Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Journal of Social Sciences

Journal

2018

Keyword

Articles 1 - 19 of 19

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การเผยแพร่ตัวตนด้วยการถ่ายทอดสดการฆ่าและความพยายามฆ่าตัวตายผ่านสื่อสังคม: มุมมองการวิเคราะห์แบบโครงสร้างและผู้กระทำการ, ศิริพงศ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา Jan 2018

การเผยแพร่ตัวตนด้วยการถ่ายทอดสดการฆ่าและความพยายามฆ่าตัวตายผ่านสื่อสังคม: มุมมองการวิเคราะห์แบบโครงสร้างและผู้กระทำการ, ศิริพงศ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา

Journal of Social Sciences

บทความนี้มุ่งนำเสนอความเป็นไปได้ของการนำมุมมองการวิเคราะห์ทางสังคมวิทยาทั้งแบบโครงสร้างและผู้กระทำการ มาใช้อธิบายปรากฏการณ์การเผยแพร่ตัวตนด้วยการถ่ายทอดสดการฆ่าและความพยายามฆ่าตัวตายผ่านสื่อสังคม จากการวิเคราะห์พบว่าสื่อสังคมสามารถเป็นได้ทั้งช่องทางและพื้นที่ทางสังคมส่วนหนึ่งบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ซึ่งมีลักษณะเป็นสายสัมพันธ์แบบอ่อน จึงทำให้ยากต่อการจัดรูปแบบความสัมพันธ์อย่างเป ็นแบบแผนแม้มีกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดระเบียบเฉกเช่นสังคมปกติ แต่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเกี่ยวกับสื่อสังคมจึงทำให้โครงสร้างในสังคมเสมือนจริงเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สื่อสังคมในฐานะผู้กระทำการสามารถมีปฏิสัมพันธ์โดยปราศจากข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ รวมถึงเสรีภาพในการผลิตสร้างและการเผยแพร่ตัวตนซึ่งในที่นี้ คือ การถ่ายทอดสดการฆ่า/พยายามตัวตาย ด้วยเหตุนี้จากการบรรจบกันของมิติเชิงโครงสร้างและผู้กระทำการในปรากฏการณ์ดังกล่าว การนำทฤษฎีโครงสร้างผู้กระทำการ (structuration theory) มาใช้อธิบายจึงมีความเหมาะสม เนื่องจากทฤษฎีดังกล่าวให้ความสำคัญกับมุมมองแบบโครงสร้างและผู้กระทำการโดยพร้อมกัน


อัตลักษณ์ของตลาดนัดวันศุกร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชวิตรา ตันติมาลา, ดุษฎี โยเหลา, จารุวรรณ ขำเพชร Jan 2018

อัตลักษณ์ของตลาดนัดวันศุกร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชวิตรา ตันติมาลา, ดุษฎี โยเหลา, จารุวรรณ ขำเพชร

Journal of Social Sciences

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจความหมายและคุณค่าของตลาดนัดวันศุกร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ของตลาดนัดภายในมหาวิทยาลัยของรัฐ ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบชาติพันธุ์วรรณนา โดยใช้เทคนิคการเก็บข้อมูลแบบสังเกตอย่างมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง ผลวิจัยพบว่า คนในตลาดนัดวันศุกร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการรับรู้และให้ความหมายในสามประเด็น หนึ่ง "ตลาดนัดคือพื้นที่แห่งชีวิต" สอง "ตลาดนัดคือสายใยแห่งความผูกพัน" และสาม “ตลาดนัด คือ การยอมรับและปรับตัวภายใต้ข้อจำกัด” ซึ่งเป็นหัวใจของสำคัญของการประกอบสร้างอัตลักษณ์ของตลาดนัดวันศุกร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์กันของผู้คนในมหาวิทยาลัยและผู้คนในตลาดนัดเป็นเวลานาน เหล่านี้สะท้อนค่านิยมที่ผูกโยงกันเป็นอัตลักษณ์ของตลาดนัดภายในมหาวิทยาลัยของรัฐ


การปกครองตามธรรมชาติ: กฏเหล็กสามข้อของการปกครองแบบผสม, เอกลักษณ์ ไชยภูม Jan 2018

การปกครองตามธรรมชาติ: กฏเหล็กสามข้อของการปกครองแบบผสม, เอกลักษณ์ ไชยภูม

Journal of Social Sciences

บทความชิ้นนี้นำเสนอกรอบแนวคิดเรื่องการปกครองตามธรรมชาติในฐานะที่เป็นฐานคิดของทฤษฎีการปกครองแบบผสมผ่านสิ่งที่เรียกว่า “กฎเหล็กของการปกครองแบบผสม” ที่เกิดขึ้นจากเงื่อนไขเฉพาะและธรรมชาติที่แตกต่างกันขององค์ประกอบภายในการปกครองแบบผสม อันประกอบด้วย (1) กฎเหล็กของมหาชน (2) กฎเหล็กของกลุ่มคน และ (3) กฎเหล็กของเอกบุคคล โดยกฎเหล็กประการแรกเกี่ยวข้องกับกลไกสร้างความชอบธรรมให้แก่ระบอบการเมืองต่างๆ ในขณะที่กฎเหล็กข้อที่สองเกี่ยวข้องกับส่วนที่เป็นกลไกการทำงานจริงของระบอบการเมืองที่จำเป็นต้องอาศัยคนจำนวนน้อยในการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะและเพื่อให้การบังคับใช้กฎเกณฑ์ต่างๆ ของรัฐบาลดำเนินต่อไปได้ กฎเหล็กประการสุดท้ายอาจพิจารณาผ่านปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "การผงาดของรัฐบาลโดยคนคนเดียว" ในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่ทำให้ระบอบการเมืองทุกระบอบต้องมีกลไกที่คอยเติมเต็มช่องว่างในการใช้อำนาจบริหารของรัฐสมัยใหม่ และรวมถึงอำนาจในสภาวะฉุกเฉินอย่างทันท่วงทีที่ปรากฏในรูปของผู้เผด็จการตามรัฐธรรมนูญ


การเผาป่า และหมอกควันข้ามแดน : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในประเทศอินโดนีเซีย, พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์, ภูมิ มูลศิลป์ Jan 2018

การเผาป่า และหมอกควันข้ามแดน : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในประเทศอินโดนีเซีย, พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์, ภูมิ มูลศิลป์

Journal of Social Sciences

มลพิษจากหมอกควันข้ามแดนเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคอาเซียนซึ่งมีระดับความร ุนแรงที่แตกต่างกันในแต่ละปี สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการตัดไม้ทำลายป่า และเผาป่าไม้ในบริเวณพื้นที่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการถางพื้นที่เตรียมที่ดินไว้ใช้ในการเพาะปลูกพืชทางการเกษตร เช่น ไม้เนื้อแข็งเพื่อนำเยื่อไม้ไปทำกระดาษ ยางพารา และที่สำคัญอย่างยิ่งคือปาล์มน้ำมัน พื้นที่ที่ถูกเผาบางส่วนถูกเผาโดยชาวนาหรือชาวสวนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ แต่บางพื้นที่ที่ถูกเผาเป็นบริเวณกว้างอยู่ในเขตพื้นที่ของบริษัทที่ทำอุตสาหกรรมทางการเกษตรขนาดใหญ่ การเผาพื้นที่แบบผิดกฎหมายลักษณะนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอินโดนีเซีย หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเชื่อว่าเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาต้นเหตุของปัญหาหมอกควันข้ามแดนดังกล่าว โดยใช้ทฤษฎีระบบอุปถัมภ์ เพื่ออธิบายถึงต้นเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาหมอกควันของรัฐบาลอินโดนีเซียจากอดีตถึงปัจจุบัน และในบทสรุปสุดท้ายของการวิจัย ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ผลการวิจัยเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อนโยบายของประเทศไทยและอาเซียนในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันข้ามแดนในภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป


ความชอบธรรมและการล้มล้างทรราช : มุมมองของลัทธิขงจื่อในประวัติศาสตร์จีน, สยุมพร ฉันทสิทธิพร Jan 2018

ความชอบธรรมและการล้มล้างทรราช : มุมมองของลัทธิขงจื่อในประวัติศาสตร์จีน, สยุมพร ฉันทสิทธิพร

Journal of Social Sciences

แหล่งที่มาของความชอบธรรมในการปกครองตามมุมมองของลัทธิขงจื่อมีแหล่งที่มาจากสองแหล่งคือ อาณัติแห่งฟ้าและคุณธรรมส่วนบุคคลของผู้ปกครอง ลัทธิขงจื่อถือว่าผู้ปกครองทุกคนไม่ว่าเถลิงสู่อำนาจด้วยการสืบสันตติวงศ์หรือจากการกำราบทรราช ล้วนถือว่าได้รับอาณัติแห่งฟ้าด้วยกันทั้งสิ้น แต่คุณธรรมส่วนบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญที่ตัดสินว่าผู้ปกครองผู้นั้นจะรักษาอาณัติแห่งฟ้าได้หรือไม่ และเพื่อควบคุมผู้ปกครองให้อยู่ในครรลองคลองธรรม แม้ปรัชญาการปกครองของลัทธิขงจื่อจะมีความเป็นอนุรักษ์นิยมอย่างสูง ภายใต้การอ้างอิงคุณธรรมจริยธรรมและการยึดมั่นจารีตอย่างเคร่งครัด แต่กลับนำเสนอวาทกรรมต่อต้านอำนาจเพื่อนำไปสู่การล้มล้างการปกครองอย่างมีความชอบธรรมด้วยเช่นกัน


การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยเปรียบเทียบ: แง่คิดต่อความล้มเหลวในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของไทย, สิริพรรณ นกสวน สวัสดี Jan 2018

การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยเปรียบเทียบ: แง่คิดต่อความล้มเหลวในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของไทย, สิริพรรณ นกสวน สวัสดี

Journal of Social Sciences

การเปรียบเทียบด้วยวิธี "ความแตกต่างมากที่สุดเพื่ออธิบายผลลัพธ์ร่วมกัน" จากประสบการณ์ของเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา ชิลี ตูนิเซีย ไนจีเรีย ยูเครน และโปแลนด์ พบว่าปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในช่วงคลื่นลูกที่ 3 คือ 1. การผนึกกำลัง และการประนีประนอมของพลังฝ่ายค้านที่ต้องการประชาธิปไตย 2. บทบาทของผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ จริงใจต่อการวางรากฐานระบอบประชาธิปไตย 3. ความเห็นพ้องยอมรับทั้งเนื้อหาและกระบวนการร่าง/แก้ไขรัฐธรรมนูญ 4. กองทัพอยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือน 5. จัดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วตามควร การศึกษาเปรียบเทียบเช่นนี้ชี้ให้เห็นว่าความล้มเหลวในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของไทย มีที่มาจากความแตกแยกและทะเลาะกันเองในฝ่ายที่สนับสนุนประชาธิปไตย ไม่ปรากฏช ัดว่าผู้นำทางการเมืองทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและชนชั้นนำในสังคมมีเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการวางรากฐานประชาธิปไตย ขาดฉันทามติในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญการดำรงอยู่ของกองทัพเหนือรัฐบาลพลเรือน และการที่การเลือกตั้งของไทยยังไม่เป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือในการแก้วิฤตการเมืองและเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย


จากปฐมบทประชาธิปไตยสู่ทางสองแพร่งของเสรีประชาธิปไตย: เส้นนทางของ 'ประชาธิปไตย' ในตะวันตก, เอกลักษณ์ ไชยภูมี Jan 2018

จากปฐมบทประชาธิปไตยสู่ทางสองแพร่งของเสรีประชาธิปไตย: เส้นนทางของ 'ประชาธิปไตย' ในตะวันตก, เอกลักษณ์ ไชยภูมี

Journal of Social Sciences

จุดประสงค์หลักของบทความชิ้นนี้คือการเขียนชีวประวัติและประวัติศาสตร์ของการใช้คำ "ประชาธิปไตย" ในโลกตะวันตกตั้งแต่ยุคโบราณ ด้วยการอธิบายและจัดประเภทข้อถกเถียงและข้อโต้แย้งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจุดกำเนิดและความรับรู้ที่มีต่อคำประชาธิปไตยในแต่ละยุคสมัย เพื่อที่จะนำไปสู่การทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงนัยยะของคำและความหมายที่เกิดจากการนำคำดังกล่าวมาใช้ตลอดระยะเวลาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยข้อเสนอหลักของบทความชิ้นนี้คือ คำว่าประชาธิปไตยได้ถูกนำไปใช้ทางการเมืองทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านระบอบประชาธิปไตยนับตั้งแต่ที่คำคำนี้อุบัติขึ้น จนกระทั่งอิทธิพลของนักปรัชญาการเมืองอย่างเพลโตและอาริสโตเติลที่ทำให้เกิดกระแสที่พิจารณาประชาธิปไตยในแง่ลบขึ้นด้วยการจัดประเภทประชาธิปไตยไว้ในฐานะรูปแบบการปกครองที่ไม่ดี ซึ่งวิธีคิดดังกล่าวดำรงอยู่เรื่อยมาตลอดระยะเวลาในยุคสมัยกลาง จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 18 ที่ซึ่งเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงในสองฟากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกได้ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงนัยยะของประชาธิปไตย และสร้างความหมายที่ดีขึ้นจากการนำคำว่าประชาธิปไตยไปสัมพันธ์กับระบอบการปกครองแบบตัวแทนหรือประชาธิปไตยตัวแทน อันเป็นคำที่ได้รับความนิยมในศตวรรษที่ 19 ก่อนที่จะกลายเป็นคำที่แพร่หลายอย่างชัดเจนภายหลังสงครามโลกทั้งสองครั้ง ซึ่งปูทางไปสู่การเป็น "กฎเกณฑ์หนึ่งเดียวของบ้านเมือง" ของระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันและนำมาซึ่งปัญหาทางสองแพร่งที่เกิดขึ้นภายในตัวระบอบเสรีประชาธิปไตยเองในท้ายที่สุด


บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ Jan 2018

บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ

Journal of Social Sciences

No abstract provided.


มิติระหว่างประเทศในตุลาการภิวัฒน์, วีระ สมบูรณ์ Jan 2018

มิติระหว่างประเทศในตุลาการภิวัฒน์, วีระ สมบูรณ์

Journal of Social Sciences

บทความชิ้นนี้วิเคราะห์อธิบายมิติระหว่างประเทศซึ่งสัมพันธ์กับตุลาการภิวัตน์ เริ่มจากแนวพินิจเกี่ยวกับตุลาการภิวัตน์ในฐานะส่วนหนึ่งในกระบวนการประกอบสร้างของการจัดการปกครอง พัฒนาการช่วงที่ผ่านมานับแต่สิ้นสุดสงครามเย็นและกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้มิติระหว่างประเทศมีผลสำคัญต่อการจัดวางหลักการและแนวปฏิบัติของตุลาการภิวัตน์ทั่วโลก จากนั้นจึงอภิปรายมิติระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปทัสถานระหว่างประเทศ เศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ และโลกาภิวัตน์ทางตุลาการ โดยนำเสนอกรณีศึกษาหลายประเทศจากอดีตจนถึงช่วงที่ผ่านมา เพื่อชี้ว่าตุลาการภิวัตน์ผนวกกับผลกระทบของมิติระหว่างประเทศ ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของแนวทางร่วมสมัยในการแก้ไขความตึงเครียดทางการเมืองในสังคมช่วงเปลี่ยนผ่าน กระบวนการนี้นำมาซึ่งการเผยแพร่รับเอาปทัสถานและแนวปฏิบัติเข้าสู่ระดับภายในประเทศและท้องถิ่น การวิเคราะห์จึงจำเป็นต้องพิจารณาจริงจังถึงบริบททางประวัติศาสตร์และการใช้ประโยชน์ทางการเมืองซึ่งเกี่ยวข้องด้วย ตุลาการภิวัตน์ยังคงอยู่ต่อไป และพัฒนาการซึ่งสัมพันธ์กับมิติระหว่างประเทศยังต้องการการศึกษาและทำความเข้าใจมากขึ้น


ที่พรมแดนระหว่างอนุภูมิภาคเอเชียใต้และอาเซียน: มองอินเดียเชื่อมต่อเมียนมาร์ เพื่อมุ่งหน้าไปด้วยกัน, อภิรัฐ คำวัง Jan 2018

ที่พรมแดนระหว่างอนุภูมิภาคเอเชียใต้และอาเซียน: มองอินเดียเชื่อมต่อเมียนมาร์ เพื่อมุ่งหน้าไปด้วยกัน, อภิรัฐ คำวัง

Journal of Social Sciences

จากความร่วมมือระหว่างอาเซียน-อินเดีย และจากกระบวนการพัฒนาประเทศภายในอินเดีย ได้ผลักดันให้อินเดียเร่งรัดพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะพรมแดนอินเดีย-เมียนมาร์ เพื่อเชื่อมต่อทางกายภาพสู่อาเซียนด้วยทางหลวงไตรภาคี อินเดีย-เมียนมาร์-ไทย การพัฒนาดังกล่าวเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านสังคมศาสตร์ครั้งนี้ ซึ่งให้ความสนใจต่อพรมแดนระหว่างสองภูมิภาค จึงได้ค้นคว้าข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมและเศรษฐกิจตามแนวพรมแดน โดยศึกษาเอกสารและศึกษาภาคสนามที่พรมแดนของอินเดีย ทำให้ทราบถึงสภาพความเป ็นจริงที่ตลาดพรมแดนและความก้าวหน้า โดยท่อนเดียเตรียมจะเปิดประตูสู่อาเซียนที่รัฐมณีปุระ ส่วนพรมแดนแห่งอื่นคงเปิดพื้นที่เฉพาะพ่อค้าท้องถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์ยังไม่ยกระดับเป็นพรมแดนนานาชาติ จึงเป็นประเด็นที่จะต้องมีการตกลงระหว่างอินเดียกับเมียนมาร์เพื่อนำไปสู่ผลสำเร็จของการเชื่อมต่อดังกล่าว ทั้งนี้ ผลการศึกษาคาดหวังว่าจะช่วยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับอินเดียมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมความพร้อมของไทยก่อนการเปิดทางหลวงไตรภาคี


ยักษ์ที่เท้าทำด้วยดินเหนียว: บทวิจารณ์ของ Leo Strauss กับความง่อนแง่นขององค์ความรู้ในการวิจัยเชิงปริมาณ?, เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ Jan 2018

ยักษ์ที่เท้าทำด้วยดินเหนียว: บทวิจารณ์ของ Leo Strauss กับความง่อนแง่นขององค์ความรู้ในการวิจัยเชิงปริมาณ?, เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์

Journal of Social Sciences

มนุษย์โดยทั่วไปต่างหวาดกลัวความไม่แน่นอนในชีวิต พวกเขาจึงคาดหวังที่จะสามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ และสามารถเตรียมพร้อมรับมือปัญหาที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ทันท่วงที เพื่อจะได้ทำให้อนาคตของพวกเขากลายเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งแนวทางดังกล่าวทำให้ "วิทยาศาสตร์" สามารถตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวได้ เพราะเป็นแนวทางการศึกษาที่มีกฎระเบียบเคร่งครัด สามารถคาดการณ์และทำนายปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติในอนาคตได้ แต่ถึงแม้ว่าการทดลองทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากจะสร้างความศรัทธาให้กับมนุษยชาติ จนกระทั่งมีการนำแนวทางการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์เข้าไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาสาขาวิชาต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ในลักษณะของการทำวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีการใช้เทคนิคทางสถิติเป็นเครื่องมือในการทดสอบสมมติฐานของการวิจัย แต่แล้วหลักการแบบวิทยาศาสตร์ที่สวยหรู ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง "ความเป็นกลาง" (neutrality) และเรื่อง “ความเป็นภววิสัย” (objectivity) ก็ต้องถูกทำให้มัวหมองไป เมื่อการศึกษาดังกล่าวหลีกหนีไม่พ้นอคติ หรืออารมณ์ความรู้สึกของผู้วิจัยที่เป็นปุถุชนผู้สร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นมา ก่อให้เกิดความไม่ลงรอยกันทั้งในทางหลักการและในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการทดสอบสมมติฐานและการสร้างข้อสรุปผลการวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่ทำได้อย่างมากเพียงแค่การอาศัย "ความน่าจะเป็นทางสถิติ" ซึ่งก็คือ การคาดการณ์ว่าปรากฏการณ์ที่ศึกษาจะเกิดขึ้นจริงบนฐานของความไม่แน่นอนนั่นเองแต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันได้ทำให้ปัญหาดังกล่าวลดลง คำปรามาสของ ลีโอ สเตราส์ ที่ว่าองค์ความรู้สมัยใหม่เปรียบเสมือนยักษ์ที่เท้าเป็นดินเหนียวจึงต้องถูกนำกลับมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง


บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ Jan 2018

บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ

Journal of Social Sciences

No abstract provided.


บทบาทของสหรัฐอเมริกาในฐานะจักรวรรดิที่ไตร่ตรองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ความต่อเนื่องและเปลี่ยนแปลงในช่วงรัฐบาลโอบามา ค.ศ. 2009-2016, กัลยา เจริญยิ่ง Jan 2018

บทบาทของสหรัฐอเมริกาในฐานะจักรวรรดิที่ไตร่ตรองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ความต่อเนื่องและเปลี่ยนแปลงในช่วงรัฐบาลโอบามา ค.ศ. 2009-2016, กัลยา เจริญยิ่ง

Journal of Social Sciences

บทความวิจัยนี้วิเคราะห์บทบาทของสหรัฐอเมริกาในฐานะจักรวรรดิในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในย ุครัฐบาลโอบามาเมื่อดูประเด็นถกเถียงในเรื่อง ขั้วอำนาจเดียว หลายขั้วอำนาจ และจักรวรรดิ บทความวิจัยเสนอกรอบความคิด "จักรวรรดิไตร่ตรองและใคร่ครวญ" (reflexive empire) เพื่อมุ่งตอบคำถามว่าการดำเนินนโยบายของสหรัฐฯ มีความต่อเนื่องและความเปลี่ยนแปลงอย่างไรต่อสถานะมหาอำนาจในรูปแบบจักรวรรดิที่สหรัฐฯ มีต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทความวิจัยนี้ใช้เอกสารทางการของสหรัฐฯและสุนทรพจน์ของผู้นำประเทศ รวมทั้งบุคคลสำคัญในรัฐบาลบุชและโอบามา รวมถึงข้อมูลจากหนังสือพิมพ์พร้อมทั้งข้อมูลระดับท ุติยภูมิประกอบด้วยเอกสารวิจัยและบทความวิชาการที่นักวิชาการได้นำเสนอเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ในเรื่องการหมุนสู่เอเชีย (Pivot to Asia) เพื่อสนับสนุนข้อเสนอของบทความวิจัยนี้ซึ่งก็คือ ยุทธศาสตร์การปรับดุลอำนาจ (pivot หรือ rebalance) ในมิติการทหาร มิติเศรษฐกิจการค้าและมิติการทูตและวัฒนธรรมถูกนำมาใช้เพื่อคานอำนาจจีน โดยเนื้อแท้แล้วยุทธศาสตร์นี้จึงมุ่งให้ระเบียบในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกลับเข้า “สู่สมดุล” ที่มีสหรัฐฯ เป็นศูนย์กลางอำนาจและเป็นจักรวรรดิที่กำหนดทิศทางและกฎเกณฑ์ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่าสหรัฐฯภายใต้การนำของโอบามานั้นเป็น "จักรวรรดิที่ไตร่ตรองและใคร่ครวญ" (reflexive empire) พร้อมที่จะมีมิติความสัมพันธ์ด้านความร่วมมือและการสร้างเครือข่ายกับประเทศต่างๆ และกลุ่มประเทศอื่นในการเมืองโลกที่มีหลายขั้วอำนาจ โดยสหรัฐฯ เป็นผู้นำในการสร้างกฎเกณฑ์และใช้ “อำนาจอัจฉริยะ” (smart power) เพื่อประนีประนอมและชักจูงให้ประเทศเหล่านี้เห็นพ้องเข้าร่วมอาณาจักรเคร ือข่ายและสถาบันที่สหรัฐฯ สร้างและกำหนดขึ้นในฐานะผู้นำ


สภาพและปัญหาการทำเกษตรปลอดภัยของเกษตรกรในจังหวัดราชบุรี, กังสดาล เชาว์วัฒนกุล Jan 2018

สภาพและปัญหาการทำเกษตรปลอดภัยของเกษตรกรในจังหวัดราชบุรี, กังสดาล เชาว์วัฒนกุล

Journal of Social Sciences

No abstract provided.


การศึกษาทางการเมืองเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย, ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ Jan 2018

การศึกษาทางการเมืองเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย, ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์

Journal of Social Sciences

การศึกษาทางการเมืองเป็นกระบวนการการเรียนรู้ของมนุษย์ที่จะส่งเสริมให้สามารถแสวงหาเอกลักษณ์ทางปัญญา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ อุดมการณ์ทางการเมือง รวมทั้งยังเป็นกระบวนการของการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการโต้ตอบหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ในชีวิตจริงของแต่ละวัน เพื่อช่วยทำให้เกิดสติปัญญา มีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบในระบบการเมือง องค์ประกอบของการศึกษาทางการเมืองแบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ ประการแรกความรู้ทั่วไปได้แก่ ข้อมูลข่าวสารพื้นฐานที่เป็นเงอนไขจำเป็นต่อการทำความเข้าใจในมิติต่าง ๆ ทางการเมือง ประการที่สองทักษะ ได้แก่ ความสามารถในการประมวลข้อมูลข่าวสารเพื่อทำการวิเคราะห์และประเมินแนวทางในการตัดสินใจทางการเมืองได้อย่างลึกซึ้ง และ ประการที่สาม ทัศนคติในการวิเคราะห์ข่าวสารข้อมูลทางการเมืองอย่างรอบด้านและพินิจพิจารณาให้ทั่วถ้วนลึกซึ้งก่อนที่จะเชื่อตาม หรือนำมาประกอบการตัดสินใจ การศึกษาทางการเมืองจึงต้องสอดรับกับชีวิตในสังคม สถานศึกษาจำลองหรือย่อส่วนสังคมมาไว้ในสถานศึกษา โดยจำลองแบบอย่างที่ดีงามของชีวิต โดยจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียนแต่ละกลุ่มอายุ ต้องมการสร้างบรรยากาศความเป็นประชาธิปไตยในสถานศึกษา ให้เด็กรู้จักลักษณะพื้นฐานทั่วไปของสังคม สร้างบรรยากาศให้เด็กได้มีการเรียนรู้สงแปลกใหม่และมุ่งให้สังคมดีขึ้น สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน เน้นเป้าหมายของประชาธิปไตยคือการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข


ประวัติศาสตร์และการเมืองของ "พวกขี้แพ้": การครอบงำ อำนาจ และการต่อต้านในทัศนะของเจมส์ ซี. สก็อตต์, กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ Jan 2018

ประวัติศาสตร์และการเมืองของ "พวกขี้แพ้": การครอบงำ อำนาจ และการต่อต้านในทัศนะของเจมส์ ซี. สก็อตต์, กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์

Journal of Social Sciences

บทความเรื่องนี้มุ่งสำรวจความคิดทางการเมืองของเจมส์ ซี สก็อตต์ ผ่านงานเขียนสำคัญของเขาห้าเรื่อง โดยมีข้อนำเสนอหลักว่า การเมืองของสก็อตต์ คือการเมืองที่ยืนอยู่ข้าง "พวกขี้แพ้" ในโลกรัฐศาสตร์อันได้แก่ มวลชนชนชั้นล่างที่ไร้การจัดตั้งและคนป่าไร้รัฐ แทนที่จะเห็นว่าเป็น มวลชนที่ถูกครอบงำ ยอมจำนนล้าหลัง ไร้อารยะ สก็อตต์มองคนเหล่านี้ว่าเป็นผู้กระทำการทางเมือง ต่อรอง ต่อต้าน และไม่ยอมจำนนต่ออำนาจของผู้ปกครองในทุกเมื่อเชื่อวัน ศิลปะในการต่อต้านของ “พวกขี้แพ้” นี้ครอบคลุมตั้งแต่การลอบทำลายทรัพย์สิน ลักเล็กขโมยน้อย ข่าวลือ วัฒนธรรมมุขปาฐะ ไปจนถึงเกษตรกรรมแบบตัดและเผา ในด้านหนึ่งงานของสก็อตต์อาจถูกจัดได้ว่าเป็นงานประเภทท้องถิ่นนิยม ส่งเสริมวัฒนธรรมย่อยเฉพาะเจาะจงอันหลากหลาย ในอีกด้านหนึ่งงานของสก็อตทำให้เราทบทวนแนวคิดทางการเมืองของนักทฤษฎีรัฐศาสตร์สำคัญหลายคน อาทิ รุสโซ ชาร์ล ทิลลี่ และสลาวอย ชิเชค อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงงานของเขากับประเด็นข้อถกเถียงทางรัฐศาสตร์ร่วมสมัยในโลกปัจจุบัน อาทิ การครอบงำทางอุดมการณ์ รัฐ อนาธิปไตย มาร์กซิสม์ ขบวนการเคลื่อนไหว และการปฏิวัติ


การพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของอัตลักษณ์และการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี, ธีราพร ทองปัญญา Jan 2018

การพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของอัตลักษณ์และการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี, ธีราพร ทองปัญญา

Journal of Social Sciences

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์และความต้องการที่มีต่อตลาดน้ำดำเนินสะดวก รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำดำเนินสะดวก ในการวิจัยได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกและจัดการสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 20 คนซึ่งเป็นคนในชุมชน ผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ นอกจากนี้ได้สัมภาษณ์กับกลุ่มนักท่องเที่ยวโดยใช้การสุ่มแบบบังเอิญ จำนวน 32 คน และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสรุปประเด็นสำคัญ พบว่า อัตลักษณ์ของตลาดน้ำดำเนินสะดวกสามารถสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะที่มีการแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ยุคคือ 1) ชุมชนแห่งการสัญจรทางน้ำของเกษตรกรท้องถิ่น 2) ชุมชนตลาดน้ำแห่งการท่องเที่ยวตามวิถีชีวิตคนท้องถิ่น และ 3) ชุมชนตลาดน้ำแห่งการท่องเที่ยวที่เข้มข้น โดยความต้องการที่มีต่อตลาดน้ำดำเนินสะดวกมีความแตกต่างกันไปตามกลุ่มของบุคคล 3 กลุ่ม คือ นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ส่วนแนวทางการพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการท่องเที่ยวตลาดน้ำดำเนินสะดวกสามารถดำเนินการได้ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว


Big Society, Free Economy, And Strong State: Bonefeld's Open Marxism And The Critique Of Political Economy, Watcharabon Buddharaksa Jan 2018

Big Society, Free Economy, And Strong State: Bonefeld's Open Marxism And The Critique Of Political Economy, Watcharabon Buddharaksa

Journal of Social Sciences

This paper introduces Open Marxism as a critical Marxist school of thought to a wider readership and constructs an Open Marxist theoretical framework to understand contemporary political economy. This paper argues that Werner Bonefeld's Open Marxism is a beneficial tool to understand contemporary political economy. It offers three distinct theories of the Big society, economic freedom, and the strong state. Bonefeld addresses the vitality of these three concepts in his critique of political economy, offering theoretical terrains for 'human agency' and rejecting determinist and positivist conceptions of society. He posits that society should be a 'subject' of human social life …


การปฏิวัติที่ถูกตัดตอน: ชาวนา นักศึกษา กฎหมาย และความรุนแรงในภาคเหนือของไทย Jan 2018

การปฏิวัติที่ถูกตัดตอน: ชาวนา นักศึกษา กฎหมาย และความรุนแรงในภาคเหนือของไทย

Journal of Social Sciences

No abstract provided.