Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Economics

PDF

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2017

Articles 1 - 30 of 31

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

Technical Efficiency Of Private Clinics Under Universal Coverage Scheme In Bangkok, Thailand, Pimpitcha Kangyang Jan 2017

Technical Efficiency Of Private Clinics Under Universal Coverage Scheme In Bangkok, Thailand, Pimpitcha Kangyang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to measure technical efficiency of 88 private clinics under Universal Coverage Scheme (UC) in Bangkok in fiscal year 2017 and to identify the factors affecting their technical efficiency. The study was divided to two parts. The first part was measuring of technical efficiency with data envelopment analysis (DEA) and the second part was identifying the factors affecting efficiency with regression analysis using Tobit model. The result of DEA under a variable return to scale assumption showed that 84 private clinics under UC (95.45 percent of the target of study) were operating on pure technical efficiency frontier (VRSTE), …


Economic Policy Uncertainty And Carry Trade Strategy, Tiranan Sanguanjeen Jan 2017

Economic Policy Uncertainty And Carry Trade Strategy, Tiranan Sanguanjeen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study provides a comprehensive analysis of the impact of economic policy uncertainty on carry trade. Based on 24 countries (both emerging and developed markets) during the past 17 years, the paper considers five strategies of carry trade investment (i.e. positive carry, carry to risk, yield slope, policy change and valuation), three methods of portfolio constructions (equal weight, risk parity and mean variance optimization), and four types of economic policy uncertainties (US, Japan, EU and Global). Based on vector autoregressive model, it is found that US and Japan economic policy uncertainties have most impact on carry trade return. However, direction …


A Study Of Informal Loan In The Greater Bangkok Area: Fators Affecting Loan Decision And Interest Rate From The Demand Side, Wichyada Tanomchat Jan 2017

A Study Of Informal Loan In The Greater Bangkok Area: Fators Affecting Loan Decision And Interest Rate From The Demand Side, Wichyada Tanomchat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis examines the likelihood of borrowing money from the informal credit market, the significant factors influencing the informal interest rates, and the factors which affect people's decision on going back to rely on informal credit of individuals over 20+ years of age in four provinces, including Bangkok and Greater Bangkok, in Thailand. The survey uses a multi-stage stratified random sampling method by the weight of populations in each province for analysis with a quota sampling technique. The data used in the study is collected from 1,494 respondents by questionnaires. The results suggest that (i) luxury spending behavior, income levels, …


ผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีต่อการค้าระหว่างประเทศของไทยกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ, จักรกวินท์ เปี่ยมวรการุณย์ Jan 2017

ผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีต่อการค้าระหว่างประเทศของไทยกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ, จักรกวินท์ เปี่ยมวรการุณย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยทางทฤษฎีและการวิจัยเชิงประจักษ์ว่าด้วยผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีต่อการค้าระหว่างประเทศพบว่าความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศปรับตัวลดลงหากผู้ส่งออกมีลักษณะกลัวความเสี่ยงน้อย (Less Risk Averse) มิฉะนั้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นหากผู้ส่งออกมีลักษณะกลัวความเสี่ยงมาก (Highly Risk Averse) แต่มีบางงานศึกษาไม่พบผลกระทบที่มีนัยสำคัญ ฉะนั้นงานศึกษานี้มีจึงวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีต่อปริมาณการส่งออกของไทยโดยเลือกการส่งออกไปยัง4ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มประเทศอาเซียน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป การศึกษาใช้วิธี ARDL Bound Testing ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถหาผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวรวมทั้งการปรับตัวจากระยะสั้นสู่ระยะยาวได้ในสมการเดียวกัน ข้อมูลที่ใช้มีลักษณะเป็นรายเดือนตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 ถึง 2016 การศึกษาพบว่าในระยะสั้นความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้การส่งออกลดลง ในระยะยาวอุตสาหกรรมส่วนใหญ่สามารถปรับตัวต่อการผันผวน ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ สำหรับในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบในระยะยาว ส่วนใหญ่ทำให้การส่งออกลดลง อ้างอิงได้ว่าผู้ส่งออกในอุตสาหกรรมเหล่านี้มีลักษณะกลัวความเสี่ยงน้อย (Less Risk Averse) จากการที่การส่งออกในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในระยะยาว ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวภายใต้การจัดการ (Managed Float) ของไทยจึงยังคงเป็นระบบที่มีความเหมาะสม อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในระยะสั้นอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้นภาครัฐควรจะมีมาตรการในการกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้ส่งออกมีการประกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวนมาก


พัฒนาการของการรับประทานอาหารนอกบ้านในสังคมไทย, จิรพันธ์ รวมพรรณพงศ์ Jan 2017

พัฒนาการของการรับประทานอาหารนอกบ้านในสังคมไทย, จิรพันธ์ รวมพรรณพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพัฒนาการของสถานที่กินอาหารโดยเฉพาะการทานอาหารนอกบ้านตามร้านอาหารของชนชั้นกลางในเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งเน้นศึกษาตั้งช่วงรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจนพร้อมกับการเข้ามาของอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกที่เพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาพบว่า พัฒนาการของสถานที่กินอาหารนั้นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในเมืองกรุงเทพฯ ช่วงรัชกาลที่ 5 ที่ได้มีการปฏิรูประบบราชการ ซึ่งทำให้มีสถานที่ราชการชัดเจนและเกิดอาชีพ "ข้าราชการ" ที่ต้องทำงานตามเวลาราชการที่แน่นอน ประกอบกับการเป็นเสมียนในห้างฝรั่งได้กลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการเป็นข้าราชการ ปัจจัยทั้งสองนี้ได้กลายเป็นแรงผลักสำคัญให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารนอกบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารมื้อกลางวัน ด้วยเหตุนี้ร้านอาหารสำหรับมื้อกลางวันจึงเริ่มมีมากขึ้นและได้ขยายเวลาให้บริการออกไปยาวนานขึ้นเมื่อมีการเข้ามาของไฟฟ้า ประกอบกับเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ. 2464 ก็ได้ทำให้เด็กอายุ 7 – 14 ปี ต้องเข้าโรงเรียนซึ่งนั้นทำให้การทานอาหารนอกบ้านในมื้อเที่ยงกลายเป็นเรื่องที่หลักเลี่ยงไม่ได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดให้ข้าราชการเริ่มทำงานตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. และได้เปลี่ยนเป็นเวลา 08.30 – 16.30 น. ในปี พ.ศ. 2502 โดยยังคงเวลาพักเที่ยงดังเดิมคือ 12.00 – 13.00 น. ก็ยิ่งทำให้การรับประทานอาหารนอกบ้านโดยเฉพาะมื้อเที่ยงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก กระทั่งช่วงทศวรรษ 2500 ได้มีการพัฒนาเส้นคมนาคมตลอดจนความเป็นเมืองที่เพิ่มมากขึ้นทำให้การออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านนั้นกลายเป็นเรื่องปกติ และเมื่อพิจารณาการรับประทานอาหารนอกบ้านตามร้านอาหารในปัจจุบันแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะด้วยความจำเป็นหรือเพื่อแสดงสถานะบางอย่างผ่านการบริโภคอาหารก็ตาม


ระดับค่าจ้างที่แตกต่างกันในพื้นที่ความหนาแน่นกรุงเทพมหานครผ่านเว็บไซต์หางานออนไลน์, จุมพล กูลโท Jan 2017

ระดับค่าจ้างที่แตกต่างกันในพื้นที่ความหนาแน่นกรุงเทพมหานครผ่านเว็บไซต์หางานออนไลน์, จุมพล กูลโท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แนวคิดเศรษฐศาสตร์จุลภาคเชื่อว่าศักยภาพของพื้นที่จะส่งผลโดยตรงกับค่าแรงของแรงงานในพื้นที่ด้วย การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) แสดงให้เห็นการเกิดขึ้นของ Intra-Urban Wage Premium ในแต่ละย่านของกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาลักษณะของเมืองว่าเอื้อต่อการเกิด Intra-Urban Wage Premium และ 3) ศึกษาผลกระทบกับประสบการณ์ทำงานที่เกิดจากการทำงานในย่านพื้นที่ต่างๆ โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการนำข้อมูลจากบัญชีผู้ใช้งานในเว็บไซต์หางานออนไลน์ การวิเคราะห์จะต่อยอดด้วยการนำชื่อบริษัทจากประวัติงานของผู้ใช้บริการมาค้นหาตำแหน่งพิกัดสถานที่ผ่าน Google Map เพื่อ 1) ระบุย่านพื้นที่ของสถานที่ตั้งบริษัท โดยผู้วิจัยทำการแบ่งย่านเมืองทั้งสิ้น 8 เขตเมือง ตามความหนาแน่นของการจ้างงานและระดับเงินเดือนของปี 2558 (49,730 ตำแหน่งงาน) และ 2) เพื่อระบุลักษณะของเมือง (Urban Characters) ที่บริษัทตั้งอยู่ ผ่านฐานข้อมูล GoodWalk Score โดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเลือกใช้ตัวแบบ Mincer's Equation ในการวิเคราะห์ผู้ที่ตัดสินใจเปลี่ยนงานใหม่ในปี พ.ศ. 2559 (3,652 ราย) ผลการศึกษาพบว่า 1) การเกิดขึ้นของ Intra-Urban Wage Premium จะมีความเข้มข้นสูงในย่านสีลม-สาทร และอโศก-เพชรบุรี มากตามลำดับ 2) ลักษณะเมืองที่เอื้อให้การเข้าถึงพื้นที่ด้วยการเดินเท้า (GoodWalk Score) จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มขึ้นของระดับค่าจ้างโดยเฉลี่ยภายในพื้นที่ อีกทั้ง 3) ประสบการณ์ของแรงงานที่เคยทำงานในเขตที่มีความเข้มข้นของการเป็นเมืองสูงจะช่วยให้ได้รับ Intra-Urban Wage Premium จากการเข้าทำงานใหม่สูงสอดคล้องกัน


กระบวนการสร้างมารยาทของสังคมไทย, ปกรณ์สิทธิ ฐานา Jan 2017

กระบวนการสร้างมารยาทของสังคมไทย, ปกรณ์สิทธิ ฐานา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษากระบวนการสร้างและการเปลี่ยนแปลงของมารยาทของสังคมไทย โดยใช้แนวคิดการเมืองวัฒนธรรมเป็นกรอบในการศึกษา และจะศึกษาเฉพาะมารยาทที่รัฐใช้อย่างเป็นทางการเพื่อเป็นแบบแผนความประพฤติของพลเมือง ผลการศึกษาพบว่าแบบแผนมารยาทในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง และมารยาทเป็นพื้นที่ในการช่วงชิงอำนาจทางวัฒนธรรมของชนชั้นนำ รวมถึงเป็นเครื่องมือที่ชนชั้นนำใช้เพื่อปลูกฝังอุดมการณ์ทางการเมืองแก่ผู้คนเพื่อสร้างพลเมืองในแบบที่ชนชั้นนำในสมัยนั้นต้องการ


เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยกลุ่มทุนระบบรางในไทย, อดิศักดิ์ สายประเสริฐ Jan 2017

เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยกลุ่มทุนระบบรางในไทย, อดิศักดิ์ สายประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เล่มนี้ต้องการศึกษาพัฒนาการของกลุ่มทุนระบบรางในไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2398 ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบทุนนิยมโลก จนถึงปี พ.ศ. 2558 เพื่อวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับกลุ่มทุนที่มีบทบาทนำและลักษณะการสะสมทุน โดยการสร้างกรอบการวิเคราะห์จากงานเขียนทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง ประกอบไปด้วย แนวคิดว่าด้วยการนำของรัฐในระบบราง (Theory of State Domination of Railways) แนวคิดม้าสามขา (Tripod Structure) ของ Suehiro Akira และงานของ J. Allen Whitt ซึ่งจะแบ่งกลุ่มทุนระบบรางในแต่ละยุคตามบทบาทการนำออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทุนโดยรัฐ กลุ่มทุนเอกชนภายในประเทศ และกลุ่มทุนต่างชาติ จากการศึกษา พบว่า เริ่มแรกกลุ่มทุนที่มีบทบาทนำในระบบราง คือ กลุ่มทุนต่างชาติซึ่งเป็นข้าราชการที่มีความรู้ในด้านการสำรวจ และ กลุ่มทุนโดยรัฐซึ่งได้ว่าจ้างชาวต่างชาติที่มีความรู้ระบบรางมาเป็นข้าราชการ จนกระทั่งเมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานจึงทำให้กลุ่มทุนเอกชนหมดบทบาทในระบบรางไป กลุ่มทุนโดยรัฐจึงเป็นผู้ผูกขาดระบบรางและเข้าบริหารกิจการรางแทนกลุ่มทุนเอกชน แต่กลับประสบปัญหาการขาดทุนและการขยายระบบรางที่ล่าช้า เนื่องจากการขาดแคลนเงินในการขยายเส้นทาง ทำให้ต้องกู้เงินจากกลุ่มทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนต่างชาติกลับมามีบทบาทในระบบรางไทยในการกำหนดเงื่อนไขที่มาพร้อมกับเงินกู้ นอกจากนั้นกลุ่มทุนต่างชาติเป็นผู้รับสัมปทานระบบรางในกรุงเทพเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรที่ติดขัด แต่ปัญหาในการก่อสร้างที่ล่าช้าได้นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มทุนโดยรัฐกับกลุ่มทุนเอกชนจนก่อสร้างไม่สำเร็จทุกโครงการ ในทางตรงกันข้าม เมื่อรัฐได้ให้สัมปทานระบบรางกับกลุ่มทุนภายในประเทศไม่ว่าจะเป็นกลุ่มทุนโดยรัฐหรือเอกชน กลับผลักดันโครงการจนสามารถเปิดให้บริการได้สำเร็จ แม้ว่าจะมีปัญหาการก่อสร้างที่ล่าช้า การเปลี่ยนแปลงเส้นทางก่อสร้าง หรือประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 จนบริษัทผู้รับสัมปทานล้มละลายก็ตาม


ความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างกับวัฏจักรเศรษฐกิจ, จารุวัฒน์ เอมซ์บุตร Jan 2017

ความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างกับวัฏจักรเศรษฐกิจ, จารุวัฒน์ เอมซ์บุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างกับวัฏจักรเศรษฐกิจ โดยใช้วิธีการประมาณกลุ่มคนที่มีค่าจ้างสูงตามแบบพาเรโต้ ใช้ข้อมูลจากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรจำนวน 30 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 ถึง พ.ศ. 2558 ผลการศึกษาพบว่า แรงงานนอกระบบมีการกระจายตัวของค่าจ้างในลักษณะเบ้ขวาเช่นเดียวกับแรงงานในระบบ แต่มีความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างน้อยกว่าแรงงานในระบบ กรุงเทพมหานครมีค่าเฉลี่ยของค่าจ้างสูงที่สุดในทุกภาค กลุ่มคนที่รวยที่สุดร้อยละ 1 ทั้งในและนอกระบบมีสัดส่วนค่าจ้างคิดเป็นประมาณร้อยละ 7 ของค่าจ้างทั้งหมด ทั้งนี้ จากการพิจารณาผลกระทบกับความวัฏจักรเศรษฐกิจด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด โดยมี อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และหนี้สาธารณะ เป็นตัวแปรควบคุม พบว่า ความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างแรงงานนอกระบบกลุ่มที่รวยที่สุดร้อยละ 3 มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับขนาดของความผันผวนของวัฏจักรเศรษฐกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องมาจากความผันผวนของระดับค่าจ้างแรงงานนอกระบบ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความผันผวนของเศรษฐกิจ ขณะที่ความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างในระบบไม่มีความสัมพันธ์กับขนาดความผันผวนของวัฏจักรเศรษฐกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องมาจากค่าจ้างในระบบมีลักษณะที่ไม่เปลี่ยนแปลง (Sticky wage) จึงไม่กระทบต่อขนาดของความผันผวนเศรษฐกิจ


การศึกษาผลกระทบเชิงพลวัตของการลงทุนในภาคการขนส่งต่อสาขาการผลิตในประเทศไทย โดยใช้แบบจำลองดุลยภาพทั่วไป, วัชระ เพชรดิน Jan 2017

การศึกษาผลกระทบเชิงพลวัตของการลงทุนในภาคการขนส่งต่อสาขาการผลิตในประเทศไทย โดยใช้แบบจำลองดุลยภาพทั่วไป, วัชระ เพชรดิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาคการขนส่งและภาคการผลิตอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการลงทุนในภาคขนส่ง โดยใช้ตารางปัจจัยการผลิต-ผลผลิต พ.ศ. 2553 และข้อมูลบัญชีรายได้ประชาชาติเป็นฐานข้อมูลในการสร้างตารางบัญชีเมตริกซ์สังคมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ โดยได้แบ่งสาขาการผลิตในระบบเศรษฐกิจออกเป็น 24 สาขาการผลิต และจัดกลุ่มจากความใกล้เคียงในเทคโนโลยีการผลิตและโครงสร้างต้นทุนค่าขนส่ง สำหรับแบบจำลองที่ใช้ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) การคำนวณตัวคูณราคาคงที่ ซึ่งได้ปรับปรุงมาจากสัดส่วนค่าใช้จ่ายของสาขาการผลิตในตารางบัญชีเมตริกซ์สังคม โดยได้ปรับสัดส่วนการบริโภคภาคครัวเรือนด้วยค่าความยืดหยุ่นของรายได้เพื่อคำนึงถึงผลจากการปรับเปลี่ยนสัดส่วนการบริโภคเมื่อรายได้ของครัวเรือนเปลี่ยนแปลง 2) การคำนวณดุลยภาพทั่วไป ซึ่งการศึกษานี้ได้ออกแบบให้การสร้างมูลค่าเพิ่ม หน่วยผลิตสามารถเลือกใช้รูปแบบการขนส่งเพื่อทดแทนการเลือกปัจจัยในการผลิตได้ โดยการจำลองสถานการณ์จะเป็นการเปรียบเทียบผลกระทบจากสัดส่วนของทุนที่จะเข้าสู่ภาคการขนส่งของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า สาขาในภาคการขนส่งที่มีผลกระทบเชื่อมโยงไปข้างหลัง (Backward Linkage) มากสุด ได้แก่ สาขาการขนส่งทางราง ขณะที่ผลกระทบเชื่อมโยงไปข้างหน้า (Forward Linkage) ได้แก่ สาขาการขนส่งทางถนน เมื่อทำการจำลองสถานการณ์โดยการเพิ่มทุนในภาคขนส่งพบว่าสามารถเพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศได้ ดังนั้นรัฐบาลควรเพิ่มการลงทุนในภาคการขนส่งต่อไป นอกจากนี้ การจัดสรรเงินลงทุนในภาคการขนส่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นสาขาการผลิตที่เกี่ยวข้องกับภาคการขนส่ง โดยพิจารณาจากผลกระทบเชื่อมโยงไปข้างหน้า และผลกระทบเชื่อมโยงไปข้างหลัง


ผลกระทบของการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่อระบบเศรษฐกิจไทย: ศึกษาโดยใช้ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาค, อาทิตย์ ว่องวิกย์การ Jan 2017

ผลกระทบของการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่อระบบเศรษฐกิจไทย: ศึกษาโดยใช้ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาค, อาทิตย์ ว่องวิกย์การ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาคของประเทศเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้วยวิธี Multiplier Decomposition Analysis การศึกษาผลกระทบจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะถูกจำแนกออกเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นภายในภูมิภาค ผลกระทบระหว่างภาค และผลกระทบย้อนกลับระหว่างภาค นอกจากนี้การศึกษานี้ยังประยุกต์ใช้แบบจำลองที่สร้างขึ้นเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบผลกระทบของโครงการรถไฟความเร็วสูงสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือผ่านการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อระบบเศรษฐกิจในเชิงภูมิภาค ผลการศึกษาผลกระทบของการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติชี้ให้เห็นว่า กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและภาคตะวันออกขายผลผลิตไปยังภูมิภาคอื่นๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า การท่องเที่ยวในภูมิภาคต่างๆ ต้องพึ่งพาผลผลิตจากภูมิภาคทั้งสองในระดับสูงโดยเปรียบเทียบ ทั้งนี้รัฐบาลควรดำเนินนโยบายเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและภาคตะวันออกให้ใช้วัตถุดิบจากภูมิภาคอื่นๆ มากขึ้นเพื่อกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวในส่วนกลางไปยังภูมิภาคอื่นๆ ในขณะที่ภาคกลางแสดงบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงภูมิภาคที่เป็นแหล่งผลิตสินค้าที่สำคัญของประเทศไปสู่การบริโภคขั้นสุดท้ายในภูมิภาคอื่นๆ กรณีศึกษาจากสถานการณ์จำลองพบว่า รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือส่งผลกระทบต่อมูลค่าผลผลิตในระบบเศรษฐกิจมากกว่ารถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากผลกระทบระหว่างภาคของทั้งสองโครงการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญซึ่งปัจจัยหนึ่งเกิดจากความยาวของเส้นทางที่พาดผ่านภาคกลางที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในการประเมินผลกระทบของโครงการลงทุนใดๆ ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับผลกระทบระหว่างภาคเนื่องจากเป็นส่วนที่สะท้อนถึงการกระจายผลกระทบไปยังภูมิภาคต่างๆ


แนวจริตของพริตตี้ในเขตกรุงเทพมหานคร, ณัฐฎา คงศรี Jan 2017

แนวจริตของพริตตี้ในเขตกรุงเทพมหานคร, ณัฐฎา คงศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการเข้าสู่อาชีพ พริตตี้ และกระบวนการรับและปรับใช้วัฒนธรรมของพริตตี้เพื่อให้ตนดำรงอยู่ในกลุ่มอาชีพและสังคมได้ โดยใช้แนวคิดเรื่องฮาบิทัส และทุน ของปิแอร์ บูร์ดิเยอร์ การศึกษานี้ ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มบุคคลที่ศึกษาแบบเจาะลึก (In-depth interview) และมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยมีพริตตี้ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีศึกษา จำนวน 11 คน ผลการศึกษาพบว่า ประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อแนวจริตของพริตตี้ เกิดจากการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมที่มีลักษณะการให้อิสระ และฝึกฝนการเอาตัวรอดให้อยู่ด้วยตนเองได้ รวมถึงการเติบโตท่ามกลางการแสดงออกในเวทีสาธารณะตั้งแต่อายุยังน้อย พริตตี้จึงมีลักษณะเด่นคือ มีความคุ้นชินกับพื้นที่สาธารณะ มีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีความช่างสังเกต และมีการวางท่วงท่าในการตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม เหล่านี้คือฮาบิทัส ที่ได้พัฒนากลายไปเป็นทักษะหรือทุนวัฒนธรรมประเภทที่มีอยู่ในตัวบุคคล (Embodied form) ซึ่งสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นทุนเศรษฐกิจ ทุนสังคม และทุนสัญลักษณ์ ต่อไป เมื่อเข้าสู่อาชีพพริตตี้แล้ว แนวจริตดังกล่าว จะเข้าไปมีผลตั้งแต่การเลือกรับงาน การเลือกลูกค้า โดยในระหว่างการทำงาน พริตตี้จะให้ความสำคัญกับการวางตัวให้เหมาะสมกับลูกค้ามากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกค้าสามารถเพิ่มระดับความเข้มข้นของรูปแบบงานที่ตนไม่ได้เลือกรับได้ โดยมีความสวยงามของรูปร่างหน้าตาและการพูด เป็นทักษะรองลงมา ความมั่นใจและความกล้าแสดงออก เป็นอันดับสุดท้าย นอกจากนี้ ฮาบิทัสยังส่งผลต่อการเลือกคู่รักของพริตตี้ ที่จะต้องให้อิสระและมีทักษะในการพึ่งตนเองได้เช่นเดียวกับตน รวมถึงการประกอบอาชีพในอนาคตหลังจากเลิกอาชีพพริตตี้แล้ว พริตตี้จะยังคงไว้ซึ่งกลุ่มอาชีพอิสระ เช่น เปิดร้านค้า หรือทำธุรกิจส่วนตัว ต่อไป


บทบาทของมุสลิมไทยในการเคลื่อนไหวทางสังคมผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจอิสลามในประเทศไทย, สมพร หลงจิ Jan 2017

บทบาทของมุสลิมไทยในการเคลื่อนไหวทางสังคมผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจอิสลามในประเทศไทย, สมพร หลงจิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งเน้นศึกษาการเคลื่อนทางสังคมเพื่อกำหนดโครงสร้างทางเศรษฐกิจตามระบบอิสลามในประเทศไทย ด้วยมุสลิมในประเทศไทยซึ่งมีประมาณ 10% หรือ 6-7 ล้านคน มีความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างจากสังคมไทยทั่วไป การปฏิบัติตนในสังคมรวมทั้งการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงแตกต่างกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของสังคมไทยที่ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม อาทิ ระบบการเงินใช้ระบบการเงินที่ขับเคลื่อนด้วยดอกเบี้ยแต่อิสลามมีข้อห้ามเรื่องดอกเบี้ย หรือการบริโภคที่มุสลิมจะต้องบริโภคอาหารฮาลาล เป็นต้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบอิสลามเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนมุสลิมการดำเนินชีวิตและการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ถูกต้องตามหลักศาสนา ตามรัฐรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้รัฐจะต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้แก่คนในสังคมทุกกลุ่ม หลายสิบปีที่ผ่านมาภาครัฐไม่ได้ตอบสนองความต้องการของมุสลิมเท่าที่ควรจะเป็น แม้จะมีการออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการอุปถัมภ์ศาสนาอิสลาม 2 ฉบับและพระราชบัญญัติองค์กรมัสยิดก็ตาม จึงเกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่ออิสลามผลักดันเรียกร้องให้มีการออกกฎหมายเพื่อกำหนดโครงสร้างทางเศรษฐกิจตามแนวทางอิสลาม ขบวนการเคลื่อนไหว ประกอบด้วย นักการเมืองมุสลิม นักการศาสนา นักธุรกิจและนักเคลื่อนไหวทางสังคมประสานความร่วมมือกันในการเคลื่อนไหวในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการทำความเข้าใจให้ฝ่ายการเมืองผู้กำหนดนโยบายได้เข้าใจและเห็นด้วย การสร้างความเข้าใจกับบรรดาข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสร้างความเข้าใจกับสังคมโดยทั่วไป ซึ่งต้องใช้เวลายาวนานหลายสิบปี เนื่องจากถูกมองเป็นประเด็นด้านความมั่นคง การเคลื่อนไหวที่ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย การจัดตั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย การออกกฎหมายการบริหารองค์กรอิสลามในประเทศไทย ที่ทำให้มีความคล่องตัวในการพัฒนาระบบการตรวจรับรองฮาลาล ความสำเร็จเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย นักการเมืองมุสลิม ภาคประชาสังคมที่ผลักดันจนเกิดการยอมรับจากฝ่ายกำหนดนโยบาย


การศึกษาการลดผลกระทบจากการที่แรงงานถูกทำให้กลายเป็นสินค้า, นุชประภา โมกข์ศาสตร์ Jan 2017

การศึกษาการลดผลกระทบจากการที่แรงงานถูกทำให้กลายเป็นสินค้า, นุชประภา โมกข์ศาสตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการลดผลกระทบจากการที่แรงงานถูกทำให้กลายเป็นสินค้าในระบบรัฐสวัสดิการของประเทศสวีเดนช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองผ่านการศึกษาปัจจัยเชิงประวัติศาสตร์ ระบบการเมืองและเศรษฐกิจ พรรคการเมือง ระบบไตรภาคี เป็นต้น โดยนำทฤษฎีกฎการเคลื่อนไหวแบบทวิภาคและเศรษฐกิจในกำกับของสังคมของคาร์ล โปลานยี มาผนวกกับทฤษฎีการลดผลกระทบจากการที่แรงงานถูกทำให้กลายเป็นสินค้าของยอร์ชตา อีสปริง-แอนเดอร์เซน เพื่อนำมาเป็นกรอบทฤษฎีหลักในการวิเคราะห์ระบบรัฐสวัสดิการ จากนั้นจึงจะนำมาเชื่อมโยงเปรียบเทียบกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย ผลการศึกษาพบว่าในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐสวัสดิการของสวีเดนอยู่ในบริบทที่ให้รัฐเข้าแทรกแซงระบบเศรษฐกิจตามนโยบายแบบเคนส์ โดยรัฐ ทุนและแรงงานร่วมมือกันในลักษณะไตรภาคีอันเป็นผลมาจากการประนีประนอมทางชนชั้น ความสำเร็จของรัฐสวัสดิการเกิดจาก รัฐบาลภายใต้พรรคสังคมประชาธิปไตยมุ่งส่งเสริมการจ้างงานเต็มที่พร้อมกับการพัฒนาสังคม ดังนั้นการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากชนชั้นแรงงาน ความเข้มแข็งของสหภาพแรงงานและชนชั้นชาวนา การเติบโตทางเศรษฐกิจ ระบบภาษี รวมถึงบทเรียนจากผลกระทบในเชิงสังคมและเศรษฐกิจผ่านก่อตัวของสงครามและการเติบโตของลัทธิฟาสซิสต์ทำให้ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นบริบทที่มีความลื่นไหลต่อการพัฒนารัฐสวัสดิการในสวีเดน พรรคสังคมประชาธิปไตยสามารถผลักดันนโยบายปกป้องสังคมที่ช่วยลดผลกระทบจากการที่แรงงานถูกทำให้กลายเป็นสินค้าอย่างรอบด้าน ผลของรัฐสวัสดิการคือช่วยลดความไม่พอใจทางสังคมและก่อให้เกิดยุคสันติภาพของแรงงานเป็นเวลากว่า 3 ทศวรรษ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับกรณีของประเทศไทยพบว่าการผลักดันระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าใน พ.ศ. 2545 เกิดจากพลังปกป้องสังคมที่มาจากชนชั้นกลางที่เติบโตมาจากบริบทการเรียกร้องประชาธิปไตยในเหตุการณ์ 14 ตุลา นั่นคือชมรมแพทย์ชนบท โดยความสำเร็จของการผลักดันมาจากปัจจัยทางการเมือง รัฐธรรมนูญปี 2540 พรรคการเมืองและช่วงเวลาที่สังคมเป็นประชาธิปไตย ทำให้ไทยสามารถผลักดันระบบประกันสุขภาพที่แยกส่วนจากกันให้เป็นระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ช่วยให้ประชาชนกว่า 48 ล้านคนที่ไม่ใช่ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจและพนักงานเอกชนสามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพได้อย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ระบบหลักประกันสุขภาพจึงถือเป็นก้าวแรกของการสร้างประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจในประเทศไทยที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนกลุ่มต่างๆ อย่างไรก็ตามระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยยังไม่เพียงพอในการลดผลกระทบจากการที่แรงงานถูกทำให้กลายเป็นสินค้าเนื่องจากเป็นระบบที่คุ้มครองแรงงานด้านสุขภาพเพียงด้านเดียว ดังนั้นในอนาคตประเทศไทยควรมีบริบทที่สังคมเป็นประชาธิปไตยเพื่อสร้างพลังปกป้องสังคมที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะพลังที่มาจากชนชั้นล่างเพื่อผลักดันให้เกิดนโยบายอื่นๆที่ครอบคลุมและรอบด้านเหมือนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งนี้ระบบรัฐสวัสดิการและระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นรูปแบบหนึ่งที่อยู่ภายใต้ทฤษฎีเศรษฐกิจในกำกับของสังคมตามข้อเสนอของโปลานยีที่ช่วยให้กระบวนการสะสมทุนดำเนินไปพร้อมกับการกระจายส่วนเกินทางเศรษฐกิจอย่างได้สัดส่วนกันซึ่งสามารถช่วยชดเชยผลกระทบจากการที่แรงงานถูกทำให้กลายเป็นสินค้า


Factors Associated With Infant And Under-Five Mortality In Myanmar, Lal Hrin Mawi Jan 2017

Factors Associated With Infant And Under-Five Mortality In Myanmar, Lal Hrin Mawi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Myanmar is committed to achieve unfinished agenda for reducing child mortality, fourth indicator of Millennium Development Goals (MDGs) and global target to achieve under-five mortality rate 25 per 1000 live births in 2030. Moreover, under-five mortality varies across states and regions within the country and the study aims to explore determinants of mortality across different health care planning zones. The results showed that infants who were breastfed had lower risk of death by 11.7 percent comparison with children who were not, and twin or multiple births were more likely to die by 8.1%. Moreover, short preceding birth interval, mothers with …


Determinants Of The Utilization Of Maternal Health Services In Myanmar, Myat Thu San Jan 2017

Determinants Of The Utilization Of Maternal Health Services In Myanmar, Myat Thu San

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study explored determinants of the utilization of three types of maternal health services in Myanmar: antenatal care (ANC), institutional delivery, and postnatal care (PNC), testing in particular the predisposing factors, enabling factors and perceived need factors. This study used a secondary dataset drawn from the Myanmar Demographic and Health Survey 2015-16 (MDHS). In this nationally representative survey, the number of households that were originally involved was 12,500, among which 12,885 women and 4,737 men were interviewed. The final sample used for analyses in this study consisted of over 3,800 women who had delivered at least one child within 5 …


Private Stakeholders’ Perception On Leveraging Provider Payment Methods For Both Public And Private Sectors To Help Meet National Health Goals In Myanmar, Nay Nyi Nyi Lwin Jan 2017

Private Stakeholders’ Perception On Leveraging Provider Payment Methods For Both Public And Private Sectors To Help Meet National Health Goals In Myanmar, Nay Nyi Nyi Lwin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Myanmar has committed to achieving universal health coverage (UHC) by 2030. With a poor economy and scarce resource, the government alone cannot achieve UHC without the collaboration of private stakeholders which has an increasing role in the health sector with evolving political and administrative circumstances. To uplift equitable access to essential quality health care services with financial risk protection and efficiency, the country is eager to know a suitable mix of provider payment methods which can be used as key levers to support achieving UHC goals. This study is designed to explore the private stakeholders' perception on leveraging provider payment …


Cost-Effectiveness Analysis Of Laparoscopic Cholecystectomy Compared With Open Cholecystectomy At A Private Hospital In Myanmar, Pye Paing Heing Jan 2017

Cost-Effectiveness Analysis Of Laparoscopic Cholecystectomy Compared With Open Cholecystectomy At A Private Hospital In Myanmar, Pye Paing Heing

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Laparoscopic cholecystectomy (LC) has become the main treatment of uncomplicated gallstone diseases in developed countries due to shorter hospital stay, faster recovery time and other benefits. However, it is still controversial for developing countries. This study aims to evaluate whether laparoscopic cholecystectomy is more cost-effective than open cholecystectomy (OC) in the treatment of gallstone diseases in Myanmar. A cost-effectiveness analysis was evaluated from the provider perspective. The required cost and outcome data were obtained from a private hospital which is located in Yangon, Myanmar. Two outcomes are used as effectiveness in this study, namely cases of complications avoided and cases …


Technical Efficiency Of Public District Hospitals In Vietnam, Thi Binh Lam Jan 2017

Technical Efficiency Of Public District Hospitals In Vietnam, Thi Binh Lam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this study aimed to evaluate the Technical Efficiency of public district hospitals in Vietnam and to determine factors affecting the hospitals' efficiency. Input-Oriented Data Envelopment Analysis (DEA) model was applied to estimate the technical efficiency scores among 52 public district hospitals in 6 provinces of Vietnam in 2014. Then, Tobit regression model was employed to explore the determinant factors. Results of the DEA indicated that there were considerable variations of efficiency scores in terms of return to scale assumptions. The average variable return to scale technical efficiency (VRSTE) and constant return to scale technical efficiency (CRSTE) were …


The Relationship Between Income And Food Intake In China, Xinfang Li Jan 2017

The Relationship Between Income And Food Intake In China, Xinfang Li

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study investigated the effect of food intake, which is considered a form of health investment, on income in China, accounting also for socioeconomic factors. It used the 2011 wave of the China Health and Nutrition survey, including 42,870 observations in the analysis. Six dependent variables, each representing a different measure of income, were explored. The main explanatory variables included a 3-day total food consumption (grams), a 3-day average intake of energy (kilocalories), a 3-day average intake of carbohydrate (grams), a 3-day average intake of protein (grams) and a 3-day average intake of fat (grams). Personal, household, and area characteristics …


Factors Affecting Health Seeking Behavior Of People In Ejin Horo County, China, Yuan Yuan Jan 2017

Factors Affecting Health Seeking Behavior Of People In Ejin Horo County, China, Yuan Yuan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aims to explore health seeking behavior in Ejin Horo county, China, specifically it tries to assess how socioeconomic-demographic factors and health literacy affect the decision to use formal outpatient care and conditioning on use the choice among the three-tiered health care facilities visited by people in Ejin Horo county, China during the period of 2016. Our attention is placed on the demand side because Ejin Horo county is the most powerful county in Inner Mongolia and the supply of health services in this county is quite comprehensive. In essence, the study on health seeking behavior will be able …


Determinants Of Inward Foreign Direct Investment From China, South Korea And Japan And Its Contribution To Economic Growth In Cambodia, Puthi Phan Kan Jan 2017

Determinants Of Inward Foreign Direct Investment From China, South Korea And Japan And Its Contribution To Economic Growth In Cambodia, Puthi Phan Kan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Foreign direct investment (FDI) has increased globally since the late 1980s. It increased rapidly in Cambodia in the past two decades. This paper aims to examine the determinants of inward FDI from China, South Korea and Japan and its contribution to economic growth in Cambodia during 1994-2014, using both time series analysis by country and the panel data analysis. The results on the determinants of FDI show that real GDP, bilateral trade between the countries, exchange rate, inflation rate, and relative labor productivity are statistically significant and have positive impact on inward FDI flows into Cambodia, and inward FDI from …


Expatriate Management, Absorptive Capacity Of Knowledge, And Subsidiary Performance : The Case Of Japan-Based Multinational Companies In Thailand And Singapore, Wataru Ogushi Jan 2017

Expatriate Management, Absorptive Capacity Of Knowledge, And Subsidiary Performance : The Case Of Japan-Based Multinational Companies In Thailand And Singapore, Wataru Ogushi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The impact of expatriates on knowledge transfer in foreign subsidiaries has been a focus of research on knowledge management in multinational companies (MNCs). This study combines knowledge-based view, the concept of absorptive capacity, and studies on expatriates literature's approach to examine the effect from expatriates on transfer of two kinds of MNC's knowledge (i.e. technological knowledge and marketing knowledge). This paper also analyzes the impact of knowledge absorptive capacity on subsidiary performance to examine how expatriates affect subsidiary performance by knowledge transfer. This study ran analysis of 33 subsidiaries of Japan-based firms in Thailand and Singapore over a 16-year period. …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผิดนัดชำระหนี้สินเชื่ออุปโภคบริโภคของธนาคารพาณิชย์และบริษัทที่ประกอบธุรกิจแต่มิใช่สถาบันการเงินในประเทศไทย, ธนิดา ตันติอาภากุล Jan 2017

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผิดนัดชำระหนี้สินเชื่ออุปโภคบริโภคของธนาคารพาณิชย์และบริษัทที่ประกอบธุรกิจแต่มิใช่สถาบันการเงินในประเทศไทย, ธนิดา ตันติอาภากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อหนี้ค้างชำระของสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคจากธนาคารพาณิชย์และบริษัทที่ประกอบธุรกิจแต่มิใช่สถาบันการเงินในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ.2546 ถึง 2559 ที่มีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มสูงขึ้นจนอาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อหนี้ครัวเรือนและเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน โดยสมมติฐานหลักของงานวิจัยนี้คาดว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศและกลุ่มตัวแปรผลการดำเนินงานของกิจการในอดีตสะท้อนถึงพฤติกรรมของกิจการและเป็นปัจจัยสำคัญต่อปัญหาหนี้ค้างชำระในปัจจุบัน ดังนั้นจึงได้ใช้วิธี Difference GMM ในการศึกษา จากผลการศึกษาพบว่าหนี้ค้างชำระในอดีตของสินเชื่อทุกประเภทนั้นส่งผลต่อหนี้ค้างชำระในปัจจุบันสะท้อนถึงพฤติกรรม Moral Hazard ของกิจการ โดยปัญหาหนี้ค้างชำระด้อยคุณภาพที่มีการค้างชำระมากกว่า 3 เดือนขึ้นไปของสินเชื่อทุกประเภทเกิดจากการที่กิจการมีความพร้อมเพียงพอสำหรับการปล่อยสินเชื่อ (Ability to Loan) ทำให้อัตราการเติบโตของปริมาณเงินให้สินเชื่อนั้นเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้นยังพบว่านโยบายคืนภาษีรถยนต์คันแรกในปี พ.ศ.2554 ที่หวังจะกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านการจับจ่ายใช้สอยของประชากรนั้นส่งผลให้หนี้ค้างชำระด้อยคุณภาพของสินเชื่อรถยนต์ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


Cost-Effectiveness Analysis Of Aripiprazole Compare With Risperidone In Patient With Autism Spectrum Disorders, Kridsadadanudej Wongwejwiwat Jan 2017

Cost-Effectiveness Analysis Of Aripiprazole Compare With Risperidone In Patient With Autism Spectrum Disorders, Kridsadadanudej Wongwejwiwat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Autism spectrum disorders (ASD) are a group of deficits in social interaction and social communication (American Psychiatric Association, 2013). The result of a study in Thailand found that ASD patients with less self-reliance increased the number of caregivers, indirect costs and total costs (Naruemol Junsamut, 2014). Risperidone and aripiprazole showed the effectiveness for treating irritability/disruptive behavior in ASD (LeClerc & Easley, 2015). The objective of this research was to estimate the cost-effectiveness of aripiprazole compared with risperidone for treating ASD patient. Seven studies were selected to analyze the outcomes of effectiveness utilizing network meta-analysis. The number of improving symptoms that …


Factors Influencing Health Care Utilization Among Middle Aged And Elderly People In China, Qilimuge - Jan 2017

Factors Influencing Health Care Utilization Among Middle Aged And Elderly People In China, Qilimuge -

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: China's one-child policy, significant advancement in health care, increase in life expectancy and decrease in birth rate all contribute to rapidly aging society. Proportion of elderly will continue to grow, which will put more burden on an already troubled health care system. This study tries to assess factors influencing health care utilization among middle-aged and elderly people in China. Objective: To analyze factors influencing health care utilization among middle-aged and elderly people in China. Methods: The study used secondary data from the China Health and Retirement Longitudinal Study (CHARLS) 2013 wave survey. The outcomes of interest include outpatient and …


บทบาทการพัฒนาทางการเงินและความยากง่ายในการประกอบธุรกิจต่อการจัดตั้งธุรกิจใหม่, ปิยาพัชร ล้อจรัสศรีวงษ์ Jan 2017

บทบาทการพัฒนาทางการเงินและความยากง่ายในการประกอบธุรกิจต่อการจัดตั้งธุรกิจใหม่, ปิยาพัชร ล้อจรัสศรีวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการพัฒนาทางการเงินและความยากง่ายในการประกอบธุรกิจต่อการจัดตั้งธุรกิจใหม่ โดยพิจารณาบทบาทการพัฒนาทางการเงินทั้งในด้านความลึก การเข้าถึง และความมีประสิทธิภาพของสถาบันการเงินและความยากง่ายในการประกอบธุรกิจด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย การเริ่มต้นธุรกิจ การจดทะเบียนทรัพย์สิน การคุ้มครองผู้ลงทุน และการชำระภาษี โดยศึกษาในประเทศกำลังพัฒนา 8 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศมาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ และปากีสถาน ใช้ข้อมูลภาคตัดขวางร่วมกับข้อมูลอนุกรมเวลา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002-2014 ประยุกต์กับแบบจำลอง Panel Regression Method Models ด้วยวิธี Fixed-Effects ผลการศึกษาพบว่า การเข้าถึงสถาบันการเงิน ความสะดวกในการเริ่มต้นธุรกิจ การคุ้มครองผู้ลงทุนและอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวมีผลทางบวก ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงมีผลทางลบต่อจำนวนการจดทะเบียนประกอบธุรกิจใหม่ในประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม การศึกษาพบว่าความลึกและประสิทธิภาพของสถาบันการเงิน ความสะดวกในการจดทะเบียนทรัพย์สิน การชำระภาษี มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และสัดส่วนการออมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศมีความสัมพันธ์กับจำนวนการจดทะเบียนประกอบธุรกิจใหม่ในประเทศอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


การประมาณการและการกระจายต้นทุนการคลังจากการอุดหนุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสหกรณ์, รัฐชิตา โพธินา Jan 2017

การประมาณการและการกระจายต้นทุนการคลังจากการอุดหนุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสหกรณ์, รัฐชิตา โพธินา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินให้แก่คนมีรายได้น้อยผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสหกรณ์ในรูปแบบของการให้การอุดหนุนทางการเงิน ทำให้เกิดภาระทางการคลังที่สำคัญต่อรัฐบาล ดังนั้น งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณการต้นทุนการคลังที่เกิดขึ้นจากการอุดหนุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสหกรณ์ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการกระจายเงินอุดหนุนสู่ภาคครัวเรือนผ่านทั้งสองสถาบันการเงินดังกล่าว และเพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของเงินอุดหนุนต่อการลดความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจของภาคครัวเรือน โดยที่ งานวิจัยชิ้นนี้จะมุ่งเน้นวิเคราะห์เฉพาะต้นทุนที่มาจากการอุดหนุนโดยนัยเป็นสำคัญ ได้แก่ การอุดหนุนด้านการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีให้แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจและสหกรณ์ และการอุดหนุนด้านการคุ้มครองเงินฝากให้แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สำหรับการวิเคราะห์ต้นทุนจากการอุดหนุนที่เกิดขึ้นนั้น ผู้วิจัยจะนำแนวคิด Funding advantage models มาปรับใช้ในการประมาณต้นทุนที่เป็นไปได้ ประกอบกับการใช้ข้อมูลใช้ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (Household Socio - Economic Survey: SES) ในการศึกษา โดยจะศึกษาการอุดหนุนเฉพาะในกลุ่มสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) รวมถึงสหกรณ์ได้ศึกษาเพียงสหกรณ์ออมทรัพย์ ตั้งแต่ปี 2547-2556 ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก ต้นทุนการคลังจากการอุดหนุนด้านการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีมีแนวโน้มสูงขึ้นตามลำดับ ขณะที่ต้นทุนการคลังจากการอุดหนุนด้านการคุ้มครองเงินฝากลดลงเนื่องจากการจัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะช่วยแบ่งเบาภาระทางการคลังได้ ประการที่สองลักษณะการกระจายเงินอุดหนุนไปสู่ภาคครัวเรือนจะพบว่า ในภาพรวมของเงินอุดหนุนทั้งหมด ครัวเรือนรายได้มากจะได้รับสัดส่วนเงินอุดหนุนมากที่สุด ขณะที่ ในมิติเงินอุดหนุนต่อรายได้ครัวเรือน ไม่มีความแตกต่างกันมากนักระหว่างครัวเรือนรายได้มากและครัวเรือนรายได้น้อย และประการสุดท้าย การอุดหนุนด้านการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีมีอิทธิพลต่อการลดความไม่เท่าเทียมในภาคครัวเรือน ขณะที่ การอุดหนุนด้านการคุ้มครองเงินฝากไม่สามารถลดความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นได้


Regional Development Models With Clean Coal Power Plants, Christoph Casimir Odermatt Jan 2017

Regional Development Models With Clean Coal Power Plants, Christoph Casimir Odermatt

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis examines clean coal technology to be used in Thailand in three studies. The economic impacts on the economic structure of southern Thailand are forecasted with the input-output method. Further, the relative levelized costs of clean coal energy relative to its amount of carbon equivalent emissions are compared to other technologies and their carbon equivalent emissions in order to compute a carbon certificate price. Lastly, the costs of the solar subsidy on the end consumer is calculated in different scenarios. The results suggest that there may be slight changes in the economic structure in southern Thailand with increases in …


Tobacco Use, Health Care Utilization, Household Expenditure And Smoking Cessation In China, Changle Li Jan 2017

Tobacco Use, Health Care Utilization, Household Expenditure And Smoking Cessation In China, Changle Li

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This dissertation studied the tobacco use impact of on health care utilization, household expenditure, and self-rated health among rural residents in rural China. The 2010-2014 China Family Panel Studies data were employed here. Moreover, this study also conducted the randomized controlled trial and analyzed the cost-effectiveness smoking cessation intervention among college-aged smokers in Inner Mongolia, China. The main findings showed: (1) Current and former smokers use more outpatient care than non-smokers. Moreover, former smokers use more inpatient care than non-smokers in rural China. (2) Long-term quitters decreased the probability of using inpatient care compared with recent and moderate-term quitters in …