Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Environmental Sciences

PDF

Environmental Journal

Journal

หน้ากาก; หน้ากากอนามัยทางการแพทย์; ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน; ประสิทธิภาพการกรองฝุ่นละออง

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

บทความ: การประเมินประสิทธิภาพของวัสดุทำหน้ากากสำหรับกรองฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (Evaluation Of Face Mask Materials For Trapping Particulate Matter Less Than 2.5 Micron), มณีรัตน์ องค์วรรณดี, พงศธร ชมดี Jul 2020

บทความ: การประเมินประสิทธิภาพของวัสดุทำหน้ากากสำหรับกรองฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (Evaluation Of Face Mask Materials For Trapping Particulate Matter Less Than 2.5 Micron), มณีรัตน์ องค์วรรณดี, พงศธร ชมดี

Environmental Journal

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประสิทธิภาพของวัสดุที่ทำหน้ากากในการกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนในบรรยากาศ โดยจำลองการสวมหน้ากากกับใบหน้าของหุ่นฝึกทางการแพทย์ให้แนบสนิท ใช้เครื่องดูดเสมหะดูดอากาศด้วยอัตรา 15 ลิตรต่อนาทีผ่านหน้ากากที่ทดสอบ ได้แก่ หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หน้ากาก N95 และหน้ากากผ้าฝ้ายสองชั้นเสริมไส้กรองต่างๆ ผลการทดสอบพบว่าหน้ากาก N95 ที่จำหน่ายในประเทศไทยมีประสิทธิภาพการกรอง 78 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วยหน้ากากอนามัยทางการแพทย์มีประสิทธิภาพ 65 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งใกล้เคียงกับหน้ากากผ้าที่ใช้หน้ากากอนามัยดังกล่าวเป็นไส้กรองหรือใช้แผ่นกรองฝุ่นระดับ MERV 11 จำนวน 3 แผ่นซ้อนกัน ในขณะที่การใช้หน้ากากผ้าฝ้ายเพียงอย่างเดียวมีประสิทธิภาพเพียง 6 เปอร์เซ็นต์ และการใช้กระดาษทิชชูเป็นไส้กรองไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ ทั้งนี้ประสิทธิภาพการกรองฝุ่นละอองของหน้ากากเมื่อสวมใส่จริงอาจมีค่าต่ำกว่าที่วัดได้ซึ่งขึ้นกับความแนบสนิทกับใบหน้าของผู้ใส่ สำหรับการฆ่าเชื้อโรคบนหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ด้วยการพ่นเอทานอล 70 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้ทำให้โครงสร้างทางกายภาพและเคมีของเส้นใยโพลีโพรพิลีนของหน้ากากแปลงเปลี่ยนไปจากเดิม จึงอาจเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับยืดอายุการใช้งานหน้ากากอนามัยในช่วงขาดแคลน เช่น การระบาดของโรคโควิด-19