Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 316

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ :กรณีศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง, ชนภัทร รัตนพันธ์ Jan 2019

การบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ :กรณีศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง, ชนภัทร รัตนพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานภายในสถานศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง และเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้แก่สถาบันการศึกษาอื่น ๆ โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 5 คนและศึกษาประกอบกับเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำแนวคิดทฤษฎีระบบ มาใช้วิเคราะห์ในประเด็นการบริหารสถานศึกษา ผ่านการศึกษาปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ทางวิชาการของสถานศึกษา โดยผู้วิจัยเชื่อว่า ทฤษฎีระบบ เป็นหนึ่งในทฤษฎีที่มีประสิทธิภาพในด้านการบริหารองค์การ เพื่อให้องค์การประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์ขององค์การ ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง ได้นำทฤษฎีระบบ เป็นหลักในการบริหารงานภายในสถานศึกษา โดยให้ความสำคัญตั้งแต่ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ ส่งผลให้โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศในด้านวิชาการ ซึ่งมีความสอดคล้องกับกรอบแนวคิดของผู้วิจัยตามที่คาดไว้


แนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายทางการคลังเพื่อส่งเสริมการบริหารการคลังอย่างยั่งยืน, วันเฉลิม คงเกต Jan 2019

แนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายทางการคลังเพื่อส่งเสริมการบริหารการคลังอย่างยั่งยืน, วันเฉลิม คงเกต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับนโยบายทางการคลังในต่างประเทศเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานสถาบันทางการคลังของไทย ณ ปัจจุบัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากการศึกษาข้อมูลเชิงเอกสารในเรื่องการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการคลังในประเทศพัฒนาแล้วจำนวน 5 ประเทศและการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ นักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญในภาคการคลัง เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในเรื่องการคลังของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในเรื่องการคลังของธนาคารแห่งประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า สถาบันทางการคลังที่เป็นอิสระในประเทศพัฒนาแล้วมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ รูปแบบ fiscal council, parliamentary budget office model และ other model โดยศึกษาสถาบันทางการคลังที่เป็นอิสระในประเทศพัฒนาแล้ว ได้แก่ สหราชอาณาจักร เยอรมนี เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบของสถาบันทางการคลังที่เป็นอิสระ คือ รูปแบบ fiscal council และ parliamentary budget office model มีหน้าที่สำคัญ คือ วิเคราะห์ความยั่งยืนทางการคลังระยะยาว ประมาณการเศรษฐกิจหรืองบประมาณ และติดตามการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การคลัง สำหรับกรณีประเทศไทย มีปรับปรุงคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ผ่านการแก้ไข พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 10 เพื่อปรับปรุงตัวแทนในคณะกรรมการ และเพิ่มเติมหน้าที่ในเรื่องการส่งสัญญาณเตือนต่อรัฐบาลในเรื่องความเสี่ยงทางการคลัง และการให้ความรู้ด้านการคลังต่อสาธารณะ .


ผลของการใช้งานจุดแข็งและแรงจูงใจมุ่งเหนือตัวตนที่มีต่อสุขภาวะองค์รวม โดยมีความมีใจรักแบบสอดคล้องสมดุลเป็นตัวแปรส่งผ่าน: โมเดลอิทธิพลส่งผ่านที่ถูกกำกับ, วริศ ครรชิตานุรักษ์ Jan 2019

ผลของการใช้งานจุดแข็งและแรงจูงใจมุ่งเหนือตัวตนที่มีต่อสุขภาวะองค์รวม โดยมีความมีใจรักแบบสอดคล้องสมดุลเป็นตัวแปรส่งผ่าน: โมเดลอิทธิพลส่งผ่านที่ถูกกำกับ, วริศ ครรชิตานุรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาอิทธิพลของการใช้งานคุณลักษณะจุดแข็งร่วมกับแรงจูงใจมุ่งเหนือตัวตน ต่อสุขภาวะองค์รวม โดยมีความมีใจรักแบบสอดคล้องสมดุล เป็นตัวแปรส่งผ่าน โดยควบคุมอิทธิพลของการยึดถือคุณค่ามุ่งเหนือตัวตน นิสิต นักศึกษา 192 คนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ตอบแบบสอบถามออนไลน์วัดตัวแปรทั้งหมดในการวิจัยก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ แล้วนำจุดแข็งอันดับต้นหรือจุดแข็งอันดับท้ายไปใช้ในบริบทการเรียน โดยได้รับการกระตุ้นให้ใช้งานจุดแข็งนั้นด้วยแรงจูงใจมุ่งเหนือตัวตน หรือแรงจูงใจมุ่งเน้นตัวเอง หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างรายงานความถี่ที่นำจุดแข็งไปใช้ ตอบมาตรวัดความมีใจรักแบบสอดคล้องสมดุลและมาตรวัดสุขภาวะซ้ำอีกครั้ง ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมสามทางแบบผสม (การใช้งานจุดแข็ง x แรงจูงใจ x เวลา) หลังควบคุมความแปรปรวนในตัวแปรตามด้วยตัวแปรการยึดถือคุณค่ามุ่งเหนือตัวตนแล้ว ไม่พบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์สามทางและปฏิสัมพันธ์สองทาง แต่พบอิทธิพลหลักของตัวแปรเวลา โดยกลุ่มตัวอย่างทุกเงื่อนไขมีคะแนนความมีใจรักแบบสอดคล้องสมดุล และคะแนนสุขภาวะองค์รวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ผลการวิเคราะห์อิทธิพลด้วยการวิเคราะห์ถดถอยแบบลำดับขั้น พบว่าหลังควบคุมความแปรปรวนในตัวแปรตามด้วยตัวแปรการยึดถือคุณค่ามุ่งเหนือตัวตนแล้ว การใช้งานจุดแข็ง แรงจูงใจ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสอง ไม่มีอิทธิพลทั้งต่อการมีใจรักแบบสอดคล้องสมดุลและสุขภาวะที่วัดหลังการทดลอง รวมทั้งไม่พบอิทธิพลส่งผ่านที่ถูกกำกับตามที่ตั้งสมมุติฐานไว้ แต่ความมีใจรักแบบสอดคล้องสมดุลมีอิทธิพลทางบวกต่อสุขภาวะองค์รวม โมเดลโดยรวมอธิบายความแปรปรวนในสุขภาวะได้ร้อยละ 77 กล่าวโดยสรุป งานวิจัยนี้พบว่าการใช้งานจุดแข็งไม่ว่าจะเป็นอันดับต้นหรือท้าย และด้วยแรงจูงใจมุ่งตนเองหรือมุ่งเหนือตัวตน เพิ่มความมีใจรักแบบสอดคล้องสมดุลและสุขภาวะองค์รวมให้มากขึ้นได้ไม่แตกต่างกัน โดยความมีใจรักแบบสอดคล้องสมดุลที่เพิ่มขึ้น มีอิทธิพลทางบวกต่อสุขภาวะองค์รวมอย่างมีนัยสำคัญ จึงควรส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับจุดแข็งด้านต่าง ๆ ซึ่งล้วนเป็นลักษณะทางบวก เพื่อนำไปทดลองใช้ในบริบทการเรียน โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นจุดแข็งอันดับต้นเท่านั้น


Mental Health And Employment Status : Evidence From Thailand, Patchara Suwannasin Jan 2019

Mental Health And Employment Status : Evidence From Thailand, Patchara Suwannasin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Mental health and mental disorder are significantly considered to be a worldwide issue nowadays such as depression and suicidal. Moreover, the problem of employment still occurs as an aspect of unemployment or employment status issues in those people who work in each economic sector. The objective of the study was to assess the impact of employment status on mental health and to investigate the relationship between personal characteristics and mental health in Thailand. Moreover, the channels that employment may affect mental health also were investigated in this study. A cross-sectional data, 2014 Thailand survey on conditions of society, culture, and …


แผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงของญี่ปุ่น ต่อ อาเซียน สมัยรัฐบาลอาเบะ, นนทิวรรธน์ สามัญบุตร Jan 2019

แผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงของญี่ปุ่น ต่อ อาเซียน สมัยรัฐบาลอาเบะ, นนทิวรรธน์ สามัญบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อจะตอบคำถามว่า ความเปลี่ยนแปลงในนโยบายญี่ปุ่นต่ออาเซียน ในสมัย นายกฯ ชินโซ อาเบะ ตอบสนองยุทธศาสตร์ความมั่นคงของญี่ปุ่น อย่างไร? จากการศึกษาพบว่า นับตั้งแต่ สมัยรัฐบาลฟูกูดะ ในช่วงสงครามเย็น ญี่ปุ่นกลับเข้ามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจุดเด่นคือ การแสดงออกชัดเจนว่า จะไม่แสดงบทบาทด้านการทหารอีก แต่นโยบายญี่ปุ่นต่ออาเซียนในยุครัฐบาลอาเบะ กลับเปลี่ยนแปลงมาให้ความสำคัญกับอาเซียนด้านความมั่นคงกว่าเดิม ในกรอบ อินโด-แปซิฟิก (Indo Pacific) และวิสัยทัศน์เวียงจันทน์(Vientiane Vision) ผ่านการให้ความช่วยเหลือ และ มีบทบาทด้านการทหารมากขึ้น เช่น มีการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ และ บุคลากรด้านความมั่นคง โดยเฉพาะใน ประเด็นเรื่อง เสรีภาพด้านการเดินเรือ และ กฎหมายทะเลระหว่างประเทศ (UNCLOS1982) ซึ่งการปรับบทบาทของญี่ปุ่นต่ออาเซียนนี้ จัดว่าเป็น การถ่วงดุลแบบละมุนละม่อม (Soft Balancing) โดยมีปัจจัยการผงาดของจีน เป็นตัวเร่งให้ญี่ปุ่นจำเป็นต้องมีการแสวงหา หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ความมั่นคง(Security Strategic Partnership) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เห็นความจำเป็นในการถ่วงดุลกับ จีน


เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง : กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชัชชม ทัพชุมพล Jan 2019

เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง : กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชัชชม ทัพชุมพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการคงอยู่ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยค้ำจุนการทำงานกับการคงอยู่ในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของคนเก่งกับการคงอยู่ในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง และ (4) เพื่อศึกษาระดับความตั้งใจคงอยู่ในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบด้วยการแจกแบบสอบถาม (ออนไลท์) จากจำนวนพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 69 คน (ตัวอย่าง) และวิเคราะห์สถิติด้วยการหาค่าเฉลี่ยและค่าทางสถิติทั้งหมด คือ One Sample t-test, Independent Sample t-test, ANOVA t-test และ Pearson’s correlation coefficient โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 40 – 49 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี และมีอายุงานโดยเฉลี่ย 10 ปีขึ้นไป สำหรับการศึกษา ด้านปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันกับการคงอยู่ในองค์กร พบว่า ด้านการศึกษาที่แตกต่างกันมีอิทธิลต่อการคงอยู่ในองค์กรแตกต่างกัน ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์กร พบว่า ปัจจัยค้ำจุนการทำงานและปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของคนเก่งมีความสัมพันธ์ต่อการคงอยู่ในองค์กรหรือความผูกพันธ์ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง และการศึกษาระดับความตั้งใจคงอยู่ในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง พบว่า ระดับความตั้งใจที่จะคงอยู่ในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง อยู่ในระดับปานกลาง


Marketing Strategy Development For Professional Services Firms: Case Study Of Certified Audit Firms In Russia, Dmitrii Bushkov Jan 2019

Marketing Strategy Development For Professional Services Firms: Case Study Of Certified Audit Firms In Russia, Dmitrii Bushkov

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This work is devoted to developing a strategy based on the Blue Ocean Strategy framework for audit firms in Russia. Today, audit firms in Russia are in an awkward position, caused by a fall of revenue in real terms, a high level of competition and a difficult economic situation. Therefore, audit firms are forced to look for new ways to grow their business. The paper analyzes the market for audit services in the period from 2009 to 2018, including structural analysis, revenue analysis, and assessment of the impact of the largest audit firms on the market. The historical background shows …


ความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังที่เคยกระทำผิดซ้ำ, จุฬารัตน์ รัฐพิทักษ์สันติ Jan 2019

ความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังที่เคยกระทำผิดซ้ำ, จุฬารัตน์ รัฐพิทักษ์สันติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังที่เคยกระทำผิดซ้ำ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำ ประเภทความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด และใช้ผลการศึกษาเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำ การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และใช้วิธีการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้ต้องขังที่เคยกระทำผิดซ้ำตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไป จำนวน 9 คน ในเรือนจำพิเศษมีนบุรี ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่เคยกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด คือ ปัจจัยด้านภูมิหลัง ได้แก่ ครอบครัว การศึกษา สภาพแวดล้อม การคบเพื่อน อาชีพ และรายได้ ปัจจัยด้านจิตใจ ได้แก่ การคิดก่อนกระทำผิด ความรู้สึกแปลกแยก และปัจจัยด้านสังคม ได้แก่ ความกดดันทางสังคม พันธะทางสังคม ประสบการณ์การใช้ชีวิตในเรือนจำ ประสบการณ์การใช้ชีวิตหลังได้รับการปล่อยตัวก่อนกระทำผิดซ้ำ และการถูกตีตรา 2) ความกลัวที่มีผลต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดมากที่สุดคือความกลัวต่อการสูญสิ้นอัตตา รองลงมาคือความกลัวต่อการสูญเสียที่เกี่ยวกับชีวิตกับความกลัวต่อการโดนทอดทิ้ง และความกลัวต่อการสูญเสียอิสรภาพของตนเอง โดยความกลัวต่อความพิกลพิการไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด ข้อเสนอแนะต่อแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษของการศึกษานี้ ได้แก่ การนำปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่น ครอบครัว ศาสนา อาชีพ และรายได้ มาใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมของผู้ต้องขัง นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนการคืนคนดีสู่สังคม และลดอุปสรรคที่ส่งผลให้เกิดความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำ เช่น ความกดดันทางสังคม การถูกตีตรา เพื่อให้ผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษสามารถรับมือกับความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำได้อย่างถูกต้อง


อาชญากรรมต่อสัตว์: ประสบการณ์การทารุณกรรมสัตว์ผ่านการรับรู้ของสังคมไทย, ณธัญ วงศ์วานิช Jan 2019

อาชญากรรมต่อสัตว์: ประสบการณ์การทารุณกรรมสัตว์ผ่านการรับรู้ของสังคมไทย, ณธัญ วงศ์วานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์หัวข้อ อาชญากรรมต่อสัตว์: ประสบการณ์การทารุณกรรมสัตว์ผ่านการรับรู้ของสังคมไทยนี้มุ่งเน้นการศึกษาประสบการณ์การทารุณกรรมสัตว์และที่มาของปัญหานี้ที่ถูกพบได้ในสังคมไทยและแนวคิดประกอบกับหลักการเกี่ยวกับการลงโทษความผิดเกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์ที่มีความเหมาะสมตามมุมมองของกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องอย่างสำคัญต่อสัตว์อีกทั้งมีความสอดคล้องต่อลักษณะความเป็นไปของสภาพสังคมไทย จากการศึกษานั้นพบว่าการทารุณกรรมสัตว์นั้น มีเหตุมาจากปัญหาเกี่ยวกับสัตว์ดังเช่น ปริมาณสัตว์จรจัดจำนวนมากที่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ประชาชน จนเกิดการออกมาแก้ปัญหาเองโดยใช้ความรุนแรง ซึ่งได้กระทำการทารุณกรรมสัตว์เหล่านั้นเพื่อแก้ปัญหาความรำคาญดังกล่าว หรือการกระทำทารุณกรรมสัตว์ที่กระทำเพื่อหาความพึงพอใจหรือผลประโยชน์ในแง่ต่างๆ เช่นการหายรายได้บนโลกไซเบอร์ ซึ่งในนิติรัฐสมัยใหม่นี้เองก็ได้มีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยการตราขึ้นและบังคับใช้กฎหมายในกรณีการคุ้มครองสัตว์ เพื่อให้เกิดการคุ้มครองตัวสัตว์และปกป้องศีลธรรมอันดีในสังคมไทย โดยทั้งนี้เอง การป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ในอนาคต นอกจากการบังคับใช้กฎหมายแล้วนั้น ยังจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังแนวคิดเกี่ยวกับสวัสดิภาพของสัตว์แก่ประชาชนประกอบไปด้วย เนื่องจากที่มาของปัญหานั้นเกิดจากการปล่อยให้ปัญหาสัตว์จรจัดนั้นดำเนินต่อไป จากการจัดการที่ไม่เด็ดขาดของรัฐ จากผู้เลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีความรับผิดชอบ หรือจากบุคคลที่ไม่เห็นถึงคุณค่าของสัตว์ ผู้วิจัยจึงเห็นว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์การทารุณกรรมสัตว์ และการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองสัตว์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งการนำมาตรการอื่นๆมาใช้เพื่อแก้ปัญหาสัตว์จรจัด และสัตว์ถูกทารุณกรรมในต่อไป


สวัสดิภาพของสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ที่ถูกฆ่าเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์, ธัญจิรา วรรณวิจิตร Jan 2019

สวัสดิภาพของสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ที่ถูกฆ่าเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์, ธัญจิรา วรรณวิจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ในมิติต่างๆของสังคมโดยเฉพาะกับสัตว์เศรษฐกิจ จนนำไปสู่การปฏิบัติต่อสัตว์ในโรงฆ่าของมนุษย์ ซึ่งพบว่ามีปัญหาตั้งแต่การเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม การขนส่ง และกระบวนการฆ่าสัตว์ในโรงฆ่า โดยเฉพาะในโรงฆ่าที่มีปัญหาตั้งแต่สภาพอาคารโรงฆ่าที่สกปรก เครื่องมือไม่ได้มาตรฐาน การดูแลสัตว์ก่อนการเข้าฆ่าที่พนักงานไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ดีพอ และวิธีการฆ่าที่ใช้วิธีการทำให้สัตว์สลบโดยใช้ค้อนทุบที่ศีรษะของสัตว์ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในโรงฆ่าขนาดเล็ก ที่มีปัญหาทั้งด้านสุขอนามัยและด้านสวัสดิภาพสัตว์ นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านการตรวจสอบและการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ไม่สามารถตรวจสอบขั้นตอนในการฆ่าของโรงฆ่าสัตว์ได้อย่างทั่วถึง รวมถึงข้อกฎหมายที่ยังมีช่องโหว่ในการปฏิบัติต่อสัตว์ ส่งผลให้สัตว์เศรษฐกิจในโรงฆ่านี้ยังไม่ได้รับความคุ้มครองที่ดีพอโดยมีแนวคิดและทฤษฎีเป็นฐานเครื่องมือในการอธิบายถึงความสัมพันธ์และการปฏิบัติต่อสัตว์ของมนุษย์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ ซึ่งพื้นที่ในการศึกษาจะศึกษาเฉพาะการปฏิบัติต่อสัตว์ในโรงฆ่าเท่านั้น จากการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสัตว์ที่เกิดขึ้นในบริบทต่างๆของสังคม มีความเกี่ยวพันกับ ศาสนา เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และกฎหมาย จนนำไปสู่วิธีการปฏิบัติต่อสัตว์แต่ละประเภท ซึ่งในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งเน้นที่จะศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์และสัตว์ในสังคมโดยจะมุ่งเน้นไปที่สัตว์เศรษฐกิจจนนำไปสู่การปฏิบัติต่อสัตว์ในโรงฆ่าที่เป็นปัญหา ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ คือให้รัฐสนุบสนันผู้ประกอบการรายย่อยด้านอุปกรณ์ สถานที่ และเครื่องมือให้มีมาตรฐานที่ดีขึ้น ปรับแก้บทลงโทษให้มีรายละเอียดและบทลงโทษที่มากขึ้น และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปมีการตื่นตัวต่อชีวิตสัตว์ในโรงฆ่า การศึกษาในครั้งนี้จึงคาดหวังที่จะให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ผู้ประกอบการโรงฆ่าสัตว์ เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงประชาชน ได้ตระหนักถึงคุณค่าในชีวิตของสัตว์ทุกชีวิตและคาดหวังให้มีการตื่นตัวในการรณรงค์ให้มีการฆ่าสัตว์ให้ถูกต้องตามหลัก


การศึกษามาตรการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อสถาบันการเงิน, ปรมัตถ์ ไวรักษ์ Jan 2019

การศึกษามาตรการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อสถาบันการเงิน, ปรมัตถ์ ไวรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของธนาคารกลางของไทยในการกำกับดูแลสถาบันการเงินต่อการบังคับใช้มาตรการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และศึกษาถึงแนวทางการสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มสถาบันการเงิน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม แบ่งเป็น ผู้ปฏิบัติงานในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกลุ่มสถาบันการเงิน ผู้ปฏิบัติงานจากสายงานกระบวนการยุติธรรมหรือสายกฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านการจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ผลการศึกษา พบว่า 1) บทบาทที่สำคัญของธนาคารกลางของไทย คือ การวางกรอบแนวทางการรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ โดยมีการกำหนดเป็นมาตรการและนโยบายต่าง ๆ ร่วมกับการตรวจสอบกำกับดูแล และการเผยแพร่ความรู้ให้แก่ภาคประชาชน 2) ธนาคารกลางของไทยมีการสร้างความร่วมมือกับกลุ่มสถาบันการเงินและองค์กรอื่น ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแบ่งปันข้อมูลข่าวสารด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดทักษะความรู้ใหม่ ๆ ในการร่วมมือกันแก้ปัญหาภัยคุกคามไซเบอร์ ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติการ สถาบันการเงินควรมีการฝึกซ้อมรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไปพร้อมกับการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ภาคประชาชนในเชิงรุก รวมทั้งสร้างเครือข่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคการเงิน ด้านการออกนโยบาย เสนอให้เพิ่มบทลงโทษสถาบันการเงินจากการไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่บังคับใช้ และเสนอให้มีการสร้างความร่วมมือกับภาครัฐปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีบทเรียนเกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์และมาตรการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์


การนำนโยบายเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาแรงงานเด็กข้ามชาติในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล, ปานชนก ชูหนู Jan 2019

การนำนโยบายเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาแรงงานเด็กข้ามชาติในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล, ปานชนก ชูหนู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำนโยบายและแผนระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายมาปฏิบัติกับแรงงานเด็กข้ามชาติในกิจการอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล พร้อมทั้งศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการมาปฏิบัติ โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่มประชากรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการในส่วนขององค์กรภาครัฐ 9 คน เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน จำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ จำนวน 1 คน และ ตัวแทนนายจ้างในสถานประกอบกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ จำนวน 3 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการละเมิดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย กอปรกับการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 182 จึงก่อให้เกิดนโยบายและแผนระดับชาติฯ ฉบับนี้ขึ้นมา 2) การนำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัตินั้นดำเนินงานผ่าน 5 ยุทธศาสตร์ คือ การป้องกันการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย การช่วยเหลือและคุ้มครองแรงงานเด็กจากการทำงานในรูปแบบที่เลวร้าย การพัฒนาและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคีเครือข่าย การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการนำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัติที่สามารถแบ่งออกเป็น 5 ปัจจัยคือ 1. ความสามารถในการจัดการปัญหา คือ การจัดการปัญหาของการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย ความซับซ้อนเชิงพฤติกรรมของนายจ้าง ลูกจ้าง และเจ้าหน้าที่ผู้เข้าไปตรวจสอบและดำเนินการทางกฎหมายกับสถานประกอบกิจการ 2. ลักษณะของตัวนโยบายและแผนระดับชาติฯ คือการตรานโยบายและแผนระดับชาติฯ ที่ไม่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหา การเขียนรายละเอียดของการนำไปปฏิบัติแบบภาพกว้าง 3.หน่วยงานที่นำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัติ คือ การขาดความเข้าใจและความรู้สึกผูกพันในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.บุคลากรที่นำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัติ คือการไม่เข้าใจในรายละเอียดและขอบข่ายงาน อาจมีผลมาจากความไม่ชัดเจนในตัวของนโยบายฯ และ 5. การติดตาม ประเมินผล การนำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ที่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการนำไปปฏิบัติได้อย่างไม่เป็นรูปธรรม คือ ปัญหาในส่วนของการรวบรวมข้อมูล ความล่าช้าในการรายงานของหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบย้อนกลับ


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นผู้ต้องขังชั้นเลวมากและแนวทางการพัฒนาพฤตินิสัย, วีรวัฒน์ บุญนิกูล Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นผู้ต้องขังชั้นเลวมากและแนวทางการพัฒนาพฤตินิสัย, วีรวัฒน์ บุญนิกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรและพฤติกรรมการกระทำผิดของผู้ต้องขังชั้นเลวมาก เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการถูกลดชั้นเป็นผู้ต้องขังชั้นเลวมาก และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังที่ตกเป็นผู้ต้องขังที่ชั้นเลวมาก โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยนำข้อมูลทุติยภูมิจากระบบฐานข้อมูลผู้ต้องขังที่จัดเก็บด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ต้องขังชั้นเลวมากเพื่อจัดทำกรณีศึกษา จำนวน 15 คน และการจัดประชุมกลุ่มย่อยเจ้าหน้าที่ในเรือนจำ 3 แห่ง คือ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง เรือนจำกลางบางขวาง และ เรือนจำกลางคลองเปรม ผลการศึกษาพบว่า การตกเป็นผู้ต้องชั้นเลวมาก แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1.) ผู้ต้องขังกลุ่มที่กระทำผิดซ้ำเกิน 3 ครั้งขึ้นไป 2.) ผู้ต้องขังชั้นเลวมากที่เกิดจากการถูกลดชั้นจากการกระทำผิดวินัยเรือนจำ และ3.)ผู้ต้องขังกระทำผิดตามประกาศกระทรวงยุติธรรม เรื่อง กำหนดความผิดในคดีอุกฉกรรจ์คดีสะเทือนขวัญ หรือคดีที่เป็นที่สนใจของประชาชน พ.ศ.2563 ผลการศึกษา พบว่า ผู้ต้องขังชั้นเลวมาก ส่วนใหญ่เป็นชาย เป็นกลุ่มผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำเกิน 3 ครั้งขึ้นไป กระทำผิดในคดียาเสพติดมากที่สุด ส่วนใหญ่จบการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษา รับจ้างทั่วไป ส่วนใหญ่กระทำผิดตั้งแต่อายุยังน้อย เกี่ยวข้องกับอบายมุขและถูกไล่ออกจากโรงเรียน มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม (Antisocial) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นผู้ต้องขังชั้นเลวมากพบว่า ปัจจัยด้านความผูกพันทางสังคม ปัจจัยด้านการถูกตีตราจากสังคม ปัจจัยด้านการเรียนรู้พฤติกรรมในเรือนจำมีส่วนทำให้ผู้ต้องขังตกเป็นผู้ต้องขังชั้นเลวมาก อย่างไรก็ตามจากการประชุมกลุ่มย่อยเจ้าหน้าที่ยังเห็นว่าคนกลุ่มนี้สามารถแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้แต่อาจต้องใช้ระยะเวลาและออกแบบโปรแกรมเฉพาะสำหรับผู้ต้องขังชั้นเลวมาก ซึ่งมีพฤติกรรมแตกต่างจากผู้ต้องขังกลุ่มอื่น


อาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: ศึกษากรณีชาวโรฮีนจาในประเทศเมียนมา, สัณหวรรณ ศรีสด Jan 2019

อาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: ศึกษากรณีชาวโรฮีนจาในประเทศเมียนมา, สัณหวรรณ ศรีสด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ “อาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: ศึกษากรณีชาวโรฮีนจาในประเทศเมียนมา” ฉบับนี้ มุ่งศึกษาปัจจัย สถานการณ์ และรูปแบบปฏิสัมพันธ์ของคนกลุ่มต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่อาชญากรรมที่มีลักษณะของอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยนำสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมา ในระหว่างปี พ.ศ. 2555 ถึงปี พ.ศ. 2560 มาพิจารณาประกอบกับทฤษฎีการกระทำร่วมกัน หรือ Collective Action Theory ซึ่งเป็นทฤษฎีอาชญาวิทยาที่ถูกสร้างขึ้นเพื่ออธิบายอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยเฉพาะ ทั้งนี้ จากผลการศึกษาพบว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่รัฐยะไข่ โดยเฉพาะความรุนแรงที่เกิดแก่ชาวโรฮีนจาในปีพ.ศ. 2559 และ 2560 นั้นมีลักษณะเป็นการประกอบอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตามบทนิยามของอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยมีทั้งองค์ประกอบด้านการกระทำและด้านเจตนาพิเศษ เมื่อนำมาปรับเข้ากับทฤษฎีการกระทำร่วมกันพบว่าสถานการณ์ในรัฐยะไข่สนับสนุนทฤษฎีการกระทำร่วมกัน โดยมีองค์ประกอบต่าง ๆ ตามทฤษฎี ได้แก่ องค์ประกอบเกี่ยวกับระบอบการปกครอง มีการรวมกลุ่มสังคม มีการสร้างตัวตนสูง และมีเจตนาร่วมกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่เป็นการหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่ายังมีสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นแต่พบว่าไม่สอดคล้องกับทฤษฎีการกระทำร่วมกัน และทฤษฎีดังกล่าวยังจำต้องถูกปรับปรุงต่อไป เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างคตินิยมของบุคคลทั่วไปต่ออัตลักษณ์ชาวโรฮีนจา และปัจจัยที่หล่อหลอมโครงสร้างและสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในรัฐยะไข่ที่นำไปสู่การลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชาวโรฮีนจาและพัฒนาไปสู่การประกอบอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตามทฤษฏีการกระทำร่วมกันยังพบว่าปัจจัยทางด้านภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ ชาติพันธุ์ ศาสนา รูปแบบการปกครอง การจำกัดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และการสร้างความเกลียดชังในพื้นที่ล้วนเป็นองค์ประกอบของปัจจัยข้างต้นที่เอื้อต่อการใช้ความรุนแรงในรัฐยะไข่ทั้งทางตรงและทางอ้อม แนวทางการแก้ไขและป้องกันอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในพื้นที่รัฐยะไข่ประเทศเมียนมานั้นคือการกำจัดองค์ประกอบทั้งหลายตามทฤษฎีการกระทำร่วมกันมิให้เกิดขึ้น ทั้งการเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านการปกครอง การสนับสนุนให้มีการยอมรับความแตกต่างและยุติการเลือกปฏิบัติทั้งในความเป็นจริงและทางกฎหมาย การแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมในทางเศรษฐกิจและสังคม ยุติโครงการใด ๆ ที่เอื้อให้พลเรือนเข้าร่วมการปฏิบัติการทางการทหาร และนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ เป็นต้น


ผลกระทบของภาษีความหวานต่อราคา : กรณีศึกษาเครื่องดื่มในประเทศไทย, ธนัชพร ทิพย์กาญจนกุล Jan 2019

ผลกระทบของภาษีความหวานต่อราคา : กรณีศึกษาเครื่องดื่มในประเทศไทย, ธนัชพร ทิพย์กาญจนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของภาษีความหวานต่อราคาเครื่องดื่ม ผ่านการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของราคาและภาระภาษีที่ถูกส่งผ่านไปยังผู้บริโภค โดยใช้ข้อมูลราคาขายปลีกของเครื่องดื่มจากกระทรวงพานิชย์ ในช่วงเวลาก่อนและหลังการเก็บภาษีความหวานรอบที่สอง 6 เดือน ซึ่งงานวิจัยนี้จะใช้วิธี difference-in-differences ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีกลุ่มทดลองคือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ซึ่งกลุ่มทดลองข้างต้นนี้จะถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อยตามปริมาณน้ำตาลที่มีในเครื่องดื่มนั้น ๆ ได้แก่กลุ่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูงมาก สูง ปานกลาง ต่ำ และต่ำมาก ตามลำดับ และทำการเทียบเครื่องดื่มกลุ่มทดลองแต่ละกลุ่มกับน้ำดื่มที่เป็นกลุ่มควบคุม ผลพบว่าในภาพรวมของราคาเครื่องดื่มที่ถูกเก็บภาษีมีการปรับตัวสูงขึ้น คิดเป็นประมาณ 0.227 บาท/100 มิลลิลิตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลปานกลางมีการเปลี่ยนแปลงของราคามากที่สุด รองลงมาคือเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำ และเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำมากตามลำดับ ส่วนเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูงและสูงมากไม่พบการเปลี่ยนแปลงของราคา และพบว่าในภาพรวมของเครื่องดื่มที่ถูกเก็บภาษีทั้งหมดมีการผลักภาระไปยังผู้บริโภคประมาณ 854% โดยเครื่องดื่มที่มีการผลักภาระภาษีไปยังผู้บริโภคมากที่สุดคือเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำมาก รองลงมาคือเครื่องเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำ และเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลปานกลางตามลำดับ ส่วนเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูงและสูงมากไม่พบการผลักภาระภาษีไปยังผู้บริโภค


กระบวนการสร้างกรอบโครงความคิดของขบวนการเสื้อแดง จังหวัดขอนแก่น, ชุติเดช สำเร็จ Jan 2019

กระบวนการสร้างกรอบโครงความคิดของขบวนการเสื้อแดง จังหวัดขอนแก่น, ชุติเดช สำเร็จ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ อธิบายความขัดแย้งทางการเมืองไทยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ผ่านการวิเคราะห์ขบวนการเสื้อแดง จังหวัดขอนแก่น โดยใช้ทฤษฎีกรอบโครงความคิด (framing) เป็นเครื่องมือหลักในการทำความเข้าใจขบวนการ วิธีการดำเนินเลือกใช้การวิจัยด้านเอกสาร (documentary research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-dept interview) ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า (oral history) และการสนทนากลุ่ม (focus group) ของผู้นำและมวลชนคนเสื้อแดงจังหวัดขอนแก่น งานศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่ากรอบโครงความคิดของความอยุติธรรม (injustice frame) เป็นกรอบโครงความคิดหลัก (master frame) ของขบวนการเสื้อแดงเชื่อมโยงรวบรวมความคิดทางการเมืองของชาวบ้านที่หลากหลาย อยู่กระจัดกระจายและอ่อนแอได้ กรอบโครงความคิดที่ถูกสร้างขึ้นได้ร้อยรัดทัศนคติที่แตกต่างกันของปัจเจกบุคคล และสร้างความหมายร่วมกันของคนเสื้อแดงลุกขึ้นมามีปฏิบัติการทางการเมือง อย่างไรก็ตามกระบวนการสร้างกรอบโครงความคิดของขบวนการเสื้อแดงก็มิได้เป็นไปอย่างง่ายดาย แต่ทว่างานศึกษานี้ค้นพบกระบวนการตอบโต้กรอบโครงความคิด (counter framing) การปะทะ ต่อสู้ ต่อรองของมวลชนในฐานะผู้กระทำการทางการเมือง (political actor) มวลชนมิได้นำเชื่อกรอบโครงความคิดที่ถูกผลิตขึ้นอย่างง่ายดาย จนในบางครั้งมวลชนเองก็มีความพยายามที่จะลบล้างเพื่อสร้างกรอบโครงความคิดใหม่ขึ้นมาทดแทน (reframing)


สันติวิธีในนโยบายความมั่นคงของไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้, ติณณภพ เตียวเจริญกิจ Jan 2019

สันติวิธีในนโยบายความมั่นคงของไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้, ติณณภพ เตียวเจริญกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ประการแรก เพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงของนโยบายความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประการที่สอง เพื่อวิเคราะห์การให้ความหมาย การตีความ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดสันติวิธีของตัวแสดงสำคัญในการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ และ ประการสุดท้ายเพื่อประเมินปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนแนวคิดสันติวิธีในนโยบายแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเอกสารประกอบการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเอกสารที่ใช้เป็นเอกสารชั้นต้น ได้แก่ นโยบาย คำสั่ง โครงการ คำประกาศ และ เอกสารชั้นรอง ได้แก่ ข่าวสาร บทความวิเคราะห์ และงานวิจัย ผลการศึกษาพบว่า สันติวิธีมีส่วนขับเคลื่อนนโยบายด้านความมั่นคงสำหรับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในบางลักษณะคือ ประการแรก สันติวิธีถูกบรรจุในนโยบายความมั่นคงมากว่า 17 ปี แต่พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของนโยบายในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นสันติวิธี ขึ้นอยู่กับแนวทางการแก้ไขปัญหาของแต่ละรัฐบาลและผู้นำประเทศ ประการที่สอง สันติวิธีในความรับรู้ของเจ้าหน้าที่รัฐคือ การไม่ใช้กำลังและคงไว้ซึ่งการรักษาความมั่นคงของรัฐ ซึ่งต่างจากภาคประชาสังคมที่มีความเห็นว่าสันติวิธีคือการไม่ใช้กำลังและไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และประการที่สาม ปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนสันติวิธีในนโยบายแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ย้อนแย้งกับสันติวิธี คือความรุนแรงทางโครงสร้างและวัฒนธรรมที่ฝังรากอยู่ในระดับองค์กรและระดับกลไกปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่รัฐ


โขนภายใต้การเปลี่ยนสังคมการเมืองไทย, วัชระพงศ์ เดชครุฑ Jan 2019

โขนภายใต้การเปลี่ยนสังคมการเมืองไทย, วัชระพงศ์ เดชครุฑ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาบทบาทของโขนภายใต้การเปลี่ยนสังคมการเมืองไทย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทไปในลักษณะต่าง ๆ โดยศึกษาว่ามีลักษณะใดบ้าง ใครเป็นผู้ดำเนินการเพื่อสร้างบทบาทใหม่ของโขนในแต่ละช่วงเวลา โดยศึกษาผ่านการวิเคราะห์โดยใช้แนวคิดการครองอำนาจนำผลจากการศึกษาพบว่า พัฒนาการและบทบาทของโขนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลาถูกกำหนดโดยชนชั้นปกครอง สะท้อนออกมาในรูปแบบของการใช้โขนเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง โดยบทบาทของโขนในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์แรกเริ่มเป็นการละเล่นเพื่อแสดงถึงสถานะและความศักดิ์สิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ ต่อมาบทบาทความศักดิ์สิทธิ์ถูกลดความสำคัญลงไป เหลือเพียงเป็นมหรสพการแสดงเพื่อแสดงศักดานุภาพของพระมหากษัตริย์และแสดงเพื่อความสำราญส่วนพระองค์ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 สถานะของโขนถูกเปลี่ยนแปลงหน่วยงานผู้ดูแลจากโขนในราชสำนักมาสู่โขนของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงครามได้สร้างบทบาทของโขนผูกกับความเป็นชาติ ต่อมา ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชเป็นผู้พัฒนาให้เกาะเกี่ยวคุณค่าของความเป็นไทยและสถาบันกษัตริย์ ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของผู้ดำเนินการทั้งสิ้น ต่อมาเมื่อรัฐบาลเริ่มลดบทบาทการใช้โขนเป็นเครื่องมือทางการเมืองลง โขนจึงสามารถพัฒนาให้มีลักษณะเป็นมหรสพการแสดงเพื่อความบันเทิงสำหรับประชาชนอย่างแท้จริงในยุคสมัยนายเสรี หวังในธรรม ทำให้มีจำนวนผู้ชมเพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลานี้ ซึ่งดำรงอยู่ได้ในระยะเวลาหนึ่ง และกลับมาประสบปัญหาความซบเซาในด้านจำนวนคนดูลงอีกครั้ง ต่อมากลุ่มสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นผู้ดำเนินการผลิตโขนของตนเอง ในนามโขนศาลาเฉลิมกรุงและโขนพระราชทาน ซึ่งมีลักษณะเกาะเกี่ยวคุณค่าและอุดมการณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ และสามารถทำให้การแสดงโขนกลับมาเป็นกระแสของคนดูอีกครั้ง เป็นการเน้นการรับรู้ถึงคุณค่าของสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะผู้อนุรักษ์งานศิลป์ของแผ่นดิน จะเห็นได้ว่ารูปแบบและวิธีการในการใช้โขนเป็นเครื่องมือทางการเมืองของชนชั้นปกครอง สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างภาวะการครองอำนาจนำทางวัฒนธรรมของชนชั้นปกครอง เพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์ต่อตัวผู้กระทำการเอง และยังส่งผลให้โขนเปลี่ยนแปลงบทบาทในลักษณะต่าง ๆ


Which Types Of Investor Investment Flow Affect Thailand Stock Market Index, Net Teeramungcalanon Jan 2019

Which Types Of Investor Investment Flow Affect Thailand Stock Market Index, Net Teeramungcalanon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study examines the effect of types of investor investment flow on Thailand Stock Market Index returns. Daily data on investment types, namely, foreign investors, institutional investors, proprietary investors, and retail investors from the Stock Exchange of Thailand for the period 2015 to 2020 is used. The results from the OLS model show that proprietary investors dominate the SET index. We also conduct a Granger causality test to understand the relationship between the SET index and investor investment flow. This study also examines the relation between SET volatility and investor behavior. The result shows that when the SET index has …


Testing The Determinants Of Stock Exchange Index Comovement In Thailand Stock Exchange, Nuntapat Asavaroengchai Jan 2019

Testing The Determinants Of Stock Exchange Index Comovement In Thailand Stock Exchange, Nuntapat Asavaroengchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A study into the effects of different macroeconomic variables on the comovement between the Stock Exchange of Thailand (SET) Index and the Standard & Poor's 500 (S&P 500). These effects are tested using OLS regression in an annual and quarterly frequency. Real Interest Rate Difference between the two countries is found to have a significant negative effect, likely due to investors turning to Thailand when it has higher real interest rate. Income Level is found to be a significant positive effect, as countries with higher income are more integrated with the US. As the economy naturally grows, it is likely …


Impact Of Growth In International Tourism Industry Contributed To Co2 Emission In Cambodia, Philippines And Thailand, Juthamard Laohawattanajinda Jan 2019

Impact Of Growth In International Tourism Industry Contributed To Co2 Emission In Cambodia, Philippines And Thailand, Juthamard Laohawattanajinda

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Tourism is generally considered a clean industry, one of the reasons is tourism increasing investment in traveling facilities, instead of investment in factories. Furthermore, increasing tourism development relies on the protection of the natural environment and ecology. However, tourism development, like all industrial development, also comes with the higher demand in energy consumption and lack of management in the tourism industry resulting in environmental degradation The paper investigated the effect of environmental degradation in both aspects of destination factors and tourist factors based on the EKC hypothesis by incorporating trade openness and CO2 emission in Cambodia, Philippines, and Thailand which …


The Effect Of Outward Fdi Of China On The Export Of China To Asean Countries, Ziang Li Jan 2019

The Effect Of Outward Fdi Of China On The Export Of China To Asean Countries, Ziang Li

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

With the guidance of the Chinese "One Belt One Road" policy and the development of China-ASEAN Free Trade Area, trade and investment between China and ASEAN have become more frequent. Based on the panel data from 2005 to 2018, this paper starts from two steps to empirically analyze the determinants of Chinese outward Foreign Direct Investment to ASEAN and its impacts on the export of China to ASEAN. As a result, China's motives for FDI to ASEAN are more inclined to seek market size, and China tends to invest in ASEAN countries with political stability and a high degree of …


Asean Governance On Data Privacy : Challenges To Regional Protection Of Data Privacy And Personal Data In Cyberspace, Supatsara Chaipipat Jan 2019

Asean Governance On Data Privacy : Challenges To Regional Protection Of Data Privacy And Personal Data In Cyberspace, Supatsara Chaipipat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This independent_study explores how the cornerstone norms of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN), mostly referred as the ASEAN way, play significant role in forming the regional governance on data privacy and involves the answer that it poses challenges to the region in protecting their citizen’s personal data in cyberspace. This study investigates and compares the existing regimes regarding to data privacy in cyberspace at international, regional and domestic levels. To estimate the efficacy of ASEAN governance on data privacy and personal data protection, the analysis of study is based on the associations’ normative structure. Particularly, it searches what …


The Effect Of Salary And Health Insurance Benefit On Job Satisfaction In Thailand, Nattapat Srivibha Jan 2019

The Effect Of Salary And Health Insurance Benefit On Job Satisfaction In Thailand, Nattapat Srivibha

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Human resources is the most significant factor in production function to exercise activities and operate the business. In order to maximize potential of employees, a good welfare and being taken care by a company are critical and will enhance employee satisfaction, resulted in employees' intention to become more accountable and dedicated to work. There are various factors that support employees' needs in fostering loyalty i.e. wages, health benefits, bonuses, scholarships, loan funds, etc. This study examines the effect of salary and health insurance on employee satisfaction in Thailand by exploring correlation between salary satisfaction and health insurance benefits satisfaction and …


Impact Of Women's Education On Marriage Outcomes, Nattamon Ungpraphakorn Jan 2019

Impact Of Women's Education On Marriage Outcomes, Nattamon Ungpraphakorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In Thailand, marriage has been one of many women’s aspirations. However, nowadays women’s labor force participation has increased, and women have become more economically independent as a result of higher education attainment. An important question is whether these factors lead to an older age of marriage or even a choice remaining single. This paper analyzes how women’s education affects the marriage outcome and studies single women’s perspective towards marriage. Using data from survey of 422 women between the age of 22 and 60, we estimate the logistic regression of marriage outcome. We find that older women tend to remain single …


The Impact Of Flexible Working Time On Employees' Work-Life Balance: A Case Study Of A Kitchenware Manufacturing Company, Panisra Turakijkajohn Jan 2019

The Impact Of Flexible Working Time On Employees' Work-Life Balance: A Case Study Of A Kitchenware Manufacturing Company, Panisra Turakijkajohn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study is to examine the effect of flexible working time on the employees’ work-life balance in case of a kitchenware manufacturing company in Bangkok by using data from 104 employees in a kitchenware manufacturing company in Bangkok during June 2020. The result shows that the perception on flexible working time has a positive and significant impact on the work -life balance of the employees. When classifying employees into two sub-groups by age, the perception on the flexibility of working time only has positive effect on work life balance of employees with age more than 30 years …


"ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับนโยบายสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจในกัมพูชา: ผลกระทบต่อความมั่นคงมนุษย์", ณัฐพล ยิ้มมาก Jan 2019

"ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับนโยบายสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจในกัมพูชา: ผลกระทบต่อความมั่นคงมนุษย์", ณัฐพล ยิ้มมาก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ชิ้นนี้มุ่งพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน การลงทุนด้านการเกษตรของบริษัทมิตรผลในกัมพูชา กับนโยบายสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจในกัมพูชา และวิเคราะห์ว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวส่งผลกระทบด้านความมั่นคงมนุษย์ต่อชาวกัมพูชาและประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านอย่างไร โดยสารนิพนธ์ชิ้นนี้ใช้กรอบสิทธิมนุษยชนด้านเศรษฐกิจและการเมืองในฐานะปัจจัยสำคัญสำหรับการส่งเสริมความมั่นคงมนุษย์ในการวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นนโยบายที่อำนวยความสะดวกและสร้างโอกาสให้แก่กลุ่มทุนภาคการเกษตรภายในภูมิภาคให้เข้าไปลงทุนและขยายฐานการผลิตในประเทศเพื่อนบ้าน โดยกลุ่มทุนภาคการเกษตรของไทยในกรณีนี้คือบริษัทมิตรผล ซึ่งมีศักยภาพสูง และมีความได้เปรียบเชิงเศรษฐกิจมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน จึงขยายการลงทุนและการผลิตอ้อยและน้ำตาลเข้าไปในกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ในส่วนของรัฐบาลกัมพูชาต้องการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ โดยใช้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้ประกาศโครงการสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจเพื่อดึงดูดธุรกิจด้านการเกษตรให้เข้ามาลงทุนในกัมพูชา ซึ่งหมายถึงการขยายตัวของการเช่าพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อดำเนินโครงการเพาะปลูกพืชและทำอุตสาหกรรมเกษตร แต่กระบวนการดังกล่าวกลับสร้างผลกระทบด้านความมั่นคงมนุษย์ เกิดการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนจากปัญหาการแย่งยึดที่ดิน ด้วยวิธีการบังคับขับไล่ชาวบ้านจากที่ดิน และการใช้ความรุนแรง ทั้งยังทำให้เกิดปัญหามลภาวะหมอกควันข้ามพรมแดน ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงมนุษย์ด้านสิ่งแวดล้อมภายในภูมิภาค ปรากฎการณ์ดังกล่าวนี้ขัดแย้งกับนโยบายของอาเซียนที่ระบุว่าจะมุ่งส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชน การพัฒนาที่ยั่งยืน และปกป้องสิ่งแวดล้อม ||รัฐศาสตรมหาบัณฑิต


ตำรวจกับอาชญากรรมข้ามชาติ: ข้อเสนอเพื่อปรับปรุงมาตรการของตำรวจในการจัดการกับปัญหาการสวมบัตรประชาชนและผู้เข้าเมืองผิดกฎหมายในประเทศไทย, เกียรติศักดิ์ เพชรพิมานสมุทร Jan 2019

ตำรวจกับอาชญากรรมข้ามชาติ: ข้อเสนอเพื่อปรับปรุงมาตรการของตำรวจในการจัดการกับปัญหาการสวมบัตรประชาชนและผู้เข้าเมืองผิดกฎหมายในประเทศไทย, เกียรติศักดิ์ เพชรพิมานสมุทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางสำหรับสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการพัฒนา ระบบการประสานงานเพื่อจัดการปัญหาการสวมบัตรประชาชนและผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย อันเป็นหนึ่งในปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในของไทย และลักษณะของปัญหามีความซับซ้อนสูง สารนิพนธ์คำนึงถึงทั้งกระบวนการต้นทางของปัญหาความมั่นคงภายในดังกล่าว คือการที่กลุ่มอาชญากรรมใช้ช่องว่างทางกฎหมายและการทุจริตเพื่อลักลอบสวมบัตรประชาชน และในขั้นปลายทาง ทั้งที่เป็นผู้ใช้ประโยชน์จากการสวมบัตรและการลักลอบเข้าเมือง ได้แก่ ผู้ดำเนินธุรกิจผิดกฎหมายและกลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติ และผู้ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มอาชญากรรมดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินการของรัฐในการป้องกัน สืบสวน และปราบปราม ผู้กระทำความผิดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการกับปัญหาในลักษณะเช่นนี้ต้องอาศัยการกำหนดมาตรการในการปฏิบัติและการประสานงานสำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งไม่สามารถเป็นผู้รับผิดชอบเพียงลำพังได้ การศึกษาทั้งจากเอกสารคู่มือปฏิบัติงาน และการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง สารนิพนธ์มีข้อเสนอว่า เครื่องมือที่จะช่วยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปรับการจัดการปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติดังกล่าวได้อย่างสมเหตุสมผลและมีประสิทธิภาพมากขึ้นคือการพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นมาตรฐาน โดยยึดแนวทางสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ หนึ่ง การสร้างมาตรฐานการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน (Standard Operating Procedures: SOPs) เกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันปราบปรามและสืบสวนสอบสวน และ สอง การกำหนดแนวทางบูรณาการประสานความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (Inter- agency coordination) ในทุกขั้นตอน ประโยชน์ของคู่มือนี้นอกจากจะช่วยสำนักงานตำรวจแห่งชาติหลีกเลี่ยงการเมืองในระบบราชการอันเกิดจากปัญหาข้อขัดแย้งกับหน่วยงานของส่วนราชการอื่นเกี่ยวกับภารกิจหน้าที่และงบประมาณทรัพยากรแล้ว คู่มือดังกล่าวยังเป็นเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของส่วนงานราชการไทย ที่มีหน้าที่ดูแลปัญหาความมั่นคงข้ามชาติเพื่อรับมือกับปัญหาได้ในระยะยาว รวมถึงสามารถพัฒนาปรับปรุงต่อไปตามบริบทความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคตด้วย


การปรับเปลี่ยนมุมมองของอินเดียต่อโครงการขุดคลองไทย, เนตรทราย อ่วมงามอาจ Jan 2019

การปรับเปลี่ยนมุมมองของอินเดียต่อโครงการขุดคลองไทย, เนตรทราย อ่วมงามอาจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการปรับเปลี่ยนมุมมองของอินเดียต่อโครงการขุดคลองไทย โดยวิเคราะห์การปรับเปลี่ยนมุมมองของอินเดีย ประวัติความขัดแย้งระหว่างจีนกับอินเดียที่กระทบต่อความมั่นคง รวมไปถึงเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติของอินเดียผ่านมิติโครงการขุดคลองไทย โดยมีปัจจัยหลัก กล่าวคือบริบทใหม่ที่จีนเข้ามามีอิทธิพลในประเทศเพื่อนบ้านของอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของอินเดีย คือ บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ผ่านยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 โดยโครงการขุดคลองไทยเป็นหนึ่งในความคาดหวังของจีนที่พยายามผลักดันให้เป็นระเบียงเศรษฐกิจภาคพื้นทะเล การดำเนินการเชิงรุกของจีน รวมถึงท่าทีที่คลุมเครือของไทยและจีนในการดำเนินการโครงการนี้ การปล่อยกู้ การสนับสนุนเงินในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่มีข้อผูกมัดหากไม่เป็นไปตามข้อตกลง จีนจะดำเนินการเจรจาและควบคุมดูแลโครงการนั้นเอง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้อินเดียกังวลและปรับเปลี่ยนมุมมองต่อโครงการขุดคลองไทย ที่อาจจะส่งผลต่อความเสถียรภาพในภูมิภาค ความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งชาติของอินเดีย


“ผู้หญิงกับการก่อการร้าย” กรณีศึกษาการก่อการร้ายของสตรีมุสลิมกลุ่มแม่หม้ายดำในสาธารณรัฐเชเชนผ่านทฤษฎีสตรีนิยม, ปฐมพร ผิวนวล Jan 2019

“ผู้หญิงกับการก่อการร้าย” กรณีศึกษาการก่อการร้ายของสตรีมุสลิมกลุ่มแม่หม้ายดำในสาธารณรัฐเชเชนผ่านทฤษฎีสตรีนิยม, ปฐมพร ผิวนวล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในขณะที่การศึกษาเรื่องการก่อร้ายมักปรากฏภาพผู้ชายเป็นตัวแสดงหลักในฐานะผู้นำกองกำลังและผู้ปฏิบัติการ กรณีศึกษานี้ต้องการนำเสนอภาพของผู้หญิงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาเรื่องการก่อการร้าย โดยเฉพาะกรณีมือระเบิดพลีชีพสตรีมุสลิมกลุ่มแม่หม้ายดำ (Black widow) ในสาธารณรัฐเชเชน สหพันธรัฐรัสเซีย เพื่อค้นหาคำอธิบายถึงการพลิกบทบาทจากเหยื่อของสงครามมาสู่การเป็นผู้ก่อเหตุความรุนแรง ผ่านกรอบทฤษฎีสตรีนิยมหลังอาณานิคม (Post Colonial Feminism) ที่ผู้เขียนเชื่อว่าสามารถนำมาใช้ทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมในระดับท้องถิ่น และอธิบายถึงการโต้กลับความรุนแรงเชิงโครงสร้าง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะสงครามและการดำรงอยู่ของระบอบชายเป็นใหญ่ในสังคมนอกจากนี้ ผู้เขียนยังต้องการสื่อให้เห็นถึงปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงสถานะของผู้หญิงในพื้นที่ความขัดแย้งต่างๆ ทั่วโลกที่มีแนวโน้มพลิกบทบาทมาเป็นผู้ก่อการร้ายมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า การใช้ความรุนแรงของรัฐบาลในการปราบปรามชนกลุ่มน้อย กลุ่มแบ่งแยกดินแดน ตลอดจนผู้เห็นต่างทางการเมืองนั้น อาจนำมาสู่การโต้กลับความรุนแรงไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง และสามารถยกระดับเป็นปัญหาก่อการร้าย ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทั้งระดับภายในรัฐและระดับระหว่างประเทศได้ ด้วยมีความมุ่งหวังอย่างแรงกล้าว่า สารนิพนธ์ฉบับนี้จะสามารถสร้างความตระหนักให้แก่ภาครัฐหรือหน่วยงานความมั่นคงหันกลับมาพิจารณาทบทวนแนวทางการใช้มาตรการรุนแรงกับประชาชนได้ไม่มากก็น้อย