Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 232

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

Acculturation Strategies Of The Recent Wave Of Indonesian Migrants In Thailand, Muhammad Zamal Nasution, Rosalia Sciortino, Sakkarin Niyomsilpa, Sureeporn Punpuing Aug 2022

Acculturation Strategies Of The Recent Wave Of Indonesian Migrants In Thailand, Muhammad Zamal Nasution, Rosalia Sciortino, Sakkarin Niyomsilpa, Sureeporn Punpuing

Journal of Health Research

Background: The rapid increase of Indonesian migrants to Thailand in the last two decades due to greater regional integration, transport connectivity, and internationalization of education. Different religion, socio-culture, and other sociodemographic factors might affect their adaptation to the Thai society.

Method: A mixed-method design was employed for data collection. The quantitative data were derived from an online survey of 268 respondents, while the qualitative data came from literature review, in-depth interviews, focus group discussion, and direct observation.

Results: Indonesian migrants tended to opt for an integration strategy and to a lesser extent a separation strategy, with assimilation and marginalization ranking …


พลวัตของกฎบัตรความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นจากทศวรรษ1990 ถึงต้นทศวรรษ 2020, พิมพ์ชนก บุญมิ่ง Jan 2022

พลวัตของกฎบัตรความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นจากทศวรรษ1990 ถึงต้นทศวรรษ 2020, พิมพ์ชนก บุญมิ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงของโลก หากแต่ญี่ปุ่นพึ่งพิงทรัพยากรจากประเทศกำลังพัฒนาซึ่งสร้างปัญหาความแตกต่างทางรายได้ในโลก ญี่ปุ่นจึงต้องแสดงความรับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) ตามข้อตกลงของประชาคมนานาชาติเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในประเทศกำลังพัฒนา ทว่าการให้ความช่วยเหลือไม่ใช่การให้เปล่าโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทนแต่แท้จริงแล้วคาดหวังสิ่งแลกเปลี่ยนบางประการ ดังนั้นญี่ปุ่นจึงถูกประชาคมนานาชาติกล่าวหาว่าญี่ปุ่นอาศัยการให้ ODA ในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของตนเอง ทั้งนี้องค์การระหว่างประเทศเป็นผู้ส่งเสริมบรรทัดฐานสากลผ่านการประกาศเป้าหมายการพัฒนาให้ประชาคมนานาชาตินำไปปรับใช้เป็นแกนหลักนโยบาย ญี่ปุ่นจึงต้องโอบรับบรรทัดฐานสากลนั้นมาปรับให้เข้ากับหลักการท้องถิ่นเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์และรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ อันนำมาสู่คำถามวิจัยที่ว่า ปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อการบัญญัติกฎบัตรความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นในแต่ละช่วงเวลา โดยอาศัยกระบวนการผสมผสานบรรทัดฐานสากลให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานท้องถิ่น ในกรอบแนวคิดประดิษฐกรรมทางสังคมเพื่อศึกษาบรรทัดฐานซึ่งแพร่กระจายไปสู่อีกที่หนึ่งได้เพราะผู้นำของรัฐเห็นผลประโยชน์บางประการจึงเกิดเป็นกระบวนการโอบรับบรรทัดฐานใหม่ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้กำหนดขอบเขตของเวลาโดยเริ่มต้นที่การบัญญัติกฎบัตร ODA ฉบับแรกในทศวรรษ 1990 ถึงการบัญญัติกฎบัตร ODA ฉบับล่าสุดในต้นทศวรรษ 2020 เพื่อศึกษาพลวัตที่มีอิทธิพลต่อกฎบัตร ODA ของญี่ปุ่นเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์แห่งชาติของญี่ปุ่นในแต่ละช่วงเวลา


ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในระดับพื้นที่ กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์, จุฑารัตน์ ยกถาวร Jan 2022

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในระดับพื้นที่ กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์, จุฑารัตน์ ยกถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ และเพื่อนำเสนอแนวทางส่งเสริมการขับเคลื่อนโครงการในจังหวัดนครสวรรค์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเชิงเอกสาร และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับการโครงการในจังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร คณะทำงานตลอดจนผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการจำนวน 29 ท่าน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แม้ว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาระบบบำนาญที่ยังไม่ครอบคลุมสำหรับแรงงานในทุกระบบ แต่การนำนโยบายไปปฏิบัติผ่านโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกองทุนการออมแห่งชาติและกระทรวงมหาดไทยเพื่อระดมหาจำนวนสมาชิกใหม่เข้าสู่กองทุน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าการดำเนินงานในจังหวัดนครสวรรค์มีสัดส่วนสมาชิกเมื่อเทียบกับจำนวนเป้าหมายมากที่สุดในประเทศไทย แต่ความสำเร็จดังกล่าวเป็นเพียงความสำเร็จหนึ่งในสองของวัตถุประสงค์โครงการเท่านั้น กล่าวคือการดำเนินงานในจังหวัดนครสวรรค์มีแนวคิดริเริ่มซึ่งสามารถเพิ่มจำนวนสมาชิกใหม่ได้ตามเป้าหมาย แต่ยังขาดการส่งเสริมการออมอย่างต่อเนื่องของสมาชิก ทั้งนี้ยังพบปัญหาต่าง ๆ ระหว่างการดำเนินการในแต่ละส่วน ได้แก่ ขาดการประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงกลุ่มผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกอย่างทั่วถึงรวมไปถึงผลตอบแทนยังไม่สามารถสร้างแรงจูงใจได้เท่าที่ควร เป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้นของผู้ปฏิบัติในระดับพื้นที่เนื่องจากวิธีการการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติใช้หลักการแบ่งบทบาท นอกจากนี้พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านความชัดเจนของนโยบาย 2) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร 3) ปัจจัยด้านสมรรถนะขององค์กร และ 4) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายไปปฏิบัติผ่านโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ ควรตระหนักถึงความสำคัญและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบาย รวมไปถึงข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


การนำนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ Bcg Model ไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา ศูนย์บริหารจัดการขยะรีไซเคิลชุมชน ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม, ญาณินท์ โพธิสว่าง Jan 2022

การนำนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ Bcg Model ไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา ศูนย์บริหารจัดการขยะรีไซเคิลชุมชน ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม, ญาณินท์ โพธิสว่าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการนำนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ BCG Model ไปปฏิบัติของศูนย์บริหารจัดการขยะรีไซเคิลชุมชน ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยอาศัยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model ไปปฏิบัติ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า นโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ BCG Model มีการดำเนินงานในรูปแบบการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน โดยมีเป้าหมายของนโยบาย คือ ใช้ทรัพยากรด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวในพื้นที่ เพื่อสร้างเศรษฐกิจให้ชุมชน มีการดำเนินงานโดยนำแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570 มาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ การนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จเกิดจาก 1) การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายจากระดับล่างขึ้นบน (Bottom up approach) 2) การบรรจุนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ BCG Model ไว้ในแผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนาท้องถิ่น 3) การมีโครงสร้างการทำงานแบบบูรณาการที่ยืดหยุ่น คล่องตัว 4) การสื่อสารร่วมกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน 5) บูรณาการทรัพยากรร่วมทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่มีส่วนร่วมในการนำนโยบายไปปฏิบัติ 6) สร้างการรับรู้นโยบายของบุคลากรที่นำนโยบายไปปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ 7) นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงาน 8) มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ


Climate Imaginaries And Human Mobility: Complicating Climate Mobility As Adaptation In Thailand, Clare Steiner Jan 2022

Climate Imaginaries And Human Mobility: Complicating Climate Mobility As Adaptation In Thailand, Clare Steiner

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

For centuries, agricultural households in Thailand have engaged in mobility to adapt to environmental change and climate shocks. However, current framings of “climate migration as adaptation” obscure how these adaptation pathways are constructed by existing power relations, leaving institutions liable to re-enforce inequality. This thesis uses the concept of “imaginaries” to de-construct how certain knowledge and values advance over others in the process of negotiating and acting towards a preferable future. It employs a dual methodological approach with a case study of Baan Non Daeng in Ubon Ratchathani, Thailand to analyze dominant imaginaries in Thailand and their function and limitations …


Unpacking Gender Inequality For Inclusive Development: A Case Study Of Myanmar Female Migrant Workers In Samut Sakhon Province, Thailand, Hsan Thawdar Htun Jan 2022

Unpacking Gender Inequality For Inclusive Development: A Case Study Of Myanmar Female Migrant Workers In Samut Sakhon Province, Thailand, Hsan Thawdar Htun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study aims to address the issue of gender inequality in Thailand's seafood industry, with a specific focus on Myanmar female migrant workers in Mahachai (Samut Sakhon province). Although women migrant workers play a significant role in Thailand's economy, they have been facing various challenges in low-wage industries. Gender inequality remains a prominent concern in these low-skilled labor-intensive workplaces like seafood industry. While there have been studies on migration that include both men and women or focus solely on women, gender has not received sufficient emphasis in understanding the experiences of female migrant workers, particularly in the seafood industry. This …


Poverty And Elderly Labor Supply In Thailand, Ruoshan Zhao Jan 2022

Poverty And Elderly Labor Supply In Thailand, Ruoshan Zhao

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aim of this study was to estimate the impact of poverty on elderly labor force participation and investigate the relationship between poverty and the intensity of work (i.e., working days). Labor supply by the elderly is increasingly one of the most concerning issues in developing countries. Based on studies on the elderly, researchers have made significant findings regarding the labor participation rates of older adults. However, there is a lack of research on the relationship between the labor force participation rate and poverty among the elderly in Thailand. This study used the probit regression model and Tobit regression model …


The Challenges Of Small And Medium Enterprises (Smes) In Tourism Sector : A Case Study Of Sihanoukville Province, Cambodia, Dena Seab Jan 2022

The Challenges Of Small And Medium Enterprises (Smes) In Tourism Sector : A Case Study Of Sihanoukville Province, Cambodia, Dena Seab

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to study the challenges of Small and Medium Enterprises (SMEs) in Tourism Sector in Sihanoukville of Cambodia. The author used a mix approach of quantitative and qualitative approach to answer and analyze the research objectives. For survey, the population of this study were chosen from 114 business owners or managers of SMEs in tourism sector mainly hotels, guesthouses, restaurants, massage parlors, tour agencies, tour operators, and transportation companies to answer the questionnaires . The quantitative method was applied using questionnaire. The quantitative data collected from the survey were analyzed by using SPSS 16. For qualitative approach, 2 …


Food Inflation During The Covid-19 Pandemic. A Comparison Between Brazilian And Thai Food Inflation During The Years 2020 And 2021., Lilian Cordeiro Prates Jan 2022

Food Inflation During The Covid-19 Pandemic. A Comparison Between Brazilian And Thai Food Inflation During The Years 2020 And 2021., Lilian Cordeiro Prates

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand and Brazil are two prominent net agro-exporters, and both countries were hit severely by the Pandemic of Covid-19. While Thailand's GDP decreased by 6.1% in 2020, the Brazilian economy shrank by 4.1%. Despite these similarities, during the acute phase of the pandemic, food prices in Brazil started to increase at an accelerated pace while, in Thailand, food prices remained low and stable. In 2020, the annual food inflation in Brazil was 14,11%, and Thailand's was 1.37%. Therefore, this study aims to contribute to the literature by filling the information gap about food inflation dynamics in those two countries during …


Social Enterprises: Relationship Between Economic Profits And Social Values, Pramon Karnchanapimonkul Jan 2022

Social Enterprises: Relationship Between Economic Profits And Social Values, Pramon Karnchanapimonkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Social enterprises emerge as a newer type of organization that that combines elements of for-profit and non-profit organizations, and are gaining recognition as a potential driver of sustainable development. Social enterprises typically have the economic and the social objective that may contradict each other to produce trade-offs, or reinforce each other to produce synergies. Hence, this research aims to determine whether there are trade-offs or synergies between the economic and the social objective of social enterprises in Thailand, and determine the micro, meso and macro level factors that influence the relationship between the objectives of social enterprises. This research performed …


ปัจจัยกำหนดการเข้าสู่การทำงาน รูปแบบการทำงาน และชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ในประเทศไทย, กนกนิษก์ ตัณฑ์กุลรัตน์ Jan 2022

ปัจจัยกำหนดการเข้าสู่การทำงาน รูปแบบการทำงาน และชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ในประเทศไทย, กนกนิษก์ ตัณฑ์กุลรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของเด็กอายุ 15-17 ปี ในประเทศไทยที่เข้าสู่การทำงาน รวมทั้ง รูปแบบการทำงานและชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ (เด็กอายุ 15-17 ปี ที่ทำงาน) นอกจากนี้ การวิจัยนี้ยังมุ่งศึกษาปัจจัยทางประชากรในครัวเรือนและลักษณะครัวเรือนที่ส่งผลต่อการเข้าสู่การทำงานของเด็ก ตลอดจน รูปแบบการทำงานและการทำงานในชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ ทั้งนี้ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานที่ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณจากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาส 3 พ.ศ. 2561 ที่จัดเก็บโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับแรงงานวัยเยาว์ จำนวน 27 คน ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า แรงงานวัยเยาว์ส่วนใหญ่ทำงานช่วยเหลือธุรกิจในครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าจ้าง รองลงมาคือการเป็นลูกจ้าง นอกจากนี้ ยังพบว่าแรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยมีสัดส่วนของการทำงานในชั่วโมงที่ยาวนานมากกว่าแรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานอย่างเดียว ส่วนปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเข้าสู่การทำงานในรูปแบบการทำงานอย่างเดียว ได้แก่ ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนและสมาชิกคนอื่นในครัวเรือนที่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป สถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือน ความเกี่ยวพันทางญาติกับหัวหน้าครัวเรือน การขาดการเอาใจใส่ด้านการศึกษาของผู้ปกครอง สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ได้เก่ การหารายได้ที่เพียงพอเพื่อเลี้ยงครอบครัว การเป็นลูกจ้าง และการขาดทักษะชีวิตในการจัดการเวลา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะหลัก 4 ประการ ได้แก่ 1. ควรพิจารณาปัจจัยเสี่ยงในครัวเรือนและจัดการรายกรณีสำหรับเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งป้องกันการหลุดออกนอกระบบการศึกษาและช่วยให้แรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานอย่างเดียวกลับมาเรียนต่อได้ โดยอาจเป็นการทำงานควบคู่กับการเรียน 2. ควรพัฒนาทักษะการทำงานของเด็กเพื่อให้แรงงานได้มีโอกาสการทำงานที่ได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้นทำให้มีชั่วโมงการทำงานที่น้อยลง 3. ควรร่วมมือกับนายจ้างในการออกแนวทางการกำหนดชั่วโมงการทำงานสำหรับแรงงานวัยเยาว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย รวมทั้งให้ครอบคลุมถึงกลุ่มเด็กที่เรียนในสายสามัญนอกเหนือจากสายอาชีพ 4. ควรพัฒนาทักษะชีวิติในการจัดการเวลาในการทำงานตั้งแต่วัยเยาว์เพื่อตอบสนองการทำงานในอนาคต


การป้องกันและการรับมือการกลั่นแกล้งในเกมออนไลน์แนวต่อสู้: กรณีศึกษาเกม Valorant, ยุววัฒน์ ไตรจิต Jan 2022

การป้องกันและการรับมือการกลั่นแกล้งในเกมออนไลน์แนวต่อสู้: กรณีศึกษาเกม Valorant, ยุววัฒน์ ไตรจิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันและการรับมือการกลั่นแกล้งภายในเกมออนไลน์แนวต่อสู้:กรณีศึกษาเกม VALORANT เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของเกมออนไลน์ แสวงหาสาเหตุของการกลั่นแกล้ง และวิธีการป้องกันและการรับมือการกลั่นแกล้งภายในเกมออนไลน์ เพื่อนำมาเผื่อแพร่และให้ความรู้กับผู้ที่มีความสนใจที่จะเข้าสู่โลกของสังคมเกมออนไลน์รับทราบถึงสาเหตุ รูปแบบ และวิธีการรับมือการกลั่นแกล้งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในสังคมเกมออนไลน์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกรูปแบบกึ่งโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 คน ผลการศึกษาพบว่าสาเหตุของการกลั่นแกล้งภายในเกมออนไลน์แนวต่อสู้มีอยู่ 3 ปัจจัยหลักคือ 1) ปัจจัยด้านทักษะผู้เล่น 2) ปัจจัยเรื่องเพศของผู้เล่น 3) ปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้แกล้ง โดยรูปแบบของการกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้นภายในเกมออนไลน์จะเป็นรูปแบบของ 1) การใช้ Text Chat ที่เป็นการพิมพ์ข้อความเพื่อสื่อสาร 2) การใช้ Voice Chat ที่เป็นการใช้ระบบของเกมในการสื่อสารระหว่างผู้เล่นทางเสียง 3) การใช้ระบบการเล่นภายในเกมเพื่อขัดขวางหรือรบกวนการเล่นของผู้เล่น ในส่วนของการรับมือการกลั่นแกล้งภายในเกมออนไลน์จะประกอบไปด้วยการรับมือโดย 1) การประณีประณอมกับการกลั่นแกล้ง 2) การปิดช่องทางการสื่อสาร และ 3) การชักชวนเพื่อนหรือคนรู้จักมาร่วมเล่นเกมออนไลน์


วาทกรรมสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์กับงานยุติธรรมทางอาญาในสังคมไทย, สุวิทย์ รัตนสุคนธ์ Jan 2022

วาทกรรมสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์กับงานยุติธรรมทางอาญาในสังคมไทย, สุวิทย์ รัตนสุคนธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบต่างๆ ที่ทำให้เกิดการการประกอบสร้างอัตลักษณ์ตัวตนจนลิขสิทธิ์กลายมาเป็นสิทธิผูกขาดจนสามารถนำเอามาตรการทางอาญามาปรับใช้กับผู้ละเมิดสิทธิผูกขาดนี้ได้อย่างกลมกลืน ตลอดจนศึกษาองค์ความรู้ด้านอื่นๆ ที่อาจนำมาใช้เพื่อสร้างดุลยภาพในการคุ้มครองลิขสิทธิ์และลดความเป็นอาชญากรรมจากการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในสังคมไทยลง โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพจากการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การศึกษาและวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse Studies and Discourse Analysis) โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลเชิงประจักษ์จากกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นผลมาจากแนวคิดสิทธิผูกขาดแห่งลิขสิทธิ์ของประเทศตะวันตกที่ไหลหลากเข้าสู่สังคมไทยเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจในยุคทุนนิยมและบริโภคนิยม สังคมไทยได้ยอมรับนับให้ลิขสิทธิ์ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาของมนุษย์มีค่าเหนือกว่าทรัพย์สินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินำไปสู่การประกอบสร้างวาทกรรมความเป็นอัตลักษณ์ตัวตนและความสำคัญให้เกิดขึ้น การกระทำใดๆ อันเป็นการล่วงละเมิดสิทธิผูกขาดนี้เป็นการกระทำที่สังคมไม่อาจยอมรับได้ นำไปสู่การนำมาตรการทางอาญามาปรับใช้กับผู้ล่วงละเมิดจนเกิดความเป็นอาชญากรรมอย่างล้นหลามขึ้นในสังคมไทย การเกิดวาทกรรมนี้อาศัยบริบท ปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมโลกและในสังคมไทย กอปรกับการประกอบสร้างจากมนุษย์โดยตรง ด้วยการใช้มาตรการทางอาญาสร้างความรุนแรง การสร้างความเป็นอื่น การปิดฉลากตีตรา การทำลายผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากละเมิด การสร้างความชอบธรรมจากเหตุผลกระตุ้นการสร้างสรรค์และความเจริญทางเศรษฐกิจ ส่วนการกำหนดสร้างนิยามความหมายใหม่ซึ่งเป็นผลจากการแสดงปฏิกริยาตอบโต้ แข็งขืนของผู้ยึดถือวาทกรรมรองนำไปสู่กระบวนการรื้อสร้างใหม่ เพื่อตีแผ่ ขุดคุ้ยเอาสารัตถะองค์ความรู้ ความจริงที่แฝงฝัง ลืมเลือนอยู่ในสังคมไทยในด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีการสื่อสารและกติกาสากลออกมาให้ปรากฏ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการช่วยสร้างความสอดคล้องกับสังคมไทย สร้างความสมดุลและช่วยลดความเป็นอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในสังคมไทย


ประสบการณ์ทางจิตใจของสมาชิกในครอบครัวที่ให้การสนับสนุนดูแลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคซึมเศร้า, อธิชญา สุขธรรมรัตน์ Jan 2022

ประสบการณ์ทางจิตใจของสมาชิกในครอบครัวที่ให้การสนับสนุนดูแลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคซึมเศร้า, อธิชญา สุขธรรมรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของสมาชิกในครอบครัวที่ให้การสนับสนุนดูแลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคซึมเศร้า โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้คำถามที่มีลักษณะกึ่งโครงสร้างกับผู้เข้าร่วมวิจัย คือ ผู้ดูแลในครอบครัว จำนวน 6 คน ซึ่งเคยมีประสบการณ์ในการดูแลหรือกำลังให้การดูแลวัยรุ่นช่วงอายุ 13-19 ปีที่ได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ว่าเป็นโรคซึมเศร้า โดยให้การสนับสนุนดูแลในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นให้กับวัยรุ่นในครอบครัว เช่น ด้านความเป็นอยู่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านอารมณ์ ด้านการรักษา หรือด้านการปรับตัวมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 เดือน ผลการศึกษา พบประเด็นสำคัญ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. การมีทรัพยากรที่เพียงพอต่อการสนับสนุนดูแลวัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า 2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างให้การดูแล 3. แนวทางการปรับตัวในบทบาทของผู้ดูแล และ 4. การตกผลึกทางความคิดจากประสบการณ์ในการดูแล สรุปผลการวิจัยแสดงให้เห็นประสบการณ์ทางจิตใจของบุคคลที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนดูแลวัยรุ่นในครอบครัวที่เป็นโรคซึมเศร้า ทั้งลักษณะแนวทางในการดูแลรับมือ มุมมองความคิด อารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างให้การดูแล การปรับตัวและสิ่งที่ผู้ดูแลได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังเผชิญกับอุปสรรคปัญหาในการดูแลวัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า รวมถึงผู้ที่มีความสนใจในงานให้บริการทางด้านสุขภาพจิต เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นผู้ดูแลในครอบครัวให้กับวัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า ตลอดจนนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองและให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกในครอบครัวที่มีปัญหาทางด้านจิตใจต่อไป


อิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว และอัตนิยมเชิงวัฒนธรรมต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ, ไปรยา เจษฎานฤสาร Jan 2022

อิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว และอัตนิยมเชิงวัฒนธรรมต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ, ไปรยา เจษฎานฤสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ประสบการณ์ลูกค้าทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความสอดคล้อง 2) ด้านการเชื่อมต่อ 3) ด้านการผสมผสาน 4) ด้านความยืดหยุ่น และ 5) ด้านเฉพาะบุคคล ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว อัตนิยมเชิงวัฒนธรรม ความเป็นสากลนิยมที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ และเพื่อวิเคราะห์ตัวแปร ได้แก่ ประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว อัตนิยมเชิงวัฒนธรรม ความเป็นสากลนิยม และความตั้งใจซื้อ โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่มีกำลังซื้อ และอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 400 ตัวอย่าง เมื่อนำมาวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) พบว่า ประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ความเป็นสากลนิยม และภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียวที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบมากที่สุดตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 33.40 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยต้องการทราบว่า ตัวแปรประสบการณ์ลูกค้ามีตัวแปรในทุก ๆ ด้านที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อ หรือมีตัวแปรย่อยด้านใดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ จึงทำการทดสอบสมมติฐานที่ 2 เมื่อทำการทดสอบเพิ่มเติมโดยทำการแยกตัวแปรย่อยของตัวแปรประสบการณ์ลูกค้าออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเชื่อมต่อ ด้านการผสมผสาน ด้านความสอดคล้อง ด้านความยืดหยุ่น และด้านเฉพาะบุคคล พบว่า ตัวแปรย่อยด้านความสอดคล้อง และด้านความยืดหยุ่นมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.40 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และไม่มีตัวแปรอื่น ๆ มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญระดับ 0.05


อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน, กัญญารัตน์ วิโรจนะ Jan 2022

อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน, กัญญารัตน์ วิโรจนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะบุคคล (ได้แก่ คุณลักษณะพื้นฐาน และคุณลักษณะประกอบ) คุณลักษณะความเชื่อ และพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน (ได้แก่ ด้านโหราศาสตร์ ด้านความเชื่อลางร้าย ด้านเครื่องรางนำโชค ด้านการพนัน ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านสลากกินแบ่ง) และ 2) อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน โดยเก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 23 – 29 ปี เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีงานทำในปัจจุบัน จำนวน 403 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะพื้นฐานที่มีผลต่อคุณลักษณะความเชื่อของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน ได้แก่ ความต้องการด้านวัตถุ ความต้องการด้านร่างกาย และความไม่มั่นคงทางอารมณ์ ส่วนคุณลักษณะประกอบที่มีผลต่อคุณลักษณะความเชื่อของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน ได้แก่ การอยู่กับปัจจุบัน และคุณลักษณะความเชื่อ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านโหราศาสตร์ ด้านความเชื่อลางร้าย ด้านเครื่องรางนำโชค ด้านการพนัน ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านสลากกินแบ่ง โดยคุณลักษณะความเชื่อมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมด้านโหราศาสตร์มากที่สุด


การเล่าเรื่อง ความเกี่ยวพัน และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคต่อการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ด้านความงาม, กรภัค พัฒนคงภัทร์ Jan 2022

การเล่าเรื่อง ความเกี่ยวพัน และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคต่อการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ด้านความงาม, กรภัค พัฒนคงภัทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และอธิบายวิธีการสื่อสารและการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ในการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของยูทูบเบอร์ด้านความงาม และอธิบายอิทธิพลของความถี่การเปิดรับการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การรับรู้ต่อการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ความชื่นชอบการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ และความเกี่ยวพันกับเนื้อหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ต่อการตัดสินใจซื้อ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เริ่มจากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกยูทูบเบอร์ความงาม จำนวน 1 ช่อง ได้แก่ GURUCHECK ร่วมกับการวิเคราะห์การเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ความงาม จำนวน 3 ช่อง ได้แก่ ingck GURUCHECK และ EB.Bahboh จำนวน 15 ตอน และการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า การสื่อสารวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ด้านความงามประกอบด้วย ยูทูบเบอร์นำความเชี่ยวชาญของตนเองมานำเสนอเป็นเนื้อหาในรูปแบบคลิปวิจารณ์ โดยมีวิธีการสื่อสารแบบกึ่งเผยแพร่กึ่งสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นด้วยการสนทนนาผ่านการผลิตคลิปวิจารณ์และการเล่าเรื่องด้วยมุมมองทางวิทยาศาสตร์ผ่านยูทูบ ทั้งนี้ผลที่เกิดกับผู้ชมเป็นผลด้านความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาและการได้รับข้อมูลผลิตภัณฑ์ตามความต้องการ และพบว่าผู้ชมมีส่วนร่วมในการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผ่านการแสดงความคิดเห็นและแบ่งปันเนื้อหาวิดีโอบนสื่อสังคม การเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ฯ พบว่า มีความสอดคล้องในด้านการใช้ภาษา สัญลักษณ์ และเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับผู้ชม มีการเล่าเรื่องผ่านตัวละครแบบผลิตภัณฑ์เป็นวีรบุรุษ ปัญหาสุขภาพผิวเป็นวายร้าย และผู้ชมเป็นเหยื่อ มีการสร้างปมปัญหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบำรุงรักษาผิวหรือการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว โดยดำเนินเรื่องตามลำดับเหตุการณ์ แก่นเรื่องที่นำเสนอ ได้แก่ ทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุ-ปัจจัย และเช็คก่อนใช้ อ่านฉลากและส่วนผสมก่อนซื้อ ทั้งนี้มีการโน้มน้าวใจด้วยหลักฐานและการรับรองเหตุผลที่ใช้ประกอบการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างติดตามช่องยูทูบวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวในระดับมาก มีความถี่การรับชมการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอยู่ที่ 2-3 วัน/สัปดาห์ การรับรู้ต่อการสื่อสารวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด ความชื่นชอบการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด ความเกี่ยวพันกับเนื้อหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความเกี่ยวพันกับเนื้อทางวิทยาศาสตร์ (ß = 0.431) ความชื่นชอบตัวละคร (ß = 0.233) การรับรู้ต่อการมีส่วนร่วม (ß = 0.211) การรับรู้ต่อเนื้อหา (ß = - 0.144) การรับรู้ต่อผลการสื่อสาร (ß = 0.115) และความชื่นชอบการถ่ายทอดปัญหาและการดำเนินเรื่อง (ß = - 0.094) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


ภาพตัวแทนแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทยกับความเป็นจริงของชีวิตแม่บ้าน, ณัฐนันท์ สมพึ่งทอง Jan 2022

ภาพตัวแทนแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทยกับความเป็นจริงของชีวิตแม่บ้าน, ณัฐนันท์ สมพึ่งทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษา เรื่อง “ภาพตัวแทนและความเป็นจริงของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย” มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาภาพตัวแทนและความเป็นจริงของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างละครโทรทัศน์ทั้งหมด 7 เรื่อง คือ เพลิงนาง ปมเสน่หา เพลิงปริศนา เขยบ้านไร่ สะใภ้ไฮโซ สะใภ้ไร้ศักดินา เรยา ฉันชื่อบุษบา นำมาเปรียบเทียบกับชีวิตจริงของผู้หญิงที่ประกอบอาชีพแม่บ้านที่ทำงานอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และใช้ชีวิตพักอาศัยอยู่ในบ้านนายจ้าง ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จำนวน 7 คน และ ศึกษาปัจจัยเชิงโครงสร้างทางสังคมที่มีผลต่อภาพตัวแทนของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย ผลการศึกษาพบว่า ตัวบทสร้างภาพตัวแทนของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย ให้มีภาพแทนของแม่บ้านที่เป็นผู้สนับสนุนนายจ้าง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับความเป็นจริงของชีวิตแม่บ้าน พบว่า แม่บ้านในชีวิตจริงมีสถานะเป็นลูกจ้างที่ทำงานให้นายจ้าง แม่บ้านในละครโทรทัศน์กับชีวิตจริงของแม่บ้าน มีความแตกต่างในด้านลักษณะทางประชากรศาสตร์ สวัสดิการ การได้รับความเท่าเทียม การแต่งกาย และมีความคล้ายคลึงในส่วนของปัจจัยทางสังคมด้านเศรษกิจและด้านการศึกษา ในส่วนของปัจจัยเชิงโครงสร้างทางสังคมมีผลต่อภาพตัวแทนของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย มีดังนี้ 1) ด้านปิตาธิปไตย ละครโทรทัศน์สะท้อนให้เห็นถึงชุดความคิดของคนในสังคมที่ว่า“งานบ้าน เป็นงานของเพศหญิง” ในละครโทรทัศน์ไม่มีตัวละครพ่อบ้านปรากฏให้เห็นแบบปกติทั่วไปเหมือนตัวละครแม่บ้าน หากมีตัวละครที่มีลักษณะและบทบาทใกล้เคียง ก็มักถูกเรียกต่างออกไปไม่ถูกเรียกว่า “พ่อบ้าน” และมีหน้าที่เฉพาะเจาะจงอย่างชัดเจน เช่น คนสวน คนขับรถ 2) ด้านชนชั้น ภาพตัวละครแม่บ้านถูกจัดวางอยู่ในชนชั้นกรรมาชีพ (Proletariat) ซึ่งอยู่ในระดับชนชั้นต่ำของสังคมไทย 3) ด้านระบบทุนนิยม ภาพตัวละครแม่บ้านในละครโทรทัศน์ถูกภาวะเศรษฐกิจทุนนิยมที่ตรึงเครียดกดทับ ด้วยความยากจนที่บีบคั้น แม่บ้านจึงกลายเป็นผู้ที่ยอมรับกับความขัดแย้งและความเป็นศัตรูกันโดยธรรมชาติของนายจ้าง-ลูกจ้าง ยินยอมอยู่ในความสัมพันธ์แบบการขูดรีดเพื่อรายได้ในการเลี้ยงชีพ กล่าวคือ ภาพแม่บ้านในละครโทรทัศน์ถูกกดขี่ด้านการไม่ให้แสดงความคิดเห็น ไม่มีขอบเขตของงานบ้านและไม่มีเวลาการทำงานที่ชัดเจน ลักษณะงานของแม่บ้านทำลายเส้นแบ่งระหว่างเวลาและสถานที่ของการทำงาน (Work) กับเวลา และสถานที่ของการใช้ชีวิต เพราะผลผลิตของการผลิตอยู่ในรูปของอวัตถุ (Immaterial) ไม่ใช่การผลิตสินค้าที่เป็นวัตถุ (Material) ทำให้แยกงานกับชีวิตออกจากกันไม่ได้ และการใส่เครื่องแบบชุดแม่บ้านชาวตะวันตก สามารถทำให้คนในสังคมรับรู้ว่าพวกเขาเป็นใคร มีความสำคัญอย่างไรในสถานที่ที่พวกเขาทำงานอยู่ นำมาซึ่งการเกิดสัญญะของภาพตัวแทน 4) ด้านระบบการศึกษา ภาพแม่บ้านในละครโทรทัศน์เป็นผู้ที่มีระดับการศึกษาที่ไม่สูง 5) ด้านสิทธิแรงงาน ภาพแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไม่ถูกนำเสนอเรื่องสวัสดิการที่ชัดเจน แต่ถูกนำเสนอทางอ้อมว่า ไม่มีวันหยุด และมีชั่วโมงทำงานที่ไม่แน่นอน 6) ด้านระบบสื่อมวลชนผลิตซ้ำภาพตัวแทน ลักษณะการสร้างภาพตัวละครในละครโทรทัศน์ (Portrayed) เป็นสิ่งที่สะท้อนจากผู้ผลิตรายการที่คาดว่าคนกลุ่มนั้นควรจะมีลักษณะอย่างไรในละครโทรทัศน์ ทำให้เกิดการผลิตซ้ำภาพตัวแทนของตัวละครที่นำเสนอในลักษณะเหมารวม เช่น แม่บ้านเป็นผู้ที่มีฐานะต่ำต้อย เป็นคนอีสาน เป็นผู้ไร้อำนาจ ต้องแสดงความนอบน้อม …


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค, ธาณุพรรณ ณ สงขลา Jan 2022

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค, ธาณุพรรณ ณ สงขลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่ออธิบายความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า บรรทัดฐานกลุ่ม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม การรับรู้คุณค่า และความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมที่มีต่อ ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า บรรทัดฐานกลุ่ม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และการรับรู้คุณค่าของผู้บริโภค 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า บรรทัดฐานกลุ่ม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และการรับรู้คุณค่า ที่มีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคชาวไทยเจเนอเรชันเอกซ์ (Generation X) และผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย (Generation Y) จำนวนทั้งสิ้น 500 คน ซึ่งต้องมีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 27 - 58 ปี ไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า และต้องเคยได้ยินหรือรู้จักเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า โดย ผลวิจัยพบว่า ความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อ การรับรู้คุณค่า การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า และบรรทัดฐานกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า การรับรู้คุณค่า บรรทัดฐานกลุ่ม และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าไม่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า


การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม, นวียา แดงบุหงา Jan 2022

การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม, นวียา แดงบุหงา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม รวมถึงเพื่ออธิบายอิทธิพลของการเปิดรับและทัศนคติของผู้บริโภคต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงาม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และเคยเห็นโฆษณาแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อก จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีการเปิดรับโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อกแตกต่างกัน 2) ผู้บริโภคที่มีเพศและอาชีพแตกต่างกัน มีทัศนคติต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อกแตกต่างกัน 3) ผู้บริโภคที่มีเพศและอาชีพแตกต่างกัน มีความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงามแตกต่างกัน 4) ปัจจัยด้านการเปิดรับและทัศนคติมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงาม โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001


อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดโดยใช้ชื่อศิลปินในแฮชแท็กทวิตเตอร์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปและกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปิน, สรรค์ โรจนทัพพะ Jan 2022

อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดโดยใช้ชื่อศิลปินในแฮชแท็กทวิตเตอร์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปและกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปิน, สรรค์ โรจนทัพพะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร การเปิดรับการสื่อสารการตลาดโดยใช้ชื่อศิลปินผ่านแฮชแท็กในทวิตเตอร์ ทัศนคติต่อตราสินค้า การรับรู้ตราสินค้าประเภทเกี่ยวพันต่ำ และการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปและกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปิน รวมทั้งเพื่ออธิบายอิทธิพลของปัจจัยด้านการเปิดรับการสื่อสารการตลาด ทัศนคติต่อตราสินค้า และการรับรู้ตราสินค้าประเภทเกี่ยวพันต่ำที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปและกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปิน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไป จำนวน 200 คน และกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปิน จำนวน 200 คน โดยประมวลผลในโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปและกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินมีการเปิดรับ ทัศนคติ การรับรู้ตราสินค้า และการตัดสินใจซื้อสินค้าแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปในทุก ๆ ปัจจัย 2) กลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปที่มีอายุ 18 – 24 ปี จะมีทัศนคติ การรับรู้ตราสินค้า และการตัดสินใจซื้อสินค้ามากกว่าอายุ 25 – 31 ปี 3) กลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีและปริญญาตรีจะมีทัศนคติ การรับรู้ตราสินค้า และการตัดสินใจซื้อสินค้ามากกว่าระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี 4) กลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินที่มีเพศและอายุที่ต่างกันมีทัศนคติต่อตราสินค้าแตกต่างกัน 5) ปัจจัยด้านการเปิดรับ ทัศนคติ และการรับรู้ตราสินค้ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001


อิทธิพลของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตาแกรม ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, อภิชญา ศรีเทวฤทธิ์ Jan 2022

อิทธิพลของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตาแกรม ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, อภิชญา ศรีเทวฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตา แกรม และศึกษาอิทธิพลของคุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตาแกรม ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง อายุระหว่าง 25-34 ปี ที่มีการกดติดตามข้อมูลจากช่องทางอินสตาแกรมของผู้นำทางความคิดด้านความงามอย่างน้อย 3 ใน 10 คน ที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้ และได้ติดตามข้อมูลอย่างน้อย 1 ครั้ง ใน 1 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านความงามทั้งสามด้านมีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้บริโภค โดยคุณลักษณะด้านความน่าเชื่อถือมีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อผู้นำทางความคิดของผู้บริโภคมากที่สุด สำหรับการทดสอบอิทธิพลของคุณลักษณะของผู้นำทางความคิดต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค พบว่า คุณลักษณะทั้งสามด้านมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค โดยคุณลักษณะด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อมากที่สุด และมีเพียงคุณลักษณะด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงคุณลักษณะเดียวที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคด้านการมีส่วนร่วม นอกจากนี้ การวิจัยยังพบว่าทัศนคติต่อผู้นำทางความคิดของผู้บริโภคมีอิทธิพลต่อทั้งพฤติกรรมการมีส่วนร่วมและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค


การเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมืองของเอนก เหล่าธรรมทัศน์: การแสวงหาความหมายใหม่ของ "ประชาธิปไตย", ณัตถยา สุขสงวน Jan 2022

การเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมืองของเอนก เหล่าธรรมทัศน์: การแสวงหาความหมายใหม่ของ "ประชาธิปไตย", ณัตถยา สุขสงวน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมืองของเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ผ่านการแสวงหาความหมายใหม่ของ “ประชาธิปไตย” ท่ามกลางบริบทแวดล้อมที่สำคัญรอบตัวของเอนกซึ่งเปลี่ยนแปลงไปในห้วงเวลาต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า เอนกมีความคิดทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ประชาธิปไตยสากลตามมาตรฐานตะวันตก เป็นระยะของการก่อตัวทางความคิดทางการเมืองเรื่องประชาธิปไตยของเอนก โดยในภาพรวม เอนกได้ยึดถือคุณค่าและหลักการประชาธิปไตยสากลตามมาตรฐานตะวันตกเพื่อปรับใช้กับประเทศไทยเป็นสำคัญ, ระยะที่ 2 สองนคราประชาธิปไตย เป็นระยะที่เอนกแสดงให้เห็นถึงสภาวะทางสังคมและการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่มีลักษณะเฉพาะของไทยในรูปแบบสองนคราประชาธิปไตย ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ท่ามกลางการนำประชาธิปไตยแบบตะวันตกตามมาตรฐานสากลไปใช้กับการเมืองไทย, ระยะที่ 3 ประชาธิปไตยโดยประชาชน เป็นระยะที่เอนกให้ความสนใจกับประชาธิปไตยโดยประชาชน ประชาชนเป็นตัวแสดงทางการเมืองที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตย และระยะที่ 4 ประชาธิปไตยที่มีลักษณะเฉพาะของไทย ในระยะนี้ เอนกให้ความสนใจกับประชาธิปไตยที่มีลักษณะเฉพาะของไทย ด้วยการนำเอาความเป็นตะวันออกและความเป็นไทย รวมถึงการมีพระมหากษัตริย์และสถาบันพระมหากษัตริย์ที่จัดอยู่ในความสัมพันธ์ทางอำนาจในการเมืองไทย มาผสมผสานและปรับใช้กับความคิดประชาธิปไตยแบบตะวันตก การก่อรูปและการเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมืองของเอนกทั้ง 4 ระยะเป็นผลจากบริบทแวดล้อมที่สำคัญรอบตัวเอนก ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปในห้วงเวลาต่างๆ ทั้งจากภูมิหลังชีวิต บริบทสถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นจุดเปลี่ยนหรือจุดหักเหในชีวิตหรือความคิด และกระแสภูมิปัญญาความคิดทางการเมืองว่าด้วยประชาธิปไตยในสังคมไทยในทศวรรษที่ 2520 – 2560


สถานะ บทบาท และพลวัตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในสถานการณ์ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย, ปุญญวันต์ จิตประคอง Jan 2022

สถานะ บทบาท และพลวัตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในสถานการณ์ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย, ปุญญวันต์ จิตประคอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับโครงสร้างอำนาจในท้องถิ่น และองค์กรอื่นในรัฐไทย ด้วยการศึกษาผ่านตัวแสดง ความสัมพันธ์ทางอำนาจในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมระหว่างบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชน รวมถึงตัวแสดงอื่นที่เกี่ยวข้องกับการปกครองส่วนท้องถิ่นในบริบทสถานการณ์ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยขอบเขตการศึกษาครอบคลุมตั้งแต่ยุคก่อร่างรัฐและการผนวกปาตานีเข้ากับรัฐสยามจนถึงปัจจุบันภายใต้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พ.ศ.2329-2564) งานศึกษาชิ้นนี้ใช้ระเบียบวิธิวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนาจากข้อมูลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการใช้การตีความจากการสัมภาษณ์ และข้อมูลเอกสารทางประวัติศาสตร์ รวมถึงการเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่มีความถี่สะสมของเหตุการณ์ความรุนแรงสูงสุดระหว่างปี 2547-2564 ประกอบด้วย อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส และอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับโครงสร้างอำนาจในท้องถิ่นเป็นความสัมพันธ์ที่ผูกติดกับโครงสร้างสถาบันเชิงจารีตที่เชื่อมโยงราชสำนัก ศาสนา เจ้าเมือง และกลุ่มพ่อค้าคนจีน ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับองค์กรอื่นในรัฐไทยเป็นความสัมพันธ์ผ่านโครงสร้างรัฐราชการแบบรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลางโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการปกครอง ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา ทั้งนี้ มีองค์ประกอบของตัวแสดงที่เข้าไปมีบทบาทในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วยข้าราชการทางการเมืองที่มีความสัมพันธ์ด้านใดด้านหนึ่งกับเครือข่ายสถาบันจารีตดั้งเดิม และข้าราชการประจำที่มีความสัมพันธ์กับรัฐส่วนกลางตามโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน ในขณะที่จิตสำนึกเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทุกช่วงเวลากลับพบว่าอยู่ในระดับต่ำสุด คือ ระดับการครอบงำและบังคับความคิด และระดับการบำบัดรักษา เพราะเครือข่ายเชิงสถาบันในราชการส่วนท้องถิ่นและประชาชนถูกครอบงำโดยโครงสร้างรัฐราชการแบบรวมศูนย์อำนาจภายใต้บริบทสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และสถานการณ์ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ส่งผลทำให้ท้องถิ่นกลายเป็นสถาบันที่ต้องรองรับการใช้อำนาจจากรัฐทุกรูปแบบผ่านวิธีการควบคุม กำกับ กดทับ ลดทอน และจำกัดการกระทำของสถาบันหรือตัวแสดงระดับท้องถิ่น ที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นตัวกำหนดการก่อรูปโครงสร้างเชิงสถาบัน


อำนาจนำทางน้ำและจักรวรรดินิยมทางทรัพยากรของจีนกับการต่อต้านจากภาคประชาสังคมข้ามชาติ : กรณีศึกษาการสร้างเขื่อนในลุ่มน้ำโขง, พลวัชร ร้อยอำแพง Jan 2022

อำนาจนำทางน้ำและจักรวรรดินิยมทางทรัพยากรของจีนกับการต่อต้านจากภาคประชาสังคมข้ามชาติ : กรณีศึกษาการสร้างเขื่อนในลุ่มน้ำโขง, พลวัชร ร้อยอำแพง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาการแผ่ขยายอำนาจของจีนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงผ่านแนวคิดลัทธิจักรวรรดินิยมทรัพยากร (Resource Imperialism) และอำนาจนำเหนือน้ำ (Hydro-Hegemony) ของจีนในลุ่มน้ำโขง ผ่านการสำรวจพัฒนาการของลัทธิจักรวรรดินิยมทรัพยากร และอำนาจนำเหนือน้ำ พร้อมกับบริบทเชิงอำนาจที่สนับสนุนอำนาจนำทางนำ้และกลยุทธ์การครอบงำของจีน การศึกษารวมถึงกรณีศึกษาเกี่ยวกับโครงการโครงสร้างพื้นฐานในฐานะเครื่องมือควบคุมทรัพยากรน้ำของจีนในลาวและผลกระทบ งานวิจัยยังศึกษากลยุทธ์การต่อต้านของประชาสังคมข้ามชาติ ตรวจสอบบทบาท, แรงจูงใจ, กลยุทธ์ และปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จของภาคประชาสังคมข้ามชาติในฐานะองค์กรที่มีบทบาทต่อต้านการขยายอำนาจของจีน การค้นพบที่สำคัญในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ประกอบไปด้วย สถานะการครองอำนาจนำทางนำ้ของจีน, ผลลัพธ์ของการต่อต้านการสร้างเขื่อนจากภาคประชาสังคม และนำเสนอข้อเสนอแนะสำหรับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, การเพิ่มความโปร่งใส ท้ายสุดคือการแสวงหาทางออกที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและการแก้ไขข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในภูมิภาค


การพัฒนาและตรวจสอบแบบประเมินความใส่ใจแบบแบ่งแยกในเด็กที่มีภาวะสมองพิการแบบแข็งเกร็งครึ่งท่อน, ณัฐวุฒิ เกษมสวัสดิ์ Jan 2022

การพัฒนาและตรวจสอบแบบประเมินความใส่ใจแบบแบ่งแยกในเด็กที่มีภาวะสมองพิการแบบแข็งเกร็งครึ่งท่อน, ณัฐวุฒิ เกษมสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความใส่ใจแบบแบ่งแยกสำหรับเด็กที่มีภาวะสมองพิการ กลุ่มตัวอย่างได้แก่กลุ่มเด็กที่มีภาวะสมองพิการแบบแข็งเกร็งครึ่งท่อน อายุ 7-12 ปี จำนวน 35 คน แบ่งเป็นชาย 21 คน หญิง 14 คน และกลุ่มเด็กปกติ อายุ 7-12 ปี จำนวน 35 คน แบ่งเป็นชาย 18 คน หญิง 17 คน ผู้วิจัยนำข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์ข้อมูลผ่านสถิติพรรณาและตรวจสอบค่าความเที่ยงด้วยวิธีการทดสอบแบบคู่ขนาน (Parallel Form Method) เพื่อตรวจสอบค่าสัมประสิทธิ์ของความสมมูล (Coefficient of Equivalence) และความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน (Inter-rater) ด้วยสัมประสิทธิ์แคปปา (Kappa coefficient) และตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาด้วยค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบประเมินกับจุดประสงค์ (Index of Item-Objective Congruence หรือ IOC) และตรวจสอบความตรงเชิงสภาพด้วยวิธีการใช้กลุ่มที่แตกต่างกัน (Known-Group Technique) ผลการวิจัยพบว่าจากการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีกลุ่มที่แตกต่างกัน เด็กที่มีภาวะสมองพิการแบบแข็งเกร็งครึ่งท่อนมีคะแนนน้อยกว่าเด็กปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (Mean = 3.16, 1.48 t = 3.964 p < .001 ในการทดสอบครั้งที่ 1 และ Mean = 3.33, 1.30 t = 4.260 p < .001 ในการทดสอบครั้งที่ 2) ส่วนการประเมินความตรง แบบประเมินมีค่าดัชนีความสอดคคล้องกับจุดประสงค์อยู่ที่ 1.0 มีความตรงเชิงเนื้อหา ความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินด้วยสัมประสิทธิ์แคปปาในการทดสอบแต่ละครั้งอยู่ที่ระดับ 0.912 และ 0.941 ในเด็กที่มีภาวะสมองพิการ 0.823 และ 0.911 ในเด็กปกติ อย่างไรก็ตามจากการวิจัยค้นพบว่าการเรียนรู้และปัญหาด้านความใส่ใจของกลุ่มตัวอย่างส่งผลกระทบต่อคะแนนของการประเมินความใส่ใจแบบแบ่งแยกในแต่ละครั้งในการทดสอบแบบคู่ขนาน ส่งผลให้ค่าความเที่ยงในการทดสอบในเด็กที่มีภาวะสมองพิการอยู่ที่ระดับ 0.85 และเด็กปกติอยู่ที่ระดับ 0.71 สามารถสรุปได้ว่าแบบประเมินความใส่ใจแบบแบ่งแยกมีความสอดคล้องกันระหว่างผู้ประเมิน มีความตรงเพียงพอที่จะใช้ในการประเมินความใส่ใจแบบแบ่งแยกในเด็กที่มีภาวะสมองพิการแบบแข็งเกร็งครึ่งท่อน แต่ยังพบข้อจำกัดด้านการเรียนรู้และความใส่ใจซึ่งส่งผลต่อการทดสอบ ทั้งนี้การวิจัยในอนาคตควรจะมีการทดสอบหาอำนาจจำแนกของคะแนน เกณฑ์คะแนนผ่านของเด็กที่มีภาวะสมองพิการและเปรียบเทียบกับเด็กปกติ


ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ ต่อความเหงา ความสามารถในการกำกับอารมณ์ และการรับรู้ความสามารถในการเข้าสังคมของตนเอง ในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี, ณัฐพร ตรีเจริญวิวัฒน์ Jan 2022

ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ ต่อความเหงา ความสามารถในการกำกับอารมณ์ และการรับรู้ความสามารถในการเข้าสังคมของตนเอง ในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี, ณัฐพร ตรีเจริญวิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ ต่อความเหงา ความสามารถในการกำกับอารมณ์และการรับรู้ความสามารถในการเข้าสังคมของตนเองในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความสมัครใจเข้าร่วมการวิจัยและมีระดับความเหงาสูงกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 จำนวน 39 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 19 คน กลุ่มควบคุม 20 คน โดยกลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง ทั้งหมด 8 ครั้ง คิดเป็นเวลาทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง กลุ่มตัวอย่างทุกคนจะได้ตอบแบบสอบถามที่ประกอบไปด้วยมาตรวัดความเหงา มาตรวัดความสามารถในการกำกับอารมณ์ และมาตรวัดการรับรู้ความสามารถในการเข้าสังคมของตนเอง ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures MANOVA) และความแปรปรวนพหุนามแบบระหว่างกลุ่ม (Between Groups MANOVA) โดยมีผลวิจัยดังนี้ 1. หลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ และในระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีระดับคะแนนความเหงาต่ำกว่าก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. หลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ กลุ่มทดลองมีระดับคะแนนความเหงาต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. หลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ และในระยะติดตามผล ไม่พบว่ากลุ่มทดลองมีระดับคะแนนความสามารถในการกำกับอารมณ์แตกต่างกับก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. หลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ ไม่พบว่ากลุ่มทดลองมีระดับคะแนนความสามารถในการกำกับอารมณ์แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. หลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ และในระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีระดับคะแนนการรับรู้ความสามารถในการเข้าสังคมของตนเองสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 6. หลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ ไม่พบว่ากลุ่มทดลองมีระดับคะแนนการรับรู้ความสามารถในการเข้าสังคมของตนเองแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ประสบการณ์การฟื้นคืนได้ของญาติผู้ดูแลที่ฝึกเจริญสติปัฏฐาน 4 และดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, พิมลวรรณ บุนนาค Jan 2022

ประสบการณ์การฟื้นคืนได้ของญาติผู้ดูแลที่ฝึกเจริญสติปัฏฐาน 4 และดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, พิมลวรรณ บุนนาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความเพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์การฟื้นคืนได้ของญาติผู้ดูแลที่ฝึกเจริญสติปัฏฐาน 4 และดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ให้ข้อมูลเป็นญาติผู้ดูแลหลักของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเลือกจำนวน 7 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีคำถามกึ่งโครงสร้าง ผลการศึกษาพบประสบการณ์การฟื้นคืนได้ของญาติผู้ดูแลที่ฝึกเจริญสติปัฏฐานสี่ 3 ประเด็นหลัก กล่าวคือ ประเด็นหลักที่ 1 ชีวิตเริ่มต้นเสียสมดุล มี 4 ประเด็นย่อยได้แก่ 1.1) เครียด หงุดหงิดง่าย จากการดูแล 1.2) เหนื่อยล้า เกิดปัญหาสุขภาพ 1.3) อึดอัด ขาดสังคม ไม่ได้ทำสิ่งที่เคยทำ และ 1.4) คนรอบข้างไม่เข้าใจ ไม่สนับสนุนช่วยเหลือ ประเด็นหลักที่ 2 ฟื้นคืนด้วยสติ ใจสงบสุข อ่อนโยนมีเมตตา มี 3 ประเด็นย่อยได้แก่ 2.1) สติทำให้รู้เท่าทัน ควบคุมอารมณ์ได้ 2.2) สมาธิรักษาใจให้สุขสงบ ใจมีพลัง และ 2.3) จิตใจอ่อนโยน มีเมตตา และประเด็นหลักที่ 3 ฟื้นคืนด้วยปัญญา เข้าใจสัจธรรมชีวิตและเติบโตทางธรรม มี 3 ประเด็นย่อยได้แก่ 3.1) เกิดสัมปชัญญะ ระลึกรู้เท่าทันความเป็นจริง 3.2) มองเห็นความไม่เที่ยง เข้าใจชีวิต เติบโตทางธรรม และ 3.3) ปล่อยวาง จิตคลายจากความยึดมั่นถือมั่น


การทำนายพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนด้วยทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและการพิจารณาถึงผลลัพธ์ในอนาคต, พีรยา พูลหิรัญ Jan 2022

การทำนายพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนด้วยทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและการพิจารณาถึงผลลัพธ์ในอนาคต, พีรยา พูลหิรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนเป็นพฤติกรรมที่มีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในระยะยาวในยุคที่บรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ปัจจุบันยังขาดองค์ความรู้โดยเฉพาะในบริบทของประเทศไทยเกี่ยวกับปัจจัยที่สนับสนุนและขัดขวางการเกิดพฤติกรรมแยกขยะ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัยตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและปัจจัยการพิจารณาผลลัพธ์ในอนาคตที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนโดยเน้นศึกษาขยะพลาสติก 3 ชนิด ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้ว ถุงพลาสติกบรรจุอาหาร และกล่องพลาสติกบรรจุอาหาร กลุ่มตัวอย่าง (n = 126) ได้แก่ ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครอย่างน้อย 1 ปี ทำการตอบแบบสอบถามการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ และรายงานพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนใน 2 สัปดาห์ต่อมา ผลจากการวิจัยพบว่า การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมมีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านเจตนาต่อพฤติกรรม โดยการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านเจตนาต่อพฤติกรรมเท่านั้น อย่างไรก็ตามพบปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมโดยมีเจตนาต่อพฤติกรรมเป็นตัวแปรส่งผ่าน ได้แก่ เจตคติต่อพฤติกรรมและการพิจารณาผลลัพธ์ในอนาคต และพบว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อพฤติกรรมและการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงและการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม ไม่สามารถทำนายเจตนาต่อพฤติกรรมได้ โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนมากที่สุด ได้แก่ การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม โดยกลุ่มตัวอย่างมีความเชื่อว่าการมีพื้นที่สำหรับแยกขยะพลาสติกในครัวเรือน การมีถังขยะของส่วนกลางรองรับ และการได้รับรู้ว่าการแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านใดบ้างเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนได้


ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และสุขภาพจิต, กรวิชญ์ พยัคฆวรรณ Jan 2022

ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และสุขภาพจิต, กรวิชญ์ พยัคฆวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดภาระต่อระบบสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้น โดยวรรณกรรมทางเศรษฐศาสตร์ได้ระบุว่าความเหลื่อมล้ำด้านรายได้อาจเป็นปัจจัยหนี่งที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตได้ หากแต่ทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และปัญหาสุขภาพจิตยังไม่มีบทสรุปที่ชัดเจน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักในการทำความเข้าใจทิศทางและกลไกของความสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และสุขภาพจิต การวิเคราะห์ใช้ข้อมูลพาเนลในระดับประเทศ จากแหล่งข้อมูล 3 แหล่งหลัก ได้แก่ World Development Indicators, Global Burden of Disease และ World Values Survey และกำหนดสมมติฐานว่าความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตทั้งทางตรงและทางอ้อม ในด้านผลกระทบทางอ้อม ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ส่งผลกระทบผ่านตัวแปรคั่นกลาง 3 ตัวแปร ได้แก่ ความมั่งคั่ง สุขภาพกาย และการมีส่วนร่วมทางสังคม ระเบียบวิธีวิจัย คือ การวิเคราะห์ผ่านตัวกลาง (mediation analysis) โดยใช้แบบจำลอง seemingly unrelated regression ผลการศึกษาพบว่าความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ส่งผลต่อสุขภาพจิตทั้งทางตรงและทางอ้อม ในภาพรวม ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ส่งผลให้ปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ปัจจัยคั่นกลางทั้งหมดส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิต โดยสุขภาพกายมีความสำคัญมากที่สุด ตามด้วยความมั่งคั่ง และการมีส่วนร่วมทางสังคม ตามลำดับ ผลการศึกษาดังกล่าวนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของแต่ละพื้นที่และส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์ อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ยังมีข้อจำกัดด้านข้อมูลและระเบียบวิธีวิจัยที่อาจพัฒนาต่อได้ในการศึกษาครั้งต่อไป