Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Applied Environmental Research

2023

Articles 1 - 12 of 12

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

ประสิทธิภาพของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจากกากขี้แป้งของโรงงานน้ำยางข้นในการกำจัดตะกั่วและปรอทในน้ำเสียสังเคราะห์, ธเรศ ศรีสถิตย์, ปนัดดา คำรัตน์, วรรธนา วงษ์สุด Jul 2023

ประสิทธิภาพของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจากกากขี้แป้งของโรงงานน้ำยางข้นในการกำจัดตะกั่วและปรอทในน้ำเสียสังเคราะห์, ธเรศ ศรีสถิตย์, ปนัดดา คำรัตน์, วรรธนา วงษ์สุด

Applied Environmental Research

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในของเสีย คือ การนำกากขี้แป้งจากโรงงานน้ำยางข้น มาเป็น วัตถุดิบในการผลิตเป็นถ่านกัมมันต์ โดยได้ศึกษาประสิทธิภาพของการกำจัดตะกั่วและปรอทในน้ำเสียสังเคราะห์ เปรียบเทียบระหว่างถ่านกัมมันต์ที่จำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปกับถ่านกัมมันต์ที่ผลิตจากกากขี้แป้งที่ใช้เกลือแกงเป็นสารกระตุ้น และทำการล้างสารกระตุ้นด้วยกรดไฮโดรคลอริค 5% เมื่อนำไปศึกษาลักษณะทางกายภาพ พบว่าถ่านขี้แป้งมีค่าไอโอดีนนัมเบอร์ 510 มิลลิกรัมไอโอดีนต่อกรัม ถ่านกัมมันต์ และมีพื้นที่ผิว 566.39 ตารางเมตรต่อกรัม จากนั้นได้ทำการทดลองแบบแบตซ์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดูดติดผิวตะกั่วและปรอท ได้แก่ พีเอช ความเข้มข้นของโลหะหนัก และปริมาณถ่าน โดยใช้การทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟรุนดลิช พบว่า ที่พีเอช 4 และความเข้มข้น 10 มิลลิกรัม/ลิตร มีเปอร์เซ็นต์การกำจัดตะกั่วและปรอทดีที่สุด จากการทดสอบไอโซเทอม การดูดติดผิวแบบฟรุนดลิชโดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์แสดงให้เห็นว่าถ่านกัมมันต์ที่ผลิตจากกากขี้แป้งมีความสามารถในการดูดติดผิวตะกั่วและปรอทได้ 116.18 และ 18.78 มิลลิกรัมต่อกรัมถ่านกัมมันต์ตามลำดับ และถ่านกัมมันต์ที่จำหน่าย ทั่วไป มีความสามารถในการดูดติดผิวตะกั่วและปรอทได้11.07 และ 98.85 มิลลิกรัมต่อกรัมถ่านกัมมันต์ ตามลำดับ การทดสอบแบบต่อเนื่องในคอลัมน์ได้ใช้ถ่านขี้แป้งที่มีดินเหนียวเป็นวัสดุเชื่อมประสาน และทำการป้อนนำเสียอย่างต่อเนื่องแบบไหลลง ด้วยอัตราการไหล 3 แกลลอน/(นาที-ลูกบาศก์ฟุต) พบว่าถ่านกัมมันต์ที่ชั้นความสูง 30, 60, 90 และ 120 เซนติเมตร สามารถบำบัดตะกั่วในน้ำเสียได้ 5865.58, 3910.39, 3909.50 และ 3054.47 BV ตามลำดับ และสามารถบำบัดปรอทได้ 28.87, 16.04, 11.76 และ 9.62 BV ตามลำดับ จากผลการทดลองแบบฟรุนดลิชและแบบต่อเนื่องแสดงให้เห็นว่ากัมมันต์ที่ผลิตจากกากขี้แป้งมีความเหมาะสมในการกำจัดตะกั่วมากกว่าปรอท


การพัฒนาระบบร่วม Bpac-Sbr สำหรับการลดสีและสารอินทรีย์ ในน้ำชะมูลฝอย, ชวลิต รัตนธรรมสกุล, จตุพร วงษ์จาด Jul 2023

การพัฒนาระบบร่วม Bpac-Sbr สำหรับการลดสีและสารอินทรีย์ ในน้ำชะมูลฝอย, ชวลิต รัตนธรรมสกุล, จตุพร วงษ์จาด

Applied Environmental Research

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบร่วม BPAC-SBR (Combined Biological Powder Activated Carbon-Sequencing Batch Reactor) สำหรับการลดสีและสารอินทรีย์ในน้ำชะมูลฝอยด้วยน้ำเสียที่ใช้เป็นน้ำเสียจากกองฝังกลบขยะมูลฝอยที่กำแพงแสนโดยควบคุมความเข้มข้นซีโอดีเข้าระบบเท่ากับ 1,000 มก./ล. หรือคิดเป็นค่าอัตราภาระบรรทุกซีโอดี 0.571 กก./ลบ.ม.-วัน ความเข้มสีเท่ากับ 170.7 Su ทั้งนี้ศึกษาถึงผลของชนิดและปริมาณผงถ่านกัมมันต์ที่ความเข้มข้นต่างๆ และ อายุสลัดจ์ของระบบที่ 20 และ 30 วัน จากผลการศึกษาพบว่าระบบที่เติมผงถ่านกัมมันต์ชนิด PL-75 ด้วยความเข้มข้น 20 ก./ล. และอายุสลัดจ์ของระบบที่ 20 วัน สามารถกำจัดซีโอดี และสีได้ สูงถึง75.6และ 75.4% ตามลำดับสำหรับกลไกการบำบัดน้ำเสียของระบบส่วนใหญ่เกิดจากการดูดติดผิวร่วมกับปฏิกิริยาชีวเคมี ภายในถังปฏิกรณ์


การบำบัดโลหะในน้ำเสียจากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์คุณภาพน้ำด้วยชานอ้อย, กนกพร โกษะโยธิน, จำลอง อรุณเลิศอารีย์, รอัจฉราพร สังข์เพชร, ภัทรา ปัญญาวัฒนกิจ Jul 2023

การบำบัดโลหะในน้ำเสียจากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์คุณภาพน้ำด้วยชานอ้อย, กนกพร โกษะโยธิน, จำลอง อรุณเลิศอารีย์, รอัจฉราพร สังข์เพชร, ภัทรา ปัญญาวัฒนกิจ

Applied Environmental Research

การศึกษาการบำบัดโลหะในน้ำเสียจากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์คุณภาพน้ำด้วยชานอ้อย มีวัตถุประสงค์ในการ ศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับ สภาวะที่เหมาะสม และค่าใช้จ่ายในการบำบัด ซึ่งโลหะที่ปนเปื้อนในน้ำเสีย ได้แก่ โครเมียม, แมกนีเซียม, เหล็ก, แมงกานีส, แคดเมียม, เงิน และปรอท ทำการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Inductively Coupled Plasma (ICP) และ Mercury Analyzer และทำการทดสอบนัยสำคัญของข้อมูลด้วยวิธี Turkey's Honesty Significant Difference (HSD) ที่ความเชื่อมั่น 95% (p < 0.05) จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดโลหะ ได้แก่ พีเอช 9 ปริมาณชานอ้อย 25 กรัมต่อลิตร และระยะเวลาในการสัมผัส 90 นาที กลุ่มชานอ้อยที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดสูงที่สุด คือ ชานอ้อยที่ ปรับสภาพ ขนาด 0.045-1.00 มม. และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) จากชานอ้อยกลุ่มอื่นๆ ซึ่งความเข้มข้นของโลหะภายหลังจากการบำบัดในสภาวะที่เหมาะสม ได้แก่ แคดเมียม 0.021 มก./ลิตร, โครเมียม 0.053 มก./ลิตร, เหล็ก 0.078 มก./ลิตร, ปรอท 3.010 มก./ลิตร, แมกนีเซียม 35.920 มก./ลิตร, แมงกานีส 77.100 มก./ลิตร และเงินไม่สามารถตรวจวัดได้


การเตรียมโคแอกกูแลนต์จากกากของเสียอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสีย, ธเรศ ศรีสถิตย์, พิงอร วิลวงษ์, มนต์ชัย ตระกูลหวังวีระ Jul 2023

การเตรียมโคแอกกูแลนต์จากกากของเสียอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสีย, ธเรศ ศรีสถิตย์, พิงอร วิลวงษ์, มนต์ชัย ตระกูลหวังวีระ

Applied Environmental Research

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสามารถในการเป็นสารสร้างตะกอน (Coagulant) และสารช่วยสร้างตะกอน (Coagulant aid) ของกากของเสียอุตสาหกรรมเพื่อนำกากของเลียมาใช้ในการบำบัดน้ำเสียโดยมีการทดลองนำกากของเสียอุตสาหกรรม 4 ชนิด ได้แก่เถ้าลอย, เศษยางพาราของโรงงานผลิตน้ำยางข้น,กากของเสียจากอุตสาหกรรมทำ กาวยางและกากตะกอนจากระบบทำน้ำประปา ทั้งนี้ได้ทำการวิเคราะห์คุณสมบัติพื้นฐานทางกายภาพและเคมี,การวัดประจุของสารช่วยตกตะกอน และทำการประเมินความสามารถในการเป็นสารตกตะกอนและสารช่วยตกตะกอนเทียบ กับการใช้สารส้มเพียงอย่างเดียว ผลการทดลองพบว่าคุณสมบัติของกากของเสียอุตสาหกรรมที่นำมาทำการวิเคราะห์มีประจุเป็นลบ จึงเหมาะกับการเป็นสารตกตะกอนร่วมกับสารส้มในการทดลองใช้กากของเสียอุตสาหกรรมเป็นโคแอกกูแลนด์นั้นพบว่าสามารถกำจัดความขุ่นได้ดีในช่วง 100-200 NTU ส่วนที่ความขุ่น 300 NTU ประสิทธิภาพในการกำจัดความขุ่นจะลดลง สำหรับประสิทธิภาพในการกำจัดความขุ่นเมื่อใช้กากของเสียอุตสาหกรรมมาเป็นโคแอกกูแลนด์นั้น มีอยู่ในช่วงร้อยละ 30-85 ที่ pH 6-8 และเมื่อนำกากของเสียอุตสาหกรรมไปตกตะกอนร่วมกับสารส้ม พบว่าประสิทธิภาพในกำจัดความขุ่นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการใช้สารส้มเพียงอย่างเดียว ความสามารถในการลดความขุ่นของกากของเสียอุตสาหกรรมแต่ละชนิด แตกต่างกัน โดยเถ้าลอย,กากของเสียจากอุตสาหกรรมทำกาวยาง และกากตะกอนจากระบบทำน้ำประปามีค่าประสิทธิภาพในการลดความขุ่นลงได้ร้อยละ 98.5,97.5 และ 96.5 ตามลำดับ สำหรับเศษยางพาราของโรงงานผลิตน้ำยางข้นไม่เหมาะในการใช้เป็นสารตกตะกอนเนื่องจากฟล้อคไม่แข็งแรง สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดทำสารโคแอกกูแลนด์จากกากของเสียอุตสาหกรรมคิดเป็น 2.5 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนสารส้มคิดในราคา 6 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้นการนำกากของเสียอุตสาหกรรมมาช่วยสร้างตะกอน จึงมีราคาถูกกว่าการใช้สารส้มทั้งหมด และสำหรับเถ้าลอยนั้นไม่มีค่าใช้จ่ายในการจัดทำ จึงควรพิจารณามาใช้เป็นสารช่วยสร้าง ตะกอนร่วมกับการสารส้มในการบำบัดน้ำเสีย.


การบำบัดน้ำเสียฟาร์มสุกรโดยบึงประดิษฐ์, พิจิตรา ชโยปถัมภ์ Jul 2023

การบำบัดน้ำเสียฟาร์มสุกรโดยบึงประดิษฐ์, พิจิตรา ชโยปถัมภ์

Applied Environmental Research

การวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเพื่อหาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียฟาร์มสุกรโดยบึงประดิษฐ์ และเพื่อหาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์การกำจัด BOD ของบึงประดิษฐ์โดยใช้น้ำเสียฟาร์มสุกรที่ผ่านการบำบัดขั้นด้นจากบ่อผึ่ง และ ได้ทำการศึกษาบึงประดิษฐ์โดยใช้พืช 2 ชนิด คือ กกกลม (Cyperus corymbosus Rottb.) และ ธูปฤาษี (Typha angustifolia Linn.) ที่เวลากักพัก ชลศาสตร์ 4-27 วัน ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพการกำจัด COD และ BOD อยู่ในช่วง 64-92% TSS อยู่ในช่วง 70-97% TKN อยู่ในช่วง 72-96% NO3N อยู่ในช่วง 47-83% TP อยู่ในช่วง 39-81% และ Total Coliform Bacteria อยู่ในช่วง 52-85% สำหรับแบบจำลองทางคณิตศาสตร์การกำจัด BOD ของบึง ประดิษฐ์คือ Ce/C0 = Fxp(-0.7KTAv 1.75t) ซึ่งจากการวิจัยได้ค่าคงที่ F ของบึงประดิษฐ์กกลมและบึงประดิษฐ์ธูปฤาษีเท่ากับ 0.463 และ 0.566 ตามลำดับ และค่า KT ของบึงประดิษฐ์กกกลมและบึงประดิษฐ์ธูปฤาษีเท่ากับ 0.00012 และ 0.00020 ตามลำดับ โดยสามารถใช้ค่าคงที่ดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อบึงประดิษฐ์มีเวลากักพักชลศาสตร์อยู่ในช่วง 4-27 วัน คำสำคัญ : บึงประดิษฐ์ การบำบัดน้ำเสียฟาร์มสุกร, แบบจำลองทางคณิตศาสตร์การกำจัด BOD


อิทธิพลของความเค็มและอัตราการรับน้ำเสียต่อการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม, นิสา แก้วแถมทอง, สุวันชัย นิติศรวุฒิ Jul 2023

อิทธิพลของความเค็มและอัตราการรับน้ำเสียต่อการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม, นิสา แก้วแถมทอง, สุวันชัย นิติศรวุฒิ

Applied Environmental Research

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงอิทธิพลของความเค็มและอัตราการรับน้ำเสียเข้าระบบบำบัดน้ำเสียแบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียมต่อการปลดปล่อยก๊าซมีเทน โดยใช้ความเค็มในรูปของค่าการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity) สูงถึงระดับ 16 dS/m. และควบคุมระยะเวลาของน้ำเสียให้อยู่ในระบบบำบัด 2-5 วัน ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของการปลดปล่อยก๊าซมีเทน มีค่าอยู่ในช่วง 4.0-75.7 มก./ตร.ม./ชม. ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซมีเทนลดลง 40-50% เมื่อน้ำเสียมีความเค็ม 16 dS/m. เนื่องจากความเค็มยับยั้งกิจกรรมของแบคทีเรียและการเจริญเติบโตของพืชนอกจากนี้ยังพบว่าบริเวณที่อยู่ใกล้กับตำแหน่งที่ปล่อยน้ำเสียเข้าสู่ระบบจะมีการปลดปล่อยก๊าซมีเทนที่สูงกว่า ทั้งนี้เนื่องจากมีปริมาณสารอินทรีย์สะสมอยู่ในบริเวณดังกล่าวมากกว่า อย่างไรก็ตาม การเพิ่มปริมาณสารอินทรีย์ลงในน้ำเสียจะไม่ส่งผลให้มีการปลดปล่อยก๊าชมีเทนที่สูงขึ้นในช่วงเวลากลางวัน เนื่องจากน้ำเสียในระบบมีความลึกไม่มากนักประกอบกับการเกิดกระบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งส่งผล ให้เกิดสภาวะ aerobic ในบริเวณชั้นน้ำ


ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น : แบบแผนและสถานการณ์ปัจจุบัน, สุชนา เชาวนิชย์ Jul 2023

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น : แบบแผนและสถานการณ์ปัจจุบัน, สุชนา เชาวนิชย์

Applied Environmental Research

นักวิทยาศาสตร์ได้มีการตระหนักถึงการรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในระบบนิเวศบนบกมาช้านาน แต่เมื่อไม่นานมานี้ที่ได้มีการพบถึงผลกระทบของชนิดพันธุต่างถิ่นที่มีต่อระบบนิเวศทางน้ำ การรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นมีผลกระทบอย่างมากต่อระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และสุขภาพของมนุษย์ การนำชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเข้ามาในระบบนิเวศมีได้ 10 รูปแบบ แต่อย่างไรก็ตามชนิดพันธุ์ต่างถิ่นส่วนมากจะถูกนำเข้ามาโดยน้ำอับเถาในเรือส่งสินค้าต่างประเทศขนาดใหญ่ ชนิดพันธุ์ ต่างถิ่นจะสามารถคุกคามต่อระบบนิเวศใหม่ได้สำเร็จนั้นก็ต่อเมื่อชนิดพันธุ์ต่างถิ่นสามารถแพร่กระจายในสิงแวดล้อมใหม่ได้ ปัจจัยที่ส่งเสริมการรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นมีหลายอย่างประกอบกัน แต่สิ่งที่สำคัญคือ เมล็ดพันธุ์ของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่เข้ามา ที่อยู่อาศัยใหม่ที่เหมาะสม และความสำเร็จของการรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในที่ต่างๆ Global Invasive Species โปรแกรม ได้พัฒนาแนวทาง 10 รูปแบบ สำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาชนิดพันธุ์ต่างถิ่น แนวทางนี้ควรที่จะมีการปฏิบัติทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ


ศักยภาพของเถ้าลอยลิกไนต์ในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว, อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ, ธวิโรจน์ ตันนูกิจ, กนกพร ชัยวุฒิกุล Jan 2023

ศักยภาพของเถ้าลอยลิกไนต์ในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว, อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ, ธวิโรจน์ ตันนูกิจ, กนกพร ชัยวุฒิกุล

Applied Environmental Research

เถ้าลอยลิกไนต์จากโรงงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 10.25 ซึ่งจัดว่าเป็นวัสดุที่มีความเป็นด่างจัดมาก และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.49-878 μm พบว่า มีอำนาจในการทำให้เป็น กลางต่ำมาก จึงไม่สามารถเป็นปูนทางการเกษตร (Agricultural lime) ที่แก้ปัญหาดินเปรี้ยวได้ และเมื่อศึกษาไนดินเหนียวและดินร่วน ทั้งในภาคสนาม และในห้องปฎิบัติการ ด้วยแผนการทดลอง แบบ Complete Randomized Design (CRD) ทำ 3 ซ้ำ พบว่า ความสามารถของเถ้าลอยลิกไนต์ในการยกระดับ pH ของดิน เพิ่มขึ้นตามอัตราเติมที่เพิ่มขึ้น แต่ที่อัตราเดิม 4 ตัน/ไร่ ในภาคสนามนั้น การเพิ่มขึ้นของ pH ดินเดิม (ดินเหนียวและดิน ร่วน) เมื่อเติมเถ้าลอยลิกไนต์มีน้อยกว่าการเติมปูนมาร์ลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้การเดิมเถ้าลอยลิกไนต์ ไม่มีผลทำ ให้ pH ของดินเดิมลดลงเหมือนปุ๋ยเคมี ในขณะเดียวกันกลับมีผลทำให้ pH ของดินเดิมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียว กับปุ๋ยหมัก ที่อัตราเดิม 2 ตัน/ไร่ ดังนั้นศักยภาพของเถ้าลอยลิกไนต์ในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว จึงมีขอบเขตเพียงยกระดับ pH ของดิน ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้กับดินและพืช โดยมีการจัดการดิน น้ำ พืช อย่างเหมาะสมร่วมด้วย


โครงการวิจัยเพื่อสร้างเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และเครื่องมือทางสังคมในการประเมินผลการอนุรักษ์พลังงาน, เสถียร รุจิรวนิช Jan 2023

โครงการวิจัยเพื่อสร้างเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และเครื่องมือทางสังคมในการประเมินผลการอนุรักษ์พลังงาน, เสถียร รุจิรวนิช

Applied Environmental Research

การศึกษาตามโครงการวิจัยเพื่อสร้างเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และเครื่องมือทางสังคมในการประเมินผล การอนุรักษ์พลังงาน มีความมุ่งหมายที่จะสร้างและประยุกต์ใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และเครื่องมือทางสังคมที่มี ประสิทธิภาพเหมาะสมมาประเมินผลการอนุรักษ์พลังงานในภาพย่อยและภาพรวมอย่างเป็นระบบ ซึ่งการประเมินผล กิจกรรม โครงการ และแผนงานต่าง ๆ ในครั้งนี้ ได้ดำเนินการศึกษาครอบคลุมถึงผลดำเนินการ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยพิจารณาในเชิงเทคนิคและการบริหารจัดการ ตลอดจนผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจสังคมและ สิ่งแวดล้อม ซึ่งเครื่องมือแต่ละประเภทมีหลักการและตัวชี้วัดที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ ตัวชี้วัดสามารถนำมาใช้วัดและอธิบาย ถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการอนุรักษ์พลังงานของกิจกรรมที่สนใจศึกษาได้ ผลจากการศึกษาวิจัยสามารถจำแนกเครื่องมือที่สร้างขึ้นออกเป็น 3 ประเภท โดยพิจารณาตามลักษณะของ กิจกรรมการใช้พลังงาน ได้แก่ เครื่องมือประเมินกิจกรรมการใช้พลังงานภาครัฐมุ่งเน้นสำหรับประเมินผลการอนุรักษ์ พลังงานในอาคารควบคุมของรัฐ เครื่องมือประเมินกิจกรรมการใช้พลังงานภาคเอกชนใช้สำหรับประเมินผลโครงการ 4 ประเภท คือ โครงการที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ลม และพลังงานประเภทอื่น โครงการลดต้นทุนการผลิตและลดผล กระทบสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน โครงการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร โรงงาน และบ้านที่อยู่อาศัย โครงการผลิต พลังงานอื่นทดแทนน้ำมันและลดผลกระทบทางลิงแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรมเกษตรและชุมชนส่วนเครื่องมือประเมิน กิจกรรมอื่น ๆ ที่สนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานใช้สำหรับประเมินผลโครงการ 3 ประเภท คือ การประเมินผลโครงการ ฝึกอบรมระยะสันของหลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และโครงการจัดการ เรียนการสอนในสถาบันการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน


การกำจัดตะกั่วและปรอทจากน้ำทิ้งอุตสาหกรรมสิ่งทอโดยใช้ถ่านกัมมันต์จากกะลามะพร้าวและกะลาปาล์ม, ธเรศ ศรีสถิตย์, สุจนีย์ คุ่ยเสงี่ยม Jan 2023

การกำจัดตะกั่วและปรอทจากน้ำทิ้งอุตสาหกรรมสิ่งทอโดยใช้ถ่านกัมมันต์จากกะลามะพร้าวและกะลาปาล์ม, ธเรศ ศรีสถิตย์, สุจนีย์ คุ่ยเสงี่ยม

Applied Environmental Research

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกำจัดตะกั่วและปรอทจากน้ำทิ้งอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยการเปรียบเทียบถ่านก้มมันต์ที่ผลิตจากกะลามะพร้าวและกะลาปาล์มที่ใช้โซเดียมคลอไรด์เป็นตัวกระตุ้นกับ ถ่านกัมมันต์ที่จำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป (Calgon Filtrasorb 300) ซึ่งได้ทำการทดสอบค่าไอโอดีนนัมเบอร์ ศึกษา ลักษณะทางกายภาพ การทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟรุนดลิช ผลการทดลองพบว่าถ่านกัมมันต์ที่ผลิตจากกะลามะพร้าว มีค่าไอโอดีน 532.29 มิลลิกรัมต่อกรัม พื้นที่ผิว 492.42 ตารางเมตรต่อกรัม การทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟลุนดลิชโดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์พบว่า สามารถดูดซับตะกั่ว และปรอท ได้ 8.37 และ 5.52 มิลลิกรัมต่อกรัม ส่วนการทดสอบการดูดซับโดยใช้กังดูดซับแบบแท่งดูดซับน้ำทิ้งจากโรงงานสิ่งทอ สามารถดูดซับตะกั่วได้ 2.45, 2.57, 2.69 และ 2.81 มิลลิกรัม/กรัม และดูดซับปรอทได้ 2.21, 2.45, 2.45 และ 2.70 มิลลิกรัม/กรัม ที่ระดับความสูง 30, 60, 90 และ 120 เซนติเมตร ที่ความเข้มข้นของตะกั่วและปรอทเริ่มต้น 9.82 และ 9.83 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ ส่วนถ่านกัมมันต์ที่ผลิตจากกะลาปาล์ม มีค่าไอโอดีน เท่ากับ 486.45 มิลลิกรัม ต่อกรัม มีพื้นที่ผิว 385.91 ตารางเมตรต่อกรัม การทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟลุนดลิชโดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ พบว่า สามารถดูดซับตะกั่วและปรอทได้ 2.53 และ 1.63 มิลลิกรัมต่อกรัม ซึ่งแสดงว่าถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจากกะลามะพร้าวมีคุณสมบัติดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจากกะลาปาล์ม เมื่อเปรียบเทียบกับถ่านกัมมันต์ ที่จำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป จึงมีค่าไอโอดีน 900 มิลลิกรัมต่อกรัม พื้นที่ผิว 1,000 ตารางเมตรต่อกรัม สามารถ ดูดซับตะกั่วและปรอทได้ 50.18 และ 19.95 มิลลิกรัมต่อกรัม การทดสอบการดูดซับโดยใช้ถังดูดซับแบบแท่งดูดซับน้ำทิ้งจากโรงงานสิ่งทอ สามารถดูดซับตะกั่วได้ 3.83, 3.83, 3.75 และ 3.88 มิลลิกรัม/กรัม และดูดซับปรอทได้ 3.61, 3.83, 3.61 และ 3.72 มิลลิกรัม/กรัม ที่ระดับความสูง …


การพัฒนาระบบเอสามเอ็มบีอาร์สำหรับกำจัดธาตุอาหารทางชีวภาพ, ผชวลิต รัตนธรรมสกุล, ณัฐพันธ์ กลิ่นเกษร Jan 2023

การพัฒนาระบบเอสามเอ็มบีอาร์สำหรับกำจัดธาตุอาหารทางชีวภาพ, ผชวลิต รัตนธรรมสกุล, ณัฐพันธ์ กลิ่นเกษร

Applied Environmental Research

ระบบที่ใช้ศึกษาในงานวิจัยเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาซึ่งเรียกว่า Anoxic-Anaerobic-Aerobic Membrane Bioreactor ( A3MBR)โดยใช้ถังปฏิกิริยาขนาด 90 ลิตร แบ่งเป็น 3 ส่วนโดยแบ่งเป็น ส่วนแอนนอกซิก (Anoxic) ส่วนไร้ออกซิเจน (Anaerobic) และส่วนเติมออกซิเจน (Aerobic) โดยที่ส่วนเดิมออกซิเจนมีการติดตั้งชุดไมโครฟิลเตรชัน เมมเบรน ขนาดรูพรุน 0.4 ไมโครเมตร พื้นที่ผิว 0.3 ตารางเมตร ระบบมีการหมุนเวียนสลัดจ์จากส่วนเดิมออกซิเจน ไปยังส่วนแอนนอกซิก ด้วยอัตราคงที่ 5.0 ลิตรต่อชั่วโมง งานวิจัยแบ่งเป็น 2 ชุดการทดลองย่อย เปรียบเทียบอายุสลัดจ์ 2 ค่า (40 วัน และ 80 วัน ) น้ำเสียที่ใช้เป็นน้ำเสียสังเคราะห์ อัตราการป้อนน้ำเสียเฉลี่ย 96 ลิตรต่อวัน มีค่าซีโอดี ของนำเสียที่ป้อนเข้าระบบเฉลยเท่ากับ 320 มก./ล. ค่าฟอสฟอรัสพังหมดของน้ำเสียที่ป้อนเข้าระบบเฉลี่ยเท่าถัน 7.8 มก./ล. และค่าไนโตรเจน (ในรูปของทีเคเอ็น) ของน้ำเสียที่ป้อนเข้าระบบเฉลี่ยเท่ากับ 36 มก./ล. ผลการทดลอง ที่สภาวะคงตัว ( Steady state ) ของการทดลองพบว่า ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดดังนี้ ประสิทธิภาพในการ กำจัดซีโอดีสูงกว่า 98% ประสิทธิภาพในการกำจัดทีเคเอ็นสูงกว่า 96% อัตราการเกิดปฏิกิริยาไนติฟิเคชันจำเพาะสำหรับ ค่าอายุสลัดจ์ 40 วัน และ 80 วัน เท่ากับ 1.49 และ 1.39 มก.ทีเคเอ็น/ก.MLVSS-ชม. ตามสำคับ อัตราการเกิดปฏิกิริยา ดีไนตริฟิเคชันจำเพาะสำหรับค่าอายุสลัดจ์ 40 วัน และ 80 วัน เท่ากับ 0.68 และ 0.40 มก.NOx/ก.MLVSS-ชม. ตามลำดับ และประสิทธิภาพในการกำจัดฟอสฟอรัสมากกว่า …


การใช้พื้นที่บึงบอระเพ็ด, พักตร์วิมล เพียรล้ำเลิศ, ยงยุทธ จรรยารักษ์, กำธร ธีรคุปต์ Jan 2023

การใช้พื้นที่บึงบอระเพ็ด, พักตร์วิมล เพียรล้ำเลิศ, ยงยุทธ จรรยารักษ์, กำธร ธีรคุปต์

Applied Environmental Research

การศึกษาการใช้พื้นที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ บึงบอระเพ็ดโดยการแปลภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหารที่ได้บันทึกไว้ในเดือน ธันวาคม 2495, พฤษภาคม 2510, มกราคม 2534 และ พฤศจิกายน 2538 ผลการศึกษา มีดังนี้
พื้นที่บึงบอระเพ็ดเดิมมีขนาด 250,000 ไร่ ปัจจุบัน 132,737 ไร่ ที่เป็นเช่นนี้น่าจะเป็นเพราะมีการนำระบบ ชลประทานเข้ามาใช้ในประเทศไทย สำหรับพื้นที่บึงในปัจจุบัน ประกอบด้วย 2 ส่วน พื้นที่ส่วนที่เป็น "พื้นน้ำเปิด" ในฤดูแล้งพื้นน้ำเปิดมีขนาดเพียง 20,000-26,000 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่บึงทั้งหมด เหตุผล เนื่องจากถนน ที่สร้างกีดขวางระบบทางน้ำธรรมชาติที่ไหลเข้าบึง กับพื้นที่ส่วนที่เป็น "พื้นที่ธรรมชาติขอบบึง" ซึ่งพื้นที่นี้ส่วนหนึ่ง ถูกนำ ไปใช้ประโยชน์และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2538 พบว่ามีพื้นที่บึงที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ 84,604 ไร่ หรือประมาณ ร้อยละ 64 ของพื้นที่บึงทั้งหมด
ความยั่งยืนของบึง นอกจากขึ้นอยู่กับการควบคุมมิให้มีการใช้พื้นที่บึงเพิ่มขึ้นแล้ว ยังขึ้นอยู่กับการกำหนด เป้าหมายให้บึงบอระเพ็ด "เป็นแหล่งเพิ่มผลผลิตทางการประมง" หรือเป็น "เขตรักษาพืชพันธุสัตว์น้ำ" ซึ่งในที่นี้อาจจะ หมายถึง "พื้นที่ชุ่มน้ำ" หรือ"พื้นที่สงวนชีวาลัย" เพราะถ้าเป็นแบบหลัง หลายหน่วยงานที่เข้ามาใช้ประโยชน์ในบึงโดย มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน จะได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบึงให้ไปในทิศทางเดียวกัน