Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

Public Affairs, Public Policy and Public Administration

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 334

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแผนพัฒนารายบุคคลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของพนักงานระดับปฏิบัติการวิชาชีพและปฏิบัติการทั่วไป กรณีศึกษา สถาบันพระปกเกล้า, เจษฎากร อรภักดี Jan 2022

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแผนพัฒนารายบุคคลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของพนักงานระดับปฏิบัติการวิชาชีพและปฏิบัติการทั่วไป กรณีศึกษา สถาบันพระปกเกล้า, เจษฎากร อรภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) ต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของพนักงานระดับปฏิบัติการวิชาชีพและปฏิบัติการทั่วไป กรณีศึกษา สถาบันพระปกเกล้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพจากแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตาม (IDP) ของพนักงานระดับปฏิบัติการวิชาชีพและปฏิบัติการทั่วไป พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตาม IDP ของพนักงานระดับปฏิบัติการวิชาชีพและปฏิบัติการทั่วไป เพื่อให้สอดคล้องกับคุณลักษณะของแต่ละตำแหน่งงานในการเตรียมความพร้อมสำหรับความก้าวหน้าในสายอาชีพ โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้คำถามแบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานระดับปฏิบัติการวิชาชีพและปฏิบัติการทั่วไป และผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนด IDP และปฏิบัติงานร่วมกันภายในสถาบัน จากผลการศึกษา พบว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตาม IDP ของพนักงานระดับปฏิบัติการวิชาชีพและปฏิบัติการทั่วไปส่งผลต่อการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพในการดำเนินงานตาม IDP ของสถาบันพระปกเกล้า โดยพนักงานมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ของการอบรม มีความรู้และเข้าใจต่องานที่รับผิดชอบอยู่ หรือมีความรู้ความเข้าใจต่อเรื่องที่เข้ารับการอบรมมากขึ้น สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม และสามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ที่ได้จากการอบรมให้กับบุคคลอื่นหรือผู้ร่วมงานได้ ซึ่งมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพตามเกณฑ์ IDP ดังกล่าวคือ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระยะเวลาในการทำงาน และระดับการศึกษา เนื่องจากการสะสมประสบการณ์การศึกษา ความรู้ความสามารถ ความถนัดต่าง ๆ ที่ผ่านในอดีตมาเข้ามามีส่วนช่วยในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ 2) ปัจจัยที่ได้รับมาจากงาน ได้แก่ ชนิดของงาน และสถานภาพทางอาชีพ เนื่องจากหากพนักงานต้องการที่จะมีสถานภาพทางอาชีพที่ดีหรือการเลื่อนระดับตำแหน่งงาน พนักงานต้องปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อให้ได้รับการประเมินผลปฏิบัติการที่สูงขึ้นตามที่คาดหวังจากผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชา และ 3) ปัจจัยที่ควบคุมได้โดยฝ่ายบริหาร ได้แก่ ความมั่นคงทางรายได้ สวัสดิการ และโอกาสก้าวหน้าในงาน เนื่องจากปัจจัยที่ควบคุมได้โดยฝ่ายบริหารนั้น มีระเบียบข้อบังคับที่ชัดเจนเพื่อเป็นเกณฑ์ในการกำหนดอัตราเงินเดือน และโอกาสก้าวหน้าในงาน ซึ่งผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาจะเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานตามประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในแต่ละปีของพนักงาน นอกจากนี้ จากผลการศึกษา ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตาม IDP คือ ในด้านการมีส่วนร่วม ผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาและพนักงานควรกำหนด IDP ร่วมกันตามคู่มือแผนพัฒนาบุคลากรสถาบันพระปกเกล้าเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง พนักงานควรศึกษาคู่มือแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อให้ทราบแผนการอบรมรายบุคคลตามกลุ่มของตนเอง อันจะนำไปสู่การวางแผนพัฒนารายบุคคลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การศึกษาภาวะผู้นำ กรณีศึกษา ซีรีส์โทรทัศน์อเมริกา เรื่อง 9-1-1, เพชรรพี รังษี Jan 2022

การศึกษาภาวะผู้นำ กรณีศึกษา ซีรีส์โทรทัศน์อเมริกา เรื่อง 9-1-1, เพชรรพี รังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หน่วยปฏิบัติงานดับเพลิงถือเป็นหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในสังคม และเพื่อลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยที่อาจจะส่งผลกระทบในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้น้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้ ภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการปฏิบัติภารกิจให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาภาวะผู้นำ กรณีศึกษา ซีรีส์โทรทัศน์อเมริกา 9-1-1 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำของตัวละคร Robert Wade Nash (Bobby) หัวหน้าหน่วยปฏิบัติงานดับเพลิง สถานีที่ 118 จากซีรีส์โทรทัศน์อเมริกา 9-1-1 ทั้งในภาวะปกติ และภาวะวิกฤต โดยวิเคราะห์ผ่านแนวคิดภาวะผู้นำตามแนวคิดตาข่ายการจัดการ (The Managerial Grid) ของ Robert Blake และ Jane Mouton (1964) ผลการศึกษาพบว่า ตัวละครโรเบิร์ต นาช หรือบ๊อบบี้ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการกู้ภัย สถานีที่ 118 ประจำเมืองลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้แสดงออกซึ่งพฤติกรรมภาวะผู้นำแบบ 9,9 หรือผู้นำที่เน้นความเป็นทีม ทั้งหมด 54 ตอน นับเป็น 87.09% จากจำนวนตอนทั้งหมดที่ได้มีตัวละครบ๊อบบี้ปรากฏขึ้น โดยลักษณะพฤติกรรมภาวะผู้นำรองลงมาเป็นผู้นำในรูปแบบ 1,9 หรือผู้นำที่เน้นการจัดการแบบสมาคม ทั้งหมด 4 ตอน และบ๊อบบี้ได้แสดงออกซึ่งพฤติกรรมแบบ1,9 และ 5,5 แบบละ 2 ตอน จากลักษณะพฤติกรรมเช่นนี้ ส่งผลให้ตัวบ๊อบบี้สามารถบริหารจัดการภายใต้ภาวะวิกฤตได้ดี ทั้งยังได้รับความยกย่องยอมรับ และเป็นที่รักของสมาชิกในองค์การเสมอมา


การศึกษาวิจัยกระบวนการผลิตสินค้าข้าวเพื่อส่งออกของประเทศไทย, กัญจน์ภิเษกฐ์ สุวรรณรัตน์ Jan 2022

การศึกษาวิจัยกระบวนการผลิตสินค้าข้าวเพื่อส่งออกของประเทศไทย, กัญจน์ภิเษกฐ์ สุวรรณรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญ จากการที่ปริมาณการส่งออกสินค้าข้าวของไทยเป็นส่วนที่สำคัญของการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การส่งออกข้าวของประเทศไทยประสบกับปัญหาท้าทายหลายประการ อาทิ การเพิ่มขึ้นของประเทศผู้ส่งออกสำคัญรายอื่น ที่มีศักยภาพการผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันสูง ในการศึกษานี้ ผู้วิจัยจะทำการรวบรวมข้อมูลในที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย รวมทั้งแนวโน้มการผลิตข้าวเพื่อการส่งออกของประเทศไทย ทั้งกระบวนการผลิตสินค้าข้าวและกระบวนการในการส่งออกสินค้าข้าวของไทย เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในตลาดโลก ทั้งการใช้เทคโนโลยี การเพิ่มมูลค่าสินค้า รวมไปถึงแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันอื่นของประเทศไทยอื่นๆ การวิจัยในครั้งนี้จะแสดงให้เห็นถึงจุดแข็งที่ควรส่งเสริมและจุดอ่อนที่ต้องมีการพัฒนา เพื่อให้ประเทศไทยสามารถรักษาความเป็นผู้นำในการส่งออกข้าวและส่งผลดีต่อเศรษฐกิจต่อไป


การรับรู้และการให้ความร่วมมือของพนักงานระดับปฎิบัติการต่อมาตรการป้องกันความเสี่ยงอุบัติเหตุในการทำงาน, กาจกำแหง ศุภประเสริฐ Jan 2022

การรับรู้และการให้ความร่วมมือของพนักงานระดับปฎิบัติการต่อมาตรการป้องกันความเสี่ยงอุบัติเหตุในการทำงาน, กาจกำแหง ศุภประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมมีความก้าวหน้าอย่างมาก มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจากการใช้แรงงานคนมาเป็นเทคโนโลยีและเครื่องจักร ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งจะก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นอย่างมาก การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่สอดคล้องกับคู่มือ /แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความเสี่ยงอุบัติิเหตุในการทำงาน (2) เพื่อศึกษากระบวนการที่สนับสนุนในการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย ของบริษัทเอกชนสัญชาติไทยแห่งหนึ่ง ในเขตอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ ในบริบทของงานวิจัยนี้ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับขี่รถโฟล์คลิฟท์ในบริษัทแห่งนี้ จํานวน 5 คน และเจ้าหน้าที่แผนกทรัพยากรบุคคล (HR) จํานวน 2 คน ผลการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสําคัญทั้งหมด เมื่อนํามาเปรียบเทียบจากการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคู่มือ /แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความเสี่ยงอุบัติิเหตุในการทำงาน เพื่อวิเคราะห์ว่าการรับรู้ของผู้ให้ข้อมูลสําคัญ การให้ความร่วมมือและเห็นความสำคัญกับกฎระเบียบและหลักเกณฑ์ในการขับขี่รถโฟล์คลิฟท์ที่บริษัทฯกําหนดหรือไม่อย่างไร โดยในภาพรวมพบว่า ถึงแม้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับขี่รถโฟล์คลิฟท์จะมีการรับรู้พื้นฐานที่ดีเกี่ยวกับคู่มือ /แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความเสี่ยงอุบัติิเหตุในการทำงาน แต่จากผลการสังเกตการณ์พบว่าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับขี่รถโฟล์คลิฟท์ในบางครั้งยังไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่ใส่เสื้อสะท้อนแสง ไม่จอดรถที่จุดจอด เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงความไม่ต่อเนื่องและเข้มงวดในการส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร ซึ่งบริษัทฯควรสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการรับรู้และการให้ความร่วมมือด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องต่อไป


พิพิธภัณฑ์สึนามิบ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา : ภูมิหลัง และการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่ความมุ่งหวัง, กฤตพัฒน์ ชื่นตระกูล Jan 2022

พิพิธภัณฑ์สึนามิบ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา : ภูมิหลัง และการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่ความมุ่งหวัง, กฤตพัฒน์ ชื่นตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์เล่มนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษากระบวนการขับเคลื่อนนโยบายของพิพิธภัณฑ์สึนามิบ้านน้ำเค็มจังหวัดพังงา ที่จัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงวัฒนธรรม ในวาระพิเศษเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานของเหตุการณ์สึนามิ ในปี 2547 นับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน เพื่อทราบถึงกระบวนการนโยบายตลอดจนอุปสรรคที่ส่งผลต่อนโยบาย และพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์อันจะนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายที่ให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ทำหน้าที่ในการให้บริการสาธารณะแก่สังคมในอนาคตต่อไป ผลการศึกษาพบว่า การขับเคลื่อนนโยบายพิพิธภัณฑ์สึนามิบ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา ภาวะผู้นำของบุคคลมีความสัมพันธ์กับกระบวนการนโยบาย ผู้บริหารจึงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้นโยบายสู่วาระทางสังคม และกำหนดนโยบายในการนำไปปฏิบัติผ่านโครงสร้างหน่วยงานราชการ ซึ่งจำเป็นที่ฝ่ายบริหารและฝ่ายข้าราชการประจำต้องผสานความร่วมมือกัน สำหรับในการนำนโยบายไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย นอกจากการนำนโยบายไปปฏิบัติในลักษณะเป็นลำดับชั้นจากบนลงล่าง จำเป็นต้องให้อำนาจการใช้ดุลยพินิจแก่ผู้ปฏิบัติงานจริงในลักษณะแบบล่างขึ้นบน นอกจากนี้การติดต่อเป็นการส่วนตัว รวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนจะส่งผลช่วยให้นโยบายบรรลุวัตถุประสงค์ นอกจากนี้การคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางการเมือง และการปรับเปลี่ยนนโยบายให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย จะส่งผลให้เกิดความต่อเนื่องของนโยบายแม้จะเผชิญอุปสรรคด้านมาตรการของนโยบายและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สำหรับแนวทางการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์สึนามิบ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา ต่อไป จะต้องประสานความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการผลักดันพิพิธภัณฑ์ให้เป็นส่วนหนึ่งของวาระทางสังคม และสร้างกลไกระบบการบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์แบบประชาสังคมในรูปแบบองค์กรไม่แสวงผลกำไร เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ตามภารกิจและเป้าหมายที่คาดหวังอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน ผ่านการจัดกิจกรรมตามคุณค่าขององค์กรซึ่งตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป และการเชื่อมโยงเครือข่ายวิชาการในระดับนานาชาติ อันจะทำให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ทำหน้าที่ในการให้บริการสาธารณะแก่สังคมในอนาคตต่อไป


ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียนไทย, คุณานนต์ วิหคาภิรมย์ Jan 2022

ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียนไทย, คุณานนต์ วิหคาภิรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียนไทย และเพื่อศึกษาหาข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียนไทย งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยได้เลือกสัมภาษณ์บุคากรทางการศึกษาระดับนโยบายไปจนถึงระดับปฏิบัติการ โดยผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ คุณครูระดับมัธยมศึกษา 3 ท่าน ในโรงเรียนกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด บุคลากรในกระทรวงศึกษาธิการ 1 ท่าน และบุคลากรขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asian Ministers of Education Organization (SEAMEO) 1 ท่าน ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียนไทย แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารจัดการบุคลากรครู ด้านนโยบายจากส่วนกลาง และด้านหลักสูตร และในแนวทางการแก้ไขปัญหา หรือแนวทางการพัฒนาระบบการศึกษาไทย พบว่าปัญหาส่วนใหญ่สามารถแก้ไขได้ด้วยการหารือร่วมกันระหว่างบุคลากรด้านการศึกษาระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติการ นอกจากนั้นรวมถึงต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล จะสามารถแก้ไขปัญหาและวางแผนพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพได้ในระยะยาว สุดท้ายงานวิจัยชิ้นนี้เสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียนไทยแก่ผู้ที่สนใจต่อไป


การศึกษาองค์การในรูปแบบ Fast Government ของภาครัฐไทยกรณีศึกษากรมสรรพากรและกรมการขนส่งทางบก, กัญญาวีร์ ปิตุรัตน์ Jan 2022

การศึกษาองค์การในรูปแบบ Fast Government ของภาครัฐไทยกรณีศึกษากรมสรรพากรและกรมการขนส่งทางบก, กัญญาวีร์ ปิตุรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์การปฏิบัติงานแบบ FAST Government กรณีศึกษากรมสรรพากร และกรมการขนส่งทางบก (2) ศึกษาระดับขององค์การในการเป็นองค์การแบบ FAST Government (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการปรับเปลี่ยนองค์การแบบ FAST Government โดย FAST Government แบ่งออกเป็น 4 ปัจจัย ได้แก่ Flatter Government (รัฐบาลแนวราบ) Agile Government (รัฐบาลแบบคล่องตัว) Streamlined Government (รัฐบาลแบบมีประสิทธิภาพสูงสุด) Tech-enabled Government (รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งระเบียบวิธีการวิจัยที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบพหุวิธี (Multi Methods) โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพในการศึกษาการปฏิบัติงาน ปัญหา และอุปสรรคของกรมสรรพากรและกรมการขนส่งทางบกในการปรับองค์การแบบ FAST Government โดยการสัมภาษณ์บุคลากรกรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก และบุคลากรหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 คน และใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ในการวิเคราะห์ระดับขององค์การในการเป็นองค์การแบบ FAST Government จากการใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) จากผลการวิจัย พบว่า กรมสรรพากรและกรมการขนส่งทางบกมีการปฏิบัติงานแบบ FAST Government ที่มีความคล้ายคลึงกัน คือมีความพยายามในการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการปฏิบัติงาน เพื่อความรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีและวิธีการปฏิบัติงานแบบคล่องตัว (Agile) เข้ามาประยุกต์ใช้ โดยกรมสรรพากรและกรมการขนส่งทางบก มีระดับการเป็นองค์การแบบ FAST Government ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาอุปสรรคของโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่อาจทำให้เกิดความล่าช้า ไม่คล่องตัวได้ตามที่ทั้งสองกรมต้องการ อีกทั้งบุคลากรยังขาดความรู้ความชำนาญในการใช้เทคโนโลยี


การศึกษาเรื่องโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุบ้านบางแค กรุงเทพมหานคร โครงการสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย จังหวัดสมุทรปราการ และโครงการ Wellness City จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ธันยพร โตษะสุข Jan 2022

การศึกษาเรื่องโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุบ้านบางแค กรุงเทพมหานคร โครงการสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย จังหวัดสมุทรปราการ และโครงการ Wellness City จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ธันยพร โตษะสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์เปรียบเทียบหลักการบริหารจัดการโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุดำเนินการโดยภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม (2) เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างการบริหารจัดการโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุกับค่านิยมสำคัญของ 3 พาราไดม์ทางการบริหารจัดการภาครัฐ (3) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในโครงการที่พักอาศัยที่ดำเนินการโดยภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เเละ (4) เพื่อเป็นข้อเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านการใช้เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ การศึกษาจากเอกสารและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ทั้งนี้เป็นการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นผู้บริหารโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุของศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน โครงการสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย จำนวน 1 คน และโครงการ Wellness City จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 1 คน จากการวิจัยพบว่ากรณีศึกษาศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค กรุงเทพมหานคร มีหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวเก่า (Old Public Management: OPM) เป็นค่านิยมหลัก โครงการสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย มีหลักการบริหารจัดการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service: NPS) เป็นค่านิยมหลัก และโครงการ Wellness City มีหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) เป็นค่านิยมหลัก อย่างไรก็ตามผู้เขียนมองว่าทุกการบริหารจัดการต้องมีความผสมผสานกันของทั้ง 3 พาราไดม์ทางการบริหารจัดการภาครัฐที่ต้องนำมาบริหารจัดการทั้ง 3 พาราไดม์ให้เกิดความสมดุล โดยมีหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวเก่าเป็นพื้นฐานมีโครงสร้างองค์กรที่เข้มแข็ง มีหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันทางเศรษฐกิจ นึกหลักความคุ้มค่า มีตัวชี้วัดผลการทำงานของบุคคลเเพื่อคัดกรองคนที่มีประสิทธิภาพในองค์กร และเป็นองค์กรที่มีความเป็นประชาธิปไตย ส่งเสริมให้เกิดการตัดสินใจผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชน มีมุมมองต่อประชาชนเป็นพลเมืองตื่นรู้ซึ่งนับว่าเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการและพัฒนาองค์กรเป็นองค์กรที่สามารถตรวจสอบได้ มีคุณธรรมด้วยการใช้หลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ เมื่อมีการบริหารจัดการองค์กรที่ดีไม่ว่าจากภาคส่วนใดก็สามารถขับเคลื่อนสังคมก่อให้เกิดเป็นสังคมที่ดีสืบต่อไปได้


ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในระดับพื้นที่ กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์, จุฑารัตน์ ยกถาวร Jan 2022

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในระดับพื้นที่ กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์, จุฑารัตน์ ยกถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ และเพื่อนำเสนอแนวทางส่งเสริมการขับเคลื่อนโครงการในจังหวัดนครสวรรค์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเชิงเอกสาร และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับการโครงการในจังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร คณะทำงานตลอดจนผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการจำนวน 29 ท่าน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แม้ว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาระบบบำนาญที่ยังไม่ครอบคลุมสำหรับแรงงานในทุกระบบ แต่การนำนโยบายไปปฏิบัติผ่านโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกองทุนการออมแห่งชาติและกระทรวงมหาดไทยเพื่อระดมหาจำนวนสมาชิกใหม่เข้าสู่กองทุน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าการดำเนินงานในจังหวัดนครสวรรค์มีสัดส่วนสมาชิกเมื่อเทียบกับจำนวนเป้าหมายมากที่สุดในประเทศไทย แต่ความสำเร็จดังกล่าวเป็นเพียงความสำเร็จหนึ่งในสองของวัตถุประสงค์โครงการเท่านั้น กล่าวคือการดำเนินงานในจังหวัดนครสวรรค์มีแนวคิดริเริ่มซึ่งสามารถเพิ่มจำนวนสมาชิกใหม่ได้ตามเป้าหมาย แต่ยังขาดการส่งเสริมการออมอย่างต่อเนื่องของสมาชิก ทั้งนี้ยังพบปัญหาต่าง ๆ ระหว่างการดำเนินการในแต่ละส่วน ได้แก่ ขาดการประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงกลุ่มผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกอย่างทั่วถึงรวมไปถึงผลตอบแทนยังไม่สามารถสร้างแรงจูงใจได้เท่าที่ควร เป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้นของผู้ปฏิบัติในระดับพื้นที่เนื่องจากวิธีการการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติใช้หลักการแบ่งบทบาท นอกจากนี้พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านความชัดเจนของนโยบาย 2) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร 3) ปัจจัยด้านสมรรถนะขององค์กร และ 4) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายไปปฏิบัติผ่านโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ ควรตระหนักถึงความสำคัญและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบาย รวมไปถึงข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


การสรรหาและคัดเลือกคนพิการเป็นข้าราชการพลเรือน : กรณีศึกษาตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล, ภควัต ศรีไทย Jan 2022

การสรรหาและคัดเลือกคนพิการเป็นข้าราชการพลเรือน : กรณีศึกษาตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล, ภควัต ศรีไทย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องการสรรหาและคัดเลือกคนพิการเป็นข้าราชการพลเรือน : กรณีศึกษาตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) ศึกษารูปแบบ วิธีการ กระบวนการ และปัญหาอุปสรรคในการสรรหาและคัดเลือกคนพิการเข้ารับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนผ่านการศึกษาตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล และ 2) เสนอแนะแนวทางเชิงนโยบายในการพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการสรรหาและคัดเลือกข้าราชการพลเรือนที่เป็นคนพิการ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยทางเอกสารและโดยสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง 5 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 22 คน ประกอบด้วย 1) ผู้แทนศูนย์สรรหาและเลือกสรร สำนักงาน ก.พ. 2) ผู้แทนกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 3) นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านคนพิการ 4) ผู้แทนส่วนราชการที่จ้างงานคนพิการในตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล 5) คนพิการที่เข้าสอบในตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล จากการวิจัยค้นพบว่าแนวทางการสรรหาและคัดเลือกคนพิการ เข้าบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือน มี 2 แนวทางคือ การสรรหาและเลือกสรร และการนำรายชื่อ โดยมีลักษณะส่วนใหญ่สอดคล้องกับแนวคิดการจ้างงานที่กำหนดให้เฉพาะราย (Customized Employment : CE) ซึ่งมีลักษณะสำคัญได้แก่ 1) การเปิดโอกาสให้ส่วนราชการสามารถดำเนินการจ้างงานคนพิการได้ทุกประเภทตำแหน่งตามความเหมาะสมของตำแหน่งงาน ลักษณะงานที่ไม่เป็นอุปสรรคสำหรับคนพิการ 2) เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันเองเฉพาะคนพิการ 3) เปิดโอกาสให้ส่วนราชการสามารถแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญด้านคนพิการร่วมเป็นคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือก 4) เปิดโอกาสให้ส่วนราชการสามารถกำหนดวิธีทดสอบคนพิการได้ตามความเหมาะสม 5) กำหนดให้ส่วนราชการพิจารณาจัดทำอารยสถาปัตย์ และจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้คนพิการสามารถปฏิบัติงานได้ นอกจากนี้พบว่าการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานภาครัฐนั้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 การบังคับใช้ ปัจจัยที่ 2 ส่วนราชการ และปัจจัยที่ 3 ตัวของคนพิการเอง ข้อเสนอเชิงนโยบายของงานวิจัยชิ้นนี้ ได้แก่ 1) ควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนหรือมีมาตรการลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม 2) จัดทำฐานข้อมูลที่เชื่อมโยง 3) ออกแบบลักษณะงานที่เหมาะสมกับคนพิการและ 4) จัดทำคู่มือหรือแนวทางอธิบายลักษณะงานที่เหมาะกับคนพิการ ตลอดจนแก้ไขหลักเกณฑ์แนวทางในการจ้างงานคนพิการของสำนักงาน ก.พ. ให้มีเหมาะสมยิ่งขึ้น


การจัดการขยะของกรุงเทพมหานครสู่เป้าหมายตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี, ธรรณชนก สังข์ชัย Jan 2022

การจัดการขยะของกรุงเทพมหานครสู่เป้าหมายตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี, ธรรณชนก สังข์ชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์หลักของสารนิพนธ์ฉบับนี้คือการศึกษาสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรคเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการจัดการขยะของกรุงเทพมหานครสู่เป้าหมายตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางการพัฒนาการจัดการขยะของกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน ทั้งนี้การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการส่วนขยะมูลฝอยชุมชน กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ, ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ด้านสิ่งแวดล้อม), รองผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล, ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนงาน สำนักสิ่งแวดล้อม, หัวหน้าฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ (สำนักงานเขตปทุมวันและสำนักงานเขตจตุจักร), หัวหน้าพนักงานกวาดและพนักงานเก็บขยะมูลฝอย (สำนักงานเขตคลองเตย) ผลการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนการจัดการขยะของกรุงเทพมหานครสู่เป้าหมายตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี มีจำนวน 5 ด้าน ได้แก่ สมรรถนะขององค์กร, ประสิทธิภาพในการวางแผนและควบคุม, ภาวะผู้นำและความร่วมมือ, การเมืองและการบริหารสิ่งแวดล้อมภายนอก, และกฎหมาย ในขณะเดียวกันก็พบว่าแนวทางการจัดการขยะตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งมีจำนวน 8 นโยบาย ก็มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 20 ปี ซึ่งก็คือการมีเป้าหมายร่วมกันเกี่ยวกับการลดและควบคุมปริมาณมูลฝอย ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยตั้งแต่แหล่งกำเนิดจนถึงการกำจัดอย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการ อย่างไรก็ตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็มีความแตกต่างจากแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี ในประเด็นเกี่ยวกับการเพิ่มรถขยะขนาดเล็กสำหรับการเก็บขนขยะในซอยต่าง ๆ และการเพิ่มสวัสดิการพนักงานเก็บขยะ เมื่อพิจารณาถึงแนวทางการพัฒนาการจัดการขยะของกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน ประเทศไทยควรกำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาขยะให้เป็นนโยบายสำคัญของทุกรัฐบาล รวมถึงการกำหนดกฎหมายควบคุมการจัดการขยะในภาพรวมของประเทศให้มีความครอบคลุมการจัดการขยะทั้งระบบ พร้อมทั้งการกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการกำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะ ในภาพรวมของประเทศ ในขณะเดียวกันผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้บริหารทุกหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครควรกำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาขยะให้เป็นโครงการสำคัญทุกปีงบประมาณ อีกทั้งต้องพิจารณาปรับข้อบัญญัติเพื่อจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขนขยะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงปรับปรุงข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเพื่อเพิ่มสวัสดิการประกันอุบัติเหตุให้กับพนักงานเก็บขนมูลฝอย ตลอดจนสร้างภาคีเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาขยะของกรุงเทพมหานครโดยการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม


การจัดการทักษะและความรู้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากรในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 :กรณีศึกษา สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ธนรัตน์ มุ่ยละมัย Jan 2022

การจัดการทักษะและความรู้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากรในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 :กรณีศึกษา สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ธนรัตน์ มุ่ยละมัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษาวิจัยเรื่อง “การจัดการทักษะและความรู้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากรในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 กรณีศึกษา สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ประกอบด้วย (1) เพื่อศึกษาการจัดการความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (2) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการปิดไม่ให้ผู้โดยสารเข้าประเทศเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 ที่กระทบต่อการถ่ายทอดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากร (3) เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้ไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมแผนการรับมือหากปัญหาลักษณะนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต โดยมีการเก็บข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกผ่านผู้ให้ข้อมูล 8 ท่าน ซึ่งเป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรสังกัดสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กรมศุลกากร ผลการศึกษา พบว่า (1) ทักษะความรู้ที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรใช้ในการปฏิบัติงานแบ่งออกได้เป็น 4 ด้าน คือ การสังเกต การดูภาพ X-ray การตรวจค้นผู้โดยสาร และความรู้ในข้อกฎหมาย (2) รูปแบบการจัดการถ่ายทอดทักษะความรู้เป็นแบบผสมผสานระหว่างการจัดการอย่างเป็นระบบ และการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง (3) นโยบายของภาครัฐในการปิดประเทศงดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการจัดการและถ่ายทอดทักษะความรู้ในการปฏิบัติงาน 2 ด้านหลัก ได้แก่ การที่เจ้าหน้าที่ใหม่ได้รับการฝึกฝนเรียนรู้จากสถานการณ์จริงค่อนข้างน้อย และการสูญหายของทักษะความรู้ของเจ้าหน้าที่เก่าที่มีทักษะและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเนื่องจากการโยกย้ายประจำปี ผลลัพธ์ดังกล่าวนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการจัดการทักษะและความรู้ในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เช่น การสร้างคู่มือปฏิบัติงานที่มีการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย การออกแบบหลักสูตรอบรมความรู้ให้สอดคล้องกับหน่วยงานต้นสังกัดของผู้เข้าอบรม และการพัฒนาการฝึกสอนงานโดยใช้ระบบพี่เลี้ยงที่มีประสิทธิภาพ


แนวทางการพัฒนาศูนย์ดำรงธรรมอำเภอตามมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (Gecc), ธนรัฐ นันทนีย์ Jan 2022

แนวทางการพัฒนาศูนย์ดำรงธรรมอำเภอตามมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (Gecc), ธนรัฐ นันทนีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาศูนย์ดำรงธรรมอำเภอตามมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (GECC : Government Easy Contact Center) เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดในการขอรับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการขอรับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัด ที่กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวถึงมากที่สุด คือ ประเด็นเรื่องทรัพยากรซึ่งในที่นี้คืองบประมาณและบุคลากรที่ไม่เพียงพอ ประเด็นที่ถูกกล่าวถึงรองลงมาคือ ประเด็นเรื่องเจ้าหน้าที่ในระดับภูมิภาคขาดความเข้าใจและไม่เห็นความสำคัญของนโยบาย ประเด็นเรื่องระบบงานบริการของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอยังไม่มีเอกภาพ ไม่มีมาตรฐานเดียวกัน ไม่เป็นนวัตกรรมในการให้บริการ ประเด็นเรื่องหลักเกณฑ์บางประการเป็นข้อจำกัดที่ไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ ประเด็นเรื่องเจ้าหน้าที่ในระดับภูมิภาคมีภารกิจหลายด้านทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามนโยบายได้ ตามลำดับ และประเด็นสุดท้ายคือประเด็นเรื่องการขาดการวางแผน ตรวจ ติดตาม ประเมินผลที่ดี


ผลกระทบของมาตรการ Work From Home ที่มีต่อการปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล กรณีศึกษาการประปานครหลวง, ชวิศา เสาวจันทร์ Jan 2022

ผลกระทบของมาตรการ Work From Home ที่มีต่อการปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล กรณีศึกษาการประปานครหลวง, ชวิศา เสาวจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบของมาตรการปฏิบัติงาน ณ ที่พำนักอาศัย (Work from Home) ต่อการปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล กรณีศึกษาการประปานครหลวง (กปน.) โดยเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) จากพนักงานฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล กปน. จำนวน 29 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จำนวน 4 คน โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาผลกระทบของมาตรการ Work from Home ที่มีต่อการปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล กรณีศึกษา กปน. และ 2. เพื่อให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อมาตรการ Work from Home โดยการปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านการวิเคราะห์และวางแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Analysis and Design) 2. ด้านการดำเนินการพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Development and Implementation) และ 3. ด้านการประเมินผลการพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Evaluation) ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ผลกระทบของมาตรการ Work from Home ต่อการปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน โดยผลกระทบอยู่ในระดับน้อยทั้ง 3 ด้าน แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนในแต่ละด้านมีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อย ซึ่งสอดคล้องกันกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพที่พบว่า การปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลแต่ละด้านได้รับผลกระทบจากมาตรการ Work from Home ที่แตกต่างกัน โดยเรียงลำดับด้านที่ได้รับผลกระทบจากมากไปน้อย ดังนี้ 1. ด้านการวิเคราะห์และวางแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลได้รับผลกระทบมากที่สุด 2. ด้านการดำเนินการพัฒนาทรัพยากรบุคคลได้รับผลกระทบรองลงมา และ 3. ด้านการประเมินผลการพัฒนาทรัพยากรบุคคลได้รับผลกระทบน้อยที่สุด


ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ธนารีย์ พิชญ์เมธาชัย Jan 2022

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ธนารีย์ พิชญ์เมธาชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กลไกในการขับเคลื่อนการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รูปแบบการศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสังเกตการณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรในกลุ่มงานรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง และคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสำนักงานสีเขียวของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งหมด 11 คน ผลสัมภาษณ์และผลการสังเกตการณ์ถูกนำมาตรวจสอบความน่าเชื่อถือแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่าคำสัมภาษณ์และผลการสังเกตการณ์ในเรื่องการให้ความร่วมมือในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าสอดคล้องกัน กล่าวคือ บุคลากรทั้งหมดให้ความร่วมมือในเรื่องการเปิดไฟเฉพาะบริเวณที่ใช้งานและการปิดสวิตช์ไฟฟ้าหลังเลิกงาน พฤติกรรมที่ไม่ได้ทำแต่เป็นข้อยกเว้นคือการตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียสเนื่องจากสำนักงานควบคุมเครื่องปรับอากาศการศูนย์กลาง ในประเด็นการผลักดันโครงการนั้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์เป้าหมายโครงการและลักษณะการมีส่วนร่วมที่คาดหวังในบุคลากร การเสริมแรงด้วยกิจกรรม และรายงานความคืบหน้าของโครงการอยู่เสมอ


ผลกระทบของพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 ต่อบทบาทของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, ชนันท์ ชนยุทธ Jan 2022

ผลกระทบของพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 ต่อบทบาทของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, ชนันท์ ชนยุทธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาถึงผลกระทบของพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 ต่อบทบาทของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมุ่งตอบคำถามว่า การประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 จะส่งผลกระทบต่อการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างไร รวมทั้งจะส่งผลกระทบต่อบทบาทของ วช. และการนำผลงานวิจัยที่ วช. ให้การสนับสนุนไปใช้ประโยชน์อย่างไร งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 8 คน ผลการศึกษาพบว่า การประกาศใช้ พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 มีส่วนสำคัญต่อการปรับเปลี่ยนบทบาทของ วช. ในฐานะหน่วยงานให้ทุนของรัฐ ให้มีลักษณะของการเป็นนักลงทุน (Investor) มากขึ้น โดยการจัดสรรเงินของรัฐไปลงทุนในโครงการวิจัยและนวัตกรรมของบริษัทเอกชน ซึ่งในอดีต วช. มีบทบาทด้านการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เป็นเสมือนเพียงผู้ประสานงาน (Admin) ทำหน้าที่จัดสรรเงินทุนให้แก่นักวิจัยภาครัฐผ่านผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก และเป็นเสมือนนายหน้า (Broker) ทำหน้าที่จับคู่ความต้องการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยจากผู้ประกอบการภาคเอกชน เข้ากับนักวิจัยในหน่วยงานภาครัฐผู้มีคุณสมบัติหรือความประสงค์ทำวิจัยในเรื่องดังกล่าว การปรับเปลี่ยนบทบาทของ วช. จากผู้ประสานงาน (Admin) และนายหน้า (Broker) ไปสู่การเป็นนักลงทุน (Investor) มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้การจัดสรรทุนวิจัยของ วช. เป็นไปตามกลไกตลาดมากขึ้น โดยใช้ผลตอบแทนทางธุรกิจมาเป็นเกณฑ์ในการจัดสรรเงินทุนวิจัย และในขณะเดียวกันก็ลดทอนความสำคัญของงานวิจัยพื้นฐาน (Basic research) ในสถาบันอุดมศึกษาลงไป


การศึกษาการปรับตัวต่อการจัดทำงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ของกรมการปกครอง, ชนกนันท์ อุดร Jan 2022

การศึกษาการปรับตัวต่อการจัดทำงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ของกรมการปกครอง, ชนกนันท์ อุดร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง “การศึกษาการปรับตัวต่อการจัดทำงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ของกรมการปกครอง” ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากเจ้าหน้าที่จากส่วนงบประมาณ กองวิชาการและแผนงาน กรมการปกครอง ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำงบประมาณของกรมการปกครอง จำนวน 5 คน และผู้บริหารกรมการปกครองที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการจัดทำงบประมาณของกรมการปกครอง จำนวน 1 คนและการหาข้อมูลแบบปฐมภูมิ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนากลยุทธ์การจัดทำงบประมาณของกรมการปกครอง 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การจัดทำงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ของกรมการปกครอง โดยงานวิจัยดังกล่าว พบว่า ปัจจัยภายในที่ผลต่อการพัฒนากลยุทธ์การจัดทำงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ของกรมการปกครอง ได้แก่ โครงสร้างองค์กร กลยุทธ์ บุคลากร รูปแบบ ทักษะ และค่านิยมร่วม ซึ่งปัจจัยภายในที่ไม่ส่งผลให้เกิดการพัฒนา ได้แก่ ระบบ ส่วนปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการกลยุทธ์การจัดทำงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ของกรมการปกครอง ได้แก่ เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ส่วนปัจจัยภายนอกที่ไม่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาได้แก่ ได้แก่ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม กฎหมาย และสภาพแวดล้อม และกลยุทธ์การจัดทำงบประมาณรูปแบบใหม่ของกรมการปกครองมีลักษณะที่เป็นการดำเนินการในกระบวนการรูปแบบเดิมที่มีการใช้วิธีการที่แตกต่างไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการทำงาน ผ่านการจัดตั้ง “ฝ่ายวิเคราะห์และจัดทำคำของบประมาณเชิงยุทธศาสตร์” ขึ้นมา เพื่อรับผิดชอบในเรื่องของการจัดทำงบประมาณโดยเฉพาะ จึงส่งผลให้มีวิธีการทำงานรูปแบบใหม่ ๆ ให้ตอบสนองการทำงานในปัจจุบัน มีการประสานงานมากขึ้น มีการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อม แต่อย่างไรก็ตามกลับพบว่าไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์รูปแบบเดิมหรือรูปแบบใหม่ก็ไม่มีการประชุมเพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงาน


ความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการสู่การเป็นตำแหน่งอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) และตำแหน่งที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) ณ สำนักงานแรงงานในต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน, ชญาณี นันตสุวรรณ Jan 2022

ความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการสู่การเป็นตำแหน่งอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) และตำแหน่งที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) ณ สำนักงานแรงงานในต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน, ชญาณี นันตสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของตำแหน่งอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) และตำแหน่งที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) และศึกษากระบวนการคัดเลือกและแต่งตั้งของกองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน รวมถึงศึกษาบทบาท การปรับตัว และปัญหาอุปสรรคของข้าราชการ โดยกำหนดรูปแบบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินเก็บรวมรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน คือ ข้าราชการที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) และตำแหน่งที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) ณ สำนักงานแรงงานในต่างประเทศ และข้าราชการที่ครบวาระจากตำแหน่งอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) และตำแหน่งที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) รวมถึงข้าราชการของกองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ข้าราชการมีความก้าวหน้าในอาชีพสู่การดำรงตำแหน่งอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) และที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) ได้แก่ 1) ประสบการณ์ 2) ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะ 3) ลักษณะงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน 4) ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน และ 5) แรงจูงใจและผลตอบแทน แต่ขาดปัจจัยเรื่องการวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพของกองบริหารทรัพยากรบุคคลที่ยังมีข้อจำกัดในทางปฏิบัติที่ยังไม่เป็นรูปธรรมเท่าที่ควร และเมื่อข้าราชการผ่านกระบวนการคัดเลือกและแต่งตั้งให้ไปประจำการ ณ สำนักงานแรงงานในต่างประเทศ ข้าราชการได้มีบทบาทหน้าที่ การปรับตัวการทำงานในต่างประเทศ และปัญหาอุปสรรค ซึ่งสามารถนำมาสู่ข้อเสนอแนะของการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ และการพัฒนาศักยภาพตนเองของข้าราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน ให้มีการสั่งสมประสบการณ์ องค์ความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานที่สำคัญของข้าราชการไปสู่ความก้าวหน้าในอาชีพต่อไป


อิทธิพลของการปรับใช้นโยบาย Work From Anywhere ในการดึงดูดผู้ที่มีสมรรถนะสูงเข้ามารับราชการกรณีศึกษา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, ฐานิศา สันตยานนท์ Jan 2022

อิทธิพลของการปรับใช้นโยบาย Work From Anywhere ในการดึงดูดผู้ที่มีสมรรถนะสูงเข้ามารับราชการกรณีศึกษา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, ฐานิศา สันตยานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของการปรับใช้นโยบาย Work from Anywhere ในการดึงดูดผู้ที่มีสมรรถนะสูงเข้ามารับราชการ กรณีศึกษา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จาก นปร. จำนวน 62 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 5 คน มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่ เพื่อศึกษาอิทธิพลของการปรับใช้นโยบาย Work from Anywhere ต่อการตัดสินใจเข้ารับราชการในกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศของผู้ที่มีสมรรถนะสูง และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการวางแผนบุคลากรเพื่อดึงดูดข้าราชการผู้มีสมรรถนะสูงเข้ารับราชการของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า การปรับใช้นโยบาย Work from Anywhere มีอิทธิพลในการดึงดูดผู้ที่มีสมรรถนะสูงเข้ามารับราชการ กรณีศึกษา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยปัจจัยด้าน Work-Life Balance ของบุคลากร จร. ส่งผลต่อการตัดสินใจมากที่สุด (Beta=0.38, t= 11.14, p-value น้อยกว่า .001) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของ จร. (Beta=0.21, t= 4.1, p-value น้อยกว่า .001) ปัจจัยด้านการลดค่าใช้จ่ายในการมาทำงาน (Beta=0.19, t= 7.7, p-value น้อยกว่า .001) ปัจจัยด้านวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร จร. (Beta=0.16, t= 2.6, p-value=.013) และส่งผลน้อยที่สุดคือ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมการทำงานของบุคลากร จร. (Beta=0.12, t= 2.7, p-value=.008)


การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี:กรณีศึกษา งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น, นนทกานต์ จริงจิตร Jan 2022

การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี:กรณีศึกษา งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น, นนทกานต์ จริงจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี: กรณีศึกษา งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และศึกษากระบวนการการจัดสรรและการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น รวมไปถึงเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างความโปร่งใสของการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเอกสาร โดยการศึกษาหนังสือ งานวิจัย กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการรวบรวมข้อมูลวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบกลาง ในทุกรายการของงบกลาง ตั้งแต่ปีงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2545 – 2566 และการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลกลุ่มเป้าหมาย ผลการวิจัยพบว่า วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นในแต่ละปีงบประมาณมีการเปลี่ยนแปลงทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง แต่การเปลี่ยนแปลงจะไปในทิศทางที่เพิ่มขึ้นเสียส่วนใหญ่ ส่งผลให้วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากจากในอดีต และพบว่ากระบวนการการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้แก่หน่วยรับงบประมาณที่ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวนั้น เป็นอำนาจในการอนุมัติจัดสรรของฝ่ายบริหาร และ ไม่มีการเปิดเผยมูลการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวต่อประชาชน จึงนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้รัฐควรปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ให้มีการเปิดเผยข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยละเอียดแก่สาธารณชน


องค์ประกอบความสำเร็จของธุรกิจและคุณลักษณะของผู้นำกับความสอดคล้องของแนวคิดที่ปรากฏในหนังสือ Good To Great ของ จิม คอลลินส์กรณีศึกษา : บริษัทฯ ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และ Startup ที่ประสบความสำเร็จของไทย, นรัฐ คุณะวัฒนากรณ์ Jan 2022

องค์ประกอบความสำเร็จของธุรกิจและคุณลักษณะของผู้นำกับความสอดคล้องของแนวคิดที่ปรากฏในหนังสือ Good To Great ของ จิม คอลลินส์กรณีศึกษา : บริษัทฯ ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และ Startup ที่ประสบความสำเร็จของไทย, นรัฐ คุณะวัฒนากรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาถึง 1.ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์การธุรกิจ โดยอาศัยแนวคิดที่ปรากฏในหนังสือจากบริษัทที่ดี สู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ (Good to Great) ของ จิม คอลลินส์ และ 2.องค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของผู้นำองค์การธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จ โดยอาศัยแนวคิดผู้นำระดับที่ 5 ที่ปรากฏในหนังสือ จากบริษัทที่ดี สู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ (Good to Great) ของ จิม คอลลินส์ และ ภาวะผู้นำระดับ 5 ของ จอห์น ซี แม็กซ์เวลล์ เพื่อที่จะสามารถนำผลวิจัยไปปรับใช้และพัฒนาต่อยอด ทั้งในด้านของคุณลักษณะผู้นำองค์กรรวมถึงวิธีการและกระบวนการในการบริหารจัดการองค์กรของไทยให้สามารถประสบผลสำเร็จได้อย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยประกอบไปด้วยองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน 3 องค์กร ที่ คือ 1.องค์กรที่พัฒนาที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียม 2.องค์กรที่พัฒนาที่พักอาศัยประเภทหมู่บ้านจัดสรร และ 3.องค์กรผู้รับเหมาก่อสร้างงานโครงการประเภทห้างสรรพสินค้าและห้างสะดวกซื้อขนาดใหญ่ และยังศึกษาวิจัยองค์กรธุรกิจสตาร์ทอัพ (STARTUP) ที่ประสบความสำเร็จได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วอีก 2 องค์กร นั่นคือ 4.องค์กรที่เชี่ยวชาญงานด้านออแกไนซ์เซอร์ และ 5.องค์กรที่เชี่ยวชาญในงานด้านการให้บริการด้านเวที แสง-สี-เสียง และภาพในงานอีเว้นท์ต่าง ๆ โดยการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูล เอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้บริหาร เจ้าของกิจการ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับก่อการตั้งและการเปลี่ยนผ่านองค์กร รวมถึงการเข้าร่วมสังเกตการณ์ในกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรตัวอย่างที่ศึกษาวิจัยในครั้งนี้ด้วย สามารถสรุปผลการศึกษาวิจัยได้ดังนี้คือ องค์กรตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จของไทยที่ทำการศึกษาวิจัย “ไม่มีความสอดคล้อง” ทั้งในด้านแนวคิดหรือแนวทางในการบริหารที่ปรากฏในหนังสือจากบริษัทที่ดี สู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ (Good to Great) ของ จิม คอลลินส์ โดยปัจจัยสำคัญที่องค์กรตัวอย่างมีคล้ายคลึงกันเพียง 1 ปัจจัย (จาก 6 ปัจจัย) นั่นคือ แนวความคิดแบบตัวเม่น (เลือกทำในสิ่งที่องค์กรเชี่ยวชาญที่สุด) คือ การที่องค์กรรู้ว่าตนเองเก่งหรือมีความเชี่ยวชาญในเรื่องใด และทุ่มเทลงมือปฏิบัติเฉพาะในสิ่งที่ตนเองถนัดและเชี่ยวชาญนั้นให้เป็นเลิศ และพัฒนาต่อยอดสิ่งนั้นให้กลายเป็นสิ่งที่องค์กรสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นเลิศ ในส่วนของผลวิจัยด้านคุณลักษณะของผู้นำองค์การธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จของไทยนั้น พบว่า “ไม่มีความสอดคล้อง” กับแนวคิดผู้นำระดับที่ 5 ที่ปรากฏในหนังสือ จากบริษัทที่ดี สู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ (Good to Great) ของ จิม คอลลินส์ …


การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กรณีศึกษากรมธนารักษ์, ปพิชญา นวลศรี Jan 2022

การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กรณีศึกษากรมธนารักษ์, ปพิชญา นวลศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมธนารักษ์ ในด้านการสรรหา บรรจุ และแต่งตั้ง โดยส่งผลให้ 1) ไม่สามารถดำเนินการสอบเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคลากรได้ กระบวนการนี้หยุดชะงัก จำเป็นจะต้องเลื่อนการสอบเกือบทุกรูปแบบออกไป 2) ส่งผลกระทบให้การสรรหา บรรจุและแต่งตั้งไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด ด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ส่งผลให้ 1) ไม่สามารถจัดการฝึกอบรม สัมมนาเพื่อพัฒนาให้แก่บุคลากรได้แบบ Onsite 2) การดำเนิน โครงการ/สัมมนา ที่ไม่สามารถจัดการฝึกอบรมผ่านระบบออนไลน์ได้ต้องชะลอออกไปก่อน 3) โดยภาพรวมจึงทำให้งบประมาณในด้านการพัฒนาและฝึกอบรมปรับลดลง โดยการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมธนารักษ์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 นั้น จากการศึกษาพบว่า 1) ด้านการสรรหา บรรจุและแต่งตั้ง กรมธนารักษ์ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการสรรหาและคัดเลือก เน้นระบบออนไลน์มากขึ้น ทั้งการรับสมัคร การสัมภาษณ์ และการรายงานตัว 2) ด้านการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร มีการปรับรูปแบบการจัดฝึกอบรม โดยให้กระชับหลักสูตร ปรับเนื้อหา เพิ่มความยืดหยุ่นของการฝึกอบรมให้มีความหลากหลาย ที่สำคัญคือต้องปรับรูปแบบการฝึกอบรม/สัมมนา จาก on site ให้เป็น online โดยผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ 3) ด้านการประเมินผลปฏิบัติงาน กำหนดให้ผู้บังคับบัญชามอบหมายการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรเป็นรายวันหรือรายสัปดาห์ โดยกำหนดเป้าหมาย ผลผลิตที่คาดหวัง ตัวชี้วัด ผลงานจริง วิธีการที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร และติดตามความคืบหน้าตามความเหมาะสม


การเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในรูปแบบการแสวงหาประโยชน์ทางเพศผ่านทางช่องทางออนไลน์ กรณีศึกษา : กองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์, ปิ่นวรางค์ กลิ่นหวล Jan 2022

การเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในรูปแบบการแสวงหาประโยชน์ทางเพศผ่านทางช่องทางออนไลน์ กรณีศึกษา : กองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์, ปิ่นวรางค์ กลิ่นหวล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในรูปแบบแสวงหาประโยชน์ทางเพศผ่านทางช่องทางออนไลน์ ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยการวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาทราบถึงลักษณะของการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน อีกทั้งทราบถึงศึกษาการเรียนรู้ที่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จนนำไปสู่การปรับปรุงการเรียนรู้เพื่อไปพัฒนาสมรรถนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติงาน. โดยการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยที่มีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ จำแนกเป็น 2 กลุ่มคือดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างของระดับผู้บังคับบัญชาของกองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ 2) กลุ่มตัวอย่างระดับผู้ใต้บังคับบัญชาของกองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดของการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) แรงขับของการเรียนรู้หรือความพร้อมของการเรียนรู้ ประกอบด้วย อายุและประสบการณ์ในการทำงาน 2) สิ่งเร้าการเรียนรู้หรือการเผชิญกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น คือ การเรียนรู้จากคดีค้ามนุษย์ในรูปแบบแสวงหาประโยชน์ทางเพศผ่านทางช่องทางออนไลน์ที่เกิดขึ้นจริง 3) การตอบสนองต่อการเรียนรู้ คือ การปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ในรูปแบบแสวงหาประโยชน์ทางเพศผ่านทางช่องทางออนไลน์ โดยในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในรูปแบบแสวงหาประโยชน์ทางเพศผ่านทางช่องทางออนไลน์ เจ้าหน้าที่ตำรวจควรมีสมรรถนะคือ 1) ความรู้เกี่ยวเท่าทันกับการเก็บพยานหลักฐานทางดิจิทัล โดยจะต้องมีความรู้ว่าเมื่อเราพบเจอสิ่งที่ใช้ในการกระทำความผิด เจ้าหน้าที่ทุกนายต้องมีความรู้ให้เท่าทันกับช่องการกระทำความผิดที่ผู้กระทำผิดใช้ ซึ่งก่อนหน้านี้การกระทำความผิดผ่านทางออนไลน์ยังมีน้อยแต่ด้วยปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมากและยิ่งตรวจสอบได้ยาก เพราะฉะนั้นแล้วเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องมีความรู้ให้เท่าทันในการเก็บพยานหลักฐานจากช่องทางในการกระทำความผิดในทุกกรณี 2) ทักษะการเก็บพยานหลักฐานทางดิจิทัล ด้วยช่องทางการกระทำความผิดที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นทางดิจิทัลมากขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงต้องมีการรวบรวมพยานหลักฐานโดยการเก็บพยานหลักฐานทางดิจิทัล ซึ่งก่อนหน้านี้มีการกระทำความผิดทางช่องทางออนไลน์ที่น้อยจึงทำให้มีทักษะในการเก็บพยานหลักฐานที่น้อย และด้วยยุคสมัยและช่องทางการกระทำความผิดที่เปลี่ยนแปลงไป จึงต้องมีทักษะการเก็บพยานหลักฐานที่ถูกต้องและสามารถรวบรวมข้อมูลได้มากที่สุดเพื่อนำไปสู่การพิสูจน์ผู้กระทำความผิดจ่ต่อไป 3) ความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างครอบคลุม ด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่เปลี่ยนแปลงไป ที่เพราะผู้กระทำความผิดมีการพัฒนาช่องทางการกระทำความผิดหรืออุปกรณ์ที่ใช้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการทำงานในปัจจุบันยังมีความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์ที่ยังไม่มากพอ ประกอบกับเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บพยานหลักฐานที่ยังไม่มีความรู้ที่เพียงพอ เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายจึงต้องมีทั้งความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกร์หรือเครื่องมือพิเศษในการช่วยการเก็บพยานหลักฐาน ทั้งนี้การพัฒนาสมรรถนะดังกล่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยงานควรมีแนวทางคือประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) การพัฒนาด้านความรู้ คือ ด้วยการการจัดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเก็บพยานหลักฐานทางดิจิทัลแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่รวมไปถึงความรู้เกี่ยวกับแอปพลิเคชันและเครื่องมือที่ซับซ้อนมากขึ้นและยังปิดกั้น ปกป้องการถูกตรวจสอบซึ่งโดยในปัจจุบันเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความรู้ในส่วนหนึ่งแล้ว แต่เนื่องด้วยปัจจุบันมีการกระทำความผิดแอปพลิเคชันที่ยังปิดกั้นการถูกตรวจสอบ เครื่องมือที่ใช้ในการกระทำความผิดที่มีการป้องกันการถูกตรวจสอบที่มากขึ้น 2) การพัฒนาด้านทักษะ ประกอบ การที่โดยหน่วยงานเชิญผู้ที่มีทักษะในด้านของการปฏิบัติงานมาอบรมให้ความรู้เพิ่มพูนดทักษะในการเก็บพยานหลักฐานจากช่องทางการกระทำความผิด ไม่ว่าจะเป็นจากแอปพลิเคชันและเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำความผิด และทักษะของการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือพิเศษที่มีส่วนช่วยในการเก็บพยานหลักฐานทางดิจิทัลได้อย่างครบถ้วนแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ และ พร้อมกับการจัดตั้งกลุ่มไลน์และเชิญผู้ที่มีทักษะเข้ามาอยู่ในกลุ่มเพื่อตอบข้อสงสัย 3) การพัฒนาด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย โดยการจัดการอบรมจากหน่วยงานและการจัดทำคู่มือของการปฏิบัติงานในการสืบสวนสอบสวนคดีค้ามนุษย์เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้วิจัยหวังว่าผลการศึกษานี้จะนำไปสู่แนวทางการปรับปรุงการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในรูปแบบการแสวงหาประโยชน์ทางเพศผ่านทางช่องทางออนไลน์ ต่อไป


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน กรณีศึกษา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่, พิพัฒน์ ปิติสิวะพัฒน์ Jan 2022

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน กรณีศึกษา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่, พิพัฒน์ ปิติสิวะพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน กรณีศึกษาอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการเก็บข้อมูลวิจัยแบบผสม (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน โดยจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ อันจะนำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อเสนอแนะแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน ผ่านประสบการณ์ของผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ และจากการวิเคราะห์และประมวลผล พบว่า ปัจจัยด้านเพศ มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเพศชายส่วนใหญ่มีระดับผลการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในระดับที่ต่ำกว่าเพศหญิง สำหรับปัจจัยด้านอายุ พบว่าหากผู้ใหญ่บ้านมีอายุเพิ่มมากขึ้น ผลการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ก็จะลดลงตามไปด้วย นั้นหมายความว่า อายุของผู้ใหญ่บ้านมีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยด้านระดับการศึกษา พบว่าหากผู้ใหญ่บ้านมีระดับการศึกษาที่สูงขึ้นก็จะส่งผลต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่เพิ่มสูงขึ้น และปัจจัยสุดท้ายคือ ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง พบว่าเมื่อผู้ใหญ่บ้านมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งที่นานขึ้น จะทำให้ผลการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ลดลง และเมื่อพิจารณาผลการวิจัย ในปัจจัยเรื่องระยะเวลาการดำรงตำแหน่งกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ใหญ่บ้านพบว่า การที่ผู้ใหญ่บ้านยิ่งดำรงตำแหน่งนานผลการปฏิบัติหน้าที่ยิ่งลดลงนั้น เกิดจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านนั้นเปลี่ยนแปลงไป หรือผู้ใหญ่บ้านที่อายุเพิ่มมากขึ้นไม่ได้เข้ารับการฝึกอบรม หรือละเลยการหาความรู้เพิ่มเติม ทำให้ผู้ใหญ่บ้านรุ่นใหม่ ที่พึ่งเข้ารับตำแหน่งมีผลการปฏิบัติหน้าที่ที่ดีกว่า สำหรับผลการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งมีจำนวน 3 ข้อ อันได้แก่ คำถามข้อแรกเรื่องความสำคัญของการดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน และวาระการดำรงตำแหน่งของผู้ใหญ่บ้าน พบว่า ผู้ใหญ่บ้านและผู้ที่เกี่ยวข้องมีข้อสรุปเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ตำแหน่งของผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำหมู่บ้านมีความสำคัญมาก หากแต่จะต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ รู้จักระเบียบกฎหมาย และซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงปริมาณในเรื่องของระดับการศึกษา ที่หากมีการศึกษาที่สูงขึ้นจะทำให้ผลการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ได้ดีมากขึ้น ข้อที่ 2เรื่องความแตกต่างของการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านระหว่างในอดีตกับปัจจุบัน พบว่า ผู้ใหญ่บ้านและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีข้อสรุปว่า ความแตกต่างของการปฏิบัติงานในอดีตและปัจจุบันแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผู้ใหญ่บ้านที่เป็นสุภาพสตรีเพิ่มมากขึ้น และผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับเลือกตั้งเพราะความรู้ ความสามารถ โดยไม่ได้มาจากตระกูลผู้นำเหมือนในอดีต ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงปริมาณในเรื่องของเพศ ซึ่งบ่งบอกว่าหากมีเพศต่างกัน ผลของการปฏิบัติงานจะแตกต่างกัน และพบว่าเพศหญิงมีผลการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่.ในอัตราร้อยละที่สูงกว่าเพศชาย และข้อท้ายสุด คือข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน พบว่า ควรจัดให้มีการฝึกอบรมในเรื่องของระเบียบกฎหมาย และส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นปัจจุบัน เพราะผู้ใหญ่บ้านที่มีอายุมาก หรือดำรงตำแหน่งมานานจะจดจำแบบเดิม ๆ ที่เคยปฏิบัติ หากแต่กฎหมายได้เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดการผิดพลาดในการปฏิบัติงานได้ สอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงปริมาณในเรื่องอายุและระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง หากอายุและระยะเวลาการดำรงตำแหน่งที่มากขึ้น ส่งผลให้ผลการปฏิบัติงานลดลง


ประสิทธิผลในการดำเนินนโยบายโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (Bio Ciucular Green Economy : Bcg) ต่อผู้ประกอบการส่งออกอาหารไทย, ภัณฑิรา เศรษฐจิรวิโรจน์ Jan 2022

ประสิทธิผลในการดำเนินนโยบายโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (Bio Ciucular Green Economy : Bcg) ต่อผู้ประกอบการส่งออกอาหารไทย, ภัณฑิรา เศรษฐจิรวิโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินนโยบายให้เกิดประสิทธิผลและศึกษาแนวทางการพัฒนาและช่วยเหลือการปรับตัวของผู้ประกอบการอาหารไทยในกิจกรรม BCG THE NEXT GEN ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้แทนจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ผู้ประกอบการทางด้านอาหารที่เข้าร่วมกิจกรรม BCG THE NEXT GEN และเจ้าหน้าที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลจากการศึกษาพบว่า ที่ผ่านมาการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนนโยบายโมเดลเศรษฐกิจใหม่มีประสิทธิผลแต่ไม่มากเท่าที่ควร โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินโยบาย ได้แก่ ความเร่งด่วนของนโยบายก่อให้เกิดข้อจำกัดในการจัดสรรงบประมาณอย่างไม่ทั่วถึง ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการจัดทำโครงการ และกิจกรรม เช่น กฎระเบียบของกลุ่มตลาดประเทศเป้าหมาย ซึ่งส่งผลต่อการปรับตัวของผู้ประกอบการ รวมไปถึงการบูรณาการบันทึกความร่วมมือระดับกระทรวงที่ยังไม่เป็นรูปธรรมและไม่เกิดผลตามที่คาดหวังในการส่งเสริมการส่งออกผู้ประกอบการอาหารไทย ทั้งนี้ แนวทางในการปรับปรุงนโยบายอาจทำได้โดยเริ่มจากการจัดทำงบประมาณที่มุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) ควบคู่ไปกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำรองเมื่อเกิดนโยบายเร่งด่วน ปรับเปลี่ยนระบบการวัดผลให้มีประสิทธิผลเพื่อต่อยอดในการขอจัดสรรงบประมาณประจำปีที่สูงขึ้น และจัดทำแผนการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่ชัดเจนและมีเนื้อหาสาระภายใต้บันทึกความร่วมมือเพื่อต่อยอดการส่งออกสินค้าอาหารโดยเฉพาะเจาะจง


อัตลักษณ์ร่วมและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครแรงงาน: กรณีศึกษา อาสาสมัครแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ, ภัณฑิรา หนูในน้ำ Jan 2022

อัตลักษณ์ร่วมและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครแรงงาน: กรณีศึกษา อาสาสมัครแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ, ภัณฑิรา หนูในน้ำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ร่วม (Collective Identity) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และศึกษาปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ โดยเก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสาร และเทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกอาสาสมัครแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 12 คน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านอายุ ปัจจัยด้านอาชีพ ปัจจัยด้านรูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle) และปัจจัยด้านการเป็นคนในพื้นที่ เป็นอัตลักษณ์ร่วมที่โดดเด่นของอาสาสมัครแรงงาน โดยแรงจูงใจในการเป็นอาสาสมัครแรงงาน 3 อันดับสูงสุด คือ 1) ความต้องการช่วยเหลือผู้อื่น ต้องการทำประโยชน์เพื่อสังคม 2) ความต้องการทำงานร่วมกับผู้อื่น ต้องการเป็นที่รู้จักของผู้คนมากขึ้น และ 3) ความต้องการสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง ขณะที่ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานเกิดจากสาเหตุหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับทั้งหน่วยงานภาครัฐและอาสาสมัครแรงงาน เช่น อาสาสมัครแรงงานต้องการให้มีการจัดอบรมเพิ่มพูนความรู้มากขึ้น หน่วยงานไม่มีสวัสดิการการทำงานมอบให้อาสาสมัครแรงงาน จำนวนอาสาสมัครแรงงานไม่เพียงพอในการขับเคลื่อนภารกิจ เป็นต้น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลการทำงานของอาสาสมัครแรงงาน อาทิ การจัดอบรมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนภารกิจให้แก่อาสาสมัครแรงงานเป็นประจำ การเพิ่มสวัสดิการการทำงานอย่างค่าเดินทางในการลงพื้นที่ รวมถึงการมอบรางวัลในโอกาสต่าง ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้อาสาสมัครแรงงานตั้งใจปฏิบัติงานอย่างเต็มศักยภาพและทำงานให้กับกระทรวงแรงงานต่อไป


ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจต่ออายุเครื่องหมายรับรอง Ghps และ Haccp ของผู้ประกอบการโรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังสิ้นสุดการสนับสนุนจากกรมการค้าภายใน, มัญชรี พงศ์เศรษฐ์กุล Jan 2022

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจต่ออายุเครื่องหมายรับรอง Ghps และ Haccp ของผู้ประกอบการโรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังสิ้นสุดการสนับสนุนจากกรมการค้าภายใน, มัญชรี พงศ์เศรษฐ์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจต่ออายุเครื่องหมายรับรอง GHPs และ HACCP ของผู้ประกอบการโรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังสิ้นสุดการสนับสนุนจากกรมการค้าภายใน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างในการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการโรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 ราย แบ่งออกเป็น ผู้ประกอบการโรงสีข้าวที่ต่ออายุเครื่องหมายรับรอง GHPs และ HACCP จำนวน 4 ราย และผู้ประกอบการโรงสีข้าวที่ไม่ต่ออายุเครื่องหมายรับรอง GHPs และ HACCP จำนวน 2 ราย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันโรงสีข้าวหลายแห่งมีการการวางยุทธศาสตร์ขององค์กรในด้านความปลอดภัยทางด้านอาหาร เพื่อนำองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรระดับสากล ซึ่งหนึ่งในแผนนั้นคือการวางระบบ GHPs และ HACCP แต่อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการวางระบบที่มีราคาค่อนข้างสูง ประกอบกับการมีขั้นตอนการบริหารจัดการที่เป็นระบบและมีแบบแผนสูง ทำให้องค์กรส่วนใหญ่ที่ตัดสินใจต่ออายุเครื่องหมายรับรอง GHPs และ HACCP เป็นองค์กรที่มีฐานลูกค้าหลักคือกลุ่มที่ต้องการเครื่องหมายรับรอง GHPs และ HACCP และองค์กรเหล่านี้มักจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่เชื่อว่า การมีเครื่องหมายรับรอง GHPs และ HACCP จะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าให้กับองค์กร อย่างรก็ตาม ผู้ประกอบการโรงสีข้าวที่ไม่ต่ออายุเครื่องหมายรับรอง GHPs และ HACCP ก็ยังคงมีความประสงค์ที่จะมีเครื่องหมายรับรอง ซึ่งถ้าหากภาครัฐให้การสนับสนุนก็พร้อมที่จะดำเนินการวางระบบอีกครั้ง


การปรับตัวสู่การทำงานวิถีใหม่ “การทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working)”: กรณีศึกษาองค์กรธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการกิจการโทรทัศน์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, รังสิญาพร แสงลับ Jan 2022

การปรับตัวสู่การทำงานวิถีใหม่ “การทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working)”: กรณีศึกษาองค์กรธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการกิจการโทรทัศน์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, รังสิญาพร แสงลับ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับการทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working) และกระบวนการปรับตัวให้เข้ากับการทำงานรูปแบบดังกล่าว ของพนักงานในองค์กรธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการกิจการโทรทัศน์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งประกอบด้วย หัวหน้างานหรือพนักงานอาวุโสและพนักงานประจำหรือพนักงานสัญญาจ้าง ในสังกัดแผนกสื่อสารการตลาดขององค์กรธุรกิจดังกล่าว ผลการศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวขององค์การต่อแนวทางการทำงานแบบผสมผสาน พบว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นแรงขับสำคัญทำให้องค์การมีการปรับตัวสู่การทำงานแบบผสมผสาน อีกทั้งยังพบว่าวัฒนธรรมองค์การภายหลังการปรับสู่การทำงานแบบผสมผสานมีลักษณะเป็นการให้ความสำคัญกับผลงานและคุณภาพของงานรายบุคคลเป็นหลัก ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดการปลูกฝังวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ให้แก่พนักงาน อย่างไรก็ตามในแง่ของวัฒนธรรมย่อยได้พบว่าแผนกสื่อสารการตลาดค่อนข้างมีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการทำงานแตกต่างจากแผนกอื่น และมีแนวโน้มที่จะดำเนินการใช้รูปแบบการทำงานผสมผสานอย่างต่อเนื่องถึงแม้ในอนาคตจะไม่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม สำหรับความเชื่อมโยงระหว่างภูมิหลังส่วนบุคคลกับการปรับตัวสู่การทำงานแบบผสมผสาน พบว่าเพศหญิงกับเพศชายเห็นด้วยกับการทำงานรูปแบบใหม่ แต่เพศหญิงค่อนข้างมีความกังวลมากกว่าเพศชาย อีกทั้ง พนักงานที่มีอายุต่างกันมีความกังวลในประเด็นเดียวกันคือทักษะทางด้านเทคโนโลยีที่ต่างกันอาจทำให้ประสิทธิภาพของงานลดลง นอกจากนี้พนักงานที่สมรสแล้วมองว่าการทำงานแบบผสมผสานสามารถจัดสรรเวลาร่วมกับครอบครัวได้ดี แต่พนักงานสถานภาพโสดมีข้อกังวลเล็กน้อยเกี่ยวกับการหาคู่ครองในอนาคต อนึ่งผู้ที่มีอายุงานมากกว่า 1 ปีขึ้นไป ไม่มีปัญหาในการทำงานแบบผสมผสานแต่อย่างใด แต่ในทางตรงกันข้ามผู้ที่มีอายุงานน้อยกว่า 1 ปีกลับค่อนข้างมีความกังวลมากกว่าเกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับการทำงานรูปแบบดังกล่าว อย่างไรก็ตามพนักงานทุกตำแหน่งต่างเล็งเห็นตรงกันว่าการทำงานแบบผสมผสานช่วยทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นและมีความสุขในการทำงาน


แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐที่ส่งผลให้เกิดสมรรถนะในการสร้างสรรค์นวัตกรรมกรณีศึกษา: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), รัฐพล วงศาโรจน์ Jan 2022

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐที่ส่งผลให้เกิดสมรรถนะในการสร้างสรรค์นวัตกรรมกรณีศึกษา: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), รัฐพล วงศาโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ใน สนช. เกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานและสมรรถนะในการสร้างนวัตกรรม ตลอดจนวิเคราะห์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรม ผลการศึกษาพบว่าแรงจูงใจในการทำงานของ สนช. โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และจากการศึกษาสมรรถนะด้านนวัตกรรมของ สนช. พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ตลอดจนปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะในการสร้างนวัตกรรม พบว่ามีตัวแปรอิสระเพียง 2 ตัวจาก 10 ตัวแปรที่ส่งผลต่อความสามารถทางนวัตกรรมของ สนช. สำหรับข้อเสนอแนะควรได้รับการประกาศโดยสำนักงานการยกย่องพร้อมทั้งเพิ่มค่าตอบแทนและควรพัฒนากระบวนการคัดเลือกและกลั่นกรองรวมถึงกรองแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งสภาพการทำงานที่เอื้ออำนวยสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม


การนำนโยบายแก้ไขปัญความยากจนในมิติด้านรายได้ของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี, ศศิวิมล อ้นนา Jan 2022

การนำนโยบายแก้ไขปัญความยากจนในมิติด้านรายได้ของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี, ศศิวิมล อ้นนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำนโยบายไปปฏิบัติ รวมทั้งปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี โดยการใช้รูปแแบบการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการวิจัยเอกสาร การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ให้สัมภาษณ์ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในศจพ.อำเภอ และประชาชนครัวเรือนเป้าหมายผู้ตกเกณฑ์ยากจน มิติด้านรายได้ รวม 12 คน ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอมีสมรรถนะหลักขององค์การทั้ง 5 ประการ ตามตัวแบบการจัดการ (Management Model) ซึ่งมีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติทั้งในด้านผลสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ ได้แก่ 1) ด้านโครงสร้างองค์การ มีทีมพี่เลี้ยงที่ประกอบไปด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำในชุมชน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่และรายครัวเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ด้านสถานที่การดำเนินการมีความสะดวก เอื้อต่อการทำกิจกรรมของเจ้าหน้าที่และครัวเรือนเป้าหมาย 3) ด้านบุคลากรบางส่วนมีความรู้ ความเข้าใจ และความพร้อมในการปฏิบัติงาน แต่การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องยังไม่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนศจพ.อำเภอในภาพรวม 4) ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือ มีระบบ TPMAP ที่ยังมีข้อบกพร่องในเกณฑ์ตัวชี้วัดบางรายการ และอุปกรณ์ในการส่งเสริมการประกอบอาชีพยังไม่ตรงต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง และ 5) ด้านงบประมาณ ศจพ.อำเภอไม่มีงบประมาณที่ได้รับจัดสรรให้โดยตรง จึงต้องอาศัยความร่วมมือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในศจพ.อำเภอวางแผนการดำเนินการร่วมกันเพื่อขอรับงบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด โดยในประเด็นความร่วมมือจากปัจจัยด้านบุคลากรและงบประมาณ ศจพ.อำเภอ ควรดำเนินการกำหนดแผนการดำเนินงานและการกำกับติดตามคณะทำงานขับเคลื่อนศจพ.อำเภอ อย่างใกล้ชิด ภายใต้การนำของผู้อำนวยการศจพ.อำเภอ หรือหาหน่วยงานเจ้าภาพหลักเพื่อดำเนินการขับเคลื่อนโดยตรง และกรณีเครื่องมือการส่งเสริมการประกอบอาชีพยังไม่ตอบสนองปัญหาและความต้องการของครัวเรือน ศจพ.อำเภอควรมีการปรับบทบาทเป็นศูนย์รวมอาชีพเพื่อให้ประชาชนสามารถเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับปัญหาและความต้องการของตนเองได้