Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 209

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

เรื่องจากปก: จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีชมพูจากนาเกลือ...จุลินทรีย์ทนเค็มทนด่างที่มาพร้อมความสามารถอันหลากหลาย, ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์ Oct 2020

เรื่องจากปก: จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีชมพูจากนาเกลือ...จุลินทรีย์ทนเค็มทนด่างที่มาพร้อมความสามารถอันหลากหลาย, ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: "ไซโคลน" เครื่องมือคัดแยกฝุ่นในภาคอุตสาหกรรม, รัชชานนท์ เปี่ยมใจสว่าง Oct 2020

บทความ: "ไซโคลน" เครื่องมือคัดแยกฝุ่นในภาคอุตสาหกรรม, รัชชานนท์ เปี่ยมใจสว่าง

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: "แหนแดง"....แหล่งไนโตรเจนในแปลงผัก, ภาษิตา ทุ่นศิริ, ศิริรัตน์ แจ้งกรณ์, กานดา ปุ่มสิน, ฉันทนา เคนศรี, พันธ์ทิวา กระจาย Oct 2020

บทความ: "แหนแดง"....แหล่งไนโตรเจนในแปลงผัก, ภาษิตา ทุ่นศิริ, ศิริรัตน์ แจ้งกรณ์, กานดา ปุ่มสิน, ฉันทนา เคนศรี, พันธ์ทิวา กระจาย

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: การกำจัดสารหนูปนเปื้อนในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองแร่ด้วยพืชพลังงานและจลนศาสตร์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืน, อุดมศักดิ์ บุญมีรติ, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช Oct 2020

บทความ: การกำจัดสารหนูปนเปื้อนในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองแร่ด้วยพืชพลังงานและจลนศาสตร์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืน, อุดมศักดิ์ บุญมีรติ, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: เทคโนโลยีควบคุมมลพิษอากาศที่เกิดจากเตาเผาอิฐมอญเชื้อเพลิงชีวมวลแบบถมทรายหลังเตา, อุกฤต สมัครสมาน, สุกฤษฏิ์พงษ์ ไชยมงคล, คณิต มานะธุระ Oct 2020

บทความ: เทคโนโลยีควบคุมมลพิษอากาศที่เกิดจากเตาเผาอิฐมอญเชื้อเพลิงชีวมวลแบบถมทรายหลังเตา, อุกฤต สมัครสมาน, สุกฤษฏิ์พงษ์ ไชยมงคล, คณิต มานะธุระ

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: "วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของพื้นที่การบริการลูกค้า"กรณีศึกษาสถานประกอบการธุรกิจโรงแรม จังหวัดภูเก็ต, เดชา สีดูกา Oct 2020

บทความ: "วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของพื้นที่การบริการลูกค้า"กรณีศึกษาสถานประกอบการธุรกิจโรงแรม จังหวัดภูเก็ต, เดชา สีดูกา

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: การจัดการและการแปรรูป น้ำมันใช้แล้ว ในภาคครัวเรือน, ปิโยรส ทิพย์มงคล, ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์ Oct 2020

บทความ: การจัดการและการแปรรูป น้ำมันใช้แล้ว ในภาคครัวเรือน, ปิโยรส ทิพย์มงคล, ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์

Environmental Journal

No abstract provided.


เรื่องจากปก: พืชพลังงาน…ทางเลือกใหม่สำหรับการฟื้นฟูสภาพพื้นที่การทำเหมือง, อุดมศักดิ์ บุญมีรติ Jul 2020

เรื่องจากปก: พืชพลังงาน…ทางเลือกใหม่สำหรับการฟื้นฟูสภาพพื้นที่การทำเหมือง, อุดมศักดิ์ บุญมีรติ

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: การศึกษาประสิทธิภาพการลดฝุ่นโดยป่านิเวศ, ศิรพงศ์ สุขทวี, อดุลย์ เดชปัดภัย, สุธีระ บุญญาพิทักษ์, นิรัน เปี่ยมใย, หทัยรัตน์ การีเวทย์, อนงค์ ชานะมูล Jul 2020

บทความ: การศึกษาประสิทธิภาพการลดฝุ่นโดยป่านิเวศ, ศิรพงศ์ สุขทวี, อดุลย์ เดชปัดภัย, สุธีระ บุญญาพิทักษ์, นิรัน เปี่ยมใย, หทัยรัตน์ การีเวทย์, อนงค์ ชานะมูล

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: "น้ำเหมืองเป็นกรด"…ผักตบชวาช่วยได้...ทางเลือกสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน, วัณณิภา ก้วยเจริญพานิชก์, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช Jul 2020

บทความ: "น้ำเหมืองเป็นกรด"…ผักตบชวาช่วยได้...ทางเลือกสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน, วัณณิภา ก้วยเจริญพานิชก์, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: "เฮมพ์"…พืชฟื้นฟูดินปนเปื้อนสารพิษสู่นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน…ยุค Thailand 4.0, อชิรญาณ์ คเณศรักษพงษ์, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช Jul 2020

บทความ: "เฮมพ์"…พืชฟื้นฟูดินปนเปื้อนสารพิษสู่นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน…ยุค Thailand 4.0, อชิรญาณ์ คเณศรักษพงษ์, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: การประเมินประสิทธิภาพของวัสดุทำหน้ากากสำหรับกรองฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (Evaluation Of Face Mask Materials For Trapping Particulate Matter Less Than 2.5 Micron), มณีรัตน์ องค์วรรณดี, พงศธร ชมดี Jul 2020

บทความ: การประเมินประสิทธิภาพของวัสดุทำหน้ากากสำหรับกรองฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (Evaluation Of Face Mask Materials For Trapping Particulate Matter Less Than 2.5 Micron), มณีรัตน์ องค์วรรณดี, พงศธร ชมดี

Environmental Journal

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประสิทธิภาพของวัสดุที่ทำหน้ากากในการกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนในบรรยากาศ โดยจำลองการสวมหน้ากากกับใบหน้าของหุ่นฝึกทางการแพทย์ให้แนบสนิท ใช้เครื่องดูดเสมหะดูดอากาศด้วยอัตรา 15 ลิตรต่อนาทีผ่านหน้ากากที่ทดสอบ ได้แก่ หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หน้ากาก N95 และหน้ากากผ้าฝ้ายสองชั้นเสริมไส้กรองต่างๆ ผลการทดสอบพบว่าหน้ากาก N95 ที่จำหน่ายในประเทศไทยมีประสิทธิภาพการกรอง 78 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วยหน้ากากอนามัยทางการแพทย์มีประสิทธิภาพ 65 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งใกล้เคียงกับหน้ากากผ้าที่ใช้หน้ากากอนามัยดังกล่าวเป็นไส้กรองหรือใช้แผ่นกรองฝุ่นระดับ MERV 11 จำนวน 3 แผ่นซ้อนกัน ในขณะที่การใช้หน้ากากผ้าฝ้ายเพียงอย่างเดียวมีประสิทธิภาพเพียง 6 เปอร์เซ็นต์ และการใช้กระดาษทิชชูเป็นไส้กรองไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ ทั้งนี้ประสิทธิภาพการกรองฝุ่นละอองของหน้ากากเมื่อสวมใส่จริงอาจมีค่าต่ำกว่าที่วัดได้ซึ่งขึ้นกับความแนบสนิทกับใบหน้าของผู้ใส่ สำหรับการฆ่าเชื้อโรคบนหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ด้วยการพ่นเอทานอล 70 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้ทำให้โครงสร้างทางกายภาพและเคมีของเส้นใยโพลีโพรพิลีนของหน้ากากแปลงเปลี่ยนไปจากเดิม จึงอาจเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับยืดอายุการใช้งานหน้ากากอนามัยในช่วงขาดแคลน เช่น การระบาดของโรคโควิด-19


บทความ: เรียนรู้ประสบการณ์การจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ในประเทศเยอรมนี "ระบบความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Epr) และระบบมัดจำคืนเงิน (Drs)", สุจิตรา วาสนาดำรงดี Jul 2020

บทความ: เรียนรู้ประสบการณ์การจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ในประเทศเยอรมนี "ระบบความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Epr) และระบบมัดจำคืนเงิน (Drs)", สุจิตรา วาสนาดำรงดี

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: Cu Zero Waste กรณีศึกษา "การจัดการขยะโรงอาหารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย", นุตา ศุภคต, กัลยา สุนทรวงศ์สกุล Jul 2020

บทความ: Cu Zero Waste กรณีศึกษา "การจัดการขยะโรงอาหารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย", นุตา ศุภคต, กัลยา สุนทรวงศ์สกุล

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: การรับรู้ข่าวสารและทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกของประชากรในจังหวัดสงขลา, นาดียา กูโน, ภัทรพร อุดมทรัพย์, วรางคณา ตันฑสันติสกุล Apr 2020

บทความ: การรับรู้ข่าวสารและทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกของประชากรในจังหวัดสงขลา, นาดียา กูโน, ภัทรพร อุดมทรัพย์, วรางคณา ตันฑสันติสกุล

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสวนพยอม สาขาโรงพยาบาลร้อยเอ็ด The Development Of Waste Management Model Of Suanphayom Hospital, Roi - Et Hospital., กาญจนา โทหา Apr 2020

บทความ: การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสวนพยอม สาขาโรงพยาบาลร้อยเอ็ด The Development Of Waste Management Model Of Suanphayom Hospital, Roi - Et Hospital., กาญจนา โทหา

Environmental Journal

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาขยะมูลฝอย วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย และการพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสวนพยอม สาขาโรงพยาบาลร้อยเอ็ด โดยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสวนพยอม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการและการคัดแยกขยะมูลฝอย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ ไควสแควร์ (Chi-Square) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 88.0 และระดับปานกลาง ร้อยละ 8.0 ทัศนคติเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับสูง ระดับปานกลาง ร้อยละ 94.0, 6.0 ตามลำดับ พฤติกรรมในการปฏิบัติตัวในเรื่องการกำจัดการขยะมูลฝอย อยู่ในระดับปานกลาง ระดับสูง ร้อยละ 76.0, 24.0 ตามลำดับ จากการรวบรวมข้อมูลในแบบสอบถามพบว่า อายุ เพศ สถานะภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ ตำแหน่ง รายได้ ความรู้ ทัศนคติ ไม่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตนในเรื่องการกำจัดขยะมูลฝอย ส่วนการพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย มีขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาบริบท สภาพปัญหา พบว่า ประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดการขยะที่ยังไม่เป็นระบบ 2) ศึกษารูปแบบการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยมูลฝอยตามแนวประชารัฐ เช่น การเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการขยะโดยการอบรมให้ความรู้แก่บุคลากร รณรงค์สร้างจิตสำนึกตามแนวคิด 3Rs - ประชารัฐ โดยการลดปริมาณขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) พัฒนาศักยภาพบุคลากรโดยส่งเสริมการเลี้ยงไส้เดือน ทำน้ำหมักชีวภาพ ส่งผลทำให้ปริมาณขยะหลังการดำเนินการลดลง ร้อยละ 20.35


บทความ: "ปรอทและจุลินทรีย์" บทบาทของจุลินทรีย์ในการขับเคลื่อนวัฏจักรทางชีวธรณีเคมีของปรอทในสิ่งแวดล้อม, ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์ Apr 2020

บทความ: "ปรอทและจุลินทรีย์" บทบาทของจุลินทรีย์ในการขับเคลื่อนวัฏจักรทางชีวธรณีเคมีของปรอทในสิ่งแวดล้อม, ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: "หลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility)" เครื่องมือในการจัดการขยะและส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน, สุจิตรา วาสนาดำรงดี Apr 2020

บทความ: "หลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility)" เครื่องมือในการจัดการขยะและส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน, สุจิตรา วาสนาดำรงดี

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: การประเมินโครงการลดและงดการใช้โฟมและถุงพลาสติกในอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต (Evaluation Of Katu Municipality Campaign To Stop Using Foam And Plastic Bags, Phuket Province), เพ็ญศิริ เอกจิตต์, ฮุสนา โรมินทร์ Apr 2020

บทความ: การประเมินโครงการลดและงดการใช้โฟมและถุงพลาสติกในอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต (Evaluation Of Katu Municipality Campaign To Stop Using Foam And Plastic Bags, Phuket Province), เพ็ญศิริ เอกจิตต์, ฮุสนา โรมินทร์

Environmental Journal

No abstract provided.


เรื่องจากปก: "เขื่อนอุบลรัตน์" ภัยแล้งที่เริ่มคืบคลาน, จักรภพ พันธศรี Apr 2020

เรื่องจากปก: "เขื่อนอุบลรัตน์" ภัยแล้งที่เริ่มคืบคลาน, จักรภพ พันธศรี

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: "ถ่านชีวภาพ (Biochar)" วัสดุปรับปรุงดินเพื่อส่งเสริมการปลูกข้าวในพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย, บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม Apr 2020

บทความ: "ถ่านชีวภาพ (Biochar)" วัสดุปรับปรุงดินเพื่อส่งเสริมการปลูกข้าวในพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย, บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม

Environmental Journal

No abstract provided.


การประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพในการปลูกข้าวในพื้นที่เกษตรกรรมดินเค็ม, สิรภัทร ประเสริฐสุข Jan 2020

การประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพในการปลูกข้าวในพื้นที่เกษตรกรรมดินเค็ม, สิรภัทร ประเสริฐสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จังหวัดนครราชสีมาเป็นพื้นที่วิกฤตดินเค็มของประเทศไทย โดยสาเหตุสำคัญของดินเค็มในพื้นที่เกิดจากสภาพทางธรณีวิทยา และมีแนวโน้มการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มเพิ่มมากขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรม โดยทำให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชลดลงอย่างมาก และบางพื้นที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้ งานวิจัยนี้จึงมุ่งปรับปรุงดินเค็มด้วยถ่านชีวภาพแกลบเพื่อให้สามารถเพาะปลูกข้าวได้ โดยทำการทดลองปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มโซดิกที่มี pH เท่ากับ 10.6 ปริมาณโซเดียมทั้งหมดเท่ากับ 0.83 % ค่าการนำไฟฟ้าเท่ากับ 68.6 dS/m และ SAR เท่ากับ 11,707 และจำกัดปัญหาการระเหยของเกลือจากน้ำใต้ดินขึ้นมาสู่ผิวดินโดยทำการปลูกข้าว ในวงบ่อซีเมนต์ปิดก้นบ่อ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ถ่านชีวภาพแกลบสามารถปรับปรุงดินเค็มโซดิกได้ โดยสามารถลดความเค็มของดินได้ภายในรอบการปลูกข้าว (120 วัน) ซึ่งพบว่า การนำไฟฟ้า ปริมาณโซเดียม และค่า SAR ของดินมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นการใส่ถ่านชีวภาพยังช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ทั้งไนโตรเจน แคลเซียม และแมกนีเซียมได้ โดยเฉพาะการใส่ถ่านชีวภาพแกลบในอัตรา 1.5 กิโลกรัมต่อวงบ่อซีเมนต์ร่วมกับปุ๋ยคอกในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อวงบ่อซีเมนต์ (ตำรับการทดลองที่ 3) มีค่าการนำไฟฟ้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (13.33 dS/m) เช่นเดียวกับปริมาณโซเดียมทั้งหมด (0.18 %) และค่า SAR (4,602) ของดินในตำรับการทดลองที่ 3 ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังให้ผลการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวดีที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อทำการปลูกข้าวรอบที่ 2 และรอบที่ 3 พบว่า ถ่านชีวภาพแกลบสามารถปรับปรุงคุณภาพดินให้ดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง ผลการศึกษายังพบว่า ตำรับการทดลองที่ใส่ถ่านชีวภาพ ให้ผลผลิตของข้าวในรอบการปลูกข้าวที่ 3 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (202.77-492.77 กรัม) จากรอบการปลูกที่ 1 อีกด้วย ในขณะที่ ตำรับการทดลองที่ไม่ใส่ถ่านชีวภาพ ให้ผลการเจริญเติบโตข้าวที่ดีในรอบการปลูกที่ 1 (15.55 กรัม) แต่ให้ผลการเจริญเติบโตต่ำที่สุดในรอบการปลูกที่ 3 (7.30 กรัม) ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงสรุปได้ว่า การใส่ถ่านชีวภาพร่วมกับปุ๋ยคอกสามารถลดความเค็มในดินได้ดีกว่าการใส่ปุ๋ยคอกเพียงอย่างเดียว โดยการใส่ถ่านชีวภาพแกลบในอัตรา 1.5 และ 2 กิโลกรัมต่อวงบ่อซีเมนต์ เป็นอัตราการใส่ถ่านชีวภาพที่เหมาะสมที่สุดในการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มโซดิกในวงบ่อซีเมนต์ เนื่องจากสามารถปรับปรุงดินเค็มโซดิกให้มีสมบัติที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ส่งผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวดีที่สุด


การรีมอดุลาไรเซชันด้วยการค้นหาต้องห้าม, พจนารถ จันทน์วัฒนวงษ์ Jan 2020

การรีมอดุลาไรเซชันด้วยการค้นหาต้องห้าม, พจนารถ จันทน์วัฒนวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการรีมอดุลาไรเซชันซอฟต์แวร์ด้วยการค้นหาต้องห้าม เพื่อค้นหารูปแบบการจัดสรรคลาสไปยังแพ็กเกจที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเป็นการปรับปรุงสภาพมอดุลาร์ของซอฟต์แวร์ โดยทำการค้นหาคลาสที่ไม่เหมาะสมกับแพ็กเกจ เพื่อย้ายไปยังแพ็กเกจที่เหมาะสมมากขึ้น การรีมอดุลาไรเซชันซอฟต์แวร์ด้วยการค้นหาต้องห้ามนี้ ประกอบไปด้วยขั้นตอนการตรวจสอบว่า ซอฟต์แวร์นั้นมีความจำเป็นต้องทำการรีมอดุลาไรเซชันหรือไม่ ด้วยเกณฑ์ค่าสัมประสิทธิ์ซิลูเอทของระบบซอฟต์แวร์ และหากซอฟต์แวร์จำเป็นต้องรีมอดุลาไรเซชัน ขั้นตอนถัดไปคือทำการค้นหาด้วยการค้นหาต้องห้ามจะค้นหารูปแบบการจัดสรรคลาสที่เหมาะสม เพื่อปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น ซึ่งวิธีการนี้สามารถเป็นเครื่องมือช่วยวิศวกรซอฟต์แวร์ตัดสินใจในการทำรีมอดุลาไรเซชันได้ เพื่อสนับสนุนวิธีการรีมอดุลาไรเซชันด้วยการค้นหาต้องห้าม จึงได้พัฒนาเครื่องมือเพื่อทดสอบกับซอฟต์แวร์และกรณีตัวอย่างที่พัฒนาด้วยภาษาจาวารวมเจ็ดตัวอย่าง จากการทดสอบพบว่า เครื่องมือสามารถตรวจสอบได้ว่าซอฟต์แวร์ควรมีการรีมอดุลาไรเซชันหรือไม่ และเครื่องมือสามารถค้นหาและแนะนำวิธีมูฟคลาสรีแฟคทอริงเพื่อทำให้ระบบซอฟต์แวร์มีคุณภาพที่ดีขึ้น โดยประเมินจากการใช้ตัววัดสัมประสิทธิ์ซิลูเอทและเทอร์โบเอ็มคิว เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการรีมอดุลาไรเซชันแล้วพบว่ามีค่าเพิ่มขึ้น


ผลของรูปทรง ตำแหน่ง และอัตราการแสดงความคืบหน้า ต่อการตอบแบบสอบถามออนไลน์, ศุภสุตา มุ่ยห้วยแก้ว Jan 2020

ผลของรูปทรง ตำแหน่ง และอัตราการแสดงความคืบหน้า ต่อการตอบแบบสอบถามออนไลน์, ศุภสุตา มุ่ยห้วยแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แบบสอบถามออนไลน์ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ง่ายและรวดเร็วในปัจจุบัน โดยประสิทธิภาพข้อมูลที่ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูลที่ได้รับจากการตอบแบบสอบถามของหน่วยทดลอง ด้วยคำตอบที่สมบูรณ์ ครบถ้วน และเป็นความจริง การแสดงตัวชี้บอกความคืบหน้าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้การตอบกลับแบบสอบถามเสร็จสมบูรณ์ได้ ผู้วิจัยจึงสนใจวิเคราะห์ถึงลักษณะของตัวชี้บอกความคืบหน้า โดยมุ่งเน้นวิเคราะห์ผลกระทบของ (1) รูปทรง (2) ตำแหน่ง และ (3) อัตราการแสดง ของตัวชี้บอกความคืบหน้า ต่อ อัตราการตอบกลับสมบูรณ์ ระยะเวลาในการตอบแบบสอบถาม และความจริงใจในการตอบแบบสอบถามออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือ การศึกษานี้เป็นการทดลองในสภาพจริง การวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผลกระทบของ (1) รูปทรง (2) ตำแหน่ง และ (3) อัตราการแสดง ของตัวชี้บอกความคืบหน้า ต่ออัตราการตอบกลับสมบูรณ์ไม่มีนัยสำคัญ นอกจากนี้ผลกระทบของทุกตัวแปรต้นต่อระยะเวลาในการตอบแบบสอบถาม และต่อความจริงใจในการตอบแบบสอบถามออนไลน์ ไม่มีนัยสำคัญเช่นกัน ข้อสรุปจากการศึกษานี้เป็นการต่อยอดองค์ความรู้ทางการวิจัยในบริบทของแบบสอบถามออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือ


ผลของลำดับการผสมวัตถุดิบต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการหลอมแก้ว, ปรีณาพรรณ ปิ่นหอม Jan 2020

ผลของลำดับการผสมวัตถุดิบต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการหลอมแก้ว, ปรีณาพรรณ ปิ่นหอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โดยทั่วไปกระบวนการหลอมแก้วระดับอุตสาหกรรมต้องการพลังงานสูงสำหรับการเปลี่ยนแปลงจากวัตถุดิบเป็นน้ำแก้ว วัตถุประสงค์ในงานวิจัยนี้จะกล่าวถึงการพัฒนากระบวนการหลอมแก้วโซดาไลม์โดยวิธีปรับลำดับการผสมในระดับห้องปฏิบัติการ ซึ่งอาศัยกลไกของปฏิกิริยาสถานะของแข็งระหว่างทรายแก้วและโซเดียมคาร์บอเนตในช่วงแรกของการหลอม การเตรียมส่วนผสมแบบดั้งเดิมเป็นการผสมวัตถุดิบทั้งหมดภายในครั้งเดียว ในงานวิจัยนี้ต้องการปรับเปลี่ยนวิธีการเตรียมส่วนผสมให้เหมาะสมที่สุดต่อการหลอมโดยการปรับลำดับของการผสม ประกอบด้วยสองขั้นตอนการผสม ขั้นตอนแรกคือการผสมทรายแก้วและโซเดียมคาร์บอเนต จากนั้นจึงผสมวัตถุดิบที่เหลือเป็นขั้นตอนที่สอง เพื่อเปรียบเทียบและศึกษาผลของการเตรียมส่วนผสมทั้งสองวิธี ได้ทำการศึกษาสภาพและการเปลี่ยนแปลงระหว่างกระบวนการหลอมที่อุณหภูมิตั้งแต่ 600 ถึง 1000 องศาเซลเซียส นอกจากนี้มีผลของปริมาณวัตถุดิบที่หลอมไม่หมดบนพื้นผิวซึ่งยังคงลงเหลือในสภาพผลึก ณ สภาวะที่กำหนด เพื่อเปรียบเทียบแนวโน้มประสิทธิผลในการหลอมของส่วนผสมจากการผสมสองวิธี โดยภาพถ่ายผิวหน้าและโดยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ ผลการวิจัยพบว่าการจัดลำดับการผสมเป็นวิธีการผสมที่เหมาะสมกว่า ส่งผลต่ออัตราการหลอม พื้นผิวสัมผัสที่เพิ่มขึ้นระหว่างทรายแก้วและโซเดียมคาร์บอเนตจากการผสมขั้นตอนแรกนำไปสู่การเพิ่มอัตราการหลอมของทั้งระบบ ต่างจากวิธีการเดิมที่อาจมีวัตถุดิบอื่นเป็นตัวขัดขวางการเกิดปฏิกิริยาสถานะของแข็งดังกล่าว


กรอบงานการควบคุมการเข้าถึงบนฐานบทบาทสำหรับตัวจัดการความมั่นคงไมโครเซอร์วิส, จิตติภัทร ผสมทรัพย์ Jan 2020

กรอบงานการควบคุมการเข้าถึงบนฐานบทบาทสำหรับตัวจัดการความมั่นคงไมโครเซอร์วิส, จิตติภัทร ผสมทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบัน แพลตฟอร์มไมโครเซอร์วิสได้รับความนิยมเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบไม่รวมศูนย์ที่มีความเร็วและกินพื้นที่น้อย อย่างไรก็ตาม จำนวนบริการที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้เกิดความท้าทายในการบำรุงรักษาความมั่นคงของการควบคุมการเข้าถึง พื้นผิวการโจมตีที่มากขึ้นสามารถนำมาซึ่งความเสี่ยงในด้านความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวเข้าสู่ข้อมูลที่สำคัญและละเอียดอ่อน ดังนั้น ในงานนี้จึงได้นำเสนอแนวทางห่วงโซ่ของโดเมนที่เชื่อถือได้เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แบบจำลองที่ขยายเพิ่มจากโมเดลการควบคุมการเข้าถึงตามบทบาทได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการกับภัยคุกคามจากการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งจัดการการตรวจสอบตัวตนในทุกสภาพแวดล้อมในโซลูชันคอนเทนเนอร์แอปพลิเคชัน ตัวจัดการความมั่นคงได้ถูกออกแบบบนพื้นฐานแบบจำลองอาร์แบ็กเพื่อพิสูจน์ตัวตน อนุญาต และระบุการควบคุมการเข้าถึงของผู้ใช้ผ่านเอพีไอเกตเวย์ ระบบต้นแบบที่ผสานรวมกับเซิร์ฟเวอร์การตรวจสอบสิทธิ์ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการศึกษาเชิงประจักษ์ ผลลัพธ์รายงานว่าแนวทางดังกล่าวช่วยให้เข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้เร็วขึ้นและยืดหยุ่นมากขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยปรับปรุงเวลาในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ให้ดีขึ้น


การวิเคราะห์เครือข่ายสหสัมพันธ์ของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ณัฐพล ฐิตะวีระ Jan 2020

การวิเคราะห์เครือข่ายสหสัมพันธ์ของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ณัฐพล ฐิตะวีระ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของหุ้น 100 ตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการใช้ข้อมูลราคาของหุ้น ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ 2563 งานวิจัยนี้นำเสนอการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ของหุ้น โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลาแบบแยกองค์ประกอบเพื่อขจัดความผันผวนของข้อมูล งานวิจัยนี้ใช้เทคนิคไดนามิกไทม์วอร์ปปิงอัลกอริทึม เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของหุ้นแต่ละตัวเพื่อนำมาสร้างเครือข่าย และใช้วิธีการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม เพื่อวิเคราะห์ค่าความเป็นสูงกลาง ค่าความเป็นศูนย์กลางประเภทความเป็นค่าคั่นกลาง ค่าความเป็นศูนย์กลางประเภทความใกล้ชิด และการตรวจจับชุมชนโดยใช้เกอร์แวน - นิวแมนอัลกอริทึม โดยงานวิจัยนี้สามารถตรวจจับชุมชนได้ทั้งหมด 7 ชุมชน งานวิจัยนี้นำเสนอสร้างแบบจำลองแบบเพิ่มข้อมูลในการแยกราคาของหุ้นโดยใช้แบบจำลองความจำสั้นแบบยาว สามารถจำแนกได้ด้วยความแม่นยำร้อยละ 57.9% ซึ่งมีความใกล้เคียงกับแบบจำลองพื้นฐานสำหรับตลาดหุ้นอื่นๆ หลังจากทดลองเพิ่มชุดข้อมูลทดแทนที่ใช้ทดสอบจากหุ้นที่มีระยะห่างใกล้กันมากที่สุด 2 ตัวพบว่า สามารถจำแนกได้ด้วยความแม่นยำร้อยละ 60.3% และหลังจากทดลองเพิ่มชุดข้อมูลทดแทนที่ใช้ทดสอบจากหุ้นที่มีระยะห่างไกลกันมากที่สุด 2 ตัวพบว่า สามารถจำแนกได้ด้วยความแม่นยำร้อยละ 62.3%


การเรียนรู้ถ่ายโอนสำหรับการจำแนกประเภทภาพเนื้อลายหินอ่อนเทียมด้วยโครงข่ายประสาทคอนโวลูชัน, เกรซ พานิชกรณ์ Jan 2020

การเรียนรู้ถ่ายโอนสำหรับการจำแนกประเภทภาพเนื้อลายหินอ่อนเทียมด้วยโครงข่ายประสาทคอนโวลูชัน, เกรซ พานิชกรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบัน เทคนิคการประมวลผลภาพถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในหลากหลายอุตสาหกรรม หนึ่งในนั้นคือการควบคุมคุณภาพที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ขณะเดียวกัน หนึ่งในปัญหาที่การเรียนรู้เชิงลึกสามารถนำมาใช้ตอบโจทย์ได้ดีเยี่ยมคือปัญหาการจำแนกรูปภาพ ในมุมมองของการเรียนรู้เชิงลึก ปัญหาที่หลากหลายของการจำแนกประเภทภาพสามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็วผ่านการเรียนรู้ถ่ายโอน งานวิจัยนี้จึงนำเสนอวิธีการประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้ถ่ายโอนในการฝึกสอนแบบจำลองโครงข่ายคอนโวลูชันเชิงลึกเพื่อจำแนกภาพเนื้อลายหินอ่อนเทียมหรือเป็นเนื้อลายหินอ่อนแท้ แบบจำลองที่เทรนมาเรียบร้อยแล้วสามแบบจำลอง ประกอบด้วย วีจีจี16 เรสเน็ต50 และ อินเซปชันวี3 ได้ถูกเลือกมาใช้ในการทดลองเพื่อสร้างแบบจำลองทั้งหมด 4 ตัว ประกอบด้วย ซีเอ็นเอ็นปกติ ซีเอ็นเอ็น+วีจีจี16 ซีเอ็นเอ็น+เรสเน็ต50 และ ซีเอ็นเอ็น+อินเซปชันวี3 พบว่า สมรรถนะแบบจำลองซีเอ็นเอ็น+อินเซปชันวี3 ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด จึงถูกเลือกนำไปปรับละเอียด การประเมินผลบนชุดข้อมูลทดสอบของแบบจำลองซีเอ็นเอ็น+อินเซปชันวี3ภายหลังการปรับแต่งให้ผลลัพธ์ค่าความแม่นยำที่ดีที่สุดคือ 96.7% เห็นได้ว่า แนวทางการจำแนกประเภทภาพที่นำเสนอมีความหวังสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ซื้อในการตรวจสอบเนื้อลายหินอ่อนเทียมที่อาจตั้งราคาสูงเกินจริง อันเป็นผลมาจากการฉีดไขมันให้มีลายมากมายสวยงาม ซึ่งจะทำให้เนื้อมีรสชาติดีขึ้นรวมทั้งสามารถตั้งราคาที่สูงขึ้นได้อีกด้วย


สมาร์ทฮับบนพื้นฐานของการติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ด้วยสมองโดยอุปกรณ์ราคาประหยัด, นิธิกร เกษมมงคลชัย Jan 2020

สมาร์ทฮับบนพื้นฐานของการติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ด้วยสมองโดยอุปกรณ์ราคาประหยัด, นิธิกร เกษมมงคลชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิทยานิพนธ์นี้ได้ออกแบบและสร้างอุปกรณ์สมาร์ทฮับแบบพกพาบนพื้นฐานของการติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ด้วยสมองด้วยอุปกรณ์ราคาประหยัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและประเมินวิธีการควบคุมอุปกรณ์ด้วยสัญญาณสมอง โดยสมาร์ทฮับที่กล่าวมานั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบสมาร์ทโฮม จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่างานส่วนใหญ่ได้ใช้วิธีการควบคุมอุปกรณ์ด้วยสัญยาณสมองโดยใช้การกระพริบตาและระดับค่าความสนใจ จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้ข้อสรุปว่าในงานวิทยานิพนธ์นี้จะใช้ระบบเครือข่าย WiFi สำหรับการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ และ จะใช้การกระพริบตาและระดับค่าความสนใจในการควบคุมเป็นหลัก ในการทดลองของงานวิทยานิพนธ์นี้มีผู้ทดลองทั้งหมด 10 คน โดยจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 จะทดลองโปรแกรมที่ 1 ถึง 5 และ โปรแกรมที่ 2 จะทดลองโปรแกรมที่ 5 ถึง 1 จากผลการทดลองพบว่าค่าความแม่นยำในการใช้ค่าความสนใจนั้นมีค่ามากกว่าการกระพริบตา 2 ครั้ง แต่การใช้ค่าความสนใจในการควบคุมจะใช้เวลามากกว่า จากการทดลองสามารถสรุปได้ว่า ในการออกแบบวิธีการควบคุมสมาร์ทฮับบนพื้นฐานของการติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ด้วยสมองให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดนั้นควรใช้ 1 วิธีการควบคุม ต่อ 1 คำสั่ง และ วิธีการควบคุมไม่ควรมีความซับซ้อนมากจนเกินไป


การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนโดยใช้การเรียนรู้เชิงลึกด้วยภาพเรดาร์เสริมด้วยภาพจากดาวเทียม, วิคม โตศิริ Jan 2020

การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนโดยใช้การเรียนรู้เชิงลึกด้วยภาพเรดาร์เสริมด้วยภาพจากดาวเทียม, วิคม โตศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำนายปริมาณน้ำฝนระยะสั้นด้วยข้อมูลปริมาณน้ำฝนจากเรดาร์ตรวจอากาศภาคพื้นดินและแบบจำลองการเรียนรู้เชิงลึกถือได้ว่าเป็นกระบวนการใหม่ในการทำนายปริมาณน้ำฝนระยะสั้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อจำกัดของระยะทำการของเรดาร์ตรวจอากาศภาคพื้นดินนั้นมีระยะทำการที่จำกัด งานวิจัยนี้จึงนำเสนอวิธีการปรับปรุงการทำนายปริมาณน้ำฝนระยะสั้นด้วยแบบจำลองการเรียนรู้เชิงลึก U-NET ด้วยการผนวกข้อมูลปริมาณน้ำฝนจากการวิเคราะห์จากดาวเทียม เข้าด้วยกันกับข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่ได้จากข้อมูลจากเรดาร์ตรวจอากาศภาคพื้นดินประเภท Type C Doppler งานวิจัยนี้ได้เสนอว่า วิธีการที่ถูกเสนอในงานวิจัยนี้สามารถปรับปรุงผลลัพธ์การทำนายปริมาณน้ำฝนได้ดีขึ้นในหลายชุดข้อมูลทดสอบ เช่น ชุดข้อมูลพายุไต้ฝุ่น เป็นต้น