Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Environmental Sciences

PDF

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2019

Articles 1 - 18 of 18

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

Evaluation Of Carbon Dioxide And Nitrate Utilization From Recirculating Aquaculture System For Microalgal Production, Kittikoon Sucunthowong Jan 2019

Evaluation Of Carbon Dioxide And Nitrate Utilization From Recirculating Aquaculture System For Microalgal Production, Kittikoon Sucunthowong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study evaluated carbon dioxide and nitrate utilization from tilapia cultivating system by means of microalgal cultivation. The first part of this study evaluated the feasibility of using nitrate-rich effluent from aquaculture to cultivate Scenedesmus armatus in comparison with the cultivation using BG-11 media. Comparable biomass productivity and pigment content of S. armatus from the cultivation indicated that nitrate-rich effluent from aquaculture could be used as substitute for a more expensive BG-11 growth media. The second part of this study evaluated the feasibility of utilizing carbon dioxide concentrated air from roughly 3 kg/m3 tilapia cultured tank to grow S. armatus. …


A Market-Based Probabilistic Risk Assessment Of As Concentration In Raw And Cooked Rice In Bangkok, Supanad Hensawang Jan 2019

A Market-Based Probabilistic Risk Assessment Of As Concentration In Raw And Cooked Rice In Bangkok, Supanad Hensawang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Rice is a staple food of human and can be a main source of arsenic (As) exposure. This study was conducted to i) investigate the concentrations of total, inorganic and bioaccessible of As in raw rice, ii) investigate the effects of rice processing before human consumption on the concentrations of As in rice, and iii) evaluate the potential health impacts of As exposure through rice consumption. A total of 208 polished and non-polished samples sold in the local markets of Bangkok were collected. The total As concentrations in polished (0.0878 to 0.2949 mg kg-1, n = 154) and non-polished (0.1187 …


การประยุกต์กากหม้อกรองจากโรงงานน้ำตาลเพื่อเป็นวัสดุเพาะเมล็ดโดยผ่านกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน, ชนิตสิรี สุเมธี Jan 2019

การประยุกต์กากหม้อกรองจากโรงงานน้ำตาลเพื่อเป็นวัสดุเพาะเมล็ดโดยผ่านกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน, ชนิตสิรี สุเมธี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตไฮโดรชาร์จากกากหม้อกรองเหลือทิ้งโรงงานน้ำตาล เพื่อให้เป็นวัสดุเพาะเมล็ดคล้ายพีทมอส ด้วยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชันภายใต้อุณหภูมิ 160 180 และ 200 องศาเซลเซียส ที่เวลา 1 2 และ 3 ชั่วโมง และอัตราส่วนกากหม้อกรองต่อน้ำกลั่น 1:5 1:10 และ 1:15 ผลการศึกษาพบว่า สภาวะไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชันที่เหมาะสม คือการทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส เวลา 3 ชั่วโมง อัตราส่วนกากหม้อกรองต่อน้ำกลั่น 1:5 ร้อยละผลผลิตที่ได้เป็น 84 เมื่อทดสอบทางสถิติพบว่าลักษณะสมบัติของไฮโดรชาร์และพีทมอสส่วนใหญ่ค่าไม่แตกต่างกัน ได้แก่ ค่าความสามารถในการอุ้มน้ำสูงสุดเป็น 4.57 และ 3.93 กรัมต่อกรัม ค่าความพรุนทั้งหมดร้อยละ 45.3 และ 38.9 ค่าช่องว่างขนาดใหญ่ร้อยละ 2.8 และ 3.0 และค่าช่องว่างขนาดเล็กร้อยละ 42.4 และ 35.7 ค่าการนำไฟฟ้า 151 และ 140 ไมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร ปริมาณไนโตรเจนร้อยละ 1.34 และ1.51 ฟอสฟอรัส 188.18 และ 413.73 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และโพแทสเซียม 146.70 และ 372.08 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ จากนั้นนำไฮโดรชาร์และพีทมอสทดสอบปลูกกับพืชสองชนิดพบว่า ต้นอ่อนทานตะวันในวัสดุไฮโดรชาร์และพีทมอส ได้ค่าเปอร์เซ็นต์การงอกร้อยละ 95.31 และ 90.63 ในขณะที่ผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊คในวัสดุไฮโดรชาร์และพีทมอส ได้ค่าเปอร์เซ็นต์การงอกร้อยละ 89.06 และ 87.50 ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่าไฮโดรชาร์มีความสามารถในการเพาะเมล็ดได้เหมือนกับพีทมอส นอกจากนี้ ต้นทุนค่าการดำเนินงานในการผลิตไฮโดรชาร์เท่ากับ 54.64 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งมีราคาต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับพีทมอสที่ขายตามท้องตลาดที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม


การผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักร่วมกากของเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังดัดแปรร่วมกับตะกอนเลนจากบ่อเลี้ยงกุ้ง, ปิยะวดี ศรีวิชัย Jan 2019

การผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักร่วมกากของเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังดัดแปรร่วมกับตะกอนเลนจากบ่อเลี้ยงกุ้ง, ปิยะวดี ศรีวิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการหมักร่วมระหว่างกากตะกอนแป้ง (Starch sludge, SS) กับตะกอนสลัดจ์ (Activated biosludge, ABS) จากระบบบำบัดน้ำเสียแอกติเวเต็ดสลัดจ์ของโรงงานแป้งมันสำปะหลังดัดแปร และตะกอนเลน (Shrimp pond sediment, SPS) จากบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล ด้วยระบบถังหมักไร้ออกซิเจนแบบสองขั้นตอน ซึ่งได้ทำการทดลองเบื้องต้นด้วยวิธีบีเอ็มพีโดยออกแบบการทดลองแบบประสมส่วนกลาง และมีการใช้หลักการพื้นผิวตอบสนองของโปรแกรม Design Expert (Trial version 10) เพื่อเลือกอัตราส่วนการหมักร่วมที่เหมาะสม พบว่าที่อัตราส่วน (SS:SPS และ SS:ABS) เท่ากับ 1:0 และ 1:1 มีความเหมาะสม เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพสูง และระบบมีความเสถียรภาพ โดยอัตราส่วนดังกล่าวถูกนำไปใช้ในการเดินระบบหมักกรดด้วยถังปฎิกรณ์กวนสมบรูณ์แบบแบทซ์ โดยศึกษาผลของของแข็งระเหยเริ่มต้น (TVS) ซึ่งพบว่า TVS เริ่มต้นร้อยละ 2 อัตราส่วนการหมักร่วม 1:1 ของ SS:SPS และ SS:ABS มีความเหมาะสม เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการผลิตกรดไขมันระเหยสูง เท่ากับ 319 และ 353 กรัมอะซิติก/กิโลกรัมของของแข็งระเหยเริ่มต้น ตามลำดับ อีกทั้งยังพบว่าถังหมักกรดมีเสถียรภาพมากกว่าการหมัก SS เพียงอย่างเดียว และน้ำหมักกรดที่ผลิตได้จากถัง CSTR ถูกนำไปใช้เพื่อศีกษาผลของอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เริ่มต้น (OLR) ที่มีต่อประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพของถังหมักก๊าซโดยใช้ถังปฎิกรณ์ไร้อากาศแบบแผ่นกั้น (ABR) โดยพบว่าเมื่อเพิ่ม OLR ของทั้งสองชุดการหมักร่วม จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพลดลง และคุณภาพของน้ำที่ปล่อยออกแย่ลง และพบว่าที่ OLR 0.2 Kg COD/m3.day มีประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพสูงสุด เท่ากับ 404 และ 367 L/Kg TVSadded สำหรับการหมักร่วมของ SS:SPS และ SS:ABS ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราส่วนดังกล่าวมีร้อยละมีเทนสูงเท่ากับ 69.30 และ 72.06 ตามลำดับ


ผลของปุ๋ยคอกมูลวัวและถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนูและแมงกานีสในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระ, อโณทัย โกวิทย์วิวัฒน์ Jan 2019

ผลของปุ๋ยคอกมูลวัวและถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนูและแมงกานีสในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระ, อโณทัย โกวิทย์วิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยคอกมูลวัว และถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนู และแมงกานีสในกากโลหกรรมปนเปื้อนจากบ่อกักเก็บกากโลหกรรม บริเวณพื้นที่ศักยภาพแหล่งแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระในโรงเรือนทดลอง โดยแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 4 ชุดการทดลอง ได้แก่ 1) ชุดควบคุม (ไม่มีการเติมปุ๋ยคอกและถ่านชีวภาพ) 2) ชุดการทดลองเติมปุ๋ยคอก 3) ชุดการทดลองเติมถ่านชีวภาพ และ 4) ชุดการทดลองเติมปุ๋ยคอกร่วมกับถ่านชีวภาพ ในอัตรา 1, 3 และ 5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก โดยในแต่ละชุดการทดลองทำการเก็บตัวอย่างทุก ๆ 30 วัน เป็นระยะเวลา 120 วัน และทำการศึกษาปริมาณการดูดดึงและสะสมสารหนู และแมงกานีสในส่วนเหนือกากโลหกรรม (ลำต้นและใบ) และส่วนใต้กากโลหกรรม (ราก) ของหญ้าเนเปียร์แคระ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ชุดควบคุมมีการดูดดึงและสะสมสารหนู และแมงกานีสได้สูงที่สุด ในขณะที่ชุดการทดลองที่มีการเติมถ่านชีวภาพที่อัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ สามารถช่วยลดปริมาณการสะสมสารหนู และแมงกานีสในพืชส่วนเหนือกากโลหกรรม และส่วนใต้กากโลหกรรมได้สูงที่สุด คิดเป็น 63.93 และ 78.64 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และสามารถช่วยลดการดูดดึงและสะสมแมงกานีสในส่วนใต้กากโลหกรรม และส่วนเหนือกากโลหกรรมของพืชได้มากที่สุด คิดเป็น 69.93 และ 72.54 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเมื่อนำมาวิเคราะห์การกระจายตัว และการสะสมสารหนูและแมงกานีส ด้วยเทคนิคไมโครเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนส์ (SR-XRF) พบว่า ไม่สามารถระบุการกระจายตัว และการสะสมสารหนูในพืชได้ เนื่องจากระดับความเข้มข้นของสารหนูในพืชนั้นต่ำเกินกว่าที่สามารถตรวจวัดได้ หากแต่หญ้าเนเปียร์แคระในชุดการทดลองที่มีการเติมถ่านชีวภาพในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ พบว่า มีการกระจายตัว และสะสมแมงกานีส และธาตุอื่น ๆ ได้แก่ แคลเซียม เหล็ก และซัลเฟอร์ น้อยกว่าชุดควบคุม และพบการสะสมธาตุดังกล่าวในบริเวณเนื้อเยื่อชั้นนอกเป็นหลัก ผลการศึกษารูปฟอร์มทางเคมีของสารหนู และแมงกานีสในตัวอย่างพืชและกากโลหกรรม ด้วยเทคนิคเอกซเรย์แอบซอร์บชั่นสเปคโตรสโกปี (SR-XAS) พบว่า การเติมปุ๋ยคอกและถ่านชีวภาพ ไม่ทำให้สารหนูและแมงกานีสที่ปนเปื้อนในกากโลหกรรมเปลี่ยนรูปฟอร์มทางเคมีแต่อย่างใด จึงสามารถสรุปได้ว่า การเติมถ่านชีวภาพ 5 เปอร์เซ็นต์ มีประสิทธิภาพในการตรึงสารหนู และแมงกานีสได้ดีที่สุด ผลการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ดินปนเปื้อนบริเวณพื้นที่ของการทำเหมือง …


Inhalation Exposure And Urinary Level Of Heavy Metals Of Electronic Waste Dismantling Workers In Buriram, Thailand., Panvarong Wongsabsakul Jan 2019

Inhalation Exposure And Urinary Level Of Heavy Metals Of Electronic Waste Dismantling Workers In Buriram, Thailand., Panvarong Wongsabsakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The main objective of this study was to assess the health risk of electronic waste dismantling workers exposed to heavy metal (As, Cd, Cr, Cu, Pb, Ni, Mn, and Zn) in PM10 using urinary heavy metals as a biomarker. The levels of heavy metals in the urine of non- and e-waste dismantling workers in consequence of the exposure to heavy metals in PM10 were investigated at Daengyai sub-district, Banmaichaiyapot district, and Banpao sub-district, Phutthaisong district, Buriram province, from February to March 2019. A face-to-face interview using a questionnaire was carried out to get additional information from the target participants. The …


Pm2.5, Pm10 Air Pollution And Associated Heavy Metals In Traffic Congested And Construction Areas Of Bangkok, Paphinwit Thammasaroj Jan 2019

Pm2.5, Pm10 Air Pollution And Associated Heavy Metals In Traffic Congested And Construction Areas Of Bangkok, Paphinwit Thammasaroj

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The capital city of Thailand, Bangkok, is facing a serious problem caused by overpopulation and traffic congestion. In the this work, particulate matter, both PM2.5 (diameter < 2.5 μm) and PM10 (diameter < 10 μm) were quantified at the road nears construction areas and road with high traffic; compared with a control area. The sampling area comprised of Pattanakarn Road and Srinagarindra Road located on the eastern route, located between the inbound and outbound junction. Mini-volume air sampler was used to collect PM2.5, while cyclone air samplers were used to collect PM10. The samples were collected from November to December 2018, for 12 hours per day for 5 days at each sites. The collected samples were then digested by using microwave digestion for heavy metal components like Fe, Cu, Zn, Cd and Pb. Then, they were analyzed by Graphite Furnace Atomic Absorption Spectrometry (GFAAS) to quantify the heavy metal concentrations. Video recorders were installed at each sampling areas to monitor the traffic flow and it was found that construction areas were the most crowded. The average PM2.5 and PM10 concentrations in the construction areas were higher than those in traffic areas with no construction and the background site (a park), which had no impacts from construction and traffic. Heavy metals associated with particulate matter emitted during construction activities is an emerging environmental issue; however, construction activities are required for convenience and development. This study provides important data required to monitor the future trends of air pollution sources.


Blood Lead And Cadmium Levels Of E-Waste Dismantling Workers From Inhalation Exposure To Pm2.5 And Pm2.5-10, Buriram, Thailand, Thidarat Sirichai Jan 2019

Blood Lead And Cadmium Levels Of E-Waste Dismantling Workers From Inhalation Exposure To Pm2.5 And Pm2.5-10, Buriram, Thailand, Thidarat Sirichai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to investigate blood lead and cadmium levels in associated with inhalation exposure of Pb and Cd in PM2.5 and PM2.5-10 of the e-waste dismantling workers and non-e-waste dismantling workers in Daeng Yai sub-district, Ban Mai Chaiyapot district, and Ban Pao sub-district, Puttatisong district, Buriram, Thailand, during May to August 2019. Blood samples were collected on the next day after the air sampling. Pb and Cd in blood and air samples were quantitatively analyzed by Inductively Coupled Plasma Mass Spectrometry (ICP-MS). The mean blood lead levels of e-waste workers from Daeng Yai sub-district, and Ban Pao sub-district, and …


การบำบัดสารหนูที่ปนเปื้อนในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระร่วมกับเทคนิคจลนศาสตร์ไฟฟ้า, กฤษฎี วานิชสวัสดิ์วิชัย Jan 2019

การบำบัดสารหนูที่ปนเปื้อนในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระร่วมกับเทคนิคจลนศาสตร์ไฟฟ้า, กฤษฎี วานิชสวัสดิ์วิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ผลของปัจจัยทางจลนศาสตร์ไฟฟ้า (ปริมาณสนามไฟฟ้าที่ป้อนและชนิดขั้วอิเล็กโทรด) และลักษณะภาชนะที่ทดลองต่อการเคลื่อนที่ของสารหนูในวุ้น และกากโลหกรรม และ 2) ความสามารถของหญ้าเนเปียร์แคระร่วมกับการใช้จลนศาสตร์ไฟฟ้าในการดูดดึงสารหนูที่ปนเปื้อนในกากโลหกรรม และสะสมไว้ในส่วนเหนือกากโลหกรรม (ลำต้นและใบ) และส่วนใต้กากโลหกรรม (ราก) การศึกษาการเคลื่อนที่ของสารหนูในตัวกลางวุ้นที่มีการเติมสารหนูความเข้มข้น 50 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีการป้อนสนามไฟฟ้าที่ 1 และ 2 โวลต์ต่อเซนติเมตร ที่ระยะเวลา 72 ชั่วโมงต่อเนื่อง พบว่า ในแต่ละชุดการทดลองมีแนวโน้มค่าของการเคลื่อนที่สารหนูที่คล้ายกัน คือ ในบริเวณที่ 1, 2, 3, 4, 6, 7, 8 และ 9 ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการวางขั้วแคโทด มีการสะสมสารหนูในปริมาณที่ต่ำ สำหรับบริเวณที่ 5 ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการวางขั้วแอโนด มีการสะสมสารหนูในปริมาณสูงที่สุด ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของสารหนูในตัวกลางวุ้น พบว่า รูปแบบภาชนะทรงกลมและขั้วกราไฟท์ที่ป้อนสนามไฟฟ้าที่ 2 โวลต์ต่อเซนติเมตร ให้ประสิทธิภาพในการเคลื่อนที่ของสารหนูได้ดีที่สุด การเคลื่อนที่ของสารหนูในตัวกลางกากโลหกรรมที่มีความเข้มข้นของสารหนู 60.02 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ที่ถูกบำบัดด้วยการป้อนสนามไฟฟ้าที่ 1 และ 2 โวลต์ต่อเซนติเมตร ที่ระยะเวลา 3, 5 และ 7 วันต่อเนื่อง พบว่า ระยะเวลาที่ 5 วัน การป้อนสนามไฟฟ้าที่ 2 โวลต์ต่อเซนติเมตร มีผลต่อการเคลื่อนที่ของสารหนูดีที่สุด โดยเคลื่อนที่มาบริเวณระหว่างขั้วแอโนดและแคโทด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 63.07±1.60 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในส่วนการบำบัดกากโลหกรรมที่ปนเปื้อนสารหนูด้วยหญ้าเนเปียร์แคระร่วมกับการใช้จลนศาสตร์ไฟฟ้าที่ปริมาณสนามไฟฟ้าแตกต่างกัน (0, 1, 2 และ 4 โวลต์ต่อเซนติเมตร) ที่ระยะเวลา 15, 30, 45, 60, 75, 90, 105 และ 120 วัน พบว่า พืชสามารถดูดดึงและสะสมสารหนูได้สูงที่สุดในส่วนรากของชุดการทดลองที่บำบัดด้วยสนามไฟฟ้า 1 โวลต์ต่อเซนติเมตร เป็นเวลา 90 …


การประเมินวัฏจักรชีวิตของการผลิตชิ้นงานโดยการขึ้นรูปด้วยเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ, นภัสร์นันท์ ตติย์ธานุกุล Jan 2019

การประเมินวัฏจักรชีวิตของการผลิตชิ้นงานโดยการขึ้นรูปด้วยเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ, นภัสร์นันท์ ตติย์ธานุกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลกระทบสิ่งแวดล้อมในกระบวนการได้มาของวัตถุดิบ การใช้งาน และการกำจัดซากชิ้นงาน ของการผลิตโมเดลที่วางโทรศัพท์ 1 ชิ้น โดยการขึ้นรูปด้วยเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ชนิด เอฟดีเอ็ม (การพิมพ์แบบใช้หัวฉีด) จำนวน 2 รุ่น คือ รุ่นที่ผลิตในประเทศไทย และรุ่นที่นำเข้าจากประเทศจีน ซึ่งขึ้นรูปด้วยพลาสติก 3 ชนิด คือ พีแอลเอ เอบีเอส และไนลอน โดยผลิตโมเดลขนาดเล็กและใหญ่ ซึ่งใช้ระยะเวลาการผลิตดที่แตกต่างกัน คือ 3 ชั่วโมง และ 6 ชั่วโมง โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลมลพิษทางอากาศ และพลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจริงขณะใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และประเมินผลกระทบตลอดวัฏจักรชีวิตด้วยโปรแกรม Simapro 8.3 ด้วยวิธี IMPACT 2002+ รุ่น 2.13 ผลการศึกษาพบว่า การใช้งานของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมสูงสุดในขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นงานเนื่องจากการใช้พลังงานและการปลอดปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่าย รองลงมาคือ การจัดการผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน และการได้มาของวัตถุดิบ ตามลำดับ ซึ่งระยะเวลาการใช้งานที่เพิ่มขึ้น (6 ชม.) ทำให้ผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มสูง โดยพลาสติกไนลอนผลกระทบสูงกว่าพลาสติกพีแอลเอ ในด้านความเป็นพิษต่อระบบนิเวศทางน้ำ (Aquatic ecotoxicity) ด้านพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป (Non-renewable energy) และความเป็นพิษต่อระบบนิเวศทางบก (Terrestrial ecotoxicity) นอกจากนี้ในขั้นตอนการใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติ พบว่า วัสดุ PLA การใช้วัสดุส่งผลกระทบสูงกว่าการใช้ไฟฟ้า วัสดุ ABS และ Nylon การใช้ไฟฟ้าส่งผลกระทบสูงกว่าการใช้วัสดุ และการเปรียบเทียบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ทั้ง 2 รุ่น ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่ต่างกัน


สถานการณ์และข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมเอสเอ็มอีให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียว กรณีศึกษาอุตสาหกรรมสาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, ภูริตา นรนาถตระกูล Jan 2019

สถานการณ์และข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมเอสเอ็มอีให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียว กรณีศึกษาอุตสาหกรรมสาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, ภูริตา นรนาถตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีเป้าหมายในการศึกษาสถานการณ์และแนวทางการส่งเสริมนโยบายอุตสาหกรรมสีเขียวของประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) งานวิจัยได้ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) และ SWOT เพื่อการวิเคราะห์ปัจจัย โอกาส และอุปสรรค ที่มีต่อการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวของ SMEs ในสาขาการผลิตผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้วิเคราะห์และพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริม SMEs ให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียวในประเทศไทยให้มีเพิ่มมากขึ้น ผลการศึกษาจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง SMEs พบว่า กลุ่มปัจจัยด้านเศรษฐกิจ กลุ่มปัจจัยด้านสังคม กลุ่มปัจจัยด้านทรัพยากรภายในองค์กร มีผลต่อการตัดสินใจพัฒนาองค์กรเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวของกลุ่ม SMEs ที่ศึกษา โดยมีปัจจัยด้านการเงินเป็นอุปสรรคที่มีความสำคัญเป็นลำดับที่ 1 รองลงมาเป็นปัจจัยด้านเศรษฐกิจและปัจจัยด้านบุคลากร เป็นอุปสรรคที่มีความสำคัญเป็นลำดับที่ 2 และที่ 3 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง พบว่า ปัจจัยย่อยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของ SMEs ในการพัฒนาองค์กรตามหลักการอุตสาหกรรมสีเขียวมากที่สุด ได้แก่ การที่อุตสาหกรรมสีเขียวถูกกำหนดเป็นเงื่อนไขทางการค้า ความเข้มงวดของกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม และ ผู้บริโภคมีความต้องการอุตสาหกรรมสีเขียว แนวทางการส่งเสริม SMEs ให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียว ควรใช้กลไกทางกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจให้ SMEs ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการกำหนดกฎระเบียบบังคับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว และการกำหนดภาษีสินค้าในอัตราที่แตกต่างกันกับสินค้าผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เพื่อยกระดับความตระหนักและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน


การวิเคราะห์เชิงปริภูมิ-กาลและแบบจำลองเพื่อความยั่งยืนของพื้นที่ป่าและเมืองชายฝั่งอันดามัน: กรณีศึกษาจังหวัดกระบี่, อลิษา สหวัชรินทร์ Jan 2019

การวิเคราะห์เชิงปริภูมิ-กาลและแบบจำลองเพื่อความยั่งยืนของพื้นที่ป่าและเมืองชายฝั่งอันดามัน: กรณีศึกษาจังหวัดกระบี่, อลิษา สหวัชรินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์เชิงปริภูมิ-กาล และแบบจำลองเพื่อการจัดการพื้นที่ชายฝั่งอย่างยั่งยืน เป็นงานวิจัยสหสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยาภูมิทัศน์ ผังเมือง และการจัดการชายฝั่ง เพื่อนำเสนอแนวทางการทำงานด้านสิ่งแลดล้อม โดยใช้มุมมองทางภูมิสถาปัตยกรรม เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่ง วิเคราะห์โครงสร้างและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนปริภูมิกับกระบวนการทำงานของระบบนิเวศป่าชายเลนและเมืองชายฝั่ง และเสนอแบบจำลองทางเลือกในการวางแผนภูมิทัศน์เมืองชายฝั่ง เพื่อให้เกิดการพัฒนาชายฝั่งอย่างยั่งยืน โดยใช้ข้อมูลการสำรวจระยะไกลมาแปลความลักษณะของสิ่งปกคลุมดิน ด้วยโปรแกรม ArcGIS และวิเคราะห์ด้วยดัชนีชี้วัดภูมิทัศน์ เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนปริภูมิในระดับภูมิภาคชายฝั่งอันดามันทั้ง 6 จังหวัดและระดับภูมิภาคเมืองกระบี่ แล้วนำเสนอกระบวนการวางผังภูมินิเวศ ที่ช่วยบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่จากการขยายเมือง บรรเทาความรุนแรงของภัยธรรมชาติ ลดความขัดแย้งจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน และสามารถรับมือกับความไม่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ โดยประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์การวางผัง ร่วมกับการวิเคราะห์ศักยภาพและข้อจำกัดของระบบนิเวศเมืองในการบริการระบบนิเวศ รวบรวมผลการวิเคราะห์ออกมาเป็นแบบจำลองทางเลือกในการพัฒนาภูมิภาคเมืองชายฝั่งที่จะเป็นแนวทางพื้นฐานของการวางผังภูมิภาคเมืองชายฝั่ง โดยยุทธศาสตร์ “โครงข่ายแห่งโอกาส” สร้างโครงข่ายภูมิทัศน์หลากประโยชน์ เป็นแบบจำลองการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพในการทำงานของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศสูงสุด และสามารถนำไปมาพัฒนาพื้นที่ภูมิภาคเมืองกระบี่ ในรูปแบบผังภูมิทัศน์ 3 ระบบ ได้แก่ ระบบน้ำ ระบบพื้นที่สีเขียว และระบบเมือง แต่ละระบบมีกลยุทธ์ทางเลือกในการพัฒนา 4 รูปแบบ เป็นลำดับขั้นได้แก่ พัฒนาผืนระบบนิเวศ พัฒนาทางเชื่อมนิเวศ พัฒนาเป็นโครงข่าย และพัฒนาแบบองค์รวม แต่ละรูปแบบมีบทบาทหน้าที่ คุณลักษณะทางกายภาพแตกต่างกัน ที่สามารถนำไปกำหนดทิศทางการพัฒนาและประยุกต์ใช้กับเมืองชายฝั่งอื่นๆ เพื่อความยั่งยืนของทั้งเมืองและสิ่งแวดล้อมชายฝั่ง


Co-Creating Built Environment For Sustainable Development: A Case Study Of Ban Moh, Mahasarakham Province, Chainun Prompen Jan 2019

Co-Creating Built Environment For Sustainable Development: A Case Study Of Ban Moh, Mahasarakham Province, Chainun Prompen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Co-creation has been used widely in many fields, including innovation design, service design, and district development. In Thailand, many development projects apply co-creation as an approach to development. However, the academic knowledge about co-creating built environment in Thailand is limited and remains unclear. Therefore, this study aims to understand the processes and practices of co-creating built environment in the context of Thailand through the description and analysis of cases. The four case studies described here include the Chantaboon riverfront community in Chantaburi Province, Ban Pred Nai community in Trat Province, Ban Mun Kong project in Samut Prakan Province, and Pru …


Purchasing Behavior Of Led Lightbulbs Of Thai Consumers, Nuttakrij Apipuchayakul Jan 2019

Purchasing Behavior Of Led Lightbulbs Of Thai Consumers, Nuttakrij Apipuchayakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Electricity use in residential sectors has become one of major demands for global energy production and consumption.One of today’s most energy-efficient lighting products is a Light-Emitting Diode (LED) lighting technology. The efficiency of LED lighting technology has already surpassed all other forms of lighting products such as traditional incandescent and Compact Fluorescent Lamp (CFL). Replacement with highly efficient lighting appliances like LED products could generate more than 10-15 billion USD of national energy-savings a year, or save up to 801 Mt of CO2 emissions annually. Even though LED technology have been introduced in the lighting market since 2014 coupled with …


Policy For Sustainable Informal Transport - A Case Study Of Feeder Services In Bangkok, Thailand, Chutaporn Amrapala Jan 2019

Policy For Sustainable Informal Transport - A Case Study Of Feeder Services In Bangkok, Thailand, Chutaporn Amrapala

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

One informal public transport service in Bangkok is Silor (SR), given the meaning in Thai as four-wheeler. SR facilitates urban mobility both in terms of major travel mode and feeder bus and mass transit lines in the city. This research aims to investigate service characteristics and challenges of SR service, identify factors affecting the use and non-use of SR, explore travel behavior and attitudes to determine service delivery gaps in order to propose policy recommendations for the better functioning of SR service. Interviews are conducted through questionnaire survey to collect data from supply side, including drivers and regulators, and demand …


Heavy Metals In Hair And Nails Of Electronic Waste Dismantling Workers In Buriram, Thailand, Jaruwan Silachan Jan 2019

Heavy Metals In Hair And Nails Of Electronic Waste Dismantling Workers In Buriram, Thailand, Jaruwan Silachan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to investigate and compare the concentration of eight heavy metals (As, Cd, Cr, Cu, Mn, Ni, Pb, and Zn) in hair and nails of e-waste workers and non-e-waste workers. Hair and nails samples were collected from participants in Daeng Yai sub-district, Ban Mai Chaiyapot district, and Ban Pao sub-district, Puttatisong district, Buriram, Thailand from December 2018 to January 2019. All sampled were digested with nitric acid by microwave digester and the concentration of heavy metals was analyzed by using Inductively Coupled Plasma Mass Spectrometry (ICP-MS). The results showed that the concentration of As and Cd in both …


Characterization Of Dissolved Organic Matter In Treated Textile Wastewater From Membrane Bioreactor, Nichapach Puangmalai Jan 2019

Characterization Of Dissolved Organic Matter In Treated Textile Wastewater From Membrane Bioreactor, Nichapach Puangmalai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to investigate the DOM removal efficiency in textile wastewater by MBR at different sludge retention time. In addition, the characteristics of DOM was investigated by using resin fractionation and fluorescent excitation-emission matrix techniques. Textile wastewater was synthesized by using commercial dyes and used in all experiment. The characteristics of synthesis textile wastewater showed that the COD concentration was high as 2,000 mg/L. In addition, the DOC concentration in synthesis textile wastewater was also high at 466.1 mg/L. MBR was conducted under HRT 2.5 days and SRT was varied at 15 days, 30 days and infinite, respectively. MBR …


Adsorption Of Haloacetonitriles By Carbonized Metal-Organic Frameworks, Phattarawarin Rodbutr Jan 2019

Adsorption Of Haloacetonitriles By Carbonized Metal-Organic Frameworks, Phattarawarin Rodbutr

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research investigated adsorption efficiency of four including; Chloroacetonitrile (MCAN), Dichloriacetonitrile (DCAN), Bromoacetonitrile (MBAN) and Dibromoacetonitrle (DBAN) on five acid-washed carbonized metal-organic frameworks (MOFs) (WC-ZIF-8, WC-MIL-53, WC-MIL-88B, WC-UiO-66 and WC-HKUST-1) compared with powder activated carbon (PAC S10). The synthesized materials were characterized by XRD, SEM-EDS, nitrogen adsorption isotherms, FTIR and XPS. The screening experiment revealed that WC-MIL-88B, WC-ZIF-8, and PAC had highest adsorption capacities for four HANs, respectively. The HANs molecular size and their hydrophobicity influenced the adsorption rates of HANs in the order of DBAN>DCAN>MBAN>MCAN. The adsorption isotherms showed that Di-halogenic HANs (DBAN and DCAN) can …