Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

Chemistry

Chulalongkorn University

Articles 1 - 30 of 401

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

Fluorescent Chemosensors From Hydrazide Derivatives Of Julolidine, Warakorn Akarasareenon Jan 2022

Fluorescent Chemosensors From Hydrazide Derivatives Of Julolidine, Warakorn Akarasareenon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Three derivatives of N-acylhydrazone julolidine are synthesized and comparatively investigated for their selectivities as metal ion fluorescent sensors. The compound derived from picolinohydrazide is found to be a "turn-on" fluorescent sensor for Cu2+ in aqueous DMSO media. The mechanistic investigation suggests that Cu2+ promotes the hydrolysis reaction of picolinohydrazide moiety to generate a highly fluorescent compound julolidine-9-carboxaldehyde which has a maximum emission signal at 420 nm. This probe shows an extraordinary selectivity for Cu2+ over other metal ions with a detection limit of 0.1 ppm. Under optimal conditions, the determinations of Cu2+ in real water samples are successfully executed. In …


การศึกษาเปรียบเทียบของพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตจากยางธรรมชาติและจากยางอีพีดีเอ็ม, ทีปกร พันธ์พรม Jan 2022

การศึกษาเปรียบเทียบของพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตจากยางธรรมชาติและจากยางอีพีดีเอ็ม, ทีปกร พันธ์พรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสมบัติของพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลโดยการเตรียมเป็นเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์ และเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตด้วยยางธรรมชาติและยางอีพีดีเอ็มในอัตราส่วนต่าง ๆ โดยพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลและยางถูกผสมด้วยสามอัตราส่วน ได้แก่ 90/10, 80/20 และ 70/30 โดยน้ำหนักในเครื่องผสมแบบปิดที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที ตามด้วยการอัดขึ้นรูป จากผลการทดลองพบว่าการเติมยางธรรมชาติหรือยางอีพีดีเอ็มช่วยปรับปรุงความทนแรงกระแทกและการยืดตัว ณ จุดขาด ขณะที่ความทนแรงดึง ยังส์มอดุลัส และความแข็งลดลง อย่างไรก็ตามเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์ที่เติมยางอีพีดีเอ็มแสดงสมบัติเหนือกว่าเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์ที่เติมยางธรรมชาติที่อัตราส่วนเดียวกันเนื่องจากมีความเข้ากันได้กับพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลมากกว่า ซึ่งยืนยันได้จากสมบัติสัณฐานวิทยา และในบรรดาเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์ทั้งหมด พอลิโพรพิลีนรีไซเคิล/ยางที่อัตราส่วน 80/20 มีสมบัติเชิงกลที่เหมาะสมจึงถูกเลือกมาเตรียมเป็นเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตโดยการเติมเพอร์ออกไซด์เป็นสารเชื่อมขวางที่อัตราส่วน 1 และ 2 ส่วนต่อยางร้อยส่วน เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมบัติเชิงกล สมบัติทางความร้อน และสัณฐานวิทยาของเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์และเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตพบว่ายังส์มอดุลัสของเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตสูงกว่าเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์เนื่องจากการเชื่อมขวาง อย่างไรก็ตามสมบัติอื่น ๆ ลดลงเมื่อเทียบกับเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์เพราะการตัดขาดของสายโซ่โดยเพอร์ออกไซด์


การหาภาวะเหมาะที่สุดในการะบวนการผลิตยางรีเคลมสำหรับขยะยางที่ประกอบด้วยยางธรรมชาติและยางอีพีดีเอ็ม, ภัสรา สุวรรณสิงห์ Jan 2022

การหาภาวะเหมาะที่สุดในการะบวนการผลิตยางรีเคลมสำหรับขยะยางที่ประกอบด้วยยางธรรมชาติและยางอีพีดีเอ็ม, ภัสรา สุวรรณสิงห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาภาวะที่เหมาะสมของเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่สำหรับเตรียมยางรีเคลมจากขยะยาง 2 ชนิด ประกอบด้วยขยะยางที่มียางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหลักและขยะยางอีพีดีเอ็ม ผลการวิเคราะห์การสลายตัวด้วยความร้อนโดยเทคนิคเทอร์โมกราวิเมทริกแอนนาไลซิส พบว่าขยะยางที่มียางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหลักและขยะยางอีพีดีเอ็มมีสัดส่วนของเนื้อยางอยู่ที่ร้อยละ 53.5 และ 56.0 ตามลำดับ สำหรับการเตรียมยางรีเคลมจากขยะยางที่มียางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหลักภาวะของเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ที่ได้ทำการศึกษาคือ ความเร็วรอบในการหมุนของสกรูที่ 150, 200 และ 250 rpm โดยแต่ละความเร็วรอบจะใช้อุณหภูมิโซนผสมที่ 200, 225 และ 250 องศาเซลเซียส ในขณะที่การเตรียมยางรีเคลมจากขยะยางอีพีดีเอ็มจะใช้ความเร็วรอบในการหมุนของสกรูเหมือนกับกรณีแรก แต่อุณหภูมิโซนผสมจะอยู่ที่ 250, 275 และ 300 องศาเซลเซียส ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มความเร็วรอบในการหมุนของสกรูและอุณหภูมิโซนผสมส่งผลทำให้ยางรีเคลมทั้งสองชนิดมีความหนืดมูนีลดลง เมื่อนำยางรีเคลมที่ได้ไปขึ้นรูปตามมาตรฐาน ISO/TS 16095:2021 และทดสอบสมบัติเชิงกล พบว่ายางรีเคลมจากขยะยางที่มียางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหลักที่เตรียมที่ภาวะความเร็วรอบในการหมุนของสกรูที่ 250 rpm และอุณหภูมิโซนผสมที่ 200 องศาเซลเซียส และขยะยางอีพีดีเอ็มที่เตรียมที่ภาวะความเร็วรอบในการหมุนของสกรูที่ 150 rpm และอุณหภูมิโซนผสมที่ 275 องศาเซลเซียส จะมีความต้านทานต่อแรงดึงและระยะยืด ณ จุดขาด สูงที่สุด ทั้งนี้เป็นผลมาจากยางรีเคลมทั้ง 2 ชนิด ที่ได้จากภาวะข้างต้นมีร้อยละการดีวัลคาไนซ์สูงที่สูด ทำให้มีสภาพเป็นเทอร์โมพลาสติกสูงที่สุด เมื่อนำไปขึ้นรูปซ้ำจึงให้สมบัติเชิงกลดีที่สุด เมื่อนำภาวะข้างต้นไปศึกษาอิทธิพลของชนิดและปริมาณสารรีเคลมประเภทเททระเบนซิลไทยูแรมไดซัลไฟด์และเททระไอโซบิวทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์ พบว่ายางรีเคลมคงรูปจากขยะยางที่มียางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหลักและยางรีเคลมคงรูปจากขยะยางอีพีดีเอ็มที่เติมสารรีเคลมชนิดเททระไอโซบิวทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์ 1 และ 3 ส่วนในร้อยส่วนของยางจะมีความต้านทานต่อแรงดึงและระยะยืด ณ จุดขาด สูงที่สุดทั้งสองชนิดที่เติม ทั้งนี้เป็นผลมาจากยางรีเคลมดังกล่าวมีร้อยละการดีวัลคาไนซ์สูงที่สูด เมื่อนำยางรีเคลมทั้ง 2 ชนิดที่ไปใช้ทดแทนยางบริสุทธิ์ตามสูตรที่กำหนด พบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณยางรีเคลมเป็นผลให้สมบัติเชิงกลของยางคงรูปลดลงตามลำดับ อย่างไรก็ตามพบว่าที่มีการใช้ยางรีเคลมทดแทนยางบริสุทธิ์จะได้ยางคงรูปมีความต้านทานต่อการเสื่อมสภาพเนื่องจากความร้อนสูงที่ขึ้น


Isolation Of Ace2 Inhibitors From Rice Bran Oil By-Product, Muhammad Waqar Nasir Jan 2022

Isolation Of Ace2 Inhibitors From Rice Bran Oil By-Product, Muhammad Waqar Nasir

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to isolate γ-oryzanol from the crude oil acid fraction (a by-product of rice bran oil refinery) and to evaluate their Angiotensin-Converting Enzyme 2 (ACE2) inhibitory activity. Chromatographic fractionation of the crude oil acid fraction gave 3 isolated fractions of γ-oryzanol containing cycloartenyl ferulate, campesteryl ferulate, sitosteryl ferulate, stigmasteryl ferulate, and cyclobranyl ferulate. The γ-oryzanol containing cycloartenyl ferulate and campesteryl ferulate as major component showed good ACE2 inhibitory activity with the IC50 value 10.57 μg/mL. Furthermore, the 19 structures of γ-oryzanol were also studied for its interaction against ACE2 through molecular docking. Based on the in-silico study, ADME …


การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมบัติของยางแผ่นรมควันเกรดพรีเมียม, สายสุณี จิตกล้า Jan 2022

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมบัติของยางแผ่นรมควันเกรดพรีเมียม, สายสุณี จิตกล้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ถึงแม้ว่าสมบัติเชิงกลของยางแผ่นรมควันจะเหนือกว่ายางแห้งชนิดอื่นก็ตาม แต่ความไม่สม่ำเสมอในคุณภาพของยางส่งผลให้ปริมาณการใช้งานยางแผ่นรมควันในอุตสาหกรรมล้อยางลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการยางแห่งประเทศไทยได้กำหนดมาตรฐานการผลิตยางแผ่นรมควันขึ้นเพื่อควบคุมและให้ได้ยางแผ่นรมควันที่มีสมบัติต่าง ๆ คงที่ ซึ่งยางที่ได้จะเรียกว่า “ยางแผ่นรมควันเกรดพรีเมียม” หรือ “ยางแผ่นรมควันเกรด P” เพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุที่ส่งผลให้สมบัติต่าง ๆ ของยางแผ่นรมควันแปรปรวนดียิ่งขึ้น งานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงอิทธิพลด้านภาวะการผลิต ช่วงฤดูกาลกรีดยาง รวมไปถึงพิ้นที่ปลูกยางต่อสมบัติทั้งทางกายภาพและเชิงกลของยางแผ่นรมควัน ผลการทดลองที่ได้พบว่า เมื่อใช้น้ำยางที่มีปริมาณเนื้อยางแห้งแตกต่างกันและใช้ความเข้มข้นกรดฟอร์มิกในการจับตัวเนื้อยางแตกต่างกัน สมบัติของยางแผ่นรมควันจะแตกต่างกันไป โดยพบว่าเมื่อปริมาณเนื้อยางแห้งและความเข้มข้นกรดฟอร์มิกเพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่าสิ่งระเหยในยางแผ่นรมควันเพิ่มขึ้น เนื่องจากก้อนยางที่ได้จากการจับตัวของเนื้อยางด้วยกรดค่อนข้างแข็ง ทำให้เมื่อนำไปรีดเป็นแผ่นบางทำได้ยาก น้ำในเนื้อยางจึงระเหยออกมาได้ไม่ดี เมื่อเพิ่มปริมาณเนื้อยางแห้งจะทำให้ค่า PO, PRI และความหนืดมูนีเพิ่มขึ้น การแปรปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางจาก 20% (ภาวะใช้ในการผลิตยางแผ่นรมควันพรีเมียม) เป็น 18, 20 และ 25% โดยน้ำหนัก ส่งผลให้ความทนต่อแรงดึงของยางแตกต่างกันมากที่สุดอยู่ที่ 2.1 MPa การเพิ่มความเข้มข้นกรดฟอร์มิกจะส่งผลทำให้ค่า PO, PRI และความหนืดมูนีลดลง การแปรความเข้มข้นกรดฟอร์มิกจาก 4% (ภาวะที่ใช้ในการผลิตยางแผ่นรมควันเกรดพรีเมียม) เป็น 2, 3, 5, 8 และ 10% โดยปริมาตร ส่งผลให้ความทนต่อแรงดึงของยางแตกต่างกันมากที่สุดอยู่ที่ 3.2 MPa เมื่อพิจารณาฤดูกาลกรีดยางแตกต่างกัน น้ำยางที่ได้จากช่วงการผลัดใบของต้นยางจะมีปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางลดลง และปริมาณธาตุต่างๆ ในยางเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อค่าเถ้าและไนโตรเจนในยางแผ่นรมควันแตกต่างกัน ค่าความหนืดมูนีของยางแผ่นรมควันขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาลกรีดยางค่อนข้างชัดเจน โดยยางแผ่นรมควันที่เตรียมจากน้ำยางที่ได้จากการกรีดในช่วงกรีดปกติจะมีความหนืดมูนีที่สูงกว่ายางแผ่นรมควันที่เตรียมจากน้ำยางที่ได้จากการกรีดในช่วงก่อนปิดกรีด ยางแผ่นรมควันที่ได้จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณเถ้ามากกว่าที่ได้จากภาคใต้ ซึ่งปริมาณเถ้าเกิดจากปริมาณสารและแร่ธาตุต่าง ๆ ในดินที่ไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ยางที่ได้จากทั้งสองบริเวณที่มีค่า PO , PRI และ ความหนืดมูนี ไม่ได้แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด


Improvement Of Hydrodynamics And Heat Transfer In Biomass Fluidized Bed Combustor With Immersed Tubes Using Cfd-Dem, Krittin Korkerd Jan 2022

Improvement Of Hydrodynamics And Heat Transfer In Biomass Fluidized Bed Combustor With Immersed Tubes Using Cfd-Dem, Krittin Korkerd

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Computational Fluid Dynamics coupled with Discrete Element Method (CFD-DEM) has been extensively utilized for studying hydrodynamics and heat transfer in fluidization processes. This study specifically focuses on improving hydrodynamics and heat transfer in a biomass fluidized bed combustor with immersed tubes. The investigation involves the use of mixed biomass, exploring the effects of biomass types, biomass loading, and blending ratios to propose criteria for selecting suitable biomass fuel for the system. Design parameters related to the immersed tubes, such as the angle between tubes, tube diameters, and distance between tubes, were also considered. A data-driven model was developed based on …


Chemical Constituents From The Fresh Pericarps Of Mature Mangosteen Fruit Garcinia Mangostana, Ahmad Tijani Azeez Jan 2022

Chemical Constituents From The Fresh Pericarps Of Mature Mangosteen Fruit Garcinia Mangostana, Ahmad Tijani Azeez

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

α-Mangostin has been identified as a major chemical constituent in the pericarps of mangosteen (Garcinia mangostana Linn.) Over time, dried pericarps of mangosteen have been subjected to studies in literature. This study aimed to explore isolation of α-mangostin and other chemical constituents from the fresh pericarps of mature mangosteen fruits and investigate their relative antioxidant and anticancer activities. Repeated column chromatography on ethyl acetate and methanol extracts of fresh mature mangosteen pericarps led to the isolation of α-mangostin (33.25% of crude extracts) as the major compound, beta-mangostin (0.225%) and gartanin (7.57%). Their antioxidant scavenging activity was investigated against 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) …


Simultaneous Extraction And Colorimetric Detection Of Ions Using Gel Electromembrane, Ali Sahragard Jan 2022

Simultaneous Extraction And Colorimetric Detection Of Ions Using Gel Electromembrane, Ali Sahragard

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A total integrated electrocolorimetric sensing approach consisting of gel-based electromembrane extraction and colorimetric detection in one-step process was developed. This system was designed using colorimetric reagents preadded to the agarose gel for the determination of the following two model analytes: iodide for negative ions and nickel for positive ions. In this system, when a voltage was applied, the analytes were extracted and transferred from the sample solution (donor phase) to the gel (acceptor phase). The analytes then simultaneously reacted with the colorimetric reagents inside the gel, yielding blue and pink colors for iodide and nickel ions, respectively. These colors were …


ไฮโดรเจนจากกลีเซอรอลและพลาสติกด้วยรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำที่เสริมด้วยการดูดซับบน Ni/Ca-Mof, จิรัชฌา เก้าเอี้ยน Jan 2022

ไฮโดรเจนจากกลีเซอรอลและพลาสติกด้วยรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำที่เสริมด้วยการดูดซับบน Ni/Ca-Mof, จิรัชฌา เก้าเอี้ยน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการผลิตไฮโดรเจนจากกระบวนการรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำที่เสริมด้วยการดูดซับบนตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล/อลูมินา-แคลเซียมมอฟ ซึ่งการทดลองถูกดำเนินการในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งชนิดสองขั้น โดยศึกษาผลของตัวดูดซับแคลเซียมมอฟที่ส่งผลต่อการผลิตไฮโดรเจนด้วยกระบวนการรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำที่เสริมด้วยการดูดซับ โดยเปรียบเทียบการใช้ตัวดูดซับแคลเซียมมอฟ, ตัวดูดซับแคลเซียมออกไซด์ และไม่ใช้ตัวดูดซับ จากผลการทดลองพบว่า การใช้ตัวดูดซับแคลเซียมมอฟ ส่งผลให้องค์ประกอบและผลได้ของไฮโดรเจนมีค่าสูงขึ้นอย่างชัดเจน นอกจากนี้การศึกษาผลของการใช้พลาสติกที่แตกต่างกันสามชนิด ได้แก่ พอลิเอทิลีน, พอลิโพรพิลีนและพอลิสไตรีน ที่ใช้เป็นสารป้อนร่วมกับกลีเซอรอลด้วยตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล/อลูมินา-แคลเซียมมอฟ พบว่าการผลิตไฮโดรเจนจากพอลิเอทิลีนร่วมกับ กลีเซอรอล ให้องค์ประกอบและผลได้ของไฮโดรเจนมีค่าสูงที่สุด รองลงมาเป็นพอลิโพรพิลีนและพอลิสไตรีนตามลำดับ นอกจากนี้ผลของอุณหภูมิไพโรไลซิสที่อุณหภูมิ 600 และ 700 องศาเซลเซียส โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล/อลูมินา-แคลเซียมมอฟ พบว่า องค์ประกอบของไฮโดรเจนและผลได้ไฮโดรเจนมีค่าสูงสุดที่ร้อยละ 46.76 โดยโมล และ 22.91 มิลลิโมลต่อกรัม แต่อย่างไรก็ตามผลของอุณหภูมิรีฟอร์มมิงที่อุณหภูมิ 700 และ 800 องศาเซลเซียส โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล/อลูมินา-แคลเซียมมอฟ ให้ผลได้และองค์ประกอบของไฮโดรเจนมีค่าลดลง เนื่องจากการเสื่อมสภาพของตัวเร่งปฏิกิริยา


สารละลายอิเล็กโทรไลต์สูตรใหม่ที่มีผลต่อสมรรถนะและประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน: การจำลองพลวัตเชิงโมเลกุล, ศิริพร ตีระบูรณะพงษ์ Jan 2022

สารละลายอิเล็กโทรไลต์สูตรใหม่ที่มีผลต่อสมรรถนะและประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน: การจำลองพลวัตเชิงโมเลกุล, ศิริพร ตีระบูรณะพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ใช้การจำลองพลวัตเชิงโมเลกุลศึกษาผลของปริมาณและชนิดตัวทำละลายร่วมที่มีต่อโครงสร้างการละลาย พลวัต และสมบัติทางไฟฟ้าเคมีของสารละลายอิเล็กโทรไลต์สำหรับแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน เกลือลิเทียมที่ใช้คือลิเทียมเฮกซะฟลูออโรฟอสเฟต (LiPF6) ที่ความเข้มข้น 1.0 M ในตัวทำละลายอินทรีย์ฐานคาร์บอเนตผสมระหว่างเอทิลีนคาร์บอเนต (EC) กับไดเมทิลคาร์บอเนต (DMC) ในอัตราส่วน 1:1 ตัวทำละลายร่วม 4 ชนิดที่ศึกษา ได้แก่ เตตระเมทิลีนซัลโฟน (TMS) ไดเมทิลซัลฟอกไซด์ (DMSO) ฟลูออโรเอทิลีนคาร์บอเนต (FEC) และซักซิโนไนไตล์ (SN) ที่ปริมาณ 0, 10, 25, 50, 75 และ 100 wt.% การนำพาไอออนลิเทียม Li+ ในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ขึ้นกับปริมาณและชนิดตัวทำละลายร่วมอย่างมาก ในทุกระบบการจำลอง การเติมตัวทำละลายร่วมที่ 25 wt.% ให้เลขทรานสเฟอเรนซ์ของไอออนลิเทียม Li+ สูงสุด ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ของไอออนลิเทียม Li+ และไอออนลบ PF6- ในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ที่เติมตัวทำละลายร่วม DMSO สูงกว่าระบบที่เติม TMS, FEC และ SN ตามลำดับ เกลือ LiPF6 ในตัวทำละลายผสม EC:DMC = 1:1 โดยเติม DMSO 25 wt.% ให้ค่าการนำไฟฟ้าของไอออนสูงสุดที่ 14.13 mS/cm และเลขทรานสเฟอเรนซ์ของไอออนลิเทียม Li+ สูงสุดที่ 0.47 ในระบบดังกล่าวชั้นการละลายแรกของไอออนลิเทียม Li+ ไม่พบการแทรกตัวของไอออนลบ PF6- เนื่องจากตัวทำละลายร่วม DMSO ซึ่งมีเลขโดเนอร์สูงสามารถล้อมรอบไอออนลิเทียม Li+ ได้ดีกว่า TMS, FEC และ SN ส่งผลให้อันตรกิริยาระหว่างคู่ไอออนลดลง ผลการจำลองที่ได้อาจใช้เป็นแนวทางในการเลือกและ/หรือออกแบบสารละลายอิเล็กโทรไลต์สำหรับแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออนที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัย


Preparation Of Cellulose Micro- And Nano Fibers From Bagasse Through Deep Eutectic Solvent System, Worapoj Phuckpetch Jan 2022

Preparation Of Cellulose Micro- And Nano Fibers From Bagasse Through Deep Eutectic Solvent System, Worapoj Phuckpetch

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to prepare the cellulose micro- and nanofibers (CMNFs) using green chemistry viewpoint. The CMNFs were fabricated from sugarcane bagasse (SCB) pulp through treatment with zinc chloride (ZnCl2) - lactic acid (LA) in deep eutectic solvent (ZnCl2-LA DES) followed by short time ultrasonication of the DES-treated fibers in water. Under the optimum condition, the SCB pulp at high solid loading of 6.25% was treated with ZnCl2-LA DES. Lactate functionalized CMNFs with 230-270 nm length and 15-16 nm width were resulted in more than 90% yield and up to 62.2% crystallinity. The results showed that ZnCl2-LA DES was a …


การพัฒนาซอฟต์เซ็นเซอร์สำหรับการทำนายพารามิเตอร์ของการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม, พงศ์พล ธวัชบัณฑิต Jan 2022

การพัฒนาซอฟต์เซ็นเซอร์สำหรับการทำนายพารามิเตอร์ของการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม, พงศ์พล ธวัชบัณฑิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับโรงงานอุตสาหกรรมนั้นเป็นกระบวนการที่สำคัญในการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นแก๊สเรือนกระจกในแก๊สไอเสียก่อนส่งออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งการรู้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดูดซับและเวลาที่การดูดซับเข้าสู่สมดุลจึงเป็นประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินงานในอุตสาหกรรม ดังนั้นในงานวิจัยนี้ ศึกษาและพัฒนาโครงข่ายประสาทเทียมสามารถทำนายพารามิเตอร์ของการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ โครงข่ายประสาทเทียมที่พัฒนาด้วยโครงสร้างที่มีจำนวนชั้นซ่อน 2 ชั้นซ่อน ในแต่ละชั้นซ่อนประกอบด้วย 10 เซลล์ประสาท และฟังก์ชันกระตุ้นในชั้นซ่อนและชั้นส่งออกคือฟังก์ชันแทนซิกมอยด์มีประสิทธิภาพสูงที่สุด จากนั้นนำโครงข่ายประสาทเทียมที่มีโครงสร้างดังกล่าวไปใช้ในการศึกษาผลของสมการทางจลนศาสตร์และนำตัวแปรส่งออกไปแทนค่าในสมการทางจลนศาสตร์เพื่อสร้างเส้นโค้งของดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เส้นโค้งที่สร้างจากสมการของปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเทียมมีค่าเฉลี่ยของค่า R-square สูงสุดคือ 0.8731 และค่าเฉลี่ยของค่า RMSE ต่ำที่สุดคือ 0.2358 จากนั้นนำโครงข่ายประสาทเทียมไปพัฒนาซอฟต์เซ็นเซอร์โดยเริ่มจากการแปลงโครงข่ายประสาทเทียมให้เป็นโปรแกรมที่เป็นภาษาไพทอน และนำโปรแกรมนี้ไปใส่ใน Raspberry pi 4 model b ตัวแปรนำเข้าทั้งหมดจะถูกคำนวณผ่านโครงข่ายประสาทเทียมที่ได้แปลงเป็นภาษาไพทอนแล้ว และส่งค่าตัวแปรส่งออกไปแสดงค่าผ่านแพลตฟอร์ม Grafana ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่สะดวกและรวดเร็ว และสามารถรายงานค่าในเวลาจริงได้


การเสื่อมสภาพของน้ำมันหม้อแปลงชีวภาพฐานปาล์มและกระดาษฉนวนภายใต้การบ่มเร่งเชิงความร้อน, พรพงษ์ ศิริรัตน์สกุล Jan 2022

การเสื่อมสภาพของน้ำมันหม้อแปลงชีวภาพฐานปาล์มและกระดาษฉนวนภายใต้การบ่มเร่งเชิงความร้อน, พรพงษ์ ศิริรัตน์สกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันจึงมีความพยายามในการพัฒนาน้ำมันพืชที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนำมาทดแทนการใช้น้ำมันแร่ โดยน้ำมันชีวภาพฐานปาล์ม (EnPAT) เป็นหนึ่งในน้ำมันพืชทางเลือกที่ถูกพัฒนาเพื่อนำไปของเหลวฉนวนสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้า อย่างไรก็ตามในระหว่างหม้อแปลงไฟฟ้าทำงานจะเกิดความร้อนขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบทำให้ของเหลวฉนวน และกระดาษฉนวนที่อยู่ภายในเกิดการเสื่อมสภาพ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาลักษณะการเสื่อมสภาพของน้ำมันชีวภาพฐานปาล์มที่มีกระดาษฉนวนจุ่มแช่ พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับน้ำมันแร่และเอสเตอร์ธรรมชาติเชิงการค้า (FR3) ด้วยการบ่มเร่งเชิงความร้อนที่อุณหภูมิ 110, 130 และ 150 ˚ซ เป็นระยะเวลาต่างๆ ในระบบปิด ซึ่งภายหลังจากการบ่มเร่งภายใต้บรรยากาศไนโตรเจน EnPAT เกิดการเสื่อมสภาพขึ้น โดยปริมาณความชื้น และค่าความเป็นกรดแสดงแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับ FR3 แต่จะมีค่ามากกว่าน้ำมันแร่ ขณะที่ปริมาณสารที่เกิดจากการเสื่อมสภาพละลายในน้ำมันฉนวนมีการเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด และค่าความคงทนต่อแรงดันไฟฟ้ายังคงมีค่ามากกว่าน้ำมันแร่ แม้ว่าจะมีค่าแฟกเตอร์กำลังสูญเสียไดอิเล็กทริกและค่าสภาพความต้านทานทางไฟฟ้าน้อยกว่าน้ำมันแร่ อย่างไรก็ตามการบ่มเร่งที่อุณหภูมิ 150 ˚ซ นาน 2,880 และ 4,008 ชม. กระดาษฉนวนที่จุ่มแช่ในน้ำมันชีวภาพฐานปาล์มมีค่าความคงทนต่อแรงดึงคงเหลือมากกว่ากระดาษฉนวนที่จุ่มแช่ในน้ำมันแร่อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังพบว่าหลังจากผ่านการบ่มเร่งที่อุณหภูมิ 150 ˚ซ นาน 720 ชม. ภายใต้บรรยากาศออกซิเจน น้ำมันทุกชนิดเกิดการเสื่อมสภาพอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม EnPAT ยังคงมีค่าความคงทนต่อแรงดันไฟฟ้ามากที่สุด ดังนั้นน้ำมันชีวภาพฐานปาล์มจึงเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับนำมาใช้เป็นของเหลวฉนวนภายในหม้อแปลงไฟฟ้า


การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันกากกาแฟบดโดยเอทานอลภาวะเหนือวิกฤต, ณัฐกิตติ์ เจริญดี Jan 2022

การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันกากกาแฟบดโดยเอทานอลภาวะเหนือวิกฤต, ณัฐกิตติ์ เจริญดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ไบโอดีเซล (Biodiesel) เป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกชีวภาพที่สามารถผลิตได้จากแหล่งพลังงานหมุนเวียนเช่น น้ำมันพืช และไขมันสัตว์ ในกระบวนการผลิตไบโอดีเซลพบปัญหาด้านราคาต้นทุนวัตถุดิบที่มีราคาสูงซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของต้นทุนทั้งหมด กากกาแฟเป็นของเสียหลักจากกระบวนการผลิตกาแฟซึ่งมีองค์ประกอบของไขมันอยู่ร้อยละ 18 ถึง 20 ของน้ำหนัก ทำให้สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตไบโอดีเซลเพื่อลดต้นทุนการผลิตได้อีกทางหนึ่ง งานวิจัยนี้ศึกษากระบวนการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันกากกาแฟบดด้วยเอทานอลภาวะเหนือวิกฤตในเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์ และแบบต่อเนื่อง และหาภาวะที่ให้ร้อยละกรดไขมันเอทิลเอสเทอร์ (Fatty acid ethyl ester, FAEE) สูงสุด จากผลการทดลองพบว่าปริมาณน้ำมันกากกาแฟบดสูงสุดที่สามารถสกัดด้วยวิธีซอกห์เลตโดยใช้ตัวทำละลายเอทานอลได้ปริมาณน้ำมันกากกาแฟบดร้อยละ 27.67 ของน้ำหนักกากกาแฟบด ในกระบวนการผลิตไบโอดีเซลด้วยเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์ พบว่าปริมาณกรดไขมันเอทิลเอสเทอร์จะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิและเวลาในการทำปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น โดยที่อุณหภูมิ 275 องศาเซลเซียส และเวลาในการทำปฏิกิริยา 40 นาที จะให้ปริมาณกรดไขมันเอทิลเอสเทอร์สูงสุดร้อยละ 88.37 สำหรับกระบวนการผลิตไบโอดีเซลด้วยเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง พบว่าเมื่อเพิ่มอัตราการไหลจะทำให้เวลาของสารตั้งต้นในเครื่องปฏิกรณ์ลดลง ส่งผลทำให้ปริมาณกรดไขมันเอทิลเอสเทอร์มีปริมาณลดลง ที่อุณหภูมิ 325 องศาเซลเซียส อัตราการไหล 2 กรัมต่อนาที และเวลาของสารตั้งต้นในเครื่องปฏิกรณ์ 25.16 นาที จะให้ปริมาณกรดไขมันเอทิลเอสเทอร์ที่สูงสุดร้อยละ 83.35


การทำนายพื้นที่เสี่ยงต่อการสึกกร่อนและการกัดกร่อนในอี‍โค‍โน‍ไม‍เซอร์ของหม้อไอน้ำฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียนโดยการจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ, ณัฐวรรณ แสงนวกิจ Jan 2022

การทำนายพื้นที่เสี่ยงต่อการสึกกร่อนและการกัดกร่อนในอี‍โค‍โน‍ไม‍เซอร์ของหม้อไอน้ำฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียนโดยการจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ, ณัฐวรรณ แสงนวกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ได้มีการพัฒนาแบบจำลองพลศาสตร์ของไหลของอีโคโนไมเซอร์ของหม้อ‍ไอ‍น้ำ‍ฟลู‍อิ‍ไดซ์เบดแบบหมุนเวียน โดยอาศัยการจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณด้วยระเบียบวิธีเชิงตัวเลขแบบไฟไนต์วอลุม ของของไหลหลายวัฏภาคด้วยวิธีการจำลองแบบออย‍เลอ‍เรียน-ออย‍เลอ‍เรียน ในช่วงสภาวะการไหลคงตัว (steady state) เพื่อจำลองอุ‍ทก‍พลศาสตร์และการถ่ายโอนความร้อนภายในอี‍โค‍โน‍ไมเซอร์ ซึ่งจะช่วยในการทำนายพื้นที่เสี่ยงต่อการสึกกร่อนและกัดกร่อนภายในอีโคโนไมเซอร์ ผล‍การคำนวณอุณหภูมิปลายของแก๊สเผาไหม้ได้ถูกนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลสภาวะการทำงานจริงจากบริษัท อินทิเกรทเต็ด รีเสิร์ช เซ็นเตอร์ จำกัด จากผลการทำนายพื้นที่เสี่ยงต่อการกัดกร่อนเนื่องจากการ‍ควบแน่นกรดกำมะถันพบว่า บริเวณผิวท่อใกล้กับทางเข้าน้ำป้อนเข้าสู่ระบบจะเป็นบริเวณที่อุณหภูมิแก๊สเผาไหม้จะมีค่าต่ำ‍ที่สุด ในการทำนายพื้นที่เสี่ยงต่อการกัดกร่อนเนื่องจากการเหนี่ยวนำของสารประกอบคลอไรด์พบว่า การเปลี่ยนแปลงของอุ‍ทก‍พลศาสตร์ของไหลและการถ่ายโอนความร้อนในแต่ละกรณีศึกษา ทำให้การกระจายของชั้นสะสมเถ้าแตกต่างกัน ส่งผลให้พื้นที่เสี่ยงต่อการกัดกร่อนด้วยสาเหตุนี้จะแตกต่างกันในแต่ละกรณี การทำนายพื้นที่เสี่ยงจากความสัมพันธ์ของอัตราการกัดกร่อนกับอุณหภูมิผิวท่อ ผลจากการจำลองพบว่า บริเวณผิวท่อใกล้เคียงกับทางออกของน้ำป้อนจะเป็นบริเวณที่อุณหภูมิผิวท่อสูงที่สุด ซึ่งบริเวณนั้นจะมีความเสี่ยงต่ออัตราการกัดกร่อนเนื่องจากการ‍เหนี่ยวนำของสารประกอบคลอไรด์มากที่สุด และการทำนายพื้นที่เสี่ยงการสึกกร่อนแบบขัด‍สี‍ทางด้านเปลวไฟด้วยการ‍ชนของอนุภาคเถ้าลอยบนผิวท่อ ได้จากการศึกษาความเร็วสูง‍สุดโดยรอบท่อแลกเปลี่ยนความร้อนพบว่า บริเวณใกล้ทางเข้าของน้ำป้อนเข้าระบบจะเสี่ยงต่อการ‍สึก‍กร่อนด้วยการชนของอนุภาคเถ้าด้วยความเร็วสูงที่สุด


ผลของตัวทำละลายต่อการขนส่งไอออนและสภาพแวดล้อมการละลายสำหรับแบตเตอรี่สังกะสีไอออน, วรัญญา ชาระวงค์ Jan 2022

ผลของตัวทำละลายต่อการขนส่งไอออนและสภาพแวดล้อมการละลายสำหรับแบตเตอรี่สังกะสีไอออน, วรัญญา ชาระวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ใช้การจำลองพลวัตเชิงโมเลกุลศึกษาผลของตัวทำละลายอินทรีย์เดี่ยว ตัวทำละลายอินทรีย์ผสม และโครงสร้างส่วนต่อประสานระหว่างของแข็งกับสารละลาย อิเล็กโทรไลต์ (solid electrolyte interphase, SEI) ที่มีต่อสมบัติการขนส่งและสภาพแวดล้อมการละลายของไอออนในสารละลายอิเล็กโทรไลต์สำหรับแบตเตอรี่สังกะสีไอออน สารละลาย อิเล็กโทรไลต์ประกอบด้วยเกลือซิงค์ไตรฟลูออโรมีเทนซัลโฟเนตหรือซิงค์ไตรเฟลต (Zn(OTf)2) ความเข้มข้น 1 M ในตัวทำละลายเอทิลีนคาร์บอเนต (EC) โพรพิลีนคาร์บอเนต (PC) ไดเมทิลฟอร์มาไมด์ (DMF) และไดเมทิลคาร์บอเนต (DMC) ชนิดตัวทำละลายมีผลต่อการนำพาไอออนในสารละลายอิเล็กโทรไลต์อย่างมาก ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ของ Zn2+ และ OTf– ใน DMC สูงกว่าระบบที่ใช้ DMF, PC และ EC เป็นตัวทำละลาย ตามลำดับ โดย Zn(OTf)2 ใน DMC ให้ค่าการนำไฟฟ้าของไอออนสูงสุด 7.14 mS/cm ชั้นการละลายแรกของ Zn2+ ในตัวทำละลายทั้ง 4 ชนิดมีลักษณะคล้ายกัน โดย Zn2+ ถูกล้อมรอบด้วยตัวทำละลาย 3-4 โมเลกุล และดึงดูดกับ OTf– 1 โมเลกุล ในระบบตัวทำละลายผสม EC:DMC = 1:2 ค่าการนำไฟฟ้าของไอออนเพิ่มขึ้น ~5.3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับระบบตัวทำละลายเดี่ยว EC เนื่องจาก DMC ช่วยลดความหนืดของสารละลายอิเล็กโทรไลต์และอันตรกิริยาระหว่างคู่ไอออน โครงสร้าง SEI มีผลต่อการนำพา Zn2+ ไปยังขั้วอิเล็กโทรด ในโครงสร้าง SEI ชนิดซิงค์ออกไซด์ (ZnO) Zn2+ เกิดอันตรกิริยาที่แข็งแรงกับอะตอมออกซิเจนของ ZnO ทำให้การสะสม Zn2+ ณ บริเวณรอยต่อระหว่างขั้วอิเล็กโทรดกับ SEI มีปริมาณน้อยกว่าโครงสร้างชนิดซิงค์เมทอกไซด์ (Zn(OCH3)2) ซิงค์คาร์บอเนต (ZnCO3) และ ซิงค์ฟลูออไรด์ (ZnF2)


ผลของชาร์ที่กระตุ้นด้วยโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์และไอน้ำต่อการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพจากชานอ้อยโดยไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน, สราวรรณ ทรัพย์พันธ์ Jan 2022

ผลของชาร์ที่กระตุ้นด้วยโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์และไอน้ำต่อการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพจากชานอ้อยโดยไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน, สราวรรณ ทรัพย์พันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พลังงานจากชีวมวลเป็นพลังงานทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจเพื่อแก้ปัญหาและข้อจำกัดจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน (Hydrothermal liquefaction, HTL) เป็นกระบวนการแปรรูปชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงเหลว เนื่องด้วยกระบวนการนี้ยังสามารถปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันและปริมาณน้ำมันได้ด้วยการใส่ตัวเร่งปฏิกิริยาลงไปในกระบวนการ ซึ่งตัวเร่งปฏิกิริยาที่น่าสนใจคือ ชาร์ เนื่องจากมีสมบัติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา สามารถผลิตได้ง่ายจากชีวมวล และ ราคาถูก อีกทั้งยังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาผลของชาร์ ที่ส่งเสริมการเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน งานวิจัยนี้จึงสนใจในการนำชานอ้อยและชาร์ มาเป็นสารป้อนร่วมในกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน โดยใช้ชาร์มากระตุ้นด้วยไอน้ำและใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) เป็นตัวช่วยกระตุ้น เพื่อนำมาเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพจากชานอ้อยโดยกระบวนการ HTL โดยขั้นตอนในงานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ขั้นแรก ขั้นของการกระตุ้น เป็นการกระตุ้นถ่านชาร์ด้วยโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์และไอน้ำ ซึ่งจะศึกษาผลของอัตราส่วนระหว่างโพแทสเซียมและถ่านชาร์ที่ร้อยละ 2.5 และ 5 โดยน้ำหนัก และผลของอุณหภูมิในการกระตุ้นที่ 700, 800 และ 900 องศาเซลเซียส พบว่า เมื่อใช้อุณหภูมิในการกระตุ้นสูงขึ้น ร้อยละผลได้ของถ่านชาร์หลังการกระตุ้นจะลดลง ส่วนในขั้นที่ 2 เป็นการทำไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน โดยดำเนินการในเครื่องปฏิกรณ์ความดันสูงแบบแบตช์ที่อุณหภูมิ 300 และ 325 องศาเซลเซียส ที่ความดันเริ่มต้น 2 เมกะพาสคัล โดยใช้เวลาในการทำปฏิกิริยา 60 นาที พบว่า ร้อยละผลได้ของน้ำมันดิบชีวภาพจะเพิ่มขึ้น เมื่อใช้ชานอ้อยร่วมกับชาร์ที่ถูกกระตุ้นด้วยไอน้ำและโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ เนื่องจากชาร์มีผลในการเร่งปฏิกิริยาการแตกตัวของชีวมวล อีกทั้งโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ยังช่วยเสริมการทำงานร่วมกับชานอ้อยได้ดียิ่งขึ้น โดยให้ร้อยละน้ำมันดิบชีวภาพสูงถึง 29.91% ในส่วนของอุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาที่ 300 และ 325 องศาเซลเซียส พบว่าเมื่อใช้อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาที่สูงขึ้นร้อยละผลได้ของน้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เมื่อใช้ชาร์ที่ถูกกระตุ้นด้วยไอน้ำและโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ร่วมในกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน จะส่งผลช่วยปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันชีวภาพ โดยพิจารณาจากค่าความร้อนสูง


พลาสมาดรายรีฟอร์มมิงของมีเทนเป็นแก๊สสังเคราะห์บนตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล/เส้นใยซิลิกา, อริสา ธมาภรณ์ Jan 2022

พลาสมาดรายรีฟอร์มมิงของมีเทนเป็นแก๊สสังเคราะห์บนตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล/เส้นใยซิลิกา, อริสา ธมาภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการผลิตแก๊สสังเคราะห์จากปฏิกิริยาดรายรีฟอร์มมิงของมีเทนภายใต้เครื่องปฏิกรณ์พลาสมาชนิดไดอิเล็กทริกแบริเออร์ดีสชาร์จร่วมกับตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลบนตัวรองรับเส้นใยซิลิกา (SF) และเม็ดซิลิกาที่มีรูพรุน (SP) ทั้งนี้ตัวรองรับเส้นใยซิลิกาที่ใช้ถูกสังเคราะห์ด้วยเทคนิคโซล-เจลร่วมกับเทคนิคอิเล็กโตรสปินนิง และตัวเร่งปฏิกิริยา Ni/SF และ Ni/SP ถูกเตรียมด้วยวิธีการแช่จุ่มแบบเปียกพอดี โดยผลการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยเทคนิค BET, SEM-EDS และ XRD พบว่าลักษณะเฉพาะของตัวเร่งปฏิกิริยา Ni/SF และ Ni/SP มีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะการโหลดปริมาณโหลดนิกเกิลที่แตกต่างกันบนตัวรองรับตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งการเพิ่มปริมาณโหลดนิกเกิลบนตัวรองรับเส้นใยซิลิกามีผลทำให้พื้นที่ผิวจำเพาะเพิ่มขึ้น ส่วนผลการทดสอบปฏิกิริยาดรายรีฟอร์มมิงของมีเทนได้ศึกษาถึงอิทธิพลของปริมาณโหลดนิกเกิลบนตัวรองรับซิลิกา (5, 10 และ 15 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก) ชนิดของตัวรองรับ (SF และ SP) รูปแบบการบรรจุตัวเร่งปฏิกิริยาในเครื่องปฏิกรณ์พลาสมา (บรรจุแบบบางส่วนและแบบเต็ม) และความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ใช้ (10, 13 และ 15 กิโลโวลต์) ที่มีต่อประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ พบว่าปริมาณโหลดนิกเกิลที่ต่างกันบนตัวรองรับซิลิกาและชนิดของตัวรองรับมีบทบาทอย่างมีนัยสำคัญต่อประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ มากไปกว่านั้นการบรรจุตัวเร่งปฏิกิริยาแบบบางส่วนในเครื่องปฏิกรณ์พลาสมาและการเพิ่มความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ใช้ให้ผลเชิงบวกต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวม โดยสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในงานวิจัยนี้คือ การบรรจุตัวเร่งปฏิกิริยา 10%Ni/SF แบบบางส่วน ที่ความต่างศักย์ไฟฟ้า 15 กิโลโวลต์ ซึ่งให้ค่าคอนเวอร์ชันของมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ ผลผลิตผลิตภัณฑ์แก๊สสังเคราะห์ อัตราส่วนโดยโมลของไฮโดรเจนต่อคาร์บอนมอนอกไซด์และประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงที่สุด


Fluorescent Hydrazine-Naphthalimide Encapsulated By Ethyl Cellulose For Detection Of Long-Chain Aldehydes, Faiza Lawan Isah Jan 2022

Fluorescent Hydrazine-Naphthalimide Encapsulated By Ethyl Cellulose For Detection Of Long-Chain Aldehydes, Faiza Lawan Isah

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

One of the most common diseases globally which takes numerous lives is lung cancer. The high concentrations of aldehydes found in tobacco smoke and motor vehicle exhaust are among the contributors for lung cancer. There is a lot of interest in developing a nanosensor for identifying long-chain aldehydes. The conventional methods for detecting aldehyde are highly complex, expensive, and time-consuming. To overcome this drawback, alternative detection techniques such as fluorescence techniques are needed for the quick, easy, and affordable identification of aldehydes. Aldehyde molecules and their derivatives are often used as biomarkers to aid in the diagnosis and treatment of …


Deep Eutectic Solvent-Coated Paper-Based Device For Colorimetric Detection Of Chromium(Vi), Fakhry Gripaldi Pandu Jan 2022

Deep Eutectic Solvent-Coated Paper-Based Device For Colorimetric Detection Of Chromium(Vi), Fakhry Gripaldi Pandu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hexavalent chromium, Cr(VI), is one of the heavy metal ions often found in the environment that is highly toxic and classified as a carcinogen. In this work, rapid screening and onsite monitoring of Cr(VI) using paper-based has been developed. Furthermore, a natural-based deep eutectic solvent, comprising choline chloride and thymol that makes it an environmentally friendly solvent, is applied as a coating medium on the test strips for qualitative and quantitative analysis of Cr(VI) for the first time. 1,5-Diphenylcarbazide was used as an indicator and complexing agent for Cr(VI). The detection was conducted by using a smartphone equipped with an …


Use Of Layered Double Hydroxides As Ionophore For Anion Selective Electrode, Kittipong Konraeng Jan 2022

Use Of Layered Double Hydroxides As Ionophore For Anion Selective Electrode, Kittipong Konraeng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Layered double hydroxides (LDHs) or hydrotalcite compounds are referred to anionic clays with specific anion adsorption and exchanging properties. These behaviors are similar to ionophores and ionic additives in ion selective electrodes (ISEs). Therefore, in this study LDHs was used to function as tailor-made ionophores for particular anions and ionic additives in ISEs. MgAl LDHs were prepared, and then modified the intercalated anions to be NO3-. The selective polymeric membrane was casted using PVC and MgAl LDHs-NO3-. The membrane containing 30%(w/w) MgAl LDHs-NO3- showed the best ISE characteristics toward NO3- with response slopes of -51.31 mV decade-1 in the concentration …


Colorimetric Detection Of Norfloxacin And Ceftazidime By Modified Materials, Lalitphan Hongtanee Jan 2022

Colorimetric Detection Of Norfloxacin And Ceftazidime By Modified Materials, Lalitphan Hongtanee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Novel approaches were developed for the colorimetric detection of norfloxacin and ceftazidime using chemically modified polymer resin and cotton sponge as sensing materials, respectively. For norfloxacin detection, the optimum condition was achieved by using a resin modified with 6.0 µM Congo red at pH 6 to extract norfloxacin in 10 mL of sample at pH 2. The reaction was completed within 15 minutes. Regarding ceftazidime detection, a cotton sponge functionalized with polyethyleneimine (PEI) was fabricated and characterized by FTIR, SEM, and ninhydrin test. To fabricate the PEI-sponge, 170 mM 3-aminopropyl triethoxysilane (APTES) was used to modify 1.0 g cotton fibers …


Nickel Complexes Containing N4 Schiff-Base Macrocycles Dereived From Diphenylamine-2,2'-Dicarboxaldehyde For Catalytic Co2 Reduction, Methasit Juthathan Jan 2022

Nickel Complexes Containing N4 Schiff-Base Macrocycles Dereived From Diphenylamine-2,2'-Dicarboxaldehyde For Catalytic Co2 Reduction, Methasit Juthathan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this dissertation, nickel(II) complexes featuring N4-Schiff base macrocycles derived from diphenylamine-2,2'-dicarboxaldehyde (1-Ni and 2-Ni) with a new crystal structure ([2-Ni]Me) were synthesized and investigated for electrochemical CO2 reduction (ECR). Cyclic voltammetry (CV) of two nickel complexes, 1-Ni and 2-Ni, illustrated the catalytic response whereas one, [2-Ni]Me, virtually remained peak-shaped in the presence of CO2, indicating the feasibility of ECR activity for these nickel complexes. To develop heterogeneous ECR catalysts in aqueous media, all nickel complexes were adhered on N-doped graphene (NG) through non-covalent interaction, obtaining Ni@NG hybrid catalysts. The Ni@NG catalysts showed satisfactory ECR activity with the faradaic efficiency …


Enhancement Of Ammonia Gas Sensing By Metal Oxide-Polyaniline Nanocomposite, Nattawut Soibang Jan 2022

Enhancement Of Ammonia Gas Sensing By Metal Oxide-Polyaniline Nanocomposite, Nattawut Soibang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Ammonia (NH3) gas is an important chemical in many industries. Employees who work in those industrial areas may exposed to a certain concentration of NH3 which could cause various symptoms such as irritation of skin and eyes and problems in respiratory system. The development of new NH3 sensing material has drawn a great attention. In this study, porous tin dioxide nanofibers (SnO2 NFs) were successfully fabricated by an electrospinning technique. The SnO2 NFs were composited with polyaniline (PANI), conducting polymer and form tin dioxide nanofibers@polyaniline nanocomposite (SnO2 NFs@PANI). The morphology was characterized using SEM-EDS and XRD. The SnO2 NFs@PANI was …


Emulsification Microextraction Using Surfactant Coupled With Colorimetric Detection For Determination Of Synthetic Dyes In Food, Niluh Indria Wardani Jan 2022

Emulsification Microextraction Using Surfactant Coupled With Colorimetric Detection For Determination Of Synthetic Dyes In Food, Niluh Indria Wardani

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this thesis, solidification of floating organic drop-emulsification liquid-liquid microextraction (SFOD-ELLME) was combined with digital image colorimetry (DIC) for the analysis of synthetic dyes, such as rhodamine B (RhB) and crystal violet (CV) in food and drink samples. Here, the extraction was performed by using emulsified fatty acid surfactant and freezing procedure to separate the extracting phase. The solidified floating organic drop was then taken out, liquified and dropped on the paper platform for digital image colorimetric analysis. The response surface methodology-central composite design (RSM-CCD) was used to optimize some variables that influence the extraction efficiency. A sample of 7 …


Development Of Dna Detection System Using G-Quadruplex As Catalyst For Colorimetric Detection With Pyrrolidinyl Peptide Nucleic Acid, Somlawan Thipkunthong Jan 2022

Development Of Dna Detection System Using G-Quadruplex As Catalyst For Colorimetric Detection With Pyrrolidinyl Peptide Nucleic Acid, Somlawan Thipkunthong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nucleic acid sequence detection is very important for many applications such as the diagnosis of genetic diseases. The development of new, simple yet effective methods is still in great demand. Among several options, colorimetric detection is a technique that does not require complicated instruments and allows the detection by naked eyes. In this work, a new colorimetric DNA detection system was developed using the combination of a pyrrolidinyl peptide nucleic acid (acpcPNA) probe and a G-quadruplex/hemin DNAzyme. The G-quadruplex is formed from G-rich DNA sequences, and in the presence of hemin, a DNAzyme is formed which effectively catalyzes the oxidation …


Data Analysis Of Volatile Compounds In Green Curry Paste By Comprehensive Heartcut Two-Dimensional Gas Chromatography-Mass Spectrometry Using Retention Indices For Nonpolar And Polar Columns, Sudarat Arunmongkon Jan 2022

Data Analysis Of Volatile Compounds In Green Curry Paste By Comprehensive Heartcut Two-Dimensional Gas Chromatography-Mass Spectrometry Using Retention Indices For Nonpolar And Polar Columns, Sudarat Arunmongkon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this work, comprehensive heart cut two-dimensional chromatography hyphenated with mass spectrometry (CH/C MDGCMS) was applied for reliable identification of volatile compounds in green curry paste sample using HP-5MS (30 m length x 250 µm i.d. x 0.25 µm thickness) and DB-WAX (60 m length x 250 µm i.d. x 0.5 µm thickness) for a first non-polar column (1D) to a flam ionization detector and a second polar column (2D) to a mass spectrometer, respectively. The CH/C MDGC with 25 injection runs for total analysis time of 20.83 hr was achievedusing a Deans switch for transferring eluent from the first …


Prediction Of Soil Sorption Coefficient Of Chemicals By Molecular Modeling Technique, Wasin Pithaktrakool Jan 2022

Prediction Of Soil Sorption Coefficient Of Chemicals By Molecular Modeling Technique, Wasin Pithaktrakool

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Soil pollution is one of the pollutions caused by nature and human activities, which are mostly the use of insecticide and chemical fertilizer to make plants grow well and produce more products. However, these chemicals are absorbed by soil. In this research work, properties of chemical compound affecting soil sorption were analyzed, and model that can predict soil sorption coefficient of chemicals (KOC) was examined by using quantitative structure property relationship (QSPR) technique. Totally 1,327 compounds were selected, and their three-dimensional structures were constructed. Semi-empirical PM7 method was used for geometry optimization calculations. A total of 1,536 physicochemical properties were …


Analysis Of Fatty Acid Methyl Esters By Two-Dimensional Gas Chromatography Using Cryogen-Free Modulator, Adrian Jose Sacan Jan 2022

Analysis Of Fatty Acid Methyl Esters By Two-Dimensional Gas Chromatography Using Cryogen-Free Modulator, Adrian Jose Sacan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A simple and environmentally friendly method in two-dimensional gas chromatography coupled with mass spectrometry (GC-MS) and flame ionization detector has been developed for the analysis of fatty acids in commercial milk products. This applies splitter-based non-cryogenic artificial trapping (SNAT) modulator with unique feature imitating the cryogenic modulation process. The method involves chemical derivatization into fatty acid methyl esters (FAME) with methanolic potassium hydroxide, liquid-liquid phase extraction using hexane, and determination of the FAME composition. The GC×GC approach revealed improved separation of FAME using SNAT modulator with better separated peaks, a ten-fold higher total peak capacity and improved compound identification, compared …


Lead Removal From Water By Modified Activated Carbon Produced From Banana Stem, Imelda Octa Tampubolon Jan 2022

Lead Removal From Water By Modified Activated Carbon Produced From Banana Stem, Imelda Octa Tampubolon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Banana stem-activated carbon (BSAC) and modified banana stem-activated carbon, containing sulfur, nitrogen, and oxygen-containing groups derived from banana stem, were prepared and studied for Pb(II) ion removal. The materials were characterized by scanning electron microscopy, X-Ray diffraction, surface area analysis, and Fourier transform infrared spectroscopy. SEM images showed that the materials are porous, and XRD confirmed that the structures are amorphous and resemble the graphitic hexagonal structure of carbon materials. Surface areas of these materials ranged from 517.67 m2/g for the bare banana stem activated carbon to 234.03, 453.74, 252.97, and 22.96 m2/g for sulfur, oxygen, sulfur and oxygen and …