้สั่งสมองค์ความรู้ผ่านโครงการวิจัยต่าง ๆ ได้แก่ โครงการขุนหาญ โครงการอยุธยา และโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข จนกลายเป็นรากฐานของการผลักดันนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ก่อนที่จะประสานความร่วมมือกับภาคประชาสังคมและภาคการเมืองในช่วงระยะเวลาก่อนการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 ในส่วนของปัจจัยความสำเร็จของขบวนการแพทย์ชนบทในการผลักดันนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประกอบไปด้วย 5 ปัจจัยสำคัญ คือ 1) ปัจจัยด้านบริบทแวดล้อม 2) ปัจจัยด้านองค์ความรู้ 3) ปัจจัยด้านผู้นำและอุดมการณ์ 4) ปัจจัยด้านเครือข่ายทางสังคม และ 5) ปัจจัยด้านทรัพยากร


พฤติกรรมของประชาชนต่อสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในกรุงเทพมหานคร, วิภาวี โถหินัง Jan 2019

พฤติกรรมของประชาชนต่อสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในกรุงเทพมหานคร, วิภาวี โถหินัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะข้อมูลประชากรศาสตร์ของประชาชนต่อพฤติกรรมการบริโภคในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาลักษณะข้อมูลประชากรศาสตร์ของประชาชนต่อสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน ต่อระดับสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารของกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลประชากรศาสตร์ของประชาชนและพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน ส่งผลต่อสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในภาพรวมของกรุงเทพมหานครอยู่ใน “ระดับปานกลาง” โดยมีค่าเฉลี่ยความมั่นคงเท่ากับ 1.96 และกรุงเทพมหานครได้มีการบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารภายใต้แผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556 - 2575) โดยมีเป้าหมายให้กรุงเทพมหานครเป็นมหานครแห่งเอเชียข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ 1) ด้านนโยบาย 1.1) กรุงเทพมหานครควรเพิ่มโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ประชาชนทั่วไปโดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายตามช่วงวัย และจัดทำโครงการฉลากอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพ (Healthier Choice) 1.2) รัฐบาลควรให้กรุงเทพมหานครเป็นโครงการนำร่องด้านความสะอาดและปลอดภัยของอาหารเพื่อให้มีเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ 2) ด้านบริหาร กรุงเทพมหานครควรปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การจ้างบุคลากรให้เหมาะสมและเพียงพอต่อการทำงาน 3) ด้านวิชาการกรุงเทพมหานครควรต้องมีการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารเพื่อเตรียมรับมือกับความไม่มั่นคงทางอาหารทั้งในระยะสั้นและระยะยาว


การเปรียบเทียบการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ กรณีศึกษา : โครงการสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย และศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค, ธนพร ทองขาว Jan 2019

การเปรียบเทียบการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ กรณีศึกษา : โครงการสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย และศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค, ธนพร ทองขาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ทั้งในด้านการบริหารจัดการองค์การ การบริหารจัดการที่อยู่อาศัย ตลอดจนแนวทางการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุของหน่วยงานภาครัฐหลักที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ประจำอาคารสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย จำนวน 3 ท่าน และผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแคจำนวน 4 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า จากเกณฑ์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบลักษณะการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุทั้งสองแห่งนั้น มีความคล้ายคลึงกันในด้านวิสัยทัศน์ ค่านิยม การจัดโครงสร้างองค์การ การวางแผนและการดำเนินงาน และการบริหารทรัพยากรทางกายภาพ ในขณะที่ทั้งสองแห่งมีความแตกต่างกันในเรื่อง หน่วยงานที่สังกัด การสนับสนุนงบประมาณ การบริหารทรัพยากรบุคคล อัตราค่าบริการ และกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ ในด้านการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐนั้น มีเพียงศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแคที่ได้รับการส่งเสริมทั้งในมิติด้านการเงิน การอบรมพัฒนาบุคลากร องค์ความรู้ และนวัตกรรมผู้สูงอายุ สำหรับการจัดที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุโดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องนั้น มีลักษณะให้ผู้สูงอายุได้อยู่อาศัยในที่เดิมภายใต้การดูแลของครอบครัว และมีการสร้าง Senior Complex ที่มีบริการครบวงจรเพื่อรองรับผู้สูงอายุที่ต้องการใช้ชีวิตในชุมชน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันภาครัฐยังไม่มีแนวทางส่งเสริมการจัดบริการที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุของภาคเอกชนหรือองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการถ่ายโอนเรียนรู้ของข้าราชการครูในการพัฒนาด้วยระบบออนไลน์ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สิรินภา ปัญญาธิกวัฒน์ Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการถ่ายโอนเรียนรู้ของข้าราชการครูในการพัฒนาด้วยระบบออนไลน์ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สิรินภา ปัญญาธิกวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาว่าปัจจัยใดที่ส่งผลต่อการถ่ายโอนการเรียนรู้ในการพัฒนาด้วยระบบออนไลน์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรกับการถ่ายโอนการเรียนรู้ในการพัฒนาด้วยระบบออนไลน์ 3) ศึกษาถึงระดับการถ่ายโอนการเรียนรู้ของข้าราชการครูภายหลังการเข้ารับการพัฒนาด้วยระบบออนไลน์ 4) ศึกษาถึงความแตกต่างของทัศนคติระหว่างก่อนและหลังการเข้ารับการพัฒนาด้วยระบบออนไลน์ และ 5) สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาครูด้วยระบบออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จ โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการครูในเคยเข้ารับการพัฒนาด้วยระบบออนไลน์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 778 คน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามออนไลน์ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ สถิติสหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการถ่ายโอนการเรียนรู้ของข้าราชการครูในการพัฒนาด้วยระบบออนไลน์ ได้แก่ ด้านคุณลักษณะของผู้เข้ารับการอบรม ด้านเนื้อหาและหลักสูตร ด้านองค์ประกอบของการพัฒนาด้วยระบบออนไลน์ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ 2) ลักษณะทางประชากรด้านอายุราชการ มีความสัมพันธ์กับการถ่ายโอนการเรียนรู้ในการพัฒนาด้วยระบบออนไลน์ 3) ระดับการถ่ายโอนการเรียนรู้ของข้าราชการครูภายหลังการเข้ารับการพัฒนาด้วยระบบออนไลน์อยู่ในระดับมาก และ 4) ภายหลังข้าราชการครูเข้ารับการพัฒนาด้วยระบบออนไลน์ มีระดับทัศนคติเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้ารับการพัฒนา


การศึกษาระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของหน่วยความมั่นคง:กรณีศึกษาการจัดหายุทโธปกรณ์, เกริกไกร เอมพันธุ์ Jan 2019

การศึกษาระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของหน่วยความมั่นคง:กรณีศึกษาการจัดหายุทโธปกรณ์, เกริกไกร เอมพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของสารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของหน่วยความมั่นคง 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการบริหารงบประมาณของหน่วยความมั่นคง ในการนำเอาการบริหารระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ และ 3) เสนอแนะแนวทางการบริหารงบประมาณของหน่วยความมั่นคงให้เป็นไปตามกระบวนการงบประมาณในระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดหายุทโธปกรณ์ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 วิธีได้แก่ การรวบรวมข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม สำหรับผลการวิจัยพบว่า สาเหตุของปัญหาในระบบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของหน่วยความมั่นคงมาจาก ลักษณะของงานความมั่นคงที่เป็นนามธรรมทำให้การกำหนดตัวชี้วัด การประเมินผล ทำได้ยากจึงทำเกิดปัญหาอี่นตามมา เช่น ปัญหาเชิงระบบ เชิงนโยบาย ปัญหาการมีส่วนร่วม ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการจัดหายุทโธปกรณ์ที่ไม่เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้ยุทโธปกรณ์ โดยผู้วิจัยสามารถนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยแก้ไขการตีความลักษณะงานให้เป็นรูปธรรมเพื่อที่จะทำให้ การกำหนดตัวชี้วัด การประเมินผลมีประสิทธิภาพ เพิ่มการมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดหายุทโธปกรณ์ และนำเอาหลักธรรมาภิบาลเข้ามาดำเนินการเป็นหลักในการแก้ปัญหา โดยในการปฏิบัตินั้นต้องดำเนินการควบคุม กำกับดูแล วินัยทางการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด โดยหน่วยงานที่กำกับวินัยการเงินการคลังของหน่วยความมั่นคง และมีระบบประเมินผลที่ผู้วิจัยได้ออกแบบไว้ในขั้นต้น ที่มีความเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพ คือแนวทางทางการบริหารการคลังที่ดีบนพื้นฐานความยั่งยืน


ระดับความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของผู้โดยสารเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรขาเข้าสำหรับของติดตัวผู้โดยสารทางท่าอากาศยานและทัศนคติของผู้โดยสารที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ภัทรวรรณ สิทธิสมบัติ Jan 2019

ระดับความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของผู้โดยสารเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรขาเข้าสำหรับของติดตัวผู้โดยสารทางท่าอากาศยานและทัศนคติของผู้โดยสารที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ภัทรวรรณ สิทธิสมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงการรับรู้ ความเข้าใจในกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับพิธีการศุลกากรขาเข้า สำหรับของติดตัวผู้โดยสารทางท่าอกาศยาน 2) ศึกษาถึงทัศนคติของผู้โดยสารที่มีต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ 3) ศึกษาถึงปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อทัศนคติของผู้โดยสารที่มีต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อนำไปวิเคราะห์ปรับปรุงการทำงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากรให้ดียิ่งขึ้นในเเง่ทัศนคติของผู้โดยสารควบคู่กับการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพเเละประสิทธิผล การวิจัยครั้งนี้ได้ผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งคือ ผู้โดยสารชาวไทยที่เดินทางผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในปี พ.ศ. 2562 จำนวน 400 คน และใช้โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติ SPSS สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน ที่มีความเเตกต่างกันทางอาชีพ วัตถุประสงค์ในการเดินทาง และความถี่ในการเดินทาง ผลการศึกษาพบว่าผู้โดยสารที่เดินทางผ่านทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีความรู้เกี่ยวกับพิธีการศุลกากรในระดับปานกลาง ซึ่งเป็นความรู้ที่ทราบเเต่เรื่องการนำเข้าแอลกอฮอล์เเละบุหรี่เป็นหลัก ในเรื่องอื่นๆ เช่น ของต้องห้าม ของต้องกำกัด เป็นต้น ผู้โดยสารไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจได้ถูกต้องมากนัก ส่วนเรื่องทัศนคติของผู้โดยสารที่มีต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติ คือ ทัศนคติที่มีต่อการปฏิบัติตามกฎหมายภาษี ความเชื่อถือในการปฏิบัติงานของรัฐ และความพึงพอใจที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากร


แนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายทางการคลังเพื่อส่งเสริมการบริหารการคลังอย่างยั่งยืน, วันเฉลิม คงเกต Jan 2019

แนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายทางการคลังเพื่อส่งเสริมการบริหารการคลังอย่างยั่งยืน, วันเฉลิม คงเกต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับนโยบายทางการคลังในต่างประเทศเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานสถาบันทางการคลังของไทย ณ ปัจจุบัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากการศึกษาข้อมูลเชิงเอกสารในเรื่องการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการคลังในประเทศพัฒนาแล้วจำนวน 5 ประเทศและการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ นักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญในภาคการคลัง เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในเรื่องการคลังของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในเรื่องการคลังของธนาคารแห่งประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า สถาบันทางการคลังที่เป็นอิสระในประเทศพัฒนาแล้วมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ รูปแบบ fiscal council, parliamentary budget office model และ other model โดยศึกษาสถาบันทางการคลังที่เป็นอิสระในประเทศพัฒนาแล้ว ได้แก่ สหราชอาณาจักร เยอรมนี เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบของสถาบันทางการคลังที่เป็นอิสระ คือ รูปแบบ fiscal council และ parliamentary budget office model มีหน้าที่สำคัญ คือ วิเคราะห์ความยั่งยืนทางการคลังระยะยาว ประมาณการเศรษฐกิจหรืองบประมาณ และติดตามการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การคลัง สำหรับกรณีประเทศไทย มีปรับปรุงคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ผ่านการแก้ไข พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 10 เพื่อปรับปรุงตัวแทนในคณะกรรมการ และเพิ่มเติมหน้าที่ในเรื่องการส่งสัญญาณเตือนต่อรัฐบาลในเรื่องความเสี่ยงทางการคลัง และการให้ความรู้ด้านการคลังต่อสาธารณะ .


แนวทางการส่งเสริมการจัดทำงบประมาณโดยคำนึงถึงมิติหญิงชายของสำนักงบประมาณ, ศนิ อรัณยะพันธุ์ Jan 2019

แนวทางการส่งเสริมการจัดทำงบประมาณโดยคำนึงถึงมิติหญิงชายของสำนักงบประมาณ, ศนิ อรัณยะพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการจัดทำงบประมาณ โดยคำนึงถึงมิติหญิงชาย (Gender Responsive Budgeting : GRB) ของสำนักงบประมาณ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการจัดทำงบประมาณของประเทศไทย ในการศึกษาวิจัย ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารงบประมาณ การสัมภาษณ์บุคลากรจากกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับข้าราชการสำนักงบประมาณตั้งแต่ระดับปฏิบัติการไปจนถึงระดับอำนวยการสูง จำนวน 11 คน ประกอบด้วยบุคลากรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดทำงบประมาณ 3 ด้าน คือ ด้านการวางแผนงบประมาณ ด้านการจัดทำงบประมาณ และด้านการติดตามและประเมินผลผลการวิจัยพบว่า สำนักงบประมาณได้รับการผลักดันเชิงนโยบายในการส่งเสริมการจัดทำงบประมาณโดยคำนึงถึงมิติหญิงชาย โดยอยู่ระหว่างการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการร่วมกันปรับปรุงแนวทางการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชาย และข้อมูลจำแนกเพศ สำหรับผลการวิจัยด้านทัศนคติพบว่า ข้าราชการสำนักงบประมาณมีทัศนคติเกี่ยวกับความเสมอภาคตามแนวคิดเสรีนิยม (Liberalism) ที่มองว่าหญิงและชายต่างสามารถแข่งขันกันเพื่อความสำเร็จทางสังคม ซึ่งมีความแตกต่างจากแนวคิดความเสมอภาคในการจัดทำงบประมาณโดยคำนึงถึงมิติหญิงชาย ที่เน้นการสร้างโอกาสให้กับผู้ด้อยโอกาสในมิติเพศภาวะ ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางการส่งเสริมการจัดทำงบประมาณโดยคำนึงถึงมิติหญิงชายของสำนักงบประมาณโดยดำเนินโครงการนำร่องที่นำแนวคิด GRB มาใช้ในการจัดทำงบประมาณ


ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการให้บริการด้านสุขภาพจิตโครงการ Depress We Care ซึมเศร้า เราใส่ใจกรณีศึกษากลุ่มเป้าหมายข้าราชการตำรวจ, ณทชา เย็นทรวง Jan 2019

ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการให้บริการด้านสุขภาพจิตโครงการ Depress We Care ซึมเศร้า เราใส่ใจกรณีศึกษากลุ่มเป้าหมายข้าราชการตำรวจ, ณทชา เย็นทรวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ข้าราชการตำรวจเป็นบุคลากรที่มีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันปราบอาชญากรรม รวมทั้งอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน เป็นอาชีพที่ได้รับความกดดันจากการทำงาน นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า และปัญหาการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลตำรวจ จึงได้จัดตั้งโครงการ Depress we care ซึมเศร้า เราใส่ใจ ขึ้นและสร้างช่องทางการให้บริการด้านสุขภาพจิตผ่านการส่งข้อความทางอินบ๊อกซ์เพจเฟสบุ๊คและสายด่วน เพื่อหวังที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว ทว่ากลับมีข้าราชการตำรวจที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักเข้าร่วมโครงการและติดต่อเข้ามาน้อย สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงทำขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่ออธิบายถึงสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินการโครงการ ปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการ รวมถึงหาข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดำเนินการในโครงการ ต่อกลุ่มเป้าหมายข้าราชการตำรวจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล ผ่านการรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ในกรอบซิปป์โมเดล ประกอบด้วยปัจจัยด้านบริบท ปัจจัยตัวป้อนเข้า ปัจจัยด้านกระบวนการ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ซึ่งในการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การแจกแบบสอบถามแก่ข้าราชการตำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน ร่วมกับการสัมภาษณ์บุคลากรผู้ดำเนินโครงการ พบว่าปัจจัยด้านบริบทที่ขัดขวางเป็นปัจจัยทางสังคม ทั้งวัฒนธรรมองค์กร ทัศนคติของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ที่เข้ารับการรักษา และความรู้ ความเข้าใจของข้าราชการตำรวจที่มีต่อโครงการ ส่วนปัจจัยตัวป้อนเข้าและปัจจัยด้านกระบวนการเองก็ยังต้องมีการเพิ่มเติมทรัพยากรบุคคลหากต้องการรองรับการให้บริการที่มีปริมาณมากขึ้นในอนาคต และต้องเพิ่มเติมการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นเพื่อขยายประสิทธิผลในการรับรู้โครงการให้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ประสิทธิผลในการเข้าร่วม และผลลัพธ์สูงสุดในการลดการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายของข้าราชการตำรวจต่อไป


การศึกษาทฤษฎีผลักดันเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการจัดเก็บรายได้ กรณีการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ณ สถานประกอบการ ของกองตรวจสอบอากร กรมศุลกากร, ฐาปนี ธุระพ่อค้า Jan 2019

การศึกษาทฤษฎีผลักดันเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการจัดเก็บรายได้ กรณีการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ณ สถานประกอบการ ของกองตรวจสอบอากร กรมศุลกากร, ฐาปนี ธุระพ่อค้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการนำทฤษฎีผลักดันมาประยุกต์ใช้กับหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ณ สถานประกอบการ ของกองตรวจสอบอากร กรมศุลกากร โดยใช้ข้อความเชิงโน้มน้าวใจเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการจัดเก็บรายได้ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นตัวแทนพนักงานศุลกากรจากกองตรวจสอบอากรและตัวแทนผู้นำเข้า/ส่งออกที่มีประสบการณ์ด้านการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ณ สถานประกอบการ วิธีการวิจัยเป็นกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยนำทฤษฎีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับการปรับพฤติกรรมของผู้ประกอบการที่อยู่ในระหว่างการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อยและตรวจพบว่ามีภาระค่าภาษีอากรที่ชำระไม่ครบถ้วน โดยใช้ข้อความโน้มน้าวตามหลักทฤษฎีผลักดันในรูปแบบต่าง ๆ ในหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบเพื่อปรับอคติที่เกิดจากกระบวนความคิดและจูงใจให้ผู้ประกอบการที่กำลังตัดสินใจในการเลือกทางเลือกที่มีมากกว่าหนึ่งทางเลือกให้เลือกที่จะะงับคดีในชั้นศุลกากร ซึ่งข้อความที่ใช้ในการวิจัยนี้มี 5 รูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า ทฤษฎีผลักดันมีส่วนที่สามารถเพิ่มประสิทธิผลให้เครื่องมือของกองตรวจสอบอากรในการจัดเก็บรายได้ของกองตรวจสอบอากร กรมศุลกากร โดยใช้การสื่อสารเชิงโน้มน้าวเพื่อปรับอคติที่เกิดจากกระบวนการคิดและศึกษาสำนึก อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลของผู้ประกอบการที่ขาดชำระภาษี โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้เลือกรูปแบบข้อความที่ผสมระหว่างรูปแบบ "การข่มขู่ให้คล้อยตาม" และรูปแบบ "ผลประโยชน์" มากที่สุด (รูปแบบแทงกั๊ก)


การปรับปรุงสวัสดิการของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, ชนานันท์ ผุดเพชรแก้ว Jan 2019

การปรับปรุงสวัสดิการของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, ชนานันท์ ผุดเพชรแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องการปรับปรุงสวัสดิการของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อศึกษาความคาดหวัง ความพึงพอใจในการสวัสดิการของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และศึกษาความต้องการสวัสดิการเพิ่มเติมของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 290 คน ผลการวิจัยพบว่า พนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีความคาดหวังในสวัสดิการด้านสุขภาพและความปลอดภัยมากที่สุด สวัสดิการที่พนักงานมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ สวัสดิการด้านสุขภาพและความความปลอดภัย โดยพนักงานมีความคาดหวังในสวัสดิการมากกว่าความพึงพอใจในสวัสดิการ ในส่วนสวัสดิการที่พนักงานต้องการให้ รฟม.จัดหาให้มากที่สุดคือ สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณ เพิ่มวงเงินค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน และเบิกตรงค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลรัฐอื่นๆ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความคาดหวังในสวัสดิการของพนักงาน พบว่า อายุ เงินเดือน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน การใช้บริการห้องออกกำลังกาย และการเข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ ของ รฟม. ที่แตกต่างกัน มีความคาดหวังในสวัสดิการต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆ มีความคาดหวังในสวัสดิการไม่ต่างกัน ในส่วนของความพึงพอใจในสวัสดิการ พบว่า เพศ อายุ การมีบุตรของพนักงาน และเงินเดือนที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในสวัสดิการต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆ มีความพึงพอใจในสวัสดิการไม่ต่างกัน


การบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ :กรณีศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง, ชนภัทร รัตนพันธ์ Jan 2019

การบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ :กรณีศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง, ชนภัทร รัตนพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานภายในสถานศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง และเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้แก่สถาบันการศึกษาอื่น ๆ โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 5 คนและศึกษาประกอบกับเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำแนวคิดทฤษฎีระบบ มาใช้วิเคราะห์ในประเด็นการบริหารสถานศึกษา ผ่านการศึกษาปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ทางวิชาการของสถานศึกษา โดยผู้วิจัยเชื่อว่า ทฤษฎีระบบ เป็นหนึ่งในทฤษฎีที่มีประสิทธิภาพในด้านการบริหารองค์การ เพื่อให้องค์การประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์ขององค์การ ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง ได้นำทฤษฎีระบบ เป็นหลักในการบริหารงานภายในสถานศึกษา โดยให้ความสำคัญตั้งแต่ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ ส่งผลให้โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศในด้านวิชาการ ซึ่งมีความสอดคล้องกับกรอบแนวคิดของผู้วิจัยตามที่คาดไว้


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติ (Cuss : Common Use Self Service) ของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ณัฐสิทธิ์ สุทธิสมบูรณ์ Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติ (Cuss : Common Use Self Service) ของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ณัฐสิทธิ์ สุทธิสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยง และปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติ ของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้โดยสารชาวไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 100 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบโควตา และแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้เครื่องเช็คอินอัตโนมัติ 50 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยใช้เครื่องเช็คอินอัตโนมัติ 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1) สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าจำนวน ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย 2) สถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Sample t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25 – 30 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท และส่วนใหญ่นิยมเช็คอินที่เคาน์เตอร์เช็คอินของสายการบิน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.10 และปัจจัยด้านการรับรู้ความเสี่ยงไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านการยอมรับการใช้เทคโนโลยีส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.10