Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

UNISEARCH (Unisearch Journal)

Journal

2015

Articles 1 - 30 of 32

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การออกแบบ (Detail Design) อาคารสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นอาคารเขียว (Green Building) เพื่อรับการรับรองมาตรฐาน Leed, อรรจน์ เศรษฐบุตร Jan 2015

การออกแบบ (Detail Design) อาคารสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นอาคารเขียว (Green Building) เพื่อรับการรับรองมาตรฐาน Leed, อรรจน์ เศรษฐบุตร

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ด้วยความมุ่งมั่นในการให้บริการพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จึงมีนโยบายผลักดันให้อาคารของ กฟภ. เป็นอาคารที่อนุรักษ์พลังงานและ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่สาธารณะทางด้านการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปี 2554 กฟภ. ได้ว่าจ้าง Chula Unisearch ให้เป็น ที่ปรึกษาในการศึกษาแนวทางการปรับปรุงอาคาร 4 (LED) โซน A ที่สำนักงานใหญ่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ให้เป็นอาคารเขียวตามมาตราฐานของ Leadership in Energy and Environmental Design for Existing Building Operations and Maintenances (LEED EBOM) รวมถึงทำการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนเบื้องต้นของการปรับปรุงอาคารให้เป็น อาคารเขียวตามมาตรฐาน LEED ในระดับ Gold และ Platinum โดยพิจารณาทั้งในส่วนของการ ออกแบบสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และการตกแต่งภายในที่เพิ่มจากส่วนของการประหยัดพลังงานเพื่อ ให้เป็นอาคารเขียวในระดับสากล


การออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูภูมิทัศน์ถนนอุทยาน, จามรี อาระยานิมิตสกุล, ชุติมา สุรเชษฐพงษ์ Jan 2015

การออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูภูมิทัศน์ถนนอุทยาน, จามรี อาระยานิมิตสกุล, ชุติมา สุรเชษฐพงษ์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

เนื่องด้วยถนนอุทยาน เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร อยู่ใกล้เขตพระราชฐานและอยู่ในเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน รวมทั้ง ยังเป็นที่รองรับงานพระราชพิธีต่างๆ ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร จึงมอบหมายให้ Chula Unisearch ทำการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูภูมิทัศน์ถนนอุทยานให้เกิดความร่มรื่นสวยงาม และมีเอกลักษณ์โดดเด่น โดยกำหนด แนวคิดในการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนอุทยาน ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่โดยรอบ และแนวทางในการออกแบบพื้นที่ให้เป็นถนนที่มี ความงดงาม เสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจให้กับประชาชนทั่วไป ในขณะที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของถนนอุทยานไว้เช่นเดิม ทั้งนี้ พื้นที่โครงการประกอบด้วย ถนนอุทยานทั้งสาย โดยเริ่มต้นจากถนน พุทธมณฑลสาย 4 สิ้นสุดที่ถนนพุทธมณฑลสาย 3 ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ระยะทางยาว 3,561 เมตร และอยู่ในพื้นที่ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ระยะทางยาว 300 เมตร ซึ่งมีขอบเขตการดำเนินการ และส่วนประกอบของโครงการ คือ 1) งานวางแผนแนวความคิดออกแบบผังบริเวณ (Conceptual designs and detail designs) โดยดำเนินการสำรวจสภาพ พื้นที่จริงเพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม เก็บรวบรวมข้อมูลโครงการและแผนพัฒนาพื้นที่ต่างๆ วิเคราะห์และ ระบุสภาพปัญหาในพื้นที่ อุปสรรค พร้อมเสนอแนวแก้ไขปัญหา จัดประชุมปรึกษาประสานงานกำหนดขอบเขตให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์และความต้องการ นำเสนอและสรุปแนวทางในการเลือกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง รวมทั้งรายละเอียดการออกแบบพัฒนา แบบภูมิสถาปัตยกรรมขั้นสุดท้าย และสรุปการศึกษาโครงการ วางแนวคิดและออกแบบพัฒนาผังบริเวณ และออกแบบในรายละเอียด 2) งานเขียนแบบก่อสร้าง (Construction drawing and documentations) โดยจัดทำแผนงานการดำเนินการ จัดทำ รายละเอียดประมาณราคาก่อสร้างและเอกสารประกอบการประมูล (B.O.Q.)จัดทำแบบสำหรับก่อสร้างและแบบขยายในรายละเอียด


บ้านและอาคาร, อรรจน์ เศรษฐบุตร Jan 2015

บ้านและอาคาร, อรรจน์ เศรษฐบุตร

UNISEARCH (Unisearch Journal)

จากการที่ภาคที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ ตลอดจนสภาพการแข่งขนั ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ นำรูปแบบสถาปัตยกรรมจากตะวันตกมาปลูกสร้างบ้านให้ ทันสมัย ตามค่านิยมของสังคม โดยไม่ได้คำนึง ถึง สภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน ส่งผลให้สิ้นเปลืองพลังงานในการทำความเย็นภายในตัวอาคาร ประกอบกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการตื่นตัวในการออกแบบที่อยู่อาศัยที่ช่วยลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น


การวิเคราะห์ข้อมูลแผ่นดินไหวเพื่อศึกษาผลกระทบจาก พิบัติภัยสึนามิ, ปัญญา จารุศิริ, สันติ ภัยหลบลี้ Jan 2015

การวิเคราะห์ข้อมูลแผ่นดินไหวเพื่อศึกษาผลกระทบจาก พิบัติภัยสึนามิ, ปัญญา จารุศิริ, สันติ ภัยหลบลี้

UNISEARCH (Unisearch Journal)

หลังจากประเทศไทยและประเทศต่างๆ รอบมหาสมุทรอินเดีย ได้รับผลกระทบจากพิบัติภัยสึนามิ ซึ่งเป็นผล มาจากแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ภาครัฐและภาคประชาชนต่างตระหนัก ถึงความสำคัญของพิบัติภัยที่เกิดขึ้น ซึ่งนอกจากชีวิตและทรัพย์สินที่สูญเสียไปกับคลื่นสึนามิแล้ว ทรัพยากรทาง กายภาพอย่างพื้นที่ตามแนวชายฝั่งยังถูกกัดเซาะเสียหายอย่างรุนแรง ด้วยเหตุนี้ เพื่อเป็นการประเมินพิบัติภัย สึนามิที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นในการประเมินพิบัติภัยแผ่นดินไหวตามแหล่งกำเนิด แผ่นดินไหวที่อาจส่งผลกระทบด้านพิบัติภัยสึนามิต่อแนวชายฝั่งของประเทศไทย โดยมีกรอบการทำงานหลักคือ 1) วิเคราะห์พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว และ 2) ประเมินพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต


การออกแบบก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลปกครองในภูมิภาค, พูลศักดิ์ เพียรสุสม Jan 2015

การออกแบบก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลปกครองในภูมิภาค, พูลศักดิ์ เพียรสุสม

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ด้วยภารกิจด้านการส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองของประชาชน ด้วยการเพิ่ม ช่องทางในการเข้าถึง และเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ โดยเฉพาะการจัดสภาพแวดล้อมของศาลปกครอง ให้เอื้อต่อการให้บริการประชาชนและผู้ปฏิบัติงาน ให้สามารถเร่งรัดงานคดีปกครอง และสามารถสนับสนุนการดำเนินงาน ของตุลาการศาลปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามแผนยุทธศาสตร์ศาลปกครอง สำนักงานศาลปกครองจึงได้วางแผน ในการก่อสร้างที่ทำการศาลปกครองในภูมิภาคไว้ทั้งสิ้น 8 แห่ง ประกอบด้วย ศาลปกครองขอนแก่น ศาลปกครองเพชรบุรี ศาลปกครองภูเก็ต ศาลปกครองสุพรรณบุรี ศาลปกครองนครสวรรค์ ศาลปกครองพิษณุโลก ศาลปกครองอุดรธานี และ ศาลปกครองยะลา โดยได้มอบหมายให้ Chula Unisearch เป็นที่ปรึกษาในการสำรวจศึกษาวิจัย และให้คำปรึกษาด้านเทคนิค วิศวกรรมและสถาปัตยกรรม โครงการก่อสร้างศาลปกครองในภูมิภาค จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ อาคารที่ทำการศาลปกครอง เพชรบุรี ศาลปกครองขอนแก่น และศาลปกครองภูเก็ต โดยให้คงรักษารูปแบบสถาปัตยกรรมภายนอกให้ใกล้เคียงกับอาคาร เดิมให้มากที่สุด


หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับ เมืองสุขภาวะ, พนิต ภู่จินดา Jan 2015

หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับ เมืองสุขภาวะ, พนิต ภู่จินดา

UNISEARCH (Unisearch Journal)

เมืองสุขภาวะ หมายถึง เมืองที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างภาวะแห่งการมีความสุขให้กับประชากรเมืองทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เป็นเมืองที่ส่งเสริมให้ประชากรมีร่างกายที่แข็งแรงและมีความสุขภายใต้บริบทของความเป็นอยู่แบบเมือง ทั้งนี้ การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเมือง ไม่ใช่วิถีตามธรรมชาติของมนุษย์ที่อาศัยอยูกั่บธรรมชาติซึ่งห่างไกลจากมลภาวะที่เกิดจากการรวมตัวกันเกินกว่าความสามารถในการรองรับตามปกติของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เนื่องจากแต่เดิมมนุษย์มีความเป็นอยู่ตามแรงผลักดันของสัญชาตญาณของความอยู่รอดเป็นหลัก โดยมีการเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลาเพื่อทำกิจกรรมที่ใช้แรงงานในลักษณะของสังคมเกษตรกรรมในพื้นที่ชนบทแต่เมื่อสังคมมนุษย์พัฒนาสู่การเป็นสังคมเมือง มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบความเป็นอยู่จากชนบทเข้าสู่เมือง เปลี่ยนมามีวิถีชีวิตที่รีบเร่งและเผชิญกับความเครียดสูง ต้องแย่งชิงทรัพยากรต่างๆเพื่อให้อยู่รอดในสังคมที่มีทรัพยากรขาดแคลน อยู่ในสังคมที่มีกฎระเบียบที่เคร่งครัดเพื่อความสงบสุขและความเป็นธรรมในสังคม มีความเป็นอยู่ที่แออัด อยู่กับแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษห่างไกลจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีคุณภาพ นำมาสู่การเกิดทุพภาวะที่มีลักษณะเฉพาะของประชากรเมือง เช่น การขาดพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจที่ได้มาตรฐาน การขาดกิจกรรมทางกาย (Inactive Physical Activity) ดังนั้น วิถีชีวิตแบบเมืองและการขาดพื้นที่ที่ส่งเสริมให้เกิดการมีสุขภาวะและสิ่งแวดล้อมกายภาพที่ดี ทั้งในเชิงคุณภาพ ปริมาณ และการเข้าถึง จึงนำมาสู่ประเด็นปัญหาสุขภาพเมือง


การใช้ดนตรีบำบัดในผู้ป่วยโรคไต ขณะฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, บุษกร บิณฑสันต์ Jan 2015

การใช้ดนตรีบำบัดในผู้ป่วยโรคไต ขณะฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, บุษกร บิณฑสันต์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ดนตรีเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยแต่ละสังคมจะมีวัฒนธรรมดนตรี ที่แตกต่างกันอันเป็นภาพสะท้อนวิถีชีวิตมนุษย์ของสังคมนั้นๆ มนุษย์แต่ละเผ่าพันธุ์สร้างงานดนตรีขึ้นตามจินตนาการที่ มีเอกลักษณ์ของตนเพื่อบรรยายอารมณ์ความรู้สึก และสะท้อนภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ออกมาเป็นเสียงดนตรี โดยใช้ ความสั้นยาวของจังหวะ และการร้อยเรียงเสียงสูงต่ำ เพื่อแสดงให้เห็นภาพพจน์ตามจินตนาการของผู้ประพันธ์ แล้วจึง ถ่ายทอดบทเพลงต่อๆ กันไป วัตถุประสงค์ในการใช้ดนตรีของมนุษย์มีหลากหลาย เช่น นำมาใช้ในการประกอบพิธีกรรม ตามความเชื่อดั้งเดิม ใช้เป็นเครื่องผ่อนคลายให้ผู้คนในสังคม เป็นต้น นอกจากนี้ ดนตรียังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทาง ร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมองในหลายๆ ด้าน เช่น 1) ผลของดนตรีต่อร่างกาย สามารถทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงของอัตราการหายใจ อัตราการเต้นของชีพจร ความดันโลหิต การตอบสนองของม่านตา ความตึงตัวของ กล้ามเนื้อ และการไหลเวียนเลือด 2) ผลของดนตรีต่อจิตใจและสมอง สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ สติสัมปชัญญะ จินตนาการ การรับรู้สภาพความเป็นจริง และการสื่อสารทางอวัจนะภาษา เป็นต้น ดนตรีบำบัด (Music Therapy) จึงกลายเป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทในการช่วยบำบัดรักษาความผิดปกติทางร่างกาย ทางอารมณ์ และทางสังคม ซึ่งมีการศึกษาและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศในแถบยุโรป รวมทั้งประเทศญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทย งานด้านดนตรีบำบัดนับว่าอยู่ในขั้นเริ่มต้น เนื่องจากขาดการสนับสนุนจากผู้กำหนดนโยบาย คือ รัฐบาล โดยในสังคมเมืองใหญ่ ดังเช่น กรุงเทพมหานคร ด้วยมลภาวะที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อม ตลอดจนภาระทาง ด้านการงานที่รัดตัว ทำ ให้เกิดภาวะความเครียดแก่ผู้คนในชุมชนเมือง ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่า ในสถานพยาบาลของรัฐ มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมลภาวะที่ส่งผลต่อสุขภาพกาย และความตึงเครียดที่ส่งผล ต่อสุขภาพจิต ด้วยเหตุนี้งานวิจัยด้านดนตรีบำบัดจึงมีความจำเป็นที่สมควรได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นโครงการนำร่องใน ประเทศไทย ในการที่จะนำกิจกรรมดนตรีไปใช้เพื่อการบำบัด และเป็นทางเลือกในการบำบัดจิตใจผู้ป่วยขณะรักษาตัวอยู่ ในโรงพยาบาล


วิจัยและพัฒนากลไกรองรับยุทธศาสตร์ด้านการตลาดนมโคสดแท้ 100% ของประเทศไทย, นพรัตน์ รุ่งอุทัยศิริ, ต่อศักดิ์ โชติมงคล, ปสุตา ปัญญาทิพย์ Jan 2015

วิจัยและพัฒนากลไกรองรับยุทธศาสตร์ด้านการตลาดนมโคสดแท้ 100% ของประเทศไทย, นพรัตน์ รุ่งอุทัยศิริ, ต่อศักดิ์ โชติมงคล, ปสุตา ปัญญาทิพย์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

"ประเทศจะพัฒนาได้ ต่อเมื่อคนในประเทศต้องมีสุขภาพดีเสียก่อน" นี่คือ พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เมื่อครั้งเริ่มครองราชย์ ในพระราชวโรกาสที่พระเจ้าเฟรเดอริค ที่ 9 แห่ง ประเทศเดนมาร์ค เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยใน พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงขอพระราชทานโคนม 1 คู่ เพื่อมาทดลองเลี้ยงในเขตร้อนชื้นเช่นประเทศไทย และในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2505 ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ ทรงเปิดฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทย-เดนมาร์คจากวันนั้น อาชีพเกษตรกรรมการเลี้ยงโคนมจึงได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทย


บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ : นวัตกรรมเพื่อการพัฒนากำลังคนของชาติ, ชัชวิทย์ อาภรณ์เทวัญ, พิสัยรัตน์ เสถียรรุ่งเรือง, สุทธิพงษ์ มีสิทธิกุล Jan 2015

บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ : นวัตกรรมเพื่อการพัฒนากำลังคนของชาติ, ชัชวิทย์ อาภรณ์เทวัญ, พิสัยรัตน์ เสถียรรุ่งเรือง, สุทธิพงษ์ มีสิทธิกุล

UNISEARCH (Unisearch Journal)

บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-learning เป็นการ ผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษา สื่อการเรียนรู้ต่างๆ อาทิ สไลด์ และวิดีโอ จะถูกผลิต ให้อยู่ในรูปแบบดิจิตัลและนำส่งให้ผู้เรียนผ่านทาง อินเทอร์เน็ต ผู้เรียนจึงสามารถเข้าถึงระบบ E-Learning ได้จากทุกสถานที่และทุกเวลา ถึงแม้ว่า E-Learning จะมีจุดเริ่มต้นมาจากสถาบันการศึกษาเพื่อเสริม การเรียนแบบปกติในห้องเรียน แต่ความสำเร็จที่แท้จริง ในการประยุกต์ใช้ E-Learning นั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่ใน แวดวงการศึกษาเท่านั้นดังจะเห็นได้ว่า ในศตวรรษที่ 20 องค์กรขนาดใหญ่ประสบกับปัญหาที่ต้องอบรม บุคลากรจำนวนมาก การอบรมแบบปกติที่มีลักษณะ คล้ายกับห้องเรียนใช้เวลามากและไม่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับ งบประมาณที่ต้องใช้ ในทางตรงกันข้าม E-Learning ได้ถูกนำมาใช้โดยการผนวกเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ากับกระบวนการฝึกอบรมและการวัดผล โดยสื่อการ เรียนรู้จะถูกผลิตในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ จากนั้น จึงติดตั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Courseware) ลงบนเว็บไซต์ด้วยซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า ระบบจัดการเรียนรู้ (Learning Management System) หรือ LMS และ เปิดให้ผู้อบรมลงทะเบียนใช้คอร์สแวร์ (Courseware) ผ่านทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ E-Learning หมายรวมถึง การวัดผลการเรียนรู้ และการสอบเพื่อวัดขีดสมรรถนะด้วย โดยในกรณีนี้ ต้องใช้คลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Item Bank) เพื่อจัดเก็บข้อทดสอบที่มีจำนวนมากอย่างเป็นระบบ ชุดทดสอบซึ่งประกอบด้วยข้อทดสอบจำนวนหนึ่ง (เช่น 1 ชุดทดสอบ ประกอบด้วย 100 ข้อทดสอบ) จะถูกสุ่ม จากคลังข้อสอบตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น ขอบเขต และ ความยาก เป็นต้น ภายหลังการสอบ ค่าสถิติต่างๆ เช่น ดรรชนีความยาก และดรรชนีอำนาจจำแนก จะถูกคำนวนผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกขั้นตอน ยกเว้นการทำข้อสอบ ที่ส่วนใหญ่ยังนิยมใช้กระดาษ คำถามและกระดาษคำตอบ แต่การทำข้อสอบบน คอมพิวเตอร์ก็กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น และจะเข้ามา แทนที่การสอบด้วยกระดาษในอนาคต


เทคโนโลยีการสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้นักบิน Uav Photogrammetry Technology, วิชัย เยี่ยงวีรชน Jan 2015

เทคโนโลยีการสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้นักบิน Uav Photogrammetry Technology, วิชัย เยี่ยงวีรชน

UNISEARCH (Unisearch Journal)

อากาศยานไร้นักบิน (Unmanned Aerial Vehicle, UAV) ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในงานหลายๆ ด้านในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงการนำมาใช้ ในงานการสำรวจด้วยภาพถ่าย (photogrammetry) ด้วยการติดกล้องถ่ายรูปดิจิตอลทั่วไป เพื่อทำการถ่ายภาพและนำมาประมวลผลภาพ ซึ่งให้ผลลัพธ์ 3 ลักษณะ คือ แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ (orthophoto) แบบจำลองข้อมูลจุดความสูงเชิงพื้นผิว (Digital Surface Model, DSM) และแบบจำลองสามมิติ (3D model) โดยการใช้ UAV ในงานสำรวจด้วยภาพถ่ายนั้นเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากมีพิสัยการบินครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1-5 ตารางกิโลเมตร ขึ้นอยู่กับชนิดและระบบของ UAV ขณะที่ UAV ต้นทุนต่ำมีการพัฒนาที่ดีขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง และมีประสิทธิภาพในการผลิตผลลัพธ์ที่สามารถให้ความถูกต้องทางตำแหน่งสูงขึ้นในระดับน้อยกว่า 10 เซนติเมตรได้ ทั้งนี้ ผู้ใช้ต้องมีการวางแผนการบินอย่างเหมาะสม รวมทั้งมีความเข้าใจในหลักการและวิธีการ ประมวลภาพด้วยซอฟต์แวร์สำหรับงานสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้นักบิน


การค้นคืนคำถามที่พบบ่อยโดยการวัดระยะห่างในกราฟออนโทโลยี, สุกรี สินธุภิญโญ, ชนาวีร์ ซีจันทรา Jan 2015

การค้นคืนคำถามที่พบบ่อยโดยการวัดระยะห่างในกราฟออนโทโลยี, สุกรี สินธุภิญโญ, ชนาวีร์ ซีจันทรา

UNISEARCH (Unisearch Journal)

บ่อยครั้งการทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือการทำงานที่ต้องสัมพันธ์กับกฎระเบียบจำนวนมาก ที่ผู้ใช้ ต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐานที่มีอยู่แล้วเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยทั่วไปแล้ว สำหรับผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อเกิด ปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือในการใช้งาน ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเข้าไปค้นหาคำตอบในฐานความรู้ที่เรียกว่า คำถามที่พบบ่อย (Frequently Asked Questions: FAQ) ซึ่งอาจไม่พบสิ่งที่ต้องการค้นหาจริงๆ เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น ใช้คำค้นไม่ตรงกับฐานความรู้ที่มีอยู่ หรือไม่ทราบว่าสิ่งที่ตนเองต้องการค้นหานั้น ตรงกับศัพท์เทคนิค (Technicalterms) คำใด รวมถึงการสะกดคำค้นหาผิดเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้คำค้นไม่ตรงกับฐานความรู้นอกจากนี้ ในการพัฒนาระบบและเตรียมข้อมูลคำถามที่พบบ่อย บ่อยครั้งที่เนื้อหาของคำถามที่พบบ่อย มักเป็นข้อมูลที่เจาะจงเฉพาะเรื่องมากเกินไป และเมื่อองค์กรมีผลิตภัณฑ์หลายประเภทมากขึ้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีระบบค้นคืนคำถามที่พบบ่อย (FAQ) เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ แต่คำสำคัญในการค้นหามักไม่ใช้คำที่เฉพาะเจาะจง ทำให้การค้นหาส่วนใหญ่จึงไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เช่น คำถามที่พบบ่อยของ ไมโครซอฟต์ หากค้นคำว่า "blue screen" https://support.microsoft.com/en-us/search?query=bluescreen จะพบว่ามีผลลัพธ์ที่ไม่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก อันเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ ดังนั้น การค้นคืนข้อมูลจึงต้องมีการพัฒนาวิธีการค้นหา เพื่อช่วยค้นหาคำถามที่พบบ่อย จากคำสำคัญ (Keyword) ที่ไม่เจาะจงได้


สัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ นาวาโท ไตรวัฒน์ วิรยศิริ งานออกแบบ ทิศทาง รูปแบบ แนวคิด, ไตรวัฒน์ วิรยศิริ Jan 2015

สัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ นาวาโท ไตรวัฒน์ วิรยศิริ งานออกแบบ ทิศทาง รูปแบบ แนวคิด, ไตรวัฒน์ วิรยศิริ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


บทบรรณาธิการ Jan 2015

บทบรรณาธิการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


"รอบตัวเรา" งานวิจัยสู่สังคม, ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2015

"รอบตัวเรา" งานวิจัยสู่สังคม, ทวีวงศ์ ศรีบุรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


กิจกรรมภายใน Chula Unisearch Jan 2015

กิจกรรมภายใน Chula Unisearch

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


สัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร. กมเลศน์ สันติเวชชกุลการวางแผนกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และปรับปรุงกระบวนงานทางธุรกิจด้วยระบบคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป, กมเลศน์ สันติเวชชกุล Jan 2015

สัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร. กมเลศน์ สันติเวชชกุลการวางแผนกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และปรับปรุงกระบวนงานทางธุรกิจด้วยระบบคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป, กมเลศน์ สันติเวชชกุล

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


"รอบตัวเรา" เทคโนโลยีสารสนเทศ สำคัญอย่างไร?, ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2015

"รอบตัวเรา" เทคโนโลยีสารสนเทศ สำคัญอย่างไร?, ทวีวงศ์ ศรีบุรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


แนะนำโครงการ แนวทางการจัดทำฐานข้อมูลและดัชนีชี้วัดสถานภาพการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย Jan 2015

แนะนำโครงการ แนวทางการจัดทำฐานข้อมูลและดัชนีชี้วัดสถานภาพการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย

UNISEARCH (Unisearch Journal)

การวิจัยและพัฒนา เป็นสิ่งสำคัญต่อการกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาของประเทศ ซึ่งจากจำนวนการวิจัย และพัฒนาของประเทศไทยทั้งในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และสาขาสังคมศาสตร์ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีนั้นจึงได้มีการดำเนินการศึกษา เพื่อจัดทำดัชนีชี้วัดและจัดเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมตัวชี้วัดสถานภาพการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย ทั้งในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และสาขาสังคมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและกำหนดดัชนีชี้วัดสถานภาพการวิจัยและพัฒนาของประเทศ ทั้งในระดับภาพรวม ระดับสาขาวิชาการ และระดับอุตสาหกรรม และนำผลที่ได้มาพัฒนาในการจัดทำฐานข้อมูลการวิจัยและพัฒนาของประเทศ ตลอดจนจัดทำรายงานสถานภาพการเก็บรวบรวมข้อมูล และการจัดทำดัชนีการวิจัยและพัฒนาในทุกระดับที่เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย ทั้งนี้ ผลการศึกษาจะสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบและสนับสนุนการตัดสินใจให้แก่หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและทิศทางการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยได้ต่อไป


ข่าวและกิจกรรม รอบรั้วโครงการ Jan 2015

ข่าวและกิจกรรม รอบรั้วโครงการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


กิจกรรม Unisearch Jan 2015

กิจกรรม Unisearch

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


บทบรรณาธิการ Jan 2015

บทบรรณาธิการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


"รอบตัวเรา" การออกแบบกับ, ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2015

"รอบตัวเรา" การออกแบบกับ, ทวีวงศ์ ศรีบุรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

คำว่า "ออกแบบ" หลายท่านจะคิดถึงผลผลิตที่สำเร็จรูปไม่เหมือนกัน ซึ่งก็แล้วแต่ว่าแต่ละคนนั้นมีความเกี่ยวข้อง กับการออกแบบอะไรหรืออย่างไรบ้าง ดังที่มีนักวิชาการหลายท่านพยายามให้ความหมายของ "การออกแบบ" อย่าง กว้างขวางและแตกต่างกันไปตามลักษณะงานหรืออาชีพนั้นๆ เช่น สถาปนิกหรือวิศวกร จะมองการออกแบบที่เกี่ยวกับ โครงสร้างเพื่อประโยชน์การใช้สอยเป็นหลัก จิตรกรหรือศิลปิน จะมองการออกแบบที่เกี่ยวกับการนำองค์ประกอบศิลป์ มาสร้างสรรค์ศิลปะเพื่อความงามเป็นหลัก เป็นต้น


แนะนำโครงการ การศึกษาและออกแบบระบบ โรงละครแห่งชาติ Jan 2015

แนะนำโครงการ การศึกษาและออกแบบระบบ โรงละครแห่งชาติ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


ข่าวกิจกรรมภายใน Chula Unisearch Jan 2015

ข่าวกิจกรรมภายใน Chula Unisearch

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


"สามพันโบก" เส้นทางสู่เครือข่ายอุทยานธรณีโลก, มนตรี ชูวงษ์ Jan 2015

"สามพันโบก" เส้นทางสู่เครือข่ายอุทยานธรณีโลก, มนตรี ชูวงษ์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

พื้นที่อุทยานธรณีสามพันโบกและผาชัน ครอบคลุมแนวริมตลิ่งฝั่ง ตะวันตกของแม่น้ำโขงบริเวณรอยต่อของประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว อำเภอโพธิ์ไทรจังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ที่ท้าท้ายสำหรับนักท่องเที่ยวผู้ชอบธรรมชาติและการท่องเที่ยวสไตล์ผจญภัย เป็นที่น่าสนใจว่าสามพันโบกจะโผล่ให้เห็นกลางแม่น้ำเฉพาะฤดูน้ำลดในช่วง ฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงพฤษภาคม เท่านั้น ทั้งนี้ แหล่งสามพันโบกและผาชันได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในการประชุมเมื่อเดือนสิงหาคม 2554 และเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ให้เป็นพื้นที่ เป้าหมายในการศึกษาข้อมูลธรณีวิทยารายละเอียด โดยกรมทรัพยากรธรณี ได้ตั้งเป้าหมายไว้เพื่อกำหนดให้เป็นแหล่งอนุรักษ์ทางธรรมชาติและธรณีวิทยา สำหรับจัดตั้งเป็นอุทยานธรณีในระดับประเทศก่อนที่จะนำเสนอเป็นสมาชิก เครือข่ายอุทยานธรณีโลกภายใต้การสนับสนุนจากองค์การยูเนสโกต่อไป ซึ่งหลังจากได้รับการรับรองจากสมาชิกเครือข่ายอุทยานธรณีโลกแล้ว ก็จะ นำมาซึ่งประสิทธิภาพในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรณี รายได้ในระบบเศรษฐกิจ และการพัฒนาชุมชนและประเทศอย่างยั่งยืนโดยรวม


การถ่ายทอดความรู้การปรับปรุงคุณภาพดินและการเพิ่มผลผลิตด้วยถ่านชีวภาพ เพื่อความมั่นคงทางอาหารและเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม, ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2015

การถ่ายทอดความรู้การปรับปรุงคุณภาพดินและการเพิ่มผลผลิตด้วยถ่านชีวภาพ เพื่อความมั่นคงทางอาหารและเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม, ทวีวงศ์ ศรีบุรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

การที่ประชาชนในพื้นที่ชนบทของประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม ยัง ประสบปัญหาความยากจน ทั้งๆ ที่มีหน่วยงานราชการหลายหน่วยงานได้พยายามเข้าไปให้ความรู้และความช่วยเหลือ แต่ประชาชนกลับ ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้ สาเหตุสำคัญ เพราะประชาชนยังขาดความรู้ และงบประมาณในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่หน่วยงานของรัฐพยายามนำเสนอ ดังนั้น จึงมีความ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดเทคโนโลยีที่เหมาะสม นำไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านเทคโนโลยที่ เหมาะสมกับท้องถิ่น สามารถ เข้าใจได้ง่าย นำไปประยุกต์ใช้และปฏิบัติได้จริง และเป็นที่ยอมรับของประชาชนในพื้นที่ อีกสาเหตุสำคัญของปัญหาความยากจนของประชาชนในภาคเกษตรกรรมในพื้นที่ชนบทของ ประเทศไทยยังเป็นผลมาจากปัญหาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดินและทรัพยากรน้ำที่เป็นทรัพยากร ทุนในการผลิต ที่ส่งผลต่อคุณภาพของผลผลิต ทำให้เกษตรกรพยายามปรับปรุงคุณภาพดิน โดยใช้สารเคมี ในการเร่งผลผลิต และสารเคมีปราบศัตรูพืชในปริมาณสูง ส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตที่สูง ในขณะที่ผลผลิต ที่ได้ยังไม่มีคุณภาพนัก นอกจากนั้น การใช้สารเคมีต่างๆ ในการทำเกษตรกรรม ยังส่งผลต่อคุณภาพของ สิ่งแวดล้อม การตกค้างของสารเคมีในดินในระยะยาว สุขภาพและคุณภาพชีวิตของเกษตรกร รวมทั้ง ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาและอุปสรรคในการประกอบอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีของ เกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก การดำเนินการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวทรงมุ่งเน้นให้ ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีการทำเกษตรกรรมที่พึ่งพาสารเคมีต่ำ บำรุงและดูแลรักษา สภาพแวดล้อมซึ่งเป็นทุนในการผลิต และเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ ให้สามารถใช้ได้ในระยะยาวและอย่างยั่งยืน ซึ่งการดำเนินโครงการการปรับปรุงคุณภาพดินและการเพิ่มผลผลิตด้วยถ่านชีวภาพเพื่อความมั่นคงทาง อาหารและเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในประเภทโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ ภายใต้ โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม มีความมุ่งหวังที่จะนำ ความรู้จากการศึกษาวิจัย ในการใช้ถ่านชีวภาพ (Biochar) เพื่อปรับปรุงคุณ ภาพดิน และเพิ่มผลผลิต ทางการ เกษตร ด้วยนวัตกรรมการผลิตถ่านชีวภาพจากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ด้วยเตาเผาถ่านชีวภาพ Controlled Temperature Biochar Retort for Slow Pyrolysis Process ที่มี กระบวนการทำงานที่ง่ายและมีต้นทุนการผลิตเตาที่ไม่สูง ผ่านการทดลองผลิตถ่านชีวภาพจากวัตถุดิบ หลากหลายชนิดจนได้ถ่านชีวภาพที่มีคุณภาพ เพี่อสร้างระบบการเรียนรู้และการปฏิบัติจริงในพื้นที่ ตลอดจนการสร้างต้นแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน และความมั่นคงด้านอาหารในพื้นที่ต่อไป


สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ดร. เกื้อ วงศ์บุญสิน แนวคิดงานวิจัยเพื่อสังคมแก้ปัญหา และชี้นำสังคมปัจจุบันและอนาคต, เกื้อ วงศ์บุญสิน Jan 2015

สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ดร. เกื้อ วงศ์บุญสิน แนวคิดงานวิจัยเพื่อสังคมแก้ปัญหา และชี้นำสังคมปัจจุบันและอนาคต, เกื้อ วงศ์บุญสิน

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ศาสตราจารย์ ดร. เกื้อ วงศ์บุญสิน อดีตรองอธิการบดีด้านบริหารงานวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอดีตผู้อำนวยการสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้มีความเชี่ยวชาญในงานวิจัยด้านประชากรศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ และประชากรกับการพัฒนา ซึ่งมีผลงานการวิจัยอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมจนได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานเป็นจำนวนมาก ทั้งในรูปแบบของตำรา รายงานการประชุมทางวิชาการ บทความในหนังสือและวารสารวิชาการต่างๆ และด้วยพื้นฐานการศึกษาในทั้ง 2 ศาสตร์ ทั้งวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ของศาสตราจารย์ ดร. เกื้อ วงศ์บุญสิน จึงทำให้สามารถเข้าใจบริบทของสังคมได้จากหลายมุมมอง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาของนักวิจัยรุ่นหลัง โดยเฉพาะมุมของงานวิจัยทางสังคมที่สามารถเกื้อหนุนงานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ได้


แนะนำโครงการ นวัตกรรมการเพิ่มคาร์บอนอินทรีย์ในดินเพื่อการเกษตรกรรมที่ยั่งยืนในพื้นที่เกษตรกรรมดินเค็ม : โครงการนำร่องปีที่ 1 ลุ่มน้ำลำตะคอง, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม Jan 2015

แนะนำโครงการ นวัตกรรมการเพิ่มคาร์บอนอินทรีย์ในดินเพื่อการเกษตรกรรมที่ยั่งยืนในพื้นที่เกษตรกรรมดินเค็ม : โครงการนำร่องปีที่ 1 ลุ่มน้ำลำตะคอง, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


ข่าวและกิจกรรม กิจกรรมโครงการ Jan 2015

ข่าวและกิจกรรม กิจกรรมโครงการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


บทบรรณาธิการ Jan 2015

บทบรรณาธิการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.