Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 199

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

การผลิตไบโอดีเซลแบบต่อเนื่องจากน้ำมันปาล์มโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาโดโลไมต์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งต่ออนุกรม, ธนกฤต แจ่มจำรัส Jan 2018

การผลิตไบโอดีเซลแบบต่อเนื่องจากน้ำมันปาล์มโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาโดโลไมต์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งต่ออนุกรม, ธนกฤต แจ่มจำรัส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตไบโอดีเซลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ไบโอดีเซลความบริสุทธิ์สูง ผ่านปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันของน้ำมันปาล์ม และเมทานอลโดยใช้การเร่งปฏิกิริยาแบบวิวิธพันธุ์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งระดับต้นแบบ การเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์จากโดโลไมต์ ใช้เทคนิคการผสมเชิงกายภาพระหว่างโดโลไมต์ที่ผ่านการเผากับตัวประสาน จากนั้นขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดรีดแบบสกรูเดี่ยว แล้วทำการเผาที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง วิเคราะห์สมบัติของตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (X-ray diffraction) กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (scanning electron microscopy) และเทคนิคการดูดซับทางกายภาพของแก๊สไนโตรเจน จากผลการวิเคราะห์พบว่าแคลเซียมออกไซด์เป็นวัฏภาคที่ว่องไวในการทำปฏิกิริยา ปัจจัยที่ศึกษาในงานวิจัยนี้ ได้แก่ ผลของการเติมเมทิลเอสเทอร์ของกรดไขมัน C₁₀ (Fatty acid methyl ester, C₁₀ FAME) ระยะเวลาดำเนินการในช่วง start-up ของระบบ และอุณหภูมิ การใช้น้ำมัน B100 เป็นสารอิมัลซิไฟเออร์จะให้ร้อยละเมทิลเอสเทอร์สูงกว่าการใช้ C₁₀ FAME จากการทดลองพบว่าภาวะที่เหมาะสมที่ใช้ในการผลิตอย่างต่อเนื่องของไบโอดีเซลในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งระดับต้นแบบ คือ ระยะเวลาในการ start-up 3 ชั่วโมง อัตราการไหลของเมทานอล 22 มิลลิลิตรต่อนาที อัตราการไหลของน้ำมันปาล์ม 9 มิลลิลิตรต่อนาที อุณหภูมิทำปฏิกิริยา 100 องศาเซลเซียส ใช้สารป้อนเข้าสู่ระบบเป็นน้ำมันปาล์มที่ไม่ผสม C₁₀ FAME และใช้สารอิมัลซิไฟเออร์เป็นน้ำมัน B100 ในช่วง start-up โดยให้ผลได้เมทิลเอสเทอร์สูงถึงร้อยละ 98.4 โดยน้ำหนัก


การสรุปใจความสำคัญแบบสกัดจากบทความโดยใช้ออนโทโลยีและวิธีการทางกราฟ, ชุลีพร ยงเกียรติพานิช Jan 2018

การสรุปใจความสำคัญแบบสกัดจากบทความโดยใช้ออนโทโลยีและวิธีการทางกราฟ, ชุลีพร ยงเกียรติพานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันผู้คนเริ่มหันมาดูแลสุขภาพร่างกายกันมากขึ้น บทความปริทัศน์ทางชีวการแพทย์ซึ่งเป็นบทความที่รวบรวมงานวิจัยและนำเสนอออกมาในอีกมุมมองหนึ่ง จึงกำลังเป็นที่สนใจ ทำให้มีผลงานทางวิชาการเผยแพร่ออกมาไม่เว้นแต่ละวัน เนื่องจากสุขภาพถือเป็นเรื่องใกล้ตัว กลุ่มผู้อ่านจึงมีทั้งผู้อ่านที่มีความรู้ในด้านนี้อยู่แล้วและผู้อ่านทั่วไปที่สนใจในการรักษาสุขภาพ งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายที่จะพัฒนาระบบสรุปใจความสำคัญแบบอัตโนมัติจากบทความปริทัศน์ในด้านชีวการแพทย์ เพื่อช่วยลดเวลาที่ผู้อ่านใช้ในการทำความเข้าใจและรับสาระจากบทความเหล่านั้น เพื่อให้สามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนบทความต้องการนำเสนอ โดยงานวิจัยนี้ใช้วิธีการทางกราฟร่วมกับออนโทโลยี UMLS (Unified Medical Language System) และใช้ค่าระยะห่างการเคลื่อนที่ของคำ (Word Mover's Distance : WMD) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกฏในการแทนบทความด้วยกราฟ และสังเคราะห์ประโยคสำคัญออกมาเป็นบทสรุปโดยวิธีการทางกราฟ งานวิจัยนี้ใช้บทความปริทัศน์ทางด้านชีวการแพทย์เกี่ยวกับโรคต่าง ๆ 5 โรค จำนวนโรคละ 400 บทความจากผับเมด (PubMed) ในการพัฒนาและทดสอบโมเดล ผลการทดลองมีค่าวัดประสิทธิภาพโดยเครื่องมือวัดผล ROUGE (Recall-Oriented Understudy for Gisting Evaluation) โมเดลที่นำเสนอมีความแม่นยำมากกว่าวิธีที่นำเสนอก่อนหน้าสูงสุดร้อยละ 22 นอกจากนี้ยังได้ทดสอบกับวิธีการทางกราฟต่าง ๆ คือ เพจแรงก์ (PageRank) ค่าความเป็นศูนย์กลาง (Degree Centrality) ค่าความใกล้ชิด (Closeness Centrality) และค่าคั่นกลาง (Betweenness Centrality) การทดลองพบว่าการใช้ค่าความใกล้ชิดสามารถสร้างบทสรุปที่มีความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด วิธีการที่นำเสนอนี้สามารถประยุกต์ใช้กับบทความในด้านอื่น ๆ ได้ตามออนโทโลยีที่เลือกใช้


การประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกในการฝังคำเพื่อสร้างแบบจำลองสำหรับทำนายผลการวินิจฉัยโรคจากบันทึกทางการแพทย์ของแผนกออร์โธปิดิกส์, ธนากร รัตนจริยา Jan 2018

การประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกในการฝังคำเพื่อสร้างแบบจำลองสำหรับทำนายผลการวินิจฉัยโรคจากบันทึกทางการแพทย์ของแผนกออร์โธปิดิกส์, ธนากร รัตนจริยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้จะนำเสนอวิธีการฝังคำในการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อสร้างแบบจำลองสำหรับทำนายผลการวินิจฉัยโรค ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผลการวินิจฉัยโรคของแพทย์ผิดพลาดคือประสบการณ์ของแพทย์ที่ไม่เพียงพอ โดยการวินิจฉัยโรคที่ผิดพลาดนั้น นอกจากจะนำไปสู่การรักษาที่ผิดพลาดแล้ว ยังทำให้ผู้ป่วยเสียทั้งเงินและเวลา ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาการวินิจฉัยที่ผิดพลาด งานวิจัยนี้จึงนำเสนอวิธีการประยุกต์ใช้การเรียนรู้เชิงลึกกับการฝังคำ เพื่อทำนายผลการวินิจฉัยโรคจากระบบเวชระเบียน โดยจะสร้างแบบจำลองจากการใช้ข้อมูลในบันทึกของแพทย์ ซึ่งข้อมูลจะถูกนำไปวิเคราะห์ผ่านแบบจำลอง เพื่อทำนายผลการวินิจฉัยโรคที่มีความน่าจะเป็นออกมา เรียงตามลำดับความเชื่อมั่น และสุดท้ายจะใช้อัตราผลบวกจริง อัตราผลบวกเท็จ และค่าความแม่นยำมาเป็นตัววัดประสิทธิภาพของแบบจำลองที่ได้ ซึ่งพบว่าค่าความแม่นยำของแบบจำลองในงานวิจัยนี้มีค่าเท่ากับ 99.95% และอัตราผลบวกจริงมีค่าเท่ากับ 86.64% ด้วยการทำนายผลลัพธ์อันดับแรกเพียงอันดับเดียว


การพัฒนากระบวนการขัดตกแต่งเพื่อการปรับปรุงความเป็นระนาบของผิวผ้าเบรก, ศวิตา ฉายสกุล Jan 2018

การพัฒนากระบวนการขัดตกแต่งเพื่อการปรับปรุงความเป็นระนาบของผิวผ้าเบรก, ศวิตา ฉายสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาผลกระทบของปัจจัยในกระบวนการขัดตกแต่ง ได้แก่ ความลึกการตัด พื้นที่ผิวผ้าเบรก และความเร็วในการป้อนชิ้นงาน ต่อความลาดเอียงของผ้าเบรกไร้ใยหินหลังจากทำการขัดตกแต่งด้วยเครื่องขัดตกแต่งแบบแมนวลด้วยเงื่อนไขการขัดตกแต่งที่แตกต่างกันโดยใช้ การออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียลเต็มรูปแบบ 3 ตัวแปร ตัวแปรละ 3 ระดับ ได้แก่ พื้นที่หน้าตัดชิ้นงานที่ 2602 5948 และ 7568 ตารางมิลลิเมตร ความลึกในการตัดที่ 0.5 1 และ 1.5 มิลลิเมตร และความเร็วในการป้อนชิ้นงานที่ 9.5 11.5 และ 15.5 รอบต่อนาที ความลาดเอียงของผ้าเบรกถูกวัดค่าออกมาด้วยเครื่องไดอัลเกจและนำมาวิเคราะห์ผลการทดลองทางสถิติ และวิเคราะห์การส่งผลกระทบด้วยกราฟผลกระทบหลักและผลกระทบร่วม พบว่าทุกปัจจัยยกเว้นผลกระทบร่วมของความลึกในการตัดกับความเร็วในการป้อนล้วนส่งผลกระทบต่อความลาดเอียง โดยการเปลี่ยนแปลงขนาดพื้นที่หน้าตัดเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความลาดเอียงมากที่สุด นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาผลกระทบของความแข็งวัสดุเคมีที่แตกต่างกันต่อความลาดเอียง พบว่า ในชิ้นงานที่มีความแข็ง 60 90 และ 100 HRR ค่าความลาดเอียงไม่ได้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ทั้งนี้ นอกเหนือจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ยังได้มีการวิเคราะห์ความลาดเอียงด้วยวิธีทางกราฟิกผ่านการสร้างรูปจำลองด้วยโปรแกรม MATLAB พบว่าผลความลาดเอียงจากการสร้างรูปจำลองสอดคล้องกับผลการทดลองทางสถิติ


ผลของรูปร่างการผ่าร่องและการปาดข้างของผ้าเบรกต่อเสียงเบรกสเควล, สิรภัทร เยี่ยมดี Jan 2018

ผลของรูปร่างการผ่าร่องและการปาดข้างของผ้าเบรกต่อเสียงเบรกสเควล, สิรภัทร เยี่ยมดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เสียงเบรกสเควลเป็นปัญหาที่น่ากังวลสำหรับผู้ผลิตรถยนต์และผู้ผลิตเบรกมาโดยตลอด ซึ่งรูปร่างของผ้าเบรกมีบทบาทสำคัญในการลดเสียงเบรกสเควล ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาผลการผ่าร่องและการปาดข้างของผ้าเบรกต่อเสียงเบรกสเควลผ่านกลไกการสั่นพ้องในช่วงความถี่ตั้งแต่ 2,000 ถึง 11,000 เฮิร์ตซ์ ความถี่ธรรมชาติและรูปร่างการสั่นของผ้าเบรกและจานเบรกจะถูกคำนวณด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ และถูกเปรียบเทียบกับการทดลองจริงด้วยวิธีการเคาะเพื่อทวนสอบแบบจำลอง ปรากฏการณ์การสั่นพ้องระหว่างผ้าเบรกและจานเบรกจะถูกวิเคราะห์เพื่อทำนายการเกิดเสียงเบรกสเควล ผลการวิเคราะห์พบว่า ผ้าเบรกกับจานเบรกมีโอกาสเกิดเสียงเบรกสเควลในช่วงความถี่ประมาณ 2,800 ถึง 3,000 เฮิร์ตซ์ และ 8,100 ถึง 8,300 เฮิร์ตซ์ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการสั่นพ้อง ผ้าเบรกจึงถูกดัดแปลงด้วยการผ่าร่องและปาดข้าง ผลการวิจัยพบว่า การผ่าร่อง 3 ร่อง การปาดข้างตรงรวมกับการผ่าร่อง 3 ร่อง และการปาดข้างแนวรัศมีรวมกับการผ่าร่อง 3 ร่อง ส่งผลให้ความถี่ธรรมชาติลดลงมากที่สุด ดังนั้นรูปร่างทั้ง 3 รูปร่างนี้ส่งผลต่อการลดเสียงเบรกสเควล ในช่วงความถี่ 2,800 ถึง 3,000 เฮิร์ต แต่ในช่วงความถี่ 8,100 ถึง 8,300 เฮิร์ตซ์ พบว่า ยังไม่มีการดัดแปลงรูปร่างใดที่สามารถลดโอกาสการเกิดเสียงเบรกสเควลในช่วงความถี่นี้ได้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าเชื่อถือ ผลการทำนายจำเป็นต้องถูกตรวจสอบโดยการทดสอบประสิทธิภาพการเบรกด้วยเครื่องไดนาโมมิเตอร์เพื่อยืนยันความถูกต้อง ผลการตรวจสอบพบว่า การทำนายการเกิดเสียงเบรกสเควลด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ให้ผลตรงกันกับผลการทดสอบจากเครื่องไดนาโมมิเตอร์ในรูปร่าง Commercial


Fluorescent Sensors From Salicylaldimine Derivatives For Metal Ions, Phoom Sangsuwan Jan 2018

Fluorescent Sensors From Salicylaldimine Derivatives For Metal Ions, Phoom Sangsuwan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

An in-situ forming and sensing was developed as a high-throughput screening of fluorescent chemosensors for metal ions. The 45 salicylaldimines, formed in-situ from the condensation between 5 salicylaldehydes and 9 amines, in 96 well-plates were photographed under black light along with the 5 salicylaldehydes in the absence and presence of 18 metal ions. The library of fluorescence response images of these 50 chemosensors were processed into RGB values. The PCA of theΔRGB, the differences between those of images with and without the metal ions, showed 9 sensors with normalized loading value over 70%. The sensor array constructed from these 9 …


Development Of Headspace-Solid Phase Microextraction And Gas Chromatography-Mass Spectrometry/Olfactometry For Analysis Of Volatile Compounds From Chicken Products, Wongkanok Yoosong Jan 2018

Development Of Headspace-Solid Phase Microextraction And Gas Chromatography-Mass Spectrometry/Olfactometry For Analysis Of Volatile Compounds From Chicken Products, Wongkanok Yoosong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Gas chromatography-mass spectrometry/olfactometry coupled headspace solid phase microextraction (HS-SPME-GC-MS/O) was applied to analysis of volatile compounds from raw chickens and boiled chickens. The HS-SPME was 50/30 mm DVB/CAR/PDMS. The extraction temperature of boiled chicken was 50 °C for 30 min and raw chicken were extracted at room temperature. The SPME Probes were analyzed by GC-MS with a HP-5MS capillary column. 16 volatile compounds were identified in the boiled chickens in four chemical classes including aldehydes, aromatic hydrocarbon, alcohols and ketones and 20 volatile compounds were identified in raw chickens in three chemical classes including aldehydes, alcohols and esters. The identification …


Conversion Of Waste Chicken Fat To Liquid Fuel On Coal Fly Ash Catalyst By Catalytic Cracking, Phorndranrat Suchamalawong Jan 2018

Conversion Of Waste Chicken Fat To Liquid Fuel On Coal Fly Ash Catalyst By Catalytic Cracking, Phorndranrat Suchamalawong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this research work, a study on the catalytic cracking of waste chicken fat (WCF) on fly ash to liquid fuels and using 2k factorial design to determine the influence of parameters on liquid yield, naphtha and diesel content was investigated. The research was divided into 2 parts. First, the experiment was carried out in a batch lab scale reactor of 70 mL. The objectives are to determine the influence of parameters that affected the %yield of liquid product naphtha and diesel–liked fuels at the operating conditions of temperature range of 420 - 460 ˚C, reaction time 45-75 minutes, initial …


Surface-Enhanced Raman Scattering Technique For Polycyclic Aromatic Hydrocarbons Detection Using Thiol-Functionalized Silver Nanoparticle Films, Sathita Taksadej Jan 2018

Surface-Enhanced Raman Scattering Technique For Polycyclic Aromatic Hydrocarbons Detection Using Thiol-Functionalized Silver Nanoparticle Films, Sathita Taksadej

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The detection of polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) is developed based on surface-enhanced Raman scattering (SERS) using silver nanoparticle films as SERS substrates. The films are fabricated by a Langmuir Blodgett (LB) method and the surface of AgNP films are functionalized with various types of aromatic and aliphatic thiols, i.e., naphthalenethiol, phenylethanethiol, pentanethiol, octanethiol, and dodecanethiol, to create a hydrophobic layer for PAHs to attach on and stay in hot spot. The results indicate that nine kinds of PAHs with different structures, i.e., anthracene, chrysene, naphthacene, naphthalene, phenanthrene, pentacene, perylene, pyrene, and triphenylene, can attach on the surfaces of thiol-modified AgNP …


พลศาสตร์การจัดระเบียบเฟสภายใต้อิทธิพลของการเฉือนแบบเคลื่อนที่สลับ, สราวุธ สะสม Jan 2018

พลศาสตร์การจัดระเบียบเฟสภายใต้อิทธิพลของการเฉือนแบบเคลื่อนที่สลับ, สราวุธ สะสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เราศึกษาเกี่ยวกับพลศาสตร์การจัดระเบียบเฟสภายใต้อิทธิพลของการเฉือนแบบเคลื่อนที่สลับ โดยแบ่งศึกษาเป็น 2 กรณี ได้แก่ 1.กรณีที่ไม่คำนึงถึงผลการรบกวนทางความร้อน และ 2.กรณีที่คำนึงถึงผลการรบกวนทางความร้อน โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะเน้นการหาฟังก์ชันสหสัมพันธ์ที่เวลาเท่ากัน ฟังก์ชันโครงสร้างที่เวลาเท่ากันและกฎการเติบโตของพารามิเตอร์การจัดระเบียบแบบไม่อนุรักษ์ที่เป็นปริมาณเวกเตอร์หลายองค์ประกอบในแบบจำลองเอที่นิยามโดยฮัลเพอรินและโฮเฮนเบิร์ก เราพบว่าเมื่อเวลาผ่านไปนาน การผันผวนทางความร้อนไม่มีผลต่อการสเกลเชิงพลวัตของระบบและพฤติกรรมของระบบถูกกำหนดด้วยความถี่และเฟสเริ่มต้นของการเฉือนแบบเคลื่อนที่สลับ นอกจากนี้ในงานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ตั้งสมมติฐานว่า ระบบที่อธิบายได้ด้วยพารามิเตอร์การจัดระเบียบแบบไม่อนุรักษ์ที่เป็นปริมาณเวกเตอร์หลายองค์ประกอบและแบบจำลองไอซิงจัดอยู่ในกลุ่มความเป็นสากลเดียวกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการยืนยันความถูกต้องของผลการคำนวณ จึงทำการจำลองพฤติกรรมของแบบจำลองไอซิงภายใต้อิทธิพลของการเฉือนแบบเคลื่อนที่สลับเพื่อเปรียบเทียบกับผลการคำนวณ พบว่าผลลัพธ์ของแบบจำลองและการคำนวณสอดคล้องกันดี


ตัวผลิตเอกสารความต้องการเชิงระบบจากเอกสารความต้องการเชิงธุรกิจแบบอัตโนมัติ, พัฐสุดา วิทยานนท์เอกทวี Jan 2018

ตัวผลิตเอกสารความต้องการเชิงระบบจากเอกสารความต้องการเชิงธุรกิจแบบอัตโนมัติ, พัฐสุดา วิทยานนท์เอกทวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นที่การสร้างเอกสารความต้องการเชิงระบบจากเอกสารความต้องการเชิงธุรกิจแบบอัตโนมัติ ในขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการของวงจรการพัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ธุรกิจ (BA) จะต้องรวบรวมความต้องการจากผู้ใช้งาน ออกแบบฟังก์ชันและเอกสารจำนวนมากที่ต้องทำในระหว่างการพัฒนาระบบ โดยงานวิจัยได้นำเสนอวิธีการสร้างเอกสารความต้องการเชิงระบบซึ่งพัฒนาโดยภาษา Java และ API จาก www.websequencediagrams.com โดยสร้างแผนผังการทำงานแบบลำดับปฏิสัมพันธ์ (Sequence Diagrams) จากรูปแบบเฉพาะซึ่งประกอบด้วย Actor, Message, Object และ Recall โดย BA ต้องกรอกข้อมูลในรูปแบบดังกล่าวจากความต้องการของผู้ใช้งาน ผลจากกรณีศึกษา 3 กรณีแสดงให้เห็นว่าวิธีการสามารถสร้างเอกสารและแผนผังการทำงานแบบลำดับปฏิสัมพันธ์โดยอัตโนมัติได้


การทวนสอบเชิงรูปนัยของการออกแบบบีพีเอ็มเอ็นโดยใช้โมเดลเช็คกิง, ชานนท์ เดชสุภา Jan 2018

การทวนสอบเชิงรูปนัยของการออกแบบบีพีเอ็มเอ็นโดยใช้โมเดลเช็คกิง, ชานนท์ เดชสุภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทวนสอบโมเดลบีพีเอ็มเอ็นด้วยวิธีโมเดลเช็คกิงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้มั่นใจว่าโมเดลบีพีเอ็มเอ็นที่ออกแบบปราศจากปัญหาติดตายและปราศจากคุณสมบัติที่ไม่พึงประสงค์ที่เป็นสาเหตุโมเดลไม่ตรงตามความต้องการหรือส่งผลให้ระบบหยุดทำงาน คุณสมบัติของโมเดลบีพีเอ็มเอ็นที่จำเป็นต้องทวนสอบได้แก่ คุณสมบัติความปลอดภัยและคุณสมบัติความสมบูรณ์ ขั้นตอนการทวนสอบด้วยวิธีโมเดลเช็คกิงค่อนข้างซับซ้อนเพราะเกี่ยวข้องกับภาษารูปนัยที่ใช้อธิบายโมเดลเชิงนามธรรมและการใช้เครื่องมือทวนสอบ รวมถึงอาจต้องใช้เทคนิคเฉพาะเพื่อจัดการโมเดลบีพีเอ็มเอ็นที่มีขนาดใหญ่ที่เป็นสาเหตุของปัญหาการระเบิดของปริภูมิสถานะ การสร้างโมเดลนามธรรมโดยอัตโนมัติช่วยลดความผิดพลาดและเวลาที่ใช้ในการสร้างโมเดล สามารถจัดการโมเดลที่มีขนาดใหญ่และปัญหาการระเบิดของปริภูมิสถานะได้ งานวิจัยนี้เสนอเทคนิคการทวนสอบคุณสมบัติความปลอดภัย คุณสมบัติความสมบูรณ์ของโมเดลบีพีเอ็มเอ็นด้วยวิธีโมเดลเช็คกิง คัลเลอร์เพทริเน็ตหรือซีพีเอ็นถูกนำมาใช้อธิบายโมเดลนามธรรม เทคนิคการแบ่งโมเดลออกเป็นโมเดลย่อยและการจัดโครงสร้างโมเดลแบบมีลำดับชั้นถูกนำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการระเบิดของปริภูมิสถานะ กรอบงานได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้แปลงโมเดลบีพีเอ็มเอ็นเป็นโมเดลซีพีเอ็นและมีตัวสร้างและค้นปริภูมิสถานะจากโมเดลซีพีเอ็น ซึ่งกรอบงานเป็นตัวเลือกที่มีประโยชน์สำหรับนักออกแบบกระบวนการซอฟต์แวร์ที่ต้องการทวนสอบโมเดลบีพีเอ็มเอ็นที่มีขนาดใหญ่


แบบจำลองทำนายผลคำตัดสินและประเด็นในคดีอาญาที่เรียนรู้จากคำพิพากษาศาลฎีกาไทย โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก, กานกวิญจน์ โค้วสีหวัฒน์ Jan 2018

แบบจำลองทำนายผลคำตัดสินและประเด็นในคดีอาญาที่เรียนรู้จากคำพิพากษาศาลฎีกาไทย โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก, กานกวิญจน์ โค้วสีหวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำนายผลคำตัดสินในคดีอาญาด้วยแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เทคนิคที่ใช้ในแบบจำลองดังกล่าวมักใช้ตัวแทนข้อความที่มีที่มาจากแบบจำลองถุงคำ ซึ่งไม่สนใจลำดับของข้อความทำให้สูญเสียบริบทของข้อความ และผลลัพธ์การทำนายมีความแม่นยำลดลง ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแบบจำลองทำนายผลคำตัดสินและประเด็นในคดีอาญาซึ่งเรียนรู้จากคำพิพากษาศาลฎีกาไทยโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกผ่านชุดโครงข่ายประสาทเทียม แบบจำลองนี้สร้างตัวแทนข้อความด้วยโครงข่ายประตูวกกลับสองทิศทางร่วมด้วยกลไกจุดสนใจ ก่อนนำตัวแทนข้อความนั้นไปทำนายผลคำตัดสินและประเด็นในคดีอาญาด้วยโครงข่ายประสาทเทียมแบบโมดูลซึ่งจำลองโครงสร้างความรับผิดทางอาญาตามทฤษฎีกฎหมายอาญา ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าแบบจำลองให้ประสิทธิภาพสูงกว่าแบบจำลองที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องเดิมอย่างเนอีฟเบยส์และเอสวีเอ็ม เมื่อพิจารณาจากค่า F1 นอกจากนี้ แบบจำลองยังให้ประสิทธิภาพสูงในการทำนายประเด็นในคดีอาญาบางประเด็นซึ่งมีผลต่อการทำนายผลคำตัดสินในคดีอาญาด้วย นอกจากนั้น ผลการทดลองสะท้อนให้เห็นว่า การใช้โครงข่ายประตูวกกลับสองทิศทางร่วมด้วยกลไกจุดสนใจสามารถสร้างตัวแทนข้อความที่ดีกว่าแบบจำลองดั้งเดิมที่มีลักษณะเดียวกันกับถุงคำ ตลอดจนโครงข่ายประสาทเทียมแบบโมดูลสามารถจำลองโครงสร้างความรับผิดทางอาญาได้


การสร้างแบบจำลองเครือข่ายทางรถไฟด้วยไทมด์คัลเลอร์เพทริเน็ต, นิติพัฒน์ ทรงวิโรจน์ Jan 2018

การสร้างแบบจำลองเครือข่ายทางรถไฟด้วยไทมด์คัลเลอร์เพทริเน็ต, นิติพัฒน์ ทรงวิโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทวนสอบเชิงรูปนัยสามารถนำไปใช้เป็นทางเลือกในการทวนสอบแบบจำลองต้นแบบที่ออกแบบให้ทราบถึงข้อผิดพลาดหรือคุณลักษณะด้านความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตาม การออกแบบแบบจำลองเครือข่ายทางรถไฟขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนค่อนข้างมากอาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ง่าย วิทยานิพนธ์นี้จึงได้นำเสนอทางเลือกในการสร้างแบบจำลองเครือข่ายทางรถไฟโดยใช้มอดูลที่ถูกสร้างขึ้นจากแบบจำลองไทมด์คัลเลอร์เพทริเน็ตซึ่งเป็นแบบจำลองเชิงรูปนัยแทนการสร้างแบบจำลองไทมด์คัลเลอร์เพทริเน็ตแบบทั่วไป โดยวิทยานิพนธ์ได้นำเสนอมอดูลมาตรฐานที่แทนส่วนประกอบในเครือข่ายทางรถไฟ คือ สถานีรถไฟ และ รางรถไฟ รองรับประเภทรถไฟโดยสาร 3 ประเภทและการควบคุมการเดินรถไฟโดยใช้ตารางเวลารถไฟที่สามารถกำหนดได้ พร้อมทั้งนำเสนอกฎและเงื่อนไขในการต่อประสานมอดูลเหล่านั้นเพื่อประกอบกันเป็นเครือข่ายทางรถไฟขนาดใหญ่ได้ โดยมีเครื่องมือที่ถูกพัฒนาในวิทยานิพนธ์ช่วยเหลือผู้ใช้ในการสร้างและแปลงเครือข่ายทางรถไฟที่ถูกออกแบบไปเป็นไทมด์คัลเลอร์เพทริเน็ต ผลลัพธ์การจำลองแสดงผลผ่านโปรแกรมเครื่องมือ ซีพีเอ็น เพื่อตรวจหาความถูกต้อง และความปลอดภัยของแบบจำลองเครือข่ายทางรถไฟและตารางรถไฟที่นำเข้ามาตรวจสอบ โดยยกตัวอย่างกรณีศึกษาสำหรับเครือข่ายทางรถไฟจำนวน 8 สถานี พร้อมทำการจำลองเหตุการณ์ความล่าช้าที่เกิดขึ้นที่เครือข่ายทางรถไฟ เพื่อตรวจสอบผลกระทบที่เกิดขึ้น


ระบบสังเคราะห์เสียงร้องเพลงภาษาไทยโดยใช้แบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟ, ลัทธพล จีระประดิษฐ Jan 2018

ระบบสังเคราะห์เสียงร้องเพลงภาษาไทยโดยใช้แบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟ, ลัทธพล จีระประดิษฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การร้องเพลงในแต่ละภาษานั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวบางอย่างซึ่งส่งผลให้การพัฒนาความเป็นธรรมชาติของเสียงร้องเพลงสังเคราะห์ในแต่ละภาษานั้นมีความท้าทายแตกต่างกัน เสียงวรรณยุกต์เป็นส่วนที่มีผลมากกับการสื่อสารในภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ แต่ระบบสังเคราะห์เสียงร้องเพลงในปัจจุบันไม่ได้คำนึงถึงเสียงวรรณยุกต์ นอกจากนี้เมลิสมาเป็นอีกสถานการณ์หนึ่งที่พบได้บ่อยครั้งในการร้องเพลงป็อปไทยซึ่งต้องมีการจัดการเพื่อจำลองการร้องเมลิสมา เป้าหมายของวิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งเน้นที่การปรับระบบสังเคราะห์เสียงร้องเพลงให้รองรับการจำลองเสียงในสถานการณ์เมลิสมาและผลกระทบของเสียงวรรณยุกต์ งานวิทยานิพนธ์นี้เสนอ 1) ปัจจัยบริบทที่ใช้ในระบบสังเคราะห์เสียงร้องเพลงสำหรับภาษาที่วรรณยุกต์มีผลต่อเสียงร้องเพลงและคำนึงถึงเมลิสมา 2) วิธีการทำสำเนารูปเขียน จากการประเมินผลพบว่า วิธีการทำสำเนารูปเขียนที่เสนอทั้งสองแบบนั้นส่งผลให้ระบบสังเคราะห์เสียงร้องเพลงรองรับเมลิสมา โดยวิธีการทำสำเนารูปเขียนที่คำนึงถึงสระเสียงสั้น-ยาวและตัวสะกดนั้นมีรูปคลื่นของเสียงร้องเพลงสังเคราะห์ใกล้เคียงกับรูปคลื่นของเสียงร้องเพลงจริงมากกว่า รวมถึงมีความเป็นธรรมชาติมากกว่าโดยใช้มาตรวัดเอ็มโอเอส อีกทั้งเมื่อมีปัจจัยบริบทที่เกี่ยวข้องกับเสียงวรรณยุกต์ เค้ารูปของความถี่มูลฐานที่สังเคราะห์ได้นั้นมีความใกล้เคียงเสียงร้องเพลงจริงมากกว่าในระบบที่ไม่มีปัจจัยบริบทที่เกี่ยวข้องกับเสียงวรรณยุกต์ และมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้นโดยใช้มาตรวัดเอ็มโอเอส นอกจากนี้เพื่อเพิ่มความเป็นธรรมชาติให้เสียงร้องเพลงสังเคราะห์จึงมีการทดลองเกี่ยวกับจำนวนสถานะของแบบจำลองเสียงพบว่า เมื่อจำนวนสถานะเพิ่มขึ้น ความเป็นธรรมชาติของเสียงร้องเพลงสังเคราะห์ก็มากขึ้น แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งเสียงร้องเพลงสังเคราะห์ที่ได้จะมีความเป็นธรรมชาติลดลง


โมเดลคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาของไทยและต่างประเทศ: การวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนแบบเบส์, ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล Jan 2018

โมเดลคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาของไทยและต่างประเทศ: การวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนแบบเบส์, ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาของไทยและต่างประเทศ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาของไทยและต่างประเทศที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลคุณลักษณะที่พึงประสงค์ฯ ที่พัฒนาขึ้นตามกลุ่มนักศึกษาไทยและต่างประเทศด้วยวิธีการประมาณค่าความน่าจะเป็นสูงสุด และการวิเคราะห์แบบเบส์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาโทและเอกจำนวน 716 คน จาก 11 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย จำนวน 459 คนและจาก 11 มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกจำนวน 257 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบประเมินตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอกต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประมาณค่าพารามิเตอร์ในโมเดลด้วยวิธีการประมาณค่าความน่าจะเป็นสูงสุด (Maximum-likelihood estimation) จากโปรแกรม LISREL 8.72 และการวิเคราะห์แบบเบส์ (Bayesian analysis) จากโปรแกรม R 3.6.1 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาของไทยและต่างประเทศ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 10 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 ด้านความรู้ แบ่งออกเป็น 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความรู้ในสาขาวิชาชีพ ความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ และ ความรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบที่ 2 ด้านทักษะการเรียนรู้และการทำงาน แบ่งออกเป็น 4 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การคิดเชิงนวัตกรรม การจัดการตนเองและองค์กร การทำงานเป็นทีมแบบท้าทาย และ การเรียนรู้เทคโนโลยีสม่ำเสมอ และองค์ประกอบที่ 3 ด้านคุณธรรมจริยธรรม แบ่งออกเป็น 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ คุณธรรมการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม จรรยาบรรณทางวิชาชีพและวิชาการ และจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ 2. โมเดลคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาของไทยและต่างประเทศสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 29.17, df = 19, χ2/df = 1.535, p= .06339, RMSEA = .027, GFI= …


คุณลักษณะดินและจุลินทรีย์ดินของแปลงฟื้นฟูป่าที่เหมืองสังกะสี จังหวัดตาก, ชุติมา กันตรง Jan 2018

คุณลักษณะดินและจุลินทรีย์ดินของแปลงฟื้นฟูป่าที่เหมืองสังกะสี จังหวัดตาก, ชุติมา กันตรง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การฟื้นฟูป่าไม้ในพื้นที่ทำเหมืองสังกะสีจำเป็นต้องพิจารณาคุณลักษณะดินที่มีผลต่อการพัฒนาของป่าฟื้นฟู การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะดินและจุลินทรีย์ดินของแปลงป่าฟื้นฟูบนพื้นที่เหมืองแร่สังกะสี อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยดินที่นำมาศึกษาเก็บตัวอย่างมาจากแปลงป่าฟื้นฟูอายุแตกต่างกัน ได้แก่ ป่าอายุ 0-5 ปี 6-15 ปี และมากกว่า 15 ปี ผลการศึกษาพบว่าคุณลักษณะดินโดยเฉพาะสัดส่วนดินทรายเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 22.4±6.1 32.7±2.6 และ 64.4±15.4 ตามลำดับ ความชื้นและธาตุอาหารอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงตามอายุของการฟื้นฟูป่า นอกจากนี้ยังพบว่าโลหะหนักในดินเพิ่มขึ้นตามอายุป่าโดยมีปริมาณสังกะสี 73.86±13.7 250.3±166.8 และ1,416.2±698.4 mg/kg ตามลำดับ และปริมาณแคดเมียม 0.74±0.2 2.72±2.4 และ12.02±5.7 mg/kg ตามลำดับ รวมทั้งปริมาณจุลินทรีย์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอายุป่าโดยมีปริมาณราในดิน 5.13x104±1.37x104 33.00x104±18.9x104 และ47.1x104±7.88x104 cfu/g ตามลำดับ ปริมาณแอคติโนมัยซีทในดิน 2.51x105±0.35x105 12.26x105±2.86x105 และ28.08x105±4.22x105 cfu/g ตามลำดับ และปริมาณแบคทีเรียในดิน 8.05x105±0.80x105 250.0x105±11.0x105 และ754.0x105±18.0x105 cfu/g ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะดินยังส่งผลให้พบชนิดเห็ดบนดิน 11 ชนิด โดยคุณลักษณะดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดคือดินที่ร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี อย่างไรก็ตามพบการถูกชะล้างของดินตะกอนและร่อยรอยของไฟป่าซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะดิน กล่าวโดยสรุปคือการพัฒนาของแปลงป่าฟื้นฟูสามารถพัฒนาคุณลักษณะดินได้หลากหลายและมีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์


การทำนายข้อมูลจราจรเชิงพื้นที่และเวลาโดยใช้การฝังข้อมูลอุบัติเหตุร่วมกับนิวรอลเน็ตเวิร์กเชิงลึก, วนิดา ลิยงค์ Jan 2018

การทำนายข้อมูลจราจรเชิงพื้นที่และเวลาโดยใช้การฝังข้อมูลอุบัติเหตุร่วมกับนิวรอลเน็ตเวิร์กเชิงลึก, วนิดา ลิยงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (Intelligent Transportation System, ITS) นั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน และเมื่อไม่นานมานี้ เริ่มมีการนำการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) มาใช้ในการทำนายข้อมูลจราจรเพื่อช่วยให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญของการทำนายข้อมูลจราจรในเครือข่ายขนาดใหญ่คือการทำนายล่วงหน้าในหลาย ๆ ช่วงเวลา และทำนายในตำแหน่งที่แตกต่างกัน นอกจากนี้สำหรับการจราจรแล้ว อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบต่อการจราจรเสมอ การเรียนรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นของอุบัติเหตุจะช่วยให้การทำนายข้อมูลจราจรมีความแม่นยำขึ้น งานวิจัยนี้ จึงนำเสนอนิวรอลเน็ตเวิร์กที่เรียนรู้ความสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่และเวลาของข้อมูลจราจร โดยใช้นิวรอลเน็ตเวิร์คแบบคอนโวลูชัน (Convolutional Neural Network, CNN) ร่วมกับหน่วยความจำระยะสั้นแบบยาว (Long Short-Term Memory, LSTM) เพื่อให้สามารถเรียนรู้และทำนายข้อมูลจราจรได้แม่นยำยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีการนำตัวเข้ารหัสอัตโนมัติ (Autoencoder) มาเรียนรู้ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อให้สามารถเรียนรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงที่เกิดอุบัติเหตุไปพร้อม ๆ กันได้


การจำแนกประเภทข้อความโฆษณาบนเฟซบุ๊กโดยใช้เทคนิคการสุ่มเพิ่มตัวอย่างกลุ่มน้อย, ศุภมงคล อัครดำรงค์รัตน์ Jan 2018

การจำแนกประเภทข้อความโฆษณาบนเฟซบุ๊กโดยใช้เทคนิคการสุ่มเพิ่มตัวอย่างกลุ่มน้อย, ศุภมงคล อัครดำรงค์รัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นักการตลาดนิยมทำการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียได้รับความนิยมอย่างมากและมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนหลายล้านคน โดยเฉพาะเฟซบุ๊กซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย อย่างไรก็ตามผู้คิดค้นโฆษณาต้องมีความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อให้สามารถคิดค้นถ้อยคำโฆษณาที่ดี ตัวแบบ AISAS เป็นตัวแบบหนึ่งซึ่งถูกนำเสนอโดยบริษัทเดนท์สึเพื่ออธิบายพฤติกรรมของผู้บริโภค ตัวแบบดังกล่าวนิยามสถานะที่เกิดขึ้นหลังจากผู้บริโภคเห็นโฆษณาของสินค้าทั้งหมดห้าสถานะ ได้แก่ ความใส่ใจ (Attention) ความสนใจ (Interest) การค้นหา (Search) การลงมือกระทำ (Action) และการแบ่งปัน (Share) วิทยานิพนธ์นี้ได้พัฒนาตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อใช้จำแนกประเภทโฆษณาภาษาไทยจากเฟซบุ๊กออกเป็นสถานะตามตัวแบบ AISAS เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงโฆษณา อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ถูกรวบรวมมาเพื่อการเรียนรู้เป็นข้อมูลที่ไม่สมดุล เนื่องจากตัวอย่างที่เป็นคลาสบวกมีจำนวนน้อย ทำให้ตัวแบบมีประสิทธิภาพต่ำในการทำนายตัวอย่างบวก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตัวแบบ ผู้วิจัยได้นำเทคนิคการสุ่มเพิ่มตัวอย่างกลุ่มน้อย เทคนิคการคัดเลือกคุณลักษณะมาใช้ อีกทั้งได้เสนอเทคนิคการเพิ่มคุณลักษณะใหม่ซึ่งเป็นคำคล้ายคลึง ประยุกต์ใช้ร่วมกับตัวแบบจำแนกประเภทนาอีฟเบย์ การถดถอยโลจิสติกส์ และซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน และได้นำเทคนิคการสร้างข้อความมาประยุกต์ใช้ร่วมกับตัวแบบจำแนกประเภทแอลเอสทีเอ็ม ผลการทดลองพบว่าหลังการประยุกต์ใช้เทคนิคต่าง ๆ ทุกตัวแบบจำแนกประเภทสามารถทำนายตัวอย่างคลาสบวกเป็นจำนวนมากขึ้นและถูกต้องมากขึ้นในเกือบทุกชุดข้อมูล โดยสังเกตได้จากค่าความแม่นและค่าระลึกที่เพิ่มขึ้น เทคนิคการเพิ่มคุณลักษณะใหม่ซึ่งเป็นคำคล้ายคลึงทำให้บางตัวแบบมีค่าระลึกเพิ่มขึ้น เทคนิคการสร้างข้อความทำให้ตัวแบบแอลเอสทีเอ็มได้รับค่าระลึกสูงแต่ค่าความแม่นต่ำ อย่างไรก็ตามทุกเทคนิคทำให้ค่าความถูกต้องต่ำลงในชุดข้อมูลส่วนใหญ่


ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ณปภัช บรรณาการ Jan 2018

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ณปภัช บรรณาการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม ระหว่างผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษกับนักเรียนทั่วไปในโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาปัจจัยนำเข้าสำหรับการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษและระบบช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) วิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนอันเนื่องมาจากภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยนำเข้าสำหรับการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ และระบบช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจาก 2 แหล่งประกอบด้วย 1) ข้อมูลปฐมภูมิจากโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และ 2 ทั้งหมด 43 โรงเรียน 2) แหล่งข้อมูลทุติยภูมิโดยใช้ฐานข้อมูลของผู้สอบ O-NET รายบุคคล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ศึกษาในโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปีการศึกษา 2560 ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และ 2 จำนวน 39 โรงเรียน และนักเรียนจำนวน 11,534 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์กลุ่มแฝง (latent class analysis) และการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำ (Inequality Index) ด้วยโปรแกรม R ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษกับนักเรียนทั่วไปไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 (ꭓ2df = 2 = 2.408, p = 0.300) 2) ผลการศึกษาปัจจัยนำเข้าของการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ด้านความเพียงพอและคุณภาพครู พบว่าอัตราส่วนระหว่างจำนวนผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษต่อจำนวนครูที่รับผิดชอบงานการศึกษาพิเศษในโรงเรียน มีค่าเท่ากับ 3.77 (SD = 5.27) ค่าเฉลี่ยร้อยละของครูการศึกษาพิเศษเมื่อเปรียบเทียบกับครูที่รับผิดชอบงานการศึกษาพิเศษในโรงเรียนมีค่าเท่ากับ 16.89 (SD = 30.97) จะเห็นว่าโรงเรียนส่วนใหญ่มีครูที่รับผิดชอบงานการศึกษาพิเศษที่เพียงพอต่อความต้องการ แต่อย่างไรก็ตามครูที่รับผิดชอบงานการศึกษาพิเศษของโรงเรียนดังกล่าวนั้นมีส่วนน้อยที่มีวุฒิการศึกษาพิเศษโดยตรงซึ่งสะท้อนความขาดแคลนคุณภาพของปัจจัยนำเข้าด้านบุคลากรครูที่รับผิดชอบงานการศึกษาพิเศษของโรงเรียน นอกจากนี้ยังพบว่าสิ่งอำนวยความสะดวกและวัสดุในการผลิตสื่อของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษไม่เพียงพอ สื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูและอุปกรณ์นันทนาการเพียงพอระดับน้อย ด้านระบบช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษมีผลการประเมินดังนี้ ด้านการวางแผนการจัดการศึกษา (plan), การปฏิบัติแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (do) และ ด้านการวิเคราะห์และการตรวจสอบผลการจัดการเรียนรู้ (check) ปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ ส่วนด้านการปรับปรุงแผนและการปฏิบัติงาน (act) ปฏิบัติเป็นบางครั้ง 3) ผลการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ พบว่า …


การเปรียบเทียบวิธีการหาจุดเปลี่ยนแปลงแบบออฟไลน์ในข้อมูลอนุกรมเวลาที่มีความผันแปรไม่ปกติที่มีการแจกแจงปกติ 2 ตัวแปร, ปภาวิน เจริญชัยปิยกุล Jan 2018

การเปรียบเทียบวิธีการหาจุดเปลี่ยนแปลงแบบออฟไลน์ในข้อมูลอนุกรมเวลาที่มีความผันแปรไม่ปกติที่มีการแจกแจงปกติ 2 ตัวแปร, ปภาวิน เจริญชัยปิยกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการตรวจหาจุดเปลี่ยนแปลงของวิธี E-Divisive, e-cp3o และ ks-cp3o สำหรับข้อมูลอนุกรมเวลาที่มีความผันแปรไม่ปกติที่มีการแจกแจงปกติ 2 ตัวแปรซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน หรือค่าสหสัมพันธ์ โดยทำการจำลองและเปรียบเทียบประสิทธิภาพโดยใช้ค่า Adjusted Rand Index และเปรียบเทียบจำนวนและตำแหน่งของจุดเปลี่ยนแปลงทั้งสามวิธีในข้อมูลจริง โดยข้อมูลเป็นข้อมูลสัญญาณชีพและข้อมูลปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 และเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของแต่ละช่วงโดยใช้การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของสองประชากร จากการศึกษาพบว่า เมื่อข้อมูลมีขนาดเล็ก (n = 90) วิธี e-cp3o และ ks-cp3o มีประสิทธิภาพในการตรวจหาจุดเปลี่ยนแปลงมากที่สุด (ค่า Adjusted Rand Index มีค่าเป็น 1) และพบว่าวิธี E-Divisive มีประสิทธิภาพสูงเฉพาะกรณีที่ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงในค่าเฉลี่ย (ค่า Adjusted Rand Index มีค่าเข้าใกล้ 1) เมื่อข้อมูลมีขนาดมากขึ้น (n = 150 และ 300) วิธี E-Divisive มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเมื่อข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ย และวิธี e-cp3o มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในกรณีอื่น ๆ การศึกษากับข้อมูลจริงซึ่งเป็นข้อมูลสัญญาณชีพ และข้อมูลปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 ซึ่งทำการตรวจหาจุดเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในคราวเดียวและแบ่งข้อมูลออกเป็น 3 ส่วนก่อนแล้วจึงนำแต่ละส่วนมาตรวจหาจุดเปลี่ยนแปลง พบว่า วิธี E-Divisive และ ks-cp3o พบจำนวนจุดและตำแหน่งของจุดเปลี่ยนแปลงที่ใกล้เคียงกัน และการแบ่งข้อมูลออกเป็นช่วงย่อยก่อนจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการตรวจข้อมูลทั้งหมดในคราวเดียวกัน


การจําแนกรอยโรควัณโรคปอดด้วยโครงข่ายแคปซูล, ตะวันส่องแสง การย์กวินพงศ์ Jan 2018

การจําแนกรอยโรควัณโรคปอดด้วยโครงข่ายแคปซูล, ตะวันส่องแสง การย์กวินพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกสำหรับการจำแนกภาพทางการแพทย์ได้มีการขยายตัวเติบโตเป็นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โครงข่ายประสาทคอนโวลูชันหรือซีเอ็นเอ็นเป็นหนึ่งในหลายแบบจำลองสมรรถนะสูงที่รู้จักกันดีสำหรับการจำแนกและการแบ่งส่วนภาพ งานวิจัยนี้เสนอแนวคิดการใช้คอมพิวเตอร์ที่สามารถช่วยวินิจฉัยในเบื้องต้นการติดเชื้อวัณโรค ผู้วิจัยได้ปรับแต่งสถาปัตยกรรมซีเอ็นเอ็นสามโครงสร้างประกอบด้วย อเล็กซ์เน็ต วีจีจี-16 และ แคปส์เน็ต เพื่อจำแนกรอยโรควัณโรคบนภาพเอกซเรย์ทรวงอกหรือซีเอกซ์อาร์ที่ได้มาจากไลบรารีทางการแพทย์แห่งชาติและชุดข้อมูลไทยส่วนตัว ตัววัดที่ใช้ประเมินสมรรถนะตัวจำแนกประเภททั้งสาม ได้แก่ ความแม่นยำ ความไว และความจำเพาะ การทดสอบแบบจำลองทั้งสามบนชุดข้อมูลที่เพิ่มจำนวนด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบสับเปลี่ยนให้ผลลัพธ์ค่าความแม่นยำที่เพิ่มขึ้นทุกแบบจำลอง นอกจากนี้ ยังได้มีการประเมินสมรรถนะแบบจำลองบนชุดข้อมูลที่เพิ่มจำนวนตัวอย่างด้วยการหมุนภาพ เนื่องจากในความเป็นจริงภาพซีเอกซ์อาร์อาจไม่ได้ตั้งตรงในแนวดิ่ง ผลการประเมินพบว่า แคปส์เน็ตให้ค่าตัววัดที่ดีกว่าแบบจำลองอเล็กซ์เน็ต และวีจีจี-16 เมื่อทำนายภาพแอฟฟีน


ระบบการสื่อสารแบบดีซิงโครไนเซชั่นสาหรับขบวนยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติ, วิศทัศน์ ดียิ่ง Jan 2018

ระบบการสื่อสารแบบดีซิงโครไนเซชั่นสาหรับขบวนยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติ, วิศทัศน์ ดียิ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ขบวนยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัตินั้นมีความท้าทายในการสร้างสูงอันเนื่องมาจากมีความต้องการในการประกาศข้อมูลที่มีความถี่ในการประกาศสูง ประสิทธิภาพของโพรโทคอลซีเอสเอ็มเอ/ซีเอบนมาตรฐานการสื่อสาร IEEE 802.11p นั้นไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของขบวนยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติได้เนื่องจากความล่าช้าที่ไม่มีขอบเขตโดยเฉพาะกรณีที่มีการใช้งานช่องสัญญาณมาก มีงานวิจัยหลากหลายงานที่นั้นมีการเกี่ยวพันกับชั้นการควบคุมการเข้าถึงสื่อกลางและ/หรือไม่รองรับจำนวนยานพาหนะที่มีการเปลี่ยนแปลงและ/หรือมีจุดเดียวของความล้มเหลว เราเสนอให้ใช้งานการดีซิงโครไนเซชั่นสำหรับยานพาหนะที่มีพื้นฐานมาจากโพรโทคอลทีดีเอ็มเอบนมาตรฐานการสื่อสาร IEEE 802.11p ที่มีอยู่ทั่วไปแล้ว โดยยังสามารถรองรับจำนวนยานพาหนะที่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่มีจุดเดียวของความล้มเหลว เราได้เสนอช่วงการตั้งค่าที่เหมาะสมกับการใช้งานขบวนยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติ จากผลการทดลองได้แสดงว่าเมื่อใช้งานช่วงการตั้งค่าที่เราเสนอ การดีซิงโครไนเซชั่นสามารถรองรับการประกาศข้อมูลที่มีความถี่สูงในสถานการณ์ที่มียานพาหนะสูงสุดถึง 16 คัน ที่การประกาศข้อมูล 100 รอบต่อวินาที และมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าโพรโทคอลซีเอสเอ็มเอ/ซีเอ ในกรณีที่เกิดความล้มเหลว จากผลการทดลองได้แสดงว่าการดีซิงโครไนเซชั่นสำหรับยานพาหนะนั้นไม่ได้มีผลกระทบที่ร้ายแรงอันเนื่องมาจากความล้มเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับงานวิจัยอื่น


Fully Automatic 3d Facial Cosmetic Surgery Simulation, Adawat Chanchua Jan 2018

Fully Automatic 3d Facial Cosmetic Surgery Simulation, Adawat Chanchua

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Before cosmetic surgery procedures, the patients are commonly involved in the consultation process using interviews and reference images. The reference images typically consist of pre-post surgery images of other patients, leading to misunderstandings between patients and the surgeon. This thesis presents a fully automatic pipeline to simulate the whole face of post-surgery results. We first establish a 3D face registration and alignment based on the face surgery procedures of the current day and then generate the delta image. We proposed the delta image to solve the lack of dataset dilemma of the pre-post surgery face images. We also propose a …


Carbon Dioxide Capture On Nitrogen-Doped Carbon Nanoparticle Derived From Aromatic Compounds Via Solution Plasma And Nitridation, Phuwadej Pornaroontham Jan 2018

Carbon Dioxide Capture On Nitrogen-Doped Carbon Nanoparticle Derived From Aromatic Compounds Via Solution Plasma And Nitridation, Phuwadej Pornaroontham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The carbon dioxide (CO2) adsorption on nanocarbon (C), oxygen-doped nanocarbon synthesized from benzene and a mixture of benzene and metal working fluid (MWF), respectively, via solution plasma process (SPP) have been revealed in this study. Firstly, they showed low CO2 adsorption capacity at 25 °C. However, their capacities were enhanced by nitridation under ammonia atmosphere at high temperature. The maximum CO2 adsorption capacity of 1.63 mmol g-1 was achieved on nitrogen-oxygen-codoped nanocarbon obtained from SPP discharging a mixture containing 15 vol% MWF nitrided at 800 °C (noC15(800)). The characterizations revealed that the micropososity and nitrogen functionality on the adsorbent are …


Speciation Of Arsenic Using Sulfur Containing Ligand And Cotton Wool By Icp-Oes, Kavee Triteeyaprasert Jan 2018

Speciation Of Arsenic Using Sulfur Containing Ligand And Cotton Wool By Icp-Oes, Kavee Triteeyaprasert

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aimed to develop a method for speciation of arsenic species including As(III) and As(V) in environmental samples. Cotton wool and sulfur containing ligands including ammonium pyrrolidinedithiocarbarmate (APDC), L–cysteine and diethyldithiocarbamic acid were used in a solid phase extraction and determination of arsenic by using inductively coupled plasma optical emission spectrometry. The separation parameters were studied including pH, ligand concentration, cotton amount, type of eluents and flow rate. It was found that at pH 2, 0.1% APDC concentration and 0.5 g of cotton, As(III) could form complex with APDC (As(III) – APDC) and was separated from As(V) by using …


Explicit Energy-Minimal Short-Term Path Planning For Collision Avoidance In Bidirectional Crowd Simulation, Saran Sillapaphiromsuk Jan 2018

Explicit Energy-Minimal Short-Term Path Planning For Collision Avoidance In Bidirectional Crowd Simulation, Saran Sillapaphiromsuk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การหาเส้นทางการเดินในระยะยาวรวมกับการหลบหลีกสิ่งกีดขวางรอบๆ เป็นวิธีทั่วไปที่ถูกนำมาใช้ในการจำลองการเคลื่อนไหวของตัวตนจำลองจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง โดยไม่ให้เกิดการชนกันระหว่างตัวตนจำลองกับวัตถุในฉากและระหว่างตัวตนจำลองด้วยกันเอง วิธีนี้สามารถให้ผลการจำลองที่ดีในสถานการณ์ที่ผู้คนสามารถเดินได้หลายทิศทาง แต่ในสถานการณ์ที่ผู้คนถูกจำกัดทิศทางการเดินให้เหลือเพียงหนึ่งหรือสองทิศทางนั้น ปรากฏว่าตัวตนจำลองมีลักษณะการเดินที่ผิดธรรมชาติ เช่น เดินเข้าไปติดและอยู่นิ่งระหว่างตัวตนจำลองสองตัวที่เดินสวนมาหรือเดินเข้าไปในพื้นที่ที่แออัดหรือมีกลุ่มคนเยอะๆ ทั้งๆที่ยังมีเส้นทางเดินที่ทำให้ตัวตนจำลองสามารถเดินหลบหลีกไปได้ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยและเห็นได้ชัดในสถานการณ์แบบสองทิศทาง งานวิจัยนี้จึงได้เสนอขั้นตอนในการหาเส้นทางในระยะสั้นเพื่อขจัดความบกพร่องของพฤติกรรมการเดินของตัวตนจำลองในสถานการณ์แบบสองทิศทางนี้ขึ้น โดยใช้สมการพลังงานทางชีวกลศาสตร์ของการเดินเข้ามาเป็นตัวแปรที่บังคับให้ตัวตนจำลองมีความฉลาดในการเลือกเส้นทางในระยะสั้นได้ ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์สมการพลังงานนั้น ช่วยบ่งบอกลักษณะของการเลือกเส้นทางการเดินที่ดีที่สุด โดยคำนึงถึงความเร็วที่ใช้เพื่อให้ประหยัดพลังงานที่สุด พร้อมๆ กับถึงจุดหมายปลายทางให้เร็วที่สุดด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าการนำวิธีที่เสนอนี้ไปใช้ในสถานการณ์แบบหลายทิศทางนั้น ตัวตนจำลองสามารถหาเส้นทางที่เหมาะสมกว่าเมื่อเทียบกับวิธีก่อนอีกด้วย ยกตัวอย่าง เช่น ตัวตนจำลองสามารถเดินแทรกเข้าไปในช่องแคบๆ ของขบวนพาเหรดได้ เป็นต้น


Classification Of Risk Attitudes From Customer Behavior With Machine Learning, Teeranai Sriparkdee Jan 2018

Classification Of Risk Attitudes From Customer Behavior With Machine Learning, Teeranai Sriparkdee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Every​ product​ and service in​ the market​ has​ its​ characteristic​ which has an impact on a consumer's decision to buy or use them. The risk is a special characteristic of financial products, so in financial product and service design must use risk as a critical factor. On the other hand, the consumer has different attitudes to the risk which can distinguish in 3 categories viz risk aversion, risk neutral and risk seeking. Therefore, knowing risk attitudes of consumer who is the target market is an important key to define marketing strategy such as designing service and product, campaign, and promotion …


การตรวจสอบข่าวปลอมด้วยวิธีการเรียนรู้ด้วยเครื่อง, สุปัญญา อภิวงศ์โสภณ Jan 2018

การตรวจสอบข่าวปลอมด้วยวิธีการเรียนรู้ด้วยเครื่อง, สุปัญญา อภิวงศ์โสภณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอวิธีการตรวจจับข่าวปลอมบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์ด้วยวิธีการเรียนรู้ด้วยเครื่อง โดยใช้การเรียนรู้ด้วยเครื่องสามวิธี ได้แก่ Naïve Bayes, Neural Network และ Support Vector Machine โดยเก็บข้อมูลจากหัวข้อข่าวที่เป็นภาษาไทย ในระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ผลการวิจัยพบว่าทั้งสามวิธีสามารถตรวจจับข่าวปลอมในชุดข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ร้อยละความถูกต้องของวิธี Naïve Bayes คือ 96.08 เปอร์เซ็นต์ Neural Network 99.89 เปอร์เซ็นต์ และ Support Vector Machine 99.89 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวปลอมและชี้ให้เห็นลักษณะของข่าวปลอมที่พบในชุดข้อมูล


A Deep Relation Extraction From Biomedical Texts With Attention Mechanisms And Domain-Specific Contextual Representations, Amarin Jettakul Jan 2018

A Deep Relation Extraction From Biomedical Texts With Attention Mechanisms And Domain-Specific Contextual Representations, Amarin Jettakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The biomedical relation extraction (RE) tasks aim to study the interaction between pre-defined entities from biomedical literature: Bacteria Biotope (BB) and Drug-Drug interactions (DDI) tasks. Some previous investigations have used feature-based models; others have presented deep-learning-based models such as convolutional and recurrent neural networks used with the shortest dependency paths (SDPs). Although SDPs contain valuable and concise information, sections of significant information necessary to define bacterial location relationships are often neglected. In addition, the traditional word embedding used in previous studies may suffer from word ambiguation across linguistic contexts. Here, we present a deep learning model for biomedical RE. The …